Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2564 16:16:28 » |
|
หนังสือที่นักปฏิบัติต้องอ่าน ถาม: เขาไปนั่งสมาธิที่หน้าผากันนี่ เขาไปนั่งกลางวันหรือกลางคืนครับ พระอาจารย์: ได้ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน เป้าหมายก็คือเพื่อไม่ให้ง่วง ธรรมดาคนบางคนขี้ง่วง นั่งก็จะสัปหงก เขาเลยให้ไปนั่งที่หน้าผา ถ้าสัปหงกหัวมันจะได้ทิ่มลงไป ไปเพื่อให้ฝึกสติขึ้นมา บางคนก็ไปนั่งสมาธิแถวที่มีทางเสือผ่าน เห็นรอยเท้าเสือตรงไหนก็ไปนั่ง พอคิดถึงเสือมันจะมานี่มันหายง่วง อันนี้เป็นอุบายวิธีแก้ความง่วง แต่ไม่รู้นะว่ามีคนตกเหวตายรึเปล่า ไม่มีใครมาเล่าให้ฟัง ถ้าตายก็คงไม่มาเล่าให้ฟัง แต่คงไม่มีหรอก ที่มาเล่านี้ก็มาจากหนังสือของหลวงตาที่ท่านเขียน “ปฏิปทาของพระธุดงค์กัมมัฏฐาน” ลองไปอ่านหนังสือเล่มนี้ดู ไป search หา “ปฏิปทาของพระธุดงค์กัมมัฏฐาน” ถ้าพวกเราปฏิบัติต้องอ่านเล่มนี้ หนังสือเล่มนี้ดี เพราะหลวงตาท่านไปสัมภาษณ์ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ว่าท่านปฏิบัติกันอย่างไร แล้วท่านก็เอามาถ่ายทอด ทำเป็นหนังสือออกมา แต่ท่านจะไม่กล่าวถึงชื่อของอาจารย์เหล่านั้น เพราะบางท่าน ท่านยังมีชีวิตอยู่ ไม่อยากให้คนไปรบกวน แต่องค์ที่ท่านเสียไปแล้ว บางทีท่านก็จะเอ่ยชื่อ หนังสือของหลวงตาที่น่าอ่าน ๒ เล่ม ก็คือประวัติพระอาจารย์มั่น แล้วก็ปฏิปทาของพระธุดงค์กัมมัฏฐาน สายพระอาจารย์มั่น ๒ เล่มนี้จะเป็นคู่มือของผู้ปฏิบัติ ประวัตินี้จะเน้นไปทางด้านผู้ที่ยังไม่ปฏิบัติให้เกิดศรัทธา เกิดความเชื่อเรื่องธรรมต่างๆ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติแล้วนี้ อ่านหนังสือปฏิปทานี้จะเป็นคู่มือ จะมีอุบายวิธีแปลกๆ หลายวิธี วิธีฝึกสมาธิ วิธีอดอาหาร วิธีต่อสู้กับเวทนา วิธีต่อสู้กับความปวด ท่านเขียนไว้ละเอียดมาก วันนี้มีโอกาส นึกถึงได้ก็เลยแนะนำบุญเก่าก็เหมือนอาหารเก่า ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ การอุทิศบุญให้ผู้ล่วงลับ นอกจากบุญที่ทำปัจจุบันแล้วอุทิศให้ ยังสามารถอุทิศถึงบุญที่เคยทำมาแล้ว แล้วนำมาอุทิศอีกให้ได้หรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: บุญที่อุทิศไปแล้วมันกลายเป็นบุญเก่าไปแล้ว ถ้าเป็นอาหารก็เป็นอาหารเก่าไปแล้ว กลัวเขาจะไม่รับละสิ เขาอยากจะรับอาหารใหม่ เวลาใครเขาให้อาหารเรา เราก็อยากจะกินอาหารใหม่ อาหารเก่านี่เขาไม่อยากจะกิน งั้นถ้าอยากอุทิศบุญก็อย่าขี้เหนียวเลย ก็ไปทำบุญสิ ทำบุญใหม่ แล้วก็อุทิศไปดีกว่าอวิชชาเป็นตัวความหลง ถาม: หลวงตามบัวเคยพูดคำหนึ่งว่า อวิชชานี้ช่างผ่องใสอย่างยิ่ง อันนี้ไม่เข้าใจครับว่า ในมุมปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร พระอาจารย์: ในมุมก็คือการปฏิบัติ พอถึงขั้นสูงสุดแล้วมันจะไปเจอตัวอวิชชา แต่ก่อนหน้านั้นมันจะส่งลูกน้องมาให้เราสู้กับมัน เอาความโลภความโกรธให้มาสู้กับมัน แต่พอไปเจอที่ตัวอวิชชานี่ มันเป็นตัวความหลง ความหลงนี้มันทำให้เรา ทำให้จิตสว่างไสว ตอนนั้นจิตมันละเอียด แล้วก็ตัวหยาบๆ กิเลสต่างๆ มันหายไปหมด ถูกกำจัด เหลือแต่ตัวอวิชชา ตัวที่ละเอียด ตัวนี้มันจะสว่างไสว ถ้าไม่ใช้ปัญญาก็จะไปติดอวิชชา ไปติดกิเลส รับใช้อวิชชา ไปรักษาปกป้อง ไม่ได้ไปฆ่ามัน ถาม: คือถ้าผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติไปขั้นสูงๆ แล้วก็ ถ้าจะพลาดก็คือพลาดตรงนี้เลย ใช่ไหมครับ พระอาจารย์: มันก็คือถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยบอกคอยสอน มันก็จะหลง ไปรักไปชอบ แทนที่จะไปทำลายมัน เห็นว่ามันไม่เที่ยง ถึงแม้มันจะสว่างไสว แต่มันก็มีเวลาที่มันจะเฉาลงได้ พอเวลามันจะเฉาลง เราก็อยากให้มันสว่าง เราก็ใช้สติใช้ปัญญาคอยปลุกมันให้ขึ้นมาสว่าง ที่มันสว่างไสวก็เพราะอำนาจของสติปัญญาที่เราใช้ ในการปราบกิเลสต่างๆ พอเจอตัวสุดท้ายนี้มันกลับ แทนที่จะไปทำลายมัน ก็กลับไปรักไปปกป้องมัน ไปรักษามัน อย่างหลวงตาท่านก็เคยพูดว่า อวิชชานี้ ตอนต้นก็คิดว่าเป็นเหมือนเสือ พอไปเจอตัวจริง ท่านบอกมันเป็นเหมือนนางบังเงา รู้จักนางบังเงาไหมพวกโสเภณีไง โสเภณีที่เขายืนอยู่ข้างหลังบังเงาไว้ มันสวยมันน่ารัก มันไม่น่ากลัวเหมือนเสือ ตัวความโกรธความโลภ แทนที่จะไปกลัว กลับไปรักไปชอบมัน ไปเป็นเพื่อนกับมัน แทนที่จะทำลายมัน สู้มัน กลับไปรับใช้มัน ไปปกป้องรักษาให้มันสว่างอยู่เรื่อยๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 90.0.4430.212
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2564 13:51:36 » |
|
ดูที่สติเป็นหลักถาม: การอดอาหาร อดก็ได้ไม่อดก็ได้ ไม่เป็นปัญหา ใช่ไหมคะพระอาจารย์ หรือว่าให้เราฝึกไว้ พระอาจารย์: คือดูผลของการปฏิบัติ ไม่ใช่ดูที่กำลังของร่างกาย ดูที่ความสงบ ดูที่สติเป็นหลัก อันไหนมันดีกว่ากัน สติอย่างไหนจะดีกว่ากัน อดอาหารหรือไม่อดอาหารนี้ สติอย่างไหนจะดีกว่ากัน จิตสงบ อย่างไหนสงบมากน้อยกว่ากัน ไม่ต้องไปดูที่ร่างกาย ร่างกายไม่ได้เป็นตัวที่เราต้องการวัดผล ดูบ้างก็ได้ ไม่ต้องดูก็รู้ ก็กินก็ต้องไม่ดีกว่าไม่กิน ร่างกาย แต่จิตมันเราต้องการจะรู้ มันสงบ อย่างไหนมันสงบกว่ากัน สติอย่างไหนดีกว่ากัน ปัญญาอย่างไหนดีกว่ากัน การทำงานของสติ สมาธิ ปัญญา เวลาอดกับไม่อดนี้ อย่างไหนจะดีกว่ากัน เวลาใกล้ตายนึกถึงพระพุทธเจ้าจะไม่ตกนรกจริงไหม ถาม: พูดถึงเวลาใกล้ตายค่ะ มีคนบอกว่าถ้า ๑๕ นาทีก่อนที่เราจะตายนี่ ให้นึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วจะไม่ตกนรก หนูก็เลยสงสัยว่าคนเรานี่ เวลาทำบุญมาเป็นร้อยครั้งพันครั้ง แต่ไม่ได้ปลาบปลื้มในบุญนั้น จำบุญไม่ได้ทั้งหมด แต่ทำบาปสองสามครั้ง แต่จำบาปได้ติดตาติดใจ อันนี้เราจะตกนรกหรือว่าขึ้นสวรรค์เจ้าคะ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่หรอก มันอยู่ที่ปริมาณบุญกับบาปที่เราสะสมไว้ในใจเรา มันจะเป็นตัวที่จะมาตัดสินว่าเราจะไปทางอบาย หรือไปทางสวรรค์ ถ้าบุญที่เราสะสมไว้มันมีมากกว่าบาป มันก็จะไปสวรรค์ ถ้าบาปมันมีมากกว่าบุญ มันก็จะไปอบาย งั้นไม่ต้องกังวล ไม่ต้องมารอช่วง ๑๕ นาทีสุดท้ายหรืออะไรนี่แหละ มันไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ดีสิ ทำบาปมาทั้งชาติ แล้วก็มานั่งพุทโธ ๑๕ นาที มันเหมือนบัญชีเงินฝาก กับบัญชีเงินกู้อย่างนี้ เวลาเราทำบุญก็เหมือนเราเอาเงินเข้าธนาคารฝาก เวลาเราไม่มีเงินใช้เราก็ไปกู้ธนาคารมาใช้ แล้วเวลาเขามาคิดบัญชี เราก็ดูว่าบัญชีเงินฝากกับเงินกู้ อันไหนมีมากกว่ากัน ถ้าเงินฝากมากกว่า เราก็ไม่เจ๊ง เราก็ยังกำไรอยู่ ถ้าเงินกู้มากกว่าเงินฝาก ก็แสดงว่าเราเจ๊งแล้ว ล้มละลายแล้ว ก็แบบเดียวกันนั่นแหละ การบวชที่แท้จริงบวชที่ใจไม่ได้บวชที่ร่างกาย ถาม: กราบนมัสการเจ้าค่ะ ขอสอบถามว่า อริยบุคคลตั้งแต่อนาคามีขึ้นไปนั้น ต้องบวชอยู่ในเพศบรรพชิต เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่เจ้าคะ พระอาจารย์: คือความจริงเป็นพระอริยะนี้ก็ถือว่าเป็นนักบวชแล้ว คือการบวชที่แท้จริงนี้บวชที่ใจไม่ได้บวชที่ร่างกาย งั้นคนมักจะเข้าใจผิดว่าจะต้องบวชทางร่างกาย พวกที่บวชทางร่างกายแต่ไม่ได้เป็นพระอริยะก็ไม่ได้เป็นพระอริยะ งั้นการบวชทางร่างกายไม่มีผลต่อทางจิตใจ แม้กระทั่งเป็นพระอรหันต์ก็ไม่ต้องบวชภายใน ๗ วัน ตามที่คิดกัน มีคนไปกุข่าวว่าใครเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ได้บวชภายใน ๗ วัน จะต้องตาย ความจริงไม่ตาย มันคนละเรื่องกันนะ พระอรหันต์กับเรื่องของความตายมันไม่เกี่ยวกัน ความตายพอถึงเวลามันก็ตาย เวลามันหมดลมหายใจ มันก็ตาย ไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์หรือไม่เป็น มันก็ตาย มันไม่เกี่ยวกัน พอดีมันมีเรื่องที่มันทำให้ไปคิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่น พ่อของพระพุทธเจ้าก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ๗ วันก่อนตาย ก็เลยคิดว่านี่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ไม่ได้บวช เป็นพระอรหันต์แล้วก็ต้องตาย ถ้าไม่ได้บวชภายใน ๗ วัน ก็ต้องตาย แต่ความจริงท่านตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บ ท่านประชวรหนัก พระพุทธเจ้าไปโปรด ไปแสดงธรรมให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็เลยไปคิดว่าเป็นฆราวาส แล้วพอเป็นพระอรหันต์แล้ว ถ้าไม่ได้บวชภายใน ๗ วันนี้จะต้องตาย อันนี้เป็นการเข้าใจผิด รับประกันได้ว่าไม่ตาย มีแต่กิเลสที่จะตาย เท่านั้น ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วกิเลสตายแน่ๆ แต่ร่างกายนี้มันอยู่ที่บุญกรรม อยู่ที่เหตุการณ์ต่างๆ ถ้าถึงเวลามันจะตาย เป็นอรหันต์หรือไม่เป็นอรหันต์มันก็ตายเหมือนกัน เห็นกายในกายคืออะไร ถาม: คำว่า เห็นกายในกายคืออย่างไรครับ ต้องทำอย่างไรครับ ถึงจะเห็นกายในกาย กายที่เห็นในกายคือกายอะไรครับ พระอาจารย์: ก็ร่างกายของเรานี่แหละ คือกายในกาย ที่เห็นว่ามันมีอาการ ๓๒ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก มันไม่ได้เป็นแท่งทึบเหมือนอย่างที่เราคิดกัน ร่างกายเราภายใต้ผิวหนัง ภายใต้เนื้อก็ยังมีโครงกระดูก มีตับ มีไต มีปอด มีหัวใจ มีอะไรต่างๆ นี่เรียกว่าเห็นกายในกาย แล้วก็ไม่ใช่กายของเราอย่างเดียว กายของคนอื่นก็เหมือนกัน ทั้งเขาทั้งเรา ร่างกายเหมือนกัน แล้วก็เห็นว่ามันแก่ มันจะต้องแก่ มันจะต้องเจ็บ มันจะต้องตาย กลายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟไป นี่เรียกว่าเห็นกายในกาย ต้องพิจารณาความไม่เที่ยง ถาม: ด้วยสถานการณ์โควิด โยมต้องอยู่บ้าน และขณะเดียวกัน ลูกสาวต้องออกไปทำงานข้างนอก ทั้งๆ ที่ปฏิบัติธรรมทุกวัน ทำไมถึงยังมีความวิตกกังวลอยู่บ้าง เพราะห่วงลูก แต่บางทีก็วางได้ สลับกันไปมา เราควรสอนจิตอย่างไรเพื่อให้ปล่อยวาง และพ้นทุกข์ได้เจ้าคะ พระอาจารย์: ก็ต้องพิจารณาความไม่เที่ยง อนิจจัง ต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ก็สอนให้เราหมั่นคิดอยู่เรื่อยๆ ว่า เกิดมาแล้วย่อมมีความแก่ความเจ็บความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปไม่ได้ ต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ให้พิจารณาอยู่เนืองๆ แล้วใจก็จะปล่อยวาง จะไม่ทุกข์ไม่กังวลกับเหตุการณ์ต่างๆ นิยามของคนดี ถาม: คนดีมันคือสิ่งที่คนสมมุติขึ้นมาในสังคมนั้นถือว่าเป็นคนดี ถ้าไม่ใช่คนดีคือคนไม่ดี หรือว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงขอรับ พระอาจารย์: อ๋อ คำว่าคนดีนี้เขามีนิยาม เขามีความหมายของคำว่าดี คนดีก็คือคนที่มีความสุขมีความเจริญในตัวเอง เช่น มีความสุขในใจ มีความสุขในกาย มันก็เป็นของดีเพราะทุกคนต้องการความสุข งั้นคนที่มีความสุขความเจริญก็เรียกว่าเป็นคนดีในระดับหนึ่ง และดีมากกว่านั้นก็คือคนที่ทำคุณทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นได้สุขได้เจริญตามเขา เราก็ยกย่องเขาว่าเป็นคนดี ในทางตรงกันข้าม คนที่ไปทำให้ผู้อื่นเขาเสียหายเดือดร้อน เราก็นิยามว่าเป็นคนไม่ดี เพราะว่าไม่มีใครอยากจะเสียหายเดือดร้อน ไม่มีใครอยากทุกข์ งั้นมันก็ดีหรือไม่ดีนี้ ก็ตั้งอยู่ที่คำว่า “สุข” หรือ “ไม่สุข” นั่นเอง การกระทำใดๆ ที่ทำให้เกิดความสุขขึ้นมาเราก็เรียกว่าดี การกระทำใดๆ ที่ทำให้เกิดความทุกข์เราก็เรียกว่าไม่ดี ไม่ได้เป็นสิ่งที่สมมุติ เป็นเรื่องความจริง สัปปายะ ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณา ถาม: ถ้าอากาศร้อนมันก็สงบค่อนข้างยากค่ะ พระอาจารย์ อากาศดีมันสงบง่ายค่ะ พระอาจารย์: ใช่ อากาศก็มีส่วน ที่เรียกว่า “สัปปายะ” ผู้ปฏิบัติบางทีต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะกับตน บางคนชอบอากาศร้อนก็ไปอยู่ที่อากาศร้อน บางคนชอบอากาศหนาวก็ไปอยู่ที่อากาศหนาว การภาวนามันก็จะมีผล ทำให้สนับสนุนหรือต่อต้านการปฏิบัติของเราได้ มีอยู่สี่ห้าอย่าง เขาเรียกสัปปายะ อาหารสัปปายะก็เหมือนกัน ก็ต้องกินอาหารที่ถูกกับเรา ถ้าไปกินอาหารที่ไม่ถูกกับเราก็กินไม่อิ่มไม่พอ มันก็อาจจะกลายเป็นนิวรณ์ขึ้นมาได้ กลายเป็นอุปสรรค บุคคลสัปปายะก็ ถ้าไปอยู่กับกลุ่มของคนที่เขาไม่ปฏิบัติ เขาก็ชวนเราไปดูหนังฟังเพลง อย่างนี้ เราก็ต้องเลือกกลุ่ม คนที่ชวนเราไปปฏิบัติ คนสัปปายะ สถานที่เอง สัปปายะก็ที่สงบหรือไม่สงบ วิเวกหรือไม่วิเวก ที่บ้านกับที่วัด สถานที่ปฏิบัติธรรม ต่างกัน สัปปายะต่างกัน อากาศสัปปายะ มีสี่ห้าอย่าง เรียกว่าสัปปายะ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณา เพราะว่ามันมีส่วน มีผลกระทบต่อการปฏิบัติของเรา การทำลายกิเลสน้อยใหญ่ ถาม: การทำลายกิเลสน้อยใหญ่ ต้องตั้งใจกำจัดทีละตัวหรือว่าเจริญศีล สมาธิ ปัญญาไปเรื่อยๆ เจ้าคะ พระอาจารย์: ก็ต้องทำทั้ง ๒ ส่วน เครื่องมือเราก็ต้องเพิ่มให้มันมีกำลังมากขึ้น กิเลสตัวไหนที่เราฆ่ามันได้ก็ต้องฆ่ามันไปเวลามันโผล่ขึ้นมา เราไม่ต้องไปไล่ฆ่ามันหรอก รอให้มันเข้ามาหาเรา รอให้มันโผล่ขึ้นมา เดี๋ยวอยากไปเที่ยวก็ฆ่ามัน เดี๋ยวอยากจะดูหนังก็ฆ่ามัน ถ้าฆ่าไม่ได้ก็แสดงว่าเครื่องมือเรามีกำลังไม่พอ เราก็ต้องมาเพิ่มกำลังของเครื่องมือ เพิ่มศีล เพิ่มสมาธิ เพิ่มปัญญาให้มากขึ้น ต้องทำทั้ง ๒ ส่วน สร้างเครื่องมือแล้วก็ทำลายกิเลสข้าศึกศัตรู ทำไปพร้อมๆ กัน ควบคู่กันไป เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตาม ถาม: หากเรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ แล้วเราเดินทางไปในที่ต่างๆ กับคนอื่น เขากราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ แล้วเราไม่ได้ไหว้ จะมีผลกับชีวิตเราหรือไม่คะ พระอาจารย์: อ๋อ เราก็จะกลายเป็นแกะดำไปเท่านั้น เราก็อย่าไปกับเขา เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตาม ก็ทำเป็นกิริยาไปเท่านั้นเอง ไม่ให้เสียมรรยาท แต่ยังไงเราก็เชื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นครูเป็นอาจารย์ของเราไป พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ท่านก็ไม่ห้ามเราไปกราบไหว้คนนั้นคนนี้ ท่านก็สอนให้เรากราบบูชา “ปูชา จ ปูชนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง” การบูชาบุคคลที่สมควรกับการบูชา เป็นมงคลอย่างยิ่ง เช่น บูชาบิดามารดา ปู่ย่าตายาย บูชาครูบาอาจารย์ต่างๆ ทางโลกก็กราบครูบาอาจารย์ได้ ครูสอนชั้นประถมก็กราบท่านได้ สอนชั้นมัธยมก็กราบท่านได้ เพราะท่านเป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา เป็นผู้มีพระคุณกับเรา พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม กลับส่งเสริมให้ทำ งั้นเวลาเราไปที่ไหนเขากราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็กราบกับเขาไป ก็เท่านั้นเอง เราไม่เชื่อ เราก็อย่าไปลบหลู่ การไม่ทำอาจจะเป็นเหมือนกับเป็นการลบหลู่ งั้นก็อย่าไปดีกว่า ไปแล้วก็จะทำให้คนอื่นเขาเสียความรู้สึก แล้วก็อาจไม่อยากที่จะชวนเราไปไหนอีกต่อไป ชวนคนนี้ไปทีไรมันชอบไปทำวงแตกเรื่อย ใช้หลักธรรมอะไรรับมือกับภัยพิบัติ ถาม ภัยพิบัติแต่ละตัวที่เกิดขึ้น เช่น โรคระบาด น้ำท่วมใหญ่ สึนามิ เราจะใช้หลักธรรมอันเดียวกันในการรับมือใช่หรือไม่ครับ พระอาจารย์ ใช่ ทุกอย่างอนิจจัง ผลที่เกิดกับร่างกายก็คือต้องแก่ต้องเจ็บหรือต้องตายไป ไม่มีภัยก็แก่เจ็บตายเหมือนกันอยู่ดี ถ้าเราเห็นไตรลักษณ์แล้ว เราก็จะปลงจะวางได้ แล้วภัยต่างๆ ก็จะไม่มาสร้างความวุ่นวายใจให้กับเรา เราเครียดเพราะเราอยากจะไปบังคับเขา ถาม: เราทำงานอยู่ในที่ทำงานที่มีผู้ที่ไม่ตั้งใจทำงาน ไม่ใส่ใจ ซึ่งงานของทุกคนย่อมมีส่วนที่เกี่ยวโยงถึงกัน เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบกระทั่งกันเพราะในเมื่อบอกเขาก็ไม่ยอมทำ ถ้าเราทำเองเขาก็ยิ่งคิดว่าไม่เป็นหน้าที่ของเขา ถ้าเราทำมากจิตใจของเราก็ขุ่นมัว เพราะเรารู้สึกว่าเราเหนื่อย แต่คนประเภทนี้กลับนั่งว่างนั่งคุยอยู่สบายๆ เพราะผมกำลังฝึกปฏิบัติธรรม เข้าใจว่าเวลาทำงานก็ควรต้องฝึกด้วยครับ ทำให้รู้สึกวางจิตได้ยาก กราบขอคำแนะนำพระอาจารย์ครับ พระอาจารย์: ก็เราทำหน้าที่ของเราไปก็แล้วกัน เราอย่าบกพร่องในหน้าที่ของเรา ส่วนคนอื่นเขาจะบกพร่องไม่บกพร่องก็เรื่องของเขา เราห้ามเขาไม่ได้ บังคับเขาไม่ได้สั่งเขาไม่ได้ ที่เราเครียดก็เพราะเราอยากจะไปบังคับเขาไปสั่งเขา ไปให้เขาทำหน้าที่ของเขา เขาไม่ทำก็เรื่องของเขา เราไม่ได้เป็นผู้จัดการ เราไม่ได้เป็นหัวหน้า ถ้าเราเป็นหัวหน้าเราก็ไล่เขาออกไป ก็เท่านั้น แต่ถ้าเราไม่มีหน้าที่ที่จะไปจัดการกับเขา เราก็ไม่ต้องไปสนใจกับเขา เราก็ทำส่วนของเราไป ก็เท่านั้นเอง คิดว่าเราต้องรู้จักปล่อยวาง อย่าไปเอาเรื่องคนอื่นมาแบก เราไปควบคุมบังคับเขาไม่ได้ ไปสั่งเขาไม่ได้ เราควบคุมบังคับตัวเราดีกว่าให้เราทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ แล้วก็คิดว่าถ้าเราต้องทำมากหน่อยก็คิดว่าเป็นการทำบุญไปก็แล้วกัน เราจะได้มีความสุข เออ วันนี้เรากำไรเราได้ทำเกินหน้าที่ของเรา มากกว่าที่เราต้องทำ แต่เราคิดว่าเป็นการทำบุญ เราก็จะได้เกิดความสุขใจขึ้นมา ถาม-ตอบปัญหาธรรม กับพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 28 มิถุนายน 2564 15:28:14 » |
|
ต้องกลับไปปฏิบัติใหม่ถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ว่า เมื่อก่อนเคยปฏิบัติภาวนามาตลอด ๓, ๔ เดือน จนการนั่งสมาธิเข้าฌานได้แบบแวบเดียว พอมีที่ทำให้ห่างจากการปฏิบัติ จนตอนนี้ ความโกรธมากขึ้น ใครทำอะไรไม่ดีนิดๆ หน่อยๆ ก็โกรธ ควรทำอย่างไรดีครับพระอาจารย์ พระอาจารย์: ก็ต้องกลับไปไปปฏิบัติใหม่ ถ้าปฏิบัติก็จะมีสติ มันก็จะลดความอยากได้ ลดความโกรธได้ พอไม่มีสติความอยากมันก็เพิ่มมากขึ้น ยิ่งอยากมากก็ยิ่งโกรธมากทำบุญกับพระอรหันต์จะได้บุญมากกว่าจริงไหมถาม: จริงไหมครับที่ทำบุญกับพระสงฆ์ที่เป็นพระอริยบุคคล พระอรหันต์จะได้บุญมากครับ พระอาจารย์: คือบุญที่เกิดจากการเสียสละของเรานี้ ไม่ว่าจะทำกับใครก็ได้บุญเท่ากัน เช่น เรามีเงิน ๑๐๐ บาท เราไปทำบุญกับพระอรหันต์ และมีเงิน ๑๐๐ บาท แล้วไปซื้ออาหารให้สุนัขกิน บุญที่เกิดจากการทำบุญของเรานี้ได้เท่ากัน แต่สิ่งที่จะได้จากหมา จากพระอรหันต์นี้ต่างกัน ถ้าไปเลี้ยงหมา หมามันก็กระดิกหางให้เรา แต่ถ้าไปทำบุญกับพระอรหันต์ ท่านก็สอนธรรมะให้กับเรา ธรรมะนี่ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เรามีดวงตาเห็นธรรมได้ หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ นี่อานิสงส์จากการทำบุญกับพระอรหันต์จะได้เพิ่ม ได้ธรรมะเพิ่ม ถ้าทำกับคนที่ไม่มีธรรมะ ก็จะไม่ได้ธรรมะ เท่านั้นเอง แต่ได้การเสียสละเงิน ๑๐๐ บาทของเราไป ได้บุญส่วนนั้นไป แต่บุญที่เราจะได้รับจากผู้ที่เราไปทำบุญด้วยนี่ อยู่ที่ว่าเขามีอะไรให้เราหรือเปล่า ถ้าไปทำบุญกับพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ ท่านมีธรรมะ ท่านอาจจะพูดคำ ๒ คำ เราก็อาจจะมีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมาเลยก็ได้กิเลสต่างกันอย่างไรถาม: กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดนี่ต่างกันอย่างไรคะ จะละกิเลสพวกนี้ต้องทำอย่างไรบ้างเจ้าคะ พระอาจารย์: มันก็เหมือนกันแหละ หยาบ กลาง ละเอียด ก็ต้องละมันเวลามันโลภก็ต้องหยุดมัน เวลาโกรธก็ต้องหยุดมัน เวลาหลงก็ต้องหยุดมัน หลงคิดว่าเราใหญ่เราโต เราเป็นศาสตราจารย์ เป็นอะไรขึ้นมา ไอ้นี่ก็เป็นความหลงสมมุติ ก็ต้องให้รู้ทัน แล้วก็ปล่อยวาง ก็มันหยาบกลาง ละเอียด ก็ไม่ต้องไปสนใจหรอก ถ้ามันโผล่ขึ้นมา ถ้ารู้ว่าพอวิตกกังวลนี้ ก็แสดงว่ากิเลสโผล่ขึ้นมาแล้ว พอกลัวนี่กิเลสก็โผล่ขึ้นมาแล้ว พออึดอัดใจนี้กิเลสก็โผล่ขึ้นมาแล้ว พอไม่สบายใจ นี่กิเลสก็โผล่ขึ้นมาแล้ว เพียงแต่ว่าเราจะรู้หรือเปล่า มันตัวไหนที่โผล่ขึ้นมา ที่ทำให้เราไม่สบายใจ ทำให้เราอึดอัดใจ นี่มันมีเหตุ มันเรื่องของกิเลสทั้งนั้น ต้องค้นให้เจอว่า ไอ้ตัวนี้ตัวไหนที่ทำให้เราไม่สบายใจ เราก็หยุดมันเสียรู้ธรรมแต่ไม่เห็นธรรมถาม: ทำไมเรารู้ธรรมแต่ไม่เห็นธรรม ทำไมเรารู้ทุกข์แต่ไม่เห็นทุกข์คะ พระอาจารย์: เพราะธรรมที่เรารู้นี้เป็นชื่อของมัน ไม่ได้ตัวของมัน เหมือนไปร้านอาหารไปเปิดดูเมนูนี่ เมนูมันไม่ใช่ตัวอาหาร เป็นชื่อของอาหาร ถ้าไม่สั่งให้เขาทำอาหารมา เราก็ไม่ได้กินอาหาร งั้นการได้ยินได้ฟังธรรมนี้ เป็นเพียงได้ยินชื่อของธรรมเท่านั้นเอง ยังไม่ได้เจอตัวธรรม จะเจอตัวธรรมต้องปฏิบัติ ต้องปฏิบัติสติ สมาธิ ปัญญา แล้วตัวธรรมก็จะปรากฏขึ้นมาให้เราเห็นอะไรเป็นหลักทางโลกถาม: ผมไม่รู้เลยว่าอะไรเป็นหลักทางโลกเลยครับหลวงพ่อ พระอาจารย์: ทางโลกก็เรื่องของความทุกข์สิ ก็รู้เท่านี้ อย่าพึ่งทางโลก เราก็ใช้หลักของศาสนานี่เป็นวิธีอยู่กับทางโลก ให้มีศีลมีสัตย์ มีพรหมวิหาร ๔ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้มักน้อยสันโดษ ทางโลกอย่าไปโลภมาก อย่าไปอยากรวย อย่าอยากเป็นใหญ่เป็นโต อะไร ทำหน้าที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปก็พอ เศรษฐกิจพอเพียง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 91.0.4472.124
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2564 15:57:49 » |
|
ทราบได้อย่างไรว่าศึกษาพระธรรมถึงขั้นไหนถาม: เราอยู่ในฆราวาสแล้วนั้น ตัวเราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่าตัวเรานั้นศึกษาพระธรรมไปถึงขั้นไหนแล้ว เช่น ขั้นพระโสดาบันแล้วหรือยัง พระอาจารย์: อ๋อ ก็อยู่ที่ว่าเราปฏิบัติได้หรือยัง การศึกษานี้เป็นการดูแผนที่ ดูแผนที่แล้วก็ต้องออกเดินทาง พอเดินทางไปถึงที่แล้วก็เปิดดูแผนที่ว่าตรงกับที่เราดูในแผนที่หรือเปล่า ถ้าตรงกันก็ถือว่าเราถึงที่นั้นแล้ว ถ้ายังไม่ตรงกันก็ถือว่ายังไม่ถึงที่ งั้นเบื้องต้นเราก็ต้องดูว่าเราทำทานได้หรือยัง หรือยังจะเอาเงินไปเที่ยวไปกินไปดื่มไปช้อปปิ้งอยู่ ถ้าอย่างนี้ก็ถือว่าเรายังทำทานไม่ได้ ไอ้ทำทานแบบวันเกิดทีปีใหม่ทีนี้ไม่ถือว่าเป็นการทำทานอย่างแท้จริง ทำทานอย่างแท้จริงต้องเอาเงิน แย่งเงินของที่กิเลสจะมาใช้นี่ถึงจะเรียกว่าทำทาน อย่าปล่อยให้กิเลสเอาเงินไปใช้ แล้วเอาเงินที่เคยให้กิเลสนี้มาทำทานให้หมด “กิเลส” ก็คือความอยากเที่ยวอยากดูอยากฟังอะไรต่างๆเหล่านี้ พออยากจะดูหนังก็เอาเงินที่อยากจะไปดูหนังนี้ไปทำบุญทำทาน คือตัดมันให้หมดความอยากต่างๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย รูปเสียงกลิ่นรสนี่ ถึงจะเรียกว่าทำทานได้ รักษาศีลก็นี่ เรารักษาศีลได้ตลอดหรือเฉพาะวันพระ พอพรุ่งนี้ไม่ใช่วันพระก็กลับมาโกหกใหม่ กลับมาขโมยของใหม่ อันนี้ก็ถือว่ายังรักษาไม่ได้ ต้องรักษาได้ตลอดเวลาถึงจะเรียกว่าเราได้ถึงขั้นนั้นแล้ว ขั้นทานเราได้หรือยัง ขั้นศีลเราได้หรือยัง ขั้นสมาธินั่งแล้วใจเราสงบมีสติพุทโธตลอดได้หรือยัง มันจะรู้เองถ้าเราปฏิบัติแล้วเราถึงจะรู้ว่าเราได้ถึงขั้นไหนแล้วปัญหาในการภาวนาถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ ศิษย์ขอโอกาสถามปัญหาในการภาวนาดังนี้ครับ เวลาเรานั่งสมาธิกำหนดจิตอยู่กับลมหายใจ สักพักลมหายใจเบาลง นานๆ หายใจสักครั้งแต่ลมยังไม่ขาด ผมใช้วิธีกำหนดความนิ่งไม่ให้ตาหรือส่วนใดของร่างกายเคลื่อนไหว แต่ลมก็หายไปแป๊บเดียว แล้วก็กลับมาใหม่ ผมควรทำอย่างไรต่อไปดีครับ ถ้าผมกำหนดความนิ่งของตากับร่างกายแล้วเฝ้าดูลมหายใจไปเรื่อยๆ จะถูกต้องหรือไม่ครับ พระอาจารย์: ให้ดูอย่างเดียว ดูลมได้ก็ดูลมไป พอไม่มีลมก็ดูว่าคิดหรือไม่คิด ถ้าคิดก็หยุดคิด เท่านั้นเอง ถาม: แล้วลมหายใจจะขาดหรือไม่ กราบนมัสการด้วยความเคารพ พระอาจารย์: อ๋อ มันไม่ขาดหรอก มันไม่ตายจากการนั่งสมาธิหรอก ไม่ตายจากการดูลม ลมมันก็ห่างไปหน่อยแล้วมันก็เบาลงไปแต่มันไม่ตายหรอก ไม่ต้องกลัว เวลานั่งสมาธินี่ดูลมไป ลมก็จะเบาลงๆ เพราะร่างกายเพราะจิตไม่ได้คิดปรุงแต่ง จิตเบาจิตสงบลง ร่างกายก็เลยทำงานน้อยลงๆ เหมือนรถยนต์นี่เวลาวิ่งกับเวลาไม่ได้วิ่งนี่ เครื่องยนต์มันจะทำงานช้าเร็วต่างกัน ร่างกายก็เหมือนกัน เวลาใจไม่คิดไม่ปรุงแต่ง ใจเข้าสู่ความสงบ การทำงานของร่างกาย การหายใจของลมก็จะเบาลงๆ ไป แต่มันไม่หยุดหายใจหรอก เพียงแต่ว่ามันนานๆ อาจจะหายใจสักครั้งหนึ่งก็ได้ เราไม่ต้องไปสนใจ ถ้าไม่มีลมให้ดูเราก็ดูความคิดว่าเราคิดอะไรรึเปล่า ถ้าคิดว่าเราจะตายหรือเปล่า ลมไม่มี ก็หยุดคิดเสียอย่าไปคิดให้รู้เฉยๆ ให้รู้อยู่กับความว่างว่าตอนนี้ไม่มีอะไรให้เราคิด ไม่มีอะไรให้เราดู ก็ให้รู้เฉยๆ ไป เดี๋ยวถ้ารู้เฉยๆ เดี๋ยวจิตก็จะรวมเข้าสู่ความสงบ มันก็จะวุ้ปลงไป แล้วก็นิ่งสบาย ไม่ต้องกังวลนะให้ดูไป ไม่มีลมดูก็ดูความว่างดูความคิดไป ถ้าคิดก็หยุดมันด้วยสติ แล้วก็ให้อยู่กับความว่างไปเดี๋ยวมันก็จะรวมเข้าสู่ความสงบต่อไปอุทิศบุญหรืออุทิศความฟุ้งซ่านถาม: ลูกสวดมนต์ไหว้พระตอนเช้าแทบทุกวัน หลังจากสวดมนต์เสร็จแล้ว อุทิศส่วนบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร เจ้าที่เจ้าทาง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว และที่ยังมีชีวิตอยู่ ทำแบบนี้ได้ผลไหมเจ้าคะ แล้วที่ลูกอุทิศบุญกุศลให้บุคคลต่างๆ หลังจากสวดมนต์เสร็จ บุญส่งถึงพวกเขาไหมเจ้าคะ พระอาจารย์: บุญที่เกิดจากการปฏิบัตินี่ มันเป็นบุญที่ยากที่จะเกิดไง เพราะเป็นเหมือนกับการปลูกต้นไม้ ปลูกต้นไม้วันนี้มันไม่ได้ทำให้เกิดออกดอกออกผลทันที ปลูกต้นทุเรียนนี้กว่าจะได้ลูกทุเรียนนี้ตั้งหลายปีด้วยกัน งั้นถ้าจะอุทิศบุญให้มันรวดเร็วทันใจแล้วนี่ อุทิศด้วยการทำทาน ใส่บาตรอย่างนี้ ถวายสังฆทาน ทำบุญ พอทำปุ๊บนี่ได้เห็นผลปั๊บ ผลมันเกิดขึ้นทันที อุทิศได้ทันที แต่บุญที่เกิดจากการนั่งสมาธิ จากการสวดมนต์นี้ยังเป็นการปลูกต้นไม้อยู่ มันยังไม่ออกดอกออกผล มันยังไม่ได้เป็น ยังไม่ได้รับระดับผลของมัน เป็นเพียงการก่อ เป็นการสร้าง เป็นการปลูกฝัง เขาไม่นิยมกันถ้า ถ้าอยากจะอุทิศบุญ อุทิศกุศลนี้ต้องทำด้วยการทำทาน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำทาน อุทิศไป แต่ก็ไม่ห้าม ไหว้พระสวดมนต์เสร็จ นั่งสมาธิ อยากจะอุทิศก็อุทิศไป แต่ไม่รู้ที่อุทิศเป็นอะไรก็ไม่รู้ อุทิศบุญหรืออุทิศความฟุ้งซ่านไปก็ไม่รู้ เพราะสวดมนต์ไปอาจจะคิดถึงคนนั้น คิดถึงคนนี้ วุ่นวายกับเรื่องนั้น วุ่นวายกับเรื่องนี้ มันก็จะอุทิศเรื่องนั้นไปให้กับเขานิมนต์พระนำคนตายกลับบ้านถาม: คนที่ตายที่โรงพยาบาล แล้วนิมนต์พระนำกลับวัดหรือบ้านคนตาย เขาจะกลับได้จริงไหมครับ พระอาจารย์: อ๋อ เขาไปตามวาระของเขาแล้ว เขาไปเป็นเทวดาไปเป็นเปรตแล้ว หรือไปเป็นอะไรแล้ว งั้นที่ทำนี้เพียงแต่ไปเอาร่างกาย เท่านั้นเอง เพื่อความสบายใจของคนเป็น ของคนที่ยังมีอยู่ เพราะตามความเชื่อว่าต้องมีพระมาดึงกลับไป แต่พระดึงไม่ได้หรอก มันเรื่องของกรรม กฎแห่งกรรม ไม่มีใครเหนือกรรม พอร่างกายนี้ตายปั๊บนี่ จิตนี้ถูกกรรมเป็นผู้จัดการ เท่านั้นเอง เรามีกรรมเป็นของๆตน เป็นผู้รับผลของกรรม จะทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น งั้นกรรมก็จะจัดสรรทันทีให้เราเป็นเปรต เป็นเดรัจฉาน ไปเป็นเทวดา หรือไปเป็นพระอริยะ แล้วแต่กรรมที่เราสร้างสี่เท้ายังรู้พลาด..นักปราชญ์ยังรู้พลั้งถาม: แฟนผมทำผิดศีลข้อ ๓ เขาสำนึกได้แล้วก็มาพูดความจริงกับผมครับ และตั้งสัจจะว่าจะรักษาศีลข้อนี้ตลอดชีวิต และรอวันให้ผมให้อภัย ผมเพิ่งรับรู้จากปากของเขา เขามีความทุกข์มาก ไม่รู้จะบอกให้เขาคลายทุกข์ได้อย่างไรครับ พระอาจารย์: อ๋อ ก็บอกเขาว่าเราให้อภัยเขาแล้ว เราไม่ถือโทษโกรธเคืองกัน ยอมรับว่าคนเราผิดพลาดได้ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง แล้วสองเท้าอย่างเราทำไมจะทำความผิดไม่ได้ เพียงแต่ว่าถ้าผิดแล้วมีความสำนึกผิดนี่ก็ถือว่าดี มีโอกาสที่จะแก้ไขได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังให้มากว่า นี่แหละคือผลของการกระทำผิดเป็นอย่างไร ทำผิดแล้วก็ทำให้ทุกข์มาก ถ้าไม่อยากทุกข์ต่อไปก็อย่าทำอีกวิบากกรรมจะกลับมาสนองตัวเขาเอง ถาม: คนที่แชร์หรือล้อเลียนพระพุทธศาสนา และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนเหล่านี้จะบาปไหมครับ ผมเห็นแล้วเกิดความไม่พอใจสักเท่าไหร่ พระอาจารย์: อ๋อ ไม่บาปหรอก เขาเป็นพวกบัวใต้น้ำ บัวที่อยู่โคลนตม พวกนี้จะไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำได้ เพราะว่าไม่มีศรัทธาในผู้รู้อย่างพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็จะอยู่กับความหลง อยู่กับความมึนเมาต่างๆ ก็เลยจะทำอะไรตามความรู้สึกนึกคิดของตน อยากจะล้อเลียนใคร อยากจะดูถูกดูแคลนใครก็ทำไป แล้วเดี๋ยววิบากกรรมเขากลับมาสนองตัวเขาเอง ทำอะไรอย่างใด ก็จะต้องถูกเขากลับมาทำอย่างนั้นต่อไปจิตสุดท้ายมันไม่มี..