Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.163
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 09 เมษายน 2563 10:21:05 » |
|
การทำบุญจำเป็นต้องเลือกวัดเลือกพระไหมครับถาม: การทำบุญจำเป็นต้องเลือกวัดเลือกพระไหมครับ พระอาจารย์: ก็เหมือนไปโรงเรียนต้องเลือกโรงเรียนหรือเปล่า ใช่ใหม เลือกไหมทำไมไปเรียนสาธิตจุฬาฯ ทำไมไปเข้าจุฬาฯ ไปเข้ามหิดล ก็เพราะว่าสถาบันการศึกษามีความรู้ความสามารถไม่เท่าเทียมกัน วัดก็เหมือนกัน วัดก็มีความสามารถไม่เท่าเทียมกันในการให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา ก็ต้องเลือกวัดเลือกสถานที่ที่เราจะไปทำบุญไปศึกษา แต่ถ้าเราไม่ศึกษา เราเพียงอยากจะไปสร้างโบสถ์ให้กับวัดที่ไม่มีก็ไปสร้างได้ อย่างไปสร้างกุฏิให้กับวัดที่เขาไม่มีก็ไปสร้างได้ วัดไหนก็ได้ที่เขาขาดแคลนก็ไปสร้างให้เขาไป แต่ถ้าไปศึกษาไปปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมนี้ต้องเลือกวัดไป จิตสงบ จิตว่างถาม: เวลาที่นั่งสมาธิพิจารณาลมหายใจและพุทโธไปด้วย แล้่วอยู่ๆพุทโธก็ไม่มี แต่รู้ว่าตัวเองนั่งอยู่ พระอาจารย์: จิตสงบ จิตว่าง ถาม: แต่เป็นไม่นานนะคะ พระอาจารย์: พยายามทําให้เป็นนานๆ ถาม: เวลาที่เป็นอย่างนี้ จะนั่งได้ทั้งคืน มีความสุข ไม่มีความง่วง ถูกแล้วใช่ไหมคะ พระอาจารย์: ถูกแล้ว “พ้นทุกข์ได้ไม่ต้องรอจนถึงวันตาย” ถาม: ถ้าเราปฏิบัติไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตสม่ำเสมอ เราจะทำจิตให้ยอม หยุด เย็น จนกระทั่งถึงวันตายคือพ้นทุกข์ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ พ้นก่อนตายเสียด้วยซ้ำไปถ้าทำจริงๆ ไม่ ๗ วัน ก็ ๗ เดือน ๗ ปี ก็พ้นทุกข์ได้ ไม่ต้องรอจนถึงวันตายหรอก คำว่ากรวดน้ำคือการอุทิศบุญถาม: หนูอยากทราบว่าเวลาเราทำบุญบริจาคโอนเงินผ่านบัญชีต่างๆ เราต้องกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลเหมือนเวลาไปใส่บาตรหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: คือการกรวดน้ำเป็นการแบ่งบุญให้กับผู้ล่วงลับไปแล้ว ถ้าเราอยากจะแบ่งบุญที่เราทำก็ได้ การกรวดน้ำนี้ไม่ต้องใช้น้ำก็ได้ คำว่ากรวดน้ำนี้คือการอุทิศบุญ ทีนี้บุญมันเป็นของที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเขาก็เลยให้เอาน้ำมาเป็นตัวแทนบุญ ให้เทน้ำจากภาชนะหนึ่งไปสู่อีกภาชนะหนึ่ง ก็เป็นเหมือนการส่งบุญจากใจหนึ่งไปสู่อีกใจหนึ่ง ใจผู้รับก็เป็นใจแต่ตอนนี้เป็นใจที่ไม่มีร่างกาย เราก็เรียกว่าดวงวิญญาณ เท่านั้นเอง แต่สามารถส่งบุญที่เราได้สร้างขึ้นในใจของเรา แบ่งไปให้เขาได้ด้วยการใช้คำระลึกคิดในใจไม่ต้องใช้น้ำ ขออุทิศส่วนบุญอันนี้ให้กับคนนั้นคนนี้ที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้ากำลังรอรับบุญอยู่ก็ขอให้รับบุญนี้ไปได้เลย เท่านั้นก็เสร็จแล้วไม่ต้องใช้น้ำ ถ้าไม่อยากจะอุทิศก็ได้ถ้าขี้เกียจไม่รู้จักใคร ก็ไม่ต้องอุทิศก็ได้ ว่างตามความเป็นจริงไม่ใช่ว่างตามความคิดถาม: การเข้าสู่ความว่างควรมีสติรู้ทั่วร่างกายว่ากำลังนั่งอยู่ไหมคะ หรือว่าควรทำให้ร่างกายหายไปเลยแบบไม่รู้สึกตัวว่าจิตว่างอยู่ พระอาจารย์: อ๋อ มันจะว่างต่อเมื่อเรามีสติอยู่กับอารมณ์เดียว อยู่กับพุทโธหรืออยู่กับลม ไม่ไปคิดปรุงแต่ง พอมันหยุดคิดปรุงแต่งจิตก็จะว่างขึ้นมา เราไปคิดให้มันว่างไม่ได้ เพราะคิดให้มันว่างมันก็ไม่ว่างแล้ว เพราะความคิด มันต้องหยุดคิดเท่านั้นมันถึงจะว่าง จะหยุดคิดก็ต้องมีอะไรผูกใจไม่ให้ไปคิด เช่น มีลมหายใจ หรือมีพุทโธผูกไว้มันก็จะหยุดคิด พอหยุดคิดแล้วมันก็จะว่างขึ้นมาเอง ว่างตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่างตามความคิด ไปนั่งคิดว่าง ว่าง ว่าง เมื่อไหร่จะว่างสักทีโว้ย มันก็ไม่ว่าง มันจะว่างก็ต่อเมื่อเราไม่ไปคิด ไม่ไปปรุงแต่ง ธรรมะบนเขา พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน 700 (650)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.138
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2563 16:30:43 » |
|
ธรรมที่จะเอามาใช้ในการปล่อยวางถาม: สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ผมอยากทราบว่าธรรมในที่นี้เป็นอย่างไร อย่างไรคือธรรมครับ พระอาจารย์: คือธรรมที่จะเอามาใช้ในการปล่อยวาง กาย เวทนา จิต นั่นเอง ว่าเรามีธรรมอยู่ในใจหรือเปล่า เช่น มีอริยสัจ ๔ มีไตรลักษณ์หรือเปล่า มีมรรค ๘ หรือเปล่า มีโพชฌงค์หรือเปล่า มีพละ ๕ หรือเปล่า นี่คือธรรมที่เราจำเป็นจะต้องมีในใจเราเพื่อที่เราจะได้พิจารณาปล่อยวางกาย เวทนา จิตได้กังวลกับเรื่องโควิด-19 มากเกินไปควรทำใจอย่างไรถาม: ถ้าเรารู้ว่าตัวเองกำลังกังวลกับเรื่องโควิด-19 มากจนเกินไปเราควรทำใจและทำตัวอย่างไรให้มีความสุขขึ้นมาได้บ้างคะ พระอาจารย์: เบื้องต้นก็ต้องหยุดความคิดนี้ให้ได้ ดึงมันมาคิดทางการสวดมนต์แทน สวดอิติปิโสไป หรือฟังเทศน์ฟังธรรมไป มันก็จะดึงใจให้ออกจากความคิดเกี่ยวกับเรื่องโรคภัยไข้เจ็บได้ ทุกครั้งที่กลับไปคิดก็ต้องดึงมันออกมาด้วยการท่องพุทโธ ด้วยการสวดมนต์ไป หรือถ้าเรามีปัญญาก็ใช้ปัญญาพิจารณาว่าเรื่องโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องธรรมด้าธรรมดา ต้องเจอกันทุกคนไม่ช้าก็เร็ว ไม่มากก็น้อย หนีมันไม่พ้น คิดอย่างนี้แล้วใจก็จะปลงได้วางได้ ยอมรับกับความจริงกิเลสไม่ชอบดูลมหายใจถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ เวลาที่ดูลมหายใจแล้วชอบแน่นหน้าอก ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรคะ และควรแก้ไขอย่างไรคะ โดยส่วนตัวแล้ว เป็นคนเครียดง่ายเจ้าค่ะ พระอาจารย์: คือถ้ามันเป็นเฉพาะเวลาดูลมหายใจ ถ้าดูทีวีดูละครไม่เป็น อันนี้ก็ไม่ต้องไปหาหมอเพราะไม่ใช่เรื่องของร่างกาย เป็นเรื่องของกิเลส กิเลสไม่ชอบดูลมหายใจเพราะมันไม่สนุกเหมือนดูละครดูหนัง มันก็เลยตีโพยตีพายสร้างความรู้สึก อึดอัดตรงนั้นแน่นตรงนั้นปวดตรงนี้ ก็อย่าไปสนใจมัน พยายามตั้งใจดูลมไป ถ้ากำลังดูลมไม่พอก็ใช้พุทโธก่อนหรือสวดมนต์ไปก่อนก็ได้ ถ้าสติมีกำลังไม่พอเกิดอาการเหล่านี้ ดูไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไปดู สวดมนต์ไปก่อน หรือฟังเทศน์ฟังธรรมไปก่อน ฟังไปสักชั่วโมงแล้วลองมานั่งดูลมต่อ ถ้าใจมันสงบลงจากการฟังธรรมแล้วมันจะไม่มีอาการต่างๆ ปรากฏขึ้นมา ปฏิบัติให้บรรลุภายใน ๗ ปี ต้องเข้มข้นขนาดไหนถาม: จะปฏิบัติให้บรรลุใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี จะต้องเข้มข้นขนาดไหนเจ้าคะ พระอาจารย์: ก็ไปบวชไง ต้องไปถือศีล ต้องไปอยู่กับพระอาจารย์ที่ดุๆ เข้มข้น ที่คอยเคี่ยวเข็ญคอยผลักคอยดันให้ภาวนาอย่างเดียว ไม่ให้ไปทำภารกิจอย่างอื่น ให้มันสงบไปจนกว่ามันจะหายสงบถาม: เมื่อทำสมาธิจนจิตสงบแล้ว ควรวางจิตหรือกำหนดจิตต่อไปอย่างไรครับ พระอาจารย์: อ๋อ ก็วางจิตเหมือนเดิม ให้มันสงบไปนานๆ จะไปให้ทำอะไร ทำจิตให้สงบเพื่อให้มันสงบนานๆ พอมันสงบแล้วก็ไม่ต้องทำอะไร คอยรักษาความสงบไว้ ถ้ามันจะคิดนู่นคิดนี่ก็หยุดมัน ถ้ามันคิดว่าจะเลิกนั่งแล้วก็หยุดมัน แล้วก็มานั่งต่อไป มันดีจะตายไปจะเลิกนั่งทำไม ถ้ามันสงบจริงมันไม่อยากจะลุกหรอก เหมือนกับดูหนังดีแล้วไม่อยากจะลุก ปวดฉี่มันยังไม่ยอมลุกเลย ฉันใด ก็อย่างนั้นแหละ เหมือนกับดูหนังไง นั่งสมาธิก็เป็นเหมือนดูหนัง ดูให้มันจบ นั่งสมาธิพอจิตสงบแล้วก็ให้มันสงบไปจนกว่ามันจะหายสงบ นั่นแหละถึงค่อยทำอะไรต่อไป สติไม่ใช่สมาธิถาม: การที่เรามีสมาธิหมายถึงการที่ใจเราไม่คิดเรื่องใดๆ เลยหรือเจ้าคะ หากเราคิดเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ถ้าอย่างนี้จะเรียกว่าสมาธิได้หรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: ไม่ได้หรอก เรียกว่าสติ สมาธินี้คือฌาน ต้องเข้าฌาน ฌานมีอยู่ ๘ ระดับ ฌานขั้นที่ ๑ ยังมีความคิดได้อยู่แต่คิดในเรื่องที่เราบังคับให้คิด คือพุทโธพุทโธอย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่า “ตรึกตรอง” ตรึกตรองอยู่กับพุทโธพุทโธ ไม่ใช่คิดถึงอาหารการกินขนมวิ่งเล่นเที่ยวที่นั่นที่นี่ไม่ใช่ ให้มันคิดอยู่กับเรื่องที่จะทำให้ใจสงบ พอเข้าฌานแล้วมันจะคิดแต่พุทโธพุทโธไป แล้วพอมันนิ่งสงบเต็มที่พุทโธก็หยุดความคิดต่างๆ ก็หายไปหมด เหลือแต่ตัวรู้อย่างเดียว แม้แต่ร่างกายบางทีก็หายไปด้วย นี่เรียกว่า “สมาธิ” ส่วนสติก็คือการควบคุมไม่ให้คิด ไม่ว่าเราจะอยู่ในอิริยาบถใด ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ว่าเรากำลังจะทำอะไรเราก็อย่าให้มันคิด ด้วยการใช้พุทโธพุทโธไป หรือให้มันดูว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ให้มันอยู่กับงานที่เราทำ มันก็จะไปคิดเรื่องอื่นไม่ได้ นี่เรียกว่า “การฝึกสติ” แต่เรามักจะใช้คำสมาธิแทนสติกันเลยงงกันไปหมด อย่างภาษาไทยมันเป็นปัญหามาก เพราะเราไปใช้หลายความหมายด้วยกัน พอมาพูดมันก็เลยสับสนกันไป สติก็เลยกลายเป็นสมาธิไป ก็เลยคิดว่าได้สมาธิกันทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ เพียงแต่กำลังเจริญสติเท่านั้นเอง “เวทนา” ก็หลงไป แทนที่จะเป็นความรู้สึก ก็กลายเป็นความสมเพทไป นี่ภาษาไทยไปใช้หลายอย่างด้วยกัน มันเลยทำให้เวลาพูดธรรมะเลยไม่เข้าใจว่าพูดเรื่องอะไรกัน ฌานกับสติถาม: เรียนถามพระอาจารย์ เราควรจะมีฌานตลอดเวลาใช่ไหมคะ จะได้มีกำลังตัดกิเลสในชีวิตประจำวันได้ และการมีฌานตลอดวันกับการมีสติตลอดวันเหมือนกันไหมคะ พระอาจารย์: ไม่เหมือนหรอก การมีสติก็ยังเป็นการสร้างฌานอยู่ สติเป็นตัวสร้างฌาน ถ้ามีสติต่อเนื่องก็สามารถมีฌานอย่างต่อเนื่องได้ งั้นจะว่าการมีสติเป็นการมีฌานก็ได้ แต่บางทีก็ยังไม่มี มีสติแต่จิตยังแวบไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ก็ยังไม่มีฌานอยู่ ต้องมีสติแบบที่ทำให้จิตไม่คิดเรื่องนู้นเรื่องนี้เลย ซึ่งส่วนใหญ่ก็ต้องเกิดจากเวลานั่ง เวลานั่งเราไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องคิดอะไร แต่ถ้าเรายังเคลื่อนไหวยังทำอะไรอยู่ ถึงแม้มีสติมันก็ยังมีฌานไม่ได้ แต่หลังจากที่เรามีฌานอย่างชำนาญแล้ว เวลาออกจากฌานเรายังสามารถทำอะไรได้ด้วยการมีฌานอยู่ แต่ตอนที่ยังไม่มีฌานนี้ควรจะนั่งบ่อยๆ นั่งมากๆ แต่พอนั่งจนมีฌานมากแล้ว เวลาออกจากสมาธิยังมีฌานติดออกมาก็สามารถที่จะไปทำอะไรต่อได้ ธรรมะบนเขา พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน 700 (650)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.97
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2563 10:16:52 » |
|
อารมณ์ของจิตเมื่อเห็นความตาย ปล่อยวาง เป็นอย่างไรครับถาม: อารมณ์ของจิตเมื่อเห็นความตายแล้ว ปล่อยวางจริงๆ เป็นอย่างไรครับ เมื่อสองสามวันนี้ได้ทราบข่าวมรณภาพของท่านพระอาจารย์สุดใจ ก็เลยพยายามใช้มรณานุสสติให้เจริญขึ้นในใจ จนอยากกราบเรียนถามพ่อแม่ครูอาจารย์ให้ชัดรวบยอดอีกทีว่า อารมณ์เมื่อเห็นความตายเป็นเรื่องปกตินี้ มันเป็นอย่างไรครับ หรือเราต้องฝึกซ้อมเรื่อยๆ หากเราเจอโจทย์จริงๆ ที่ชัดกว่านั้น เช่น พ่อแม่เราเสียขึ้นมา เราถึงจะเจออารมณ์นั้นได้ที่จริงที่ละเอียด ที่นานๆ ยิ่งขึ้นไป เพราะรู้สึกว่าประโยชน์ของมรณานุสสติได้ประโยชน์สูงมากเลยครับ
พระอาจารย์: ก็คือเฉยไง เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา เราในที่นี้หมายถึงใจ เวลาร่างกายตายมันไม่ได้ไปทำให้ใจตายไปด้วย งั้นการที่เราปลงได้ ยอมรับความตายได้ ก็เท่ากับว่าเราปล่อยร่างกายได้ ถ้าปล่อยได้จริงๆ เวลาร่างกายเป็นอะไรเราจะรู้สึกเฉยๆ แต่ถ้าเกิดอาการกลัวขึ้นมา เกิดเครียดขึ้นมา ก็ทดสอบดูสิ ลองไปอยู่ในที่น่ากลัวดู แล้วดูว่าใจจะกลัวหรือไม่ เช่น ไปอยู่ในป่าช้า ไปหาป่าช้าที่ไหนสักแห่ง ค่ำคืนลองเข้าไปนั่งสมาธิ ไปนอนที่นั่นสักคืนหนึ่งดู ดูว่าจะรู้สึกมีความกลัวไหม หรือไม่เช่นนั้นก็ไปอยู่ในป่าที่มีสัตว์ร้าย อะไรทำนองนั้น ดูสิว่าจะมีความกลัวรึเปล่า ถ้าไปแล้วรู้สึกเหมือนกับอยู่ในบ้าน ก็แสดงว่าเราปลงได้มหาสติปัฏฐาน ๔ คืออะไรครับถาม: มหาสติปัฏฐาน ๔ คืออะไรครับ พระอาจารย์
พระอาจารย์: เป็นหลักสูตร วิธีปฏิบัติ สติ สมาธิ และปัญญา ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ควรจะไปศึกษาดู อ่านคำแปล อย่าไปอ่านคำบาลีเพราะคำบาลีนี้ เราไม่เข้าใจความหมาย แต่คนไม่เข้าใจ คิดว่าอ่านบาลีแล้วศักดิ์สิทธิ์กว่าอ่านคำแปล ความจริงนั้นเป็นการเข้าใจผิด คิดว่าอ่านบาลีแล้วได้อ่านคำพูดของพระพุทธเจ้าโดยตรง เพราะอ่านคำแปลแล้วไม่เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ใช่นะ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้สอนเพื่อให้คนฟังเข้าใจ ไม่ได้สอนให้ได้ยินคำภาษาของพระพุทธเจ้า ให้เราอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ พอเข้าใจแล้วเราจะได้รู้จักวิธีที่จะปฏิบัติอย่างถูกต้อง ที่เราเรียกว่า “ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ” นี่เอง พอปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ “มรรคผลนิพพาน” ก็จะปรากฏตามลำดับต่อไปพระอรหันต์ขณะมีชีวิตอยู่ยังต้องรับกรรมใช่ไหมเจ้าคะถาม: พระอรหันต์ขณะมีชีวิตอยู่ ยังต้องรับกรรมใช่ไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์: ท่านก็เป็นเหมือนคนทั่วไป ถ้ามีเหตุการณ์มีกรรมอะไรเข้ามากระทบ ท่านก็รับไป เพียงแต่ว่าต่างกันที่จิตใจของท่านไม่เดือดร้อนกับการรับวิบากกรรมของทางร่างกาย เช่น อาจจะโดนเขาด่า เช่น องคุลิมาลก็ถูกชาวบ้านคอยเอาก้อนหิน เขวี้ยงใส่เวลาชาวบ้านจำหน้าได้ว่า อ้อ ไอ้นี่เป็นองคุลิมาล เคยมาฆ่าคนในหมู่บ้านเขา พอเขาเห็นเข้าก็เลยไล่ ด้วยการใช้ก้อนหินเขวี้ยงใส่ ท่านก็ต้องรับกรรมไป พระโมคคัลลานะท่านก็ต้องถูกเขาฆ่าตายไป แต่ใจของท่านเฉยๆ เหมือนกับไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เพราะท่านเห็นด้วยปัญญาว่าร่างกายไม่ใช่ตัวท่าน ร่างกายเป็นเหมือนรถยนต์แหละ โยมขับรถไปใครเอาน้ำสาดใส่รถยนต์ ก็ปล่อยมันสาดไปสิ คนขับรถอยู่ในรถไม่ได้เปียกไปกับน้ำที่รถยนต์ถูกสาด ก็เป็นแบบนั้น ความทุกข์ทางกายไม่สามารถเข้าไปในใจของพระอรหันต์ได้ตายอย่างไรไม่ให้ทุกข์ใจถาม: ขอให้พระอาจารย์ช่วยชี้ความสงบให้ทุกคนที่ต้องตาย จะทำจิตอย่างไรก่อนตาย อย่างไรไม่ให้มีทุกข์ใจเมื่อจะต้องตายจากโลกนี้ค่ะ
พระอาจารย์: ก็นั่นแหละ ต้องหัดทำสมาธิให้ได้ หัดเจริญปัญญา ปลงให้ได้ ทำสมาธิก็ต้องหัด สวดมนต์ไป บริกรรมพุทโธไป หัดดูลมหายใจเข้าออกไป อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าทำได้ใจก็จะสงบ แต่จะสงบเป็นพักๆ ถ้าอยากจะให้ใจสงบอย่างถาวร ก็ต้องใช้ปัญญาสอนใจว่า ชีวิตของเรานี้มีต้นมีปลาย มีเกิดมีดับเป็นธรรมดา ตอนนี้เรากำลังถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เราจะอยากไปให้มันไม่ถึงไม่ได้แล้ว เราก็ไปกับมัน เหมือนกับนั่งรถ เมื่อรถมันจะพาเราไปสู่ป้ายสุดท้าย เราก็ต้องไปกับมัน อย่าไปทำอะไร ฝืนไม่ได้ ยิ่งฝืนยิ่งทุกข์ งั้น “ยอม หยุด เย็น” ยอมตายแล้วใจก็จะหยุดต่อต้านความตาย พอหยุดได้แล้วใจก็จะเย็นจะสงบ จะมีความสุข เหมือนท่านสุดใจ ท่านออกมานอกห้องไม่ได้ อาจารย์สุดใจท่านออกนอกห้องไม่ได้ ก็ต้องยอม นั่งสมาธิไป ท่านนั่งสมาธิได้ท่านก็นั่งสมาธิไป ใจท่านก็จะหยุดต่อสู้ หยุดหนีความตาย เห็นไหมร่างกายท่านไม่วิ่งไปเคาะ ไปอะไรต่างๆ ท่านก็นั่งไป ทำใจให้นิ่งให้สงบ พอหยุดได้ใจก็เย็นสบาย ร่างกายร้อนแต่ใจเย็น แปลกไหมธรรมะหน้ากุฏิ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๓ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มิถุนายน 2563 10:19:38 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2563 15:06:28 » |
|
.พระนิพพานหมายถึงการดับของดวงจิตด้วยหรือเปล่าเจ้าคะถาม: พระนิพพานคือการดับการเกิด และหมายถึงการดับของดวงจิตด้วยรึเปล่าเจ้าคะ
พระอาจารย์: ไม่หรอก เป็นการดับของกิเลสที่มีอยู่ในจิต นิพพานนี้เป็นการดับของกิเลสตัณหาโมหะอวิชชา ไม่มีหลงเหลืออยู่ภายในจิต จิตไม่ได้ดับ จิตยังอยู่เหมือนเดิม จิตเหมือนเสื้อที่ได้รับการซักฟอกแล้ว พอเสื้อสกปรกเราก็เอาไปซัก พอซักเสร็จ อะไรหายไปล่ะ คราบสกปรกหายไป แต่เสื้อไม่ได้หายไป ฉันใดใจของเราก็มีคราบสกปรกคือกิเลสตัณหาติดอยู่ในใจของเรา พอเราปฏิบัติธรรมสำเร็จปั๊บนี่ คราบกิเลสที่ติดอยู่ในใจก็หายไปหมดเลย เราก็เลยเรียกใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสตัณหานี้ว่า “นิพพาน” นี่เองไม่ได้อยู่ที่การสวดถาม: บทสวดมหาสมัยสูตร สามารถสวดที่บ้านได้ไหมครับ
พระอาจารย์: อย่างที่บอกแหละ มันสวดที่ไหนก็ได้ มันเป็นการปฏิบัติ เป็นการเจริญสติ สวดบทไหนก็ได้ มหาสมัยหรือไม่มหาสมัย อิติปิโสหรืออะไร ได้ทั้งนั้น ขอให้สวดแบบมีสติก็แล้วกัน คืออย่าปล่อยให้ใจคิดไปควบคู่กับการสวด ให้อยู่กับการสวดเพียงอย่างเดียว เพื่อทำใจให้นิ่งให้สงบเท่านั้นเอง อยู่ที่ไหนก็ได้ แต่ถามว่าที่เลือกได้ไหม ถ้าเลือกได้ก็ดี ก็คือต้องหาที่มันสงบจะดีกว่าที่ไม่สงบ ที่รอบข้างมีคนวุ่นวายนี้ ส่งเสียงอึกทึกครึกโครมมันก็ลำบาก แต่ถ้าไปอยู่ตามลำพังไม่มีเสียงไม่มีอะไรมารบกวน มันก็จะง่ายกว่า มันก็จะได้ผลดีกว่า ถ้าเลือกได้ก็เลือก ถ้าเลือกไม่ได้อยู่ที่ไหนสวดได้ก็สวดไป มันไม่ได้อยู่ที่สถานที่ อยู่ที่การสวดหรือไม่สวดนั่งสมาธินานๆ ปวดชาควรทำอย่างไรถาม: นั่งสมาธินานๆ เริ่มสงบและเกิดความปวดชา ควรทำอย่างไรครับ ปฏิบัติอย่างไรถึงถูกทางหรือก้าวหน้าขึ้นครับ
พระอาจารย์: เวลานั่งสมาธิแล้วมันเริ่มเกิดอาการเจ็บหรือเกิดอาการชาขึ้นมา ถ้าอยากจะก้าวหน้าก็นั่งต่อไป เหมือนขับรถแหละ พอขับรถไปแล้ว รถมันเริ่มมีปัญหา เช่น ยางอาจจะแตก อย่างนี้ เราก็ต้องซ่อมยาง เสร็จแล้วเราก็ขับรถต่อไป อันนี้ทางปฏิบัติ เรื่องของอาการเจ็บชานี้เป็นเรื่องของร่างกายไม่ใช่เรื่องของจิตใจ เราก็ไม่ต้องไปสนใจมัน เราก็ภาวนาต่อไป ดูลมหายใจต่อไปหรือพุทโธต่อไป แล้วเดี๋ยวถ้าเราเกาะติดกับลมเกาะติดกับพุทโธได้ เดี๋ยวอาการเจ็บชามันก็จะหายไปเอง แล้วจิตเราก็จะสงบเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับบริกรรมพุทโธแล้วมีความคิดอื่นเข้ามาแทรกถาม: ผมบริกรรมพุทโธแล้วมีความคิดอื่นเข้ามาแทรก ควรทำอย่างไรต่อไปดีครับ บางครั้งข่มจิตจนกลายเป็นความเครียดครับ
พระอาจารย์: อย่าไปข่มมัน เราก็ท่องพุทโธของเราไป อย่าไปข่มความคิด อย่าไปสนใจความคิด มันจะแทรกเข้ามาก็ปล่อยมันแทรก เหมือนเราขับรถล่ะ เราก็ขับของเราไป คนอื่นเขาจะแทรกเข้ามาบ้าง ก็ปล่อยเขาแทรกไป เราก็ขับของเราไป อย่าไปวุ่นวายไปกังวลกับการแทรกของคนอื่น ของความคิด ให้อยู่กับพุทโธพุทโธพุทโธไป แล้วเดี๋ยวความคิดที่คอยแทรกเข้ามามันก็จะน้อยลง เบาลงไป แล้วหายไปได้ในที่สุดมีพระพุทธเจ้าเป็นเพื่อนดีกว่ามีเพื่อนไร้สาระเป็นหมื่นเป็นแสนถาม: บางทีพูดน้อยเกินไปไม่ค่อยมีเพื่อนเจ้าค่ะ แต่เขาพูดกันเรื่องไร้สาระ ส่วนใหญ่ เช่น เรื่องกินเรื่องเที่ยว เรื่องความรักแฟน บางทีก็ไม่รู้จะพูดอะไร สรรหาคำพูดไม่ถูกเจ้าค่ะ จะพูดเรื่องไร้สาระก็เหมือนเพื่อเชื่อมความเป็นมิตร ก็ไม่อยากทำเจ้าค่ะ ควรมีทักษะการพูดกับคนอื่นอย่างไรเจ้าคะ ให้มีเพื่อนมากแบบไม่อยากพูดไร้สาระ เหลวไหลเจ้าค่ะ
พระอาจารย์: มีเพื่อนมากแต่เป็นเพื่อนที่ไร้สาระ ก็สู้อย่ามีดีกว่า งั้นอย่าดูจำนวน อย่าดูปริมาณ ให้ดูคุณภาพ มีเพื่อนคนเดียวที่ดีที่สุด มีพระพุทธเจ้าเป็นเพื่อนนี้ดีกว่ามีเพื่อนไร้สาระเป็นหมื่นเป็นแสน มีคนกดไล้ค์เป็นหมื่นเป็นแสน มีพระพุทธเจ้ากดไล้ค์คนเดียวพอ ท่านเคยสอนให้คบบัณฑิต อย่าไปคบคนพาล คนพาลก็คือคนโง่ คนไร้สาระ ให้คบบัณฑิตคนฉลาด คนที่มีแต่สารประโยชน์ต่างๆละบาปสำคัญมากกว่าทำบุญถาม: ขอคำชี้แนะคำว่าละบาปสำคัญมากกว่าทำบุญครับ
พระอาจารย์: เพราะว่าบาปนี้มันมีผลกระทบที่รุนแรงต่อจิตใจนั่นเอง สมมุติว่าตอนนี้เราเป็นมนุษย์ ถ้าเราทำบาปนี้เราจะถูกเลื่อนลงไปจากการเป็นมนุษย์ ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือไปเป็นเปรต เป็นสัตว์นรก แต่ถ้าเราไม่ทำบาปปั๊บเราก็ยังรักษาสถานภาพของมนุษย์ได้ การทำบุญนี้เป็นเพียงการยกระดับให้สูงขึ้น เท่านั้นเอง จากมนุษย์ขึ้นไปเป็นเทพ ถ้าไม่ได้ทำบุญก็เป็นแค่มนุษย์ไปก่อน แต่ถ้าทำบุญก็จะได้ยกระดับขึ้นไปเป็นเทพ เป็นพรหมต่อไป เป็นพระอริยบุคคลต่อไป แต่เบื้องต้นนี้เราต้องอย่าทำบาปก่อน เพราะทำบาปก็เหมือนไปติดคุกนั่นเอง ถ้าเราไม่ทำผิดกฎหมายเราก็ไม่ต้องไปติดคุก ถึงแม้เราไม่ได้ไปทำบุญทำประโยชน์ ไม่ได้รับรางวัลจากสถานที่นั้นสถานที่นี้ แต่เราก็อยู่อย่างอิสระต่อไปได้ งั้นอย่าไปทำบาป แล้วพอเราไม่ทำบาปได้แล้ว ต่อไปถ้าเรามีโอกาสทำบุญได้เราก็ทำไป ถ้าอยากจะทำมันก็มีโอกาสแหละ เพราะบุญมันมีหลายชนิด มันไม่ได้เกิดจากการเสียสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองแต่เพียงอย่างเดียว การทำประโยชน์สุขให้แก่ผู้อื่นด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็เป็นการทำบุญเหมือนกัน นอกจากนั้นยังมีการทำบุญที่เหนือกว่านั้นอีก คือการภาวนา การพัฒนายกระดับจิตใจให้สูงขึ้น อันนี้ก็เป็นการทำบุญเหมือนกันอารมณ์ของจิตเมื่อเห็นความตาย ปล่อยวาง เป็นอย่างไรครับถาม: อารมณ์ของจิตเมื่อเห็นความตายแล้ว ปล่อยวางจริงๆ เป็นอย่างไรครับ เมื่อสองสามวันนี้ได้ทราบข่าวมรณภาพของท่านพระอาจารย์สุดใจ ก็เลยพยายามใช้มรณานุสสติให้เจริญขึ้นในใจ จนอยากกราบเรียนถามพ่อแม่ครูอาจารย์ให้ชัดรวบยอดอีกทีว่า อารมณ์เมื่อเห็นความตายเป็นเรื่องปกตินี้ มันเป็นอย่างไรครับ หรือเราต้องฝึกซ้อมเรื่อยๆ หากเราเจอโจทย์จริงๆ ที่ชัดกว่านั้น เช่น พ่อแม่เราเสียขึ้นมา เราถึงจะเจออารมณ์นั้นได้ที่จริงที่ละเอียด ที่นานๆ ยิ่งขึ้นไป เพราะรู้สึกว่าประโยชน์ของมรณานุสสติได้ประโยชน์สูงมากเลยครับ
พระอาจารย์: ก็คือเฉยไง เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา เราในที่นี้หมายถึงใจ เวลาร่างกายตายมันไม่ได้ไปทำให้ใจตายไปด้วย งั้นการที่เราปลงได้ ยอมรับความตายได้ ก็เท่ากับว่าเราปล่อยร่างกายได้ ถ้าปล่อยได้จริงๆ เวลาร่างกายเป็นอะไรเราจะรู้สึกเฉยๆ แต่ถ้าเกิดอาการกลัวขึ้นมา เกิดเครียดขึ้นมา ก็ทดสอบดูสิ ลองไปอยู่ในที่น่ากลัวดู แล้วดูว่าใจจะกลัวหรือไม่ เช่น ไปอยู่ในป่าช้า ไปหาป่าช้าที่ไหนสักแห่ง ค่ำคืนลองเข้าไปนั่งสมาธิ ไปนอนที่นั่นสักคืนหนึ่งดู ดูว่าจะรู้สึกมีความกลัวไหม หรือไม่เช่นนั้นก็ไปอยู่ในป่าที่มีสัตว์ร้าย อะไรทำนองนั้น ดูสิว่าจะมีความกลัวรึเปล่า ถ้าไปแล้วรู้สึกเหมือนกับอยู่ในบ้าน ก็แสดงว่าเราปลงได้ทางเดินจงกรมที่ถูกต้องควรจะเดินทางไหนดีครับถาม: ทางเดินจงกรมที่ถูกต้องควรจะเดินทางไหนดีครับ ตะวันออกตะวันตก หรือว่าทางเหนือทางใต้ครับ
พระอาจารย์: คือ ทางสายหลวงปู่มั่นนี้ เราให้ความเคารพกับคำสั่งคำสอนของท่าน ท่านแนะว่าควรจะเดินตามแนวตะวัน คือตะวันออกตะวันตก หรือเยื้องได้ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้อย่างนี้ สลับกัน แต่อย่าเดิน เขาเรียกว่าอะไร ทานตะวัน อย่าเดินทวนตะวัน คืออย่าเดินตามเหนือใต้ อันนี้ก็ไม่มีใครกล้าถามว่าทำไม ก็เลยไม่มีใครรู้ ก็เพียงแต่รับทราบไว้ แล้วก็พยายามทำตามถ้าทำได้ เวลาทำทางจงกรมก็เอาเข็มทิศมาดู หรือดูดวงอาทิตย์ว่า ทิศตะวันออกทิศตะวันตกอยู่ตรงไหน แต่ถ้าเกิดเราอยู่ในกรณีจำเป็นจริงๆ ที่ไม่สามารถกำหนดทิศได้ เช่น ไปอยู่ไปค้างคืนที่บ้านใครที่ไหนสักแห่งหนึ่งแล้วมันไม่มีที่เดิน ที่เดินที่เราจะเดินได้พอดีมันเป็นทิศเหนือทิศใต้ ก็เดินไปเถิดมันไม่เป็นไร เพียงแต่ว่าถ้าเราทำแบบถาวรทำแบบที่เรากำหนดทิศทางได้ ก็ลองเชื่อฟังครูบาอาจารย์ไป เท่านั้นเอง ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญใหญ่โตอะไร ทำทางทิศตะวันตกเราก็ไม่เดิน ไม่รู้ทำไปทำไม บางคนทำทางจงกรมสวย น่าเดิน แต่ไม่ยอมเดินกันเนี่ยอยู่กับผู้ที่เครียดมากมีวิธีรับมืออย่างไรถาม: ถ้าอยู่กับผู้ที่ชอบเครียดมาก บางทีเราทำอะไรนิดหน่อยเขาก็เครียด แล้วมาโวยวายใส่เรา มีวิธีรับมืออย่างไรเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็ปล่อยวาง คิดว่าเขาเป็นเหมือนดินฟ้าอากาศก็แล้วกัน ดินฟ้าอากาศเดี๋ยวมันก็ร้อนเดี๋ยวมันก็ฝนตก เราก็ไปห้ามมันไม่ได้ เราก็ห้ามเขาไม่ได้ เขาเครียดก็เรื่องของเขา เราอย่าไปเครียดตามเขาก็แล้วกัน ถ้าเราเริ่มเครียดเราก็ใช้พุทโธๆ ของเราหยุดไป อย่าไปพยายามเปลี่ยนเขา เพราะเปลี่ยนไม่ได้ เราก็อย่าหนี ถ้าหนีไม่ได้ก็อย่าหนีถ้ายังต้องอยู่กับเขา เพราะบางทีอาจจะต้องทำงานร่วมกันหรือมีภารกิจร่วมกัน ก็ใช้พุทโธๆ รักษาความเครียดของเรารักษาใจเราไม่ให้เครียด แล้วก็อย่าไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เพราะยิ่งจะทำให้เราเครียดขึ้นมาใหญ่วิธีไม่ผูกใจเจ็บทำอย่างไรคะถาม: พอดีอยากให้แม่เลิกผูกใจเจ็บกับคนค่ะ เลยบอกไปว่า ถ้าผูกใจเจ็บ ชาติหน้าเกิดมาก็จะเจอคนๆนี้อีกนะ ถ้าไม่อยากเจอให้เลิกผูกใจเจ็บ จะได้ไม่ต้องเจอกันอีก การกระทำนี้เป็นการกระทำที่ถูก เหมาะสมหรือไม่คะ
พระอาจารย์: เราก็พูดไปแบบไม่รู้จริงอีกนั่นแหละว่า จะเจอหรือไม่เจอก็ไม่รู้ ต้องบอกว่านี่ เวลาเราโกรธใครนี้เรากำลังทำลายตัวเราเอง เหมือนกับเราเอามีดมาทิ่มแทงจิตใจของเรา เพราะความโกรธนี้เป็นเหมือนมีด เวลาโกรธแล้วใจเราร้อนลุกเป็นไฟขึ้นมา กินไม่ได้นอนไม่หลับ คนที่ถูกเราโกรธเขานอนหลับสบาย เขาไม่เดือดร้อน แต่ไอ้คนที่โกรธเขานี่ โอ๊ย กินไม่ได้นอนไม่หลับ งั้นเราต้องบอกให้เห็นโทษของความโกรธจะดีกว่า เพราะมันจะได้แก้ปัญหาได้ในปัจจุบันเลย พอเรารู้ว่า เอ๊ะ เรากำลังเอามีดมาทิ่มแทงจิตใจเรา เราจะได้หยุดทิ่มแทง เราก็หยุดโกรธเขา เท่านั้นเอง ให้อภัยเขาไป ถือว่าเป็นการใช้หนี้กันก็ได้ หรือว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย บางทีมันลิ้นกับฟันมันก็ยังกัดกันได้ ขบกันได้อยู่ งั้นอาจจะมีเรื่องมีราวกัน อะไรก็อย่าไปถือสา มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็ผ่านไปแล้ว อย่ามาทุกข์ใจอีกชั้นหนึ่งให้โง่ไปเปล่าๆพูดง่ายๆถ้าไม่อยากโง่กว่าหมาก็อย่าฆ่าตัวตายถาม : เวลามีปัญหาชีวิตหรือต้องสูญเสียบุคคลจากชีวิตไป หนูจะเศร้ามากและหาวิธีทางออกโดยการฆ่าตัวเองตายทุกครั้ง หนูพยายามบอกจิตอย่างที่พระอาจารย์สอนว่า ตายไปก็ไม่หายทุกข์ ชาติหน้าเกิดมาก็ต้องทุกข์ แต่มันก็หยุดความคิดไม่ได้เลยเจ้าค่ะ มันเลยทำให้หนูท้อที่จะปฏิบัติต่อไป หนูควรทำอย่างไรดี
พระอาจารย์ : ก็ลองเปรียบเทียบเรากับหมาดูซิ หมามันทุกข์ยังไงมันก็ไม่ฆ่าตัวตายเลย เราที่คิดว่าฉลาดกว่าหมา แต่ไปฆ่าตัวตายนี้ก็แสดงว่าเราโง่กว่าหมาซิ ก็ถามตัวเราเอง เราอยากจะโง่กว่าหมาหรืออยากจะฉลาดกว่าหมา หมามันทุกข์ยังไงไม่เห็นมันฆ่าตัวตายเลย มีข่าวหมาฆ่าตัวตายไหม ไม่มีหรอก มีแต่คนฆ่าตัวตาย คนที่ฆ่าตัวตายก็แสดงว่าโง่กว่าหมาแล้ว ถ้าเราไม่อยากจะโง่กว่าหมาเราก็อย่าฆ่าตัวตายเท่านั้นเองต้องเป็นสติที่ไม่คิดปรุงแต่งถาม: เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ทั้งวันด้วยการมีสติทำกิจการงานต่างๆ ถูกต้องไหมครับ
พระอาจารย์: ต้องเป็นสติที่ไม่คิดปรุงแต่ง คิดเท่าที่จำเป็น คิดเฉพาะกับงานที่เราทำ แต่ไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ใช่ทำงานมีสติอยู่แต่ก็ยังไปคิดว่าเดี๋ยวจะไปทำอะไรต่อ เดี๋ยวจะไปพบคนนั้นคนนี้ต่อ ให้มันอยู่ในปัจจุบัน อย่าให้มันไปอดีตไปอนาคต ถึงจะถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ถ้าไม่คิดได้ยิ่งดี ถ้ารู้เฉยๆ งานบางอย่างไม่ต้องคิดก็ทำไปโดยที่ไม่ต้องใช้ความคิด ก็หยุดความคิดให้ได้ถึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม เพราะเป้าหมายของการปฏิบัติธรรมก็คือทำใจให้สงบ ใจจะสงบก็ต้องหยุดความคิดให้ได้มีบาปในใจมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับถาม: เมื่อมีบาปในใจ เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรไม่ให้คิดถึงมันครับ
พระอาจารย์: ก็มีสองวิธี วิธีสติ ก็พุทโธพุทโธสู้กับมันไป วิธีที่สองก็คือปัญญา ให้ดูผลของบาปที่จะตามมาเพื่อให้เกิด “หิริโอตตัปปะ” ขึ้นมาความกลัวบาปขึ้นมา ถ้ารู้ว่าทำแล้วเดี๋ยวติดคุกนี่กล้าไปทำไหม ก็จะไม่กล้าทำมหาสติปัฏฐาน ๔ คืออะไรครับถาม: มหาสติปัฏฐาน ๔ คืออะไรครับ
พระอาจารย์: เป็นหลักสูตรวิธีปฏิบัติ “สติ สมาธิ และปัญญา” ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนพระภิกษุในสมัยพุทธกาล ควรจะไปศึกษาดู อ่านคำแปล อย่าไปอ่านคำบาลี เพราะคำบาลีนี้เราไม่เข้าใจความหมาย แต่คนไม่เข้าใจคิดว่าอ่านบาลีแล้วศักดิ์สิทธิ์กว่าอ่านคำแปล ความจริงนั้นเป็นการเข้าใจผิดคิดว่าอ่านบาลีแล้วได้อ่านคำพูดของพระพุทธเจ้าโดยตรง เพราะอ่านคำแปลแล้วไม่เป็นคำพูดของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ใช่นะ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้สอนเพื่อให้คนฟังเข้าใจไม่ได้สอนให้ได้ยินคำภาษาของพระพุทธเจ้า ให้เราอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ พอเข้าใจแล้วเราจะได้รู้จักวิธีที่จะปฏิบัติอย่างถูกต้องที่เราเรียกว่า “ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ” นี่เอง พอปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ “มรรคผลนิพพาน” ก็จะปรากฏตามลำดับต่อไปถาม ในขณะเราครองเพศคฤหัสถ์ หากเราปฏิบัติดีสามารถเป็นโสดาบันได้หรือไม่ครับ
พระอาจารย์ คือเป็นเพศอะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละ เหมือนกับคนที่จะไปจบปริญญาตรีโทเอกนี่ มันไม่ได้อยู่ว่าเป็นผู้หญิงเป็นผู้ชาย เป็นคนรวยหรือเป็นคนจน มันอยู่ที่ว่าเรียนหนังสือตามที่เขากำหนดให้เรียนได้หรือเปล่า แล้วเรียนแล้วเอาไปสอบได้หรือเปล่า พอสอบได้มันก็ได้ปริญญากัน เหมือนกัน ทางธรรมก็แบบเดียวกัน ถ้าอยากจะเป็นโสดาบันนี้ ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้หรือเปล่า แล้วปัญญาก็ต้องระดับที่ละสังโยชน์ ๓ ข้อได้หรือเปล่า ละสักกายทิฏฐิ ละวิจิกิจฉา ละสีลัพพตปรามาสได้หรือเปล่า นี่เป็นข้อสอบของผู้ที่ผ่านขั้นโสดาบันไป จะต้องมีศีลเพื่อสนับสนุนให้มีสติมีสมาธิ เมื่อมีสติสมาธิก็จะได้สนับสนุนให้เจริญปัญญา ให้มีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา เพื่อที่จะไปละสังโยชน์ทั้ง ๓ ข้อนี้ได้ ดังนั้นผู้ใดทำได้ไม่ว่าจะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นผู้ครองเรือนหรือเป็นพระก็สามารถบรรลุเป็นพระโสดาบันได้กันทุกคน ขอแนวคิดเพื่อเป็นกำลังใจให้มีความเพียร“
ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ โยมสวดมนต์นั่งสมาธิมาได้ต่อเนื่องระยะหนึ่ง แต่วันหนึ่งความรู้สึกกระตือรือร้นนั้นหายไป ทำได้ไม่ต่อเนื่อง อยากจะขอคำแนะนำหรือแนวคิดเพื่อเป็นกำลังใจให้มีความเพียร ให้ปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องค่ะ
พระอาจารย์: อยากจะมีกำลังใจก็มาฟังเทศน์ฟังธรรมของพระปฏิบัติใหม่ ฟังอยู่เรื่อยๆ แล้วมันจะเป็นเหมือนการชาร์จแบต ชาร์จกำลังใจให้กับเรา เพราะเวลาฟังธรรมนี้มันเหมือนกับท่านเอาตู้พระนิพพานออกมาโชว์สมบัติ เหมือนกับเศรษฐีที่เขามีเพชรมีพลอยมีสมบัติล้ำค่าเก็บไว้ในตู้ พอเขาเอาออกมาโชว์ เราเห็นปั๊บเราก็อยากได้ขึ้นมา พออยากได้ฉันทะก็มาทันที ฉันทะ วิริยะ ก็จะตามมา ครูบาอาจารย์ท่านถึงพยายามบังคับอบรมพระอยู่เรื่อยๆ สมัยที่อยู่กับหลวงตามหาบัว ยุคแรกๆ นี้ท่านว่างท่านไม่ค่อยมีญาติโยม ท่านจะเรียกพระมาอบรมทุก ๔, ๕ วันครั้งหนึ่ง ๔, ๕ วัน ก็เรียกมาฟังธรรม ช่วงที่ไม่ได้ฟังธรรมนี้เป็นเหมือนใบไม้เหมือนดอกไม้ที่มันขาดน้ำ พอมาฟังธรรมนี้เหมือนกับได้น้ำ พอกลับไปนี้ โอ้โฮ กลับไปเดินจงกรมได้เป็นชั่วโมง นั่งสมาธิได้เป็นชั่วโมง แต่ก่อนฟังธรรมนี่ โอ้โหย มันไม่มีกำลังใจ เหมือนกับเข็นครกขึ้นภูเขา ธรรมที่มากระตุ้นให้ใจเกิดฉันทะ วิริยะ คือธรรมอันวิเศษของพระพุทธเจ้ามันหายไป แต่พอมาฟังธรรม มาฟังผลของการปฏิบัติของท่าน มาฟังวิธีการปฏิบัติของท่าน มันก็ทำให้เราเกิดมีกำลังใจอยากที่จะทำต่อ ฉะนั้นพยายามฟังธรรมอยู่เรื่อยๆทำบุญกุศลอะไรได้บุญมากที่สุดถาม: วันพระทำบุญกุศลอะไรได้บุญมากที่สุดครับ
พระอาจารย์: วันไหนมันก็เหมือนกันแหละ บุญที่มากที่สุดก็ต้อง “การภาวนา” แต่การจะภาวนาได้มันก็ต้องรักษาศีลให้ได้ก่อน การจะรักษาศีลได้ก็ต้องทำบุญทำทานให้ได้ก่อน มันเป็นเหมือนขั้นตอนของการเรียนรู้หนังสือแหละ เรียนชั้นไหนจะได้ความรู้มากกว่ากัน ก็เรียนชั้นปริญญาเอกซิ แต่การจะไปเรียนปริญญาเอกได้มันก็ต้องผ่านปริญญาโท ปริญญาตรี ผ่านชั้นมัธยม ชั้นประถมก่อน ต้องไล่ขึ้นไปจากต่ำขึ้นไปหาสูงก่อน ทำบุญทำทานให้ได้ก่อน รักษาศีล ๕ ให้ได้ก่อน แล้วก็รักษาศีล ๘ รักษาศีล ๘ ได้ก็ไปปลีกวิเวกได้ ก็ไปภาวนาได้ ไปอยู่วัดได้ ไปนั่งสมาธิได้ อันนี้ก็ต้องเป็นไปตามกำลังของตน ถ้าไปภาวนาได้ก็ไปเลย ไม่ห้าม ไม่ต้องทำทานก็ได้ แต่ต้องรักษาศีล แล้วพอภาวนานี้เขารักษาศีล ๘ กันขึ้นไปธรรมะหน้ากุฏิ - พ.ศ.๒๕๖๓ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2563 10:26:58 » |
|
เพื่อนน้อยจะทำอย่างไรดีเจ้าคะถาม: เพื่อนน้อยค่ะ ไม่ค่อยมีเพื่อน ทุกข์ใจเจ้าค่ะ จะทำอย่างไรดีเจ้าคะ
พระอาจารย์: ต้องแผ่เมตตาสิ คนไม่มีความเมตตาก็ไม่มีเพื่อน เท่านั้นเอง พวกที่มีความเมตตา พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย คำว่าเมตตานี่ไม่ใช่ให้ใช้สวดนะ สวดนี้ก็เรียกว่ายังไม่ได้แผ่เมตตา “สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ” นี้ “สัพเพ สัตตา อัพพะยาปัชฌา โหนตุ” อันนี้เป็นการสวดสอนวิธีแผ่ ก็ต้องแผ่ด้วยการกระทำ เวลาใครเขาทำให้เราโกรธก็ให้อภัย เวลาใครเขาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือเขา เวลามีขนมนมเนยก็เอามาแบ่งกัน อย่ากินคนเดียว รับรองได้ว่าเดี๋ยวเพื่อนตามมาเยอะ ลองมีขนมแจกดูสิ มีขนมมีอะไรแจกเดี๋ยวคนนั้นคนนี้ ก็อยากจะเข้าหากัน งั้นต้องมีความเมตตา คนไม่มีเพื่อนนี่แสดงว่าขาดความเมตตาถ้าโลกใบนี้แตกจะเกิดอะไรขึ้นกับจิตที่ยังไม่พ้นสังสารวัฏถาม: คุณแม่อยากกราบเรียนถามพระอาจารย์ว่า เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนี้ ถ้าหากว่าโลกใบนี้แตกสลาย จะเกิดอะไรขึ้นกับจิตทั้งหลายที่ยังไม่พ้นสังสารวัฏเจ้าคะ
พระอาจารย์: อ๋อ มันมีโลกอื่นที่มีมนุษย์อยู่ เพียงแต่เราติดต่อกับเขาไม่ได้ ในจักรวาลนี้มองขึ้นไปบนท้องฟ้าสิ มีดวงดาวกี่ดวง แต่ละดวงก็เหมือนพระอาทิตย์ดวงหนึ่ง พระอาทิตย์ก็มีบริวาร มีโลกแบบนี้อยู่ มันก็ต้องมีโลกที่มีมนุษย์อยู่ได้เยอะแยะไปหมด เราอาจจะเคยไปเกิดในโลกอื่นมาแล้วก็ได้ เพราะจิตเรานี้สามารถไปทั่วจักรวาลได้อย่างรวดเร็ว จิตเรานี้ไม่มีร่างกาย มันเลยเดินทางด้วยความคิด เพียงคิดมันก็ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น เราอาจจะเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในโลกนั้นโลกนี้มาก่อน เพียงแต่เราไม่รู้ว่าเป็นโลกนั้นโลกนี้ เท่านั้นเอง เพราะว่าโลกแต่ละโลกมันอยู่ห่างไกลกันจนไม่สามารถติดต่อกันได้ ก็เลยคิดว่ามีเราคนเดียวในโลกเดียวในโลกนี้ แต่ความจริงมีเยอะแยะไปหมด งั้นไม่ต้องกังวลกลัวผีไหมครับ ต้องจำวัดองค์เดียว ไม่มีไฟฟ้าในกุฏิถาม: สมัยพระอาจารย์บวชภิกษุใหม่ กลัวความมืด กลัวผีไหมครับ ต้องจำวัดองค์เดียว ไม่มีไฟฟ้าในกุฏิ ในวัดป่า
