[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 14:38:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: จาก “พระพิมพ์” สู่ “พระเครื่อง”  (อ่าน 1937 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2476


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2561 11:21:04 »





จาก “พระพิมพ์” สู่ “พระเครื่อง”

ในบทความเรื่อง “ตำนานพระพิมพ์” ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ นักปราชญ์ฝ่ายวิชาโบราณคดีชาวฝรั่งเศสผู้ลือนาม เสนอไว้ว่า ธรรมเนียมการสร้างพระพิมพ์ คือพระพุทธรูปเล็กๆ ตีพิมพ์ด้วยดิน เริ่มต้นจากการเป็น “ของที่ระลึก” ที่พุทธศาสนิกชนนำติดตัวกลับบ้าน หลังจากไปสักการะสังเวชนียสถานสี่ตำบลในอินเดียโบราณ ก่อนที่จะคลี่คลายกลายเป็นการสร้างขึ้นเพื่อหวังผลบุญกุศล พร้อมกับจารึกบาทคาถาที่เป็น “หัวใจ” ของพระพุทธศาสนา คือคาถา เย ธมฺมา ไว้ด้วย โดยอาจมีจุดมุ่งหมายดังที่ท่านเซเดส์พรรณนาไว้ว่า

“บุคคลผู้ได้ทำรูปพระพิมพ์แล้วและบรรจุไว้ในถ้ำและสถูปต่างๆ เป็นจำนวนตั้งหลายพันองค์นั้นจะต้องคิดถึงการประกาศศาสนาในอนาคตอันไกลเป็นแท้ และหวังว่าจะเป็นเครื่องช่วยประกาศศาสนาให้แพร่หลายไปได้อีกหลายพันปี ดูเหมือนพวกพุทธมามกบุคคลจะได้มีความรู้สึกว่าเมื่อครบอายุพระพุทธศาสนาๆ จะเสื่อมลง การได้พบเห็นรูปพระศาสดาจารย์เจ้าและคาถาย่อ อันเป็นคำสั่งสอนของพระองค์ อาจเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้พบกลับเกิดความเลื่อมใสและเชื่อถือขึ้นอีก”

หรืออีกนัยหนึ่ง ตามข้อเสนอของนักวิชาการท่านนี้ คนโบราณคิดทำพระพิมพ์ให้เป็นเหมือน “ไทม์แคปซูล” บรรจุข้อมูลของศาสนาพุทธแบบสรุปย่อ พร้อมรูปภาพประกอบไว้ เพื่อรอวันเวลาแห่งอนาคตเมื่อถึงสมัยที่คนไม่รู้จักพระพุทธศาสนาอีกต่อไป ว่าหากพวกเขาและเธอเหล่านั้นบังเอิญได้มาพบเห็นพระพิมพ์เหล่านี้เข้า ก็อาจสนใจใฝ่รู้ ค้นคว้าศึกษาจนแจ้งใจ แล้วรื้อฟื้นพระพุทธศาสนาขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ดังนั้น สำหรับคนโบราณ พระพิมพ์เหล่านี้จึงมิได้มีฐานะเป็นเครื่องรางของขลังด้วยซ้ำ แต่เป็นการสั่งสมบุญกุศลไว้เพื่อกาลข้างหน้า





คนไทยสมัยก่อนอาจจะโพกผ้าประเจียด แขวนตะกรุด หรือสวมเสื้อยันต์ (ตลอดจนสักยันต์ลงไปบนผิวหนัง) เป็นเครื่องรางของขลังสำหรับตัว แต่ไม่ใช่พระพุทธรูป

ส่วนหนึ่งก็คงเพราะเห็นว่าเป็น “ของสูง” คือเป็นรูปพระพุทธเจ้า อันพึงเคารพสักการะ ตั้งไว้ในสถานที่อันเหมาะอันควร ไม่อาจจะนำมาติดตัว หรือไว้กับร่างกายสังขารของมนุษย์ผู้ต่ำตม ให้พระท่านต้องแปดเปื้อน

และสาเหตุอีกประการหนึ่งก็อาจจะมาจากว่า ไม่รู้จะนำพระพิมพ์เหล่านั้น มาพกไว้กับตัวได้อย่างไร

ในภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยเก่าๆ เราจึงอาจเคยพบรูปคนโพกผ้าประเจียด สักยันต์ ซึ่งถ้าไม่ใช่โจรก็ต้องเป็นพวกทหาร แต่จะไม่เคยพบรูปวาดที่แสดงภาพคนห้อยแขวนพระเครื่องไว้ที่คอเลย







แล้วจาก “ไทม์แคปซูล” ที่มุ่งหมายประกาศศาสนาแก่ผู้คนในอนาคต พระพิมพ์กลายเป็น “วัตถุมงคล” ที่นำมาไว้ติดตัวได้อย่างไร ?

