[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 11:14:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่  (อ่าน 3140 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5764


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 ธันวาคม 2560 18:36:02 »



พระธาตุเจดีย์หลวง
ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

พระธาตุเจดีย์หลวง เป็นปูชนียสถานสำคัญและสูงใหญ่ที่สุดในล้านนา ตั้งเด่นเป็นสง่าตระหง่านเป็นศรีแก่บ้านเมือง
ในท่ามกลางนครเชียงใหม่  ประหนึ่งจะทอดร่มเงาฉัตรทองคอยปกป้องบ้านเมืองให้ร่มเย็นปลอดภัย  เปลวแสงแห่ง
ประทีปโคมไฟบูชาที่สว่างไสวเรืองรอง  ประหนึ่งดวงประทีปนำทางชีวิตและเป็นบุญเขตประเทืองจิตใจชาวเมืองผู้ที่
เปี่ยมล้นด้วยศรัทธาให้ผาสุกอิ่มเอมด้วยผลบุญ
---------------------------------

จากตำนานโบราณ พระธาตุเจดีย์หลวง ได้ก่อสร้างขึ้นครั้งแรกโดยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๑๙๓๔ และได้เสริมสร้างครั้งที่สำคัญในสมัยรัชกาลพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงศ์มังราย องค์ที่ ๙ เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๒-๒๔ ต่อมาพังทลายลงเนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวและฟ้าผ่า ในรัชสมัยพระนางเจ้ามหาเทวีจิระประภา กษัตริย์องค์ที่ ๑๕ แห่งราชวงศ์มังราย จากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุเจดีย์หลวงครั้งใหญ่ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนงบประมาณผ่านกรมศิลปากร ทำการซ่อมแซมในวงเงิน ๓๕ ล้านบาท เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๕ จนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน  ซึ่งในสมัยโบราณองค์พระธาตุเจดีย์มีความสูงใหญ่ จนผู้คนที่อาศัยอยู่ในอำเภอสันกำแพง สามารถมองเห็นยอดเจดีย์ได้


พระธาตุเจดีย์หลวงกับประเพณีบูชา  

พระธาตุเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่  ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๗ ตอนที่ ๓๒ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๐๓ แต่ก่อนจะกลายมาเป็นพระธาตุเจดีย์หลวงอย่างวันนี้ แรกสร้างเป็นพระเจดีย์องค์เล็กๆ สูง ๓ ศอก บรรจุพระบรมธาตุที่พระโสณะ และพระอุตตระ สมณทูต ผู้เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิอัญเชิญเข้ามา ภายหลังการทำสังคายนา ครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ตำนานพระธาตุเจดีย์หลวง ๒๔๗๓:๔)

ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๓๔ พระเจ้าแสนเมืองมา รัชกาลที่ ๗ ราชวงศ์มังราย ให้ปรับเปลี่ยนใหม่ในที่เก่า เพราะเป็นกัลปนสถานอุทิศเฉพาะพระพุทธองค์เท่านั้น (ตำนานพระธาตุวัดเจดีย์หลวง ๒๔๗๓:๔) สร้างเป็นอุเทสิกเจดีย์สี่เหลี่ยมฐานกว้างด้านละ ๒๐ วา สูง ๓๙ วา สร้างถวายเป็นพุทธบูชา ประดิษฐานพระพุทธรูปเงิน พระพุทธรูปทอง และต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองไว้ภายใน เพื่ออุทิศพระราชกุศลแด่  พระเจ้ากือนา พระราชบิดา

มีหนังสือตำนาน/ประวัติศาสตร์ของชาวล้านนาหลายเล่ม กล่าวถึงเรื่องการสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงสอดคล้องต้องกัน แต่จะขอยกข้อความในหนังสือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี หน้า ๕๓ (ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด-ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ พิมพ์ ๒๕๓๘) มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังนี้

