[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 10:10:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "คติธรรม" พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณสังวรารามฯ จ.ชลบุรี  (อ่าน 10581 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.88 Chrome 79.0.3945.88


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 มกราคม 2563 10:44:49 »






พรวันปีใหม่ ปี ๒๕๖๓
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒

“ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๓ นี้ ขอ อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงได้โปรดปกป้องคุ้มครองรักษา ให้ท่านทั้งหลายอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคาดปลอดภัยจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง คิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดขอให้สมความปรารถนาในสิ่งนั้นนั้นเทอญ”

“พรอันประเสริฐ”

พวกเราอาจจะไม่รู้ว่าพวกเรานี้ได้มาเกิด มาแก่ มาเจ็บ มาตายอย่างโชกโชน ภพนี้ชาตินี้ไม่ใช่เป็นเพียงภพแรกหรือภพสุดท้ายของพวกเรา ภพนี้อาจจะเป็นภพที่หนึ่งล้านล้านล้านภพ หนึ่งล้านคูณด้วยล้านภพ เราได้มาเกิดแก่เจ็บตายหนึ่งล้านคูณด้วยหนึ่งล้านครั้งแล้ว และจะเกิดแก่เจ็บตายอย่างนี้ต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ถ้าเราไม่ได้มาพบกับ “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” หรือถ้าเราพบกับ “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” แล้ว แต่เราไม่ขวนขวายที่จะศึกษาที่จะปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า การพบกับ “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” แบบนี้ก็ไม่เกิดประโยชน์

เหมือนกับคนชาวพุทธในเมืองไทยในประเทศไทยของพวกเรา มีชาวพุทธอยู่ถึงเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ด้วยกัน แต่ไม่ทราบว่ามีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ขวนขวายที่จะเข้าศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า อันนี้ ถึงแม้จะได้มาพบกับพระพุทธศาสนาแต่ก็เข้าไม่ถึงพระพุทธศาสนา ไปวัดก็ไปเพียงแต่ไปขอพรจากพระประธานตามวัดต่างๆ วัดไหนที่มีพระประธานมีชื่อเสียง ในช่วงวันปีใหม่นี้จะแน่นมาก จะมีคนไปจุดธูปเทียนสามดอกถวายดอกไม้ธูปเทียนถวายเครื่องสักการะบูชาต่างๆ แล้วก็อธิษฐานขอพรต่างๆ ขอให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญแคล้วคลาดปลอดภัย อันนี้จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาเพียงแค่ระดับผิวเท่านั้น ระดับเปลือกเท่านั้น

เพราะการขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธรูปนี้ไม่สามารถให้สิ่งที่เราปรารถนากันได้ สิ่งที่เราปรารถนานี้พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ว่าจะได้ก็ต้องเกิดจากศึกษาพระธรรมคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า ศึกษาแล้วก็ต้องน้อมนำเอาไปปฏิบัติด้วย เมื่อปฏิบัติแบบเต็มที่คือ “สุปฏิปันโน” ปฏิบัติแบบไม่หยุดไม่หย่อนแบบไม่ถอย วันใดวันหนึ่งในภพนี้ชาตินี้ก็จะสามารถเข้าถึงความสุขความเจริญในระดับโลกุตรธรรมได้

อันนี้แหละคือการรับพรจาก ”พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” ไม่ได้รับด้วยการไปกราบพระพุทธรูป จุดธูปเทียนสามดอก แล้วก็ขอสิ่งนั้นสิ่งนี้และสิ่งที่ขอก็เป็นสิ่งที่ “พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์” ทรงสอนไม่ให้ปรารถนากัน คือความสุขความเจริญทางโลกหรือทางร่างกายนี้เอง ที่เป็นความสุขชั่วคราว ที่เป็นความสุขที่จะต้องมีวันสิ้นสุดลง เวลาที่ต้องสิ้นสุดลงก็จะเกิดความทุกข์ขึ้นมาอย่างมหาศาล จึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการหาความสุขความเจริญทางลาภ ยศ สรรเสริญ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายกัน เพราะไม่ได้เป็นความสุขความเจริญที่แท้จริงนั่นเอง