ในที่นี้อยากเสนอว่า คนไทยน่าจะเพิ่งเริ่ม “ห้อยพระ” หรือ “แขวนพระ” กันเมื่อราว ๑๐๐ กว่าปีมานี้เอง และเริ่มต้นจากธรรมเนียมปฏิบัติของชนชั้นสูงก่อน

“จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๑๙” มีบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ช่วงต้นรัชกาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ ณ วันอังคาร แรมสี่ค่ำ เดือน ๘ ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทาน “พระชัยเล็กซึ่งประดิษฐานในตลับทองคำมีสร้อยร้อยพระสอ” (ศอ คือคอ) กริ่งพร้อมสายสร้อย” แก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระราชโอรส ๔ พระองค์ที่กำลังจะเสด็จไปทรงศึกษาต่อในทวีปยุโรป และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก็ยังมีการระบุถึงการพระราชทาน “สายสร้อยตลับพระชัย” แก่พระบรมวงศานุวงศ์อื่นๆ ด้วย

ว่าที่จริง นี่ก็น่าจะเป็นความคิดที่นำเอาสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา คือ “พระชัยเล็ก” (ซึ่งคงเป็นการจำลองพระชัย หรือพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาล) มาบรรจุในตลับ แล้วแขวนไว้ติดตัวกับสายสร้อยห้อยคอ ในทำนองเดียวกับที่นักบวชคาทอลิกหรือมิชชันนารีโปรเตสแตนท์ มีสร้อยห้อยไม้กางเขน แจกให้แก่ผู้เข้ารีต ไว้ห้อยคอแสดงตนเป็นคริสตศาสนิกชน

สันนิษฐานว่าจาก “สายสร้อยตลับพระ” ทำนองนี้เอง กลายเป็นสิ่งที่คนทุกระดับในสังคมก็ทำเลียนแบบตามอย่างเจ้านายกันลงมา ทำให้เกิดความนิยมเสาะแสวงหา “พระพิมพ์” เพื่อนำมา “เลี่ยม” แขวนกับสร้อย ทำนองเดียวกันนั้นบ้าง

พระพิมพ์ที่แต่เดิมสร้างไว้เพื่อสืบพระศาสนาจึงเกิดความหมายใหม่ ในฐานะวัตถุมงคล คือ “พระเครื่อง” (เครื่องราง) ขึ้นมา

และเพียงเมื่อถึงช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ พระพิมพ์โบราณก็กลายเป็นสินค้า หรือของซื้อของขายที่นิยมแพร่หลาย นำไปสู่การระดมขุดรื้อทลายหาพระเก่าตามเจดีย์วัดร้างที่ระบาดแพร่ไปทั่ว ดังที่ในหลวงรัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพบเห็นเมื่อเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ พ.ศ.๒๔๕๐ ดังที่ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนหนึ่ง หลังจากทรงพบเห็นการลักลอบขุดหาพระเก่าที่เมืองกำแพงเพชรว่า

“เมืองกำแพงเพ็ชร์ต้องนับว่าเปนเมืองเคราะห์ร้าย ที่มีชื่อเสียงเสียแล้วว่ามีพระพิมพ์ดีๆ มีอภินิหารต่างๆ กันสาตราวุธ ฟันไม่เข้า ยิงไม่ออกเปนต้น…นึกๆ ดูก็น่าขันที่เอาพระพุทธรูปไปผูกคอไปเพื่อป้องกันตนในการที่คิดมิชอบต่างๆ มีปล้นสดมภ์ฤๅตีรันฟันแทงเกะกะต่างๆ เปนต้น…”

ธรรมเนียมการนำเอาพระพุทธรูปหรือพระพิมพ์มาห้อยคอนี้ จึงเริ่มมีปรากฏในวัฒนธรรมพุทธของไทยเท่านั้น คนในประเทศพุทธเถรวาทอื่นๆ เช่นลังกา หรือพม่า ก็ไม่ได้ทำกัน มีเราทำอยู่คนเดียว


ที่มา นิตยสาร สารคดี

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.332 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 22 ชั่วโมงที่แล้ว