[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:53:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 3 [4]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม-ตอบปัญหาธรรม กับพระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี  (อ่าน 24738 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #60 เมื่อ: 20 ตุลาคม 2566 15:18:33 »




แก้ปัญหาถูกจุดแล้ว
ถาม : ไม่ทราบรายละเอียดปลีกย่อยในศีล ๘ มีข้อห้ามอะไรบ้าง ทำให้ไม่กล้าถือทั้งหมด เลยถือศีล ๕ แต่ทำแบบศีล ๘

พระอาจารย์ : สาระของศีล ๘ ก็คือให้สำรวมตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ให้หาความสุขจากรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จากการรับประทาน จากการหลับนอน

ถาม : เดี๋ยวนี้ลูกจะมี ๒ คาถา  คือ ๑. ความอยาก เพราะต้นตอก็คือเราอยาก ๒. ที่ใช้บ่อยในที่ทำงานก็คือ ไม่ต้องไปดูข้างนอก คือดูที่ตัวเรา กลับมาดูที่ตัวเรา บางเวลาคุยเรื่องงาน เราเริ่มหงุดหงิดแล้ว เริ่มจะเอ๊ะทำไมเขาเป็นแบบนี้ ทำไมทำกันอย่างนี้ ก็จะเริ่มกลับเข้ามา คือไม่ส่งออกนอกแล้ว

พระอาจารย์ : ปล่อยให้เขาลุยไป ให้เขาเถียงกันไป เรานั่งเฉยๆ

ถาม : บางทีถ้าเราเริ่มวิพากษ์วิจารณ์เขา เราจะย้อนกลับมาดูตัวเองก่อน

พระอาจารย์ : อย่างนั้นถูกแล้ว

ถาม : เวลาเราโกรธ ก็ถามว่าโกรธเพราะอะไร ก็ช่วยได้มากค่ะ

พระอาจารย์ : แก้ปัญหาถูกจุดแล้ว ไฟกำลังไหม้ใจ อย่าไปดับที่อื่น ดับที่ใจ ความโกรธอยู่ที่ใจ ความหงุดหงิดอยู่ที่ใจ เพียงแต่อาศัยสิ่งภายนอกเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดขึ้น แต่ตัวที่เป็นปัญหาอยู่ที่ใจเรา เริ่มรู้แล้วว่าต้องมองข้างใน ต้องปล่อยข้างนอก หลวงปู่ดุลย์สอนเสมอว่า เข้าข้างในเป็นมรรค ออกข้างนอกเป็นสมุทัย ออกข้างนอกเป็นทุกข์ เข้าข้างในสุขสงบเย็นสบาย

ถาม : ถ้าหลงออกไปข้างนอก ก็จะหลงไม่นาน แล้วก็จะกลับมา จะรู้ว่าเมื่อสักครู่นี้หลงไปแล้วนะ

พระอาจารย์ : ใช้ได้ แสดงว่าได้เข้าสู่มรรคแล้ว เจริญอย่างนี้ไปเรื่อยๆ. 


ต้องออกจากสมาธิก่อน
ถาม : ตอนที่หยิบข้อธรรมะขึ้นมาพิจารณา ให้เป็นวิปัสสนานี่ ต้องใช้สมาธิแบบไหน

พระอาจารย์ : ต้องออกมาจากสมาธิก่อน มาอยู่ในจิตปกติก่อน

ถาม : ไม่ใช่อยู่ในอุปจาร  ออกมาเป็นปกติเลย

พระอาจารย์ : ออกมาเป็นปกติ มารับรู้ภายนอกก่อน แล้วค่อยพิจารณา ต้องพิจารณาตลอดเวลาเลย ในขณะที่ไม่ได้อยู่ในสมาธิ แทนที่จะปล่อยให้จิตเป็นเครื่องมือของกิเลส ต้องดึงเอามาเป็นเครื่องมือของธรรมะ พอออกจากสมาธิปั๊บ ถ้าไม่เคยพิจารณา จะกลับไปคิดตามกิเลสทันที กิเลสให้คิดว่า นั่งมานานแล้ว เมื่อยแล้ว หาอะไรมาดื่มสักหน่อย หรือนอนสักหน่อย หรือเปิดวิทยุฟังสักหน่อย นี่ไปทางกิเลสแล้ว อย่าปล่อยให้มันทำอย่างนั้น ต้องดึงมาพิจารณาเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย พิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกายเป็นต้น.


นำเอาไปปฏิบัติ
ถาม : ทางสายตรงคือมรรคที่มีองค์ ๘ นี้ ใช่ไหมครับ

พระอาจารย์ : ใช่

ถาม : จะทำอย่างไรที่จะให้การปฏิบัติคืบหน้า เหมือนกับปรุงแกงนะครับ จะปรุงแกงให้มันกลมกล่อม

พระอาจารย์ : ต้องเริ่มต้นที่สติ ให้มีสติก่อน ถ้าดื่มเหล้าเมาแล้วจะไม่สามารถทำอะไรได้ ทานศีลภาวนานี้จะทำไม่ได้เลย ควรละเว้นจากการดื่มของมึนเมาทั้งหลายก่อน ไม่เสพสุรายาเมาและของมึนเมาทั้งหลายโดยเด็ดขาด พอมีสติแล้วขั้นต่อไปก็ต้องศึกษาดูว่า จะต้องทำอะไรบ้าง เช่นฟังเทศน์ฟังธรรม อ่านหนังสือธรรมะ พอทราบแล้วก็นำเอาไปปฏิบัติ

ถาม : รักษาศีล ๕ ใช้ได้ไหมครับ

พระอาจารย์ : ในเบื้องต้นควรรักษาศีล ๕ ไปก่อน ถ้าจะขยับสูงขึ้นไปอีกก็ต้องรักษาศีล ๘ ต้องตัดรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เช่นไม่รับประทานอาหารเกินความจำเป็น รับประทานมื้อเดียว ไม่รับประทานหลังเที่ยงวันไปแล้วเป็นต้น เป็นการตัดกามฉันทะ ไม่ดูหนังฟังเพลง ไม่ร้องรำทำเพลง ไม่ใส่เสื้อผ้าสีสวยสดงดงาม แต่งหน้าทาปากอะไรต่างๆเหล่านี้ ที่เป็นความสุขทางรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ถาม : ถ้ายังต้องทำงานอยู่ จะทำอย่างไร

พระอาจารย์ : ทำให้น้อยลงไป เก็บเงินให้มาก ใช้เงินให้น้อย พอมีเงินพอก็ลาออกจากงาน เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่.


ไม่มองไปตรงจุดจบ
ถาม : พี่สะใภ้เจ็บหนักมาก หลานที่ดูแลอยู่ หลังจากที่แม่เจ็บหนักและคิดว่าอยู่ได้อีกไม่นาน ได้อ่านหนังสือท่านอาจารย์เป็นเครื่องจรรโลงใจตลอดมา เขาขอธรรมะมาว่า ถ้าวันไหนแม่รู้สึกดีขึ้นนิดหนึ่ง ใจเขาจะฟูมาก ถ้าวันไหนแม่ไม่ฟื้นตัวเลย ไม่พูดเลย ไม่ลืมตา ก็จะเป็นทุกข์มาก ตรงนี้ยังทำใจไม่ได้ ถึงแม้จะได้พิจารณาตามท่านอาจารย์ว่าเป็นไตรลักษณ์ แต่ยังเป็นทุกข์มากเหลือเกิน

พระอาจารย์ : ใจยังตัดไม่ขาด ตัดได้เป็นช่วงๆ เวลามีสติมีปัญญาก็จะปล่อยวางได้ พออาการดีขึ้น สติหายไปเลย ดีใจจนลืมไปแล้วว่า ดีขึ้นเพื่อที่จะเลวลงไปอีก ไม่มีอะไรดีไปตลอด ดีแล้วเดี๋ยวก็ต้องไม่ดี เพราะต้องไปสู่จุดจบอยู่ดี ไม่มองไปตรงจุดจบ มองอยู่ตรงจุดที่ขึ้นๆลงๆ เวลาขึ้นก็ดีใจ เวลาลงก็เสียใจ ไม่รู้ว่าในที่สุดก็จะต้องลงไปที่ศูนย์ มันกำลังดิ่งลงไป ขณะที่ดิ่งลงก็ยังมีขึ้นมาบ้างลงไปบ้าง แต่ในที่สุดแล้วก็ต้องลงไปที่จุดนั้นทุกคน ไม่ว่าใครก็ตาม  มีสุขภาพดีขนาดไหนขณะนี้ก็ตาม อาจจะไปถึงก่อนคนที่กำลังนอนใกล้ตายอยู่ก็ได้ ไม่มีอะไรแน่นอน ต้องให้พิจารณาความเสื่อมอยู่เรื่อยๆ เป็นปัญญา พวกเราส่วนใหญ่ชอบพิจารณาความเจริญกัน ทำอะไรก็อยากให้มันเจริญ ไม่เคยคิดเลยว่า อะไรที่เจริญก็ต้องเสื่อม ธรรมที่มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา


ได้แต่ท่า แต่ไม่ได้ผล
ถาม : รู้จักคนที่เที่ยวบ่อยมากเลย เที่ยวต่างประเทศปีละหลายๆครั้ง แต่เขาก็ปฏิบัติจริงอย่างนี้ขัดกันไหมคะ

พระอาจารย์ : ยังปฏิบัติไม่ได้ผล เป็นกิริยามากกว่า ไม่ได้เนื้อไม่ได้หนัง ได้แต่ท่าของการปฏิบัติ แต่ไม่ได้ผลิตจริงๆ ถ้าได้ผลจริงๆแล้วจะเบื่อทางโลกเลย ท่านถึงแสดงไว้ว่ารสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง ถ้าได้สัมผัสกับรสแห่งธรรมแล้ว จะไม่เอารสอย่างอื่นแล้ว เหมือนก้อนหินกับเพชร พอได้เพชรแล้วจะเอาก้อนหินไหม ไปเที่ยวนี้เหนื่อยจะตาย สู้นั่งสมาธิจนจิตรวมลงไม่ได้ ไม่เหนื่อย ไม่ต้องไปทำพาสปอร์ตทำวีซ่า ไม่ต้องไปตีตั๋ว ไปรอที่สนามบินขึ้นเครื่อง ไปได้ไม่กี่วันก็คิดถึงบ้านแล้ว อยู่ที่ไหนจะสบายเท่าอยู่ที่บ้าน แต่กิเลสจะหลอกเรา วาดภาพว่าสนุกสวยงาม ต้องไปให้ได้ พอไปแล้วก็อยากจะกลับบ้าน  ถ้ามีของดีอยู่ในใจแล้วจะไม่อยากไปไหน อยู่ตรงไหนก็มีความสุข ที่ยังต้องไปกันอยู่ เพราะยังไม่มีความสุขภายใน มีแต่ไฟแห่งราคะโมหะโทสะ ที่เผาใจให้ร้อน ทำให้อยู่ไม่เป็นสุข ต้องหารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะมาดับ.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #61 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2566 13:10:38 »





อย่าไปสนใจ
ถาม : ถ้าภาวนาพุทโธแล้วมีเสียงอื่นแทรกขึ้นมา

พระอาจารย์ : อย่าไปสนใจ ให้อยู่กับพุทโธ ให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐานอย่างเดียว อะไรจะแทรกเข้ามาไม่ต้องไปสนใจ เหมือนฟังวิทยุแล้วมีคลื่นอื่นแทรกเข้า เราก็ต้องปรับคลื่นให้อยู่กับสถานีที่เรากำลังฟัง เวลาภาวนาก็ให้อยู่กับกรรมฐานที่เราใช้อยู่ จะมีอะไรแทรกเข้ามาก็อย่าไปสนใจ เวลามีคนมาเคาะประตูหรือโทรศัพท์ดัง หรือคันตรงนั้นคันตรงนี้ เจ็บตรงนั้นเจ็บตรงนี้ ก็อย่าไปสนใจ ให้เกาะติดอยู่กับกรรมฐานที่เราใช้เป็นเครื่องผูกใจ ไม่นานเสียงก็จะหายไป ใจไม่ให้ความสำคัญ ปล่อยวางได้ ก็จะไม่รบกวนการภาวนาของเรา.


ต้องพิสูจน์ว่าเห็นจริงหรือไม่
ถาม : ได้ฟังเรื่องอริยสัจ ๔ แล้วมีความรู้สึกขึ้นมาว่าทุกข์ มีทุกข์ซ้อนทุกข์ขึ้นในจิต ควรจะพิจารณาต่อใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : พิจารณาให้เห็นว่าทุกข์เกิดจากความอยาก เกิดจากสมุทัย ถ้าละความอยากได้ ทุกข์ก็จะดับ จะดับความทุกข์ได้ก็ต้องเห็นไตรลักษณ์ ต้องใช้ไตรลักษณ์พิจารณาละความอยาก พอตัดความอยากได้ ความทุกข์ก็จะหายไป

ถาม : มันหายเป็นช่วงๆ มันเกิดดับๆ เป็นช่วงๆ

พระอาจารย์ : เพราะยังตัดไม่ขาด

ถาม : บางช่วงเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา

พระอาจารย์ : ต้องไปพิสูจน์ดูว่าเห็นจริงหรือไม่ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับร่างกาย เราทุกข์หรือเปล่า การพิจารณานี้เป็นเหมือนกับการวิเคราะห์ ยังไม่ได้เจอของจริง ต้องไปเจอของจริงดู ก็จะรู้ว่าปล่อยวางได้หรือไม่ พิจารณาร่างกายให้เห็นว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา เพื่อจะได้ปล่อยวาง ให้เห็นว่าเป็นร่างกายของคนอื่น ร่างกายคนอื่นเวลาหมอบอกว่าเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นโรคมะเร็ง จะตายใน ๖ เดือน เราก็ไม่ได้ไปทุกข์วุ่นวายใจด้วย ถ้าหมอบอกว่าร่างกายของเราจะตายภายใน ๖ เดือน เราจะทุกข์วุ่นวายใจหรือไม่ ถ้าไม่ก็แสดงว่าเห็นว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา ถ้ายังทุกข์วุ่นวายใจอยู่ ก็ยังไม่ผ่าน ตอนนี้เป็นเพียงการทำการบ้าน ต้องไปเข้าห้องสอบ.


จิตกับสมองเป็นคนละส่วนกัน
ถาม : ลูกไม่เข้าใจจนเห็นตอนที่หลวงตาแก่ เวลาเทศน์ไม่ลืมเลย เรื่องอื่นท่านถามซ้ำถามซ้ำอยู่ตลอด

พระอาจารย์ : ชื่ออะไร เรื่องอะไร พรุ่งนี้จะไปทำอะไร เมื่อวานนี้ทำอะไรไปแล้วก็ลืมได้ บางทีมีนัดกับใครไว้ก็ลืมได้ พอไม่ไปคิดถึงก็ลืม เหมือนพวกเรานี้พอไม่คิดถึงธรรมะเดี๋ยวก็ลืม เพราะธรรมะที่ฟังนี้ยังเป็นความจำอยู่ ยังเป็นสัญญาอยู่ ยังไม่เป็นความจริง พอปรากฏขึ้นในจิตแล้ว จะไม่ลืม

ถาม : อันนี้ก็พิสูจน์ได้ว่า จิตกับสมองเป็นคนละส่วนกัน

พระอาจารย์ : คนละส่วนกัน สมองเป็นวัตถุ ทำหน้าที่ในส่วนของร่างกาย เป็นเหมือนส่วนประกอบของรถยนต์ แต่คนขับกับรถยนต์เป็นคนละส่วนกัน คนขับสั่งให้รถเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา ให้วิ่งเร็ววิ่งช้า จิตก็เป็นตัวสั่งให้ร่างกายทำอะไรต่างๆ ร่างกายมีสมองเป็นตัวประสานกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ.


ปัญญา อบรมสมาธิ
ถาม : ตามหลักของทางวัดป่า จะสอนให้ทำสมาธิให้จิตตั้งมั่น แต่ของเขาเป็นแบบปัญญาอบรมสมาธิ ให้คิดแต่ในทางดีตลอด ลูกก็บอกว่าจะทำให้ฟุ้งซ่าน ไม่ได้สมาธิ ทำอะไรก็ตามให้คิดดีตลอดเวลา อย่างนี้ลูกว่าไม่ใช่ปัญญาอบรมสมาธิ

พระอาจารย์ : ถ้าคิดในทางไตรลักษณ์ก็ใช้ได้ แต่จะเป็นสมาธิหรือไม่นั้น อยู่ที่สติจะควบคุมให้คิดไตรลักษณ์ไปตลอดเวลาหรือไม่ คิดจนถึงแก่นมันหรือไม่ เช่นฟุ้งซ่านสามีจะจากไป ไปมีแฟนใหม่ แล้วคิดว่าในที่สุดก็ต้องจากกัน ขณะนี้ใครกำลังทุกข์อยู่ เรากำลังทุกข์ใช่ไหม ทุกข์เพราะอะไร เพราะหวงยึดติดว่าเป็นของเราใช่ไหม ความจริงเขาเป็นของเราหรือไม่ ถ้าพิจารณาจนเห็นชัดแล้วว่า ไม่ใช่ของเรา ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ต้องปล่อยเขาไป พอยอมรับความจริง แล้วก็จะไม่ทุกข์ ระหว่างความทุกข์..กับ..เขา จะเอาอะไรดี ถ้าเอาเขาก็ต้องทุกข์ ถ้ายังอยากให้เขาอยู่ก็ต้องทุกข์ เพราะเขาจะไม่อยู่ เขาจะต้องไปแน่ๆ ถ้าปล่อยเขาไปเราก็ไม่ทุกข์ ยอมรับความจริงว่าเขาไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงสมบัติชั่วคราว ก็จะหายทุกข์ อย่างนี้ถึงเรียกว่าปัญญา อบรมสมาธิ


ทำจิตของเราให้อยู่เหนือสงสาร
ถาม: เห็นคนนั้นป่วยก็สงสาร ก็ทำให้จิตตก จิตไม่สงบเหมือนมีทุกข์ เราควรจะช่วยดำเนินการอย่างไรคะ แม้แต่ตัวเราเอง

พระอาจารย์: เราต้องดำเนินการไปกับตัวเราก่อน ทำจิตของเราให้อยู่เหนือสงสารให้ได้ก่อน ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็ยังแย่อยู่ เราต้องเห็นว่าเราสงสารอยู่แต่เราไม่รู้สึกหดหู่ ไม่รู้สึกเศร้าหมอง สงสาร แต่ก็สงสารด้วยปัญญา สงสารว่านี่แหละคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตานี่เป็นอย่างนี้ มีความเปลี่ยนแปลง มีขึ้นมีลง มีเจริญมีเสื่อม เวลาเสื่อมก็น่าสมเพธน่าสงสารกัน ถ้าทำอะไรได้ก็ทำ ช่วยเหลือใครได้ก็ช่วยไปตามกำลัง แต่จะไปแบกคนทั้งโลกไม่ได้หรอก ตอนนี้เราไปช่วยเขา เอาเงินมากี่หมื่นล้าน มาแจกชาวบ้านเท่าไหร่ก็ไม่พอ ทำไปตามกำลังของเรา แต่อย่าไปเศร้าหมอง อย่าไปหดหู่ ต้องเห็นด้วยปัญญาว่า นี่คือโลกของสมมุติ โลกของสงสาร สังสารวัฏนี่ คำว่า “สงสาร” ก็มาจากคำว่า “สังสารวัฏ” โลกของการเวียนว่ายตายเกิด โลกของการเกิดแก่เจ็บตาย โลกของโลกธรรม ๘ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีเจริญมีเสื่อมเป็นธรรมดา พิจารณาอย่างนี้แล้วใจก็ไม่หดหู่ ใจไม่รู้สึกท้อถอย หรือเศร้าโศกเสียใจ แล้วก็ไม่ดูดาย ช่วยได้ก็ช่วย ก็ดูตามกำลังของเรา ทั้งของเราและของผู้รับ ว่าเขารับได้เท่าไหร่ คือเราอยากจะให้เขามากๆ แต่ก็ช่วยเขาไม่ได้มาก เช่น เขาไม่สบายอย่างนี้ อยากจะช่วยให้เขาหาย รักษายังไงมันก็ไม่หาย ก็ต้องปลงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเห็นด้วยปัญญา แล้วก็จะไม่วุ่นวาย ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนใจเวลาเห็นสิ่งต่างๆ นอกตัวเรา โดยเฉพาะสิ่งที่เสื่อม สิ่งที่ทุกข์ยากลำบากต่างๆ แล้วย้อนกลับมาดูที่ตัวเราด้วยว่า ต่อไปเราก็เป็นเหมือนเขานะ ไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเหมือนกัน แต่เราสามารถอยู่เหนือความทุกข์เหล่านี้ได้ ถ้าเรามีธรรมะของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติธรรมถึงขั้นวิปัสสนาได้ เราก็จะปล่อยวางเรื่องของร่างกายของเราได้ มันจะเป็นอะไรก็รู้ว่ามันจะต้องเป็น และรู้ว่ามันจะต้องสิ้นสุดลงในวันใดวันหนึ่ง ไม่ไปต่อรอง ไม่ไปอะไรทั้งนั้น ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะมันเป็นธรรมชาติที่เราไปควบคุมบังคับไม่ได้


โลภบุญคืออะไร
ถาม: กราบพระอาจารย์ หนูได้ยินคำว่าโลภบุญ พระอาจารย์ช่วยพิจารณาอธิบายคำว่าโลภบุญให้ด้วยเจ้าค่ะ กราบสาธุพระอาจารย์

พระอาจารย์: โลภบุญก็คืออยากได้บุญเยอะๆ โลภบุญนี้ไม่เป็นกิเลส เป็นธรรม เพราะบุญนี้เป็นประโยชน์แก่จิตใจ บุญมีแต่คุณแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษต่อจิตใจ เป็นเหมือนยารักษาจิตใจให้หายจากความทุกข์ต่างๆ ฉะนั้นการโลภบุญนี้ถือว่าเป็นมรรคเป็นธรรม บุญก็มีหลายระดับ บุญระดับทาน บุญระดับศีล บุญระดับภาวนา อย่าไปโลภแต่บุญระดับเดียว เช่นอย่าไปโลภกับระดับทำบุญอย่างเดียว ไม่รักษาศีล ไม่ภาวนา ต้องโลภให้มันครบเหมือนกับอาหารที่เรากินนี้ต้องกินครบ ๔ หมู่ ถึงจะดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงได้ ฉันใดบุญก็มี ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้เราโลภกับบุญเหล่านี้ แล้วต่อไปจิตของเราก็จะแข็งแรง จิตของเราก็จะมีแต่ความสุข ปราศจากความทุกข์


ขอแนวคิดเพื่อเป็นกำลังใจให้มีความเพียร
ถาม : กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ โยมสวดมนต์ นั่งสมาธิมาได้ต่อเนื่องระยะหนึ่ง แต่วันหนึ่งความรู้สึกกระตือรือร้นนั้นหายไป ทำได้ไม่ต่อเนื่อง อยากจะขอคำแนะนำหรือแนวคิดเพื่อเป็นกำลังใจให้มีความเพียร ให้ปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องค่ะ

พระอาจารย์ : อยากจะมีกำลังใจก็มาฟังเทศน์ฟังธรรมของพระปฏิบัติใหม่ ฟังอยู่เรื่อยๆ แล้วมันจะเป็นเหมือนการชาร์จแบต ชาร์จกำลังใจให้กับเรา เพราะเวลาฟังธรรมนี้มันเหมือนกับท่านเอาตู้พระนิพพานออกมาโชว์สมบัติ เหมือนกับเศรษฐีที่เขามีเพชรมีพลอยมีสมบัติล้ำค่าเก็บไว้ในตู้ พอเขาเอาออกมาโชว์ เราเห็นปั๊บเราก็อยากได้ขึ้นมา พออยากได้ฉันทะก็มาทันที ฉันทะ วิริยะก็จะตามมา ครูบาอาจารย์ท่านถึงพยายามบังคับอบรมพระอยู่เรื่อยๆ สมัยที่อยู่กับหลวงตามหาบัว ยุคแรกๆ นี้ท่านว่างท่านไม่ค่อยมีญาติโยม ท่านจะเรียกพระมาอบรมทุก ๔, ๕ วันครั้งหนึ่ง ๔, ๕ วัน ก็เรียกมาฟังธรรม ช่วงที่ไม่ได้ฟังธรรมนี้เป็นเหมือนใบไม้เหมือนดอกไม้ที่มันขาดน้ำ พอมาฟังธรรมนี้เหมือนกับได้น้ำ พอกลับไปนี้ โอ้โฮ กลับไปเดินจงกรมได้เป็นชั่วโมง นั่งสมาธิได้เป็นชั่วโมง แต่ก่อนฟังธรรมนี่ โอ้โหย มันไม่มีกำลังใจ เหมือนกับเข็นครกขึ้นภูเขา ธรรมที่มากระตุ้นให้ใจเกิดฉันทะ วิริยะคือธรรมอันวิเศษของพระพุทธเจ้ามันหายไป แต่พอมาฟังธรรม มาฟังผลของการปฏิบัติของท่าน มาฟังวิธีการปฏิบัติของท่าน มันก็ทำให้เราเกิดมีกำลังใจอยากที่จะทำต่อ งั้นพยายามฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #62 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2566 16:38:00 »




ผ่านเวทนา ๓ ตัว
ถาม : ถ้าพิจารณาเวทนาจนข้ามเวทนาไปได้แล้ว ต้องดูอะไรต่อไป

พระอาจารย์ : สบายแล้วก็อยู่เฉยๆไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจ็บปวดใหม่ ก็แก้มันใหม่ ทำไปจนกว่าจะไม่กลัวความเจ็บอีกต่อไป

ถาม : แต่ตอนนั้นมันจะสุข

พระอาจารย์ : ถ้าสุขก็อยู่เฉยๆ สักแต่ว่ารู้ไป นั่งต่อไป อย่างที่หลวงตาท่านเล่าว่าต้องผ่านเวทนา ๓ ตัวด้วยกัน นั่งตลอดคืนตั้งแต่เย็นจนถึงเช้ามืด ประมาณ ๘ ชั่วโมง ท่านบอกจะผ่านเวทนา ๓ ขั้น ขั้นหนู ขั้นเป็ดไก่ แล้วก็ขั้นช้าง พอผ่านขั้นแรกไปก็จะสงบสักระยะหนึ่ง แล้วก็เริ่มเจ็บปวดขึ้นมาใหม่ จะรุนแรงกว่าขั้นแรก ก็ต้องพยายามผ่านไปให้ได้ ผ่านขั้นนี้ได้แล้วก็ไปขั้นที่ ๓ ขั้นสุดท้าย ถ้าผ่านขั้นนี้ได้แล้ว จะไม่กลัวความเจ็บปวดที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ที่เกิดจากความตาย.


ชกไปเรื่อยๆจนกว่าจะชนะ
ถาม : ความสงบที่เกิดจากการนั่งสมาธิในแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน

พระอาจารย์ : เหมือนกับยิงปืน บางทีก็เข้าตรงกลางเป้าก็ได้ ๑๐ คะแนน บางทีไม่เข้าตรงกลางเป้า ได้ ๕ คะแนนบ้าง ได้ ๓ คะแนนบ้าง ได้ ๑ คะแนนบ้าง ภาวนาแต่ละครั้ง บางทีก็สงบน้อย บางทีก็สงบมาก ขึ้นอยู่กับสติว่ามีความต่อเนื่องมากน้อยเพียงไร ถ้าต่อเนื่องมากก็จะสงบมาก เหมือนกับเดินเข้าไปในถ้ำ ถ้าเข้าไปลึกมากก็จะห่างไกลจากเสียงภายนอกมาก เข้าไปสุดถ้ำเลยก็จะไม่ได้ยินเสียงภายนอกเลย ถ้าอยู่แถวปากถ้ำก็จะได้ยินเสียงนั้นเสียงนี้อยู่ ถ้าสติยังไม่แน่นอนยังไม่ชำนาญ ความสงบก็จะเป็นแบบนี้

ถาม : บางวันถ้าภาวนาดี ลมหายใจก็จะสั้นลง แล้วก็ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆจนหายเงียบไปเลย แต่บางวันก็จะมีทุกขเวทนา ก็จะพิจารณาด้วยอุบายของท่านอาจารย์ ทุกขเวทนาก็หายไปเป็นพักๆ แล้วก็กลับมาดูลมหายใจใหม่ ทำเป็นรอบๆไป สุดท้ายก็แพ้มันทุกที แต่ว่าระยะเวลาที่นั่งจะได้นานขึ้นเรื่อยๆ เราควรจะตั้งเป้าที่จะเอาชนะมันให้ได้ หรือทำไปให้ดีที่สุด

พระอาจารย์ : ทำให้ดีที่สุดจนได้ชัยชนะ ถ้าไม่ยกนี้ก็ต้องยกต่อไป เหมือนนักมวยที่ชกไปเรื่อยๆจนกว่าจะชนะ ถ้ายังไม่ชนะก็จะไม่หยุดชก เราก็ต้องภาวนาไปเรื่อยๆ เจริญสติไปเรื่อยๆ พิจารณาธรรมไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะชนะ.


ไม่ได้
ถาม : กามราคะ กามตัณหา กามกิเลสเหมือนกันไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์ : เหมือนกัน เป็นสรรพนาม ใช้แทนกันได้ วัตถุของความอยากจะต่างกัน ติดเหล้าติดบุหรี่ก็เป็นกามตัณหาแบบหนึ่ง กามคือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ วัตถุของกามจะต่างกัน อยากเหล้า อยากบุหรี่ อยากผู้หญิง อยากผู้ชาย เป็นกามตัณหาทั้งนั้น

ถาม : แล้วการติดกาแฟติดน้ำผลไม้

พระอาจารย์ : เป็นกามตัณหาเหมือนกัน แต่มีความหนักเบาต่างกัน ติดกาแฟไม่หนักเท่ากับติดเหล้า ติดเหล้าติดบุหรี่ไม่หนักเท่ากับติดยาเสพติด แต่ก็ติดเหมือนกัน นักปฏิบัติต้องไม่ติดอะไรเลย

ถาม : ถ้าขอคาเฟอีนสักนิดหนึ่ง จะได้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน

พระอาจารย์ : ไม่ได้ ถ้าจะง่วงเหงาหาวนอน ก็ให้อดอาหารแทน หรือไปอยู่ที่น่ากลัวๆ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด ถ้าดื่มคาเฟอีนก็จะติดคาเฟอีน วันไหนไม่ได้ดื่มก็จะปฏิบัติไม่ได้ ไม่ควรอาศัยสิ่งภายนอกมาแก้ปัญหา ต้องใช้ธรรมะ ถ้าง่วงเหงาหาวนอนก็อดอาหารถ้าถูกจริต ถ้าไม่ถูกจริตก็ไปอยู่ที่น่ากลัวๆ หรือไปนั่งที่ปากเหว ถ้าสัปหงกหลับไป หัวจะได้ทิ่มลงเหวไปเลย อย่างนี้จะไม่ง่วงแน่นอน ต้องแก้อย่างนี้

ถาม : ถ้าติดบุคคลติดสัตว์เลี้ยง เช่นคนที่รักหมารักแมวรักสัตว์

พระอาจารย์ : รักสัตว์รักคนรักตุ๊กตาก็เหมือนกัน แม้แต่รักที่นั่ง เวลานั่งสมาธิต้องมีเบาะมีที่พิง ในสติปัฏฐานสูตรไม่ได้บอกให้นั่งบนเบาะทำอานาปานสติ แต่บอกให้นั่งตามโคนไม้ ตามเรือนร้าง.


ปฏิบัติให้มากที่สุด
ถาม : เตรียมลาออกไปปฏิบัติธรรม แรกเริ่มนี้จะปฏิบัติอยู่ที่บ้าน ต้องกำหนดเป็นเวลาหรือไม่คะ

พระอาจารย์ : พยายามปฏิบัติให้มากที่สุดเท่าที่จะปฏิบัติได้ ควรเจริญสติตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นจนหลับเลย ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ให้อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ หรือพุทโธๆไปก็ได้ ตั้งแต่ตื่นเลย ก่อนจะลุกจากที่นอนก็พุทโธๆไป พอลุกขึ้นก็พุทโธๆไป ให้พุทโธๆพาไป.


ความหลง
ถาม : วิธีแก้วิปัสสนูนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงบอกอุบายไว้ไหมคะ

พระอาจารย์ : ไม่ได้ศึกษารายละเอียด เพียงแต่อาศัยการวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับความหลง แต่ละกรณีไม่เหมือนกัน คือทำอย่างไรให้คนที่หลงมีสติขึ้นมา ให้รู้ว่าตนเองหลง นั่นคือเป้าหมาย กำลังไปผิดทาง อยู่ที่คนหลงว่าอยู่ในฐานะที่จะรับรู้ได้หรือไม่ อย่างคนที่อยู่ในสถานบำบัด คนเสียสตินี่ ไม่อยู่ในสภาพที่จะรับรู้วิธีแก้ปัญหาได้ คุยกันไม่รู้เรื่อง หรือรู้เรื่องก็ทำไม่ได้  คนปกติอย่างเรายังทำกันไม่ได้เลย เราก็หลงเหมือนกัน เพียงแต่ยังอยู่ในระดับที่พอประคับประคองตัวเองได้ ไม่เป็นภาระของสังคม ก็เลยไม่เป็นปัญหา แต่เราก็หลง คนหลงไปช่วยคนหลงจะได้อะไร.


ไม่เข้าใจอุเบกขา
ถาม : เนื่องจากมีผู้อ่านหนังสือท่านอาจารย์แล้ว เขาไม่เข้าใจอุเบกขาของท่านอาจารย์ เพราะหน้าที่ก็ยังต้องทำอยู่ ไม่ใช่ให้วางลงไปทั้งหมด ความเมตตาก็ยังมีอยู่ อยากให้ท่านอาจารย์อธิบายตรงนี้ คือคนอ่านเขาบอกว่า ท่านอาจารย์ไม่ให้ทำอะไรเลย ซึ่งไม่ใช่

พระอาจารย์ : ให้ปล่อยวางทางใจ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาความเหมาะสม ว่าทำอะไรได้ก็ทำไป ช่วยเหลือใครได้ก็ช่วยเหลือไป สงเคราะห์ใครได้ก็สงเคราะห์ไป แต่กิเลสมันชอบคิดแบบสุดโต่ง พอบอกให้ปล่อยวางก็คิดว่าไม่ต้องทำอะไรเลย ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็อย่าไปกินข้าวสิ ทำไมเลือกทำละ ถ้าเรื่องกินก็ยังกินอยู่ ยังหายใจอยู่ เวลาฟังควรใช้ปัญญาวิเคราะห์ไปด้วย นี่ฟังแบบเอาสีข้างฟัง ไม่ได้เอาหูฟัง เข้าใจไหม เอากิเลสฟัง ไม่ได้เอาปัญญาฟัง ฟังก็ต้องวิเคราะห์ด้วยเหตุด้วยผลสิ

ที่พูดนี้กำลังพูดถึงเรื่องอะไร พูดถึงเรื่องใจ เรื่องปัญหาของใจ ที่ไปวุ่นวาย ไปทุกข์กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็ให้ปล่อยวางเรื่องนั้น แต่เรื่องที่ไม่ทุกข์ เรื่องที่มีหน้าที่ต้องทำก็ทำไปสิ ยังต้องทำมาหากิน ยังต้องหายใจ ยังต้องอาบน้ำต้องกินข้าว ก็ทำไป ไม่ได้บอกไม่ให้ทำทุกอย่างเลย ไม่ให้ทำในเรื่องที่สร้างความทุกข์ให้กับเรา ก็คืออย่าไปอยาก อย่าไปอยากมี อยากเป็น อยากได้ อะไรต่างหาก นี่คือความหมายของอุเบกขา ที่เทศน์มาตลอดนี้ก็เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือทำใจให้เป็นอุเบกขา ให้ใจอยู่ระหว่างความอยากกับความไม่อยาก อยากก็ไม่ใช่ ไม่อยากก็ไม่เชิง เฉยๆ


มันละเอียด ถ้าไม่สังเกตดูใจ จะไม่รู้ว่าทุกข์
ถาม : เวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย กับความทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้นเวลาภาวนานี่ มันปะปนกัน แยกกันไม่ค่อยออก ส่วนใหญ่จะเห็นส่วนของร่างกาย แต่ไม่ชัดเจนเรื่องจิตใจ

พระอาจารย์ : เพราะปัญญาเรายังไม่ทัน ยังไม่สามารถแยกแยะความทุกข์ของ ๒ ส่วนออกจากกันได้ เพราะเกิดขึ้นพร้อมกันทันที พอเกิดความเจ็บปวดทางร่างกายปั๊บ ก็เกิดสมุทัยความอยาก ความกลัวความเจ็บปวดขึ้นมาทันที เพียงแต่หมอบอกจะฉีดยาเท่านั้นยังไม่ทันฉีดเลย ความกลัวเข็มฉีดยาก็มาก่อนแล้ว  แต่มันละเอียด ถ้าเราไม่คอยดูที่ใจด้วยปัญญา ไม่สังเกตดูใจเรา จะไม่รู้ว่าเราทุกข์แล้ว ไม่รู้ว่าเกิดสมุทัยแล้ว เกิดความกลัวขึ้นมาแล้ว เพราะส่วนใหญ่เราจะไม่ดูใจเรา จะดูสิ่งภายนอกเสียมากกว่า ดูอะไรแล้วดีใจเสียใจนี้เราไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สึกว่าเราดีใจแล้วเสียใจแล้ว เรากลัวแล้ว เรารีบไปทำทันทีเลย พอกลัวตัวแตนก็รีบไปหาวิธีกำจัดมันทันทีเลย พอเห็นปั๊บก็ไปเลย มันไปอย่างรวดเร็ว  ความจริงความทุกข์ทางใจมันเกิดขึ้นแล้ว ความกลัวนี้ก็เป็นความทุกข์ กลัวจะถูกมันต่อย แต่ถ้าเราภาวนามีสติดูใจอยู่เรื่อยๆ เราจะเห็นใจ เห็นอะไรต่างๆที่มีอยู่ภายในใจ ตามลำดับของกำลังของสติ ถ้าได้ยินได้ฟังเรื่องของปัญญาเรื่องของสมุทัยแล้ว พอเกิดอาการอยากขึ้นมาจะเห็นทันที จะรู้ว่าเกิดความอยากแล้ว จิตกระเพื่อมแล้ว ไม่เป็นปกติแล้ว.