เป็นลมหายใจสุดท้ายมากกว่าถาม: ตอนจิตสุดท้าย ควรจะทำจิตไว้อย่างไรคะ พระอาจารย์: จิตสุดท้ายมันไม่มีหรอก จิตมันไม่มีสุดท้ายหรอก เป็นลมหายใจสุดท้ายมากกว่า ก็ปฏิบัติเหมือนกับที่เราปฏิบัติ พยายามควบคุมจิต อย่าไปให้ตื่นเต้นตกใจ เท่านั้นเอง ร่างกายมันจะเป็นอะไรก็เรื่องของมัน ไม่ใช่เรา เราเป็นจิต เราก็รักษาให้มันเป็นปกติเหมือนกับที่คุยกันตอนนี้แหละ เท่านั้นเอง ไม่ต้องไปตื่นเต้นตกใจกลัว ถ้ามันตื่นเต้นก็ต้องใช้สติ พุทโธ หรือใช้ปัญญาสอนมัน บอกว่า มันไม่เป็นอะไร เหมือนคนดูหนัง ดูหนังไปตื่นเต้นกับหนังทำไม เท่านี้เอง ไม่มีอะไร ทีนี้ความหลงมันไปคิดว่าเราเป็นร่างกาย พอร่างกายจะตาย เราก็คิดว่าจะตายไปกับร่างกาย ก็หวาดกลัว ไม่อยากตาย ยิ่งไม่อยากตายยิ่งทุกข์ยิ่งเครียดใหญ่ ความทุกข์เกิดจากความไม่อยากตายนี้ งั้นมาฝึกทำใจให้เฉยๆ ไม่อยากตาย ไม่อยากอยู่ ได้ทั้ง ๒ อย่าง เพราะไม่ใช่เรา ร่างกายมันจะอยู่ก็ปล่อยมันอยู่ไป จะตายก็ปล่อยมันตายไป เราไปควบคุมบังคับมันไม่ได้ มันเป็นอนัตตา เราคือจิตผู้รู้ ก็รู้ตามความเป็นจริง แล้วก็ปล่อยวาง เท่านั้นทำไมพระพุทธเจ้าอยากหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารคะ ถาม: ทำไมพระพุทธเจ้าถึงอยากหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเจ้าคะ พระอาจารย์: เพราะพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดมันเป็นทุกข์นั่นเอง ไม่มีใครอยากจะทุกข์ มันก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ เป็นเพราะว่ามองไม่เห็นทุกข์ ยังคิดว่ายังเป็นความสุขอยู่ ยังคิดว่าเกิดมาแล้ว จะได้มีความสุขจากการสัมผัสกับรูปเสียงกลิ่นรส จะได้มีความสุขกับลาภยศสรรเสริญ สุขชนิดต่างๆ แต่ลืมมองไปว่า นอกจากความสุขในโลกนี้แล้ว มันก็มีความทุกข์ที่เป็นเงาตามตัวตามมาด้วย คือความทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ความแก่ ความตาย ความพลัดพรากจากกัน หรือการพบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ หรือเจอคนที่เราไม่ชอบ เจอสิ่งที่เราไม่ชอบ เช่น เจอคำด่า คำอะไรต่างๆ มันก็เป็นความทุกข์ทั้งนั้น หรือพลัดพรากจากของที่เรารักก็ทุกข์ พอเรารักอะไร พอเขาจากเราไปก็ทุกข์ ทำให้ร้องห่มร้องไห้ คนที่ไม่มีปัญญาจะมองไม่เห็นทุกข์อันนี้ เห็นแต่สุขอย่างเดียว อย่างพระพุทธเจ้านี่ ทรงเห็นทั้ง ๒ ด้าน สุขก็เห็น แล้วก็เห็นทุกข์ที่เป็นเหมือนเงาตามตัวความสุขมาด้วย จึงทำให้พระพุทธเจ้าไม่อยากจะกลับมาเกิดอีกต่อไปพุทโธมีความหมายอย่างไรถาม: คำว่าพุทโธมีความหมายอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรในการบริกรรมครับ พระอาจารย์: คำว่า “พุทโธ” ก็คือไม่ให้คิดไง ให้ท่องพุทโธเพื่อจะได้ไม่คิด เท่านั้นเอง ให้รู้แค่นี้ก็พอ การปฏิบัติไม่ต้องรู้มากไปกว่านั้น ความคิดของเรานี่มันเป็นภัยกับเรานะ เป็นหอกทิ่มแทงใจเราอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวก็คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้ แล้วก็มาร้องห่มร้องไห้เศร้าโศกเสียใจ ก็เพราะความคิดของเรานี่เอง ไม่ใช่คนอื่นทำให้เราเศร้าโศกเสียใจ เราเป็นคนไปคิด มันเลยทำให้เราเศร้าโศกเสียใจ พอเราไม่ไปคิด ความเศร้าโศกเสียใจก็หายไป ดังนั้น คำว่าพุทโธคือไม่ให้คิด ให้รู้เฉยๆ ผู้รู้ พุทโธคือผู้รู้ ให้รู้ เรามี ๒ ส่วน เรามีผู้รู้กับผู้คิด เรามักจะเอาผู้คิดออกมานำหน้า ผู้รู้อยู่ข้างหลัง ผู้คิดมันก็เลยมาทิ่มแทงหัวใจเราอยู่เรื่อยๆ พอเราหยุดผู้คิดได้ก็เหลือแต่ผู้รู้ ผู้รู้ก็รู้เฉยๆ ใครด่าก็รู้เฉยๆ ใครชมก็รู้เฉยๆ ไม่ต้องคิด เท่านั้นเอง แล้วอารมณ์ต่างๆ ก็จะหายไป ใจก็จะว่างจะเย็นจะสบาย งั้นขอให้รู้ว่าท่องพุทโธเพื่อไม่ให้คิด ไม่ต้องไปรู้ความหมายของพุทโธ พุทโธก็แปลว่าผู้รู้ไง ผู้รู้คือพุทโธ พระพุทธเจ้าก็คือผู้รู้ด้วยตนเอง รู้ธรรม รู้แสงสว่างแห่งธรรมด้วยตนเอง ก็เรียกว่า อรหันตสัมมาสัมพุทโธ เท่านั้นเอง คำว่าพุทโธแปลว่าผู้รู้ ใจเรานี้มี ๒ ส่วน มีผู้รู้กับผู้คิด แต่ผู้รู้นี้ถูกผู้คิดนำหน้าอยู่ตลอดเวลา ก็เลยมีแต่เรื่องวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา พอเราหยุดผู้คิดได้ปั๊บ ผู้รู้ก็จะนำหน้า ผู้รู้ก็จะรู้เฉยๆ ใครจะด่าก็รู้ ใครจะชมก็รู้ แต่ไม่ไปคิดว่าเขาด่าเขาชมเรา ก็คิดว่าเป็นเสียงไป เป็นแค่เสียง เท่านั้นเอง เสียงด่าก็เสียง เสียงชมก็เสียง แต่พอไปแปลความหมายปั๊บนี้ มันก็เลยกลายเป็นเรื่องด่าเรื่องชมขึ้นมา นี่เวลาเราฟังเสียงนกนี่ เรารู้ว่ามันด่าเราหรือชมเราหรือเปล่า รู้ว่าเป็นเสียงนกใช่ไหม แล้วเป็นยังไง สบายไหม ฟังเสียงนกแล้วสบาย ถึงแม้มันจะด่าเรา เราก็สบาย ใช่ไหม เพราะเราไม่ไปคิดว่ามันด่าเรา ใช่ไหม เข้าใจไหม เพราะฉะนั้นอย่าไปคิดว่าเขาด่าเรา คิดว่าเป็นเหมือนเสียงนกร้อง เสียงด่าเสียงชมก็เหมือนเสียงนกร้อง เราไม่รู้ว่าเขาด่าหรือเขาชม ถ้ารู้ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไป ทำได้หรือเปล่า ปัญหาคือเราทำใจให้ไม่รู้ไม่ชี้ไม่ได้ เท่านั้นเอง ต้องรักชังกลัวหลงขึ้นมาทันที งั้นต้องมาฝึกใจใหม่ ให้รู้เฉยๆ ให้สักแต่ว่ารู้ อย่าให้ความคิดมาหลอกเราว่าเป็นนู่นเป็นนี่ มันเป็นเพียงความคิดเท่านั้น ความจริงมันเป็นแค่เสียง แต่เราไปว่าเสียงดีเสียงไม่ดี เสียงไพเราะเสียงหยาบ เสียงอะไร เป็นสมมุติไปหมด พวกนี้เป็นสมมุติ ความจริงมันเป็นแค่เสียง เหมือนเสียงลมพัดนี่ มันก็เสียง เสียงนกร้องก็เสียง ทำไมเสียงลมพัด เสียงนกร้องไม่ทำให้เราปวดร้าวในจิตใจ พอเสียงด่าคำเดียวเท่านั้น “อีหอกนี่” ปวดร้าวไปทั้งวันทั้งคืน นะ นี่คือปัญหาของความคิด ถึงต้องใช้พุทโธพุทโธ จะได้หยุดความคิดซะที ให้รู้เฉยๆ นะ โอเคเข้ากระแสนิพพานมีลักษณะอย่างไร ถาม: การเข้ากระแสนิพพานมีลักษณะอย่างไรคะ พระอาจารย์: อ๋อ ใจมันรู้เองล่ะ นี่เล่าไม่ได้ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น พอมีดวงตาเห็นธรรมมันก็รู้เอง พอสิ่งใดมีการเกิดขึ้น ก็มีการดับไป เช่น ผัวทิ้งเราปั๊บ อ้อ สิ่งใดเกิดขึ้น ก็มีการดับไป ไม่เดือดร้อน นี่ถึงจะเข้ากระแสนิพพานแล้ว ถ้ายังร้องห่มร้องไห้ยังโกรธเกลียดเคียดแค้นอยู่ก็ยังไม่เข้ากระแสนิพพานพระพุทธเจ้าสอนวิธีการดับทุกข์อย่างไรถาม: ผมยังไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติครับ ว่าปฏิบัติอย่างไรนะครับ ผมเลยมีคำถามที่จะมาถามพระอาจารย์ว่า พระพุทธเจ้าสอนวิธีการดับทุกข์อย่างไรครับ พระอาจารย์: ดับด้วยสติกับปัญญาไง ตอนที่เราไหว้พระสวดมนต์นี่เรากำลังฝึกสติ คือคอยควบคุมใจไม่ให้ไปคิดเรื่องราวต่างๆ เวลาเราสวดมนต์เราก็ต้องมีสติอยู่กับการสวดมนต์ ไปคิดถึงแฟน ไปคิดถึงเพื่อนไม่ได้ คิดถึงที่เที่ยวที่เล่นไม่ได้ ถ้าไม่คิดถึงมัน มันก็ไม่มีความอยากจะไปเที่ยว อยากจะไปเล่น ถาม: แล้วเราจะมีวิธีการหลุดพ้นอย่างไร ครับ พระอาจารย์: ก็นี่แหละ ก็ขั้นต้นให้มีสติเพื่อจะได้นั่งสมาธิ นั่งสมาธิพอจิตสงบ เราจะได้พบกับความสุขแบบที่ดี แบบที่ไม่ต้องใช้ร่างกาย ไม่ต้องใช้ตาหูจมูกลิ้นกาย เราก็จะได้ตัดการไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายได้ พอเราไม่ต้องใช้ร่างกาย เราก็ไม่ต้องกลับมาเกิด ไม่ต้องมีร่างกายอีกต่อไป ถาม: ถ้าคนที่ยึดมั่นถือมั่นนี่ ในหลักคำสอนของศาสนานี้ จะไม่ถือว่าติดกับคำสอนหรือครับ พระอาจารย์: ติดไม่เป็นไรไง ถ้าไม่ติดมันก็ไปไม่ได้ คำสอนมันเป็นของมีประโยชน์ เหมือนยา คนไข้ก็ต้องติดยา ต้องกินยา ไม่กินยามันก็ไม่หาย นี่จะไปนิพพานก็ต้องติดคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่พอไปถึงนิพพานแล้ว ก็ทิ้งได้ ไม่ต้องติด คนหายไข้แล้วก็ไม่ต้องกินยา ถาม: อ๋อ หมายความว่าหลักคำสอนคือ หนทางแห่งการหลุดพ้นใช่ไหมครับ พระอาจารย์: ใช่ ใช่ เหมือนแผนที่ไง ถ้าไม่มีแผนที่ ก็เดินทางไม่ถูกว่าจะไปทิศไหน ใช่ไหม แต่พอคุณถึงจุดหมายปลายทางแล้ว คุณก็เก็บแผนที่ไว้ ไม่ต้องกางแผนที่ดู ตอนนี้ยังต้องยึดหลักธรรมคำสอนอยู่ เพราะว่าเรายังไม่พ้นทุกข์ ทุกข์ยังไม่ดับยังไม่หมด แต่พอหายทุกข์แล้ว ทีนี้ก็เอาธรรมะคำสอนเก็บไว้ในลิ้นชักได้ ไม่ต้องนำเอามาใช้ ถาม: เป็นคำถามที่คาใจ ขอบคุณมากครับพระอาจารย์ พระอาจารย์: ตอนนี้ต้องยึดติดให้ได้นะ อย่าทิ้ง เพราะเรายังรักษาไม่ได้ เรายังดับความทุกข์ไม่ได้ เราต้องอาศัยธรรมะคำสอน โอเคนะ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 92.0.4515.107
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2564 19:28:44 » |
|
พิจารณาขันธ์ ๕ คำถาม: พิจารณาขันธ์ ๕ จะต้องถอยจิตที่สงบให้อยู่ในสมาธิระดับใดครับ พระอาจารย์: อ๋อ ระดับปกติ คือระดับที่จิตสามารถคิดปรุงแต่งได้เหมือนตอนนี้ เพียงแต่ว่าถ้าจิตที่ไม่มีสมาธินี้ จะเป็นจิตที่ไม่อยู่นิ่งกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่สามารถบังคับให้มันคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องไปทำจิตให้มีสมาธิก่อน พอจิตมีสมาธิแล้วจิตจะนิ่ง ถ้าเราสั่งให้จิตคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันก็จะคิดได้นานได้ต่อเนื่อง นี่คำที่เรามักจะพูดกันอยู่เรื่อยๆ ซึ่งมันเป็นคำที่เราใช้ผิดก็คือ สมาธิ ถ้าบอกว่าวันนี้ไม่มีสมาธิในการทำงานเลย แสดงว่าจิตเราไม่ยอมอยู่กับงาน ชอบไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ จึงไม่มีสมาธิอยู่กับการทำงาน งั้นเราต้องฝึกสมาธิให้จิตนิ่ง ให้สงบให้ได้ก่อน พอเราได้สมาธิแล้ว เราก็จะเอาสมาธินี้มาใช้กับการทำงานต่อไปได้ แต่ไม่ได้ใช้ในขณะที่อยู่ในสมาธิ ต้องออกจากสมาธิ แต่สมาธิที่เราได้มันจะทำให้จิตเรานิ่ง จิตของเราจะไม่วอกแวก จะไม่วิ่งไปวิ่งมากับเรื่องนั้นเรื่องนี้ จะอยู่กับเรื่องที่เราบังคับให้มันทำเพียงอย่างเดียวการทำบุญแบบไหนได้บุญสูงสุด คำถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ การทำบุญแบบไหนได้บุญสูงสุดครับ พระอาจารย์: บุญมันมี ๓ ระดับ มีทาน ศีล แล้วก็การปฏิบัติธรรมที่เรียกว่าการภาวนา ก็อยู่ที่ความสามารถของเราว่า เราจะทำบุญระดับไหนได้ เพราะในแต่ละระดับนี้มันก็มีความยากง่ายต่างกัน ระดับง่ายที่สุดก็คือการทำบุญทำทาน ผลที่ได้ก็น้อยที่สุด ลำดับที่ ๒ ก็ยากกว่าการทำบุญทำทาน คือการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ถ้าทำได้ก็จะได้บุญมากกว่าการทำบุญทำทาน และลำดับที่ ๓ ก็ยิ่งยากกว่าการรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ก็คือการปฏิบัติธรรม งั้นถึงแม้ว่ามันจะได้บุญมาก คือขั้นสูง แต่ถ้าเราทำไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไปทำเลย เพราะจะไม่ได้บุญเลย เพราะกว่าจะได้บุญนี้มันอาจจะใช้เวลาหลายปีด้วยกัน ถ้าเราต้องการความสุขใจอยู่ ทำในระดับที่เราทำได้ไปก่อน แล้วค่อยพยายามฝึกในระดับที่สูงกว่า ไปก่อนจะดีกว่า คือทำบุญทำทานไป แล้วก็หัดรักษาศีล ๕ ให้ได้ก่อน รักษาศีล ๕ ได้แล้ว ค่อยรักษาศีล ๘ พอรักษาศีล ๘ ได้ ก็สามารถที่จะไปฝึกสมาธิได้ ฝึกสติได้ ปฏิบัติธรรมได้ นี่คือบุญ ๓ ขั้นที่มีความมากน้อยต่างกัน ขั้นแรกก็จะน้อยกว่าขั้นที่ ๒ ขั้นที่ ๒ ก็จะน้อยกว่าขั้นที่ ๓ แต่เราจะไปที่ขั้นที่ ๓ เลยไม่ได้ เหมือนกับความรู้ที่เราเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัยนี้เป็นความรู้ที่สูงกว่าความรู้ระดับมัธยม ระดับมัธยมก็สูงกว่าความรู้ระดับประถม แต่เราก็ต้องไต่เต้าจากระดับประถม ไปสู่มัธยม ไปสู่ระดับปริญญาตามลำดับต่อไปจิตเห็นไตรลักษณ์เห็นอย่างไร คำถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ ที่ว่าจิตเห็นไตรลักษณ์นั้น เราเห็นอย่างไรครับ พระอาจารย์: ก็เหมือนกับเราเห็นโลกนี้แบนหรือโลกนี้กลมไง เราเห็นอย่างไร สมัยก่อนไม่มีดาวเทียม ไม่มีจรวดขึ้นไปถ่ายภาพโลกให้เราดู เขาก็ต้องใช้ตรรกะสอนจิตว่าโลกนี้ไม่แบน เช่น เขาสังเกตดูว่าเวลาเรือเข้ามา สมัยก่อนเป็นเรือใบ มันจะมีใบ มีเสาธง เวลาเรือเข้ามา ถ้าเราอยู่ที่ฝั่ง เวลาเห็นเรือเข้ามานี้ เราไม่เห็นทั้งลำพร้อมกัน เราจะเห็นส่วนที่สูงก่อน คือเสาธงก่อน เห็นธงก่อน แล้วค่อยเห็นใบ แล้วค่อยมาเห็นตัวตามลำดับ นี่แสดงว่าเรือนี้วิ่งมาบนผิวที่มันโค้งเว้า เหมือนคนที่ขี่ม้าข้ามเขามานี้ เราจะเห็นอะไรก่อนเวลาเขาข้ามเขามา เราก็จะเห็นคนขี่ก่อน ถ้าเขาถือธง เราก็จะเห็นธงก่อน เห็นส่วนที่สูงก่อน เพราะพื้นผิวที่เขาเดินมาหรือขี่ม้ามานี่ มันโค้งเว้า เขาก็เลยสรุปได้ว่าโลกนี้มันไม่แบน พื้นผิวมันไม่เรียบ พื้นผิวนี่มันโค้งเว้า เพียงแต่ว้ามันใหญ่มาก เลยมันก็ทำให้เรารู้สึกว่ามันเรียบ ในสายตาของเรา แต่ตามตรรกะแล้ว เราจะรู้ว่ามันโค้งเว้า ก็สรุป ถ้ามันโค้งเว้า มันก็ต้องเป็นเหมือนผลไม้ เหมือนส้ม เหมือนอะไร มันก็ต้องเป็นของกลม ไม่ใช่เป็นของแบน ไอ้นี่ก็เหมือนกัน การจะเห็นไตรลักษณ์ ก็ต้องดูสิ ไตรลักษณ์มันมี ๓ ลักษณะ ลักษณะหนึ่งคือไม่เที่ยง เช่น บอกว่าให้ดูร่างกายว่าไม่เที่ยง ดูยังไงว่าไม่เที่ยง อ้าว ก็มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่เหมือนเดิม ตั้งแต่วันเกิดมาจนถึงวันนี้ มันเปลี่ยนไปขนาดไหนแล้ว ตอนที่เราเกิดนี้ ถ้าเราถ่ายรูปไว้ แล้วตอนนี้เราถ่ายรูปของเราวันนี้ แล้วไปเปรียบเทียบดู รูปของเราวันนี้กับรูปของเราที่เราเกิดนี้ เหมือนกันไหม ไม่เหมือนแล้ว อันนี้ก็แสดงว่ามันไม่เที่ยง ถ้าไม่เที่ยงมากกว่านี้ คือมันจะดับด้วย ไปดูเวลาคนตายกันนี่ ร่างกายเขาหายไปไหนล่ะ ร่างกายเขาเอาไปเผาก็กลายเป็นขี้เถ้าขี้ถ่านไป นี่คือการดูศึกษาความไม่เที่ยงของร่างกาย ศึกษากับทุกสิ่งทุกอย่างได้ว่าไม่เที่ยง เช่น ฟองน้ำนี่เที่ยงไหม ฟองน้ำ เวลาเอาไปคนน้ำมันก็เกิดฟองขึ้นมา แล้วเดี๋ยวสักพัก ฟองเหล่านั้นมันก็แตกหายไป ไอ้นี่ก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน คำว่าไม่เที่ยงก็คือไม่เหมือนเดิม มีการเปลี่ยนแปลง เราต้องศึกษาด้วยตรรกะ ด้วยการสังเกตดูสิ่งต่างๆ แล้วเราก็จะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างนี้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรที่คงเส้นคงวา เพียงแต่บางอย่างมันเปลี่ยนช้าเปลี่ยนเร็ว เท่านั้นเอง แต่ไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องพังไป หมดสภาพไป นี่เรียกว่าการเห็นว่ามันไม่เที่ยง ต้องศึกษาต้องพิจารณา ถึงจะเห็นไม่เที่ยง อนัตตา ก็คือไม่ใช่ของเรา มันไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด วันใดวันหนึ่งมันก็ต้องแยกจากเราไป อันนี้ก็เรียกว่าอนัตตา ไม่ใช่ของเรา แล้วทุกข์เกิดจากอะไร เกิดจากที่เราไปอยากให้มันเที่ยง ใช่ไหม เราอยากจะให้ของที่เรามีอยู่นี้อยู่กับเรา พอมันไม่อยู่กับเรา มันแสดงความไม่เที่ยงขึ้นมา เราก็เสียใจ ทุกข์ใจขึ้นมา เพราะเราอยากให้เขาอยู่กับเราต่อไป นี่คือการศึกษาไตรลักษณ์ของในสิ่งต่างๆ ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ความคิดเปรียบเทียบ แล้วถึงจะเห็นไตรลักษณ์ได้จิตนิพพานที่โลกทิพย์ไม่ได้นิพพานที่ร่างกาย ถาม: กราบนมัสการเจ้าค่ะ พอดีอยากสอบถามว่า อย่างเรานี่มนุษย์ในปัจจุบันนี้ ว่ามีโอกาสที่จะบรรลุธรรมถึงขั้นนิพพานไหมเจ้าคะ ถ้าโดยปกติแล้ว แล้วจิตของพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้วอยู่ที่ไหนคะ พระอาจารย์: ตอนนี้มีมหาวิทยาลัย ไหมล่ะ มีจุฬาฯ มีธรรมศาสตร์ไหม คนที่เข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์เขาเรียนจบได้หรือเปล่าล่ะ สมัยนี้ก็มีมหาวิทยาลัยทางสงฆ์นี้ มีพระพุทธศาสนา ก็มีปริญญาเอกคือนิพพานรอเราอยู่ ก็อยู่ที่เราจะไปเรียนหรือไม่เรียน ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ เท่านั้นเอง ไม่ได้อยู่ที่ว่า ก็นักเรียนเขาไปทำงานอย่างอื่นหรือเปล่าเวลาเขาไปเรียนหนังสือ เขาก็ไปเรียนเต็ม ถ้าไปเรียนนอกเวลามันก็จะช้า ใช่ไหม เช่น เรียนเสาร์อาทิตย์นี้ แทนที่จะเรียนจบ ๔ ปี มันก็จะอาจจะไป ๖ ปี ๘ ปี แต่ถ้าเรียนแบบเต็มที่ไปทุกวันอย่างนี้ มันก็จะจบเร็ว อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าอยากจะจบเร็วตามหลักสูตร ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ก็ต้องไปบวช แต่ถ้าอยากจะเอา ๗ ชาติ ๗๐ ชาติก็ไม่ต้องบวช ปฏิบัติไปตามเวลาที่เราอยากปฏิบัติ เวลาไหนไม่อยากปฏิบัติก็ไม่ปฏิบัติ อย่างนี้มันก็จะช้า มันไม่ได้อยู่ที่ว่าเป็นใคร เป็นหญิงเป็นชาย มันอยู่ที่ว่าปฏิบัติมากหรือปฏิบัติน้อย ปฏิบัติถูกหรือปฏิบัติไม่ถูกเท่านั้นแหละ งั้นทุกคนมีสิทธิที่จะไปนิพพานได้ แล้วนิพพานก็ไม่ใช่สถานที่ นิพพานก็คือจิตใจของพวกเรานี้ จิตใจของพวกเราก็อยู่อีกโลกหนึ่งเรียกว่า “โลกทิพย์” ไม่ได้อยู่ในโลกของร่างกาย จิตใจส่งกระแสมาติดต่อกับร่างกายเรียกว่า “วิญญาณ” วิญญาณนี้มารับภาพ รูปเสียงกลิ่นรส ส่งไปให้จิตใจที่อยู่อีกที่หนึ่ง เหมือนกับที่เราติดต่อกันผ่านทางมือถือ คนหนึ่งอยู่กรุงเทพฯ คนหนึ่งอยู่ที่นี่ก็สามารถติดต่อกันได้ก็เพราะว่ามีเครื่องรับส่ง จิตก็มีเครื่องรับส่ง มีเครื่องรับรูปเสียงกลิ่นรส แล้วก็มีเครื่องส่งคือความคิด สั่งการมาที่ร่างกายได้ แต่จิตกับร่างกายอยู่กันคนละโลกกัน ร่างกายอยู่โลกธาตุ จิตอยู่โลกทิพย์ แล้วเวลาจิตถึงนิพพานจิตก็นิพพานที่โลกทิพย์ ไม่ได้นิพพานที่ร่างกาย เข้าใจไหม ตอนนี้เราไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย เราอยู่ที่โลกทิพย์กัน แต่เราส่งกระแสความคิดส่งกระแสการรับรู้มาที่ร่างกาย เราจึงรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านทางร่างกายได้ พอไม่มีร่างกายเราก็ไม่สามารถรับรู้เรื่องของโลกนี้ได้อีกต่อไป แต่เราก็ไม่ได้หายไปไหน เราก็ไปรับรู้เรื่องอื่นแทน จนกว่าเราจะได้ร่างกายอันใหม่มาเกิดใหม่ เราก็จะมารับรู้เรื่องของโลกนี้ใหม่ต่อไป เข้าใจหรือยังจิตเดิมจิตแท้คืออะไร ถาม: ขอโอกาสครับ มีคนถามผมเรื่องจิตเดิมจิตแท้คืออะไร ผมบอกเขาว่าจิตเดิมแท้คือกิเลส ผมไม่รู้ว่าถูกหรือผิดครับพระอาจารย์ ขอคำแนะนำพระอาจารย์ด้วยครับ กราบนมัสการครับ พระอาจารย์: จิตเดิมก็คือจิตที่ไม่มีการปรุงแต่ง จิตที่มีการปรุงแต่งมันก็ปรุงแต่งไปเป็นอะไรต่างๆ นานา แต่พอหยุดคิดการปรุงแต่งก็เหลือสักแต่ว่ารู้ จิตเดิมก็คือจิตที่อยู่ในสมาธินี่เรียกว่าจิตเดิม เหลือแต่สักแต่ว่ารู้ อุเบกขาเป็นจิตเดิม แต่พอออกจากสมาธิมามันก็มาปรุงแต่ง ปรุงว่าฉันเป็นนาย ก นาง ข มีธุรกิจมีเงินพันล้านหมื่นล้าน อันนี้ก็กลายเป็นจิตปรุงแต่งไป จิตปรุงแต่งก็เป็นจิตปลอมนี่ เราปรุงแต่งหลอกตัวเอง วันนี้เราเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็เป็นอีกอย่าง เดี๋ยววันนี้เป็นโสด เดี๋ยวพรุ่งนี้มีแฟนก็เป็นคู่ขึ้นมาอีก จิตเราก็เปลี่ยนไปตามการปรุงแต่งไปเรื่อยๆ แต่จิตเดิมนี้มันไม่เปลี่ยนนะถ้าทำใจให้สงบหยุดความคิดปรุงแต่ง มันก็จะเหลือแต่อุเบกขาเหลือแต่สักแต่ว่ารู้ นั่นแหละคือจิตเดิมจะไปนิพพานก็ต้องไปศึกษากับคนรู้ทางไปนิพพาน ถาม: น้องเขาเคยตั้งจิตอธิษฐาน จะขอไปพระนิพพานในชาตินี้นะฮะ ก็ไม่ทราบว่ามีส่วนที่จะทำให้เขาประสบกับเหตุอย่างนี้หรือเปล่า พระอาจารย์: อ๋อ ไม่หรอก การไปนิพพานดีเพียงแต่ว่าจะไปเป็นหรือไม่เป็นเท่านั้นเอง คนเราอยากจะไปกรุงเทพฯ แต่ไปไม่เป็นก็ไปไม่ถึงกรุงเทพฯก็ได้ มันอยู่ที่ไปแบบไหน เมาแล้วขับรถไปเดี๋ยวก็รถคว่ำกลางทางได้ ไปไม่ถึงกรุงเทพฯ จะไปต้องขับรถต้องไม่ดื่มสุรา ต้องไม่มึนเมา ต้องรู้จักกฎจราจร รู้จักทิศทางของถนนที่เราจะไป มันต้องศึกษาหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแต่คิดว่า อยากจะไปแล้วมันจะทำให้เราไปได้ที่ไหน พอรู้ว่าเราจะไปกรุงเทพฯ เราก็ต้องคิดแล้วว่าจะไปยังไง จะขับรถไปเอง จะขึ้นรถเมล์ จะเรียกอูเบอร์อะไรก็แล้วแต่ ใช่ไหม ก็ต้องมีการวางแผนแล้วเตรียมตัว การจะไปนิพพานก็ต้องไปศึกษา แล้วเขาให้ทำอย่างไร นิพพานก็ต้องไปบวชไปรักษาศีล ไปเจริญสมาธิไปเจริญปัญญามันถึงจะไปได้ ถ้าไปบวชมันก็มีครูบาอาจารย์คอยควบคุม คอยสั่งสอน คอยบอกวิธี เดี๋ยวมันก็ไปถึงนิพพานได้ การไปนิพพานมันดี มันไม่ได้เป็นเหตุที่ทำให้เขาเป็นบ้า เข้าใจไหม งั้นถ้าคนจะไปนิพพานก็เป็นบ้ากันไปหมดซิ งั้นก็ไปนิพพานกันไม่ได้เลย ใช่ไหม พระพุทธเจ้าก็อยากจะไปนิพพาน พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ต่างๆท่านก็อยากจะไปนิพพานกัน ท่านถึงไปบวชกัน งั้นไม่เกี่ยว การคิดว่าไปนิพพานแหละดี แต่คิดอย่างเดียวแล้วทำไม่ตรงกับวิธีที่จะพาไปนิพพานต่างหาก ที่ทำให้มันไม่ดี แต่จะไปนิพพานก็ต้องไปศึกษากับคนที่รู้ทางไปนิพพาน ไม่ใช่ศึกษาเอง ศึกษาเองก็หลงทางซิตอนนี้สวดมนต์แบบไม่มีผลก็ไม่ได้บุญ ถาม: คนที่สวดมนต์ทั้งวันทั้งคืน แต่ยังละความโกรธและความรำคาญจากทางโลกไม่ได้ การสวดมนต์ทุกวันนั้น ยังจะได้บุญหรือไม่ครับ พระอาจารย์: ก็ถ้าสวดแบบไม่มีผลก็ไม่ได้บุญ สวดแบบนกแก้วหรือสวดแบบใจลอย ปากก็สวดไป ใจก็คิดถึงคนนั้นคนนี้ เกลียดคนนั้น โกรธคนนั้นโกรธคนนี้อยู่ในใจ ถ้าสวดไปอย่างนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ต้องสวดแล้วทำใจให้ว่างให้เย็นให้สบาย อันนั้นแหละถึงจะได้บุญ งั้นการจะสวดต้องมีสติสวด ไม่ใช่สวดแบบไม่มีสติ สวดไปแล้วใจก็ลอยไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ สวดอย่างนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรสติทางโลกกับสติทางธรรมต่างกันอย่างไร ถาม: สติทางโลกกับสติทางธรรม ต่างกันอย่างไรคะ พระอาจารย์: สติทางธรรมเราต้องการหยุดความคิด ไม่ให้คิดอะไร ให้รู้เฉยๆ แต่ทางโลกนี้เรามักจะทำงานทำอะไร มีสติกับงานการ แล้วก็มีสติเกี่ยวกับความคิดที่เกี่ยวข้องกับงานการ เช่น เราทำบัญชีเราก็ต้องมีสติอยู่กับการทำบัญชี เดี๋ยวบวกเลขผิดถูก ก็ต้องมีสติอยู่กับความคิดของการทำบัญชี เราจะดูบัญชีเฉยๆ แล้วไม่คิดไม่ได้ ถ้าไม่คิดมันก็ทำงานไม่ได้ นั่นคือสติทางโลก สติทางโลกมันให้มีสติอยู่กับความคิดที่จำเป็นจะต้องคิด ไม่ให้ใจลอย บางทีคิดบัญชีแล้ว ไปคิดถึงคนนั้นคนนี้ เดี๋ยวก็ทำผิดทำถูกได้ ก็เลยต้องมีสติให้อยู่กับการทำบัญชีเพียงอย่างเดียว แต่มันก็ยังต้องใช้ความคิด ทางธรรมนี้เราต้องการให้มีสติอยู่กับการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยที่ไม่ให้คิดอะไร ให้อยู่กับคำบริกรรมพุทโธพุทโธ มันก็จะไปคิดเรื่องอื่นไม่ได้ ต่างกันตรงนั้น ต้องการหยุดความคิด สติทางธรรมนี้ต้องการหยุดความคิด เพราะความคิดนี้ ส่วนใหญ่มันเป็นโทษกับจิตใจ มันมักจะคิดไปในทางกิเลส ไปคิดแล้วทำให้จิตใจเครียด ฟุ้งซ่าน วุ่นวาย วิตกกังวล โกรธ อะไรต่างๆเหล่านี้ มันเกิดจากความคิดทั้งนั้น เราต้องมาฝึกหัดหยุดคิดมัน แล้วก็ให้มันคิดไปในทางที่ทำให้ใจไม่เครียดไม่ทุกข์ ก็คือคิดไปในทางไตรลักษณ์ ทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง ทุกอย่างในโลกนี้ไม่ใช่ของเรา คิดอย่างนี้แล้วมันก็จะปล่อยวาง แล้วมันก็จะไม่เครียดกับอะไรการปรุงแต่ง ถาม: เมื่อเราเห็นหรือเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น ความเข้าใจนี้มันเป็นการปรุงแต่งหรือไม่คะ พระอาจารย์: มันก็ต้องปรุงแต่ง ปัญญาก็คือเรื่องของการปรุงแต่ง ปรุงแต่งตามเหตุตามผล ตามความเป็นจริง ไม่ได้ปรุงแต่งไปตามจินตนาการ หนังก็มีหนัง ๒ แบบ หรือหนังสือก็มีหนังสือ ๒ แบบ หนังสือแบบนิยายกับหนังสือตามความเป็นจริง ปัญญาเป็นเรื่องของความคิดปรุงแต่งไปตามความเป็นจริง ส่วนจินตนาการนี้เป็นความคิดปรุงแต่งไปตามจินตนาการ ไม่มีสาระความเป็นจริงเป็นที่รับรอง มันก็เป็นความปรุงแต่งทั้งนั้น ปัญญาก็ต้องอาศัยความคิดปรุงแต่ง คิดในอริยสัจ ๔ นี้ก็เป็นความคิดปรุงแต่ง แต่เป็นความคิดปรุงแต่งที่มีความเป็นจริงรองรับอยู่ แต่ความคิดปรุงแต่งว่าฉันเป็นพระเจ้าแผ่นดินนี้มันไม่มีความเป็นจริงรองรับอยู่ ฉันเป็นนายแบบนางแบบมันไม่มีความเป็นจริง มันก็เป็นความคิดปรุงแต่งเหมือนกัน เขาเรียก fiction กับ non-fiction ภาษาอังกฤษ ‘fiction’ ก็คือไม่ใช่เรื่องแท้จริง ไม่ใช่เรื่องจริง เรื่องจินตนาการ ส่วน ‘non-fiction’ นี้แปลว่าของจริง ตามความเป็นจริงกุศลมีเป็นระดับ ถาม: หนูอยากถามว่าการทำบุญแบบไหนจะให้กุศลและอานิสงส์สูงสุดคะ พระอาจารย์: ก็กุศลมันมีเป็นระดับไง ทำบุญทำทานก็ได้ระดับหนึ่ง ระดับศีลก็ได้อีกระดับหนึ่ง ระดับสมาธิก็ได้อีกระดับหนึ่ง ระดับปัญญาก็อีกระดับหนึ่ง ถ้าเป็นเหมือนธนบัตรมันก็มีหลายราคา ธนบัตร ๒๐ บาท ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑๐๐๐ บาท ธรรมในระดับต่างๆ ก็จะมีบุญมีกุศลไม่เท่ากัน ระดับสูงสุดก็คือปัญญา เหมือนธนบัตรใบละ ๑๐๐๐ สมาธิก็เหมือนธนบัตรใบละ ๕๐๐ ศีลก็เหมือนธนบัตรใบละ ๑๐๐ การทำบุญทำทานก็เหมือนธนบัตรใบละ ๒๐ บาท แต่มันก็ต้องอยู่ที่ความสามารถ ไม่ใช่ว่าเราเห็นว่าปัญญาเป็นระดับได้บุญมากแล้วเราจะไปทำทางปัญญา ถ้าเรายังไม่มีความสามารถเราก็ทำไม่ได้ เพราะเราต้องไต่เต้าจากระดับต่ำขึ้นไปสู่ระดับสูง คือเราต้องทำทานให้ได้ก่อน แล้วก็ไปรักษาศีลให้ได้ รักษาศีลได้แล้วถึงนั่งสมาธิให้ได้ ถึงจะไปใช้ปัญญาได้ต่อไป ดังนั้น ก็ถ้าเราอยากจะได้ธรรมระดับสูงก็พยายามทำจากระดับต่ำไล่ขึ้นไป ทำบุญให้มากก่อน มีเงินมีทอง แทนที่จะไปซื้อกระเป๋าซื้อรองเท้าซื้อเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็น ก็เอาไปทำบุญทำทาน อย่างนี้จะทำให้เราได้ความสุขในระดับทาน แล้วจะทำให้เรามีกำลังที่จะไปรักษาศีลต่อได้ รักษาศีล ๕ ได้ เพราะเราจะไม่ใช้เงินมาก เมื่อก่อนเราใช้เงินมากเพราะเราต้องซื้อกระเป๋าซื้อรองเท้าอยู่เรื่อยๆ เราก็ต้องหาเงินมาก หาเงินมากบางทีอยากจะได้ง่ายๆ เร็วๆ มากๆ ก็จะต้องทำบาป แต่ถ้าเราไม่ต้องใช้เงินมากเราก็ไม่ต้องหามาก เราก็ไม่จำเป็นจะต้องทำบาป เราก็จะรักษาศีล ๕ ได้พอรักษาศีล ๕ ได้ ต่อไปเราก็จะไปรักษาศีล ๘ ไปหัดนั่งสมาธิได้ ต้องทำไล่ขึ้นไปตามลำดับ ถ้าเราทำได้แล้วก็ทำไปเลย สมมุติเรานั่งสมาธิได้ เราก็นั่งสมาธิ ถ้าเลือกระหว่างไปทำบุญทอดกฐินกับไปปฏิบัติธรรม ๓ วันนี้ ก็ไปปฏิบัติธรรมดีกว่า ได้บุญมากกว่าไปทอดกฐินอย่างนี้ เลือกได้ ถ้าเราไปทำได้ ถ้าเรายังทำไม่ได้ก็ไปทอดกฐินก่อน เข้าใจไหม ผลของกรรมทำให้คนแตกต่างกัน การแข่งวาสนาบารมีนี้แข่งไม่ได้ สังเกตไหม ทำไมบางคนเขาถึงเด่นกว่าเรา ดีกว่าเรา เก่งกว่าเรา ท้ังๆ ท่ีเราก็อยากจะดี อยากจะเด่นอยากจะเก่งเหมือนเขา หรืออยากจะเก่งกว่าเขา ดีกว่าเขา เด่นกว่าเขา แต่เราก็ทำไม่ได้ ก็เพราะเป็นผลของบุญบารมีที่เราได้สะสมกันในอดีตชาตินั่นเอง มันจึงพาให้เรา มาเป็นคนท่ีมีความสูงต่ำไม่เหมือนกัน มีความฉลาดความโง่ไม่เหมือนกัน มีความดีความชั่วไม่เหมือนกัน มีความรวยความจนไม่เหมือนกัน มีความสวยงามไม่เหมือนกัน อันนี้แหละคือเรื่องของหลักกรรมท่ีเราได้ยินได้ฟังอยู่เรื่อยๆ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราหมั่นสวดมนต์บทน้ีอยู่เรื่อยๆ คือ กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของๆ ตน กัมมะทายาโท มีกรรมเป็นผู้ให้ผล กัมมะโยนิ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กัมมะปะฏิสะระโณ เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ยัง กัมมัง กะริสสามิ เราจะทำกรรมอันใดไว้ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป ตัสสะทายาโท ภะวิสสามิ เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมน้ันสืบไป นี่แหละทำไมเราจึงมีความแตกต่างกัน เพราะผลบุญผลบาปที่เรากระทำนี้มันทำให้เราแตกต่างกัน ถึงแม้จะเกิดมาจากพ่อแม่คนเดียวกัน เป็นพี่น้องกันก็ตาม แต่ก็ไม่เหมือนกัน มีความดีความชั่วไม่เหมือนกัน มีความฉลาดความโง่ไม่เหมือนกัน มีความสวยงามไม่เหมือนกัน อันนี้แหละเหตุท่ีทำให้เรามีความแตกต่างกัน เพราะความแตกต่างน้ีไม่ได้มาจากพ่อแม่ พ่อแม่ให้แต่ร่างกายของเรา แต่บุญกรรมคือบุญหรือบาปนี้เป็นผู้มาปรุงแต่งร่างกายเราให้สวยให้งามหรือไม่ ให้มีอาการ ๓๒ ครบหรือไม่ ให้มีสุขภาพแข็งแรงหรือไม่ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ทำไมพี่น้องมาจากพ่อแม่คนเดียวกัน ทำไมถึงไม่เหมือนกัน เหมือนกันก็แต่เฉพาะรูปร่างหน้าตา อันนี้มาจากแม่ แต่ความสวยงามนี้ยังต่างกันได้ ความสวยความงาม ความไม่สวยไม่งามน้ี เป็นผลของบุญของบาปท่ีติดมากับดวงวิญญาณ ที่เป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างร่างกาย ในขณะที่อยู่ในท้องแม่ ทำให้ร่างกายของพี่น้องนี้ถึงแม้มาจากพ่อแม่คนเดียวกัน หน้าตาคล้ายๆ กัน แต่ความสวยงามไม่เท่ากัน ผิวพรรณผ่องใสไม่เท่ากัน อันน้ีแหละเรื่องของกรรม มันไม่ได้มาจากพ่อแม่ พ่อแม่ให้ร่างกายเรา แต่บุญกรรมน้ีให้เราเป็นคนสวยคนงามหรือไม่สวยไม่งาม ให้เราฉลาดหรือโง่ ให้เราดี หรือชั่ว ให้เรารวยหรือจน พี่น้องจากพ่อแม่เดียวกัน บางคนก็รวย บางคนก็จน เห็นไหม ทำไมไม่รวยเหมือนกันหรือจนเหมือนกัน ถ้าเป็นเหมือนผลไม้นี้ต้องเป็นผลไม้เหมือนกัน หวานก็หวานเหมือนกัน เปรี้ยวก็เปรี้ยวเหมือนกัน แต่เราน้ีมีจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีกรรมมาเกี่ยวข้องด้วย ไม่เหมือนผลไม้ ต้นไม้นี้เขาไม่มีดวงวิญญาณไปเกาะ ไม่มีดวงวิญญาณไปปรุงแต่งให้ต้นไม้ออกผลไม้ชนิดต่างๆ มาไม่เหมือนกัน ผลไม้ต้นน้ีมีท้ังเปรี้ยวมีทั้งหวานมีทั้งขมน้ี ไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าหวานก็หวานท้ังต้น ถ้าเปรี้ยวก็เปรี้ยวทั้งต้น อันนี้แหละเป็นเรื่องของกรรม เรื่องของดวงวิญญาณ เรื่องของจิตใจ ถ้ากำลังจะตายเอาจิตไปไว้อย่างไรดี ถาม: หลวงพ่อครับ สมมุติว่าเราอยู่ในเส้นทางการปฏิบัติครับหลวงพ่อ ยังไม่ถึงไหน แต่ว่าก็รักษาศีล แล้วก็ทำสมาธิอยู่เป็นประจำ ส่วนของปัญญาก็ยังเป็นปัญญาของโลกอยู่ ยังไม่เป็นภาวนามยปัญญา สมมุติเกิดจับพลัดจับผลูเกิดกำลังจะตายไปกระทันหันเลยครับหลวงพ่อ ในทาง practical เลย เราเอาจิตเราอย่างไรครับหลวงพ่อ เอาจิตไปไว้อย่างไรดีครับ พระอาจารย์: ก็อยู่กับความสงบ พุทโธก็ได้ ให้เราพิจารณาว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา ถึงเวลามันก็จะต้องจบลง สิ้นสุดลง ปล่อยวาง อย่าไปอยาก อย่าไปดิ้นรน ตั้งสติก่อนดับ สักแต่ว่ารู้ไป ดูมันไปจนกว่าจะหายไป จนลมสุดท้ายหายไป เฮือกสุดท้ายเท่านั้นเอง แล้วก็จบ ถาม: คือทำเหมือนเวลาเรานั่งสมาธิแล้วลมมันหาย ใช่ไหมครับหลวงพ่อ พระอาจารย์: เออ เหมือนกัน ก็ดูไป ถาม: โอเคครับ เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกสมาธิแล้วลมมันหายนี่ เราก็จะกลัวน้อยลงไหมครับ หลวงพ่อ พระอาจารย์: ก็อยู่ที่เราแหละ มันอยู่ที่เราว่ากลัวหรือไม่กลัว ถาม: คือเราก็เคยเจอสภาวะลมหายมาแล้ว ใช่ไหมครับ พระอาจารย์: ใช่ ตอนนั้นเรารู้ว่าเราไม่ตาย แต่ตอนนี้เรารู้ว่าเราตาย เรารับกับมันได้หรือเปล่า ทำใจได้หรือเปล่า ก็คิดว่าเป็นแค่เปลี่ยนร่างกายไป ไปเปลี่ยนร่างกายใหม่ โดนวางยาสลบเพื่อให้ได้ร่างกายใหม่ ถ้ายังไม่ถึงนิพพานก็ยังต้องกลับมาเกิดใหม่ ถูกแล้วนี่คือการการปฏิบัติสมาธิ ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์เจ้าค่ะ หนูนั่งสมาธิ พยายามเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในช่วงต้นเห็นไตรลักษณ์ เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารปรุงแต่ง แต่นั่งไปเรื่อยๆ ปรากฏว่าจิตเริ่มนิ่ง ขยายกว้างใหญ่ มีสภาวะปลอดโปร่ง เป็นสุข ตั้งมั่นอยู่เป็นเวลานาน ความจริงเป็นสภาวะที่รู้สึกดี แต่หนูไม่เห็นว่าจะเป็นทางที่ถูกหรือไม่ พอปฏิบัติเสร็จ เกิดความสงสัย เนื่องจากไม่มีธรรมารมณ์เกิดขึ้นในสภาวะนี้อีก กราบเรียนพระอาจารย์เมตตาช่วยชี้ทางเจ้าค่ะ พระอาจารย์: ถูกแล้วละ นี่คือการปฏิบัติสมาธิ เพื่อทำจิตให้ว่าง ปราศจากทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อจิตจะได้เป็นอุเบกขา ไม่รักไม่ชังไม่กลัวไม่หลง อันนี้เป็นครึ่งทางของการปฏิบัติ เพื่อจะได้เป็นฐานของวิปัสสนา ปัญญา ต่อไป พอจิตว่างปราศจากอารมณ์แล้ว ทีนี้จิตก็จะเป็นกลาง พิจารณาทุกอย่างก็จะเห็นด้วยเหตุด้วยผลตามความเป็นจริง พอออกจากสมาธิมา ก็สอนให้พิจารณาคือไตรลักษณ์ ดูร่างกายของเราร่างกายของคนทั้งหลายว่าเหมือนกัน เกิดแก่เจ็บตาย ไม่เที่ยง ไม่สวยงาม มีอาการ ๓๒ ตายไปก็เป็นซากศพ กลับไปสู่ดินน้ำลมไฟ ไม่มีตัวไม่มีตน อันนี้ต้องพิจารณาอยู่เรื่อยๆจนกระทั่งไม่หลงไม่ลืม ต่อไปจะเห็นร่างกายของเรา ของคนอื่นเขา มันก็เป็นแค่ดินน้ำลมไฟ เป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง ไม่มีนาย ก นาย ข อยู่ในร่างกาย ไม่มีนายกไม่มีอธิบดี ไม่มีอะไรอยู่ในร่างกาย ของพวกนี้มันอยู่ในจิต เราสมมุติกันขึ้นมา ตั้งมันขึ้นมา เราก็ไปหลงยึดไปติดกับมัน เท่านั้นเอง แต่ร่างกายของทุกคนนี้มันไม่เที่ยง เกิดแล้วเดี๋ยวมันก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย สอนใจอยู่เรื่อยๆ อย่าให้ลืม เพื่อจะได้ไม่ทุกข์เวลาที่ร่างกายแก่หรือเจ็บหรือตาย อันนี้เป็นขั้นต่อไปหลังจากที่เราออกจากสมาธิมาแล้ว ก็มาสอนใจให้เห็นด้วยปัญญา เพื่อใจจะได้มีดวงตาเห็นธรรม หวังที่เหตุ..อย่าไปหวังที่ผล ถาม: คิดว่าถ้าไปอยู่ที่วัดจะได้ทำทั้งวันค่ะ พระอาจารย์ พระอาจารย์: เออ ก็อย่าไปหวังมาก เดี๋ยวมันไม่ได้ผล แล้วมั้นจะผิดหวังได้ ถาม: ค่ะ ไม่เสียใจง่ายๆ ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ค่ะพระอาจารย์ พระอาจารย์: อย่าไปหวังผล หวังเหตุก็แล้วกัน หวังว่าได้ทำเยอะๆ ส่วนผลจะเป็นยังไงก็ ขึ้นอยู่ที่เหตุเราทำว่ามันถูกหรือไม่ถูก สุปฏิปันโนหรือไม่ อุชุ ญายะ สามีจิหรือไม่ อยู่กับเหตุเป็นหลักนะ ถามตัวเราเอง ตอนนี้เราสุปฏิปันโนหรือเปล่า อุชุ ญายะ สามีจิปฏิปันโนหรือเปล่า ถ้ามี ๔ อันนี้ก็เป็นสาวกสังโฆได้ นี่บทสังฆคุณนี่ก็เป็นบทที่สอนเรา สอนเราให้เรารู้ว่าว่าการเป็นสังฆะนี้เป็นอย่างไร ก็เป็นด้วยการปฏิบัติ ด้วยที่เหตุไม่ใช่ด้วยที่ผล ผลมันตามเหตุ ถ้าไปจ้องที่ผล โอ๊ย คราวนี้ไปขอให้สงบ ขอให้สงบ เมื่อไม่มีสติ ขอยังไงก็ไม่มีวันสงบ การด่าทอกันในโลกออนไลน์ คำถาม: เวลาที่เราด่าทอกัน หรือมี hate speech ใส่กันในโลกออนไลน์ เป็นการสร้างภพภูมิของอบายหรือไม่คะ พระอาจารย์: ก็เป็นการสะสมความโกรธเกลียดอยู่ภายในใจ ซึ่งอาจจะระเบิดขึ้นมาเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ด้วยการกระทำบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตบตีกัน ฆ่าฟันกันขึ้นมา อย่างนั้นมันก็จะส่งให้จิตไปสู่อบายทันที ถ้าติดโควิดเตรียมตัวตายอย่างไรถึงจะมีความสุข คำถาม: ถ้าเราติดโควิดจริง จะเตรียมตัวตายยังไงถึงจะมีความสุขคะ พระอาจารย์: ก็ต้องหยุดคิด ทำใจให้สงบแล้วก็ยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า ร่างกายของเรานี้ เมื่อเกิดมาแล้ว ไม่ว่าจะโดนโรคชนิดไหนก็ตาม มันก็จะต้องตายวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าไม่ตายเพราะโควิด มันก็ตายด้วยโรคอย่างอื่น ด้วยโรคชรา และอีกอย่างหนึ่ง คือร่างกายนี้ความจริงมันไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นเหมือนคนรับใช้เรา เราผู้ใช้ร่างกายคือผู้รู้ผู้คิดนี้ ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย งั้นเราก็พียงแต่ปล่อยวางร่างกาย ให้มันเป็นไปตามสภาพของมัน ถ้ามันจะอยู่ไม่ได้ มันจะตายก็ปล่อยมันตายไป ปัญหาของเราก็คือเราก็ไปหลง คิดว่ามันเป็นเรา แล้วเราก็เลยอยากไม่ให้มันตาย ความอยากนี้แหละที่ทำให้ใจเราเครียด ทำให้ใจเราเศร้า งั้นเราต้องหยุดความอยาก หยุดความทรมานนี้ด้วยการฝึกจิต ด้วยการเจริญสติ หยุดความคิดทำจิตให้นิ่งให้สงบ ถ้าเราหยุดจิตได้ ทำให้จิตสงบนิ่งได้ หยุดความอยากไม่ตายได้ เวลาร่างกายตาย เป็นอะไร ก็จะไม่เดือดร้อน ถ้าติดโควิดเตรียมตัวตายอย่างไรถึงจะมีความสุข คำถาม: ถ้าเราติดโควิดจริง จะเตรียมตัวตายยังไงถึงจะมีความสุขคะ พระอาจารย์: ก็ต้องหยุดคิด ทำใจให้สงบแล้วก็ยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า ร่างกายของเรานี้ เมื่อเกิดมาแล้ว ไม่ว่าจะโดนโรคชนิดไหนก็ตาม มันก็จะต้องตายวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าไม่ตายเพราะโควิด มันก็ตายด้วยโรคอย่างอื่น ด้วยโรคชรา และอีกอย่างหนึ่ง คือร่างกายนี้ความจริงมันไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นเหมือนคนรับใช้เรา เราผู้ใช้ร่างกายคือผู้รู้ผู้คิดนี้ ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย งั้นเราก็พียงแต่ปล่อยวางร่างกาย ให้มันเป็นไปตามสภาพของมัน ถ้ามันจะอยู่ไม่ได้ มันจะตายก็ปล่อยมันตายไป ปัญหาของเราก็คือเราก็ไปหลง คิดว่ามันเป็นเรา แล้วเราก็เลยอยากไม่ให้มันตาย ความอยากนี้แหละที่ทำให้ใจเราเครียด ทำให้ใจเราเศร้า งั้นเราต้องหยุดความอยาก หยุดความทรมานนี้ด้วยการฝึกจิต ด้วยการเจริญสติ หยุดความคิดทำจิตให้นิ่งให้สงบ ถ้าเราหยุดจิตได้ ทำให้จิตสงบนิ่งได้ หยุดความอยากไม่ตายได้ เวลาร่างกายตาย เป็นอะไร ก็จะไม่เดือดร้อนถาม-ตอบ ปัญหาธรรม พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กรกฎาคม 2564 19:34:01 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 19 กันยายน 2564 10:47:51 » |