”พระเจ้ากือนา เมื่อสวรรคตแล้วไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา สถิตอยู่ไม้มิโครธต้นหนึ่งริมทางไปเมืองพุกาม (พม่า) มีพ่อค้าชาวเวียงพิงค์เชียงใหม่หมู่หนึ่งไปค้าขายเมืองพุกาม ขากลับแวะค้างคืนใต้ต้นนิโครธนั้น รุกขเทวดาได้แสดงตนให้ปรากฏแก่พ่อค้าหมู่นั้นว่า เมื่อครั้งพระองค์เป็นกษัตริย์เมืองพิงค์ ลุ่มหลงด้วยคชศาสตร์เป็นหมอช้าง เมื่อสวรรคตจึงมาเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นไม้นี้ จะไปบังเกิดยังเทวโลกได้ ต่อเมื่อพระเจ้าแสนเมืองมาพระโอรสสร้างพระเจดีย์สูงใหญ่ไว้ ท่ามกลางเมืองพิงค์เชียงใหม่ คนอยู่ไกล ๒,๐๐๐ วา มองเห็นได้ แล้วอุทิศพระราชกุศาลถวายแก่พระองค์ ขอให้พวกพ่อค้านำเรื่องไปบอกพระเจ้าแสนเมืองมาด้วย”

อาศัยปฐมเหตุดังกล่าวนี้ “พระเจ้าแสนเมืองมา จึงให้สร้างพระเจดีย์ในท่ามกลางเมืองเชียงใหม่ที่ภายในบรรจุปูชนียวัตถุที่ควรค่าแก่การสักการบูชา คือ พระพุทธรูปที่หล่อด้วยเงินและทองคำ ประดิษฐานไว้ใต้ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง ณ ท่ามกลางองค์พระเจดีย์ จึงทำให้ต้นมหาโพธิ์ต้นหนึ่งลำต้นทำด้วยเงิน ใบและยอดทำด้วยทองคำ สูงเท่าองค์เจ้าแสนเมืองมาประทับยืน ตั้งไว้ในที่ท่ามกลางสถานที่จะสร้างพระเจดีย์ แล้วหล่อพระพุทธรูปด้วยทองคำองค์หนึ่ง ด้วยเงินองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้ใต้ต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองนั้น พร้อมทั้งจัดแต่งเครื่องบูชาตั้งไว้ตรงหน้ามหาโพธิ์กับพระพุทธรูป แล้วทรงให้ก่อเจดีย์ครอบไว้ ยังไม่ทันแล้วเสร็จถึงเพียงชายคาก็สวรรคต

กล่าวได้ว่า พระธาตุเจดีย์หลวงสร้างขึ้นด้วยสำนึกแห่งคุณธรรม คือความกตัญญูกตเวที ที่พระเจ้าแสนเมืองมาทรงมีต่อพระเจ้ากือนา พระราชบิดาของพระองค์ แม้พระองค์จะสร้างยังไม่เสร็จ เพราะสวรรคตเสียก่อน แต่พระมเหสีและพระโอรสของพระองค์ทรงสร้างต่อจนแล้วเสร็จ เป็นพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ ๒๐ วา สูง ๓๙ วา สามารถมองเห็นได้แม้อยู่ไกล ๒,๐๐๐  วา

ต่อมา ปี พ.ศ.๒๐๒๒-๒๐๒๔ พระเจ้าติโลกราช รัชกาลที่ ๙ ราชวงศ์มังราย ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าแสนเมืองมา ได้ทรงสร้างเสริมองค์พระธาตุเจดีย์หลวงให้กว้างออกเป็นด้านละ ๓๕ วา สูง ๔๕ วา “การปฏิสังขรณ์นี้ ได้เริ่มกระทำในปีจอ จุลศักราช ๘๔๑ เสร็จแล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระมหาคัมภีร์เถระ นำมาจากลังกา” (พงศาวดารโยนก ๒๕๑๖:๑๔๓) และเมื่อปี ๒๕๓๓-๒๕๓๕ รัฐบาลได้ทำการบูรณะอีกครั้ง ใช้งบประมาณ ๓๕ ล้านบาท ดังปรากฏรูปทรงให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร สูง ๔๒ เมตร