พระอาจารย์: โอ๊ย เราแก้มันมาตั้งแต่ตอนที่เราเป็นเด็กแล้ว ตอนเป็นเด็กเคยไปอยู่ที่ไหนไม่รู้ ไปนอนแล้วมีเสียงกึกกั๊กๆ บนหลังคานี้ มันก็จำได้ว่าต้องสวดมนต์ไว้ เลยสวดอรหังสัมมา อิติปิโสไป สวดไปสักพักหนึ่ง ความกลัวก็หายไป ใจก็สงบไป หลังจากนั้นไม่ค่อยกลัว อยู่คนเดียวได้ นอนคนเดียวได้ ไปที่ไหน พอกลัวมันก็สวดมนต์ไป สวดมนต์ไปเพราะความกลัวมันเกิดจากความคิดของเราเอง คิดว่าเป็นนู่นเป็นนี่ เป็นผีเป็นอะไรต่างๆ พอเราหยุดคิดเท่านั้น เรามาพุทโธพุทโธสวดมนต์ไป มันก็ลืมไป มันก็หายไป งั้นเราจึงไม่ค่อยมีปัญหา เราอยู่คนเดียวมาตลอด เราไม่ค่อยได้อยู่กับพ่อแม่ ตั้งแต่เด็กนี้ เขาเอาไปฝากอยู่กับคนนั้นอยู่กับคนนี้ เขาก็ให้เราอยู่คนเดียว ไม่มีใครมานอนเป็นเพื่อนเรา มันไม่มีหรอก เขาเรียกผีจริงไม่หลอก ผีหลอกไม่จริง ผีจริงก็คือดวงวิญญาณต่างๆ นี่ ตายไปแล้วเขาก็ไปตามบุญตามกรรมของเขาแล้ว เขาไปเป็นเทพเป็นพรหมเป็นอะไรของเขา ไปเกิดใหม่แล้ว นอกจากคนที่เขามีความผูกพันเรา ห่วงใยเราเขาก็อาจจะมาเข้าฝันเรา เท่านั้นเอง ยังรักอยู่ ยังคิดถึงเราอยู่ แต่เขาไม่มาทำร้ายเราหรอกเพราะเขารักเราเขาชอบเรา แล้วไอ้ผีที่หลอกนี้ไม่ใช่ผีจริงเพราะเราสร้างมันขึ้นมาเอง เราคิดขึ้นมาเอง ที่เราเรียกว่าผีหลอก โอ๊ย ผี..ไอ้โน่นผี ไอ้นี่ผี ได้ยินเสียงกึกกั๊กๆ ก็ผี ได้กลิ่นธูปขึ้นมาก็ผี บางทีคนข้างบ้านเขาจุดธูปไหว้พระ กลิ่นธูปมันเข้าจมูก บอกผีมาแล้ว มันไม่ใช่ผี มันกลิ่นธูปนะ งั้นอย่าไปปรุงแต่ง พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า เห็นอะไรก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินอะไรก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นอะไรก็สักแต่ว่าได้กลิ่น อย่าไปปรุงแต่งว่าเป็นกลิ่นนู่นกลิ่นนี่ ยังไม่ได้พิสูจน์ว่ามันเป็นอย่างที่เราคิดขึ้นมา ไปปรุงแต่ง หลอกตัวเองนี่ เขาเรียกว่าผีหลอก ผีหลอกไม่จริง ผีจริงไม่หลอกมานั่งภาวนาอย่างเดียว เป็นการเห็นแก่ตัวหรือไม่ถาม: ชีวิตของเรายังต้องช่วยเหลือผู้คนอีกมากมาย จะมานั่งภาวนาอย่างเดียวไม่ได้เป็นการเห็นแก่ตัวหรือคะ
พระอาจารย์: ไม่เห็นแก่ตัวหรอก พระพุทธเจ้าเห็นแก่ตัวหรือเปล่า พวกเรานี้ได้รับประโยชน์จากพระพุทธเจ้านี้จำนวนมหาศาล ไม่รู้กี่พันล้านคน เพราะการออกไปปลีกวิเวกของพระพุทธเจ้า ๖ ปี ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ไปปลีกวิเวก ท่านก็จะไม่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ไม่สามารถมาสอนมาช่วยพวกเราได้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ งั้นการที่เราไปปฏิบัติธรรม ไปปลีกวิเวกนี้เป็นเหมือนกับการไปเรียนหนังสือ ไปโรงเรียน ไปเรียนเพื่อให้จบ พอจบแล้วเราก็ค่อยมาสั่งสอนผู้อื่นต่อไป แล้วทำประโยชน์ได้มากกว่าผู้อื่นอีก คนที่ไม่ปฏิบัติธรรม ทำประโยชน์ได้ก็เพียงแต่ทางร่างกาย ทางข้าวของต่างๆ แต่ไม่สามารถที่จะช่วยผู้ที่ตกทุกข์ให้หายทุกข์ได้ แต่ผู้ที่มีธรรมะนี่แหละ จะเป็นผู้ที่ไปช่วยให้คนที่ทุกข์นี้หายทุกข์ ไม่ต้องฆ่าตัวตายได้อาบัติสังฆาทิเสส เป็นเหตุให้ตกอบายไหมครับถาม: นมัสการครับ พระที่มีกามราคะมากจนทนไม่ไหว เป็นอาบัติสังฆาทิเสสข้อแรก เป็นเหตุให้ตกอบายไหมครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ตกหรอกเพราะว่ายังไม่ได้ไปทำบาปกับใคร อบายนี้ต้องเกิดจากการประพฤติผิดประเวณี แต่ถ้าไม่ได้ประพฤติผิดประเวณีนี่ก็ยังไม่ถือว่าตกอบายจะแยกได้อย่างไรว่าได้อัปปนาสมาธิหรือภวังค์จิตถาม: ช่วงที่นั่งสมาธิเกิดปีติบ่อยๆ แล้วไปต่อฌาน ๓ ถึง ๔ จะแยกได้อย่างไรว่าได้อัปปนาสมาธิหรือภวังค์จิต เพราะดับหมดทั้งทวาร ๕
พระอาจารย์: อ๋อ มันยังไม่หมด เหลือสักแต่ว่ารู้ จิตว่าง จิตเป็นอุเบกขา จิตมีความสุขมาก มันก็เข้าสู่ฌานที่ ๔ วิธีเข้าก็คอยดูลมหรือพุทโธไปเรื่อยๆ อย่าไปคิดถึงเรื่องอะไรทั้งนั้น เรื่องฌานก็อย่าไปคิดว่า เอ๊ะ ตอนนี้เราอยู่ฌานไหนแล้ว ฌาน ๑ หรือฌาน ๒ ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว จิตมันก็ไม่สงบ ต้องไม่ให้มีความคิดอะไรเลย แล้วก็ต้องไม่มีความอยากให้มันสงบด้วย นั่งให้ดูลมไปอย่างเดียว ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ว่า ดูลมแล้วมันจะพาเราไปไหน พุทโธแล้วมันจะพาเราไปไหน ไม่ต้องไปสนใจ เหมือนกินข้าว เวลากินไม่ได้มานั่งคิดว่า “กูจะอิ่มเมื่อไหร่” ใช่ไหม กินเข้าไปเรื่อยๆ เดี๋ยวอิ่มมันบอกเราเอง “เอ๊ย พอแล้ว กินไม่ลง”ดูลมหายใจเข้าออกไปถึงขั้นนิพพานไหมคะถาม: การเฝ้าดูลมหายใจเข้าออก และเมื่อใจไปคิดอย่างอื่น ก็ดึงกลับมาอยู่ที่ลมหายใจ พยายามฝึกดึงกลับให้ทันให้เร็ว ฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพียงพอที่จะไปถึงขั้นนิพพานไหมคะ ถ้าไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้อง รบกวนพระอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยเจ้าค่ะ
พระอาจารย์: ก็เป็นทางผ่าน เราต้องมีความสงบก่อน ต้องมีสติดูลมหายใจเข้าออก จนทำจิตให้สงบนิ่ง จิตก็จะเกิดความสุขขึ้นมาแบบชั่วคราวไปก่อน แล้วถ้าเราอยากจะได้ความสุขแบบถาวรที่เป็นนิพพาน ต่อไปหลังจากที่เราได้ เราชำนาญในการเข้าสมาธิแล้ว ขั้นต่อไปเวลาเราออกจากสมาธิ เราก็มาศึกษาให้เกิดปัญญา พิจารณาศึกษาอริยสัจ ๔ ศึกษาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการหยุดความอยากต่างๆ ที่ทำให้ใจของเรานี้วุ่นวาย พอความอยากต่างๆ ได้ถูกกำจัดด้วยปัญญาแล้ว ใจก็จะสงบอย่างถาวร ใจก็จะเป็นนิพพานขึ้นมา ฉะนั้นก่อนจะไปถึงขั้นปัญญาได้ ต้องผ่านขั้นสมาธิก่อน ต้องผ่านการเจริญสติ คอยควบคุมใจให้อยู่กับเรื่องเดียวก่อน เช่น เวลานั่งดูลมหายใจ ก็ให้อยู่กับลมหายใจเพียงอย่างเดียวก่อน จนกว่าใจจะสงบ แล้วใจก็จะเกิดความสุขขึ้นมา แล้วก็ทำบ่อยๆ ทำให้มากขึ้นจนชำนาญ แล้วก็ขั้นต่อไปก็ไปเรียนเรื่องปัญญา เรื่องอริยสัจ ๔ เรื่องไตรลักษณ์ เพื่อเอามาทำลายความอยากที่มาคอยทำลายความสงบถืออุโบสถศีลแล้วเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตถาม: ถ้าถืออุโบสถศีลทุกวันพระ แต่มีอาชีพค้าขาย ต้องทำตัวแบบไหนได้บ้างเจ้าคะ และถ้าถืออุโบสถแล้วเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตในเวลาที่ถือศีล จะตกนรกไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์: อ๋อ การถือศีลนี้มันอยู่ที่ว่าเราถือมามากถือมาน้อย แล้วก็เราทำบาปมามากมาน้อย มันไม่ได้อยู่ที่ว่า วันที่เราถือศีลแล้วตายไปแล้วเราจะไม่ตกนรก ถ้าเราทำบาปมาก่อนมาก แล้วเรามาถือศีลแค่ครั้งสองครั้ง มันก็ยังช่วยอะไรเราไม่ได้ เพราะฉะนั้นอย่าไปกังวลเลยเพราะเราไม่รู้ว่าบุญกับบาปที่เราทำ ตอนที่เราตายนี้ อันไหนจะมีมากกว่ากัน ถ้าบุญมากกว่าบาปก็ไม่ไปนรก ไม่ไปอบาย ถ้าบาปมีมากกว่าบุญ มันก็ไป ถึงแม้ว่าวันนั้นจะถือศีลก็ตามพระพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าต่างกันอย่างไร ถาม: พระพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าต่างกันอย่างไรคะ
พระอาจารย์: ตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ได้สั่งสอนใคร ไม่มีการแสดงธรรม ไม่มีการผลิตพระอริยสงฆ์สาวก ก็เลยมีแต่พระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว ก็เลยไม่มีพระพุทธศาสนาตามมา พระพุทธเจ้าของเราตอนต้นก็ไม่อยากจะสอนเหมือนกัน แต่พอมีท้าวมหาพรหมมาขอความเมตตา แล้วหลังจากใช้ปัญญาพิจารณาก็เห็นว่า นักเรียนนี่มี ๔ กลุ่มด้วยกัน เป็นพวกบัว ๔ เหล่า พวกที่ชอบเรียนก็มี พวกที่ไม่ชอบเรียนก็มี งั้นก็เลยเลือกสอนแต่พวกที่ชอบเรียน พวกชอบทำบุญทำทาน พวกชอบรักษาศีล พวกชอบภาวนา แต่พวกที่ชอบกินเหล้าเมายา เที่ยวเตร่ก็ไม่สอน ตอนต้นที่ไม่ได้คิดว่าจะสอน ก็คิดว่าเป็นพวกชอบกินเหล้าเมายา เที่ยวเตร่กันไปหมด ก็เลยไม่มีกำลังใจที่จะสอน เพราะพวกนี้สอนไม่ได้ สอนเขาก็ไม่ฟัง เขาไม่ปฏิบัติ นี่คือความแตกต่างระหว่างพระปัจเจกพุทธเจ้า กับพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ใจของท่านเหมือนกัน ได้นิพพานเหมือนกัน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดเหมือนกัน เพียงแต่ว่าพระปัจเจกไม่สร้างพระพุทธศาสนา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างพระศาสนา พวกเรานี่ต้องอาศัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามาสร้างศาสนาให้กับพวกเรา ถ้าไม่มีเราก็จะไม่วันรู้ทางสู่การหลุดพ้นได้ควรอยู่กับลมมันจะพาเราเข้าสู่ความสงบถาม: วันก่อนพระอาจารย์แนะนำว่า ให้เอาสติไว้กับลมหายใจไม่ให้ขาด ไม่ให้ทิ้งลมหายใจ โยมลองทำตามนะคะ รบกวนถามค่ะ ข้อแรกเป็นไปได้ไหมคะว่า พอกำหนดรู้ลมไปนานๆ กระแสที่เคยกราบเรียนบอกไปละเอียดกว่าลมค่ะ
พระอาจารย์: อ้าวถ้ามันเป็นดังที่คุณเป็นมันก็เป็นล่ะ มันอยู่ที่เหตุการณ์ความจริง มันจะละเอียดกว่าลมก็แล้วแต่มัน แต่เราควรจะเกาะติดอยู่กับลมดีกว่า กระแสที่ว่านี้ไม่รู้ว่าเป็นกระแสอะไร เดี๋ยวเกิดมันพาเราไปที่ไหนขึ้นมาเราก็อาจจะหลงทางได้ แต่ถ้าเราเกาะติดอยู่กับลม มันจะพาเราเข้าสู่ความสงบได้ ส่วนกระแสอย่างอื่นนี้ไม่แน่ เช่นตัวอย่างบางคนตามแสงสว่าง มีนิทานเล่าในวงปฏิบัติ สามเณรนั่งหลับตาแล้วก็เห็นแสงสว่างเป็นดวง ก็ตามแสงสว่างนั้นไป พอลืมตาขึ้นมาอีกทีอยู่บนยอดไม้นู่นแน่ะ งั้นระวังนะของพวกนี้ บางทีมันหลอกเราได้ หลอกพาเราไปที่เราไม่รู้ว่าเป็นอะไรได้ เกาะติดกับลมดีกว่า เพราะลมมันอยู่ที่ร่างกายเรา มันไม่พาเราไปไหนหรอก เราก็จะอยู่กับร่างกาย หรือเข้าสู่ความสงบเท่านั้น ธรรมะหน้ากุฏิ - พ.ศ.๒๕๖๓ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.105
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 07 สิงหาคม 2563 16:00:35 » |
|
ทำไมจิตเราถึงกลัวทั้งที่จิตเราไม่ได้ปรุงแต่ง ถาม: ทำไมจิตเราถึงกลัว หวาดระแวง ทั้งๆ ที่จิตเราไม่ได้ปรุงแต่งคะ พระอาจารย์: อ๋อ มันเป็นอวิชชาฝังอยู่ในใจเรา ฝังว่าเรามีตัวมีตน พอเรามีตัวมีตนเราก็หวาดระแวง กลัวสิ่งต่างๆ จะมากระทบกับตัวของเรา ถ้าไม่อยากจะหวาดระแวงต้องพิจารณาว่าเราไม่มีตัวตน ร่างกายก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตก็ไม่ใช่ของเรา ร่างกายก็เป็นเพียงดินน้ำลมไฟ เป็นธรรมชาติ จิตก็เป็นธาตุรู้ ผู้รู้เฉยๆ แล้วก็ไม่มีใครมาทำร้ายสิ่งเหล่านี้ได้ ดินน้ำลมไฟก็ทำร้ายไม่ได้ ทำลายไม่ได้ ธาตุรู้ก็ทำลายไม่ได้ ถ้ารู้ความจริงแล้ว ต่อไปจะไม่มีความหวาดกลัวไม่มีใครสามารถล้างบาปได้ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ค่ะ การเปลี่ยนศาสนาพุทธไปศาสนาอื่น ทำให้กรรมที่ทำมาในอดีตหมดไปหรือเปล่าคะ และถ้าเปลี่ยนแล้ว บางศาสนามีล้างบาป เท่ากับว่าทำผิดแล้วล้างบาป ไม่ให้มีบาปติดตัว ถูกต้องหรือไม่คะ พระอาจารย์: ตามกฎแห่งกรรมนี้ล้างไม่ได้นะ บาปทำไว้ ต้องชดใช้กรรม จะไปเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล เปลี่ยนศาสนา ตัดผมสั้นตัดผมยาว ไปบวชเป็นพระอย่างนี้ มันไม่เปลี่ยน กรรมเก่าที่ทำไว้ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือบาปนี้จะต้องส่งผลต่อไป ดังนั้นไม่มีใครไปสามารถลบล้างบุญหรือบาปได้ นอกจากไม่ไปกระทำมันเท่านั้น ถ้าไม่อยากจะมีผลบาปก็อย่าไปทำบาป แต่บาปเก่าที่ทำแล้ว ไปล้างมันไม่ได้ มันต้องส่งผลวันใดวันหนึ่ง ช้าหรือเร็วเท่านั้น สละชีวิตเพื่อพ้นทุกข์ได้ไหมครับถาม: ตอนนี้ทุกข์ใจมากครับ สละชีวิตเพื่อพ้นทุกข์ได้ไหมครับ ลูกจะจบชีวิตเพื่อพ้นจากทุกข์จะเป็นการดีไหมครับ พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าไปฆ่าตัวตายนี้ มันก็ไม่พ้นทุกข์หรอกเ พราะมันไปสร้างทุกข์ให้มีมากขึ้น การฆ่าตัวตายเป็นบาป มันไม่ได้ทำให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด มันจะพาให้ไปเกิดในอบาย ในนรกต่อไป จะไปเจอกับความทุกข์มากกว่าตอนที่เป็นมนุษย์เสียอีก ทุกข์ของความเป็นมนุษย์นี้ยังน้อยกว่าทุกข์ที่จะเกิดจากการฆ่าตัวตาย งั้นห้ามฆ่าตัวตายโดยเด็ดขาด เพราะไม่ใช่เป็นวิธีหลุดพ้นจากความทุกข์ ถ้าอยากจะหลุดพ้นจากความทุกข์ก็ไปบวชสิ ถ้าทุกข์มากๆ ก็ไปบวช แล้วก็ไปปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเดี๋ยวทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจก็หายไปหมดอย่างแน่นอน ถ้าไม่มีสมาธิเราจะวางไม่ได้ถาม: กิริยาอาการของจิต เช่น โกรธ เกลียด รัก ชอบ เขาเป็นธรรมชาติของเขาแบบนั้น ใช่ไหมคะ เราเห็นแล้วแค่วาง ใช่ไหมคะ เขาเป็นธรรมชาติของเขา ส่วนเราก็เป็นเรา คนละส่วนกัน ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: มันวางได้ก็ดีสิ ทีนี้มันวางไม่ได้ ถ้าไม่มีสมาธิเราจะวางไม่ได้ ต้องฝึกสมาธิ พอจิตสงบแล้วจิตจะวางของมันเอง เพียงแต่คิดว่าจะวางมันวางไม่ได้ เวลาโกรธใครแล้วนี่ จะบอก “โอ๊ย ไม่โกรธๆ” ไม่ได้หรอก เวลาโลภอยากได้อะไรนี้ใจสั่นตลอดเวลา แต่ถ้าฝึกสมาธิได้ ทำใจให้สงบได้ มันก็จะหายสั่น หายโกรธได้ ดังนั้นต้องพยายามฝึกสติฝึกสมาธิให้จิตเป็นอุเบกขา พอมีอุเบกขาแล้ว พอจะสั่งให้มันเฉย ก็จะเฉยได้ จะแก้ใจให้ไม่พัวพันกับศัตรูที่เราโกรธแค้นได้อย่างไรถาม: จะแก้ใจให้ไม่พัวพันกับศัตรูที่เราโกรธแค้นได้อย่างไรคะ พัวพันแล้ว กระแสจิตมันสื่อถึงกันได้ค่ะ อยากตัดให้มันออกจากชีวิตเราไปค่ะ พระอาจารย์: ก็ทุกครั้งเวลาคิดถึงเขาก็ใช้สติหยุด ใช้พุทโธ ท่องพุทโธพุทโธไป แล้วพอใจสงบ ก็ใช้ปัญญาสอนใจว่า การจองเวรจองกรรมกัน ไม่ได้เป็นการระงับเวรกรรม การให้อภัยกันเป็นการระงับเวรกรรม เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร คือด้วยการให้อภัย ก็ให้เราเห็นคุณค่าของการให้อภัยว่า จะเป็นการแก้ปัญหาให้มันยุติลงไปอย่างราบคาบ ถ้าเรายังไปจองเวรจองกรรมกันอยู่ เขาทำเรา เราทำเขา เดี๋ยวมันก็กลายเป็นแบบน้ำผึ้งหยดเดียว มันจะรุนแรงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ต้องมีสมาธิถึงจุดไหนถึงจะเข้าวิปัสสนาได้ถาม: ต้องมีสมาธิถึงจุดไหนครับ ถึงจะเข้าวิปัสสนาได้ครับ พระอาจารย์: คือวิปัสสนานี่เข้าได้ตลอดเวลานะ เพียงแต่ว่ามันเข้าแล้ว ทำได้นานเท่าไหร่ แล้วหยุดความอยากความทุกข์ได้หรือไม่ ถ้าไม่มีสมาธิมันก็หยุดไม่ได้ ถ้ารู้ตอนนี้ว่าความทุกข์เกิดจากความอยากได้ตำแหน่ง มันก็ยังอยากอยู่อย่างนั้นแหละ แต่ถ้าเข้าสมาธิจนจิตมีอุเบกขาวางเฉยได้ พอเกิดความทุกข์จากความอยากได้ตำแหน่ง พอรู้ว่าไม่ได้ก็ทำใจเฉยๆ ความทุกข์ก็จะหายไป จิตมันไม่ส่งออกนอกแล้วทำอย่างไรต่อไปถาม: ขอโอกาสครับ ถ้าจิตมันไม่ส่งออกนอกแล้ว ไม่รู้อารมณ์ต่างๆ ภายนอกแล้ว เราจะดำเนินต่อไปอย่างไรครับ พระอาจารย์: ให้มันอยู่ภายในไปนานๆ แล้วถ้าภายในเกิดความคิดปรุงแต่ง ก็ต้องหยุดมัน อย่าให้มันคิด ให้มันรู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ แล้วมีอะไรให้รู้ก็ไม่ไปสนใจรู้ อะไรมาให้รับรู้ก็ปล่อยวางมัน อย่าไปปรุงแต่งว่ามันเป็นอะไรนะ รู้เฉยๆ สติเราดีขึ้นเสียงต่างๆ ก็จะหายไปถาม: เวลาสวดมนต์อยู่ที่บ้าน ตอนสวดบางทีสวดมนต์ออกเสียง แล้วมันมีความคิดอีกความคิดหนึ่ง พระอาจารย์: อย่าไปสนใจ ใหม่ๆมันแข่งกัน มันสลับกัน สวดปั๊บแล้วก็ไปคิดเรื่องนั้นต่อ แล้วกลับมาสวดได้ ตอนใหม่ๆก็อย่าไปกังวลกับเสียงที่มา ให้อยู่กับเสียงสวดมนต์ไปเรื่อยๆก่อน แล้วเดี๋ยวต่อไปสติเราดีขึ้น เสียงต่างๆก็จะหายไป ถาม: อย่าไปสนใจใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: ไม่ต้องไปสนใจ ใหม่ๆ มันยังแทรกเข้ามาได้อยู่ พยายามทำไปเรื่อยๆ ให้เกาะติดอยู่กับการสวดได้นานเท่าไหร่ ก็ต่อเนื่องมากเท่านั้น ความคิดต่างๆ ก็จะน้อยลงไป ถาม: คือไม่ต้องหยุดใช่ไหมคะ พระอาจารย์: ไม่ต้องหยุด สวดของเราไปเรื่อยๆ มันจะคิดก็อย่าคิดตามมันก็แล้วกัน ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปรับรู้ไม่มีครูบาอาจารย์สอนโดยตรง จะเป็นบ้า จริงเท็จประการใดถาม: ดิฉันทำสมาธิจิตสงบได้สักพักแล้ว แต่ไม่มีครูบาอาจารย์สอนโดยตรง ทำตามหลวงปู่สอนในยูทูป เรียนถามพระอาจารย์ว่า มีคนพูดว่าเดี๋ยวก็เป็นบ้า ไม่มีคนสอนโดยตรง จริงเท็จประการใดคะ ขอพระอาจารย์เมตตาค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่หรอก ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ในรูปแบบไหนก็ได้ อย่างพระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า ต่อให้อยู่ใกล้เรา เกาะชายผ้าเหลืองของเรา แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามที่เราสอน เธอก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรา เธอจะเป็นบ้าได้ แต่ถ้าถึงแม้เธออยู่ห่างไกลจากเราเป็นโยชน์ แต่ถ้าเธอนำคำสอนของเราไปปฏิบัติ ก็ถือว่าเธออยู่ใกล้เรา ดังนั้นการศึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งข้างหน้ากัน แล้วก็คอยจับมือกันเกาะกันไป ศึกษาเพื่อให้รู้ว่าวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร แล้วเราก็แยกไปปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติต้องแยก ต้องไปอยู่คนเดียว แล้วถ้าเกิดมีคำถาม มีความสงสัยก็มาถาม อย่างวันนี้ ได้ยินข่าวว่าถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ใกล้ชิดจะเป็นบ้านี่ ถามได้ ถามผ่านทางยูทูปก็ได้ เหมือนกัน สมัยนี้เรามีเทคโนโลยีทำให้เราไม่ต้องไปอยู่ต่อหน้ากัน อันนี้สามารถอยู่กันคนละซีกโลก ก็ยังคุยธรรมะกันได้ นี่ทุกคืนเราไปคุยธรรมะกับคนที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง เดี๋ยวนี้มีซูม พอใช้ซูมไปสักพักเดี๋ยวนี้คนเมตตาซื้อซูมแบบเสียเงินให้ เมื่อก่อนนี้ใช้แบบฟรี ใช้ได้ทีละ ๔๐ นาที เดี๋ยวเขาจะตัด ทีนี้คนที่เขาสนใจเขารู้สึกว่าเสียรสเสียชาติ เขาเลยซื้อแบบไม่ต้องถูกตัดถวายทั้งปีเลย ทีนี้ก็คุยได้เป็นชั่วโมง ไม่มีการตัด ทำใจว่ามันเป็นวิบากของเราถาม: ทำไมบางทีเรามักจะไปเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกต้องอับอายขายขี้หน้าบ่อย ต้องแก้ไขอย่างไร แล้ววางใจอย่างไรเจ้าคะ พระอาจารย์: ก็ต้องทำใจแหละว่ามันเป็นวิบากของเราก็แล้วกัน ที่จะต้องไปเจอเหตุการณ์เหล่านี้ เวลาเจอเหตุการณ์ก็พยายามทำใจเฉยๆ ไว้ พุทโธไป แล้วอาการอับอายขายหน้ามันก็จะไม่เกิด เรายอมรับว่า เรามีกรรมเป็นของของตน จะทำกรรมอันใดไว้ จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่อเราเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นผลของการกระทำของเรา ถือศีล ๘ ไปนวดได้หรือเปล่าครับถาม: ถือศีล ๘ ไปนวดได้หรือเปล่าครับ พระอาจารย์: ได้ ครูบาอาจารย์ท่านก็มีพระเณรไปนวด แต่อย่าไปนวดแบบที่เป็นกามก็แล้วกัน อาบอบนวดอย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้านวดแบบแผนโบราณนั้นได้อยู่ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อปวดอะไรต่างๆ ก็นวดไปได้อยู่ แต่ถ้านวดเพื่อทำผิดทางกาม ประพฤติผิดประเวณีนี้ไม่ได้ ครูบาอาจารย์ท่านก็มีพระเณร คอยรับใช้คอยบีบเส้นให้อยู่เรื่อยๆ เพราะเส้นสายของคนแก่มันจะตึงง่าย แล้วตะคริวจะเป็นง่าย ก็เลยต้องคอยบีบคอยนวดให้มันคลาย ให้มันนุ่ม ตราชั่งตรงศูนย์ถาม: การทำสมาธิสลับกับการพิจารณา ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิที่จิตรวมเป็นหนึ่งก่อนใช่หรือไม่ คือพิจารณาสลับไปสลับมาได้เลย ถึงแม้จิตยังไม่รวมก็ตาม พระอาจารย์: ถ้าไม่รวมจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร การรวมของจิตนี้ เป็นเหมือนการทำตาชั่งให้อยู่ตรงศูนย์ ตรงอุเบกขา เวลาพิจารณาจะเที่ยงตรงเหมือนกับตาชั่ง ถ้าเอียงไปทางบวกหรือทางลบ เวลาเอาของไปชั่งน้ำหนัก จะไม่ได้น้ำหนักที่แท้จริง ถ้าของหนัก ๑๐ กิโลฯ แต่ตาชั่งเอียงไปทางบวก ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะหนัก ๑๑ กิโลฯ จะไม่ได้ ๑๐ กิโลฯ ถ้าลบ ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะได้ ๙ กิโลฯ ใจก็เหมือนกัน ถ้าไม่รวมเป็นอุเบกขา จะมีอคติทั้ง ๔ คือรักชังกลัวหลงอยู่ เวลาพิจารณาจะถูกอคติทั้ง ๔ นี้หลอกล่อ ทำให้ไม่สามารถตัดได้
ถาม: ถ้าได้เพียงขณิกสมาธิจะพอไหมครับที่จะมาพิจารณา พระอาจารย์ : ก็พอได้ แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ถ้าเป็นขณิกะจะพิจารณาได้ไม่นานก็จะฟุ้ง ต่อไปเมื่อนั่งสมาธิชำนาญขึ้น ก็จะอยู่ในความสงบได้นานขึ้น เวลาพิจารณาก็พิจารณาได้นานขึ้น เหมือนเวลาพักผ่อน ถ้าพักผ่อนชั่วโมงหนึ่ง ออกมาทำงานก็อาจทำงานได้เพียงชั่วโมงเดียว ถ้าพักผ่อน ๘ ชั่วโมงก็จะทำงานได้ ๘ ชั่วโมง เวลาที่อยู่ในสมาธิจะเป็นตัวชี้ว่า จะทำงานทางด้านปัญญาให้เกิดผลได้มากน้อยเพียงไร
ถาม: ถ้าเช่นนั้นเวลาพิจารณา ถ้าออกนอกไตรลักษณ์หรือร่างกาย ก็ถือว่าฟุ้งซ่านแล้ว ต้องเข้ามาข้างใน พระอาจารย์: ถูกแล้ว หลงทางแล้ว ต้องมองให้เห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ ต้องพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง พิจารณาให้เห็นว่าเป็นอนิจจังก็ได้ เห็นว่าร่างกายเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย หรือจะพิจารณาด้านของความทุกข์ก็ได้ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ แล้วก็จะเห็นว่าทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะความอยาก อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย ถ้าไม่มีความอยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย ก็จะไม่ทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตาย ถ้าเป็นอกุศลก็ละเสียถาม: ถ้าจิตไม่ยึดมั่นในกุศลกรรม และอกุศลกรรม แต่รับรู้กุศลกรรมและอกุศลกรรม เกิดขึ้นและผ่านไป ผลรับจะเป็นอย่างไรคะ พระอาจารย์: อ๋อ เป็นไปไม่ได้หรอกถ้าไม่ได้เป็นพระ ถ้าเป็นปุถุชนนี้มันจะยึดติดกุศล อกุศล เพราะว่าจิตมันมีกิเลส มันไม่ปล่อยวาง วางเฉยโดยตัวของมันเอง ฉะนั้นคอยสังเกตดู ถ้าเป็นกุศลก็ยึดติดไว้ก่อน ไม่เสียหาย ถ้าเป็นอกุศลก็ละเสีย ให้ละอกุศล แล้วก็สร้างกุศลให้ถึงพร้อม มันเป็นอนัตตาถาม: ไม่ว่าอาการใดๆ ของจิตเกิดขึ้น แล้วกลับมาที่พุทโธ หรือว่าไม่ให้อาการใดเกิดขึ้น จ่ออยู่กับพุทโธอย่างเดียว พระอาจารย์: คือมันจะเกิดไม่เกิดเราไปห้ามมันไม่ได้ มันเป็นอนัตตา แต่เราทำได้ก็คือให้อยู่กับพุทโธไป แล้วใจของเราจะไม่หวั่นไหว ใจของเราจะสงบ ใจของเราจะวางเฉยได้ ธรรมะหน้ากุฏื ฌเย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน 700 (650)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.105
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2563 15:16:26 » |
|
มีบริวารมากๆ ทำอย่างไรคะถาม: อยากทราบว่าเราต้องทำกรรมอะไร ถึงจะมีบริวารมากๆ ไม่ต้องอยู่แบบโดดเดี่ยวเจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องมีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย สัพเพ สัตตา ไง ต้องมีความเมตตา ไม่จองเวรจองกรรมผู้อื่น อะเวรา โหนตุ อัพพะยาปัชฌา โหนตุ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น อะนีฆา โหนตุ ไม่ทำร้ายร่างกายและจิตใจของผู้อื่น สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ให้ความสุขแก่ผู้อื่น ถ้ามีความเมตตาแล้วจะเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย หลับก็สุข ตื่นก็สุข นอนหลับก็ไม่ฝันร้าย จะไม่ตายด้วยอาวุธหรือยาพิษ นี่คืออานิสงส์ของการมีความเมตตา ไม่ใช่ทดแทนบุญคุณที่หลุมศพ ถาม: ตามประเพณีของคนจีน ไหว้บรรพบุรุษเผากระดาษเงินกระดาษทอง บรรพบุรุษได้รับไหมครับ พระอาจารย์: อ๋อ มันเป็นการสอนผู้ที่อยู่มากกว่า สอนให้ผู้ที่เป็นลูกหลานให้มีความเคารพ ให้มีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ผู้ที่อยู่ผู้ที่เป็นผู้สูงอายุก็ไปทำบุญให้กับผู้ตาย เป็นการสอนให้สำนึกถึงพระคุณของผู้ที่มีพระคุณและให้ตอบแทน เพียงแต่ว่ายังทำไม่ถูก ที่ว่าไปตอบแทนตอนที่เขาตายแล้ว ควรจะตอบแทนตอนที่เขายังอยู่ คือตอนที่พ่อแม่อยู่นี่ควรจะเลี้ยงดูพ่อแม่ให้ดี ทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่าทอดทิ้งอย่าปล่อยปละละเลย ไม่ใช่ว่าเดี๋ยวรอให้เขาตายก่อนแล้วค่อยไปทดแทนบุญคุณที่หลุมศพ ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ใช่ถูกวิธี และการเผาอะไรต่างๆ นี้ก็เป็นการสอนคนอยู่ว่า นี่แหละเวลาตายไปข้าวของที่เราได้มา ถ้าเราอยากจะให้มันติดตัวเราไป เราก็ต้องเอาไปทำบุญ เมื่อทำบุญแล้วเดี๋ยวรถก็จะตามเราไป บ้านก็จะตามเราไป คือรถทิพย์ไง บ้านทิพย์ อะไรต่างๆ ถ้าเราทำบุญแล้ว เวลาเราอยู่ในโลกทิพย์ เราจะใช้การเนรมิตหรือใช้อำนาจของบุญนี้เป็นเครื่องมือเนรมิต อยากได้อะไรก็เนรมิตขึ้นมา อยากได้แฟนสวยๆ หล่อๆ ก็เนรมิตขึ้นมา อยากจะได้รถเก๋งรถเบนซ์อะไรก็เนรมิตขึ้นมาได้ ชาวจีนเขาเลยเอาของพวกนี้มาเผา บอกว่านี่ของพวกนี้จะเอาติดตัวไปได้ต้องเอาไปทำบุญ แต่เขาไม่เข้าใจกัน เขาคิดว่าเผาพวกกระดาษนี้แล้ว พวกกระดาษนี้ก็จะกลายเป็นรถทิพย์ กลายเป็นบ้านทิพย์ไป แต่ความจริงมันต้องเกิดจากการทำบุญ ทำบุญแล้วเราก็จะมีของทิพย์ติดไปกับเรา ทำอย่างไรถึงจะหายเป็นคนที่มีอารมณ์โกรธบ่อยๆ คำถาม: กลับนมัสการเจ้าค่ะ ทำอย่างไรถึงจะหายเป็นคนที่มีอารมณ์โกรธบ่อยๆ เจ้าคะ พระอาจารย์: ก็มันพุทโธๆ ไว้หนึ่ง สองอย่าไปหวังอะไรจากใคร ความโกรธจากความผิดหวัง ต้องการอะไรแล้วไม่ได้ดังใจก็โกรธ แต่ถ้าเราไม่ต้องการอะไร สันโดษ ยินดีตามมีตามเกิดเขาจะให้อะไรเราก็เอา เขาไม่ให้เราก็เอา เขาจะดีกับเราก็ดี เขาไม่ดีกับเราก็ดี ถ้าอย่างนี้เราก็จะไม่โกรธ แต่ถ้าเรามั่นหมายว่าเขาจะต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ให้เรา พอเขาไม่ทำให้เราเราก็โกรธน่ะสิ เท่านั้นเอง ใจเรายังมีความอยากมากความยึดมั่นถือมั่นมาก ฉะนั้นต้องพยายามเปลี่ยนทัศนคติของเราให้ยินดีตามมีตามเกิด อย่าไปอยากอย่าไปหวังอะไรจากใคร อยากจะได้อะไรก็หาเองทำเอง ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ดี อย่างนี้มันก็จะไม่โกรธใคร ถ้ายังทำใจไม่ได้ ตอนที่โกรธก็หยุดมันด้วยพุธโธๆ ไป เพราะมันไม่ใช่เป็นของง่ายที่จะเลิกความโกรธได้ทันทีทันใด อย่างน้อยก็ให้มีไฟมาดับความโกรธ มีสติมาคอยหยุดมัน พอโกรธแล้วก็พุทโธๆๆ ท่องไปในใจ อย่าไปคิดถึงคนหรือเรื่องที่ทำให้เราโกรธ แล้วเดี๋ยวสักพักนึงความโกรธก็จะหายไป สิ่งที่ปรากฏมันเป็นไตรลักษณ์ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ นั่งสมาธิไปสักหนึ่งชั่วโมง เกิดอาการรู้สึกว่ามีอีกหนึ่งตัวหลุดออกมาจากร่างกายที่นั่งอยู่ หันกลับไปมองรู้สึกได้ว่า ที่นั่งอยู่เป็นตัวเรา แต่ที่ยืนอยู่ข้างนอกเป็นตัวเราจริงๆ ตกใจมาก จึงลืมตาก็พบว่าตัวเองนั่งอยู่ที่เดิม กราบเรียนถามพระอาจารย์ว่า สิ่งที่เกิดคืออะไร และควรปฏิบัติอย่างไรต่อไป พระอาจารย์: อ๋อ ก็เสียสติไง เสียสติ ไม่อยู่กับลมหายใจ ไม่อยู่กับพุทโธ พอเกิดอะไรปรากฏขึ้นมาก็ไปตามรู้ทันที ต้องพยายามยึดพุทโธหรือยึดลมหายใจ แล้วก็ให้ทำความเข้าใจว่าสิ่งที่ปรากฏมันเป็นไตรลักษณ์ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่ได้เป็นของจีรังถาวร เกิดขึ้นแล้วเดี๋ยวก็ดับไป ตอนนั่งสมาธินี้เราไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้ แต่เราห้ามมันไม่ได้ถ้ามันจะเข้ามา เหมือนเดี๋ยวนี้ เวลาเข้าไปทำซูมนี่ พวกแฮกเกอร์มันชอบเข้ามา ห้ามมันไม่ได้ ก็อย่าไปสนใจมัน หรือลบมันออกไปได้ก็ลบมันออกไป มันเข้ามาเปิดเสียงดัง โป้งเป้งๆ อะไร รบกวนการสนทนากัน นั่งสมาธิก็เหมือนกัน เดี๋ยวจิตก็มีอะไรปรากฏขึ้นมา มีของแปลกๆ ของที่เราไม่เคยเห็นปรากฏขึ้นมา ก็อย่าไปสนใจ พอรู้มันเกิดขึ้นมาปั๊บ พอไปรับรู้ปั๊บก็กลับมาที่ลมต่อ กลับมาที่พุทโธต่อไป แล้วเดี๋ยวมันก็จะไม่มาสร้างปัญหาให้กับเรา ถ้าเราไปตามรู้เดี๋ยวเราคิดปรุงแต่งเป็นนู่นเป็นนี่ขึ้นมา เดี๋ยวตกอกตกใจขึ้นมา เดี๋ยวต้องลืมตาออกจากสมาธิกัน ขอให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราเห็นในจิตนี้เป็นมายา เป็นเหมือนภาพยนตร์ มันทำอะไรเราไม่ได้หรอก ถ้าเราไม่ไปสนใจมัน ไม่ไปเล่นกับมัน ไปจริงจังกับมัน เหมือนเราดูหนังแหละ เรารู้ว่าคนที่อยู่ในจอหนังมันออกมาทำร้ายเราไม่ได้หรอก แต่ถ้าเราไปจริงจังกับมันเราก็กลัวมัน ใช่ไหม กลัวมันจะมาทำร้ายเราธรรมะหน้ากุฏื โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน 700 (650)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 02 กันยายน 2563 19:00:20 » |
|
พระที่สุปฏิปันโน ท่านบอกผู้หญิงจะจับท่านได้ก็ตอนที่ท่านตายเท่านั้น ถาม: เวลาพระท่านปวดเมื่อยร่างกาย แต่เวลาตอกเส้นให้ หมอเป็นผู้หญิงตอกเส้นให้ได้ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: ไม่ได้หรอกถ้าเป็นผู้หญิงจับต้องตัวพระไม่ได้ ต้องใช้ผู้ชาย แต่สมัยนี้พระบางรูปท่านก็อนุโลม ท่านบอกว่าไม่เป็นไร รักษาพยาบาล แต่ถ้าเป็นพระที่สุปฏิปันโน ท่านบอกไม่ได้ ผู้หญิงจะจับท่านได้ก็ตอนที่ท่านตายเท่านั้น นอกนั้นแล้วท่านไม่ยอมให้แตะต้อง แม้แต่จะมาฉีดยาให้ มาวัดปรอทให้ อะไรก็ตาม พระปฏิบัติจึงไม่ค่อยอยากจะเข้าโรงพยาบาล เพราะว่าท่านจะไม่สามารถรักษาที่ไหนได้ เพราะตามโรงพยาบาลเขาก็ไม่เข้าใจว่าทำไมพระต้องมาเคร่งแบบนี้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเป้าหมายอยู่ที่การที่จะทำให้มีกามารมณ์ แต่มันไม่รู้ทำไมธรรมชาติของใจของพระที่ยังมีกิเลสอยู่ ถึงแม้ไม่สบายลองผู้หญิงแตะต้องดูซิ กิเลสมันตื่นขึ้นมาทันที ที่ท่านต้องการป้องกันก็คือไม่ต้องการให้กิเลสมันตื่น พอมันตื่นแล้วเดี๋ยวมันมาพ่นพิษใส่จิตใจของพระ เดี๋ยวผ้าร้อน เดี๋ยวจะรักษาพยาบาลหายก็จะสึกไปเลย ดีไม่ดีเดี๋ยวก็ไปกับพยาบาลนั่นแหละจะบรรลุโสดาบันต้องมีศีลบริสุทธิ์พียงใดถาม: ขอเรียนถามพระอาจารย์ว่า ผู้ปรารถนาจะบรรลุโสดาบัน ต้องมีศีลบริสุทธิ์พียงใด ถึงจะนับว่าศีลบริสุทธิ์ จนเอื้อให้บรรลุโสดาบันได้ครับ พระอาจารย์: ก็ศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ส่วนถ้ามีศีล ๘ ได้ก็จะบรรลุได้เร็วขึ้น ถ้าศีล ๕ ก็อาจจะช้า แล้วแต่ว่ามีปัจจัยอย่างอื่นอีกหรือเปล่า เช่น ถ้ามีสมาธิอยู่แล้ว ถือแค่ศีล ๕ ก็ได้ มันก็บรรลุได้ แต่ถ้ายังไม่มีสมาธิ อาจจะต้องถือศีล ๘ เพื่อมาช่วยสร้างสมาธิให้เกิดขึ้นก่อน ถ้ามีสมาธิแล้ว ทีนี้ก็สามารถที่จะไปเจริญปัญญา เพื่อให้บรรลุได้ภพภูมิต่างๆ อยู่ในโลกนี้ด้วยกันหรือไม่ครับถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ว่า ภพภูมิต่าง ๆ นั้น อยู่ในโลกนี้ด้วยกันหรือไม่ครับ หรืออยู่ในโลกจักรวาลอื่น แล้วการเปลี่ยนภพภูมิสามารถตั้งเป้าหมายไว้ได้ไหมครับ พระอาจารย์: ภพภูมินี้มันอยู่ในโลกทิพย์นะ โลกทิพย์นี้มันไม่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนโลกที่เราอยู่ ของร่างกาย ร่างกายนี้มันโลกธาตุ โลกที่ทำมาจากธาตุ ๔ เป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เราจับต้องได้ แต่โลกทิพย์นี้มันเป็นโลก เหมือนโลกของความฝัน ตอนเวลาเรานอนหลับนี้เราจะเข้าไปในโลกทิพย์กัน แล้วเราก็จะฝันเรื่องนั้นเรื่องนี้ ฝันดีบ้าง ฝันไม่ดีบ้าง นั่นแหละคือโลกทิพย์ของเรา พอเราตื่นขึ้นมาเราก็กลับเข้ามาสู่โลกธาตุใหม่ เวลานอนหลับเราก็แยกออกจากโลกธาตุไปชั่วคราว งั้นการนอนหลับนี่ก็เป็นเหมือนการตายชั่วคราว พอตายจริงเราก็จะไปอยู่ในโลกทิพย์ โลกของความฝัน ฝันดีฝันไม่ดี ฝันดีเราก็เรียกว่าสวรรค์ ฝันไม่ดีก็เรียกว่าอบาย จนกว่ากำลังที่พาให้เราฝันนี้หมดกำลังลง เราก็จะมาเป็นมนุษย์ด้วยการคลอดออกมาจากท้องแม่ มาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ นี่พอเราออกจากท้องแม่ก็ลืมตาขึ้นมา โอ๊ย เมื่อกี้ฝัน ฝันไม่รู้กี่ปีกี่หมื่นปีกี่พันปีก็ไม่รู้ เพราะมันไม่มีเครื่องวัดเวลา เวลาเรานอนหลับฝันนี้ ไม่มีนาฬิกาบอกว่าฝันกี่ชั่วโมง จะรู้ว่าฝันนานหรือไม่นาน ก็ตอนที่ตื่นขึ้นมาแล้ว แต่ถ้าตอนที่เกิดมานี้ ไม่รู้ว่าคราวที่แล้วที่เราตายไปนี้ไม่รู้กี่ร้อยปีผ่านมาแล้วก็ได้การสมาทานนี้มันสมบูรณ์ตั้งแต่เราสมาทานแล้วถาม: ผมมีเรื่องเรียนถามครับ ผมสมาทานศีล ๕ จะรักษาไว้ให้ได้ตลอดชีวิต แต่เมื่อวันหนึ่งสามารถทำได้ถึงระยะที่เราไม่พลั้งเผลอในการละเมิดศีลแล้ว โดยไม่ต้องระวัง ก็ไม่ละเมิด ถือว่าการสมาทานศีลนั้นสมบูรณ์ใช่ไหมครับ ควรทำอย่างไรต่อไปให้เจริญก้าวหน้าในธรรมต่อไปครับ พระอาจารย์: อ๋อ การสมาทานนี้มันสมบูรณ์ตั้งแต่เราสมาทานแล้ว มันอยู่ที่การรักษาศีลต่างหากที่จะสมบูรณ์ไม่สมบูรณ์ การสมาทานก็เป็นเพียงการตั้งเจตนาว่า ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะรักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ อันนี้เป็นเจตนาความตั้งใจ ทีนี้จะสำเร็จไม่สำเร็จก็อยู่ที่การรักษา ถ้าเรารักษาได้ก็ถือว่าเราสำเร็จ เท่านั้นเอง ทีนี้เราจะไปรู้ว่าสำเร็จได้ยังไง ถ้าเรายังไม่ตาย เดี๋ยวพรุ่งนี้เราอาจจะอยากไปกินเหล้าขึ้นมาก็ได้ หรืออยากจะขโมยทรัพย์ของผู้อื่นขึ้นมาก็ได้ เราก็ไม่ต้องไปสนใจว่าจะเป็นอย่างไร ให้เราดูในปัจจุบันก็แล้วกันว่า ตอนนี้เรารักษาศีล ๕ ได้อยู่รึเปล่า ถ้ารักษาได้ก็รักษาไปเรื่อย ๆ ถ้ารักษาไม่ได้ก็พยายามแก้ไข ถ้าขาดบ้างก็รู้ว่าตอนนี้เราขาด ก็ไม่เป็นไร ก็กลับมารักษากันต่อได้ ก็รักษาไปเรื่อย ๆผูกพันกับแมวตายไปจะเกิดเป็นแมวไหมคะ ถาม: การที่เราเลี้ยงแมว มีความผูกพัน เรามีโอกาสเกิดเป็นแมวไหมคะ โดยที่ในชาตินี้โยมรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ฟังธรรม นั่งสมาธิ พยายามมีสติระลึกรู้ตัวท่องพุทโธอยู่ ขณะตายจะมีโอกาสเกิดเป็นแมวไหมคะ พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าไม่ทำบาปไม่ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถึงแม้จะอยู่กับสัตว์เดรัจฉาน จะรักมันยังไงก็ตาม ไม่ไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าไม่รักษาศีลทำบาป ถึงแม้เกลียดสัตว์ มันก็ไปเป็นสัตว์อยู่ดีวิธีให้มารดาคลายความเจ็บปวดจากมะเร็งถาม: มารดาป่วยเป็นมะเร็งค่ะ ขอพระอาจารย์ช่วยบอกวิธีให้มารดาคลายความเจ็บปวดจากมะเร็งได้อย่างไรคะ พระอาจารย์: อ๋อ มะเร็งนี่เป็นเรื่องของร่างกาย ความทุกข์นี้มีอยู่ที่ใจ ใจนี้สามารถไม่ทุกข์กับความเป็นมะเร็งได้ ด้วยการยอมรับว่าร่างกายเป็นสิ่งที่จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา เมื่อมันเป็นมะเร็งก็ปล่อยมันเป็นไป เราอย่าไปอยากให้มันหาย อย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างอื่น เพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้ ตอนนี้มันเป็นอะไรก็ต้องให้มันเป็นไป ทำได้ก็รักษาไป รักษาได้อาจจะหายก็หาย ไม่หายก็ไม่หาย แต่ใจเราจะไม่ต้องทุกข์กับมันได้ ถ้าเราอย่าไปอยากให้มันหาย มันเป็นก็ปล่อยให้มันเป็นไป ปล่อยวางร่างกาย ถ้าปล่อยไม่ได้ก็สวดมนต์ไป พุทโธไป ทำใจให้ลืมถึงโรคมะเร็ง แล้วมันก็จะหยุดความอยากได้ชั่วคราว ใจก็จะสบายเป็นพัก ๆ ไปกำหนดลมหายใจอย่างไรเวลาทำอานาปานสติถาม: เราควรกำหนดลมหายใจอย่างไรเวลาทำอานาปานสติเจ้าคะ รู้สึกว่าการทำสมาธิไม่ค่อยก้าวหน้าเจ้าค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ลมเราไม่ต้องไปกำหนดหรอก มันหายใจยังไง อย่างตอนนี้มันหายใจยังไงก็ปล่อยมันหายใจไป เราเพียงแต่มาดูลม มาดูมันเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปกำหนด ลมนี้ไม่ต้องไปบังคับให้ลมหายใจสั้นหายใจยาว หายใจเข้าหายใจออก กำหนดลมก็คือกำหนดจิตให้มาดูลม เท่านั้นเอง ลมจะหายใจยังไง ก็ปล่อยมันหายใจไปตามปกติของมัน ตอนนี้มันหายใจยังไงก็ปล่อยมันหายใจไป เราก็เพียงมาดูว่า ตอนนี้มันหายใจเข้าหรือหายใจออก มันสั้นหรือมันยาว มันหยาบหรือมันละเอียด ก็ดูมันไปเท่านั้นเอง ไม่ต้องไปกำหนด ไม่ต้องไปบังคับตัวลม เราต้องการบังคับใจไม่ให้ไปคิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยอาศัยการดูลมเป็นตัวดึงใจไว้ ไม่ให้ไปคิดนั่นเอง คุณธรรม ๔ ประการของคนมีครอบครัวหลวงพ่อ : ไม่เคย ไม่ต้องมีหรอก ก็ดูครอบครัวคนอื่น ดูพ่อแม่เราก็เห็นแล้วไม่ต้องดูคนอื่น แต่มันอาจจะเป็นเรื่องของจริตนิสัยก็ได้ที่ไม่มีครอบครัวเพราะว่ามันอาจจะมันไม่มีความจำเป็นจะต้องมี และมันอาจจะเห็นว่ามันยุ่งยากมากกว่า อันนี้แล้วแต่ ความรู้ของแต่ละคน บางคนก็มองไม่เห็นทุกข์ ก็เห็นว่าการมีครอบครัวมีความสุข เขาก็มีครอบครัวกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะเห็นว่าการมีครอบครัวมีความสุข ดีกว่าอยู่คนเดียว ซึ่งในระดับหนึ่งมันก็เป็นอย่างนั้น มีครอบครัวก็มีคนนั้นคนนี้มาอยู่ร่วมกันก็ไม่เหงา ช่วยกันดูแล ช่วยกันปกป้องรักษา ถ้าอยู่คนเดียวนี้มันก็อาจจะเป็นเป้าของผู้ไม่หวังดีก็ได้ ยิ่งถ้าเป็นผู้หญิงนี้อยู่คนเดียวมันก็ยาก แต่ถ้ามีสามีมีอะไรอย่างน้อยก็ไม่มีใครจะอยากจะเข้ามา สร้างความเดือดร้อนให้ แต่ถ้าอยู่คนเดียว เดี๋ยวก็โดน เป็นผู้หญิงก็ลำบากกว่าผู้ชายตรงนี้ ก็ต้องมีคู่ มีเพื่อน