ภวังค์
ถาม : จิตตกภวังค์กับจิตเป็นสมาธิ ต่างกันตรงที่มีผู้รู้หรือไม่มี

พระอาจารย์ : อันเดียวกัน สมาธิกับภวังค์

ถาม : บางทีนั่งแล้วมันเผลอๆ

พระอาจารย์ : นั่นมันภวังค์หลับ คนละภวังค์กัน ภวังค์หลับจะไม่รู้สึกตัวเคลิ้มๆ

ถาม : ภวังค์ของสมาธิต้องมีผู้รู้

พระอาจารย์ : มีสติ เหมือนกับเราคุยกันตอนนี้ เวลาจิตตกภวังค์ จิตจะวูบเข้าไปข้างใน มีสติสัมปชัญญะครบร้อย

ถาม : ถ้าเคลิ้มๆแล้ววูบไป เป็นภวังค์หลับ

พระอาจารย์ : นั่นนั่งหลับแล้ว
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #63 เมื่อ: 14 ธันวาคม 2566 14:38:56 »




ประสานส่วนเหมือน สงวนส่วนต่าง
ถาม : ดิฉันรักกับสามีปกติ แต่เมื่อทะเลาะกัน เราเหมือนไม่เข้าใจเหตุผลของกันและกัน ต้องใช้เวลาถกเถียงนานมาก บางครั้งดิฉันยอมปล่อยผ่าน เพราะไม่อยากมีปัญหา แต่กลัวอนาคตเราจะระเบิดออกมา เมื่อเก็บสะสมปัญหาในอนาคตมามากๆ เข้า จะแก้ไขอย่างไรดีคะ

พระอาจารย์ : คือเราต้องยอมรับว่าคนเรานี้มีความเห็นที่ต่างกัน จะให้เห็นเหมือนกันทุกอย่างนี้ยาก งั้นเมื่อเราอยู่กับคนที่เขามีความเห็นต่างกันบ้าง เราก็พยายามประสานส่วนที่เหมือนกัน ส่วนที่เราเห็นเหมือนกัน ส่วนต่างก็สงวนไว้ อย่าเอามาพูดกันอย่าเอามาแสดงกัน ถ้าเรารู้ว่าเขากับเรามีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องนี้ก็อย่าไปพูดถึงมัน พูดแต่เรื่องที่เรามีความเห็นตรงกัน เพราะเป็นเรื่องธรรมดา เราจะเห็นเหมือนกันทุกอย่างไม่ได้หรอก บางทีเขาชอบสีแดง เราชอบสีเขียวอย่างนี้ เราจะไปให้เขามาชอบสีเขียวเหมือนเรา มันก็ไม่ได้ งั้นก็ปล่อยให้ต่างคนต่างชอบในสิ่งที่ตนเองชอบไปก็แล้วกัน ส่วนไหนที่ชอบเหมือนกันก็เอามาทำร่วมกัน ถ้าชอบไปดูหนังก็ชวนกันไปดูหนังได้ ถ้าคนหนึ่งชอบไปเต้นรำ อีกคนหนึ่งชอบไปดูหนังก็ไปไม่ได้ ก็อย่าไปฝืนกัน อย่าไปบังคับ


เรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสอนใจ
ถาม: กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า ถ้าผมหยิบเอาเรื่องในอดีตมาพิจารณา ตรึกในธรรม จะถือว่าเป็นการอยู่กับปัจจุบันได้ไหมครับ เพื่อเกื้อกูลสมาธิอบรมปัญญา

พระอาจารย์: ก็ขึ้นอยู่กับเรื่องในอดีตมันเป็นเรื่องอะไร พิจารณาให้มันเห็นเป็นไตรลักษณ์ ก็ได้ ถ้ามันเป็นอดีตแล้วถ้าเป็นไตรลักษณ์ก็ไม่รู้จะยกมันขึ้นมาทำไม มันผ่านไปแล้ว นอกจากว่าเอามาสอนเป็นบทเรียนว่าได้ทำอะไรผิดพลาดไป แล้วก็พยามที่จะไม่ทำมันอีกต่อไป แต่ส่วนใหญ่เราจะพิจารณาสิ่งที่เป็นปัจจุบัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากกว่า คือทุกสิ่งทุกอย่างในอนาคตมันจะต้องมีการดับไป เป็นธรรมดา ต้องพยามพิจารณาล่วงหน้าไว้ก่อน พอเวลามันดับเราจะได้ไม่ทุกข์ แต่อดีตมันผ่านไปแล้ว ไม่มีผลกระทบต่อเราแล้ว เราไม่ต้องไปเอาอดีตมาคิดให้เสียเวลา ยกเว้นว่าเป็นการมาเรียนรู้จากอดีต เพื่อมาเป็นบทเรียนสอนใจ


ไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่
ถาม : เราเป็นผู้ปฏิบัติธรรม มั่นคงในพระรัตนตรัยนี้ ควรปฏิบัติตัวต่อเทวดาอย่างไร ที่บ้านมีศาลพระภูมิ เราไหว้ท่านได้หรือเปล่าคะ

พระอาจารย์ : ถ้าไหว้แบบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ไหว้ได้ แต่ไม่ไหว้แบบเป็นสรณะเป็นที่พึ่งเป็นครูเป็นอาจารย์ ถ้าเป็นเทพที่รู้ธรรมะ จะนับถือเป็นอาจารย์ก็ได้ ถ้าเป็นอริยเทพเป็นพระโสดาบัน อย่างพระพุทธมารดา เราก็นับถือเป็นพระอริยสงฆ์ได้  จะเป็นเทพเป็นพรหมหรือเป็นมนุษย์ ก็มีจิตใจที่มีความโลภโกรธหลงหรือมีธรรมะ ถ้ามีธรรมะก็บูชาได้ ถ้ามีอริยธรรมเป็นพระอริยสงฆ์ จะเป็นเทพเป็นพรหมเป็นมนุษย์ก็เหมือนกัน
ถ้าไม่รู้ว่าเขาเป็นอะไร ก็ให้ถือว่าเป็นเพื่อนร่วมโลกร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ที่มีบุญมากกว่าเราจึงได้เป็นเทพ เราไม่มีบุญเท่าเขาจึงเป็นมนุษย์ ก็นับถือเขาในฐานะที่มีบุญมากกว่าเรา เช่นเรานับถือคนที่มีศีลมากกว่าเรา
เช่นพระภิกษุที่เรานับถือเพราะมีศีล ๒๒๗ ข้อ แต่ไม่ได้นับถือท่านเพราะเป็นอริยสงฆ์ ถ้าจะไหว้พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ก็ต้องไหว้ที่คุณธรรม


นั่งสมาธิแล้วเจ็บปวด
ถาม : เวลาที่นั่งแล้วเจ็บปวด ก็พยายามพิจารณา ให้เห็นว่าเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา แต่ใจยังไม่ยอมรับ ใจยังดิ้น ดิ้นที่จะออก

พระอาจารย์ : เพราะสมุทัยกำลังทำงานอยู่ ยังอยากจะหนีจากความเจ็บไป อยากให้ความเจ็บหายไป

ถาม : พอไม่หายไป ก็เลยกลับมาดูที่ร่างกาย ทำใจเบาๆสบายๆ หลังจากนั้นรู้สึกว่าขาที่ชาอยู่ค่อยๆ หายไป

พระอาจารย์ : พอเราปล่อยวางความอยาก ที่จะให้ความเจ็บหายไป ปล่อยวางความอยากจะลุก อยากจะเปลี่ยนอิริยาบถ ความทุกข์ทรมานใจก็จะหายไปหมดเลย ความเจ็บของร่างกายจะไม่รุนแรง ที่รุนแรงที่ทนไม่ได้นี้ คือความทุกข์ทรมานใจ ที่เกิดจากความอยากให้ความเจ็บหายไป พอระงับความอยากได้แล้ว ร่างกายจะเจ็บขนาดไหนก็ไม่เป็นปัญหา


ไม่นอน
ถาม : ขอถามเรื่องการอดนอนครับ มีอุบายอะไรที่จะสู้กับความง่วง

พระอาจารย์ : ให้ถือ ๓ อิริยาบถ ยืนเดินนั่ง ไม่นอน ให้หลับอยู่ใน ๓ อิริยาบถนี้ จะได้หลับไม่นาน เวลาง่วงมากๆก็จะนั่งหลับไปสักชั่วโมง ๒ ชั่วโมง แล้วก็จะตื่นขึ้นมา ถ้านอนจะหลับนาน เวลาตื่นจะไม่อยากจะลุกขึ้น พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาก็ลุกขึ้นไปเดินจงกรมต่อ พอเดินจงกรมเมื่อยก็กลับมานั่งสมาธิต่อ  ถ้าจะหลับก็ให้หลับอยู่ในท่านั่ง จะได้ไม่เสียเวลากับการหลับนอน ขึ้นอยู่กับจริต บางคนชอบ ๓ อิริยาบถ บางคนชอบอดอาหาร บางคนชอบไปอยู่ที่เปลี่ยวๆที่น่ากลัว นักปฏิบัติต้องเดนตาย นอนกับดินกินกับทรายได้ ไม่วิตกกับการอยู่การกินมากจนเกินไป ยอมตาย ต้องพิจารณาความตายอยู่เรื่อยๆ ว่าเกิดมาแล้วต้องตาย ไม่มีใครหนีพ้นความตายไปได้ ให้เอาความตายมากระตุ้นให้ปฏิบัติธรรม ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องตาย ขณะที่มีชีวิตอยู่มีโอกาสปฏิบัติ ถ้าไม่รีบปฏิบัติพอถึงเวลาตายก็จะหมดโอกาส   พอกลับมาเกิดใหม่ ก็ไม่รู้ว่าจะได้พบกับพระพุทธศาสนาอีกหรือไม่ ถ้าปฏิบัติจนมีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ถึงแม้จะไม่พบพระพุทธศาสนา ก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะมีพระพุทธศาสนาอยู่ในใจแล้ว


เราฝึกได้
ถาม : กรรมที่เรามีอยู่นี่ ถ้ารู้ว่ามันไม่ดี เราพยายามฝึกฝนใหม่ อุปนิสัยใหม่จะติดไปไหมคะ

พระอาจารย์ : ติดไปด้วย เราฝึกได้เสมอ ถ้ารู้ว่าดื่มเหล้าไม่ดี ก็เลิกเสีย เมื่อก่อนเราไม่รู้ เพราะยังไม่ได้พบพระศาสนา อยู่ในสังคมที่ดื่มเหล้ากัน อย่างฝรั่งต้องดื่มไวน์กับอาหาร แต่ถ้าได้ศึกษาก็จะรู้ว่าไม่ดี ก็อย่าไปดื่ม  แต่ตอนที่เปลี่ยนนิสัยนี่มันจะทรมาน เคยทำอะไรแล้วไม่ได้ทำจะรู้สึกทุกข์ใจ อย่างกินก๋วยเตี๋ยวแล้วไม่ได้ใส่เครื่องปรุงก็กินไม่ลง มันไม่อร่อย


จิตเดิมจิตแท้คืออะไร
ถาม : ขอโอกาสครับ มีคนถามผมเรื่องจิตเดิมจิตแท้คืออะไร ผมบอกเขาว่าจิตเดิมแท้คือกิเลส ผมไม่รู้ว่าถูกหรือผิดครับพระอาจารย์ ขอคำแนะนำพระอาจารย์ด้วยครับ กราบนมัสการครับ

พระอาจารย์ : จิตเดิมก็คือจิตที่ไม่มีการปรุงแต่ง จิตที่มีการปรุงแต่งมันก็ปรุงแต่งไปเป็นอะไรต่างๆ นานา แต่พอหยุดคิดการปรุงแต่งก็เหลือสักแต่ว่ารู้ จิตเดิมก็คือจิตที่อยู่ในสมาธินี่เรียกว่าจิตเดิม เหลือแต่สักแต่ว่ารู้ อุเบกขาเป็นจิตเดิม แต่พอออกจากสมาธิมามันก็มาปรุงแต่ง ปรุงว่าฉันเป็นนาย ก นาง ข มีธุรกิจมีเงินพันล้านหมื่นล้าน อันนี้ก็กลายเป็นจิตปรุงแต่งไป จิตปรุงแต่งก็เป็นจิตปลอมนี่ เราปรุงแต่งหลอกตัวเอง วันนี้เราเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็เป็นอีกอย่าง เดี๋ยววันนี้เป็นโสด เดี๋ยวพรุ่งนี้มีแฟนก็เป็นคู่ขึ้นมาอีก จิตเราก็เปลี่ยนไปตามการปรุงแต่งไปเรื่อยๆ แต่จิตเดิมนี้มันไม่เปลี่ยนนะถ้าทำใจให้สงบหยุดความคิดปรุงแต่ง มันก็จะเหลือแต่อุเบกขาเหลือแต่สักแต่ว่ารู้ นั่นแหละคือจิตเดิม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มกราคม 2567 16:03:41 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #64 เมื่อ: 02 มกราคม 2567 16:01:58 »



ความหมายของสีลัพพตปรามาส
ถาม : สีลัพพตปรามาส ความหมายคืออะไรเจ้าคะ เพราะอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ

พระอาจารย์ : หลวงตาท่านบอกว่าเป็นการลูบคลำศีล คือ ไม่มั่นใจว่าศีลนี้เป็นเหตุของการดับทุกข์ได้หรือเปล่า ถ้าเป็นพระโสดาบันนี้ ท่านรู้ว่าการทำบาปนี้เป็นเหตุที่ทำให้เราทุกข์กัน ถ้าเรารักษาศีลได้เราก็จะไม่ทุกข์ ดังนั้น พระโสดาบันนี่จะรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต เวลาท่านทุกข์ท่านก็ไม่ไปแก้ทุกข์ด้วยการทำพิธีกรรมต่างๆ ไปหาหมอดู ไปทำอะไร วิธีเหล่านี้ไม่ได้เป็นการแก้ทุกข์ ทุกข์มันเกิดจากการที่เราไปทำบาป  ดังนั้น ถ้าเราไม่อยากจะทุกข์เราก็อย่าไปทำบาป แล้วเราจะไม่มีความทุกข์ใจ หรือว่าถ้าเราทุกข์เพราะความอยาก เราก็ต้องหยุดความอยาก พระโสดาบันจะรู้ว่าทุกข์เกิดขึ้นจาก ๒ อย่าง ๑. เกิดจากความอยาก ๒. เกิดจากการทำบาป ดังนั้น เวลาทุกข์นี่ เช่น ทุกข์เพราะว่าไม่สบายแล้วทุกข์ ก็ไปหาหมอดูว่าจะหายไม่หาย แล้วจะทำวิธีทำให้หายได้ไหม อันนี้เป็นวิธีงมงาย มันจะไม่ได้ทำให้หายทุกข์

วิธีจะทำให้หายทุกข์ก็คือ ต้องดูว่าร่างกายนี้มันต้องตายหรือเปล่า มันต้องเจ็บหรือเปล่า มันต้องแก่หรือเปล่า แล้วมีอะไรไปเปลี่ยนมันได้หรือเปล่า ไปห้ามมันได้หรือเปล่า ถ้าห้ามไม่ได้ไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่างๆ ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร บางวิธีสมัยโบราณเขาสะเดาะเคราะห์ด้วยการบูชายันต์นี่ ด้วยการฆ่าแพะฆ่าแกะฆ่าเป็ดฆ่าไก่ นี่เขาเรียกว่าสีลัพพต พวกที่ไปสะเดาะเคราะห์เพื่อกำจัดความไม่สบายใจของตนด้วยการไปทำพิธีกรรมต่างๆ นี่เรียกว่าสีลัพพตปรามาส

วิธีที่จะทำให้ใจเราหายทุกข์ก็คือ ต้องหยุดความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ต้องรู้ว่าความอยากไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายนี้เป็นตัวที่ทำให้เราทุกข์ แล้วการไปทำบาปก็ไม่เป็นวิธีดับทุกข์ แต่เป็นการกระทำให้เกิดทุกข์มากขึ้นไป นี่คือสีลัพพตปรามาส คนที่ไม่รู้อริยสัจ ๔ ไม่รู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไร ก็จะไปแก้ด้วยวิธีต่างๆ ไปหาหมอดู ไปดูฮวงจุ้ย ไปทำบูชาราหู ไปลอดใต้ถุนโบสถ์ ไปถ้าสมัยก่อนก็มีการบูชายันต์ ต้องฆ่าเป็ดฆ่าไก่ฆ่าวัวฆ่าควายบูชาเจ้าที่เจ้ากรรมนายเวรอะไรต่างๆ ก็ว่าไป


ให้เอาบุญวิ่งหนีบาป
ถาม  :  ถ้าในอดีตเราได้ทำบาปฆ่าสัตว์ แต่ในปัจจุบันรู้แล้วว่าเป็นบาปเราจะทำอย่างไรคะในอดีตที่ทำผิดพลาดไป

พระอาจารย์  :  อ๋อ ในอดีตก็ต้องใช้มันไปละซิ ถ้าทำบาปโดยไม่รู้ก็ต้องไปเกิดเป็นเดรัจฉาน งั้นมันห้ามไม่ได้ของเก่าที่ทำไปแล้วก็ต้องรับผลไป แต่เราสามารถรอให้มันลงอาญาได้ เลื่อนเวลาได้ด้วยการพยายามทำบุญให้มากๆ ไว้ ถ้าเราทำบุญไว้มากกว่าบาป เวลาที่เราตายไป บาปมันยังแสดงผลไม่ได้เพราะบุญมันมีกำลังมากกว่า บุญก็จะดึงใจไปสวรรค์ก่อน พอบุญกับบาปมีกำลังเท่ากันเราก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ เราก็มาทำบุญใหม่ พยายามให้มันมากกว่าบาปไว้เรื่อยๆ แล้วเวลาตายมันก็ยังไม่ไปอบาย แต่มันไม่หาย

แต่เวลาใดที่บุญน้อยกว่าบาปแล้วเวลาที่เราตายไป ตอนนั้นแหละบาปมันก็จะดึงเราไปอบาย เราไปลบล้างมันไม่ได้ เพียงแต่เราอาจจะรอลงอาญาได้ด้วยการพยายามทำบุญให้มากกว่าบาปไว้อยู่เรื่อยๆ คือให้เอาบุญวิ่งหนีบาป ถ้าบุญวิ่งเร็วกว่าบาป บาปก็ตามไม่ทัน ถ้าบุญวิ่งช้ากว่าบาป บาปแซงหน้าเมื่อไหร่ บาปมันก็จะพาเราไปอบายเมื่อนั้น.


แผ่เมตตา
ถาม : มีงูเห่าตัวเล็กๆ เข้าบ้าน แล้วคุณพ่อฆ่าแต่ตัวเราเองไม่อยากให้พ่อฆ่า แต่ท่านไม่รับฟัง เราจะบาปด้วยไหมเจ้าคะ และสามารถแผ่เมตตาจะช่วยได้ไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์ : อ๋อ เราไม่บาปหรอกถ้าเราไม่ได้เป็นคนทำและเป็นคนช่วยเขาทำ เขาทำของเขาเอง ส่วนการแผ่เมตตาก็ต้องไปช่วยเขาซิ ถึงจะเรียกว่าแผ่เมตตา คืออย่าไปทำร้ายเขา ถ้าเราแผ่เมตตาด้วยความคิดว่า เออ ขอให้เธอไปสุคติ นี่ไม่ได้แผ่แล้วละ เพราะมันตายแล้ว

งั้นถ้าเราจะแผ่เมตตาต้องแผ่ตอนที่มันยังไม่ตาย พอใครจะไปทำร้ายเขาก็ไปห้ามเขาไปหยุดเขา อันนี้เพื่อให้มันรอดพ้นจากภัยได้ ถึงจะเรียกว่าแผ่เมตตา แต่ถ้าเราอยู่เฉยๆ แล้วเราสวดบทแผ่เมตตามันไม่ได้แผ่หรอก เพราะเราไม่ได้ทำอะไร เราไม่ได้ช่วยเขา.



เรายังช่วยตัวเราเองไม่ได้เลย
ถาม : ท่านอาจารย์คะ สมมุติว่าเรารู้ว่าทางนี้เป็นทางที่ดีและเราเข้าใจ แต่ว่าคนใกล้ตัวเราเขาไม่ยอมรับ และเขาก็ไม่มาทางนี้กับเราเลย เรามีวิธีช่วยเขาอย่างไรคะ

พระอาจารย์ : ก็เรื่องของเขา ไม่ต้องไปช่วยเขา พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ช่วยใคร  ตอนออกจากวัง ก็ออกมาเพียงพระองค์เดียว

ถาม : เราก็รู้เห็นแต่เราก็ทำอะไรไม่ได้

พระอาจารย์ : ทำไม่ได้หรอก เรายังช่วยตัวเราเองไม่ได้เลย จะไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร เรายังว่ายน้ำไม่เป็นเลย เราจะช่วยคนอื่นให้ว่ายได้อย่างไร เราต้องหัดว่ายให้เป็นก่อน ว่ายเป็นแล้วค่อยสอนผู้อื่น พอว่ายเป็นแล้ว ผู้อื่นก็จะเกิดศรัทธาในตัวเรา  อย่างพระพุทธเจ้าพอตรัสรู้แล้วพระราชบิดาก็มีศรัทธา ใครๆก็มีศรัทธา นิมนต์มาสอนในวังเลย ไม่นานก็ได้บรรลุกัน.


นั่งสมาธิแล้วเห็นเป็นสีขาวนวล
ถาม : กราบนมัสการค่ะหลวงพ่อ หนูอยากถามว่าการนั่งสมาธิทำจิตว่าง จะเห็นเป็นสีขาวนวลๆ หมายถึงอะไรเจ้าคะ

พระอาจารย์ : หมายถึงว่ายังใช้ไม่ได้ ต้องนั่งต่อไป อย่าไปสนใจกับสีขาวนวลๆ ถ้าพุทโธก็ต้องพุทโธต่อไป ถ้าดูลมก็ต้องดูลมต่อไป มันต้องเข้าไปจนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ต้องว่างจริงๆ เหลือแต่สักแต่ว่ารู้ แล้วก็มีความสุขอย่างมาก เป็นความสุขที่มหัศจรรย์ใจ นั่นแหละถึงจะเรียกว่าเราได้ผลจากการนั่งสมาธิ

ถ้านั่งไปแล้วยังรู้สึกเฉยๆ เหมือนกับตอนที่ไม่ได้นั่งก็ยังถือว่ายังไม่ได้สมาธิ ถึงแม้จะรู้สึกว่างจะเบาบ้างแต่มันยังไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ต้องนั่งต่อไปต้องดูลมต่อไป หรือต้องพุทโธต่อไปอย่าหยุด. 

ไม่มีสติ
ถาม : เวลานั่งสมาธิแล้วมักจะเห็นอะไรแปลกๆ แวบขึ้นมา นั่นคือเจ้ากรรมนายเวรหรือเราไม่มีสติเจ้าคะ

พระอาจารย์ : อ๋อ ไม่มีสติ พอเผลอสติปั๊บเดี๋ยวก็มีอะไรผุดขึ้นมา ก็แสดงว่ามันเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า “เฮ้ย เผลอสติแล้วนะ” กลับมาหาพุทโธต่อ กลับมาดูลมต่อ อย่านั่งเฉยๆ อย่าขี้เกียจ พอขี้เกียจแล้วเดี๋ยวมันก็โผล่ขึ้นมา 

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #65 เมื่อ: 21 มกราคม 2567 12:37:16 »





ชอบฝันชอบคิด
ถาม : เมื่อ ๒ – ๓ วันขับรถไปทำงาน มีคนบ้าหกคะเมนตีลังกามาตามถนน แต่แปลกพอมาเจอศาลพระภูมิเขาก็นั่งไหว้ได้ ตรงนั้นเป็นสัญญาความจำหรือเป็นอนุสติ

พระอาจารย์ : ถ้าเห็นอะไรจำได้ก็เป็นสัญญา พอมาเจอศาลพระภูมิก็จำได้ว่าเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ต้องแสดงความเคารพ เขามีสติอยู่ในระดับที่จะรับรู้สัญญานั้น ถ้าเขาไปเห็นในสิ่งที่เขาไม่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร เขาก็ปล่อยไปตามความสบายใจ อยากจะทำอะไรก็ปล่อยให้ทำไป อยากจะกระโดดโลดเต้น อยากจะร้องห่มร้องไห้ ก็ทำไป สตินี้มีอยู่ด้วยกันทุกคน จะมีมากหรือมีน้อยเท่านั้นเอง  คนที่เสียสตินี่มีสติน้อยมาก ใจลอยไปตามความคิดปรุงต่างๆ ไม่ได้อยู่กับเหตุการณ์รอบด้าน ไม่มีสัญญาความจำที่จะแยกแยะว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นใครเป็นอะไร ควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร สติเป็นตัวดึงใจไว้ ให้รู้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน ถ้าไม่รู้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน ก็แสดงว่าไม่มีสติ ใจเหม่อลอย เช่นนั่งอยู่ตรงนี้ แต่ไปคิดถึงเรื่องคนนั้นเรื่องคนนี้ เช่นคนที่เสียอกเสียใจสูญเสียคนรักไป มักจะเหม่อลอยเพราะจะคิดถึงอดีต คิดถึงความทรงจำในอดีตต่างๆ อยู่ตรงไหนก็ต้องคิดถึง ก็เหม่อลอยไป เพราะเป็นความสุขของเขา เขายึดติดอยู่กับความสุขนั้น แต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว จึงต้องไปหาความสุขในอดีต ใจก็เลยเหม่อลอยไป คิดถึงในเรื่องอดีตที่ผ่านมา

        พอคิดแล้วก็จะเกิดความทุกข์ เพราะเป็นแค่ความฝัน อยากจะให้เป็นในปัจจุบัน มันก็ไม่เป็น ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา ทุกครั้งที่อยู่กับปัจจุบันก็จะรับไม่ได้ ก็พยายามหนีปัจจุบันอยู่เรื่อยๆ ไปเปิดดูรูปเก่าๆ เสื้อผ้าเก่าๆ แสดงว่าไม่มีสติแล้ว ถ้ามีสติต้องตัดแล้ว อดีตผ่านไปแล้ว ตายไปแล้ว จบแล้ว เหตุการณ์ต่างๆจะเกิดในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้เกิดในอดีต ไม่ได้เกิดในอนาคต เกิดในปัจจุบัน จึงต้องตั้งจิตให้อยู่ในปัจจุบัน แล้วใจจะไม่วุ่นวาย จะไม่ทุกข์ จะไม่สับสน ถ้าไม่มีสติก็จะมีอุปาทานยึดติดกับอดีตกับอนาคต ถ้าปัจจุบันไม่ดี ก็จะฝันถึงอนาคตฝันถึงอดีต  ถ้าอยู่ในปัจจุบันก็จะปล่อยวางกิเลสได้ จะไม่พึ่งพาสิ่งต่างๆ แต่เราไม่อยู่ในปัจจุบันกัน ชอบฝันชอบคิดถึงความสุขที่จะได้รับหรือที่เคยมีอยู่ เราเลยมองข้ามความสุขที่แท้จริง ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไป ก็เลยไม่เคยเจอของจริงเสียที เราอยู่ในโลกของความฝันอยู่ตลอดเวลา เพราะใจเราไม่นิ่ง เราจึงต้องดึงใจให้อยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่มีอะไรจะวิเศษเท่ากับปัจจุบัน ปัจจุบันนี้ไม่มีอะไร ก็สักแต่ว่ารู้ตามความจริงเท่านั้นเอง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าใจเรานิ่ง เราจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างขยับอยู่ตลอดเวลา


ต้องถือศีล ๘ จะได้ปิดทีวีได้
ถาม : ขอเอาแค่ศีล ๕ ให้ครบถ้วนก่อน ค่อยเป็นค่อยไป

พระอาจารย์ : ทำไมมักน้อยเหลือเกิน ทีเงินทองไม่มักน้อยเลย

ถาม : น้องไปภาวนามา ๔ วัน ยังไม่ผ่าน ติดเวทนาค่ะ

พระอาจารย์ : ไม่เป็นไร พยายามไปเรื่อยๆ เป็นนิสัยของเรา พอเจอความเจ็บจะหนีทันที เราต้องฝืนบังคับมัน ทำไปเรื่อยๆ จะได้ทีละนิดทีละหน่อย ขยับไปเรื่อยๆ อีกหน่อยก็นั่งได้นาน จะเจ็บจะปวดอย่างไรก็จะรู้สึกเฉยๆ ขอให้ทำไปเถิด อย่าท้อแท้ ใหม่ๆก็เป็นเหมือนมวยอ่อนหัด ขึ้นเวทีชกได้หมัด ๒ หมัดก็โดนนับ ๘ ต้องเอาประสบการณ์มาเป็นครูสอนเรา แล้วก็ทำต่อไป ทำได้ เพราะทุกคนเวลาเริ่มต้น ก็เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้น ล้มลุกคลุกคลานกันไปก่อน.


ต้องปฏิบัติ
ถาม : แต่ละขั้นจะมีขบวนการของมันใช่ไหม

พระอาจารย์ : ในแต่ละขั้นจะมีปัญหาที่ต้องแก้ มีโจทย์ เหมือนเวลาเรียนหนังสือ เวลาสอบแต่ละชั้นจะมีข้อสอบที่ต่างกันไป ปี ๑ มีข้อสอบอย่างหนึ่ง ปี ๒ มีข้อสอบอย่างหนึ่ง ปี ๓  ปี ๔ ก็มีข้อสอบที่ต่างกันไป พอสอบปี ๑ ได้แล้วก็ไม่ต้องกลับไปสอบใหม่ เพราะเป็นข้อสอบเดิม ต้องไปสอบปีที่ ๒ ปีที่ ๓ ปีที่ ๔ ตามลำดับต่อไป วัตถุของความอยากจะเป็นข้อสอบ ตอนต้นจะติดอยู่ภายนอกก่อน ติดอยู่ที่รูปเสียงกลิ่นรส ต้องตัดให้ได้ก่อน แล้วก็มาตัดที่ร่างกาย ตัดที่ขันธ์ ๕ ตัดรูปขันธ์แล้ว ก็ตัดนามขันธ์ แล้วก็ตัดความสุขที่ละเอียดที่มีอยู่ในจิต ข้อสอบเป็นขั้นๆ ต้องภาวนาต้องปฏิบัติแล้วถึงจะเห็นจริง ที่ฟังอยู่นี้เป็นเพียงสัญญา ฟังแล้วเดี๋ยวก็ลืม เดี๋ยวก็ถามใหม่ ถ้าปฏิบัติจนเห็นแล้วจะไม่ถาม.


คนตายต้องกินบุญ อาหารใจ
ถาม : ตามประเพณีข้าวประดับดินที่ทางภาคอีสานคือเอาอาหารหลายๆอย่าง วางไว้ให้ญาติพี่น้องตอนกลางคืน คนตายจะได้รับหรือไม่เจ้าคะ

พระอาจารย์ : อ๋อ ไม่ได้รับหรอก คนตายกินอาหารไม่ได้ ใช่ไหม คนตายต้องกินบุญ อาหารใจ อาหารของดวงวิญญาณก็คือบุญ บุญจะเกิดก็ต่อเมื่อเราเอาของเราไปทำบุญทำทาน เอาไปให้ผู้อื่นที่เขาเดือดร้อนขาดแคลน ไม่ต้องเป็นพระก็ได้ ทำกับใครก็ได้ ทำแล้วเราจะเกิดบุญขึ้นมาในใจเรา คือความอิ่มใจสุขใจที่เราสามารถแบ่งให้กับจิตใจหรือดวงวิญญาณที่หิวโหยได้ พอดวงวิญญาณที่หิวโหยได้รับบุญคืออิ่มใจ เขาก็จะเกิดความอิ่มใจขึ้นมา เป็นเหมือนอาหารของใจ


ให้เอาบุญวิ่งหนีบาป
ถาม : ถ้าในอดีตเราได้ทำบาปฆ่าสัตว์ แต่ในปัจจุบันรู้แล้วว่าเป็นบาปเราจะทำอย่างไรคะในอดีตที่ทำผิดพลาดไป

พระอาจารย์ : อ๋อ ในอดีตก็ต้องใช้มันไปละซิ ถ้าทำบาปโดยไม่รู้ก็ต้องไปเกิดเป็นเดรัจฉาน งั้นมันห้ามไม่ได้ของเก่าที่ทำไปแล้วก็ต้องรับผลไป แต่เราสามารถรอให้มันลงอาญาได้ เลื่อนเวลาได้ด้วยการพยายามทำบุญให้มากๆ ไว้ ถ้าเราทำบุญไว้มากกว่าบาป เวลาที่เราตายไป บาปมันยังแสดงผลไม่ได้เพราะบุญมันมีกำลังมากกว่า บุญก็จะดึงใจไปสวรรค์ก่อน พอบุญกับบาปมีกำลังเท่ากันเราก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ เราก็มาทำบุญใหม่ พยายามให้มันมากกว่าบาปไว้เรื่อยๆ แล้วเวลาตายมันก็ยังไม่ไปอบาย แต่มันไม่หาย แต่เวลาใดที่บุญน้อยกว่าบาปแล้วเวลาที่เราตายไป ตอนนั้นแหละบาปมันก็จะดึงเราไปอบาย เราไปลบล้างมันไม่ได้ เพียงแต่เราอาจจะรอลงอาญาได้ด้วยการพยายามทำบุญให้มากกว่าบาปไว้อยู่เรื่อยๆ คือให้เอาบุญวิ่งหนีบาป ถ้าบุญวิ่งเร็วกว่าบาป บาปก็ตามไม่ทัน ถ้าบุญวิ่งช้ากว่าบาป บาปแซงหน้าเมื่อไหร่ บาปมันก็จะพาเราไปอบายเมื่อนั้น


วิธีที่ได้ผลเร็ว
ถาม : ถ้าบริกรรมพุทโธแล้วง่วงซึม ควรจะทำอย่างไร

พระอาจารย์ : ควรเปลี่ยนอิริยาบถ ถ้านั่งก็ควรลุกขึ้นมาเดินแทน ถ้าเดินไปข้างหน้ายังง่วงอยู่ก็ให้เดินถอยหลัง ในสมัยพุทธกาลเวลาง่วงพระจะเดินถอยหลัง เดินลงไปในน้ำ ถ้ายังไม่หาย ก็เอาหญ้าจุ่มน้ำมาโพกไว้บนศีรษะ การอดอาหารก็ช่วยแก้ความง่วงได้ นั่งอยู่บนปากเหว นั่งตามที่ที่มีเสือผ่าน มีงูเลื้อยผ่านไปผ่านมา นั่งในป่าช้าก็แก้ได้เหมือนกัน วิธีแก้ความง่วงมีหลายวิธีด้วยกัน ถ้ามีความกล้าหาญก็จะใช้วิธีที่ได้ผลเร็ว ถ้าไม่กล้าหาญก็จะใช้วิธีที่ได้ผลช้าหรือไม่ได้ผลเลย จะปฏิบัติแบบสบายๆไม่ต้องลำบากไม่ต้องทุกข์นี่ไม่มีทาง

เหมือนคนสมัยนี้คิดกันว่าปฏิบัติแบบสบายๆ ไม่ต้องทรมานตนให้เสียเวลาก็บรรลุได้ บรรลุแบบกิเลสหัวเราะอยู่ในใจ บรรลุด้วยสัญญา ว่าเราถึงขั้นนั้นแล้ว ถึงขั้นนี้แล้ว แต่ยังไม่เคยเข้าห้องสอบดูเลย เหมือนนักมวยแค่ชกกับกระสอบทราย ก็ว่าเป็นแชมป์แล้ว ได้เหรียญทองแล้ว แต่ยังไม่เคยขึ้นเวทีเลย ปฏิบัติแบบสบายๆจะเป็นอย่างนั้น เป็นสัญญา ไม่ได้เป็นแบบความจริง.


ทุกข์เกิดจากความอยาก
ถาม : ได้ฟังเรื่องอริยสัจ ๔ แล้วมีความรู้สึกขึ้นมาว่าทุกข์ มีทุกข์ซ้อนทุกข์ขึ้นในจิต ควรจะพิจารณาต่อใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : พิจารณาให้เห็นว่าทุกข์เกิดจากความอยาก เกิดจากสมุทัย ถ้าละความอยากได้ ทุกข์ก็จะดับ จะดับความทุกข์ได้ก็ต้องเห็นไตรลักษณ์ ต้องใช้ไตรลักษณ์พิจารณาละความอยาก พอตัดความอยากได้ ความทุกข์ก็จะหายไป

ถาม : มันหายเป็นช่วงๆ มันเกิดดับๆ เป็นช่วงๆ

พระอาจารย์ : เพราะยังตัดไม่ขาด

ถาม : บางช่วงเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา

พระอาจารย์ : ต้องไปพิสูจน์ดูว่าเห็นจริงหรือไม่ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับร่างกาย เราทุกข์หรือเปล่า การพิจารณานี้เป็นเหมือนกับการวิเคราะห์ ยังไม่ได้เจอของจริง ต้องไปเจอของจริงดู ก็จะรู้ว่าปล่อยวางได้หรือไม่ พิจารณาร่างกายให้เห็นว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา เพื่อจะได้ปล่อยวาง ให้เห็นว่าเป็นร่างกายของคนอื่น ร่างกายคนอื่นเวลาหมอบอกว่าเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นโรคมะเร็ง จะตายใน ๖ เดือน เราก็ไม่ได้ไปทุกข์วุ่นวายใจด้วย ถ้าหมอบอกว่าร่างกายของเราจะตายภายใน ๖ เดือน เราจะทุกข์วุ่นวายใจหรือไม่ ถ้าไม่ก็แสดงว่าเห็นว่าไม่ใช่ตัวเราของเรา ถ้ายังทุกข์วุ่นวายใจอยู่ ก็ยังไม่ผ่าน ตอนนี้เป็นเพียงการทำการบ้าน ต้องไปเข้าห้องสอบ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มกราคม 2567 12:38:56 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 121.0.0.0 Chrome 121.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #66 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2567 14:12:10 »




พิจารณา
ถาม : กลางคืนหลังจากสวดมนต์ทำวัตรแล้วก็นั่งภาวนาพุทโธๆ พอตื่นขึ้นมาตอนตีสองตีสาม จะพิจารณาได้ไหมคะ

พระอาจารย์ : ได้ พิจารณาว่าเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องตายเป็นธรรมดา ต้องพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา พิจารณาทั้งตัวเราเองและคนอื่น ไม่ใช่ร่างกายของเราเท่านั้น คนที่เรารักที่เรารู้จักก็เป็นเช่นเดียวกัน คนที่เราไม่รักเราไม่รู้จักก็เป็นเช่นเดียวกัน ต้องให้เห็นว่าทุกคนเป็นเหมือนกันหมด เกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ควรเจริญสติและพิจารณาทางปัญญาในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่เจริญสติ ก็ควรพิจารณาทางปัญญา เห็นอะไรก็คิดว่าไม่เที่ยง อย่าไปอยากได้ ถ้าอยากได้ก็จะทุกข์ ก็จะตัดกิเลสได้.


ควรทำอย่างไร
ถาม : กราบเรียนถามพระอาจารย์ ปฏิบัติต่อเนื่องมา ๑๐ ปี ไม่มีความคืบหน้า ลองมาหลายวิธีจนงงไปหมด วิธีไหนก็ไม่ได้ผล ควรทำอย่างไรต่อไปครับ

พระอาจารย์ : ก็ต้องใช้สติแหละ วิธีไหนก็ต้องเป็นวิธีสติทั้งนั้น วิธีสติก็มี ๔๐ วิธี ลองไปลองให้หมดดูซิ แต่ส่วนใหญ่สำหรับผู้เริ่มต้นนี้ ท่านก็สอนแค่ ๑๐ วิธี อนุสสติ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อานาปานสติ มรณานุสสติ กายคตาสติ นี่เป็นวิธีเจริญสติ เราก็เลือกเอา จะเอาอันไหน พุทโธก็ได้ ธ้มโมก็ได้ สังโฆก็ได้ หรือจะสวดอิติปิโสก็ได้ แล้วแต่ว่าเราถนัดเราชอบอย่างไหน ปัญหาอาจจะไม่ใช่วิธีมั้ง ปัญหาอาจจะอยู่ที่ว่าเราทำแบบนกกระจอกกินน้ำหรือเปล่า ทำแบบทำปุ๊บ ซักวินาทีสองวินาทีหยุดทำแล้ว แล้วก็มาบอกว่าปฏิบัติ ๑๐ ปีไม่ได้ผล
ปฏิบัติอย่างนี้ ๑,๐๐๐ ปี ก็ไม่ได้ผล ถ้าปฏิบัติแบบนกกระจอกกินน้ำ มันต้องปฏิบัติแบบเป็นเวลายาวๆ มากๆ เดินจงกรมที ๒-๓ ชั่วโมงอย่างนี้ พุทโธ นั่งนานๆ อะไรอย่างนี้ หรือเวลาไม่ได้นั่งไม่ได้เดินก็ต้องมีสติอยู่กับการกระทำของเราเรียกว่า “กายคตาสติ” หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมีพุทโธคอยกำกับใจ อาบน้ำก็พุทโธ ล้างหน้าก็พุทโธ แปรงฟันก็พุทโธ ถ้าทำอย่างนี้อย่างต่อเนื่อง ถ้าไม่มีผลขึ้นมา มาเตะเราได้ เพราะใช้มาแล้วมันได้ผล ขอให้มันทำแบบจริงๆ จังๆ อย่าทำแบบลูบหน้าปะจมูก ทำแบบพอหอมปากหอมคอ ทำสักแป๊บหนึ่ง ไม่ได้ผล เลิกแล้ว เปลี่ยนวิธีอีกแล้ว วิธีนี้ก็ไม่ถูก วิธีนั้นก็ไม่ถูก มันไม่ใช่ที่วิธีหรอกที่ไม่ถูก มันอยู่ที่การกระทำของเรามันไม่ถูก ทำน้อยไป ทำไม่มากพอ มันก็เลยไม่เกิดผลขึ้นมา.