ราชวงศ์มังราย ที่เคยรุ่งเรืองเกรียงไกรมานาน ๒๖๒ ปี (พ.ศ.๑๘๓๙-๒๑๐๑) โดยมีราชบัลลังก์แห่งเวียงพิงค์เชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและการบริหารอาณาจักรล้านนานั้น พอถึงตอนปลายราชวงศ์ต้องตกอยู่ในยุค “อมาตยาธิปไตย” ขุนนางเป็นใหญ่มีอำนาจเหนือกษัตริย์ สามารถถอดถอนแต่งตั้งกษัตริย์ได้ตามอำเภอใจ เป็นยุคแห่งการฟุ้งเฟ้อแตกแยก ความอ่อนแอระส่ำระสาย จึงได้เกิดขึ้นกับราชบัลลังก์ที่เคยเข้มแข็งรุ่งโรจน์นั้น พอถึง พ.ศ.๒๐๘๘ ส่วนยอดของพระธาตุเจดีย์หลวงและพระเจดีย์องค์สำคัญๆ ของนครเชียงใหม่ ได้พังทลายลงมาเพราะแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เสมือนเป็นสิ่งบอกเหตุการณ์ข้างหน้า เพราะอีก ๑๓ ปีต่อมาคือ พ.ศ.๒๑๐๑ นครเชียงใหม่และอาณาจักรล้านนาก็ล่มสลายตกเป็นเมืองขึ้นของบุเรงนองแห่งพม่า แต่นั้นมาทุกครั้งที่ชาวเชียงใหม่ลุกขึ้นต่อสู้กอบกู้อิสรภาพ พม่าจะปราบปรามจนสงบ บางครั้งปราบปรามได้แล้วจะกวาดต้อนเอาผู้คนราชวงศ์และทรัพย์สินไปพม่า เชียงใหม่แทบจะเป็นเมืองร้าง เช่น พ.ศ.๒๑๕๗-๒๑๘๕-๒๓๐๖ “จุลศักราช ๑๑๒๕ ปีมะแม เดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ำ พม่ายึดเชียงใหม่ได้อีก ๒-๓ วันต่อมา พม่าก็ยึดลำพูน บ้านสันทการได้ พม่ากวาดต้อนเอาลูกเจ้าจัน ลูกองค์คำ และไพร่ไทยชาวเชียงใหม่ไปอังวะหมดสิ้น” (ตามรอยโคลงมังทรารบเชียงใหม่ ชมรมล้านนาคดีเชียงใหม่ ๒๕๒๓-ตำนานเมืองเชียงใหม่ ผูก ๖ ฉบับพระพุทธิมา วัดม่อนคีรีชัย ลำปาง)

พระธาตุเจดีย์หลวง เป็นปูชนียสถานสำคัญและสูงใหญ่ที่สุดในล้านนา ตั้งเด่นเป็นสง่าตระหง่านเป็นศรีแก่บ้านเมือง ในท่ามกลางนครเชียงใหม่ ประหนึ่งจะทอดร่มเงาฉัตรทองคอยปกป้องบ้านเมืองให้ร่มเย็นปลอดภัย เปลวแสงแห่งประทีปโคมไฟบูชาที่สว่างไสวเรืองรอง ประหนึ่งดวงประทีปนำทางชีวิต เป็นบุญเขตประเทืองจิตใจชาวเมืองผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธาให้ผาสุกอิ่มเอมด้วยผลบุญ ก็ถึงกาลรกร้างเศร้าหมองไปด้วย

วัดเจดีย์หลวงในยุคเฟื่องฟูภายใต้ร่มเงาพระธาตุเจดีย์หลวง และบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์เจ้าแห่งราชวงศ์มังราย เป็นพระอารามที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชมหาสวามีแห่งนครเชียงใหม่ถึง ๗ องค์ คือ
       ๑.พระมหาสวามีนาราจริยกะ
       ๒.พระมหานันทะเทวาสวามี
       ๓.พระมหาญาณวิลาสสวามี
       ๔.พระมหาญาณบัณฑิตสวามี
       ๕.พระมหาอุสณะวังสะมหาสวามี
       ๖.พระมหานันทะเทวาสวามี (ชื่อซ้ำองค์ที่ ๒)
       ๗.พระมหาสัทธัมกิตติมหาสวามี
(ยุพิน เข็มมุกด์ สมโภช ๖๐๐ ปี พระธาตุเจดีย์หลวง)