|
ร่างกายนี้ต้องตายไม่มีทางต่อลองได้ คำถาม: ปัญหาตอนนี้อยู่ที่หัดปล่อยวางร่างกายกับความพลัดพรากเจ้าค่ะ เราจะมีแนวทางอย่างไรในการที่จะพิจารณาปล่อยวางร่างกาย แล้วก็พิจารณาความพลัดพราก แล้วปล่อยวางได้จริง จากความรู้ของเราจริง ไม่ใช่สัญญาเจ้าค่ะ
พระอาจารย์: เบื้องต้นก็หมั่นสอนใจอยู่เรื่อยๆ ว่าร่างกายนี้มันต้องตาย มันต้องจากเราไปวันใดวันหนึ่ง ไม่มีทางที่จะต่อรองได้ อันนี้คือความจริง แต่เราไม่ได้เป็นร่างกาย เราเป็นจิตผู้มาครอบครองร่างกาย ต้องแยกจิตด้วยอุเบกขาให้ได้ ถ้ามีอุเบกขาแล้ว ร่างกายจะเป็นอะไรก็ปล่อยมันเป็นไป ถ้าป้องกันมันได้ ปกป้องมันได้ก็ปกป้องมันไป ถ้ามันเหลือวิสัยที่จะทำอะไรกับมันได้ก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามสภาพของมัน ถ้าเราคิดว่าเรามีกำลังพอ เราก็อาจจะต้องเอาร่างกายไปอยู่ที่ที่คิดว่าอาจจะมีภัยกับร่างกาย ไปอยู่ในป่า หรือในที่ที่มีสัตว์ มีเสือ มีอะไร ที่อาจจะมาทำร้ายร่างกายเราได้ แล้วดูสิว่าใจเราเฉยได้รึเปล่า ปล่อยได้หรือเปล่า ถ้าใจกลัวตาย ก็แสดงว่ายังไม่ปล่อย ธรรมทานเหนือกว่าอภัยทาน คำถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์ครับ ธรรมทานกับอภัยทาน อันไหนเป็นทานสูงสุด พออธิบายได้ไหมครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ทานที่สูงสุดก็ต้องเป็นธรรมทาน การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง เพราะธรรมะนี้จะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ อภัยทานนี้ก็จะทำให้เราหลุดพ้นได้เฉพาะเรื่อง เช่น เราโกรธแค้นโกรธเคืองใคร เราให้อภัยเขา เราก็จะหายทุกข์จากการโกรธแค้นโกรธเคืองเขาได้ แต่เราก็ยังมีเรื่องอื่นที่เราจะต้องทุกข์ต่อไป แต่ถ้าได้ธรรมะนี่ ธรรมะจะทำให้เราปล่อยวางทุกอย่างได้ ให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ทุกระดับได้ ด้วยธรรมะ งั้นธรรมทานนี้ย่อมเหนือกว่าอภัยทาน ปฏิบัติธรรมแล้วเครียด ถาม: เวลาผมปฏิบัติธรรม ผมมักจะเครียดครับพระอาจารย์
พระอาจารย์: เครียดเพราะว่าจิตมันเกร็ง กิเลสมันไม่เคยถูกควบคุมบังคับ มันก็เลยเครียดขึ้นมา ก็ต้องใช้การสวดมนต์ไปก่อนก็ได้ ถ้ามันนั่งไม่ได้ก็สวดมนต์ไป เพื่อคลายความเครียดก่อน สวดไปสักระยะหนึ่งแล้วใจรู้สึกเบา แล้วค่อยมานั่งสมาธิต่อ ตอนสวดมนต์ก็นั่งในท่าสมาธิไปได้เลย ถ้าทำได้ นั่งขัดสมาธิ หลับตา แล้วก็สวดไปภายในใจ ไม่ต้องออกเสียงก็ได้ พอรู้สึกว่าเราไม่ค่อยเครียดแล้ว เราก็ดูลมหายใจต่อไป ใหม่ๆ จิตมันไม่เคยอยู่เฉยๆ พอให้มันอยู่เฉยๆ มันจะรู้สึกเครียดขึ้นมา ก็เลยต้องให้มันทำงาน ให้มันสวดมนต์ไปก่อน มันไม่เคยถูกบังคับ มันก็เลยต่อต้าน ก็ต้องให้มันมีอะไรทำ ให้มันสวดอิติปิโสไปหลายๆ จบก่อนก็ได้ ต่อไปก็จะรู้สึกว่ามันผ่อนคลาย ไม่เครียด เพราะเรานั่งอยู่เฉยๆ ดูลมหายใจต่อ จิตนิ่ง จิตสงบ ถาม : ที่ท่านอาจารย์พูดถึงจิตนิ่งกับจิตสงบนะค่ะ มันแตกต่างกันอย่างไรคะ
พระอาจารย์ : เวลาจิตสงบจะไม่คิดปรุงแต่ง จะไม่กระเพื่อม
ถาม : แล้วนิ่งละคะ
พระอาจารย์ : เวลานิ่งจิตจะคิดปรุงแต่ง แต่ไม่กระเพื่อม
ถาม : นิ่งก็จะทำง่ายกว่าสงบ
พระอาจารย์ : เวลานิ่งกิเลสยังไม่ได้ทำงาน เวลากิเลสทำงานจะเห็นชัดเลย เพราะจิตจะกระเพื่อม จะรู้เลยว่าตัวปัญหาอยู่ที่ความกระเพื่อม เพราะมันทำลายความสุข แต่ถ้าไม่มีสมาธิไม่นิ่งจะไม่เห็น เพราะจะกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา ถ้านิ่งด้วยสงบด้วยก็จะเป็นเอกัคตารมณ์ ไม่ปรุงแต่ง พอออกจากสมาธิก็ยังนิ่ง ยังไม่กระเพื่อม พอคิดไปทางกิเลสก็จะกระเพื่อม ถ้าคิดไปทางมรรคก็จะไม่กระเพื่อม. วิธีอธิษฐานทางศาสนาคำถาม: การตั้งคำอธิษฐานในพระพุทธศาสนา ควรน้อมนำเช่นไร และการถอนคำอธิษฐาน ต้องทำเช่นไรขอรับ เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏสงสารขอรับ
พระอาจารย์: การตั้งอธิษฐานทางศาสนานี้ ไม่ได้เป็นการขอ ขอนิพพาน ขอไปสวรรค์ ขอนู่นขอนี่ อันนี้ไม่ใช่เป็นการตั้งจิตอธิษฐาน การตั้งจิตอธิษฐานนี้ตั้งอยู่ที่การกระทำว่าต่อไปนี้จะปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ไปตลอดชีวิต อย่างนี้เรียกว่าเป็นการอธิษฐาน อธิษฐานที่การกระทำ ไม่ใช่อธิษฐานที่ผลที่เกิดจากการกระทำ เท่านั้นแหละ งั้นไม่ต้องถอนหรอกถ้าเราอธิษฐานแล้ว ก็ทำไปให้มันสุด ให้มันได้ผลขึ้นมา เพราะว่าการปฏิบัติมันก็ต้องใช้เวลา เราก็ต้องมีความหนักแน่นต่อความตั้งใจ เหมือนพระพุทธเจ้าตอนนั่งอยู่ใต้โคนต้นโพธิ์ก่อนตรัสรู้ พระพุทธเจ้าก็ทรงอธิษฐานว่าต่อไปนี้จะนั่งอยู่ตรงนี้ ภาวนาไปจนกว่าจะตรัสรู้ ถ้ายังไม่ตรัสรู้ ถึงแม้ว่าเลือดในร่างกายจะเหือดแห้งไปก็จะไม่ลุกไปจากที่นี่ นี่แหละคือวิธีอธิษฐานทางศาสนา ไม่ได้ขอ พระพุทธเจ้าไม่ได้นั่งขอ นั่งตรงนี้แล้วขอให้นิพพานมาหาเรา มันไม่มาหรอก เราต้องไปหามัน ด้วยการกระทำ ด้วยการปฏิบัติใช่ความว่างหรือเปล่าคำถาม: ผมนั่งสมาธิไปแล้วจิตมันก็ลงไป ลงไปที่ความว่างครับพระอาจารย์ ไอ้ตรงที่มันว่างครับ คือมันไม่มีอะไรเลยใช่ไหมครับพระอาจารย์ มันว่างเปล่า ไม่มีขอบไม่มีเขต ไม่มีแดน ไม่มีอะไร ตรงนั้นใช่ความว่างหรือเปล่าครับพระอาจารย์
พระอาจารย์: ถ้ามันว่างมันก็ว่าง มาถามเราได้ยังไง มันก็ต้องรู้เองว่ามันว่างหรือไม่ว่าง ว่างก็แสดงว่าไม่มีอะไรใช่ไหม ถ้ามีอะไรมันก็ไม่ว่าง
คำถาม: ครับ เพื่อให้แน่ใจครับว่าจะเหมือนกันไหม ลักษณะเช่นเดียวกันไหมอย่างนี้ล่ะครับพระอาจารย์
พระอาจารย์: จิตว่างก็จิตสงบ จิตปราศจากการปรุงแต่ง อีกอย่างก็ มีความสุขไหม มี ก็อย่างนี้ มีความสบาย (ไหม) มี มีอุเบกขาไหม มี อย่างนี้แต่ไม่มีภาพเสียงกลิ่นรสอะไรต่างๆ มันสบายเหมือนได้ขึ้นสวรรค์ เวลาจิตสงบ จิตว่าง มันเบา มันว่าง มันเย็น มันสบาย ไม่มีอะไร ไม่รับรู้อะไรก็ว่าง ถ้ายังมีเสียงมีแสงมีอะไรก็ยังไม่ว่าง
คำถาม: แต่ว่าเสียงนี่มันยังได้ยิน แต่ก็ไม่ได้ไปอะไรกับมันครับ
พระอาจารย์: ไม่เป็นไร ถ้าได้ยินแต่ใจไม่ไปวุ่นวายอะไรกับมันก็ใช้ได้ ข้อสำคัญคือใจเรานิ่งเฉย ไม่รำคาญกับรูปเสียงกลิ่นรสที่เข้ามาทางตาหูจมูกลิ้นกาย เป้าหมายของการนั่งสมาธิ คำถาม: นั่งสมาธิอย่างไรให้จิตมาถึงจุดที่สามารถคิดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือต้องนั่งกัมมัฏฐาน ที่เป็นวิปัสสนาภาวนาเจ้าคะ
พระอาจารย์: คือการนั่งสมาธินี้ไม่ได้นั่งเพื่อให้ถึงจุดที่จะคิดถึงเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป้าหมายของการนั่งสมาธินี้ต้องการหยุดความคิดให้จิตรวมเป็นฌานขึ้นมา เป็นอุเบกขา แล้วก็เป็นจิตที่มีความสุขมีความอิ่มในตัวของมัน หลังจากที่เราได้จิตตัวนี้แล้ว เวลาออกจากสมาธิเราถึงมาคิดในขณะที่เราทำอะไรต่างๆได้ เดินจงกรมเราก็คิดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ เช่น คิดถึงร่างกายเราว่าร่างกายเราอนิจจังไม่เที่ยง ไม่มีใครรู้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ตายได้ทุกเวลาอันนี้ก็เรียกว่าอนิจจังไม่เที่ยง เกิดแล้วต้องดับเป็นธรรมดาคือธรรมชาติของร่างกาย อนัตตา ไม่ใช่ตัวเราของเราไม่สามารถควบคุมบังคับเขาไม่ให้ตายได้ เขาเป็นภาวะทางธรรมชาติ ที่มีเหตุมีปัจจัยทำให้เขาเกิดแล้วทำให้เขาดับไป เราผู้เป็นจิตมาครอบครองร่างกายนี้ เพียงแต่อาศัยใช้เขาไปจนกว่าเขาจะหมดสภาพเท่านั้นเอง แต่เราไม่สามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงความเป็นอนิจจังของเขาได้ จะทำให้เขาเป็นนิจจัง ให้เขาไม่เปลี่ยนแปลง ให้เขาอยู่ไปตลอดไม่ได้ นี่คือการพิจารณาอนิจจัง อนัตตา เพื่อที่จะได้ดับความทุกข์ คือความทุกข์ที่เกิดจากความอยากให้ร่างกายนี้เป็นนิจจัง คือให้ร่างกายนี้เป็นของเรา ให้อยู่ในการควบคุมบังคับของเรา เมื่อเรารู้ตามสภาพความเป็นจริงว่าเป็นไปไม่ได้ เราจะได้หยุดความอยากไม่ให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ให้ร่างกายตาย เมื่อเราไม่มีความอยากเหล่านี้อยู่ในใจ ความทุกข์ในใจก็จะไม่มีเกิดขึ้นมา ตอนนี้ใจของเราทุกข์กันเพราะเราอยากควบคุมบังคับร่างกายให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ให้ไม่ตายกัน แต่ความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถที่จะทำได้ เราก็เลยมาสร้างความทุกข์ให้กับใจเราโดยใช่เหตุ ตายเหมือนกัน เจ็บเหมือนกัน แต่จะทุกข์หรือไม่ทุกข์นั้นต่างหาก คนที่มีปัญญาจะไม่ทุกข์ เพราะจะรู้ว่าไปบังคับร่างกายไม่ได้ แต่คนไม่มีปัญญานี้ต้องพยายามสู้ศึกอย่างสุดๆเลย อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย จึงเกิดความเครียดกัน ทุกวันทุกเวลา เวลาคิดถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาคิดถึงความตาย โดยเฉพาะช่วงนี้มีโรคระบาดที่มันทำให้เห็นจริงเห็นจังกับเรื่องความเจ็บความตาย เลยเกิดความเครียดกัน เพราะไม่เห็นความจริงว่าไปห้ามมันไม่ได้ ห้ามร่างกาย ถ้ามันจะเจ็บไข้ด้วยโรคนี้ก็ห้ามมันไม่ได้ ถ้ามันจะตายเพราะโรคนี้ก็ห้ามมันไม่ได้ แต่ใจยังไม่ยอมรับความจริงอันนี้ใจเลยทุกข์ นี่คือการพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องนั่งกัมมัฏฐาน ไม่ต้อง สามารถพิจารณาได้ขณะนี้ฟังไปก็พิจารณาไปก็ได้ ถ้าเข้าใจอาจจะมีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมาทันทีก็ได้ เห็นว่าร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าไม่อยากทุกข์กับร่างกายก็ปล่อยมันเป็นไปตามความเป็นจริง อย่าไปอยากให้มันเป็น นิจจัง สุขัง อัตตา เท่านั้นเอง จิตที่เป็นอุเบกขาเท่านั้นที่จะปล่อยวางได้ คำถาม: การทำกายคตาสติ เพื่อตัดการผูกพันได้ด้วยใช่ไหมคะพระอาจารย์
พระอาจารย์: คือโดยหลักก็เป็นการเจริญปัญญา ให้เห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ถ้าเป็นสตินี้มักจะไม่คิดปรุงแต่ง ให้รู้เฉยๆ ถ้าเราต้องการเจริญสติ ให้เราพยายามระงับความคิดปรุงแต่ง ถ้าเราจะใช้ร่างกาย เราก็ดูการเคลื่อนไหวของร่างกายกำลังทำอะไร อันนี้เป็นการเจริญสติ ต้องแยกแยะว่าเรากำลังต้องการเจริญอะไร สตินี้ก็มีความสำคัญ เพราะการที่เราจะปล่อยวางได้เราต้องมีอุเบกขา มีอุเบกขาได้ก็ต้องมีสติเข้าอัปปนาสมาธิให้ได้ ถ้าไปฝึกวิปัสสนาตอนที่ยังไม่มีอุเบกขายังไม่มีสมาธิ ฝึกวิปัสสนาจะไม่ทำให้เกิดสติที่จะทำให้จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิได้ ก็ต้องรู้จักแยกแยะว่าเรากำลังทำเพื่อผลอันใด ส่วนใหญ่ก็มักอยากจะไปทางปัญญา ปัญญาที่ขาดอุเบกขามันก็ปล่อยวางไม่ได้ คนส่วนใหญ่ไม่ชอบเจริญสติแบบไม่คิด ถ้าคิดก็ให้คิดคำเดียว พุทโธพุทโธพุทโธ หรือไม่เช่นนั้นก็ให้เฝ้าดูการเคลื่อนไหวของร่างกายว่ากำลังมีการเคลื่อนไหวมีการกระทำอะไรอยู่ ถ้านั่งเฉยๆ ก็ดูลมหายใจเข้าออก อันนี้ก็จะเป็นการเจริญสติเพื่อให้จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ให้ได้อุเบกขา เพราะจิตที่เป็นอุเบกขาเท่านั้นที่จะปล่อยวางได้ เวลาพิจารณาปัญญาให้เห็นร่างกายนี้ว่าไม่สวยงาม ก็จะปล่อยวางกามราคะได้ แต่ถ้าไม่มีอุเบกขา ถึงแม้ว่าจะเห็นว่าเป็นอสุภะก็ยังอยากอยู่ อสุภะมันอยู่ข้างในมันไม่ได้อยู่ข้างนอก ข้างนอกมันน่าดูใช่ไหม งั้นเวลาปฏิบัตินี้ก็ต้องรู้ว่าเรากำลังทำเพื่ออะไร ทำเพื่อสติหรือทำเพื่อปัญญา ปัญญานี้ทำให้น้อยก่อน เพื่อให้ได้ทำสติให้มากจนกว่าเราจะได้อัปปนาสมาธิ แล้วทีนี้ก็ไปปัญญาทั้ง ๑๐๐ เลยก็ได้ เวลาออกจากสมาธิมาก็เจริญปัญญา พิจารณา การพิจารณาก็พิจารณาเพื่อให้เห็น เพื่อไม่ให้หลงไม่ให้ลืม ให้จดจำไว้ในใจ เวลาไปเจอข้อสอบจะได้เอาออกมาใช้ได้ ถ้าไม่พิจารณาไม่จดไม่จำไว้ เวลาไปเจอข้อสอบก็นึกไม่ถึง นึกไม่ออก ก็สอบตก เหมือนเวลาไปสอบแล้วมีข้อสอบแต่เราจำไม่ได้ คำตอบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์ ต้องทำการบ้านก่อนถึงจะไปสอบได้ อุทิศบาปให้ผู้อื่นได้ไหม ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ผมได้พบกับคำถามที่ว่า หากเราสามารถอุทิศบุญกุศลให้ผู้อื่นได้แล้ว เช่นนั้น เราจะสามารถอุทิศบาปที่เราทำให้ผู้อื่นได้หรือไม่ครับ กราบเรียนถามพระอาจารย์ด้วยความเคารพครับ
พระอาจารย์: อ๋อ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่าอุทิศได้ อุทิศได้แต่บุญ และบุญก็ต้องเกิดจากการทำทานท่านไม่ได้บอกให้อุทิศบุญจากการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการนั่งสมาธิ ท่านไม่ได้สอน ท่านสอนเพียงแต่บุญที่เกิดจากการทำทาน ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ไม่ได้สอนเรื่องว่าการเอาบาปไปอุทิศให้ผู้อื่นได้หรือไม่ ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 18 มกราคม 2565 10:50:21 » |
|
พ่อแม่แช่งลูกจะเป็นจริงไหมคะคำถาม: ถ้าพ่อแม่แช่งลูกจะเป็นจริงไหมคะ แต่เราไม่ได้ทำผิดอย่างที่พ่อแม่คิดค่ะ
พระอาจารย์: อ๋อ คำสาปแช่งมันไม่เป็นจริงหรอก การจะเป็นจริงเกิดจากการกระทำทางกาย วาจา ใจ ของแต่ละคน ทำบาปไม่ต้องให้ใครเขาสาปแช่ง มันก็เหมือนถูกสาป ทำบุญไม่ต้องให้ใครเขาให้พรมันก็ได้พรของมันอยู่ในตัว มันอยู่ที่การกระทำของเรา พระพุทธเจ้าทรงบอก เรามีกรรมเป็นของของเรา จะทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมเหล่านั้น ไม่ใช่อยู่ที่คำสาปแช่ง เราเป็นคนอยู่ดีๆ ก็บอกเป็นควายอย่างนี้ เราเป็นควายขึ้นมาหรือเปล่า มันไม่เป็นควายหรอก
ฆ่าปลาเพื่อการศึกษาจะบรรเทาบาปได้อย่างไร คำถาม: นมัสการและกราบเรียนถามพระอาจารย์ค่ะ ด้วยหน้าที่การงานทำให้บางครั้งต้องทำบาป ฆ่าปลาเพื่อการศึกษา จะมีวิธีบรรเทาเบาบางบาปได้อย่างไรบ้างคะ
พระอาจารย์: ก็ทำบุญไง ทำบุญเยอะๆ ทำบุญให้มันมากกว่าบาป แต่ไม่ได้ไปลบล้างบาปที่ทำไว้ เพียงแต่ว่าถ้าบุญมันมากกว่าบาป บุญมันจะส่ง มันจะส่งผลให้กับจิตก่อน มันเป็นเหมือนกับไปบล็อกบาปไว้ไม่ให้แสดงผล แต่มันยังมีอยู่ในใจ จนกว่าช่วงไหนที่บุญมันน้อยกว่าบาป ช่วงนั้นบาปก็จะเริ่มแสดงผล
ต้องยอมแพ้มัน คำถาม : ท่านพระอาจารย์เคยบอกว่า การเจ็บปวดเวลานั่งนี่อย่าไปคิดต่อสู้กับมัน
พระอาจารย์ : ต้องเข้าใจมัน การต่อสู้นี่หมายความว่าเราอยากจะให้มันหาย เราต้องยอมแพ้มัน อย่าไปสู้มัน คือยอมให้มันปรากฏอยู่ มันจะอยู่ก็ให้มันอยู่ไป เราต้องเข้าใจธรรมชาติของเขา ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ยิ่งไล่ยิ่งอยู่นาน ถ้าเราไม่สนใจมัน บางทีมันก็หายไปเอง เช่นเวลาเรานั่งเล่นไพ่นั่งดูหนังทั้งคืน เราไม่ไปยุ่งกับมัน มันก็ไม่มายุ่งกับเรา.
กิเลส คำถาม : วันนี้ท่านพระอาจารย์เทศน์ว่า คนเรามันเบื่อง่าย ทานอาหารอร่อยๆซ้ำกัน ๒-๓ ครั้งก็เบื่อแล้ว เป็นเพราะอะไร สัตว์บางชนิดทานอาหารอย่างเดียวตลอดชีวิตได้ แต่เราเป็นเพราะกิเลสหรืออย่างไร ที่ทำให้ต้องเป็นอย่างนี้
พระอาจารย์ : เป็นกิเลส จิตจะแกว่งไปแกว่งมาอยู่เรื่อย จากความอยากมีอยากเป็น ก็จะแกว่งไปหาความเบื่อหน่าย ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น พอมีอะไรจำเจก็จะเบื่อ อยากจะได้ใหม่ เป็นเหรียญด้านเดียวกันแล้วแต่จะมอง อยากได้ของใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ เบื่อของเก่าๆ ซื้อเสื้อผ้ามาใส่ได้ไม่กี่วัน พอไปเห็นชุดใหม่ก็อยากจะได้อีก
คำถาม : ส่วนใหญ่เป็นกันอย่างนั้นใช่ไหมค่ะ
พระอาจารย์ : กิเลสตัณหาเป็นอย่างนี้ ถ้ายังมีโลภโกรธหลง มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาอยู่ ก็จะเป็นอย่างนี้ สิ่งต่างๆที่เราได้มาก็ไม่ได้ให้ความพอ ไม่มีคำว่าพอสำหรับของที่เราได้มา.
จะพ้นทุกข์ไม่ได้เกิดจากการขอ คำถาม : การอธิษฐานขอให้พ้นทุกข์พ้นภัยในวัฏสงสาร จะพ้นได้ง่ายกว่าอธิษฐานอย่างอื่นหรือเปล่าคะในชาติต่อๆ ไป
พระอาจารย์: อ๋อ มันไม่พ้นหรอกเพราะมันจะพ้นทุกข์ไม่ได้เกิดจากการขอ การพ้นทุกข์ต้องเกิดจากการปฏิบัติทำให้ต้นเหตุของความทุกข์หายไป ทุกข์มันก็หายไป การอธิษฐานนี้ไม่ได้แปลว่าขอ แต่เรามักจะมาใช้แทนคำว่าขอกัน คำอธิษฐานของศาสนานี้เป็นการตั้งเป้า แสดงเจตนารมณ์ว่าเราต้องการจะทำอะไร เราต้องการพ้นทุกข์ เราก็ต้องปฏิบัติธรรม ต้องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เราก็ต้องตั้งเป้าไปที่การชำระจิตใจ อธิษฐานว่าต่อไปนี้จะซักฟอกจิตใจทุกวันๆ ถ้าเราซักฟอกทุกวันเดี๋ยวจิตใจก็สะอาดขึ้นมา ความทุกข์ก็หายหมดไป ขอไม่ได้ อธิษฐานนี่ ถ้าอธิษฐานเพื่อขอ อย่าไปอธิษฐานให้เสียเวลา ถ้าอธิษฐานเพื่อปฏิบัตินี่ อธิษฐานได้ เช่น จะขอปฏิบัติชำระใจทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน ฆ่ากิเลสทุกวัน อย่างน้อยก็ขอฆ่าวันละตัวสองตัวก็ยังดี ฆ่ามันไปเรื่อยๆ อยากดื่มอยากกินอะไรที่ไม่จำเป็น เอ้า ตัดมันไปวันนี้ ไม่ดื่มมัน ไม่กินมัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.99
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2565 11:46:15 » |
|
ทำอย่างไรถึงจะหายโกรธ คำถาม: ทำอย่างไรถึงจะหายจากอารมณ์โกรธบ่อยๆ เจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็หมั่นพุทโธพุทโธไว้ สองก็อย่าไปหวังอะไรจากใคร ความโกรธจากความผิดหวังต้องการอะไรแล้วไม่ได้ดังใจก็โกรธ แต่ถ้าเราไม่ต้องการอะไร สันโดษ ยินดีตามมีตามเกิด เขาจะให้อะไรเราก็เอา เขาไม่ให้ก็ดี เขาจะดีกับเราก็ดี เขาจะไม่ดีกับเราก็ดี ถ้าอย่างนี้เราก็จะไม่โกรธ แต่ถ้าเรามั่นหมายว่าเขาจะต้องทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ให้เรา พอเขาไม่ทำให้เรา เราก็โกรธเท่านั้นเอง ใจเรายังมีความอยาก ความอยากมาก ความยึดมั่นถือมั่นมาก งั้นต้องพยายามเปลี่ยนทัศนะคติของเรา ให้ยินดีตามมีตามเกิด อย่าไปอยากอย่าไปหวังอะไรจากใคร อยากจะได้อะไรก็หาเองทำเอง ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ดี อย่างนี้มันก็จะไม่โกรธใคร ถ้ายังทำใจไม่ได้ตอนที่โกรธก็หยุดมันด้วยพุทโธพุทโธไป เพราะมันไม่ใช่เป็นของง่ายที่จะเลิกความโกรธได้ทันทีทันใด อย่างน้อยก็ให้มีอะไรคอยมาดับความโกรธ มีสติมาคอยหยุดมัน พอโกรธแล้วก็พุทโธพุทโธพุทโธ ท่องไปในใจ อย่าไปคิดถึงคนหรือเรื่องที่ทำให้เราโกรธ แล้วเดี๋ยวสักพักหนึ่งความโกรธก็จะหายไป
จิต สมอง ร่างกาย ถาม: ที่คิดเรื่องทุกข์สุข เพราะจิตสั่งให้สมองคิดใช่ไหมครับ บ่อยครั้งที่เราไม่อยากคิดถึงเรื่องที่เป็นทุกข์ แต่สมองมันคิดเองหรือเปล่าครับ หรือเพราะจิตสั่ง
พระอาจารย์: อ๋อ สมองคิดไม่ได้ สมองไม่ใช่เป็นตัวคิด ตัวคิดคือจิต สมองเป็นตัวที่ประสานการเคลื่อนไหวต่างๆ ของร่างกาย เป็นตัวที่ส่งสัญญาณต่างๆ ไปที่แขนที่ขาอีกทีหนึ่ง แต่ต้องรอรับคำสั่งจากจิตก่อน จิตสั่งบอกให้ยกแขนขึ้น พอสั่งยกแขนขึ้น สมองก็สั่งไปทางเส้นประสาทให้ยกแขนขึ้น ถ้าเกิดเส้นประสาทมันเสีย ก็ยกไม่ได้ ถ้าสมองมีไขมันอุดตัน เส้นเลือดไม่สามารถส่งสัญญาณไปที่แขนได้ แขนก็ยกไม่ได้ ถึงแม้จะมีจิตเป็นผู้สั่งก็ตาม
จิตเป็นผู้สั่ง แล้วสมองเป็นผู้มาสั่งร่างกายอีกทีหนึ่ง จิตเป็นคนสั่ง สมองเป็นผู้รับคำสั่ง แล้วก็มาสั่งให้ร่างกายส่วนต่างๆ ทำงานตามคำสั่ง สั่งให้เดิน สั่งให้ลุก สั่งให้นั่ง สั่งให้หันหน้าไปทางซ้ายทางขวานี้ ต้องมีสมอง ถ้าถอดสมองออกไปแล้ว ต่อให้จิตสั่งยังไงก็ไม่สามารถที่จะทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวต่างๆ ได้ เช่น พวกที่มีสมองเสื่อมนี่ มีปัญหาทางสมองนี่ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหว ทำอะไรต่างๆ ได้
สมองนี่ก็เหมือนกับรถยนต์สมัยใหม่นี่ รถยนต์สมัยใหม่นี้มีตู้คอมฯ เครื่องคอมฯ อยู่ในรถ ใช่ไหม คนขับก็สั่งรถให้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ผู้รับคำสั่งก็คือตู้คอมฯ นี่ ตู้คอมฯ มันก็จะสั่งไปที่เครื่อง สั่งให้เปิดแอร์ สั่งให้ปิดแอร์ เปิดไฟปิดไฟ สมัยนี้ใช้ตู้คอมฯ เครื่องคอมฯ เป็นตัวควบคุมรถยนต์อีกทอดหนึ่ง แต่มันก็ต้องเอาคำสั่งจากคนขับ คนขับเป็นจิต ส่วนสมองนี่ก็คือคอมฯ ที่อยู่ในเครื่องอยู่ในรถ ถ้าคอมฯ เสีย คนสั่งยังไงมันก็ไม่ทำตามคำสั่ง ต้องเข้าอู่อย่างเดียว อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราสั่งให้สมอง สั่งให้ยกแขนยกขา มันไม่ขึ้น ก็ต้องไปหาหมอแล้ว หมอ..ทำไมแขนผมชายกไม่ขึ้นเลย หมอก็ต้องมาเช็คสมอง เช็คประสาทดูแล้ว ส่วนไหนที่มันขาดไป
ซ้อมไว้จะได้รู้จักวิธีรับ คำถาม : กราบเรียนถามพระอาจารย์ค่ะ ว่าเราจะมีวิธีกระตุกสติ ดึงสติให้ได้ทันทีเวลาโดนดุด่าว่าร้ายอย่างไรคะ ตั้งสติไม่ค่อยทันเลยค่ะพระอาจารย์ กราบขอบพระคุณค่ะ
ท่านพระอาจารย์ : อ๋อ เราต้องฝึกซ้อมไว้ก่อน เราซ้อมด่าตัวเราเองไว้ก่อน เอาคำด่าที่เราไม่ชอบมาด่าบ่อยๆ เช่นเราไม่ชอบคำว่าดอกทองนี่ ก็เอามาท่อง..อีดอกทอง อีดอกทอง ท่องให้มันชินหูไปเลย ต่อไปเวลาใครเขาด่าเราอีดอกทอง เราก็..โอ๊ยชินอยู่แล้ว เราด่าของเราอยู่เรื่อยๆ อยู่แล้ว เราต้องซ้อมก่อนเหมือนนักมวยต้องซ้อมเวลาที่เขาจะแย็บเรา เขาจะชกใต้ท้องเราหรือชกอย่างไร เราก็ต้องซ้อมไว้ เราถึงมีคู่ซ้อมไว้ชกเราก่อน เพื่อเราจะได้รู้จักวิธีรับ อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่ชอบคำดุคำไหน ก็เอามาท่องอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งมันชินหูชินใจไปแล้ว แล้วเราก็จะเฉยได้ โอ๊ยได้ยินมามากพอแล้วคำนี้ ด่ายังไงฉันก็ไม่สนใจแล้ว
เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมได้หรือไม่ ถาม: อยากถามว่ามนุษย์เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมได้หรือไม่คะ ควรปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง
พระอาจารย์: อ๋อ ได้ ทั้งทางโลกทั้งทางธรรม แต่มันจะถึงจุดหนึ่ง..มันจะต้องแยกทางกัน คือทางโลกกับทางธรรมตอนต้นมันไปพร้อมๆ กันได้ ขั้นระดับทำบุญทำทานรักษาศีลนี้ไปควบคู่กับการทำมาหากินทางโลกได้ อยากจะหาความสุขทางโลกยังหาได้อยู่ ทำทานกับการรักษาศีลไม่ไปขัดขวางการหาความสุขความเจริญทางโลก แต่ถ้าจะเข้าสู่ขั้นที่ ๓ ขั้นภาวนานี้มันจะแยกทางกันแล้ว ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง อยากจะเจริญทางโลกก็ไปทางภาวนาไม่ได้ เพราะทางภาวนานี้ต้องไปบวชกันหรือต้องไปอยู่แบบนักบวช ต้องลาออกจากงานหรือเลิกทำธุรกิจ เลิกเกี่ยวข้องกับคนนั้นคนนี้ ไปอยู่แบบนักบวชหรือบวชแล้วถึงจะได้มีเวลาเจริญทางธรรมได้อย่างเต็มที่ ถ้าไม่ทำอย่างนี้จะไม่สามารถทำสำเร็จ ถ้าจะเอาสองทางมันจะกลับไปกลับมา ทางโลกก็ไม่เจริญทางธรรมก็ไม่เจริญ เพราะมันวิ่งหน้าถอยหลัง เดินหน้าถอยหลังอยู่อย่างนี้ ไปไม่ถึงไหน
จิตที่สงบจะไม่มีอคติ คำถาม: เพราะเหตุใดครับเมื่อจิตที่สงบดีแล้ว แล้วนำมาพิจารณาในธรรม เช่น เรื่องอสุภะเรื่องไตรลักษณ์จะรู้สึกได้เลยว่าจิตในขณะนั้นมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในสภาพความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น และเช่นนี้หรือไม่ครับที่เรียกว่าเป็นสันทิฏฐิโกครับ
พระอาจารย์: เพราะว่าจิตขณะที่สงบไม่มีอคติไง ไม่มีความรักชังกลัวหลง งั้นถึงกล้าพิจารณาซากศพได้ กล้าพิจารณาดูของที่สกปรกได้ ดูของที่ไม่สวยไม่งามได้ ก็ไม่กลัวของเหล่านี้ แล้วก็ไม่รักไม่ชัง สามารถพิจารณาได้ ถ้าไม่มีสมาธินี่จิตมันจะถูกอคติครอบงำ พอไปเห็นสิ่งที่กลัวก็ไม่กล้ามอง ถ้าไปเห็นสิ่งที่เกลียดก็ไม่อยากจะมอง เห็นสิ่งที่รักก็มองไม่เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ก็จะคิดว่ามันเป็นสุข ก็เลยไม่สามารถเห็นความจริงได้ เหมือนกับแว่นตาเรานี่เห็นไหม ถ้าแว่นตาเรามีสีอะไรเคลือบอยู่ มีสีชมพูมีสีฟ้าเคลือบอยู่ เวลาเราเห็นสีที่เห็นผ่านแว่นตา มันก็จะไม่ได้เป็นสีที่แท้จริงของสีที่เราเห็น ถ้ามีสีชมพูมันก็จะเปลี่ยนไปมีสีออกชมพูไปหมด อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีอคติ ถ้ารักอะไรก็จะรักไปอย่างเดียว จะไม่เห็นว่ามันไม่น่ารักตรงไหน งั้นต้องทำให้ใจสงบ แล้วเหมือนกับเอาสีที่มาเคลือบมาแปะที่แว่นตาออกไป พอเอากระดาษสีที่มาแปะที่แว่นตาออกไปให้มันเป็นสีขาว ก็จะเห็นสีต่างๆ ตามความเป็นจริง จิตที่สงบก็จะไม่มีอคติ จิตก็จะเห็นสิ่งต่างๆ เป็นไปตามความเป็นจริง เห็นสิ่งที่ไม่สวยว่าไม่สวย เห็นสิ่งที่สวยว่าสวย มันมีทั้งสวยไม่สวยในร่างกายของเรา แต่เราจะเลือกมองส่วนที่สวย ส่วนที่ไม่สวยเราไม่มอง เราเลยไม่สามารถพิจารณาอสุภะได้ หรือพิจารณาความตายของร่างกายได้
สวดมนต์ไม่ได้อยู่ที่ว่าพนมมือหรือไม่พนมมือ คำถาม: ถ้าเราสวดมนต์แบบไม่พนมมือ จะมีอานุภาพเท่ากับการสวดมนต์แบบพนมมือหรือเปล่าเจ้าคะ
พระอาจารย์: อ๋อ แล้วแต่กาลเทศะ ไม่พนมมือ ถ้าเราสวดคนเดียวในใจอยู่ในห้องส้วมก็สวดได้ จะมีอานุภาพไม่มีอานุภาพ อยู่ที่สวดแล้วคิดอะไรหรือเปล่า ถ้าคิดก็มีอานุภาพน้อยกว่าไม่คิด ถ้าสวดอย่างเดียวไม่คิดอะไร มันก็จะทำให้จิตมีพลังมากมีอานุภาพมาก ถ้าสวดไปด้วยคิดไปด้วยแข่งกัน ก็จะไม่ค่อยได้อะไรเท่าไหร่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าพนมมือหรือไม่พนมมือ การพนมมือนี้ก็อยู่ที่กาลเทศะ ถ้าเราไปสวดในโบสถ์กับคนอื่น เขาพนมมือเราก็ต้องพนมมือไปกับเขา แต่ถ้าเรานั่งอยู่คนเดียวเราจะสวดในใจ นั่งขัดสมาธิสวดไปโดยไม่พนมมือก็ได้ นั่งอยู่ในท่าสมาธิไป ใช้การสวดมนต์แทนพุทโธไป
คุณยายอายุ ๙๒ ปี ชอบฟังธรรมอยู่ที่บ้าน คำถาม: คุณยายของผมอายุ ๙๒ ปี ชอบฟังธรรมอยู่ที่บ้านเป็นประจำ ตอนนี้กำลังเจ็บจากอาการยอกเอว เคลื่อนไหวลำบาก มีธรรมะอะไรดีๆ ที่ให้ยายผมนำไปปฏิบัติได้บ้างครับ ขณะนี้ท่านก็ฟังพระอาจารย์ทางยูทูปครับ”
พระอาจารย์: ก็บอกว่าความเจ็บมันก็เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา อนิจจังก็คือมันมาแล้วเดี๋ยวมันก็ไปมันไม่แน่นอน มันจะอยู่ก็อยู่ มันจะไปก็ไป อนัตตา เราไปสั่งมันไม่ได้ ถ้ามันไม่ไป มันจะอยู่ก็ต้องอยู่กับมันไป อย่าไปอยากให้มันหาย แล้วมันจะไม่ทรมานใจ พยายามอยู่เฉยๆ ไม่ต้องขยับมันก็จะไม่เจ็บ พุทโธ พุทโธ ไป นั่งสมาธิไป ถ้าเวลาขยับมันเจ็บก็ยอมรับว่ามันเจ็บ อย่าไปอยากให้มันหายถ้ามันยังไม่หาย ถ้ามันไม่หายก็ให้มันอยู่ไป ถ้ามันจะหายก็ให้มันหายไปเอง ไม่ต้องไปทำอะไร ทำใจเฉยๆ ทำใจให้เป็นอุเบกขาเอาไว้ สักแต่ว่ารู้ไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.80
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2565 10:27:56 » |
|
การทำทานเป็นเหมือนเอาเงินไปฝากธนาคารถาม: เพื่อนถือศีล สวดมนต์ไหว้พระ แต่ไม่ใส่บาตร เขาบอกว่าการใส่บาตรได้บุญน้อยกว่าสิ่งที่เขาทำ จริงๆ แล้วคือแบบไหนเจ้าคะ
พระอาจารย์: เขาก็จะไม่ได้ผลบุญจากการทำทาน เขาไปไหนเขาก็อาจจะอดอยากขาดแคลน คนทำบุญไปไหนก็จะมีแต่ทรัพย์ มีอะไรรอเขาอยู่ ก็เหมือนเอาเงินไปฝากธนาคาร การใส่บาตรเป็นการทำทาน การทำทานนี่เป็นเหมือนเอาทรัพย์ เอาเงินไปฝากธนาคาร พอต้องการจะใช้ทรัพย์ก็ไปเบิกได้ คนที่ทำบุญทำทาน ชาติหน้ากลับมาเกิดก็จะไม่อดอยากขาดแคลน คนที่ไม่ได้ทำบุญ ก็กลับมาก็จะอดอยากขาดแคลน
การอ่านหนังสือธรรมะจะบรรลุธรรมได้ไหม คำถาม: การอ่านหนังสือธรรมะมากๆ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจและบรรลุธรรมนั้น โดยไม่ต้องเดินจงกรมและนั่งสมาธิได้ไหมคะ