การทำตาชั่งให้อยู่ตรงศูนย์
ถาม : การทำสมาธิสลับกับการพิจารณา ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาธิที่จิตรวมเป็นหนึ่งก่อนใช่หรือไม่ คือพิจารณาสลับไปสลับมาได้เลย ถึงแม้จิตยังไม่รวมก็ตาม

พระอาจารย์ : ถ้าไม่รวมจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร การรวมของจิตนี้ เป็นเหมือนการทำตาชั่งให้อยู่ตรงศูนย์ ตรงอุเบกขา เวลาพิจารณาจะเที่ยงตรงเหมือนกับตาชั่ง ถ้าเอียงไปทางบวกหรือทางลบ เวลาเอาของไปชั่งน้ำหนัก จะไม่ได้น้ำหนักที่แท้จริง ถ้าของหนัก ๑๐ กิโลฯ แต่ตาชั่งเอียงไปทางบวก ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะหนัก ๑๑ กิโลฯ จะไม่ได้ ๑๐ กิโลฯ ถ้าลบ ๑ กิโลฯ เวลาชั่งจะได้ ๙ กิโลฯ ใจก็เหมือนกัน ถ้าไม่รวมเป็นอุเบกขา จะมีอคติทั้ง ๔ คือรักชังกลัวหลงอยู่ เวลาพิจารณาจะถูกอคติทั้ง ๔ นี้หลอกล่อ ทำให้ไม่สามารถตัดได้.


ผลพลอยได้
ถาม : ถ้ารักษาใจ ปล่อยวางร่างกาย อายุจะยืนขึ้นหรือไม่

พระอาจารย์ : ผลพลอยได้มักจะเป็นอย่างนั้น คนที่รักษาใจได้ดีอายุจะยืน หลวงตาตอนนี้ก็ ๙๖ ปีแล้ว เพราะใจของท่านไม่ไปกระทบกระเทือนกับการทำงานของร่างกาย


ต้องมีสติ
ถาม : การฝึกสตินี้ ควรฝึกให้ทำอะไรช้าๆหรือเปล่าคะ

พระอาจารย์ : ทำภารกิจตามปกติ เดินไปไหนมาไหนก็เดินตามปกติ สติไวกว่าร่างกายหลาย ๑๐๐ เท่า ให้มีสติรู้อยู่กับร่างกาย ให้รู้ว่ากำลังอยู่กับร่างกายหรือเปล่า หรือกำลังคิดเรื่องอื่นแล้ว ถ้าคิดเรื่องอื่นก็ดึงกลับมาที่ร่างกาย ดึงกลับมาเรื่อยๆ ส่วนการทำงานของร่างกายก็ทำอย่างปกติ ไม่ต้องช้า ไม่เหมือนกับที่สอนกัน ให้ยกหนอ ก้าวหนอ วางหนอ ไม่จำเป็นต้องทำช้าขนาดนั้น

ถาม : เวลาทำงานมีความรู้สึกว่า ทางโลกกับทางธรรมจะสวนกัน ทางธรรมให้ปล่อยวาง จะเสร็จหรือไม่เสร็จไม่เป็นไร แต่ทางโลกให้มีความรับผิดชอบ ต้องทำให้เสร็จ

พระอาจารย์ : ทำด้วยสติ จะสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ที่ผิดพลาดเพราะไม่ได้อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ มัวไปกังวลกับเป้าหมาย ก็เลยไม่ได้อยู่กับงาน ทำแบบผิดๆถูกๆ ยิ่งรีบก็ยิ่งผิด ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ขัดกันหรอกทางธรรมกับทางโลก ต้องมีสติทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม ถึงจะสำเร็จลุล่วงได้ ถ้าไม่มีสติก็จะผิดพลาด จะพลั้งเผลอ ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็เลยไม่รู้ว่าทำถูกหรือไม่ ทางธรรมกับทางโลกถ้าเกี่ยวกับสตินี้ ไม่ขัดกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติมีความจำเป็นในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการงานทางโลกหรือการงานทางธรรม ต้องมีสติเสมอ ถึงจะทำได้อย่างไม่ผิดพลาด ถ้าไม่มีสติก็ทำไม่ได้ เวลาเมาเหล้าแล้วเย็บผ้าได้ไหม เย็บไม่ได้หรอก ต้องมีสติ.


คุมกิเลส สู้กิเลส
ถาม : เวลานั่งสมาธิจะติดฟังเทศน์ค่ะ นั่งเองจะไม่สงบ จะฟุ้งซ่านค่ะ

พระอาจารย์ : นั่งสมาธิแล้วฟังเทศน์ไปก็ทำได้ เป็นเหมือนการทำการบ้าน สร้างพลังจิตขึ้นมาก่อน สร้างสมาธิขึ้นมาก่อน พอมีสมาธิแล้วค่อยนั่งต่อสู้กับกิเลสตัณหา ตอนนั่งฟังเทศน์เป็นการทำการบ้าน ยังไม่ได้เข้าห้องสอบ พอได้สมาธิแล้ว ก็เข้าห้องสอบสู้กับความอยากที่จะไปตรงนั้นมาตรงนี้ วันนี้ไม่ต้องไปไหน ให้อยู่เฉยๆ อยู่จุดเดียว ดูว่าจะอยู่ได้ไหม ถ้าอยู่ได้ก็แสดงว่ากิเลสตัณหาไม่ค่อยแรงไม่ค่อยมาก พอควบคุมกิเลสได้ ถ้านั่งไม่ได้ก็แสดงว่ายังสู้กิเลสไม่ได้ เพียงแต่คิดก็กลัวกิเลสแล้วใช่ไหม

ถาม : เวลานั่งเฉยๆนี่ ถ้าจิตจะคิดโน่นคิดนี่ก็ปล่อยให้คิด

พระอาจารย์ : ถ้าปล่อยให้คิดก็ยิ่งฟุ้งซ่านใหญ่เลย

ถาม : ต้องไม่คิด

พระอาจารย์ : ถ้าไม่คิดก็จะสบายเหมือนเปิดแอร์ ถ้าร้อนเราก็เปิดแอร์ เราก็พุทโธๆไป เหมือนกับเปิดแอร์ จะช่วยสกัดความคิดที่อยากจะลุกไปไหนมาไหน ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องใช้ความอดทน จะยากมาก ถ้าพุทโธได้จะง่าย ความจริงไม่ได้พุทโธไปทั้ง ๖ ชั่วโมงหรอก พุทโธไปสักระยะหนึ่ง พอรู้สึกสบายก็หยุดได้ พอกลับมาคิดใหม่ อยากจะลุกขึ้น ก็พุทโธใหม่ ก่อนจะเข้าห้องสอบควรจะมีสติสมาธิและปัญญาบ้าง ถ้าไม่มีก็จะไม่อยากเข้าห้องสอบ.


อย่าให้เลยเถิด
ถาม : ช่วงนี้ปฏิบัติไม่ดี หมกมุ่นกับเรื่องงานมากไป ไม่อยู่กับพุทโธ ชอบอยู่กับอนาคต พรุ่งนี้จะทำอะไร ไม่อยู่ในปัจจุบัน

ตอบ : ถ้าจำเป็นต้องคิดก็คิดไป แต่ควรมีขอบเขต มีเวลา ไม่ควรปล่อยให้คิดเลยเถิด ถ้าหมดความจำเป็นแล้ว ก็ควรกลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน มาสร้างความสงบใจให้ได้ ถ้าไม่กลับมาสร้างความสงบ ทำให้จิตรวมลงได้ ก็จะวนอยู่ในอ่างอย่างนี้ จะไปไม่ถึงไหน พอร่างกายแก่ลงไปเรื่อยๆ ก็จะอ่อนกำลังลงไปเรื่อยๆ ต่อไปก็จะปฏิบัติไม่ได้ ถ้าจำเป็นต้องหมกมุ่นกับการงาน ก็ให้เป็นชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น อย่าให้เลยเถิด พอเสร็จแล้ว ก็ต้องดึงจิตกลับมาภาวนาอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่คืบหน้า จะไม่สำเร็จลุล่วงเพราะเถลไถล ไม่เห็นความสำคัญของการปฏิบัติเท่ากับงานอื่น ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องทำไปก่อน แต่ไม่มีอะไรที่จำเป็นตลอดเวลา ถ้าต้องทำงานเพื่อเก็บเงินเก็บทองไว้ใช้กับการปฏิบัติ ก็ต้องทำไปก่อน พอบรรลุเป้าหมายแล้ว ก็ควรจะหยุดหรือทำให้น้อยลงไป มาทำงานทางจิตให้มากขึ้น.


อยู่ที่สติตัวเดียว
ถาม : ฟังดูง้ายง่าย แต่ทำย๊ากยาก

พระอาจารย์ : อยู่ที่สติตัวเดียว สติอยู่กับงานที่ทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ไปคิดเรื่องอื่น.


ไม่มีภาชนะรองรับธรรม
ถาม : อยากจะเอาลูกมากราบท่าน แต่ไม่รู้จะเอามายังไง

พระอาจารย์ : ปล่อยเขาไปเถิด เป็นวิบากของเขา ไม่มีภาชนะที่จะรองรับธรรมะ ชอบกันคนละอย่าง ได้มาเจอกัน มาอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน แต่ความรู้สึกนึกคิดต่างกัน เหมือนฟ้ากับดิน ช่วยไม่ได้ มันเป็นอย่างนั้น เข้าใจว่าแม่ของพระสารีบุตรหรือแม่ของพระโมคคัลลาน์ ก็ไม่ได้มีศรัทธา   ช่วยไม่ได้ เป็นเรื่องของการสะสมบุญบารมี สะสมมามากน้อยเพียงไรก็จะส่งผลให้เป็นไปดังที่เห็นกัน ตัดใจดีกว่า จะได้ไม่ทุกข์ใจ แต่ไม่ปล่อยปละละเลย ดูแลกันไป ถ้าจะดิ้นรนเข้ากองไฟก็ห้ามเขาไม่ได้ ไม่ได้เฝ้าตลอด ๒๔ ชั่วโมง ถ้าใจเขารักอะไรก็ต้องไปหาสิ่งนั้น.


ทำไมจิตที่บรรลุธรรมแล้วไม่กลับมาเป็นปุถุชน
คำถาม : ทำไมจิตที่บรรลุธรรมแล้วไม่สามารถกลับมาเป็นปุถุชนได้ครับ การปิดอบายภูมิหมายถึงอย่างไรครับ และสามารถทดสอบได้ไหมครับ

พระอาจารย์ : อ๋อ ไม่ใช่ไม่สามารถหรอก ไม่อยากมากกว่า เหมือนคนที่ออกจากกองไฟแล้วไม่อยากจะกลับเข้าไปในกองไฟใหม่ เหมือนคนที่เข้าไปอยู่ห้องแอร์แล้ว ไม่อยากจะออกมาอยู่ข้างนอกแล้ว เพราะคนที่บรรลุธรรมนี้จะเข้าสู่สภาพที่สุขที่เย็น จิตที่มีความสุขมีความเย็น จะไม่อยากกลับไปสู่สภาพของจิตที่ร้อนที่วุ่นวาย


วุ่นวายกับเรื่องภายนอก
ถาม : ช่วงนี้ภาวนาไม่ดี

พระอาจารย์ : เพราะไปวุ่นวายกับเรื่องภายนอก ต้องพิจารณาว่ามันเป็นธรรมดา อย่าไปกังวลกับมันมากเกินไป เราแก้มันไม่ได้ แก้ส่วนของเราดีกว่า ทำใจเราไม่ให้กระเพื่อม พอใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขึ้นก็พอใจ ลงก็พอใจ อย่าเอาแต่ขึ้นอย่างเดียว พอลงก็จะไม่พอใจ.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 123.0.0.0 Chrome 123.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #67 เมื่อ: 02 เมษายน 2567 14:15:19 »




ปัญญาไม่เต็มร้อย
ถาม : เวลาฝึกก็คิดว่าไม่เสียใจ พอเวลาเจอของจริง ลึกๆแล้วยังเสียใจอยู่

พระอาจารย์ : ดีกว่าตอนที่ยังไม่ได้ฝึก ไม่ถึงกับร้องไห้

ถาม : ยังพอทำใจได้แต่ไม่ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

พระอาจารย์ :  เพราะปัญญาไม่เต็มร้อย

ถาม : เวลาทำบุญมากๆบ่อยๆนี่ เวลาของหายแล้วจะไม่ค่อยเสียดาย

พระอาจารย์ :  ถ้าจะไม่ให้เสียดายเลย ก็ต้องปล่อยร่างกายให้ได้ ถ้าปล่อยได้แล้ว เวลาของหายไปจะรู้สึกเฉยๆ เพราะพวกเรารักร่างกายมากที่สุด ถ้าปล่อยร่างกายได้แล้วของอย่างอื่นจะไม่เป็นปัญหาเลย อย่างพระภิกษุนี่ก็ปล่อยข้าวของหมดแล้ว ร่างกายก็ไปปล่อยไว้ในป่า ยอมตาย กลัวสิ่งใดก็ออกไปหาสิ่งนั้น กลัวความมืดก็ออกไปหาความมืด กลัวงูก็เดินเข้าในป่า ยอมให้งูกัด ตอนนั้นจิตจะรู้สึกกลัวมาก  ถ้าพิจารณาด้วยปัญญา ก็จะคิดว่าอย่างมากก็แค่ตาย อย่างไรก็ต้องตายอยู่ดี   พอยอมรับความจริงนี้ ก็จะหายกลัว จิตจะดิ่งลงสู่ความสงบ ปล่อยวางร่างกาย จะไม่เสียดายร่างกาย ข้าวของยิ่งไม่เสียดาย เวทนาก็ต้องปล่อยให้เจ็บไป ปล่อยให้หายไปเอง ถ้าไม่หายก็ไม่เป็นไร เพราะใจวางเฉยได้ นี่คือการปล่อยรูปขันธ์นามขันธ์ แล้วก็เข้าไปปล่อยในจิต ที่ยังมีกิเลสหลบซ่อนอยู่ ต้องปล่อยเป็นขั้นๆ  ปล่อยกาย ปล่อยเวทนา ปล่อยจิต ตามลำดับ.


สติคุมใจ
ถาม  : ลูกเกิดเวทนา เป็นโรคไขข้อ  นั่งได้ระยะหนึ่งจิตจะบอกให้หยุดนั่ง เป็นเพราะสติไม่แก่กล้า หรืออินทรีย์ ๕ ยังไม่พร้อม

พระอาจารย์  :  สติก็เป็นหนึ่งในอินทรีย์ ๕ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ  เวลานั่งถ้ามีสติอยู่กับคำบริกรรม  จะไม่ค่อยเจ็บเท่าไหร่  ความเจ็บที่เกิดจากร่างกายจะไม่รุนแรง เท่ากับความทุกข์ที่เกิดจากการปรุงแต่งของใจ  ถ้าใจไม่มีโอกาสปรุงแต่ง ความทุกข์ใจก็จะไม่เกิด สติจะคุมใจให้อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน ก็จะนั่งได้นาน จะสงบ จะไม่ค่อยเจ็บ.


เห็นอยู่ตลอดเวลา
ถาม : ถ้าเห็นโครงกระดูก จิตผู้รู้จะบอกว่ามันเป็นธาตุดิน จะต้องทำอย่างไรต่อเจ้าคะ

พระอาจารย์ : พิจารณาต่อไปจนกว่าจะเห็นอยู่ตลอดเวลา ว่าร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔ ไม่ได้เป็นตัวเราของเรา  แล้วก็ปล่อยวางความยึดติดในร่างกายได้ ถ้าอยากจะรู้ว่าเราปล่อยวางจริงหรือไม่ ก็ต้องเอาร่างกายนี้ไปอยู่ในป่าช้า ในป่าเปลี่ยว ไปพิสูจน์ดูว่ายังมีความยึดติดในร่างกายหรือไม่ การเห็นโครงกระดูกนี้เป็นปริยัติ จะรู้จริงหรือไม่ อยู่ตอนที่มันจะตาย ถ้าเฉยก็แสดงว่าไม่ยึดติด ถ้าไม่เฉยยังกลัว ยังทุกข์ ก็ยังไม่รู้จริง ต้องไปทดสอบดู อย่างหลวงปู่ท่านหนึ่งเดินธุดงค์ตอนกลางคืน พอไปเจอเสือเข้า จิตก็รวมลงเข้าสู่สมาธิ ปล่อยวางร่างกาย เราจะทำอย่างนั้นได้หรือไม่ ถ้ามีปัญญาเห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราของเรา ก็จะปล่อยวางร่างกายได้ จะเป็นอะไรก็ให้เป็นไป ใจเป็นอุเบกขา แยกออกจากร่างกาย ต่อไปจะไม่กลัวตาย เพราะรู้ว่าเวลามีภัยใจมีที่หลบมีที่พึ่ง มีอุเบกขาธรรมเป็นที่พึ่งของใจ ถ้าเห็นโครงกระดูก เห็นว่าเป็นดินน้ำลมไฟนี้ยังไม่พอ ต้องไปเจอภัยที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย แล้วดูใจว่าตื่นเต้นหรือสงบ ถ้ามีปัญญาก็จะคุมใจให้สงบ ให้ปล่อยวางร่างกายได้ ถ้าวิ่งหนีภัยแสดงว่ายังยึดติดอยู่กับร่างกาย.


ต้องทิ้งทุกอย่าง
ถาม : เวลานั่งสมาธิก็นึกถึงรูปภาพของคนตาย แต่ไม่สามารถเห็นว่าตัวเราก็จะเป็นแบบนี้เจ้าค่ะ

พระอาจารย์ : เพราะมองไม่นานพอ แล้วก็มีงานอย่างอื่นให้ไปมอง ก็เลยมองไม่เห็น ต้องออกบวช ออกจากรูปเสียงกลิ่นรส ออกจากเรื่องของคนเป็น ไปอยู่ที่วิเวก จะได้คิดเรื่องตายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีเรื่องอื่นมากลบ ถ้าอยากจะบรรลุเร็วๆ ก็ต้องทิ้งทุกอย่างไป ไม่เช่นนั้นจะไม่สำเร็จ เพราะไม่มีเวลาพิจารณาความตายอย่างต่อเนื่อง.


มีธรรมะเป็นเพื่อน
ถาม : ท่านอาจารย์ใช้อะไรควบคุมจิตใจไม่ให้อยากไปเที่ยว

พระอาจารย์ : ใช้การภาวนา ใช้สติเฝ้าดูร่างกายตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นจนหลับ เฝ้าดูร่างกายว่ากำลังทำอะไร กำลังยืน กำลังเดิน กำลังนั่ง ถ้านั่งเฉยๆก็ดูลมหายใจเข้าออก จนจิตรวมเข้าสู่ความสงบ เบื้องต้นต้องเจริญสติก่อนเพื่อให้ได้สมาธิ พอได้สมาธิแล้วก็ออกทางปัญญา พิจารณาร่างกาย พิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณาอสุภะ พิจารณาธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ พิจารณาทุกขเวทนา พิจารณาทุกข์ในอริยสัจ ๔ ที่เกิดจากสมุทัย คือความอยาก อยากให้ความเจ็บของร่างกายหายไป ถ้าหยุดความอยากให้ความเจ็บหายไปก็จะไม่ทุกข์ใจ ใจก็จะเฉยกับความเจ็บของร่างกาย อยู่กับมันได้ มันเจ็บเราก็ดูมันเจ็บไป แต่ใจไม่ได้เจ็บกับร่างกาย เพราะรักษาใจด้วยปัญญา ไม่ให้เกิดความอยาก ไม่ให้เกิดสมุทัย คือวิภวตัณหา ความอยากให้ความเจ็บหายไป หรืออยากจะหนีจากความเจ็บไป

ถาม : ท่านอาจารย์มีเพื่อนเยอะไหมคะ

พระอาจารย์ : ไม่มี ตัดหมด มีธรรมะเท่านั้นที่เป็นเพื่อน

ถาม : ไม่คบเพื่อนเลย

พระอาจารย์ : คบไปทำไม คบแล้วได้อะไร ได้แต่ชวนไปเที่ยว ชวนไปกิน ชวนไปดื่ม


ดับกามารมณ์
ถาม : วันก่อนฟังเทศน์หลวงปู่สิม แล้วทำงานไปด้วย เห็นร่างกายกลายเป็นกระดูกไปหมด เห็นทั้งวันเลย จะต้องรักษาอย่างไรคะ

พระอาจารย์ : เอามาใช้เจริญปัญญา มองใครก็มองให้เห็นกระดูก โดยเฉพาะเวลาเกิดกามารมณ์ อยากจะร่วมหลับนอนกับใคร ก็มองให้เห็นกระดูกของเขา ก็จะดับกามารมณ์ได้ ปัญญามีไว้เพื่อดับกามารมณ์ ดับความกลัวความตาย ถ้ากลัวความตาย ก็ให้พิจารณาว่าต่อไปร่างกายก็จะกลายเป็นเศษกระดูกไป จะหายกลัว ตอนที่เห็นกระดูกยังไม่เป็นประโยชน์ เป็นเหมือนได้เครื่องมือได้อาวุธมา ต้องเอาไปใช้ฆ่าศัตรู ศัตรูก็คือกิเลส เช่นความกลัวตาย กามารมณ์ ต้องเอาภาพที่เห็นมาเป็นอาวุธ มาทำลายกิเลส พยายามรักษาอาวุธนี้ไว้ ด้วยการพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เพราะไม่รู้ว่าจะต้องใช้เมื่อไหร่ เวลาไปเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกลัว ก็จะได้ปลงได้ เพราะในที่สุดร่างกายก็ต้องกลายเป็นเศษกระดูกไป ถ้าไปพบเห็นคนที่เราชอบเรารัก ก็ให้คิดว่าเป็นแค่โครงกระดูก ก็จะดับกามารมณ์ได้.


คำถาม
ถาม : จริงๆ แล้วควรเจริญทั้งสมาธิทั้งปัญญาควบคู่กันไปใช่ไหมค่ะ

พระอาจารย์ : ทำสลับกันไป ถ้าสมาธิยังไม่เต็มที่ ปัญญาจะทำงานไม่ได้ผลเต็มที่ สมาธิจะเต็มที่ได้จิตต้องรวมลง เหลือเพียงแต่สักแต่ว่ารู้ ปล่อยวางร่างกาย รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะต่างๆ ถึงแม้จะมาสัมผัสแต่จิตจะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย จะอยู่นิ่งๆตามลำพัง ถึงจะมีพลังเบรกกิเลส เพราะการทำสมาธิเป็นการหยุดจิต  เมื่อจิตหยุดกิเลสก็ทำงานไม่ได้ แต่เราไม่เคยหยุดจิตมาก่อน จึงไม่รู้จะหยุดอย่างไร เหมือนขับรถแต่ไม่รู้ว่าเบรกอยู่ตรงไหน รู้แต่คันเร่ง พอถึงเวลาจะเบรกก็เบรกไม่ได้ ที่เรามานั่งสมาธิกัน ก็เพื่อหาคันเบรกของจิต ให้รู้จักวิธีหยุดจิต พอรู้แล้วเวลาเกิดกิเลสขึ้นมาก็จะหยุดกิเลสได้ ถ้าไม่มีสมาธิก็เหมือนกับไม่รู้ว่าเบรกอยู่ตรงไหน พอเกิดกิเลสขึ้นมาก็หยุดไม่ได้ พอพิจารณาความตาย แทนที่จะสงบกลับฟุ้งซ่านขึ้นมา เพราะไปกระตุ้นความกลัวให้มีมากขึ้น แทนที่จะทำให้ปลงกลับไม่ปลง เพราะไม่มีสมาธิ จึงปลงไม่ได้.


ตาย
ถาม :  พระอาจารย์ค่ะ เผอิญมีน้องคนหนึ่ง เขาฝันว่าตัวเองตาย เขาคิดเป็นจริงเป็นจังแล้วไม่สบายใจ ยังรับความตายไม่ได้ ควรทำอย่างไร ทุกอย่างยังไม่ได้ทำให้เรียบร้อย การงานก็ยังไม่เรียบร้อย เลยเป็นห่วงกังวล แต่เขาก็ปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้มากๆ ขอให้พระอาจารย์อธิบายให้เขาฟังนิดหนึ่งค่ะ เขาไม่สบายใจค่ะ

พระอาจารย์  : ถ้ารับความตายไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งไปพิจารณา พยายามเจริญสมาธิให้มาก ให้จิตสงบก่อน แล้วค่อยพิจารณา การปฏิบัติของแต่ละคนจะแตกต่างกัน ถ้ายังไม่มีสมาธิก็ต้องเจริญสมาธิก่อน ให้จิตมีกำลังที่จะรับกับการพิจารณา ถ้าจิตรวมลงแล้วจะรับได้ จะรู้ว่าจิตไม่ใช่ร่างกาย แต่ถ้ายังไม่รวมลง ก็จะคิดว่าตัวเองจะตาย เพราะคิดว่าร่างกายเป็นตน ก็เลยกลัว

ถาม : เขาบอกว่าเขาใช้วิธีวิปัสสนา

พระอาจารย์ : ถ้าเจริญวิปัสสนาโดยไม่เจริญสมาธิเลยก็จะเป็นอย่างนี้ จะไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะสมาธิเป็นฐานของวิปัสสนา นอกจากใช้วิปัสสนาเพื่อทำจิตให้สงบให้เป็นสมาธิ ที่เรียกว่าปัญญาอบรมสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้วจึงค่อยพิจารณากาย พิจารณาอสุภะ ถึงจะก้าวไปได้ .


รักษาศีล ๘
ถาม : ท่านพระอาจารย์คะ ปัญหาว่าถือศีล ๘ อยู่ แต่พอดีไม่สบายต้องทานอาหารเย็น เพราะว่าหมอให้ทานยาหลังอาหาร ลูกก็ว่าถ้ายกเว้นตอนนี้แล้วจะไปอยู่เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น นี่จะเป็นการผิดไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์ : มันก็ไม่ได้รักษาศีล ๘ ครบบริบูรณ์ แทนที่จะได้รางวัลที่ ๑ ก็เอารางวัลที่ ๒ ไปก่อน  ถ้ารักษาศีล ๘ ก็ได้เหรียญทอง ถ้ารักษาศีล ๕ ก็ได้เหรียญเงิน เหมือนการแข่งขันกีฬา

ถาม : ต้องกินยาเย็นนี่คะ

พระอาจารย์ : เพราะว่าเราต้องการรักษาร่างกายเรามากกว่ารักษาศีล ๘.



บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #68 เมื่อ: 14 เมษายน 2567 16:41:16 »




ตัวโกรธ
ถาม : วันหนึ่งลูกนั่งสมาธิเสร็จแล้ว ได้ข่าวว่าคนที่รู้จักเสียชีวิต ก็เลยคิดไปว่า ถ้าเราโกรธเขาอยู่ พอเขาตายไป เรายังโกรธเขาอยู่หรือไม่ ถ้าไม่โกรธ แสดงว่าเราโกรธกายเขาใช่หรือไม่ กายเขาตายไป เราถึงได้หยุดโกรธ แต่ถ้าเราโกรธใจเขา เราน่าจะโกรธข้ามชาติไป ชาติหน้าโกรธอีก โกรธไปเรื่อยๆ ถ้าเราหยุดโกรธก็ไม่น่าจะโกรธใจ ก็เลยวนมาคิดว่า หรือว่าเราโกรธการกระทำ ถ้าเราโกรธการกระทำนั้นแปลว่าอะไร แปลว่าการกระทำนั้นมันน่าโกรธ ถ้าใจเราเป็นตัวโกรธ มันก็ไม่ใช่การกระทำ มันเป็นที่ใจ ก็หยุดคิดไปดื้อๆ ทั้งๆที่กำลังคิดเพลินดี ยังอยากคิดต่อ แต่ก็ไม่คิดต่อ หยุดไปเฉยๆ

พระอาจารย์ : เกือบจะได้คำตอบแล้ว เข้าไปถึงจุดแล้ว คือใจที่ไม่ชอบการกระทำของเขา พอเขาทำเราก็โกรธ ถ้าเราไม่มีความไม่ชอบ เขาจะทำอะไรเราก็จะไม่โกรธ ตรงประเด็นกับวันนี้ที่เทศน์ว่า อย่าไปแก้ที่เขา ต้องแก้ที่ใจเรา แก้ความโกรธที่เกิดจากความอยาก พอไม่ได้ดังใจก็โกรธ อยากให้เขาดี พอเขาไม่ดีก็โกรธ เกือบจะได้คำตอบแล้ว แต่หยุดเสียก่อน.


ไม่มีของทำบุญก็รักษาศีลไป
ถาม : มีญาติโยมคนหนึ่งต้องแอบซื้อของมาทำบุญ เพราะญาติไม่ให้มา

พระอาจารย์ : เพราะมีจิตใจใฝ่บุญใฝ่ธรรม จะแอบทำก็ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องการให้ผู้อื่นคิดไม่ดี แต่อย่าแอบเอาของของคนอื่นมาทำบุญ เพราะจะขาดทุนมากกว่ากำไร ถ้าไม่มีของทำบุญก็รักษาศีลไป จะได้บุญมากกว่า  บุญที่ได้จากการให้ทานเป็นเหมือนแบงก์ ๒๐ แบงก์ ๕๐ บุญที่ได้จากการรักษาศีลเป็นเหมือนแบงก์ ๑๐๐ บุญที่ได้จากการนั่งสมาธิเป็นเหมือนแบงก์ ๕๐๐ บุญที่ได้จากการเจริญปัญญาเป็นเหมือนแบงก์ ๑๐๐๐   ถ้าทำบุญให้ทานไม่ได้ เพราะไม่มีเงินหรือมีคนขัดขวาง ไม่ต้องทำก็ได้ รักษาศีลนั่งสมาธิเจริญปัญญาจะได้บุญมากกว่า.


ปล่อยวางร่างกายชั่วคราว
ถาม : เวลานั่งไปถึงตรงที่จิตแยกออกจากกาย ควรดึงกลับมาหรือควรจะเฉยๆ ปล่อยเขาไป
 
พระอาจารย์ : เวลาจิตสงบจะปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ตอนนั้นไม่ต้องทำอะไร

ถาม : ปล่อยให้เขาแยกหรือคะ

พระอาจารย์ : ให้เขาอยู่ตามลำพัง ปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ปล่อยตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เวลาทำสมาธิจะดึงกระแสของจิต ที่ไปเกาะติดอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ให้เข้ามาข้างในจิต เหมือนเดินเข้าไปในถ้ำ จะปล่อยวางเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ พอเข้าไปถึงก้นถ้ำแล้ว จะไม่รับรู้กับเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ จะพักอยู่ในนั้น เพราะเป็นที่เย็นสบาย มีความสุขมาก จนกว่ากำลังของสติจะอ่อนลง กระแสของกิเลสก็จะผลักออกมา ออกมารับรู้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะต่อไป

ถาม : ไม่ดึงออกมา

พระอาจารย์ : ไม่ต้องดึงออกมา ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อให้จิตเข้าไป พอเข้าไปแล้วก็อย่าดึงออกมา ปล่อยให้อยู่ในความสงบจนกว่าจะออกมาเอง ที่ออกมาก็เพราะยังไม่ได้เข้าไปถึงที่ ถ้าถึงที่แล้วจะไม่อยากออกมา เพราะมีความสุขมาก เบาสบายมาก.


บริกรรมพุทโธไปดีกว่า
ถาม : เวลานั่งสมาธิบริกรรมพุทโธ เพื่อไม่ให้ฟุ้งซ่านใช่ไหมคะ บางคนแนะนำให้พิจารณาความคิด ก็เลยสงสัยว่าแบบไหนจะถูก

พระอาจารย์ : ให้พิจารณา ถ้าไม่สามารถบริกรรมได้ ให้ใช้ปัญญาข่มใจแทน เช่นกำลังฟุ้งซ่านกับการเรียน วิตกกังวลว่าปีนี้จะผ่านหรือไม่ จิตไม่ยอมอยู่กับพุทโธ ก็ต้องวิเคราะห์ด้วยปัญญาดูว่า จะผ่านหรือไม่ผ่านก็อยู่ที่เหตุ เหตุก็คือ การเรียนการศึกษา ถ้าขยันศึกษาเต็มที่แล้ว จะผ่านไม่ผ่านก็แล้วแต่ ถ้ายังศึกษาไม่เต็มที่ ก็ควรศึกษาให้เต็มที่
ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลาศึกษา ก็อย่าเพิ่งไปคิดถึงมัน บริกรรมพุทโธไปดีกว่า ใจก็จะปล่อยวาง ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน กลับมาบริกรรมพุทโธได้ อย่างนี้เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ เป้าหมายของการนั่งสมาธิ ก็เพื่อหยุดความคิดปรุงแต่ง ถ้านั่งเฝ้าดูความคิดจะไม่มีวันหยุด  อย่างที่โยมพูดว่าปล่อยให้คิดให้พอ แล้วจะพอ ไม่มีวันพอหรอก จะทนนั่งไม่ได้ นั่งไปสักพักจะเจ็บ จะอึดอัด อยากจะลุกไปทำอย่างอื่น ถ้าไม่ได้คิดจะนั่งได้นาน ยิ่งสงบเท่าไหร่ยิ่งไม่อยากจะลุกไปไหน เพราะความสงบเป็นความสุขที่เลิศที่สุด เป็นความสุขที่แท้จริง ทดแทนความสุขต่างๆได้ เช่นอยากจะดื่มเป๊ปซี่ พอจิตสงบก็ไม่อยากจะดื่ม ไม่หิวกระหาย ถ้าไม่อยู่กับพุทโธ คิดแต่เป๊ปซี่เป๊ปซี่ ก็จะลุกขึ้นไปดื่มเป๊ปซี่จนได้.


เอาทีละอย่าง
ถาม : เวลาดูร่างกายว่าไม่เที่ยง แล้วต้องดูจิตด้วยหรือเปล่าคะ ว่าจิตเรานี้เดี๋ยวก็เปลี่ยนแปลง

พระอาจารย์ : เอาทีละอย่าง เอาร่างกายก่อน เอาให้หมดเป็นเรื่องๆไป จิตมันละเอียดยิ่งกว่าร่างกาย ถ้ายังเอาร่างกายไม่ได้ ก็จะเอาจิตไม่ได้ มันคนละขั้นกัน ต้องเอาขั้นร่างกายก่อน ละสักกายทิฐิละกามราคะก่อน แล้วค่อยไปละจิต.


ความกลัว
ถาม : บ้านพี่สาวมีคนตาย ก็กลัวเหมือนกัน ตั้งใจจะเข้าไปดู พอเข้าไปจริงๆเริ่มหวั่นนิดๆ

พระอาจารย์ : ตอนที่ไม่ตายไม่รู้สึกอะไร พอตายก็กลัวขึ้นมาทันที เวลาเป็นกับเวลาตายต่างกันตรงไหน ก็ต่างกันตรงที่หายใจกับไม่หายใจเท่านั้นเอง ทำไมต้องไปกลัวคนที่ไม่หายใจแล้ว

ถาม : พอไปเจอของจริง ก็รู้สึกกลัว วันแรกๆรู้สึกไม่ดี พอวันต่อๆไปก็พยายามฝืนตัวเอง เพราะต้องอยู่ตรงนั้น ก็ค่อยๆดีขึ้นมาทีละนิด แต่ก็ยังไม่หายกลัว

พระอาจารย์ : ต้องใช้สมาธิช่วย บริกรรมพุทโธๆไป เวลาเกิดความกลัวก็ให้พุทโธๆไป ถ้าไม่สามารถใช้ปัญญาพิจารณา ว่าเขากับเราก็เหมือนกัน เราก็เป็นผี เขาก็เป็นผี ทำไมไม่กลัวร่างกายของเรา ทำไมไปกลัวร่างกายของเขา ร่างกายของเขาก็มีอาการ ๓๒ เหมือนกัน มีผมขนเล็บฟันฯลฯเหมือนกัน  เหมือนอย่างที่หลวงตาเขียนไว้ในหนังสือปฏิปทาฯ เรื่องกลัวเสือ เสือมันมีอะไรที่เราไม่มี ก็พิจารณาไป มันมีขนเราก็มีขน มันมีเขี้ยวเราก็มีฟัน พิจารณาไปพิจารณามา ก็มีอย่างเดียวที่เราไม่มี ก็คือหาง อ้อเรากลัวหางมันเหรอ ต้องพิจารณาซากศพว่า เขามีอะไรที่เราไม่มีบ้าง เราไปกลัวผมเขาเหรอ แล้วเราไม่กลัวผมเราเหรอ ถ้าพิจารณาด้วยเหตุผลก็จะดับความกลัวได้ เพราะความกลัวเป็นอารมณ์ เป็นความหลง ไม่มีเหตุไม่มีผล ก่อนที่จะพิจารณาด้วยปัญญาได้ ต้องมีสมาธิก่อน ถ้ายังไม่มีสมาธิเวลากลัว ก็ต้องใช้การบริกรรมไปก่อน ให้จิตสงบ ไม่อย่างนั้นจะฟุ้งซ่าน จะเป็นบ้าได้ ถ้ามีสมาธิแล้ว ก็จะคิดด้วยเหตุด้วยผลได้ คิดเปรียบเทียบตามความเป็นจริง ก็จะเห็นว่าไม่มีอะไรน่ากลัว.


การปฏิบัติมีอยู่ ๓ ขั้น
ถาม : ถ้ารู้ว่าจิตเป็นอย่างไร รู้ว่าร่างกายกำลังนั่งอยู่อย่างนี้ ไม่ได้คิดอะไร อย่างนี้จะเกิดวิปัสสนาญาณไหมคะ

พระอาจารย์ : ไม่เกิด เป็นการเจริญสติเท่านั้นเอง การปฏิบัติมีอยู่ ๓ ขั้น คือสติสมาธิปัญญา เจริญสติแล้วก็ต้องนั่งสมาธิทำใจให้สงบ พอออกมาจากความสงบ ก็ต้องเจริญปัญญา พิจารณาไตรลักษณ์ อนิจจังทุกขังอนัตตา ถึงจะเกิดวิปัสสนาญาณ พิจารณาว่าร่างกายเกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย  ร่างกายไม่สวยงามเป็นอสุภะ เป็นปฏิกูลสกปรก อย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา.


ต้องให้เห็นว่าทุกคนเป็นเหมือนกันหมด
ถาม : กลางคืนหลังจากสวดมนต์ทำวัตรแล้วก็นั่งภาวนาพุทโธๆ พอตื่นขึ้นมาตอนตีสองตีสาม จะพิจารณาได้ไหมคะ

พระอาจารย์ : ได้ พิจารณาว่าเกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องตายเป็นธรรมดา ต้องพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา พิจารณาทั้งตัวเราเองและคนอื่น ไม่ใช่ร่างกายของเราเท่านั้น คนที่เรารักที่เรารู้จักก็เป็นเช่นเดียวกัน คนที่เราไม่รักเราไม่รู้จักก็เป็นเช่นเดียวกัน ต้องให้เห็นว่าทุกคนเป็นเหมือนกันหมด เกิดมาแล้วต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ควรเจริญสติและพิจารณาทางปัญญาในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่เจริญสติ ก็ควรพิจารณาทางปัญญา เห็นอะไรก็คิดว่าไม่เที่ยง อย่าไปอยากได้ ถ้าอยากได้ก็จะทุกข์ ก็จะตัดกิเลสได้.