"อย่าวุ่นวายใจไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว”

เวลาที่เราสวดบทแผ่เมตตา สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ เป็นเวลาที่เราศึกษาเรายังไม่ได้แผ่ เรากำลังศึกษาว่าเราต้องให้อภัย เราต้องไม่จองเวรจองกรรมกับสรรพสัตว์ทั้งปวง นี่คือความหมายของ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ

สัพเพ ก็คือ สัพพะ สิ่งต่างๆ เรียกว่าสัพ สัตว์ต่างๆ สัพพะ สัพเพ สัตตา นี้แปลว่าสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง อะเวรา โหนตุ จงอย่ามีเวรมีกรรมกันเถิด จงให้อภัยกันเถิด พูดง่ายๆ ใครเขาพูดใครเขาทำอะไร เกิดความเสียหาย ทำให้เราเสียใจเศร้าใจ มันก็เกิดขึ้นแล้ว เราไปเปลี่ยนมันไม่ได้แล้ว เช่นเหมือนแก้วแตก เราจะไปทำให้แก้วมันกลับมาเหมือนเดิมไม่ได้ เราทำอะไรกับแก้วแตก เราก็โยนทิ้งไป แล้วก็ไปหาแก้วใหม่ ก็จบ

แต่ถ้าเรามาคอยมานั่งหาวิธีที่จะทำให้แก้วใบที่แตกนี้มันกลับมาเหมือนเดิม มันไม่มีวันเหมือนเดิม ทำไปจนวันตายก็ไม่สามารถทำให้แก้วที่แตกนี้กลับมาเป็นเหมือนแก้วที่ยังไม่แตกไม่ได้ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นมาแล้ว เขาด่าเราก็ด่าแล้ว เขาทุบตีเราเขาก็ทุบตีไปแล้ว เขาทำอะไรเสียหายก็ทำไปแล้ว แล้วเราจะมาวุ่นวายไปกับมันทำไมเมื่อมันผ่านไปแล้ว เราก็ไม่สามารถที่จะไปย้อนเวลากลับไปทำให้มันไม่เป็นอย่างที่เป็น

ถ้าเราเห็นว่าเราทำอะไรไม่ได้แล้ว เราก็ยอมรับความจริงไปเสียก็หมดเรื่อง เขาพูดแล้ว เขาด่าเราแล้ว เขาทุบตีเราแล้วก็จบไป เขาก็ผ่านไปแล้ว เขาก็ไปแล้ว ถ้าเราทำใจได้ ก็ไม่มีอะไรเสียหายตามมา เราก็ก้าวต่อไป เราต้องทำอะไรของเราเราก็ไปทำต่อ ลืมมันเสียก็หมดเรื่อง ผ่านไปแล้ว ถ้ามองแบบปัญญาก็มันเป็นความฝัน มันผ่านไปแล้ว เหมือนเป็นความฝัน เหมือนกับเรานอนหลับฝันไปว่าถูกเขาทำร้าย พอเราตื่นขึ้นมามันก็ผ่านไปแล้ว แล้วเราไปวุ่นวายกับมันทำไม ความวุ่นวายก็คือความทุกข์ใจ

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราอย่าวุ่นวายใจไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป อย่าไปทำให้มันเรื่องมากโดยไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะมีโทษ พอเขาทำร้ายเรา เราก็โกรธเขา เราก็จองเวรจองกรรม จะไปทำร้ายเขาใหม่ เราก็จะเครียดกับการจองเวรจองกรรม กินไม่ได้นอนไม่หลับ เหมือนกับพระเทวทัต



“งานศพ”

พระพุทธองค์ทรงสอนให้สร้างกุศลในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่ารอเวลาที่ตายไปแล้ว นิมนต์พระมาสวดกุสลา ธัมมาให้