พระอาจารย์: ได้ ถ้ามีสมาธิแล้วก็ไม่ต้อง คนที่เขามีสมาธิแล้ว เขาฟังธรรมปั๊บเขาก็บรรลุได้เลย แต่ถ้าไม่มีสมาธิ ธรรมที่ฟังไม่มีกำลัง เพราะธรรมนี้เป็นเหมือนมีดไง มีดที่เราจะเอาไปใช้ฟันอะไรต่างๆ แต่คนที่จะไปฟันไม่มีแรงอย่างนี้ ต่อให้ได้มีดคมขนาดไหนคนผอมแห้งแรงน้อยก็ไม่สามารถที่จะเอามีดนั้นไปทำประโยชน์ได้ ต้องทำให้คนนั้นหายจากผอมแห้งแรงน้อยก่อน ให้เป็นคนที่มีกำลังวังชาแบบนักกล้ามอย่างนี้ นักมวยอย่างนี้ พอเขามีกำลังแล้ว พอเขาได้มีด เขาก็สามารถเอามีดนั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จิตใจของคนที่ไม่มีสมาธิเป็นเหมือนคนติดยาเสพติด คนผอมแห้งแรงน้อย ติดรูปเสียงกลิ่นรส เป็นพวกติดยาเสพติด ถ้ามาฝึกสมาธิได้ก็เหมือนคนที่มาเลิกยาเสพติด แล้วก็มารับประทานอาหารมาออกกำลังกาย วิ่งมาราธอนได้ พอมีกำลังระดับวิ่งมาราธอนได้ ทีนี้ก็พอได้อาวุธคือมีดมา ก็สามารถเอาไปใช้ทำประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
จิตและกายแยกออกได้อย่างไร คำถาม: ขอความเมตตาพระอาจารย์ช่วยอธิบายเรื่องของจิตและกายด้วยค่ะว่าเราจะสามารถแยกออกได้อย่างไร ว่าจิตและกายนั้นเป็นคนละตัวกันและต่างกันอย่างไร เราควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้ถูกวิธีและมีประโยชน์จริงๆ เจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็จิตเป็นนายกายเป็นบ่าวไง กายเป็นเหมือนรถยนต์นี้ จิตเป็นเหมือนคนขับรถก็เท่านั้นแหละ ถ้ารถไม่มีคนขับ รถก็ไปไหนไม่ได้ ก็จอดอยู่กับที่ คนขับก็คือจิต ร่างกายก็คือรถ จิตเป็นผู้ขับร่างกายๆ เป็นผู้สั่งให้ร่างกายไปไหนมาไหน สั่งให้ถามนี่ก็จิตเป็นคนสั่ง แล้วร่างกายก็พิมพ์ข้อความส่งข้อความเข้ามา นี่คือจิตเป็นนายกายเป็นบ่าว จิตเป็นผู้รู้ผู้สั่งผู้คิดนี่ ร่างกายเป็นผู้รับคำสั่งทำตามคำสั่งของจิตอีกทีหนึ่ง จิตกับร่างกายมาเกาะติดกันมาแต่งงานกัน ตอนที่พ่อแม่สร้างร่างกายขึ้นมา แล้วก็จะเป็นคู่ผัวเมียหรือเป็นนายกับบ่าวไปจนถึงวันที่ร่างกายตายไป พอร่างกายตายไป จิตที่ไม่ได้ตายไปกับร่างกายก็ไปหาร่างกายอันใหม่ต่อไป
ปัญญา คือ เหตุผล คำถาม: ปัญญาในทางธรรม เราสามารถเอาปัญญาที่เรานั่งสมาธิได้ส่วนหนึ่ง มาใช้ในการทำงานได้ไหมคะ
พระอาจารย์: ได้ ปัญญาคือเหตุผลไง ไม่ว่าจะทางโลก ทางธรรม ก็ต้องมีเหตุมีผล เช่น ทำยังไงถึงให้ได้รายได้มากขึ้น ก็ต้องไปทำที่เหตุใช่ไหม ต้องทำอย่างนี้เพิ่ม เช่น ขยายสาขา มีสาขาหนึ่งมันได้แค่นี้มันเต็มที่แล้ว อยากจะได้รายได้เพิ่มมากกว่านี้ ก็ต้องไปเปิดอีกสาขาหนึ่ง อันนี้ก็เป็นการคิดแบบเหตุผลไม่ใช่คิดว่า โอ๊ย อยากจะได้เพิ่มเดี๋ยวไปจุดธูปเทียน ๓ ดอก ไปขอพระ ให้พระประพรมน้ำมนต์ให้หน่อยเดี๋ยวจะได้รายได้เพิ่ม มันก็ไม่ใช่เหตุผล ฝรั่งไม่เห็นจุดธูปเทียนเลย คนที่อเมริกาไม่เห็นเขาจุดธูปเทียนกัน เป็นมหาเศรษฐีอันดับ ๑ ของโลก เขาใช้เหตุผลทั้งนั้น ตอนนี้คนต้องการอะไร Tesla คนต้องการรถไฟฟ้า กูผลิตรถไฟฟ้าให้เยอะ เลยกลายเป็นเศรษฐีอันดับ ๑ ของโลกไปแล้ว
คำถาม: ก็ต้องใช้ปัญญา
พระอาจารย์: ใช้เหตุผลไง ปัญญาก็คือเหตุผล ทำอย่างนี้แล้วจะได้อย่างนี้ ทางธรรมก็คือ ทำอย่างนี้แล้วก็จะทุกข์ ทำอย่างนี้แล้วก็จะสุข ทางธรรมดูที่สุขที่ทุกข์ ไม่ได้ดูที่เงินที่ทอง ทำยังไงไม่ให้ทุกข์ ทำยังไงแล้วถึงจะสุข ก็มี ๓ อย่าง ๑.ไม่ทำบาป ๒.ทำแต่บุญ ๓.หยุดกิเลส หยุดความอยาก นี่คือทางธรรม ปัญญาทางธรรมก็เป็นแบบนี้ ต่างกับทางโลก คือเป้าหมายทางธรรมนี่เอาที่ความสุขเป็นหลัก การดับความทุกข์เป็นเป้าหมาย ทางโลกก็ดูที่เงินทอง รายได้ ใช่ไหม
ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นคน คำถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ คือปัจจุบันได้ฝึกสมาธินาน แล้วก็มีการพยายามปลง แล้วคราวนี้พอฝึกไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าไม่อยากเกิดมาเป็นคน เพราะรู้สึกว่าไม่ว่าจะเกิดมาดีแค่ไหนมันก็ต้องทุกข์อยู่ดี ไม่ว่าสวยแค่ไหนก็ต้องทุกข์อยู่ดี คราวนี้อยากจะคิดต่อว่าแล้วต่อจากนี้ไปเราจะต้องคิดว่าต้องไม่เกิด หรือคิดว่าต้องเกิดมาเป็นอะไรแบบไหนคะ
พระอาจารย์: อ๋อ ต้องเลิกใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข แล้วไปหาความสุขจากการนั่งสมาธิแทน เหมือนกับแม่ชีนี่ไม่ใช้ร่างกายไปหาความสุขไปนั่งสมาธิแทน ต่อไปเราก็ไม่ต้องกลับมามีร่างกาย ไม่ต้องกลับมาเกิดเหมือนกับเราเลิกใช้มือถือ ถ้าเราเลิกใช้มือถือแล้วทีนี้เราก็ไม่ต้องไปซื้อมือถือใหม่อยู่เรื่อยๆ ถ้ายังใช้มือถืออยู่ เดี๋ยวรุ่นนี้ผ่านไปหมดไป อ้าวรุ่นใหม่ออกมาก็ต้องเปลี่ยน ถ้าเรายังใช้ร่างกายหาความสุขอยู่ แล้วร่างกายนี้ตายไป เราก็ต้องกลับไปหาร่างกายใหม่มาเป็นเครื่องมือหาความสุขอีก แต่พอเราไปฝึกนั่งสมาธิได้ เราก็ไม่ต้องใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ถ้าอยากจะไม่กลับมาเกิดมามีร่างกาย ก็ต้องไปหยุดความอยากใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือหาความสุข ไปหาความสุขแบบนักบวช
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.102
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 23 กุมภาพันธ์ 2565 14:29:14 » |
|
อย่าไปยุ่งกับชีวิตของเขา คำถาม: ลูกมีเพื่อนคนหนึ่งที่กำลังจะทำงานเสริมช่วงกลางคืน เป็นเด็กเสริฟในร้านอาหารที่มีการขายเหล้าเบียร์ด้วย ลูกแนะนำให้เขาไปหางานอื่นทำ เพราะเกรงว่าเพื่อนทำงานนี้แล้วจะไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขได้ การแนะนำแบบนี้ลูกมีความเห็นที่ถูกต้องไหมเจ้าคะหรือควรแนะนำเขาอย่างไรดี
พระอาจารย์: ก็แล้วแต่ว่าเขาขอคำแนะนำจากเราหรือเปล่า ถ้าเขาไม่ขอก็อย่าไปแนะนำดีกว่า ถ้าเขาไม่มั่นใจเขาสงสัยก็ถามเรา เราก็บอกเขาไปจะดีกว่า เพราะอยู่ดีๆ เราอย่าไปสอดอย่าไปยุ่งกับชีวิตของเขามากเกินไปเลย เดี๋ยวดีไม่ดีอาจจะทะเลาะกันก็ได้ งั้นถ้าเขาไม่ได้มีความต้องการขอคำปรึกษาจากเรา เราก็เฉยๆ ไป หรือถ้าพูดก็พูดในเชิงแบบไม่อยากให้สะเทือนใจเขา พูดในทางเป็นกลางๆ ว่าไปฟังเทศน์วันนี้มา พระท่านสอนว่าสุรายาเมานี้มันไม่ดี อย่าไปเกี่ยวข้องกับมัน อย่าไปอยู่ใกล้มัน ก็พูดไปแบบนั้นได้ แต่ถ้าจะไปสอนไปบอกเขาโดยตรงนี้ เขาอาจจะไม่พอใจก็ได้ งั้นก็ต้องดูว่าเขาพร้อมที่จะฟังหรือไม่
การรำบูชาพระเป็นบุญหรือเป็นบาป คำถาม: การรำบูชาพระเป็นบุญหรือเป็นบาป เป็นการกระทำที่ควรปฏิบัติหรือไม่ครับ
พระอาจารย์: อ๋อ มันก็เรียกว่าเป็นอามิสบูชา เป็นการบูชาแบบผิวเผิน ไม่ได้เนื้อได้หนัง ได้แต่เปลือก ได้แต่ความเคารพว่าเราเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ลบหลู่ แต่เรายังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ยังไม่ได้ผลที่จะได้จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นต้น เราต้องปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราถึงจะได้รับสิ่งที่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มอบให้กับเรา ถ้าเราเพียงแต่รำแต่ไหว้แต่กราบ เราจะยังไม่ได้ผลที่ท่านต้องการให้เราได้รับกัน
ควรวางอุเบกขาในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรอย่างไร คำถาม: สิ่งที่เราได้เห็นรับรู้และสัมผัส ควรปล่อยวางอุเบกขาในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ควรวางตัวและปฏิบัติอย่างไรครับ
พระอาจารย์: ก็เฉยๆ กับทุกสิ่งทุกอย่างไป เห็นอะไรจะถูกใจไม่ถูกใจเราก็ห้ามเขาไม่ได้ เช่นเสียง เสียงคนชมเสียงคนด่าเราก็ไปห้ามเขาไม่ได้ ถ้าเราไปยินดียินร้ายเราก็จะแกว่งไปแกว่งมาเหมือนลูกตุ้มนาฬิกา ถ้าเราทำใจเฉยมันก็ไม่แกว่งมันก็สบาย เวลาใจแกว่งนี่มันทำให้ใจเราไม่สบาย งั้นพยายามรักษาความนิ่งของใจด้วยการปล่อยวาง แต่ไม่ได้ปล่อยภาระหน้าที่ เขาพูดเขาสั่งให้ทำอะไร ถ้าเป็นหน้าที่ของเรา เราก็ต้องทำ ถึงแม้เราจะไม่ชอบทำแต่เมื่อเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำเราก็ต้องทำ แต่เราไม่ไปมีอารมณ์กับคำสั่งของเขา เขาจะสั่งให้เราทำอะไรจะชอบไม่ชอบถ้าเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของเราที่เราต้องทำเราก็ทำไป แต่เราจะไม่มีอารมณ์ ทำแล้วเขาจะชมหรือไม่ชมก็ไม่มีอารมณ์ เขาจะตำหนิก็ไม่มีอารมณ์ เขาจะชมก็ไม่มีอารมณ์ ฟังด้วยเหตุด้วยผลไป ถ้าตำหนิไม่ถูกตรงไหนก็เอาไปแก้ไขทำใหม่ ก็ว่าไปตามเรื่องตามราว นี่คือความเป็นอุเบกขา คือ ไม่มีอารมณ์แต่ไม่ได้ไม่มีการรับรู้ มีการรับรู้และมีการรับผิดชอบต่อหน้าที่ภาระการงานต่างๆ ที่เรายังต้องทำอยู่
ฆราวาสที่จะได้บุญควรทำอย่างไร คำถาม: ได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์บางท่าน ท่านบอกว่าการเป็นฆราวาสที่จะได้บุญจะต้องประกอบไปด้วย ทาน ศีล ภาวนา ทานนี่คือการทำบุญอย่างต่ำ ศีลคือการทำบุญอย่างกลาง แล้วก็ภาวนาคือการทำบุญอย่างสูง ทีนี้ผมก็เลยคิดเสมอว่า เกิดมายังไม่เคยปฏิบัติธรรมสักครั้งเลย และได้ฟังธรรมเทศนาจากพระอาจารย์บอกว่า บุญไม่ได้อยู่ที่วัด บุญทำที่ไหนก็ได้ ผมนั่งสมาธิประจำ เลยสงสัยว่าจะได้บุญเท่ากับที่ไปปฏิบัติที่วัดยังไงในเมื่อทานก็ทำอยู่เป็นบางครั้ง ทำอยู่เรื่อยๆ แต่ว่าศีล การที่เป็นฆราวาสอยู่บ้าน บางครั้งการถือศีล ๕ เรายังถือไม่ได้เลย แล้วเราจะได้บุญยังไงครับ
พระอาจารย์: คือ การทำอะไรมันก็ได้มากได้น้อยไง ทำมากก็ได้มาก ทำน้อยก็ได้น้อย ทำทานน้อยก็ได้บุญน้อย ทำทานมากก็ได้บุญมาก สำหรับระดับกลาง รักษาศีลได้มากก็ได้บุญมากกว่ารักษาศีลได้น้อย ทุกระดับมันก็มีมากน้อยของมันไป งั้นไม่ต้องไปกังวล ให้เราทำเท่าที่เราจะทำได้ไปก่อน วันไหนก็ทำบุญได้ ทำทานได้ รักษาศีลได้ ภาวนาได้ ขอให้มันมีเวลาว่างเท่านั้นแหละ ข้อสำคัญมีเวลาทำหรือไม่
ทุกข์เกิดที่ใจก็ต้องดับที่ใจ คำถาม: เคยฟังพระพูดว่าทุกข์อยู่ที่ไหนให้ดับที่นั่นหมายความว่าอย่างไรเจ้าคะ แล้วทำอย่างไรล่ะเจ้าคะ
พระอาจารย์: เอ้า เวลาไฟลุกจะไปดับไฟที่ไหนล่ะ ไฟลุกที่บ้านแล้วไปดับไฟที่รถมันจะได้หรือเปล่า ไปลุกที่บ้านก็ต้องดับไฟที่บ้าน ทุกข์มันเกิดที่ใจก็ต้องไปดับที่ใจ แต่เราโง่กัน เวลาเกิดความทุกข์ใจเราก็ไปดับที่คนนั้น เพราะเราไปคิดว่าเขาทำให้เราทุกข์ เช่น คนเขาด่าเราอย่างนี้เราก็เลยไปจัดการกับเขาเพื่อเราจะได้หายทุกข์ มันไม่หายหรอก ทุกข์มันเกิดที่ใจเราต้องดับทุกข์ที่ใจ สาเหตุที่ทำให้ใจทุกข์ก็เพราะไม่อยากให้เขาด่าเรา เรามาหยุดสาเหตุนี้ อย่าไปอยากให้เขาไม่ด่าเรา ปล่อยให้เขาด่าเรา พอเราหยุดความอยากไม่ให้เขาด่าเราได้ต่อไปเขาด่าเรากี่ครั้งเราก็ไม่ทุกข์ เพราะเราไม่มีความอยากไม่ให้เขาด่าเรา เรากลับจะดีใจ โอ้ วันนี้เขาด่าเราแสดงว่าเขาคิดถึงเรานะ เขารักเรา เขาชอบเรานะ งั้นอย่าไปแก้ ความทุกข์ใจต้องแก้ที่ใจ แก้ที่สาเหตุของใจ ดับความอยากของใจแล้วความทุกข์ใจก็จะหายไป อย่าไปแก้ที่คนที่เขาด่าเรา ไม่จบ พอเขาด่าเรา เราก็ด่าเขากลับ เขาก็เลยตีเราซิ เขาตีเรา เราก็ฆ่าเขาซิ มันก็ไปกันใหญ่
ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องไปดูศพ คำถาม: ลูกแยกห้องนอนกับสามีมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว เราทั้งสองตั้งใจปฏิบัติธรรมกันมาโดยตลอด โดยส่วนตัวเองได้พิจารณาอสุภะและพิจารณามรณานุสสติมาโดยตลอด ความกำหนัดจึงพอลดลงได้บ้าง แต่พ่อบ้านยังไม่สามารถพิจารณาอสุภะได้ เขาถึงอยากจะให้ลูกพาไปดูซากศพคนตาย เพื่อจะได้น้อมนำมาพิจารณา จะได้ไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์: ถ้าคิดว่าทำให้จิตมันระลึกถึงอสุภะได้ก็ไป เป้าหมายก็คือให้เราสามารถระลึกถึงส่วนที่ไม่สวยงามของร่างกายได้ ถ้ายังไม่เห็นเราต้องไปดู เช่น ไปดูการชันสูตรศพที่โรงพยาบาลก็ไปได้ แต่อยู่ที่ว่าใจเราเข้มแข็งพอหรือเปล่า เพราะได้ยินว่าบางคนไปแล้วจะเป็นลม ไปดูแล้วบางคนจะอาเจียน บางคนจะเป็นลม แสดงว่าจิตยังไม่สงบพอ ก็อาจจะต้องฝึกสมาธิให้จิตมีความสงบ มีความเข้มแข็งก่อน ปราศจากอารมณ์ ไม่มีปฏิกิริยาความชังความกลัว แต่ถ้าไปดูได้ก็ไปเลย ดูไปเพื่อให้เอาภาพนั้นมาฝังในใจเรา ให้เราระลึกถึงมันอยู่เรื่อยๆ บ่อยๆ จนกระทั่งสามารถระลึกได้ทุกเวลา เวลาเกิดกามารมณ์ ก็นึกถึงภาพศพเลย นึกขึ้นมา
พระพุทธเจ้าสอนพระรูปหนึ่ง ท่านก็มีปัญหาเรื่องกามารมณ์ พอดีมีนางโสเภณีสวยงามมาก มีชื่อเสียงมากได้เสียชีวิตไป ท่านก็เลยบอกให้พระรูปนี้ไปเยี่ยมศพ ไปดูศพของโสเภณีคนนี้ พอไปเห็นเท่านั้น ท่านก็บรรลุธรรมได้เลย มันก็อยู่ที่ว่ามีสมาธิหรือไม่มี ถ้ามีสมาธิปั๊บ เห็นธรรม เห็นปัญญา เห็นด้วยปัญญา ก็จะสามารถที่จะระงับกามตัณหาได้ ราคะตัณหาได้ งั้นถ้าไปได้ก็ไป ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องไป บางคนถ้าสามารถเจริญ ระลึกถึงอสุภะได้โดยที่ไม่ต้องไปก็ไม่ต้องไป สามารถควบคุมกามารมณ์ได้ เช่นภรรยาก็ไม่ต้องไปก็ได้ เพราะสามารถที่จะคุมกามารมณ์ของเขาได้ แต่ถ้าจะไปเป็นเพื่อนก็ได้ไม่เป็นปัญหาอะไร เพียงแต่พูดว่า แต่ละคนไม่เหมือนกัน เท่านั้นเอง ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องไปดู เดี๋ยวโรงพยาบาลต้อนรับไม่ไหวนะ มีแต่ผู้ปฏิบัติธรรมอยากจะไปดูซากศพกัน ใช่ไหม ก็แล้วแต่กำลังของจิตแต่ละคน ไม่เหมือนกัน
จิตใจท้อแท้หดหู่ คำถาม: ตอนนี้จิตใจท้อแท้และหดหู่มากค่ะ พยายามนั่งสมาธิ แต่พอสติหลุดมันก็กลับไปหดหู่เหมือนเดิม จะต้องทำอย่างไรให้เรามีกำลังใจ
พระอาจารย์: อ๋อ ต้องพยายามดึงใจกลับมาด้วยสติ ถ้าไม่มีกำลังดึงมาก็อาศัยฟังเทศน์ฟังธรรมของครูบาอาจารย์ที่เราศรัทธา การฟังธรรมก็จะช่วยให้เรามีกำลังจิตกำลังใจได้ ฟังไปเรื่อยๆ แล้วอาการหดหู่อาการท้อแท้เบื่อหน่ายก็จะหายไปได้ เวลาฟังธรรมจะทำให้เราเกิดมีกำลังเพราะได้ยินได้ฟังธรรมแล้วมันเกิดเป็นเหมือนกับต้นไม้ที่ได้น้ำ เวลาที่เราท้อแท้ไม่มีกำลังจิตกำลังใจก็ฟังธรรม แต่ต้องเป็นธรรมของพระปฏิบัตินะ ถ้าเป็นธรรมแบบที่เป็นตำรานี้อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการฟังธรรมจากพระปฏิบัติ หรือถ้าเราไม่ได้ฟังธรรม ก็ต้องสร้างสติขึ้นมาเองด้วยการบริกรรมพุทโธพุทโธ หรือสวดมนต์ไปนานๆ อย่าขี้เกียจ ขยันสวดมนต์ไว้ ขยันพุทโธไว้ เดี๋ยวสักพักหนึ่ง กำลังใจก็จะกลับฟื้นคืนขึ้นมา
ไม่มีใครตายมีแต่ความตาย คำถาม : กราบนมัสการเรียนถามหลวงพ่อพระอาจารย์เจ้าค่ะ คำกล่าวที่ว่า ไม่มีใครตาย มีแต่ความตาย เป็นอย่างไรคะ กราบสาธุค่ะ
พระอาจารย์ : คือร่างกายมันไม่มีตัวตน เวลาร่างกายตายมันก็เป็นความตายของร่างกาย ไม่มีใครตาย จิตผู้มาครอบครองร่างกาย ก็ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย จิตเป็นผู้รู้ผู้คิด ก็เพียงแต่แยกออกจากกัน เหมือนกับเราสูญเสียตุ๊กตาไปตัวหนึ่งหรือว่าสูญเสียสัตว์เลี้ยงไปตัวหนึ่ง เช่น สุนัข เวลาร่างกายของสุนัขตายไป เราก็ไม่ได้ตายไปกับร่างกายของสุนัข เมื่อเราไม่มีสุนัขตัวนี้แล้ว ถ้าเรายังชอบเลี้ยงสุนัขอยู่ เราก็ไปหาสุนัขใหม่มาเล่นต่อไปก็เท่านั้นเอง ร่างกายก็เป็นเหมือนสุนัขตัวหนึ่ง
ถาม : วันนี้ท่านอาจารย์เทศน์ถูกใจมากเลยค่ะ ที่เทศน์ว่าทำไปเถิดไม่ต้องไปดูคนอื่นเขา
พระอาจารย์ : อยู่คนละชั้นกัน ถ้าอยู่ชั้นอนุบาลก็อย่าไปมองชั้นประถมชั้นมัธยม จะทำให้ท้อแท้ เพราะทำเหมือนเขาไม่ได้ เรื่องการปฏิบัติเป็นเรื่องตัวใครตัวมัน อัตตาหิ อัตตโน นาโถ เรื่องของผลที่ได้ทำมามากน้อยต่างกัน เรื่องของบุญบารมี อย่างที่มีคำพูดว่า แข่งเรือแข่งพายพอแข่งกันได้ แต่แข่งวาสนาบารมีนี้ แข่งกันไม่ได้ ต้องสะสมกันมา ถ้ามีน้อยก็ต้องตักให้มากๆ
อยู่ที่ความเพียรเป็นหลัก ที่จะพยายามตักตวงสร้างบุญบารมี พวกเรามีเวลาเท่ากัน มีอาการ ๓๒ เท่ากัน ที่ไม่เท่ากันก็คือความเพียร จึงต้องสร้างความเพียรให้มาก เพียรมากก็จะไปได้เร็วไปได้ไกล เหมือนกับเติมน้ำมันรถ ถ้าเติมน้อยก็จะไปไม่ได้ไกล เติมมากก็จะไปได้ไกล น้ำมันรถก็คือความเพียร วิริยะบารมี เพียรตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนหลับ ถึงจะเรียกว่าเพียรอย่างเต็มที่ เพียรเจริญมรรค เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา ถ้าเพียรอย่างนี้ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ภายใน ๗ ปี รับรองต้องได้อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน นี่ก็ผ่านมาแล้ว ๗ ปี ถ้ายังไม่ได้ก็แสดงว่าเพียรยังไม่มากพอ ถ้าอยากจะโทษใคร ก็ให้โทษความเพียร ความเพียรไม่มากพอ ต่อให้มีความปรารถนาแรงกล้าขนาดไหนก็ตาม มีศรัทธามีฉันทะมากเพียงไรก็ตาม ถ้าไม่มีความเพียรก็จะไม่ได้อะไร
ไม่ต้องคิด ถาม : พระอาจารย์คะ ถ้าเรานั่งสมาธิสักพักหนึ่ง จิตเรานิ่งแล้วนี่ เราพิจารณาดูได้ไหมคะ
พระอาจารย์ : ในขณะที่นิ่งจิตไม่คิดปรุงอะไรก็ไม่ต้องคิด ให้นิ่งให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เป็นการพักจิต เป็นการให้อาหารกับจิต เป็นการให้พลังกับจิต รอจนจิตออกจากความนิ่ง เริ่มคิดปรุง แล้วค่อยเอาสังขารความคิดปรุงนี้มาพิจารณา ไม่เช่นนั้นแล้วจิตจะไม่มีกำลัง เวลาไปพิจารณาอะไร จะไม่มีกำลังทำตามที่ได้พิจารณา คำว่าเวลาจิตสงบแล้วให้ออกพิจารณานี้ ท่านหมายถึงให้ออกจากความสงบก่อน แล้วค่อยไปเจริญปัญญา แต่ในขณะที่มันสงบนิ่ง ก็เหมือนกับคนนอนหลับ ก็อย่าไปปลุก ปล่อยให้หลับให้พอ เพราะถ้าไม่พอ เราไปปลุกขึ้นมาทำงาน เขาจะหงุดหงิด จะไม่มีกำลัง แต่ถ้าเขาหลับเต็มที่แล้วตื่นขึ้นมาเอง ทีนี้บอกให้เขาไปทำอะไรเขาก็จะไปทำได้ เพราะมีกำลังวังชา ได้พักอย่างเต็มที่แล้ว การทำจิตให้สงบก็เป็นการพักจิตให้มีกำลัง ที่จะไปทำงานขั้นปัญญาต่อไป แต่ในขณะที่พักอยู่ในความสงบนั้น อย่าเพิ่งออกไปทำอะไรทั้งสิ้น ให้นิ่งอยู่เฉยๆ อย่าไปยุ่งกับเขา ปล่อยให้เขานิ่งไปตามอัธยาศัย จนกว่าจะออกมา.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.51
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: 14 มีนาคม 2565 10:38:57 » |
|
เดินปัญญา คำถาม: เดินปัญญา คือ เมื่อเจอสุขให้วางเฉย เมื่อเจอทุกข์ให้วางเฉย ดึงใจกลับมาภาวนา มามีสติเหมือนเดิม ถูกไหมครับ
พระอาจารย์: ก็คือให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นทุกข์อย่าไปอยาก เห็นอะไรแม้แต่ความสุขก็เป็นทุกข์ เพราะมันไม่เที่ยง เดี๋ยวมันก็หายไป ถ้าอยากให้มัน อยากได้มัน อยากให้อยู่กับเรา เวลามันหมดไปก็จะทำให้เราทุกข์ คือ ไม่ให้ยินดียินร้ายกับสุขกับทุกข์ ทุกข์มาแล้วเดี๋ยวก็หายไป ถ้าทุกข์มาแล้วอยากให้มันหายไปก็ทุกข์อีก ดังนั้นทุกข์มาก็ให้อยู่กับทุกข์ไป สุขมาก็ให้อยู่กับสุขไป แต่อย่าไปยึดอย่าไปติด สุขก็ไม่ติด ทุกข์ก็ไม่ขับไล่ไสส่ง
คำถาม คำถาม: เราสามารถเจริญทางโลกและทางธรรมไปพร้อมกันได้ไหม มีวิธีปฏิบัติอย่างไร กราบสาธุครับ
พระอาจารย์: ช่วงเริ่มต้นก็ปฏิบัติทั้งทางธรรมทางโลกพร้อมกันไป คือเราก็ทำงานไปหาเงินหาทองไป แล้วมีเวลาเราก็ทำบุญทำทานไปรักษาศีลไปนั่งสมาธิไป แต่ปฏิบัติไม่ได้มาก ถ้าเราต้องการที่จะไปทางธรรมได้มากขึ้น เราก็ต้องแยกตัวไป เพราะทั้งสองทางนี้มันไปด้วยกันไม่ได้ แต่ตอนที่เราเริ่มปฏิบัติใหม่ๆเรายังไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้มาก เราก็จะมีเวลาให้กับทางโลกได้ พอต่อไปถ้าเราปฏิบัติธรรมได้มากขึ้นๆ เราก็อยากปฏิบัติมากขึ้นๆ เราก็ต้องเอาเวลาที่ให้กับทางโลกมาให้กับทางธรรมต่อไป ก็ต้องแยกทางกันไป
จิตที่เป็นมหาสติ คำถาม: กราบเรียนถามพระอาจารย์เรื่องจิตที่เป็นมหาสติ ที่เป็นปัญญา แตกต่างจากจิตที่เป็นกิเลสอย่างไร และมีวิธีสังเกตดูจิตที่เป็นสัมมาสติอย่างไรเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็สติ จิตที่มีสติที่เป็นมหาสติ ก็คือ ควบคุมความคิดได้ หยุดความคิดได้ หยุดอารมณ์ต่างๆได้ พอโกรธก็หยุดได้ พอโลภก็หยุดได้ เรียกว่ามีกำลังที่สามารถคุมจิตได้เรียกว่ามหาสติ พวกที่ไม่มีมหาสติ บางทีก็คุมได้ บางทีก็คุมไม่ได้ บางทีโกรธ บางทีก็หยุดได้ บางทีก็หยุดไม่ได้ นี่ต่างกันเหมือนรถแหละ รถเบรกดีกับรถเบรกไม่ดี ใช่ไหม รถเบรกดีเหยียบปุ๊บก็หยุดปั๊บ รถเบรกไม่ดีเหยียบปุ๊บต้องไปชนนั่นก่อน ถึงจะหยุด
อารมณ์เดียว ถาม : อารมณ์เดียวหมายถึงอย่างไรเจ้าคะ
พระอาจารย์ : อารมณ์เดียว หมายถึง ให้รู้เฉยๆ ให้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างนั้น ให้รู้ว่าเขามาแล้วไป เขาเกิดแล้วดับ คือ ..ให้รู้เฉยๆ เขาเป็นอย่างไร ก็รู้เขาอย่างนั้นไป เขาด่าเรา ก็รู้ว่าเขาด่าเรา เขาชมเรา ก็ให้รู้ว่าเขาชมเรา “ แต่เราอย่าไปมีปฏิกิริยา กับคำชมคำด่าของเขา ให้รู้เฉยๆ “
วิธีวางเฉยกับโลกธรรม ถาม: อยากทราบวิธีการวางเฉยกับโลกธรรมเจ้าค่ะ
พระอาจารย์: ก็ต้องฝึกสมาธินี่แหละถึงจะวางเฉยได้แบบจริงๆ ไม่อย่างนั้นก็เป็นแบบเฉยเมย หรือเฉยแบบอึดอัดภายในใจ แต่ถ้าได้เฉยแบบสมาธิที่เรียกว่าอุเบกขา มันจะเบา มันจะสบายใจ มันจะไม่วุ่นวายกับเรื่องอะไรต่างๆที่มารับรู้ จะไม่มีความรักความชัง ความกลัวความหลง อันนี้เกิดจากการทำใจให้สงบด้วยการฝึกสติพุทโธๆไปเรื่อยๆ
พระอรหันต์ตกใจไหม ถาม: พระอรหันต์ถ้าท่านโดนหมาเห่าท่านจะตกใจไหมคะ
พระอาจารย์: หลวงตาท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เวลาเดินไปแล้วเห็นกิ่งไม้ตกอยู่ แต่คิดว่าเป็นงูแล้วเราจะไปเหยียบ ท่านบอกท่านจะกระโจนเลย มันเป็นสัญชาตญาณ แต่ใจจะไม่มีความรู้สึกหวาดกลัว หรือตกอกตกใจอะไร ใจเฉย แต่ปฏิกิริยาต่อสิ่งที่พบเห็นมันไวมาก มันเป็นสัญชาตญาณ หรืออีกในกรณีหนึ่ง เดินไปแล้วลื่นจะหกล้ม ถ้ามือไขว่คว้าหยิบอะไรได้ก็จะไขว่คว้าทันทีไม่ปล่อย แต่จะไม่ได้ตื่นเต้นตกใจอะไร
ต้องมีเหตุการณ์ที่ท้าทาย คำถาม: ที่ท่านอาจารย์บอกว่าในเรื่องความเจ็บและความตาย ต้องนำมาพิจารณา เรารับรู้ในลักษณะสัญญา แต่ถ้าจะให้โอปนยิโก น้อมนำเข้ามาในตัว ก็ยังมีความสงสัยอยู่ว่าเราจะดำเนินในขั้นต่อไปอย่างไรครับ
พระอาจารย์: ต้องมีเหตุการณ์ที่ท้าทายความเป็นความตาย เช่นไม่สบายไปหาหมอ หมอบอกว่าคุณเป็นโรคมะเร็งนะ ขั้นสุดท้ายแล้ว อันนั้นแหละคุณจะต้องมาดูใจของคุณแล้วว่า เฉยหรือไม่เฉย กลัวหรือไม่กลัว หลงหรือไม่หลง ยังคิดว่าร่างกายยังเป็นเราอยู่หรือเปล่า ถ้าเราเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็น ดินน้ำลมไฟ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ถ้ามันเป็น ดินน้ำลมไฟ เดี๋ยวมันก็ต้องกลับคืนสู่ ดินน้ำลมไฟ
นิพพานคืออะไร คำถาม: กราบถามว่านิพพานไม่ใช่สถานที่ ไม่มีตัวไม่ใช่ตน พระท่านสอนว่าทำใจให้สะอาดจากกิเลสแล้วเข้านิพพาน แสดงว่าใจนั้นแหละคือนิพพาน นิพพานคือใจใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: เออ นิพพานคือใจที่สะอาดที่ปราศจากกิเลสตัณหา ไม่ใช่ใจที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่เป็นนิพพานไม่ได้ เหมือนเสื้อผ้าที่สะอาดกับเสื้อผ้าที่สกปรก เสื้อผ้าที่สะอาดเราไม่เรียกว่าเสื้อผ้าสกปรก เราเรียกว่าเสื้อผ้าสะอาด การที่จะทำให้เสื้อผ้าสะอาดก็ต้องเข้าเครื่องซักฟอกพอซักเสร็จมันก็สะอาด ใจเราก็เหมือนกัน ตอนนี้มันสกปรกด้วยกิเลสตัณหา เราก็ต้องซักฟอกด้วยการปฏิบัติธรรม พอเราปฏิบัติธรรมไปเดี๋ยวใจเราก็จะสะอาดปราศจากกิเลสตัณหา เขาเรียกว่านิพพาน
สติคุมใจ ถาม : ลูกเกิดเวทนา เป็นโรคไขข้อ นั่งได้ระยะหนึ่งจิตจะบอกให้หยุดนั่ง เป็นเพราะสติไม่แก่กล้า หรืออินทรีย์ ๕ ยังไม่พร้อม
พระอาจารย์ : สติก็เป็นหนึ่งในอินทรีย์ ๕ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เวลานั่งถ้ามีสติอยู่กับคำบริกรรม จะไม่ค่อยเจ็บเท่าไหร่ ความเจ็บที่เกิดจากร่างกายจะไม่รุนแรง เท่ากับความทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของใจ ถ้าใจไม่มีโอกาสปรุงแต่ง ความทุกข์ใจก็จะไม่เกิด สติจะคุมใจให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ก็จะนั่งได้นาน จะสงบ จะไม่ค่อยเจ็บ
จิตกับอารมณ์ต่างกันไหม คำถาม: จิตกับอารมณ์ต่างกันไหมครับ
พระอาจารย์: จิตก็เป็นเหมือนท้องฟ้า อารมณ์ก็เหมือนเมฆหมอก อารมณ์อยู่ในจิต อารมณ์ก็เกิดดับเกิดดับ ไปมาไปมา แต่จิตไม่ดับ จิตเหมือนท้องฟ้า จิตมีอยู่ตลอดเวลา จิตรู้อยู่ตลอดเวลา เป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์หรือความคิดต่างๆ นี้ไปๆ มาๆ เกิดดับเกิดดับเหมือนเมฆหมอกบนท้องฟ้า ท้องฟ้าคือใจหรือจิต ส่วนเมฆหมอกนี้คืออารมณ์ต่างๆ
กามคุณ ๕ หมายถึงอะไร คำถาม: กามคุณ ๕ หมายถึงอะไรครับ พระอาจารย์ขอเมตตาอธิบายพอเข้าใจเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติครับ
พระอาจารย์: กามคุณ ๕ ก็คือรูปที่เราเห็นด้วยตา เสียงที่เราได้ยินด้วยหู กลิ่นที่เราสัมผัสด้วยจมูก รสที่เราสัมผัสด้วยลิ้น และความหนาวเย็นหรือความแข็งกับความอ่อนที่มากระทบกับร่างกาย เรียกว่าโผฏฐัพพะ นี่เรียกว่ากามคุณ ๕ “กาม” แปลว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ต้องมีตาหูจมูกลิ้นกาย ถึงจะสามารถเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.82
|
|
« ตอบ #51 เมื่อ: 28 มีนาคม 2565 10:50:29 » |
|
ต้องจุดประกาย ถาม : พอดีมีโอกาสหยุดงาน ๔-๕ วัน เลยไปปฏิบัติธรรม ๒ วันแรกฟังเทศน์สลับกับการนั่งสมาธิ รู้สึกว่าจิตใจสงบดี พอวันที่ ๓ เริ่มรู้สึกเบื่อขึ้นเรื่อยๆ พอวันที่ ๔ เริ่มรู้สึกว่าหดหู่เศร้าหมอง รู้สึกเหมือนเสียดายกิเลส เลยไม่แน่ใจว่าทำอะไรผิด
พระอาจารย์ : เป็นธรรมชาติของใจ เวลาทำอะไรใหม่ๆ จะกระตือรือร้นศรัทธาแรง พอทำไปเรื่อยๆจะอ่อนลงไป ถ้าไม่ได้เห็นผลแบบมหัศจรรย์ใจ ก็จะค่อยๆท้อมากขึ้น เบื่อมากขึ้น กิเลสมีแรงมากขึ้น
ถาม : จะรู้สึกเศร้าใจ
พระอาจารย์ : กิเลสเริ่มออกมาอาละวาดมากขึ้น กิเลสคือตัวเศร้าหมอง พอมาอยู่วัดไม่ได้ลิ้มรสกามสุข ก็จะสร้างความเศร้าใจขึ้นมา ในช่วง ๒ วันแรก เราทุ่มเทต่อการภาวนา มีความกระตือรือร้น เพราะศรัทธาแรง พอทำไปๆเกิดความจำเจขึ้นมา แล้วก็ไม่ได้เห็นผลทันตา จึงไม่มีอะไรมากระตุ้นกำลังใจให้มีมากขึ้น ควรย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น ว่าเกิดประกายแห่งศรัทธาขึ้นมาได้อย่างไร กลับไปคิดแบบนั้นใหม่ เพื่อจุดประกายให้เกิดขึ้น ว่าโอกาสที่จะมาปฏิบัติธรรมมีน้อย ปฏิบัติ ๒ วันแรกดีอยู่ วันที่ ๓ เริ่มไม่ค่อยดี ก็เป็นเหมือนการเดินทางไกลหรือวิ่งทางไกล ใหม่ๆกำลังวังชาดี ไม่เหนื่อย พอวิ่งไปนานเข้าๆก็เหนื่อย ต้องปลุกพลังขึ้นมาใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราเผลอไป สติไม่ได้อยู่กับการภาวนา เปิดช่องให้กิเลสเข้ามารบกวนจิตใจ ถ้าคุมสติไว้อยู่เรื่อยๆ ให้อยู่กับพุทโธ อยู่กับการภาวนา กิเลสก็จะเข้ามายาก จะบำเพ็ญต่อไปได้
คำถาม คำถาม: ในการเจริญปัญญาควรสังเกตอย่างไรว่า สมาธิและปัญญาสมดุลกันดีครับ
พระอาจารย์: อ๋อ เราต้องมีสมาธิก่อน มันไม่ได้เป็นเรื่องของความสมดุล เราต้องฝึกสมาธิ ควบคุมความคิด ควบคุมความอยากให้ได้ก่อน ทำใจให้สงบให้อยู่เฉยๆ อย่างมีความสุข แล้วพอเกิดความอยาก เราก็เอาปัญญามาสอนใจให้เลิกอยาก ถ้าเรามีปัญญาเราจะเห็นว่า การทำตามความอยากนี้จะเพิ่มความทุกข์ ไม่ใช่เป็นการดับความทุกข์ ถ้าต้องการดับความทุกข์ ก็ต้องหยุดความอยาก อันนี้มันไม่ได้เป็นเรื่องของความสมดุล
ปฏิบัติธรรมอย่างไรให้คนในครอบครัวได้บุญด้วย คำถาม: การปฏิบัติธรรมการปฏิบัติสมาธิ จะมีอานิสงส์ให้คนในครอบครัวมีความสุขหรือได้บุญร่วมกับเราด้วยหรือไม่ครับ จะปฏิบัติธรรมอย่างไรให้คนในครอบครัวมีความสุขหรือได้บุญกับเราด้วยครับ
พระอาจารย์: อ๋อ เขาได้ผลกระทบ ผลพลอยได้ คือถ้าเราปฏิบัติธรรมเราก็จะเป็นคนดี ใจเย็น คนไม่โลภ ไม่โกรธ คนที่อยู่รอบข้างเราเขาก็ปลอดภัยจากความโกรธของเรา ถ้าเราไม่ปฏิบัติธรรม เราก็มักจะโลภจะโกรธง่าย พอคนอยู่ใกล้ทำอะไรผิดหน่อยเราก็จะด่าจะว่าเขา แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรมเราก็จะควบคุมอารมณ์ได้ เราก็จะไม่ระบายอารมณ์ออกไปข้างนอก คนที่อยู่ใกล้เราก็ปลอดภัยสบายใจ เช่นคนปฏิบัติธรรมก็จะไม่ดื่มสุรา เห็นไหม คนไม่ปฏิบัติธรรมไม่ถือศีลเขาดื่มสุรา พอเขาดื่มสุราเดี๋ยวเขาเมาเขาก็อาละวาด ด่าคนนั้นว่าคนนี้ ทุบข้าวทุบของ แต่พอเขาไม่ดื่มสุราได้เขาก็เป็นคนมีสติ คอยควบคุมอารมณ์เขาได้ เขาก็ไม่ไประบายใส่คนอื่น อันนี้เป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติธรรมของเรา แต่ผลที่เราได้จากการปฏิบัติธรรมนี้ เราให้คนอื่นไม่ได้ เช่นความสงบความสุขที่เราได้ในใจของเรานี้ เอาให้คนอื่นไม่ได้ คนอื่นอยากจะได้ผลจากการปฏิบัติธรรมก็ต้องปฏิบัติเอาเอง
อุทิศบุญให้กับผู้ที่ต้องมารับบุญ ถาม : การทำบุญครบรอบวันละสังขารของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เวลากรวดน้ำถวายบุญกุศลให้ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้คนเดียว จะอุทิศให้บุคคลอื่นได้ไหมคะ เช่นพ่อแม่ เจ้ากรรมนายเวรของเราค่ะ
พระอาจารย์ : ได้ ครูบาอาจารย์ไม่ต้องไปอุทิศให้ท่านหรอก ท่านเป็นเศรษฐีบุญแล้ว เพียงแต่เราเอาเหตุของความตายของท่านมาเป็นเหตุให้เราได้ทำบุญ แล้วเราก็อุทิศให้กับผู้ที่ต้องมารับบุญ ครูบาอาจารย์ท่านไม่มารับบุญของเราหรอก ท่านมีบุญมากกว่า บุญที่เราส่งไปให้ท่าน ท่านเป็นเศรษฐี เศรษฐีบุญ เหมือนกับเศรษฐีนี่ถ้าเอาเงินที่ให้ขอทานไปให้เศรษฐีเขาจะเอาไหม บอกไม่ต้องหรอกเก็บไว้เถอะนะ เรามีเหลือกินเหลือใช้แล้ว แต่เขาทราบเขาก็จะบอกขอบใจ อนุโมทนาที่ยังอุตส่าห์คิดถึงเราอยู่ แต่ไม่ต้องกังวลกับเราหรอก เรามีบุญเหลือเฟือแล้ว อุทิศไปให้กับพวกที่เขาไม่มีดีกว่า ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร เพราะถ้าเขาไม่มาบอกเรา เราก็ไม่รู้หรอกแต่เราก็ทำเผื่อไปอย่างนั้นเอง เผื่อพ่อแม่เขาไม่มีบุญ เขารอบุญอยู่นี้เราก็ให้เขาไป แต่ส่วนใหญ่ถ้าเขามาขอบุญนี้เขาจะต้องมาส่งสัญญาณบอกเรา เช่นมาเข้าฝันว่าโอ้ยตอนนี้ลูก พ่อแม่ลำบากเหลือเกิน ช่วยพ่อแม่หน่อยเถิด อดอยากขาดแคลน ไม่มีข้าวกิน ไม่มีที่อยู่อาศัย นี่ตอนเช้าก็ไปใส่บาตรซะ แสดงว่าท่านมาขอบุญ แต่ถ้าไม่มาขอเราก็ทำไป ให้สรรพสัตว์ไป ใครก็ได้ ถ้าบางทีไม่มีพี่ไม่มีน้อง หรือไม่มีคนที่เราชอบทำบุญอุทิศให้ เราก็อุทิศแทนให้เขาไปก็ได้ หรือไม่อุทิศก็ได้ แล้วแต่เรา
ไม่ต้องทำอะไร ถาม : เวลานั่งไปถึงตรงที่จิตแยกออกจากกาย ควรดึงกลับมาหรือควรจะเฉยๆ ปล่อยเขาไป
พระอาจารย์ : เวลาจิตสงบจะปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ตอนนั้นไม่ต้องทำอะไร
ถาม : ปล่อยให้เขาแยกหรือคะ
พระอาจารย์ : ให้เขาอยู่ตามลำพัง ปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ปล่อยตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เวลาทำสมาธิจะดึงกระแสของจิต ที่ไปเกาะติดอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ให้เข้ามาข้างในจิต เหมือนเดินเข้าไปในถ้ำ จะปล่อยวางเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ พอเข้าไปถึงก้นถ้ำแล้ว จะไม่รับรู้กับเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ จะพักอยู่ในนั้น เพราะเป็นที่เย็นสบาย มีความสุขมาก จนกว่ากำลังของสติจะอ่อนลง กระแสของกิเลสก็จะผลักออกมา ออกมารับรู้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะต่อไป
ถาม : ไม่ดึงออกมา
พระอาจารย์ : ไม่ต้องดึงออกมา ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อให้จิตเข้าไป พอเข้าไปแล้วก็อย่าดึงออกมา ปล่อยให้อยู่ในความสงบจนกว่าจะออกมาเอง ที่ออกมาก็เพราะยังไม่ได้เข้าไปถึงที่ ถ้าถึงที่แล้วจะไม่อยากออกมา เพราะมีความสุขมาก เบาสบายมาก.