แต่สมัยนี้เขามีหลายรูปแบบ มีแบบไม่ได้แต่งกันก็มีอยู่กันไปเป็นเพื่อนกันไป เบื่อก็ไป เบื่อก็เปลี่ยนเพื่อนใหม่ ก็เป็นความสุขชั่วคราวก็ต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเบื่อคนนี้ก็ไปเปลี่ยนคนใหม่ ดาราฮอลลีวู้ดบางคน แต่งแล้วหย่าตั้งเกือบสิบครั้ง อลิสซาเบธ เทย์เลอร์ แต่งตั้ง ๘ ครั้ง สวยขนาดไหนยังต้องเปลี่ยน อยู่ด้วยกันสักพักแล้วก็เบื่อกัน ถ้าเอาใจตัวเองก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ ถ้าเราอยากจะอยู่กับใครให้นาน เราต้องรักเขามากกว่ารักเรา ถ้าเรารักเขามากกว่ารักเรา เราก็ยินดีที่จะเสียสละ เมื่อเราเสียสละเขาก็จะอยู่กับเราได้ แต่ถ้าเรารักตัวเรามากกว่ารักเขา ก็มักจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะเราจะไม่ยอม ไม่ยอมเสียสละ พอเราไม่ยอม เขาก็ไม่อยากจะอยู่กับเรา
ดังนั้นถ้าเราอยากจะอยู่กันไปนาน ๆ ก็ต้องรักเขาให้มากกว่ารักตัวเรา ถ้าเรารักใครเราก็ยินดีที่จะเสียสละให้กับเขา เหมือนพ่อแม่รักลูก พ่อแม่นี้รักลูกมากกว่ารักตัวเอง ยินดีที่จะเสียสละให้กับลูกได้ แต่ทำไมกับสามีกับภรรยา กลับเสียสละให้ไม่ได้ ก็เลยต้องหย่าล้างกันไป จนกว่าเราจะไปเจอคนที่เรารักเขามากกว่ารักตัวเรา เมื่อเราเจอคนที่เรารักเขามากกว่าตัวเรา เราก็จะอยู่กับเขาได้ ชีวิตครอบครัวก็จะดีตรงนี้
พระพุทธเจ้าสอนว่าคู่ครองนี้ต้องมีคุณธรรมอยู่ ๔ ประการด้วยกันถึงจะอยู่กันได้นาน ข้อ ๑. ก็คือจาคะ คือการเสียสละ เราต้องเสียสละ เราต้องยอม ยอมให้อย่าเอาแต่ได้ ถ้าจะเอาได้อย่างเดียว เขาไม่มีปัญญาที่จะให้เราทุกอย่างที่เราต้องการหรอก เราต้องให้เขา ถ้าเราให้เขา เขาก็จะให้เรา หรือเราให้เขา เราก็ไม่เดือดร้อน เพราะเราไม่มีความอยากจะได้ เรามีแต่ความอยากจะให้ แสดงว่าเรารักเขามากกว่าเรารักตัวเรา เราก็จะให้ได้ เราก็จะมีจาคะ ข้อที่ ๒. ก็ต้องมีสัจจะ คือมีความซื่อสัตย์ มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ต่อกันและกัน ไม่หลอกลวงกัน ไม่ไปแอบมีแฟนที่นอกบ้าน ถ้ามีความซื่อสัตย์ต่อกันมันก็จะมีความสบายใจ ไม่ต้องมีความวิตกกังวล ข้อที่ ๓. ก็ต้องมีความอดกลั้น มีเวลามีอารมณ์บูดเบี้ยวก็ต้องข่มใจ เวลาโกรธเขา ก็อย่าไประบาย พยายามพุทโธ ๆ ๆ ไว้ ทำใจให้นิ่งให้เฉยๆ เดี๋ยวอารมณ์โกรธผ่านไปมันก็กลับมาเป็นปกติ มันก็ไม่ต้องไปทำอะไรให้เสียหาย
เวลาโกรธนี้ถ้าเราพูดหรือทำอะไรไปมันมักจะทำให้เกิดความเสียหาย แล้วเราก็จะมาเสียใจทีหลังว่า เราไม่น่าพูดเลย เราไม่น่าทำไปเลย แทนที่จะทำให้เหตุการณ์ดีขึ้น ไม่ว่าโกรธหรือโลภนี้ ให้ข่มใจไว้ เวลาโลภก็ไม่ดี เวลาโลภอยากได้อะไร ก็อาจจะทำให้เราต้องพูดหรือทำอะไร ที่น่าเกียจก็ได้ ที่ไม่น่าดู ที่จะทำให้เขาไม่พอใจไม่ชอบใจเราก็ได้
ดังนั้นเวลาโลภต้องข่มใจไว้ เวลาโกรธต้องข่มใจไว้ เวลาหลงก็ต้องข่มใจไว้ เวลาหลงก็คืออาจจะคิดว่าเขาไปมีโน่นไปมีนี่ ทั้งที่เรายังไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า คิดไปแล้วก่อน อันนี้ก็ต้องหยุดความหลง ถ้ายังไม่เห็นความจริงก็อย่าเพิ่งไปคิดอะไร นี่เรียกว่าต้องรู้จักข่มใจ เวลามีอารมณ์โลภ โกรธ หลง มีอารมณ์อยากต่าง ๆ เพราะมันจะทำให้เราไปพูดไม่ดีทำไม่ดี แล้วจะทำให้มีปัญหาต่อกัน อันนี้คือเรียกว่าข่มใจ ข้อที่ ๔.ก็คือต้องมีความอดทน อดกลั้นแล้วก็ต้องอดทน อดทนก็คือชีวิตของเรา มันก็ไม่ใช่จะเป็นเหมือนกลีบดอกกุหราบไปตลอด บางทีก็มีหนามมีอะไรให้เหยียบบ้าง ชีวิตก็มีสุขมีทุกข์สลับกันไป ขึ้นๆลงๆ เวลาสุขก็ไม่มีปัญหาอะไร เวลาทุกข์ถ้าไม่มีความอดทน เดี๋ยวก็จะไปพูดไปทำอะไรที่ไม่ดีได้ ก็ต้องอดทน เวลาแต่งงานเขาถึงบอกให้สัญญากันว่า In Sickness and in Health แปลว่า ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็จะอยู่กันเหมือนเดิม จะจากกันก็ตอนเวลาที่เราตายเท่านั้น Till Death Do Us Part ถ้าทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้กันได้ ก็น่าจะอยู่กันอย่างมีความสุข ถ้ามีคุณธรรม ๔ ข้อนี้รับรองได้ว่าจะอยู่กันได้ อยู่กันอย่างมีความสุข แบบภาษาของโลกๆ สุขๆ ดิบๆ สุขบ้างทุกข์บ้างแต่จะให้สุขทุกวันแบบวันแต่งงานไม่มีหรอก มันมีวันเดียวเท่านั้นแหละ หลังจากนั้นแล้วมันก็เหมือนยาขมเคลือบน้ำตาล เวลาอมเข้าไปใหม่ๆก็เหมือนวันแต่งงานหวาน เดี๋ยวพอน้ำตาลละลายแล้วทีนี้ความขมจะโผล่ขึ้นมาแล้ว
ถ้าอยากจะมีความสุขมีความสำเร็จในชีวิตคู่ก็ต้องสร้างคุณธรรม ๔ ประการ สร้างจาคะ การเสียสละ สร้างสัจจะ ความซื่อสัตย์ สร้างความอดทนอดกลั้น เขาเรียกว่า ทมะ และสร้างความอดทน เรียกว่า ขันติ ถ้ามีธรรมะ ๔ ข้อนี้อยู่กับใครก็ได้ ไม่ได้อยู่แบบคู่ครองก็ได้ อยู่กับใครที่ไหนถ้าเรามีคุณสมบัติ ๔ ประการนี้ ไม่มีใครเขารังเกียจหรอก
นี่คือความสวยงามของคน สวยที่ใจ สวยด้วยจาคะด้วยการเสียสละ สวยด้วยความซื่อสัตย์ไว้ใจได้ ไม่มีใครจะสงสัยในพฤติกรรมของเรา พูดจริงทำจริง ให้สัญญาอะไรไว้แล้ว ไม่บิดเบี้ยว ไว้ใจได้ ไว้เนื้อเชื่อใจได้แล้วก็จะไม่ระบายอารมณ์ เวลาโกรธ เวลาทุกข์ก็จะเฉยๆ ทำใจไม่พูดไม่ทำอะไร ที่ทำให้ผู้อื่นเขาเสียหาย เวลาทุกข์ยากลำบากก็อดทนสู้กับมันไป ก็มีคนแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือเปล่าในคู่ครอง เขาให้ชวนคนที่จะแต่งงานนี้ไปเดินขึ้นเขาที่ภูกระดึงกัน ขึ้นดอยภูกระดึงดู ดูว่าจะยิ้มแย้มแจ่มใส แฮบปี้กันไปตลอดทางหรือเปล่า หรือไปปีนภูเขาหิมาลัยก็ได้ คนเราจะต้องไปเจอข้อสอบ ต้องไปเจอความทุกข์ยากลำบากแล้วถึงจะเห็นธาตุแท้ของคนว่ามีธาตุแท้แบบไหน มีธรรมหรือมีอธรรม มีจาคะ มีสัจจะ มีทมะ มีขันติหรือเปล่า
สมัยก่อนเขาถึงไม่นิยมแต่งกันก่อน เขาต้องหมั้นกันก่อนสักปี ให้รู้จักจิตใจของกันและกัน ว่าจะอยู่ด้วยกันได้หรือไม่ เขาชอบอย่างนี้เราไม่ได้ชอบอย่างนี้เราจะปรับใจอยู่กับเขาได้หรือเปล่า เราชอบอย่างนี้เขาไม่ชอบ เขาจะปรับใจเข้าหาเราได้หรือเปล่า มันเป็นเรื่องของการปรับนะ
การอยู่คนเดียวนี้สบายตรงนี้ไม่ต้องปรับใจ เป็นตัวของเรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่เวลาไปอยู่กัน ๒ คนนี้ ต้องหมดอิสรภาพไปครึ่งหนึ่ง แล้วจะทำอะไรตามอำเภอใจไม่ได้แล้ว เหมือนกับกลายเป็นนักโทษ จะไปไหนก็ต้องขออนุญาตกันแล้ว ต้องบอกกันก่อน จะไปทำอะไรคนเดียวนี้ต้องขออนุญาตไม่เช่นนั้นก็ต้องไป ๒ คน ไป ๒ คนก็ต้องพอใจทั้ง ๒ คนว่าจะไปทางเดียวกันได้หรือเปล่า คนหนึ่งอยากจะไปที่นี่ อีกคนอยากจะไปที่นั่น เดี๋ยวก็ไปไม่ได้แล้ว ถ้าจะอยู่ด้วยกันได้ก็ต้องตามใจเขา เอาใจเขา ถ้าเอาใจเขาก็อยู่กับเขาได้
มันยุ่งยากนะ สู้อยู่คนเดียวไม่ได้นะ สู้พุทโธๆๆอย่างเดียวไม่ได้ สบายกว่า ทำพุทโธๆๆไป ใจสงบนี้ก็จะไม่รู้สึกเหงา ไม่รู้สึกว้าเหว่ และไม่อยากจะอยู่กับใคร ไม่อยากจะเสียอิสรภาพ อยู่คนเดียวนึกอยากจะทำอะไรไปได้เลย ไม่ต้องปรึกษาใคร ไม่ต้องขออนุญาตใคร เพื่อนโทรมาชวนไปไหนอยากจะไป ไปได้เลย นี่เดี๋ยวเกิดเพื่อนฝูงโทรมาชวนไปโน่นมานี่ ไปไม่ได้แล้ว แฟนไม่ยอมให้ไป ได้อย่างเสียอย่างนะ คิดให้รอบคอบนะ ได้กับเสียอันไหนมันจะมากกว่ากัน ถ้าได้มากกว่าเสียก็ไป ถ้าได้น้อยกว่าเสียก็อย่าไปดีกว่า
ก็มีพระเคยมากราบขอหลวงปู่มั่นว่า จะขอลาไปปฏิบัติที่อื่น หลวงปู่มั่นก็ท่านก็บอกว่า ถ้าไปดีกว่าอยู่ก็ไปก็กี ถ้าไปดีกว่าอยู่ก็อยู่ดีกว่า ถ้าไปก็ดี อยู่ก็ดี ก็อยู่ก็ได้ ไปก็ได้
เราต้องถามตัวเราเองว่า เราไปแล้วจะดีกว่าอยู่หรือเปล่า ถ้าดีก็ไป ถ้ามันอาจจะดีแบบคนตาบอดก็ช่วยไม่ได้นะ คนตาบอดมันอาจจะมองแต่ข้อดีอย่างเดียว แต่ถ้ามองแบบคนตาดีไม่มีใครอยากจะไปหรอก เห็นไหม พระพุทธเจ้าขนาดมีแฟนมีลูกก็ยังต้องหนีไปเลย ถ้าไปมีครอบครัวก็ไปนิพพานไม่ได้นะ ไปปฏิบัติไม่ได้ ไปบวชไม่ได้ ก็ต้องติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิดอยู่เรื่อยๆ
ตายไปกลับมาเกิดใหม่ก็ต้องไปมีครอบครัวใหม่ แล้วก็มาทุกข์กับการดูแลเลี้ยงดูครอบครัว มีสุขบ้างมีทุกข์บ้างสลับกันไป ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ ถ้าจะไปทางนี้ก็ต้องซื้อประกันภัยไว้ ประกันความทุกข์ จะทำให้ทุกข์น้อยก็ต้องทำทาน รักษาศีล ภาวนา หรือพยายามสร้างธรรมะ ๔ ข้อนี้ขึ้นมา สร้างจาคะ สร้างสัจจะ สร้างทมะ สร้างขันติแล้วก็พอที่จะรับกับความทุกข์ต่างๆ
ความจริงอยู่คนเดียวมันก็มีความทุกข์เหมือนกัน แต่มันทุกข์น้อยกว่า ตัวแปรมันน้อยกว่า แต่มันจะไปทุกข์หนักที่ความเหงา ความหว้าเหว่ เป็นอย่างไร พูดอย่างนี้แล้ว รู้อย่างนี้ไม่มาดีกว่า ไม่สายเกินแก้นะ
โยม : เดี๋ยวหนูจะเอา ๔ ข้อไปบอกแฟน หลวงพ่อ : อย่าไปบอกเขาเลย บอกตัวเราดีกว่า โยม : จะได้ทำไปด้วยกัน หลวงพ่อ : มันยากการที่จะไปบอกเขานี้ มันเหมือนกับไปบังคับแล้ว ไปบอกเขาก็ไปบังคับเขาแล้ว นอกจากถ้าเขาปรึกษาเราก็ว่าไปอย่าง ถ้าเราไปพูดอย่างนี้ก็เหมือนกับเราไปบังคับเขาแล้ว แล้วถ้าเขาไม่พร้อมที่จะปฏิบัติ ๔ ข้อนี้เขาก็จะรู้สึกอึดอัด มันมีไว้สำหรับตัวเรานะ ส่วนเขาจะมีหรือไม่มีก็เรื่องของเขา พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2563 19:03:30 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 85.0.4183.102
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 18 กันยายน 2563 15:45:14 » |
|
ยังมีภรรยาสามารถบรรลุธรรมได้ไหม ถาม: กราบพระอาจารย์ครับ สอบถามครับ ถ้าเรายังมีภรรยาและอยู่กินนอนกับภรรยา จะสามารถบรรลุธรรมโสดาบันถึงอรหันต์ได้ไหมครับ แต่ก็รักกันดีครับ แล้วถ้าเราจะทิ้งภรรยาให้อยู่ตามเวรตามกรรม จะบาปไหมถ้าเราออกบวช
พระอาจารย์: อ๋อ ไม่บาปหรอก ถ้าเราตกลงกันพูดกันขออนุญาตกัน ถ้าเขาอนุญาตเพราะเราเป็นเหมือนสมบัติของเขา ถ้าเราจะไม่ทำหน้าที่ของเรากับเขาเราก็ต้องขออนุญาตจากเขา ถ้าเขาอนุญาตให้เราไปบวชไปปฏิบัติธรรมได้ เราก็ไป การไปปฏิบัติธรรมก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องไปปฏิบัติตลอดเวลา เมื่อบรรลุแล้วจะกลับมาอยู่กับเขาอีกก็ได้ พระโสดาบันนี่ยังมีความอยากมีแฟนอยู่ ยังรักภรรยาอยู่ ยังไม่เบื่อภรรยา พอเขาบรรลุเป็นโสดาบันเขาก็อาจจะกลับมาอยู่กับภรรยาต่อก็ได้ แต่การที่จะบรรลุมันต้องไปปฏิบัติ เหมือนกับไปเรียนหนังสือแหละ การจะจบปริญญาก็ต้องไปเรียน ไม่ใช่อยู่กับภรรยาแล้วจะให้จบปริญญา ก็ต้องไปเรียน ช่วงไปเรียนก็อาจจะห่างจากภรรยาบ้าง แต่พอเรียนจบก็กลับมาอยู่กับภรรยาต่อได้กิเลสมันเก่งขึ้นตามกำลังที่เราปฏิบัติไหมครับ ถาม: พระอาจารย์ครับ กิเลสมันเก่งขึ้นหรือฉลาดตามกำลังที่เราปฏิบัติพัฒนาขึ้นไม๊ครับ พระอาจารย์: อ๋อ มันเก่งมานานแล้วละ มันไม่ใช่มันมาเก่งเฉพาะตอนที่เราปฏิบัติ มันเก่งกว่าเรา มันถึงพาเรามาเวียนว่ายตายเกิดกัน งั้นเราต้องพยายามสร้างธรรมะขึ้นมา สร้างปัญญาขึ้นมา ถึงจะทันมันถึงจะสู้กับมันได้ มันจะเก่งขนาดไหน มันก็สู้ปัญญาของพระพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะพระพุทธเจ้านี้ได้ชิงแชมป์มาแล้ว ได้ชนะกิเลสมาแล้ว งั้นขอให้เราเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาใช้ เอาอริยสัจ ๔ เอาไตรลักษณ์มาใช้ รูปฌาน อรูปฌาน รูปภพ อรูปภพ ถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ หนูยังไม่ค่อยเข้าใจรูปฌาน อรูปฌาน รูปภพ อรูปภพ เจ้าค่ะ
พระอาจารย์: คือรูปฌานก็คือเวลาเรานั่งสมาธิ แล้วใจเรามีสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกนี้ เรากำลังเข้าฌานคือระดับรูปฌาน เพราะยังมีรูปคือลมให้เราดูอยู่ สัมผัสรับรู้อยู่ ดูลมไปแล้วเราก็จะเข้าไปสู่ฌานขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๓ ขั้นที่ ๔ ได้ นี่เรียกว่า “รูปฌาน” พอผ่านรูปฌานแล้ว เราไม่ดูลมแล้ว ทีนี้เราดูสิ่งที่มีอยู่ในจิตเรา เช่น ดูความว่างอย่างนี้ ก็เป็นอรูปฌานอย่างหนึ่ง เป็นวิญญาณ ดูวิญญาณ ความรู้ที่ไม่มีขอบไม่มีเขต ต้องไปดูรายละเอียด เราพูดไปเดี๋ยวจะผิด เพราะจะมีอารมณ์ให้เราใช้แทนลมหายใจเข้าออก พอเข้าสู่อรูปฌานนี้จะมีอารมณ์ ๔ ระดับด้วยกันให้เราใช้เป็นอารมณ์ผูกใจ ให้อยู่ในฌาน ให้อยู่ในอรูปฌาน
เวลาตายไปจิตของเราที่อยู่ในรูปฌาน มันก็จะอยู่ในรูปภพ จิตของเราก็จะเป็นรูปพรหม เวลาถ้าเราอยู่ในอรูปฌาน เวลาตายไปเราก็จะอยู่ในอรูปภพ เท่านั้นเอง เพียงจิตเสพอรูปฌานเป็นอารมณ์ จิตที่เสพรูปฌานเป็นอารมณ์ก็จะอยู่ในรูปภพ จิตที่เสพกามเป็นอารมณ์ก็จะอยู่ในกามภพ เช่น มนุษย์ เทวดา นี้เสพกาม เวลาตายไปก็จะเสพรูปเสียงกลิ่นรสทิพย์ ถ้าเป็นเทวดาก็เป็นรูปเสียงกลิ่นรสทิพย์ ที่มีแต่ความสุข ถ้าเป็นพวกอบายก็จะไปเสพรูปเสียงกลิ่นรสที่มีแต่ความทุกข์ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถาม: เมื่อวันพระที่ผ่านมา ไปอยู่วัดนั่งสมาธิ ช่วงเวลาประมาณตี ๓ ผมลุกขึ้นมาเดินจงกรม ๓๐ นาที และยืนอีก ๓๐ นาที ขณะที่ยืนมองลงไปที่พื้นแล้ว อธิษฐานว่าผมจะยืนจนกว่าพระมาตีระฆัง ผมอธิษฐานจบก็เกิดแสงกลมๆ ผุดขึ้นมา เล็กใหญ่อยู่ประมาณ ๓๐ วินาที มันคืออะไรครับ ที่ผมเห็นนี้จริงไหม ใช่ไหมครับ แล้วผมควรจะปฏิบัติอย่างไรต่อไป ขอความเมตตาจากพระอาจารย์ครับ
พระอาจารย์: อ๋อ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ละสิ ก็พิจารณาว่าไม่เที่ยง มันเกิดแล้วดับ อนัตตา เราไปห้ามไม่ได้ มันเกิดก็ปล่อยมันเกิด มันดับก็ปล่อยมันดับไป ไม่มีสาระไม่มีอะไร เป็นปรากฏการณ์ทางจิตใจอย่างหนึ่ง ก็มีหลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอะไรนี้ พระพุทธเจ้าทรงบอกให้พิจารณาเป็นไตรลักษณ์ลงไปให้หมด แล้วปล่อยวาง สิ่งที่เราต้องการคือความว่าง ความสงบของใจ อุเบกขา สามารถเกิดจากปัญญาได้ไหมเจ้าคะ ถาม: การวางใจเป็นอุเบกขา สามารถเกิดจากปัญญาได้ไหมคะ หรือต้องเกิดจากสมาธิเจ้าคะ
พระอาจารย์: ได้แต่ยาก เพราะว่าถ้าเห็นไตรลักษณ์จริงๆ ก็วางได้ ทีนี้มันจะเห็นหรือไม่เห็นนี่มันยาก เพราะว่าคนส่วนใหญ่นี้มันจะไม่เห็นไตรลักษณ์กัน ไม่เห็นอนิจจัง ไม่เห็นอนัตตากัน งั้นสู้เอาธรรมแบบง่ายๆ ดีกว่า เบื้องต้นก็คือใช้สติ ทำให้ใจเป็นอุเบกขาดีกว่า เพียงแต่บริกรรมพุทโธพุทโธไป หรือดูลมหายใจเข้าออกไป ใจก็จะนิ่งสงบเป็นอุเบกขาขึ้นมาได้ ส่วนปัญญานี้ต้องมานั่งวิเคราะห์ อนิจจังเป็นยังไง มีหลายลักษณะด้วยกัน เปลี่ยนแปลงก็เป็นอนิจจัง เกิดดับก็เป็นอนิจจัง อนัตตาก็คือเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมบังคับมันได้ มันไม่ได้เป็นของเราอย่างแท้จริง วันใดวันหนึ่งจะต้องจากเราไป ถ้าเราเห็นอนิจจัง อนัตตา ในสิ่งที่เราทุกข์ เราอาจจะหายทุกข์ก็ได้ แต่ถ้ามองไม่เห็นอนิจจัง เห็นอนัตตา ก็ใช้สติดีกว่า ท่องพุทโธพุทโธพุทโธไป อย่าไปคิดถึงเรื่องที่ทำให้เราวุ่นวายใจ เดี๋ยวใจพอลืมเรื่องนั้นใจก็จะสงบได้ เป็นอุเบกขาได้ จะมีชีวิตคู่ที่มีความสุข ต้องมีธรรมะ ๔ ข้อ ถาม: ถ้าเรามีลูก และพ่อของลูกอยากเลิกกับเรา เราจะรั้งเขาไว้ หรือเลิกตามคำขอของเขาคะ ถ้าลูกไม่มีพ่อเป็นเพราะความอดทนของเราไม่มากพอไหมคะ
พระอาจารย์: ก็แล้วแต่จะมองละนะ ถ้าเราอยากจะอดทนอยู่กับเขาต่อไป ก็เรื่องของความอดทน แต่ถ้าคิดว่าอยู่แล้วมันไม่มีความสุข ไม่มีความเจริญทั้ง ๒ ฝ่าย ก็แยกกันไปจะดีกว่า ลูกก็ยังมีพ่ออยู่ก็ยังมีแม่อยู่ พ่อก็ยังไม่ตาย แม่ก็ยังไม่ตาย เพียงแต่ว่าพ่อแม่ไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน เท่านั้น ก็ให้ลูกเขาเลือกว่าอยากจะไปอยู่กับใคร อยากไปอยู่กับพ่อก็ไป อยากจะอยู่กับแม่ก็อยู่ เรื่องของการครองเรือนก็อย่างนี้แหละ มันไม่มีความสุขแบบน้ำผึ้งพระจันทร์ มันก็สุขใหม่ๆ พออยู่ไปนิสัยเดิมของแต่ละคนก็ออกมา เวลาเจอกันใหม่ๆ ก็มีแต่เอาอกเอาใจกัน แต่พอได้กันมาแล้ว ทีนี้ก็เปลี่ยนจากการเอาอกเอาใจกันมาเป็นเอาอกเอาใจตัวเราเอง เราก็อยากจะเอาใจเรา เขาก็อยากจะเอาใจเขา พอมันไม่ตรงกัน มันก็เลยเกิดความทุกข์ขึ้นมา เกิดความไม่พอใจขึ้นมา แล้วถ้าทำไปนานๆ เข้า เดี๋ยวมันก็ตีกันทะเลาะกัน แล้วก็ต้องแตกแยกออกจากกัน
พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ถ้าอยากจะมีชีวิตคู่ที่มีความสุขนี้ ต้องมีธรรมะอยู่ ๔ ข้อด้วยกัน หนึ่งคือจาคะ ต้องเสียสละ ต้องเอาอกเอาใจของเขา เอาใจเขาอย่าเอาใจเรา จาคะ แล้วก็ต้องมีสัจจะ ต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่โกหกหลอกลวงกัน ไม่ใช่ไปทำอะไรอย่างหนึ่ง แล้วก็กลับมาบอกว่าไม่ได้ทำอย่างนี้ มันก็จะทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันขึ้นมาได้ แล้วก็เวลามีเหตุการณ์ลำบาก เช่น ช่วงนี้ตกงานหรืออะไร ก็ต้องใช้ขันติ ความอดทน พยายามทน อย่าไปโทษเขา อย่าไปว่าเขา ถือว่าเป็นภาวะของชีวิตที่มีขึ้นมีลง มีทุกข์มีสุขบ้าง สลับกันไป เวลาทุกข์ก็ต้องอดทนก็จะอยู่ต่อกันไปได้ แล้วถ้ามีอารมณ์ขุ่นมัว อยากจะระบายออกมา ก็ต้องใช้ทมะ ทมะแปลว่าการอดกลั้น อดทนก็คือทนต่อสภาพทุกข์ภายนอก อดกลั้นก็คือทนต่อความคิดที่ไม่ดีที่จะส่งไปข้างนอก อยากจะด่าเขา อยากจะพูดคำหยาบ อยากจะทำอะไรให้เขาเสียหายเดือดร้อน อย่างนี้ อย่างนี้เรียกว่าต้องมีทมะ ทมะแปลว่าความอดกลั้น ถ้ามีธรรมะ ๔ ข้อนี้แล้ว จะอยู่ด้วยกันได้ คือมีจาคะ เอาอกเอาใจกัน เสียสละแบ่งปันให้กันและกัน แล้วมีสัจจะ มีความซื่อสัตย์ต่อกัน มีขันติมีความอดทน แล้วก็มีทมะ ความอดกลั้น การไม่รักษานี้ไม่ถือว่าบาป ถาม: ตอนที่พ่อผมป่วยหนักและใกล้เสียชีวิต ขณะที่หมอทำการรักษาอยู่นั้น หมอได้ออกมาถามว่า ถ้าหัวใจหยุดเต้น จะให้ปั้มหัวใจขึ้นมาหรือไม่ ถ้าปั้มขึ้นมาแล้ว คุณพ่อจะนอนหลับไม่รู้สึกตัวตลอดไป พวกผมเลยตัดสินใจบอกหมอว่า ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องปั้ม ให้ปล่อยท่านไปด้วยความสงบ แบบนี้จะถือว่าบาปหรือไม่ ถือว่าเป็นการฆ่าท่านหรือไม่ครับ
พระอาจารย์: ไม่หรอก ก็อย่างที่บอกแล้วไงว่า เพียงแต่พิจารณาความเป็นจริงของสภาพของร่างกายว่า เมื่อเขาไม่สามารถหายใจเองได้ หัวใจเขาหยุดเต้นแล้ว จะไปปั้มให้หัวใจเขาเต้นขึ้นมาทำไม แล้วปั้มขึ้นมาแล้ว เขาก็ไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ ปั้มขึ้นมาแล้วให้เขาเป็นเจ้าชายนิทราไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรกับใครทั้งนั้น ตัวคนไข้ก็ไม่ได้รับประโยชน์ คนที่อยู่ก็ต้องมาทุกข์มาอะไรกันอีกนาน งั้นก็ปล่อยเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง อันนี้ไม่ถือว่าบาป การไม่รักษานี้ไม่ถือว่าบาป ผู้รู้ ผู้คิด ถาม : พระอาจารย์คะจิตนี้ใช่ตัวเราไหมคะ จิตเป็นอนัตตาหรือเปล่าคะ
พระอาจารย์ : จิตมันเป็นผู้สร้างตัวเราไง ตัวเราเกิดจากความคิดความปรุงแต่งของจิต พอหยุดคิดปรุงแต่งตัวเราก็หายไป เวลานั่งสมาธิจิตสงบไม่มีความคิดปรุงแต่ง ก็เหลือแต่ตัวรู้ ผู้รู้ สักแต่ว่ารู้ แต่ผู้คิดผู้คิดว่าเป็นตัวเรามันหายไป เพราะฉะนั้นตัวเราก็หายไป ที่มันอยู่ก็เพราะเราไปจำมันไว้ ไง สัญญาของเราจำไว้ สัญญาจำว่ายังมีเราอยู่ แต่ความจริงมันเป็นแค่สัญญาสังขารความคิดความจำแค่นั้นเอง ถ้าจิตสงบหยุดสัญญาหยุดสังขารได้ ตัวเราก็หายไป แต่มันจะหายไปชั่วคราว พอออกจากสมาธิมันก็เริ่มคิดเริ่มจำใหม่ ตอนนั้นก็ต้องใช้ปัญญามาแก้ความจำความคิดว่าไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นเพียงแค่ความคิดความจำเท่านั้นเอง ตัวเราจริงๆ ก็คือตัวรู้ตัวคิดแค่นั้นเอง จะว่าเป็นตัวเราก็ไม่ใช่ ตัวจริงๆ ก็คือตัวรู้ตัวคิดที่ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น เป็นผู้รู้ผู้คิดอย่างนี้ กัมมัฏฐานใดที่เหมาะกับจริตเรา ถาม: เราจะทำอย่างไรถึงจะรู้ว่า เราต้องปฏิบัติกัมมัฏฐานใดที่เหมาะกับจริตเรา ให้การภาวนาได้ก้าวหน้าขึ้นคะ
พระอาจารย์: เบื้องต้นก็มีกัมมัฏฐานง่ายๆ ที่เราทุกคนเริ่มกันเหมือน ก.ไก่ ข.ไข่ คือพุทธานุสสติ หรือธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อย่างถ้าเราไปวัดเขาก็จะให้เราเจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ก็คือให้สวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ไปก่อน ให้เรามีความผูกพันกับพระสงฆ์เพราะเป็นสรณะเป็นที่พึ่ง เป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา และเป็นผู้ปลุกสติให้กับเรา ทุกครั้งที่เรานึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าเราไม่อยากจะสวดยาว เราก็ระลึกแต่ชื่อก็ได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไป แต่ไม่ใช่แค่ ๓ คำแล้วก็หยุด หมายถึงต้องระลึกไปเป็นนาทีเป็นชั่วโมง จิตมันถึงจะมีสติ จิตมันถึงจะมีความสงบได้ ไม่ใช่เอาพุทโธ ธัมโม สังโฆแล้วก็หยุดอย่างนี้ ไม่พอเหมือนแตะเบรกปั๊บแล้วก็ปล่อยเบรก แล้วก็จะให้รถมันหยุด มันหยุดไม่ได้ จะให้รถมันหยุดต้องเหยียบเบรกไปจนกว่ารถมันจะหยุด ถึงจะถอนเบรกได้ ฉันใด ถ้าเราต้องการฝึกจิตให้สงบเราก็ต้องพุทโธหรือ ธัมโม สังโฆ หรือสวดบทอิติปิโส พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะระงับความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ ได้
อันนี้ก็เป็นกัมมัฏฐานเบื้องต้นนะ ก็คือพุทธานุสสติ หรือธัมมานุสสติ ธัมมานุสสติอาจจะอยู่ในรูปแบบของการฟังธรรมก็ได้ ทุกครั้งที่เราฟังเทศน์ฟังธรรมก็เท่ากับเราได้เจริญธัมมานุสสติ ธัมมานุสสติก็คือคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้านี่เอง สังฆานุสสติก็คือเวลาเราเข้าหาครูบาอาจารย์ไปศึกษาไปฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านก็เรียกว่าสังฆานุสสติก็ได้ แต่ถ้าเราปฏิบัติอยู่ที่บ้านเราก็ต้องระลึกพุทโธ พุทโธ พุทโธไป ถ้าไม่ชอบพุทโธก็ธัมโมไป ไม่ชอบธัมโมก็สังโฆไป ไม่ชอบทั้ง ๓ ก็สวดไป “อิติปิโส ภควา” แล้วถ้าไม่ชอบก็เปลี่ยนมาใช้กายคตาสติ คือดูอิริยาบถ ๔ ของร่างกาย ร่างกายกำลังเดินก็เดินไปกับร่างกาย ร่างกายยืนก็ยืนไปกับร่างกาย ร่างกายทำอะไรก็ทำไปกับร่างกาย อย่าให้ใจไปห่างไกลจากร่างกาย อย่างนี้ก็เป็นการฝึกสติได้ นี่คือวิธีฝึกสติต่างๆ
ดังนั้น ธรรมะนี้เราต้องเข้าไปสำนักปฏิบัติแล้วก็ไปฟังไปดูเขาสอน ไปลองดู ถ้าเราศึกษาเองมันอาจจะงงไม่รู้จะเอาอันไหนดี ก็ลองไปสำนักต่างๆ ที่เขามีจัดหลักสูตร ๓ วัน ๗ วัน ปฏิบัติธรรม ดูว่าสำนักไหนถูกกับเราๆ ก็เอาวิธีของสำนักนั้นมาปฏิบัติก็ได้ ถ้าที่นี่ก็เพียงแต่สอนให้ระลึกพุทโธ พุทโธไปเรื่อยๆ หรือให้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายไปเรื่อยๆ แล้วเวลานั่งก็ให้ดูลมหายใจเข้าออกไปก็ได้ เวลานั่งสมาธิถ้าไม่ใช้พุทโธก็ใช้การดูลมหายใจเข้าออกดูที่ปลายจมูก ไม่ต้องตามลมเข้าไป ไม่ต้องตามลมออกมา ก็จะเป็นการฝึกสมาธิในเบื้องต้นได้ อยากไปเกิดยุคพระศรีอาริยเมตไตรเจ้าค่ะ ถาม: เรียนว่าอยากไปเกิดยุคพระศรีอาริยเมตไตรเจ้าค่ะ ควรปฏิบัติตนอย่างไร รู้มาว่าต้องรักษาศีล ๕ กับประพฤติกรรมบถ ๑๐ แต่บางครั้งรู้สึกศีล ๕ ที่ตัวเองรักษาไม่ค่อยบริสุทธิ์ กลัวไม่ได้ไปเกิดในยุคนั้นเจ้าค่ะ
พระอาจารย์: อ๋อ กำหนดไม่ได้หรอก ถ้าจะไปเกิดในยุคนั้น เพราะไม่รู้ว่าท่านจะไปเกิดเมื่อไหร่ มาเมื่อไหร่ แล้วเราจะไปเกิดในยุคนั้นหรือเปล่า งั้นอย่าไปสนใจกับพระศรีอาริย์เลย ตอนนี้มีพระสมณะโคดมสอนเราอยู่แล้ว จะไปรอองค์ต่อไปทำไม เมื่อยังมีองค์นี้อยู่ รีบเรียนกับองค์นี้ เหมือนกัน ไปองค์หน้าท่านก็สอนแบบเดียวกัน สอนให้ละบาป ทำบุญ ชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน ถ้าคิดอย่างนี้แสดงว่าเราถูกหลอกแล้ว กิเลสมันชอบหลอกเรา มันไม่อยากให้เราปฏิบัติ มันไม่อยากให้เราบรรลุธรรมกัน มันก็เลยหลอกว่าต้องไปรอ ไปเจอพระศรีอาริย์ก่อน ถ้าเชื่อมันก็สบาย เพราะมันรู้ว่าไม่มีทางที่จะเจอพระศรีอาริย์ โอกาสที่จะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ร้อยครั้งยังง่ายกว่า โอกาสที่จะไปเจอพระศรีอาริย์ พูดอย่างนี้ดีกว่าจะได้เห็นภาพ ควรฝึกอย่างไร ไม่ให้ไปทางกามคุณ ถาม: ถ้าใจอุเบกขาแล้ว มักจะวกกลับไปทางกามคุณ ควรฝึกอย่างไร ไม่ให้ไปทางกามคุณคะ
พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องเจริญอสุภะ หัดเจริญอสุภะ ดูความไม่สวยงามของสิ่งต่าง ๆ ของมันเก่า ได้ใหม่แล้ว เดี๋ยวมันก็เก่า ทุกอย่างมันมีเจริญแล้ว เดี๋ยวมันก็ต้องเสื่อม พอเห็นความเสื่อมเห็นส่วนที่ไม่สวยไม่งาม มันก็จะหายความอยากในกามคุณได้ จะพิจารณาว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ รูปเสียงกลิ่นรส บางทีมันก็มี บางทีมันก็ไม่มี เวลามีก็สุข เวลาไม่มีก็ทุกข์ เป็นอนัตตา ไปควบคุมไปบังคับมันไม่ได้
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2563 15:47:21 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.75
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2563 14:52:48 » |
|
.ทำให้พ่อแม่เราร้องไห้ ยังมีโอกาสได้ไปพระนิพพานไหมครับ ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ครับ ถ้าเราเคยทำให้พ่อแม่เราร้องไห้เสียน้ำตา เรายังมีโอกาสได้ไปพระนิพพานหรือสวรรค์ หรือไม่ครับ พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าเราไม่มีเจตนาตั้งใจทำให้เขาร้องห่มร้องไห้ แต่เขามาร้องห่มร้องไห้เอง เพราะเราทำไม่ถูกใจเขา ไม่เป็นปัญหา เหมือนพระพุทธเจ้าก็ทำให้พ่อร้องไห้ พระพุทธเจ้าไปบวชนี้ พ่อก็ร้องไห้ ลูกก็ร้องไห้ ภรรยาก็ร้องไห้ ทุกคนก็ร้องไห้ แต่นี่ไม่ได้เกิดจากเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้าที่ทำให้เขาร้องไห้ เขาร้องไห้เพราะกิเลสของเขา เขาไม่อยากให้พระพุทธเจ้าไป เท่านั้นเอง ทำอย่างนี้แล้วไม่เป็นบาป ไม่เป็นอะไรทั้งนั้นขอให้เห็นว่าเป็นอนัตตาก็แล้วกันถาม: ขณะที่พิจารณาแยกร่างกายออกเป็นธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ มันแยกเร็วมาก ดูเหมือนเราไม่ได้แยกเอง ต้องดูอย่างเดียว เป็นเพราะอะไรคะ ถูกต้องหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ แล้วแต่ปัญญาของแต่ละคน เหมือนไฟ ไฟบางชนิดก็ลุกรวดเร็ว เชื้อมันแรงก็ลุกเร็ว บางชนิดก็ลุกช้า สติปัญญาของแต่ละคนก็มีความรวดเร็วต่างกัน ก็เท่านั้นเอง จะเร็วจะช้าก็ไม่สำคัญ ขอให้มันเห็นว่ามันเป็นอนัตตาก็แล้วกัน เห็นว่าร่างกายเป็นดินน้ำลมไฟ เราก็ไม่ไปทุกข์กับมัน คือไปทุกข์กับดินน้ำลมไฟได้อย่างไร ดินก็ต้องเป็นดิน น้ำก็ต้องเป็นน้ำ ลมก็ต้องเป็นลม ไฟก็ต้องเป็นไฟ ก็ปล่อยมันเป็นไป มันจะกลับไปเป็นดินน้ำลมไฟก็ปล่อยให้กลับไป อย่าไปทุกข์กับมันเท่านั้นเอง งั้นเป้าหมายอยู่ที่การดับความทุกข์ ไม่ใช่ว่าอยู่ที่ช้าหรือเร็ว เห็นว่ามันเป็นธาตุ ๔ การเห็นนี้ยังเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้นเอง เครื่องมือที่จะมาดับตัณหา ความอยากไม่ตาย ความอยากจะอยู่ไปนานๆ แต่ถ้าเห็นว่าร่างกายมันเป็นดินน้ำลมไฟ มันจะต้องกลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟไป ไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องหยุดความอยากนี้ให้ได้เท่านั้นเอง ถ้าไม่หยุดก็จะทุกข์เวลาที่ร่างกายมันแยกเป็นดินน้ำลมไฟไป พระอริยะท่านไม่มายุ่งกับเราหรอกถาม: กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ การที่ผู้หญิงไปหลงรักพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จะส่งผลให้ถึงกับตกนรกไหมเจ้าคะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าไม่มีอะไรกันทางด้านร่างกายก็ไม่มีบาป ถ้าไม่มีการไปเกี้ยวพาราสีกัน ไปยุ่งกันทางร่างกายนี้ก็ไม่เป็นบาป เพียงแต่ว่าถ้าเป็นพระอริยะท่านก็ไม่มายุ่งกับเราหรอก แต่เราควรจะรู้ว่าเรากำลังไปหาความทุกข์ไปหาความผิดหวัง อย่าไปรักคนที่เขาไม่รักเราเลย ไปรักคนที่เขารักเราดีกว่า พระอริยะท่านรักตัวท่านมากกว่ารักเรา ไปหาคนที่เขารักเรามากกว่าเขารักตัวเขาดีกว่า เขาจะได้ให้ความสุขกับเรา คิดในเรื่องที่มีคุณมีประโยชน์ดีกว่าถาม: กรณีที่เรายังกลับไปนึกถึงเรื่องเลวร้าย เรื่องที่ล้มเหลวในอดีต นอกจากพุทโธแล้วจะสอนใจอย่างไรให้เลิกเสียใจให้ได้ครับ พระอาจารย์: อ๋อ ก็บอกว่ามันเหมือนความฝันไง มันผ่านไปแล้ว เมื่อคืนนี้ฝันร้าย มันก็หมดไปแล้ว ความคิดที่เราคิดถึงมันมันไม่ได้เป็นความจริงแต่อย่างใด งั้นไปคิดให้มันเสียเวลาทำไม คิดในเรื่องที่มีคุณมีประโยชน์ดีกว่า มาคิดเรื่องไตรลักษณ์ มาคิดเรื่องอสุภะ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องอาการ ๓๒ ดีกว่า ก็สอนใจแบบนั้นไป แล้วต่อไปมันก็ไม่คิด วิธีเจริญสติเพื่อนำสติมาทำสมาธิถาม: ขอหลวงพ่อเมตตาในการเจริญสติเพื่อนำสติมาทำสมาธิต่อครับ พระอาจารย์: ก็นี่ก็ฝึกท่องพุทโธพุทโธไปภายในใจ เอาตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาเลย พอลืมตาจิตเริ่มคิดแล้วก็หยุดมันด้วยพุทโธ ท่องพุทโธไป ไปเตรียมตัวทำงานก็พุทโธไป อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟัน รับประทานอาหาร แต่งเนื้อแต่งตัวก็พุทโธไป เดินทางไปทำงานก็พุทโธไป จนกว่าถึงเวลาทำงานต้องใช้ความคิดในการทำงานก็หยุดพุทโธไป พอไม่ต้องใช้ความคิดในการทำงานก็พุทโธใหม่ต่อไป คอยควบคุมความคิดที่ไม่จำเป็นที่จะต้องคิดให้มันหายไป แล้วใจจะมีสติมีกำลังที่จะหยุดความคิดได้ พอมานั่งสมาธิก็สั่งให้มันหยุดคิดได้ ไม่ต้องไปกังวลเรื่องของคนอื่นเอาเรื่องของเราดีกว่าถาม: ผมงงครับว่าบางคนเป็นลูกศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ แต่ทำไมบางที ความคิดความเห็นในบางเรื่องมันไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมไปได้ล่ะครับ พระอาจารย์: อ๋อ แม้แต่เทวทัตอยู่กับพระพุทธเจ้า ยังคิดไม่ได้ตามทำนองคลองธรรมเลย เป็นจิตของแต่ละคน ไม่ได้เพราะว่าอยู่กับครูบาอาจารย์หรือไม่ จิตมันมีเป็นทัพพีในหม้อแกง และเป็นลิ้นกับแกง ถ้าเป็นทัพพีในหม้อแกง อยู่กับแกงเป็นปี มันก็ไม่รู้ว่าแกงอะไร ถ้าจิตไม่มีสติไม่คอยฟังคำสอน มัวแต่ฟังความคิดของตัวเอง อยู่กับครูบาอาจารย์กี่ปี มันก็เหมือนเดิม มันไม่ได้ซึมซาบคำสอนของครูบาอาจารย์เข้าไปเลย มันก็ยังคิดตามประสากิเลสของมันอยู่เหมือนเดิม นะไม่ต้องไปกังวลเรื่องของคนอื่น เอาเรื่องของเราดีกว่า ไปนิพพานจะมีโอกาสเจอพระพุทธเจ้าไหมเจ้าคะถาม: ตายแล้วได้ไปนิพพาน จะมีโอกาสเจอพระพุทธเจ้าไหมคะ พระอาจารย์: การไปถึงนิพพานก็ถือว่า ได้พบกับพระพุทธเจ้าแล้ว โดยที่ไม่ต้องไปเจอจิตของพระพุทธเจ้า เพราะจิตของพระพุทธเจ้ากับจิตของผู้นิพพานก็อันเดียวกัน เหมือนกัน เหมือนฝาแฝด เมื่อเจอฝาแฝดแล้ว จะต้องไปดูฝาแฝดของเราทำไม หน้าตามันก็เหมือนกับเรา ใช่ไหม ไม่ต้องไปเสียดายกับของที่มันทำให้เราทุกข์ถาม: ผมขอโอกาสถามพระอาจารย์นะครับ ผมเรียนจบปริญญาเอก เคยทำงานเป็นอาจารย์ และเคยบวชวัดป่ามา ๗ เดือน ปัจจุบันผมนั่งสมาธิทุกวัน เป็นระยะเวลาเกือบ ๒ ปี ทุกวันนี้ไม่ค่อยอยากทำงานหาเงินแล้วครับ อยากกลับไปบวชครับ คำถามคือการที่ผมจะบวช จะเป็นการไม่ใช้ศักยภาพที่เรียนมาหรือไม่ครับ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ใช้ก็ไม่เห็นเสียหายตรงไหนเลย มันไม่ได้มีการบังคับว่าเราต้องใช้มันนี่ เราก็จบป. ตรีมา วิศวกรรม เราก็ไม่ได้ใช้มัน เพราะมันไม่ได้ทำให้เรามีความสุข มันกลับทำให้เรามีความทุกข์ ไปใช้มันทำไม ทำงานเครียดจะตายไป สู้ไม่ทำงานดีกว่า สู้นั่งเฉยๆ นั่งสมาธิทำใจให้สงบ มันดีกว่าเยอะแยะ งั้นไม่ต้องไปเสียดายกับของที่มันทำให้เราทุกข์หรอก ความรู้ต่างๆ ทางโลกนี้มันเป็นความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ไม่รอดพ้นจากความทุกข์ เรียนสูงเท่าไหร่ยิ่งทุกข์มากขึ้นไปเท่านั้น เพราะความอยาก อยากได้มากขึ้นไป งั้นอย่าไปเสียดายเลยความรู้ทางโลก เรามาเริ่มทางธรรมกันดีกว่า มาสร้างความรู้ทางธรรม เป็นความรู้ที่พาให้เราเอาตัวรอดพ้นจากความทุกข์ได้ งั้นไม่มีการเสียหรอก เป็นการตัดสินใจที่ถูก ถ้าเราไปบวชได้นี้ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูก ตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เก่ง เรียนวิชาการต่างๆ ทางโลก รู้มากยิ่งกว่าครูอาจารย์ที่มาสอนท่าน ท่านก็ยังทิ้งมันเลย เพราะท่านเห็นว่าเป็นความรู้ที่ไม่สามารถทำให้ใจท่านพ้นทุกข์ได้ ปัญญาสามารถเกิดก่อนสมาธิได้ไหมถาม: ขอกราบเรียนถามพระอาจารย์ในการนั่งสมาธิ ว่าปัญญาสามารถเกิดก่อนสมาธิได้ไหมคะ พอรู้สึกตัวจึงกลับไปสมาธิ กราบนมัสการค่ะ พระอาจารย์: ได้ ปัญญาเกิดก่อนได้ แต่ปัญญาที่เกิดก่อนสมาธิจะไม่มีกำลังที่จะไปฆ่ากิเลสได้ ปัญญาที่เกิดก่อนสมาธิมีอยู่ ๒ อย่าง คือ สุตตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรมคำสอน และจินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการทบทวนใคร่ครวญธรรมะที่ได้ศึกษามา ไม่ให้หลงไม่ให้ลืม ปัญญา ๒ อันนี้ยังไม่สามารถที่จะไปฆ่ากิเลสตัณหาได้ ต้องเป็นปัญญาอีกอย่าง คือปัญญาที่มีสมาธิเข้ามาสนับสนุน มาประกบเป็นคู่กัน ถึงเรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” ต้องภาวนาให้ได้สมถะภาวนา ให้ได้สมาธิก่อน พอได้สมาธิได้อุเบกขา แล้วก็เอาปัญญาที่เกิดก่อนนี้ คือสุตตะหรือจินตานี้มาใช้ควบคู่กับอุเบกขา จิตก็จะมีกำลังที่จะตัดกิเลสฆ่ากิเลสได้ ทำไมต้องให้พระสวดอภิธรรมในงานศพถาม: ทำไมต้องให้พระสวดอภิธรรมในงานศพเจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ มันเป็นพิธีที่ชาวบ้านหรือเราทำกันขึ้นมาเอง ความจริงไม่มีความจำเป็นต้องสวดเลย ความจริงไม่เกี่ยวกับงานศพเลย ทีนี้ญาติโยมดึงพระมาเกี่ยวข้องเอง เท่านั้นเอง ความจริงงานศพก็คืองานเผาศพ เผาศพมีฟืนมีไฟก็จบ ไม่ต้องมีพระ ใช่ไหม ทีนี้เขาก็อยากจะมีพระ เขาก็เลยจัดให้มีพระ เอาพระมาจะให้มานั่งเฉยๆ มันก็ไม่ดี ก็ต้องสวดอะไรไป สวดไปญาติโยมก็ฟังไม่รู้เรื่องอยู่ดี สวดไม่สวดมันก็เหมือนกัน งั้นมันก็เลยเป็นเพียงพิธีกรรมไปเท่านั้นเอง ไม่มีสารประโยชน์อะไรกับการเผาศพเลย ถ้ามีพระมาสวดแล้วไม่มีไฟไม่มีฟืน งานศพก็ไม่สำเร็จอยู่ดี งานศพสำเร็จได้เพราะมีฟืนมีไฟ มีเมรุ มีพระมาสวด สวดไปจนวันตาย ศพมันก็ไม่กลายเป็นขี้เถ้าไปได้ งั้นมันไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องมีพระเลย เรื่องกับงานศพไม่ต้องมีพระมาสวด แต่เป็นธรรมเนียมที่ทำกันมา เชื่อกันมาว่า จะช่วยให้คนตายได้ไปสวรรค์ ความจริงคนตายนี้ทำบุญให้เขาไม่ได้แล้วเวลาเขาตายไป เขาต้องทำเอง