เวลาที่ไปงานศพ จะได้ยินพระท่านสวด กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา อัพยากตา ธัมมา นี่พระท่านสวดให้คนเป็นฟัง ไม่ได้สวดให้คนตายฟัง เพราะคนตายไปแล้วฟังไม่รู้เรื่อง เพราะจิตผู้รู้ไม่ได้อยู่กับร่างกายแล้ว จิตได้ออกจากร่างกายไปแล้ว ร่างกายเป็นเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืนท่อนหนึ่ง รอให้สัปเหร่อเอาไปเผาไฟเท่านั้นเอง จะนิมนต์พระระดับไหนมาก็ตาม จะเป็นเจ้าคุณ เป็นสมเด็จ เป็นพระอรหันต์ มาสวดให้ก็จะไม่ได้กุศล ไม่ได้กุสลา

กุศลนั้นต้องเกิดจากการได้ยินได้ฟัง เมื่อได้ยินได้ฟังแล้วก็เอาไปคิดพินิจพิจารณา แล้วเอาไปประพฤติปฏิบัติ ถ้าได้ทำทั้งสามอย่างนี้แล้ว คือ ฟัง คิด แล้วก็ทำ ก็จะเกิดผลขึ้นมา เกิดประโยชน์ขึ้นมา เกิดกุศลขึ้นมา


พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.88 Chrome 79.0.3945.88


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 มกราคม 2563 14:56:39 »

.


ว่าง

หาความสุขจากความว่างดีกว่า หาความสุขจากความสงบ ความไม่คิดปรุงแต่ง คือความว่าง เหมือนกระดานดำ พอเราไม่คิดปรุงแต่ง ไม่ขีดไม่เขียนมันก็ว่าง เราต้องลบรอยขีดเขียนออกไปให้หมด เราใช้สติเป็นตัวลบ เมื่อลบเสร็จแล้วเวลามันจะเขียนใหม่ก็ใช้ปัญญาสอนว่า อย่าไปเขียน เขียนแล้วมันจะทุกข์ มันไม่สุข มันไม่ว่าง รักษาความว่าง รักษาความไม่อยากไว้ ไม่ต้องการอะไร ไม่ต้องมีอะไร ให้อยู่กับความว่างไป


พร้อมตายหรือเปล่า

เรื่องของการตายในลักษณะไหนนั้นมันไม่สำคัญหรอก มันก็มีราคาเท่ากันก็คือตายเหมือนกัน จะตายดี ตายทางน้ำ ตายทางอากาศ ตายทางไฟทางอะไรมันก็ตายเหมือนกัน ดังนั้นมันไม่สำคัญว่าจะตายแบบไหน สำคัญที่ว่ายอมรับความตายได้หรือเปล่า ถ้ารับได้ก็จะไม่ทุกข์ เช่นถ้าไปหาหมอ หมอบอกว่าเป็นโรคร้ายไม่สามารถรักษาได้ ให้เตรียมตัวเตรียมใจไปจองศาลาวัดได้แล้ว อย่างนี้จะรู้สึกว่าเหมือนกับว่าไปจองที่พักเหมือนกับไปเที่ยวต่างประเทศหรือเปล่า ถ้ารู้สึกจะได้ไปเที่ยวต่างประเทศ จะได้ไปพักโรงเเรม ๕ ดาว มันก็ไม่เดือดร้อนอะไร ความตายก็เป็นแบบนั้นเป็นเหมือนกับการเดินทาง

เราเดินทางออกจากโลกนี้ออกจากร่างกายนี้ เรามาอาศัยร่างกายนี้อยู่ชั่วคราว พอร่างกายนี้บอกว่าไม่ให้อยู่แล้ว เราก็ต้องไปเท่านั้นเอง เราพร้อมที่จะไปหรือยัง ถ้าเราพร้อมที่จะไปหรือว่าเราคิดว่าเหมือนกับเราไปเที่ยวต่างประเทศนี้เราก็ยินดีที่จะไป อยู่แค่ตรงนี้ว่าจะทุกข์หรือไม่ทุกข์กับความตาย ถ้าไม่ทุกข์กับความตายก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้ายังทุกข์อยู่ก็ต้องแก้ให้ได้ ต้องทำใจให้ได้


พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 มกราคม 2563 16:22:12 »