ถ้าเรารู้ว่าใจเราไม่ดีจะปฏิบัติอย่างไร คำถาม: กราบเรียนถามค่ะ ถ้าเรารู้ว่าใจเราไม่ดีจะปฏิบัติอย่างไรคะ
พระอาจารย์: ก็หยุดมันได้ไง เปลี่ยนมันได้ ทำให้มันเป็นใจดี ใจดีไม่ดีก็เริ่มต้นที่ความคิดดีไม่ดีนี่เอง ถ้าคิดไม่ดีมันก็จะทำให้ใจเราไม่ดี ฉะนั้นเวลาที่เราคิดไม่ดีเราก็หยุดมัน เช่นคิดจะไปทำร้ายใครคิดจะไปด่าใคร เราก็หยุดมัน ถ้าเราสั่งให้มันหยุด มันดื้อมันไม่ยอมหยุดเราก็ต้องใช้พุทโธ ใช้สติมาช่วย ท่องพุทโธๆ เวลาโกรธใครเวลาอยากจะไปทำร้ายใครไปด่าใครไปกลั่นแกล้งใคร เราก็พุทโธๆ ๆ จนกว่ามันจะหยุดคิดถึงเรื่องราวเหล่านี้ ถ้ามันยังไม่หยุดก็พุทโธไปเรื่อยๆ รับรองได้ว่าถ้าเราไม่หยุดพุทโธเดี๋ยวมันต้องหยุดเอง พอมันหยุดแล้วมันก็หายไป เราก็ลืมไป เรื่องที่เราจะไปด่าใครไปว่าใคร ไปทุบตีใครก็จะหายไป เราก็จะไม่เป็นคนไม่ดีไป ใจของเราก็จะกลายเป็นใจที่ดีไปเพราะเราไม่ได้ไปทำร้ายใคร ต้องใช้สติหยุดความคิดที่ไม่ดี
เพราะฉะนั้นก่อนที่ความคิดไม่ดีจะเกิดขึ้น เราต้องมาหัดฝึกสติก่อนฝึกพุทโธก่อน ถ้าเราไม่ฝึกท่องพุทโธไว้ พอถึงเวลาจะท่องมันท่องไม่ออก เวลามันโกรธใครมันจะคิดแต่เรื่องโกรธเขาอย่างเดียว จะให้มันคิดพุทโธมันไม่ยอมมา แต่ถ้าเราคอยฝึกพุทโธๆอยู่เรื่อยๆ พอมันจะไปคิดทางโกรธปั๊บ เราก็ดึงกลับมาคิดอยู่กับพุทโธ พุทโธได้ ดังนั้นอย่าไปรอทำตอนที่โกรธมันไม่ทันการ เหมือนนักมวยแหละ ก่อนจะขึ้นเวทีนี้ต้องซ้อมชกก่อน ไม่ซ้อมชกเดี๋ยวจะไปซ้อมบนเวทีก็ถูกเขาน็อคเท่านั้นแหละ อย่างนักเรียนอย่ามาดูหนังสือตอนวันก่อนจะสอบ ถ้าดูก่อนวันสอบหรือดูวันที่สอบนี่มันไม่ทันแล้ว ต้องเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก่อน ต้องทำการบ้านต้องดูหนังสือบ่อยๆ ถ้าเป็นนักมวยก็ต้องหมั่นซ้อมอยู่เรื่อยๆ ถ้าเป็นนักปฏิบัติก็ต้องหมั่นภาวนาพุทโธๆ ไปเรื่อยๆให้มันชำนาญให้มันชิน พอถึงเวลาจะใช้มันก็ใช้มันได้
คำถาม คำถาม: ถ้าเรานั่งสมาธินานๆ จำเป็นไหมคะว่าต้องเห็นผี
พระอาจารย์: อ๋อ ไม่จำเป็นหรอก นั่งสมาธิที่ถูกต้องแล้วจะไม่เห็นอะไร การที่เห็นนี้ก็เห็นแบบ ๒ อย่าง เห็นจริงกับเห็นไม่จริง พวกที่เห็นจริงก็มีแต่มีน้อยมาก พวกนี้จะต้องเข้าไปในสมาธิก่อน ถึงจะเห็นผีจริงได้ ส่วนพวกที่เห็นผีปลอมนี่ก็พวกที่คิดไปเอง นั่งแล้วจิตไม่สงบ เพราะได้ยินเสียงอะไรขยับตรงนี้หน่อย ก็คิดว่าผีมาแล้ว อันนี้ก็เป็นผีปลอม
มองมุมกลับ คำถาม: เรียนถามพระอาจารย์ การที่จะมองอะไรไม่เที่ยงตลอดเวลา ต้องมีสติหรือปัญญาครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าไม่มีสติมันก็จะมาคิดทางปัญญาไม่ได้ ถ้าไม่มีสติมันก็จะคิดไปทางกิเลส กิเลสก็จะมองให้เห็นว่าเที่ยง เห็นว่านิจจัง สุขัง อัตตา เพราะว่าไอ้นี่มันเป็นสันดานของจิตของเราอยู่แล้ว โดยปกติมันจะเห็นทุกอย่างว่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ทีนี้เราต้องการจะมาเปลี่ยนมุมมองใหม่ ก็ต้องใช้การบังคับให้มันคิด การจะบังคับให้มันคิด ต้องมีสติถึงจะบังคับได้ ดังนั้นเราต้องมีทั้งสองอย่าง ต้องมีสติก่อน มีสติที่จะดึงใจให้หยุดคิดไปในทางนิจจัง สุขัง อัตตา แล้วก็บังคับให้มันคิดว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
จิตเราตอนนี้มันถนัดไปในทางความหลง มันชอบมองทุกอย่างว่าเป็นสุข เที่ยง เป็นของเราใช่ไหม ได้อะไรมาแล้ว ก็คิดว่าจะอยู่กับเราไปตลอด จะให้ความสุขกับเราไปตลอด เป็นของเราไปตลอด แล้ววันดีคืนดีเขาจากเราไป เราก็ร้องห่มร้องไห้ขึ้นมา เพราะเขาไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด ไม่ได้ให้ความสุขกับเราไปตลอด เพราะเขาเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง เขาให้ความทุกข์กับเราเวลาที่เขาจากเราไป เขาเป็นอนัตตา เขาไม่ได้เป็นของเราแล้ว เวลาเขาจากเราไป นี่คือวิธีมองมุมกลับ จะมองมุมกลับได้ต้องมีสติ บังคับจิตให้มองในมุมกลับ ถ้าไม่มีสติมันก็จะมองในมุมเดิม
คนธรรมดาสามารถถึงนิพพานได้ไหม คำถาม: ที่บ้าน พ่อเขาชอบฟังธรรมะแล้วเขาก็ชอบพูดถึงนิพพานนะครับ จะถามว่าคนธรรมดาที่ไม่ได้บวชตลอดไปสามารถไปถึงนิพพานได้ไหมครับ
พระอาจารย์: ได้ ถ้าเขาทำตัวแบบนักบวช ถึงแม้เขาไม่ได้บวช แต่เขาทำตัวแบบนักบวช คืออาจจะแยกบ้านอยู่กับเมียกับลูก ให้ลูกเมียอยู่บ้านหนึ่ง เขาก็ไปอยู่อีกบ้านหนึ่งอย่างนี้ แล้วเขาไม่ต้องไปทำมาหากิน เขามีเงินพอที่จะเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเขาได้ อันนี้ก็เป็นเหมือนกับเป็นนักบวช เพียงแต่ว่ายังไม่ได้บวชทางร่างกายเท่านั้นเอง แต่ทางจิตใจทางเวล่ำเวลานี่เหมือนนักบวช มีเวลาปฏิบัติได้ตั้งแต่ตื่นจนหลับอย่างนี้ แต่ถ้าต้องไปทำงานต้องไปเกี่ยวข้องกับคนนั้นคนนี้ มันก็จะช้า
ดูจิตในการทำความดี คำถาม: ลูกภาวนาโดยวิธีการดูจิตในการทำความดีแต่ไม่สงบ แต่จิตอ่อนโอนต่อคนรอบข้าง ถ้าเป็นอย่างนี้ถูกไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์: ไม่ถูกหรอก อย่าไปดู ให้หยุดมันให้ใช้พุทโธหยุดมัน ให้ดูลมหายใจหยุดมัน อย่าไปดูอะไรทั้งนั้น ดูแล้วใจเรามีอารมณ์ตามมา เดี๋ยวรักบ้างเดี๋ยวชังบ้าง เดี๋ยวกลัวบ้างเดี๋ยวหลงบ้าง ต้องหยุด หยุดความรักชังกลัวหลง แล้วใจจะนิ่งใจจะสงบใจจะแข็งแกร่ง จะไม่หวั่นไหวกับอะไรต่างๆทั้งหลายที่ไปสัมผัสรับรู้ งั้นต้องใช้ฝึกสติให้มาก ให้ใจหยุดคิดหยุดอยาก แล้วใจจะไม่มีความรักชังกลัวหลง
ทำอย่างไรเราจะชนะใจคนได้ ถาม: ทำอย่างไรคะ เราจะชนะใจคนได้
พระอาจารย์: อ๋อ ชนะไม่ได้หรอก ใจคนนี่มันมีหลากหลายด้วยกัน คือ ต่อให้เราดีขนาดไหน ถ้าเขาไม่ชอบเรา มันก็ชนะเขาไม่ได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าอย่าไปชนะผู้อื่น ให้ชนะตน ชนะตนแล้วสบาย ชนะผู้อื่นแล้วอาจจะเดือดร้อน เพราะอาจจะไม่ได้ดังใจ เพราะชนะเขาไม่ได้ เพราะฉะนั้นให้ชนะตัวเรา แล้วใจเราจะสงบ ชนะอะไร ก็ชนะความโลภความโกรธความหลงไง ชนะความอยากต่างๆ นี่ถ้าชนะตัวนี้แล้วใจเรามันจะสงบเย็นสบาย แต่ถ้าอยากจะชนะคนอื่นแล้วไม่ชนะนี่เราจะเสียใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปหวังที่จะชนะใจคนอื่น แต่ก็มีธรรมที่ทำให้คนอื่นเขายอมรับเราก็ได้ อย่างพระพุทธเจ้านี่ท่านก็ชนะใจพวกเรา เพราะว่าท่านทำสิ่งที่ทำให้เราเกิดศรัทธา เกิดความเคารพในตัวท่านขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นถ้าอยากชนะใจผู้อื่นก็ต้องเอาชนะใจผู้อื่นด้วยการทำความดีไป ทำตัวเราให้เป็นคนดีมีเมตตา มีความโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นี่ตอนนี้ปีใหม่ ลองเอาเงินมาแจกดูสิ เดี๋ยวก็ชนะใจคนเยอะแยะไปหมด หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องวิ่ง วิ่งจากใต้ไปเหนือ นี่ก็คือวิธีชนะใจคน ต้องทำความดีใช่ไหม ถึงจะชนะใจคนได้ ถ้าไปทำอะไรที่เป็นเรื่องเห็นแก่ตัวหรือทำบาปนี่ ไม่มีใครเขาจะมายุ่งกับเราหรอก
วิปัสสนาคือปัญญา คำถาม: ขอพระอาจารย์ช่วยสอนวิปัสสนาหน่อยเจ้าค่ะ
พระอาจารย์: วิปัสสนาก็คือปัญญา ปัญญาก็คือการรู้ความจริงของสิ่งต่างๆที่เรามาเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นคนนั้นคนนี้ สิ่งนั้นสิ่งนี้ ล้วนเป็นไตรลักษณ์ทั้งนั้น คือไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง มีการเจริญ มีการเสื่อม มีการมา มีการไป มีการเกิดมีการดับ เป็นทุกข์ถ้าเราไปยึดไปติดมันเวลาที่มันจากเราไป เป็นอนัตตาเราห้ามมันไม่ได้ ให้มองอย่างนี้ เรียกว่าวิปัสสนา มีปัญญาเพื่อปล่อยวาง ถ้าเราปล่อยวางได้เราก็จะไม่ทุกข์เวลาสิ่งต่างๆที่เรารักเราชอบจากเราไป เพราะเรารู้ว่าไม่ช้าก็เร็วจะต้องมีการพลัดพรากจากกัน ไม่จากกันตอนเป็นก็ต้องจากกันตอนตาย ถ้าอยากจะไม่ทุกข์ก็อย่าไปยึดติดกับมัน พร้อมที่จะให้มันไป ถ้ามันอยู่ก็ปล่อยให้มันอยู่ไป แต่ถ้ามันจะไปหรือเราจะไปก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามความเป็นจริง แล้วเราจะไม่ทุกข์ไม่มีความกังวล เรียกว่าวิปัสสนาปัญญา แต่จะทำได้ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง บางทีรู้แต่ก็ปล่อยไม่ได้ รู้ยังไงก็ยังรักยังหวงอยู่ อันนี้ก็ต้องใช้สมาธิเป็นตัวดึงออก เพราะว่าใจไม่มีกำลังที่จะปล่อย จึงต้องอาศัยสมาธิมาช่วยแยกออกจากกัน ท่องพุทโธๆ นั่งทำใจให้สงบ พอใจสงบใจก็ปล่อยได้ทันที
อุเบกขา ถาม: เวลาฟังธรรมท่านพระอาจารย์แล้ว อย่างที่เกิดขึ้นตอนนี้ เกิดความซาบซึ้งใจ อยากร้องไห้ ท่านพระอาจารย์เคยบอกว่า ไม่ควรร้องไห้ ให้พยายามทำใจให้สงบ
พระอาจารย์ : เราปฏิบัติเพื่อควบคุมใจของเรา ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ก็ยังเป็นสมมุติอยู่ ไม่เที่ยง ถ้าควบคุมได้ ก็จะมีความสุขอีกแบบหนึ่งที่ดีกว่า ความสุขที่เกิดจากอุเบกขา ถ้ายังควบคุมไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหายอะไร ถ้ามีปีติมีความซาบซึ้ง นั่งฟังแล้วขนลุกหรือน้ำตาไหลนี้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าต้องการควบคุมจิตใจ ต้องทำจิตให้มีแต่ความว่าง ให้เป็นอุเบกขา.
เดินปัญญา คำถาม: เดินปัญญา คือ เมื่อเจอสุขให้วางเฉย เมื่อเจอทุกข์ให้วางเฉย ดึงใจกลับมาภาวนา มามีสติเหมือนเดิม ถูกไหมครับ
พระอาจารย์: ก็คือให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นทุกข์อย่าไปอยาก เห็นอะไรแม้แต่ความสุขก็เป็นทุกข์ เพราะมันไม่เที่ยง เดี๋ยวมันก็หายไป ถ้าอยากให้มัน อยากได้มัน อยากให้อยู่กับเรา เวลามันหมดไปก็จะทำให้เราทุกข์ คือ ไม่ให้ยินดียินร้ายกับสุขกับทุกข์ ทุกข์มาแล้วเดี๋ยวก็หายไป ถ้าทุกข์มาแล้วอยากให้มันหายไปก็ทุกข์อีก ดังนั้นทุกข์มาก็ให้อยู่กับทุกข์ไป สุขมาก็ให้อยู่กับสุขไป แต่อย่าไปยึดอย่าไปติด สุขก็ไม่ติด ทุกข์ก็ไม่ขับไล่ไสส่ง
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 มีนาคม 2565 10:53:56 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2565 12:11:08 » |
|
ถึงความว่างแต่ที่จริงแล้วมันยังไม่ว่างถาม: หนูไม่เข้าใจตรงที่บอกว่า พอไปถึงความว่างแต่ที่จริงแล้วมันยังไม่ว่าง แปลว่าอะไรคะ
พระอาจารย์: คือมันบยังเป็นกิเลสที่ละเอียดอยู่ ซึ่งปัญญาของเรามันยังไม่ทัน ปัญญาของเรามันทันส่วนหยาบคือร่างกาย แต่กิเลสส่วนที่มันอยู่ในใจมันละเอียดกว่า แต่คิดว่ามันเป็นความว่าง แต่ความจริงมันไม่ว่าง ถ้าปฏิบัติต่อไปมันก็จะเริ่มเห็น ไม่ต้องกังวลหรอก ตอนนี้ปล่อยร่างกายให้มันได้ก่อน ปล่อยร่างกาย ละกามารมณ์ให้ได้ก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยเข้าไปในใจ ตอนต้นเข้าไปใหม่ๆ ไม่เคยเห็นใจที่มันสงบ ก็เลยคิดว่าไม่มีกิเลส เดี๋ยวสังเกตดูสักพักก็จะเห็นกิเลสละเอียด ค่อยแสดงตัวออกมา มานะก็จะออกมา อะไรต่างๆ ก็ยังมีอยู่
สังโยชน์ ๕ ข้อปฏิฆะ พยาบาท ถาม: มีคำถามเรื่องสังโยชน์ข้อที่ ๕ ค่ะ พยาบาทน่าจะเป็นข้อที่ง่าย ทำไมถึงเอามาไว้เป็นข้อที่ ๕ มันมีความละเอียดมากน้อยแค่ไหนคะ
พระอาจารย์: มันไม่ใช่พยาบาท ปฏิฆะ ความหงุดหงิดใจ เวลาเกิดกามารมณ์ขึ้นมา ไม่ได้เสพกามก็หงุดหงิด มันมาจากการที่เราเกิดมีกามารมณ์ขึ้นมา กามราคะขึ้นมา อยากจะเสพกาม ยังไม่ได้เสพ พอได้เสพ อาการหงุดหงิดก็หายไป แต่หายไปแบบชั่วคราว เดี๋ยวพอความอยากจะเสพกามเกิดขึ้นมาอีก ความหงุดหงิดก็ตามมาอีก อยู่เฉยๆ ไม่ได้ เวลาเกิดกามขึ้นมา ต้องเสพกาม ถึงจะบรรเทาความหงุดหงิดใจ
ถาม: ไม่ได้เสพกามในทุกๆ เรื่องของกามหรือคะ
พระอาจารย์: อันนี้เรื่องกามราคะ ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับแฟน อะไรอย่างนี้
ถาม: แล้วเรื่องรูปเสียงกลิ่นรสละคะ
พระอาจารย์: มันมารวมตรงนี้หมด เวลาเสพกาม มันรวมรูปเสียงกลิ่นรสของแฟนเข้ามาหมด
ถาม: พิจารณาร่างกายเห็นเป็นเซลล์ ได้ไหมคะ
พระอาจารย์: นั่นเห็นเป็นอนัตตา ถ้าเป็นเซลล์ก็เป็นธาตุ เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่ามันมีหลายแง่มุมต้องพิจารณา ในแง่มุมของธาตุ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่มีตัวตน มีแต่เซลล์ มีแต่อะตอม มีแต่โมเลกุล ถ้าเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราก็จะมองอย่างนี้ได้
ถาม: หนูมองเห็นเป็นอะตอม เป็นโมเลกุล แล้วท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเลย
พระอาจารย์: ก็มีไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ก็มารวมกัน มันก็เป็นธาตุไม่ใช่เหรอ เรามันว่าธาตุไม่ใช่เหรอ อันนี้ก็ได้ เพื่อจะดูว่าไม่มีตัวตน เพราะเราไม่ได้อยู่ในร่างกายของเรา
ถาม: เหมือนมองร่างกายเรา ท้ายสุดก็คือความว่าง
พระอาจารย์: ไม่ว่าง มันมีอยู่ มันว่างจากตัวตน ไม่มีตัวตน แต่มันมีออกซิเจน มันมีธาตุต่างๆ สักวันมันก็ต้องแยกออกจากกันไป
ถาม: งั้นเราก็มองทุกคนที่ผ่านมาเป็นอย่างนี้
พระอาจารย์: ไม่ได้หรอก กามารมณ์มันไม่ได้ดับด้วยอย่างนี้ กามารมณ์ต้องมองส่วนที่ขยะแขยง
ถาม: เห็นอสุภะ ใช่ไหมคะ
พระอาจารย์: เออ ต้องดูอสุภะ ดูว่ากลิ่นมันเหม็น เห็นลำไส้กับตับไตอะไรอย่างนี้ มันถึงจะดับกามารมณ์ได้ ไอ้ที่พิจารณาเมื่อกี้มันดับการยึดถือว่าร่างกายเป็นตัวตน คนละเรื่องกัน แต่ก็ต้องพิจารณาเหมือนกัน ต้องเห็นไตรลักษณ์ เห็นว่ามันเป็นทุกข์เวลาหงุดหงิดใจ ไปเกิดมีกามารมณ์ขึ้นมา มันก็หงุดหงิดใจ ถ้าไปชอบร่างกายของใครเข้า มันก็หงุดหงิดใจ ทำให้เราหงุดหงิดใจขึ้นมา
ถาม: แล้วถ้าเรามองเห็นปุ๊บก็เห็นหนัง เห็นฟัน แล้วก็เห็นความแก่ของเขาละคะ พระอาจารย์
พระอาจารย์: ก็เห็นแบบไหนก็ได้ ขอให้เห็นแล้ว มันทำให้กามารมณ์มันดับไปได้ก็แล้วกัน เห็นโครงกระดูกอย่างนี้ เห็นโครงกระดูกไหม ตัวเรานี่มีโครงกระดูกไหม มองเข้าไปให้เห็นโครงกระดูก มันมีอยู่ เพียงแต่เราไม่คิดถึงมันเอง ใช่ไหม มีหรือเปล่า ในร่างกายเรามีโครงกระดูกอยู่หรือเปล่า แต่ไม่เคยคิดถึงมันใช่ไหม ไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นเลยใช่ไหม ต้องหัดมองมันมั่ง ถ้าเราเกิดกามารมณ์ ก็ต้องมองคนที่ทำให้เราเกิดความรู้สึก ส่วนถ้ามองตัวเรา ก็ต้องมองเพื่อดับความหลงว่าเราสวยเรางาม ถ้าชอบคิดว่าเราสวยเรางาม ก็ให้มองทะลุเข้าไปใต้ผิวหนังของเราเอง จะได้ไม่ต้องไปเสียเงินไปทำศัลยกรรมตกแต่งอะไร ให้เสียเวลา ไม่ต้องย้อมผมให้มันเสียเวลา ก็เพียงแต่ดูแลให้มันสะอาดและเรียบร้อยก็พอแล้ว ให้มันเป็นธรรมชาติ พูดง่ายๆ ดูแลแบบธรรมชาติ
ไตรลักษณ์คืออะไร ถาม: ไตรลักษณ์คืออะไรครับ
พระอาจารย์: คำว่า ไต..ก็แปลว่า ๓ ลักษณ์..ก็คือลักษณะ ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า “Three characteristics of existence” คือคุณลักษณะของสิ่งที่มีชีวิตทั้งปวง มีอยู่ ๓ ลักษณะด้วยกัน คือ ๑. อนิจจัง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เกิดมาแล้วก็เปลี่ยน เจริญเติบโตไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวก็แก่ แล้วก็จะต้องตาย ไม่เที่ยง ไม่ใช่เกิดมาเป็นทารกแล้ว เป็นทารกไปเหมือนตุ๊กตา ตุ๊กตามันไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย แต่มันก็ตาย ในที่สุดมันก็พังไป ก็เสียได้ ทุกอย่าง สรรพสิ่ง สรรพสัตว์ มีคุณลักษณะ ๓ ประการ คือ ๑. เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลง มีการเกิด มีการดับ เป็น “อนัตตา” ไม่มีตัวตน ต้นไม้มีตัวตนไหม ไม่มีใช่ไหม ก้อนหินมีตัวตนไหม ร่างกายเราก็เหมือนกัน ร่างกายเราก็ไม่มีตัวตน ตัวเราไม่ได้อยู่ในร่างกาย ตัวตนอยู่ที่จิตที่ไปคิดว่าร่างกายเป็นตัวเรา เป็นตัวตน จิตผู้รู้ผู้คิดก็ไม่มีตัวตน แต่ความหลงหลอกให้จิตคิดว่าเป็นตัวตนขึ้นมา
ข้อที่ ๓ “ทุกขัง” ทุกข์แปลว่าอะไร ถ้าไปติดไปยึดในของที่ไม่เที่ยง จะให้มันเที่ยงก็จะทุกข์ อยากไม่แก่ทุกข์ไหม เวลามันจะแก่ อยากไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เวลาป่วยขึ้นมา อยากแล้วทุกข์หรือไม่ทุกข์ ถ้าเฉยๆ ได้ มันจะเจ็บก็ปล่อยมันเจ็บไป เราไม่ต้องไปอยาก แล้วใจเราก็จะไม่ทุกข์ นี่คือคำว่า “ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจังเป็นของไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลง เกิดดับ ถ้าไปยึดไปอยากให้มันไม่เกิดไม่ดับ เกิดแล้วไม่ให้มันดับ ก็จะทุกข์เวลามันดับไป ได้อะไรมาแล้วก็อยากให้มันอยู่กับเรานานๆ ใช่ไหม พอมันจากเราไปเราก็เสียใจ ใช่ไหม ทุกข์ใช่ไหม แล้วเราห้ามมันได้หรือเปล่า เพราะมันไม่ใช่ตัวเรา ของเรา ใช่ไหม มันเป็นธรรมชาติเหมือนต้นไม้ มองให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นอย่างนี้
ผู้ปฏิบัติธรรมอธิษฐานจิตสิ่งใดมักจะประสบผลสำเร็จ? ถาม: จริงหรือไม่เจ้าคะ ที่ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนารักษาศีล มักจะอธิษฐานจิตสิ่งใดก็ตาม มักจะประสบผลสำเร็จตามนั้น
ตอบ: ไม่จริงหรอก การปฏิบัติธรรมนี้เป็นเหตุที่จะพาให้เราได้ผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ถ้าเราไปอธิษฐานในสิ่งที่นอกจากเหตุ เราก็ไม่ได้ เช่นปฏิบัติธรรมแล้วอธิษฐานว่า ขอให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินได้ไหม ไม่ได้หรอก อธิษฐานปฏิบัติก็เพื่อให้จิตเราสงบ เพื่อให้เราดับความทุกข์ต่างหาก อันนี้เราได้ แต่ถ้าไปขออย่างอื่น เป็นนายกไม่ได้หรอก ไปปฏิบัติธรรมแล้วไปขอเป็นนายกดูสิ ขอให้ลงเลือกผู้ว่าแล้วจะได้รับเลือก ไม่ได้หรอก อันนี้มันคนละเรื่องกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 102.0.5005.63
|
|
« ตอบ #53 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2565 13:25:43 » |
|
หนีมาเกิดคืออะไร ถาม : หนีมาเกิดคืออะไรคะมีจริงไหมคะ
ตอบ : คำว่าหนีมันไม่มีหรอก มันมาเกิดเพราะความอยาก ความอยากพาให้จิตมาเกิดกัน ความอยาก ความโลภ ความอยากหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย มันก็เลยทำให้จิตเรามาเกิดกัน ที่หนีอาจจะเป็นการฆ่าตัวตายก็ได้ เวลาฆ่าตัวตายก็หนี เพราะว่าร่างกายนี้มันไม่ตอบสนองความสุข ชีวิตนี้มันไม่ตอบสนองความสุข เลยหนีชีวิตนี้ด้วยการฆ่าตัวตาย หนีแล้วมันก็ต้องไปเกิดใหม่อยู่ดี แล้วพอได้ร่างกายใหม่เดี๋ยวมันไปเจอความทุกข์แบบเดิมอีก มันก็หนีอีก มันก็ฆ่าตัวตายอีก วิธีนี้ไม่ใช่เป็นวิธีแก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหาก็คือต้องตัดความอยากให้ได้ พอตัดความอยากแล้วมันก็จะไม่ไปเกิดใหม่ แล้วเวลาความทุกข์ที่เกิดจากความอยากมันก็จะหายไป ไม่จำเป็นจะต้องฆ่าตัวตาย คนที่ไม่มีความอยากนี้ไม่มีความทุกข์ จะไม่มีการคิดฆ่าตัวตาย แล้วก็จะไม่มีการกลับมาเกิดใหม่อีกต่อไป
คนเจ้าโทสะ ถาม: ตอนนี้โยมสวดมนต์เช้าและก่อนนอนทุกวัน ระหว่างวันเปิดธรรมะฟัง บางวันนั่งสมาธิ แต่จิตก็ยังไม่ค่อยสงบ ด้วยความที่เป็นคนเจ้าโทสะ โยมควรใช้กรรมฐานแบบไหนคะ
ตอบ: เวลาเกิดโทสะก็ต้องใช้ความเมตตาเข้ามาระงับ เช่นเวลาเราโกรธใครเราก็ต้องให้อภัยเขา นี่คือความเมตตา ผู้ที่มีความเมตตาย่อมไม่ถือโทษโกรธเคืองใคร อันนี้ก็ใช้เวลาที่เกิดโทสะ แต่ถ้าเวลาไม่มีโทสะ ก็ใช้สติแบบทั่วไป ใช้พุทโธก็ได้ หรือใช้การเฝ้าดูการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของร่างกายเราก็ได้ ใช้แต่เฉพาะเวลาเกิดโทสะขึ้นมา หรือถ้าอยากให้ไม่มีโทสะเกิดขึ้นก็ต้องใช้ปัญญา ปัญญาจะสอนให้เรารู้ว่าความโกรธของเรานี้เกิด จากความอยากของเรา อยากให้เขาทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ พอเขาไม่ทำเราก็โกรธขึ้นมา ถ้าเราไม่อยากโกรธ เราก็ต้องอย่าไปอยากให้เขาทำอะไรให้กับเรา เราอย่าไปหวังอะไรจากใคร ให้ยินดีตามมีตามเกิด แล้วเราก็จะไม่มีความโกรธใคร ที่เราโกรธเพราะเราหวัง เราอยากให้เขาทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ พอเขาไม่ทำ เราก็โกรธเขา คือถ้าไม่อยากจะโกรธเลยก็อย่าไปหวังอะไรจากใคร
สังโยชน์ ๓ การลูบคลำกฎแห่งกรรม และ การลูบคลำศีลธรรม คำถาม : อ่านเฟสบุ๊คของท่านพระอาจารย์ ที่ท่านได้เล่าสังโยชน์ ๓ ครับ แล้วก็กล่าวถึงการลูบคลำกฎแห่งกรรม และการลูบคลำศีลธรรม ตรงนี้โยมไม่เข้าใจ ขอความเมตตาพระอาจารย์ช่วยอธิบายด้วยครับ
พระอาจารย์ : คือยังลังเลสงสัยอยู่ในกฎแห่งกรรมว่ามีจริงหรือไม่ ทำบาปแล้วต้องไปรับผลบาปไหม เห็นคนทำบาปเยอะแยะ คนทำชั่วได้ดีมีถมไป นี่คือ..สีลัพพต เขาไปมองที่ผลที่จะเกิดกับร่างกาย ทำบาปแล้วก็ยังหนีได้ พาร่างกายหนีไปต่างประเทศอย่างนี้ กฎหมายก็ตามจับไม่ได้ จับไปลงโทษไม่ได้ แต่ใจนี่มันมีสุขหรือเปล่า ที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ที่ต้องออกจากบ้านเรือนของตน อันนั้นแหละเป็นผู้รับผลของบาป ก็คือใจ คือความทุกข์ใจต่างๆ แม้แต่เพียงคิดจะทำบาป ก็ไม่สบายใจ ถ้าเป็นคนที่มีความดีอยู่ ที่ไม่ชอบทำบาป แต่คิดว่าต้องทำบาปนี้ เผลอไปทำบาป ก็ไม่สบายใจ ญาติโยมบางคนขับรถไปชนสุนัข ทั้งที่ไม่มีเจตนา สุนัขมันเข้ามาชนรถเอง มันเป็นอุบัติเหตุ ยังไม่สบายใจเลย ซึ่งความจริงมันไม่เป็นบาป เพราะไม่มีเจตนา ไม่มีความตั้งใจ แต่ผู้ที่ทำบาปจนชิน มีความตั้งใจนี่ จิตใจมันชาไปกับการทำบาปแล้ว มันทำบาปเมื่อไหร่ก็รู้สึกเฉยๆ มันชะล่าใจ นึกว่าทำแล้วก็ไม่มีผลตามมา เขาไม่รู้หรอกว่าจิตใจของเขาเสื่อมลงไปๆ จากความเป็นมนุษย์ก็กลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน แล้วเมื่อตายไปจิตนี้ก็จะไปเกิดเป็นมนุษย์ก่อนก็ไม่ได้ ต้องไปใช้บาปใช้กรรมก่อน
ถ้าปฏิบัติธรรม ละสังโยชน์ มันจะเห็นพร้อมๆ กันไป ทั้ง ๓ ข้อนี้ เวลาเราละเราละที่สักกายทิฏฐิ เมื่อละสักกายทิฏฐิแล้วเราจะเห็นผลที่เกิดขึ้นในใจของเรา เวลาเรายึดเราติดขันธ์ ๕ นี้ เราจะทุกข์ ถ้าเราปล่อยวางขันธ์ ๕ ได้แล้ว เราจะไม่ทุกข์ เพราะเราจะเห็นว่าการกระทำต่างๆ ของเราที่ไปปกป้องขันธ์ ๕ นี้ ด้วยการกระทำบาป ทำให้เราทุกข์ เมื่อเกิดกิเลส ขันธ์ ๕ ยังไงมันก็ต้องตาย มันก็ต้องเสื่อม มันก็ต้องหยุดไป มันจะเห็นกฎแห่งกรรม คือทำดีได้ดี ทำดีแล้วมีความสุข ทำบาปแล้วจะมีความทุกข์ แล้วก็จะเห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เป็นของจริง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องเชื่อว่าคนสอนต้องมี ทีนี้คำสอนมันจะมาจากใคร ถ้าไม่ได้มาจากคนที่สอน ก็คือพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต้องไปยินดีอะไร ไม่ต้องไปพิสูจน์ว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ ไปอินเดียก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่ามีจริงหรือไม่ ก็เห็นแต่ซากสะลักหักพังของสถานที่ที่ท่านประสูติ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าท่านประสูติตรงนั้นจริงหรือไม่ ถ้าจะหายสงสัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างแท้จริง ก็ต้องละสักกายทิฏฐิให้ได้ งั้นขอให้มาแก้ที่ตรงนี้ ที่สังโยชน์ ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา
เบื้องต้นต้องมีสมาธิก่อน เราถึงจะสามารถปล่อยวางร่างกาย ปล่อยวางเวทนาได้ ปล่อยให้ร่างกายตาย ปล่อยให้ร่างกายเจ็บก็คือเวทนา ปล่อยได้แล้วก็จะเห็นว่าความแตกต่างระหว่างปล่อยกับไม่ปล่อยเป็นอย่างไร เวลาไม่ปล่อยนี้เครียด ทุกข์ วิตกกังวล เวลาปล่อยแล้ว โอ๊ย โล่งใจ สบาย จะเป็นอะไรก็ไม่เดือดร้อน เพราะรู้ว่าห้ามมันไม่ได้ ไปห้ามกฎธรรมชาติได้อย่างไร ไปห้ามสิ่งที่เป็นธรรมชาติได้อย่างไร ร่างกายมันเป็นธรรมชาติ มันมาจากธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ
การไปสุคติขึ้นอยู่กับบุญกับบาปที่เราได้สะสมไว้ ถาม : ถ้าหากเราต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก แล้วเราจะมีวิธีวางใจอย่างไรและมีวิธีการปฏิบัติกับท่านอย่างไร ณ ตอนสุดท้ายของชีวิต และมีวิธีการทำให้ท่านไปสุคติอย่างไรเจ้าคะ
ตอบ : เวลานั้นมันสายไปแล้วที่จะส่งให้ท่านไปสุคติ การจะไปสุคตินี้มันขึ้นอยู่กับบุญกับบาปที่เราได้สะสมไว้ ว่าอย่างไหนมีกำลังมากกว่ากัน ไม่ใช่จะมารอทำช่วงสุดท้ายของชีวิตนี้มันไม่ทันการ ต้องรีบทำเสียตั้งแต่ตอนนี้ ตั้งแต่ที่เรายังมีกำลังวังชา พยายามทำบุญให้มากๆ ให้มันมากกว่าบาป แล้วเวลาตายไปบุญก็จะพาให้ไปสู่สุคติโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร
ส่วนเรื่องของการสูญเสียบุคคลที่รัก ก็อย่างที่บอกนี้ เราต้องมาหัดเจริญปัญญากัน หมั่นพิจารณาว่าเรามีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ว่าร่างกายของพวกเราทุกคนจะต้องมีความตาย ไม่ช้าก็เร็ว เกิดขึ้นมา ทั้งของเขาและทั้งของเรา ต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ถ้าเราไม่เคยคิดเราก็จะลืม แล้วเราจะคิดว่าเราจะอยู่ไปด้วยกัน แล้วจะต่อต้านการสูญเสีย เวลาสูญเสียจะเสียอกเสียใจ เพราะไม่ยอมรับความจริง ก็ยังอยากให้บุคคลที่เสียไปนี้กลับมา หรืออยู่ต่อไปนั้นเอง ทั้งๆ ที่ความจริงเขาไม่กลับมาแล้ว เขาไปแล้ว แต่ใจเรายังสูญเสียอยู่ ยังรู้สึกเสียใจอยู่ เพราะเราไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจสอนใจไว้ให้ซ้อมรับกับบทนี้รับกับบทที่เวลาเราจากกัน
ถ้าเราฝึกซ้อม เวลาจากกันก็จากกันเฉยๆ ไปสิ ไม่เห็นต้องทำอะไรเลย ถึงเวลาไปก็ไปเลย ถึงเวลาอยู่ก็อยู่ อยู่ก็อยู่ด้วยความเมตตา เวลาจากกันก็จากกันด้วยความเมตตา ก็เท่านั้นเอง ไม่เห็นต้องทำอะไรเลย แต่นี้เราไม่ฝึกซ้อมกัน พอถึงเวลาเราทำข้อสอบไม่ได้ ก็ทำอย่างไรได้ล่ะ เวลาคนจะตาย คนจะไปนี่เราห้ามเขาได้หรือเปล่า แล้วเรามาเสียอกเสียใจ เรามาวุ่นวายใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ จะเปลี่ยนแปลงความจริงได้หรือเปล่า แล้วมันทุกข์ตัวเราเอง ทุบอกตัวเราเอง เวลาเราเสียอะไรไปเราก็เสียใจ เวลาเราเสียใจก็เหมือนกัน เราเอาอะไรมาทุบศีรษะเราเอง ทุบไปทำไม มันได้ประโยชน์อะไร ก็ทำให้เราเจ็บตัวไปเปล่าๆ ใช่ไหม
แต่ถ้าเรามีปัญญาสอนใจว่ามันเป็นธรรมดา เป็นเรื่องที่จะต้องมีการเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว เราก็เตรียมตัวเตรียมใจ สอนอยู่เรื่อยๆ พอถึงเวลาเขาไป เราก็จะได้เฉยๆ ถ้าไม่เฉยแสดงว่าเราไม่มีอุเบกขาพอ ก็ต้องมาฝึกสติ มานั่งสมาธิ มาสร้างอุเบกขา พร้อมกับการมาเจริญปัญญาถึงจะทำข้อสอบได้ มีความรู้อย่างเดียวบางทีก็ยังทำใจไม่ได้ ถ้าไม่มีอุเบกขา ดังนั้นต้องมีสองอย่างถึงจะทำใจให้รู้สึกเฉยๆ ได้ ไม่วุ่นวาย ไม่เสียใจ ไม่เดือดร้อน
เร่งสร้างบารมีทำไมยิ่งเจอความทุกข์ ถาม : เวลาที่เราเร่งสร้างความดีบารมี แต่ทำไมยิ่งเจอความทุกข์ ความติดขัดครับ
พระอาจารย์ : อ๋อ มันเป็นธรรมดา เวลาทำความดีนี้ มันจะมีมารมาขวางกั้นอยู่เรื่อย เวลาทำความชั่วนี้ มีแต่มีมารมาเชียร์ มารมันไม่ขวาง เวลาไปกินเหล้านี่ โอ๊ย มันไปได้อย่างง่ายดาย ไฟเขียวตลอด พอจะหยุดกินเหล้านี้ คนนั้นคนนี้มาแหย่อยู่เรื่อย เฮ้ย ไปกินเหล้าไหม ไปงานเลี้ยงไหม ดังนั้นเป็นเรื่องธรรมดา อย่าไปคิดอะไรให้มันวุ่นวายใจ ให้รู้ว่าการทำความดีมันยาก เพราะอุปสรรคมันเยอะ การทำความชั่วมันง่ายเพราะอุปสรรคมันไม่ค่อยมี
จะทำอย่างไรให้เลิกนิสัยรักสวยรักงาม ถาม : จะทำอย่างไรให้เลิกนิสัยรักสวยรักงาม เลิกซื้อเสื้อผ้าที่สวยถูกใจได้อย่างเด็ดขาดคะ
พระอาจารย์ : คือเราก็ต้องมองว่าร่างกายของเรานี้มันเป็นกองขยะดีๆนี้เอง คือเป็นหนัง เป็นถุงพลาสติกแล้วก็ห่อของสกปรกอยู่ข้างในถุงนั้น ร่างกายของเรานี้เป็นถุงหนัง มีหนังล้อมรอบ แล้วก็เป็นเหมือนถุงหนังใบหนึ่ง เหมือนกระเป๋าหนัง แล้วสิ่งที่อยู่ในกระเป๋าหนังนี่ก็มีอวัยวะต่างๆ มีกะโหลกศีรษะ มีกระดูก มีโครงกระดูก มีตับ มีไต มีลำไส้ มีหัวใจ มีปอด แล้วก็มีน้ำชนิดต่างๆ น้ำเลือด น้ำเหลือง อะไรต่างๆ มันเต็มไปด้วยของขยะทั้งนั้น เขาเรียกปฏิกูลของไม่สวยไม่งาม ก็ลองท่องคาถาที่พระพุทธเจ้าสอนให้ท่องกันสิ อาการ ๓๒ อะยังโข เมกาโย กายของเรานี้แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป ที่มีหนังหุ้มห่อเป็นที่สุดรอบ มีอาการต่างๆ มีผม มีขน มีเล็บ มีฟัน มีหนัง แล้วก็มีเนื้อ ใต้หนังก็มีเนื้อ มีเอ็นรัดกระดูก มีโครงกระดูก มีปอด มีไต มีตับ มีหัวใจ มีลำไส้ มีสมอง ศีรษะ มีอาหารใหม่ อาหารเก่าอยู่ในลำไส้ แล้วก็มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำสเลด น้ำดี น้ำอะไรต่างๆ ถ้าอยากจะเลิกละความนิสัยสวยงามนี้ น่าจะลองท่องคาถานี้ดูนะ เอาเป็นภาษาไทย แต่เขาจะมาทั้งสองภาษา มาคู่กันและให้ท่องคู่กัน ถ้าไปตามวัดปฏิบัติ เขาจะให้ท่องคู่กัน เกสาคือผม โลมาคือขน นะขาคือเล็บ แล้วก็นึกถึงภาพเหล่านั้น ถ้ายังมองไม่เห็นก็ไปเปิดหนังสือ Anatomy ดู เป็นนักศึกษาแพทย์กัน แล้วต่อไปเราก็จะไม่รู้สึกว่าร่างกายของเรา หรือของใครสวยงาม เราจะได้ไม่ต้องไปแข่งความสวยงามกับคนอื่น เขาอยากจะแข่งสวยงามก็ปล่อยเขาแข่งไป เขาก็เพียงแต่ตกแต่งไอ้กระเป๋าหนังใบนี้ให้มันดูสวยข้างนอก เท่านั้นเอง แต่ถ้าไปเปิดกระเป๋าหนังเข้าไปข้างใน ลองไปถามหมอสิ เวลาคนไข้ไปให้ผ่าตัดนี่เป็นอย่างไรบ้าง เหมือนกันหมด แต่เราขาดปัญญาในเรื่องของสรีระร่างกายของเรา เรามองเห็นเพียงแต่ภายนอก เห็นแต่ตัวกระเป๋าเท่านั้นเอง แต่เราไม่เห็นของที่เก็บอยู่ในกระเป๋า แต่สมมุติว่าถ้าคุณมีกระเป๋าสวยๆ ราคาแพงๆ แต่พอเปิดเข้าไปข้างในมีแต่ขยะนี่เป็นอย่างไร เก็บแต่ขยะ มันก็เป็นลักษณะอย่างนั้น ร่างกายของเรา เราปรุงแต่งมันด้วยวิธีการต่างๆ ให้มันดูสวยดูงาม แต่เราไม่สามารถขนของสกปรกที่มีอยู่ในร่างกายนี้ทิ้งไปหมด ให้เป็นร่างกายกลวงๆ นี้เป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม ของที่เป็นปฏิกูลทั้งหลายก็ยังต้องมีอยู่ในร่างกาย เพราะขาดของปฏิกูลเหล่านี้ ร่างกายก็อยู่ไม่ได้ นี่ล่ะ ถ้าเราดูบ่อยๆ แล้วต่อไปเราอาจจะเฉย เราจะได้ไม่หลงไปกับความสวยความงามของร่างกาย เราก็จะอยู่แบบสมถะเรียบง่าย เสื้อผ้าก็ไว้สำหรับหุ้มห่อร่างกายเท่านั้นเอง ปกปิดอวัยวะ หรือป้องกันภัยจากความหนาว ความร้อน หรือแมลงสัตว์กัดต่อย ของมีคมทั้งหลายที่อาจจะเข้าไปถูก แล้วอาจจะทำให้เกิดแผลขึ้นมาได้ ก็เลยต้องมีเครื่องนุ่งห่ม มีรองเท้าอะไร แต่ใส่เพื่อปกป้องเพื่อสุขภาพ ไม่ได้ใส่เพื่อเสริมสวยความงามของร่างกายที่สกปรกอันนี้ ปฏิกูล