แต่ทำไม่ได้
ถาม : ถ้าเอาปัญญามาคิดว่าเป็นดินน้ำลมไฟ

พระอาจารย์ : เป็นอนัตตา เราไปควบคุมบังคับไม่ได้ ถ้ายอมรับก็เป็นปัญญา ก็จะปล่อยวางได้ ก็จะไม่มีทุกข์ใจ เพราะไม่มีตัณหา ความอยากที่จะให้ความเจ็บของร่างกายหายไป

ถาม : จะดับทุกข์อย่างถาวรไหมคะ

พระอาจารย์ : จะดับอย่างถาวร ทุกครั้งที่เจอความเจ็บจะไม่เดือดร้อน จะเฉยๆ

ถาม : ความรู้สึกยินดีหรือไม่ยินดี

พระอาจารย์ : เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความอยาก ถ้ายินดีก็อยากจะให้อยู่ไปนานๆ ถ้าไม่ยินดีก็อยากจะให้หายไปเร็วๆ ต้องตัดความยินดีและไม่ยินดี เพราะเป็นเหตุทำให้เกิดความอยากขึ้นมา ถ้าเฉยๆ จะอยู่จะไปก็ได้ ไม่เป็นปัญหา ต้องทำใจให้เป็นอุเบกขาให้ได้ คือไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เฉยๆ อะไรก็ได้ เจ็บก็ได้ ไม่เจ็บก็ได้ ใจต้องเฉยๆ แต่ใจถูกกิเลสซุ่มสอนให้รัก ให้ชัง ให้กลัว ให้หลงอยู่ตลอดเวลา ใจมีอคติ ๔ อยู่ตลอดเวลา ต้องใช้ปัญญาดับอคติ ๔ ให้รู้ว่าสิ่งที่ไปรักไปชัง ไปกลัว ไปหลง ไม่ได้ให้คุณให้โทษกับใจเลย ใจไปหลงเอง  ถ้าคิดว่าจะเป็นคุณกับใจก็รัก ถ้าคิดว่าจะเป็นภัยก็ชังก็กลัว ความจริงไม่มีอะไรในโลกนี้สามารถให้คุณให้โทษกับใจเลย เพราะใจไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ใจเพียงรับรู้สิ่งต่างๆผ่านทางร่างกาย ร่างกายเป็นเครื่องมือรับข้อมูลต่างๆไปให้ใจ ใจไม่ได้อยู่ในมิตินี้ อยู่ในอีกมิติหนึ่ง ถึงแม้โลกจะระเบิดเป็นเสี่ยงๆ ใจจะไม่ถูกทำลายไปด้วย เพราะใจไม่ได้อยู่ในโลกนี้

ใจไม่ได้ไม่เสียกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดจะดับ ใจไม่ได้ไม่เสียด้วย แต่ใจไม่รู้ความจริงนี้ เพราะใจไปหลงยึดติดกับร่างกาย ไปคิดว่าใจกับร่างกายเป็นอันเดียวกัน ได้เสียไปกับร่างกาย เวลาร่างกายเจ็บ ใจก็จะเจ็บตามไปด้วย เวลาร่างกายสุข ใจก็จะสุขตามไปด้วย ต้องแยกใจออกจากร่างกายให้ได้ ให้ร่างกายเป็นเหมือนกับเครื่องบินที่ใช้วิทยุบังคับ ผู้ที่บังคับเครื่องบินไม่ได้อยู่ในเครื่องบิน เครื่องบินตกก็ไม่ได้ทำให้ผู้บังคับเครื่องบินเดือดร้อนแต่อย่างใด ร่างกายเป็นเหมือนหุ่นตัวหนึ่ง ที่ใจเป็นผู้บังคับ ด้วยการใช้กระแสจิต บังคับให้ร่างกายทำอะไรต่างๆ ใจไม่ได้ไม่เสียไปกับร่างกาย แต่ใจไปหลงคิดว่าได้เสียตามร่างกาย เวลาขึ้นเงินเดือนก็ดีใจ เวลาได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งก็ดีใจ เวลาถูกตัดเงินเดือนก็เสียใจ


อยู่ที่ความสามารถของสติ
ถาม : เวลาร่างกายตายไป จิตยังไม่เห็นหรือคะว่าร่างกายไม่ใช่ของเรา

พระอาจารย์ : จิตไม่เห็น เพราะไม่มีสติปัญญา เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจิตจะหลง จิตไม่นิ่ง

ถาม : แล้วหลังจากที่ตายไปแล้ว

พระอาจารย์ : เหมือนคนที่สลบไสล ตายไปแล้วก็เหมือนนอนหลับฝันไป ถ้าฝันดีก็ขึ้นสวรรค์ ถ้าฝันร้ายก็ตกนรก จะมาตื่นก็ตอนที่มาเกิดใหม่ มาได้ร่างกายใหม่

ถาม : ถ้าบริกรรมพุทโธๆไปตลอด จะทันไหมคะ

พระอาจารย์ : ขึ้นอยู่กับความสามารถของสติ ถ้าทำได้ก็จะเป็นฌาน เป็นสมาธิ ก็จะไปเกิดบนพรหมโลก อย่างพระอาจารย์ของพระพุทธเจ้า ๒ รูป ท่านชำนาญในการเข้าฌาน เวลาร่างกายท่านตายไป ท่านก็เข้าฌานไป ปล่อยวางร่างกายไปเข้าไปอยู่ในสมาธิ พอร่างกายตายไปจิตก็ไปสวรรค์ชั้นพรหม ถ้าฝึกบ่อยๆก็จะทำได้ ถ้าฝึกไม่บ่อย พอเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา ก็จะตกใจ ตื่น ลืมไปหมด ควรจะทำจิตให้สงบ กลับไม่ทำ กลับไปยึดติดกับร่างกาย ไม่ยอมให้ร่างกายตาย ก็เกิดความว้าวุ่นขุ่นมัวขึ้นมา จึงต้องซ้อมไว้ก่อน การปฏิบัติก็เป็นการซ้อมไว้ก่อน ก่อนที่จะเข้าห้องสอบ พวกเราทุกคนต้องเข้าห้องสอบ คือความเจ็บและความตาย ถึงต้องนั่งให้เจ็บ จะได้ทำใจให้ปล่อยวางความเจ็บ อย่าไปอยากให้ความเจ็บหาย หรืออยากจะหนีจากความเจ็บไป ให้อยู่กับความเจ็บให้ได้ รับรู้ความเจ็บให้ได้ ความเจ็บทำลายใจไม่ได้หรอก เราไปกลัวความเจ็บเอง

เหมือนดูหนังผี ผีอยู่ในจอ ออกมานอกจอไม่ได้ ทำร้ายคนดูไม่ได้ แต่คนดูต้องปิดตาไม่กล้าดู เพราะไม่มีปัญญา ไม่รู้ว่าเป็นเพียงหนัง ร่างกายเป็นเหมือนตัวละครในจอหนัง ส่วนใจเป็นคนดู แต่ใจไปติดอยู่กับตัวละคร พอตัวละครเป็นอะไรไปก็เป็นไปด้วย ไม่มีปัญญาแยกใจออกจากร่างกาย ไม่รู้ว่าร่างกายเป็นตัวละคร ใจเป็นคนดูละคร ไม่ดูเฉยๆ ไปแสดงด้วย ไปดีใจ ไปเสียใจ ไม่ดูเฉยๆ สักแต่ว่ารู้ เป็นอุเบกขา ถึงต้องทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงอุเบกขาก่อน พอเข้าถึงสักแต่ว่ารู้ ถึงอุเบกขาได้แล้ว เวลาออกจากสมาธิก็ใช้ปัญญาประคับประคองใจ ไม่ให้ออกจากอุเบกขาได้ เพราะเวลาออกมาเห็นอะไรก็จะชอบจะชัง จะหลุดจากอุเบกขา ก็ต้องใช้ปัญญาให้กลับเข้าไปในอุเบกขา ให้เฉยๆ ชอบก็เฉย ชังก็เฉย ถ้าไม่ใช้ปัญญาก็จะอยาก จะว้าวุ่นขุ่นมัว

ต้องมีสมาธิก่อน เพื่อเราจะได้พบจุดยืนของจิต คือสักแต่ว่ารู้ หรืออุเบกขา ไม่รักไม่ชัง ไม่ยินดียินร้าย รู้เฉยๆ พอออกจากสมาธิแล้ว กิเลสจะลากจิตให้ออกจากจุดนี้ ให้ไปรักไปชัง ไปกลัวไปหลง ต้องใช้ปัญญาสกัด ด้วยการพิจารณาว่าทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่อยู่ภายใต้คำสั่ง อย่าไปอยากเลย บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ ได้มาแล้วก็ต้องเสียไปอยู่ดี ถ้าอยากแล้วไม่ได้ ก็จะเสียใจ ไม่นิ่ง ไม่สงบ ต้องใช้ปัญญาหลังจากออกจากสมาธิมาแล้ว การเจริญปัญญาก็เจริญได้ ๒ ลักษณะ ถ้ายังไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงก็ซ้อมไปก่อน ถ้าอยู่ในเหตุการณ์จริง เช่นเราทำงาน พบคนพูดดีบ้างไม่ดีบ้าง ก็ต้องรักษาใจไม่ให้ยินดียินร้าย ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องไปซ้อมก่อน ไปอยู่วัดสักพัก ไปพิจารณาเตรียมตัวไว้ก่อน ซ้อมไว้ก่อน พิจารณาว่าห้ามเขาไม่ได้ เป็นเหมือนฝนตกแดดออก แต่ห้ามใจเราได้ ห้ามไม่ให้ไปยินดียินร้าย รักษาอุเบกขาไว้ เป็นจุดที่ปลอดภัยที่สุดของใจ.


ไม่เกิน ๗ ชาติ
ถาม : ถ้าบรรลุโสดาบันแล้ว ต้องกลับมาเกิดอีกหรือเปล่า

พระอาจารย์ : ต้องกลับมาเกิดอีก แต่ไม่เกิน ๗ ชาติ ในพระคัมภีร์แสดงไว้อย่างนี้ ถ้าขยับขึ้นไปเป็นพระสกิทาคามี ก็จะกลับมาเกิดอีกชาติเดียว ถ้าเป็นพระอนาคามีก็ไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกต่อไป เพราะท่านตัดกามตัณหาได้หมดแล้ว ได้เจริญอสุภกัมมัฏฐานจนเบื่อหน่าย ในรูปร่างหน้าตาของคน ไม่เห็นว่าสวยงาม เหมือนตอนที่ยังไม่ได้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน พอพิจารณาเห็นอวัยวะต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เห็นสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่มีอยู่ภายในร่างกาย ที่ถูกขับออกมาทางทวารต่างๆ ก็เกิดความขยะแขยง แทนที่จะกำหนัดยินดี กลับขยะแขยง ไม่อยากจะเข้าใกล้ ถ้าพิจารณาจนเห็นเป็นซากศพ ก็จะไม่อยากร่วมหลับนอนด้วยเลย ความกำหนัดยินดีคือราคะตัณหา ได้หมดไปจากใจของพระอนาคามี ท่านก็เลยไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกต่อไป เพราะท่านมีความสุขที่เหนือกว่า คือความสุขสงบของใจที่เรียกว่า ฌาน ท่านก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นพรหม และบรรลุเป็นพระอรหันต์ในสวรรค์ชั้นพรหม

นี่คือเรื่องของภพชาติที่จะน้อยลงไปเรื่อยๆ เป็นผลจากการได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ถ้าปฏิบัติเพียงทานศีลและสมาธิ จะไม่ได้อริยมรรคอริยผล ตายไปก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดเหมือนเดิม เช่นพระอาจารย์ของพระพุทธเจ้า ๒ องค์ที่ได้ฌาน หลังจากที่ท่านตายไปแล้ว ก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหม แต่เป็นสวรรค์ชั้นพรหมที่ต้องเสื่อม เพราะขึ้นไปด้วยกำลังของสมาธิ ไม่ได้ขึ้นไปด้วยกำลังของปัญญา เช่นของพระอนาคามี พระอนาคามีได้ชั้นพรหมด้วยการชำระกิเลส ที่ทำใจไม่ให้สงบ พอชำระกามราคะออกไปจากใจได้ ใจก็สงบเป็นธรรมชาติ เป็นฌานโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องบริกรรมพุทโธเพ่งกสิณให้จิตสงบ ฌานแบบนี้ไม่มีวันเสื่อม

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าน่าเสียดาย ที่ไม่มีโอกาสได้สอนพระอาจารย์ทั้ง ๒ รูป วิธีทำฌานไม่ให้เสื่อม ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เพราะท่านตายไปก่อน ถ้าท่านยังไม่ตาย และพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง เรื่องอริยมรรคอริยผลให้ฟังรับรองได้ว่าจะสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นพระอรหันต์ได้ในขณะที่ฟังเลย เช่นพระปัญจวัคคีย์ผู้ติดตามรับใช้พระพุทธเจ้า พอทรงแสดงธรรมครั้งแรกก็มีพระรูปหนึ่งบรรลุโสดาบันทันที หลังจากนั้นทรงแสดงพระธรรมอีกครั้งสองครั้ง ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งหมด ๕ รูปเลย เป็นอำนาจของพระธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทำได้ ไม่มีใครสามารถทำได้ เพราะปัญญาระดับนี้ต้องเป็นของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะทำได้ ที่จะเห็นอนิจจังทุกขังอนัตตา เห็นพระอริยสัจ ๔

พวกเราได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ได้พบกับพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าปล่อยให้พระอริยสัจ ๔ อย่าปล่อยให้อนิจจังทุกขังอนัตตา ห่างไกลไปจากใจ ต้องเจริญอยู่เรื่อยๆ พิจารณาอยู่เรื่อยๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง จะได้เสร็จงานนี้ได้อย่างรวดเร็ว ดังที่ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ๗ วัน หรือ ๗ ปี ถ้าปฏิบัติกันอย่างเต็มที่ เจริญสติอย่างเต็มที่ พิจารณาไตรลักษณ์ พิจารณาอริยสัจ ๔ อย่างเต็มที่ ไม่เกิน ๗ ปีเป็นอย่างมาก ถ้าฉลาดมาก ๗ วันก็สามารถบรรลุได้ ไม่ทรงปฏิเสธว่าคนนั้นคนนี้บรรลุไม่ได้ มีแต่พวกเราที่ไปปฏิเสธกันเอง ว่าบรรลุไม่ได้ ไปพูดกันเองต่างหากว่าเราเป็นไปไม่ได้เอง ทำไมไปปฏิเสธตัวเราเอง ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงปฏิเสธเลย ทรงตรัสว่ามีสิทธิมีความสามารถเท่ากันหมด.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #69 เมื่อ: 21 เมษายน 2567 11:51:36 »




ต้องปรากฎตอนที่มีปัญหา
ถาม : บางทีเราไม่ตั้งใจพิจารณา ก็ขึ้นมาเอง

พระอาจารย์ : ไม่เป็นปัญหาอะไร ขึ้นมาก็ขึ้นมา

ถาม : เหมือนอย่างเวลาถูบ้าน ก็ไม่ได้คิดอะไร ก็ปรากฏขึ้นมาเองว่า นี่ไม่ใช่บ้าน เป็นอิฐเป็นหิน ไม่ใช่ของเรา เดิมเป็นของแม่ พอแม่ตายไป ก็สมมุติว่าเป็นของเรา ปรากฏขึ้นเองเจ้าค่ะ

พระอาจารย์ : ถ้าปรากฏขึ้นมาตอนที่ไม่มีปัญหา ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ต้องปรากฏตอนที่มีปัญหา ถึงจะได้ประโยชน์ เช่นตอนที่ธนาคารจะมายึดบ้าน


นั่งสมาธิแล้ว ใจสงบไหม
ถาม : นั่งสมาธิกับน้องสาว น้องสาวจะใช้พุทโธๆ แต่หนูชอบใช้ลมหายใจเข้าออก ทำอย่างนี้ใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : ช่ แต่ต้องดูที่ผล ว่านั่งแล้วใจสงบไหม

ถาม : สงบค่ะ

พระอาจารย์ : ต้องสงบเย็นสบาย ไม่คิดปรุงแต่งเรื่องนั้นเรื่องนี้ การใช้ลมหายใจนี้เป็นการดึงใจไว้ ไม่ให้ไปคิดเรื่องต่างๆ ธรรมดาใจชอบคิดเรื่อยเปื่อย คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้ ทำให้มีอารมณ์ว้าวุ่นขุ่นมัว ถ้าควบคุมความคิดได้ ด้วยการบังคับใจให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ความคิดต่างๆก็จะสงบตัวลงไปชั่วคราว ใจก็จะมีความสุข ความสบายใจ ความอิ่มใจ นี่คือผลที่เราต้องการ ต้องนั่งให้ได้นานๆ ครึ่งชั่วโมงหรือ ๑ ชั่วโมงถึงจะดี ถ้านั่งเพียง ๕ นาที  ๑๐ นาที ยังไม่ได้ผลมาก ต้องนั่งบ่อยๆนั่งนานๆ ต่อไปเวลาไม่สบายใจก็นั่งสมาธิ ไม่ไปคิดถึงเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ ก็จะหายจากความไม่สบายใจ ถ้ากลับไปคิดเรื่องนั้นอีก ก็จะไม่สบายใจอีก  ถ้าอยากจะแก้ปัญหาอย่างถาวร ก็ต้องใช้ปัญญา ต้องคิดว่าความไม่สบายใจเกิดจากความอยากของเราเอง อยากให้เรื่องนั้นเรื่องนี้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ ก็เลยไม่สบายใจ เพราะไม่ได้เป็นอย่างที่อยากให้เป็น ต้องสอนใจว่า อยากให้เรื่องนั้นเรื่องนี้เป็นไปตามความอยากของเราไม่ได้ ต้องยอมรับความจริง เขาจะเป็นอย่างไรก็ปล่อยให้เขาเป็นไป เช่นเขาอาจจะไม่ชอบเรา โกรธเกลียดเรา ก็อย่าไปอยากให้เขารักเรา ปล่อยเขาไป วันนี้เขาโกรธเรา พรุ่งนี้เขาอาจจะรักเราก็ได้ วันนี้เขารักเรา พรุ่งนี้เขาอาจจะเบื่อเราก็ได้ ให้คิดอย่างนี้เพื่อจะได้ไม่ไปทุกข์กับเขา ต้องคิดว่าเขาไม่แน่นอน เขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ วันนี้เขาดีพรุ่งนี้เขาร้ายก็ได้ วันนี้เขาร้ายพรุ่งนี้เขาดีก็ได้ ถ้าคิดอย่างนี้แล้วก็จะหายจากความไม่สบายใจได้ คืออย่าไปอยากให้เขาเป็นไปตามความอยากของเรา ต้องยอมรับความจริง เขาเป็นอย่างไรก็ต้องยอมรับ แล้วเราจะหายจากความไม่สบายใจ


ปฏิบัติง่ายๆ
ถาม : ขอคติธรรม เพื่อนำไปปฏิบัติง่ายๆ

พระอาจารย์ : นั่งสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ ทุกเช้าเย็น


ง่วง
ถาม : เวลานั่งสมาธิเดินจงกรมเจริญสติ แล้วถูกความง่วงครอบงำ ควรจะทำอย่างไร

พระอาจารย์ : ต้องกินอาหารให้น้อยลง กินมื้อเดียว ต้องยอมหิวหน่อย ความจริงไม่ได้หิวที่ร่างกายหรอก แต่หิวที่ใจ ร่างกายกินอาหารเกินความต้องการอยู่แล้ว มีอาหารสะสมอยู่มาก ก็อย่างที่บอก ต้องถือศีล ๘ ให้ได้ อย่างน้อยก็ไม่กินหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว การภาวนาต้องยอมอด ถึงจะได้ผล ถ้าอยากจะมีความสุขกับรูปเสียงกลิ่นรส การภาวนาจะมีอุปสรรคมาก ถ้าไม่ง่วงเหงาหาวนอนก็ฟุ้งซ่าน ถ้าไม่ชอบอดอาหารก็ต้องไปอยู่ที่น่ากลัว ไปนั่งในป่าช้าจะไม่ง่วง.


แล้วแต่ใจว่า หยาบหรือละเอียด
ถาม : ก่อนที่จะนั่งสมาธินี้ ควรสวดมนต์ไหว้พระก่อน หรือว่านั่งเลย อย่างไหนจะดีกว่ากันครับ

พระอาจารย์ : อยู่ที่จิตของเรา ว่าหยาบหรือละเอียด ถ้าจิตหยาบคิดมาก นั่งไม่ได้ ก็ต้องสวดมนต์ไปก่อน เพื่อทำให้จิตละเอียดลงไป ให้ความคิดปรุงแต่งหมุนช้าลง พอคิดน้อยลงไปแล้ว ก็ดูลมได้

ถาม : หมายความว่าไม่จำเป็นต้องสวดมนต์มากมายหลายบท
พระอาจารย์ : ก็อย่างที่บอก แล้วแต่ใจของเราว่า หยาบหรือละเอียด อย่างสมัยที่เราเริ่มนั่งแรกๆนี้ ต้องท่องมหาสติปัฏฐานสูตรไปประมาณ ๔๐ นาทีก่อน ถึงจะดูลมได้ แต่ตอนหลังนี้ไม่ต้องท่องแล้ว เพียงแต่กำหนดสติให้ดูลมปั๊บ มันก็สงบได้ การท่องนี้เพื่อพัฒนาสติ ให้มีกำลังหยุดความคิดปรุงแต่ง พอสติมีกำลังมากๆ ก็เหมือนเบรกที่มีกำลังมาก แตะนิดเดียวก็หยุดกึ๊กเลย ถ้าเบรกไม่ดีนี้ เหยียบจนติดพื้นก็ยังไม่หยุด ถ้ารถวิ่งเร็วมาก ก็จะไม่หยุดง่าย  ถ้าภาวนาบ่อยๆ หยุดความคิดปรุงแต่งบ่อยๆ จะเหมือนรถที่วิ่งช้าลงไปเรื่อยๆ เวลาภาวนาให้สงบนี้จะสงบเร็วมาก เพียงกำหนดแป๊บเดียว ไม่ต้องภาวนาพุทโธ เพียงตั้งสติปั๊บ ความคิดปรุงแต่งก็หยุดแล้ว การควบคุมจิตนี้เหมือนกับการขับรถ ตอนเริ่มทำใหม่ๆนี้ เหมือนกับรถที่ไม่มีเบรกและวิ่งเร็ว เหมือนรถวิ่งลงเขา พอสร้างเบรกให้มีกำลังมากขึ้นๆ เจริญสติมากขึ้นๆ ก็จะทำให้วิ่งช้าลง การภาวนาจะง่ายขึ้นๆ สงบเร็วขึ้น สงบได้นานขึ้น ต้องดูตอนจะนั่งว่า ใจของเราเป็นอย่างไร ไม่ฟุ้งซ่านมากก็นั่งง่าย ฟุ้งซ่านมากก็นั่งยาก เพราะชีวิตของฆราวาสยังต้องวุ่นวายกับการงาน ถ้ามีอารมณ์ตกค้างจะนั่งไม่ได้ ดูลมไม่ได้ พุทโธไม่ได้ อย่างนี้ก็สวดมนต์ไปก่อน ถ้าสวดไม่ได้ ก็ฟังเทศน์ไปก่อน ถ้าไม่ได้ก็ลุกขึ้นมาเดินจงกรม แล้วก็ซ้ายขวาซ้ายขวาไป เดินให้หมดแรงก่อน ถึงค่อยมานั่ง.


สุขก็ได้ทุกข์ก็ได้
ถาม : เวลามีสิ่งมากระทบ อ่านข่าวแล้วเกิดอารมณ์ไม่พอใจ แล้วเกิดสติรู้ทัน ก็พิจารณาว่าทำไม เพราะอะไร จนอารมณ์ความรู้สึกเบาบางลงไป แล้วก็กลับมาบริกรรมต่อ

พระอาจารย์ : ถ้าใจสงบแล้ว จะบริกรรมก็ได้ ไม่บริกรรมก็ได้ ถ้าใจทุกข์กับสิ่งที่ได้ยิน ก็ต้องใช้สมาธิหรือใช้ปัญญาแก้ ถ้าใช้สมาธิก็ให้บริกรรมไป ไม่ให้ไปคิดถึงเรื่องที่ได้ยินมา จนกว่าจิตจะสงบแล้วลืมเรื่องนั้นไป ถ้าจะใช้ปัญญาก็พิจารณาว่าเป็นธรรมดาของโลก มีเจริญมีเสื่อม มีสุขมีทุกข์ แต่ใจเรามีอคติ ชอบฟังแต่เรื่องสุขเรื่องเจริญ พอได้ยินเรื่องทุกข์เรื่องเสื่อมก็จะหดหู่ใจ ต้องสอนใจว่า ต้องฟังได้ทั้ง ๒ เรื่อง เรื่องสุขก็ได้ เรื่องเจริญก็ได้ เรื่องทุกข์ก็ได้ เรื่องเสื่อมก็ได้ เพราะเราไม่สามารถไปสั่งให้เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ได้ ให้สักแต่ว่ารู้ แล้วก็ปล่อยวาง อย่าไปมีปฏิกิริยา ถ้ามีปฏิกิริยาก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา  เรื่องจะร้ายแรงขนาดไหนก็ต้องยอมรับ จะเกิดขึ้นกับใครก็ตาม ถ้าแก้ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ก็ต้องอยู่กับมันไป แม้แต่ความตายก็ต้องอยู่กับมันไป ยอมรับมันไป ต้องทำใจเป็นเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหมือนที่เราเป็นอยู่ขณะนี้ สมมุติว่าถ้าต้องหยุดหายใจขณะนี้ ถ้าใจรู้แล้วเฉยได้ ก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ บรรลุได้ ถ้าหายใจไม่ออกแล้วตกใจกลัว แสดงว่าสอบตก จะสอบผ่านก็ต้องเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตอนนี้เป็นอย่างไร ตอนที่จะตายก็ต้องเป็นอย่างนั้น ทำใจให้เฉยเหมือนตอนนี้ จะเฉยได้ก็ต้องมีสติมีสมาธิมีปัญญา ที่เราต้องเจริญให้มาก พอมีมากแล้วจะรักษาใจให้นิ่งเฉยได้ ถ้าไม่มีก็จะถูกกิเลสดึงไป จะเกิดความวุ่นวายใจขึ้นมา ต้องปฏิบัติให้มาก ตั้งแต่ตื่นจนหลับ แต่พวกเราไม่ปฏิบัติกัน ไม่ตั้งสติกัน ปล่อยให้ใจไหลไปตามอารมณ์ต่างๆ พอไปเจออารมณ์ไม่ดีก็หยุดไม่ได้ จึงต้องหัดหยุดให้ได้ ต้องสร้างอุเบกขาให้เกิดขึ้น ด้วยการเจริญสติและสมาธิ พอมีอุเบกขาแล้วก็เจริญปัญญา เตรียมรับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ต้องพร้อมอยู่ทุกเวลา ถ้าพร้อมแล้วจะไม่ตื่นตระหนก ไม่ทุกข์ทรมานใจ จะตั้งอยู่ในความสงบ เหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้


ทุกข์ในจิต ทุกข์ในขันธ์
ถาม : อุเบกขากับไม่สุขไม่ทุกขเวทนาเหมือนกันไหมครับ

พระอาจารย์ : เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นคนละเรื่องกัน เวทนาเป็นเรื่องของขันธ์ อุเบกขาเป็นความสงบนิ่งของใจ ขันธ์เป็นอาการของใจ คือเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ เขาเรียกว่าอาการหรือแขนขาของใจ เวทนาก็มีสุขมีทุกข์ มีไม่สุขไม่ทุกข์ ตามการสัมผัสรับรู้กับอายตนะภายนอก ถ้าเห็นภาพที่ไม่ชอบก็เกิดทุกขเวทนา เห็นภาพที่ชอบก็เกิดสุขเวทนา เห็นภาพที่เป็นกลางก็จะเกิดไม่สุขไม่ทุกขเวทนา เป็นเรื่องของขันธ์ ในขณะที่เกิดเวทนานี้ ก็จะมีทุกข์หรือไม่ทุกข์ในใจได้ด้วย ถ้าเกิดความอยากให้ทุกขเวทนาหายไป ก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ทุกข์ในจิตกับทุกข์ในขันธ์เป็นคนละอย่างกัน อุเบกขาในจิตกับในอุเบกขาในขันธ์ก็เช่นเดียวกัน เวทนาขันธ์นี้เราควบคุมบังคับไม่ได้ แต่เราควบคุมบังคับอุเบกขาในจิตได้ ควบคุมด้วยสติปัญญา.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #70 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2567 13:37:05 »




นิมิต ไม่ได้เป็นมรรคผล
ถาม : เวลาที่เกิดนิมิตแล้วต้องบังคับใจ ไม่ให้ตามรู้จะค่อนข้างยาก คือมีความรู้สึกอยากเห็นอยากตามไปดู ขออุบายด้วยเจ้าค่ะ
   
พระอาจารย์ : ภาวนาต่อไป

ถาม : อย่าไปมองมันหรือคะ

พระอาจารย์ : อย่าหยุดภาวนา พุทโธต่อไป ดูลมต่อไป เหมือนเวลานั่งภาวนาแล้วมีเสียงโทรศัพท์ดัง มีเสียงคนนั้นเสียงคนนี้ ก็อย่าไปสนใจ ภาวนาไปเรื่อยๆ เวลามีแสงมีภาพให้เห็น ก็อย่าไปสนใจ

ถาม : นิมิตนี้เป็นธรรมใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : เป็นสภาวธรรม ไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญปัญญา สภาวธรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญปัญญา ก็คือความว่างเปล่า อุเบกขา สักแต่ว่ารู้ เพราะจะทำให้กิเลสตัณหาอ่อนกำลังลง เพื่อปัญญาจะได้ฆ่ากิเลสตัณหาได้ ต้องใช้สมาธิทุบศีรษะให้กิเลสตัณหามึนก่อน พอออกจากสมาธิมา กิเลสตัณหาจะยังงัวเงียอยู่ ก็จะใช้ปัญญาฆ่ากิเลสตัณหาได้ แต่ถ้าเห็นนั่นเห็นนี่ กิเลสตัณหาจะไม่ได้ถูกตัดกำลัง ยังสามารถทำงานได้ พอเห็นแล้วชอบก็อยากจะให้เห็นนานๆ ถ้าไม่ชอบก็อยากจะให้หายไป ไม่เป็นประโยชน์ต่อการตัดกำลังของกิเลสตัณหา ถ้าจิตนิ่งสงบและว่างกิเลสตัณหาจะทำงานไม่ได้ กิเลสตัณหาจะถูกตัดกำลังลงไป ถ้าออกจากสมาธิที่ว่างที่สงบที่เป็นอุเบกขานี้ จิตจะมีกำลังมาก กิเลสจะมีกำลังน้อย ในทางตรงกันข้าม ถ้าออกจากสมาธิที่มีเรื่องราวต่างๆให้รู้ให้เห็น จิตจะมีกำลังน้อย กิเลสจะมีกำลังมาก ก็จะไม่สามารถใช้ปัญญาตัดกิเลสได้   ปัญญาเป็นผู้ชี้บอกว่าอะไรเป็นกิเลส อะไรไม่เป็นกิเลส สมาธิเป็นผู้หยุดกิเลสด้วยอุเบกขา เวลาเห็นเงินแล้วก็โลภอยากได้ ปัญญาก็จะบอกว่าอย่าไปโลภ เป็นทุกข์มากกว่าเป็นสุข ถ้ามีสมาธิก็หยุดโลภได้ ถ้าใจไม่มีสมาธิที่ว่างที่สงบ พอปัญญาบอกว่าอย่าไปโลภ จะหยุดไม่ได้ การภาวนาเพื่อฆ่ากิเลสนี้ ต้องมีสมาธิที่ว่างที่สงบ ที่ไม่มีนิมิตต่างๆ มีแต่อุเบกขา สักแต่ว่ารู้ อยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะยิ่งนานกำลังของใจก็จะมีมากขึ้น กำลังของกิเลสก็จะน้อยลงไป ความสงบเป็นผู้ตัดกำลังของกิเลส ถ้าใจยังไม่สงบกิเลสก็จะทำงาน.


กินเหล้าเมาจะภาวนา
ถาม : ทราบมาว่าทานเป็นบาทของศีล ศีลเป็นบาทของการภาวนา ถ้าไม่ได้ทำทานเป็นประจำ ไม่ได้รักษาศีล การเจริญภาวนาจะดีได้ไหมคะ

พระอาจารย์ : ไม่ได้

ถาม : บางคนบอกว่าภาวนาดีมาก แต่ว่าทานก็ไม่ทำ เหล้าก็ยังดื่มอยู่ ศีลก็ไม่รักษา ก็ยังข้องใจอยู่เสมอว่า การภาวนาจะดีได้อย่างไร

พระอาจารย์ : เป็นไปไม่ได้ คนกินเหล้าเมาจะภาวนาได้อย่างไร

ถาม : เขาบอกว่าเขาภาวนาได้ดีมาก แต่ไม่ทำบุญตักบาตร ไม่รักษาศีล

พระอาจารย์ : การทำทานไม่ได้อยู่ที่การทำบุญตักบาตรอย่างเดียว ทำได้หลายรูปแบบ ถ้าใจกว้างเสียสละ ไม่ยึดติดกับเงินทอง ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ก็ถือว่าเป็นทาน ถ้าไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่นก็มีศีลแล้ว ไม่ต้องมาวัดขอศีลจากพระ ศีลอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่วัด อยู่ที่การกระทำ ถ้าไม่ฆ่า ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดประเวณี ไม่พูดปด ไม่เสพสุรายาเมา ก็มีศีลแล้ว จะเข้าวัดหรือไม่ ไม่เป็นปัญหา.


บาป ไม่บาป
ถาม : ถ้าร่างกายเรามีโรคที่จะต้องรักษา แต่เราคิดว่าเราไม่อยากได้ร่างกายแล้ว เป็นอะไรก็ช่าง จะไม่รักษา อย่างนี้ถือว่าบาปไหมคะ

พระอาจารย์ : ไม่บาป ถ้าไม่ทำให้ร่างกายตาย ปล่อยให้ร่างกายตายไปเอง ถ้าทำให้ร่างกายตาย เช่นกินยาพิษ อย่างนี้ก็บาป เพราะเป็นการทำลายร่างกาย มีเจตนา ถ้าไม่มีเจตนาทำลายร่างกาย ปล่อยวางร่างกาย ก็จะไม่บาป

ถาม : สมมุติว่าหมอวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน แล้วก็ดูแลร่างกายไม่ดี บางทีก็กินยาบ้างไม่กินบ้าง อย่างนี้ถือว่าบาปไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์ : ไม่บาป ไม่กินก็ไม่บาป แต่อย่าไปทำให้ร่างกายตาย

ถาม : เช่นฆ่าตัวตาย

พระอาจารย์ : อย่างนั้นบาป.


[bกลัวผ
ถาม : พรุ่งนี้จะไปวัด ถ้ามีเสียงกึ๊กๆ จะทำอย่างไรดีคะ

พระอาจารย์ : สวดมนต์ไป หรือพุทโธๆไป

ถาม : บนเขานี้มีพระกลัวกันหลายองค์ใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : อยู่ได้คืนเดียวก็มี อยู่ไม่ได้ทั้งคืนก็มี ทุ่มสองทุ่มก็ขอกลับ ควบคุมใจไม่ได้ ความกลัวอยู่ในใจเรา ใจผลิตขึ้นมาเอง ภายนอกไม่มีอะไร ความกลัวไม่ได้อยู่ข้างนอก อยู่ข้างใน สิ่งข้างนอกอาจจะน่ากลัว เพราะไม่เข้าใจความจริง ถ้าเข้าใจก็จะไม่มีอะไรน่ากลัว นี่คืออานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม จะทำให้ไม่กลัวกับสิ่งต่างๆ ไม่กลัวความเจ็บ ไม่กลัวความแก่ ไม่กลัวความตาย ไม่กลัวคำดุด่าว่ากล่าวติเตียน ใครจะด่าใครจะว่าก็ปล่อยเขาว่าไป เพราะไม่มีความอยากให้เขาชม หรืออยากไม่ให้เขาด่า ใจเป็นกลางอยู่ตลอดเวลา เป็นอุเบกขา เฉย ปล่อยวาง ได้ทั้งนั้น เหมือนฝนตกแดดออก พระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตก ทุกอย่างเป็นสภาวธรรมทั้งนั้น เราห้ามเขาไม่ได้ สัพเพ ธัมมา อนัตตา สั่งเขาไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เราเป็นผู้รู้ก็รู้ไป เป็นผู้ดูละครดูภาพยนตร์ก็ดูไป ไปเปลี่ยนบทภาพยนตร์ไม่ได้
 
ผู้กำกับภาพยนตร์ก็คือกรรม และเหตุปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆขึ้นมา เราเป็นผู้มาสัมผัสรับรู้ก็รู้ไป เหมือนคนดูภาพยนตร์ ผู้กำกับจะกำกับภาพยนตร์ให้ออกมาในรูปแบบไหน ก็ต้องดูไป จะชอบหรือไม่ชอบก็ต้องดูไป ถ้าไม่ชอบก็อย่าไปดู อย่ามาเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไม่ต้องดู ไม่ต้องรับรู้อะไรทั้งนั้น แต่พวกเราชอบดูกันเหลือเกิน ก็เลยต้องกลับมาเกิดกัน พอดูเรื่องที่ไม่ชอบก็วุ่นวายใจทุกข์ใจขึ้นมา.


ทำไมมักน้อยจัง
ถาม : มีเพื่อนนั่งสมาธิได้ ๒ ชั่วโมง เสร็จปั๊บเปิดทีวีดู

พระอาจารย์ : ยังไม่มีปัญญา นั่งเพื่อทำจิตให้สงบเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่าดูทีวีไปทำไม เหมือนคนที่ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ยังไม่มีปัญญา ตอนต้นดื่มเพราะสังคม เห็นคนอื่นดื่มก็ดื่มตาม พอดื่มแล้วก็ติดเป็นนิสัย มันก็เลยเลิกยาก ก็เหมือนกับดูทีวี พอดูแล้วก็ติดเป็นนิสัย ว่างๆไม่รู้จะทำอะไรก็เปิดทีวีดู ไม่มีเหตุผลว่าดูไปทำไม แต่อยู่เฉยๆไม่มีอะไรดูไม่ได้ ต้องมีอะไรดู ทีนี้เรารู้แล้วว่ามันเป็นเหมือนยาเสพติด มันเป็นโทษที่ละเอียด ในทางโลกไม่ถือว่าเป็นโทษ แต่ในทางธรรมถือว่าเป็นโทษ เพราะไม่ทำให้จิตใจก้าวหน้า ไม่หลุดพ้นจากการติดอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ต้องถือศีล ๘ จะได้ปิดทีวีได้

ถาม : ขอเอาแค่ศีล ๕ ให้ครบถ้วนก่อน ค่อยเป็นค่อยไป

พระอาจารย์ : ทำไมมักน้อยเหลือเกิน ทีเงินทองไม่มักน้อยเลย.


กามราคะ กามตัณหา
ถาม : กามราคะ กามตัณหา กามกิเลสเหมือนกันไหมเจ้าคะ

พระอาจารย์ : เหมือนกัน เป็นสรรพนาม ใช้แทนกันได้ วัตถุของความอยากจะต่างกัน ติดเหล้าติดบุหรี่ก็เป็นกามตัณหาแบบหนึ่ง กามคือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ วัตถุของกามจะต่างกัน อยากเหล้า อยากบุหรี่ อยากผู้หญิง อยากผู้ชาย เป็นกามตัณหาทั้งนั้น

ถาม : แล้วการติดกาแฟ ติดน้ำผลไม้

พระอาจารย์ : เป็นกามตัณหาเหมือนกัน แต่มีความหนักเบาต่างกัน ติดกาแฟไม่หนักเท่ากับติดเหล้า ติดเหล้าติดบุหรี่ไม่หนักเท่ากับติดยาเสพติด แต่ก็ติดเหมือนกัน นักปฏิบัติต้องไม่ติดอะไรเลย

ถาม : ถ้าขอคาเฟอีนสักนิดหนึ่ง จะได้ไม่ง่วงเหงาหาวนอน

พระอาจารย์ : ไม่ได้ ถ้าจะง่วงเหงาหาวนอน ก็ให้อดอาหารแทน หรือไปอยู่ที่น่ากลัวๆ จะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด ถ้าดื่มคาเฟอีนก็จะติดคาเฟอีน วันไหนไม่ได้ดื่มก็จะปฏิบัติไม่ได้  ไม่ควรอาศัยสิ่งภายนอกมาแก้ปัญหา ต้องใช้ธรรมะ ถ้าง่วงเหงาหาวนอนก็อดอาหารถ้าถูกจริต ถ้าไม่ถูกจริตก็ไปอยู่ที่น่ากลัวๆ หรือไปนั่งที่ปากเหว ถ้าสัปหงกหลับไป หัวจะได้ทิ่มลงเหวไปเลย อย่างนี้จะไม่ง่วงแน่นอน ต้องแก้อย่างนี้.