นี่หลวงตามหาบัวท่านถึงสอนอยู่เรื่อยว่า อย่ามากุสลาตอนที่เราตายแล้วนะ อย่าไปนิมนต์พระมาสวดกุสลาให้เรา กุสลาก็คือบุญกุศลนี่ กุสลาก็คือกุศล ต้องทำตั้งแต่เรายังไม่ตาย ไม่ใช่ตายแล้วมาทำบุญแล้วส่งไปให้เขา ส่งไปได้ก็นิดเดียว ๑ ใน ๑๐๐ เหมือนน้ำที่ค้างอยู่ในแก้ว หลังจากที่เราดื่มน้ำหมดแก้ว แล้วยังมีเศษน้ำอยู่ นั่นแหละคือบุญอุทิศ ได้เท่านั้นเอง ดังนั้นถ้าอยากจะได้น้ำเต็มแก้ว ต้องทำตอนที่เรายังไม่ตาย ทำบุญตั้งแต่ตอนที่เราไม่ตาย จะได้ ๑๐๐ เต็ม ๑๐๐ แล้วเวลาตายเอาไปได้ทั้ง ๑๐๐ เลย แต่ถ้าไม่ได้ทำให้คนอื่นทำให้ ก็ได้แค่ ๑ ใน ๑๐๐ พุทธศาสนาจะพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางที่เลิศที่สุดถาม: อยากทราบว่าคนที่เขาเปลี่ยนศาสนาแบบนี้จะเป็นบาปไหมครับ พระอาจารย์: การเปลี่ยนศาสนาก็เป็นเหมือนการเปลี่ยนรถยนต์แหละ ถ้าคุณขับรถยี่ห้อนี้แล้วคุณไปเห็นรถอีกยี่ห้อหนึ่งมันดีกว่ารถยี่ห้อนี้ คุณจะขับรถยี่ห้อเก่าทำไม มันจะบาปตรงไหน มันไม่บาปตรงไหน เป็นการเปลี่ยน ศาสนาก็เป็นเหมือนรถที่พาเราไปสู่จุดหมายปลายทางที่เราต้องการไป เมื่อรถคันเก่ามันพาเราไปไม่ถึงจุดหมายที่เราต้องการไป เราก็เปลี่ยนรถอีกคันที่มันจะพาเราให้เราไปถึงจุดหมายที่เราต้องการ การมาเปลี่ยนศาสนามาหาพุทธศาสนานี้ก็จะได้รถที่พาเราไปสู่จุดหมายปลายทางที่ไกลที่สุด ถ้าไปศาสนาอื่นก็ไปได้ครึ่งทาง แต่จะไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางที่ไกลที่สุดที่ดีที่สุดที่เลิศที่สุด พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.111
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2563 16:19:49 » |
|
ตำแหน่งจุลนายกเกี่ยวกับอะไรทางสงฆ์ครับถาม: พระอาจารย์ครับ ตำแหน่งจุลนายก ตอนที่พระอาจารย์ได้รับตำแหน่งนี้มีหน้าที่อย่างไร และเป็นตำแหน่งเกี่ยวกับอะไรทางสงฆ์ครับ พระอาจารย์: เป็นตำแหน่งลอยๆ เพียงแต่ว่ามันเป็นเครื่องประดับยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชนี้ท่านมีสิทธิจะตั้งพระที่มาช่วยงานท่านให้เป็นพระ เรียกว่าราชาคณะ พระเจ้าคุณได้ ๒ รูป คือเป็นปลัดซ้ายกับปลัดขวา ก็เป็นเหมือนเลขา มือซ้ายเลขามือขวาของท่าน แล้วแต่ท่านจะใช้ให้ทำอะไร แต่ท่านตั้งเราแล้ว เราไม่ไปรับใช้ท่าน ท่านก็เลยไม่ได้ใช้เรา เพราะเราไม่เข้าไปหาท่าน ก็เลยมีแต่ตำแหน่งลอยๆ แต่ไม่มีงานทำ นอกจากเป็นเจ้าคุณ ๒ รูปแล้ว รู้สึกท่านตั้งพระครูได้อีกประมาณ ๑๐ รูปด้วยกัน พระครูก็เป็นยศต่ำลงมา เปรียบเทียบเจ้าคุณก็เป็นเหมือนระดับนายร้อย ส่วนพระครูก็ระดับจ่า ระดับนายสิบ พระก็มียศเหมือนกัน
ทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากความกลัว ถาม: โยมเคยถูกญาติหลอกผีจนกลัวจนช็อคจนไม่สบายตั้งแต่วัยเด็ก ความรู้สึกกลัวยังคงติดอยู่ในใจมาตลอด เคยไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่า แต่เมื่อพบกับความมืดก็ไม่กล้าพักที่วัด โยมต้องทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากความกลัวนี้เจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องหัดคิดถึงความตายบ้าง พระพุทธเจ้าให้สวดบท “ชะรา ธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต” เกิดมาแล้วต้องมีแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา มีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ให้คิดอยู่อย่างนี้ แล้วก็ให้บอกตนเองว่าเราไม่ได้เป็นร่างกาย ร่างกายไม่ได้เป็นเรา ร่างกายตายเราไม่ได้ตายไปกับร่างกาย เราเป็นดวงวิญญาณที่ไปต่อ ไปด้วยบุญด้วยบาป งั้นขอให้เราคิดอย่างนี้แล้ว ต่อไปความกลัวตายก็อาจจะน้อยลงไป หรือหายไปได้
ขอข้อคิดถึงการที่เราเป็นมะเร็งค่ะ ถาม: ขอให้พระอาจารย์ให้ข้อคิดถึงการที่เราเป็นโรคภัย เป็นมะเร็งค่ะ เราควรมีวิธีคิดอย่างไรเจ้าคะ ลูกไม่อยากตกอยู่ในคุกความเป็นห่วงเจ้าค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็พิจารณาว่าร่างกายไม่ใช่เรา เราไม่ได้เป็นร่างกาย ร่างกายเป็นเหมือนคนไข้ เราเป็นเหมือนหมอ เราก็ดูแลร่างกายไป เหมือนหมอดูแลคนไข้ หมอก็ดูแล ให้ยารักษาไป หมอไม่มาวุ่นวายใจกับคนไข้ ใช่ไหม คนไข้จะหายหรือไม่หาย หมอก็ไม่ได้เดือดร้อนมาก พยายามมองว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายมันต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายเป็นธรรมดา แต่เรานี้ไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ถ้าเรารู้จักฝึกใจให้มีอุเบกขา ให้วางเฉย ถ้าเราวางเฉยไม่ได้เราก็มัวแต่ไปคิดว่าเป็นตัวเราของเรา แล้วก็จะเกิดความอยากให้มันดี อยากให้มันไม่เจ็บไข้ได้ป่วย พอเกิดความอยากมันก็เลยเกิดความทุกข์ทรมานใจ งั้นเราต้องพยายามหยุดความอยากให้ได้ อย่าไปอยากให้มันไม่เจ็บไข้ได้ป่วย อย่าไปอยากให้มันไม่ตาย ไม่แก่ อยากไม่ได้ เวลามันจะเป็นไม่มีใครไปห้ามมันได้ แต่เราห้ามใจของเราไม่ให้ทุกข์กับมันได้ ทำใจให้เราอย่าไปอยาก ทำใจเฉยๆ มันไม่ใช่ตัวเรา เหมือนกับเรามองร่างกายของคนอื่น ร่างกายคนอื่นเจ็บไข้ได้ป่วย เรารู้สึกเดือดร้อนไหม เราจะเฉย ต้องดู ร่างกายอันนี้ก็เหมือนกับร่างกายของคนอื่น เราอย่าไปถือว่าเป็นของเรา ตัวเรา ถือว่าไม่ใช่ตัวเรา เหมือนกับร่างกายคนอื่น แล้วเราก็จะได้ไม่เดือดร้อนกับโรคภัยไข้เจ็บของร่างกาย มันอยู่ได้ก็อยู่ รักษาให้หายได้ก็รักษาไป รักษาไม่ได้มันจะตายก็ให้มันตายไป เราไม่ได้ตายไปกับมัน เราก็ย้ายบ้านเท่านั้นเอง ร่างกายนี้เป็นเหมือนบ้านหลังหนึ่ง เมื่อบ้านหลังนี้พังก็ย้ายไปอีกหลังหนึ่ง ดี จะได้ไปถ่ายอวัยวะทั้ง ๓๒ อวัยวะเลย ไม่ต้องมาถ่ายทีละส่วน ถ่ายตับ ถ่ายไต ถ่ายลำไส้ นี่ถ่ายทีเดียว ๓๒ อาการเลย ไปเกิดใหม่ ถ้ายังอยากจะกลับมาเกิด แต่ถ้าเห็นว่าการกลับมาเกิด ก็จะมาเจอปัญหาแบบเดียวกัน ก็ไปบวชซะ แล้วก็ไปฆ่ากิเลสให้มันหมด พอฆ่ากิเลสหมดจากใจ แล้วทีนี้ก็ไม่ต้องกลับมาเกิด ไม่ต้องกลับมาแก่มาเจ็บมาตายอีกต่อไป
ตำแหน่งจุลนายกเกี่ยวกับอะไรทางสงฆ์ครับ ถาม: พระอาจารย์ครับ ตำแหน่งจุลนายก ตอนที่พระอาจารย์ได้รับตำแหน่งนี้มีหน้าที่อย่างไร และเป็นตำแหน่งเกี่ยวกับอะไรทางสงฆ์ครับ พระอาจารย์: เป็นตำแหน่งลอยๆ เพียงแต่ว่ามันเป็นเครื่องประดับยศของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชนี้ท่านมีสิทธิจะตั้งพระที่มาช่วยงานท่านให้เป็นพระ เรียกว่าราชาคณะ พระเจ้าคุณได้ ๒ รูป คือเป็นปลัดซ้ายกับปลัดขวา ก็เป็นเหมือนเลขา มือซ้ายเลขามือขวาของท่าน แล้วแต่ท่านจะใช้ให้ทำอะไร แต่ท่านตั้งเราแล้ว เราไม่ไปรับใช้ท่าน ท่านก็เลยไม่ได้ใช้เรา เพราะเราไม่เข้าไปหาท่าน ก็เลยมีแต่ตำแหน่งลอยๆ แต่ไม่มีงานทำ นอกจากเป็นเจ้าคุณ ๒ รูปแล้ว รู้สึกท่านตั้งพระครูได้อีกประมาณ ๑๐ รูปด้วยกัน พระครูก็เป็นยศต่ำลงมา เปรียบเทียบเจ้าคุณก็เป็นเหมือนระดับนายร้อย ส่วนพระครูก็ระดับจ่า ระดับนายสิบ พระก็มียศเหมือนกัน
เวลาโกรธก็ต้องใช้เมตตา ถาม: คนที่โทสะเยอะขี้โมโหขี้โกรธและหงุดหงิดง่าย จะแก้ไขอย่างไรบ้างครับ พระอาจารย์: เวลาโกรธก็ต้องใช้เมตตา ให้อภัยคนที่เราโกรธ อย่าไปเอาเรื่องเอาราวเขาอย่าไปถือสาเขา คิดว่าเขาเป็นเด็กก็แล้วกัน อย่าไปหวังอะไรจากเขา สาเหตุที่ทำให้เราโกรธเกิดจากความหวังความอยากของเรา อยากให้เป็นอย่างนั้นอยากให้เป็นอย่างนี้ พอไม่เป็นเราก็โกรธขึ้นมา งั้นถ้าป้องกันได้ก็ป้องกันด้วยการลดความอยาก อย่าไปอยากให้เป็นอย่างนั้น อย่าไปอยากให้เป็นอย่างนี้ อย่าไปจู้จี้จุกจิก ยินดีตามมีตามเกิด แล้วความโกรธก็จะไม่เกิด ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาก็มี ๒ วิธีหยุดมัน วิธีง่ายก็คือพุทโธ พอโกรธใครขึ้นมาพอรู้ว่าโกรธก็ท่องพุทโธพุทโธพุทโธไป อย่าไปคิดถึงคนหรือเรื่องที่ทำให้เราโกรธ พอพุทโธได้สัก ๕ นาทีมันก็ลืมไป ความโกรธก็หายไป แต่มันหายแบบชั่วคราว เดี๋ยวถ้าไปคิดหรือไปเจอคนหรือเรื่องที่ทำให้เราโกรธอีกก็จะโกรธขึ้นมาใหม่ได้ วิธีที่จะทำให้ความโกรธนี้หายไปอย่างถาวรก็คือต้องใช้ปัญญาว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่เราควบคุมบังคับไม่ได้ เขาจะทำอะไรเขาจะเป็นอะไรเขาก็เป็นของเขาอย่างนั้น เราไปห้ามเขาไม่ได้ เมื่อเราห้ามเขาไม่ได้เราก็จะได้ไม่ไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอเราไม่อยากเราก็จะไม่โกรธเขา
ทำตัวเราให้เป็นเหมือนผ้าขี้ริ้ว ถาม: ดิฉันมีศรัทธาแต่ขาดความเพียร มีอัตตาสูง จึงปฏิบัติธรรมไม่ได้ผล กราบขอคำแนะนำจากพระอาจารย์เจ้าค่ะ พระอาจารย์: ก็ต้องลดอัตตาลง ทำตัวเราให้เป็นเหมือนผ้าขี้ริ้วหรือเหมือนปฐพี ความจริงร่างกายมันก็ทำมาจากดินน้ำลมไฟนี่ ร่างกายมันก็เป็นส่วนหนึ่งของปฐพีอยู่แล้ว แต่ความหลงหลอกให้เราคิดว่าเรา โอ๊ย สูงใหญ่โตอย่างนั้นอย่างนี้ แต่นี่มันเป็นโมหะความหลงที่เราใช้ความจริงมาแก้ได้ ความจริงก็คือร่างกายเราเป็นดิน งั้นทำตัวเราให้ติดดินดีกว่า ใครจะเหยียบจะย่ำอะไรก็ไม่ถือสาไม่โกรธเคือง แล้วมันก็จะทำให้เราไปปฏิบัติธรรมได้
อยู่ที่บุญ ไม่ใช่อยู่ที่สะพานบุญ ถาม: ญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว เราทำสังฆทานให้ แต่บางท่านบอกว่า เอ๊ะ ไม่ได้เพราะว่ายังฝันเห็นญาติอยู่ นั่นหมายถึงว่าสะพานบุญ หมายถึงพระบางรูปไม่ได้ปฏิบัติแบบเต็มที่ นั่นหมายถึงว่าญาติเราก็จะไม่ได้ ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ใช่หรอก ความฝันของเรามันไม่ได้เป็นความจริงหรอก เราคิดถึงเขา เราก็ฝันถึงเขาได้ ไม่ได้หมายความว่าเขามาหาเรา ทีนี้เราเพียงแต่ทำเผื่อไว้ เท่านั้นเอง ว่าเผื่อบางทีเราฝันแล้วเขามาหาเราจริงๆ ตามที่เราฝัน เราก็จะได้ทำบุญส่งไปให้เขาได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว บางทีเขาไม่ได้มาเข้าฝันเราหรอก เราคิดถึงเขาเอง ถ้าอยากจะรู้ว่าเขาเข้ามาจริงหรือไม่ต้องคุยกับเขาได้ ลองถามสารทุกข์สุขดิบสิว่า “ตอนนี้อยู่ที่ไหน แล้วเป็นอย่างไรบ้าง สบายดีรึเปล่า จำชื่อเราได้รึเปล่า จำชื่อเขาได้รึเปล่า นี่ต้องคุยกัน ไม่ใช่ วุ้บแว็บ ฝันแล้วก็มาตู่ว่าเขามาเข้าฝันเรา งั้นไม่เกี่ยวหรอก เรื่องสะพานบุญไม่เกี่ยว ทำบุญกับใครก็ได้ อยู่ที่การเสียสละแบ่งปันของเรา อยู่ที่บุญนะ ไม่ใช่อยู่ที่สะพานบุญ
คนเห็นแก่ตัวเป็นคนที่มีกิเลส ถาม: คนที่จิตใจแข็ง โนสน โนแคร์ ไม่สนใจใคร เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ถือเป็นคนโชคดีมีบุญหรือเปล่าครับ เพราะไม่ต้องมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งทางใจเลย และไม่ต้องฝึกเจริญสติให้เสียเวลาด้วย พระอาจารย์: ไม่จริงหรอก คนที่เห็นแก่ตัวนี้เป็นคนที่มีกิเลส ไม่ใช่เป็นคนที่สิ้นกิเลส คนที่สิ้นกิเลสนี้จะไม่เห็นแก่ตัว จะมีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง งั้นการที่มีความเห็นแก่ตัวนี้อย่าไปคิดว่าตัวเองจะเก่ง เดี๋ยววันใดวันหนึ่งก็อาจจะเจอเหตุการณ์ที่ตนเองไม่สามารถที่จะรับได้ เวลาร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาร่างกายแก่เฒ่า เวลาร่างกายจะตายนี้ คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นใครในโลกนี้จะต้องหวาดผวากัน ต้องหวาดกลัว
ในที่สุดก็ต้องไปนอนในโลง ถาม: เมื่อคืนนั่งสมาธิแล้วเกิดอาการปวดขา จึงนึกกำหนดขาตัวเองเป็นขาศพ เป็นกระดูก จากนั้นจู่ๆ ก็เกิดภาพโครงกระดูกซ้อนทับกับร่างกายเรา อยากสอบถามพระอาจารย์ว่าเราควรพิจารณาอย่างไรต่อไปเจ้าคะ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นนิมิตที่หลอกเราหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ มันก็เป็นภาพอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นภาพที่ตรงกับความเป็นจริง ก็ไม่หลอกเรา เรามีกระดูกหรือเปล่าล่ะ ถ้าภาพกระดูกโผล่ขึ้นมาก็แสดงว่า เราสามารถมองทะลุใต้ผิวหนังไปได้ ก็แสดงว่าเป็นความจริง เป็นความจริงที่เราควรจะเอามาเจริญต่อ หลังจากออกจากสมาธิแล้ว เราก็พยายามนึกถึงกระดูก โครงกระดูกที่มีอยู่ในตัวของพวกเราทุกคน แต่พวกเราไม่เห็นกัน จึงทำให้เราไปหลงคิดว่าเขาเป็นนั่นเป็นนี่ แต่ถ้าเห็นโครงกระดูกแล้วต่อไปก็บอกว่ามันก็เป็นแค่โครงกระดูกเท่านั้น ที่ให้เป็นนั่นเป็นนี่ก็เพียงแต่สมมุติแต่งตั้งกันขึ้นมา เป็นนายก เป็นรัฐมนตรี เป็นประธานาธิบดี เป็นดารา เป็นนางงาม มันก็แค่กระดูกนี่เอง ถ้าเราเห็นกระดูกแล้ว ต่อไปมันจะเห็นว่ามันไม่มีอะไรในโลกนี้ ไอ้ที่มีนี่เราไปหลงไปตั้งไปคิดกันขึ้นมาเองเท่านั้น เป็นดารา เป็นประธานาธิบดี เป็นอะไรก็แล้วแต่ ความจริงมันก็เป็นแค่กระดูกนี่เอง ที่ในที่สุดก็ต้องไปนอนในโลง ถ้าเห็นอย่างนี้มันจะได้ปลงได้ ความหลงความอยากต่างๆ ของเราจะได้หมดได้ ต่อไปก็ไม่อยากเป็นดารา ไม่อยากเป็นประธานาธิบดี ไม่อยากเป็นอะไร เพราะมันก็เป็นของปลอมทั้งนั้น ของจริงก็คือเป็นโครงกระดูกนี่เอง จะเป็นอะไร
ของที่เราให้ไปแล้วอย่าไปยึดไปติดว่าเป็นของเรา ถาม: แม่ของดิฉันไปวัดทุกวันพระ พอไปก็พูดเรื่องคนนู้นนินทาคนนี้ ไปคุยอวดร่ำอวดรวย กลับมาบ้านก็บอกว่าพระไม่ฉันกับข้าวของตัวเอง อย่างนี้ไปทำบุญจะได้บุญไหมคะ รบกวนหลวงพ่อพูดเตือนคุณแม่ให้หน่อยเจ้าค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ได้ แต่ไม่ได้เต็ม ๑๐๐ การทำบุญนี้เราไปเพื่อเสียสละแบ่งปัน ของที่เราให้ไปแล้วนี้เราอย่าไปยึดไปติดว่าเป็นของเรา เขาจะเอาไปทำอะไรก็ไม่ใช่เรื่องของเรา เป็นของคนที่เขารับไปแล้ว เขาจะไปให้คนอื่นต่อก็เป็นเรื่องของเขา ถ้าเราไปคอยเฝ้าดูว่าของเรา ท่านหยิบไปแล้ว ท่านเอาไปทำอะไร กินหรือเปล่า หรือเอาไปให้คนที่เราไม่ชอบ พอไปให้คนที่ไม่ชอบก็เลยเสียใจหรือเกิดความโกรธขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้บุญที่ได้นี้ คือได้กิเลสมากลบเอาไว้ บุญที่เราทำก็ได้ แต่ว่ามันไม่ได้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มันยังมีกิเลสตัณหา ยังมีความอยากให้เขากินของเรา ใช้ของเราอยู่ พอเขาไม่ได้ใช้เราก็เลยเสียใจ ทุกข์ขึ้นมา งั้นอย่าทำอย่างนี้ ทำแล้วยกให้เขาไปแล้ว เขาจะทำอะไรเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่ของเราแล้ว ต้องปล่อยวาง อย่าไปยึดไปติดว่าเป็นของเรา แล้วจะได้บุญมาก แล้วไปวัดก็อย่าไปนินทากาเลกัน ไปวัดเพื่อไปฟังเทศน์ฟังธรรม ไปทำใจให้สงบ ไม่ใช่เวลาพระเทศน์ก็นั่งคุยกัน แล้วนินทากัน อย่างนี้ไม่ได้บุญ ถ้าอยากได้บุญระดับศีล ก็คือต้องสำรวมวาจา อย่าพูดจาเละเทะ อย่าพูดนินทากัน อย่าพูด เขาเรียกว่าเพ้อเจ้อ งั้นพยายามระงับวาจา ไปเข้าวัดนี้พยายามพูดให้น้อยที่สุด เป็นการสำรวมกายสำรวมวาจา จะได้บุญได้กุศลจากการไปวัดอย่างเต็มที่
สมาธิยังไม่สมบูรณ์ก็เหมือนคนที่ยังกินข้าวไม่อิ่ม ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ การที่เราปฏิบัติจิตตภาวนา การทำสมาธิถึงขั้นอัปปนา จะต้องทำจนชำนาญเข้าออกได้ตลอดเวลา ถึงจะออกไปพิจารณาทางด้านปัญญา ถ้าหากไม่ชำนาญแล้ว เร่งรีบออกไปพิจารณาทางปัญญา จะเป็นการข้ามขั้นตอนของการปฏิบัติจิตตภาวนาหรือเปล่าครับ และอาจจะไม่ได้ผล พระอาจารย์: ไม่ได้ผลหรอก เพราะว่าถ้าสมาธิยังไม่สมบูรณ์ ก็เหมือนคนที่ยังกินข้าวไม่อิ่ม คนกินข้าวไม่อิ่มให้ขึ้นไปชกมวย เดี๋ยวก็โดนคู่ชกชกเอา แต่ถ้าจะให้ชกชนะ ต้องให้นักมวยกินข้าวให้อิ่มก่อน ให้มีกำลังวังชาก่อน พอมีกำลังวังชา ทีนี้พอขึ้นไปชกกับคู่ต่อสู้ก็จะได้มีกำลังสู้กับคู่ต่อสู้ได้ ต้องมีอัปปนาสมาธิ ไม่ใช่เฉพาะแต่เวลาอยู่ในสมาธิ เวลาออกมาก็จะต้องสงบเหมือนกับอยู่ในอัปปนาสมาธิ ยังมีอุเบกขาอยู่ ใจยังเฉยต่อความรักชังกลัวหลงอยู่ อันนั้นแหละถึงจะสู้กับกิเลสได้ ถ้าออกมายังมีรักอยู่ เดี๋ยวเห็นอะไรชอบก็อ่อนใจแล้ว อยากได้ขึ้นมาแล้ว อยากแล้วก็ไม่ยอมหยุดความอยาก ต้องเอาให้ได้ ก็เลยฆ่ากิเลสไม่ได้ ฆ่าความอยากไม่ได้ แต่ถ้าจิตมีอุเบกขาแล้ว พอพิจารณาเห็นเป็นไตรลักษณ์แล้ว ก็ไม่เอา ความอยากก็จะไม่เกิด"ธรรมะหน้ากุฏิ" พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2563 16:29:45 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.193
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2563 15:37:08 » |
|
ทำไมคนเราต้องทุกข์ครับถาม: ทำไมคนเราต้องทุกข์ครับ พระอาจารย์: เพราะกิเลสไง เพราะความอยาก เพราะความโกรธนี้ทำให้เราทุกข์ ถ้าเราไม่อยากจะทุกข์ เราก็อย่าไปโลภ อย่าไปโกรธ เห็นอะไรก็อย่าไปอยากได้ ใครพูดอะไรก็อย่าไปโกรธเขา ใจก็จะไม่ทุกข์
อยู่คนเดียวอย่างไรให้อยู่ได้โดยไม่เหงาไม่ฟุ้งซ่าน ถาม: การตั้งใจครองโสดอยู่คนเดียว ทำอย่างไรให้อยู่ได้โดยไม่เหงาไม่ฟุ้งซ่านคะ เพราะบางทีจะมีความคิดเหงาอยู่ อยากมีคู่ครองเหมือนคนอื่นเข้ามาแทรกเป็นบางครั้งค่ะ พระอาจารย์: ก็ต้องหาความสุขจากการทำใจให้สงบ ฝึกสมาธิ ฝึกเจริญสติ นั่งสมาธิ แล้วก็หมั่นพิจารณาอสุภะ ความไม่สวยงามของร่างกาย ความไม่น่าดูน่าชมของร่างกาย ดูอาการ ๓๒ ของร่างกาย อย่าดูแต่เฉพาะข้างนอก ให้ดูข้างในด้วย ร่างกายเรามีทั้งข้างนอกทั้งข้างใน ถ้าเราเห็นส่วนที่อยู่ข้างในมันก็จะทำให้ความรู้สึกอยากจะมีแฟนมันหายไป แล้วความเหงามันก็จะหายไป แต่ถ้าหยุดความอยากนี้ไม่ได้มันก็จะรู้สึกเหงา รู้สึกว้าเหว่เวลาอยู่คนเดียว งั้นต้องหมั่นฝึกสติ นั่งสมาธิ แล้วก็หมั่นพิจารณาอสุภะอยู่เรื่อยๆ แล้วก็จะอยู่คนเดียวได้
ไม่นอนทั้งกลางวันและกลางคืน
ถาม: การฝึกไม่นอนตอนกลางคืนจะได้ประโยชน์อะไรบ้างครับ บางช่วงก็นั่งยืนเดินหลับแต่หลังไม่ติดพื้น จะได้ประโยชน์ได้บุญบ้างไหมครับ พระอาจารย์: คือการฝึกไม่นอนนี้ไม่ใช่เฉพาะตอนกลางคืนนะ คือไม่นอนทั้งกลางวันทั้งกลางคืน คือต้องการใช้เวลาปฏิบัติธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เขาถึงถือ ๓ อิริยาบถ คือท่ายืน ท่านั่ง แล้วก็ท่าเดิน ท่านอนจะไม่ใช้ ถ้าจะหลับก็ให้มันหลับท่านั่งอะไรไปเพื่อจะได้หลับไม่นาน เพราะถ้านั่งหลับเดี๋ยวอย่างมากก็ชั่วโมงมันก็ตื่นแล้ว พอตื่นก็จะได้รีบปฏิบัติธรรมต่อ นี่คือความหมายของการไม่หลับไม่นอน การถือ ๓ อิริยาบถ ไม่ใช่ไม่นอนตอนกลางคืนแล้วก็ไปนอนตอนกลางวันแทน มันก็ไม่ต่างกันหรอก มันก็เปลี่ยนช่วงนอนจากกลางคืนไปเป็นกลางวัน อันนี้ไม่นอนทั้งกลางวันและกลางคืน
คนที่เนรคุณถือว่าผิดศีลหรือไม่เจ้าคะ
ถาม: คนที่เนรคุณนี้ถือว่าผิดศีลหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ผิดศีลหรอก เป็นคนที่ไม่มีจิตสำนึกที่ดี ไม่รู้คุณของผู้อื่น แต่ถ้าเนรคุณหมายถึงไปทำร้ายผู้มีพระคุณก็ผิดศีล แต่ถ้าไม่ตอบแทนบุญคุณนี่ไม่ถือว่าผิดศีล บางทีไม่มีโอกาส ไม่มีความสามารถก็ไม่ได้ตอบแทนบุญคุณ อย่างนี้ก็ไม่เรียกว่าเนรคุณ เขาเรียกว่าอกตัญญู แต่ถ้าเนรคุณนี้หมายถึงทำร้ายผู้มีพระคุณ อย่างนี้ก็บาป เช่นไปทำให้เขาเจ็บช้ำน้ำใจหรือทำให้เขาทุกข์ทางร่างกาย หรือขโมยทรัพย์สินของเขา หรืออะไรที่เป็นบาปมันก็เป็นบาป ถ้าการกระทำที่ไม่เป็นบาป มันก็ยังไม่เป็นบาปแต่มันอาจจะเป็นการเนรคุณ เช่น ไปด่าเขาอย่างนี้ ด่าผู้มีพระคุณ อันนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นบาปแต่มันก็เป็นวาจาที่ไม่ควรพูด
วิธีให้พระพุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่
ถาม: พระอาจารย์มีวิธีที่จะทำให้พระพุทธศาสนาเข้ามาให้คนรุ่นใหม่มากขึ้นไหมคะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็เมื่อก่อนนี้เขามีหลักสูตรพุทธศาสนาอยู่ในโรงเรียน แต่สมัยนี้เขาตัดออกไปหมด มันก็เลยไม่มีใครสอนพุทธศาสนา ก็เป็นเรื่องของสังคม เรื่องของกระแสของทางโลก กระแสของทางโลกนี้ต้องการความเจริญทางวัตถุ ทางกิเลสตัณหา อยากจะทำอะไรตามใจชอบ อยากจะกินเหล้า อยากจะเที่ยว อยากจะประพฤติผิดประเพณี แต่ถ้ามาศึกษาทางศาสนา ก็จะไปขัดกับกิเลสเขา เขาก็เลยไม่เข้าหาศาสนากัน งั้นเราไม่สามารถที่จะไปปรับกระแสของโลก ของสังคมได้ มันต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของมัน สิ่งที่เราทำได้ก็คือปรับใจเรา ตัวเราคนเดียวนี่ ให้เราเข้าหาพระพุทธศาสนาไว้ก็แล้วกัน เพราะถ้าเรามีพระพุทธศาสนา เราก็จะได้รู้ว่าเราควรจะทำอะไร หรือไม่ควรทำอะไร ส่วนคนอื่นเขาจะไม่รู้ไม่ทำก็เป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของกรรมของสัตว์ไป แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตน เขาอยากจะกินเหล้า จะไปบอกเขาว่ากินเหล้าไม่ดี เขาก็ไม่ฟัง เขาจะไปประพฤติผิดประเวณี ไม่ดี เราไปบอกเขา เขาก็ไม่ฟังเรา งั้นก็ต้องปล่อยเขาเป็นไปตามความอยากของเขา ตามความเห็นของเขา เพราะเขาไม่เห็นว่าผู้ที่รับผลบุญผลบาปคือใจ ที่ไม่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนร่างกาย เขาอาจจะคิดว่าตายแล้วสูญ ตายแล้วจบ แต่ทางศาสนาว่าตายแล้วไม่จบ บุญบาปที่ทำไว้ยังมีผลต่อไป คือเราไม่ได้เป็นร่างกาย เราเป็นจิตใจที่จะต้องรับผลบุญผลบาปต่อไป งั้นเรื่องของคนอื่นเราไปเปลี่ยนเขาไม่ได้ นอกจากเขาอยากจะให้เราช่วย เราก็บอกเขาได้ แต่ถ้าเขาไม่สนใจ ก็เหมือนเทน้ำใส่แก้วที่มันคว่ำอยู่ เทไปมันก็ไม่เข้าไปในแก้ว ถ้าใจเขาไม่สนใจพุทธศาสนา ไปพูดยังไงเขาก็ไม่ฟัง
ไม่ต้องไปเสียดายหรอกเพื่อนที่ไม่ดี
ถาม: ผมรู้สึกว่า ฟังธรรมเรื่องการคบเพื่อนครับว่าให้คบคนที่ดีครับ บางทีรู้สึกว่าสับสนมากเลย ว่าเราควรคบใครดีเพราะบางคนก็เหมือนกับว่าดีแล้วก็ไม่ดีครับ เพราะเราอยากจะก้าวหน้าทางธรรมะนี่ครับ เราจะหาเพื่อนที่คุยกันเข้าใจยากมาก ในวัยเดียวกัน พระอาจารย์: ก็คบคนที่ดี คือคนที่มีศีลมีธรรม คนที่ไม่เสพอบายมุขเป็นคนดี คนที่เสพอบายมุขนี่ถือว่าเป็นคนไม่ดี เพราะอบายมุขนี้มันจะพาให้เราไปสู่ความหายนะต่อไปได้ งั้นถ้าเขาชวนเราไปดื่มสุรา เราก็ไม่ควรจะไปกับเขา ชวนเราไปเล่นการพนัน ชวนเราไปเที่ยว ชวนให้เราเกียจคร้าน เราก็อย่าไปทำกับเขา รู้จักกันได้ คบค้ากันได้ แต่ไม่ควรไปทำกิจกรรมที่มันเสียหายกับเขา มันจะยากเพราะบางทีเราเกรงใจเขา พอเราคบกับเขา สนิทกับเขา พอเขาชวนเราไป ถ้าไม่ไป เขาก็พูด เอ๊ย เพื่อนฝูงอย่างนู้นอย่างนี้ เราใจอ่อน เราต้องเข้มแข็ง เราต้องรักตัวเรามากกว่ารักเพื่อน เพื่อนหาใหม่ได้ เสียเพื่อนคนนี้เดี๋ยวหาเพื่อนคนใหม่ได้ แต่เสียตัวเรานี้ยาก ดึงตัวเราให้กลับมาดียากนะ ถ้าเสียแล้ว รักตัวเราให้มากกว่ารักเพื่อน ไม่เป็นไร ไม่ได้เป็นเรื่องของการเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องของความจำเป็นที่จะต้องรักษาตัวเราไว้ก่อน เพื่อนนี้มีเป็นหมื่นเป็นแสนคนในโลกนี้ ไม่ต้องไปเสียดายหรอก เพื่อนที่ไม่ดี ถ้าเขาชวนเราไปทำอบายอย่างนู้นอย่างนี้ ตัดไปได้ ชวนเราไปทำบาปอย่างนี้ อย่าไปโดยเด็ดขาด แต่ก็ยังคบกันได้ ไม่ต้องเกลียดกัน แต่พอจะต้องมีจุดยืนของเราแล้ว ถ้าชวนเราไปเสพอบายมุข ไม่ไป ชวนเราไปทำบาป ไม่ไป เอาแบบนี้ก็แล้วกัน ไม่งั้นเดี๋ยวเราไม่รู้จะไปคบใครดี คบได้เพราะเราต้องเจอคนเยอะแยะในชีวิตของเรา ก็คบกันได้ ทักทายกันได้ ชวนไปกินข้าวก็ไปกินกันได้ ชวนไปทำในสิ่งที่ไม่เสียหาย ก็ไปได้ แต่พอชวนให้เราไปทำในสิ่งที่เสียหาย เราก็อย่าไป ถาม: ถ้าเป็นเหตุการณ์ เป็นเรื่องที่เขาชวนไปละครับ หลวงพ่อ พระอาจารย์: ดูพฤติกรรม ดูกิจกรรมที่เราจะไปทำ ถ้าเป็นกิจกรรมที่เสียหายก็อย่าไปทำ เพียงแต่ว่าเราไปสนิทกับเขาแล้วบางทีเราเกรงใจเขา เราอย่าไปเกรงใจเขา ต้องตัด เราต้องตัดใจเมื่อถึงเวลาที่เขาจะชวนเราไปในทางที่ไม่ดี เราต้องตัดทันที อย่าไปเสียดาย ถ้าไปทำผิดแล้วมันแก้ยาก เปลี่ยนเพื่อนล่ะง่ายกว่า คนนี้ไม่ดี เขาไม่อยากจะคบกับเรา ก็ช่วยไม่ได้ ก็ปล่อยเขาไปนะ เพราะมีคนตั้งเยอะแยะในโลกนี้ นี่เข้ามาในนี้ได้เจอแต่คนดีทั้งนั้นเลย ที่เข้ามาฟังธรรมนี้ โอเคนะ
พยายามทำใจให้เป็นกลาง ถาม: ถ้าเราไม่ชอบคบกับใคร ไม่ชอบมีเพื่อน รู้สึกวุ่นวายใจ บางครั้งก็เจอคนชอบ อิจฉาบ้าง เอาเปรียบบ้าง ไม่จริงใจบ้าง รู้สึกวุ่นวาย ไม่เกิดประโยชน์ต่อใจ ข้าพเจ้าคิดผิดหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: คือถ้าเราไม่ทุกข์กับมันก็ไม่ผิด แต่ถ้ามันทุกข์ บางทีเรายังต้องเจอคนอยู่ งั้นเราไม่ชอบไปเจอ เราก็ทุกข์ อย่างนี้ก็ผิด ถ้าถึงเวลาที่ต้องเจอ ก็ต้องลดความไม่ชอบลง แล้วก็อยู่กับเหตุการณ์นั้นไป แต่ถ้าเราไม่มีความจำเป็นจะต้องไปเจอใคร ชอบอยู่คนเดียวอย่างนี้ก็ไม่ผิด งั้นต้องรู้ว่าอย่าให้มันสร้างความทุกข์ในใจของเราก็แล้วกัน ถ้าบางทีเรายังต้องอยู่กับคนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพระหรือเป็นโยมก็ต้องอยู่กับคนอยู่ดี มาบวชก็ต้องอยู่กับพระด้วยกัน ถ้าอยากจะอยู่คนเดียวอย่างเดียว ไม่อยากจะเจอใครเลย เวลามาเจอกันก็ทุกข์ ทุกข์อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นกิเลสอยู่ งั้นต้องรู้จักวางใจเฉยเป็นอุเบกขา เป็นกลาง อยู่ระหว่างความชอบกับความไม่ชอบ ชอบก็ไม่ดี ไม่ชอบก็ไม่ดี เฉยๆ ดีที่สุด ดังนั้นพยายามมาฝึกใจให้อยู่เฉยๆ เบื้องต้นก็เอาไม่ชอบก่อน ไม่ชอบเพราะเราจะได้ไปอยู่คนเดียว ไปปลีกวิเวก ไปทำใจให้เฉยๆ ก่อน พอเราทำใจเฉยๆ ได้แล้ว ทีนี้เราจะไปอยู่กับใครเราก็อยู่ได้ อยู่กับคนที่ชอบเราก็อยู่ได้ อยู่กับคนที่ไม่ชอบเราก็อยู่ได้ เพราะเราไม่ได้เป็นมนุษย์ที่จะอยู่คนเดียวได้ตลอดเวลา คือบางเวลาที่เราจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกัน ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือพยายามทำใจให้เป็นกลาง ระหว่างชอบกับไม่ชอบ
"ธรรมะหน้ากุฏิ" พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 พฤศจิกายน 2563 15:39:12 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.198
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2563 15:21:40 » |
|
.พระอรหันต์มีความรู้สึกทางใจเกิดขึ้นหรือไม่ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ พระอรหันต์นี้ เวลามีสิ่งมากระทบท่านจะมีความทุกข์หรือมีความรู้สึกทางใจเกิดขึ้นไหมคะ สาธุค่ะ พระอาจารย์ อ๋อ ทางใจไม่มีหรอก แต่ทางร่างกายก็ยังถูกกระทบได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเดินทางไกลหิวน้ำก็ยังต้องบอกให้พระอานนท์พระอุปฐากไปตักน้ำมาถวายให้ท่านดื่ม เพราะร่างกายไม่ว่าจะเป็นของใครก็เหมือนกัน ร่างกายของปุถุชน ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็เป็นร่างกายอันเดียวกัน หิวข้าวเหมือนกัน หิวน้ำเหมือนกัน เจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนกัน เพียงแต่ใจไม่ได้ไปทุกข์กับความหิวความเจ็บของทางร่างกายถ้าเป็นพระอรหันต์ ถ้าเป็นปุถุชนนี้จะไปเจ็บด้วย ร่างกายเจ็บใจก็เจ็บไปด้วย บางทีร่างกายยังไม่ทันเจ็บใจเจ็บไปก่อนแล้ว หมอบอกเดี๋ยวจะฉีดยาให้เข็มหนึ่งนี้ยังไม่ทันฉีดเลย ใจเจ็บไปก่อนแล้ว นี่โรคยังไม่ได้เป็นเลยใจวุ่นวายไปก่อนแล้ว แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์นี้ท่านจะเฉยๆ เจ็บก็เจ็บ ตายก็ตาย เพราะมันเป็นความจริงที่หนีไม่พ้น ท่านปล่อยวางได้แล้ว จิตมีสติน้อยถาม: นั่งสมาธิบางครั้งหลับไปเลยก็มี หรือฟังธรรมอยู่ดีๆ ก็หลับไปเลย ทำอย่างไรมันเหมือนจิตเบา พระอาจารย์: คือจิตเรามีสติน้อย หรือรับประทานอาหารมากเกินไป พออิ่มแล้วเวลาทำอะไรมันก็จะง่วง งั้นถ้าจะฟังธรรมหรือเวลาปฏิบัติธรรมนี้ควรจะรับประทานอาหารพอประมาณ จะได้ไม่อิ่มเกินไป ถ้ายังอิ่มอยู่ ยังง่วงอยู่ ก็ให้ลุกขึ้นมาเดินก่อน เดินจงกรมไปก่อน เดี๋ยวนี้จะฟังธรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ ก็เดินจงกรมไปฟังไปก็ได้ เสียบหูฟังไว้แล้วก็เดินจงกรมไป แล้วก็ฟังไป ก็จะไม่ง่วง จะไม่หลับ เดินไปจนกว่ามีสติดีแล้วจึงค่อยกลับมานั่งใหม่นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตาครับถาม: นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตาครับ พระอาจารย์: อ๋อ นิพพานเป็นจิตที่บริสุทธิ์ จิตที่ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยากเป็นโสดาบัน ไม่เป็นกิเลสถาม: มีความอยาก แล้วอยากเป็นโสดาบัน แล้วก็เหมือนกับว่าอยากเป็นซีอีโอ มันก็เลยเป็นความรู้สึกคล้ายๆ กัน แล้วก็มุ่งมั่นไปในอนาคตมากกว่าอยู่กับปัจจุบัน มันก็เลยมีการขัดแย้งกันในตัวเองครับว่า จะต้องบอกตัวเองว่าไม่ให้อยาก แล้วก็ไม่ให้เป็น โสดาบัน แต่มันก็อยากเป็นอย่างนั้น มันก็เลยเป็นการขัดแย้งกัน จะออกจากรูปแบบนี้อย่างไรครับ พระอาจารย์: อ๋อ ความอยากเป็นโสดาบันนี้ไม่เป็นปัญหาอะไร เป็นธรรมะ เพราะถ้าไม่อยากเป็น มันก็ไม่ปฏิบัติธรรม ใช่ไหม แต่ว่ามันเป็นจุดเริ่มต้น เหมือนอยากจะออกจากบ้านนี่ มันก็ต้องเป็นจุดเริ่มต้น ไม่งั้นมันก็ไม่ได้ออกจากบ้าน มันก็อยู่ในบ้าน ใช่ไหม ทีนี้พอเราอยากออกจากบ้านแล้ว เราก็ต้องไปทำตามที่เราต้องการคืออะไร ก็ออกเดินทางไปสิ ใช่ไหม คือเหมือนกัน ขณะที่คุณเดินทางคุณก็อย่าไปอยากให้มันถึงเมื่อมันยังไม่ถึง คุณก็เดินทางไปเรื่อยๆ ขับรถไปเรื่อยๆ หรือขึ้นรถอะไรไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไปถึงจุดหมายปลายทาง ความอยากมันเป็นจุดเริ่มต้น มันเป็นฉันทะ ถ้ามีฉันทะแล้วก็มีวิริยะ ใช่ไมหม ความเพียร ความเพียรที่จะทำตามความอยาก เราก็อย่าเอาความอยากมาขวางกั้นความเพียรก็แล้วกัน อยากอย่างเดียวแต่ไม่มีวิริยะ เมื่ออยากแล้วก็ต้องศึกษาว่าเป็นโสดาบันเขาทำยังไง ละสังโยชน์ ๓ ข้อ จะใช้อะไรละ ก็ต้องใช้ปัญญา ปัญญาระดับไหนล่ะ ปัญญาระดับภาวนามยปัญญา ก็ต้องไปสร้างภาวนามยปัญญาขึ้นมา ภาวนามยปัญญาก็ต้องมีสมาธิ มีอัปปนาเป็นผู้สนับสนุน ก็ต้องไปฝึกสมาธิทำจิตให้รวมเป็นอัปปนา แล้วก็มาพิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ ๕ ถ้าพิจารณาเห็นว่าเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ปล่อยวางความอยากในขันธ์ ๕ ได้ มันก็จบ ต้องปฏิบัติ ความอยากนี้เป็นจุดเริ่มต้น ไม่เป็นไร แต่อย่าไปอยากเฉยๆ อยากแล้วไม่ออกไปปฏิบัติมันก็ไม่ได้ เวลานั่งสมาธิก็นั่งไป มีหน้าที่จะทำสมาธิก็ทำไป แต่อย่าไปอยากให้จิตรวม อย่าไปอยากให้มันเป็นอะไร เวลานั่งนี้ไม่ให้คิดอะไร ให้รู้เฉยๆ ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก จนกว่าจิตจะรวมเป็นอัปปนาสมาธิ ก็จะได้อุเบกขา พอได้อุเบกขา ออกจากสมาธิมาก็พิจารณาไตรลักษณ์ในขันธ์ ๕ ได้ พอเห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา เราก็ปล่อยมันไป อย่าไปอยากให้มันไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เราก็ไม่ทุกข์กับมัน ต้องปฏิบัติ ต้องมีฉันทะก่อน ต้องมีความอยากเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าอยากจะหลุดพ้นใช่ไหม ท่านถึงสละราชสมบัติ ถ้าท่านไม่อยากจะหลุดพ้น ท่านก็อยู่ในวังต่อไปสิ แต่พอออกมาแล้ว ท่านก็ไม่ได้มานั่งอยาก ท่านก็มาทำหน้าที่เพื่อให้หลุดพ้น ท่านก็ไปบวช ถือศีล ไปเรียนสมาธิกับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สมัยนั้นก็สอนได้แค่ระดับสมาธิ ปัญญาไม่มีใครรู้ ท่านก็เลยต้องไปค้นคว้าหาด้วยตนเอง จนในที่สุดก็พบอริยสัจ ๔ ไตรลักษณ์ ท่านก็เลยหลุดพ้นได้ เข้าใจหรือยัง ความอยากนี้ไม่เสียหาย เพียงแต่ต้องรู้ว่ามันมีหน้าที่ทำอะไร มันมีหน้าที่ปลุกระดมให้เราออกปฏิบัติก่อน ถ้าเปลี่ยนใจเมื่อไหร่ก็ยกธงขาว พอเปลี่ยนใจไม่อยากเป็นโสดาบันแล้ว มันก็อยากจะกลับไปเป็นโยมอย่างนี้มันก็ลาสิกขาไป เปลี่ยนเป้าใหม่ ความอยากนี้เป็นการตั้งเป้าหมาย อยากเป็นโสดาบัน อยากจะไปอยุธยาอย่างนี้ ต้องมีเป้าหมาย พอมีเป้าหมายแล้วก็ออกเดินทางไปที่อยุธยา ถ้าอยากแบบนี้ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าปฏิบัติไปแล้วก็อยากไปเรื่อยๆ อยากให้มันเป็น โดยที่ไม่รู้ว่าทำยังไงให้มันเป็น อยากเป็นแบบสุ่มเดาไป มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เป็นเหตุเป็นผลนะ ต้องอยากมีเหตุมีผลนะ ทุกอย่างมีเหตุมีผล ท่านสอนทุกอย่าง ผลเกิดจากเหตุ โสดาบันเกิดจากอะไร เกิดจากการละสังโยชน์ ๓ การละสังโยชน์เกิดจากอะไร เกิดจากปัญญา ปัญญาต้องเกิดจากอะไร ต้องมีสมาธิสนับสนุน ภาวนามยปัญญา ก็ไปสร้างสมาธิขึ้นมา ไปสร้างอัปปนาสมาธิ พอได้แล้วก็เอาปัญญา ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ มาสอนใจให้ปล่อยวาง เท่านั้นเอง ปล่อยวางขันธ์ ๕ ตอนนี้เราไปยึดติดขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเราของเรา อยากให้มันไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ความจริงเราไปห้ามมันได้ไหม ความแก่ความเจ็บความตาย อยากไปก็ทุกข์ไปเปล่าๆ ใช่ไหมเวลามันแก่ แต่ถ้าไม่อยากแล้วมันจะทุกข์ไหม ไม่ทุกข์แล้วล่ะ แก่ก็แก่ไปสิ เจ็บก็เจ็บไปสิ ตายก็ตายเลย ต้องไปทำข้อสอบ ๓ ข้อนี้ ทำได้หรือเปล่า เวลาร่างกายเจ็บ เฉยๆ ได้รึเปล่า ปล่อยวางได้หรือเปล่า เวลาร่างกายจะตาย ปล่อยวางได้หรือเปล่า นี่เรียกว่าเป็นการละสักกายทิฏฐิ เข้าใจหรือยัง ถาม: เข้าใจครับผม กราบสาธุครับ พระอาจารย์: คนบางคนนี่ปรารถนามรรคผลนิพพานทั้งนั้นแหละ เพราะคำว่า “ภิกษุ” แปลว่าอะไร รู้หรือเปล่า ถาม: ออกบวชครับ บวชครับ ทำให้นิพพานแจ้งครับ พระอาจารย์: เออ คำว่า “ภิกษุ” นี้คือผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร ใช่ไหม ถาม: ครับ พระอาจารย์: ไอ้นี่ก็คือความอยากแล้ว อยากจะออกจากวัฏฏะสงสาร แล้วมันผิดตรงไหน มันไม่ผิด ถ้าไม่อยากออกจากวัฏฏะสงสาร ก็ไม่มาบวชสิ ก็อยู่เป็นฆราวาสไป หาลาภยศสรรเสริญสุขสิ เอาล่ะนะ มีอะไรอีกไหม ถาม: จิตชอบไปอยู่ในอนาคตครับ แล้วก็ต้องบอกจิตให้อยู่กับปัจจุบันครับ พระอาจารย์: พุทโธพุทโธพุทโธ ใช้กัมมัฏฐานดึงไว้ ท่องบริกรรมพุทโธพุทโธพุทโธไป ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมา พอมันจะไปอดีตไปอนาคต ก็พุทโธพุทโธพุทโธ หยุดความคิด พอมันไม่คิด มันก็กลับมาอยู่ปัจจุบันแล้ว ต้องคิดอะไรง่ายๆ อยากไปเราก็ใช้พุทโธดึงมันมา กัมมัฏฐาน “พุทธานุสสติ” เวลานั่งสมาธิก็พุทโธพุทโธไปอย่างเดียว เดี๋ยวจิตก็รวม นะ ง่ายๆ ไม่ยาก อยู่ที่จะทำไม่ทำเท่านั้น ถาม: กราบสาธุครับถ้าทุกข์ใจแสดงว่าเราอยากถาม: ที่พระอาจารย์พูดเรื่องความอยากวันนี้ ทุกคนก็ยังมีความอยากอยู่ แม้แต่พระอรหันต์ จะมีความอยากด้วยไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่มีหรอกพระอรหันต์ ท่านตัดความอยากไปหมด ถาม: ตัดความอยากแล้ว แต่โสดาบันหรือคนธรรมดาก็ยังมีความอยากอยู่ พระอาจารย์: ยังมีอยู่ ถาม: แล้วเราจะทราบได้อย่างไรเจ้าคะว่าเราอยากแล้ว เราควรจะทำตามหรือเราควรจะปล่อย พระอาจารย์: ถ้าเราอยากจะบรรลุเป็นพระอริยะ เราก็ต้องตัดความอยาก ไม่ทำตามความอยาก นอกจากทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ไม่ถือว่าเป็นความอยาก ถาม: สมมุติ ถ้าโยมอยากเป็นโสดาบัน แต่โยมยังมีลูกๆ ต้องดูแลอยู่ อยากรอให้เขา จนแน่ใจว่า โยมคิดว่าถ้าเขาจบมัธยมปลาย มันก็คงจะโอเค อะไรอย่างนี้ เราก็คงจะได้ปฏิบัติหรือทำบุญมากขึ้น พระอาจารย์: มันไม่เกี่ยวกันนี่ ก็ยังปฏิบัติได้ เขาก็ไปเรียน เวลาเขาไปโรงเรียนเราก็ปฏิบัติได้ อยู่บ้าน ไม่ใช่ว่าเราจะต้องอยู่กับเขาตลอด ๒๔ ชั่วโมง ที่ไหนล่ะ ถาม: ใช่ เจ้าค่ะ แต่ถ้าเราอยากให้ลูกเราได้ดี อันนี้ก็คืออยาก พระอาจารย์: อันนี้เขาไม่เรียกว่าอยาก เขาเรียกว่าปรารถนาดี มีเมตตา เมตตาได้อยู่ ไปอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ โดยที่เขาไม่ได้เป็น อันนี้เรียกว่าอยาก ทำให้เราทุกข์ ก็ต้องดูว่าอย่าให้มันนำเราไปสู่ความทุกข์ใจ ถ้าทุกข์ใจ แสดงว่าเราอยาก ถาม: คือถ้าอย่างนี้โยมจะพิจารณาว่า อะไรก็ตามที่เป็นความอยาก ถ้าทำให้เกิดกิเลสเกิดทุกข์ เกิดการปรุงแต่ง หรือว่าเวทนาเข้า พวกนี้คือถือว่าเป็นความอยากที่เราควรจะตัดออกไป ใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: ใช่ อยากแล้วมันทำให้เราทุกข์ กระวนกระวายกระสับกระส่าย อยากให้ลูกเข้าโรงเรียนนี้ เกิดความกระวนกระวายขึ้นมา อย่าไปอยาก แต่ทำหน้าที่ได้ ให้เขาไปโรงเรียนนี้ก็ให้เขาไปสมัครอะไรของเขาไป แต่เขาจะเข้าได้หรือไม่ได้ก็เรื่องของเขาไป ถาม: ถ้าโยมอยากมีสติมากขึ้น แล้วโยมก็ปฏิบัติ อันนี้คือความอยากที่ดี ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: ใช่ ฉันทะที่นำไปสู่วิริยะ เราจะได้ไปปฏิบัติ วิริยะคือความเพียร ถาม: สาธุเจ้าค่ะจะถอนสัญญาจากขันธ์ ๕ ได้อย่างไรถาม: เราจะพิจารณาเกี่ยวกับว่าคนๆ นี้ก็คือคนรักของเรา เป็นคู่รัก เป็นลูกของเรา หนูควรจะพิจารณาอย่างไร เพื่อที่จะสามารถถอดถอนสัญญาจากขันธ์ ๕ ได้เจ้าคะ พระอาจารย์: เขาเป็นเพียงตุ๊กตาตัวหนึ่งที่เราได้รับมาเท่านั้นเอง เหมือนพ่อแม่ซื้อตุ๊กตามาให้เรา เราก็เล่นกับมันไปดูแลมันไปจนกระทั่งมันจากเราไปก็จบ ร่างกายของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นของสามีของภรรยาหรือของลูก มันก็เป็นเหมือนตุ๊กตาที่เราได้มา แล้วเดี๋ยววันหนึ่งเขาก็ต้องจากเราไป ถึงเขาไม่จากเราไป เราก็จากเขาไป ต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา งั้นอย่าไปยึดอย่าไปติดกับร่างกายเหล่านี้ กับตุ๊กตาเหล่านี้ แล้วเราจะได้ไม่ทุกข์เวลาที่เราจากกันไม่ตอบโต้ ยอม หยุด เย็นถาม: พระอาจารย์เจ้าคะ ถ้ามีคนมาระรานอยู่เรื่อยๆ แล้วเรายอมทุกอย่างแล้ว ในใจลึกๆ บางครั้งมันอยากจะไม่ยอม อยากจะทำร้ายเขา แบบนี้จะแก้นิสัยอย่างไรดีเจ้าคะ พระอาจารย์: ก็ต้องหยุดมันไง เวลาไม่ยอมก็ต้องใช้พุทโธ ๆ หยุดมัน ก็ให้คิดแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ให้คิดว่าถ้าเขาไม่ชอบเราก็ให้คิดว่าดีแล้วเขายังไม่ด่าเรา ถ้าเขาด่าเราก็คิดว่าดีแล้วเขายังไม่ตีเรา ถ้าเขาตีเราก็คิดว่าดีแล้วเขายังไม่ฆ่าเรา ถ้าเขาฆ่าเราก็ดีแล้วจะได้หมดเวรหมดกรรมกันซะที ให้คิดอย่างนี้แล้วมันก็จะสามารถหยุดตอบโต้เขาได้ เพราะการตอบโต้มันเป็นการก่อเวรก่อกรรมกันต่อไปไม่มีสิ้นสุด เดี๋ยวภพหน้าชาติหน้ากลับมาเจอกันใหม่ก็ราวีกันใหม่ต่อไป ถ้าต้องการให้หมดเวรหมดกรรม ก็ต้องหยุดไม่ตอบโต้ ยอม “ยอม หยุด เย็น” ให้ใช้สูตร ๓ ย ยอม ยอมแพ้ทุกอย่าง ทุกกรณี ไม่มีข้อยกเว้น ยอมแล้วเราก็จะหยุดต่อสู้ หยุดต่อต้านเขา เมื่อหยุดแล้วใจเราก็จะเย็นมีความสุขจิตไปหลงมันเลยทำให้ทุกข์ถาม: ทำไมรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงถูกมองว่าทุกข์ครับ ทั้งๆ ที่ตัวทุกข์นั้น สาเหตุเกิดจากอัตตา พระอาจารย์: คือมันเป็นตัวที่ทำให้จิตไปทุกข์ไง จิตไปหลงไปติด มันเลยทำให้ทุกข์ ตัวที่ทุกข์ไม่ใช่ตัวขันธ์ ๕ ไม่ใช่รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตัวที่ทุกข์คือใจเรานี่แหละ เพียงแต่ว่าใจเราไปยึดไปติดว่าขันธ์ ๕ เป็นเรา ก็เลยทำให้เราทุกข์ขึ้นมา ทำให้ใจเราทุกข์สัพเพ ธัมมา อนัตตา เป็นอัตตาหรืออนัตตาครับถาม: “สัพเพ ธัมมา อนัตตา” ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา จิตใจ บุญและบาปถือว่าเป็นอัตตา หรืออนัตตาครับ พระอาจารย์: คือเราพูดสัพเพนี้เราหมายถึงสิ่งต่างๆ เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข รูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ นี้ ที่เราพูดถึงในสิ่งที่ใจเราไปเกี่ยวข้องด้วยเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ความจริงทุกอย่างมันไม่มีตัวตน แม้แต่ใจก็ไม่มีตัวตน บุญกุศลก็ไม่มีตัวตน บาปกรรมมันก็ไม่มีตัวตน แต่สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปสนใจ สนใจแต่สิ่งที่ทำให้เราทุกข์เท่านั้น คือลาภยศสรรเสริญ กับความสุขจากรูปเสียงกลิ่นรส กับร่างกายของเรานี่ มันเป็นตัวที่ทำให้เราทุกข์ เราพิจารณาส่วนที่ทำให้เราทุกข์ ให้เราปล่อยวางให้ได้ แล้วเราจะได้ไม่ทุกข์กับเขา ส่วนที่ไม่ได้ทำให้เราทุกข์ ไม่ต้องไปสนใจพระอริยบุคคลขั้นไหนถึงตัดทุกข์จากการพลัดพรากได้พระอริยบุคคลขั้นไหนถึงตัดทุกข์จากการพลัดพรากได้ ถาม: หลวงพ่อเจ้าคะ ความทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากนี้เราต้องปฏิบัติถึงขั้นพระอริยบุคคลขั้นไหนเจ้าคะ ถึงจะตัดได้ พระอาจารย์: ตั้งแต่พระโสดาบันไปนี่ท่านก็ไม่ทุกข์กับความพลัดพรากจากกันแล้ว ท่านเห็นเป็นอนิจจัง เห็นเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปแล้ว ถาม: แต่เราก็ยังร้องไห้เสียใจ พระอาจารย์: ก็เรายังไม่เห็นว่ามันเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ยังเห็นว่าเป็นนาย ก นาย ข เป็นพี่ เป็นพ่อ เป็นน้องอะไรอยู่ ความจริงเป็นเพียงร่างกาย ตัวที่เป็นพี่เป็นพ่อก็คือตัวใจ หรือธาตุรู้ ที่มาครอบครองร่างกาย เขาก็ไปตามวาระของเขาไป เขาก็ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย มันก็เลยไม่มีอะไรจะต้องมาเศร้าโศกเสียใจ เป็นเพียงแต่ว่าต้องจากกัน เพราะเขาต้องเดินทางไปต่างประเทศอย่างนี้ เขาไปโลกทิพย์แล้ว เราอยู่ในโลกธาตุ ก็มีเท่านั้นแหละ จะไม่มีความเศร้าโศกเสียใจกับการพลัดพรากจากกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 87.0.4280.88