แรงบุญแรงบาป ถาม : คำว่าสัมภเวสีนี้หมายถึงอะไร
พระอาจารย์ : พวกเปรต
ถาม : อย่างนี้ความเข้าใจที่ว่าสัมภเวสี ยังไม่ได้ขึ้นหรือลงก็ไม่ถูก
พระอาจารย์ : ไม่ถูก สัมภเวสีเป็นภพหนึ่งแล้ว เป็นเปรต เป็นจิตที่อยู่ในสภาพนั้น สมมุติว่าจิตเป็นเหมือนลูกแก้ว ภพต่างๆเป็นสีต่างๆ พอจิตเป็นสีแดงก็เป็นนรก พอเป็นสีเขียวก็เป็นสวรรค์ จิตจะแดงหรือเขียว อยู่ที่สังขารความคิดปรุงแต่ง ปรุงแต่งไปทางความทุกข์ ก็จะแดงขึ้นมา ปรุงแต่งไปในทางธรรมะ ปล่อยวาง ให้ทาน รักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็เขียวขึ้นมา เป็นสุคติขึ้นมา อยู่ที่จิต นรกสวรรค์หรือภพภูมิต่างๆนี้ไม่เป็นสถานที่ ยกเว้นภพของมนุษย์กับเดรัจฉาน ที่ต้องมีกายหยาบ จึงเกี่ยวข้องกับสถานที่ เหมือนกับตอนที่เรานอนหลับ ร่างกายก็อยู่เฉยๆ แต่ใจไม่เฉย ถ้าฝันดีก็เป็นสวรรค์ ถ้าฝันร้ายก็เป็นอบาย เป็นนรกเป็นเปรตเป็นเดรัจฉาน พอตื่นขึ้นมาก็กลับมาเป็นมนุษย์ ตอนที่หลับไปนี้เราควบคุมความคิดปรุงแต่งไม่ได้ เป็นไปตามบุญตามกรรม พอตื่นขึ้นมาก็มีสติพอควบคุม อยู่ในสภาพของมนุษย์ได้ แต่บางครั้งก็ไม่ได้เหมือนกัน เวลาที่มีเรื่องราวที่หนักหนาสาหัส ก็ทำให้จิตทรุดลงไป ร้อนเป็นนรกได้ ถ้าได้ทำบุญปฏิบัติธรรม ก็ทำใจให้มีความสุข เป็นสวรรค์ขึ้นมา ความคิดปรุงแต่งเหล่านี้จะสะสมอยู่ในใจ จนเป็นนิสัยไป พอถึงเวลาที่ใจออกจากร่าง ตอนนั้นจะถูกอำนาจของบุญกรรมพาไป ตัวไหนมันมีกำลังมากกว่า ตัวนั้นก็จะบังคับให้จิตเป็นไป ถ้าบุญมีแรงมากกว่าก็จะพาไปสุคติ ถ้าบาปกรรมมีแรงมากกว่า ก็จะพาให้ไปทุคติ ไปอบาย จะผลัดกันทำหน้าที่ จนกว่าจะสามารถทำจิตให้เป็นนิพพาน
การมีสติในชีวิตประจำวันกับจิตว่างต่างกันอย่างไร ถาม : การมีสติในชีวิตประจำวันกับจิตว่าง ต่างกันอย่างไรครับ ถ้าจิตว่างคือจิตโปร่งว่างแบบไม่รู้สึกตัว พอรู้สึกตัว รู้สึกจิตไม่ว่างทันทีคือจิตครุ่นคิดนั่นนี่โน้นไปเรื่อย น้อมกราบขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ครับ
พระอาจารย์ : คำว่าจิตว่าง จริงๆคือจิตที่สงบนิ่งนั่นเอง ปราศจากความคิดปรุงแต่ง คือจิตที่อยู่ในฌาน อยู่ในสมาธิ อันนี้เป็นจิตว่าง ถ้าเรายังคิดนั่นคิดนี่อยู่เราไม่เรียกว่าเป็นจิตว่าง จะจิตว่างจริงๆนี้ต้องไม่มีความคิดปรุงแต่ง เหลือแต่สักแต่ว่ารู้เพียงอย่างเดียว แล้วในสักแต่ว่ารู้นั้นก็มีความสงบ มีความสุข มีอุเบกขา ถึงเรียกว่าจิตว่าง ทีนี้จิตว่างนี้ก็มีสองระดับ จิตว่างแบบชั่วคราว เราก็เรียกว่าสมาธิ จิตว่างแบบถาวรเราก็เรียกว่านิพพาน นิพพานนี้ก็คือจิตที่ได้ชำระความโลภ โกรธ หลง กำจัดหมดสิ้นไปจากใจ จึงไม่มีอะไรมาทำให้จิตไม่ว่าง เหตุที่ทำให้จิตไม่ว่างก็คือความโลภ ความโกรธ ความหลงที่คอยไปกระตุ้นความคิด ให้คิดถึงเรื่องนู้น คิดอยากได้นั้น คิดอยากได้นี้ขึ้นมา จิตมันก็จะไม่ว่างเพราะมันต้องคอยคิดหานู่นหานี่มาตอบสนองความต้องการของกิเลส แต่ถ้าไม่มีกิเลสแล้วก็ไม่มีอะไรไปผลักดันให้จิตไปคิดอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ถึงแม้จิตจะมีความคิดก็เป็นความคิดที่ไม่สร้างอารมณ์ขึ้นมา คือความคิดนี้ยังมีอยู่ แต่เป็นความคิดที่ปราศจากความโลภ โกรธ หลงเป็นผู้ผลักดัน ไม่คิดไปในทางโลภ โกรธ หลง คิดไปในทางธรรม คิดไปในทางไตรลักษณ์ หรือคิดไปในทางกลางๆ คือคิดว่าไอ้นี่เป็นไอ้นั่น ไอ้นั่นเป็นไอ้นี่ก็คิดไป แต่จะไม่มีความรัก ความชังตามมาจากการที่ไปคิดว่าไอ้นั่นเป็นไอ้นี่ ไอ้นี่เป็นไอ้นั่น ดังนั้นจิตว่างมันก็มีสองแบบ เวลาสงบกิเลสมันก็หยุดทำงานชั่วคราว มันก็เป็นเหมือนนิพพานชั่วคราว แต่มันยังไม่ตาย พอออกจากสมาธิมา กิเลสก็ออกมาทำงานต่อ แต่สำหรับนิพพานนี่กำจัดกิเลสหมดแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในสมาธิหรืออยู่นอกสมาธิ จิตก็ว่างตลอดเวลา แต่คิดได้ แต่ความคิดก็เป็นเพียงกิริยา ไม่มาสร้างอารมณ์ ไม่มาสร้างความทุกข์ ความวุ่นวายใจให้กับจิตอีกต่อไป
พิจารณาเรื่องความตายแล้วรู้สึกหดหู่ ถาม : พระอาจารย์ให้พิจารณาเรื่องความตาย มันรู้สึกหดหู่ ใจหาย ที่เราจะต้องจากคนที่เรารัก เวลาหดหู่ควรจะทำอย่างไรดีคะ
พระอาจารย์ : ก็แสดงว่าจิตเราไม่มีสมาธิพอ ก็ตอนนี้ยังไม่ต้องพิจารณาทางปัญญา พิจารณาแล้วมันเกิดโทษไม่เป็นประโยชน์ ตอนนี้ต้องมาฝึกทำใจให้สงบให้มีอุเบกขาก่อน เพราะถ้าใจมีอุเบกขาแล้วมันจะเฉยๆกับสิ่งที่เราคิด มันเป็นเพียงความคิดเท่านั้นเอง ขนาดความคิดเรายังหดหู่เลย ยังไม่ได้เจอของจริงเลย แล้วเวลาไปเจอของจริงมันจะเป็นยังไง แสดงว่าใจเรานี่ไม่มีความหนักแน่นเลย ไม่มีอุเบกขาเลย มีความรักชังกลัวหลงมาก พอเพียงแต่คิดเท่านั้นก็เกิดความกลัวขึ้นมาแล้ว งั้นต้องมาฝึกทำสมาธิก่อน ทำใจให้สงบก่อน ถึงบอกทุกครั้งว่าการเจริญปัญญานี้มันทำไม่ได้ถ้าไม่มีไม่มีสมาธิ คนสมัยนี้ อ๋อ..คิดว่าฉลาด เก่ง เรียนหนังสือจบปริญญา ใช้ปัญญาได้เลย มันใช้ไม่ได้หรอก มันได้แต่คิดแต่เรื่องที่มันคิดได้ เรื่องที่มันไม่กล้าคิดมันไม่กล้าคิดหรอก เรื่องความตายมันไม่ค่อยคิดกันหรอก เรื่องอสุภะมันไม่คิดกันหรอก จะคิดแต่เรื่องของสวยๆ งามๆ หน่ะคิดได้ งั้นมันไม่ใช่หรอกนะ ถ้าจะเป็นปัญญานี้มันจะต้องคิดเรื่องที่เราไม่ชอบคิดกัน เช่นความแก่ความเจ็บความตาย การพลัดพรากจากกัน อสุภะอาการ ๓๒ ความสกปรกของอาหาร เวลามันถูกขับถ่ายออกมาจากร่างกาย อันนี้คือสิ่งที่เราไม่ยอมคิดกันหรอก นี่แหละคือปัญญา ถ้าไม่มีความคิดเหล่านี้อยู่ในใจไม่สามารถดับกิเลสได้หรอก มันจะหลงชอบไปหมด เห็นอาหารก็อยากจะกินขึ้นมา เพราะมันไม่มองเวลาที่มันออกมาจากร่างกายว่าเป็นอย่างไร งั้นต้องพยามทำสมาธิให้มากๆ วิธีจะทำสมาธิได้ก็ต้องตั้งใจตั้งสติก่อน ลืมตาขึ้นมาก็ พุธโธๆ ไปเลย แล้วต่อไปมันก็จะมีอุเบกขาเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
มีความวิตกกังวลเรื่องความสะอาด ถาม : ทำอย่างไรจะปล่อยวางความกลัวเจ็บไข้ได้ป่วย ที่ทำให้ไม่กล้าเดินทางไปไหนไกลๆ เพราะส่วนหนึ่งของความเจ็บป่วยมีสาเหตุจากความวิตกกังวลเรื่องความสะอาดมากไป อนามัยจัดครับ
พระอาจารย์ : ก็ต้องหมั่นระลึกอยู่เรื่อยๆว่าเมื่อเราเกิดมาแล้วเราต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นธรรมดา ล่วงพ้นไปไม่ได้ ต่อให้เราระมัดระวังขนาดไหนก็ตาม เดี๋ยวไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย หนีไม่พ้น ถ้าเราคิดอย่างนี้แล้วเราก็อาจจะว่าเมื่อถึงคราวที่มันจะเป็น ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรืออยู่ที่ไหนมันก็เป็นได้ทั้งนั้น แต่ให้เรามีความระมัดระวังก็แล้วกัน ถ้าเราไปที่อื่น ที่ไหนที่มันไม่สะอาด เราก็ทำความสะอาดก่อนสิ เข้าไปห้องน้ำเห็นมันสกปรก เราก็ทำความสะอาดเสียก่อนแล้วค่อยใช้มันก็ได้
30/6
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0
|
|
« ตอบ #54 เมื่อ: 17 กันยายน 2565 12:52:26 » |
|
ไม่ต้องทำอะไร ถาม : เวลานั่งไปถึงตรงที่จิตแยกออกจากกาย ควรดึงกลับมาหรือควรจะเฉยๆ ปล่อยเขาไป
พระอาจารย์ : เวลาจิตสงบจะปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ตอนนั้นไม่ต้องทำอะไร
ถาม : ปล่อยให้เขาแยกหรือคะ
พระอาจารย์ : ให้เขาอยู่ตามลำพัง ปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ปล่อยตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เวลาทำสมาธิจะดึงกระแสของจิต ที่ไปเกาะติดอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ให้เข้ามาข้างในจิต เหมือนเดินเข้าไปในถ้ำ จะปล่อยวางเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ พอเข้าไปถึงก้นถ้ำแล้ว จะไม่รับรู้กับเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ จะพักอยู่ในนั้น เพราะเป็นที่เย็นสบาย มีความสุขมาก จนกว่ากำลังของสติจะอ่อนลง กระแสของกิเลสก็จะผลักออกมา ออกมารับรู้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะต่อไป
ถาม : ไม่ดึงออกมา
พระอาจารย์ : ไม่ต้องดึงออกมา ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อให้จิตเข้าไป พอเข้าไปแล้วก็อย่าดึงออกมา ปล่อยให้อยู่ในความสงบจนกว่าจะออกมาเอง ..”ที่ออกมาก็เพราะยังไม่ได้เข้าไปถึงที่”.. ถ้าถึงที่แล้วจะไม่อยากออกมา เพราะมีความสุขมาก เบาสบายมาก.
เพื่อนชอบโม้ คำถาม: ถ้ามีเพื่อนชอบโม้ อวดใส่เรา ทั้งๆ ที่เรารู้ว่าสิ่งที่เขาพูดมามันไม่ใช่หรอก เขาจะทำตัวฉลาดกว่า แต่ผมก็ไม่ได้ถือเรื่องนี้ว่าสำคัญอะไร แล้วก็ปล่อยผ่านครับ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ เราต้องเลิกคบกับเขาไหมครับ
พระอาจารย์: อ๋อ ถ้าเรามีความจำเป็นที่จะต้องคบกันก็คบกันไป แต่ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ต้องไปหาเขา ติดต่อกับเขา แต่ไม่ให้รังเกียจเวลาที่เราต้องเจอกับเขา เราก็ทักทายกันไปตามมารยาท คือไม่รังเกียจแต่ก็ไม่คลุกคลีกับเขา ไม่สนิทชิดชอบกัน เราต้อนรับเขาไปตามมารยาท แต่ถ้าเขาพูดอะไรเลอะเทอะเราก็ขอตัวไปก็แล้วกัน แยกตัวไปทำธุระของเรา
แรงบุญแรงบาป ถาม : คำว่า สัมภเวสี นี้หมายถึงอะไร
พระอาจารย์ : พวกเปรต
ถาม : อย่างนี้ความเข้าใจที่ว่าสัมภเวสี ยังไม่ได้ขึ้นหรือลงก็ไม่ถูก
พระอาจารย์ : ไม่ถูก สัมภเวสีเป็นภพหนึ่งแล้ว เป็นเปรต เป็นจิตที่อยู่ในสภาพนั้น สมมุติว่าจิตเป็นเหมือนลูกแก้ว ภพต่างๆเป็นสีต่างๆ พอจิตเป็นสีแดงก็เป็นนรก พอเป็นสีเขียวก็เป็นสวรรค์ จิตจะแดงหรือเขียวอยู่ที่สังขารความคิดปรุงแต่ง ปรุงแต่งไปทางความทุกข์ ก็จะแดงขึ้นมา ปรุงแต่งไปในทางธรรมะ ปล่อยวาง ให้ทาน รักษาศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็เขียวขึ้นมา เป็นสุคติขึ้นมา ..อยู่ที่จิต นรกสวรรค์หรือภพภูมิต่างๆ นี้ไม่เป็นสถานที่ ยกเว้นภพของมนุษย์ กับเดรัจฉาน ที่ต้องมีกายหยาบ จึงเกี่ยวข้องกับสถานที่ เหมือนกับตอนที่เรานอนหลับ ร่างกายก็อยู่เฉยๆ แต่ใจไม่เฉย ถ้าฝันดีก็เป็นสวรรค์ ถ้าฝันร้ายก็เป็นอบาย เป็นนรกเป็นเปรตเป็นเดรัจฉาน พอตื่นขึ้นมาก็กลับมาเป็นมนุษย์ ตอนที่หลับไปนี้..เราควบคุมความคิดปรุงแต่งไม่ได้ เป็นไปตามบุญตามกรรม พอตื่นขึ้นมาก็มีสติพอควบคุม อยู่ในสภาพของมนุษย์ได้ แต่บางครั้งก็ไม่ได้เหมือนกัน เวลาที่มีเรื่องราวที่หนักหนาสาหัสก็ทำให้จิตทรุดลงไป ร้อนเป็นนรกได้ ถ้าได้ทำบุญปฏิบัติธรรม ก็ทำใจให้มีความสุข เป็นสวรรค์ขึ้นมา ความคิดปรุงแต่งเหล่านี้จะสะสมอยู่ในใจ จนเป็นนิสัยไป พอถึงเวลาที่ใจออกจากร่าง ตอนนั้นจะถูกอำนาจของบุญกรรมพาไป ตัวไหนมันมีกำลังมากกว่า ตัวนั้นก็จะบังคับให้จิตเป็นไป ถ้าบุญมีแรงมากกว่าก็จะพาไปสุคติ ถ้าบาปกรรมมีแรงมากกว่า ก็จะพาให้ไปทุคติ ไปอบาย จะผลัดกันทำหน้าที่ จนกว่าจะสามารถทำจิตให้เป็นนิพพาน
แนวทางการฝึกแยกกายออกจากจิต ถาม: การฝึกแยกกายออกจากจิต มีแนวทางอย่างไรเจ้าคะ ก่อนเราจะตายจะฝึกทนความเจ็บปวดได้มากน้อยเพียงไรเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็มี ๒ วิธี วิธีแรกก็คือฝึกแยกจิตกับกายด้วยการเข้าสมาธิ เวลาจิตเข้าสมาธิจิตมันก็จะแยกออกจากกาย เวลาเข้าสมาธิร่างกายจะปวดตรงไหนจะเจ็บตรงไหน จิตไม่รับรู้ หรือรับรู้ก็ไม่เดือดร้อน นี่เรียกว่าวิธีแยกจิตออกจากกายด้วยสมาธิก่อน พอแยกด้วยสมาธิเวลามันกลับมารวมกัน เวลาออกจากสมาธิแล้ว จิตกับกายกลับมารวมกัน ก็คอยสอนใจด้วยปัญญาว่าเราไม่ได้เป็นร่างกาย เราอย่าไปวุ่นวายกับร่างกาย มันจะเป็นอะไรก็ช่างมัน ถ้าช่วยมันได้ก็ช่วยมันไป ถ้าช่วยไม่ได้ก็ช่างหัวมัน นี่คือแยก ๒ วิธี ต้องแยกด้วยสมาธิก่อน แล้วถึงจะมาแยกด้วยปัญญาได้ ถ้าไปแยกด้วยปัญญาแล้วมันจะแยกไม่ได้ถ้าไม่มีสมาธิ ถ้ายังไม่ได้แยกด้วยสมาธิมันยังติดกันอยู่ เราต้องแยกออกจากกันด้วยสมาธิก่อน แล้วเราเห็นประโยชน์ของการที่แยกใจออกจากร่างกายว่ามันทำให้ใจเบาใจสบาย พอเราออกจากสมาธิมา พอมารวมกัน พอจิตจะไปยึดไปติดกับร่างกาย ก็บอกว่ามันไม่ใช่ตัวเราอย่าไปยึด ยึดแล้วจะทุกข์ พอไม่ยึดมันก็ไม่ทุกข์ นี่คือวิธีแยกกายกับแยกจิตออกจากกัน ต้องแยกด้วยสมาธิ แล้วก็แยกด้วยปัญญา
ทุกข์เกิดที่ใจก็ต้องดับที่ใจ คำถาม : เคยฟังพระพูดว่าทุกข์อยู่ที่ไหนให้ดับที่นั่น หมายความว่าอย่างไรเจ้าคะ แล้วทำอย่างไรล่ะเจ้าคะ
พระอาจารย์ : อ้าว
เวลาไฟลุกจะไปดับไฟที่ไหนล่ะ ไฟลุกที่บ้านแล้วไปดับไฟที่รถมันจะได้หรือเปล่า ไฟลุกที่บ้านก็ต้องดับไฟที่บ้าน “ทุกข์มันเกิดที่ใจ ก็ต้องไปดับที่ใจ” แต่เราโง่กัน เวลาเกิดความทุกข์ใจเราก็ไปดับที่คนนั้น เพราะเราไปคิดว่าเขาทำให้เราทุกข์ เช่น คนเขาด่าเราอย่างนี้ เราก็เลยไปจัดการกับเขาเพื่อเราจะได้หายทุกข์ มันไม่หายหรอก ทุกข์มันเกิดที่ใจเรา ต้องดับทุกข์ที่ใจ สาเหตุที่ทำให้ใจทุกข์ก็เพราะ “ไม่อยากให้เขาด่าเรา” เรามาหยุดสาเหตุนี้ อย่าไปอยากให้เขาไม่ด่าเรา ปล่อยให้เขาด่าเรา พอเราหยุดความอยากไม่ให้เขาด่าเราได้ ต่อไปเขาด่าเรากี่ครั้ง เราก็ไม่ทุกข์ เพราะเรา “ไม่มีความอยาก” ไม่ให้เขาด่าเรา เรากลับจะดีใจ โอ้..วันนี้เขาด่าเราแสดงว่าเขาคิดถึงเรานะ เขารักเรา เขาชอบเรานะ ฉะนั้นอย่าไปแก้ ความทุกข์ใจต้องแก้ที่ใจ แก้ที่สาเหตุของใจ ดับความอยากของใจแล้ว “ความทุกข์ใจก็จะหายไป” อย่าไปแก้ที่คนที่เขาด่าเรา ไม่จบ พอเขาด่าเรา เราก็ด่าเขากลับ เขาก็เลยตีเราซิ เขาตีเรา เราก็ฆ่าเขาซิ มันก็ไปกันใหญ่
ทำบ้านให้เป็นเหมือนวัด คำถาม: การทำบ้านเป็นวัดต้องทำอย่างไรครับ
พระอาจารย์: ก็เหมือนกับที่วัดเขาไม่มีทีวี เราก็ต้องปิดทีวี เอาทีวีเข้าตู้ ของต่างๆ ที่เราหาความสุขเพื่อทางตาหูจมูกลิ้นกายนี้ ทางวัดเขาจะไม่ให้มี เราก็ต้องเอาไปเก็บไว้ คือเราต้องทำห้องใดห้องหนึ่งให้เป็นห้องว่างๆ ไม่มีอะไรเลย แล้วเราถือว่าห้องนั้นเป็นวัดได้ มีแต่ที่นั่งที่นอน ที่ปฏิบัติธรรมเท่านั้นเอง ก็ทำเหมือนเวลาเราไปอยู่วัด เขามีห้องพักให้เราอยู่ มีอะไรในห้องพักในวัด ไม่มี ก็มีแต่ที่นอนเท่านั้นเอง มีหมอนกับเสื่อให้เรานอน แล้วก็ห้องน้ำให้เราใช้ อันนี้แหละคือการทำบ้านให้เป็นเหมือนวัด ก็คือต้องทำให้ไม่มีอะไรเลย ถ้ามีเราก็แยกเป็นส่วนไป จัดห้องไว้ห้องหนึ่ง ให้เป็นวัดไป ห้องนี้จะเป็นห้องที่เราปฏิบัติธรรม เราจะขังตัวเองอยู่ในห้องนี้ เราจะไม่มีตู้เย็น ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มีโทรทัศฯ ไม่มีอะไรให้เรารับรู้กับเรื่องราวต่างๆ ทางจมูกลิ้นกาย นี่คือการทำบ้านให้เป็นวัด แล้วนอกจากนั้น พอมันเป็นวัดแล้ว เราก็ต้องปฏิบัติธรรม ถึงจะเป็นวัดด้วย ไม่ใช่ห้องมันเป็นวัดแล้วก็เข้าไปนอนหลับอย่างเดียว ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่รักษาศีล ไม่นั่งสมาธิ มันก็ยังไม่เป็นวัด การจะเป็นวัด มันต้องเป็นวัดทั้งสถานที่และจิตใจควบคู่กันไป 14/9
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2565 19:51:15 » |
|
กลับมาบวชได้ถ้าไม่ได้สึกไปเพราะทำปาราชิก คำถาม: เรียนถามพระอาจารย์ครับ ถ้าเราเคยบวชเรียนแล้วครั้งหนึ่ง แล้วสึกออกไปทำงาน อนาคตเราสามารถกลับมาบวชอีกได้ไหมขอรับ
พระอาจารย์: ถ้าไม่ได้สึกไปเพราะทำปาราชิก ๔ ข้อ ก็สามารถที่จะกลับมาบวชได้ ปาราชิก ๔ ข้อ ก็คือ ฆ่ามนุษย์ แล้วก็เสพกาม ร่วมหลับนอนกับญาติโยมตอนที่ยังเป็นพระอยู่ แล้วก็ลักทรัพย์ แล้วก็ข้อสุดท้าย อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวตน อวดว่าเป็นพระโสดาแล้ว ได้ฌานแล้ว อะไรโดยที่ไม่มี อย่างนี้ ถ้าทำอย่างนี้ถูกจับสึกไป เขาไม่ให้มาบวชอีก
บุญไม่ลบล้างบาป คำถาม: จะผิดศีลไหมคะ ถ้าทำงานในสิ่งที่ได้รายได้ด้วย แต่ในส่วนหนึ่งก็เพื่อจะทำเป็นการกุศลด้วยแบบนี้ค่ะ อย่างนี้ผิดหรือเปล่าคะ
พระอาจารย์: อ๋อ การทำงานก็เรื่องหนึ่ง การทำกุศลก็อีกเรื่องหนึ่ง การทำงานของเราบางทีอาจจะผิดศีลก็ได้ ถ้าเราทำอาชีพค้าสัตว์ ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แล้วเอาเงินนี้ไปทำบุญทำกุศลนี่ มันก็ได้บุญ ยิ่งทำบุญก็ได้บุญ แต่บาปที่เราทำเพื่อให้ได้เงินมามันก็ได้บาปด้วย มันไม่ลบล้างกัน
ธาตุรู้ ถาม: ทราบว่าธาตุทั้ง ๖ มีความเป็นอมตะ หากสร้างบุญกุศล ทาน กับธาตุทั้ง ๖ แล้ว อานิสงส์จะมากและยาวนาน ความเข้าใจถูกต้องไหมครับ
พระอาจารย์: คือการทำบุญเราไม่ได้ไปทำกับธาตุทั้ง ๖ หรอก เราทำกับธาตุรู้ธาตุเดียว ธาตุรู้นี้เป็นผู้ที่รับผลบุญผลบาปที่เราทำ และผู้ที่จะทำก็คือถ้ารู้นี่เอง งั้นธาตุอื่นนี้เขาก็เป็นเพียงแต่องค์ประกอบของโลก เช่นดินน้ำลมไฟ มันก็ทำให้มีต้นไม้ใบหญ้า มีสัตว์ มีมนุษย์ มีร่างกายของมนุษย์ มีร่างกายของสัตว์เดรัจฉาน แต่ผู้ที่สร้างบุญสร้างกรรมผู้ที่รับผลบุญผลกรรมก็คือธาตุรู้คือใจนี่เท่านั้นเอง
ภาวะตกจากที่สูงในขณะทำสมาธิ คำถาม: ภาวะตกจากที่สูงในขณะทำสมาธิคืออะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
พระอาจารย์: อ๋อ เป็นขณะที่จิตจะเข้าสู่ความสงบแก้ไขไม่ได้ เพราะเราต้องการให้มันเข้าสู่ความสงบ เวลาจะเข้าสู่ความสงบมันก็มักแสดงอาการเหมือนตกจากที่สูงลงมา ก็ให้รู้เท่านั้นเอง แต่ที่สูงที่ปลอดภัย จะมีเบาะหนาๆ รองรับอยู่ข้างล่าง ไม่เจ็บตัว พอร่วงลงมาแล้วจะอิ่มใจสุขใจ เบาใจสบายใจ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวถ้าได้ภาวะอย่างนี้ถือว่าจิตได้เข้าสู่ความสงบแล้ว แล้วพอมันสงบแล้วก็อย่าไปทำอะไร พยายามประคองให้มันอยู่ในความสงบไปนานๆ ยังไม่ต้องไปพิจารณาทางปัญญา เรากำลังหัดยืนหัดเดินอยู่ อย่าเพิ่งไปวิ่ง เรากำลังคลาน เพิ่งรู้จักยืน อย่าเพิ่งไปเดิน พยายามยืนให้มันได้แบบไม่ล้มก่อน พยายามฝึกสมาธิไปบ่อยๆ มากๆก่อน ให้มีความชำนาญ ให้อยู่ได้นานๆ ให้เข้าได้ทุกเวลา เข้าได้อย่างง่ายดายรวดเร็วก่อน แล้วค่อยไปทางปัญญา ทางปัญญาก็ต้องรอตอนที่ออกจากสมาธิ ตอนที่อยู่ในสมาธิไม่ให้ทำอะไร ให้จิตพักผ่อน พอจิตถอนออกจากความสงบเริ่มคิดปรุงแต่งแล้ว ทีนี้เราจึงค่อยเอามาพิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาอสุภะ พิจารณาอาการ ๓๒ พิจารณาการเกิดแก่เจ็บตาย พิจารณาความเสื่อมของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
วิธีปฏิบัติธรรมที่ทำได้ง่ายและได้ผลดี ถาม: วิธีปฏิบัติธรรมอย่างไรที่คนทั่วไปในสังคมทำได้ง่ายที่สุด และได้ผลดีที่สุดครับ
พระอาจารย์: ก็ท่องพุทโธไปทั้งวันสิ เวลาเราไม่รู้จะทำอะไรก็พุทโธๆๆ ไป อย่าปล่อยให้ใจคิดเรื่อยเปื่อย เป็นวิธีง่ายๆ แต่ทำยาก เพราะใจเราชอบคิดไม่ชอบพุทโธ งั้นเราต้องคอยเตือนใจว่า ต่อไปนี้เราต้องมาเปลี่ยนวิถีการดำเนินของใจเรา อย่าปล่อยให้คิด ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องคิด ถ้ามันคิดก็ให้มันคิดพุทโธๆๆ ไป
เวลาใกล้ตาย ถ้าไม่มีสติจะควบคุมจิตไม่ได้ ถาม: ตอนนี้คุณยายของผมเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย นอนติดเตียง หมดทางรักษา เป็นวาระสุดท้ายของชีวิต แต่ยังมีสติพยักหน้ารู้ตัวบ้าง ซึ่งในตอนนี้ ผมได้ให้ท่านเจริญสมาธิ โดยการกำหนดพุทโธพุทโธ และเปิดบทสวดมนต์โพชฌงค์ให้ฟัง แต่บางครั้งท่านจะหลุดลอย มีความฉุนเฉียว ไม่ได้ดังใจ และเพ้อละเมอถึงสิ่งแปลกๆ ถามคำถามแปลกๆ ผมกลัวท่านไปไม่สงบ ไม่สบาย จุดนี้ในฐานะลูกหลาน ต้องปฏิบัติอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
พระอาจารย์: ก็ต้องวางใจเป็นอุเบกขา เพราะมันอยู่เหนือวิสัยที่เราจะทำให้ท่านได้ มันเป็นเรื่องของผลของการดำเนินชีวิตของท่านมา มันก็จะแสดงผลในช่วงที่ใกล้จะตาย ถ้ามีสติใจมันก็จะสงบ ถ้าฝึกสติมาดีใจมันก็จะสงบ ถ้าฝึกสติมาไม่ดี มันก็จะเพ้อเจ้อเพ้อ บางทีหลงได้ งั้นพวกเราที่ยังอยู่นี้ ควรจะเอาตัวอย่างของคนที่จะตายนี่ มาสอนเราว่าอย่าประมาท รีบฝึกจิตฝึกใจให้มีสติ ให้จิตมันสงบ ให้ควบคุมจิตได้ เพราะเวลาใกล้ตายนี้ ถ้าไม่มีสตินี้ มันจะควบคุมจิตไม่ได้
ทำไมจิตของคนส่วนมากจึงไหลลงที่ต่ำ คำถาม: ทำไมจิตของคนส่วนมากจึงไหลลงที่ต่ำ ซึ่งในความเป็นจริงจิตใจของคนมันต้องเจริญเติบโตตามอายุ ไม่ใช่หรือครับ จะทำอย่างไรให้จิตคนทั่วไปสูงขึ้นตามอายุ หรือประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำครับ
พระอาจารย์: คือจิตไหลลงหรือขึ้นสูงนี้ มันอยู่ที่กิเลสหรือธรรม ถ้าใจมีกิเลสก็จะไหลลงต่ำ ถ้าใจมีธรรมมันก็จะไหลขึ้นสูง แต่คนส่วนใหญ่ที่มาเกิดในโลกนี้เป็นคนที่มีกิเลสมากกว่ามีธรรม คนที่มีธรรมนี้มีน้อย มีบ้าง อย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ท่านมีธรรมมา ท่านเลยดึงใจของท่านให้ขึ้นสูงได้ แต่คนส่วนใหญ่นี้จะดึงให้ลงต่ำ เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะให้ใจเราขึ้นสูง เราก็ต้องหมั่นศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม สร้างธรรมให้เกิดขึ้นมาภายในใจ พอมีธรรมมากขึ้นใจก็จะขึ้นสูงขึ้นไปตามลำดับ ถ้าไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติธรรม ปล่อยให้อำนาจของกิเลสครอบงำจิตใจ กิเลสก็จะคอยดึงให้ใจลงต่ำลงไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นขอให้เราเข้าใจหลักนี้ ถ้าเราอยากให้ใจเราขึ้นสูง เราต้องมีธรรม ถ้าเราไม่ต้องการให้ใจลงต่ำ เราต้องคอยปรามกิเลสตัณหา
ธรรมดาคนเราอยู่ด้วยกันบางทีก็มีขัดกันได้ ถาม: การที่เราเจออุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของคนอื่น นั่นคือกรรมของเราที่เคยทำไว้ในอดีต หรือเป็นกรรมใหม่ของบุคคลนั้นที่กำลังทำครับ
พระอาจารย์: อ๋อ มันเป็นได้หลายอย่าง มันก็เป็นเรื่องธรรมดา คนเราอยู่ด้วยกันในโลกนี้ มันก็บางทีก็มีขัดกันได้ แย่งกันแข่งขันกันมันก็ต้องมีการขัดขวางกันไปขัดขวางกันมา เป็นธรรมชาติของกิเลส ทุกคนอยากได้สิ่งเดียวกัน มันก็แย่งกันแข่งกันขวางกันไปขวางกันมา มันเป็นเรื่องของกิเลสที่เรามีมาตั้งแต่อดีต ถ้าเราไม่มีกิเลส เราก็ไม่ต้องมาแย่งกับใคร เราก็หาของเรา ถ้าตรงนี้เขาแย่งกัน เราก็ไปหาที่อื่น ถ้าได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ถ้าเราไม่มีกิเลส เราก็ไม่ต้องมีอะไรเราก็อยู่ได้ ไม่ต้องไปแก่งแย่งชิงดีกับใคร แต่ถ้าเรายังมีกิเลส ยังมีความอยากอยู่ เราก็ต้องไปแก่งแย่งชิงดีกับคนนั้นคนนี้ เพราะฉะนั้น พยายามลดละกิเลส ลดละความอยากไป แล้วต่อไปเราจะไม่มีปัญหากับใคร
ฝึกจิตอย่างไรจะพ้นจากเวทนาจากการนั่งสมาธิ ถาม: ต้องฝึกจิตอย่างไร ถึงจะพ้นจากเวทนาจากการนั่งสมาธิขอรับ
พระอาจารย์: ก็มันมี ๒ ระดับ ระดับสติ ก็เวลาเกิดความเจ็บทางร่างกาย ก็อย่าไปสนใจ ใช้สติ ให้บริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธ ไป อย่าส่งให้จิตไปคิดถึงความเจ็บ ถ้าไม่คิดถึงมันแล้ว ความเจ็บก็จะไม่สร้างความทรมานให้กับใจ ที่ใจทรมานเพราะใจอยากให้ความเจ็บหาย แต่พอใจมาบริกรรมพุทโธพุทโธ ก็จะไม่สามารถสร้างความอยาก ให้ความเจ็บหายได้ พอไม่สร้างความอยาก ใจก็จะไม่ทรมาน อันนี้ก็เป็นวิธีแรก แต่เป็นวิธีชั่วคราว เพราะถ้าใจกลับไปคิดถึงความเจ็บเมื่อไหร่ ก็จะเกิดความอยากให้หายเจ็บขึ้นมา ก็จะเกิดความทรมานใจ แล้วจะทนอยู่กับความเจ็บไม่ได้
วิธีที่ ๒ ที่จะแก้ ก็ต้องรอให้เราผ่านวิธีที่ ๑ ก่อน เพราะถ้าไม่ผ่านวิธีที่ ๑ เราจะไม่มีกำลังพอ ที่เราจะมาแยกเวทนา ความเจ็บ ออกจากใจ ออกจากร่างกาย ถ้าเรามีกำลังที่จะดึงใจออกจากเวทนาแล้ว ขั้นต่อไปเราก็มาสอนใจว่า เวทนานี้มันอยู่ที่ร่างกาย มันไม่ได้อยู่ที่ใจ ใจเป็นเพียงผู้ที่มารับรู้เวทนา ความเจ็บของร่างกาย ใจนี้ไม่ได้เจ็บไปกับร่างกาย ที่ใจเจ็บ เพราะใจอยากให้ความเจ็บหายไป แต่ใจก็ไม่สามารถที่ไปสั่งให้ความเจ็บนั้นหายไปได้ เพราะธรรมชาติของความเจ็บ มันเป็นอนัตตา มันไม่อยู่ภายใต้คำสั่งของใคร มันจะเกิดจะดับ มันมีเหตุมีปัจจัยของมัน
เพราะฉะนั้น จะให้มันดับเองนี้ ดับตามคำสั่งเราไม่ได้ พอไปอยาก ก็จะเกิดความทุกข์ทรมานใจขึ้นมา แต่พอเรารู้ว่าเราทำอะไรไม่ได้ เราก็เฉยๆ ไป ให้รับรู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ ใจเราก็จะไม่ทุกข์ไม่ทรมาน เราก็จะอยู่กับความเจ็บได้อย่างสบาย อันนี้เป็นขั้นวิปัสสนา ขั้นปัญญา ให้เรียนรู้ธรรมชาติของความเจ็บ ให้เรียนรู้ว่าความทุกข์ของเราเกิดจากอะไรเวลาที่ร่างกายเจ็บ ความทุกข์ของเราเกิดจากความอยาก อยากให้ความเจ็บของร่างกายหายไป ถ้าเรารู้ ไม่อยากไปทุกข์ เราก็อย่าไปอยาก ปล่อยให้มันเจ็บไป ปล่อยให้มันเกิดเองดับเอง เพราะทุกอย่างเป็นอย่างนี้
ของบางอย่างทำไมเราไม่ทุกข์ เพราะเราไม่ไปอยาก เช่น ฝนตก เราไม่ทุกข์เพราะเราไม่ได้ไปอยากให้มันหยุด แต่ถ้าเราไปอยากให้ฝนหยุดนี่ เราจะทุกข์ขึ้นมาทันที เพราะบางทีเราอยากจะทำธุระอะไรแล้วทำไม่ได้ ก็อยากให้ฝนหยุด พอฝนไม่หยุด ใจเราก็ทุกข์ขึ้นมาได้ แต่ถ้าเราไม่อยากจะทุกข์ เราก็ต้องปล่อยให้ฝนมันตกไปเรื่อยๆ จนกว่ามันจะหยุดเอง ฉันใด ความเจ็บของร่างกายก็เหมือนฝน เราก็ไปสั่งมันไม่ได้ ห้ามมันไม่ได้ แต่เราสามารถห้ามใจเรา ไม่ให้ไปทุกข์กับมันได้ ด้วยการอย่าไปอยากให้มันหาย มันจะอยู่ก็ปล่อยมันอยู่ไป มันจะหาย เดี๋ยวมันก็หายเอง
กราบไหว้ศาลเจ้าที่ผิดหลักของพุทธศาสนาไหมครับ ถาม: ในทางศาสนาพุทธไม่ให้กราบไหว้บนบานกับศาลเจ้าที่หรือศาลที่สถิตของวิญญาณ แต่เราแค่ยกมือไหว้ทำความเคารพตามมารยาท หรือตามธรรมเนียม แบบนี้จะผิดหลักของพุทธศาสนาไหมครับ
พระอาจารย์: อ๋อ การให้ความเคารพนี่ไม่ผิดหลักหรอก ศาสนาก็สอนให้เรารู้จักที่สูงที่ต่ำ ใครที่เขาสูงกว่าเรา เราก็ต้องเคารพเขา “ปูชา จ ปูชนียานัง เอตัมมัง คลมุตตมัง” บูชาแสดงความเคารพต่อผู้ที่เขาสูงกว่าเรา เช่น บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ครูบาอาจารย์ หรือผู้ที่มีพระคุณกับเรา เราก็ต้องให้ความเคารพกับเขา อันนี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิด เป็นเรื่องที่ดีเป็นมงคล งั้นถ้าเราเชื่อว่า มีเจ้าที่เจ้าทางเขาคุ้มครองเรา รักษาเรา เราก็ยกมือไหว้เขาไปก็ได้ ตามความเชื่อของเรา ส่วนจะมีจริงหรือไม่มีจริง ก็ต้องพิสูจน์เอาเองอีกที
ไม่ต้องกังวลถึงผลในอนาคต คำถาม: เราจะเพิ่มศรัทธาในการรักษาศีล ทำความเพียร ปฏิบัติได้อย่างไรครับ เพราะอย่างที่พระอาจารย์เทศน์ เราไม่รู้ว่าอบายภูมิหรือสวรรค์มีจริงหรือไม่จริง แล้วผลของการปฏิบัติเราก็ไม่รู้อีก สังคมเพื่อนปัจจุบันก็มีแต่ชวนไปทางเพลิดเพลิน รบกวนพระอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับ
พระอาจารย์: อ๋อ เราไม่ต้องกังวลถึงผลในอนาคตหรอกเพราะผลในปัจจุบัน เราก็มี ทำบุญเราก็มีความสุขใจสบายใจ รักษาศีลได้เราก็สบายใจ ดังนั้นดูที่ตรงนี้ก็แล้วกันเปรียบเทียบระหว่างดื่มสุรากับไม่ดื่มสุราดูว่าอย่างไหนดีกว่ากัน ดื่มสุราเสียหลายอย่าง เสียเงินเสียทอง เสียสติ เสียสุขภาพ ไม่ดื่มสุราก็ไม่เสียเงินเสียทอง ไม่เสียสุขภาพ ไม่เสียสติ ใจสบาย ดื่มแล้วเมา ตื่นขึ้นมาก็ปวดหัว อันนี้เราสามารถเห็นผลได้ในปัจจุบัน ส่วนผลในอนาคตนี้เราต้องภาวนาเราถึงจะเห็นได้ นั่งสมาธิ ถ้าเรานั่งสมาธิไม่ได้ก็เอาผลปัจจุบันไปก่อนแล้วก็เชื่อคนที่เขาเห็น เช่น พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์สาวกทั้งหลายที่เห็น ที่ท่านมาสอนให้พวกเราทำกันว่าชาติหน้ามีจริง อันนี้ก็ต้องอาศัยความเชื่อไปก่อน เพราะเรายังเป็นคนตาบอดอยู่ แต่ถ้าอยากจะเป็นคนตาดีก็ต้องฝึกนั่งสมาธิบ่อยๆ จิตสงบแล้วก็จะเห็นตัวจิต จะเห็นตัวที่ไปเกิดเองว่ามีจริง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2565 18:40:15 » |
|
หมอดูทักให้เปลี่ยน ถาม : มีหมอดูมาทักให้เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนเบอร์โทร อ้างว่าจะเกิดเหตุร้าย เจ็บป่วย ผ่าตัด จนถึงล้มละลาย เราไม่เชื่อ เราควรวางจิต และ ตอบโต้เขาอย่างไรดีค่ะ
พระอาจารย์ : ก็เปลี่ยนอะไรแล้วมันเปลี่ยนความแก่ ความเจ็บ ความตาย ได้หรือเปล่าล่ะ ถ้าเปลี่ยนได้ขอเปลี่ยนคนแรกเลยวันนี้(หัวเราะ) ถ้าเปลี่ยนแล้วไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย บอกมาเลยอยู่ที่ไหน จะไปขอเปลี่ยนด้วยคนนึง เฮ้อ.. เชื่อกัน งมงายเหลือเกิน ความจริงไม่ยอมมองกัน ชื่ออะไรก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย รวยขนาดไหนก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย จนขนาดไหนก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย เหมือนกันหมดทุกคน เปลี่ยนไม่ได้ความจริงนี้ จะเปลี่ยนได้ก็ คือการไม่เกิดเท่านั้นเอง การไม่เกิดก็ต้องหยุดความอยากสามตัว หยุดความอยาก กามตัณหา อยากเสพรูปเสียงกลิ่นรส อยากเที่ยว อยากดู อยากกิน อยากดื่ม อยากมีแฟนก็ต้องตัดไปให้ได้ อยากร่ำอยากรวย ก็ต้องตัดไปให้ได้ อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บก็ต้องตัดไปให้ได้ ถ้าตัดความอยากเหล่านี้ไปได้แล้วก็ จะไม่มีวันที่จะต้องกลับมาแก่ มาเจ็บ มาตาย อีกต่อไป.