ความกลัวตาย
ถาม : คนไปอยู่วัดใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะกลัวงูกัน เพราะมืด ในป่าก็มีงูเยอะ ในกุฏิก็มี ใหม่ๆก็กลัว นานๆเข้าก็ต่างคนต่างอยู่

พระอาจารย์ : ถ้าไม่กลัวก็ปิดไฟเดิน ให้เกิดความกลัวขึ้นมาจริงๆ ให้ปลง ให้ยอมตาย พอปลงได้แล้วจะหายกลัว

ถาม : แก้ปัญหาโดยการหาไฟฉายสว่างๆ

พระอาจารย์ : ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ แก้ที่ปลายเหตุ ต้องแก้ที่ต้นเหตุก็คือความกลัวตาย ไม่ยอมตาย ไม่ยอมรับความตาย

ถาม : จะถือว่าประมาทไหมครับ ถ้าเดินในที่มืดๆ ไม่ฉายไฟ

พระอาจารย์ : ถ้าเป็นการเข้าห้องสอบก็ไม่ประมาท ต้องคิดว่าจะตายจริงๆ ถึงจะกลัวจริงๆ จะได้ยอมตายจริงๆ


พบกับเวทนาขั้นสูงสุด
ถาม : เวลาครูบาอาจารย์นั่งตลอดรุ่งนี่ ท่านนั่งตลอดเลยหรือคะ

พระอาจารย์ : ท่านนั่งขัดสมาธิ ไม่เปลี่ยนอิริยาบถเลย ท่านต้องการพบกับเวทนาขั้นสูงสุด ถ้าผ่านขั้นนั้นไปแล้ว เวลาจะตายจะไม่เดือดร้อน เพราะจะเจ็บขนาดไหนใจก็จะเป็นอุเบกขา ปล่อยวางได้ ไม่สะทกสะท้านกับความเจ็บ ต้องมีธรรมะแก่กล้าแล้ว มีสติสมาธิปัญญา ถึงจะพร้อมเข้าห้องสอบต่อสู้กับทุกขเวทนา.

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 125.0.0.0 Chrome 125.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #71 เมื่อ: 25 พฤษภาคม 2567 12:55:48 »




ตัวตนไม่มี
ถาม : ผู้ใดเห็นทุกข์ผู้นั้นเห็นธรรม คำว่าไม่มีตัวตนอยู่ในที่ไหนๆ จริงไหมครับ

พระอาจารย์ : คือตัวตนเป็นสมมุติที่เราสร้างสรรค์กันขึ้นมาเอง ด้วยความคิดของเรา ด้วยความจำของเรา เราคิดเราจำว่าเราเป็นตัวตน จนกระทั่งมันฝังเป็นความรู้สึกไป แต่ความจริงเราเป็นตัวรู้ผู้รู้เท่านั้นเอง ผู้รู้ผู้คิดเท่านั้น เป็นธรรมชาติที่รู้ที่คิด ตัวตนไม่มี


ตปะธรรม
ถาม : ความหมายของ ตปะธรรม คืออะไรคะ

พระอาจารย์ : ตปะ แปลว่าเครื่องแผดเผากิเลส ก็คือขันติ ความอดทน “ขันติ ตโปติสิกขา” พระพุทธเจ้าบอกว่าขันตินี้เป็นธรรมอันเลิศ เป็นเครื่องมือแผกเผากิเลส ผู้ที่จะต่อสู้กับกิเลส เช่น เวลาเจอทุกขเวทนาแล้วกิเลสมันบอก หนีดีกว่าๆ เราก็ต้องใช้ขันติอดทน ตปะธรรม อันนี้สำหรับนักปฏิบัติสำคัญมาก ถ้าไม่มีขันติ ไม่มีความอดทนแล้วสู้ไม่ได้ พอเจ็บหน่อยปวดหน่อย เลยไม่เอาแล้ว ถอยดีกว่า ถ้าขามันสั่นก็ให้มันสั่นไปเถอะ เดี๋ยวผ่านไปได้แล้วมันจะสบาย


เอาของแท้ของจริง ยศทางธรรมเอาไปได้
ถาม : อยู่ในสายวิชาการครับ ก็ต้องมีผลงานเยอะๆ ซึ่งบางทีก็เป็นการสร้างอัตตาตัวตนขึ้นมา ไม่ได้ทำบาป แต่ว่ามันก็มีทุกข์ มันก็เป็นตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งใช่ไหมครับ อยากให้พระอาจารย์สอนวิธีการวาง และการปล่อยวางตัวนี้ครับ

พระอาจารย์ : มันเป็นโลกธรรม ต้องพิจารณาว่าโลกธรรมมันก็เจริญได้ มันก็เสื่อมได้ หรือว่าถ้าเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ก็มีคนที่เขาสูงกว่าเรา คนที่เท่าเราและคนที่เขาต่ำกว่าเรา แต่มันก็เป็นของชั่วคราว เดี๋ยวเวลาเกษียณอายุมันก็หมดความหมายไป เคยเป็นอะไรก็หมดไป งั้นมันเป็นสิ่งที่เราไม่ควรจะขวนขวาย หรือสิ่งที่เราควรขวนขวาย น่าจะขวนขวายเรื่องทางธรรมะดีกว่า ขวนขวายการเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี อนาคามีดีกว่า ดีกว่าไปขวนขวายเป็นรองศาสตราจารย์ เป็นศาสตราจารย์อะไรอย่างนี้ มันไม่ได้ทำให้จิตใจเรามีความสุข มีความสงบหรอก

ถาม : แต่ก็ยังต้องทำอยู่ ใช่ไหมครับ

พระอาจารย์ : คือถ้าเป็นหน้าที่ที่ต้องทำก็ทำ ถ้าไม่เป็นหน้าที่ หลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ต้องไปทำดีกว่า ถ้าเราคิดว่าทำงานเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็พอ ไม่ได้เพื่อให้เราสูงขึ้นด้วยตำแหน่งด้วยอะไรต่างๆ ทำเพื่อมีรายได้ เพื่อที่เราจะได้มาเลี้ยงตัวเรา เลี้ยงครอบครัวเราเท่านั้นก็พอ หาเวลามาปฏิบัติธรรม เพราะว่าพวกยศพวกนี้เอาไปไม่ได้ แต่ยศทางธรรมเอาไปได้นะ โสดาบัน พอเป็นโสดาแล้วเป็นโสดาไปตลอด ไปเกิดที่ไหนก็เป็นโสดาต่อ เอาของแท้ของจริง ทรัพย์ภายในเป็นทรัพย์ที่แท้จริง อริยทรัพย์นี่ อริยทรัพย์ก็คือนี่ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ นิพพานนี่ เป็นทรัพย์ที่แท้จริง เป็นอริยทรัพย์ที่จะติดไปกับใจ แต่ทรัพย์ภายนอกนี้เป็นแค่พอตายไปก็จบ เอาไปไม่ได้ งั้นถ้าเราไม่จำเป็นต้องทำก็อย่าไปทำ แต่ถ้าเราถูกบังคับ อยู่ในสังคม แล้วเขายัดเยียดให้เราต้องทำ ถ้าเรายังต้องอยู่กับเขาอยู่ก็ทำไป แต่อย่าทำด้วยความอยาก


สังโยชน์ ๕ ข้อปฏิฆะ พยาบาท
ถาม : มีคำถามเรื่องสังโยชน์ข้อที่ ๕ ค่ะ พยาบาทน่าจะเป็นข้อที่ง่าย ทำไมถึงเอามาไว้เป็นข้อที่ ๕ มันมีความละเอียดมากน้อยแค่ไหนคะ

พระอาจารย์ : มันไม่ใช่พยาบาท ปฏิฆะ ความหงุดหงิดใจ เวลาเกิดกามารมณ์ขึ้นมา ไม่ได้เสพกามก็หงุดหงิด มันมาจากการที่เราเกิดมีกามารมณ์ขึ้นมา กามราคะขึ้นมา อยากจะเสพกาม ยังไม่ได้เสพ พอได้เสพ อาการหงุดหงิดก็หายไป แต่หายไปแบบชั่วคราว เดี๋ยวพอความอยากจะเสพกามเกิดขึ้นมาอีก ความหงุดหงิดก็ตามมาอีก อยู่เฉยๆ ไม่ได้ เวลาเกิดกามขึ้นมา ต้องเสพกาม ถึงจะบรรเทาความหงุดหงิดใจ

ถาม : ไม่ได้เสพกามในทุกๆ เรื่องของกามหรือคะ

พระอาจารย์ : อันนี้เรื่องกามราคะ ไม่ได้ร่วมหลับนอนกับแฟน อะไรอย่างนี้

ถาม : แล้วเรื่องรูปเสียงกลิ่นรสละคะ

พระอาจารย์ : มันมารวมตรงนี้หมด เวลาเสพกาม มันรวมรูปเสียงกลิ่นรสของแฟนเข้ามาหมด

ถาม : พิจารณาร่างกายเห็นเป็นเซลล์ ได้ไหมคะ

พระอาจารย์ : นั่นเห็นเป็นอนัตตา ถ้าเป็นเซลล์ก็เป็นธาตุ เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ พระพุทธเจ้าทรงบอกว่ามันมีหลายแง่มุมต้องพิจารณา ในแง่มุมของธาตุ ก็ต้องพิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่มีตัวตน มีแต่เซลล์ มีแต่อะตอม มีแต่โมเลกุล ถ้าเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราก็จะมองอย่างนี้ได้

ถาม : หนูมองเห็นเป็นอะตอม เป็นโมเลกุล แล้วท้ายสุดก็ไม่มีอะไรเลย

พระอาจารย์ : ก็มีไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ก็มารวมกัน มันก็เป็นธาตุไม่ใช่เหรอ เรามันว่าธาตุไม่ใช่เหรอ อันนี้ก็ได้ เพื่อจะดูว่าไม่มีตัวตน เพราะเราไม่ได้อยู่ในร่างกายของเรา
 
ถาม : เหมือนมองร่างกายเรา ท้ายสุดก็คือความว่าง

พระอาจารย์ : ไม่ว่าง มันมีอยู่ มันว่างจากตัวตน ไม่มีตัวตน แต่มันมีออกซิเจน มันมีธาตุต่างๆ สักวันมันก็ต้องแยกออกจากกันไป

ถาม : งั้นเราก็มองทุกคนที่ผ่านมาเป็นอย่างนี้

พระอาจารย์ : ไม่ได้หรอก กามารมณ์มันไม่ได้ดับด้วยอย่างนี้ กามารมณ์ต้องมองส่วนที่ขยะแขยง

ถาม : เห็นอสุภะ ใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : เออ ต้องดูอสุภะ ดูว่ากลิ่นมันเหม็น เห็นลำไส้กับตับไตอะไรอย่างนี้ มันถึงจะดับกามารมณ์ได้ ไอ้ที่พิจารณาเมื่อกี้มันดับการยึดถือว่าร่างกายเป็นตัวตน คนละเรื่องกัน แต่ก็ต้องพิจารณาเหมือนกัน ต้องเห็นไตรลักษณ์ เห็นว่ามันเป็นทุกข์เวลาหงุดหงิดใจ ไปเกิดมีกามารมณ์ขึ้นมา มันก็หงุดหงิดใจ ถ้าไปชอบร่างกายของใครเข้า มันก็หงุดหงิดใจ ทำให้เราหงุดหงิดใจขึ้นมา

ถาม : แล้วถ้าเรามองเห็นปุ๊บก็เห็นหนัง เห็นฟัน แล้วก็เห็นความแก่ของเขาละคะ พระอาจารย์

พระอาจารย์ : ก็เห็นแบบไหนก็ได้ ขอให้เห็นแล้ว มันทำให้กามารมณ์มันดับไปได้ก็แล้วกัน เห็นโครงกระดูกอย่างนี้ เห็นโครงกระดูกไหม ตัวเรานี่มีโครงกระดูกไหม มองเข้าไปให้เห็นโครงกระดูก มันมีอยู่ เพียงแต่เราไม่คิดถึงมันเอง ใช่ไหม มีหรือเปล่า ในร่างกายเรามีโครงกระดูกอยู่หรือเปล่า แต่ไม่เคยคิดถึงมันใช่ไหม ไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นเลยใช่ไหม ต้องหัดมองมันมั่ง ถ้าเราเกิดกามารมณ์ ก็ต้องมองคนที่ทำให้เราเกิดความรู้สึก ส่วนถ้ามองตัวเรา ก็ต้องมองเพื่อดับความหลงว่าเราสวยเรางาม ถ้าชอบคิดว่าเราสวยเรางาม ก็ให้มองทะลุเข้าไปใต้ผิวหนังของเราเอง จะได้ไม่ต้องไปเสียเงินไปทำศัลยกรรมตกแต่งอะไร ให้เสียเวลา ไม่ต้องย้อมผมให้มันเสียเวลา ก็เพียงแต่ดูแลให้มันสะอาดและเรียบร้อยก็พอแล้ว ให้มันเป็นธรรมชาติ พูดง่ายๆ ดูแลแบบธรรมชาติ


ต้องเป็นมนุษย์ถึงจะบรรลุธรรมได้
ถาม : ต้องเป็นมนุษย์อย่างเดียวใช่ไหมครับ ถึงจะบรรลุธรรมได้

พระอาจารย์ : ก็เป็นเทวดาก็ได้ แต่ต้องมีคนสอน คนที่ติดต่อกับเทวดาได้ คือจิตที่เป็นเทวดาก็คือจิตระดับเทวดา พวกที่ทำบุญ รักษาศีล ๕ นี่ เวลาตายไปก็จะเป็นเทวดา แล้วพวกนี้ก็ถ้ามีพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าที่ติดต่อกับกายทิพย์ได้ ก็จะเรียนจากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ได้ แต่ถ้าเป็นมนุษย์มันจะง่ายกว่า เพราะพระพุทธเจ้าก็เป็นมนุษย์ พระอรหันต์ก็เป็นมนุษย์ ดังนั้นก็มีโอกาสที่จะได้ยินได้ฟังธรรมง่ายกว่าพวกเทวดา
ธรรมะหน้ากุฏิ


วิธีดับโกรธ ก็คือการให้อภัย
ถาม : ถ้าคิดอะไรไม่ดี พอเราเบรกแล้ว ตำหนิต่อ ก็เลยรู้สึกเครียดมาก

พระอาจารย์ : นั่นไม่ได้เป็นการเบรก เป็นการเหยียบคันเร่งโดยที่คิดว่าเป็นการเบรก ต้องเบรกด้วยเหตุผล เวลาคิดเรื่องไม่ดีก็ควรคิดว่า คิดแล้วทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา ไม่เกิดประโยชน์อะไร เช่นเวลาโกรธ ใครทุกข์ละ คนที่ถูกโกรธหรือคนที่กำลังโกรธ คนที่กำลังโกรธจะร้อนเป็นไฟ แต่คนที่ถูกโกรธไม่รู้เรื่องเลย นอนหลับสบาย โมโหสามีนอนไม่หลับทั้งคืน แต่สามีนอนหลับสบาย ต้องให้อภัยสามี จะได้นอนหลับ วิธีดับความโกรธก็คือการให้อภัย ไม่จองเวร ถ้ายังให้อภัยไม่ได้ ก็อย่าไปคิดเรื่องที่ทำให้โกรธ ให้คิดพุทโธๆไปเรื่อยๆจนหลับไป พอตื่นขึ้นมาก็จะลืม

ถาม : ถ้าเราวางมัน ก็ต้องทำให้เราเบา ไม่ใช่วางแล้วหนัก

พระอาจารย์ : ใช่  ถ้าวางแล้วหนัก ก็ไม่ได้วาง


แย่งความคิดมาใช้ทางธรรม
ถาม : ภาวนาอยู่ที่บ้าน ให้มีสติพิจารณา แต่ความคิดมันแวบไปเรื่อย มันแวบถี่ๆ ต้องอยู่กับพุทโธ แต่ก็ยังหลุดอยู่เรื่อย

พระอาจารย์ : บริกรรมพุทโธหรือพิจารณาเกิดแก่เจ็บตายไป ท่องไปก่อนก็ได้ ท่องว่าเกิดแก่เจ็บตาย อนิจจังทุกขังอนัตตา อย่าให้จิตคิดเรื่องอื่น กิเลสกับธรรมจะแย่งความคิดกัน แล้วแต่ว่าใครจะเอามาคิด ถ้ากิเลสเอามาคิดก็จะสร้างความทุกข์ขึ้นมา ถ้าเอาธรรมะมาคิด ก็จะทำให้จิตสงบ ถ้าท่องอนิจจังทุกขังอนัตตา เกิดแก่เจ็บตายไว้ ความคิดอยากในกาม อยากมีอยากเป็น ห่วงนั่นห่วงนี่ ก็จะไม่มีโอกาสได้คิด

ถาม : บางทีความคิดไหลมาอย่างไม่ปะติดปะต่อกัน

พระอาจารย์ : ถ้าเราไม่แย่งความคิดมาใช้ทางธรรม มันก็ไปคิดเรื่องอื่นทันที


เป็นปัญญาเฉพาะกิจ
ถาม : ปกติเวลานั่งสมาธิจะกำหนดลมหายใจ ถ้านิ่งดีก็จะสงบไปเลย แต่บางวันจิตฟุ้งมาก ก็จะดึงเอาศพคุณแม่มาดูบ้าง เอาศพคนอื่นมาดู แล้วก็พิจารณาไปเรื่อยๆ ใจก็จะสลดลง แล้วก็เข้าสู่สมาธิ เป็นปัญญาอบรมสมาธิ คือในคนๆเดียวกัน สามารถเลือกใช้ได้ใช่หรือไม่

พระอาจารย์ : ใช่ เลือกได้ วิธีไหนก็ได้ใน ๒ วิธีนี้ ปัญญาอบรมสมาธิ ก็คือการพิจารณาอริยสัจข้อแรกคือทุกขสัจ พิจารณาเกิดแก่เจ็บตาย พิจารณาอสุภะ หรือพิจารณาเวทนาความเจ็บปวดในขณะที่นั่งก็ได้ พิจารณาจนปล่อยวางเวทนาได้ จิตก็รวมลงสู่ความสงบได้ ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้เวทนาที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ได้อยากให้มันหาย หรือกลัวมัน ปล่อยมันไปตามเรื่อง
 
ถาม : บางทีกำหนดลมหายใจแล้วเอาไม่อยู่ ก็เลยดึงศพคุณแม่มาดู

พระอาจารย์ : เป็นการทำสมาธิ พอได้สมาธิแล้วก็ต้องเจริญปัญญา เพื่อละอุปาทานความยึดติดในขันธ์ ๕ เช่นยึดติดในร่างกาย ตอนที่ทำปัญญาอบรมสมาธินี้ เป็นปัญญาเฉพาะกิจ ทำเพื่อให้จิตสงบ แต่มีผลพลอยได้ตามมาด้วย คือได้ปัญญาละอุปาทานในขันธ์ ถ้าพิจารณาร่างกายและเวทนา ยิงทีเดียวได้นกถึง ๒ ตัว ได้ทั้งสมาธิได้ทั้งปัญญา ปล่อยวางเวทนาได้ แต่ยังมีกิเลสที่ละเอียดกว่า ที่ต้องใช้ปัญญาเข้าไปขุดคุ้ย หลวงตาท่านเทศน์ว่า ตอนต้นกิเลสจะออกมาเพ่นพ่าน พวกนี้จับง่าย พอพวกที่ออกมาเพ่นพ่านหมดไปแล้ว เหลือพวกที่ซ่อนอยู่ ต้องขุดคุ้ย เหมือนไก่ขุดคุ้ยหาตัวไส้เดือนตัวหนอนที่ซ่อนอยู่ในดิน ต้องวิเคราะห์ดูความรู้สึกในใจ ถ้าเศร้าหมองแสดงว่าเป็นปัญหา ต้องแก้ด้วยปัญญา.


ไม่เห็นยากตรงไหนเลย
ถาม : ฝึกทำสมาธิ มีวิธีไหนที่ทำให้มันอยู่ นั่งแล้วจะลอยไปเรื่อย

พระอาจารย์ :  มีแต่เราไม่ทำกัน ไปอยู่วัดสิ อยู่คนเดียว ตัดทุกอย่าง ทนเอาปี สองปีก็ต้องได้อะไรแน่ๆ เราเองทนอยู่ปีหนึ่ง อยู่คนเดียว ลาออกจากงาน แล้วอยู่คนเดียวเพื่อเจริญสติสมาธิปัญญา ไม่เห็นยากตรงไหนเลย แค่นี้ทำไมจึงตัดไม่ได้กัน เพียงปีเดียวกับการเจริญสติ ให้เวลากับอย่างอื่นเป็นสิบๆปีได้ แต่ให้กับสิ่งที่มีสาระมีคุณมีประโยชน์กับใจไม่ได้ ถ้าให้ไม่ได้ก็จะไม่ได้มรรคผล

ถาม : เอาแบบเริ่มต้น ยังไม่ต้องถึงขนาดนั้น

พระอาจารย์ : พุทโธๆไปเรื่อยๆ อย่าคุยกับตัวเอง ให้รู้อยู่กับงานที่กำลังทำ อย่าไปคิดเรื่องอื่น แปรงฟันก็ให้อยู่กับแปรงฟัน พุทโธๆไปแปรงฟันไป กินข้าวไปพุทโธๆไป เท่านั้นพอ อย่าไปคุยกับคนอื่น


พ่อแม่เป็นเหมือนพระอรหันต์ของลูก
ถาม : พ่อป่วยไม่สบายมาเกือบ ๔ ปีแล้ว พี่ๆสามคนเขารวมหัวกันเกี่ยงให้เป็นหน้าที่ของผมคนเดียว เคยขอให้เปลี่ยนบ้างก็ไม่ได้ ให้ช่วยค่าใช้จ่ายบ้างก็ไม่ได้ พูดขออะไรก็ไม่ร่วมมือเลย จนรู้สึกรังเกียจแทบไม่อยากนับเป็นพี่น้อง บางครั้งเครียดมาก มีครอบครัวพี่อีกคนที่พึ่งพาได้ ไม่รู้จะทำอย่างไรครับ

พระอาจารย์ : เราควรจะคิดใหม่ เราควรจะคิดว่าการได้เลี้ยงดูตอบแทนคุณพ่อแม่นี้เป็นบุญอย่างมาก เพราะพ่อแม่ของเรานี้เป็นเหมือนพระอรหันต์ของลูกๆ การได้ตอบแทนบุญคุณกับพ่อแม่นี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ได้บุญมาก ถ้าคนอื่นเขาไม่อยากจะได้บุญ เรามาเหมาหมดเลย ต้องคิดแบบนี้ แล้วเราจะมีความสุขจากการที่เราเลี้ยงดูพ่อแม่  เราไม่นึกถึงบุญคุณของพ่อแม่กัน เราเลยมาเกี่ยงกัน ทำไมเราไม่นึกถึงตอนที่เราเป็นเด็ก ตอนที่เราช่วยตัวเราเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องทุกข์ยากลำบากกับเราขนาดไหน ช่วงคลอดออกมาใหม่ๆ นี้ เดี๋ยวก็ร้อง ดึกๆ ดื่นๆ ก็ร้อง พ่อแม่นอนหลับก็ต้องตื่นขึ้นมาดูว่า “มันเป็นอะไรนะ ปวดท้อง หิว หรืออะไร ต้องมาคอยบำบัดความทุกข์ให้อยู่ตลอดเวลา เพราะไม่คิดถึงบุญคุณของพ่อแม่ เราก็เลยเกี่ยงกัน   แต่ถ้าเราคิดถึงบุญคุณของพ่อแม่แล้ว เราอยากจะตอบแทนบุญคุณคนเดียว อยากจะเหมาเอาคนเดียว คนอื่นไม่เอาไม่เป็นไร เพราะว่าบุญคุณของพ่อแม่นี้ยิ่งใหญ่มหาศาล เพราะไม่มีพ่อแม่จะมีเราได้อย่างไร เราเกิดมาเป็นคนได้นี้ ถ้าไม่มีพ่อแม่จะมาเกิดเป็นคนได้อย่างไร พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าบุญคุณของพ่อแม่นี้ ต่อให้เลี้ยงดูท่านดีขนาดไหนก็ตาม แบกท่านไว้บนบ่าบนไหล่ ให้ท่านอุจจาระปัสสาวะใส่เราไปจนถึงวันตาย บุญคุณของท่านก็ใช้ไม่หมด อันนี้แหละคือความยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ของเราที่พวกเราไม่มีใครสอนกัน ไม่มีใครให้คิดกัน คิดแต่จะเอาประโยชน์จากพ่อแม่อย่างเดียว พ่อแม่มีสมบัติเท่าไหร่เดี๋ยวแย่งกันแล้ว ใช่ไหม นี่พ่อแม่ตายมาตีกันแล้ว มาตีมาแย่งสมบัติกัน แต่เวลาพ่อแม่ต้องการความช่วยเหลือของเรา ไม่มีใครมาแย่งช่วยเหลือกันเลย เพราะความโลภความหลงของเรา ความเห็นแก่ตัวของเรา อยากจะได้ประโยชน์ ไม่อยากจะรับภาระ


พร้อมที่จะเผชิญ
ถาม : เรื่องการเจ็บป่วย ไม่ทราบว่าวาระสุดท้ายของเรา จะทุกข์ทรมานขนาดไหน ถ้าจิตใจไม่มีความพร้อมแล้ว จะลำบากมาก

พระอาจารย์ : ถ้าไม่มีธรรมโอสถ ไม่มียารักษาใจ พอร่างกายเป็นอะไร ใจก็เป็นตามร่างกายไป ร่างกายยังพอมียารักษา แต่ใจไม่มี ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้สร้างธรรมโอสถ ถ้ามีก็สบาย ไม่เดือดร้อน

ถาม : ตอนนี้ก็เลยกลัวว่า จะไม่พร้อมที่จะเผชิญกับภาวะนั้น

พระอาจารย์ : ทำไมปล่อยให้ไม่พร้อมละ

ถาม : ก็พยายามทำอยู่ แต่ก็อาจจะไม่กล้าหาญ อย่างที่พระอาจารย์พูด ความกลัวหลายอย่างมันยังมีอยู่ในใจ

พระอาจารย์ : มันเหมือนวงจรอุบาทว์นะ จะออกจากความทุกข์ได้ ก็ต้องเผชิญกับความทุกข์ พอกลัวความทุกข์ก็เลยออกไม่ได้ ก็ยังวนเวียนอยู่กับกองทุกข์นี้อยู่ ควรมองว่า เหมือนกับมีเสี้ยนมีหนามตำเท้าเรา เวลาเดินแต่ละครั้งมันก็เจ็บ ถ้าเราถอนผ่ามันออกมา อาจจะเจ็บหน่อย แต่เจ็บไม่นาน พอแผลหายแล้วก็สบาย เป็นความทุกข์ระยะสั้น ไม่ได้ทุกข์ไปตลอด เหมือนทุกข์ที่เราติดอยู่ ที่นานเป็นกัปเป็นกัลป์   แต่ความทุกข์ที่ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์นี้ แค่ ๗ วัน ๗ คืนเท่านั้น ในยุคที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่เกิน ๗ ปี ทนไม่ได้หรือแค่ ๗ ปีเท่านั้น หรือว่าจะยอมทุกข์ไปเป็นกัปเป็นกัลป์ ยอมปล่อยให้เสี้ยนหนามติดอยู่ในเท้า ถ้าคิดอย่างนี้ก็จะมีกำลังใจ  ความสุขของพวกเราเป็นแบบสุขๆดิบๆ สุขแล้วก็ทุกข์ ทุกข์แล้วก็สุข วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ สุขน้อยกว่าทุกข์ พอสุขแล้วก็จะมีความทุกข์ตามมาเสมอ ส่วนทางปฏิบัติจะทุกข์ก่อนแล้วค่อยสุขทีหลัง ดีกว่าสุขก่อนแล้วทุกข์ทีหลัง.


ภาชนะที่รองรับธรรม
ถาม : ในสภาวะที่เราฟังธรรมอยู่นี้ คือสภาวะที่จิตเราสงบเป็นสมาธิลงไป มันน่าจะรับอะไรได้มากกว่าภาวะธรรมดาๆ ถูกไหมครับ

พระอาจารย์ : ขึ้นอยู่กับภาชนะที่รองรับ ใหญ่หรือเล็ก ถ้าเล็กก็รับได้น้อย ถ้าภาชนะอยู่ในระดับทาน ก็จะรับได้ในระดับทาน ถ้าอยู่ในระดับสมาธิ ก็จะรับได้ในระดับสมาธิ ถ้าอยู่ในระดับทาน มีอะไรก็เอาไปแจกจ่ายหมดเลย อยู่แบบพระไปเลย แสดงว่ามีภาชนะรองรับคำสอนในระดับทานได้อย่างเต็มที่ บางคนฟังแล้วในระดับทานยังทำไม่ได้เลย ทำได้เพียงเล็กๆน้อยๆ พอหอมปากหอมคอ ยังหวงเก็บไว้ซื้อของส่วนตัวมาใช้ มาเที่ยวมากินมาเล่น นี่แสดงว่าขนาดระดับทานยังทำไม่ได้เลย ถ้าทำได้จริงๆจะให้หมดเลย จะเก็บไว้เท่าที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น
ถ้าในระดับศีล จะรักษาศีลได้โดยไม่มีข้ออ้างเลย ไม่มีข้อแม้อะไรทั้งสิ้น จะรักษาได้มากน้อยกี่ข้อกี่วัน ก็อยู่ที่ภาชนะของศีลที่ได้สร้างขึ้นมา ในระดับสมาธิระดับปัญญาก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีภาชนะในระดับปัญญา พอแสดงธรรมปั๊บก็จะบรรลุได้ทันที อย่างพระปัญจวัคคีย์เป็นต้น ท่านมีแล้วทั้งทานทั้งศีลทั้งสมาธิ ทานท่านก็สละเรือนออกบวชแล้ว ศีลก็รักษาอยู่ตลอดเวลา สมาธิก็ได้ในระดับฌาน ที่ไม่ได้ก็คือปัญญา มีอยู่บ้างแต่ไม่พอสอนใจให้หลุดพ้นได้ ขาดเพียงอันเดียวคืออนัตตา ท่านเห็นอนิจจัง รู้ว่าเกิดแล้วต้องแก่เจ็บตาย แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดแก่เจ็บ ตายนี้เป็นอะไรกันแน่ ยังหลงคิดว่าเป็นตัวท่านอยู่ พอพระพุทธเจ้าทรงบอกว่า สิ่งที่เกิดแก่เจ็บตายนี้ไม่ใช่ท่าน เป็นตุ๊กตา ได้มาจากพ่อจากแม่ แล้วหลงคิดว่าตุ๊กตาตัวนี้เป็นท่าน มันไม่ใช่ท่าน ไม่ใช่ตัวท่าน พอทรงตรัสอย่างนี้ท่านก็เข้าใจ ก็ปล่อยวางได้.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 พฤษภาคม 2567 12:58:10 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 126.0.0.0 Chrome 126.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #72 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2567 16:06:24 »




ต้องพิจารณาธรรมะอยู่เรื่อยๆ
ถาม : ท่านอาจารย์ครับ ตอนที่ท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องคนเจ็บป่วยตอนที่จะตายนี่ เวทนาทางกายมาก มันก็ทำให้เวทนาทางจิตเกิดตามไปด้วย คนทั้งหลายไม่มีความพร้อมที่จะรับกับสิ่งนั้น จะทำอย่างไรให้ความพร้อมมันมี

พระอาจารย์ : ต้องปฏิบัติธรรม ต้องพิจารณาธรรมะอยู่เรื่อยๆ เรื่องความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ว่าเป็นธรรมดา ก็จะลดความทุกข์ทางด้านจิตใจไปได้เยอะ ความทุกข์ทางกายมันแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง เวลาที่เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วเกิดความทุกข์นี่ จะมีทุกข์ ๒ อย่างเกิดขึ้นมา ทุกข์กายกับทุกข์ใจ ทุกข์กายแค่ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ทุกข์ใจ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ เวลาปฏิบัติทำจิตให้สงบนี้จะเห็นได้ชัดเลยว่า ตอนที่จิตยังไม่สงบ จะมีความกังวล ความวุ่นวายใจเกี่ยวกับความเป็นความตาย แต่พอจิตสงบลงไปปั๊บนี่จะเห็นเลยว่า ความเจ็บปวดของร่างกายมีนิดเดียวเอง ที่เจ็บปวดส่วนใหญ่อยู่ในใจ เช่นเวลาอดอาหาร ถ้าจิตไม่สงบนี่ มันฟุ้งซ่าน มันทรมาน คิดแต่เรื่องอาหาร แต่พอทำจิตให้สงบปั๊บ ความทุกข์ที่เกิดจากความฟุ้งซ่าน ความคิดปรุงนี่มันหายไป เหลือแต่ความรู้สึกหวิวๆท้องเท่านั้นเอง

ความทุกข์ทางกายนี่มันน้อยมาก เมื่อเทียบกับความทุกข์ทางใจ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์จึงไม่หวั่นไหวกับความเป็นความตาย เพราะผ่านมาหมดแล้ว เวทนาขนาดไหนก็ผ่านมาหมดแล้ว ผ่านมาได้ เพียงทำจิตให้นิ่ง แล้วปล่อยให้เวทนาแสดงไปเต็มที่ จนกว่าจะหายไปเอง อย่างหลวงตาท่านเล่าว่าท่านนั่งสมาธิทั้งคืน ทุกขเวทนาก็มาถึง ๓ หรือ ๔ ระลอกด้วยกัน ระลอกแรกนี่เป็นเหมือนหนู ระลอกที่ ๒ เหมือนแมว ระลอกที่ ๓ หรือ ๔ เป็นเหมือนช้าง เหมือนกับถูกช้างเหยียบไปทั้งตัว ร่างกายทุกส่วน อวัยวะทุกส่วนมันปวดร้าวไปหมด แต่ถ้าใจไม่หวั่นไหวกับมัน พิจารณาแยกแยะกายให้ออกจากเวทนาออกจากจิตได้ ความทุกข์ใจก็จะไม่มี มีแต่ความทุกข์กาย ที่ใจรับได้อย่างสบาย.


พิจารณาความเสื่อม
ถาม : ถ้าจิตไม่รวม เราก็จะพิจารณาไม่ได้

พระอาจารย์ : ได้ แต่เป็นเหมือนมีดที่ไม่คม คนตัดก็ไม่มีแรง ตัดได้ทีละนิดทีละหน่อย แต่จะไม่ขาด ต้องทำไปเรื่อยๆ ต้องซ้อมไปก่อน ซ้อมนั่งสมาธิซ้อมใช้ปัญญา ควรบำเพ็ญสมาธิและปัญญาสลับกันไป ช่วงนี้นั่งสมาธิ ช่วงหน้าก็พิจารณา ถึงแม้ยังตัดไม่ได้ พิจารณาเพื่อให้เกิดความชำนาญ พอจิตรวมแล้วปัญญาจะไปได้อย่างรวดเร็ว ต้องทำสลับกันไป

ถาม : นั่งสมาธิทุกวัน แต่เวลาออกจากสมาธิแล้วยังหงุดหงิดขี้โมโห เวลากระทบเรื่องงาน

พระอาจารย์ : เพราะไม่เจริญปัญญา สมาธิอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีปัญญา ต้องเห็นไตรลักษณ์ถึงจะตัดได้  ในมรรค ๘ มีทั้งสัมมาสมาธิ มีทั้งสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปโป คือปัญญานั่นเอง

ถาม : ไม่รู้ว่าจะพิจารณาตรงไหน

พระอาจารย์ : พิจารณาความเสื่อม ความเปลี่ยนแปลง ความไม่เที่ยง พิจารณาร่างกายก่อน ร่างกายของคนรอบข้าง พิจารณางานที่ทำอยู่ว่าถาวรหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ บริษัทเปิดได้ก็ปิดได้


ต้องสลับกันทำ อย่าทำอย่างเดียว
ถาม : ตอนที่หยิบข้อธรรมะขึ้นมาพิจารณา ให้เป็นวิปัสสนานี่ ต้องใช้สมาธิแบบไหน

พระอาจารย์ : ต้องออกมาจากสมาธิก่อน มาอยู่ในจิตปกติก่อน

ถาม : ไม่ใช่อยู่ในอุปจาร  ออกมาเป็นปกติเลย

พระอาจารย์ : ออกมาเป็นปกติ มารับรู้ภายนอกก่อน แล้วค่อยพิจารณา ต้องพิจารณาตลอดเวลาเลย ในขณะที่ไม่ได้อยู่ในสมาธิ แทนที่จะปล่อยให้จิตเป็นเครื่องมือของกิเลส ต้องดึงเอามาเป็นเครื่องมือของธรรมะ พอออกจากสมาธิปั๊บ ถ้าไม่เคยพิจารณา จะกลับไปคิดตามกิเลสทันที กิเลสให้คิดว่า นั่งมานานแล้ว เมื่อยแล้ว หาอะไรมาดื่มสักหน่อย หรือนอนสักหน่อย หรือเปิดวิทยุฟังสักหน่อย นี่ไปทางกิเลสแล้ว อย่าปล่อยให้มันทำอย่างนั้น ต้องดึงมาพิจารณาเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย พิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกายเป็นต้น

ถาม : ถอยออกมาแล้วก็พิจารณา พิจารณาแล้วก็กลับไปเข้าสมาธิใหม่ ทำอย่างนี้ตลอดเวลาใช่หรือไม่

พระอาจารย์ : ต้องสลับกันทำ อย่าทำอย่างเดียว ทำอย่างเดียวเหมือนกับเดินขาเดียว ปัญญากับสมาธิเป็นเหมือนเท้าทั้ง ๒ ข้างของเรา เวลาก้าวเท้าซ้าย ก็ใช้เท้าขวายัน เวลาก้าวเท้าขวา ก็ใช้เท้าซ้ายยัน สลับกันไป ถ้าพิจารณาอย่างเดียวจิตจะล้าจะเพลีย จะหมดความสงบ จะไม่เป็นเหตุเป็นผล จะฟุ้งซ่านขึ้นมา เป็นอุทธัจจะขึ้นมา ตอนนั้นต้องกลับไปทำสมาธิให้สงบตัวลง พักจิตให้ได้กำลัง เหมือนกับคนตัดไม้ เวลาตัดใหม่ๆ มีดก็คมคนตัดก็มีแรง พอตัดไปสักระยะหนึ่ง มีดก็จะทื่อ คนตัดก็จะเมื่อยล้าหมดแรง ก็ต้องหยุดพัก กินข้าว พักผ่อนหลับนอน ลับมีดให้คม แล้วค่อยออกไปตัดไม้ต่อ การพิจารณาปัญญาเพื่อตัดกิเลส ก็เป็นเหมือนกับการตัดไม้ ตอนพิจารณาใหม่ๆก็เป็นเหตุเป็นผล เพราะจิตมีความสงบ มองอะไรก็มองไปตามความจริง แต่พอความสงบหายไป ความหลงก็จะเข้ามาแทนที่ อารมณ์ก็จะเข้ามาแทนที่ พอจะให้ตัดก็จะเสียดาย ตัดไม่ลง


คำตอบอยู่ในไตรลักษณ์
ถาม : เวลาภาวนาจะมีคำถามคำตอบเกิดขึ้นตลอดเวลา บางคำตอบมันก็กระจ่าง เพราะมันกระจ่างที่ใจเลย แต่ในบางคำตอบมันไม่กระจ่าง แล้วมันจะติดออกมาให้พิจารณาในภายหลังอยู่เสมอ
 
พระอาจารย์ : เป็นการพัฒนาจิตใจ ความคิดความสงสัยต่างๆ พอมันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหาคำตอบ ถ้าปัญญายังไม่ทันก็ยังหาคำตอบมาไม่ได้ แต่พอพิจารณาไปสักระยะหนึ่งก็ได้คำตอบ คำตอบอยู่ในไตรลักษณ์ ถ้าใช้ไตรลักษณ์แล้วจะพบคำตอบ 


ให้อยู่ในวงของขันธ์ ๕
ถาม : จิตไม่เป็นสมาธิเลยคะ พอนั่งไปสักพักหนึ่งคำถามคำตอบต่างๆจะขึ้นมาทันที

พระอาจารย์ : จิตจะไปในทางปัญญาอบรมสมาธิ ก็ให้อยู่ในวงของขันธ์ ๕ ในวงของไตรลักษณ์ ถ้าไปในวงของลาภยศสรรเสริญสุข ก็แสดงว่าหลงทางแล้ว

ถาม : บางทีไปค้นหาคำตอบในหนังสือ

พระอาจารย์ : ค้นในใจเรานี่แหละ บางทีหนังสือก็ให้คำตอบกับเราได้ บางทีไปอ่านหนังสือของครูบาอาจารย์ก็ได้คำตอบ บางทีมีโอกาสได้พบกับครูบาอาจารย์ แล้วแย้มออกไปให้ท่านทราบ ท่านก็จะช่วยเราได้ 

ถาม : บางทีมันอัดอั้นตันใจ มันคิดซ้ำๆซากๆไปตลอด

พระอาจารย์ : การปฏิบัติโดยที่ไม่มีครูบาอาจารย์กับมีก็ต่างกันตรงนี้ เวลามีปัญหาครูบาอาจารย์ช่วยเราได้ ท่านปฏิบัติผ่านมาแล้ว ท่านรู้แล้ว พอเราติดตรงนี้ปั๊บท่านก็จะบอกเราได้ ถ้าไม่มีก็ต้องพึ่งตนเองไปก่อน เปิดหนังสือดูก็ได้ ขอให้เป็นหนังสือที่เป็นธรรมะจริงๆก็แล้วกัน ถ้าไปเจอหนังสือธรรมะที่ไม่จริง ก็จะทำให้เราเขว.