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2563 13:02:00 » |
|
พระธุดงค์ท่านไปเพื่อทดสอบสติของท่าน ถาม: พระอาจารย์ครับ สงสัยพระธุดงค์อย่างนี้ละครับ ท่านกลัวสัตว์ร้าย สัตว์มีพิษบ้างไม๊ พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าท่านกลัว ท่านก็ไม่ไปละสิ ถ้าท่านไปก็แสดงว่า ถ้าท่านกลัวแต่ท่านไป แสดงว่าท่านจะไปดับความกลัว ท่านต้องไปที่ที่กระตุ้นความกลัวให้เกิด แต่ท่านพร้อมแล้ว ท่านมีสติ ท่านมีเครื่องมือที่เวลาเกิดเจอภัยขึ้นมา ท่านมีสติที่จะใช้ในการหยุดความกลัวได้ ท่านถึงไป ถ้าท่านไม่มั่นใจว่าท่านมีสติพอหรือไม่ ท่านไม่ไปหรอก เดี๋ยวสติแตก ไอ้ที่ท่านไปเพื่อทดสอบสติของท่าน ดูว่าสติของท่านใช้ได้ไหม หยุดความกลัวได้หรือไม่ พอเกิดความกลัวก็ให้พุทโธพุทโธพุทโธพุทโธไป ฝากความเป็นความตายไว้กลับพุทโธ ยอมตาย เท่านั้นแหละ ถ้ามันจะตาย ถ้าร่างกายมันจะตายตอนนั้นก็ให้มันตายไป แต่ใจจะขออยู่กับพุทโธพุทโธเพื่อความสงบ พอใจสงบปั๊บนี่ ความกลัวหายไป ความสบายใจเกิดขึ้น ทีนี้ไม่กลัวตายแล้ว ไม่กลัวอะไรแล้ว แต่ถ้ายังกลัวอยู่ หมายความว่ามันไม่ได้หายกลัวแบบปัญญา มันเพียงแต่หายกลัวด้วยสติ ถ้ามันหายกลัวด้วยปัญญา มันพิจารณาร่างกายว่าไม่เที่ยง ต้องตายวันใดวันหนึ่ง อนัตตา ไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ตัวเรา ห้ามมันไม่ได้ ถ้ามันจะตายก็ยอมให้มันตาย ถ้ายอมแบบนี้ก็เป็นปัญญาก็หายกลัวแบบถาวร จะไม่กลัวความตายอีกต่อไป นี่ที่ท่านไปธุดงค์กัน ก็นี่อย่างนี้เพื่อที่จะได้ไปขึ้นเวที พูดง่ายๆ ถ้าเป็นนักมวย พวกเราเป็นเหมือนพวกอยู่นอกเวที ยังซ้อมชกกระสอบทรายอยู่ ไม่ได้ไปเจอคู่ต่อสู้ที่แท้จริง คือความตาย ถาม: อย่างงูนี่ ถ้าเราไม่ทำอะไรมัน มันก็กลัวคนใช่ไหมครับพระอาจารย์ พระอาจารย์: มันก็เหมือนเราแหละ เราก็เหมือนมันแหละ ต่างฝ่ายต่างกลัว แต่ถ้าเรานิ่ง มันก็จะได้มีเวลา มันจะดูท่าทีเรา งูนี่เวลาเจอถ้าเป็นงูเห่านี้ มันจะแผ่แม่เบี้ยทันที แต่ยังไม่ฉกถ้าอยู่ห่างไปสักระยะ แต่ถ้าเรายืนเฉยๆ ไม่ทำอะไร สักพักมันเห็นว่าเราไม่ทำอะไร มันก็หดตัว แล้วมันก็เลื้อยไป ทุกคนแหละ ทุกสัตว์ทุกคนนี่มีธรรมชาติรักตัวกลัวตายเหมือนกัน พอไปเจออะไรที่คิดว่าเป็นภัยนี้ จะต้องป้องกันตัวทันที หรือถ้าไม่ป้องกันตัว วิ่งได้ก็วิ่ง ถ้าโกยได้ก็โกย มีอยู่ ๒ แบบ ถาม: แต่ว่าถ้าสัตว์นักล่านี่มันก็ล่า ไม่ใช่หรือครับพระอาจารย์ พระอาจารย์: อ้าว ถ้าเป็นอาหารของมัน มันก็ล่าละสิ แต่เราไม่ได้เป็นอาหารของมัน หรือว่าถ้ามันหิวขึ้นมา มันเห็นว่าเราพอจะกินได้ มันก็อาจจะล่าเราก็ได้ ก็อาจจะอยู่ที่ว่ามันกับเรา มันเป็นอาหารกันหรือไม่ อย่างงูมันคงไม่มากินเราหรอก มันกินสัตว์ที่มันกลืนได้ เคี้ยวได้ เรามันใหญ่เกินปากมันที่จะกินเข้าไปได้ เพราะไม่ใช่เป็นอาหารของมัน มันก็เป็นภัยของมันเท่านั้น ถ้าจะมองมันก็มองเป็นภัยของมัน เราก็ต้องเตรียมป้องกันตัวก่อน งูเห่ามันก็แผ่แม่เบี้ยขึ้นมา แต่พอเราไม่ทำอะไร เรายืนอยู่เฉยๆ สักพักมันก็รู้ว่า เราไม่มีภัยกับมัน มันก็ลดอาการป้องกันตัวของมัน แล้วก็เลื้อยไป เลื้อยหนีไป ทางใครทางมันไป อย่างกรณีหลวงปู่ชอบนี่ ท่านเดินจงกรม เดินธุดงค์ตอนกลางคืน ท่านถือโป๊ะตะเกียงไฟ โป๊ะทำด้วยผ้า แล้วก็มีเทียนอยู่ข้างใน ท่านเดินพุทโธพุทโธไป จ๊ะเอ๋กับเสือ พอเห็นเสือจิตมันรวมเข้าไปข้างใน สงบเข้าไปในสมาธิ เพราะท่านมีสติคุมไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก พอมันเข้าไปข้างในนี้ คือการรับรู้เสือหายไป ร่างกายหายไป เหลือแต่จิตอยู่ตามลำพังของมัน ตอนจิตถอนออกมานี่ ไฟตะเกียงที่เป็นเทียนนี่มันไหม้หายไปหมดแล้ว เสือเสอก็หายไปหมด ท่านก็ยังยืนอยู่ในท่าเดิม ยืนอยู่ในท่าที่ท่านเข้าไปในสมาธิ เสือมันคงคิดว่าท่านเป็นต้นไม้มั้ง ยืนนิ่งๆ มันไม่ได้ไปหา มันก็เลยไม่ได้ทำอะไร แต่ถ้าเราวิ่ง ถ้ามันหิวเข้า มันอาจจะไล่กัดกินเราก็ได้ แต่นี่ต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติไปเดี๋ยว พอได้ยินเสียงเสือร้องนี่ใจสั่นแล้ว พอเสือใกล้เข้ามานี่บางทีโกยเลย มีพระอยู่รูปหนึ่ง ก็อยากจะไปทดลองกัน แต่ท่านยังไม่มีสติพอ ชาวบ้านบอกเสือดุจริงๆ นะ บอกไม่เป็นไรจะไปลอง ชาวบ้านก็พาไปปักกลดอยู่ในป่า พอตอนค่ำก็ได้ยินเสียงเสือแล้วสิ ร้องคำราม “โฮก” ใจก็เริ่มสั่นๆ พอเสียงมันใกล้เข้ามา ทนไม่ไหววิ่งโกยเลย ใจสั่น เข้ามาถึงหมู่บ้าน เจอชาวบ้านก็บอก “เสือ เสือ เสือ” อ้าว แสดงว่าสติยังไม่พอ ถ้าสติพอไม่ถอยแล้ว สติพอปัญญาพอไม่ถอย ถ้าไม่ตายก็บรรลุเท่านั้นแหละ ถ้าไม่บรรลุก็ตายแบบพระพุทธเจ้า นั่งใต้โคนต้นโพธิ์ ถ้าไม่บรรลุก็ตายเท่านั้น ถ้าไม่ตายก็ต้องบรรลุ นี่พระเป็นอย่างนี้ พระปฏิบัติ ผู้ที่ต้องการผลจริงๆ ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า “นิพพานอยู่ฟากตายนะ” ถ้าไม่ยอมตายไปไม่ถึงนิพพานกัน เราไม่ได้ตาย เพียงแต่ยอมให้ร่างกายมันตาย ร่างกายที่เราไปหลง คิดว่าเป็นตัวเราของเรานี่ ไปดูงานศพสิ ร่างกายเป็นของใคร ไม่มีเป็นของใคร เป็นตุ๊กตา เจ้าของเขาทิ้งไปแล้ว ปล่อยให้ญาติพี่น้องเป็นภาระ ต้องมาจัดการกับตุ๊กตาที่เขาทิ้งไว้ ร่างกายเรานี้ก็คือตุ๊กตาที่มีชีวิตชีวาในขณะที่มันหายใจได้ พอมันไม่หายใจ มันก็เป็นเหมือนตุ๊กตาที่เขาจัดโชว์ตามร้านเสื้อผ้าอย่างนี้ ไม่ต่างกันเลย ให้พิจารณาอย่างนี้ ว่าร่างกายไม่ใช่เรา เราผู้รู้ผู้คิด เป็นจิตที่มาครอบครองร่างกายหรืออาศัยร่างกาย เหมือนอาศัยบ้าน ร่างกายเป็นเหมือนบ้านของจิต ที่จิตใช้อาศัยอยู่ แต่บ้านมันเป็นบ้านชั่วคราว ไม่ถาวร เดี๋ยวมันก็ต้องพัง ร่างกายของเราทุกคนแหละ ต้องตายด้วยกันทุกคน นี่ตายได้ ๒ แบบ ตายแบบบรรลุ กับตายแบบไม่บรรลุนี่ ส่วนใหญ่ก็ตายแบบไม่บรรลุเพราะกลัวตาย เพราะยังหลง ยังคิดว่าเป็นตัวเราของเราอยู่ ไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมตาย แต่ถ้าได้มาฟังธรรมบ่อยๆ แล้วมาพิจารณาบ่อยๆ และเห็นโทษของการไปยึดไปถือว่าเป็นเรานี่ มันทุกข์ เวลาจะตายมันทุกข์มาก ถ้าไปถือว่าเป็นเรา แต่พอใช้ธรรมะหรือใช้สติ ใช้ปัญญานี้สอนใจบอกว่า เอ๊ย มันเป็นตุ๊กตานะ ไม่ใช่เรา เดี๋ยวมันก็ต้องตาย จะตายแบบปล่อยหรือตายแบบไม่ปล่อยดี ตายแบบปล่อยก็สบาย จิตก็โล่ง เบา เย็นสบาย ถ้าตายแบบยึดก็ทุกข์ เครียด นี่แหละคือธรรมะ การปฏิบัติก็เพื่อที่จะไปสู่ขั้นนี้ แต่ต้องมีสติที่มีกำลังที่จะหยุดจิตได้ หยุดความกลัวได้ ก็ต้องอัปปนาสมาธิเท่านั้นแหละ สติแบบอัปปนาสมาธิ ทำให้จิตรวม สักแต่ว่ารู้ เป็นอุเบกขา ไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลง ปล่อย ต้องซ้อมไว้ก่อน ซ้อมทำการบ้านก่อน พระที่ไปธุดงค์ส่วนใหญ่ท่านมักจะได้สมาธิกันแล้ว ท่านถึงไปกัน หรือก็อีกพวกหนึ่งพวกไม่มีสติ ก็อาศัยไปธุดงค์เพื่อจะได้ใช้ความกลัว บังคับให้เจริญสติ เพราะอยู่ที่ปลอดภัยมันก็ขี้เกียจพุทโธพุทโธ พอไปอยู่ที่หวาดกลัวนี้ ไม่ได้เจอภัย เพียงแต่ความรู้สึกว่ากลัวก็จะทำให้ต้องใช้พุทโธพุทโธ เพื่อมาระงับความกลัว ขนาดยังไม่เจอของจริงนี่ ยังไม่เจอของที่เรากลัว เพียงแต่คิดว่า แหมมันมีอะไรแถวนี้ก็กลัวขึ้นมา งั้นต้องไปหาที่ที่มันกระตุ้นความกลัว มันถึงจะขยันภาวนา งั้นมันขี้เกียจ อยู่ที่ปลอดภัยมันบอก เฮ้ย ไม่เห็นมีปัญหาอะไร “ทุกข์บ่มี ปัญญาบ่เกิด” ต้องมีทุกข์ถึงจะใช้ปัญญาแก้ปัญหาโทสะแรงแก้ไขด้วยวิธีไหน ถาม: โยมเป็นโทสะแรงต้องแก้ไขด้วยวิธีไหนเจ้าคะพระอาจารย์: โทสะความโกรธเกิดจากความอยาก พอเราอยากแล้วไม่ได้เราก็โกรธ งั้นลดความอยากลง พระพุทธเจ้าบอกให้หัดทำใจให้ยินดีตามมีตามเกิด “สันโดษ” แปลว่ายินดีตามมีตามเกิด อย่าไปจู้จี้จุกจิกอยากได้อย่างนั้นอยากได้อย่างนี้ อยากให้มันเป็นอย่างนั้นอยากให้มันเป็นอย่างนี้ พอไม่ได้ดังใจอยากมันก็จะโกรธ แต่ถ้าสันโดษยินดี เป็นอย่างนี้ก็ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ ได้อย่างนี้ก็ได้ ได้อย่างนั้นก็ได้ ใจก็จะไม่โกรธ ดังนั้นพยายามลดความอยากความต้องการ ความหวังต่างๆ ให้น้อยลงไป ให้หัดยินดีตามมีตามเกิดแล้วความโกรธจะไม่เกิด แนะนำผู้ป่วยเรื้อรังอย่างไร ถาม: เป็นหมอที่ดูแลผู้ป่วยที่มีความป่วยเรื้อรังจากสาเหตุต่างๆ ที่ไม่รักษาหายได้แล้ว จะแนะนำผู้ป่วยอย่างไรดีคะ ปัจจุบันแนะนำให้ปล่อยนกปล่อยปลา ไถ่ชีวิตโคกระบือ แต่รู้สึกว่ายังไม่ดีพอ ขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ด้วยค่ะ พระอาจารย์: ก็แนะนำให้ทำใจเท่านั้น ทำใจให้อยู่กับมันไป มันเหมือนดินฟ้าอากาศนี่ ถ้าเราทำใจ เราก็จะไม่เดือดร้อนกับฝนตกแดดออก อาการเจ็บปวดตามร่างกายต่างๆ เมื่อทำให้มันหายไม่ได้ ก็ต้องหัดทำใจอยู่กับมัน อย่าไปต่อต้านมัน อย่าไปอยากให้มันหาย ยินดีกับมันสิ ถ้ายินดีแล้วจะมีความสุข เวลาเราได้อะไรแล้วถ้าเรายินดีเราจะมีความสุข ถ้าเราไม่ยินดีเราก็จะทุกข์ มันไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เราได้ ที่ทำให้เราสุขหรือทุกข์ แต่มันอยู่ที่ความยินดีหรือไม่ยินดีของเรา เท่านั้นเอง คนบางคนของอันเดียวกันนี้ คนหนึ่งยินดี อีกคนหนึ่งไม่ยินดี คนที่ยินดีก็มีความสุข คนที่ไม่ยินดีก็มีความทุกข์ เช่น คนหนึ่งเกลียดคนนี้ อีกคนรักคนนี้ คนที่รักคนนี้ก็มีความสุข คนที่เกลียดคนนี้ก็มีความทุกข์ ดังนั้นถ้าไม่อยากไปทุกข์ อย่าไปเกลียดกับสิ่งที่เราต้องมีต้องเจอ เท่านั้น ถ้าเราเจอความเจ็บปวดตามร่างกาย เจ็บไข้ได้ป่วย ก็อย่าไปเกลียดมัน ให้หัดรักมัน รักมันชอบมันแล้วก็จะไม่ทุกข์ ความทุกข์ของเราอยู่ที่เราไปรังเกียจมัน มันมาแล้วก็อยากจะไล่มันไป ไล่มันไปมันก็ไม่ยอมไป ก็เลยยิ่งทำให้เราทุกข์ใหญ่ งั้นวิธีก็คือ ทำใจ ทำใจให้ชอบกับสิ่งที่เรามี ยินดีตามมีตามเกิด พูดง่ายๆ ให้ยินดีตามมีตามเกิด พอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่ ยินดีกับสิ่งที่เราได้รับ แล้วรับรองได้ว่าเราจะไม่ทุกข์กับอะไร ยินดีกับความแก่ ยินดีกับความเจ็บไข้ได้ป่วย ยินดีกับความตาย เพราะเราหนีมันไม่ได้ หนีมันไม่พ้น ล่วงพ้นความแก่ ความเจ็บ ความตายไปไม่ได้ แล้วเราต้องไปทุกข์กับมันทำไม ที่เราทุกข์เพราะเราไม่ยินดีเท่านั้นเอง แต่พอเราปรับใจได้ ยินดีกับมันดูสิ ยินดีกับความแก่ ดี..เป็นคนแก่ คนเขาจะได้เคารพเรา เป็นเด็กนี่ไม่มีใครให้ความเคารพ พอแก่แล้วนี่คนเขายกมือไหว้ ทำอะไรก็มีคนคอยช่วยเหลือเรา เจ็บไข้ได้ป่วยก็มีพยาบงพยาบาลหมอมาห้อมล้อม มาคอยดูแลเรา มองไปทางที่ดีบ้างนะ เราชอบมองไปในทางที่ไม่ดี เราก็เลยไม่ยินดีกับมัน เวลาตายก็ดีไม่ต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ไม่ต้องไปทำงาน ไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาทำร้ายเรา คิดมองไปในทางบวกดูสิ แล้วความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้มันดีแสนดีนะ แล้วเราจะมีความสุขกับมัน เวลาแก่ เวลาเจ็บ เวลาตาย สัปปายะแปลว่าสบาย ถาม: คำว่าสัปปายะเพื่อส่งเสริมการเจริญ สติตื่นรู้ หมายความว่าอย่างไรครับ พระอาจารย์: คำว่า “สัปปายะ” เป็นภาษาบาลี แปลว่าสบาย สัปปายะแปลว่าสบาย ดังนั้นเราต้องมีสถานที่ที่สบายในการปฏิบัติ ร้อนเกินไปก็ไม่ดี หนาวเกินไปก็ไม่ดี ต้องอากาศสบายๆ เรียกว่าสัปปายะ มีสัปปายะอยู่ ๕, ๖ อย่างด้วยกัน คือ สถานที่สัปปายะ บุคคลที่เราปฏิบัติด้วยก็ต้องสัปปายะ คือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ไม่ใช่เราปฏิบัติพุทโธ เขาปฏิบัติยุบหนอพองหนอ แล้วก็มานั่งถกเถียงกัน อย่างนี้ก็ไม่สัปปายะ บุคคลที่สัปปายะก็คือมีครูมีอาจารย์ที่สามารถสอนเราได้ อันนี้ก็เรียกบุคคลสัปปายะ อาหารสัปปายะ อาหารต้องกินอาหารที่เรากินได้ ไม่ฝืนไม่ต้องบังคับ กินแล้วก็ไม่มีอาการทำให้เกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ท้องเสียอะไรเป็นต้น อันนี้ก็เรียกว่าอาหารสัปปายะ อากาศสัปปายะ อากาศก็ต้องไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป นี่คือสัปปายะต่างๆ ที่เราต้องพิจารณาเวลาที่เราปฏิบัติธรรมกัน เพื่อที่จะได้สนับสนุนการภาวนาของเราให้ก้าวหน้าไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วรักษาร่างกายให้แข็งแรงถือว่าเป็นธรรม ถาม การออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงกับการออกกำลังกายเพื่อให้หุ่นดีสวยงาม ทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นกิเลสใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์ ไม่หรอกถ้ารักษาให้ร่างกายมีสภาพแข็งแรงก็ยังถือว่าเป็นธรรมอยู่ เพราะร่างกายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เราต้องใช้ในการปฏิบัติธรรม ส่วนการออกกำลังกายเพื่อให้สวยงามนี้เป็นกิเลสเพราะเป็นเรื่องของกามราคะ ชอบสวยชอบงามชอบให้คนเขารักเขาชอบเรา เขาจะได้เป็นแฟนเรา เราจะได้ใช้เขามาเสพกามได้ อันนี้เรียกว่าเป็นกิเลสแต่ถ้ารักษาร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงเพื่อจะได้เอามาฟังเทศน์ฟังธรรม เอามาปฏิบัติธรรมอย่างนี้ถือว่าเป็นประโยชน์เป็นธรรมะไม่ได้เป็นกิเลสแต่อย่างใด สอนใจว่าต้องยอมรับความจริง ถาม: ความกลัวเจ็บป่วย เราต้องปฏิบัติทางธรรมอย่างไร ถึงจะหายหวาดกลัวเจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องทำใจให้สงบ เวลามีความกลัวก็ให้สวดมนต์ไป บริกรรมพุทโธไป อย่าไปคิด หยุดความคิด พอหยุดความคิดใจสงบ ความกลัว ความเจ็บป่วยก็จะหายไป เราก็สามารถสอนใจว่าต้องยอมรับความจริงของร่างกายว่ามันเป็นธรรมดา ไม่ว่าร่างกายของใครทุกคนเกิดมาแล้ว ก็ต้องมีการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บไข้ได้ป่วยไปไม่ได้ เกิดตายแบบกระทันหันจะเอาจิตไว้อย่างไร ถาม: หลวงพ่อครับ สมมุติว่าเราอยู่ในเส้นทางการปฏิบัติครับหลวงพ่อ ยังไม่ถึงไหน แต่ว่าก็รักษาศีล แล้วก็ทำสมาธิอยู่เป็นประจำ ส่วนของปัญญาก็ยังเป็นปัญญาของโลกอยู่ ยังไม่เป็นภาวนามยปัญญา สมมุติเกิดจับพลัดจับผลูเกิดกำลังจะตายไปกระทันหันเลยครับหลวงพ่อ ในทาง practical เลย เราเอาจิตเรายังไงครับหลวงพ่อ ยังไงดีครับ เอาจิตไปไว้ยังไงดี พระอาจารย์: ก็อยู่กับความสงบ พุทโธก็ได้ ให้เราพิจารณาว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา ถึงเวลามันก็จะต้องจบลง สิ้นสุดลง ปล่อยวาง อย่าไปอยาก อย่าไปดิ้นรน ตั้งสติก่อนดับ สักแต่ว่ารู้ไป ดูมันไปจนกว่าจะหายไป จนลมสุดท้ายหายไป เฮือกสุดท้ายเท่านั้นเอง แล้วก็จบ ถาม: คือทำเหมือนเวลาเรานั่งสมาธิแล้วลมมันหาย ใช่ใครับหลวงพ่อ พระอาจารย์: เออ เหมือนกัน ก็ดูไป ถาม: โอเคครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกสมาธิแล้วลมมันหายนี่ เราก็จะกลัวน้อยลงไหมครับหลวงพ่อ พระอาจารย์: ก็อยู่ที่เราแหละ มันอยู่ที่เราว่ากลัวไม่กลัว ถาม: คือเราก็เคยเจอสภาวะลมหายมาแล้ว ใช่ไหมครับ พระอาจารย์: ใช่ ตอนนั้นเรารู้ว่าเราไม่ตาย แต่ตอนนี้เรารู้ว่าเราตาย เรารับกับมันได้หรือเปล่า ทำใจได้หรือเปล่า ก็คิดว่าเป็นแค่เปลี่ยนร่างกายไป ไปเปลี่ยนร่างกายใหม่ โดนวางยาสลบเพื่อให้ได้ร่างกายใหม่ ถ้ายังไม่ถึงนิพพานก็ยังต้องกลับมาเกิดใหม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 87.0.4280.141
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 13 มกราคม 2564 16:28:15 » |
|
ความหมายเป็นอย่างนั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถาม: อนัตตานี้เป็นผลที่เกิดขึ้น ตามมาจากอนิจจังใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: ไม่ใช่ อนัตตาคือความจริงไง ต้นไม้นี่ก็เป็นอนัตตารึเปล่า ต้นไม้มีคนอยู่ในต้นไม้นี่รึเปล่า ไม่มี ใช่ไหมต้นไม้ก็เป็นแค่ต้นไม้ ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ร่างกายนี่มันมีคนเข้ามาอยู่ด้วย แต่มันก็ไม่ใช่เป็นความจริง ร่างกายก็ยังเป็นเหมือนต้นไม้อยู่นั่น เป็นดินน้ำลมไฟ เพียงแต่มีจิตไปยึด แล้วก็ไปคิดว่าร่างกายเป็นตัวตนขึ้นมา เท่านั้นเอง แต่ความจริงร่างกายก็เหมือนต้นไม้ มาจากดินน้ำลมไฟเหมือนกัน เวลาตายไป มันก็กลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟ คือสรุปแล้ว ทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีตัวตน ตัวตนนี้เป็นการคิดขึ้นมาของใจ เป็นเหมือนของสมมุติ เราสมมุติขึ้นมาว่า ร่างกายนี้เป็นเรานะ พอเป็นเราก็เลยเชื่อ เชื่อว่าเป็นเราจริงๆ ขึ้นมา พอมันเป็นอะไร เราก็เลยคิดว่าจะเป็นไปกับมัน ใช่ไหมแต่ถ้าเรารู้ว่ามันเป็นเพียงแต่สมมุติ มันไม่ได้เป็นเรา ไม่ได้เป็นของเราหรอก มันเป็นสมบัติชั่วคราว อยู่กับเราชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ต้องจากกันไป
เราคือใจ ใจผู้รู้ผู้คิด แต่ไปคิดในเรื่องที่ไม่ควรจะคิด ก็คิดว่ามีตัวตน มีตัวตนในร่างกาย มีตัวตนในใจ ความจริงนี่เป็นเพียงความคิด ในใจก็ไม่มีตัวตน ใจก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เขาเรียกว่าเป็นธาตุรู้ เป็นผู้รู้ผู้คิด ร่างกายก็เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เป็นดินน้ำลมไฟ เหมือนต้นไม้ ก็มาจากดินน้ำลมไฟ นี่คือความจริง ไม่ได้มาจากอนิจจัง ความจริงของสิ่งที่เป็นธรรมชาติทั้งหลายนี่ ไม่มีตัวตน ฝนและแดดนี่มีตัวตนไหมพระอาทิตย์ พระจันทร์นี่มีตัวตนไหมไม่มี ใช่ไหมมันเป็นธรรมชาติ เป็นอนัตตา แล้วก็มันเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง มีเกิดมีดับ มีเจริญมีเสื่อม นี่คืออนิจจัง ใครไปยึดกับของที่มันเป็นอนิจจัง เป็นของไม่มีตัวตน ไปยึดว่าเป็นตัวตน แล้วก็ไปอยากให้มันไม่เสื่อม ก็จะทุกข์ขึ้นมาเวลามันเสื่อม ความหมายเป็นอย่างนั้น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาถือศีล ๕ สามารถไปถึงพระนิพพานได้หรือไม่ครับ ถาม: ถือศีล ๕ เพียงพอเป็นพระโสดาบันหรือไม่ครับ ถือศีล ๕ สามารถไปถึงพระนิพพานได้หรือไม่ครับ พระอาจารย์: ถือศีล ๕ อย่างเดียวไม่พอหรอก ต้องมีสมาธิ ต้องมีปัญญา ถึงจะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔ ได้ ต้องมีทั้งศีล มีทั้งสมาธิ และมีปัญญา ศีล ๕ นี้เป็นเพียงศีลอนุบาล ต้องพัฒนาจากศีลอนุบาลไปเป็นศีลของผู้ใหญ่ ก็คือ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ แล้วแต่กรณี ไม่จำเป็นจะต้องศีล ๒๒๗ ทุกคน บางคนไปถึง ๒๒๗ ได้ ก็จะไปเร็วขึ้น ตั้งแต่ศีล ๘ ขึ้นไปนี้ มันจะทำให้การไปนิพพาน ไปได้เร็วขึ้น แต่ไปด้วยศีลอย่างเดียวไม่ได้ นอกจากศีลแล้วก็ต้องมีสมาธิ มีสมาธิแล้วก็ต้องมีปัญญา มีดวงตาเห็นธรรม เห็นไตรลักษณ์ เห็นอริยสัจ ๔อุเบกขาที่ได้จากสมาธินี้มันยังเสื่อมได้ ถาม: อุเบกขาไม่ได้ตลอดเวลาเพราะสภาวจิตของความเมตตายังไม่ใช่เป็นตัวปัญญาเมตตาที่แท้จริง เข้าใจอย่างนี้ถูกต้องไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: เพราะว่าอุเบกขาที่ได้จากสมาธินี้มันยังเสื่อมได้ เพราะพอถูกความอยากโผล่ขึ้นมามันก็จะทำลายอุเบกขาได้ แต่ถ้าอุเบกขาที่เกิดจากปัญญานี้มันจะไม่เสื่อม เพราะมีปัญญาคอยรักษา เวลาเกิดความอยากขึ้นมา ปัญญาก็จะตัดความอยากไป การเริ่มปฏิบัติธรรมควรจะเริ่มต้นจากอะไร ถาม: รบกวนพระอาจารย์สอนการเริ่มปฏิบัติธรรมว่า ควรจะเริ่มต้นจากอะไรคะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็เริ่มจาก “ทาน ศีล ภาวนา” นี่ ทำบุญทำทาน ใส่บาตรหรือบริจาคเงินทองให้เป็นนิสัยก่อน อย่าเอาเงินทองไปกินไปเที่ยวไปดื่ม ไปซื้อของไม่จำเป็น เอาเงินทองไปทำบุญทำทานดีกว่า ใจจะได้มีความเมตตา แล้วจะได้รักษาศีลได้ เมื่อรักษาศีลได้ ก็ไปอยู่วัดได้ ไปฝึกสมาธิ ไปฝึกปัญญาต่อไปได้ ทำอย่างไรให้ความโกรธหายไป ถาม: เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้นเราควรจะนึกอย่างไรทำอย่างไรดีคะให้ความโกรธหายไปในขณะนั้น พระอาจารย์: อ๋อ ก็นึกว่าความโกรธนี้ก็เป็นเหมือนการเอาค้อนมาตีหัวเราไง ถ้าอยากจะให้มันหายก็หยุดตีหัวเรา หยุดโกรธ พอเราไม่โกรธเขา ความทุกข์ก็หายไป ความโกรธเกิดจากเราเอง เราไปโกรธเอง ในเมื่อเราโกรธเอง เราก็ต้องหยุดเอง ก็อย่าโกรธเท่านั้น วิธีอย่าโกรธก็คืออย่าไปถือสาเขา ที่เราโกรธเพราะเราอยากให้เขาทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ พอเขาไม่ทำเราก็โกรธ แต่ถ้าเราไม่ไปอยากสักอย่าง เขาจะทำอะไรเราก็ไม่โกรธ การละสักกายทิฏฐิต้องทำอย่างไร ถาม: การละสักกายทิฏฐิต้องทำอย่างไรครับ พระอาจารย์: ก็ต้องสอนใจว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเรานั่นเอง เป็นของดินน้ำลมไฟ ทำมาจากดินน้ำลมไฟ แล้วเดี๋ยวก็ต้องกลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟไป เหมือนกับสอนคนโบราณว่า โลกนี้มันไม่แบนนะ โลกนี้มันกลม เท่านั้นเอง ความหลงทำให้คนสมัยโบราณคิดว่าโลกนี้แบน แต่พอนักวิทยาศาสตร์มาชี้เหตุชี้ผลให้เห็น ก็เห็นว่ามันกลม อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้ามาบอกพวกเรา พวกเราก็จะคิดว่าร่างกายเป็นตัวเรา พอพระพุทธเจ้าบอกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เป็นของที่พ่อแม่มอบให้กับเรา เป็นเหมือนตุ๊กตาตัวหนึ่ง เราเป็นดวงวิญญาณผู้ไม่มีร่างกาย ผู้ต้องการมีร่างกาย เพื่อจะได้ใช้ร่างกายพาเราไปทำอะไรต่างๆ ต้องรู้ว่าเราไม่ใช่ร่างกาย เราคือใจ ผู้รู้ผู้คิด ผู้สั่งให้ร่างกายทำอะไรต่างๆ ร่างกายไม่ใช่เรา แล้วเราไปควบคุมบังคับให้มันไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติของร่างกายของทุกคน นี่คือสักกายทิฏฐิ การละสักกายทิฏฐิ ละแบบนี้ แล้วต่อไปก็จะไม่ทุกข์กับความเป็นความตายของร่างกาย ความเจ็บไข้ได้ป่วยของร่างกาย มันจะเป็นก็ปล่อยมันเป็นไป รักษาได้ก็รักษาไป มันจะตายถ้าห้ามมันได้ ก็ห้ามมัน ถ้าห้ามมันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยมันตายไป นี่คือการละสักกายทิฏฐิ เป็นอย่างนี้ แต่ใจจะไม่ทุกข์กับความเป็นความตายของร่างกายอีกต่อไป ไม่มากังวลว่าจะเป็นโรคนั้น จะเป็นโรคนี้ จะตายแบบนั้น จะตายแบบนี้ มันไม่หวั่นไหว มันรู้ว่าเราไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ใจไม่ได้ตายไปกับร่างกาย การได้เกิดเป็นมนุษย์สักชาติหนึ่งมันยากไหมครับ ถาม: จิตแต่ละดวงต้องเวียนว่ายตายเกิด เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดเลยหรือครับ การได้เกิดเป็นมนุษย์สักชาติหนึ่งมันยากไหมครับ พระอาจารย์: ก็ยาก เพราะว่าก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ อาจจะต้องไปใช้บุญใช้บาปที่ได้ทำไว้ก่อน แล้วก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วก็อยู่ได้ไม่นานก็ตายไป แต่การมาเกิดเป็นมนุษย์ในแต่ละครั้ง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้มาเจอพระพุทธศาสนา ถ้าไม่เจอพระพุทธศาสนา ก็ไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก เพราะไม่มีผู้สอนทางสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง งั้นตอนนี้ถ้าเรามาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว แล้วเราเจอพระพุทธศาสนาแล้ว เรารีบฉวยโอกาสนี้ คว้าโอกาสนี้ให้มาอยู่ในกำมือเราดีกว่า อย่าปล่อยให้มันหลุดมือไป แล้วเราจะได้ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีกต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 87.0.4280.141
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 27 มกราคม 2564 11:36:05 » |
|
บุฟเฟต์ใช้กุ้งสดปูเป็น แต่ผมไม่ได้ทาน จะบาปไหม ถาม: ผมจัดทริปดูงานแล้วมีการพาคณะไปทานบุฟเฟ่ต์ทะเล สุดท้ายพบว่าที่ร้านใช้กุ้งสดปูเป็น แต่ผมไม่ได้ทาน แต่คณะทานกันอย่างเอร็ดอร่อย ผมจะได้รับส่วนบาปไหมครับ และแก้บาปได้อย่างไรครับ พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าเราไม่ได้รับประทาน เราก็ไม่มีส่วน ถ้าเรากินผักกินข้าว ไม่ได้กินเนื้อสัตว์ที่เขาสั่งกับข้าวมา เราก็ไม่มีส่วนร่วมด้วย ถึงแม้เรากินก็ไม่บาป ถ้าเราไม่ได้มีส่วนไปสั่งเขา ไปบอกเขา พี่ ช่วยสั่งอาหารชนิดนั้น อาหารชนิดนี้ พอไปแล้วเขาสั่งมาให้ เหมือนพระนี่ โยมไปซื้อมาจากร้าน ปูเป็นปลาเป็นแล้วก็มาใส่บาตรนี่ พระก็กินได้ พระไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยบริจาคร่างกายกับโรงพยาบาลจะได้บุญไหมถาม: การที่เราไปบริจาคร่างกายกับโรงพยาบาล จะได้เกิดประโยชน์กับนักศึกษาแพทย์ เราจะได้บุญไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: ได้ถ้าเราให้ตอนที่เรายังไม่ตาย จะได้ บอกหมอเอาไปเลย หมออยากจะเอาไปผ่าให้คนไข้ดูตอนนี้ เอาไปเลย ยินดี อยากจะเอาตับเอาไตไปแจกใครก็เอาไป ถ้าให้ตอนที่ยังไม่ตายนี่ได้อยู่ ได้บุญเยอะ เหมือนบริจาคเลือดนี่ ให้ตอนที่ไม่ตาย แต่เวลาตายนี้ ไม่ได้ให้ เพราะร่างกายไม่ได้เป็นของเราซะแล้ว เราทิ้งมันซะแล้ว เราไปคนละทิศคนละทางแล้ว งั้นร่างกายมันจะไปไหน มันไม่ได้เป็นของเราแล้ว เราก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไร เราไม่ได้รู้สึกว่าเราได้เสียสละอะไรไปตอนที่เราตาย งั้นถ้าอยากจะบริจาค ก็ต้องบริจาคตอนที่เรายังไม่ตาย การเขียนพินัยกรรมนี้เป็นเพียงแต่การบอกกล่าว บอกเป้า ยังไม่ได้เป็นการกระทำ บุญจะเกิดขึ้นต้องเกิดจากการกระทำ ไม่ได้เกิดจากการทำสัญญา เหมือนทำสัญญาว่า ผมจะบริจาคเงินให้ท่านล้านหนึ่งอย่างนี้ แต่ไม่เคยได้บริจาคสักที มันก็ไม่ได้บุญสักที มันต้องให้ ถึงจะได้บุญ ถ้ารู้ด้วยปัญญาจะสงบอย่างถาวรถาม: จิตที่ฝึกมาดีแล้วและหยุดความอยากได้อย่างถาวร ซึ่งต่างกับจิตที่มาจากสมาธิ จะหยุดความอยากได้แต่ไม่ถาวร ขอความเมตตาจากพระอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ที่หยุดได้ถาวรเพราะมีปัญญาเห็นโทษของความอยาก เห็นทุกข์จากสิ่งที่ไปอยากได้ ได้สิ่งนั้นมาแล้ว เดี๋ยวต้องทุกข์ เหมือนถ้าเรารู้ว่าถ้ากินเครื่องดื่มนี้แล้วจะเป็นมะเร็ง เราจะกล้ากินไหมแต่ถ้าไม่รู้ ก็กินเอร็ดอร่อย ใช่ไหมแต่พอเขาไปวิจัยพบว่าเครื่องดื่มชนิดนี้ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งขึ้นมา พอรู้ปั๊บนี่ เลิกกินกันเลย อันนี้ก็เหมือนกัน นั่นคือปัญญา รู้ว่ามันเป็นพิษเป็นภัยต่อเรา ไปกินมันทำไม ใช่ไหมความอยาก สิ่งที่เราอยากได้มันก็เป็นทุกข์ ทำให้เราทุกข์ ได้อะไรมาแล้ว เดี๋ยวก็ตายจากเราไป รู้สึกยังไง เสียใจไหมนั่นแหละ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องเสียใจ ใช่ไหมเพราะว่าไม่มีอะไรจะเสีย พอมีอะไรแล้ว เดี๋ยวมันก็เสีย เพราะของทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นของชั่วคราว ต้องให้เห็นว่ามันเป็นของชั่วคราว แล้วเราห้ามมันไม่ได้ สั่งให้มันไม่ชั่วคราวไม่ได้
งั้นถ้าไม่อยากจะทุกข์ เวลาที่มันจากเรา ก็อย่าไปมีมันซะ ก็หมดเรื่อง อยู่กับสิ่งที่ไม่จากเราดีกว่า คือความสงบ ความว่าง ความที่ไม่มีความอยาก อย่างเวลาเราไม่มีความอยาก ใจเราสบายไหมนั่งอยู่เฉยๆ ได้ ทำอะไรได้ ไม่มีเรื่องวุ่นวาย พออยากขึ้นมาปุ๊บนี้ กินไม่ได้นอนไม่หลับขึ้นมาแล้ว ให้เห็นโทษของความอยาก แล้วต่อไปมันจะไม่อยาก แต่ถ้าใช้สติเวลามันอยาก เวลาไม่สบายใจ ก็ไปพุทโธพุทโธ มันนิ่ง มันก็สงบแต่มันไม่รู้ว่าอะไรเป็นตัวที่ทำให้เราสงบ อะไรที่ทำให้เราวุ่นวาย ต้องมีปัญญาถึงจะรู้ ถ้ารู้ด้วยปัญญาแล้ว ทีนี้ก็จะสงบอย่างถาวร ความอยากก็จะหายไปอย่างถาวร อยากสูบบุหรี่ก็เลิกสูบบุหรี่ อยากกินเหล้าก็เลิกกินเหล้า อยากมีแฟนก็เลิกมีแฟน อยู่คนเดียวดีกว่า สบายใจกว่า ให้สงวนส่วนต่างประสานส่วนเหมือนถาม: ความสามัคคีในชาติ จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ท่ามกลางความคิดที่แตกต่างกันคะ พระอาจารย์: ก็เกิดมาตั้งนานแล้วนี่ ประเทศเราก็อยู่กันอย่างสามัคคีมาตลอด เรามีจุดรวมใจของพวกเรา ตอนนี้เราอาจจะขาดจุดรวมใจ ก็เลยทำให้เกิดมีความไม่รู้จะไปยึดไปอาศัยใครมาเป็นจุดรวมใจ เท่านั้นเอง ฉะนั้นก็ต้องพยายามทำตัวเราอย่าให้ไปแตกแยกสามัคคีกับใครก็แล้วกัน ถึงแม้จะมีความเห็นไม่ตรงกัน ก็สงวนไว้ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ให้สงวนส่วนต่าง ประสานส่วนเหมือน อันไหนที่เราไม่เห็นด้วยก็อย่ามาพูดมาเถียงกัน เอามาพูดแต่เรื่องที่เราเห็นด้วย เห็นพ้องต้องกันว่าชาติต้องอยู่ต่อไป ชาติต้องเจริญ คนเราต้องรักสามัคคีกัน อย่างนี้ อย่าเอาความคิดต่างว่า ฉันชอบอย่างนั้น ฉันไม่ชอบอย่างนี้มาพูดกัน พูดกันแล้วเดี๋ยวก็ตีกัน ความอยากเกิดจากจิตหรือจากสมองถาม: การสั่งกายให้ทำสิ่งต่างๆ ตามความอยากหรือกิเลส ทางธรรมว่าเกิดจากจิต ส่วนทางแพทย์ว่าเกิดจากสมอง กราบนมัสการพระอาจารย์ชี้ทางสว่างให้ด้วยค่ะ ติดตรงนี้มาก ว่าเป็นสมองมานานแล้วค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ มันจะมาทางไหนไม่สำคัญหรอก สำคัญก็คือต้องกำจัดมัน มันจะมาทางสมองหรือมาทางใจ มันก็มาสร้างความทุกข์ให้กับใจนั่นแหละ เพราะเวลาเกิดความอยากขึ้นมา ใจจะไม่สบายแล้ว อยากจะได้อะไรนี่ เช่น อยากจะได้ตำแหน่งอย่างนี้ ทีนี้ก็นอนกระวนกระวายแล้ว เอ๊ะ จะได้หรือเปล่า สิ้นปีนี้เขาจะเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้กับเราหรือเปล่า จะสร้างความกระวนกระวายกระสับกระส่ายขึ้นมา แต่คนที่ไม่มีความอยากเขานอนหลับสบาย เพราะเขาไม่มีอะไรมาทำให้เขาต้องกังวลนั่นเอง งั้นไม่ต้องไปสนใจที่มาของมันว่าอยู่ที่ไหน อยู่ที่สมองหรืออยู่ที่ใจ อันนี้ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ แต่มันจะรู้เองถ้าเราปฏิบัติไปเรื่อยๆ เราจะรู้ว่ามันไม่ได้อยู่ที่สมอง มันอยู่ที่ใจ แต่ตอนนี้ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร ขอให้รู้ว่ามันไม่ดี แล้วต้องหยุดมันให้ได้ วิธีที่จะหยุดมันก็ต้องหยุดความคิดถึงเรื่องที่จะทำให้เราอยาก คิดถึงขนมก็อยากกินขนม เราก็หยุดความคิดนั้น เช่น เราก็ใช้พุทโธพุทโธหยุดไป คิดถึงขนมเราก็พุทโธพุทโธไป หรือถ้าอยากจะใช้ปัญญาก็ เวลาคิดถึงขนมอยู่ในปาก แล้วมันน่ากินไหม อย่าไปคิดถึงขนมที่มันอยู่ในจาน เห็นขนมอยู่ในจานแล้วน้ำลายไหล พอเห็นขนมที่อยู่ในปากนี่ พอเราคายออกมานี่ เราตักเข้าไปในปาก ตักไปกินใหม่ได้หรือเปล่า อันนี้ก็จะทำให้เราหยุดความอยากได้ ปัญญาอบรมสมาธิปฏิบัติอย่างไรถาม: ปัญญาอบรมสมาธิต้องปฏิบัติอย่างไรคะ พระอาจารย์: ใช้ไตรลักษณ์ไง เช่น เวลาเรากังวลกับเรื่องงานเรื่องการ กลัวจะตกงานหรือกังวลกับเรื่องโควิดอะไรนี้ ก็ใช้ปัญญาพิจารณาว่าร่างกายนี้เดี๋ยวก็ต้องตาย จะตกงานไม่ตกงาน จะมีโควิดไม่มีโควิดเดี๋ยวถึงเวลามันก็ต้องตาย ถ้ายอมรับความตายได้ มันก็สงบ มันก็ไม่กลัวโควิด ไม่กลัวเรื่องตกงานตกการอะไรต่างๆ โพชฌงค์ ๗ถาม: กราบถามพระอาจารย์ค่ะ ขอความกรุณาพระอาจารย์อธิบายเรื่องโพชฌงค์ให้เข้าใจโดยง่ายเจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ พระอาจารย์: โพชฌงค์นี้มันก็เป็นมรรคแหละ เป็นมรรค ๘ เพียงแต่มันมี ๗ เท่านั้นเอง เรียกว่า “โพชฌงค์” แต่มันก็เป็นตัวมรรค แต่เป็นตัวมรรคที่เป็นอยู่สำหรับผู้ที่เป็นพระอริยะมากกว่า โพชฌงค์นี่ สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนก็ให้เจริญมรรค ๘ ไป เพราะโพชฌงค์นี้มันจะเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ สติ สมาธิ อะไรต่างๆ ไปอ่านดูมีอยู่ ๗ ข้อด้วยกัน มันเป็นเรื่องของผู้ที่เข้าถึงตรงจิตได้แล้ว ผู้ที่มีสมาธิแล้ว แต่ผู้ที่ยังไม่เข้าถึงตัวจิตนี้ ก็ให้ใช้มรรค ๘ ไป ทำบุญทำทาน รักษาศีล ภาวนาไป ก็แค่นั้น มันเป็นมรรคเหมือนกัน แต่อยู่คนละระดับ ความหมายของการสวดโพชฌงค์ถาม: ขอทราบความหมายของการสวดโพชฌงคปริตร เนื่องจากโยมอ่านคำแปลจากกูเกิ้ล แต่ยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนเจ้าค่ะ พระอาจารย์: โพชฌงค์ก็เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่สอนให้ผู้ที่ต้องการจะตรัสรู้หรือบรรลุธรรม ต้องมีธรรมเหล่านี้ โพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ใช่ไหมโพชฌงค์ ๗ ต้องมีสติ ต้องมีปัญญา ต้องมีธัมมวิจโย คือปัญญา ต้องมีสมาธิ ต้องมีอุเบกขา เท่านั้นเอง ก็เป็นธรรมะที่ผู้ต้องการที่จะทำให้จิตหลุดพ้นจากความทุกข์ต้องมี พอคนที่ไม่สบายปฏิบัติโพชฌงค์ได้ ก็หายทุกข์จากความไม่สบาย ไม่ได้หมายความว่าหายจากร่างกายไม่สบาย ร่างกายก็ยังไม่สบายอยู่ แต่ใจไม่ทุกข์กับความไม่สบายของร่างกาย ความหมายเป็นอย่างนั้น บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคมะเร็ง เป็นอะไร ก็สวดโพชฌงค์กันไป เดี๋ยวก็หาย อย่างนั้นก็ไม่ต้องไปมีโรงพยาบาลให้เสียเวลา เสียเงินเสียทอง ใช่ไหม มันไม่หายหรอก