ผู้ที่จะปฎิบัติธรรมต้องอดทนต่อความทุกข์ที่จะเกิดขึ้น ถาม: ทำไมยิ่งทำบุญ ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเข้าหาธรรมะมากเท่าไหร่ เหมือนว่ายิ่งเห็นทุกข์มาก ยิ่งมีสิ่งเข้ามารุมเรามาก บางครั้งทำให้รู้สึกเหนื่อย เบื่อหน่าย หนูต้องทำอย่างไรต่อไปดีเจ้าคะ
พระอาจารย์: ก็ปฏิบัติยังไม่ถึงที่ ยังไม่ได้ผลมันก็เลยทุกข์ พอเริ่มได้ผลแล้วความทุกข์มันก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ ไหม่ๆ ต้องทุกข์หน่อย ถึงต้องอดทน ผู้ที่จะปฎิบัติธรรมนี้ต้องอดทน ทนต่อความทุกข์ที่มันจะคอยเกิดขึ้นมา เพราะว่าเวลาปฎิบัติธรรมมันไปเที่ยวไม่ได้ไง ไปกินไปดื่มไม่ได้ เวลาไม่ปฏิบัตินี้มันไม่ทุกข์เพราะมันมีของดับทุกข์อยู่เรื่อยๆ เหมือนอยากจะดูก็ได้ดู อยากจะฟังก็ได้ฟัง อยากจะกินอยากจะดื่มก็ได้กินได้ดื่ม ทุกข์ก็เลยไม่เกิด เพราะว่ามีวิธีดับ แต่เป็นการดับแบบชั่วคราวและเป็นแบบที่จะทำให้ทุกข์เกิดมากขึ้นต่อไป แต่เวลาที่เราปฏิบัติเราฝืนความทุกข์ ฝืนความอยาก มันก็ต้องเกิดความทุกข์ขึ้นมาธรรมดา แต่ถ้าเราปฏิบัติจนถึงขีดที่เราหยุดความอยากได้ ตอนนั้นเราก็จะโล่งอก โล่งใจขึ้นมา เวลาใจสงบจากสติจากสมาธิชั่วคราวนี้ รู้สึกเหมือนกับยกภูเขาออกจากอกไปเลย แล้วต่อไปมันอยากจะปฏิบัติแล้วทีนี้ มันรู้แล้วว่าถึงแม้จะทุกข์ขนาดไหน เวลาที่ดับความทุกข์ได้นี่ เเหม มันรู้สึกคุ้มค่าเหนื่อย เป็นวิธีดับทุกข์ที่ทำให้ทุกข์ต่างๆ นี้มันไม่กลับมาเกิดอีก กลับมาเกิดก็น้อยลงหรือเบาลง ไม่เหมือนกับวิธีที่เราไปใช้ดับด้วยการไปเที่ยวไปกินไปดื่ม เวลามันหมดแล้วนี้มันยิ่งทุกข์ขึ้นมาใหญ่ อยากจะเที่ยวมากขึ้น อยากจะกินอยากจะดื่มมากขึ้น แล้วถ้าไม่ได้เที่ยวไม่ได้กินไม่ได้ดื่มขึ้นมา บางทีก็จะทุกข์มาก
ปฏิบัติแล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร คำถาม: ปฏิบัติไปแล้ว สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไรครับ
พระอาจารย์: ก็มองคนที่เรามีอารมณ์ด้วยว่าเป็นอนัตตาไง เขาเป็นอนัตตา เราไปควบคุมบังคับเขาไม่ได้ เหมือนฝนตกแดดออกนี่ ก็ไปควบคุมบังคับฝนไม่ได้ใช่ไหม
คำถาม: คือเราวางจิตให้เหมือนกับฝนตกแดดออก ไม่โกรธ ใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: ใช่ มองว่าเป็นเหมือนปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นอนัตตา
คำถาม: ถ้าเรามีความเข้าใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เราก็จะตัดกิเลสได้ ใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: ใช่ เราก็ตัดไปเหมือนดินฟ้าอากาศไป เราก็จะไม่พยายามเปลี่ยนเขา แก้เขา ก็ปล่อยให้เขาเป็นไปตามเรื่องของเขาไป เราเพียงแต่รับรู้ความเป็นจริง สักแต่ว่ารู้ไป
คำถาม: เราสามารถนำสิ่งที่ปฏิบัติมาใช้ได้ทันท่วงทีไหมครับ
พระอาจารย์: เราก็ต้องคอยใช้สติ คอยเฝ้าดูใจเราว่ากำลังมีปฏิกิริยากับอะไรหรือเปล่า ถ้ามีก็แสดงว่าเราไม่มีสติที่จะควบคุมจิตได้ เราต้องเฉยในทุกกรณี เราฝึกให้จิตเป็นอุเบกขา ให้เฉยตลอดเวลา งั้นถ้าเวลาเราไปเจอเหตุการณ์ เราเฉยด้วยสติไม่ได้ เราก็ต้องใช้ปัญญา มองว่ามันเป็นธรรมชาติ มองทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็น สัพเพ ธัมมา อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างนี้มันเป็นธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เหมือนพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก ฝนตกแดดออก ลมพัด อะไรอย่างนี้ มันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ใครเขาจะทำอะไร จะดีจะชั่ว จะกระโดดโลดเต้น เป็นบ้า มันก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ถ้าเรามองว่าเป็นธรรมชาติ เราก็จะเฉยๆ ไป ไม่ไปวุ่นวายไปกับใคร เรื่องของเขา ต้องพยายามพิจารณาอนัตตาให้เข้าใจ ว่าอนัตตาเป็นอย่างไร
คำถาม: คือวันหนึ่งเราจะมองว่า เขาเป็นเหมือนฝนตกแดดออก ใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: เออ ลองไปหัดดู หัดมองคน มองเขาเป็นธรรมชาติ แต่ถ้ามีหน้าที่อะไรทำได้ก็ทำไป เหมือนฝนตกหลังคารั่ว ถ้าเราอุดได้ก็ทำไป ถ้าอุดไม่ได้ก็ต้องปล่อยให้มันรั่วไป แต่ไม่ต้องไปโกรธ ไม่ต้องไปอะไร เพราะมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ
ต้องกราบขอบพระคุณพระพุทธเจ้า ถาม : สามีของลูกศิษย์คนหนึ่งหัวใจวายตายที่เชียงใหม่ เป็นทุกข์มาก เขาให้มากราบเรียนว่า ตั้งแต่เขาเริ่มเข้าวัดมาฟังท่านอาจารย์ ๒ ปี ทำให้เขาเข้มแข็งมาก เขาเข้มแข็งจริงๆค่ะ
พระอาจารย์ : ถ้ารู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็จะไม่ร้องห่มร้องไห้
ถาม : เขาบอกวันที่รดน้ำศพ เขาเข้าไปกราบสามี แล้วก็นึกถึงท่านอาจารย์ เพราะได้เห็นร่างกายซึ่งบวมมาก ได้เห็นอสุภะในวันนั้น ก็กราบขอบพระคุณมากค่ะ
พระอาจารย์ : ต้องกราบขอบพระคุณพระพุทธเจ้า ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าพวกเราก็จะไม่รู้
ถาม : เขาให้กราบเรียนด้วยค่ะ ว่าท่านอาจารย์ส่งข้อสอบยากที่สุดเลย ไม่ให้เขาสอบซ้อมเลย ให้สอบใหญ่เลย
พระอาจารย์ : จะได้ทำข้อสอบเลย ไม่อย่างนั้นจะไม่ยอมทำกัน พอทำจริงๆก็จะทำได้ ทุกคนต้องเจอข้อสอบนี้ ช้าหรือเร็ว ไม่ต้องกลัว พวกเราทำได้ เพราะมีธรรมะ ทำไมจะทำไม่ได้ ถ้ามีธรรมะ จะมีข้อสอบกี่ข้อก็สอบผ่านหมด ปลงไปเรื่อยๆ ปลงไปทุกวันๆ คนนั้นก็ตายคนนี้ก็ตาย คนนั้นก็ไปคนนี้ก็ไป ให้คิดอย่างนี้ ถ้าปลงตัวเราได้แล้ว ปลงคนอื่นได้อย่างสบายเลย ปลงตัวเราให้ได้ก่อน ถามตัวเราว่าวันนี้เราพร้อมที่จะตายหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็จะสบาย.
ไม่อุทิศก็ไม่ได้รับ ถาม: การทำบังสุกุล จริงๆจึงไม่จำเป็นใช่ไหม
พระอาจารย์: บังสุกุลในสมัยพุทธกาล เป็นการไปเก็บผ้าที่ทิ้งไว้ในป่า เพราะสมัยนั้นยังไม่มีการถวายผ้าจีวรให้กับพระ พระต้องหาผ้ามาเย็บเป็นจีวร ไปหาผ้าที่ทิ้งในป่าช้า เรียกว่าบังสุกุล ก็เลยเอาธรรมเนียมนี้มาใช้กับคนตาย เวลาคนตายก็นิมนต์พระมาบังสุกุล ถวายผ้าจีวรให้กับท่าน
ถาม: ซึ่งจริงๆไม่ได้ช่วยคนตายเลย
พระอาจารย์: เป็นเรื่องของพระ ให้พระมีผ้าจีวรไว้นุ่งห่ม ผู้ให้ก็ได้บุญ เป็นวัตถุทาน แต่คนตายไม่ได้อะไรเลย นอกจากบุญที่เราอุทิศให้เท่านั้นเอง ถ้าเป็นเปรตก็รับไป ถ้าไปเกิดบนสวรรค์เป็นเทพ บุญอุทิศไม่มีความหมาย เพราะเป็นเหมือนค่ารถ ที่จะพาให้ไปเกิดใหม่
ถาม: การอุทิศบุญนี้ไม่จำเป็นต้องทำพิธีอะไร อยู่ที่การตั้งจิตของเราส่งไปให้เขาเท่านั้น ใช่ไหม
พระอาจารย์: พอทำบุญให้ทานแล้ว ก็อุทิศไปในจิต อุทิศบุญส่วนนี้ให้แก่ผู้นั้นผู้นี้ ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ถ้ากำลังรอรับส่วนบุญส่วนนี้อยู่ ก็ขอให้มารับไปได้เลย ถ้าไม่อุทิศถึงแม้จะรอรับอยู่ก็รับไม่ได้
พรหมวิหาร ๔ ถาม: เกล้ากระผมอยากให้พระอาจารย์อธิบายพรหมวิหาร ๔ ครับ คือความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาที่ถูกต้องขอรับ
พระอาจารย์: คือพรหมวิหาร ๔ นี้ก็เป็นธรรมที่เราใช้ในเวลาที่เราอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ แต่ละเหตุการณ์นี้มันอาจจะต้องใช้ธรรมเหล่านี้ต่างกันไป ไม่ได้ใช้พร้อมกัน แล้วแต่เหตุการณ์ เหมือนขับรถยนต์นี่ เขามีเกียร์หลายเกียร์ ใช่ไหม มีเกียร์เดินหน้า มีเกียร์ถอยหลัง มีเกียร์ต่ำเกียร์สูง เพราะว่ารถนี้อาจจะไปอยู่ในสถานการณ์ ที่จำเป็นต้องใช้เกียร์ต่างๆ เหล่านี้ พรหมวิหาร ๔ ก็เป็นเหมือนเกียร์ของจิตใจ
ความเมตตาก็คือให้เราเวลาพบปะกัน ให้มีความเป็นมิตรไมตรีกัน แสดงไมตรีจิตด้วยการทักทาย ด้วยการถามสารทุกข์สุขดิบหรือด้วยการแบ่งปัน เรามีอะไรที่เราอยากจะให้คนอื่นเขามีความสุข เราก็เอามาแบ่งปันกับเขา วันเกิดเราอาจจะซื้อของแจกให้เพื่อนฝูง อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่า “เมตตา”
เวลาเราไปเจอเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือ คนตกทุกข์ได้ยากเดือดร้อน ไฟไหม้บ้าน น้ำท่วม หรืออะไรก็ตามที่เขาไม่สามารถช่วยตัวเขาเองได้ เราก็ให้ความกรุณา “กรุณา” คือความสงสาร สงสารในความทุกข์ยากลำบากของผู้อื่น ก็ช่วยบรรเทาความทุกข์ยาก นี่เรียกว่าสงสาร เรียกว่ากรุณา
ข้อที่ ๓ “มุทิตา” คือให้เราแสดงความยินดีในความสุขความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น เช่น เพื่อนฝูงได้ตำแหน่ง ถึงแม้จะเป็นตำแหน่งที่เราอยากได้ แต่เขาได้ก่อนเรา เราก็อย่าไปโกรธเขา อย่าไปอิจฉาริษยาเขา เพราะมันไม่ดี มันทำให้ใจเราแคบ ทำให้ใจเราทุกข์ ทำให้ใจเราไม่สบาย แล้วอาจจะทำให้เราไปคิดร้ายต่อเขาได้ แต่ถ้าเราร่วมแสดงความยินดีในความสุขความเจริญของเขา เราก็จะไม่ไปคิดร้าย เราก็จะไม่ไปทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง
งั้นเราต้องแสดงความยินดีต่อความสุขความเจริญของผู้อื่น ไม่ว่าใครก็ตาม แม้กระทั่งศัตรูเรา เช่น เวลาเล่นกีฬานี้ ทีมที่เราสู้นี่ก็ถือว่าเป็นศัตรูของเราใช่ไหม คู่ต่อสู้ของเรา เมื่อเล่นจบแล้วเขาชนะ ก็ต้องไปแสดงความยินดี บอก “นี่เป็นเพียงกีฬา ชีวิตนี่ก็เป็นเหมือนกีฬา แข่งขันกันไปเท่านั้นเอง” ใครชนะก็แสดงความยินดีดีกว่า เพราะเราก็จะมีความสุขไปกับเขา ใช่ไหม ทำไมเราแสดงความยินดีกับคนที่เรารักได้ ลูกเราพอเรียนจบได้รางวัลที่ ๑ ทำไมเรายินดีได้ แต่ถ้าเป็นลูกของคนอื่น ทำไมเรายินดีไม่ได้ เพราะเรายังไปเลือกที่รักมักที่ชังอยู่ แล้วใครทุกข์ล่ะ คนที่ไม่ยินดีใช่ไหม คนที่ยินดีสุขไหม งั้นสุขเราควรจะยินดีมากกว่าไม่ยินดี
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ได้รางวัล ได้ชัยชนะ ทีมชาติแพ้เขา เราก็ต้องยินดีกับเขา แล้วเราก็จะมีความสุขกับเขาไป เป็นกีฬาเท่านั้นเอง เป็นวิธีฝึกจิตเข้าใจไม๊ การเล่นกีฬานี้ เดิมทีเขามีเป้าหมายอยู่ที่การฝึกจิต ให้รู้จักแพ้รู้จักชนะ แต่สมัยนี้มันลืมกันไปหมดแล้ว มันจะเอาแต่ชนะอย่างเดียว แล้วมันก็เลยต้องคิดวิธีชนะหลายแบบด้วยการโกงกัน เห็นไหม โดปยากันอะไรกัน บ้ากันไปหมดเลย
นี่หลงผิดแล้ว ไม่รู้ว่าการกีฬานี้เป็นการฝึกจิต ให้เรารู้จักแสดงมุทิตา นี่กลับไปไม่ยอมแพ้กัน จะเอาแต่ชนะกันอย่างเดียว ก็เลยต้องเล่นผิดกฎกติกากัน ใช่ไหม แล้วพอเขามารู้ทีหลังเป็นยังไง ก็ถูกปลดหมดอยู่ดี งั้นเราต้องอย่าไปเอาแพ้เอาชนะกันแบบไม่มีเหตุไม่มีผล เอาแพ้ชนะตามกฎกติกา เล่นตามความสามารถของเรา แพ้ชนะไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่าเราชนะกิเลสเราหรือเปล่า เวลาเราแพ้เราแพ้อย่างมีความสุขหรือเปล่า ยินดีกับชัยชนะของผู้อื่นหรือเปล่า ไอ้นี่ต่างหากคือเรื่องของมุทิตาจิต
ข้อที่ ๔ คือ “อุเบกขา” อุเบกขาก็เป็นเหมือนรถเข้าเกียร์ว่าง เดินไปข้างหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ไม่ได้ ก็ต้องจอดอยู่เฉยๆ ถ้าเราไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เราทำอะไรไม่ได้ จะช่วยเขาก็ไม่มีปัญญาเพราะไม่มีกำลังจะช่วยหรือสุดวิสัย เช่น เขาเป็นโรคภัยไข้เจ็บแล้วรักษาไม่หายอย่างนี้ แต่อยากให้เขาหาย ก็จะทำให้เราทุกข์ เราก็ต้องยอมรับความจริง เราก็ต้องทำใจเป็นอุเบกขา คือเฉยๆ ปล่อยวาง คิดว่าเป็นเรื่องของกรรมของสัตว์ไป “ใครทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น”
“ใครเกิดมาแล้ว เดี๋ยวก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ล่วงพ้นความแก่ ความเจ็บ ความตายไปไม่ได้” ให้คิดอย่างนี้ แล้วใจเราจะได้ไม่ทุกข์กับเหตุการณ์ ที่เราไม่สามารถที่จะไปแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ นี่คือพรหมวิหาร ๔ ต้องใช้ให้ถูก เวลาที่ควรเมตตาไปอุเบกขาก็ไม่ได้ เวลาไปงานวันเกิด ไม่เอาข้าวเอาของไปให้เขาเลย ไปแสดงอุเบกขาก็ไม่ได้ ไปกินอย่างเดียว ถึงเวลาต้องเมตตาก็ต้องเมตตา ถึงเวลาอุเบกขาก็ต้องอุเบกขา ให้มันถูกเวลา เหมือนขับรถแหละ เข้าเกียร์ผิดเดี๋ยวก็ชนกันแหลก ถึงเวลาต้องเดินหน้ากลับไปเข้าเกียร์ถอยหลัง รถที่ตามมาข้างหลังก็ชนท้ายเรา
นี่แน่ะนายช่างเจ้าจะปลูกเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป ถาม: กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ ขอความหมายของคำที่บอกว่า “นี่แน่ะนายช่าง เจ้าจะปลูกเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป” หมายถึงอะไรครับ
พระอาจารย์: หมายถึงตัณหาไง กิเลสอวิชชา ที่มาหลอกให้เรามาสร้างภพสร้างชาติไง เรือนที่เราสร้างกันอยู่ทุกวันนี้ก็คือภพชาติต่างๆ ทำตามกิเลส ทำตามตัณหา ตัณหาก็ทำมาจากความหลง อวิชชา อวิชชาไม่รู้ว่า บ้านแท้จริงอยู่ที่ตรงไหน บ้านที่แท้จริงอยู่ที่นิพพาน เลยคิดว่าบ้านแท้จริงอยู่ในไตรภพ อยู่ในการมาเกิดแก่เจ็บตาย มันก็เลยหลอกให้เรามาสร้างภพสร้างชาติ กลับมาเกิดมาแก่อยู่เรื่อยๆ พอพระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบบ้านที่แท้จริงก็รู้ว่า “ต่อไป มึงหลอกกูไม่ได้แล้ว กูเดี๋ยวนี้รู้บ้านที่แท้จริงของกูอยู่ที่ไหนแล้ว” คืออยู่ที่นิพพาน บ้านที่ไม่มีวันพัง บ้านเดี๋ยวนี้ สร้างไปเท่าไหร่ เดี๋ยวก็ต้องพัง เข้าใจไหม มาเป็นมนุษย์เดี๋ยวก็ต้องตาย ไปเป็นเทวดาเดี๋ยวก็ต้องตกสวรรค์ลงมา ไปเป็นเปรตเป็นอะไรก็ต้องกลับมาเป็นมนุษย์ใหม่ อันนี้เพราะว่ายังมีอวิชชากิเลสตัณหาอยู่ พอพระพุทธเจ้าศึกษาปฏิบัติ ทำลายอวิชชาได้ ค้นพบบ้านแท้จริงว่าคือนิพพาน ต่อไปกิเลสตัณหาจะมาหลอกให้มาสร้างบ้าน มาเกิดเป็นมนุษย์ก็หลอกไม่ได้แล้ว พระพุทธเจ้าพบบ้านที่แท้จริงแล้ว คือ พระนิพพาน
รู้จักชื่อแต่ไม่รู้จักตัวก็ไม่มีประโยชน์ คำถาม: คนที่ไปปฏิบัติที่ป่าช้าเพื่อพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นพระโสดาบัน จึงละวางร่างกายได้ ไม่กลัวตาย เพราะเวลาอยู่บ้านภาวนาได้สบายๆ ไม่มีทุกข์ ไม่เจ็บป่วยเลย เข้าใจว่าตัวเองเป็นโสดาบันแล้ว และต้องการสร้างสภาวะเพื่อจะได้เกิดความกลัว จะได้บำเพ็ญความเพียรอย่างแรงกล้าในการภาวนา ไม่อย่างนั้นจะสติแตก แบบนี้ถูกต้องไหมคะ
พระอาจารย์: ก็การไปอยู่ป่าช้าก็เพื่อที่จะไปกระตุ้นความกลัวที่มีอยู่ในใจของเราให้มันเกิดขึ้น แล้วเราจะได้หาธรรมะคือสติหรือปัญญามาดับมัน แต่ไม่มีใครไปนั่งคิดว่าจะไปเป็นโสดาบัน คนปฏิบัติไม่ค่อยสนใจกับเรื่องโสดาบัน เรื่องอะไร สนใจแต่ทุกข์ที่มีอยู่ในใจเท่านั้น ทุกข์ที่เกิดจากความกลัว กลัวตาย ทุกข์ที่เกิดจากความกลัวเจ็บนี้ นี่เป็นการที่จะไปแก้ แต่จะเป็นหรือไม่เป็น มันเป็นเพียงแต่ชื่อเท่านั้นเอง เข้าใจมั้ย รู้จักชื่อแต่ไม่รู้จักตัว ก็ไม่มีประโยชน์ งั้นเป้าหมายของการปฏิบัติก็คือไปละความกลัว สาเหตุที่เกิดจากการไปยึดไปติดกับขันธ์ ๕ ไปยึดไปติดกับรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นตัวเราของเรา ต้องปล่อยวาง มันไม่ใช่ตัวเราของเรา มันเกิดดับไปตามธรรมชาติของมัน
นามควรพิจารณาอย่างไร ถาม: เมื่อเห็นรูปเป็นธาตุแล้ว นามควรเห็นและพิจารณาอย่างไรครับ
พระอาจารย์: นามก็เป็นเพียงแต่สมมุติที่เราไปผูกไว้กับธาตุนั้น เราไปว่าธาตุนี้เป็นผู้หญิง ธาตุนี้เป็นผู้ชาย ธาตุนี้เป็นเด็ก ธาตุนี้เป็นผู้ใหญ่ ธาตุนี้เป็นฝรั่ง ธาตุนี้เป็นคนไทย มันก็เป็นเพียงแต่เอาป้ายไปปะไว้ที่ธาตุเท่านั้นเอง มันก็ยังเป็นธาตุอยู่เหมือนเดิม มันก็ยังเป็นดินน้ำลมไฟอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นต้องมาแก้ที่นามอีกทีว่า อย่าไปหลงกับสมมุติต่างๆ ที่นามเราไปปะเอาไว้ที่ธาตุ มองทีไรให้เห็นเปลี่ยนจากเป็นหญิงเป็นชายให้เป็นธาตุไปให้หมด เห็นใครก็เป็นธาตุไปให้หมด ดินน้ำลมไฟไปหมด อนิจจังไปหมด
อุเบกขา ถาม: เวลาปฏิบัติแล้ววูบลงไป สติยังอยู่ ไม่ได้บริกรรม อยู่นิ่งๆเฉยๆ เป็นสุขแบบไม่ใช่ปีติ ตรงนั้นเป็นอุเบกขา เป็นเอกัคคตารมณ์ หรือเป็นอะไร
พระอาจารย์: เป็นอุเบกขา ไม่มีอารมณ์รักชัง เป็นเอกัคคตารมณ์ สักแต่ว่ารู้ ไม่ปรุงแต่ง รู้เฉยๆ นิ่งสงบ เหมือนลิฟต์ดิ่งวูบลงมา จิตเวลาจะเข้าสู่ความสงบ ก็เหมือนลิฟต์ดิ่งลงมาแล้วก็หยุด จะรู้เฉยๆ เบาอกเบาใจ สบายอกสบายใจ บางทีมีปีติ น้ำตาไหลขนลุกซ่า แต่เป็นเดี๋ยวเดียว แล้วก็จะนิ่งสงบ เป็นอุเบกขา จนกว่าจะถอนออกมา เป็นสัมมาสมาธิ สมาธิที่ถูกต้อง ถ้าสงบแล้วไม่นิ่ง ออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ ก็จะเป็นมิจฉาสมาธิ สมาธิที่ไม่ถูกต้อง เช่นไปเห็นกายทิพย์ อย่างคุณแม่แก้วนี่ เป็นสมาธิที่ไม่นิ่ง พอจิตสงบแล้วจะออกไปรู้เรื่องของวิญญาณที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นสมาธิที่ไม่ดี เพราะไม่สนับสนุนปัญญา ไม่ได้ทำให้ความอยากอ่อนกำลังลง เพราะความอยากยังทำงานอยู่ อยากจะรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ พอออกจากสมาธิแบบนี้แล้ว จะไม่มีกำลังเจริญวิปัสสนา พิจารณาทางปัญญา ต้องตัดกำลังของความอยากด้วยสัมมาสมาธิ ต้องวางยาสลบให้กับความอยาก จะได้ไม่มีกำลังเวลาออกมาจากสมาธิเหมือนนักมวย ต้องโดนนับ ๘ สักครั้ง ๒ ครั้ง จะได้ชนะอย่างง่ายดาย ถ้ายังไม่นับ ๘ จะมีกำลังต่อสู้มาก การทำสมาธิ ก็เพื่อให้ความอยากคือตัณหาถูกนับ ๘ ต้องให้จิตนิ่งๆ เวลาออกมาจากสมาธิถึงจะพิจารณาได้ ถ้าจะเจริญมรรคอย่าไปตามรู้สิ่งต่างๆ ต้องดึงกลับมาที่ตัวรู้ อย่าไปสนใจ เดี๋ยวก็จะหายไปเอง
ใช้ธรรมะข้อใดในการอยู่ร่วมสังคม คำถาม: การอยู่ร่วมในสังคม สังเกตหลายอย่าง คนเราไม่ค่อยมีความสัตย์ความจริง เหมือนปากพูดดีแต่ใจคิดไม่ตรงไปตรงมา ควรใช้ธรรมะข้อใดในการอยู่ร่วมกับอะไรพวกนี้ครับ
พระอาจารย์: ก็คนเราก็เหมือนผลไม้ ผลไม้ดีก็มี ผลไม้เน่าก็มี เราก็เลือกเอาแต่ผลไม้ดี เวลาเราไปเก็บผลไม้ ผลไม้เน่าเราก็ไม่เก็บ คนก็เหมือนกัน คนดีก็มี คนไม่ดีก็มี คนไม่ดีเราก็ไม่ค่อยไปยุ่งกับเขาแล้วนี่ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า อย่าคบคนพาล คบบัณฑิต คบคนดี อย่าไปคบคนไม่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: 15 มกราคม 2566 14:26:11 » |
|
ถ้าใจไม่สงบมันจะอยู่คนเดียวไม่ได้ ถาม : การถือพรหมจรรย์มีหลักปฏิบัติเช่นไรบ้าง และได้อานิสงส์เช่นไรเจ้าคะ
พระอาจารย์ : ก็เป็นโสดไง พรหมจรรย์ก็คือเป็นโสด ไม่มีแฟนไม่ร่วมหลับนอนกับใคร อานิสงส์ก็คือจะได้ไม่ต้องทุกข์กับแฟนไง มีแฟนก็ต้องทุกข์กับแฟน หวงแฟน ห่วงแฟน เวลาแฟนไปคุยกับใครหน่อยก็อิจฉาตาร้อนขึ้นมา วิตกกังวลขึ้นมา คิดไปต่างๆ นาๆ ความสุขที่ได้จากการมีแฟนกับความทุกข์มันก็เลยไม่คุ้มค่ากัน ทุกข์มากกว่าสุข แล้วถ้าแฟนไป จากไป ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ นี่คืออานิสงค์ ถ้าอยู่คนเดียวก็จะไม่มีเรื่องทุกข์กับแฟน แต่จะอยู่คนเดียวได้ก็ต้องรู้จักทำใจให้สงบ ถ้าใจไม่สงบมันก็จะอยู่คนเดียวไม่ได้ มันรู้สึกเหงา จะรู้สึกว้าเหว่ ก็อยากจะมีแฟน แต่ถ้าเราทำใจให้สงบได้ ความอยากมีแฟนหายไป ความเหงาความว้าเหว่ต่างๆ ก็จะหายไป มีความสุขในใจ มันจะได้ไม่ต้องไปหาความสุขจากแฟนไง
บุญและบาปไม่ใช่สิ่งสมมุติ ถาม: บุญและบาปเป็นสิ่งที่สมมุติด้วยหรือไม่ครับ
พระอาจารย์: บุญและบาปไม่ได้เป็นสมมุติ เป็นของจริง เป็นของที่เกิดจากการกระทำของเรา พอเราทำความดีเรียกว่าเราทำบุญ ทำแล้วเราก็เกิดความสุขใจขึ้นมา งั้นนี่ไม่ใช่เป็นสมมุติ นี่เป็นความจริง บุญบาปนี้เป็นความจริง นรกสวรรค์เป็นความจริง นิพพานนี่เป็นความจริง เป็นของจริงไม่ใช่ของแต่งกันขึ้นมาเหมือนนิยาย ไม่ใช่นิยาย เป็นของจริง งั้นให้เราเชื่อได้ เชื่อบุญเชื่อบาป เชื่อนรกเชื่อสวรรค์ เชื่อนิพพานได้ ถ้าอยากจะไปสวรรค์ก็ทำความดี ถ้าอยากจะไปนรกก็ทำบาป ถ้าอยากจะไปนิพพานก็ชำระใจให้สะอาด กำจัดกิเลสให้หมด นี่คือของจริงทั้งนั้น ทางที่เราจะเลือกไปได้ ๓ ทางด้วยกัน ไปนรก ไปสวรรค์ หรือไปนิพพาน เกิดจากการกระทำของเรา ทำบาปก็ไปนรก ทำบุญก็ไปสวรรค์ กำจัดกิเลสได้ก็ไปนิพพาน นี่คือเรื่องจริง ไม่ใช่สมมุติ
คำถาม คำถาม: ความไม่อยากก็เป็นความอยากแบบหนึ่งใช่ไหมคะ แล้วจะฝึกอย่างไรให้รู้ทันคะพระอาจารย์
พระอาจารย์: ความไม่อยาก คือถ้าไม่อยากด้วยปัญญา เพราะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ มันก็ไม่ใช่เป็นกิเลสนะ แต่ความไม่อยากเพราะไม่ชอบนี่เป็นกิเลส ไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตาย ความจริงไม่ควรพูดว่าไม่อยาก มันต้องพูดอยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย มันยังเป็นความอยากอยู่ เพียงแต่อยากในวิภว วิภวที่ไม่ต้องการ อยากไม่แก่ อยากไม่ให้เขาด่าเราอย่างนี้ มันก็เป็นความอยาก แต่ถ้าเราไม่อยากจะทำอะไร ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากมีอะไร อยากอยู่เฉยๆ อย่างนี้เป็นธรรมะ อยากจะอยู่กับความว่างอย่างนี้ อันนี้เป็นธรรมะ
พวกเราเป็นเหมือนฟองน้ำ ถาม: เสียน้า แล้วรู้สึกว่า ทุกอย่างไม่มีอะไรเป็นของเราเลย มันปลงขึ้นเยอะเลยค่ะ
พระอาจารย์: เพราะเรานี่ก็เป็นเหมือนฟองน้ำ มันก็แตกหมด เดี๋ยวก็แตกหมด มันทำให้เราปลง ให้เราพิจารณา มรณานุสสติเป็นธรรมที่ดี ถ้าใช้ได้ ทำให้เราปลงได้เยอะ ตัดได้เยอะ
ถาม: ค่ะ เพราะเห็นคนตายต่อหน้า คนที่เรารู้จักและเรารักก็ มันรู้เลยว่าเราก็ต้องตาย ในวันหนึ่งข้างหน้าเราก็ต้องเป็นแบบนั้น
พระอาจารย์: ไม่ใช่เราด้วย คนทุกคนที่เรารู้จัก ก็ตายหมดทุกคน ไม่รู้จักก็ต้องตายเหมือนกัน พวกเราเป็นเหมือนฟองน้ำเล็กๆ คนละฟอง เห็นหยดน้ำที่ตกมา น้ำฝนตกลงมาในกองน้ำ แล้วมันก็เป็นฟองน้ำ แล้วมันก็แตกหายไป
ถาม: มันทำให้รู้เลยว่า ไม่เกิดดีที่สุด
พระอาจารย์: ดีแล้ว ต้องตัดกิเลส ต้องรู้ด้วยว่าการไม่เกิดก็คือต้องตัดความอยากให้หมดไป
น้ำมนต์มันก็เป็นแค่น้ำ คำถาม: การรดน้ำมนต์มีในพุทธศาสนาไหมคะ
พระอาจารย์: เท่าที่ศึกษามามันไม่มีนะ นอกจากอาจจะมีกรณีพิเศษ เท่าที่เคยได้ยิน พระพุทธเจ้าเคยทำน้ำมนต์ให้กับเวลาที่มีภัยพิบัติอะไรครั้งหนึ่งอย่างนี้ เท่านั้นเอง อาจจะทำเพื่อให้กำลังใจชาวบ้านเท่านั้นเอง แต่ความจริงแล้ว น้ำมนต์มันก็เป็นแค่น้ำเท่านั้นเอง มันไม่สามารถมาเปลี่ยนแปลงอะไรได้ มีพระรูปหนึ่งท่านบอกว่าถ้าน้ำมนต์วิเศษ เราก็เอาพระไปนั่งสวดที่ประปาเลยไม่ดีหรอ ก็ส่งท่อไปทุกบ้านเลย ทุกบ้านจะได้มีน้ำมนต์อาบ น้ำมนต์ดื่ม จะได้มงคล จะได้ร่ำรวยกันทุกคน เป็นไปไม่ได้หรอก น้ำก็เป็นแค่น้ำเท่านั้นเอง
จิตกับวิญญาณต่างกันอย่างไร ถาม: จิตกับวิญญาณต่างกันอย่างไรคะ
พระอาจารย์: คำว่าจิตกับวิญญาณ วิญญาณนี่มีสองชนิดด้วยกัน วิญญาณตัวหนึ่งที่เรียกว่าดวงวิญญาณนี้ก็คือจิตนั่นเอง เวลาจิตมีร่างกายเราก็เรียกว่าจิต เวลาออกจากร่างกาย ไม่มีร่างกายเราก็เรียกว่าดวงวิญญาณ ส่วนมีวิญญาณอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในขันธ์ ๕ วิญญาณตัวนี้ทำหน้าที่ไปรับรูปเสียงกลิ่นรสจากตาหูจมูกลิ้นกายมาส่งให้ใจ เป็นเหมือน messenger เป็นผู้รับเหมือนกับบุรุษไปรษณีย์ ไปรับรูปเสียงกลิ่นรสจากตาแล้วก็มาส่งมาให้จิตผู้รู้ผู้คิดอีกทีหนึ่ง อันนี้เรียกว่าวิญญาณในขันธ์ ๕ ดังนั้น วิญญาณมีสองชนิดด้วยกัน วิญญาณที่เป็นตัวจิต เวลาไม่มีร่างกายเราก็เรียกว่าวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณ ก็วิญญาณไปเกิดไปได้ร่างกายอันใหม่ เราก็เรียกว่าเป็นปฏิสนธิวิญญาณ ในขณะที่ไม่มีร่างกาย วิญญาณนั้นก็จะเป็นเทพ เป็นพรหม เป็นเปรต เป็นอสูรกาย ตามบุญตามบาปที่ทำไป
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราปฏิบัติถูกทาง ถาม: เราจะรู้ได้อย่างไรครับว่าเราปฏิบัติถูกต้อง หรือมาถูกทางแล้วครับ
พระอาจารย์: ก็ใจเราจะสงบมากขึ้น กิเลสจะน้อยลง ความโลภ ความโกรธ ความหลงจะเบาลง ความอยากต่างๆ จะเบาลง ความนิ่ง ความสงบของใจจะมีมากขึ้น ใจจะเย็นมากขึ้น อย่างนี้
จิตหลอกจิต..กับจิตคิดปรุงแต่ง ถาม: จิตหลอกจิต กับ จิตคิดปรุงแต่ง เหมือนกันไหมคะ แตกต่างกันอย่างไรคะ
พระอาจารย์: อ๋อ จิตคิดปรุงแต่งนี้คิดได้ ๒ แบบ คิดหลอกเราก็ได้ คิดสอนเราให้เห็นความจริงก็ได้ อยู่ที่ว่าเราคิดแบบไหน ส่วนใหญ่ถ้าเราไม่ได้มาเรียนธรรมะ ไม่ได้มาฟังธรรม จิตเราก็จะคิดแบบหลอก หลอกให้เราไปรักคนนั้นรักคนนี้ หลอกให้เราได้ อยากให้เราอยากรวย อยากอะไร แต่พอเรามาฟังธรรมะ แล้วพระพุทธเจ้าบอกของพวกนี้มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น ร่ำรวยก็ทุกข์ เพราะเดี๋ยวเงินหมดก็จน พอจนก็ทุกข์ มีแฟนก็สุข พอแฟนทิ้งไปก็ทุกข์ เพราะฉะนั้นความคิดแบบนี้ถ้าไม่มีธรรมะ มันก็จะหลอกเราว่าเป็นของดี รวยแล้วจะดี มีแฟนแล้วจะมีความสุข อันนี้ก็เป็นความคิดที่หลอกเรา เรียกว่าอวิชชา แต่พอเรามาเรียนธรรมะ มาฟังธรรมเราก็จะได้ยินเรื่องปัญญา เรื่องของความจริง ความจริงก็บอกว่า พระพุทธเจ้าบอกไม่มีอะไรดีหรอกในโลกนี้ อย่างเมื่อกี้เทศน์ให้ฟัง มีอย่างเดียวที่ดีก็คือความสงบเท่านั้นแหละ นอกนั้นอย่าไปมีมัน มีแล้วเดี๋ยวจะต้องทุกข์ ไม่ช้าก็เร็ว
ฝึกนั่งสมาธิแล้วรู้สึกกระวนกระวาย ถาม: ฝึกนั่งสมาธิได้สักพัก นั่งได้ไม่นาน ๓ ถึง ๕ นาที รู้สึกว่าเป็นเวลาที่ยาวนานมาก รู้สึกเหมือนถูกบังคับ กระวนกระวาย ไม่อยากนั่ง ทั้งๆ ที่มีความคิดที่จะฝึกปฏิบัติ ควรทำอย่างไรดีคะ
พระอาจารย์: คือโดยธรรมชาติของกิเลสที่มีอยู่ในจิตนี้ มันไม่ชอบอยู่นิ่งๆ มันชอบมีอะไรเสพ เช่น ดูรูป ฟังเสียง ถ้าให้นั่งดูหนังนี่ ๒ ชั่วโมงรู้สึกผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่พอให้นั่งอยู่กับดูพุทโธ ดูลมนี่ มันจะรู้สึกอึดอัดขึ้นมา เพราะมันไม่มีรสมีชาติ งั้นเราก็ต้องฝืนมัน บังคับมัน การที่จะฝืนหรือบังคับมันได้ ต้องมีสติ งั้นต้องพยายามฝึกสติก่อนที่เราจะมานั่ง หัดท่องพุทโธพุทโธไปทั้งวันก่อน แล้วพอเวลามานั่งเราก็จะสามารถท่องพุทโธพุทโธไปได้ แล้วจะรู้สึกว่าเวลาจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว แล้วจะไม่รู้สึกอึดอัด
ต้องมีข้อสอบทดสอบดู คำถาม: รู้สึกเฉยกับสิ่งรอบๆ ตัวครับ พระอาจารย์: เป็นอุเบกขาไง ใจมันเฉย มันมีอุเบกขา จืดชืดเฉยๆ แต่ก็ไม่ทุกข์กับมัน ไม่ทุกข์กับอะไร แต่ก็ไม่ยินดีกับอะไร ไม่ยินดียินร้ายกับมัน เฉยๆ แต่ก็ต้องดูว่ามันเฉยได้ขนาดไหน เดี๋ยวไปเจอเขาด่าเราขึ้นมา เราจะเฉยได้ไหม ตอนที่ไม่ได้ไปสัมผัสกับอะไรมันก็อาจจะเฉยได้ เดี๋ยวเกิดใครมาขโมยของเราไปนี่ จะเฉยได้หรือเปล่า มีใครมาแย่งอะไรของเราไปต่อหน้าต่อตาอย่างนี้ เราเฉยได้หรือเปล่า หรือพูดไม่ดีกับเรา เราเฉยได้หรือเปล่า ต้องมีข้อสอบทดสอบดู เวลาอยู่คนเดียวมันก็อาจจะเฉยได้ แต่พอเวลาไปสัมผัสรับรู้กับอะไรต่างๆ นี่ เวลาเราเผลอปั๊บ กิเลสมันก็ออกมาเต้นทันทีเลย งั้นอยู่ที่สติปัญญาเราจะทันมันหรือเปล่า หรือจับมันให้เข้ากรงได้หรือเปล่า แต่ตอนปฏิบัติก็ต้องอยู่ที่ที่อยู่คนเดียว ไม่มีใครมารบกวนใจเรา ต่อไปเราจะต้องไปทดสอบว่าเวลามีคนมารบกวนใจเรา แล้วเรายังเฉยได้หรือเปล่า ไม่อย่างนั้นก็แสดงว่าเราทำการบ้านได้ แต่เวลาไปทำข้อสอบเราสอบตก ที่ทำการบ้านเพื่อที่เราจะไปทำข้อสอบอีกที เวลาเราปฏิบัติคนเดียวนี่ เรากำลังทำการบ้าน แต่เวลาเราไปเจอเหตุการณ์ต่างๆ นี่ ตอนนั้นแหละเป็นเหมือนเวลาไปเข้าห้องสอบ ให้ทำข้อสอบ ยังเฉยต่อไปได้หรือเปล่า
ทำเพื่อตัวเรา ถาม: การที่เราปฏิบัตินี้ โยมคิดว่าเพื่อตัวเองเป็นหลักใช่ไหมคะ ใครทำคนนั้นได้ ที่ได้แน่คือการที่เรามีความปิติมีความสุข
พระอาจารย์ : ก็ส่วนใหญ่การกระทำของเรา 99% ก็ทำเพื่อตัวเราทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางไหนทางร่างกายหรือทางใจก็เหมือนกัน ทำเพื่อความสุข เพียงแต่ว่ามันมีความสุขปลอมและความสุขแท้เท่านั้นเอง ความสุขทางร่างกายก็เป็นความสุขปลอม ความสุขความสุขทางใจก็เป็นความสุขแท้ แต่ความสุขทางใจนี้มันต้องไปอยู่คนเดียว แต่ความสุขทางร่างกายนี้มันหาความสุขร่วมกับคนอื่น มันก็เลยทำให้คิดว่าไม่เป็นการเห็นแก่ตัวเวลาหาความสุขทางร่างกาย เพราะเราหาความสุขร่วมกัน แต่เวลาหาความสุขทางใจนี้เราต้องไปหาคนเดียว ก็เลยทำให้เกิดความคิดว่าเป็นการเห็นแก่ตัวไป ความจริงมันก็เป็นการเห็นแก่ตัวทั้งสองแบบ หาความสุขทางร่างกายก็เพื่อความสุขของตัวเอง แต่ต้องมีคนอื่นร่วมด้วยถึงจะมีความสุขได้ก็เลยคิดว่าไม่เป็นการเห็นแก่ตัว แต่การหาความสุขทางใจนี้ต้องหาความสุขตามลำพังก็เลยเกิดความรู้สึกว่าเห็นแก่ตัวขึ้นมาเท่านั้นเอง ความจริงมันก็เห็นแก่ตัวทั้งสองแบบนั่นแหละ
ไม่สร้างกรรมต่อ ถาม: ที่พระอาจารย์เคยเทศน์ว่า มีใครมาทำร้ายให้หลีกหนีห่าง ไม่ตอบโต้เพราะจะไปสร้างกรรมต่อ แต่ถ้ายังตามมาทำร้ายอีกไม่หยุด จนได้รับผลเสียหาย อย่างนี้ผู้ถูกกระทำอาจเจ็บทั้งกายและใจ แล้วอย่างนี้จะแก้ไขอย่างไรครับ
พระอาจารย์: อ๋อ เจ็บทางกาย แต่เจ็บทางใจนี้แก้ได้ ถ้ายอมให้เขาทำมันก็จะไม่เจ็บทางใจ ถ้าเราคิดว่าเป็นการใช้หนี้ เป็นกรรมเก่าที่เราไปทำเอาไว้ แล้วกรรมมันตอบสนองมา ก็ยอมรับกรรมไป มันก็จะเจ็บทางกาย แต่ทางใจจะไม่เจ็บเพราะมันดีใจว่า “เออ กรรมจะได้หมดซะที” กลับโล่งอกเสียอีก พอยอมรับโทษแล้วมันโล่งอก ใครลองทำอะไรผิดแล้วพอยอมรับผิดดูสิ ใจเบาขึ้นมาเลย “เอาวะ ยอมติดคุกก็ยอมวะ ยอมโดนด่าก็ยอมวะ” พอยอมปั๊บนี่มันก็เย็นเลย “ยอม หยุด เย็น” นะ
งั้นเรื่องของใจนี้ เราต้องยอมรับกรรมของเรา ผลกรรมของเรา “จะทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” ถ้าพยายามหนีมันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ อย่างพระโมคคัลลานะนี่ ท่านเป็นถึงพระอรหันต์ มีคุณวิเศษ มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ท่านบอกว่าถึงแม้จะใช้สิ่งเหล่านี้มาช่วยให้หนีกรรม มันก็หนีไม่พ้น หนีได้วันนี้ พรุ่งนี้มันก็ตามเราใหม่ ท่านก็เลยยอมตาย ท่านก็เลยถูกเขาฆ่าตายเลย ตามประวัติ แต่ใจท่านไม่หวั่นไหวแล้วเพราะใจท่านหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงแล้ว แต่ร่างกายนี้มันยังต้องใช้กรรมของมันอยู่ ถ้ามันยังมีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าก็ต้องใช้กรรม มีเทวทัตมาพยายามฆ่าถึง ๓ ครั้ง แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ตอบโต้ หลบได้ก็หลบ หลีกได้ก็หลีก หลบไม่ได้หลีกไม่ได้ ก็เผชิญกับมันไป
วิธีปฏิบัติเมื่อสัมผัสกับเวทนา ถาม: การที่ผัสสะก่อให้เกิดเวทนา เราต้องปิดผัสสะ ๖ ทั้งหมดไหมครับ การหลับตาดูลมตลอดเวลา ไม่เดินจงกรม ถือเป็นการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องหรือไม่ครับ
พระอาจารย์: การที่เราจะไม่สัมผัสกับเวทนานี้ก็มีสองเวลาเท่านั้น เวลาตายไง เวลาตายแล้วไม่สัมผัสกับเวทนา สองเวลาหลับ เวลาหลับก็จะไม่สัมผัสกับเวทนา แต่เวลาตื่นนี้ต้องสัมผัสกับเวทนาทางร่างกาย แต่ต้องรู้ว่าเจ็บตรงนั้นปวดตรงนี้ อันนี้เราสามารถที่จะไม่เดือดร้อนกับการสัมผัสได้ถ้าเรามีสติมีปัญญา เพราะว่าเวทนาเองนั้นไม่ได้เป็นปัญหา ปัญหาอยู่ที่กิเลสในใจเราที่ไปชอบหรือไม่ชอบเวทนา พอเกิดชอบไม่ชอบก็เกิดตัณหาความอยาก พอเกิดตัณหาความอยากก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราก็จะระงับกิเลสตัณหาได้ เราก็จะสัมผัสกับเวทนาแบบไม่รู้สึกเดือดร้อนได้ นี่คือเรื่องของเวทนา เราห้ามมันไม่ได้ ถ้าตราบใดเรามีขันธ์ ๕ มันจะต้องเจอเวทนา ส่วนของเรื่องการปฏิบัติ นั่งสมาธิหลับตา อันนี้ก็เพื่อทำใจให้สงบ เพื่อจะได้มีกำลังที่จะเผชิญกับเวทนาต่างๆ ได้ ถ้าใจสงบใจจะเป็นอุเบกขา ใจจะไม่วุ่นวายไปกับความเจ็บของทางร่างกาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #58 เมื่อ: 30 มีนาคม 2566 17:11:16 » |
|
ทำได้ ๒ วิธี ถาม : ปัญญาอบรมสมาธิกับสมาธิอบรมปัญญานี้ ทำสลับกันได้หรือเปล่า
พระอาจารย์ : การทำสมาธินี้ทำได้ ๒ วิธี วิธีหนึ่งก็คือการกล่อมใจด้วยการบริกรรม ด้วยการกำหนดให้ใจอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ไม่ให้ใจลอยไปสู่อารมณ์อื่น ให้อยู่กับเรื่องนี้เรื่องเดียว เช่นให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ก็เป็นอานาปานสติ ให้อยู่กับการบริกรรมพุทโธๆ ก็เป็นพุทธานุสติ ทำให้จิตเข้าสู่สมาธิรวมลงเป็นหนึ่งได้ เป็นเอกัคคตารมณ์ อีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้ปัญญาข่มใจสอนใจ ถ้าไม่ถูกกับการบริกรรมหรือดูลมหายใจ แต่ถูกกับการพิจารณาความแก่ความเจ็บความตาย ก็พิจารณาความแก่ความเจ็บความตายไป จนจิตรวมลงเป็นหนึ่ง.