นักภาวนามืออาชีพ

พวกเราที่ยังติดอยู่กับสิ่งต่างๆ เพราะว่าเราไม่มีปัญญา เราไม่รู้จักมองทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตากัน เรายังมองว่าดีอยู่ ยังมองว่าให้ความสุขกับเราอยู่ และเราก็ต้องทุกข์ กับสิ่งที่เรามองเห็นว่าเป็นความสุข เราเห็นว่าทรัพย์นี้ดี ให้ความสุขกับเรา เราก็เลยต้องมาทุกข์กับการหาทรัพย์ กับการดูแลรักษาทรัพย์ แล้วก็ต้องมาทุกข์กับการสูญเสียทรัพย์ไป เกิดมากี่ภพกี่ชาติก็หลงมาติดกับทรัพย์นี้ อยู่ทุกครั้งไป เพราะเราไม่เลิกหาทรัพย์ ไม่เลิกใช้ทรัพย์กัน เราใช้ทรัพย์เป็นเครื่องมือซื้อความสุขต่างๆ ซื้อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เช่นอยากจะดูภาพยนต์ก็ไปดูตามโรงก็มีตังค์จ่ายค่าดู อยากจะฟังเสียงต่างๆก็ต้องเสียสตางค์ อยากจะดื่มอยากจะรับประทานก็ต้องเสียเงิน สิ่งเหล่านี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องมีก็ได้ ถ้าเรามีความสงบ ถ้าเรารู้จักทำใจให้สงบแล้ว เราจะไม่จำเป็นที่จะต้องไปหาความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันนี้แหละจึงเป็นเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรามาบำเพ็ญจิตภาวนากัน มาบำเพ็ญสมถภาวนา ทำใจให้สงบกัน แล้วก็เจริญวิปัสสนาเพื่อกำจัดความอยากต่างๆ ที่จะมาทำลายความสงบ ที่ได้จากสมถภาวนากัน

ถ้าเราทำได้แล้วเราจะมีแต่ความสุข จะไม่มีความทุกข์ต่อไป ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะหมดเนื้อหมดตัวไม่มีเงินไม่มีทอง ไม่มีทรัพย์สมบัติข้าวของอะไร ก็จะไม่เดือดร้อน ไม่มีคู่ครองไม่มีสามีไม่มีภรรยา ก็จะไม่เดือดร้อน ไม่มีตำแหน่งไม่มีอะไร ไม่มีใครยกย่องสรรเสริญเยินยอ ก็จะไม่เดือดร้อน ไม่มีบริษัท ไม่มีบริวาร อยู่ตามลำพังก็ไม่เดือดร้อนเพราะมีความสงบ ที่เป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งหลายนั่นเอง คือนัตถิ สันติ ปรัง สุขัง หรือรสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง

หน้าที่ของพวกเราจึงต้องพยายามหาเวลามาบำเพ็ญจิตภาวนานี้ให้ได้ ถ้าเป็นนักบวชแล้วก็ถือว่ามีเวลาเต็มที่แล้ว มีเวลาที่จะบำเพ็ญได้อย่างเต็มที่แล้ว เพราะนักบวชนี้ไม่มีภารกิจเหมือนกับฆราวาส ฆราวาสนี้ยังต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตนเอง ต้องทำมาหากินก็จะไม่มีเวลามากพอเหมือนกับนักบวช นักบวชนี้มีฆราวาสเลี้ยงดู ตอนเช้าก็เพียงแต่เดินบิณฑบาตเท่านั้น ก็จะได้อาหารมาประทังชีพแล้ว พอฉันเสร็จแล้วก็ไม่มีภารกิจอะไรที่จะต้องทำอีกแล้ว นอกจากบำเพ็ญจิตภาวนา ก็ให้ไปที่สงบสงัดวิเวก ไปเจริญสติ ไปเดินจงกรม ไปนั่งสมาธิ ไปควบคุมความคิดปรุงเเต่ง ไม่ให้คิดปรุงเเต่งทำใจให้ว่างให้สักแต่ว่ารู้ ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งสมาธิ ถ้าทำกันอย่างต่อเนื่องแล้วต้องได้ผลอย่างแน่นอน นักบวชนี้จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสมากกว่าฆราวาส ถ้าเปรียบเทียบก็เป็นเหมือนมืออาชีพกับมือสมัครเล่น มืออาชีพนี้ย่อมมีเวลาที่จะฝึกซ้อมงานของตนได้มากกว่ามือสมัครเล่น เช่นนักกีฬา เป็นนักกีฬามืออาชีพ เช่นนักมวยมืออาชีพนี้ไม่ต้องไปทำมาหากินแล้วไม่ต้องไปทำงานทำการ เพราะเอาอาชีพชกมวยนี้เป็นอาชีพ ก็จะมีเวลาฝึกซ้อมชกมวยได้ตลอดเวลา ไม่เหมือนกับนักมวยสมัครเล่น ที่ยังต้องมีอาชีพอย่างอื่นมาประทังชีพ เพราะการเล่นกีฬาสมัครเล่นนี้ไม่มีเงินทองเป็นรางวัลตอบแทนนั่นเอง แต่นักมวยมืออาชีพนี้ นักกีฬามืออาชีพนี้มีเงินทองเป็นสิ่งตอบแทนจึงไม่ต้องไปทำมาหากิน เหมือนกับพระ นักบวชนี้ก็เป็นเหมือนกับนักภาวนามืออาชีพ ไม่ต้องไปทำมาหากิน มีผู้เลี้ยงดู มีผู้สนับสนุน มีฆราวาสญาติโยมสนับสนุน ใส่บาตรอยู่ทุกวัน ไม่อดอยากขาดแคลน