ต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่
ถาม : เรื่องเกี่ยวกับว่าทุกอย่างเป็นธาตุ ๔ นี้ ก็พอดีเมื่อวันศุกร์ไปงานศพ แล้วก็ไปดูโลงศพ จากการที่ได้ฟังเรื่องนี้มาก่อน ก็พิจารณาตาม เสร็จแล้วเหมือนกับว่าจิตมันไหลไปเอง ความคิดเราไหลไปเอง ว่าเป็นธาตุดินเป็นธาตุน้ำฯลฯ ต้องทำอย่างไรดีคะ

พระอาจารย์ : ก็ควรเจริญต่อไป ให้ปรากฏอยู่กับเราอยู่เรื่อยๆ

ถาม : แต่ตอนนั้นไม่ได้บังคับให้พิจารณานะ

พระอาจารย์ : ตอนนั้นมันไปโดยอำนาจของบุญบารมีที่ได้บำเพ็ญมา เป็นปัญญาเก่าที่เคยพิจารณามาก่อน เหมือนถ่านไฟเก่าที่ได้ไฟใหม่ ไฟเก่ามอดไปแต่ไม่ดับ พอได้สะเก็ดไฟก็ลุกขึ้นมาใหม่ พอเราถอนออกมามันก็หยุด พอมันไหม้หมดมันก็หยุด เราก็ต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่ ตอนนี้มีกำลังพิจารณาได้ในระดับหนึ่ง ถ้าพิจารณาอย่างต่อเนื่องทุกเวลานาที เวลากำหนดดูทีไรก็จะกลายเป็นธาตุไปทันที กลายเป็นซากศพไปทันที.


มักจะถูกกิเลสแย่งไป
ถาม : บางครั้งคิดว่าจะทำงานให้มีเงินเยอะๆ จะได้ทำบุญเยอะๆ

พระอาจารย์ : คิดอย่างนั้นก็ดี แต่ส่วนใหญ่พอมีแล้วมักจะลืมกัน มักจะถูกกิเลสแย่งไปก่อน ตอนแรกก็คิดจะทำบุญเยอะๆ แต่พอมีเงินแล้ว ไอ้นั่นก็สวย ไอ้นี่ก็ดี ที่นั่นก็น่าไปเที่ยว ขอแบ่งเงินไปหน่อย ความจริงแล้วไม่ควรทำงานเพื่อเอาเงินมาทำบุญ ทำงานเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพื่อให้มีเวลาไปปฏิบัติธรรมจะดีกว่า เพราะบุญที่ได้จากการให้ มันน้อยกว่าบุญที่ได้จากการปฏิบัติธรรม เกิดจากการรักษาศีล ที่ให้ทำบุญให้ทาน เพราะมีเหลือกินเหลือใช้ เป็นวาสนาที่ทำมาหากินเก่ง ทำได้มากเกินความจำเป็น ก็ให้เอาไปทำบุญเสีย แต่อย่าไปตั้งเป้าทำเพื่อเอาเงินมาทำบุญ ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง เป็นการหลอกตัวเอง จะได้ทำงาน จะได้ไม่ต้องไปรักษาศีล จะได้ไม่ต้องไปปฏิบัติธรรม เพราะไม่มีเวลา.


ฟังให้เกิดปัญญาหรือให้เกิดสมาธิ
ถาม : เวลาที่ท่านอาจารย์พูดธรรมะเราก็คิดตามไป พอท่านอาจารย์พูดต่อไป เราฟังไม่ทัน มัวแต่คิดในเรื่องที่ท่านอาจารย์สอน อย่างนี้ไม่สมควรทำใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ :  สมควรนะ เวลาฟังนี่ฟังได้ ๒ ลักษณะ ฟังให้เกิดปัญญาหรือให้เกิดสมาธิ การฟังแล้วพิจารณาตามนี้ เป็นการฟังเพื่อให้เกิดปัญญา พอท่านพูดอะไรเราก็พิจารณาตาม ตามเหตุตามผล ถ้าเข้าใจก็เป็นปัญญา นำเอาไปปฏิบัติได้ อย่างที่ถามเรื่องการทำงานที่ไม่ให้เครียดจะให้ทำอย่างไร เราก็บอกว่าต้องทำอย่างนี้ๆ ถ้าพิจารณาตามแล้วเข้าใจ ก็จะนำไปปฏิบัติได้ ก็เป็นปัญญา ถ้ายังไม่เข้าใจก็ต้องผ่านไปก่อน ปัญญาเรายังตามไม่ทัน ก็ไม่เป็นไร เพราะการฟังแต่ละครั้งอาจจะตามไม่ได้หมดทุกเรื่อง เพราะสติปัญญาของเราพิจารณาตามไม่ทัน ก็ไม่เป็นไร ไว้คราวหน้าค่อยตามใหม่ เพราะการแสดงธรรมจะเริ่มต้นจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ พอมาถึงขั้นที่เรารออยู่ก็จะฟังต่อ ขั้นที่ได้ผ่านมาแล้วก็ทบทวนดูว่า ความคิดของเรากับความคิดของท่านมันตรงกันหรือไม่ เหตุผลของท่านกับเหตุผลของเรามันตรงกันหรือไม่ เป็นการตอกย้ำความเข้าใจ ฟังอย่างนี้เป็นการฟังเพื่อปัญญา ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจเลย เพราะพิจารณาตามไม่ทัน มีปัญญาน้อยมาก ก็ให้ฟังแต่เสียงไปเรื่อยๆ จดจ่ออยู่กับเสียงไป เสียงนั้นก็จะเป็นเหมือนพุทโธๆให้เราเกาะ ไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่นก็จะดึงใจให้เข้าสู่ความสงบได้ ก็จะเป็นสมาธิ นี่คือการฟังโดยไม่พิจารณาตาม อาจจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ก็ไม่ต้องกังวล เพราะจะเกิดความฟุ้งซ่าน ความหงุดหงิดรำคาญใจขึ้นมา ฟังแล้วไม่รู้เรื่องไม่รู้จะฟังไปทำไม ก็อย่าไปคิดอย่างนี้ พอถึงจุดที่ไม่เข้าใจก็ฟังแต่เสียงไป อย่าไปคิดอะไร ก็จะเป็นสมาธิ

เวลาฟังจึงไม่จำเป็นต้องพุทโธๆไปหรือดูลมหายใจไป ใช้พุทโธๆหรือลมหายใจในขณะที่เราภาวนาอยู่คนเดียว แต่ขณะที่ฟังต้องถือเสียงที่มากระทบกับหูเป็นองค์ภาวนา เกาะอยู่กับเสียงนั้นเฉยๆ ไม่คิดพิจารณาตามก็ได้ ผลก็จะได้ต่างกัน ถ้าพิจารณาตามก็จะเกิดปัญญา ก็จะบรรลุได้ จะบรรลุได้ต้องพิจารณาตาม แต่ถ้าฟังแล้วเกาะกับเสียงนั้นไป ไม่ไปคิดเรื่องอื่นมันก็จะสงบเป็นสมาธิ สมาธิดับกิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสเกิดจากความหลง ความไม่เข้าใจหรือความเข้าใจผิด ต้องฟังให้เกิดปัญญา เพื่อจะได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดความเห็นที่ถูกต้อง มาระงับดับความหลงได้.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 126.0.0.0 Chrome 126.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #73 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2567 11:48:07 »





เชื่อแบบคนไข้เชื่อหมอ
ถาม : ท่านอาจารย์คะ เรื่องศรัทธานี่ บางครั้งก็มีคำถามอยู่เหมือนกัน

พระอาจารย์ : อย่าไปถามสิ เชื่ออย่างเดียว คนตาบอดอย่าไปสงสัยคนตาดี ในเบื้องต้นก็ต้องหาคนที่เราเชื่อถือได้จริงๆ  ถ้าไม่ได้ก็ต้องใช้ปัญญาประกอบไปก่อน  พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงสอนให้เชื่อแบบหูหนวกตาบอด  ต้องมีเหตุมีผล  อย่างในกาลามสูตรก็ทรงสอนว่าไม่ให้เชื่อเพราะเขาเป็นอาจารย์ของเราฯลฯ แต่ให้เชื่อเพื่อเอาไป พิสูจน์ดูว่าดีจริงหรือไม่ เชื่อแบบคนไข้เชื่อหมอ หมอให้ยามาก็รับประทานดู  ถ้าไม่รับประทาน  จะรู้ได้อย่างไรว่ายาที่หมอให้มารับประทานนี้  รักษาโรคได้หรือไม่  ถ้าไม่รับประทานยาก็จะไม่รู้  แต่ถ้ารับประทาน จะรู้ว่ารักษาได้หรือไม่  ถ้ารับประทานหมดแล้วโรคยังเหมือนเดิม ก็แสดงว่ายาไม่ถูกกับโรค  ต่อไปหมอจะให้ยานี้มารับประทานอีกก็ไม่เอา  แต่ถ้ารับประทานแล้วอาการดีขึ้นตามลำดับ พอยาหมดก็ต้องกลับไปหาหมอ ขอยามาเพิ่ม

ฉันใดก็ฉันนั้น  พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราทำทานก็ทำไปสิ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ อย่าทำเพื่อหวังผลตอบแทน อย่าทำเพื่อเอาหน้าเอาตา ลองทำแบบปิดทองหลังพระดูสิ อย่าไปปิดทองหน้าพระ  ทำไปเพื่อความสุขใจ  ไม่ต้องให้ใครรู้ว่าเราทำ  แล้วจะเกิดความสุขขึ้นมาในใจ  แต่ต้องพิจารณาด้วยว่า  ทำแล้วเกิดประโยชน์หรือไม่ ถ้าสร้างอะไรที่ไม่จำเป็นจะสร้างทำไม  ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปสร้าง  คนที่อดข้าวจะตายกลับไม่สงสาร ไม่ดูแล ถึงแม้เขาจะเป็นคนไม่ดี  แต่ก็ควรคำนึงถึงมนุษยธรรม  แม้แต่ตำรวจเวลาจับผู้ต้องหามา  ถ้าถูกยิงบาดเจ็บก็ยังต้องเอาตัวไปรักษาก่อน  ในเมื่อคนเดือดร้อนยังมีอยู่อีกมาก อดข้าวอดปลา อดอยากขาดแคลน ทำไมไม่ช่วยเขาบ้าง ถ้าช่วยโดยไม่หวังผลตอบแทน จะมีความอิ่มเอิบใจ  เพราะได้ช่วยให้เขามีความสุข เมื่อเขามีกำลังวังชาแล้ว  จะไปประพฤติสำมะเลเทเมา  ก็ปล่อยเขาไปตามเรื่อง ถ้าซมซานกลับมาอีกไม่มีที่ไป ไม่มีข้าวกิน ก็ช่วยกันไป เหมือนกับเลี้ยงสุนัขตัวหนึ่ง ไม่ให้มันตาย.


ขี้เกียจภาวนามากกว่า
ถาม : บ่อยครั้งไปหาครูบาอาจารย์ๆก็สอนว่า เข้าวัดมานานแล้ว ทำทานมามากแล้ว ภาวนาให้มากๆจะดีกว่า ท่านว่าอย่างนั้น บางทีเราก็อดไม่ได้ เพราะนิสัยทำทานมันมีมานาน

พระอาจารย์ : ไม่ใช่นิสัยทำทานหรอก ขี้เกียจภาวนามากกว่า ทานมีไว้เพื่อให้เรากำจัดสิ่งที่เรามีเกินความจำเป็น เป็นการเบรกความโลภด้วย ไม่อย่างนั้นก็อยากจะหาเงินมาเยอะๆ ไม่เคยถามเลยว่าหามาทำไม ถ้าหามาเพื่อเอาไปทำทาน หามาทำไม ก็วนอยู่อย่างนี้ หามาแล้วก็เอาไปทำทาน ก็ไม่ได้ไปไหนสักที  เหตุที่เราต้องหาเงินเพราะต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเรา  ถ้าโชคดีหรือมีความสามารถหาได้มากกว่าที่ต้องการ  ก็เอาไปทำบุญทำทานเสีย แทนที่จะเอาไปใช้ซื้อของฟุ่มเฟือย แทนที่จะใช้สบู่ก้อนละร้อย ใช้ก้อนละสิบบาทก็ได้  แต่ถ้าหามาได้เยอะ  ใช้ก้อนละร้อยก็ได้  เพราะมีเงินพอ  แต่ไม่ได้ทำทาน ก็จะติดกับการใช้ของฟุ่มเฟือย เงินก็จะไม่พอใช้  ไม่ได้ก้าวขึ้นสู่ขั้นศีล เพราะการหาเงินนี้ถ้าไม่ระวัง อาจจะทำผิดศีลได้ ในหลายกรณี เช่นเป็นลูกจ้างที่ไม่ทำงานตามเวลาที่ให้ทำ ก็เหมือนกับลักทรัพย์แล้ว เอาเวลาทำงานไปอู้เสีย ไปทำอะไรอย่างอื่น นั่งกินกาแฟ อ่านหนังสือพิมพ์ อย่างนี้ก็เท่ากับการลักทรัพย์แล้ว  คือเงินเดือนที่จ่ายให้เป็นค่าแรง แต่ไม่ได้ทำงาน ทำให้ศีลบกพร่องด่างพร้อย ถ้าเป็นคนระมัดระวังศีล ก็จะทำงานตามหน้าที่ไม่ให้บกพร่อง เงินทองที่หามาจึงได้มาด้วยความลำบากยากเย็น  เพราะต้องทำเต็มที่ เวลาจะใช้เงิน จึงใช้ด้วยความระมัดระวัง แต่ถ้าหาเงินมาด้วยวิธีที่ไม่ถูกแต่ง่าย ก็จะใช้เงินง่าย การทำมาหากินควรทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ส่วนเกินก็เอาไปทำบุญทำทาน แล้วก็พยายามหาเวลาไปภาวนา เมื่อเริ่มเห็นผลแล้ว จะเบื่อกับการทำงานทางโลก จะสะสมเงินทองไว้เพื่อสนับสนุนในการภาวนา จะได้มีเวลาบำเพ็ญภาวนาได้อย่างเต็มที่


ความมั่นใจ
ถาม : ความระแวงสงสัยก็บั่นทอนศรัทธา บั่นทอนกำลังใจได้เหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะเราให้ความสำคัญมั่นหมายกับเรื่องนั้นมากเกินไปหรือเปล่าครับ ต้องวางๆเสียบ้าง

พระอาจารย์ : ก็ทำในสิ่งที่เรามีความมั่นใจก็แล้วกัน นี่พูดในกรณีทำทานนะ เราก็ทำในสิ่งที่เรามีความมั่นใจ  อันไหนที่เราไม่มั่นใจก็ไม่ต้องทำ ทำเพื่อจะได้ขยับขึ้นสู่ธรรมที่สูงขึ้น คือศีลสมาธิปัญญา ที่ไม่มีอะไรจะต้องสงสัย การรักษาศีล เราก็รู้ว่าดี การภาวนาเราก็รู้ว่าดีเรื่องให้ทานนี้อย่าไปกังวลมากจนเกินไป  ทำที่เรามีความมั่นใจ  ทำให้หมดไปเลย  มีอยู่เท่าไรทำให้หมดไปเลย ให้หมดเนื้อหมดตัวไปเลย จะได้หมดเรื่องไป เก็บไว้เท่าที่จำเป็น เท่าที่จะต้องใช้ ส่วนที่ไม่จำเป็นก็ให้ไปเลย กับคนที่เราไม่สงสัย  เรามีความมั่นใจ


ให้จิตรู้อยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ถาม : ท่านอาจารย์อย่างนี้ได้ไหมครับ  เรานั่งสมาธินี่เราเอาลมอย่างเดียว ไม่เอาพุทโธ 

พระอาจารย์ : ได้

ถาม : ถ้าเราเดินเราเคลื่อนไหว   เราเอาพุทโธ

พระอาจารย์ : ได้

ถาม : หรือเดินจงกรมเอาเท้าอย่างเดียว

พระอาจารย์ : ได้

ถาม : เอาแค่ ๓ อย่างนี้

พระอาจารย์ : ก็ลองดูก็แล้วกัน ในแต่ละอิริยาบถว่าอันไหนได้ประโยชน์  เป้าหมายก็คือไม่ต้องการให้จิตไปคิดเรื่องราวต่างๆเป็นหลัก ให้จิตรู้อยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน   แต่บางทีความคิดของเรามันละเอียด เราไม่รู้ว่ากำลังคิดอยู่ เรามองไม่เห็น แต่ก็ไม่เป็นไร ให้รู้อยู่กับสิ่งที่เราเห็น ส่วนใหญ่ก็คือร่างกาย  ก็ให้รู้อยู่กับการเคลื่อนไหวไปมา อย่าเดินไปแล้วก็คิดถึงงานที่ทำมาเมื่อวานนี้ หรืองานที่จะต้องไปทำในวันพรุ่งนี้อย่างนี้เป็นต้น ให้รู้ว่าเราอยู่กับซ้ายขวาหรือเปล่าเท่านั้นเอง มันอยู่อย่างนั้นหรือเปล่า แต่ถ้าซ้ายขวาๆแล้วมันก็ยังคิด ก็ใช้บริกรรมพุทโธเข้าไปเสริมก็ได้ เพราะพุทโธจะสกัดได้ รู้สึกว่าหลวงตาท่านจะเน้นเรื่องพุทโธนี้มาก เพราะท่านเคยใช้พุทโธทำจิตของท่านให้สงบ ในช่วงที่จิตของท่านเคยเสื่อมไป ตอนที่ท่านไปทำกลดอยู่เดือนสองเดือน  แล้วจิตมันไม่สงบ  พยายามนั่งอย่างไรก็ไม่สงบ ตอนหลังท่านก็จับได้ว่าต้องมีพุทโธ ท่านก็เลยพุทโธในอิริยาบถ ๔  ไม่ว่าจะทำอะไรก็พุทโธ  ไม่ให้ไปคิดอะไร เพราะตอนนั้นท่านก็อยู่คนเดียว  ไม่มีภารกิจที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับใครที่ไหน ก็คิดแต่พุทโธๆๆอย่างเดียว ไปกับภารกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เช่นเดินบิณฑบาตไปใจก็พุทโธไป ไม่ใช่บิณฑบาตไปแล้วก็คิดถึงเรื่องคนนั้นเรื่องคนนี้  เวลาปัดกวาดก็พุทโธอยู่กับการปัดกวาดเวลาฉันก็พุทโธไป จิตก็จะถูกตะล่อมเข้ามา พอมานั่งสมาธิก็พุทโธๆๆต่อ เดี๋ยวมันก็สงบลง แต่ถ้ากำหนดสติแล้วดูตามมันก็จะตามมันไปเรื่อยๆ มีบางที่สอนให้มีสติดูความคิด ดูตามความคิด มันก็คิดไปเรื่อยๆ แล้วก็ตามไปเรื่อยๆ มันก็เหมือนกับวิ่งจับลิง มันก็ไม่หยุดสักที  จะหยุดต้องสกัดมันไม่ให้มีที่วิ่ง คือเอาพุทโธมาขวางข้างหน้า ขวางข้างหลัง ขวางข้างๆ  ข้างซ้ายข้างขวา มันไปไหนไม่ได้มันก็หยุด


ควรจะมีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลักของเรา
ถาม : ท่านคะ สมมุติว่าปกติดูลมแล้วบางวันมีความรู้สึกว่ามันทำไม่ได้  เปลี่ยนมาภาวนาพุทโธได้ไหมคะ
 
พระอาจารย์ : ได้ เพียงแต่อย่าไปเปลี่ยนบ่อยๆ ลองวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วพยายามใช้วิธีนั้นให้มันชำนาญดีกว่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จะไม่ได้อะไรสักอย่าง ควรจะมีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลักของเรา แต่เมื่อภาวนาไปแล้วพอก้าวสูงขึ้นไปแล้วก็จะเปลี่ยนไปเอง ต่อไปไม่ต้องอาศัยลมก็ได้ เพียงแต่มีสติกำหนดให้จิตนิ่งก็นิ่งได้  เวลาอยู่ในขั้นปัญญาก็ต้องพิจารณา พอต้องการจะพัก  ก็ต้องย้อนกลับมาทำจิตให้สงบ  เราก็กลับมาที่กรรมฐานเดิมที่เราเคยใช้อยู่ กลับมาหาพุทโธ กลับมาหาลมก็ได้ แต่ควรจะฝึกด้วยกรรมฐานใดกรรมฐานหนึ่ง ที่คิดว่าเหมาะกับเรา แล้วพยายามทำไปเรื่อยๆกับกรรมฐานนั้น  ดีกว่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่เรื่อยๆ เดี๋ยวจะหาเหตุไม่เจอ ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหาอยู่ที่ตัวเรามากกว่า  เราไม่มีสตินั่นเอง.


เขาถึงเรียกโลกธาตุไง
ถาม : ถ้าเราพิจารณาเกี่ยวกับธาตุ ๔ ในกายเรานี่ ถ้าเรามองไปข้างนอกเราก็พิจารณาอย่างอื่นเป็นธาตุ ๔ ได้เหมือนกันใช่ไหม

พระอาจารย์ : ต้องพิจารณาทั้งเขาทั้งเรา ทั้งข้างนอกทั้งข้างใน กายคตาสติ สอนให้พิจารณากายนอก พิจารณากายใน และพิจารณาทั้งกายนอกและกายใน พิจารณาลงไปที่ธาตุ ๔ ทั้งหมด 
โลกนี้เขาถึงเรียกโลกธาตุไง เราอยู่ในโลกของธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธาตุหมด ศาลาหลังนี้ก็ธาตุทั้งนั้น แต่ศาลาต่างกับเราตรงที่ศาลาไม่มีจิตไม่มีวิญญาณ แต่ก็มีบางคนที่คิดว่าศาลานี้มีวิญญาณครอบครองอยู่


รู้ว่ามันก็แค่นั้นแหละ
ถาม : ที่ท่านอาจารย์บอกว่า  ละโลภโกรธหลงได้นี่ กับไม่ยินดียินร้ายเหมือนกันไหมคะ

พระอาจารย์ : ก็เป็นกลางๆ จะว่าไม่ยินดีก็ได้ ไม่ยินร้ายก็ได้ มันเฉยๆ รู้ว่ามันก็แค่นั้นแหละ เหมือนกับสิ่งที่เราไม่แยแสไม่ให้ความสำคัญแล้ว เมื่อก่อนนี้เราหลงว่าเป็นแบงก์ ๑๐๐ แต่พอมีคนมาบอกว่าเป็นแบงก์เก๊   เราก็จะไม่ยินดีไม่ยินร้ายใช่ไหม รู้สึกอย่างนั้น เมื่อก่อนเราคิดว่าเป็นของจริง แต่ตอนนี้เรารู้ว่ามันเป็นของเก๊แล้ว เราจะรู้สึกอย่างไร ก็รู้สึกแบบนั้นแหละ  ปัญญาก็สอนให้เราเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นของเก๊ทั้งนั้นไม่ใช่ของจริง ไม่มีความหมายอะไร.


กิเลสมันแรง
ถาม : ผมอ่านหนังสือกำลังใจของท่านอาจารย์ ว่ามีโยมมาใส่บาตร ๒ คนแล้วทะเลาะกัน

พระอาจารย์ : อยู่คนละฟากถนนกัน พอเจอหน้ากันแล้วอดไม่ได้ ขนาดกำลังใส่บาตรยังด่ากันเลย

ถาม : ขนาดอยู่ต่อหน้าพระ

พระอาจารย์ : กิเลสมันแรง เวลาเจอคู่กรณีแล้วมันกระโดดผึงเลย เรานั่งกันอยู่อย่างนี้ ถ้าเจออะไรแรงๆเข้า มันก็ไปเหมือนกัน แต่ถ้าเคยฝึกมาแล้ว จะสามารถคุมใจได้

ถาม : คุมได้แต่รู้สึกว่ามันกรุ่นอยู่ข้างใน

พระอาจารย์ : เราก็คุมได้ในระดับที่เราได้ฝึกมาแล้ว แต่ในระดับที่ยังไม่ได้ฝึกก็จะคุมไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ไปเผชิญกับมัน

ถาม : สองคนที่ทะเลาะกันคงไม่รู้ตัวนะเจ้าค่ะ

พระอาจารย์ : ไม่รู้สึกตัวหรอก รู้แบบคนเมารู้ ควบคุมไม่ได้ ไม่สนใจแล้วเรื่องกาลเทศะ เรื่องหิริโอตตัปปะ โยนทิ้งไปหมดแล้ว


ไปยุ่งกับมันก็จะเสียเวลา
ถาม  : ท่านอาจารย์คะ พอเวลาภาวนาไปใจบางครั้งมันมีฤทธิ์เกิดขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งที่เรามีฤทธิ์อย่างนี้เกิดขึ้น ใจเราชอบที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือไปดูมันให้รู้ ใจหนึ่งกล้า แต่ใจหนึ่งก็ไม่กล้า ใจหนึ่งจะกลับเข้ามาสู่ภายใน เพื่อพิจารณาถอดถอนอะไรบางอย่าง ที่มันอยู่ในใจเรา ใจหนึ่งก็ยังไม่อยากจะทำตรงนั้นค่ะ เราควรจะแก้อย่างไรตรงนี้ จะไปดูให้มันรู้ไปเลย หรือว่ากลับเข้ามาภายใน เพื่อถอดถอนอะไรที่มันอยู่ภายในใจ

พระอาจารย์ : ถ้ายังไม่มีความชำนาญในการทำจิตให้สงบ ก็ควรมุ่งทำให้ชำนาญก่อน เวลามีอะไรปรากฏขึ้นมาก็อย่าไปสนใจ หันกลับมาหาพุทโธๆ หันกลับมาหาลมหายใจ สิ่งที่ปรากฎก็จะหายไปเอง ถ้าตามมันไปก็แสดงว่าเราขาดสติแล้ว ไม่ได้อยู่กับพุทโธๆ ไม่ได้อยู่กับอารมณ์ที่เป็นเครื่องผูกจิต จิตก็จะตามไป หรือตามไปเพราะอยากจะรู้ อยากจะลอง หรือชอบเรื่องเหล่านี้ ในอดีตเคยชอบมาก่อน ของพวกนี้ไม่ใช่อยู่ๆจะปรากฏขึ้นมา ต้องเคยปรากฏขึ้นมาแล้ว เคยมีความผูกพันกันอยู่ ก็ต้องตัดสินใจว่าจะเอาอะไร ถ้าไปยุ่งกับมันก็จะเสียเวลา

เหมือนกับนั่งรถมาที่นี่แต่ไปแวะแถวบางแสน แถวพัทยา ก็มาไม่ถึงสักที ถ้าถึงก็อาจจะสายเกินไปก็ได้ ไม่มีใครอยู่ที่นี่แล้ว มาไม่ทัน กิจกรรมต่างๆเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว เราไปสนุกเพลิดเพลินแถวพัทยา แถวบางแสน การภาวนาก็เป็นแบบนั้น เวลาที่ไปข้องเกี่ยวกับนิมิตต่างๆก็จะเป็นแบบนั้น นิมิตไม่ได้เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญาเพื่อการหลุดพ้น สิ่งที่จะทำให้มีปัญญาเพื่อทำให้จิตหลุดพ้น ก็คือความสงบ ความนิ่งของจิต เป็นอุเบกขา เป็นเอกกัคคตารมณ์  เป็นผลของสมถภาวนา คุณแม่แก้วถูกหลวงตาขนาบก็เพราะเรื่องนี้ คุณแม่แก้วชอบดูนิมิตต่างๆ แต่หลวงตาห้ามไม่ให้ไปยุ่ง จนหลวงตาต้องขู่ว่าถ้าไม่เชื่อก็ไม่ต้องเป็นอาจารย์เป็นลูกศิษย์กัน ต้องแยกทางกัน ต้องขู่ขนาดนั้นถึงจะยอม.


ชอบกินแต่อาหารกิเลส
ถาม : ท่านอาจารย์คะบางทีคิดได้ว่าควรจะนั่งสมาธิดีกว่าไปทำอย่างอื่น แต่พอไปนั่งสักพักหนึ่งมันเหงา

พระอาจารย์ : เพราะยังไม่เห็นผล ต้องฝืน ถึงจะเหงาก็ต้องฝืนทำไป เหมือนกับกินข้าว เราไม่อยากกินข้าวแต่ถ้าไม่กินเดี๋ยวก็หิวใช่ไหม ก็ยังฝืนกินได้ใช่ไหม เพราะกลัวความหิวมากกว่า
แต่เราไม่ค่อยกลัวความทุกข์กัน ไม่ค่อยกลัวความฟุ้งซ่านกัน ไม่กลัวความวุ่นวายใจกัน เราจึงไม่ค่อยให้อาหารใจ ไม่กินอาหารใจกัน ชอบกินแต่อาหารกิเลส กิเลสมันถึงอ้วนท้วม เรื่องความโลภ ความโกรธนี่ไม่ต้องสอนกัน แม้แต่เด็กเพิ่งคลอดออกมา ก็มีความโลภ ความโกรธความหลงติดมาแล้ว ไม่พอใจอะไรก็ร้อง.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 128.0.0.0 Chrome 128.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #74 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2567 16:10:58 »




เห็นโทษของการไม่เจริญสติ
โยม : น้ำท่วมนี่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ตื่นตี ๓ ทุกวัน นอนไม่หลับ ทำอะไรดี นั่งสมาธิดีกว่า นั่งไปได้ ๑๐ นาที ไม่ไหว มันหงุดหงิด ก็หยุด เว้นไปครึ่งชั่วโมง พอจะไม่นั่งก็รู้สึกผิด ไม่รู้จะทำอะไรก็ต้องนั่ง แต่ก็นั่งไม่ได้อีก

พระอาจารย์  : ไม่เคยเจริญสติ ไม่มีเชือกดึงจิตให้อยู่เฉยๆ จิตก็เลยวิ่งไปวิ่งมา ทำให้ฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิไม่ได้

โยม : แต่ก็พยายามนั่ง ๑๐ นาที เว้นไปครึ่งชั่วโมง ก็นั่งอีก ๑๐ นาที

พระอาจารย์ : ตอนนี้เห็นโทษของการไม่เจริญสติหรือยัง ควรจะเห็น ถ้าเห็นก็ถือว่าไม่ขาดทุน ได้บทเรียน ได้รู้ว่าจะต้องทำอะไร ก็คือการเจริญสตินี่เอง ต้องเจริญสติในชีวิตประจำวัน ตื่นขึ้นมาถ้าท่องพุทโธๆได้ก็ท่องไปเลย ล้างหน้าล้างตาก็พุทโธๆ แปรงฟันก็พุทโธๆ อาบน้ำก็พุทโธๆ แต่งเนื้อแต่งตัวก็พุทโธๆ กินข้าวก็พุทโธๆ เดินทางไปทำงานก็พุทโธๆ เวลาทำงานถ้าไม่ต้องคิดเรื่องงานก็พุทโธๆไป พักกลางวันก็พุทโธๆ เดินทางกลับบ้านก็พุทโธๆ ทำกับข้าวกินข้าวก็พุทโธๆ อาบน้ำพุทโธๆ ก่อนจะนอนก็นั่งพุทโธๆไป จิตก็จะสงบภายใน ๕ นาที ๑๐ นาที จิตก็จะรวมลงได้

ทำอย่างนี้ไป ไม่ยากหรอก ทำได้แล้วก็จะสุขสบาย ต้องควบคุมความคิด อย่าปล่อยให้คิดเรื่อยเปื่อย คิดเพ้อเจ้อ คิดฟุ้งซ่าน ถ้าจำเป็นต้องคิดเรื่องงานเรื่องการก็คิดได้ คิดเสร็จแล้วก็หยุดคิด กลับมาพุทโธๆต่อ พุทโธไปจนกว่าจะไม่คิด ถ้าไม่คิดแล้วก็หยุดพุทโธ ให้สักแต่ว่ารู้ ทำอะไรก็สักแต่ว่ารู้ แสดงว่าคิดเหนื่อยแล้ว ไม่มีแรงคิด ก็เลยไม่คิด ถ้าไม่คิดก็ไม่ต้องพุทโธ ดูเฉยๆว่ากำลังทำอะไรอยู่ กำลังเดินก็ให้รู้ว่ากำลังเดิน ถ้าจะไปคิดเรื่องอื่นก็ต้องพุทโธๆใหม่.


อิ่มเมื่อไหร่ก็รู้เอง
ถาม : จะรู้เมื่อไหร่คะว่าเราพร้อม
 
พระอาจารย์ : เหมือนกินข้าว อิ่มเมื่อไหร่ก็รู้เอง ถ้าพร้อมก็จะแยกกันอยู่คนละห้อง นอนคนละห้อง จะรู้เอง เวลาเกิดความเบื่อหน่าย เห็นทุกข์ในการอยู่ร่วมกัน ตอนนี้ยังไม่เห็นทุกข์ เห็นแต่สุขอย่างเดียว เวลาทุกข์ก็ลืมเร็ว ทะเลาะกันเดี๋ยวเดียว ไม่นานก็ลืม ถ้าจำได้ก็จะไม่อยากอยู่ด้วยกัน กิเลสชอบให้ลืมความทุกข์ ให้กลับไปรักเขาเหมือนเดิม เพราะอยู่คนเดียวไม่ได้ ยังต้องมีเขาให้ความสุขกับเรา ก็เลยยอมทนกับความทุกข์ ถ้ามีความสุขที่เกิดจากความสงบ ก็จะไม่เอาแล้ว เบื่อแล้ว เบื่อที่จะต้องทุกข์เพื่อแลกกับความสุข เพราะมีความสุขที่ดีกว่าเหนือกว่า ก็จะอยู่คนเดียวได้ ต้องทำจิตให้รวมให้ได้ เป็นอุเบกขาให้ได้ แล้วจะอยู่คนเดียวได้ จะปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพราะเวลาอยู่ด้วยกันหลายคนจะวุ่นวาย ไม่สงบ เวลาอยู่คนเดียวจะสงบสบาย  ต้องปฏิบัติให้ได้ ต้องตั้งจิตอธิษฐานว่านี่คืองานของเรา นี่คือที่พึ่งของเรา ที่พึ่งอื่นไม่มี นัตถิ เม สรณัง อัญญัง  ที่พึ่งของเราก็คือ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ด้วยการศึกษาและการปฏิบัติ ต้องทุ่มเทเวลาให้เต็มที่ อย่าทำแบบมือสมัครเล่น ต้องทำแบบมืออาชีพถึงจะได้ผล กิเลสตัณหาทำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง ยกเว้นเวลาหลับ แต่ธรรมะของพวกเรา ทำเฉพาะเวลาที่เราว่างจากภาระกิจการงาน จึงไม่พอ สู้กิเลสตัณหาไม่ได้ กระแสธรรมของพวกเราอ่อนมาก สู้กระแสกิเลสตัณหาไม่ได้ เพราะไม่ผลิตกระแสธรรมให้มีกำลังมากกว่า เพราะไม่ทุ่มเทเวลาต่อการผลิตกระแสธรรม กลับไปผลิตกระแสกิเลสตัณหา ด้วยการทำตามกิเลสตัณหา การปฏิบัติจึงไม่คืบหน้า ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะไม่ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติ ถ้าทุ่มเทแล้วผลจะต้องเกิดอย่างแน่นอน   ทำไมจึงอยู่คนเดียวไม่ได้ ออกจากงานไม่ได้ ปฏิบัติธรรมทั้งวันไม่ได้ มีอะไรมาห้ามหรือเปล่า ผิดกฎหมายหรือเปล่า มีใครเอาปืนมาห้ามเราหรือเปล่า ห้ามอยู่คนเดียว ห้ามปฏิบัติธรรม ห้ามออกจากงาน ไม่มีใครเขาเอาปืนมาบังคับเราเลย ทั้งๆที่เป็นทางที่ดี ที่เลิศ ที่ประเสริฐ กลับไปชอบทางที่มีแต่ความวุ่นวายใจทุกข์ทรมานใจ เวลาไปเที่ยวถึงแม้จะต้องเสี่ยงภัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่างๆก็ไปได้ทุกเวลา ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน ไปแล้วได้อะไร ก็ได้ความสุขความสนุกประเดี๋ยวประด๋าว กลับมาบ้านก็เศร้าสร้อยหงอยเหงาว้าเหว่เหมือนเดิม ต้องวิเคราะห์ดู วิเคราะห์เรื่องของเรา อย่าไปวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์เรื่องของคนอื่น เสียเวลาไปเปล่าๆ  ตอนที่เราอ่านหนังสือธรรมะใหม่ๆ ก็อ่านเรื่องนั่งสมาธิอยู่หลายเดือน แล้วอยู่ๆวันหนึ่งก็คิดขึ้นมาว่า เมื่อไหร่จะนั่งสักที ก็นั่งตรงนั้นเลย วางหนังสือแล้วก็นั่งเลย ต้องวิเคราะห์ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คิดว่า วันเวลาผ่านไปผ่านไป กำลังทำอะไรอยู่ เราก็แก่ลงไปเรื่อยๆ ชีวิตก็สั้นลงไปเรื่อยๆ กำลังทำอะไรอยู่ กำลังทำตามกระแสกิเลสตัณหา หรือกำลังทำตามกระแสของธรรม ต้องถามอย่างนี้ พอคิดว่าตอนนี้ยังไม่ได้เจริญสติเลย ไม่ได้นั่งสมาธิเลย ก็จะได้นั่งเลย พวกเราถูกกิเลสหลอกอยู่เรื่อย ให้หลงลืมงานที่จะต้องทำ หลอกให้ไปทำงานที่ไม่ควรทำ กิเลสเป่าหูเป่าจิตเป่าใจพวกเรา จนไม่รู้สึกตัวว่ากำลังทำแต่สิ่งที่ไร้ประโยชน์กับจิตใจ ถ้าไม่กระตุ้นจิตสำนึก ไม่กระตุ้นปัญญาให้สอดส่องดูว่ากำลังทำอะไรอยู่ ก็จะไม่รู้ว่า กำลังเผลอหรือไม่เผลอ กำลังมีสติหรือไม่มีสติ สตินี้สำคัญมาก ต้องทำให้มีสติอย่างต่อเนื่องให้ได้ แล้วสมาธิก็จะเป็นผลตามมา พอมีสมาธิแล้วเวลาออกทางปัญญา ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพานได้อย่างง่ายดาย.


ไม่ต้องทำอะไร
ถาม : เวลานั่งไปถึงตรงที่จิตแยกออกจากกาย ควรดึงกลับมาหรือควรจะเฉยๆ ปล่อยเขาไป

พระอาจารย์ : เวลาจิตสงบจะปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ตอนนั้นไม่ต้องทำอะไร

ถาม : ปล่อยให้เขาแยกหรือคะ

พระอาจารย์ : ให้เขาอยู่ตามลำพัง ปล่อยวางร่างกายชั่วคราว ปล่อยตาหูจมูกลิ้นกาย ปล่อยรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เวลาทำสมาธิจะดึงกระแสของจิต ที่ไปเกาะติดอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ให้เข้ามาข้างในจิต เหมือนเดินเข้าไปในถ้ำ จะปล่อยวางเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ พอเข้าไปถึงก้นถ้ำแล้ว จะไม่รับรู้กับเหตุการณ์ต่างๆที่อยู่นอกถ้ำ จะพักอยู่ในนั้น เพราะเป็นที่เย็นสบาย มีความสุขมาก จนกว่ากำลังของสติจะอ่อนลง กระแสของกิเลสก็จะผลักออกมา ออกมารับรู้รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะต่อไป

ถาม : ไม่ดึงออกมา

พระอาจารย์ : ไม่ต้องดึงออกมา ทำแทบเป็นแทบตายเพื่อให้จิตเข้าไป พอเข้าไปแล้วก็อย่าดึงออกมา ปล่อยให้อยู่ในความสงบจนกว่าจะออกมาเอง ที่ออกมาก็เพราะยังไม่ได้เข้าไปถึงที่ ถ้าถึงที่แล้วจะไม่อยากออกมา เพราะมีความสุขมาก เบาสบายมาก.


ใครมีอะไรอยากจะเล่าให้ฟังบ้าง ไปปฏิบัติมาพรรษาหนึ่ง ได้สติได้สมาธิได้ปัญญาหรือเปล่า
โยม : รู้ตัวว่าสอบไม่ผ่าน แต่ก็ตั้งใจจะอยู่วัดมากกว่าอยู่บ้านค่ะ

พระอาจารย์ : ยังสู้กำลังของกิเลสไม่ได้

โยม : ค่ะ จะสนใจภายนอกมากกว่า พอดีไปที่นั่นค่อนข้างจะมีปัญหานิดหน่อย แต่ก็มีบางอย่างที่พอใจตนเอง ทำให้รู้ว่าวันข้างหน้า จะเลือกเส้นทางใดที่ดีที่สุด ก็คือต้องอยู่ในทางธรรม ต้องไปปฏิบัติเท่านั้นเจ้าค่ะ

พระอาจารย์ : ต้องพยายามดึงใจให้เข้าข้างใน อย่าออกไปยุ่งกับเรื่องข้างนอก ถ้าไม่เกี่ยวกับเรา ใครจะดีจะชั่วก็เรื่องของเขา ถ้าออกไปยุ่งแล้วจะเป็นเรื่องขึ้นมา ทำให้จิตใจว้าวุ่นขุ่นมัวท้อแท้เบื่อหน่าย ต้องบริกรรมพุทโธ ทำอะไรก็พุทโธๆไป ไม่ต้องไปสนใจคนอื่น ทำหน้าที่ของเราไป คนอื่นจะทำไม่ทำก็เรื่องของเขา เราพุทโธไป อย่าไปรับรู้เรื่องของคนอื่น ให้รู้อยู่กับเรื่องของเราก็พอ ให้อยู่กับการกระทำของเรา เฝ้าดูการกระทำของเรา เฝ้าดูใจของเราว่า ออกไปรับรู้ ไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่นหรือเปล่า ถ้าออกไปก็ดึงกลับมา ด้วยการบริกรรมพุทโธๆไป พยายามปลีกวิเวก อย่าคลุกคลีกัน นั่งคุยกันสนทนากัน ส่วนใหญ่จะคุยเรื่องคนอื่น วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ ต้องดึงใจให้เข้าข้างใน 

วิพากษ์วิจารณ์เรื่องของเราดีกว่า ว่าทำไมยังไม่สงบเสียที ทำไมยังโลภยังโกรธยังหลงอยู่ ทำไมไม่มีสติ ทำไมไม่มีสมาธิ ทำไมไม่มีปัญญา เพราะไม่ปลีกวิเวก ไม่เจริญสตินั่นเอง มัวแต่ปล่อยให้ใจคิดไปเรื่อยเปื่อย ไม่มีสติไม่มีสมาธิไม่มีปัญญา ถ้าเจริญพุทธานุสติอยู่เรื่อยๆ ควบคุมใจไม่ให้ไปคิดเรื่องต่างๆ คิดอยู่แต่พุทโธๆ ใจจะไม่ออกไปรับรู้เรื่องของคนอื่น เวลานั่งสมาธิจะสงบ พอออกจากสมาธิก็จะเจริญปัญญาได้ พิจารณาไตรลักษณ์ได้ พิจารณาอนิจจังได้ พิจารณาอนัตตาได้ พิจารณาทุกขังอริยสัจ ๔ ได้ ว่าทุกข์เกิดจากความอยากของเราเอง ไม่ได้เกิดจากใครหรอก จะดับทุกข์ได้ก็ต้องละความอยาก เช่นอยากจะวิพากษ์วิจารณ์ ก็ต้องหยุดวิพากษ์วิจารณ์ แล้วความวุ่นวายใจกับคนอื่นก็จะหมดไปเอง คนในโลกมีเป็นพันล้าน จะไปวิพากษ์วิจารณ์ไหวหรือ ปล่อยเขาไปเถิด เขาจะทำอะไรก็เรื่องของเขา ความดีความชั่วของเขาไม่ได้ทำให้เราดีหรือชั่วตามไปด้วย ความดีของเราอยู่ที่การเจริญสติ อยู่ที่การปลีกวิเวก อยู่ที่การไม่คลุกคลี ไม่วิพากษ์วิจารณ์

ถ้าจะสนทนาก็ให้สนทนาธรรม สนทนาเรื่องมักน้อยสันโดษ เรื่องการปลีกวิเวก เรื่องความเพียร เรื่องของการไม่คลุกคลีกัน เรื่องของศีล เรื่องของสมาธิ เรื่องของปัญญา เรื่องของวิมุตติ เรื่องของวิมุตติญาณทัศนะ ให้สนทนาเรื่องเหล่านี้ พระแท้ๆเวลาสนทนากัน จะสนทนาเรื่องเหล่านี้ ไม่วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ จะสนทนาแต่เรื่องธรรมะ ที่ไหนสงบ ความมักน้อยสันโดษเป็นอย่างไร ความเพียรเป็นอย่างไร ศีลบริสุทธิ์ไหม สมาธิสงบไหม ปัญญามีความแยบคายไหม จะสนทนาเรื่องเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ ผู้รู้น้อยกว่าก็จะได้รับความรู้จากผู้ที่มีความรู้มากกว่า ถ่ายทอดกัน แลกเปลี่ยนความรู้ให้แก่กัน จะมีปัญญาความรู้ความฉลาดมากขึ้น จะทำให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติ ถ้าคุยเรื่องโลกวิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ ใจจะตกต่ำ จะว้าวุ่นขุ่นมัว ท้อแท้เบื่อหน่าย อิจฉาริษยา โกรธเกลียดขึ้นมา

ถ้าจะสนทนากันก็ให้สนทนาเรื่องธรรมะ เพราะจะเสริมให้จิตใจสูงขึ้น ให้เจริญก้าวหน้า ถ้าวิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้จะทำให้จิตใจตกต่ำ จะคิดร้าย จะคิดไม่ดี จะไม่สบายอกไม่สบายใจ แทนที่จะก้าวหน้ากลับจะถดถอย เดินถอยหลัง ไม่ได้เดินไปข้างหน้า เดินไปตามกระแสของกิเลสตัณหา พระปฏิบัติจึงไม่จับกลุ่มสนทนากัน เวลาจับกลุ่มก็จะมีคนพูดอยู่คนเดียว คือครูบาอาจารย์ ท่านก็จะพูดแต่เรื่องธรรมะอย่างเดียว เสร็จจากการฟังเทศน์ฟังธรรม ก็เหมือนกับได้ชาร์จแบตเตอรี่ มีกำลังจิตมีกำลังใจ กลับไปนั่งสมาธิไปเดินจงกรมได้หลายชั่วโมง เวลาไม่ได้ฟังธรรมจะขี้เกียจ ไม่อยากเดินจงกรมนั่งสมาธิ พอได้ยินได้ฟังธรรม ก็ได้รับการกระตุ้น ทำให้มีพลังธรรม ทำให้สามารถเดินจงกรมนั่งสมาธิได้หลายชั่วโมง ครูบาอาจารย์ถึงต้องเรียกประชุมอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้กำลังจิตกำลังใจ ให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติ

การฟังเทศน์ฟังธรรมจึงเป็นมงคลอย่างยิ่ง กาเลนะ ธัมมัสสวนัง เอตัมมัง คลมุตตมัง เพราะฟังแล้วจะเกิดพลังธรรมขึ้นมา เกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติธรรม เกิดความฉลาด ได้ข้อคิด ได้รู้จักวิธีที่จะปฏิบัติต่อไป ถ้าติดอยู่ตรงไหนก็จะแก้ปัญหาได้ เพราะผู้แสดงได้ผ่านมาแล้ว จะรู้วิธีแก้ปัญหาต่างๆในแต่ละจุด ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องติด พอได้ฟังจากผู้ที่ได้ปฏิบัติผ่านมาแล้ว ก็จะแก้ปัญหาของตนได้ การมีครูบาอาจารย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้การปฏิบัติคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ต่างกับการปฏิบัติตามลำพัง ไม่มีครูบาอาจารย์ จะต้องคลำทางไป จะต้องลองผิดลองถูก เวลาเจอปัญหาจะต้องเสียเวลาแก้ กว่าจะแก้ได้ก็ต้องลองผิดลองถูก เหมือนกับการเดินมาถึงสี่แยก ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี จะเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาหรือตรงไป ไม่รู้ว่าทางไหนเป็นทางที่ถูก ก็ต้องลองผิดลองถูกไป ถ้าผิดก็ต้องเสียเวลา ถ้าถูกก็โชคดีไป พอถึงทางแยกใหม่ ก็ต้องลองผิดลองถูกอีก.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #75 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2567 14:28:59 »




เริ่มที่กายก่อน
ถาม : ท่านอาจารย์ครับ  ผู้ปฏิบัติใหม่ๆอย่างพวกเรานี่ อารมณ์อยู่ที่กายอย่างเดียวก่อนเลยใช่ไหมครับ

พระอาจารย์ : ส่วนใหญ่ต้องเริ่มที่กายก่อน เพราะกายเป็นส่วนที่หยาบ เห็นได้ด้วยตา ส่วนอื่นเห็นได้ค่อนข้างยาก สติปัญญายังไม่ค่อยทัน แต่ถ้าได้พัฒนาไปเรื่อยๆ เมื่อสามารถเข้าใจรูปได้อย่างดีแล้ว ก็จะเข้าไปสู่เวทนาเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะพิจารณาแต่รูปล้วนๆ เวลาเวทนาแสดงอาการขึ้นมาแรงๆ เราก็จะเห็นเหมือนกัน วันไหนที่เราเจ็บปวดมากๆ เวทนาก็จะชัดขึ้นมา อย่างเวลาเดินไปเตะหินเข้า ทุกขเวทนาความเจ็บปวดก็จะเกิดขึ้นมา ตอนนั้นเราก็ควรรับรู้ว่าเป็นเวทนา ไม่ต้องไปตื่นเต้นกับมัน มันเกิดขึ้นได้เดี๋ยวมันก็ดับได้ เราเตะหินปั๊บ เดี๋ยวสักครู่ความเจ็บมันก็จะค่อยๆลดลงไปๆ แล้วก็หายไป คือพยายามรักษาใจให้เป็นผู้รู้อย่างเดียว อย่าเป็นผู้ต่อต้าน เป็นผู้ยินดียินร้ายกับเวทนา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาสู่ใจ  ใจต้องเป็นผู้รู้เฉยๆ ทำตัวให้เป็นเหมือนกับกระจกเงา เวลาที่คนสวยมองกระจกเงานี้ กระจกก็ไม่ได้ดีใจ คนไม่สวยมอง ก็ไม่รังเกียจ เพียงทำหน้าที่สะท้อนเงาของภาพเท่านั้นเอง

ฉันใดจิตของเราก็ต้องเป็นอย่างนั้น พยายามทำให้มันนิ่งเหมือนกับกระจกเงา เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน อย่าไปหลงว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเราเป็นของเรา ที่แท้จริงแล้วมันเป็นเพียงขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องไปยินดียินร้าย เพราะจะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา จะเกิดตัณหาขึ้นมา เกิดความอยากจะได้ หรือเกิดความอยากจะหนีจากสิ่งนั้นไป  ก็จะอยู่เฉยๆไม่ได้ จิตก็จะไม่นิ่ง นี่คือการเจริญสติปัญญาเพื่อปล่อยวาง.


เจ็บแต่ไม่ทรมาน
ถาม : ตอนที่เราไม่สบาย เราไปหาหมอตรวจ แล้วช่วงที่เรายังไม่รู้ว่าเราจะเป็นอะไรนี่ ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ทรมานมาก  เราจะเป็นอะไรไหมหนอ คิดไปไกล

พระอาจารย์ : เพราะเราขาดปัญญา ถ้ามีปัญญาแล้วจะไม่คิดไปไกล คนเรายังไงก็ต้องตายอยู่ดี  ถ้ามีปัญญาจะไม่กลัว เพราะยังไงก็ต้องตายอยู่ดี ความกลัวคือวิภวตัณหา เป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราตายไปแล้วคนที่อยู่ข้างหลังเขาก็อยู่ของเขาได้ ไม่ต้องกลัวหรอก  อีกไม่นานเขาก็ตายตามเราไป

ถาม : ตอนที่เราจะตาย กลัวมันจะทรมานซิคะ

พระอาจารย์ : ถ้าเรานั่งสมาธิเป็นแล้ว ทำใจได้แล้ว ก็จะไม่ทรมาน เจ็บแต่ไม่ทรมาน เพราะใจนิ่ง ที่ทรมานเพราะใจพยายามหนีความเจ็บ ถ้าไม่หนีก็จะไม่ทรมาน

ถาม : กลัวเจ็บปวด

พระอาจารย์ : ความกลัวเป็นวิภวตัณหา เป็นความไม่อยากเจ็บ แต่ถ้าเราฝึกนั่งสมาธิแล้ว เวลามีความเจ็บ ก็ทำเป็นเฉยๆ

ถาม : ถ้าถึงจุดหนึ่งแล้วเราจะไม่รู้สึกเลยใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ : รู้แต่จะไม่มีปฏิกิริยา จะเป็นอุเบกขา รู้สึก แต่เฉยๆ ไม่เดือดร้อน เรารับได้ เพราะความเจ็บทางกายมันน้อยมาก ถ้าเปรียบเทียบกับความทุกข์ทางจิตใจ.


จิตที่เป็นมหาสติ
ถาม : กราบเรียนถามพระอาจารย์เรื่องจิตที่เป็นมหาสติ ที่เป็นปัญญา แตกต่างจากจิตที่เป็นกิเลสอย่างไร และมีวิธีสังเกตดูจิตที่เป็นสัมมาสติอย่างไรเจ้าคะ

พระอาจารย์ : ก็สติ จิตที่มีสติที่เป็นมหาสติ ก็คือ ควบคุมความคิดได้ หยุดความคิดได้ หยุดอารมณ์ต่างๆได้ พอโกรธก็หยุดได้ พอโลภก็หยุดได้ เรียกว่ามีกำลังที่สามารถคุมจิตได้เรียกว่ามหาสติ พวกที่ไม่มีมหาสติ บางทีก็คุมได้ บางทีก็คุมไม่ได้ บางทีโกรธ บางทีก็หยุดได้ บางทีก็หยุดไม่ได้ นี่ต่างกันเหมือนรถแหละ รถเบรกดีกับรถเบรกไม่ดี ใช่ไหม รถเบรกดีเหยียบปุ๊บก็หยุดปั๊บ รถเบรกไม่ดีเหยียบปุ๊บต้องไปชนนั่นก่อน ถึงจะหยุด


อย่าไปสนใจ
ถาม : เวลาที่เกิดนิมิตแล้วต้องบังคับใจ ไม่ให้ตามรู้จะค่อนข้างยาก คือมีความรู้สึกอยากเห็นอยากตามไปดู ขออุบายด้วยเจ้าค่ะ   

พระอาจารย์ : ภาวนาต่อไป

ถาม : อย่าไปมองมันหรือคะ

พระอาจารย์ : อย่าหยุดภาวนา พุทโธต่อไป ดูลมต่อไป เหมือนเวลานั่งภาวนาแล้วมีเสียงโทรศัพท์ดัง มีเสียงคนนั้นเสียงคนนี้ ก็อย่าไปสนใจ ภาวนาไปเรื่อยๆ เวลามีแสงมีภาพให้เห็น ก็อย่าไปสนใจ


ง่าย
ถาม : อยากฝึกให้หยุดการซื้อเสื้อผ้าใหม่ครับ แต่ยังทำไม่ได้ กราบขออุบายหลวงพ่อด้วยครับ

พระอาจารย์ : ง่าย ถ้าอยากจะซื้อชุดใหม่ก็ ซื้อมาแล้วก็เอาไปให้คนอื่น อย่าเอามาใช้เอง อยากจะซื้อกี่ชุดก็ซื้อได้ แต่อย่าเอามาใช้เอง แล้วต่อไปรับรองได้ว่าจะไม่อยากซื้ออีก ง่ายจะตายไป ชุดนี้สวยเหรอซื้อให้ใครดีนะ ชุดนี้สวยเหรอ ซื้อให้ใครดี เอ้า ซื้อไปเลย วันเกิดของใครวันนี้ เอาไปให้เขาไป หรือวันนี้อยากจะเซอร์ไพรซ์ (surprise) ขอทานก็ซื้อไป แล้วเอาไปให้ขอทานที่นั่งอยู่หน้าร้านนั่นแหละ “เอ๊ย เอาไปโว้ย มึงเห็นคนอื่นเขาใส่มึงลองเอามาใส่บ้างดูซิ” ซื้อแล้วเอาไปทำบุญ อย่างนี้ก็จะได้บุญ แล้วต่อไปจะไม่อยากจะซื้ออีก รับประกัน.


จะไปรู้คนอื่นเขาต้องรู้ตัวเราก่อน
ถาม : คนที่เป็นพระโสดาบันท่านยังมีความอยากมีแฟนมีลูกภรรยาหรือสามี แล้วยังมีกามคุณอยู่ใช่ไหมครับ แล้วจะทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าคนนั้นท่านเป็นพระโสดาบันครับ

พระอาจารย์ : อ๋อ เราก็ต้องเป็นเอง ก่อนจะไปรู้คนอื่นเขาต้องรู้ตัวเราก่อน ถ้าตัวเรายังไม่รู้ว่าเราเป็น เราจะไปรู้คนอื่นเป็นได้อย่างไร เหมือนคนที่จบปริญญาตรี จะไปรู้ว่าคนอื่นจบปริญญาตรีหรือไม่ตัวเองก็ต้องจบปริญญาตรีก่อน ถ้าตัวเองไม่จบปริญญาตรีเราจะไปสัมภาษณ์เขาได้ไหม จะไปสอบเขาได้ไหม คุณรู้วิชานี้หรือเปล่า คุณรู้วิชานั้นหรือเปล่า อันนี้ก็เหมือนกัน คุณต้องเป็นโสดาบันก่อน คุณต้องมีดวงตาเห็นธรรมก่อน เห็นว่าร่างกายไม่ใช่ตัวคุณ แล้วคุณก็ปล่อยวางร่างกายได้ไม่ทุกข์กับความแก่ความเจ็บความตายของร่างกาย ทีนี้อยากจะรู้คนอื่นเป็นหรือเปล่าก็ลองไปถามเขาดูว่า “เฮ้ย ร่างกายนี้เป็นของมึงหรือเปล่าวะ” ถ้ามันบอก “เป็นของกู” ก็แสดงว่ามันยังไม่ได้เป็นโสดาบัน

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #76 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2567 12:39:00 »




สู้กับมันดู
ถาม : เวลาทำสมาธิจนรู้สึกว่านิ่ง ก็จะพิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกาย หรือธาตุ ๔ พอพิจารณาแล้วจะรู้สึกสลดสังเวช แล้วก็ร้องไห้เกือบทุกครั้ง แบบนี้จิตเศร้าหมองหรือเปล่า

พระอาจารย์ : ไม่เศร้าหมอง เป็นธรรมสังเวช ผลที่ต้องการคือการปล่อยวางร่างกาย เวลารู้สึกสลดสังเวชแล้ว ต้องปล่อยวางร่างกาย พิจารณาเพื่อให้จิตปล่อยวาง ไม่ให้ยึดติดกับร่างกาย 

ถาม : ต้องทำอย่างไรต่อไป

พระอาจารย์ : พิจารณาไปเรื่อยๆ พอพร้อมแล้วก็ไปหาที่พิสูจน์ดู ว่ายังยึดติดอยู่หรือเปล่า ปล่อยได้หรือเปล่า ตอนนี้เป็นเพียงทำการบ้านเป็นการซ้อมอยู่ ยังไม่ได้ขึ้นเวทีจริง ถ้าคิดว่าพร้อมแล้ว เหมือนนักมวยที่ซ้อมมาอย่างเต็มที่แล้ว พร้อมที่จะขึ้นไปชิงเข็มขัดแล้ว ก็ขึ้นไปบนเวทีไปหาคู่ต่อสู้ คู่ต่อสู้ก็คือความกลัวตาย ไปหาสถานที่ๆจะทำให้เกิดความกลัวตายขึ้นมา สู้กับมันดู ดูว่ามันจะดับหรือเราจะดับ

ถาม : ถ้าเราดับก็คือเราสติแตก

พระอาจารย์ : อาจจะไม่สติแตก แต่อาจจะใจสั่นขวัญหาย แสดงว่ายังดับเขาไม่ได้ ถ้าดับได้แล้ว จะเฉยจะยิ้มจะมีความสุข


มี ๒ พวก
ถาม : ถ้าเกิดเป็นมนุษย์แต่ยากไร้  เป็นเพราะเหตุใด

พระอาจารย์ : ชาติก่อนไม่ทำทาน ถ้าทำบาปด้วย ก็ต้องไปใช้กรรมในอบาย พอหมดกรรมก็จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ที่ยากไร้ มีรูปร่างหน้าตาไม่สวยงาม มีอาการไม่ครบ ๓๒ เพราะเป็นเชื้อของบาปกรรมที่ยังหลงติดมา ส่วนพวกที่ทำบุญให้ทานรักษาศีลตายไปแล้วไปเป็นเทพ พอกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม มีฐานะการเงินการทองที่ดี ใจบุญสุนทาน

จะมี ๒ พวก พวกที่วนอยู่รอบบน กับพวกที่วนอยู่รอบล่าง พวกวนอยู่รอบล่างชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผิดศีลไม่ชอบทำบุญ ตายไปก็จะไปเกิดในอบาย พอใช้กรรมหมดแล้ว ก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ที่ต่ำต้อย พวกที่ชอบทำบุญให้ทานรักษาศีล ตายไปก็ไปสวรรค์ พอกลับมาจากสวรรค์ก็เกิดเป็นมนุษย์ที่สูงส่ง มีฐานะการเงินการทองดี มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม เราเลือกจะวนในรอบบนก็ได้รอบล่างก็ได้

ถ้าชอบรอบล่างก็ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิตกินเหล้าเมายาเที่ยวกลางคืน เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่างๆ ก็จะวนอยู่ในรอบล่าง แต่บางทีก็สลับกันได้ เวลากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ดิบได้ดี แต่ไม่เชื่อบุญเชื่อกรรม ก็ไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขไปทำผิดศีล ก็จะไปวนรอบล่าง ส่วนพวกที่วนอยู่รอบล่างพอกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ยินได้ฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธา เชื่อว่ากรรมมีจริงบาปมีจริงบุญมีจริง ก็เลิกเกี่ยวข้องกับอบายมุขเลิกทำผิดศีลผิดธรรม ทำบุญให้ทานรักษาศีลก็จะวนอยู่รอบสูง

ถ้ามีจิตใจแน่วแน่ต่อบุญกุศลก็จะวนอยู่แต่รอบบนจนถึงพระนิพพาน อย่างพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ก็จะวนอยู่รอบบน ท่านเชื่อบุญเชื่อกรรม จะวนไปสู่มรรคผลนิพพาน พวกที่เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง ถ้าพบคนสอนให้ทำบาปก็จะทำบาป ถ้าพบคนสอนให้ทำบุญก็จะทำบุญ จะกลับไปกลับมา ขึ้นๆลงๆ.


ยินดี จำใจ
ถาม : เรียนแพทย์ต้องมีการผ่าศพผ่าสัตว์ ได้คุยกับหมอคนหนึ่งเขาทำไม่ได้ เขาก็เลยยอมตก

พระอาจารย์ : ถ้ามีศีลธรรมมากก็จะทำไม่ลง หรือมันอาจจะเป็นความรังเกียจหรือความขยะแขยง ถ้าผ่ากบตายนี่เป็นการฆ่าหรือเปล่า ก็เป็นการฆ่าแน่นอน

ถาม : แต่ไม่มีเจตนา ถูกบังคับให้ทำ

พระอาจารย์ : บังคับหรือไม่บังคับ ก็ยังบาปอยู่ดี

ถาม : แต่ผลบาปไม่เท่ากันใช่ไหม

พระอาจารย์ : ทำด้วยความยินดี กับทำด้วยความจำใจ ผลไม่เท่ากัน  พวกเราไม่ชอบทำการบ้านกัน เข้าห้องเรียน แต่ไม่ชอบทำการบ้าน ก็ยังดีที่ยังเข้าห้องเรียนกัน พวกที่หนีเรียนก็แย่กว่าพวกที่เข้าห้องเรียน แต่พวกที่เข้าห้องเรียนอย่างเดียวก็แย่กว่าพวกที่ทำการบ้านด้วย พวกที่ทำการบ้านด้วยก็แย่กว่าพวกที่ไปสอบด้วย เข้าห้องเรียนแล้วต้องทำการบ้าน ทำการบ้านแล้วต้องไปสอบ  ไปอยู่วัดที่เปลี่ยวที่ทุรกันดารที่ลำบาก ไปเก็บตัวสัก ๓ เดือนหรือปีหนึ่งเลย ไปเข้าห้องสอบ ถ้ายังไม่ผ่าน ก็อย่าออกมาจากห้องสอบ การทำการบ้านก็คือวันนี้ได้ยินได้ฟังแล้ว ก็กลับไปทำที่บ้านต่อ ตอนเช้าฟังเทศน์ฟังธรรม ก่อนไปทำงาน ฟังทุกวัน เป็นการทำการบ้าน คราวที่แล้วให้แผ่นอสุภะไปดู ก็ควรเปิดดูเรื่อยๆ.


เป็นกิริยามากกว่า ไม่ได้เนื้อไม่ได้หนัง
ถาม : รู้จักคนที่เที่ยวบ่อยมากเลย เที่ยวต่างประเทศปีละหลายๆครั้ง แต่เขาก็ปฏิบัติจริงอย่างนี้ขัดกันไหมคะ

พระอาจารย์ : ยังปฏิบัติไม่ได้ผล เป็นกิริยามากกว่า ไม่ได้เนื้อไม่ได้หนัง ได้แต่ท่าของการปฏิบัติ แต่ไม่ได้ผลจริงๆ ถ้าได้ผลจริงๆแล้วจะเบื่อทางโลกเลย ท่านถึงแสดงไว้ว่ารสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง ถ้าได้สัมผัสกับรสแห่งธรรมแล้ว จะไม่เอารสอย่างอื่นแล้ว เหมือนก้อนหินกับเพชร พอได้เพชรแล้วจะเอาก้อนหินไหม ไปเที่ยวนี้เหนื่อยจะตาย สู้นั่งสมาธิจนจิตรวมลงไม่ได้ ไม่เหนื่อย ไม่ต้องไปทำพาสปอร์ตทำวีซ่า ไม่ต้องไปตีตั๋ว ไปรอที่สนามบินขึ้นเครื่อง ไปได้ไม่กี่วันก็คิดถึงบ้านแล้ว อยู่ที่ไหนจะสบายเท่าอยู่ที่บ้าน แต่กิเลสจะหลอกเรา วาดภาพว่าสนุกสวยงาม ต้องไปให้ได้ พอไปแล้วก็อยากจะกลับบ้าน

ถ้ามีของดีอยู่ในใจแล้วจะไม่อยากไปไหน อยู่ตรงไหนก็มีความสุข ที่ยังต้องไปกันอยู่ เพราะยังไม่มีความสุขภายใน มีแต่ไฟแห่งราคะโมหะโทสะ ที่เผาใจให้ร้อน ทำให้อยู่ไม่เป็นสุข ต้องหารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะมาดับ เหมือนเอาน้ำมันไปราดในกองไฟ เวลาราดลงไปใหม่ๆ น้ำมันยังเย็นอยู่ก็เป็นเหมือนน้ำ ไฟก็ทำท่าจะดับลง แต่พอน้ำมันร้อนขึ้นมา ไฟจะยิ่งลุกแรงขึ้นใหญ่ ถ้าต้องการความสุขที่แท้จริง ความสุขที่เลิศที่วิเศษ ที่พระพุทธเจ้าสอนให้มีกัน  ก็ต้องตัดความสุขภายนอก แล้วสร้างความสุขภายในให้ได้ ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือสติ ต้องเจริญสติอยู่เรื่อยๆ ถ้าเจริญสติอย่างต่อเนื่องแล้ว ในสติปัฏฐานสูตรก็แสดงไว้แล้วว่า ภายใน ๗ วันจะบรรลุได้แน่ๆ ถ้ามีสติตั้งแต่ตื่นมาจนหลับ จิตไม่ไปไหนเลย อยู่ในปัจจุบันเสมอ เวลานั่งดูลมหายใจ จิตก็จะไม่ไปที่อื่น จะอยู่กับลมหายใจ ก็จะรวมลงจะเจอความสุข พอรวมได้ครั้งหนึ่งแล้ว ต่อไปก็จะทำได้เรื่อยๆ เพราะจับเคล็ดได้แล้ว รู้วิธีแล้ว รับรองได้ว่าตอนนั้นจะไม่อยากจะอยู่กับใคร มีอะไรก็ไม่อยากจะเก็บเอาไว้ อยากจะมีเวลาเพื่อปฏิบัติอย่างเดียว อยากจะมีที่ๆสงบไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งกับใคร จะนั่งสมาธิสลับกับการเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน พอเดินเมื่อยก็กลับมานั่งใหม่ จะพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ จากสมาธิก็จะเจริญปัญญา อนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณาขันธ์ ๕ รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณาจิตเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ก็จะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ จนปล่อยวางได้หมด ภายนอกคือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะก็ปล่อย ขันธ์ ๕ ก็ปล่อย จิตก็ปล่อย พอปล่อยหมดแล้ว ก็เหลือแต่ความบริสุทธิ์อย่างเดียว 

อยู่ตรงไหนเวลาไหนก็จะอิ่มจะสุขจะพอตลอดเวลา จิตรวมอยู่ตลอดเวลา จิตที่รวมจากการนั่งสมาธิจะรวมได้เดี๋ยวเดียว แล้วก็ถอนออกมา เหมือนเอาน้ำแช่ในตู้เย็น ๕ นาที แล้วก็เอาออกมา พอออกมาไม่นานก็ร้อน ถ้าเป็นจิตบริสุทธิ์ก็เหมือนกับน้ำที่อยู่ในตู้เย็นตลอดเวลา จะสุขไปตลอดอนันตกาล ไม่มีวันสิ้นสุด จะมีร่างกายหรือไม่มีจะไม่กระทบกับความเย็นของจิตที่บริสุทธิ์ จะเย็นไปตลอด จิตจะไม่ออกจากตู้เย็น จะอยู่ในตู้เย็นก็คือพระนิพพานไปตลอด ถึงแม้จะอยู่กับขันธ์ ความร้อนของขันธ์จะไม่มากระทบกระเทือนกับความเย็นของจิตที่บริสุทธิ์ จะดูแลกันไป เวลาร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ปวดตรงนั้นปวดตรงนี้ ก็รู้ว่าปวด แต่ใจไม่ปวดตามร่างกาย อยู่กันไปจนกว่าแยกจากกัน จะไม่ไปหาร่างกายใหม่มาแบกมาเจ็บอีก ถึงเมืองพอแล้ว พอทุกอย่าง ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว เหมือนน้ำที่เต็มแก้วแล้ว จะเติมน้ำเข้าไปอีกก็ไม่ได้ทำให้น้ำในแก้วมีมากขึ้น จิตที่บริสุทธิ์ก็เป็นอย่างนั้น มีความสุขเต็มที่อยู่ตลอดเวลา ไม่พร่องไม่หมด ไม่ต้องเติม ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว

นี่เป็นรางวัลที่พวกเราจะได้รับกัน ทุกคนมีสิทธิ์ ไม่ต้องจับฉลาก ต้องสุปฏิปันโน ต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นี่คือเงื่อนไข ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ ตราบนั้นพระอรหันต์จะไม่สิ้นไปจากโลก พระอรหันต์ก็คือจิตที่บริสุทธิ์นี้เอง อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่สุปฏิปันโน อุชุปฏิปันโน ญายะปฏิปันโน สามีจิปฏิปันโน ปฏิบัติดีก็คือไม่หนีเรียน ถึงเวลาปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติ ไม่อ้างโน้นอ้างนี่ อย่างนี้เรียกว่าไม่ปฏิบัติดี ถ้าเรียนหนังสือก็ต้องได้เต็ม ๑๐๐ ถึงเรียกว่าปฏิบัติดี ปฏิบัติตรงก็ปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน เพื่อตัดกิเลส ถ้าปฏิบัติเพื่อให้ร่ำให้รวย ทำบุญทำทานเพื่ออยากจะได้รวย ได้ไปเกิดเป็นเทพเป็นพรหม อย่างนี้ไม่ใช่ปฏิบัติตรง ไม่ตรงต่อมรรคผลนิพพาน ญายะก็ปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างเดียว ไม่ได้ปฏิบัติเพื่ออย่างอื่น ปฏิบัติเพื่อดับความทุกข์เท่านั้น สามีจิก็ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติถูกต้อง ไม่ผิดจากหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็มีอยู่ ๔ ประการนี้ วิธีที่จะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ๔ ประการนี้ได้ ก็ต้องไปอยู่กับครูบาอาจารย์ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะท่านผ่านมาแล้ว ท่านรู้ทุกอย่าง รู้วิธีปฏิบัติที่ถูกที่ผิด วิธีที่ผิดขัดกับหลักธรรม ท่านจะช่วยคัดทิ้งให้หมดเลย อยู่กับท่านแล้วไม่ต้องสงสัยหรือกังวลว่าถูกหรือไม่ถูก การปฏิบัติของท่านถูกต้องทุกประการเลย ถ้าปฏิบัติเองนี้จะหลงได้ จะเพี้ยนหรือผิดไปได้ ครูบาอาจารย์มีความสำคัญตรงนี้ ทำให้ปฏิบัติตรง ไม่เสียเวลา ถ้าปฏิบัติเอง ก็จะปฏิบัติถูกบ้างผิดบ้าง เสียเวลา อาจจะหลงทางไปเลยก็ได้ ชาตินี้อาจจะเป็นชาติเดียวที่จะได้พบกับโอกาสอย่างนี้ ตายไปแล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสอย่างนี้อีกหรือเปล่า จะได้พบกับพระพุทธศาสนาอีกหรือเปล่า โอกาสอย่างนี้ยากยิ่งกว่าถูกลอตตารี่รางวัลที่ ๑ จึงควรถือโอกาสที่มีอยู่นี้เลิศที่สุดแล้ว วิเศษที่สุดแล้ว ถ้าปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติเลย ก็ถือว่าเสียชาติเกิด พิจารณาดู.


มรรคมีองค์ ๘
ถาม : มรรคมีองค์แปดคืออะไรคะ อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจดีค่ะ

พระอาจารย์ : อ๋อ มรรคก็คือทางที่จะพาเราไปฆ่ากิเลสไง เครื่องมือฆ่ากิเลสเรียกว่ามรรค อันแรกเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง เห็นอย่างไรว่าถูกต้อง เห็นว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา เป็นไตรลักษณ์ ที่เราทุกข์เพราะเราอยาก ถ้าเราเห็นอย่างนี้เราก็จะได้รู้ว่า ถ้าไม่อยากจะทุกข์ ก็อย่าไปอยาก นี่คือความเห็น พอมีความเห็นว่าความอยากเป็นตัวปัญหา

ข้อที่สองคือสัมมาสังกัปโปแปลว่าความคิดที่ถูกต้อง ก็คิดว่าต่อไปนี้จะคิดไม่อยากแล้ว ไม่อยากอะไรทั้งนั้น ไม่อยากแก่  แก่ก็ปล่อยมันแก่ไป จะไม่คิดว่าอยากให้มันไม่แก่ อยากไม่เจ็บอยากไม่ตาย จะไม่คิดแบบนี้แล้ว จะปล่อย พอคิดแล้วมันทุกข์ เข้าใจไม๊ จะไม่อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากร่ำอยากรวย อยากมีแฟน อยากอะไรทั้งนั้น เพราะอยากแล้วมันทุกข์ เวลาไม่ได้แล้วมันทุกข์ไม๊ อยากมีแฟนแล้วไม่ได้แฟนนี่ทุกข์ไม๊ อยากรวยแล้วไม่รวยนี่ทุกข์ไม๊

แน่ะดูคนที่ซื้อหวยดูซิ ตอนที่ยังไม่ออกนี้ โอ้โหมีความหวังเต็มที่เลย พอออกแล้วไม่ถูกนี่ หน้าพังเลย ใช่ไม๊ หน้าคว่ำหน้างอเลย นั่นแหละไปอยาก พออยากแล้วไม่ได้ดังใจอยากก็ทุกข์ งั้นต่อไปนี้จะไม่คิด จะไม่อยากได้อะไร ไม่อยากมีอะไร ไม่อยากเป็นอะไร ไม่อยากไปเที่ยวไหน ไม่อยากอะไรทั้งนั้น นี่คือความคิดที่ถูกต้อง สัมมาสังกัปโป

ข้อที่สามการกระทำที่ถูกต้อง ก็รู้ว่าการไปทำตามความอยากด้วยการไปทำบาปก็ไม่ดี ถ้าไม่อยากแล้วมันก็ไม่ต้องทำบาป ไม่ต้องฆ่า ไม่ต้องลักทรัพย์ ไม่ต้องประพฤติผิดประเวณี ที่เรายังไปฆ่าไปลักทรัพย์อยู่ เพราะเรายังอยากได้เงิน ถ้าอยากได้เงินหาเงินไม่ได้ ก็ต้องไปขโมยเงินเขา

แต่ถ้าเราบอกว่าต่อไปนี้เราจะไม่อยากได้อะไร แล้วถ้าเราอยากจะได้อะไรที่จำเป็นก็จะหามาโดยที่ไม่ทำบาป เพราะการทำบาปจะทำให้เราทุกข์ แล้วเราก็จะไม่พูดโกหก นี่ก็เป็นสัมมากัมมันโต สัมมาวาจา การกระทำที่ถูกต้อง การพูดที่ถูกต้อง แล้วเราก็ต้องมีอาชีพที่ถูกต้อง อาชีพที่ถูกต้องคืออาชีพที่ไม่ไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ไปทำให้ผู้อื่นเขาเสียหายเดือดร้อน เช่น ไม่ไปเป็นอาชีพฆ่าเป็ดฆ่าไก่ ฆ่าวัวฆ่าควาย จับปูจับปลามาฆ่าขายอย่างงี้ ไม่ทำอาชีพเหล่านี้เพราะมันจะทำให้คนอื่นเดือดร้อน แล้วเราจะทุกข์
แล้วก็ให้เรามีความขยันหมั่นเพียร ขยันที่จะหยุดความอยากต่างๆที่มีอยู่ในใจให้หมดไป ด้วยการเจริญสติ พุทโธพุทโธไปเรื่อยๆ สติก็เป็นสัมมาสติ เป็นมรรคองค์ที่เจ็ด ถ้าเรามีสัมมาสติ เวลานั่งสมาธิจิตเราก็จะสงบ ก็จะได้สัมมาสมาธิ ได้ความสุข ถ้าเราได้ความสุขจากสมาธิ เราก็จะหยุดความอยาก เลิกความอยากต่างๆได้หมด นี่ก็คือมรรคที่มีองค์แปด ถ้ามีมรรคแล้ว เราก็จะสามารถหยุดความอยากได้ หยุดการเวียนว่ายตายเกิดที่เกิดจากความอยากต่างๆได้.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 130.0.0.0 Chrome 130.0.0.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #77 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2567 16:45:22 »




หนังจริง หนังตัวอย่าง
ถาม  : เวลาฟังเทศน์ ฟังเทปครูบาอาจารย์ บางครั้งจิตจะอ่อนตัว เหมือนกับว่าจะรู้จะเข้าใจในสภาวะที่อธิบายไม่ได้ บางทีอ่านหนังสือที่พูดถึงความสงบ พูดถึงการหยุดความคิด แล้วก็อยู่กับปัจจุบัน รู้สึกจิตจะเบาเย็น เหมือนไม่มีตัวตน เป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจ เป็นอะไรที่บอกไม่ถูก สภาวะแบบนี้เกิดจากความคิดปรุงแต่งหรือเกิดจากกิเลส