ต้องเตรียมตัวคิดไว้ก่อน ถาม : การพิจารณาในสิ่งต่างๆที่มากระทบจิตใจ เมื่อสงบลงแล้วใจอยู่ว่างๆ นิ่งๆ ไม่พิจารณาอะไร อยู่กับพุทโธ จนกว่าจะมีเรื่องใหม่เข้ามา จึงพิจารณาใหม่ ลูกทำแบบนี้ถูกต้องไหมคะ หรือต้องทำอะไรต่อไปคะ
พระอาจารย์ : ก็ถูกต้องในระดับชีวิตของเรา แต่มันจะไม่เจริญก้าวหน้าไปกว่านี้ เพราะเรายังมีปัญหาที่ยังไม่เกิด ที่เราอาจจะต้องเตรียมตัวคิดไว้ก่อน เช่นเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นโรคมะเร็งอย่างนี้ หมอบอกรักษาไม่ได้ เรายังจะทำใจได้หรือเปล่า หรือว่าเราจะต้องตาย เราจะต้องเดินข้ามถนนโดนรถชนตายไปอย่างนี้ เราเตรียมตัวเตรียมใจรับกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้หรือยัง หรือว่าเราสูญเสียคนที่เรารักไป เสียสามีเสียภรรยาเสียลูก หรือเสียข้าวของเงินทองไป เสียบ้านช่องไฟไหม้บ้าน เสียสิ่งต่างๆ ไปนี้ เรารับได้หรือยัง ถ้ายังรับไม่ได้ ก็จงรีบพิจารณาเตรียมตัวไว้ก่อน เผื่อเวลามันเกิดขึ้นมาเราจะได้ไม่เดือดร้อน ไม่สะเทือนใจ.
สร้างสติ ถาม : คนที่มีจิตเหม่อ มีมิจฉาทิฐิ จะทำอย่างไรให้ควบคุมใจได้
พระอาจารย์ : ขั้นแรกก็ต้องสร้างสติขึ้นมา ท่องพุทโธๆไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา อย่าไปคิดอะไร ท่องพุทโธๆไปอย่างเดียว ไม่ต้องไปสนใจเรื่องของคนอื่น ให้สนใจการท่องพุทโธ คนอื่นจะดีจะชั่วก็เรื่องของเขา ขอให้มีสติก่อน แล้วค่อยพิจารณาเรื่องของคนอื่น จะปล่อยวางได้ ถ้าไม่มีสติ พอเห็นอะไร ใจก็จะเป็นบ้าไปกับสิ่งที่เห็นทันที จะพยศขึ้นมาทันที สติจึงเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติเป็นธรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำคัญที่สุด สำคัญกว่าสมาธิ สำคัญกว่าปัญญา สำคัญกว่าการหลุดพ้นวิมุตติ เพราะวิมุตติหลุดพ้น ปัญญา หรือสมาธินี้ ถ้าไม่มีสติจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ สติเป็นพ่อแม่ของธรรมทั้ง ๓ นี้.
ควรรับใช้ ตามใจแม่ ถาม : คุณแม่ของเพื่อนตอนนี้ป่วยอยู่ หมอแนะนำให้บริหารร่างกาย เพื่อนก็พยายามจะให้แม่ทำ แต่แม่ไม่ยอมทำ เพื่อนจะบังคับแม่ตลอด ก็เลยกลุ้มใจ ฝากกราบเรียนถามว่า ควรจะทำตัวอย่างไร
พระอาจารย์ : ควรทำตามใจแม่ อย่าทำตามใจเรา
ถาม : แต่เพื่อนอยากให้คุณแม่หาย
พระอาจารย์ : อย่าไปอยาก ทำตามเหตุตามผล บอกให้แม่ทำแล้ว ถ้าไม่ทำก็จบเป็นเรื่องของแม่ ไม่ใช่เรื่องของเรา
ถาม : จะเป็นกรรมกับแม่ไหมคะ
พระอาจารย์ : ถ้าบังคับแม่ มีเรื่องกับแม่ ก็เป็นเวรเป็นกรรมกัน ควรจะรับใช้แม่ตามใจแม่ บอกแม่แล้ว ถ้าไม่ทำก็เรื่องของแม่ ถ้าเคี่ยวเข็ญแม่จะเป็นเวรเป็นกรรม ถึงแม้จะอยากให้ท่านหาย แต่ความอยากเป็นกิเลส เรามีหน้าที่เลี้ยงดูท่านรับใช้ท่าน ต้องเอาใจท่าน เอาตัวท่านเป็นใหญ่ ไม่ใช่เอาความอยากของเราเป็นใหญ่ ต้องเอาความสบายใจของท่านเป็นใหญ่.
ปัจจุบันสติ ถาม : สติที่ถูกต้องคือสติที่อยู่กับปัจจุบันเท่านั้นใช่ไหมครับ ต้องมีการรู้เห็นกับเรื่องปัจจุบันหรือเปล่า
พระอาจารย์ : ใช่ โดยหลักแล้วก็ให้อยู่กับปัจจุบัน ยกเว้นเวลาเจริญปัญญา ก็ต้องดูทั้งสามตอน ดูทั้งอดีต ดูทั้งปัจจุบัน และดูทั้งอนาคต เพื่อจะได้เห็นภาพรวมที่แท้จริง เช่นกำหนดดูเกิดแก่เจ็บตาย ก็กำหนดถอยไปดูจุดเริ่มต้น ตอนที่ธาตุของคุณพ่อคุณแม่มาผสมกัน แล้วก็เจริญเติบโตในครรภ์ จนคลอดออกมาเป็นเด็กทารก แล้วก็เจริญเติบโตต่อมาจนถึงที่เป็นอยู่ในวันนี้ แล้วก็เลยต่อไปถึงวันข้างหน้า ว่าจะต้องแก่ จะต้องตาย จะต้องไปอยู่ในโลงศพ จะต้องถูกเผาเป็นขี้เถ้าขี้ถ่านไป ถ้าอย่างนี้เรียกว่าเป็นการเจริญปัญญา ปัญญาจะต้องดูให้ครบเลย ทั้งอดีตทั้งปัจจุบัน ทั้งอนาคต แต่จะอยู่ในปัจจุบัน คือจะคิดอยู่ในปัจจุบัน กับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว และจะเกิดขึ้นต่อไป เพื่อจะได้รู้ทัน การพิจารณาร่างกายก็เพื่อจะให้เห็นว่าเป็นธาตุ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาจากธาตุ แล้วก็จะกลับไปสู่ธาตุ เมื่อเห็นแล้วก็จะไม่หลงว่าเป็นเราเป็นตัวเรา เช่นเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมาพิจารณาดู ตัดเอาผมออกมาวางไว้ แล้วดูว่าเป็นอะไร ก็เป็นแค่วัตถุ เป็นธาตุชิ้นหนึ่งเท่านั้นเอง เผามัน มันก็กลายเป็นขี้เถ้าไป อาการทุกส่วนก็เป็นเหมือนกันหมด ไม่มีตัวมีตนอยู่ในอาการต่างๆเลย นี่คือการพิจารณาให้เห็นว่าเป็นธาตุไม่มีตัวไม่มีตน ถ้าอย่างนี้ต้องพิจารณาทุกส่วน ทั้งอดีตทั้งปัจจุบัน ทั้งอนาคต แต่เวลาเจริญสติโดยทั่วไปหมายถึงให้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ให้ไปคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับเรื่องโน้นเรื่องนี้ เรื่องคนนั้นเรื่องคนนี้ ยกเว้นถ้ามีธุระจำเป็นจะต้องคิด ก็คิดได้ คิดให้เป็นกิจจะลักษณะ เสร็จแล้วก็จบ คิดว่าวันนี้จะทำอะไรบ้าง จะไปเจอใคร จะทำอะไร รู้แล้วก็จบ พอถึงเวลาก็ทำไป แต่ไม่ต้องมากังวลไม่อยากจะเจอคนนั้นเจอคนนี้เลย คนนั้นพูดแล้วก็รำคาญใจ คิดอย่างนี้เสียเวลา ถ้าไม่มีความจำเป็นจะต้องคิดอะไร ก็ให้ว่างไว้ เป็นการทำสมาธิไปในตัว
ธรรมจาก ผู้รู้ไม่จริง พระอาจารย์ : การที่เราจะได้ธรรมะที่วิเศษนี้ เราต้องได้ฟังจากคนที่ เป็นผู้ที่ได้ใช้ธรรมะนี้มารักษาใจให้หายจากความทุกข์ต่างๆ แล้ว ถึงจะเป็นคนที่จะบอกวิธีใช้ธรรมะให้มากำจัดความทุกข์ของเราได้อย่างถูกต้องแม่นยำ แล้วถ้าเรานำเอาไปปฏิบัติ เราก็จะสามารถ กำจัดความทุกข์ต่างๆที่มีอยู่ภายในใจ ให้หมดสิ้นไปได้เลย ถ้าเราไปได้ยินได้ฟังคำสอนของผู้ที่ยังไม่ได้กำจัดความทุกข์ต่างๆ ให้หมดไปจากใจ เราจะไม่ได้ยินคำสั่งคำสอนที่ถูกต้อง ที่จะเอามากำจัดความทุกข์ภายในใจของพวกเราได้ เพราะผู้ที่สอนเอง ยังไม่สามารถกำจัดความทุกข์ภายในใจของตนได้ จะไม่สามารถสอนผู้อื่นให้กำจัดความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจให้หมดไปได้ นี่ก็คือการได้ยินได้ฟังธรรมจาก “ผู้รู้จริงเห็นจริง".
ปัญหาอยู่ที่ใจ ถาม : เป็นผู้หญิงเวลาจะไปปฏิบัติ จะมีอุปสรรค
พระอาจารย์ : ทำไมผู้หญิงอื่นปฏิบัติกันได้ เขาก็ไม่ต่างกับเรา ขอให้ปฏิบัติไปเถิด แล้วจะมีกำลังใจ มีความกล้าหาญ เจริญสติให้มาก ถ้ามีสติแล้ว ควบคุมใจได้แล้ว จะไม่กลัวอะไร เพราะปัญหาอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่ข้างนอก ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย ถ้าใจไม่กลัวแล้วจะไม่มีอุปสรรค ไปอยู่ที่ไหนก็ได้.
กลัวผี สัมภเวสีที่เมรุ ถาม : วันแรกที่ไปอยู่ที่เมรุ จะปวดศีรษะ พอแผ่เมตตา อาการปวดศีรษะก็หายไป มีส่วนหรือไม่คะ
พระอาจารย์ : มีส่วน เพราะจิตมีอุปาทาน ปรุงแต่ง เกิดความกลัว ทำให้ปวดศีรษะปวดท้อง พอแผ่เมตตา ความกลัวก็หายไป
ถาม : ไม่ได้เกี่ยวกับวิญญาณที่อยู่บริเวณนั้นใช่ไหมคะ
พระอาจารย์ : ไม่เกี่ยว เป็นอุปาทาน
ถาม : เป็นไปได้หรือไม่คะ มีสัมภเวสีอยู่ตามบริเวณเมรุ
พระอาจารย์ : ไม่มีหรอก
ถาม : การภาวนาที่เมรุถือว่าเป็นที่สัปปายะหรือไม่คะ
พระอาจารย์ : ถ้าต้องการปราบความกลัวผี กลัวตาย ก็ต้องไปหาสถานที่ที่ทำให้เกิดความกลัวขึ้นมา ถ้าต้องการแก้ความง่วงนอน ก็ต้องไปอยู่ที่น่ากลัว จะได้ไม่ง่วง ถ้าอยู่ไปสักระยะหนึ่งแล้ว ความกลัวหายไป ความง่วงกลับมา ก็ต้องเปลี่ยนที่ใหม่ ต้องหาสถานที่ที่ทำให้ไม่ง่วง เพื่อจะได้นั่งสมาธิแล้วไม่หลับ.
กิเลสใต้น้ำ ถาม: กระผมรักษาศีล ๘ มาเดือนจะครึ่งแล้วครับ ตั้งใจจะรักษาตลอดไป แต่ตอนเช้าความเป็นชายจะตื่นมาด้วย เป็นหนึ่งอาทิตย์แล้วครับ กระผมตกใจกลัว ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ผมก็ไม่ได้สนใจ ไม่ถึงนาทีก็หายไป แบบนี้เกิดจากอะไรครับ และเป็นภัยต่อพรหมจรรย์ไหมครับ ควรปฏิบัติต่ออย่างไร
พระอาจารย์: คือมันยังมีกิเลสใต้น้ำอยู่ คือยังมีความอยาก อยากเสพกามอยู่ มันก็จะส่งผลไปที่มีการเกิดขึ้นที่ร่างกาย แต่ถ้าเรามีสติแล้วเราก็ไม่ไปส่งเสริมมัน เดี๋ยวมันก็ผ่านไป เช่นถ้าเราไม่ต้องการให้มันขยายตัว ก็ใช้คำบริกรรมพุทโธๆๆ ไปก็ได้ หรือถ้าเราชำนาญทางปัญญา เราก็นึกถึงอสุภะไป นึกถึงอวัยวะที่ไม่สวยงามต่างๆ ของร่างกาย เช่นกระดูก เนื้อ ปอด ไต ตับ ลำไส้ อะไรต่างๆไปก็ได้ มันก็จะช่วยบรรเทา ไม่ขยายความไป แต่เรา…มันยังเป็นตัวบ่งบอกว่าเรายังไม่ได้กำจัดตัวนี้ คือตัวกามราคะ มันยังมีอยู่ในใจเรา และมันมักจะมาโผล่ตอนที่เราไม่ค่อยมีสติ เช่นตอนตื่นใหม่ๆ ตอนนั้นเรายังไม่ค่อยมีสติมาก มันก็จะโผล่ขึ้นมาได้ ฉะนั้นเราต้องพยายามฝึกการเจริญอสุภะอยู่เรื่อยๆ ดูความไม่สวยงามของร่างกายบ้าง ดูส่วนที่ไม่สวยงาม เนี่ย มองเห็นใครก็ลองผ่า ผ่าหน้าอกหน้าท้องออกมาดูว่าข้างใต้ท้องใต้หน้าอกนี้มันมีอะไรบ้าง จะได้เห็น อ๋อ มันมีแต่ของที่ไม่น่าดูเลย มีปอด มีตับ มีไต มีลำไส้อะไรต่างๆ ดูบ่อยๆ ดูให้มันเป็นนิสัยขึ้นมา แล้วกามารมณ์มักจะไม่ค่อยเกิดเท่าไหร่
เอาทีละอย่าง ถาม : เวลาดูร่างกายว่าไม่เที่ยง แล้วต้องดูจิตด้วยหรือเปล่าคะ ว่าจิตเรานี้เดี๋ยวก็เปลี่ยนแปลง
พระอาจารย์ : เอาทีละอย่าง เอาร่างกายก่อน เอาให้หมดเป็นเรื่องๆไป จิตมันละเอียดยิ่งกว่าร่างกาย ถ้ายังเอาร่างกายไม่ได้ ก็จะเอาจิตไม่ได้ มันคนละขั้นกัน ต้องเอาขั้นร่างกายก่อน ละสักกายทิฐิละกามราคะก่อน แล้วค่อยไปละจิต
ถาม : ถ้าพิจารณาถึงแล้ว จะเบื่อร่างกายใช่ไหมคะ
พระอาจารย์ : จะไม่กลัวตาย ไม่กลัวเจ็บ ไม่มีกามารมณ์
ถาม : แล้วมีอารมณ์เบื่อไหมคะ
พระอาจารย์ : เบื่อเพราะเห็นว่ามันเป็นทุกข์ ไม่ได้เบื่อแบบหดหู่ใจ เบื่อที่จะแบกมันอีกแล้ว อยากจะปล่อยวางมัน
ถาม : ถ้าเกิดปัญญาแบบนั้น จิตจะเบิกบานไหมคะ
พระอาจารย์ : จะเบิกบาน สงบเย็นสบาย ไม่หวั่นไหว ไม่วิตกกังวลกับเรื่องของร่างกาย จะเจ็บจะตายอย่างไรไม่เป็นปัญหา
ถาม : จะเกิดกับเราตลอดไป คือจะไม่เห็นผิดอีกแล้ว
พระอาจารย์ : ถูกต้อง ถ้าปล่อยได้แล้ว ก็จะปล่อยเลย จะไม่กลับมาอีก แต่ต้องเจริญสติเจริญสมาธิก่อน ทำจิตให้รวมให้ได้ก่อน.
การตัดสังโยชน์ ๑๐ ถาม: วิธีเอาชนะสังโยชน์ ๑๐ แบบฆราวาสมีไหมครับ คือวิธีใด
พระอาจารย์: ก็วิธีเดียวกับทุกคนนะ สังโยชน์ ๑๐ มันเป็นโจทย์ของจิต มันเป็นกิเลสที่ผูกมัดจิตใจให้ติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ก็ต้องใช้ธรรมของพระพุทธเจ้าอันเดียวกัน ก็คือศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นฆราวาสเป็นนักบวช เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ก็ใช้ศีล สมาธิ ปัญญาอันเดียวกัน เหมือนยานะ ยาที่รักษาโรคนี่ ใช้ยาชนิดเดียวกันใช่ไหม ไม่ว่าจะกับผู้หญิงผู้ชาย เด็กผู้ใหญ่ กับพระหรือกับโยม ถ้าเป็นโรคเดียวกันก็ใช้ยาชนิดเดียวกัน
สังโยชน์นี่ก็เป็นเหมือนกับโรคของจิตโรคของใจ ที่ทำให้จิตต้องทุกข์ต้องทรมานเพราะสังโยชน์ทั้ง ๑๐ นี้ ก็ต้องใช้ยาคือธรรมโอสถเหมือนกัน ใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนกัน ศีลก็ต้องศีล ๘ ขึ้นไปถึงจะมีกำลัง เหมือนรถที่จะขึ้นเขานะ ถ้ารถกำลังน้อยมันก็ขึ้นไม่ได้ ต้องมีรถที่มีกำลังมาก รถที่วิ่งบนพื้นราบนี่จะขึ้นเขาไม่ไหว เราถึงมักจะซื้อรถเอชยูวีกัน ใช่ไหมเดี๋ยวนี้ มันลุยมันมีพลังมากกว่า ถ้าซื้อรถแบบธรรมดา มันก็วิ่งแบบถนนราบเรียบได้ แต่พอจะขึ้นเขาลงเขานี่มันไม่มีกำลัง
การที่จะตัดสังโยชน์ ๑๐ นี้ มันต้องศีล ๘ ขึ้นไป ศีล ๕ มันไม่มีกำลัง ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ นี้มันมีกำลังที่จะสนับสนุนให้เราภาวนา ให้มีสมาธิให้มีปัญญา พอมีศีลมีสมาธิมีปัญญา สังโยชน์ก็ขาดหมดเลย สังโยชน์เป็นเหมือนเชือก ศีล สมาธิปัญญาเป็นเหมือนมีด พอมีมีด ลับให้มันคมนี้ ฟันปั๊บมันก็ขาด ฟันปั๊บสักกายทิฏฐิก็ขาด สีลัพพตก็ขาด วิจิกิจฉาก็ขาด ปฏิฆะก็ขาด กามราคะก็ขาด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุททัจจะ อวิชชานี่ ถ้าเจอมีดของศีล สมาธิ ปัญญานี้ มันขาดหมดเลยนะ ถ้าอยากจะตัดสังโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือเป็นพระ ก็ต้องสร้างศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มีนาคม 2566 17:15:36 โดย Maintenence »
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 1117
[• บำรุงรักษา •]
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #59 เมื่อ: 26 พฤษภาคม 2566 14:32:00 » |
|
หนีทุกข์ หรือ ดับทุกข์ ถาม: เวลาจิตกระเพื่อมจะเกิดทุกข์ทันที เราเห็นมันเลย จะทิ้งมัน กลับไปสู่ความสงบดีกว่า อย่างนี้เป็นการหนีทุกข์
พระอาจารย์: ไม่หนีหรอก เพราะทุกข์เป็นสิ่งที่เราต้องกำจัด การปฏิบัติก็เพื่อการดับทุกข์ เวลาเกิดทุกข์ก็ต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ในพระสูตรก็บอกว่าเกิดจากความอยาก ก็ต้องรู้ว่ากำลังอยากอะไร ถ้าละความอยากได้ ความทุกข์ก็จะหายไป เวลาเกิดทุกข์ก็ต้องใช้สติปัญญา ใช้เป็นมรรคดับความทุกข์ เหมือนดับไฟไหม้บ้าน เป็นการหนีไฟหรือเปล่า ไม่ได้หนีหรอก เป็นการกำจัดสิ่งที่เป็นภัย ความทุกข์เป็นภัยที่เราต้องดับ แต่การดับทุกข์ที่ไม่ถูกก็มีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงสอน ให้หลีกเลี่ยงวิธีดับทุกข์ที่สุดโต่ง ๒ ประการ คือ ๑. ดับด้วยกามสุข ไม่สบายใจก็ออกไปเที่ยว พอกลับมาบ้านก็ทุกข์เหมือนเดิม ๒. ดับด้วยการทรมานร่างกาย อย่างพระพุทธเจ้าทรงอดพระกระยาหาร ๔๙ วัน อดไปแล้วความทุกข์ใจก็ยังมีอยู่ ความทุกข์ใจเกิดจากความอยาก ถ้าอยากจะดับความทุกข์ใจ.. “ก็ต้องละความอยาก”.
ทำไมต้องกลัว ถาม: บ้านพี่สาวมีคนตาย ก็กลัวเหมือนกัน ตั้งใจจะเข้าไปดู พอเข้าไปจริงๆ เริ่มหวั่นนิดๆ
พระอาจารย์: ตอนที่ไม่ตายไม่รู้สึกอะไร พอตายก็กลัวขึ้นมาทันที เวลาเป็นกับเวลาตายต่างกันตรงไหน ก็ต่างกันตรงที่หายใจกับไม่หายใจเท่านั้นเอง ทำไมต้องไปกลัวคนที่ไม่หายใจแล้ว.
แอร์ ธรรมชาติ ถาม: ท่านอาจารย์คะ หน้าร้อนมีปัญหาเรื่องเหงื่อออกมากเพราะอากาศมันร้อนใช่ไหมคะ พอเปิดแอร์ก็เย็นเกินไป จะให้ทำอย่างไรดีคะ ท่านอาจารย์อยู่วัดไม่ต้องมีแอร์ ไม่ต้องมีอะไรก็ภาวนาได้
พระอาจารย์: ปล่อยให้เป็นธรรมชาติ ถ้าร้อนก็ปล่อยให้ร้อนไป ให้เหงื่อแตกพลั่กให้เสื้อเปียกหมดทั้งตัวเลย ม่เป็นไร เราไปรังเกียจมัน ก็เลยเป็นอุปสรรค ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
ถาม: รู้สึกว่ามันร้อน
พระอาจารย์: ไม่ต้องไปสนใจ มันก็เหมือนกับเวลานั่งไปแล้วเกิดทุกขเวทนา
ถาม: ลุกขึ้นไปเปิดแอร์ พอเปิดแอร์ก็เย็น
พระอาจารย์: ไม่ต้องไปเปิด พยายามให้เป็นธรรมชาติที่สุด ยกเว้นว่าถ้าเปิดแอร์แล้วช่วยป้องกันเสียงไม่ให้เข้ามารบกวน เปิดแล้วจะหนาวก็ช่างมัน ทนสู้กับมันไป ก็ปรับได้นี่ ปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้ใช่ไหม ถ้านั่งภาวนาไปนานๆแล้ว อากาศจะเย็นอย่างไร ร่างกายจะเริ่มร้อน จะรู้สึกอุ่นขึ้นมาเอง ถ้ามีแอร์ก็ถือว่ามีบุญ แต่ก็มีปัญหาได้เพราะจะติดแอร์ ไปนั่งที่อื่นไม่ได้ ควรให้เป็นธรรมชาติ ให้เรียบง่ายที่สุด อย่าไปอาศัยสิ่งภายนอกมาเป็นเครื่องประกอบในการภาวนา นอกจากสถานที่ๆสงบสงัดวิเวก ที่เป็นธรรมชาติ.
หมดแล้วก็จบ ถาม: ท่านอาจารย์ครับ สมมุติว่าบางคนถ้ามุ่งชำระจิตจนกระทั่งหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย แล้วก็อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา แต่ว่าก่อนหน้านี้เคยทำกรรมเอาไว้มากมาย อย่างเช่นองคุลิมาล ซึ่งก่อนที่จะเจอพระพุทธเจ้าได้ฆ่าคนถึง๙๙๙ คน ท่านไม่ต้องใช้เวรใช้กรรมหรือครับ
พระอาจารย์: ก็ใช้ในภพชาติสุดท้าย ชาวบ้านที่รู้จักท่าน เวลาท่านไปบิณฑบาตเขาก็เอาหินขว้างใส่
ถาม: คือยังไงก็ต้องใช้เวรใช้กรรมก่อน ถึงจะสามารถบรรลุได้ใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: ไม่ใช่ หมายถึงว่าถ้าบรรลุแล้ว ก็ชดใช้เวรกรรมในชาติสุดท้ายนี้เท่านั้น ถ้ายังมีร่างกายนี้อยู่ เช่นพระพุทธเจ้าก็มีพระเทวทัตตามล้างผลาญ พยายามฆ่าพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง นี่ก็เป็นคู่เวรคู่กรรมกันมาในอดีต แต่ทำได้ที่ร่างกายเท่านั้นเอง เพราะจิตของพระพุทธเจ้าหลุดพ้นแล้ว จิตไม่ได้ยึดติดกับร่างกาย ร่างกายจะเป็นอะไรจิตก็ไม่ทุกข์
ถาม: แต่อย่างไรก็ตาม ร่างกายก็จะต้องใช้กรรม จนกระทั่งหมดกรรมใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: ใช่ พระโมคคัลลาน์ก็ถูกเขาฆ่าตาย ท่านมีฤทธิ์ ท่านสามารถใช้ฤทธิ์ช่วยท่านได้ แต่ท่านก็ไม่ทำ เพราะหนีได้วันนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ตามมาอีก เพราะเวรกรรมหนีไม่ได้ หนีไม่พ้น สู้ปล่อยให้มันหมดไปดีกว่า หมดแล้วก็จบ แต่ใจของท่านไม่เดือดร้อนนี่ แล้วเรื่องอะไรท่านต้องหนีด้วย เพราะท่านพร้อมที่จะรับอยู่แล้ว เหมือนกับคนที่ยิงคนอื่นตายแล้ว ก็นั่งรอให้ตำรวจมาจับไปเข้าคุก ไม่อยากจะหนีไปไหนแล้ว ยอมรับกรรม อย่างน้อยก็สบายใจที่ปลงได้ ติดคุกก็ติด แต่ได้ทำตามที่ต้องการจะทำแล้ว
บุญอุทิศเป็นบุญที่น้อยมาก ถาม: เขาอยากจะทราบว่า บุญที่ทำนั้นเขาอุทิศส่วนกุศลให้แก่พ่อแม่ที่ล่วงลับไปแล้วนี่ บุญที่ทำกับครูบาอาจารย์ กับที่ทำกับทั่วไปนี่อย่างไหนจะมากกว่ากัน
พระอาจารย์: ก็อยู่ที่ใจของเรา เวลาเราทำกับครูบาอาจารย์เรามีความมั่นใจ เรามีความสุขใจมากมันก็มาก เวลาเราทำกับคนที่เราไม่มั่นใจ ก็มีความสุขใจน้อย บุญก็น้อย สิ่งที่เราอุทิศไปก็คือความสุขใจ
ถาม: เขาอยากทราบว่าพ่อแม่จะได้จากทางไหนมากกว่ากัน
พระอาจารย์: คนที่เราจะส่งไปให้ บางทีเขาก็ไม่มีความจำเป็น ก็จะไม่รอรับบุญส่วนนี้ เพราะบุญอุทิศเป็นบุญที่น้อยมาก เคยได้ยินครูบาอาจารย์ท่านพูดว่าเป็นเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้นเอง อาจจะน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์เสียอีก สมมุติเราทำบุญร้อยบาท อาจจะอุทิศไปได้ไม่ถึงบาท เป็นเหมือนเศษอาหาร เศษเงินเศษทองที่เราให้ขอทาน จึงอย่าไปหวังกับบุญอุทิศ ขณะที่มีชีวิตอยู่ ต้องรีบทำบุญให้มากๆ
ถาม: ของใครของมัน ทำกันเอาเองใช่ไหมครับ
พระอาจารย์: ใช่ แม้แต่เวลาที่เราทำบุญให้กับคนตายในงานศพนี้ คนที่เสียเงินเสียทองที่ไปร่วมทำบุญ จะเป็นคนได้บุญ คนตายไปแล้วได้ก็น้อยมาก แต่ถ้าเขาทำบุญมาตลอดเวลา เขาก็ไม่ต้องอาศัยบุญอุทิศ ถ้าไปเกิดเป็นเทพเป็นพรหมเป็นมนุษย์ ก็ไม่ต้องอาศัยบุญอุทิศ เพราะมีบุญมากแล้ว มีสัตว์ชนิดเดียวที่พึ่งบุญอุทิศ ก็คือพวกเปรต อยู่ในนรกก็รับไม่ได้ เป็นอสุรกายก็รับไม่ได้ เป็นเดรัจฉานก็หากินเองได้
อย่าไปคาดเดา ถาม: ท่านอาจารย์คะ เมื่อสักพักท่านอาจารย์เทศน์เรื่อง ขณะที่จิตจะออกจากร่าง
พระอาจารย์: อย่าไปคาด ขอให้ปฏิบัติไป ให้อยู่กับปัจจุบัน มีสติมีปัญญาแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรทั้งนั้น อย่าไปคาด ถ้ายังไม่รู้อย่าไปคาด ปฏิบัติไปดีกว่า เพราะของอย่างนี้คาดไม่ได้ เพราะเวลาถึงจุดวิกฤติแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันจะเป็นอัตโนมัติ เหมือนกับนักมวยที่ซ้อมดีขนาดไหนก็ตาม พอขึ้นเวทีแล้ว อาจารย์ โค้ช หรือเพื่อน ก็ช่วยกันไม่ได้แล้วละ ได้แต่เชียร์ พอโดนแย็บก็งงเหมือนไก่ตาแตก ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว พยายามฝึกไว้ให้ดี ฝึกไว้ให้คล่อง พยายามมีสติอยู่กับตัวอยู่ตลอดเวลา พยายามมีปัญญาเตือนสติเสมอว่า เรื่องความตายนี้เป็นเรื่องธรรมดา เท่านั้นแหละมันจะรักษาจิตให้นิ่งให้สงบได้ ถ้าแว่บออกจากจุดนี้ไป จะวุ่นวายขึ้นมาทันที พอวุ่นวายแล้วก็จะทุกข์ขึ้นมา จะเสียหลัก เหมือนกับถูกแย็บจนงงเป็นไก่ตาแตก จึงต้องฝึกสติอยู่เสมอ แล้วเจริญมรณานุสสติอยู่เรื่อยๆ อยู่กับตัวตลอดเวลา
เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้อื่น ถาม: ท่านอาจารย์คะ เรียนถามเรื่องศีล ๕ กับสัมมาอาชีวะ ถ้าทำร้านอาหารแล้วต้องไปจ่ายตลาดเอง บางทีจะต้องซื้อปลาสดๆมาค่ะ
พระอาจารย์: ไม่ควรทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้อื่น ถ้าซื้อก็ซื้อของที่ตายแล้วจะดีที่สุด ถึงแม้จะให้คนอื่นไปซื้อ มันก็เป็นเงินของเรา ในทางโลกก็ยังถือว่าผิดกฎหมายอยู่ดี สั่งให้เขาทำก็ดี ทำด้วยตนเองก็ดี ก็เป็นความผิดเหมือนกัน เพราะมีเจตนาร่วมที่จะทำความผิดนั้น ถ้าเราศึกษาธรรมะแล้วเห็นว่าอาชีพที่เราทำอยู่นี้ ไม่เป็นสัมมาอาชีวะ เราก็ต้องเลิกเสีย ต้องเปลี่ยนอาชีพนี้แล้ว หาอาชีพใหม่ทำ อย่าไปเสียดายกับเงินทองเล็กๆน้อยๆ มันไม่มีคุณค่าเท่ากับธรรมะ ไม่มีคุณค่าเท่ากับบุญ เพราะเราหาเงินมาก็เพื่อเอาไปแลกกับบุญอยู่ดี แล้วในเมื่อเราสามารถได้บุญมา โดยไม่ต้องเสียเงิน ทำไมเราไม่ทำ เปลี่ยนอาชีพเสียก็หมดเรื่อง ถ้าขายเหล้ารู้ว่าไม่ดี ก็ไม่ต้องขาย ขายแต่ข้าวอย่างเดียว เนื้อสัตว์ก็ไปซื้อของที่ตายแล้ว.
ไม่ทำทาน ถาม: เพื่อนถือศีล สวดมนต์ไหว้พระ แต่ไม่ใส่บาตร เขาบอกว่าการใส่บาตรได้บุญน้อยกว่าสิ่งที่เขาทำ จริงๆ แล้วคือแบบไหนเจ้าคะ
พระอาจารย์: เขาก็จะไม่ได้ผลบุญจากการทำทาน เขาไปไหนเขาก็อาจจะอดอยากขาดแคลน คนทำบุญไปไหนก็จะมีแต่ทรัพย์ มีอะไรรอเขาอยู่ ก็เหมือนเอาเงินไปฝากธนาคาร การใส่บาตรเป็นการทำทาน การทำทานนี่เป็นเหมือนเอาทรัพย์ เอาเงินไปฝากธนาคาร พอต้องการจะใช้ทรัพย์ก็ไปเบิกได้ คนที่ทำบุญทำทาน ชาติหน้ากลับมาเกิดก็จะไม่อดอยากขาดแคลน คนที่ไม่ได้ทำบุญ ก็กลับมาก็จะอดอยากขาดแคลน
ผ่านแล้ว ถาม: ถ้าผ่านความกลัวไปแล้ว จะต้องพิจารณาอีกหรือไม่
พระอาจารย์: ไม่ต้องพิจารณาแล้ว เช่นเดียวกับกลัวความเจ็บ ถ้าพิจารณาจนปล่อยความเจ็บได้แล้ว ก็ไม่ต้องพิจารณาอีก.
ต้องมีสติควบคุมจิต ถาม: จิตยิ่งนิ่ง สติยิ่งมีกำลังใช่หรือไม่
พระอาจารย์: ใช่ สติจึงสำคัญมาก เป็นกุญแจดอกแรก จะเข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ ต้องมีกุญแจ ๓ ดอก ไว้เปิด ๓ ประตู ประตูแรกคือสติ พอเปิดประตูสติได้แล้ว ก็จะเจอประตูสมาธิ พอเปิดประตูสมาธิได้แล้ว ก็จะเจอประตูปัญญา พอเปิดประตูปัญญาได้แล้ว ก็จะได้มรรคผลนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า สติสำคัญมาก ทรงเปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง ใหญ่กว่ารอยเท้าของสัตว์ทั้งหมด
ปัญญาถึงแม้จะสำคัญมาก ก็สู้สติไม่ได้ เพราะปัญญาจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีสมาธิ สมาธิจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีสติ สติจึงต้องมาก่อน เวลาภาวนาทำจิตให้สงบ ต้องมีสติควบคุมจิต ไม่ให้ลอยไปลอยมา ไม่ให้คิดฟุ้งซ่าน พอได้สติแล้ว เวลานั่งสมาธิจะสงบได้อย่างง่ายดาย นั่งเพียงห้านาทีก็สงบแล้ว พอออกจากสมาธิ ก็จะสามารถพิจารณาปัญญาได้ เพราะจะไม่มีกิเลสมารบกวน มาต่อต้านการพิจารณา.
ความโกรธ ถาม: เวลาใครพูดอะไรไม่ถูกใจ ทำอย่างไรจึงจะระงับความโกรธได้
พระอาจารย์: ต้องมีสติรู้ทันว่ากำลังโกรธ รู้ว่าความโกรธเป็นโทษกับเรา มากกว่าคนที่ทำให้เราโกรธ คนที่ทำให้เราโกรธเป็นเหมือนกับคนจุดไฟ แต่ไฟอยู่ในใจเรา อย่าไปสนใจคนที่จุดไฟ ต้องรีบหาน้ำมาดับไฟ วิธีที่เร็วที่สุดก็คือปัญญา รู้ว่านี่ไฟกำลังไหม้บ้านเรา กำลังไหม้ตัวเรา ก็หยุดโกรธเสีย นี่คือปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา ก็ต้องใช้อุบายอย่างอื่นเช่น เมตตา ให้อภัย คิดว่าเรื่องก็ผ่านไปแล้ว จะไปฟื้นฝอยหาตะเข็บก็ไม่ได้แก้ความรุ่มร้อน ความโกรธที่มีอยู่ภายในใจ ก็คิดเสียว่าใช้หนี้เก่าไปก็แล้วกัน แล้วแต่จะใช้อุบายคิด วิธีที่ฉลาดที่เร็วที่สุดก็ต้องมองว่า ไฟกำลังไหม้บ้าน จะไปตีโพยตีพายทำไม รีบหาน้ำมาดับไฟดีกว่า ขณะนี้เรากำลังโกรธ รีบระงับความโกรธนี้เถิด ถ้าไม่รู้จะทำอย่างไรก็บริกรรมพุทโธๆๆไปเรื่อยๆ อย่าไปคิดถึงคนที่ทำให้เราโกรธ เดี๋ยวความโกรธก็หายไปเอง.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
|
|
|
|
กำลังโหลด...