วัดเจดีย์หลวงมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ราชกุฎาคาร...ราชกุฎาราม คือเรือนยอดหรือปราสาทที่พระราชาคือ พระนางติโลกจุฑา และพระเจ้าสามฝั่งแกน ผู้เป็นมเหสีและพระโอรสของพระเจ้าแสนเมืองมา ได้ทรงสร้างเสนาสนะถวายเป็นที่พำนักของสงฆ์ ขณะที่ทำการสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงต่อจากที่พระเจ้าแสนเมืองมาทรงสร้างค้างไว้นั้น จนแล้วเสร็จสมบูรณ์

แต่ชื่อที่คนรู้จักและเรียกขานกันมากที่สุดคือ “วัดเจดีย์หลวง” เพราะถือเอาเนมิตกนามตามความสูงใหญ่ขององค์พระธาตุเจดีย์หลวง แต่ชื่อที่มีมานานในตำนานก็กล่าวไว้คือ “โชติการาม” พระอารามที่มีแต่ความรุ่งเรืองสว่างไสว เพราะสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งสมณฑูต ๘ รูป โดยการนำของพระโสณะและพระอุตตระ เข้ามาประกาศพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ ได้นำพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์เล็กสูง ๔ ศอก ที่สร้างขึ้น ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์หลวงนี้ “ครั้งนั้นมีบุรุษผู้หนึ่ง อายุได้ ๑๒๐ ปี มีใจเลื่อมใสได้เปลื้องเอาผ้าห่มชุบน้ำมันจุดบูชา และได้ทำนายว่า ต่อไปภายหน้าที่ตรงนี้จะเป็นอารามใหญ่ชื่อ โชติการาม” (ตำนานพระธาตุเจดีย์หลวง ๒๔๗๓:๑)

อีกนัยหนึ่ง เมื่อสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงเสร็จแล้ว เวลาจุดประทีปโคมไฟประดับบูชาองค์พระเจดีย์ จะปรากฏแสงสีสว่างไสวมองเห็นองค์พระเจดีย์มีสัณฐานคล้ายเชิงเทียนที่มีเปลวไฟโชติช่วงชัชวาล งามยิ่งนักมองเห็นได้ แม้อยู่ไกล ๒,๐๐๐ วา จึงได้ชื่อว่า “โชติการาม”




แบบสันนิษฐานองค์พระธาตุเจดีย์หลวง


ตลอดรัชสมัยราชวงศ์มังราย ๒๖๒ ปี เกือบสามศตวรรษนั้น เป็นยุคทองของนครเชียงใหม่ และอาณาจักรล้านนา เป็นยุคที่มีเอกราช มีอิสรภาพอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมหาอาณาจักรที่เข้มแข็ง เกรียงไกรด้วยแสนยานุภาพและเศรษฐกิจพอๆ กับมหาอาณาจักรศรีอยุธยา ทั้งเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปวัฒนธรรม สังคมและพระพุทธศาสนา โดยมีนครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบริหารอาณาจักรนั้น พระธาตุเจดีย์หลวงได้รับการสร้างเสริมและทำนุบำรุงอย่างดียิ่งในทุกรัชกาล และตั้งแต่พระยอดเชียงราย รัชกาลที่ ๑๐ (ครองราชย์ ๒๐๓๐-๒๐๓๘) เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงถือว่าเทศกาลบูชาพระธาตุเจดีย์หลวง เป็นราชพิธีสำคัญ

ในทุกๆ ปี พระเจ้าแผ่นดิน เสนาอำมาตย์ และชาวเมืองได้จัดให้มีเทศกาลบูชาสักการะพระธาตุเจดีย์หลวงเป็นประจำ ตรงกับวันขึ้น ๘-๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (ภาคเหนือนับเดือนเร็วกว่าภาคอื่นๆ ๒ เดือน)