พระอาจารย์ : เป็นอานิสงส์ของการฟังธรรม ทำให้จิตสงบผ่องใส แต่ไม่ถาวร ปรากฏขึ้นแล้วก็ผ่านไป เป็นหนังตัวอย่าง ยังไม่ใช่หนังจริง ถ้าจะให้เป็นหนังจริง ก็ต้องน้อมเอาสิ่งที่ท่านสอนมาปฏิบัติอยู่เรื่อยๆ เอาคำสอนเข้ามาอยู่ในใจเรื่อยๆ แต่เราไม่ค่อยมีกำลังที่จะระลึกถึงคำสอนได้เรื่อยๆ ผลจึงไม่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง ถ้าจับประเด็นได้ก็จะอยู่กับใจ เป็นปัญญาขึ้นมา ถ้าจับประเด็นไม่ได้ ก็จะไม่สามารถรักษาให้อยู่กับใจได้ ก็เป็นสัญญาไป คือขณะที่ฟังไม่ได้คิดเรื่องอื่น จิตก็สงบตาม พอผ่านไปก็ลืม พอลืมก็กลับไปสู่สภาพเดิม ถ้าฟังแล้วเข้าใจจับประเด็นได้ ก็จะไม่ลืม เป็นปัญญา


พิจารณาอสุภะ
ถาม : เวลาพิจารณาความตายนี้ พิจารณาทั้งตัวเราและคนอื่น

พระอาจารย์ : ทุกคนเลย กายในก็คือตัวเรา กายนอกก็คือกายของผู้อื่น พอพิจารณาแล้วจะได้เห็นว่าเหมือนกัน ถ้าพิจารณาเราคนเดียว ก็จะคิดว่าเราอาภัพเหลือเกิน ทำไมเราต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย ถ้าพิจารณาแต่คนอื่นก็จะคิดว่าเราจะอยู่ไปตลอด จึงต้องพิจารณาทั้งเขาและเรา

ถาม : พิจารณาอสุภะก็เหมือนกัน

พระอาจารย์ : เหมือนกัน ไม่มีใครแตกต่างกัน มีอาการ ๓๒ เหมือนกันไม่ว่าหญิงไม่ว่าชาย ถ้าผู้ชายก็ต้องพิจารณาผู้หญิง ผู้หญิงก็ต้องพิจารณาผู้ชาย เพื่อจะได้คลายความกำหนัดยินดี ถ้าเป็นผู้หญิงชอบผู้หญิงก็ต้องพิจารณาผู้หญิง ถ้าเป็นผู้ชายชอบผู้ชายก็ต้องพิจารณาผู้ชาย

ถาม : พิจารณาอสุภะของคนที่หน้าตาดีๆ แบบดารา
พระอาจารย์ : คนที่เราหลงใหล คนนั้นแหละที่เราต้องพิจารณา ว่าเป็นซากศพ เวลายังหายใจอยู่ก็อยู่ด้วยกันได้ พอไม่หายใจก็ไม่กล้าเข้าใกล้แล้ว ทั้งๆที่ร่างกายก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ยังมีอาการ ๓๒ เหมือนเดิม เพียงแต่ไม่ได้หายใจเท่านั้นเอง

ถาม : กลัวผีคะ

พระอาจารย์ : เวลาไม่ตาย ไม่ได้เป็นผี


การฟังธรรมนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น
ถา ม: ทำไมเวลามีใครมาพูดกับเราว่าคนฟังธรรมอะไรเห็นยังโกรธอยู่ เวลาฟังแบบนี้รู้สึกโกรธทวีคูณขึ้นสุดๆ เลยเจ้าค่ะ อยากทราบว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วควรแก้อย่างไรดีเจ้าคะ

พระอาจารย์: ก็เพราะว่าเราคิดว่าเราฟังธรรมแล้วเราเก่งไง ความจริงการฟังธรรมนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เราก็ยังเป็นปุถุชนยังเป็นคนมีกิเลสหนาเหมือนเดิมใช่ไหม งั้นเวลาใครเขาว่าคนฟังธรรมแล้วมีความโกรธ ก็ใช่ละสิ ก็กูยังมีกิเลสอยู่นี่ จะไปโกรธเขาทำไม บางคนคิดว่าพอเริ่มปฏิบัติธรรมนี่จะเป็นพระอริยะกันขึ้นไปแล้ว งั้นมันถึงโกรธเวลาใครมาพูด โอ๊ย! ปฏิบัติธรรมมาแล้วทำไมยังโกรธอยู่ ก็ยังไม่เป็นอริยะยังไม่บรรลุมันก็ต้องโกรธเป็นธรรมดาสิ งั้นอย่าไปโกรธเขา อย่าไปคิดว่าเราเก่ง ถ้าเรายังโกรธอยู่ยังไม่เก่ง ใช่ไหม


ใจหนึ่งก็ปลงว่าถึงคราวแล้วมั้ง
ถาม : ท่านอาจารย์เคยถูกงูกัดไหมค่ะ

พระอาจารย์ : เคย แต่เป็นเรื่องสุดวิสัย เพราะอยู่ในที่มืด ไม่ได้ฉายไฟ เป็นตอนเช้ามืด เดินลงเขาจะไปบิณฑบาต พอออกจากแนวป่า เดินอยู่บนถนนโล่งๆแล้ว ไม่คิดว่าจะมีงู ก็เลยไม่ได้ฉายไฟ อาศัยแสงดาวแสงเดือน พอเห็นลางๆ เดินมาตั้งสิบกว่าปี ก็ไม่เคยเจออะไร พอวันนั้นเดินไปเจอ ก็ไม่ทราบว่าโดนงูกัด คิดว่าไปเตะหนามเข้า ก็เลยฉายไฟดู ก็เห็นงูกะปะตัวเล็กๆไม่ยาว รอยที่มันกัดก็เหมือนถูกเข็มเล็กๆแทง มีเลือดออกมาเป็นจุดเล็กๆ ตอนนั้นอยู่ใกล้ๆกับบ้านพักของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในเบื้องต้นก็บีบเลือดออกมาก่อน แล้วก็เดินไปที่บ้านพักปลุกคนให้ช่วยพาไปโรงพยาบาล เพราะเริ่มเจ็บแล้ว เริ่มเดินไม่ค่อยได้ เขาก็เอามะนาวมาโปะที่แผลไว้ก่อน ช่วยดูดพิษได้ แล้วรีบพาไปโรงพยาบาล พอไปถึงโรงพยาบาล เราก็คิดว่าหมอจะรีบเอายามาฉีด แต่กลับไม่ได้ฉีด ปล่อยให้นอนอยู่เฉยๆ เอาสายน้ำเกลือมาใส่ เลยถามว่าไม่ทำอะไรหรือ พยาบาลบอกว่าเพียงแต่ตรวจเลือดดูก็พอ เพราะพิษงูนี้มันไม่ตายทันที ที่ยังไม่ให้ยาทันทีเพราะกลัวจะแพ้ยา พิษของงูชนิดนี้ไม่ได้ไปทำลายประสาท ไม่ได้ทำให้หัวใจหยุดเต้น แต่จะทำลายเลือด คือจะทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดจะไหลไม่หยุดถ้ามีเลือดไหลออกมา เขาบอกว่าหมอสั่งให้เช็คดูก่อนว่าเลือดยังแข็งตัวอยู่หรือเปล่า ถ้าโดนงูพิษกัดตอนเช้ามืด พิษจะไม่แรง เพราะมันออกหากินทั้งคืนแล้วคงได้ไปกัดสัตว์อื่นบ้างแล้ว อาจจะมีพิษเหลืออยู่น้อย พอที่ร่างกายจะกำจัดมันได้เอง แต่เขาไม่ได้อธิบายในตอนนั้น เราก็กระสับกระส่ายอยู่เหมือนกัน ว่าทำไมไม่ทำอะไร ใจหนึ่งก็ปลงว่าถึงคราวแล้วมั้ง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด


การตายของแต่ละคน
ถาม : เรื่องการตายของแต่ละคน ทำไมบางคนผิดศีลข้อ ๓ เหมือนกัน อีกคนหัวใจวายกระทันหันโดยไม่มีการสั่งเสีย แต่อีกคนก็เจ็บป่วย ชีวิตไม่มีความสุข คนที่ตายง่ายมีบุญมากกว่าหรือเปล่าคะ

พระอาจารย์ : ไม่หรอก ความตายนี้มันแล้วแต่เหตุที่มันทำให้เกิดการตายขึ้นมา แต่ที่มันเหมือนกันก็คือสิ่งที่ทำให้เรามาตายกันก็คือการเกิด ถ้าเราไม่มาเกิดเราก็จะไม่มีการตายกัน ส่วนการตายจะตายช้าตายเร็วตายยากตายง่ายนี่มันก็อาจจะมีหลายเหตุหลายปัจจัย บุญกรรมอาจจะมีส่วน เหตุการณ์ต่างๆ ที่มันสุดวิสัยก็มีส่วน เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปกังวลกับวิธีตาย แต่ให้รู้ว่าเกิดมาแล้วต้องตายเหมือนกันหมดทุกคน ถ้าไม่อยากจะตายก็อย่ามาเกิด ถ้าไม่อยากจะเกิดต้องฆ่ากิเลสให้หมด ฆ่ากิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเราให้หมด แล้วเราก็จะไม่กลับมาเกิด ไม่เกิดแล้วเราก็จะไม่ตาย จะตายช้าตายเร็วตายยากตายง่ายก็ไม่มีอีกต่อไป


ตามอัธยาศัย
ถาม : ที่บนเขานี้มีพระอยู่กี่องค์คะ

พระอาจารย์ : ตอนนี้มีอยู่ ๓ รูป ไปต่างจังหวัดกันพอออกพรรษา ธรรมดาก็มีไม่มาก มีประมาณสัก ๖ รูป เพราะส่วนใหญ่อาตมาไม่ได้สอนไม่ได้กำชับดูแลเคี่ยวเข็ญ เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพอย่างนั้น เพราะเราก็อยู่ในฐานะผู้อาศัย ไม่ใช่วัดของเรา เป็นของสมเด็จฯ ผู้มาอยู่ก็ไม่ได้มาศึกษากับเรา ใครสนใจอยากจะศึกษาถามเรา เราก็สอน ถ้าไม่สนใจเราก็ไม่สอน ปล่อยให้อยู่ตามอัธยาศัย บางท่านก็อยากไปอยู่กับสำนักครูบาอาจารย์ มีหมู่คณะมีกฎมีระเบียบที่ตายตัว ที่นี่ค่อนข้างจะเหมือนมหาวิทยาลัยเปิด ตัวใครตัวมัน ใครขยันอยากจะปฏิบัติก็ปฏิบัติไป ไม่อยากจะปฏิบัติก็ไม่บังคับกัน

ถาม : เข้าง่ายออกยาก

พระอาจารย์ : ที่นี่เข้าก็ง่ายออกก็ง่าย

ถาม : องค์ที่ขึ้นมาอยู่ข้างบนนี่ก็

พระอาจารย์ : ก็มาด้วยความสมัครใจ

ถาม : ท่านอาจารย์ก็ได้แนะนำบ้าง

พระอาจารย์ : ถ้าถามก็แนะนำไป แต่ส่วนใหญ่จะรู้ว่าต้องทำอะไร ได้ยินได้ฟังได้อ่านหนังสือของครูบาอาจารย์กันอยู่ประจำอยู่แล้ว ขาดการปฏิบัติเท่านั้นเอง ที่ผ่านกันไปไม่ค่อยได้ก็คือทุกขเวทนา พอเจอทุกขเวทนาก็จอด ถ้าผ่านไปได้แล้ว ก็จะไปได้เรื่อยๆ.


ทำไมพระจึงทำอาหารกินเองไม่ได้
ถาม : ทำไมพระพุทธเจ้าจึงให้ออกบิณฑบาตขออาหารเจ้าคะ ทำไมจึงทำอาหารเองไม่ได้ กราบสาธุค่ะ

พระอาจารย์ : เพราะจะได้กำจัดกิเลสตัวที่อยากกินนู่นกินนี่นั่นเอง ถ้าปล่อยให้พระทำกินอาหารได้เดี๋ยววันนึงไม่ต้องมาศึกษาธรรมมาปฎิบัติธรรม มานั่งคิดปรุงแต่งว่ามื้อต่อไปจะกินอะไรดี ต้องให้มักน้อยสันโดด ให้ยินดีตามมีตามเกิด แล้วก็จะได้ไม่เสียเวลามาก เพราะเสียอย่างมากก็แค่ชั่วโมงนึงไปบิณฑบาต กลับมาฉันอีกชั่วโมงนึงก็เสร็จแล้ว แล้วไม่ต้องมีโรงครัวไม่ต้องมีหม้อมีอะไรวุ่นวายไปหมด เพราะว่าพระพุทธเจ้าต้องการให้พระทำสิ่งเดียว คือให้มาปฎิบัติธรรมเท่านั้นเอง ส่วนเรื่องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องนี้ก็เป็นอุบายให้ญาติโยมได้ทำบุญด้วย คนที่ไม่มีโอกาสไม่มีเหตุให้ทำ พอมีพระมาก็เลยต้องทำ ก็ได้โอกาสได้ทำบุญ ส่วนพระก็ได้อาหารและยังได้ความเพียรด้วย กำจัดความขี้เกียจ เพราะว่าต้องออกไปบิณฑบาตเดิน


ดูเกิดดับ
ถาม : เวลาดูการเกิดดับของร่างกาย เราก็มาดูที่ใจเราว่าเรารู้สึกอย่างไร ถูกหรือเปล่าคะ 

พระอาจารย์ : ต้องถามตัวเองว่า เรารับกับการดับของมันได้หรือไม่ เช่นร่างกายนี้ต้องดับ เรารับมันได้หรือเปล่า ดูเกิดดับต้องดูอย่างนี้ ดูเพื่อให้ใจรับความจริง เช่นเวลาได้อะไรมาพร้อมที่จะเสียมันไปหรือไม่ ได้สามีหรือภรรยามา พร้อมที่จะเสียเขาไปหรือไม่


ถ้าพร้อมจะเข้าห้องสอบก็ต้องไม่หนี
ถาม : เผอิญอยู่ในเหตุการณ์รถไฟฟ้าบีทีเอส จอดที่สถานีศาลาแดงสีลม ถูกยิงด้วยลูกระเบิด

พระอาจารย์ : ถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปก็แล้วกัน หรือเป็นการทดสอบจิตใจก็ได้ สติปัญญาตอนนั้นเป็นอย่างไร

ถาม : ตอนหมอบก็พุทโธ ก็คิดว่าเอ๊ะจะตายแล้วเหรอ

พระอาจารย์ : ไม่ปลงว่าตายเป็นตาย เพียงแต่พุทโธ ยังอยู่แค่ขั้นสมาธิเท่านั้น

ถาม : พอพ้นออกมาได้ เสียงยังสั่นอยู่เลย

พระอาจารย์ : เจอของจริงก็จะเป็นอย่างนี้ ตอนที่เราฟังธรรม ตอนที่เราพิจารณาธรรม เป็นการทำการบ้าน เวลาไปเจอของจริง ถึงจะรู้ว่าใจเป็นอย่างไร ผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าผ่านต้องเป็นเหมือนน้ำนิ่ง ไม่กระเพื่อมเลย

ถาม : พระอาจารย์บอกว่าได้แค่สมาธิ ควรจะปฏิบัติอย่างไรคะ

พระอาจารย์ : ถ้าพิจารณาอยู่เรื่อยๆว่า ไม่ใช่ตัวเราของเรา เป็นเพียงธาตุ ๔ ก็จะปลงไปเลยว่า จะพังก็พังไป จะตายก็ตายไป

ถาม : โดยปกติถ้าเจอวิกฤตแบบนี้ จะพุทโธตลอด

พระอาจารย์ : ถ้าพุทโธก็เป็นเพียงสมาธิ ข่มใจไม่ให้คิดกลัว ไม่ใช่ปัญญา ถ้าเป็นปัญญาจะคิดว่าร่างกายไม่ใช่เป็นตัวเราของเรา ตายเป็นตาย ต้องตายแน่ๆสักวันหนึ่ง ถึงเวลาแล้วหรือ จะไปก็ไป ถ้าไม่เตรียมไว้ก่อนจะไม่คิดอย่างนี้

ถาม : ถ้าคิดว่าตายเป็นตาย แต่วิ่งหนีสุดชีวิต

พระอาจารย์ : ความคิดกับความจริงมันค้านกัน

ถาม : ถ้าจะว่ารู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหางละเจ้าคะ

พระอาจารย์ : อยู่ที่ใจเป็นหลัก ถ้าใจไม่เดือดร้อน การหลบเพื่อเป็นการรักษาชีวิตไว้ แต่ไม่ได้รักษาเพราะกลัว หรืออยากจะอยู่ต่อไป ก็ใช้ได้ ถ้าหลบเพราะกลัว ก็แสดงว่ายังใช้ไม่ได้

ถาม : ถ้าหลบเพื่อรักษาชีวิตไว้ภาวนา

พระอาจารย์ : แสดงว่ายังไม่ปลง การภาวนาก็เพื่อให้ก้าวมาถึงจุดนี้ เมื่อมาถึงจุดนี้แล้วจะหนีทำไม จะเข้าห้องสอบอยู่แล้ว ถ้าหนีก็แสดงว่ายังไม่พร้อมที่จะเข้าห้องสอบ จึงต้องอ้างรู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง ขอผลัดไว้ก่อน ขอเลื่อนไปก่อน ขอเข้าห้องสอบวันหลัง ถ้าพร้อมจะเข้าห้องสอบก็ต้องไม่หนี
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #78 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2567 14:30:25 »




ต้องการพิสูจน์
ถาม : พยายามทำให้เวลา ๒๔  ชั่วโมง เป็นสิ่งที่นอกธรรมะน้อยที่สุด

พระอาจารย์ : อยู่แบบพระ ถึงแม้ต้องทำมาหากิน ก็ไม่ห่างไกลจากธรรมะ เวลาพระบิณฑบาต ท่านก็สอนให้มีสติอยู่กับการเคลื่อนไหว กับการบิณฑบาต หรือจะบริกรรมพุทโธไปก็ได้ เป็นฆราวาสก็ทำ  ได้แต่ก็ยากหน่อย เพราะต้องคุยกัน พอคุยสติก็หลุดไปเลย ไหลไปกับเรื่องราวต่างๆ ถ้าเคยฝึกมาแล้วก็สามารถปฏิบัติได้ ถึงแม้จะคุยก็คุยด้วยสติ รู้ว่ากำลังคุยเรื่องอะไร เช่นคุยเรื่องงานเรื่องการ วันนี้จะทำอะไร  พอคุยเสร็จก็กลับมาที่ธรรมะต่อ ทำงานก็ให้มีสติอยู่กับงานที่กำลังทำ อย่างนี้ถือว่าอยู่ใกล้ธรรมะ  

ถ้าทำอย่างนี้จริงๆ ก็จะเกิดปัญญาขึ้นมาว่า ไม่รู้จะทำไปทำไม เอาเงินไปทำไม  เที่ยวก็ไม่เที่ยว ถ้าต้องการธรรมะ ก็ไม่ต้องใช้เงินแล้ว ที่ยังต้องการเงิน เพราะต้องเอาไปเลี้ยงกิเลส ซื้อของที่กิเลสชอบ ไปดูไปฟังสุขภาพ ยังสมบูรณ์อยู่ ก็จะเฉยๆ ไม่รู้ว่ายึดติดหรือไม่ พอเวลาใกล้จะตายถึงรู้ว่ายึดติดหรือไม่ยึดติด  ถ้ายึดติดก็จะกระวนกระวายกระสับกระส่าย กินไม่ได้นอนไม่หลับ พอปล่อยวางได้ ตัดได้ จะตายก็ตาย ก็จะเบาสบาย  

การปฏิบัติจึงต้องอาศัยเหตุการณ์และสถานที่ ที่จะกระตุ้นให้เลือกระหว่างการปล่อยวางกับการยึดติด ถ้าไม่แน่ใจว่าปล่อยวางได้จริง หรือไม่ ก็ต้องไปอยู่ตามป่าตามเขา  ที่พระปฏิบัติต้องไปอยู่ตามป่าตามเขา เพราะต้องการพิสูจน์ว่าปล่อยร่างกายได้จริงหรือไม่  ต้องไปอยู่ใกล้เสือ พอเสือร้องขึ้นมาใจยังเฉยอยู่หรือไม่ ถ้าใจสั่นแสดงว่ายังไม่ปล่อย ถ้าปล่อยแล้วต้องเฉย.


การปฏิบัติเป็นขั้น
ถาม : การทำบุญตลอดเวลา แต่ไม่ทำสมาธิภาวนา ไม่ช่วยให้จิตพัฒนาขึ้น

พระอาจารย์ : จิตมีหลายขั้น ขั้นอนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา ถ้าเรียนอยู่แต่ขั้นอนุบาลก็ได้แค่ขั้นอนุบาล จบอนุบาลก็ต้องก้าวเข้าสู่ขั้นประถม ทำบุญให้ทานแล้วต้องรักษาศีล รักษาศีลแล้วต้องภาวนา ไปอยู่วัดถือศีล ๘ เนกขัมมะ แล้วนั่งสมาธิเดินจงกรม ตอนต้นก็อยู่ในกุฏิก่อน ต่อไปออกไปนั่งในป่า ไปเดินในป่าตอนค่ำคืน ตอนต้นก็ไปหลายๆคน ต่อไปก็ไปคนเดียวเป็นขั้นๆไป ทำแบบผลีผลามไม่ได้ เดี๋ยวเตลิดเปิดเปิง

สองวันก่อนมีคนขออยู่ภาวนา มาตอนบ่ายสามโมง พอสามทุ่มก็หนีแล้ว โทรศัพท์เรียกรถมารับ ตอนเช้ามาเล่าให้ฟังว่า ตอนต้นภาวนาจิตก็สงบดี พอนั่งต่อไปจิตเริ่มหลอน ไม่มีสติควบคุม ทนอยู่ไม่ได้ กลัวไปหมด นั่งหลับตาจุดเทียนไว้ก็กลัวไฟจะไหม้ ก็เลยวุ่นวาย ไม่เคยอยู่ป่ามาก่อน อยู่แต่ในเมือง ตอนเช้ามาสารภาพว่า ผมเข้าใจแล้วที่ท่านอาจารย์พูดว่า การปฏิบัติเป็นขั้นเป็นอย่างไร ผมต้องกลับไปขั้นอนุบาลใหม่ ให้ทานรักษาศีลก่อน.


ป็นตัวเดียวกัน
ถาม : จิตดวงที่ไม่ตายกับจิตในสติปัฏฐาน ๔

พระอาจารย์ : เป็นจิตเดียวกัน จิตไม่ตาย แต่อาการของจิต มันเกิดดับๆ คำว่าจิตในสติปัฏฐาน หมายถึงจิตที่เปลี่ยนสภาพไปเรื่อยๆ จากสงบเป็นฟุ้งซ่าน จากโลภเป็นโกรธเป็นหลง เปลี่ยนอาการไปเรื่อยๆ แต่ตัวจิตเป็นตัวเดียวกัน เหมือนกับเราเปลี่ยนเสื้อผ้าไปเรื่อยๆ วันนี้ใส่ชุดนี้ พรุ่งนี้ใส่อีกชุด ผู้ที่ใส่เสื้อผ้าก็คนเดิม จิตก็ตัวนี้ มาปฏิสนธิ มาเกิด เป็นตัวที่รับรู้ มีอารมณ์ต่างๆ เดี๋ยวก็หงุดหงิด เดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ ท่านให้ดูอารมณ์เหล่านี้ว่าไม่เที่ยง เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา บางทีเราก็ควบคุมบังคับมันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยวาง เดี๋ยวก็หายไปเอง ถ้าพยายามไปแก้กลับทำให้เป็นมากยิ่งขึ้น วิธีที่จะแก้คือทำใจให้เป็นอุเบกขา รับรู้ พอหมดแรงมันก็สงบตัวลงไปเอง.


ความทุกข์อันละเอียด
ถาม : ในการพิจารณานี่ไม่จำเป็นต้องหลับตาหรือนั่งตลอด

พระอาจารย์ : ไม่จำเป็น ดูในใจ ดูการทำงานของกิเลส ที่สร้างความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เช่นคิดว่าเราดีกว่าเขา สูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา ด้อยกว่าเขา พอด้อยกว่าก็น้อยเนื้อต่ำใจ เวลาสูงกว่าก็หยิ่งผยอง ภูมิอกภูมิใจ หลงระเริง ซึ่งเป็นกิเลสทั้งนั้น

ต้องพิจารณาให้เห็นชัดแล้วตัดมันไป ส่วนอวิชชาก็คือการไม่เห็นความทุกข์อันละเอียด ที่มีซ่อนอยู่ในใจ เพราะใจในขณะนั้นมีความสุขมาก จนคิดว่าไม่มีความทุกข์หลงเหลืออยู่เลย แต่ความสุขนั้นยังเปลี่ยนได้ ยังหายไปได้ มีความทุกข์ขึ้นมาแทนได้ แต่เป็นแบบที่ละเอียดมาก ถ้าไม่สังเกตก็จะไม่เห็น ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาดูอยู่เรื่อยๆ ก็จะเห็นอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าใจและปล่อยวางได้


นิมิต
ถาม : เผอิญมีโยมที่มาปฏิบัติเขามีปัญหาอยู่หน่อย คือในการปฏิบัติของเขาขณะนี้ก้าวหน้าขึ้น แต่ว่าเกิดนิมิตขึ้นมากมาย แล้วเขารู้สึกพอใจในนิมิตมาก เพราะเป็นนิมิตในทางดีด้วยค่ะ

พระอาจารย์ : นิมิตก็เหมือนกับดูหนังดูละคร ดูแล้วมันก็ติด ไม่ก้าวหน้า ไม่เป็นวิปัสสนา ไม่ทำให้เกิดปัญญา ไม่ปล่อยวาง เวลาจิตไปเผชิญกับความทุกข์ จะไม่สามารถช่วยตัวเองได้ เพราะไม่มีปัญญา

ถาม : เขาสงสัยว่านิมิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตรวมลงแล้ว เป็นสิ่งที่เขาเคยผ่านมาใช่หรือเปล่า เช่นเห็นพระพุทธเจ้าบ้าง หรืออะไรอย่างนี้ค่ะตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกับเขา

พระอาจารย์ : มันดีแต่ไม่เป็นประโยชน์แก่การตัดภพตัดชาติ การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อาจจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตก็ได้ แต่ไม่ได้ทำให้อนาคตของเราดีขึ้น คุณแม่แก้วก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน คุณแม่แก้วนับถือหลวงตาเป็นอาจารย์ ท่านพยายามสอนคุณแม่แก้วให้ละนิมิต เพราะคุณแม่แก้วจะชอบไปรับรู้เรื่องต่างๆ

ถาม : จะบอกให้เขาละนิมิตโดยวิธีใดคะ ไม่สนใจมัน

พระอาจารย์ : พิจารณาด้วยปัญญาว่าไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าต้องการพัฒนาจิตใจไปสู่อริยภูมิ สู่มรรคผลนิพพาน ก็ต้องปล่อยไปก่อน ไม่ต้องกลัวว่ามันจะหายไป มันอยู่กับเรา เมื่อได้บรรลุถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็จะมาปรากฏให้เห็นเหมือนเดิม ตอนนั้นจะมีความรู้ความสามารถที่จะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง สามารถเอาไปใช้ให้เกิดคุณเกิดประโยชน์ได้ แต่ตอนนี้ถ้าไปยุ่งเกี่ยวแล้ว จะไม่ทำงานที่ต้องทำ คือทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ เหมือนกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย แทนที่จะเรียนหนังสือ กลับไปทำกิจกรรม การเรียนก็เลยไม่ดี ไม่ได้ขึ้นชั้น เรียนไม่จบ นิมิตพวกนี้ก็เป็นเหมือนกิจกรรม ไม่ใช่วิชาหลัก ถ้าไปยุ่งเกี่ยวกับมัน ไปสนใจ รู้ไปก็เท่านั้น ไม่ได้ทำให้กิเลส คือความโลภความโกรธความหลง เบาบางหรือหมดไปได้ หลวงตาจึงต้องใช้ไม้เด็ดกับคุณแม่แก้ว บอกว่าถ้าไม่เลิกก็ไม่ต้องเป็นครูเป็นอาจารย์เป็นลูกศิษย์กัน คุณแม่แก้วก็เลยเลิกยุ่งกับนิมิต ไปทำงานด้านวิปัสสนาทันที พิจารณากาย พิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตา พิจารณารูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ พิจารณาอวิชชาจนหลุดพ้น ทีนี้จะมีนิมิตมากน้อยก็ไม่เป็นปัญหา คนที่ยังไม่หลุดพ้นก็เหมือนกับคนที่ติดอยู่ในคุก ไปดีใจกับการดูโทรทัศน์ทำไม รอไปดูข้างนอกไม่ดีกว่าหรือ เพราะจะไปทำอย่างอื่นก็ทำได้ อยู่ในคุกก็ได้แต่ดูโทรทัศน์ จะไปเที่ยวที่นั้นที่นี่ก็ไปไม่ได้ ก็ต้องเลือกเอา.


ความทุกข์มันอยู่ในใจ ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย
ถาม : บางคนอาจจะเข้าใจว่า ปล่อยวางเป็นการไม่รับผิดชอบ ขี้เกียจเกียร์ว่างค่ะ บางคนก็ยอมรับการเกิดเป็นธรรมดา ยังไงก็ต้องเกิด เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้สนใจที่จะปฏิบัติ เขาบอกว่าทุกข์ก็ทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายยอมรับ

พระอาจารย์ : ใช่ ชีวิตเขาก็จะวนเวียนอย่างนี้ไป โดยไม่รู้ตัว ฆ่าตัวตายกันก็มากทุกวันนี้ เมื่อมีปัญหา รับกับสภาพไม่ได้ ก็ยุติปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย แต่ก็ไม่ได้ไปแก้ปัญหา เพราะตัวที่ถูกฆ่าเป็นเพียงหุ่นเท่านั้นเอง ถ้าจะฆ่าต้องฆ่าตัวเชิด คือตัณหาความอยากทั้งหลาย ที่ต้องฆ่ากลับไม่ฆ่า ไปฆ่าร่างกาย ก็เหมือนกับพระพุทธเจ้าตอนแสวงหาการตรัสรู้ ก็จะฆ่าร่างกายด้วยการไม่กินข้าว อดข้าวถึง ๔๙ วัน แต่ตัวเชิดยังมีกำลังเต็มที่อยู่ในจิตในใจ

จึงทรงเห็นว่าความทุกข์มันอยู่ในใจ ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย ตัวที่ทำให้ต้องดิ้นรนกวัดแกว่งแสวงหาต่างหากที่ต้องฆ่า แล้วก็ฆ่ามันได้ ระงับมันได้หยุดมันได้ แต่ต้องเห็นด้วยปัญญา ว่าสิ่งที่อยากได้นั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ให้โทษมากกว่าให้คุณ ให้ความทุกข์มากกว่าให้ความสุข เป็นสุขตอนต้นแต่ทุกข์ตอนปลาย เวลาได้เป็นนายกฯก็ดีอกดีใจ พอตกเก้าอี้ไปก็เป็นทุกข์  ศาสนาสอนให้ทุกข์ตอนต้นแต่สุขตอนปลาย ทุกข์ด้วยการต่อสู้กับความอยาก คนที่เลิกบุหรี่ได้นี่สบายกว่าคนที่ติดบุหรี่ คนที่เลิกเหล้าได้สบายกว่าคนที่ติดเหล้า แต่เวลาเลิกนี่มันทรมานจิตใจ แต่ก็ไม่นาน ไม่กี่วัน ถ้าฝืนได้อดได้ทนได้ ถ้าทำจิตให้สงบได้ก็จะไม่ยาก พอห่างไปสักระยะหนึ่ง ความอยากก็จะเบาลงไปๆ แล้วก็หมดไป ถ้าจะโผล่กลับมาอีก ถ้ามีปัญญาเห็นว่าเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ก็จะไม่กล้า.


ให้นำเอาไปปฏิบัติกัน
ถาม : มีคำแนะนำให้คนที่ฟังท่านอาจารย์ ๔ ปีแล้ว แต่ยังไปไม่ถึงไหน

พระอาจารย์ : แยกเป็นบัว ๔ เหล่า ในห้องเรียนก็เหมือนกัน มีเด็กเรียนเก่งกับเด็กเรียนไม่เก่งผสมกันไป เด็กที่ไม่เก่งชอบอยู่ท้ายห้อง เด็กเรียนเก่งมักชอบอยู่หน้าห้อง เพราะไม่กลัวอาจารย์ถาม จะตอบได้เสมอ จะเกเรไม่ได้ ถ้านั่งอยู่ข้างท้ายห้องนี้เล่นกันได้ แต่เด็กที่อยู่หน้าห้องนี้จะต้องมีสมาธิฟังครูอย่างเดียว จึงเรียนเก่งกัน เด็กที่เรียนเก่งจะชอบนั่งอยู่ข้างหน้าห้อง เพราะชอบฟังคำสอนของครูของอาจารย์ เขาตั้งใจเรียน แต่เด็กที่ไม่ชอบฟัง จะหลบไปนั่งอยู่ข้างหลังห้องกัน จะได้เล่นกันได้ มีพราหมณ์ถามพระพุทธเจ้าว่า ตถาคตเป็นผู้สอนให้ผู้ที่ศึกษาปฏิบัติ ได้ไปถึงมรรคผลนิพพาน แต่ทำไมสาวกของท่าน บางคนก็ไปถึง บางคนก็ไปไม่ถึง

พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบไปว่า เราเป็นคนสอน เราไม่ได้เป็นคนปฏิบัติ เขาต้องปฏิบัติด้วยตัวเขาเอง จะไปถึงไม่ถึงอยู่ที่การปฏิบัติของเขา ไม่ได้อยู่ที่คนสอน คนสอนก็ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่แล้ว อยู่ที่คนฟังจะนำเอาไปขยายผลต่อได้หรือไม่ อยู่ที่ความสามารถของเขา ที่เรียกว่าบุญบารมี ถ้าได้สะสมปัญญาบารมีมามาก พอฟังปั๊บก็จะเข้าใจทันที อย่างพระอัญญาโกณฑัญญะ ท่านมีปัญญาบารมีมากกว่ารูปอื่น รู้เร็วกว่า พอฟังแล้วบรรลุก่อนเลย อีก ๔ รูปยังไม่เข้าใจ เรื่องของลูกศิษย์ลูกหาจึงไม่ใช่เป็นเรื่องของอาจารย์ อาจารย์อาจจะวิตกกังวลบ้าง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้เวลามากหน่อย เพราะเป็นเด็กปัญญาอ่อน คนบางคนพอบอกคำเดียวก็เข้าใจ บางคนต้องขยายความ บางคนต้องวาดภาพให้เห็น คนเรามีปัญญาระดับต่างกัน จึงควรพยายามสร้างปัญญาไว้เรื่อยๆ ปัญญาเกิดได้ด้วยการได้ยินได้ฟัง เกิดได้ด้วยการนำเอาสิ่งที่ได้ยินได้ฟังไปใคร่ควรพิจารณา จนสามารถพิจารณาได้อย่างต่อเนื่องทุกลมหายใจเข้าออก แต่ต้องทำจิตให้สงบก่อนถึงจะทำได้ ขอให้นำเอาไปปฏิบัติกัน.


ต้องมีสติ
ถาม : เวลาทำงานมีความรู้สึกว่า ทางโลกกับทางธรรมจะสวนกัน ทางธรรมให้ปล่อยวาง จะเสร็จหรือไม่เสร็จไม่เป็นไร แต่ทางโลกให้มีความรับผิดชอบ ต้องทำให้เสร็จ

พระอาจารย์ : ทำด้วยสติ จะสำเร็จอย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ที่ผิดพลาดเพราะไม่ได้อยู่กับงานที่กำลังทำอยู่ มัวไปกังวลกับเป้าหมาย ก็เลยไม่ได้อยู่กับงาน ทำแบบผิดๆ ถูกๆ ยิ่งรีบก็ยิ่งผิด ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ขัดกันหรอกทางธรรมกับทางโลก ต้องมีสติทั้งงานทางโลกและงานทางธรรม ถึงจะสำเร็จลุล่วงได้ ถ้าไม่มีสติก็จะผิดพลาด จะพลั้งเผลอไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็เลยไม่รู้ว่าทำถูกหรือไม่ ทางธรรมกับทางโลกถ้าเกี่ยวกับสตินี้ไม่ขัดกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สติมีความจำเป็นในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการงานทางโลกหรือการงานทางธรรม ต้องมีสติเสมอ ถึงจะทำได้อย่างไม่ผิดพลาด ถ้าไม่มีสติก็ทำไม่ได้ เวลาเมาเหล้าแล้วเย็บผ้าได้ไหม เย็บไม่ได้หรอก ต้องมีสติ


จะรู้ได้อย่างไรว่าเราละตัวตนได้ขาดแล้ว
ถาม : จะรู้ได้อย่างไรครับว่าเราละตัวตนได้ขาดแล้ว

พระอาจารย์ : ก็เวลาใครด่าเรายังโกรธหรือเปล่า เวลาใครเขาดูถูกเหยียดหยามเรายังโกรธหรือเปล่า เวลาเขาเอาของที่เรารักไป ยังโกรธอยู่หรือเปล่า ถ้ายังโกรธก็แสดงว่ายังมีตัวตน ของยังเป็นของเราอยู่ ใช่ไหม ถ้าไม่ได้เป็นของเรา ใครเอาไปเราเดือดร้อนไหม ถ้าใครเอาเมียคนอื่นไป สามีคนอื่นไปเราเดือดร้อนไหม ไม่เดือดร้อน ตอนนั้นเราไม่มีตัวตน ใช่ไหมเพราะเราไม่ได้ถือว่าเป็นของเรา ดังนั้นถ้าตราบใดเรายังถือว่าเป็นของเราอยู่อย่างนี้ ก็ต้องมีตัวเราเป็นผู้ถือ ถ้าเราเป็นแต่เพียงผู้รู้เท่านั้นแหละ ถึงจะไม่มีตัวตน ให้รู้เฉย ๆ ไง พระพุทธเจ้าบอกให้รู้เฉย ๆ ใครจะด่าก็รู้เฉย ๆ ใครจะชมก็รู้เฉย ๆ ใครจะตบตีเราก็รู้เฉย ๆ ใครจะทำอะไรก็ให้รู้เฉย ๆ ไป นั่นแหละถึงจะเรียกว่าไม่มีตัวตน


สีลัพพตปรามาส
ถาม : อยากฟังเรื่องสังโยชน์ข้อที่ ๓ ครับ อ่านเองแล้วยังงงอยู่บ้างครับ

พระอาจารย์ : สีลัพพตปรามาส ก็ท่านแปลว่าการลูบคลำศีล คือการยังไม่เห็นว่าศีลนี้เป็นของที่สำคัญ ของที่จำเป็น ถ้าบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้วจะรู้ว่า ถ้าทำบาปแล้วจิตใจจะต้องลงต่ำ จิตใจจะต้องไปเกิดในอบาย ฉะนั้นพระโสดาบันก็จะรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต ไม่ลูบคลำในศีล ไม่สงสัยว่าศีลนี้มีประโยชน์อย่างไร เพราะรู้ว่าศีลนี้เป็นเครื่องป้องกันจิตใจไม่ให้ลงต่ำ ไม่ให้ไปเกิดในอบาย ก็จะละสีลัพพตปรามาสได้


เจ็บไข้ได้ป่วย
ถาม : โยมที่ไม่สบายให้กราบเรียนท่านว่าเขาพยายามปฏิบัติ ถ้าไม่ป่วยครั้งนี้ก็จะไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา

พระอาจารย์ : เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นโอกาสที่จะได้เห็นอริยสัจ พระราชบิดาของพระพุทธเจ้าก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ ๗ วันก่อนสวรรคต ไม่มีทางดิ้นแล้วก็เลยต้องสู้อย่างเดียว ถ้ามีโค้ชคอยบอกคอยสอน อย่างพระพุทธเจ้าคอยสอนคอยแนะให้คิด พอคิดตามก็บรรลุได้เลย

ถาม : เวลาป่วยเป็นแบบทดสอบที่สำคัญยิ่ง เพราะสติมักจะเผลอทุกครั้งที่เกิดทุกขเวทนา

พระอาจารย์ : เป็นเวลาที่ต้องเข้าห้องสอบ ไปเที่ยวไม่ได้แล้ว ต้องรีบดูหนังสือแล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีเวลาก็ผัดไปก่อน ทำนั้นทำนี่ไปก่อน แต่นี่ใกล้แล้ว พรุ่งนี้จะสอบแล้ว คืนนี้ต้องดูหนังสือทั้งคืนเลย นี่ก็เหมือนกันพอเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว ก็รู้ว่าไปไหนไม่ได้แล้ว.
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า:  1 2 3 [4]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.722 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 13:36:12