แม้แต่พระพระพุทธเจ้ายังไม่หายจากโรคภัยไข้เจ็บเลย โรคภัยไข้เจ็บมันเป็นเรื่องของร่างกาย แต่ที่หายก็คือความทุกข์ใจ เท่านั้นเอง ที่ท่านสอนนี่ ท่านสอนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ใจ พอใจไม่ทุกข์แล้ว ตอนต้นก็นอนไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง กลับลุกขึ้นมาเดินได้เหมือนคนหาย มันไม่ได้หายหรอก เพียงแต่ว่ามันมีกำลังใจ มันไม่กลัวตาย มันไม่กลัวเจ็บ งั้นมันอยู่ที่พลังใจ เห็นไหมเวลาไฟไหม้นี่ คนแบกอะไรของหนักๆ ธรรมดาเคยแบกไม่ได้ ทำไมแบกได้ ใช่ไหมเพราะมันมีกำลังใจขึ้นมา พลังใจนี่อย่าประมาทนะ มันใหญ่ยิ่งนะ อยู่เหนือร่างกายนะ ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว พอใจสั่งให้ร่างกายทำอะไร มันต้องทำตามทันที ถ้าทำได้มันทำตามทันที ยกเว้นมันทำไม่ได้จริงๆ อย่างมันพิการอย่างนี้ สั่งมันยังไงมันก็ไม่ทำ มันก็ช่วยไม่ได้ แต่ถ้าบางทีเจ็บนิดหน่อย โอ๊ย ไม่มีเรี่ยวไม่มีแรง อย่างนู้นอย่างนี้ ไม่อยากไปทำงาน ไม่อยาก พอใจมีพลังขึ้นมา โอ๊ย ลุกขึ้นมาได้ พอเพื่อนชวนไปเที่ยวนี่ ใช่ไหมนั่นแหละคือความหมายของการสวดโพชฌงค์ คือการสร้างธรรมะ ๗ ข้อนี้ขึ้นมาในใจให้ได้ ถ้ามีธรรมะ ๗ ข้อนี้แล้วจะมีพลัง ใจจะไม่ทุกข์ ใจจะไม่กลัวความเจ็บความตายของร่างกาย ความเจ็บความตายจะไม่มาทำให้ใจอ่อนแอ ใจจะมีพลัง สามารถสั่งให้ร่างกายลุกขึ้นมาทำอะไรได้ถ้าทำน้อยลงก็ถือว่าก้าวหลังถาม: นั่งภาวนาพุทโธทุกวัน ครั้งละหนึ่งชั่วโมง ไม่ค่อยสงบแต่มีความสุขมาก อย่างนี้ไม่มีความก้าวหน้าใช่ไหมเจ้าคะ คือทำอยู่อย่างนี้หลายปีแล้ว วันพระก็รักษาศีล ๘ เจ้าค่ะ พระอาจารย์: ก็มีความสุขก็ถือว่าใช้ได้ นั่งสมาธิก็เพื่อความสุขนั่นเอง งั้นถ้าเราสุข ถึงแม้จะไม่สงบก็แสดงว่ามันยังไม่สงบเต็มที่ แต่มันไม่ฟุ้งซ่าน มันไม่คิดวุ่นวายใจ ไม่มีเรื่องวุ่นวายใจ มันก็มีความสุขได้ ก็เป็นความสุขระดับต้น เป็นความสงบระดับต้นๆ ยังไม่สงบเต็มที่ ก็ถือว่าดี ถ้าอยากจะให้ก้าวหน้าก็ต้องปฏิบัติมากขึ้น ถ้าปฏิบัติ ๑๐ ปี วันละชั่วโมง มันก็ได้เท่าเดิม ถ้าอยากจะได้เพิ่มก็ต้องเพิ่มเป็น ๒ ชั่วโมง เป็น ๓ ชั่วโมง เป็น ๔ ชั่วโมงไป ถึงจะก้าวหน้าขึ้นไป ถ้าทำเท่าเดิมมันก็ไม่ถือว่าก้าวหน้า อยู่ที่เดิม ถ้าทำน้อยลงก็ถือว่าก้าวหลัง การวางขันธ์ถาม: การวางขันธ์นี่วางยังไงคะพระอาจารย์ พระอาจารย์: ก็ปล่อยมันไง มันจะแก่จะเจ็บจะตาย ก็ปล่อยมันแก่เจ็บตายไป มันจะเจ็บก็ปล่อยมันเจ็บไป มันจะไม่เจ็บก็ปล่อยมันไม่เจ็บไป อย่าไปยุ่งกับมัน ถาม: ไม่ต้องยุ่งกับมัน ก็คือเราอยู่ของเราในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์: ให้สักแต่ว่ารู้ อย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ คือความอยากนี่เป็นตัวที่ทำให้เราไม่ได้ปล่อยวาง ถ้าเราไม่มีความอยากก็ถือว่าเราปล่อยวาง ถาม: ก็คือเห็นมันตามสภาพ ปล่อยมันไปตามสภาพตามความเป็นจริง ณ ตอนนี้ พระอาจารย์: เออ แต่บางทีก็ต้องมีเหตุผลปล่อย ถ้ายังต้องดูแลมันก็ต้องดูแลมันไป บางคนปล่อยแบบไม่ดูแลเลย น้ำไม่อาบ หนวดไม่โกน..แต่กินอยู่ อะไรอย่างนี้ แสดงว่ามันไม่ได้ปล่อยจริง ปล่อยแบบขี้เกียจ คือปล่อยในสิ่งที่เราทำอะไรไม่ได้แล้ว เช่น เวลามันเจ็บนี้ ทำอะไรไม่ได้ก็ต้องปล่อยมันเจ็บไป แต่ถ้าเรายังมีหน้าที่เลี้ยงดูมันก็ต้องเลี้ยงดูมันไป อาบน้ำ หวีเผ้าหวีผม อะไรไป ไม่ใช่ปล่อยแบบไม่มีการดูแลอะไร ปล่อยไปเหมือนคนเสียสติอย่างนี้ ปล่อยอย่างนั้น ไม่ใช่ เขามีกรรมของเขาถาม: ลูกสาวหนูเกเรมาก อายุ ๒๗ ปีแล้วค่ะ หนูปฏิบัติธรรม แผ่เมตตาให้เขาตลอด แต่ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยค่ะ หนูควรทำอย่างไรดีคะ หรือมันเป็นกรรมคะ พระอาจารย์: อ๋อ การแผ่เมตตา มันไม่ได้ไปทำให้เขาเปลี่ยนได้ มันเป็นเรื่องของกรรมของเขา เขามีกรรมของเขา เขาเป็นอย่างนี้มา เราทำได้ก็สอนเขา ถ้าเขาสนใจ ว่าเราควรจะเปลี่ยนนิสัย นิสัยไม่ดีก็อย่าไปทำ ทำแต่นิสัยที่ดี ความจริงงานศพนี้ไม่ต้องสวดก็ได้ถาม: อาจารย์ครับ เราจะไปฟังสวดอภิธรรม เราจะเอาอะไรมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่เราครับ พระอาจารย์: คือการสวดอภิธรรมนี้ มันเป็นสวดภาษาบาลี ซึ่งเราฟังไม่เข้าใจ ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไร ถ้าเราอยากจะเข้าใจความหมาย เราก็ต้องไปเปิดในเน็ตดู บทสวดอภิธรรมว่าเขามีความหมายแปลว่าอะไรบ้าง คือเขาเอาธรรมะมาสวดให้เราฟัง ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน กุสลาก็แปลว่ากุศล อกุสลาแปลว่าอกุศล อัพยากตา ก็คือไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล คือธรรมทั้งหลายเป็นอย่างนี้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด ธรรมที่เป็นกุศลก็มี ธรรมที่เป็นอกุศลก็มี ธรรมที่เป็นกลางๆ ก็มี อันนี้เป็นการเอาธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสวด เท่านั้นเอง เป็นพิธีกรรม มันไม่มีอะไร ความจริงงานศพนี้ไม่ต้องสวดก็ได้ เพราะงานศพเป็นงานเผา เผาศพ ที่เขาอยากจะให้มีอะไรแก้เหงามั่ง ก็เลยนิมนต์พระมาสวด เท่านั้นเอง แต่ถ้าอยากจะสอน ถ้าจะให้พระสอน ถ้าให้สวดเป็นภาษาไทยจะดีกว่า คนฟังจะได้เข้าใจว่าท่านกำลังสวดเรื่องอะไรบ้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.190
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 14 มีนาคม 2564 16:15:36 » |
|
กาลเทศะ ความเหมาะสม ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ การที่ชอบนั่งภาวนาเฉยๆ โดยที่มีเหตุผลว่า การนั่งภาวนาได้บุญมากกว่าการทำงานช่วยวัดอย่างอื่น เราต้องฉลาดทำบุญ แบบนี้จะกลายเป็นว่าขี้เกียจหรือเห็นแก่ตัวหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องดูกาลเทศะ ดูความเหมาะสม ถ้าคนอื่นเขาทำงานกัน เราอยู่ร่วมกับเขาเราก็ต้องช่วยกัน ไม่ใช่มาอ้างว่าตอนนี้ขอนั่งสมาธิ แต่พอเวลาเขากินก็มาขอร่วมกินด้วย ก็ต้องรู้จักเวลา รู้กาลเทศะ บุญแต่ละชนิดมีเวลาของมัน ถึงเวลาที่ต้องช่วยเหลือกันก็ต้องทำบุญชนิดนี้ไป ถึงเวลาที่แยกไปนั่งสมาธิก็ไปนั่งสมาธิกันไป การถือเนสัชชิก ถาม: การฝึกปฏิบัติโดยไม่นอน ๓ วัน ๕ วัน ทำอย่างไรครับ พระอาจารย์: อ๋อ นี่มันเป็นความสามารถของผู้ปฏิบัติ ผู้ที่เขามีพลังจิตสูงๆ แล้วเขาไม่อยากจะเสียเวลา เขาอยากจะบรรลุธรรมภายใน ๕ วัน ๗ วัน เขาก็เลยเร่งความเพียร เขามีพลังจิต ถ้าจิตมีสมาธิ จิตมันไม่ค่อยง่วงนอน จิตมันจะตื่นอยู่ตลอดเวลา แต่เขาอาจจะพักบ้างแต่ไม่ได้พักในท่านอน คนที่เขาถือเนสัชชิกนี่ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ได้นอนนะ ไม่ได้พักหลับนอน ไม่หลับ แต่ไม่ได้หลับในท่านอน จะหลับอยู่ใน ๓ ท่า ท่าใดท่าหนึ่ง ท่าเดิน ท่ายืน ท่านั่ง ส่วนใหญ่จะหลับในท่านั่งกัน แต่มันจะหลับไม่นานเพราะมันไม่สบาย พอร่างกายมันไม่ไหวจริงๆ มันก็จะหลับ พอร่างกายได้พัก พอมีแรงหน่อยมันก็ตื่นขึ้นมา แค่ชั่วโมงสองชั่วโมงก็ตื่นแล้ว แต่ถ้านอนนี้มันยาวไปเลย ๖ ชั่วโมง ๘ ชั่วโมง นี้มันทำให้เสียเวลาของการปฏิบัติ เขาก็เลยถือเนสัชชิก ถือ ๓ อิริยาบถ จะหลับก็ให้หลับอยู่ใน ๓ อิริยาบถนี้ แต่ไม่ให้หลับในอิริยาบถนอน อันนี้คือเรื่องของการปฏิบัติแบบไม่นอน แต่ไม่ใช่หมายความว่าไม่หลับ ต้องหลับกัน ร่างกายมันถึงเวลาต้องหลับมันก็หลับไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหน เพียงแต่ว่าจะไม่ให้มันหลับในท่านอน เท่านั้นเอง ความหมายไม่ใช่ไม่ให้นอน ไม่ใช่ว่าไม่ได้พักผ่อนหลับนอน ร่างกายมันพอถึงเวลามันต้องพักผ่อนหลับนอน จะไปถือยังไงอดยังไงมันก็ฝืนไม่ได้ ถึงเวลามันจะหลับมันหลับได้ทั้งขณะที่ยืน เชื่อไหม เวลามันจะหลับ เพราะฉะนั้น ไอ้ที่เขาว่าไม่หลับไม่นอน ๓ วัน ๕ วันนี้หมายถึง ไม่หลับนอนในอิริยาบถท่านอน แต่อาจจะหลับในท่าเดินท่ายืนท่านั่งได้ ถาม: มีอุบายในการฝึกไหมครับ พระอาจารย์: อ๋อ ก็นี่แหละเราต้องฝึกสติฝึกสมาธิ ให้จิตมีพลังก่อน แล้วเห็นนิพพานอยู่ริบรี้ริบไรนี้ มันก็จะเกิดความอยากที่จะปฏิบัติแบบไม่หลับไม่นอนเอง จิตมีกี่ดวง ถาม: ขอสอบถามครับ จิตมีดวงเดียวหรือมีกี่ดวง เห็นบางคนบอกในตำราบอกว่ามี ๙๘ ดวงครับ พระอาจารย์: อ๋อ จิตมีดวงเดียว แต่มีหลายอาการ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ชั่ว เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ เดี๋ยวก็บ้า จิตดวงเดียวกันทั้งนั้นแหละ แต่มันเปลี่ยนอาการไป เป็นเหมือนดาราภาพยนตร์นี่ แสดงหลายบทใช่ไหม หนังเรื่องนี้ก็แสดงเป็นพ่อ หนังอีกเรื่องก็เป็นลูก เป็นคนดี เป็นคนชั่ว ไม่มีอะไร เป็นการแสดงของจิต แต่มีจิตดวงเดียว ทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาทำอย่างไร ถาม: อยากจะถามพระอาจารย์ว่า การทำบุญให้กับบุตรที่ล่วงลับไปแล้ว ตามหลักพระพุทธศาสนาทำอย่างไร หรือว่าหลักการที่ถูกต้องครับผม พระอาจารย์: คือ การทำบุญทางพระพุทธศาสนา ก็โดยทั่วไปก็ให้ทำกับพระก่อน ทำกับพระ ทำกับวัด เช่น บริจาคเงินให้วัด ถวายสังฆทาน สร้างกุฏิ หรือทำอะไรเหล่านี้ก็สามารถอุทิศบุญนี้ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ แต่ถ้าพูดตามหลักของเรื่องบุญแล้วนี้ บุญเกิดจากการเสียสละการให้ทานของเรา ไม่ได้อยู่กับที่ผู้รับว่าเป็นใคร ให้ใครแล้วเราเกิดความสุขใจ อันนั้นก็เป็นบุญ แล้วเราก็สามารถแบ่งความสุขใจนั้นให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้เหมือนกัน ก็จะใส่บาตรก็ได้ จะบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลก็ได้ ให้โรงเรียนก็ได้ ทำแล้วเรามีความสุขใจ เราก็สามารถอุทิศบุญนี้ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้ แต่ถ้าพูดตามรูปแบบ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ก็ให้กับนักบวชก่อน กับพระพุทธศาสนา เพราะนักบวชนี้เขาต้องพึ่งการให้ทานของผู้อื่น ถึงจะอยู่ได้ ยกเว้นว่าถ้ามีมากแล้ว ก็สามารถไปทำที่อื่นแทนก็ได้ ถ้าอยากจะทำที่อื่น แต่เบื้องต้นทำกับนักบวชนี้จะได้ประโยชน์มาก เพราะนักบวชนี้มีแต่ทำความดีให้กับโลก เป็นที่พึ่งของโลก พระสงฆ์เป็นพระรัตนะ หนึ่งในพระรัตนตรัย ที่เราควรที่จะสนับสนุน แต่ก็ไม่ได้เป็นการบังคับ ถ้าเราอยากจะทำบุญกับบุคคลอื่นก็ได้ ไปทำแล้วมันอาจจะไม่รู้สึกเหมือนกับได้บุญ ก็อันนี้ก็แล้วแต่ความรู้สึก ฌานสมาบัติกับอัปปนาสมาธิให้ผลกับใจต่างกันอย่างไร ถาม: พอออกจากอัปปนาสมาธิกิเลสต่างๆ ถูกอำนาจของสมาธิทับไว้ไม่แสดงขึ้นมา ใจมีแต่ความอิ่มไม่ค่อยอยากพูดกับใครครับ อยากหาแต่ที่สงบอยู่ แต่ทำไมผู้ที่สำเร็จฌานสมาบัติอย่างฤาษีในสมัยก่อนถึงแข่งกันแสดงฤทธิ์ต่างๆ ฌานสมาบัติกับอัปปนาสมาธิให้ผลกับใจต่างกันอย่างไรครับ พระอาจารย์: คือสมาธินี่เป็น ๒ แบบไง แบบที่มีอภิญญากับแบบที่ไม่มีอภิญญา ถ้าเป็นอัปปนาสมาธินี้ก็จะไม่มีอภิญญา แต่ถ้าได้อัปปนาแล้วออกไปทางอุปจารสมาธิ ก็จะมีอภิญญาตามมา งั้นคนที่มีอภิญญาเขาก็แสดงอภิญญาได้ ระลึกชาติได้ อ่านวาระจิตของผู้อื่นได้ อะไรทำนองนี้ พวกที่ได้อัปปนาไม่ออกไปทางอุปจาระก็จะไม่ได้อภิญญา แต่ได้อัปปนาดีกว่าได้อุปจาระ เพราะอัปปนาได้อุเบกขา ถ้าออกจากอัปปนาไปอุปจาระจะเสียอุเบกขาไป แต่จะได้อภิญญาแทน ถ้าต้องการไปทางวิปัสสนา ก็ต้องมีอุเบกขาถึงจะไปได้ ถ้ามีอภิญญาไปไม่ได้ อภิญญาไม่มีอุเบกขาที่จะเป็นกำลังในการต่อสู้กับกิเลสตัณหาต่างๆ ดังนั้นพระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ท่านถึงสอนว่าอย่าไปทางอุปจาระ ให้อยู่ในทางของอัปปนาเพื่อจะได้มีอุเบกขา จิตออกมาแล้วอิ่ม มีกำลังที่จะต้านความอยากต่างๆ ได้ พอใช้ปัญญาพิจารณาโทษของความอยาก มันก็จะดับความอยากได้ทันที แต่ถ้าไปทางอุปจาระ พอออกมาแล้วไม่มีความอิ่มเอิบใจ พอเกิดความอยากขึ้นมาก็สู้ไม่ได้ อยากให้พ่อแม่เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย ถาม: การทำบุญกับบิดามารดาที่ดีก็คือ การส่งเสริมให้ท่านได้เข้าถึงพระรัตนตรัย อย่างนี้ถูกไหมครับ พระอาจารย์: ถ้าทำได้แต่ถ้าทำไม่ได้อย่างน้อยก็ต้องทำที่ร่างกายก่อน ให้ท่านอยู่ดีกินดีก่อน เจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องคอยดูแลรักษาท่านไป ส่วนเรื่องเข้าถึงพระรัตนตรัยได้หรือไม่นี่ก็อยู่ที่ศรัทธาของท่านด้วย ถ้าท่านไม่มีศรัทธาก็อาจจะไม่ยอมเข้าก็ได้ งั้นวิธีเดียวที่จะทำให้ท่านเข้าได้ ก็ต้องพาท่านไปหาพระรัตนตรัยแท้ๆ ไปหาพระจริง ไปหาพระอริยสงฆ์อย่างนี้ ถ้าท่านได้ฟังจากพระอริยสงฆ์แล้วก็อาจจะเกิดศรัทธาขึ้นมาได้ คนบางคนเล่าให้ฟังว่าไปฟังเทศน์ที่ไหนก็ไม่เกิดศรัทธา พอไปฟังจากหลวงตามหาบัวแค่นี้เกิดศรัทธาขึ้นมา จิตใจใฝ่หาอยากจะไปฟังเทศน์ฟังธรรมจากหลวงตาอยู่ตลอดเวลา เพราะธรรมแท้กับธรรมปลอมมันไม่เหมือนกัน พระแท้กับพระปลอมไม่เหมือนกัน เหมือนทองแท้กับทองเก๊ไม่เหมือนกัน ใช่ไหม งั้นถ้าอยากจะให้พ่อแม่เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย ต้องเข้าหาพระอริยะ พระรัตนะ สังฆรัตนะ แล้วก็จะเกิดศรัทธาได้ พิจารณาวิญญาณในขันธ์ ๕ อย่างไร ถาม: กราบเรียนท่านขอวิธีพิจารณาค่ะ อย่างเช่น ถ้าเราจะพิจารณาวิญญาณในขันธ์ ๕ จะมีวิธีพิจารณายังไงคะ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่ต้องหรอก ในขันธ์ ๕ นี้ ให้พิจารณาเวทนาเท่านั้นเอง มันมาเป็นทีม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่มาร่วมกัน ตัวที่มันเด่นที่สุดที่เป็นปัญหาก็คือเวทนา โดยเฉพาะทุกขเวทนา ให้พิจารณาว่ามันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เดี๋ยวสุขบ้าง เดี๋ยวทุกข์บ้าง เดี๋ยวไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง เป็นธรรมชาติของมัน จะไปให้มันสุขอย่างเดียวไม่ได้ จะไม่ให้มันทุกข์ ไม่ให้มันเกิดไม่ได้ มันต้องเกิด แล้วเมื่อมันเกิดเราก็ไปห้ามมันไม่ได้ มันเป็นอนัตตา สิ่งที่เราทำได้ก็คืออยู่กับมัน ทำใจเฉยๆ อยู่กับมันไป อย่าไปรัก อย่าไปชัง อย่าไปเลือกที่รักมักที่ชัง มันจะเกิดตัณหาความอยากขึ้นมา แล้วจะเกิดความทุกข์ใจ ถาม: คือ เท่าที่เคยศึกษาดูนะคะ มันก็เลยมีปัญหา โดยเฉพาะว่า นั่นก็ไม่ใช่ของของเรา เช่น เราก็ต้องพิจารณาว่า เวทนานี้ไม่ใช่ของของเรา ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: คำว่าไม่ใช่ของเรา หมายถึงว่าเราควบคุมบังคับมันไม่ได้ เหมือนดินฟ้าอากาศ เราควบคุมมันได้หรือเปล่า ถาม: ค่ะ แล้วไอ้ที่ เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่ แล้วนั่นก็ไม่ใช่ของของเรา พระอาจารย์: ก็นั่นแหละ เราไม่ได้เป็นอะไรเลย เราเป็นผู้รู้เฉยๆ เมื่อไปทำอะไรกับทุกสิ่งทุกอย่าง ให้รู้เฉยๆ รู้ว่ามันเกิดแล้วมันดับ รู้ว่าทุกขเวทนาเกิดแล้วเดี๋ยวมันก็ดับไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร ถาม: ค่ะ คราวนี้ขอกราบเรียนถามนะคะ ในหัวข้อของวิญญาณนี่ ก็หมายความว่า วิญญาณนี่ ส่วนสุขคือการเห็นใช่ไหม เราดูๆ จนกระทั่ง เอ๊ะ มันก็คือการเห็น แล้วก็นี่คือการได้ยิน นี่คือการได้กลิ่น อย่างนี้เรียกวิญญาณ ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: ใช่ แต่มันไม่สำคัญเพราะว่า พอมันเห็นแล้วมันเกิดเวทนาทันที ดูที่ตัวเวทนาเป็นหลัก พอเห็น มันเกิดทุกขเวทนาหรือสุขเวทนาขึ้นมา ไอ้ตัววิญญาณมันไม่มีความหมายอะไร มันเพียงแต่ทำหน้าที่ส่งรูปเสียงกลิ่นรสให้ใจได้รับรู้ แต่ไอ้ตัวที่เป็นปัญหาก็คือตัวเวทนา เวลาได้เห็น ได้ยินเสียงไง เวลาใครด่านี้ทุกข์เกิดขึ้นมาทันทีเลย ให้ดูตัวนั้น ตัวเวทนา ถาม: คือหมายถึง มันยินดียินร้ายที่เห็น ที่ได้ยิน อะไรอย่างนี้ ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: ถูกต้อง มันไม่ติดสิ่งที่มันชอบมันยินดี สิ่งที่มันไม่ชอบมันก็ยินร้าย แล้วก็เกิดตัณหา สิ่งไหนที่ไม่ชอบก็อยากจะให้มันหายไป ไม่อยากเข้าใกล้ สัมผัส พอไม่หายก็ทุกข์ ถาม: แล้วอย่างการเจ็บป่วย พระอาจารย์: เหมือนกัน ก็โผฏฐัพพะ เจ็บป่วยของร่างกายก็โผฏฐัพพะ สัมผัสทางร่างกายต่างๆ ก็เรียกว่าโผฏฐัพพะ มันก็เหมือนกับรูปเสียงกลิ่นรส มันก็มีสุขมีทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เวทนาก็เกิดตามขึ้นมา แล้วแต่สัมผัสแบบไหน งั้นไม่ต้องไปดูพวกนี้ ดูไอ้ตัวเวทนาเป็นหลัก โดยเฉพาะตัวทุกขเวทนา เพราะส่วนใหญ่นิ่งกัน เหมือนอะไรก็ไม่รู้ พอทุกข์หน่อยนี่ดิ้นกัน หาที่หลบกันหมดเลย ทีนี้มันหลบไม่ได้ ก็เครียดกัน งั้นวิธีที่ปฏิบัติกับสิ่งเหล่านี้ อย่าไปหลบมัน อยู่กับมันไป รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ ทำใจให้เป็นอุเบกขา ทำใจ อย่าไปรังเกียจมัน อย่าไปชังมัน ส่วนใหญ่เราจะชังทุกขเวทนากัน ใช่ไหม จะปัดมัน จะกำจัดมันให้ได้ พอกำจัดไม่ได้ก็เครียด ทุกข์กัน ถ้าเราไม่ไปอยาก ไม่ไปชังมัน เฉยๆ มันมาก็มา อยู่กับมันไป สบายไม่เครียด ไม่ดีกว่าหรือ ถาม: อันนี้หมายถึงทางร่างกาย ใช่ไหมคะ พระอาจารย์: ก็ทุกอย่างนี่ ที่พูดถึงวิญญาณนี่ก็เกี่ยวกับร่างกาย รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ถาม: แล้วเกี่ยวกับจิตใจด้วยไหมคะ พระอาจารย์: จิตใจก็อีกตัวหนึ่ง ตัวนั้นมันเป็นความคิดปรุงแต่ง อารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตใจก็เหมือนกัน ก็มีอารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี ฟุ้งซ่าน สงบ อย่างนี้ก็ เราก็ไปเลือกที่รักมักที่ชังกับอารมณ์ ถาม: แล้วอย่างเช่น ถ้าเรามีปัญหา เครียดมากแล้วทำให้ทุกข์ อย่างนี้ก็เข้ากรณีเวทนาเหมือนกัน พระอาจารย์: เวทนา แต่มันเกิดจากจิตมากกว่า ใช่ไหม ทุกข์เพราะว่าเราเครียดกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ มันไม่ได้มาทางตาหูจมูกลิ้นกาย มันมาทางจิต จิตเราไปอยาก แล้วเราไปแก้ที่มันเป็นอริยสัจ มันเครียดเพราะมันอยาก อยากได้สิ่งนั้นพอไม่ได้ มันก็เครียด หรืออยากให้สิ่งนั้นมันไม่เป็นอย่างนั้น พอไม่เป็นก็เครียด งั้นก็พิจารณาว่ามันก็เป็นอนัตตา ไปบังคับมันไม่ได้ หัดอยู่กับมันไป ถาม: ค่ะ อย่างนี้รู้สึกว่ามันนี่ พิจารณาอย่างนี้มันจะเข้าที่เข้าทางแล้ว ไม่ใช่จะไปเอาตามตัวหนังสือเป๊ะๆ พระอาจารย์: ไม่ได้ ต้องดูความจริง ความจริงในใจเรา ก็อยู่ที่ตัวทุกขเวทนานั่นแหละ ทุกข์ทางกายหรือทุกข์ทางใจ เราก็ทำอะไรไม่ได้ มันเป็นอนิจจัง อนัตตา เราก็ต้องใช้อุเบกขาสู้กับมันเท่านั้น ถาม: อย่างสัญญา สังขาร พระอาจารย์: มันมาด้วยกัน มันทำงานพร้อมกัน พอวิญญาณได้ยินเสียงปั๊บ สัญญาก็มาแล้ว จำเสียงว่าเป็นเสียงใคร ดีไม่ดีนี่ก็สัญญาทำงานแล้ว พอดีสังขารก็ทำงาน ถ้าดีก็ไปต้อนรับเขาสิ เขาพูดดีก็ทักทายเขา ถ้าเขาพูดไม่ดีก็เดินหนี เป็นหน้าที่ของสังขาร ทีนี้บางทีมันหนีไม่ได้ มันต้องพบกัน ก็ใช้อุเบกขา ถาม: อ๋อ มันจะมาเป็นขบวน พระอาจารย์: มันมาพร้อมกัน ปั๊บเลย ทีเดียว เป็นทีมแหละ ให้ดูที่ตัวเวทนาเป็นหลัก ดูที่ความรู้สึกกับรูปเสียงกลิ่นรส เวลาที่เราสัมผัสกับมัน ถ้าเราไม่มีความรู้สึกอะไรก็ใช้ได้ ถ้าเริ่มทุกข์ก็ผิดแล้ว ถ้าเริ่มสุขก็ผิดอีก ถ้าไปชอบไปชังก็ผิด ต้องเฉยๆ อย่าไปรักอย่าไปชัง ปล่อยเขามา ปล่อยเขาไป ปล่อยเขาอยู่ แล้วใจเราก็จะไม่เครียด ใจเราก็จะเฉยๆ สบาย ใครด่าก็ปล่อยมันด่าไป ทำตัวเป็นฝาผนังดูสิ เดี๋ยวมันก็เหนื่อยเองแหละ ใช่ไหม พอให้ไปนั่งด่าฝาผนังสักพักสิ เดี๋ยวก็หยุดด่าเองแหละ ใช่ไหม ถาม: ค่ะ พระอาจารย์: เออ นั่นแหละ อุเบกขาก็อย่างนั้น เฉยๆ ใครเขาจะพูด ใครเขาจะทำอะไร ให้เฉยๆ ถ้ามันเป็นภัยต่อร่างกาย หลบได้ก็หลบ หลีกได้ก็หลีก หลบไม่ได้หลีกไม่ได้ก็ถือว่าถึงคราวที่มันต้องเจ็บตัวแล้ว ก็ปล่อยมันเจ็บไป แต่เราจะไม่ตอบโต้เขา เราจะไม่ไปแก้เขา เราแก้ที่ใจเราตัวเดียว มีวิธีเดียวที่อุทิศบุญได้คือให้ทำบุญทำทาน ถาม: การทำบุญให้ผู้ล่วงลับโดยการถวายสังฆทาน หรือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน แบบให้ผู้ล่วงลับ อย่างไหนจะได้รับผลบุญมากกว่ากันคะ พระอาจารย์: มีวิธีเดียวที่อุทิศบุญที่พระพุทธเจ้าสอน คือให้ทำบุญทำทาน ท่านไม่ได้สอนให้เราปฏิบัติวิปัสสนาแล้วอุทิศบุญไป อันนี้เป็นความเข้าใจของเรากันเอง ถ้าศึกษาจากพระไตรปิฎกนี้ ท่านสอนให้ทำบุญทำทาน เวลาที่เราจะอุทิศบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปได้ แม้แต่หลวงตามหาบัว ท่านก็ยังพาทำบุญทำทาน อุทิศบุญให้กับมารดาของท่านทุกปี รู้สึกวันปลายปี เดือนพฤษภามั้ง หรือเดือนอะไรไม่ทราบ ก็จะมีทำบุญเปิดโลกธาตุ อุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับทั้งหลายไป ก็ใช้บุญ ท่านไม่ได้ใช้การเป็นพระอริยะของท่าน เอาบุญของท่านไปอุทิศ งั้นเราเข้าใจผิดกัน ไปคิดว่าบุญทุกชนิดสามารถเอาไปอุทิศได้ แต่ถ้าดูตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้ ท่านสอนให้เราอุทิศบุญด้วยการทำทาน ทำบุญทำทาน เช่น ใส่บาตร ถวายสังฆทาน หรือบริจาคเงินให้กับโรงเรียน โรงพยาบาล หรืออะไรก็ได้ อายุขัยของคนทุกคนกำหนดมาจากอะไร ถาม: ขอเรียนถามเรื่องอายุขัยของคนทุกคน เป็นเรื่องการกำหนดมาจากอะไรคะ แต่ละคนถึงอายุขัยไม่เท่ากัน บางคนตายตั้งแต่อายุยังน้อย หรือถูกกำหนดมาแล้วว่า คนนี้ต้องอายุเท่านี้ หรือเป็นเรื่องของการหมดกรรมเจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ มันมีหลายปัจจัยด้วยกัน ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางใจ ปัจจัยทางใจก็คือกรรมที่เราทำมา ปัจจัยทางร่างกายก็คือ อาจจะมีโรคภัยไข้เจ็บ หรืออาจมีโรคระบาด หรือว่าเราอาจจะไปอยู่ในทีที่มันมีภัย แล้วเกิดอุบัติภัยขึ้นมา อันนี้มันก็เป็นปัจจัยที่ทำให้คนตายได้ แต่มันไม่ได้อยู่ที่บุญที่กรรมเพียงอย่างเดียว อยู่ที่อย่างอื่นด้วย ร่างกายอาจจะได้ร่างกายที่ไม่ดีมา เป็นกรรมพันธุ์ มีโรคติดมาตั้งแต่เกิดเป็นเด็ก มันก็เป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ ดังนั้นมันมีหลายเหตุหลายปัจจัย ซึ่งเราไม่ควรที่จะต้องไปเสียเวลาคิดให้เสียเวลาเปล่าๆ ให้รู้เพียงคร่าวๆ ว่า เกิดมาแล้วต้องตายก็แล้วกัน แล้วจะตายเมื่อไหร่ก็ไม่มีใครรู้ งั้นรีบตักตวงเวลาที่เรายังไม่ตายนี้ เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการปฏิบัติธรรมดีกว่า อย่าไปเสียเวลากับการมานั่งคิดเลยว่า เราจะตายเมื่อไหร่ ตายด้วยเหตุอะไร มันไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงความจริง มันก็ต้องตายอยู่ดี ข้อปฏิบัติเข้าสู่พระโสดาบันได้เร็ว ถาม: ขอทราบข้อปฏิบัติหรือแนวทางการเข้าสู่พระโสดาบันได้เร็ว และในกรณีที่ยังต้องทำงาน และยังไม่สามารถออกบวชได้เจ้าค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ ก็ต้องทำบุญ หยุดซื้อความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย เอาไปทำบุญ แล้วก็รักษาศีล ๕ ศีล ๘ แล้วก็ฝึกสมาธิให้ได้ฌาน แล้วก็พิจารณาร่างกายว่าไม่ใช่ตัวเรา เป็นเพียงดิน น้ำ ลม ไฟ เวทนาที่มากับร่างกายก็ไม่ใช่เรา เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป โดยธรรมชาติของมัน เราไปสั่งไปควบคุมบังคับมันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน แล้วเราก็จะหลุดพ้นจากการไปยึดไปติดกับขันธ์ ๕ ร่างกายของเราและความรู้สึกของเราผ่านทางร่างกาย เราก็จะมีดวงตาเห็นธรรม เห็นว่าความทุกข์ของเราเกิดจากความอยาก อยากให้ร่างกายเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ พอไม่เป็นก็ทุกข์ ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน พวกเรามาสมมุติกันเอง ถาม: โยมเปิดร้านค้า ตั้งพระพุทธรูปหันออกหน้าร้าน ซึ่งเป็นทางทิศตะวันตก เขาบอกกันว่า ห้ามวางพระหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อย่างนี้จะเป็นอย่างไรไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: ถามพระพุทธรูปสิ ว่าเป็นยังไง พระพุทธรูปท่านไม่รู้เรื่องหรอก พวกเรามาสมมุติกันเอง แล้วก็ว่ากันไปเอง พระพุทธรูปท่านไม่รู้หรอก ความจริงพระพุทธรูปนี้ พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้สร้างขึ้นมาเสียด้วยซ้ำไป ทีนี้พวกเราดื้อสร้างกันขึ้นมา พอสร้างขึ้นมาแล้วก็ตั้งกฎระเบียบกันขึ้นมาเอง เท่านั้นเอง ความจริงมันจะหันไปทางทิศไหน ก็ไม่มีปัญหาอะไรหรอก มันไม่ได้ดีขึ้นหรือเลวลง พระพุทธรูปไม่ได้ทำให้เราดีขึ้นหรือเลวลง ไม่ได้ปกป้องคุ้มครองเรา พระพุทธรูปมีหน้าที่อย่างเดียว เตือนสติเรา ให้ระลึกถึงบาปบุญคุณโทษ นรก สวรรค์ นิพพาน เท่านั้น ฆราวาสที่สำเร็จกิจแล้วต้องบวชภายใน ๗ วันหรือไม่ ถาม: ฆราวาสที่สำเร็จกิจแล้วในชาตินี้ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องบวชภายใน ๗ วันเจ้าคะ พระอาจารย์: ไม่จำเป็นหรอก แต่จะบวชก่อน เพราะไม่รู้อยู่จะทำอะไร เพราะโลกนี้ไม่มีความหมายสำหรับผู้ที่หลุดพ้นจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ไม่ต้องกลัวว่าถ้าไม่ได้บวชภายใน ๗ วันจะตาย นั้นไม่มีหรอก อันนั้นเป็นความเข้าใจผิด คิดกันไปเอง ไม่มีธรรมะบทใดในพระไตรปิฎกที่บอกว่า ถ้าฆราวาสเป็นพระอรหันต์แล้ว ถ้าไม่ได้บวชภายใน ๗ วัน จะตายนี้ ไม่มี รับประกันได้ ค้นหาดูได้ เป็นความเข้าใจผิด ไปเห็นพระราชบิดาของพระพุทธเจ้าบรรลุธรรม ๗ วันก่อนตาย ก็เลยคิดว่านี่เป็นฆราวาสถึงตาย มันไม่บรรลุก็ตาย เพราะมันใกล้จะตายอยู่แล้ว ผู้รู้ ผู้คิด ถาม : พระอาจารย์คะจิตนี้ใช่ตัวเราไหมคะ จิตเป็นอนัตตาหรือเปล่าคะ พระอาจารย์ : จิตมันเป็นผู้สร้างตัวเราไง ตัวเราเกิดจากความคิดความปรุงแต่งของจิต พอหยุดคิดปรุงแต่งตัวเราก็หายไป เวลานั่งสมาธิจิตสงบไม่มีความคิดปรุงแต่ง ก็เหลือแต่ตัวรู้ ผู้รู้ สักแต่ว่ารู้ แต่ผู้คิดผู้คิดว่าเป็นตัวเรามันหายไป เพราะฉะนั้นตัวเราก็หายไป ที่มันอยู่ก็เพราะเราไปจำมันไว้ ไง สัญญาของเราจำไว้ สัญญาจำว่ายังมีเราอยู่ แต่ความจริงมันเป็นแค่สัญญาสังขารความคิดความจำแค่นั้นเอง ถ้าจิตสงบหยุดสัญญาหยุดสังขารได้ ตัวเราก็หายไป แต่มันจะหายไปชั่วคราว พอออกจากสมาธิมันก็เริ่มคิดเริ่มจำใหม่ ตอนนั้นก็ต้องใช้ปัญญามาแก้ความจำความคิดว่าไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นเพียงแค่ความคิดความจำเท่านั้นเอง ตัวเราจริงๆ ก็คือตัวรู้ตัวคิดแค่นั้นเอง จะว่าเป็นตัวเราก็ไม่ใช่ ตัวจริงๆ ก็คือตัวรู้ตัวคิดที่ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่อะไรทั้งนั้น เป็นผู้รู้ผู้คิดอย่างนี้ คำถามจากธรรมะบนเขา ถาม: เมื่อทำสมาธิได้ถึงขั้นสงบแล้วเราจะเจริญปัญญาอย่างไรครับ พระอาจารย์: อ๋อ ต้องรอให้ออกจากสมาธิก่อน ขั้นสมาธิเป็นขั้นเติมน้ำมัน ก่อนที่เราจะขับรถไปไหนมาไหนได้เราต้องเติมน้ำมันให้เต็มถังก่อน อย่าเพิ่ง พอเติมได้ลิตรหนึ่งจะไปแล้วอย่างนี้ นั่งสมาธิพอเข้าสมาธิจิตเริ่มนิ่งจะไปทางปัญญาแล้ว ไม่ได้ ต้องให้มันนิ่งนานๆ ให้เข้าสมาธิบ่อยๆ ให้มันชำนาญสามารถที่จะเข้าสมาธิได้ทุกเวลา และเวลาออกจากสมาธิหลังจากนั้นน่ะค่อยมาเจริญปัญญา มาพิจารณาไตรลักษณ์พิจารณาร่างกายว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา พิจารณาว่าร่างกายไม่สวยไม่งาม มีอาการ ๓๒ จะต้องกลายเป็นซากศพ พิจารณาอาหารว่าไม่น่ากินเวลาที่มันออกมาจากร่างกายเรา เวลาเข้าไปในร่างกายเราแล้วมันไม่น่ากินเลย ถ้าเห็นรูปร่างหน้าตามันแล้วจะกินไม่ลง อันนี้จะช่วยตัดความอยากต่างๆ ได้ ทำให้เราไม่ต้องมาทุกข์ได้ บาปที่เกิดจากการฆ่าตัวตาย ถาม: กราบนมัสการถามเกี่ยวกับเรื่องของการฆ่าตัวตายเจ้าค่ะ การใช้ชีวิตของตัวเองเพื่อเรียกร้องกระบวนการยุติธรรม ขอนมัสการเรียนถามพระอาจารย์เจ้าค่ะว่า เป็นบาปคงเป็นบาปแน่นอน แต่ว่าญาติของเขาจะสามารถทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยวิธีการใดบ้างเจ้าคะเพื่อที่จะช่วยลดทอน ขอเมตตาด้วยเจ้าค่ะ พระอาจารย์ คือบาปที่เกิดจากการฆ่าตัวตายนี้จะพาให้จิตนั้นไม่สามารถออกมารอรับส่วนบุญได้ งั้นก็ต้องปล่อยให้เขาไปรับผลบาปของเขาก่อน จนกว่าเขาจะพ้นจากบาปนั้นแล้ว เขาอาจจะมาเป็นวิญญาณที่มารอรับส่วนบุญต่อไป แต่ทางญาติพี่น้องก็ส่งไปได้ ทุกครั้งที่ทำบุญก็ส่งไป ส่วนเขาจะรับได้หรือไม่ได้นี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานภาพของเขา เราไม่มีญาณที่จะไปหยั่งรู้ได้ แต่เราเป็นห่วงเขาเราอยากจะช่วยเขา ก็ส่งบุญไปเรื่อยๆ เพราะเราทำบุญนี้เราก็ทำเพื่อตัวเราอยู่แล้ว แล้วเราสามารถแบ่งบุญที่เราทำให้กับผู้อื่นไปได้ งั้นเวลาทำบุญเราก็แบ่งไปให้เขา เราไม่ต้องเจาะจงว่าจะต้องทำให้เขา เพราะการทำบุญจริงๆ นี้ผู้ได้รับบุญมากกว่าคือเรา ผู้ที่เราส่งบุญไปให้นี่เขาได้เพียงเสี้ยวเดียวของบุญที่เราทำ ทำอย่างไรจะให้พ้นความกลัว ถาม: ทำอย่างไรจะให้พ้นความกลัว เช่น กลัวผี กลัวความตาย พระอาจารย์: กลัวผีก็ต้องไปหาผี กลัวความตายก็ต้องเข้าหาความตาย แล้วมันจะได้หายกลัว แล้วจะได้พิจารณาให้เห็นว่า ไม่มีอะไรน่ากลัว นอกจากความกลัวที่เป็นสิ่งที่น่ากลัว ความจริงมันต้องเป็นความจริง มันจะตายมันก็ต้องตาย ถ้าผีมีจริงก็ต้องเจอ ถ้าไปหาแล้วมันไม่มี จะได้รู้ว่าผีไม่มี ผีมีแต่เขาไม่มาหลอกมายุ่งกับเราหรอก ผีจริงเขาไม่มาหลอกหรอก ดวงวิญญาณต่างๆ ไอ้ผีที่คอยมาหลอกเราคือผีปลอม ผีที่เราสร้างขึ้นมาในใจเรา ไปอยู่ที่ไหนมืดๆ คนเดียว เดี๋ยวคิดถึงแล้ว มาแล้ว ผีมาแล้ว ได้ยินเสียงก็ผีมาแล้ว เห็นอะไรเคลื่อนไหวหน่อยก็ผีมาแล้ว อันนี้แหละผีปลอม วิธีจะฆ่าผีปลอม ก็ใช้พุทโธ พอเริ่มคิดว่ามีผีมาก็พุทโธพุทโธไป พอจิตหยุดคิด ผีมันก็หายไป เวลานั่งสมาธิสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ควรใช้กี่นาที ถาม: ควรใช้เวลานั่งสมาธิสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ควรใช้สักกี่นาทีครับ พระอาจารย์: อ๋อ ได้มากเท่าไหร่ยิ่งดี อย่าไปประมาทตัวเอง ไม่ต้องตั้งนาฬิกาตั้งสติอย่างเดียว ถ้ามีสติแล้วนั่งได้นานไปเองโดยอัตโนมัติ แล้วจะได้ไม่ต้องมากังวลกับเวลาด้วย ถ้าไปตั้งนาฬิกามันจะไม่อยู่กับสติแล้ว มันจะอยู่กับนาฬิกา ถึงเวลารึยังถึงเวลารึยัง เพราะใจของผู้เริ่มต้นนี้ไม่ชอบนั่ง กิเลสมันไม่ชอบนั่ง แต่ที่อยากนั่งเพราะได้ยินได้ฟังว่านั่งแล้วดีก็เลยอยากจะนั่ง แต่ใจจริงมันไม่อยากจะนั่ง ถ้าตั้งนาฬิกามันจะไม่มีสติอยู่กับพุทโธ มันจะอยู่กับนาฬิกา เฮ้ย ได้กี่นาทีแล้ว ถึงรึยัง นั่งแบบนี้จะไม่ได้ความสงบ ถ้าอยากจะได้ผลได้ความสงบต้องตั้งสติให้อยู่กับพุทโธพุทโธไป ลืมเรื่องนาฬิกาไป ก่อนจะนั่งนี้ต้องมีเวลาว่างเยอะๆ จะได้ไม่ต้องมากังวล เฮ้ย เดี๋ยวต้องไปทำงานเดี๋ยวต้องไปโรงเรียน เดี๋ยวต้องไปทำนู่นทำนี่ หาเวลาที่เราว่างที่เราสามารถที่จะนั่งไปได้เรื่อยๆ แล้วก็ตั้งสติไป อย่างนี้แล้วจะนั่งได้นาน ยิ่งนานเท่าไหร่ยิ่งดีเพราะว่าเป็นเหมือนกับการเอาน้ำไปแช่ในตู้เย็น พอเอาน้ำเข้าไปแช่ตู้เย็น ถ้าแช่เดี๋ยวเดียวมันก็ไม่เย็น ถ้าแช่ได้นานมันก็จะเย็น แล้วเวลาออกมามันก็จะเย็นได้นานกว่าจะหายเย็น การเข้าสมาธิก็เหมือนเอาใจเข้าตู้เย็น ใจเราร้อนใช่ไหมเวลาอยู่ข้างนอกสมาธินี้ ร้อนกับเรื่องนั้นร้อนกับเรื่องนี้ ร้อนกับคนนั้นร้อนกับคนนี้ พอเรานั่งสมาธิพุทธพุทโธใจก็จะเย็น ใจก็จะลืมเรื่องคนนั้นคนนี้ ถ้าทำได้นานมันก็จะยิ่งเย็นนานขึ้นไป พอเลิกนั่งสมาธิมันก็จะเย็นไปได้อีกนานกว่าจะเริ่มร้อนขึ้นมา งั้นพยายามนั่งให้มากๆ อย่าไปกำหนดเวลา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มีนาคม 2564 16:17:34 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.190
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 14 มีนาคม 2564 16:21:36 » |
|