“พระนางราชเทวี (นางพระยาวิสุทธิเทวีมเหสีของบุเรงนอง ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะเมืองขึ้นของพม่า พ.ศ.๒๑๐๗-๒๑๒๑) ก็ไม่ละประเพณี ครั้นถึงวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๔ ก็ให้ปูลาดผ้าเจดีย์จุดประทีป จนถึงวันเพ็ญเดือน ๔ มิได้ขาดทุกๆ ปี (หุ้มองค์พระเจดีย์ตั้งแต่ยอดลงมาถึงฐานธรณีด้วยผ้าแพร ผ้าเทศ ผ้าจันทร์ นานได้ ๓ วันก็เอาผ้านั้นลงมาพาดเกยไว้ เพื่อให้ผู้คนบูชาเอาด้วยปัจจัย แล้วนำปัจจัยนั้นบำรุงพระธาตุต่อไป)  ท้าวพระยาผู้ได้เสวยเชียงใหม่ก็ดี เสนาอำมาตย์รัฐประชาทั้งหลายก็ดี ก็ชักชวนพากันกระทำการสักการบูชา พระมหาเจติยะเจ้า ด้วยสักการะต่างๆ อนึ่งฝ่ายสมเด็จพระมหาสังฆราชเจ้าตนเป็นอธิบดีวัดนั้น ครั้นถึงเดือน ๔ เป็นเทศกาลแล้วท่านย่อมชักชวนนักบุญทั้งหลายมากระทำสักการบูชามหาเจดีย์เจ้ามิได้ขาด” (ตำนานพระธาตุวัดเจดีย์หลวง)

ปี พ.ศ. ๒๑๒๑ พระนางวิสุทธิเทวีถึงแก่พิราลัย พม่าส่งราชบุตรบุเรงนองคือมังทรานรทามังคุย (นรทามังคะยอ) มาปกครองเชียงใหม่โดยตรง แต่นั้นเป็นต้นมา เข้าใจว่าเทศกาลบูชาพระธาตุเจดีย์หลวงได้ถูกละเลยขาดช่วงไป พร้อมกับการจากไปของพระนางวิสุทธิเทวี และการเข้ามาครอบงำอย่างเบ็ดเสร็จแห่งอำนาจรัฐจากพม่า

เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นดังกล่าวแล้ว ประเพณีบูชาพระธาตุเจดีย์หลวง จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อปี ๒๕๔๑ หลังจากได้ขาดช่วงไปกว่า ๔ ศตวรรษ ทั้งนี้โดย พระเดชพระคุณพระธรรมดิลก เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร มีบัญชาให้ศึกษาค้นคว้าจนได้ทราบหลักฐานกระจ่าง จึงได้ดำริจัดงานประเพณีบูชาพระธาตุเจดีย์หลวงครั้งปฐมขึ้น เมื่อวันที่ ๙-๑๒ มกราคม ๒๕๔๑ ตรงกับวันขึ้น ๑๒-๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ









งานประเพณีบูชาพระธาตุเจดีย์หลวง ประจำปี ตรงกับวันขึ้น ๑๓-๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เหนือ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ธันวาคม 2560 18:38:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
 
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5764


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2563 16:49:14 »


ความเปลี่ยนแปลงของวันเวลาที่ผันผ่าน
วัดเจดีย์หลวง ในปี ๒๕๖๓
























บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
wondermay 4 8897 กระทู้ล่าสุด 22 เมษายน 2554 22:23:27
โดย หมีงงในพงหญ้า
วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่ กับตำนานพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 6435 กระทู้ล่าสุด 28 กันยายน 2555 12:29:09
โดย Kimleng
งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 1 11590 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39
โดย Kimleng
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คันธวโร) วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1158 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2561 15:07:29
โดย ใบบุญ
วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng 0 1517 กระทู้ล่าสุด 16 มิถุนายน 2563 13:48:24
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.47 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้