กิเลสอย่างหยาบเป็นเช่นไร ถาม: กราบขอโอกาสครับ กิเลสอย่างหยาบเป็นเช่นไรครับ พระอาจารย์: กิเลสอย่างหยาบก็เป็นกิเลสที่เห็นได้ง่ายได้ชัด เช่น ความโลภ เอารัดเอาเปรียบ ความเห็นแก่ตัวนี้คือมันเห็นได้ชัดกว่า แต่ความหลงนี้มันจะเห็นได้ยากกว่า บางทีเราไม่รู้ว่าเราหลง แต่เรากำลังหลงกัน อันนี้ยาก ละเอียด เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจควรพิจารณาจารณาอย่างไรไม่ให้หมดกำลังใจ ถาม: ถ้าเราเกิดความท้อใจ น้อยเนื้อต่ำใจ เราควรพิจารณาอย่างไรไม่ให้หมดกำลังใจครับ พระอาจารย์: อ๋อ เบื้องต้นควรจะหยุดคิดได้ จะดีกว่านะ ใช้พุทโธพุทโธให้ใจสงบก่อน พอใจสงบใจเป็นกลางแล้วค่อยมาสอนว่า มันเป็นความรู้สึกนึกคิดของเราเอง เท่านั้นเอง ความจริงคนเรานี้มันก็เหมือนกันทั้งนั้นแหละ มีสุขมีทุกข์ มีขึ้นมีลงสลับกันไป เราต้องเรียนรู้ชีวิตว่ามันเป็นอย่างนี้ เวลาขึ้นก็อย่าไปผยอง เวลาลงก็อย่าไปหดหู่ใจ ให้พยายามรักษาใจให้เป็นกลางไว้ อย่าอยู่กับการขึ้นการลงของชีวิต เพราะว่ามีเหตุมีปัจจัยที่เราไปควบคุมบังคับไม่ได้ บางทีอยากจะให้มันขึ้นมันก็ไม่ขึ้น บางทีไม่อยากให้มันลงมันก็ลง มันลงก็รู้ว่ามันลง มันขึ้นก็รู้ว่ามันขึ้น แล้วก็ปล่อยวางมันไป ไม่ต้องไปมีความรู้สึกเศร้าใจเสียใจหรือดีใจไปกับมันดีกว่า อยากเข้านิพพานเป็นกิเลสไหม ถาม: รบกวนสอบถามพระอาจารย์ครับ การอยากเข้าถึงนิพพานถือเป็นกิเลสหรือไม่ครับ พระอาจารย์: ถ้าขั้นสุดท้ายน่ะเป็นกิเลส พอถึงขั้นสุดท้ายนี้แม้แต่จะอยากถึงนิพพานก็ต้องหยุด เพราะมันเป็นความอยาก พระอานนท์นี่ถึงขั้นสุดท้ายแล้ว ถึงคืนสุดท้ายแล้วที่พระพุทธเจ้าบอกว่า คืนนี้เป็นคืนที่จะต้องเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน ทีนี้มันยังเข้าไม่ถึง ก็เลยกังวล ยิ่งกังวลก็ยิ่งทำให้จิตฟุ้ง เพราะอยากจะเข้าตามที่พระพุทธเจ้าบอก จนกระทั่งเกือบจะสว่าง ก็เลยคิดว่าไม่มีทางที่จะเข้าได้แล้ว ก็เลยเลิกอยากเข้า นอนดีกว่า พอทำท่าจะนอนเท่านั้น มันก็เลยเข้าเลยทีนี้ เพราะไม่มีความอยากมาขวางทาง อันนี้เป็นขั้นสุดท้าย แต่ขั้นก่อนนั้นต้องมีความอยากไปนิพพาน ถึงจะทำบุญได้ ถึงจะรักษาศีลได้ ถึงจะปฏิบัติธรรมได้ ถ้าไม่มีความอยากไปนิพพาน ก็ไม่รู้ทำบุญไปทำไม ไม่รู้จะรักษาศีลไปทำไม ไม่รู้จะปฏิบัติธรรมไปทำไม ดังนั้นมันมีขั้นของมัน พอถึงขั้นที่มันต้องหยุดความอยากนั้น เพราะมันขวางทาง เราก็ต้องหยุดมัน แต่ถ้าเป็นขั้นที่มันดึงเราให้ไป เราก็ต้องใช้มันไป พระโสดาบันท่านจะรู้ตัวของท่าน ถาม: ตัวรู้ของพระโสดาบันมีความแม่นยำไหมครับ หรือเป็นตัวหลอก ที่สังเกตดูรู้ว่ามีความแม่นยำพอสมควร เพิ่งเป็นครับ ไปถามคน เขาบอกคุณเป็นพระโสดาบันครับ พระอาจารย์: เอ้อ ถ้าเราไม่รู้ว่าเราเป็น ก็ไม่ต้องให้คนอื่นเขามาบอกเราหรอก เดี๋ยวจะเป็นบ้าไป เขาบอกเป็นบ้าก็จะเชื่อเขาอีก พระโสดาบันท่านจะรู้ตัวของท่านว่าท่านเป็นหรือไม่เป็น เมื่อเราไม่รู้ก็แสดงว่าเราไม่เป็นแล้ว งั้นคนอื่นเขาบอกก็อย่าไปบ้าจี้ตามเขา เมื่อเราเองไม่รู้ คนอื่นเขาจะมารู้ได้ยังไงว่าเราเป็นอะไร ใช่ไหม ใจของเรา เราเห็น เขาไม่เห็นใจของเรานี่ นอกจากเป็นพระพุทธเจ้าหรือเป็นพระอรหันต์ที่มีอภิญญาก็ว่าไปอย่าง ไม่ควรจะใช้นาฬิกาปลุก ถาม: ในการถอนออกจากสมาธิ ควรใช้การพิจารณาอย่างไรในการถอนจากการนั่งสมาธิ เนื่องจากปัจจุบันใช้นาฬิกาปลุก แล้วจะรู้สึกตกใจครับ พระอาจารย์: ก็ให้มีสติ รู้ว่าจิตกำลังถอนออกจากความสงบ แล้วก็ควบคุมจิตต่อไป อย่าให้คิดปรุงแต่ง ใช้พุทโธพุทโธคุมมันไว้ก็ได้ ไม่ควรจะใช้นาฬิกาปลุก ให้มันถอนออกมา ปล่อยให้มันถอนออกมาเอง พอมันอิ่มตัวแล้วมันก็จะถอนออกมา เหมือนคนนอนหลับแหละ พอนอนหลับอิ่มพอแล้ว มันก็จะตื่นขึ้นมา ถ้าไปใช้นาฬิกาปลุก บางทีนอนยังไม่พอ พอตื่นขึ้นมามันก็จะมีอารมณ์หงุดหงิดขึ้นมา งั้นอย่าใช้นาฬิกามาบังคับสมาธิ ปล่อยให้สมาธิเป็นไปตามธรรมชาติของเขา พอเขาอยากจะออกมา เขาก็จะออกมาของเขาเอง ถ้าเขายังไม่ออกเราก็อยู่กับเขาไปก่อน อยู่กับความสงบ ซึ่งไม่มีใครอยากจะออกจากสมาธิหรอก พอได้สมาธิแล้วมันสุข สุขยิ่งกว่าได้เงิน ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ใครอยากจะออกมามั่ง งั้นก็มีสติดูมันไป เดี๋ยวมันหมดกำลังมันก็จะถอนออกมาเอง ต้องอยู่ได้ทั้งสุขทั้งทุกข์ ถาม: ถ้าเราสามารถอยู่ในระหว่างความทุกข์กับความสุข ให้อยู่ระหว่างกลาง อันนี้คือรู้สึกแบบนี้ใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: คือ ต้องอยู่ได้ทั้ง ๒ อย่าง ถ้าเราอยู่กับสุขได้ เราก็ต้องอยู่กับทุกข์ได้ คือเวลาสุขมาเราก็อยู่กับมันไป เวลาทุกข์มาเราก็อยู่กับมันไป เหมือนกับเราอยู่กับความสุข เราก็จะไม่ทุกข์กับมัน ถาม: ก็คือไม่ยึดติดกับความรู้สึก เฉยๆ อย่างนี้ใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: เออ อย่าไปยึดไปติด เพราะเราไปติดสุข เดี๋ยวเวลามันหมดไปก็ทุกข์อีก แล้วถ้าไปรังเกียจทุกข์ เวลามันโผล่ขึ้นมาก็ทุกข์อีก งั้นต้องไม่รังเกียจ ไม่รักไม่ชัง อยู่เฉยๆ สุขก็ไม่รัก ทุกข์ก็ไม่ชัง เฉยๆ มาได้ เหมือนร้อนกับหนาว ร้อนก็ได้ หนาวก็ได้ การฝึกจิตนี่ก็ฝึกให้ใจเราเป็นกลาง ไม่ได้ไปฝึกกับสิ่งต่างๆ ให้เป็นกลาง สิ่งต่างๆ เราไปให้เขาเป็นกลางไม่ได้ บางทีเขาก็สุข บางทีเขาก็ทุกข์ บางทีเขาก็ไม่สุขไม่ทุกข์ แต่สิ่งที่เราต้องทำให้ได้คือให้ใจเราให้มันเป็นกลาง ใจเราเฉยๆ เป็นอุเบกขา อุเบกขาเกิดได้ ๒ ระดับ ด้วยสติคือฝึกสติบ่อยๆ หยุดความคิดปรุงแต่ง พอจิตหยุดคิดหยุดปรุงหยุดอยาก มันก็เป็นกลาง จะเฉยๆ แต่ถ้าใช้สติมัน พอเวลาหมดสติมันก็จะกลับมารักมาชังเหมือนเดิม ถ้าจะให้มันเป็นกลางตลอดเวลาก็ต้องใช้ปัญญา ให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ นี้เราไปรักไปชังเขาไม่ได้ เพราะไปรักไปชังแล้วเราจะทุกข์ เพราะว่าสิ่งต่างๆ เขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เขาจะให้เรารักตลอดเวลาไม่ได้ เดี๋ยวเขาเปลี่ยนจากที่เรารัก เขาเปลี่ยนมาเป็นสิ่งที่เราชัง เราก็ต้องเปลี่ยน พอเราชังเราก็ทุกข์ขึ้นมา เราต้องปล่อยให้เขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่เราไม่ต้องไปรักไปชังเขา เฉยๆ ไป รับรู้ไปเฉยๆ ร่างกายพิการสามารถสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลได้หรือไม่ ถาม: กราบนมัสการค่ะ หนูอยากจะสอบถามว่า ถ้าเราปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างตั้งใจแล้ว แค่เรามีความพิการทางร่างกาย ไม่ครบ ๓๒ เหมือนคนอื่นเขา เราจะสามารถสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลได้หรือเปล่าคะ พระอาจารย์: ได้ เพราะความสำเร็จ สำเร็จด้วยใจ ไม่ได้สำเร็จด้วยร่างกาย เพียงแต่ว่าอาจจะมีอุปสรรคมากหน่อย เช่น เวลาอยากจะฟังธรรมนี้ร่างกายพิการ จะไปฟังธรรมก็อาจจะยาก แต่เดี๋ยวนี้สมัยนี้เรามีสื่อต่างๆ ก็ช่วยลดความยากลำบากของคนพิการได้มาก สามารถฟังธรรมที่บ้านได้ มีสื่อมีมือถือ อย่างเช่นวันนี้เราถ่ายทอดสดไปถึงบ้าน ไปทั่วโลกเลย ใครอยู่ที่ไหนก็ฟังเทศน์ฟังธรรมได้ เพราะการจะปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้องนั้น จำเป็นจะต้องมีคนสอน มีธรรมะ มีพระผู้รู้ธรรมเป็นผู้สอน ดังนั้นสมัยก่อนถ้าเป็นคนพิการ จะต้องไปฟังธรรมที่วัดนี่มันก็จะไปได้ยาก แต่สมัยนี้ก็ง่าย เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมจริงๆ นี้มันปฏิบัติที่ใจ เพียงแต่ว่าบางทีเราต้องใช้ร่างกายเป็นตัวบังคับให้ได้ปฏิบัติ เพราะถ้าเราไม่บังคับ มันก็จะไม่ปฏิบัติ แต่ถ้าเราพิการหรือเราเจ็บไข้ได้ป่วยนี้ เราก็สามารถปฏิบัติได้ เพราะการรักษาศีลก็รักษาที่ใจ การเจริญสติ การเจริญสมาธิก็เจริญที่ใจ การเจริญปัญญาก็เจริญที่ใจ งั้นถ้าสามารถเจริญศีล สมาธิ ปัญญาได้ ก็สามารถบรรลุเป็นพระอริยบุคคลได้ ขอหลักปฏิบัติเพื่อเป็นพระโสดา ถาม: ขอทราบหลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบันในชาตินี้ครับ พระอาจารย์: อ๋อ ขั้นต้นก็ต้องมีศีลก่อน ถ้ายังไม่มีศีล ๕ ก็รักษาศีล ๕ ให้ได้ก่อน รักษาศีล ๕ ได้แล้วก็ไปรักษาศีล ๘ ต่อ รักษาศีล ๘ ได้ ก็ไปหัดนั่งสมาธิ ทำจิตให้รวมเป็นอัปปนาสมาธิ พอมีสมาธิแล้ว ทีนี้ก็ไปศึกษาธรรมชาติ คือร่างกายของเรา ว่าไม่เที่ยง เกิดแก่เจ็บตาย เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่ตัวเรา แล้วก็ปล่อยวาง เมื่อมันไม่ใช่ตัวเรา ห้ามมันไม่ได้ มันจะแก่ก็ห้ามมันไม่ได้ มันจะเจ็บจะตายก็ห้ามมันไม่ได้ ก็ปล่อยมันเท่านั้นเอง ในเมื่อเราไม่ได้แก่ไม่ได้เจ็บไม่ได้ตาย เราไปกลัวอะไร มันไม่ใช่เรา ให้มองให้เห็นว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา กรรมที่ให้ผลหนักที่สุด ถาม: กรรมทางไหนให้ผลหนักที่สุด เช่น วจีกรรม มโนกรรม และกายกรรม กรรมที่ให้ผลหนักที่สุดคืออันไหนครับ พระอาจารย์: กรรมที่หนักที่สุดก็มีอยู่ ๕ ข้อด้วยกัน ๑. ฆ่าพระอรหันต์ ๒. ฆ่าพ่อ ๓. ฆ่าแม่ ๔. ทำให้พระพุทธเจ้าห้อเลือด และ ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยก อันนี้ถือว่าเป็นกรรมหนักที่สุด ผู้ที่กระทำกรรมนี้ก็คือพระเทวทัตนี่ พระเทวทัตนี่ยุยงให้สงฆ์แตกแยกกัน ให้เป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายพระพุทธเจ้า ฝ่ายของเทวทัต อย่างนี้เรียกว่าทำให้สงฆ์แตกแยก แล้วก็พยายามฆ่าพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้งด้วยกัน แต่ไม่สำเร็จ ทำได้เพียงแต่ทำให้ห้อเลือด เศษหินกระเด็นไปทำให้พระบาทของพระพุทธเจ้าห้อเลือด การกระทำบาปแบบนี้ถือว่าเป็นอนันตริยกรรม เป็นการกระทำบาปที่หนักที่สุด ตายไปต้องไปตกนรกที่ขุมลึกที่สุด ที่ทุกข์ที่สุด ที่ร้อนที่สุด ตัวที่เราต้องตัดก็คือ ตัวความอยาก ตัวความโลภ ถาม: คือพระอาจารย์ให้ใช้ไตรลักษณ์นี่ คือไตรลักษณ์ให้ตัดร่างกายก่อน สมมุติว่าตัดร่างกายปุ๊บนี่ก็คือ ร่างกายไม่ใช่เป็นของเรา เราตัดร่างกายออกไปแล้วนี่ ถ้าเราตัดทีละอย่างใช่ไหมคะ แต่ว่ากิเลสนี่มันจะมีโลภโกรธหลง แสดงว่าเราก็ต้องเอาไตรลักษณ์นี่ ตัดความโลภก่อน ค่อยมาตัดความโกรธ แล้วก็ไปตัดความหลง อย่างนี้หรือเปล่าคะ คือกำลังพิจารณาไปเรื่อยๆ อย่างที่พระอาจารย์บอกตลอด เวลาออกจากสมาธิ พระอาจารย์: อ๋อ ความจริงตัวที่เราต้องตัดก็คือตัวความอยาก ตัวความโลภ ความอยาก ๓ ประการ ความอยากหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายนี่ แล้วความอยากมีอยากเป็น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น เช่น ไม่อยากยากจน ไม่อยากเดือดร้อน ไม่อยากตกงาน ไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตาย เราตัดความไม่อยากเหล่านี้ให้มันหายไป แล้วความอยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากสวยอยากงาม อยากอะไร มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยนี่ก็ต้องตัดมัน คือต้องยอมดูสภาพความเป็นจริง อย่าไปอยู่กับความอยาก เจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องยอมรับว่ามันเจ็บไข้ได้ป่วย รักษาได้ก็รักษาไป พอใจกับฐานะเราเป็นอยู่ อย่าไปอยากเป็นนู่นเป็นนี่ อยากจะไปเป็นผู้แทน อยากจะไปเป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นกำนันหรือเป็นอะไร สุดแท้แต่ หรือถ้าอยู่ในวงการก็อยากจะเป็นเจ้านาย ไม่อยากจะเป็นลูกน้อง อยากเป็นหัวหน้าคณะ อธิบดี เป็นอะไรต่างๆ ของพวกนี้อย่าไปอยาก อยากแล้วทุกข์ เพราะอยากแล้วเวลามันไม่ได้ ใจมันก็กระเสือกกะสน กระวนกระวาย ได้มาก็ยึด กลัวจะเสีย เดี๋ยวเวลาถูกโยกย้ายหรือถูกปลดก็เสียใจ แต่มีได้ เขาจะตั้งก็ปล่อยเขาตั้งไป เขาจะปลดก็ปล่อยเขาปลดไป ถ้าเราไม่มีความอยากแล้ว เราจะไม่เดือดร้อน เขาตั้งมาก็ให้เขาตั้งไป เขาปลดก็ปล่อยเขาปลดไป เราอยู่ในโลกของที่มีเจริญมีเสื่อม เป็นธรรมดา โลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต้องมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ให้รู้ทันสิ่งเหล่านี้ แล้วมันจะได้ไม่ทุกข์ อันนี้คือ กิเลสส่วนใหญ่ของคนในโลกนี้จะเป็นอย่างนี้ก่อน ได้ลาภยศสรรเสริญสุขกัน แต่ไม่มองว่ามันเป็นของไม่เที่ยง มันมีเสื่อม เจริญลาภก็ต้องเสื่อมลาภในวันใดวันหนึ่ง มียศเสื่อมยศ สรรเสริญก็กลายเป็นนินทา สุขก็กลายเป็นทุกข์ ถ้าใจไม่มีความอยาก มันก็จะเฉยๆ พยายามทำใจให้เฉยๆ เป็นเหมือนหยดน้ำบนใบบัว ได้ลาภยศสรรเสริญมาก็ไม่ดีใจ เสียลาภยศสรรเสริญไปก็ไม่เสียใจ ต้องตัดความอยาก ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงในของที่เราอยาก ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม อยากได้แฟน หรือมีแฟนแล้วก็อยากจะให้แฟนซื่อสัตย์ เดี๋ยวแฟนแอบไปมีอีหนูที่ไหน ก็เสียใจอีก มันจะไปก็เรื่องของมัน ไปห้ามมันได้ที่ไหน คนมันจะเลว ไปห้ามมันได้ยังไง ใช่ไหม เราอย่าเลวตามเขาก็แล้วกัน ไม่ใช่เขามีอีหนู แล้วไปมีไอ้หนูกับเขามั่ง สมาธิจะติดตามเราไปทุกภพทุกชาติหรือไม่ครับ ถาม: หากใจเรามีสมาธิแล้ว สมาธิจะติดตามเราไปทุกภพทุกชาติหรือไม่ครับ พระอาจารย์: ก็แล้วแต่สมาธิมันแบบเสื่อมหรือไม่เสื่อม ถ้ามันเสื่อมถ้าไม่ได้ปฏิบัติต่อ มันก็เสื่อม ก็ต้องกลับมาปฏิบัติใหม่ แต่ถ้าสมาธิที่มันมีมาก แล้วมันฝังอยู่ในใจได้นาน มันก็อยู่ต่อไปได้ แล้วแต่ว่าเราปฏิบัติถึงขั้นไหนของสมาธิ อย่างพระพุทธเจ้า ตอนเป็นเด็กนี้ เวลาท่านนั่งอยู่ตามลำพังใต้ต้นไม้คนเดียว จิตที่เคยเข้าสู่ความสงบ มันก็สงบขึ้นมาเอง อย่างนี้ก็มี แต่สำหรับพวกที่เข้าสมาธิได้นิดๆ หน่อยๆ เดี๋ยวพอตายไป มันก็อาจจะเข้าไม่ได้ก็ได้ อันนี้อยู่ที่ว่าเราเข้าได้บ่อยหรือไม่ เข้าได้มากหรือไม่ วิญญาณสามารถทำร้ายเราได้หรือไม่ ถาม: วิญญาณที่ล่องลอยอยู่สามารถทำร้ายเราได้หรือไม่คะ พระอาจารย์: ไม่ได้หรอก ไม่มีอะไรทำร้ายเราได้ นอกจากกรรม คือการกระทำของเราเท่านั้นเอง กรรมดีกรรมชั่ว กรรมดีก็มีแต่คุณประโยชน์ กรรมชั่วนี่เป็นตัวทำร้ายเรา ทำให้เราไปติดคุกติดตะรางก็กรรมชั่วของเรานี่แหละ ทำให้ถูกประหารชีวิตก็กรรมชั่วของเรา ทำให้ไปเป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นนรก ก็กรรมชั่วของเรานั่นแหละ นอกนั้นไม่มีใครทำอะไรเราได้ แม้แต่ระเบิดนิวเคลียร์ก็ทำลายเราไม่ได้ ทำได้แต่ร่างกายซึ่งไม่ใช่เป็นตัวเรา งั้นไม่ต้องกลัวอะไร ถ้ารู้ธรรมชาติ ความจริงของใจเราแล้ว ของตัวเราแล้ว มีสิ่งที่น่ากลัวคืออย่างเดียวก็คือบาปกรรม เท่านั้นเอง ที่น่ากลัว นอกนั้นไม่มีอะไรที่น่ากลัวเลย ไม่ยอมออกจากสมาธิทำอย่างไร ถาม: เข้าสมาธิแรกๆ ไม่ค่อยมีสมาธิเจ้าค่ะ นั่งไปเรื่อยๆ ก็ดีขึ้น พอจะออกจากสมาธิ ไม่ยอมออก อยากนั่งไปเรื่อยๆ จะสามารถจัดการกับอาการเหล่านี้ได้อย่างไรเจ้าคะ พระอาจารย์: ก็นั่งเพื่อให้มันนั่งไปเรื่อยๆ เมื่ออยากจะนั่งไปเรื่อยๆ ก็อย่าไปออกสิ มันดีจะตายไป อยู่ในสมาธิมันดีกว่าออกนอกสมาธิ เหมือนอยู่ในห้องแอร์กับอยู่ข้างนอกที่มันร้อนนี่ เข้าห้องแอร์แล้วก็ไม่อยากออกไปข้างนอก ใช่ไหม สมาธิก็เป็นเหมือนห้องแอร์ของใจ พอเข้าไปแล้วมันเย็น ไม่มีเรื่องวุ่นวายใจ แล้วจะออกไปหาเรื่องวุ่นวายทำไม อุปจารสมาธิคืออย่างไร ถาม: อุปจารสมาธิคืออย่างไรหรือครับ พระอาจารย์: อ๋อ มันเป็นสมาธิพิเศษ สมาธิที่ให้อภิญญา หูทิพย์ตาทิพย์ ติดต่อเทวดา ระลึกชาติ ถาม: คือต้องได้อัปปนาสมาธิก่อน หรือว่าไม่เกี่ยวครับ พระอาจารย์: ก็ต้องได้อัปปนาก่อน ถึงจะออกไปทางอุปจาระต่อไป บางคนเข้าใจคิดว่าได้อุปจาระก่อนอัปปนา ไม่ใช่ ปฏิบัติภาวนาต้องผ่านอัปปนาก่อนถึงจะได้ แต่ก็ไม่ได้ทุกคน อันนี้เป็นเรื่องวาสนา บางคนก็ได้ บางคนก็ไม่ได้ คนไม่ได้อยากจะได้ก็ไม่ได้ ไอ้คนได้ไป บางทีก็ไม่ดี เหมือนได้ของเล่น ไม่ไปทำงาน มันไม่พักผ่อน ต้องการให้อยู่ในอัปปนาเพื่อพักผ่อน ให้ได้อุเบกขา แต่ถ้าไปอุปจาระมันก็ไปเที่ยวไปเล่น ไปท่องเที่ยวภพน้อยภพใหญ่ ไปพบกับภูตผีปีศาจ ก็เลยเสียเวลา ไม่พักผ่อน ถ้าไปเล่นกับอุปจารสมาธิ ออกจากสมาธิก็ไม่มีอุเบกขา ไม่มีกำลังที่จะไปพิจารณาปัญญา หรือต่อสู้กับความอยาก งั้นถ้าไม่มีก็ดีแล้ว ถ้ามีก็อย่าเพิ่งไปเล่นกับมัน ให้บรรลุธรรมก่อน แล้วค่อยเอามันใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไปได้ เอาไปใช้ อย่างพระพุทธเจ้าก็ใช้เทศน์สอนเทวดา พระพุทธเจ้าก็ใช้อุปจารสมาธิ ระลึกชาติได้ ชาติต่างๆ พระเจ้า ๑๐ ชาตินี่ก็มาจากอุปจารสมาธิ แต่ถ้ายังไม่บรรลุธรรมอย่าไปเล่นกับมัน แบบเทวทัต เทวทัตก็ได้อิทธิฤทธิ์ แต่ไม่มีอุเบกขา สู้กิเลสไม่ได้ พอกิเลสบอกให้อยากเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา ก็เลยขอพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าไม่อนุญาตก็เลยโกรธ ตามฆ่าพระพุทธเจ้า ๓ ครั้ง งั้นระวัง คนที่เข้าอุปจารสมาธิได้ต้องระวัง อย่าไปคิดว่าดีนะ อย่าไปคิดว่าเก่ง เก่งแต่เป็นโลกิยะ ไม่ใช่เป็นโลกุตตระ ต้องเอาอัปปนา เอาอุเบกขา แล้วจะได้ไปสู้กับกิเลสได้ พละ ๕ ถาม: ขอให้พระอาจารย์ช่วยขยายความเกี่ยวกับเรื่อง พละธรรม ๕ ประการค่ะ พระอาจารย์: อ๋อ พละธรรม มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี่ก็เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในใจของเราทุกคน แต่มี ๒ ระดับ ระดับปุถุชนกับระดับพระอริยะ ระดับปุถุชนเราเรียกว่า “อินทรีย์ ๕” ก็ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต่มีกำลังน้อย เป็นเหมือนของเด็กทารก เราก็เรียกว่าอินทรีย์ สติของพวกเรากับสติของพระพุทธเจ้านี้ เหมือนเด็กกับผู้ใหญ่ อินทรีย์ของพวกเรากับอินทรีย์ของพระพุทธเจ้า ของพระอริยเจ้านี้เป็นเหมือนของผู้ใหญ่ อินทรีย์ของพวกเราเป็นเหมือนเด็ก งั้นเราต้องพัฒนาอินทรีย์ให้เป็นพละ ด้วยการเพิ่มศรัทธา เพิ่มศรัทธาด้วยการศึกษาธรรมะให้มากขึ้น ถ้าเราศึกษาธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม ศึกษาประวัติของพระพุทธเจ้า ของพระสาวก เราก็จะเกิดศรัทธามากขึ้น ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มากขึ้น ถ้าเรามีศรัทธามากขึ้น เราก็จะปฏิบัติมากขึ้น มีความเพียรมากขึ้น วิริยะมากขึ้น เราก็จะปฏิบัติธรรมที่เราต้องปฏิบัติ ก็คือ สติ สมาธิ ปัญญา พอปฏิบัติสติมากขึ้น สติก็จะมีกำลังมากขึ้น จะทำให้เกิดสมาธิมากขึ้นๆ พอมีสมาธิมาก เราก็สามารถพิจารณาทางปัญญาได้มาก ปล่อยวางได้มากขึ้นไป จนกลายเป็นพระอริยเจ้าไป ถาม: ขอบคุณมากค่ะพระอาจารย์ ทีนี้หนูอ่านมาเจอว่า ศรัทธาให้สมดุลกับปัญญา แล้วก็วิริยะให้สมดุลกับสมาธิ แล้วมีสติให้เป็นตัวกำกับ ตรงนี้หนูไม่ค่อยเข้าใจค่ะ พระอาจารย์
พระอาจารย์: อ๋อ บางทีศรัทธามันมากเกินไป ศรัทธาแบบงมงาย ก็กลายเป็นศรัทธาแบบงมงาย มันต้องศรัทธาแบบมีเหตุผล ศรัทธาด้วยเหตุด้วยผล เหตุผลก็คือปัญญา เข้าใจไหม แต่ถ้ามีเหตุผลมากเกินไป บางทีมันก็จะทำให้ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ก็ได้ แล้วของบางอย่างนี้ บางทีเราไม่มีความสามารถที่จะเห็นได้ด้วยเหตุผลของเราเอง ก็จะทำให้เราอาจจะปฏิเสธในสิ่งที่ควรจะเชื่อก็ได้ เช่น เชื่อกฎแห่งกรรมนี้ ถ้าเราไม่มีปัญญา บางทีก็ต้องเชื่อไว้ก่อน อย่างพระพุทธเจ้าทรงสอนว่ากฎแห่งกรรมนี้เป็นของจริง ตายแล้วไปเกิดใหม่ เวียนว่ายตายเกิดนี้เป็นของจริง เพราะพิสูจน์ไม่ได้ เรายังไม่มีกำลังพิสูจน์ เห็นได้ด้วยตัวของเรา เราก็ต้องเชื่อ ทีนี้ถ้าเราไม่เชื่อเราก็จะปฏิเสธกฎแห่งกรรมไป งั้นไม่ต้องไปกังวลมากหรอก เพียงแต่พูดอธิบายให้ฟัง มันต้องมีเหตุมีผล ความเชื่อในศาสนาพุทธนี้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล ไม่ได้เชื่อด้วยความงมงาย ทำไปโดยไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร โทษของกามคุณ ถาม: กามคุณมีคุณมีโทษอย่างไรคะ พระอาจารย์: ความจริงมีโทษแต่เราไปเรียกว่ามีคุณ เพราะเราหลง มันให้ความสุขกับเราแบบระยะสั้น รูปเสียงกลิ่นรส พอได้เห็นรูปที่ชอบก็เกิดความสุขขึ้นมา เราก็เรียกว่ากามคุณ แต่เวลามันหมดไปนี่มันทำให้เราทุกข์กัน เพราะมันเป็นของไม่เที่ยง เป็นของชั่วคราว ดูหนังจบก็ต้องกลับบ้าน พอจบกลับบ้าน ความเศร้าความเหงาก็กลับมาใหม่ จึงต้องออกไปหากามคุณอยู่เรื่อยๆ หารูปเสียงกลิ่นรสกันอยู่เรื่อยๆ หาเท่าไหร่ก็หนีความทุกข์ไปไม่ได้ งั้นมาหาความสุขที่ไม่มีโทษดีกว่า คือมาหาความสงบกัน มาฝึกสมาธิ มานั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ แล้วจะได้ความสุขที่ไม่มีทุกข์ตามมา พอเราใช้สติได้แล้ว ก็ต้องใช้ปัญญามาสอนให้ปล่อยวาง ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ ลูกขอทราบวิธีการจัดการเมื่อเจอสิ่งกระทบที่ไม่พอใจ เราสามารถหลบภาวนา เช่น พุทโธ เพื่อกลับเข้าสู่สมถะ สมาธิให้จิตนิ่งได้ไหมเจ้าคะ เราจะได้ไม่ต้องไหลไปตามกระแส ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกหรือผิดเจ้าคะ พระอาจารย์: ถูกต้อง แต่เป็นวิธีแบบชั่วคราว ยังไม่สามารถที่จะทำใจให้พ้นจากอารมณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ทุกข์ ขั้นต้นก็ใช้วิธีนี้ไปก่อน ใช้สติพุทโธพุทโธไป เวลาเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมากระทบก็พุทโธพุทโธไป เดี๋ยวอารมณ์นั้นก็หายไป แต่เดี๋ยวไปกระทบกับอารมณ์อีก มันก็เกิดความทุกข์ขึ้นมาอีก งั้นขั้นต่อไปพอเราใช้สติได้แล้ว ก็ต้องใช้ปัญญามาสอนให้ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ อย่าไปยึดไปติดกับอารมณ์ อย่าไปอยากให้มันเป็นอารมณ์ดีอย่างเดียว อารมณ์มันก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา บางทีก็ดี บางทีก็ไม่ดี ควบคุมบังคับมันไม่ได้ เหมือนดินฟ้าอากาศ หัดอยู่กับมันเหมือนกับเราอยู่กับดินฟ้าอากาศ ฝนจะตกแดดจะออก เราก็อยู่ได้ ฉันใดเราก็หัดทำใจให้เราอยู่กับอารมณ์ดีก็ได้ อารมณ์ไม่ดีก็ได้ มันมาแล้วเดี๋ยวมันก็ไป ไม่ต้องไปไล่มันหรอก เดี๋ยวมันไปเอง อย่าทิ้งพุทโธ ถาม: วันนี้รู้สึกเบื่อและจิตใจค่อนข้างจะขุ่นมัวนิดหนึ่งเจ้าค่ะ พระอาจารย์: ต้องพยายามใช้สติท่องพุทโธ สวดมนต์ไปก็ได้ แล้วมันก็จะจางหายไปเอง คิดว่าเป็นเมฆหมอกก็แล้วกัน จิตใจเราก็เป็นเหมือนท้องฟ้า บางวันก็โปร่ง ท้องฟ้าโปร่ง บางวันก็อึมครึมเมฆหมอกเยอะ อารมณ์เยอะ แต่เราใช้ลมคือพุทโธนี้พัดมันออกไปได้ พุทโธพุทโธพุทโธไป สวดมนต์ไป เดี๋ยวสักพักหนึ่ง อารมณ์ต่างๆ มันก็จะจางหายไป จิตเรานี่เป็นเหมือนท้องฟ้านะ ท้องฟ้าภายใน อารมณ์มันเป็นพวกเมฆหมอก ถ้ามีสติ สติจะช่วยเคลียร์พวกอารมณ์ต่างๆ นี้ให้จางหายไป จิตว่าง สว่างไสว ดังนั้นอย่าทิ้งพุทโธนะ พอมีอารมณ์หงุดหงิดรำคาญใจ ท่องพุทโธไปเถอะ เดี๋ยวเดียว ไม่นาน มันจะเริ่มจางหายไป รู้สึกเบาสบายใจขึ้นมา เรามีของดีๆ แต่เราใช้ไม่เป็นกันทำเช่นไรเพื่อให้เกิดศรัทธาในใจเรา ถาม: เราจะทำเช่นไรเพื่อให้เกิดศรัทธาในใจเราคะ พระอาจารย์: ศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่เรื่อยๆ เอาธรรมของพระพุทธเจ้า เช่น พระไตรปิฎก ศึกษาพระสูตรสำคัญต่างๆ เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มงคลสูตร อาทิตยปริยายสูตร สติปัฏฐานสูตร สูตรเหล่านี้ หรือกาลามสูตร การเชื่อ เชื่ออย่างไร ถึงเรียกว่าเป็นการเชื่อ อันไหนไม่ควรเชื่อ เชื่องมงายหรือเชื่อด้วยเหตุด้วยผล ต้องเข้าหาธรรม ศึกษาพระสูตรหรือฟังธรรมจากพระอริยสงฆ์ก็ได้ ฟังบ่อยๆ เข้าแล้วมันก็จะเกิดความเข้าใจ จะเห็นคุณประโยชน์ของธรรม แล้วก็จะเกิดศรัทธาขึ้นมา เหมือนเราดูโฆษณานี่ ถ้าเราไม่ดูโฆษณาเราก็ไม่รู้ว่าสินค้าชนิดนี้มันเป็นยังไง ดีชั่วอย่างไร พอดูเข้า โอ๊ย ดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ พอเห็นแล้วก็อยากได้แล้ว น้ำลายไหลขึ้นมา นั่นแหละ เข้าหาพระพุทธเจ้า หาพระอริยสงฆ์ ก็เหมือนการไปดูโฆษณาของธรรม พอได้ยินรู้ว่าสรรพคุณของสินค้านี่มียังไง ดียังไง มีวิมุตติ มีการหลุดพ้น มีมรรคผลนิพพาน มีการเวียนว่ายตายเกิดในสุคติ ก็จะทำให้เกิดยินดีขึ้นมา อยากจะปฏิบัติตามขึ้นมา ก็เรียกว่าเกิดศรัทธา เกิดความเชื่อขึ้นมา แต่ถ้าไปศึกษากับคนที่ไม่รู้จริงเห็นจริง ฟังแล้วอาจจะงง อาจจะสงสัย อาจจะไม่เกิดศรัทธาได้เพราะสอนแบบผิดๆ ถูกๆ ไม่แน่ใจ ก็เลยฟังแล้วอาจจะไม่เกิดศรัทธาได้ งั้นต้องฟังจากแหล่งแท้แหล่งจริง ฟังจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เท่านั้น พระสงฆ์ก็ต้องเป็นพระอริยสงฆ์ ไม่ใช่พระที่เพิ่งบวชออกมาจากโบสถ์นี้ เป็นสงฆ์เหมือนกัน แต่เป็นปุถุชนสงฆ์ ไม่ใช่เป็นอริยสงฆ์ ไม่บาปแต่ว่าพูดไปแล้วมันจะเจ็บตัว ถาม: กราบเรียนท่านพระอาจารย์เจ้าค่ะ ตอนพูดโดยไม่เจตนาจนทำให้เขาโกรธ เรามาทราบภายหลัง ถือว่าเป็นการพร่องในศีลข้อ ๔ ที่ทำให้ไม่บริสุทธิ์หรือเปล่าเจ้าคะ พระอาจารย์: ก็อยู่ที่ว่าเราพูดอะไร ถ้าพูดคำหยาบมันก็พร่อง พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดปดนี้ ก็ผิด แต่ถ้าพูดความจริง ถ้าเขาไม่พอใจก็ช่วยไม่ได้ เข้าใจไหมถึงแม้จะไม่ผิดศีลแต่ก็ต้องพิจารณาว่าเหมาะสมไหมควรจะพูดไหมพูดแล้วโดนเขาตีหน้า ถูกเขาตบหน้าก็อย่าไปพูดดีกว่า ถึงแม้จะเป็นความจริงแต่เขารับไม่ได้ ก็อย่าพูดดีกว่า ไม่บาป แต่ว่าพูดไปแล้วมันจะเจ็บตัว อยากทำบุญต่ออายุให้มารดาควรทำอย่างไร ถาม: อยากทำบุญต่ออายุให้มารดา ควรทำบุญอย่างไรเจ้าคะ พระอาจารย์: เราต่อไม่ได้หรอกอายุ มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ถึงเวลามันจะตายมันก็ตาย เวลามันยังไม่ตาย มันก็ไม่ตาย ทำบุญไม่ได้ไปต่ออายุให้ใคร เป็นมะเร็ง..ตอนใกล้ตายควรจะทำอย่างไร ถาม: คุณป้าป่วยหนักเป็นมะเร็งขั้นที่ ๔ ค่ะ แล้วคุณป้าทราบแล้วว่าจะต้องตาย ตอนนี้คุณป้ากังวลและอยากรู้ว่า ตอนใกล้ตายจะมีความรู้สึกอย่างไร จิตใจจดจ่อกังวลกับเรื่องนี้ อยากทราบว่าควรจะทำอย่างไร พระอาจารย์: ก็กังวลต่อไป ถ้าจะไม่กังวลก็ต้องปลงเท่านั้น ปลงว่ามันไม่ใช่ตัวเราของเรา มันจะต้องตาย ยอมตาย มันก็จะสงบ งั้นบอกคุณป้าปลงซะ อย่าไปยื้อกับมัน อย่าไปยึดไปติดมัน ปล่อยมันไป เป็นเหมือนคนใช้ขอลาออกจากงาน ก็ปล่อยมันไป ไม่ต้องไปยื้อมัน ยื้อมันก็ทำให้ใจเราไม่สบาย บอก “ถ้ามึงอยากจะไปก็ไป” ใจเราก็จะสบาย ร่างกายเป็นบ่าว ใจเป็นนาย ร่างกายเขาขอลาออกจากงานแล้ว ก็ปล่อยเขาลาไป สามารถเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมได้หรือไม่ ถาม: เราสามารถเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมได้หรือไม่คะ พระอาจารย์: ในเบื้องต้นก็ได้ การปฏิบัติก็ เวลาเราทำงานก็เจริญทางโลก เวลาเราไม่ได้ทำงาน เรากลับมาบ้าน เราก็มาเจริญทางธรรมไป แต่ต่อไปถ้าทางธรรมเจริญมากขึ้นๆ เราก็อยากจะลดทางโลกให้น้อยลงไป เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับจากทางธรรมมันดีกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากทางโลก เพราะต่อไปมันก็จะย้ายไปทางธรรมอย่างเต็มรูปแบบ คือไปบวช ไปอยู่แบบนักบวชต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.90
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 31 มีนาคม 2564 15:54:12 » |
|
โมหะมีโทษมากคลายช้าเป็นเช่นไร ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ โมหะที่บอกว่ามีโทษมาก คลายช้า เป็นเช่นไรครับ พระอาจารย์: คือโมหะเป็นต้นเหตุของกิเลส ต้นเหตุของความโลภของความโกรธ โมหะคือการไม่เห็นทุกข์ในสิ่งต่างๆ ที่เราอยากได้ เรากลับไปเห็นว่ามันเป็นสุข พอเราไปเห็นว่าเป็นสุข เราก็ไปคว้ามันมา พอคว้ามันมาปั๊บ มันก็กัดเรา เหมือนกับไปเห็นงูเห่าว่าเป็นปลาไหลอย่างนี้ ก็คิดว่าเป็นอาหารอันโอชะ พอไปคว้ามันไปจับมันก็โดนงูเห่ากัดตายได้ นี่เรียกว่างูเห่า ความหลง ความไม่เห็นความจริง ธรรมจะติดไปกับใจของเรา ถาม: ถ้าเราดำเนินชีวิตตามหลักธรรมที่ถูกต้อง ตามหลักศีลธรรมอันถูกต้องดีงามแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็ต้องยอมรับ เพราะอย่างน้อยเราก็ทำหน้าที่อย่างดีที่สุด เท่าที่เราจะทำได้ ถูกต้องหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: ถูกต้อง ทุกคนที่ปฏิบัติธรรมนี้ก็จะยึดธรรมเป็นหลัก อย่างพระพุทธเจ้าสอน บอกให้สละทรัพย์ สละอวัยวะ สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม เพราะธรรมนี้เป็นของที่เป็นของแท้ของจริง ของที่จะอยู่กับใจ แต่ของอย่างอื่น คือ ทรัพย์สมบัติร่างกายนี้ พอตายไปมันก็หายไปหมด ไม่ไปกับใจ แต่ธรรมนี้ที่เราสร้างได้ ไม่ว่าจะเป็นศีลธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรมนี้ มันจะติดไปกับใจของเรา เป็นทรัพย์ของเราที่แท้จริง เรียกว่าทรัพย์ภายใน การปฏิบัติ ๓ ขั้นตอนของสติปัฏฐาน ๔ ถาม: ขออนุญาตสอบถามการปฏิบัติพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ มีขั้นตอนในการพิจารณาอย่างไร พระอาจารย์: อ๋อ สติปัฏฐาน ๔ นี้ความจริงมันเป็นการปฏิบัติ ๓ ขั้นตอนด้วยกัน ขั้นตอนแรกก็คือ การเจริญสติ พุทโธพุทโธหรือเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้เรียกว่าเป็นการเจริญสติ ร่างกายกำลังยืนก็เฝ้ารู้ว่ามันกำลังยืน กำลังนั่งกำลังนอนกำลังอาบน้ำกำลังแปรงฟัน ให้ใจเราอยู่กับมัน อย่าปล่อยให้ใจเราไปที่อื่น อย่าไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ ถ้าคิดถึงคนนั้นคนนี้ก็แสดงว่าไม่มีสติ ขั้นตอนแรกของสติปัฏฐานก็คือให้เรามีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย พอเรามีสติแล้ว ขั้นที่สองก็ให้ไปนั่งใต้โคนต้นไม้ นั่งดูลมหายใจเข้าออก เมื่อลมหายใจเข้าออกแล้วจิตก็จะสงบเป็นสมาธิ พอออกจากสมาธิพอชำนาญในสมาธิแล้วก็ไปเจริญปัญญาเป็นขั้นที่สาม ไปพิจารณา “กาย เวทนา จิต ธรรม” ว่าเป็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” แล้วก็ปล่อยวางกาย เวทนา จิต ธรรม แล้วก็จะบรรลุถึงพระนิพพานได้ต่อไป พิจารณาอสุภะสามารถทำได้ในขณะลืมตาหรือไม่ ถาม: เวลาที่จะพิจารณาอสุภะสามารถทำได้ในขณะลืมตาหรือไม่เจ้าคะ หรือควรทำหลังจากที่ทำสมาธิให้สงบในระดับหนึ่ง แล้วเริ่มพิจารณาอสุภะ พระอาจารย์: คือการพิจารณาอสุภะนี้ พูดความจริงก็พิจารณาได้ตลอดเวลา ยกเว้นเวลาที่อยู่ในสมาธิ เวลาในสมาธิจิตไม่คิดพิจารณาไม่ได้ แต่เวลาออกจากสมาธิมาหรือไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็นึกได้ เป็นหมอเขาก็นึกถึงอสุภะได้ เพียงแต่จะนึกได้นานต่อเนื่องมากน้อยเท่านั้นเอง สำหรับคนที่ไม่มีสติหรือสมาธิมากนี้จะนึกไม่ได้นาน นึกได้แวบสองแวบก็ลืมแล้ว ไม่นึกแล้ว แต่การพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์ ถึงกับการมากำจัดกามราคะได้นี่มันต้องคิดอยู่ตลอดเวลา ให้มันทันกับกามราคะ อันนี้ก็ต้องอาศัยมีสมาธิมากถึงจะสามารถพิจารณาได้ตลอดเวลา ถ้ามีสมาธิน้อยพิจารณาได้แวบสองแวบก็ลืมแล้ว ไปคิดเรื่องอื่นต่อแล้ว ก็จะไม่ทันเวลาเกิดกามารมณ์ขึ้นมา บางทีก็หายไปหมดแล้ว อสุภะที่เคยพิจารณา ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการพิจารณามากน้อยเพียงไร ถ้าต้องการพิจารณามากก็ต้องอาศัยกำลังของสมาธิช่วย ถ้ามีสมาธิมากก็จะพิจารณาได้มากได้นาน ถ้ามีสมาธิน้อยก็พิจารณาได้น้อย แต่พิจารณาได้ไม่มีสมาธิก็พิจารณาได้ แต่แต่แวบสองแวบ แล้วก็ลืมไปแล้ว แล้วเดี๋ยวก็ค่อยมาพิจารณาใหม่ งั้นถ้าต้องการพิจารณาแบบมากๆ ให้มันฝังอยู่ในใจไม่ให้หลงไม่ให้ลืม มันก็ต้องมีสมาธิมาก มันถึงจะทำได้ แต่ต้องทำเวลาที่ไม่ได้อยู่ในสมาธิ ไม่มีใครเป็นอะไรไปกับการนั่งสมาธิ ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์สุชาติเจ้าค่ะ ตอนนี้หนูฟังธรรมก็ประมาณปีเศษๆ ตอนนี้หนูติดก็คือหนูนั่งสมาธิ ก็ประมาณสักชั่วโมงเศษๆ นั่งไปแล้วมันรู้สึกว่าเหมือนมันหาย ตัวมันลอยเหมือนสำลี สักพักหนึ่งมันมีแค่ลมหายใจแล้วก็เสียงพัดลมเสียงแอร์มันก็หายไป ก็เกิดความกลัวหนูต้องถอนทุกครั้งเลย คือไม่กล้าไปต่อเจ้าค่ะ พระอาจารย์: ก็ไม่มีอะไรน่ากลัว ก็ใจไม่มีอะไรที่น่ากลัว ไม่มีอะไรทำร้ายเราได้ งั้นไม่ต้องไปกลัว ไม่มีใครเป็นอะไรไปกับการนั่งสมาธิ มีแต่จะได้รับประโยชน์ ได้เป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้ากันจากการนั่งสมาธิ งั้นเราไม่ต้องไปกลัวอะไร ถ้าเรามีสติจะไม่มีอะไรน่าหวาดกลัวปรากฏขึ้นมา เราต้องนั่งแบบมีสติ คือต้องมีพุทโธพุทโธ หรือมีการดูลมหายใจ อย่านั่งดูใจเฉยๆ ถ้านั่งดูใจเฉยๆ เดี๋ยวใจมันจะหลอกเราได้ มันจะสร้างภาพที่หวาดกลัว น่ากลัวขึ้นมาหลอกเรา แต่ถ้าเราคอยควบคุมใจให้มีพุทโธพุทโธอยู่ หรือมีการดูลมหายใจอยู่อย่างต่อเนื่อง จะไม่มีอะไรปรากฏขึ้นมาหลอกเราได้ ถ้ามันปรากฏก็บอกว่ามันเป็นเพียงหนังเท่านั้นเอง เป็นเหมือนภาพในจอหนัง แล้วเราสามารถทำให้มันหายไปได้ด้วยการกลับมาหาพุทโธพุทโธ อย่าไปดูภาพนั้นเวลาเกิดภาพอะไรปรากฏขึ้นมา เราก็กลับมาที่พุทโธพุทโธพุทโธไป พอเราอยู่กับพุทโธสักระยะหนึ่ง ภาพต่างๆ มันก็จะหายไปสมถะและวิปัสสนามันคนละวิชากัน ถาม: ปกติเวลานั่งสมาธิจะยึดคำบริกรรมพุทโธเป็นหลัก แต่เคยได้ฟังเทศน์มาว่า ควรจะพิจารณาอสุภะไปด้วย อยากจะลองพิจารณา แต่ก็ไม่รู้ว่าต้องพิจารณาอย่างไรครับ และพิจารณาตอนไหน ขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ด้วยครับ พระอาจารย์: คือ การปฏิบัตินี้มันมี ๒ ตอน ตอนทำใจให้สงบ กับตอนสอนใจให้ฉลาด ถ้าเราต้องการความสงบ เราก็ต้องใช้พุทโธพุทโธ หรือดูลมหายใจเข้าออกไป ไม่ควรพิจารณาอสุภะตลอดเวลา ถ้าเราต้องการสอนใจให้ฉลาด ให้รู้ว่าร่างกายนี้สวยงามหรือไม่สวยงาม เราก็ต้องพิจารณาอสุภะ ซึ่งต้องทำคนละตอนกัน ตอนทำใจให้สงบ ก็อย่าคิด ตอนทำใจให้ฉลาดก็คิด คิดในเรื่องที่จะทำให้ใจให้ได้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกาย เช่น อสุภะ อย่างนี้ เป็นของไม่สวยไม่งาม เป็นต้น งั้นเราต้องรู้จักแยกแยะว่าเรากำลังจะทำอะไร เหมือนเราไปเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เราก็ไม่เอาหนังสือภูมิศาสตร์เข้าไปเรียน เวลาเราไปเรียนภูมิศาสตร์ เราก็ไม่ได้เอาหนังสือคณิตศาสตร์ไปเรียนใช่ไหม เรียนเข้ากันไม่ได้ มันจะทำให้ขัดกัน เวลาทำใจให้สงบนี้ เราไม่ต้องการคิด เราต้องการหยุดคิด ทำใจให้นิ่งด้วยการเพ่ง เพ่งพุทโธหรือเพ่งดูลมหายใจเข้าออก แต่ถ้าเราต้องการความฉลาด ความรู้ อยากจะรู้ว่าร่างกายเรานี้สวยงาม ไม่สวยงามจริงๆ ก็ดูอาการ ๓๒ ไป พิจารณาดูอาการที่อยู่ภายใต้ผิวหนังของเรา แล้วเราก็จะได้รู้ว่ามันไม่ได้สวยไม่ได้งาม อย่างที่เราหลงคิดกัน นี่คือการปฏิบัติ ซึ่งเรามักจะสับสน ไม่เข้าใจแล้วเอามาปนกัน มันก็เลยเหมือนกับกาแฟร้อนกับกาแฟเย็นมาปนกัน มันจะร้อนก็ไม่ร้อน จะเย็นก็ไม่เย็น กินก็ไม่อร่อย มันจะต้องเททิ้งไป อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าปฏิบัติสมถะ แล้วไปพิจารณามันก็จะไม่สงบ ถ้าต้องการความรู้ก็ต้องไม่เพ่งดูลมหายใจ ไม่พุทโธ ต้องพิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาอสุภะ เป็นต้น ขอให้เข้าใจดังนี้ แล้วเราจะได้ไม่สับสน มันคนละวิชากันนะ ความฝันมีสองแบบ ถาม: ขอน้อมกราบเรียนถามพระอาจารย์ แม่ของผมท่านเสียชีวิตไปแล้ว ๒๘ ปี ผมไม่เคยฝันเห็นท่านเลย ผมทำบุญใส่บาตรและสวดมนต์ นั่งสมาธิอุทิศบุญให้ท่านทุกวัน แต่เมื่อคืนวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ที่ผ่านมานี้ ผมได้ฝันเห็นท่านได้คุยกัน ผมดีใจมาก อยากเรียนถามว่า เกิดจากบุญที่ผมสะสมให้กับท่าน ใช่หรือเปล่าครับ พระอาจารย์: ไม่หรอก ความฝันก็คือความคิดของเรานั่นเอง วันดีคืนดีเราก็ฝันถึงท่านขึ้นมา เป็นฝันขึ้นมาในใจเรา ฝันนี่มีสองแบบ ฝันแบบเกิดจากความคิดของเรา และฝันที่เกิดจากตัวจริงมาเยี่ยมเรา บางทีเรานอนหลับเราคิดว่าเราฝันแต่ความจริงเป็นดวงวิญญาณที่เขาเข้ามาเยี่ยมเราก็ได้ในตอนที่เรานอนหลับ หรือว่าเป็นความคิดปรุงแต่งของเราปรุงแต่งขึ้นมาก็ได้ อันนี้เราจะไม่รู้ถ้าเราไม่หามาตรการพิสูจน์ ถ้าอยากจะรู้มาตรการพิสูจน์ก็อาจจะต้องให้เขายืนยันเหมือนพาสเวิร์ด (password) คุณมีพาสเวิร์ดหรือเปล่า คุณบอกพาสเวิร์ดให้เราทราบซิ อย่างนี้ เช่น คุณเคยเก็บของไว้ตรงไหนหรือเปล่าที่เราไม่รู้ บอกเราซิว่าคุณเก็บกุญแจหรือเก็บแหวนไว้ตรงไหน ในซอกไหนหรือเปล่า แล้วถ้าเขาบอกว่า “เอ้อ เก็บไว้ตรงนั้นตรงนี้” แล้วเราตื่นขึ้นมาแล้วเราไปค้นหาดู “เอ๊ะ มีอย่างที่เขาบอกนี่” เออ อย่างนี้เราจะได้รู้ว่าเป็นของจริงมาเยี่ยมเรา ไม่ได้เป็นความคิดของเรา เราคิดขึ้นมา การอธิษฐานและไม่อธิษฐานส่งผลบุญต่างกันไหม ถาม: เวลาทำบุญการอธิษฐานและไม่อธิษฐานส่งผลบุญต่างกันไหมคะ อย่างไรคะ พระอาจารย์: คือเวลาจะทำบุญนี่มันต้องอธิษฐานก่อนแล้ว คือคำว่าอธิษฐานนี้คือความตั้งใจ ก่อนที่เราจะทำบุญเราต้องคิดก่อนว่าวันนี้จะทำบุญ อันนั้นก็เรียกว่าอธิษฐานแล้ว ไม่ใช่อธิษฐานอย่างที่เราเข้าใจว่า ทำบุญแล้วขอให้ได้แฟนหล่อ แฟนรักเรา มีลูกดี ขอให้รวย อธิษฐานอย่างนี้อธิษฐานไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่เป็นเหตุที่จะทำให้เกิดผลจากการทำบุญ การทำบุญมันมีผลในตัวแล้วคือความสุขใจอิ่มใจ เป็นเสบียงที่เราเอาไปใช้ต่อเวลาที่เราตายจากโลกนี้ไปแล้วได้ จะขอหรือไม่ขอก็ได้เท่าที่เราทำนั่นแหละ จะขอมากกว่าที่เราทำก็ไม่ได้ จะขอให้ได้น้อยกว่าที่เราทำก็ไม่ได้ เราก็ได้ตามเหตุที่เราทำไว้ ดังนั้นทุกครั้งก่อนที่เราจะทำอะไร เราต้องอธิษฐานกันก่อน เพราะคำว่าอธิษฐาน ความหมายที่ถูกต้องแปลว่าความคิดความตั้งใจนี่เอง วันนี้จะมาที่นี่ได้ก็ต้องคิดก่อนต้องตั้งใจก่อนว่าวันนี้จะมาวัด อันนี้ก็เรียกว่าอธิษฐานแล้ว ถ้าไม่อธิษฐานก็จะไม่ได้มาที่วัด งั้นอธิษฐานนี่มันเป็นได้ทั้งดีทั้งชั่ว วันนี้จะไปเที่ยวบ่อนมันก็อธิษฐาน ดังนั้นคำว่าอธิษฐานแปลว่าความตั้งใจ ความคิดความตั้งใจ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทำอะไร ทุกครั้งก่อนที่เราจะทำอะไร เราคิดก่อนแล้วทั้งนั้น เราอธิษฐานแล้ว ไม่ต้องมาอธิษฐานตอนจะถวายให้พระ โอ๊ย พระ ยืนขาเมื่อยเลย นั่งอธิษฐานที ขอเลย อธิษฐานอย่างนั้นไม่ได้ผลอะไร ผลเกิดจากการที่เราทำ ทำเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น ถ้าอยากจะไปนิพพานมันต้องไปปฏิบัติ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ไม่ใช่ใส่บาตรแล้วก็ขอไปนิพพานอย่างนี้ ขอยังไงก็ไปไม่ถึง เหมือนตีตั๋วไปแค่พัทยาแล้วขอให้ไปถึงกรุงเทพฯ อย่างนี้ ไม่ได้หรอก ไปกรุงเทพฯ ก็ต้องตีตั๋วไปกรุงเทพฯ ไปตีตั๋วแค่พัทยาก็ต้องลงพัทยานั่นแหละ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมเป็นเรื่องงมงายหรือไม่ ถาม: ความเชื่อเรื่องเวรกรรม นรก สวรรค์ เป็นเรื่องงมงายหรือไม่ครับ และจะสามารถสอนเด็กรุ่นใหม่ให้เข้าใจและเชื่อฟังได้อย่างไรครับ พระอาจารย์: เป็นความจริงและสามารถพิสูจน์เห็นได้ เพราะว่าบุญหรือบาปนี้มันเป็นเรื่องการกระทำของเรา ทางกาย วาจา และใจ และผลของบุญก็จะเกิดขึ้นที่ใจของเรา งั้นเวลาเราทำบุญนี้เราจะเกิดความสุขใจ เวลาเราทำบาปเราจะเกิดความทุกข์ใจ ความสุขใจนี้เราเรียกว่าสวรรค์ ความทุกข์ใจเราเรียกว่านรก แล้วก็มันจะเป็นนรกเป็นสวรรค์ หลังจากที่ร่างกายเราตายไปแล้ว เพราะว่าความสุขใจกับความทุกข์ใจนี้มันยังสะสมไว้ในใจของเราอยู่ พอถึงเวลาที่ร่างกายเราตายไป ใจของเราก็ต้องอยู่กับบุญกับบาปที่เราทำไว้ ถ้าอย่างไหนแสดงผล ถ้าบุญแสดงผลก็เป็นสวรรค์ ถ้าบาปแสดงผลก็เป็นนรก ดังนั้นนี่เป็นความจริงที่เราสามารถที่จะพิสูจน์ได้ส่วนหนึ่ง คือ เราเห็นได้ การกระทำของเรา เราเห็น เราทำบุญหรือทำบาป แล้วเวลาทำเสร็จแล้วใจเรารู้สึกยังไงนี้ เราเห็นได้ แต่ส่วนที่เราไม่เห็นก็คือตอนที่เราตายไปแล้ว แต่เราสามารถเห็นตัวอย่างของมันได้ เวลาที่เราหลับไง เวลาเราหลับนี่ ถ้าบุญส่งผลเราจะฝันดี ฝันว่าเราได้ไปเที่ยวที่นั่นเที่ยวที่นี่ ไปดูไปฟังไปกินไปดื่มอะไร ไปพบแต่สิ่งที่ดีๆ อันนั้นแหละคือตัวอย่างของสวรรค์เวลาที่เราไม่มีร่างกาย ในทางตรงกันข้ามถ้าบาปส่งผล เราจะฝันร้าย ฝันว่าเราไปอยู่ในที่อดอยากขาดแคลน ฝันว่าเราถูกคุกคามด้วยภัยต่างๆ อย่างนี้ก็เรียกว่าฝันร้าย อันนี้เป็นความจริง ฝันร้ายเรียกว่านรก ฝันดีก็เรียกว่าสวรรค์ ไอ้ตัวนี้แหละจะเป็นเวลาที่ร่างกายเราไม่มี เวลาที่ร่างกายเราตายไป ใจเราก็จะเป็นอย่างนี้ จะอยู่กับความฝันดีหรือความฝันร้าย จนกว่าเราจะไปเกิดใหม่ พอเราได้ร่างกายอันใหม่ เราคลอดออกจากท้องแม่เรา ก็เหมือนกับตื่นขึ้นมาใหม่ แล้วก็มาทำบุญทำบาปใหม่ต่อใหม่ ปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ครอบครัวแตกแยก ถาม: ผมมีปัญหาครอบครัวแตกแยกครับ แต่ก็ยังรักยังห่วงอาลัยมาก เนื่องจากมีลูกด้วยกัน จึงทำให้ทุกข์ใจมากครับ ผมจะใช้วิธีปฏิบัติแบบไหนให้พ้นจากความทุกข์ตรงนี้ได้ครับ พระอาจารย์: อ๋อ การแตกแยกมันเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องแยกทางกัน ไม่มีใครมาอยู่ร่วมกันตลอด ถึงเวลาก็ต้องแยกกันไปทีละคนสองคน บางคนก็ไปแต่งงานไปมีครอบครัวใหม่ บางคนก็หย่าร้างกัน แยกกันไป บางคนก็ตายจากกัน ในที่สุดมันก็ตายหมด ย้อนดูประวัติของคนเมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ตอนนี้มีใครหลงเหลืออยู่ในโลกนี้บ้างล่ะ ไม่มีหรอก มันก็แตกแยกกันไปทีละคนสองคน เดี๋ยวก็ตายกันไปหมด งั้นให้มองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเตือนสติอยู่เรื่อยๆ ว่าเกิดมาแล้วเราย่อมมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา มีการแตกแยกจากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความพลัดพรากจากกันไปไม่ได้ เพื่อเราจะได้ไม่มาเศร้าโศกเสียใจเวลามันเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นมา เพราะมันเป็นเรื่องที่จะต้องเกิดขึ้นกับทุกคน การดุด่าว่ากล่าวทำได้แต่อย่าทำด้วยอารมณ์ ถาม: เนื่องจากเป็นคุณแม่ลูกเล็ก ๒ คน เวลาลูกเล่นเลอะเทอะ หรือไม่ฟัง ตัวเองจะดุลูก แล้วทำให้ลูกกลัว สุดท้ายแล้ว ตัวเองก็มาเสียใจที่ดุลูก อยากจะเป็นคุณแม่ที่สงบและอ่อนโยนกับลูก จะเริ่มต้นอย่างไรดีคะ และพบว่าเมื่อมีเวลามาฟังธรรมะจากพระอาจารย์ จิตใจกลับสงบ แต่เมื่อเจอลูกซน ก็กลับมาเป็นคนอารมณ์ร้อน โมโหง่าย ต้องแก้อย่างไรคะ พระอาจารย์: คือ การดุด่าว่ากล่าวตักเตือนนี้ทำได้ แต่อย่าทำด้วยอารมณ์ ทำด้วยเหตุผล เวลาลูกทำอะไรแล้วเราโกรธเขานี้ เรายังไม่ควรไปว่ากล่าวตักเตือนเขา ต้องรอให้เราสงบสติอารมณ์ แล้วก็พูดคุยกับเขาดีๆ ว่าเขาดีๆ ว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกนะ ต่อไปอย่าทำ เป็นการสั่งการสอนได้ ถ้าเราทำอย่างนี้แล้ว เราจะไม่รู้สึกเสียใจ ถ้าเราไม่ทำเราจะเสียใจ เพราะจะปล่อยปละละเลยหน้าที่ เด็กเขาไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก อะไรควรไม่ควร เราเป็นผู้ใหญ่ผู้รู้ เราต้องบอกเขาสอนเขา ดังนั้นเวลาสอนเขาบอกเขา อย่าใช้อารมณ์ ใช้เหตุผล ถ้ามีอารมณ์ถ้าพูดไปแล้วจะทำด้วยความโกรธ ด้วยความไม่พอใจ ก็รอให้สงบสติอารมณ์ก่อนแล้วค่อยบอกเขาว่า เมื่อกี้ทำอย่างนี้ไม่ถูกนะลูกนะ ทำไปแล้วเกิดความเสียหาย อะไรต่างๆ ให้เขาฟังไป เขาก็จะไม่กลัวเรา เขาจะไม่โกรธเรา เพราะเราพูดด้วยเหตุด้วยผล พูดเหมือนการสั่งสอน บอกเขาผิดถูกดีชั่วว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าเราพูดด้วยอารมณ์ ใจเขาจะรู้ว่า เหมือนกับเราเกลียดเขาโกรธเขา เขาก็กลัวเรา เขาก็ไม่มีความสนิทสนมกับเรา แต่ถ้าเราพูดด้วยความเมตตา พูดด้วยเหตุด้วยผลนี้ เขาจะรับได้ ดังนั้นเวลาอบรมสั่งสอนใครนี้ ต้องดูอารมณ์ของตนเองก่อน ว่าเป็นกลางหรือไม่ ปราศจากความรักชังกลัวหลงหรือไม่ ถ้ามีอารมณ์เหล่านี้ พูดไปแล้วมันจะส่งผลเสีย มากกว่าส่งผลดีพระโสดาบันต้องกลับมาเกิดหรือไม่ ถาม: พระโสดาบันอยู่ชั้นไหนครับ ต้องกลับมาเกิดรหรือปล่าครับ พระอาจารย์: พระโสดาบันยังติดอยู่ในกามภพอยู่ เพราะว่ายังไม่ได้ตัดกามให้หมดสิ้นไป ยังอยากมีแฟนอยู่ ยังอยากมีครอบครัวอยู่ ยังอยากเที่ยวอยู่ เพียงแต่ว่าท่านจะไม่ทำบาปอย่างแน่นอน เพราะท่านรู้ว่าการทำบาปนี้ได้ไม่คุ้มเสีย ถ้าอยากจะเที่ยวก็เที่ยวแบบไม่ไปทำผิดศีลผิดธรรม ไม่ไปดื่มสุรายาเมา ไม่ไปตามบาร์ตามผับ ไปตามสถานบันเทิงต่างๆ ไปก็ได้แต่เป็นบันเทิงแบบไม่มีสุรา ไม่มีการกระทำที่ผิดศีล ไม่ดีใจไม่เสียใจในเรื่องต่างๆ ควรทำอย่างไร ถาม: มีความรู้สึกไม่ดีใจไม่เสียใจในเรื่องต่างๆ จนเหมือนไม่อยากสนใจอะไรเลย มันเป็นไปเองควรทำอย่างไรดีเจ้าคะ พระอาจารย์: ก็ดี ไม่ดีใจไม่เสียใจก็ดี พอดีใจแล้วเดี๋ยวสิ่งที่ดีใจหายไปก็จะเสียใจ ถ้าเสียใจพอเจอสิ่งที่เสียใจก็ไม่สบายใจ งั้นก็ถือว่าดีแล้ว ก็พยายามทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ที่มาปฏิบัตินี้ก็เพื่อให้ใจเฉยๆ ไม่มีปฏิกิริยากับสิ่งต่างๆ ที่ไปสัมผัสรับรู้ ให้สักแต่ว่ารู้ไปเท่านั้นเอง เพราะว่าของทั้งหลายในโลกนี้มันก็เป็นของปลอมของชั่วคราว ได้มาเดี๋ยวก็ต้องเสียไป ไม่ได้มาก็ไม่ได้เสียไป เรามาตัวเปล่าๆ เดี๋ยวเราก็ไปตัวเปล่าๆ งั้นมาอยู่แบบสบายดีกว่า ไม่วุ่นวายไปกับสิ่งต่างๆ ที่เรามาสัมผัสรับรู้ ก็รับรู้ไปตามเรื่องของมันความตายเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ร่างกายไม่ต้องมีใครมาทำร้ายมันเดี๋ยวมันก็ทำร้ายตัวมันเอง ร่างกายมันเอาความแก่ความเจ็บความตายมาทำร้ายมัน เพราะฉะนั้นถ้าเรามองดูความจริงว่าอย่างมากก็แค่ตาย แล้วไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องตายกันทั้งหมด การเจริญมรณานุสสติก็จะช่วยทำให้เราทำใจได้ แต่ก่อนที่จะใช้มรณานุสสติ เราก็ต้องทำใจให้ว่างให้สงบก่อน ทำใจให้สบายก่อน ด้วยการเจริญพุทธานุสสติ “พุทโธ พุทโธ” หรืออานาปานสติ พอใจว่างเย็นสบาย เราก็มาดูปัญหาของชีวิต ปัญหาของชีวิตมันก็จะมารวมกันที่ความแก่ความเจ็บความตายนี่แหละ ทำอะไร อย่างไร ได้มากได้น้อย ในที่สุดก็ต้องมาเจอความแก่ความเจ็บความตาย จะร่ำรวยขนาดไหน จะเป็นใหญ่เป็นโตขนาดไหน จะมีอะไรมากน้อยเพียงไร หรือจะตกทุกข์ได้ยากขนาดไหน มันก็มารวมกันที่ความแก่ความเจ็บความตายนี่ ถ้าเรายอมรับว่าความแก่ความเจ็บความตาย เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ล่วงเกินไปไม่ได้ เราจะต้องเจอมัน และวิธีที่จะเจอมันอย่างสงบ เจอมันอย่างไม่มีปัญหา ไม่วุ่นวายใจ ก็คือต้องทำใจให้สงบ ทำใจให้ปล่อยวาง ปล่อยให้มันเป็นไป ธรรมะหน้ากุฏิ & สนทนาธรรมบนเขา โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.93
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 28 เมษายน 2564 19:04:15 » |
|
อุทิศบุญ..ทำตอนที่เราไปทำบุญ ถาม: ขณะนั่งสมาธิแล้วบริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ แต่มีช่วงขณะหนึ่งจิตมันแวบไปอุทิศบุญให้กับญาติที่ล่วงลับไปแล้ว อย่างนี้ถือว่าปฏิบัติผิดไหมคะ ที่ถูกต้องคือต้องอุทิศบุญหลังจากที่ออกจากสมาธิอย่างเดียวหรือไม่คะ พระอาจารย์: อ๋อ อุทิศบุญนี้ทำตอนที่เราไปทำบุญ ตอนนั่งสมาธินี้ยังไม่เกิดบุญเพราะยังไม่สงบยังไม่ได้ผล ถึงแม้จะนั่งเสร็จแล้วแต่ก็ยังไม่มีผลบุญเกิดขึ้น งั้นไม่ควรที่จะมากังวลกับการอุทิศบุญในช่วงที่เรานั่งสมาธิ อยากจะอุทิศบุญก็ไปใส่บาตร ไปทำบุญทำทานถวายสังฆทาน ทำปุ๊บบุญเกิดขึ้นปั๊บ อุทิศได้ทันทีเลย แต่ถ้านั่งสมาธินี้ส่วนใหญ่เราไม่คำนึงถึงการอุทิศบุญ เรานั่งสมาธิเพื่อใจสงบให้เกิดความสุขใจขึ้นมา งั้นให้มีสติอยู่กับการนั่ง อย่าปล่อยให้ใจไปคิดถึงเรื่องอื่น อุทิศบุญ ให้ดึงกลับมาอย่าให้คิดถึงเรื่องอะไรทั้งหมด ให้อยู่กับพุทโธพุทโธไปหรืออยู่กับการดูลมหายใจเข้าออกไป แล้วใจก็จะค่อยๆ เข้าสู่ความสงบ จะเข้าได้มากได้น้อยก็อยู่ที่กำลังของสติที่เราจะควบคุมความคิดไว้ ป่วยหนักคงอยู่ได้อีกไม่นาน ถาม: ผมป่วยหนักคงอยู่ได้ไม่นาน แต่สิ่งที่กังวลมากคือกลัวความทรมานก่อนไป พยายามเปิดฟังธรรมะบ่อยๆ แต่ก็ปลงเรื่องกลัวการทรมานไม่ได้ ชอบคิดจนกลัวจะต้องทำอย่างไรครับ พระอาจารย์: ความกลัวมันก็เกิดจากความหลงนั่นเอง ความหลงก็คือเกิดจากความเข้าใจผิดที่เราคิดว่าร่างกายเป็นตัวเราของเรา ดังนั้นก็พยายามพิจารณาร่างกายอยู่เรื่อยๆ ว่ามันไม่ใช่ตัวเราของเรา มันทำมาจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ มันเป็นของขวัญพ่อแม่มอบให้เรามา เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่งให้เรามาเล่นกับมันเท่านั้นเอง เดี๋ยวตุ๊กตาตัวนี้มันก็ตายไป ก็ต้องปล่อยมันตายไปเพราะมันต้องกลับคืนสู่สภาพเดิมคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ คิดอย่างนี้แล้วเราก็จะปล่อยวางร่างกายได้ ความกลัวความทรมานมันก็จะไม่เกิด “ความทรมาน” มันเกิดจากความหลงไปคิดว่าเราเป็นร่างกายเราจะตาย เราไม่มีใครอยากจะตายกัน แต่ความจริงเราไม่ตายเราเป็นผู้รู้ผู้คิดเป็นใจที่ไม่มีวันตาย ต้องพยายามศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องมีสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะได้รู้จักวิธีปฏิบัติกับร่างกายอย่างถูกต้อง คือปล่อยวาง มันเป็นอะไรก็ดูแลมันไปเท่าที่จะดูแลได้ ถ้าถึงเวลาดูแลไม่ได้ก็ปล่อยมันไป มันจะหยุดหายใจก็ปล่อยมันหยุดหายใจ แล้วรับรองได้ว่าใจจะไม่ทรมาน คันในเรื่องที่ไม่ควรจะคัน ถาม: มีบางคนเข้าวัดไปปฏิบัติธรรม ฟังธรรมะครูบาอาจารย์แต่กลับชอบว่าคนอื่น ผมก็เลยบอกเขาว่า นี่หรือนักปฏิบัติธรรม เขาก็เลยโกรธผม ผมก็ไม่เตือนเขาอีก อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ พระอาจารย์: เราก็ผิดเขาก็ผิด อย่าไปยุ่งกับเขาเลย เราก็ปฏิบัติธรรมแล้วก็ไปทะเลาะกับเขา ก็พอกันแหละ งั้นอย่าไปยุ่งกับใคร เรื่องของคนอื่นไม่เกี่ยวกับเรา เรามาดูเรื่องของเราว่าสงบหรือไม่สงบดีกว่า คันหรือไม่คัน ชอบคันเรื่อย คันในเรื่องที่ไม่ควรจะคัน ไอ้เรื่องที่ควรจะคันไม่คันนะสมองคิดไม่ได้..จิตเป็นผู้คิด ถาม: การพิจารณาคือการใช้จิตและสมองเข้าไปคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ทั้งอดีตและปัจจุบัน แล้วน้อมมาสอนตัวเอง อย่างนี้ถูกไหมครับ พระอาจารย์: สมองคิดไม่ได้หรอก จิตเป็นผู้คิด สมองเป็นเพียงแต่ผู้ทำหน้าที่คอยสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวต่างๆ ตามคำสั่งของใจอีกทีหนึ่ง เป็นผู้ประสานคำสั่ง รับคำสั่งมาจากใจแล้วก็สั่งไปที่แขนที่ขาให้ยกขึ้น ให้แกว่งไปแกว่งมา สมองทำหน้าที่รับคำสั่งอีกที สมองไม่ได้มีความคิด คิดไม่เป็น ผู้ที่คิดคือใจ ใจเป็นผู้คิด คิดแล้วสมองก็รับคำสั่งไปทำตามที่ใจคิด คิดว่าเดี๋ยวขอลุก สมองก็สั่งไปที่ร่างกาย เตรียมตัวลุกนะ มีคำสั่งมาให้ลุกแล้ว กลัวโรคโควิดจนเครียด ถาม: พี่ชายกลัวโรคโควิดจนเครียดมา ๓ เดือนแล้ว กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไปหาหมอจิตมาก็ไม่ดีขึ้น รบกวนพระอาจารย์ช่วยชี้แนะแนวทางหาทางออกให้ด้วยครับ พระอาจารย์: ในเบื้องต้นก็พยายามทำจิตใจให้สงบ อย่าไปคิดถึงเรื่องนี้ เช่น เวลานอนหลับไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้ ความเครียดก็หายไป พอตื่นขึ้นมา พอเริ่มดคิดถึงเรื่องนี้ก็เครียดขึ้นมาใหม่ งั้นพอตื่นขึ้นมานี้ต้องหยุดมันอย่าให้มันคิดถึงเรื่องโควิดนี้ ให้มันคิดถึงพุทโธแทน ให้มันท่องพุทโธแทน อย่าไปโควิด โควิด ยิ่งโควิดยิ่งเครียด แต่ถ้าให้ท่องพุทโธ คิดถึงพุทโธได้ความเครียดมันก็จะไม่เกิด นี่คือเบื้องต้น วิธีง่ายที่สุดแต่ก็ต้องใช้ความเพียรพยายาม ถ้าไม่ขยันพุทโธ มัวไปขยันโควิดก็เครียดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นต้องพยายามสู้กับโควิดให้ได้ สู้กับความคิดถึงโควิดด้วยการให้คิดถึงพุทโธแทน พุทโธๆ ไป พอตื่นขึ้นมาพอมันจะโควิดปั๊บก็ พุทโธๆ ไปเลย ทำอะไรก็พุทโธไป อาบน้ำล้างหน้าแปรงฟันก็พุทโธไป สักพักโควิดมันก็จะหายไป ใจก็จะสบาย แล้วถ้าเกิดมันกลับมาคิดใหม่ก็พุทโธใหม่ สู้ไปจน ถ้าเราสู้ไปเรื่อยๆ เราสู้มันได้แล้ว ทีนี้เราไม่กลัวมันแล้ว พอมันจะโควิดปั๊บเราก็พุทโธไป อย่าไปคิดให้เสียเวลาเพราะเรื่องของโควิดนี่เราไปจัดการมันไม่ได้ในตอนนี้ เราต้องจัดการตัวเราเอง ป้องกันตัวเราเอง ตอนนี้ยังไม่มีวิธีการกำจัดโควิดได้ ก็ต้องป้องกันตัวเองไปก่อน ส่วนทางใจเรานี้ พอเรามีกำลังที่จะทำใจให้สงบได้ ไม่หวาดกลัวกับโควิดแล้ว ขั้นที่ ๒ ก็หัดมาใช้ปัญญา สอนใจว่าร่างกายของเรานี้มันโควิดหรือไม่โควิดมันก็ต้องเจอโรคใดโรคหนึ่งอยู่ดีแหละ ไม่เจอโควิดก็ไปเจออหิวาต์ ไม่เจออหิวาต์ก็ไปเจอไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย อะไรต่างๆ มันมี เรื่องเอดส์ก็ยังรอเราอยู่นี่ ไม่ใช่มันไม่มี โรคเอดส์มันก็ไม่ได้หายไปนะ งั้นมันมีโรคอะไรต่างๆ ที่จะเข้ามารังควาญร่างกายของเราได้เสมอ แล้วก็ถึงแม้จะไม่มีเรื่องราวเหล่านี้ มันก็มีโรคในตัวของมันเอง เดี๋ยวร่างกายมันก็มีโรคของมันรออยู่ โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคปอด โรคอวัยวะต่างๆ ของร่างกายนี้มันเป็นที่เพาะเชื้อทั้งนั้นแหละ เพาะเชื้อโรคทั้งนั้นที่สร้างเชื้อโรคทั้งนั้น ดังนั้นให้พิจารณาเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บของร่างกายว่ามันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นหนีมันไม่ได้ หนีมันไม่พ้น เกิดมาแล้วต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความเจ็บไข้ได้ป่วยไปไม่ได้ แล้วถ้าเจ็บแล้วถ้ารักษามันไม่ได้ มันก็ต้องตายไปเป็นธรรมดา ร่างกายถ้ามันไม่ตายด้วยโรคมันก็ต้องตายด้วยหมดแรงตายไป พอหมดลมมันก็ตาย ไม่มีแรงหายใจมันก็ตายเหมือนกัน ดังนั้น เกิดมาแล้วหนีไม่พ้นเรื่องของความเจ็บไข้ได้ป่วย เรื่องของความตาย ทุกคน จะต้องเจอกันช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง ถ้าใจเป็นปกติใจสงบแล้วถึงจะสอนเรื่องนี้ได้ เพราะถ้าใจยังเครียดยังกลัวอยู่อย่างนี้สอนไม่ได้ ถ้ายังเครียดยังกลัวอยู่ก็ใช้พุทโธดับความเครียดความกลัวไปก่อน พยายามระลึกถึงพุทโธอยู่เรื่อยๆ อย่าปล่อยให้ใจไปคิดถึงโควิด คิดถึงการเจ็บไข้ได้ป่วย คิดถึงความตาย เพราะคิดแล้วมันยิ่งกลัวยิ่งเครียดใหญ่ เดี๋ยวเป็นบ้าเอา งั้นในเบื้องต้นนี้ต้องทำใจให้กลับมาเป็นปกติก่อน ให้มันสงบเป็นปกติไม่เครียดก่อน ด้วยการใช้สติคือพุทโธยับยั้งความคิดปรุงแต่งต่างๆ ให้ได้ พอใจหยุดคิดแล้วใจก็จะหายเครียด ใจก็จะเป็นปกติได้ ต่อไปถึงจะสามารถใช้ปัญญามาสอนใจให้มาปล่อยวางร่างกายให้ได้ พอเห็นว่าร่างกายนี้ยังไงต้องเจ็บต้องตายอย่างแน่นอน ไม่มีทางอื่น ถ้าไม่อยากจะเครียดไม่อยากจะทุกข์กับมันก็ปล่อยมันไป เท่านั้นเอง พอปล่อยได้แล้วใจก็หายทุกข์ หายเครียดกับความเจ็บความตาย วางอุเบกขากับทุกอย่างใช่ไหมคะ ถาม: เรื่องการวางอุเบกขา เราต้องวางอุเบกขากับทุกอย่างเลยใช่ไหมคะ พระอาจารย์: หมายถึงการมีปฏิกิริยากับผู้อื่น กับสิ่งต่างๆ คือ เราต้องเฉยๆ ไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลงกับสิ่งใด เห็นอะไรก็อย่าไปชอบ เห็นอะไรก็อย่าไปเกลียด เห็นอะไรก็อย่าไปกลัว เห็นอะไรก็อย่าไปหลงคิดว่าเป็นของเรา ไม่มีอะไรเป็นของเรา ทีนี้มันทำยากถ้าไม่มีสมาธิ ถ้าทำสมาธิจิตมันจะเป็นกลางขึ้นมาก่อน มันจะเป็นอุเบกขา มันจะไม่รักชังกลัวหลง แต่มันจะอยู่ไม่ได้นาน พอสมาธิหมดก็ฌานก็ผ่านไป แต่ก็ดีกว่าคนที่ไม่มีเลย คนที่ไม่มีเลยนี้ บอกไม่รักไม่ชังไม่หลงนี่จะยาก เห็นอะไรก็อดรักไม่ได้ อดชังไม่ได้ อดชอบอดเกลียดไม่ได้ ถาม: ต้องฝึกให้เป็นประจำใช่ไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: เออ ต้องพยายามนั่งสมาธิ แล้วมันจะเป็นโดยธรรมชาติของจิต พอจิตสงบแล้วจิตก็จะเป็นอุเบกขา แต่ถ้าตอนนี้ยังไม่มีสมาธิ ก็ใช้สติคอยดึงมันให้อยู่ในอุเบกขาก็ได้ เช่น เวลาไหนจะไปรักใครเขาปั๊บก็พุทโธๆ ไปก่อน เฮ้ย อย่าไปรักเขา เวลาไปเกลียดใคร ก็พุทโธๆ อย่าไปเกลียดเขา เพราะเวลาถ้าจิตไม่รักชังกลัวหลงแล้วมันสบาย ไม่วุ่นวาย อย่าไปติดลาภยศสรรเสริญสุข ถาม: อยู่กับโลกอย่าหลงโลก อย่าติดโลก หากไม่ยึดติดในสิ่งใด ใจจะสบาย สักแต่ว่าพิจารณาแล้ววาง ปล่อยตามสภาพเดิม ตามหลักธรรมชาติ แบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ พระอาจารย์: ก็โลกที่พูดถึงก็โลกธรรมนี่ มีอยู่ ๔ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อย่าไปติดลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็จะไม่ทุกข์ เพราะลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มันไม่เที่ยง มีเจริญแล้วเดี๋ยวมันก็เสื่อม เวลาเสื่อมก็จะทำให้เราทุกข์ เสื่อมลาภก็ทุกข์ เสื่อมยศก็ทุกข์ จากสรรเสริญมาเป็นนินทาก็ทุกข์ จากสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย มากลายเป็นทุกข์มันก็ทุกข์ งั้นอย่าไปยึดไปติดกับโลกธรรม คือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เพราะมันจะกลายจากสุขมากลายเป็นทุกข์ได้ทุกเวลา พยายามตั้งสติอยู่เรื่อยๆ ถาม: พระอาจารย์มีคำแนะนำในการปลีกวิเวกไหมคะ พระอาจารย์: ก็พยายามตั้งสติอยู่เรื่อยๆ ตอนนี้ให้อยู่กับปัจจุบัน อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เราเตรียมพร้อมแล้วก็ไม่ต้องไปคิดถึง กลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน ปฏิบัติของเราที่ไหนก็ได้ อย่ามัวไปจ้องว่าต้องไปปฏิบัติที่นู่น แล้วเลยลืมปฏิบัติที่นี่เลย ที่นี่ก็ปฏิบัติได้ ที่บ้าน ที่ไหนก็ปฏิบัติได้ อย่างน้อยก็ปฏิบัติสติไปก่อน บางทีกิเลสมันก็หลอกให้เรามองไปที่ข้างหน้า ว่าจะไปปฏิบัติ เลยตอนนี้ไม่ปฏิบัติ ตอนนี้ก็ต้องปฏิบัติ ก็เตรียมตัวไป ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เวลาเปลี่ยนสนาม มันก็อาจจะได้ปฏิบัติเข้มข้นขึ้นก็ได้ แต่เราก็ไม่รู้ ก็อย่าไปคาดหวังอะไรมากไป อย่าไปวาดภาพเดี๋ยวมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราวาด แล้วมันจะผิดหวัง เข้าสู่เส้นทางปฏิบัติธรรมต้องเริ่มจากจุดไหน ถาม: หากจะเริ่มเข้าสู่เส้นทางปฏิบัติธรรม ต้องเริ่มจากจุดไหนครับ เพราะเท่าที่เห็นมีหลายวิธีมากครับ ตอนนี้เหมือนเด็กหัดเดิน ขอความเมตตาจากพระอาจารย์ชี้แนะด้วยครับ พระอาจารย์: ก็อย่างที่เทศน์ให้ฟังวันนี้ เบื้องต้นก็เอาเงินที่ไปเที่ยวมาทำบุญทำทานได้หรือเปล่า สองรักษาศีล ๕ ได้หรือเปล่า พอได้ ๒ ขั้นนี้แล้วก็ไปขั้นที่ ๓ ไปรักษาศีล ๘ ไปอยู่วัดได้หรือเปล่า ไปอดข้าวเย็น ไปนั่งสมาธิ ไปฟังเทศน์ฟังธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิได้หรือเปล่า อันนี้เป็นขั้นต่างๆ ที่เราจะต้องผ่าน ไม่ผิดถ้าเราทำตามหน้าที่ ถาม: กราบนมัสการหลวงพ่อนะคะ โยมเป็นหัวหน้างาน มีลูกน้องมากมาย มีลูกน้องอยู่คนหนึ่งที่ไม่ทำงาน แล้วก็ทำความเสียหายกับบริษัทแล้ว เจ้านายหรือผู้ใหญ่ก็บอกให้โยมไล่เขาออก เขาทำความเสียหายกับบริษัทจริงๆ ไม่ถึงขนาดโกงแต่ว่าไม่ทำงานแล้วก็สร้างความร้าวฉาน แล้วก็หลายอย่าง มันถึงเวลาที่จะเอาเขาออกแต่โยมไม่กล้าเพราะว่าโยมเป็นพุทธ ถ้าเขาเดือดร้อนพ่อแม่พี่น้องลูกเขาจะอยู่ยังไง แต่ในความที่เป็นผู้จัดการก็ต้องเอาเขาออก ตอนนี้มันถึงเวลาที่ลูกต้องตัดสินใจ แต่ก็ยังไม่กล้าที่จะไล่เขาออก มันรู้สึกผิดน่ะค่ะ พระอาจารย์: คือมันไม่ผิดหรอกถ้าเราทำตามหน้าที่แล้วเขาผิด มันก็ต้องทำไป แม้กับพระนี่พระพุทธเจ้าก็ให้เอาออกนะ ไปทำผิดศีลข้อไปร่วมหลับนอนกับสีกา ก็ให้ออกจากการเป็นพระได้ งั้นถ้าทำผิดแล้วอยู่ต่อไปก็จะทำลายระบบทำลายสังคม ก็อยู่ไม่ได้ แต่เราไม่ต้องพูดแบบหยาบคายไล่เขา พูดคุยกันดีๆ พูดด้วยเหตุด้วยผลว่า เหตุที่ต้องให้คุณออกก็เพราะว่ามีปัญหาอย่างนี้ๆ เกิดขึ้นตามมา แล้วผู้ที่เขามีอำนาจเหนือเราเขาสั่งลงมา เราก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากว่าเราขออนุญาตผู้ใหญ่ว่าขอให้โอกาสเขาอีกสักครั้งได้ไหม แล้วบอกเขาว่าคุณต้องปรับปรุงตัวเองนะ ถ้าทำได้ก็ไม่มีปัญหา เขาคงจะไม่ว่าอะไร ก็พูดได้เท่านี้ แต่เราไม่ผิดหรอก ก็ทำตามเนื้อผ้าไม่ได้ทำด้วยอารมณ์หรือทำด้วยความโกรธเกลียดชังแต่อย่างใด ไม่ได้ทำด้วยการกลั่นแกล้งอะไรทำนองนี้ วางใจอย่างไรไม่ให้ทุกข์จากความรัก ถาม: จะวางใจอย่างไรไม่ให้ทุกข์จากความรัก ความเป็นห่วงกังวลทุกอย่างที่มีต่อลูกคะ พระอาจารย์: ก็ต้องไม่รัก ต้องมองลูกว่าไม่ใช่ลูกเรา ถ้าเป็นลูกคนอื่น ไม่กังวลเลยใช่ไหม แต่ถ้าเป็นลูกเรานี่ โอ้ย..หวงห่วงเหลือเกิน เพราะความจริงมันก็ไม่ใช่เป็นของเรา เป็นของดินน้ำลมไฟ ร่างกายของพวกเรานี้มาจากดินน้ำลมไฟ แล้ววันหนึ่งดินน้ำลมไฟก็จะมาเอาคืนไป เวลาที่คนตายนั่นแหละ เป็นเวลาที่ดินน้ำลมไฟมาขอ ขอดินน้ำลมไฟที่มีอยู่ในร่างกายของเราคืนไป น้ำก็ไหลออกจากร่างกายไป ไฟก็ออกจากร่างกายไป ลมก็ออกจากร่างกายไป ที่เหลือก็กลายเป็นดิน เขาก็เอาไปทิ้งไปเผาไปฝังไป นี่คือความจริงของร่างกายของทุกคน งั้นร่างกายของพวกเราทุกคนนี้ไม่ได้เป็นพ่อเรา ไม่ได้เป็นแม่เรา ไม่ได้เป็นตัวเรา ไม่ได้เป็นลูกเรา เป็นดินน้ำลมไฟ ตัวเราคือจิตใจที่มาเกาะติดกับร่างกาย ที่ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ถ้ามองอย่างนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะได้ไม่ห่วงร่างกายของคนนั้น ของคนนี้ เพราะรู้ว่ามันไม่ได้เป็นตัวเขา เพราะรู้ว่าสักวันหนึ่งเขาก็ต้องคืนร่างกายนี้ให้กับเจ้าของไป เป็นเหมือนของที่เรายืมมา เรายืมของเขามาเราก็ต้องคืนเขา ถ้าเรารู้เราก็ไม่เดือดร้อน เราก็เตรียมตัวเตรียมใจ พอเจ้าของเขาบอก “พี่ ขอคืนนะ ของยืมไปหลายวันแล้ว” ยืมรถไปแล้วทำเป็นลืม บางที ต้องมาเตือน พอเขามาเตือน เขาขอคืน ก็ให้เขาไปสิ ไม่ใช่ของเรา ร่างกายก็ไม่ใช่ของเรา เป็นของดินน้ำลมไฟ ร่างกายของทุกคนเป็นของดินน้ำลมไฟ ทั้งนั้น ดังนั้นวันหนึ่งเขาจะมาขอคืนไป ก็ให้เขาเอาคืนไป เราไม่ได้เสียอะไร ตัวเราไม่ได้ไป ตัวเราไม่ได้เสียอะไร ตัวเรายังอยู่ครบ ๑๐๐ ตัวเราคือใจผู้รู้ผู้คิด ยังคิดได้ ยังทำอะไรได้อยู่เหมือนกับตอนที่มีร่างกาย เพียงแต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง เราคิดว่าเราจะตายไปกับร่างกาย เราก็เลยรักและหวงห่วงกัน นี่ต้องศึกษาต้องปฏิบัติถึงจะเห็นความจริงอันนี้ วิธีตัดกามราคะ ถาม: ผู้ที่ตัดกามราคะได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่ได้รูปฌานหรืออรูปฌานใช่ไหมครับ พระอาจารย์: ส่วนใหญ่มักจะเป็นอย่างนั้นแหละ เพราะว่าถ้ายังไม่มีความสุขจากรูปฌานหรืออรูปฌานนี้ มันก็จะตัดความสุขทางกามารมณ์ไม่ได้ มันต้องมีอะไรมาทดแทนกัน เปลี่ยนกัน เหมือนต้องเปลี่ยนรถใหม่ก่อนถึงจะทิ้งรถเก่าได้ ถ้ายังไม่มีรถใหม่ มีรถเก่าก็ต้องอาศัยรถเก่าไปเรื่อยๆ ก่อน เช่นเดียวกัน การหาความสุขก็มี ๒ รูปแบบ แบบกามสุขกับความสุขจากความสงบ ถ้ายังไม่มีความสุขจากความสงบ ก็จะสละความสุขทางกามารมณ์ไม่ได้ ต้องสร้างความสุขทางความสงบให้ได้ก่อน เมื่อมีความสุขจากความสงบแล้ว ก็สามารถที่จะเลิกหาความสุขทางกามารมณ์ได้ แต่ต้องใช้ปัญญาถึงจะเลิกได้อย่างแท้จริง ต้องพิจารณาว่า ความสุขนี้มันเป็นความสุขปลอม สิ่งที่เราคิดว่าให้ความสุขกับเรานั้น เรามองเห็นเพียงแต่ด้านเดียว เห็นด้านความสวยงาม เราไม่เห็นอีกด้านหนึ่งของร่างกายที่ไม่สวยงาม งั้นเวลาที่เรานึกถึงเวลาที่ร่างกายต้องเปลี่ยนจากความสวยงามมาเป็นไม่สวยงามเมื่อไหร่ เราก็จะไม่มีความอยากจะเสพร่างกายนั้นอีกต่อไป ดังนั้นถ้าเราอยากจะเลิกเสพกามารมณ์ ก็ต้องพยายามมองให้เห็นร่างกายที่เขาทำให้ดูว่าสวยว่างามนี้ว่ามันไม่สวยงาม มันมีส่วนที่ไม่สวยงาม เช่น ส่วนที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง อย่างนี้ ให้พิจารณาเข้าไปดูอาการ ๓๒ ที่มีอยู่ภายใต้ผิวหนัง ดูกระดูก ดูหัวใจ ดูตับ ดูไต อะไร เป็นต้น อย่างนี้ ถ้าเห็นแล้วก็จะทำให้กามารมณ์ดับไปได้อย่างถาวรเจตสิกคืออะไร ถาม: อ่านหนังสือเจอคำว่า “เจตสิก” ค่ะ ก็เลยสงสัยว่า เจตสิกกับจิตนี่ มันเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แล้วในส่วนนี้เราจะทำยังไง หรือว่า เจตสิกมันเป็นยังไง เราจะจัดการกับมันยังไงเพื่อให้การปฏิบัติของเราดีขึ้นไปเรื่อยๆ คะ พระอาจารย์: คือเจตสิกนี้ ความหมายเท่าที่เราเข้าใจก็คือ สิ่งที่ปรากฏขึ้นในจิตเป็นเจตสิก เช่น อารมณ์ต่างๆ นี้ก็เป็นเจตสิก มันก็เป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ส่วนจิตนี้เป็นตัวรู้ ถ้าเปรียบเทียบ จิตก็เป็นเหมือนจอทีวีนั่น แล้วส่วนที่ปรากฏในจอนี้ก็เรียกเป็นเจตสิก ภาพต่างๆ ภาพ เสียงที่โผล่ขึ้นมาในจอนี่ เป็นเจตสิก เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แต่ตัวจอมันเหมือนเดิม ตัวจอก็เป็นตัวรับรูปเสียงกลิ่นรส ตัวที่ตั้งให้พวกเจตสิกมันโผล่ขึ้นมาได้ ฉะนั้นเราปฏิบัติก็เพื่อให้เข้าใจว่าเจตสิกเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องไปยึดไปติดมัน ไม่ต้องไปอยากกับมัน เข้าใจไห ความหมายของพระพุทธรูป ถาม: การที่เราตักบาตรถวายหลวงพ่อโสธร เราต้องกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลไหม เพราะในความคิดดิฉันท่านเป็นพระสูงกว่าเรา เราควรตักบาตรให้เฉยๆ ใช่ไหม หรือตักบาตรกรวดน้ำด้วย ถ้ากรวดน้ำใช้บทสวดปกติ ใช่ไหม พระอาจารย์: คือถ้าเป็นพระพุทธรูป พวกนี้ไม่ต้องไปตักบาตรไม่ต้องไปกรวดน้ำ ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น พระพุทธรูปมีไว้กราบไหว้บูชา คือให้เราปฏิบัติบูชาตามคำสั่งคำสอนของพระพุทธรูปองค์นั้น พระรูปนั้น ถ้าศึกษาคำสั่งคำสอนของท่านแล้วก็พยายามปฏิบัติตาม นั่นคือความหมายของการมีพระพุทธรูปหรือมีรูปเหมือน เพื่อให้เราได้รำลึกถึงคำสอนของท่าน เพื่อที่เราจะได้บูชาท่านด้วยการปฏิบัติตามคำสอน เพราะท่านไม่ต้องการอะไรจากเรา เราแหละจะได้ประโยชน์จากการที่เราบูชาท่าน ด้วยการปฏิบัติ เราจะได้มีความสุขมากขึ้น มีความเจริญมากขึ้นไปตามลำดับ สีลัพพตปรามาส ถาม: อยากฟังเรื่องสังโยชน์ข้อที่ ๓ ครับ อ่านเองแล้วยังงงอยู่บ้างครับ พระอาจารย์: สีลัพพตปรามาส ก็ท่านแปลว่าการลูบคลำศีล คือการยังไม่เห็นว่าศีลนี้เป็นของที่สำคัญ ของที่จำเป็น ถ้าบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้วจะรู้ว่า ถ้าทำบาปแล้วจิตใจจะต้องลงต่ำ จิตใจจะต้องไปเกิดในอบาย ฉะนั้นพระโสดาบันก็จะรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ไม่ลูบคลำในศีล ไม่สงสัยว่าศีลนี้มีประโยชน์อย่างไร เพราะรู้ว่าศีลนี้เป็นเครื่องป้องกันจิตใจไม่ให้ลงต่ำ ไม่ให้ไปเกิดในอบาย ก็จะละสีลัพพตปรามาสได้ มโนกรรม ๓ และ สัมมาทิฏฐิ ถาม: ขอเมตตาพระคุณเจ้า อธิบายมโนกรรม ๓ ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ทั้ง ๓ ข้อ และข้อสุดท้าย “สัมมาทิฏฐิ” เจ้าค่ะ พระอาจารย์: “มโนกรรม ๓” ก็คือไม่โลภไม่โกรธไม่หลงนั่นเองที่เป็นกุศล ถ้าเป็นอกุศลก็คือโลภโกรธหลง ถ้าไม่โลภไม่โกรธไม่หลงก็เรียกว่าเป็นกุศลเพราะว่าจะทำให้จิตสงบทำให้จิตมีความสุข ถ้าเป็นความโลภความโกรธความหลง ก็จะทำให้จิตร้อนจิตเป็นทุกข์ขึ้นมา งั้นเราต้องมาสร้างมโนกรรม ๓ ที่เป็นกุศลคือตัดความโลภตัดความโกรธตัดความหลง “สัมมาทิฏฐิ” คือความเห็นที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ตอนนี้เราเห็นผิดเป็นชอบ เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ของเราว่าเป็นของเรา เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เช่น เห็นร่างกายของเรานี้ว่าเป็นตัวเรา อันนี้ก็เป็นความเห็นผิดเพราะเราไม่ได้เป็นร่างกาย เราเป็นจิตใจ ร่างกายเป็นดินน้ำลมไฟ เดี๋ยวร่างกายก็ต้องกลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟไป เห็นร่างกายว่าทำให้เรามีความสุขแต่ความจริงมันทำให้เรามีความทุกข์มากกว่า ตอนนี้มันอาจจะทำให้เรามีความสุข พาเราไปหาความสุขได้ ต่อไปเวลามันแก่มันเจ็บมันจะตายนี้มันจะพาเราไปหาความสุขไม่ได้ ตอนนั้นมันก็จะกลายเป็นความทุกข์ขึ้นมา เห็นว่าร่างกายเที่ยงคิดว่าจะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย อันนี้ก็เป็นความเห็นผิด ความเห็นที่ถูกต้องเห็นว่าร่างกายต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ต้องเห็นตลอดเวลาถึงจะเรียกว่ามี “สัมมาทิฏฐิ” ถ้าเห็นเฉพาะตอนที่ได้ยินได้ฟังตอนนี้แล้วเดี๋ยวก็ลืมก็ยังถือว่าไม่มีสัมมาทิฏฐิอยู่ จึงต้องพยายามสร้างสัมมาทิฏฐิอยู่เรื่อยๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราคิดอยู่บ่อยๆ ว่าเกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายเป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ความเจ็บความตายไปไม่ได้ ถ้าเราคิดได้ตลอดเวลาจนไม่หลงไม่ลืม เราก็จะมีสัมมาทิฏฐิ แล้วก็สอนว่าให้พิจารณาว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา ร่างกายเป็นดินน้ำลมไฟ ทำมาจากดินน้ำลมไฟ เดี๋ยวก็กลับคืนสู่ดินน้ำลมไฟ ไม่เชื่อไปดูคนตายซิ เวลาเขาเผาแล้วเหลืออะไร เหลือแต่ดินใช่ไหม เหลือแต่ขี้เถ้าเห็นไหม ขี้เถ้าก็ดินนี่เอง นี่แหละคือร่างกายที่เราเรียกว่าเป็นเรา..ของเรา ไม่ใช่เรา..เราเป็นดวงวิญญาณไปแล้ว ตอนที่ร่างกายตายไปนี้ เราเป็นดวงวิญญาณล่องลอยอยู่ในโลกทิพย์ ถ้าบุญพาไปก็ไปเป็นเทวดา ถ้าบาปพาไปก็ไปเป็นเปรต เป็นอสูรกาย ไปนรก หรือไปเกิดเป็นเดรัจฉานตามลำดับ นี่คือเรื่องของการมีสัมมาทิฏฐิ เพื่อที่เราจะได้สร้างบุญสร้างกุศล ตายไปจะได้ไปสวรรค์ชั้นต่างๆ หรือไปถึงชั้นนิพพานเลยก็ได้ ด้วยสัมมาทิฏฐินี่เอง สมาธิเป็นที่ชาร์จอุเบกขา ถาม: การฝึกปฏิบัติเพื่อให้จิตวางเฉยต่อสิ่งไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ นั้น ควรจะฝึกฝนและพัฒนาสอนจิตอย่างไร ให้วางเฉยและรับมือได้กับความไม่แน่นอนครับ พระอาจารย์: ก็ต้องใช้การฝึกสมาธินี้เอง ต้องใช้สติควบคุมจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิจิตก็จะวางเฉยได้ จิตจะเข้าไปอยู่ตรงจุดที่วางเฉยที่เรียกว่า “อุเบกขา” แล้วก็ต้องพยายามให้มันอยู่ในจุดนั้นนานๆ เพราะถ้ามันอยู่จุดนั้นนานๆ เวลาออกจากสมาธิมา มันก็ยังจะอยู่ที่จุดนั้นอยู่ แต่ถ้าเราอยู่เดี๋ยวเดียว เข้าไปเดี๋ยวเดียวพอออกมามันก็จะอยู่เดี๋ยวเดียว แล้วมันก็จะเริ่มไม่เป็นกลาง มันก็จะเริ่มมีปฏิกิริยามีความอยากต่างๆ ปรากฏขึ้นมา ฉะนั้น ถ้าเราต้องการให้จิตเราเป็นอุเบกขามากๆ ตอนที่เราออกจากสมาธิมาแล้ว เราก็ต้องเข้าไปอยู่ในอุเบกขาให้นานๆ ให้บ่อยๆ ก็เปรียบเทียบเหมือนกับการชาร์จแบตเตอรี่ของมือถือนี่แหละ เราชาร์จกี่ชั่วโมงกี่นาทีเราก็เอามาใช้ได้กี่ชั่วโมงกี่นาทีเท่านั้นแหละ เราชาร์จแป๊บเดียว ก็เอามาใช้ได้แป๊บเดียว ถ้าเราชาร์จได้บ่อยชาร์จได้นาน เวลาเอามาใช้ก็ใช้ได้นาน ฉนั้นสมาธินี่เป็นที่ชาร์จอุเบกขา ชาร์จความเป็นกลางของใจ ทำให้ใจปล่อยวางได้ แต่ถ้าไปชาร์จเดี๋ยวเดียว ออกมาก็ปล่อยวางได้แป๊บเดียว เวลาออกจากสมาธิใหม่ๆ โอ๊ย รู้สึกโล่งอกโล่งใจ เบาอกเบาใจ เดี๋ยวสักพักไปได้ยินเสียงใครด่าขึ้นมาก็พรวดพราดขึ้นมาแล้ว หรือเห็นอะไรอยากได้ก็วุ่นขึ้นมาแล้ว แสดงว่าอุเบกขาหมดแล้ว ถ้าได้ยินเสียงใครเขาด่ายังเฉยอยู่ก็แสดงว่าอุเบกขายังมีอยู่ เห็นอะไรน่าดูน่าชมเคยอยากได้ ตอนนี้เห็นแล้วเฉยๆ ก็แสดงว่าอุเบกขายังมีอยู่ ถ้าพอไม่มีแล้วก็ควรกลับเข้าไปชาร์จแบตใหม่ เข้าไปในสมาธิใหม่ ผู้ปฏิบัตินี้ใหม่ๆ จึงต้องไปอยู่ในป่าคนเดียวนี่ นี่วัดป่าวัดหลวงตานี่ใครไปบวชอยู่ที่นั่นต้องไปอยู่ ๕ ปี ให้ไปชาร์จอุเบกขาอยู่วัดนั้น ไม่ให้ออกไปข้างนอก แม้แต่กิจนิมนต์ก็ไม่ให้ไป เพราะเวลาออกไปข้างนอกไปรับกิจนิมนต์ เดี๋ยวตาก็ไปเห็นรูปหูก็ได้ยินเสียง ถ้าจิตมันไม่มีอุเบกขาก็เกิดความอยากขึ้นมา พอเกิดความอยากขึ้นมาก็เกิดความวุ่นวาย ความไม่สบายใจขึ้นมา เดี๋ยวก็ทนอยู่ไม่ได้ ลาสึกไป แต่ถ้าชาร์จแบตนานๆ อยู่ในป่าสัก ๕ ปี ไม่ต้องออกมาเจอใครนี่มันจะมีอุเบกขามาก ออกมาแล้วมันจะเฉย แล้วเราก็สามารถพัฒนาต่อจากขั้นอุเบกขาด้วยการใช้ปัญญา จากขั้นสมาธิให้ใช้ปัญญาเพื่อรักษาอุเบกขาให้อยู่อย่างถาวรต่อไปได้ ปัญญาเป็นเครื่องดับทุกข์ ถาม: การที่จะพิจารณาได้ต้องหลังจากการทำสมาธิถึงอัปปนาสมาธิ แล้วค่อยถอนออกมาพิจารณาเสมอไปหรือไม่เจ้าคะ เราสามารถพิจารณาทำให้เข้าใจจนจิตสงบ แบบปัญญาอบรมสมาธิได้ไหมคะ เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถทำสมาธิจนถึงขั้นอัปปนาสมาธิเลยเจ้าค่ะ พระอาจารย์: ก็อยู่ที่ความสามารถของเราทางปัญญาว่า เรามีความสามารถคิดเพื่อให้จิตสงบได้หรือไม่ ถ้าเราสามารถคิดไปในทางไตรลักษณ์ได้ จิตก็จะสงบได้ งั้นมันอยู่ที่เรา แต่ส่วนใหญ่การจะใช้ปัญญานี้ ท่านต้องใช้ตอนเวลาที่จิตมีความทุกข์ เพราะปัญญานี้เป็นเครื่องดับทุกข์ เช่น จิตกำลังทุกข์กับความสูญเสียของคนที่เรารักไป ไม่มีกระจิตกระใจจะนั่งสมาธิอย่างนี้ เราก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า คนที่เสียนี้เขาก็เป็นอนิจจัง..ไม่เที่ยง อนัตตา..เราไปสั่งไปห้ามเขาไม่ให้ตายไม่ได้ เมื่อเขาตายก็ต้องยอมรับความจริง ปล่อยให้เขาตายไป อย่าไปอยากให้เขาไม่ตาย หรืออย่าไปอยากให้เขากลับคืนมา เพราะมันเป็นไปไม่ได้ พอเราพิจารณาเห็นด้วยปัญญาแล้ว ความเศร้าโศกเสียใจกับคนนั้นก็หายไป เราก็จะได้กลับมานั่งสมาธิได้ อันนี้ใช้แบบนี้ ใช้ปัญญาเพื่อดึงใจให้กลับเข้ามานั่งสมาธิให้ได้ ไม่เช่นนั้นใจก็จะไปคิดถึงคนนั้น ห่วงคนนั้น คิดถึงคนนั้น เสียอกเสียใจกับคนนั้นที่เขาจากไป คิดถึงอดีตที่แสนหวานอะไรไปต่างๆ นานา ก็จะไม่มีกระจิตกระใจที่จะมานั่งสมาธิ ก็ต้องสอนใจว่า เขาไปแล้ว เขาไม่เที่ยง ห้ามเขาไม่ได้ ให้เขากลับมาไม่ได้แล้ว ไปนั่งคิดก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร พอใจเห็นด้วยปัญญาก็หยุดคิด หยุดคิดถึงเขาได้ ก็กลับมานั่งสมาธิได้ ธรรมะหน้ากุฏิ & สนทนาธรรมบนเขาโดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
|
กำลังโหลด...