ดังนั้น นักบวชนี้จึงเป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะได้พบกับนิตถิ สันติ ปรัง สุขัง มากกว่าฆราวาส ถ้าดูบรรดาผู้ที่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักบวชกัน



ให้คิดว่าพุทโธเหมือนลมหายใจ ถ้าไม่พุทโธก็ตาย

สอนจนหูฉีกแล้วก็ยังฟังไม่เข้าใจ ก็ยังอยากได้อยู่ ยังอยากมีอยู่ ยังอยากเป็นอยู่ บอกให้อยู่คนเดียวก็อยู่ไม่ได้ อยู่คนเดียวแสนจะสบายกลับไม่อยู่กัน เพราะขี้เกียจพุทโธกัน คิดว่าพุทโธเหมือนลมหายใจซิ! ถ้าไม่พุทโธก็ตาย อย่างนี้มันก็ต้องพุทโธไป ถ้าพุทโธไปได้ เดี๋ยวไม่นานมันก็สบายแล้ว มันไม่ต้องพุทโธไปตลอดชีวิตหรอก พุทโธตอนช่วงที่ใจมันไม่ยอมหยุดเท่านั้นเอง เหมือนรถที่เราต้องเหยียบเบรคเวลามันวิ่ง พอมันจอดแล้วก็ไม่ต้องเหยียบเบรคก็ได้ พอใจมันว่าง ใจมันสงบมันนิ่งก็ไม่ต้องพุทโธก็ได้ พุทโธแล้วก็สบายมันไม่ทำอะไรแล้ว มันไม่สร้างปัญหาให้กับเราแล้ว ปัญหาอยู่ที่ความคิดของเราเอง ไปคิดว่าเป็นของเรา พออะไรเป็นของเราก็อยากจะให้มันดีไปนานๆ อยู่ไปนานๆ พอมันทำท่าจะไม่ดี ทำท่าจะไม่อยู่ก็วุ่นวายใจขึ้นมา พอมันไปก็วุ่นวายใจ แทนที่จะเข็ดกลับไม่เข็ด กลับไปหาใหม่มาแทนอีก พอของเก่าไปก็หาของใหม่มาทุกข์แทนอีก ก็เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด

ถ้าไม่มีสติปัญญามาสอนใจว่า การกระทำแบบนี้เป็นการกระทำที่ไม่มีวันจบไม่มีวันสิ้น ต้องเจอความทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้ายังอยากจะมีสิ่งนั้นมีสิ่งนี้อยู่ ยังอยากจะมีความสุขกับรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะอยู่ ก็ต้องเจอกับความทุกข์อย่างแน่นอน แล้วรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะมันไม่เที่ยงมันมีมามีไป มีเกิดมีดับ มีเจริญมีเสื่อม มีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันเป็นอย่างนี้เป็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆทั้งหลายในโลกนี้ เขาเป็นสิ่งที่ประกอบมาด้วยธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุทั้ง ๔ นี้ก็ไม่เที่ยง คือมันไม่ยอมอยู่ร่วมกันนาน มันมารวมกันแล้วเดี๋ยวมันก็แตกสามัคคีกันแยกทางกัน พอแยกทางกันสิ่งที่มันรวมกันก็บุบสลายไป เช่นร่างกายมันก็มาจากธาตุ ๔ มาจากดิน น้ำ ลม ไฟ เดี๋ยวมันเกิดแตกสามัคคีกัน น้ำจะไปทางน้ำไม่ยอมอยู่กับดินกับลมกับไฟ ไฟก็ไม่ยอมอยู่ด้วย ดินก็ไม่ยอมอยู่ด้วยต่างฝ่ายก็ต่างแยกกันไป

พิจารณาคนตายซิ คนตายถ้าไม่เอาไปทำอะไรปล่อยทิ้งไว้เดี๋ยวมันก็แยกกันเองแหละ ตายปุ๊ปนี่ลมก็แยกไปก่อนแล้ว ไฟก็ออกไปแล้ว ไปจับร่างกายคนตายดูซิ คนตายคนเป็นนี่มันมีความแตกต่างกันไหม ความร้อนกับความเย็นของร่างกาย แสดงว่าธาตุไฟไปแล้ว ธาตุลมก็ระเหยออกมาเรื่อยๆ กลิ่นที่ออกมาจากร่างกายก็คือธาตุลม เดี๋ยวน้ำก็ไหลออกมา น้ำเลือด น้ำหนอง ไหลออกมาไหลจนกระทั่งมันหมดเหือดแห้ง ร่างกายก็แห้งกรอบไปผุพังไปกลายเป็นดินไป

นี่คือเรื่องของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ อนัตตา เป็นอนัตตา ดินเป็นอนัตตา ลมเป็นอนัตตา ไฟเป็นอนัตตา น้ำเป็นอนัตตา ที่เขาว่า สัพเพ สังขารา สังขารก็คือการรวมตัวของธาตุทั้ง ๔ เรียกว่าสังขารของทุกอย่างในโลกนี้มันต้องมีทั้ง ๔ อย่างมันถึงจะเป็นเรื่องเป็นราวเป็นอะไรขึ้นมาได้ เป็นมนุษย์เป็นต้นไม้ เป็นสัตว์เป็นอะไรนี่มันก็มาจากธาตุทั้ง ๔ เมื่อมันรวมกันแล้วมันก็แยกออกจากัน เวลาแยกจากกันก็มาสร้างความทุกข์ให้กับคนที่มาเป็นเจ้าของ คนที่มาครอบครองมายึดมาถือว่า เป็นตัวเราเป็นของเรา พออะไรที่เป็นตัวเราของเราจากเราไปก็ร้องห่มร้องไห้ แต่ของที่เราไม่ถือว่าเป็นตัวเราของเรา เราก็ไม่เห็นไปร้องหม่ร้องไห้ เห็นคนอื่นที่เราไม่รู้จักเขาตายไปเราก็ไม่ได้เสียอกเสียใจอะไร แต่คนที่เรารู้จัก ต้องมาเสียอกเสียใจเพราะเราไปคิดว่าเขาเป็นเราเป็นของเรา เป็นเพื่อนเราเป็นน้องเรา เป็นพ่อเป็นแม่เรา เป็นสามีเป็นภรรยาเรา ไม่มองว่ามันเป็นเพียงดิน น้ำ ลม ไฟ สังขาราประกอบขึ้นด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ สัพเพ ธัมมา ธัมมาก็คือดิน น้ำ ลม ไฟธาตุทั้ง ๔ นี่เรียกว่าเป็นธรรม ธาตุเดิมไอ้ ๔ ตัวนี้มันไม่เปลี่ยน มันยังไงก็เป็นธาตุของมันอยู่อย่างนั้น เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ เรียกว่าธาตุเดิม

พอธาตุเดิมมาผสมกันก็กลายเป็นสังขารไป ใช่ไหม ดินนี่พอฝนตกลงมาเดี๋ยวต้นไม้ก็โผล่ขึ้นมา ต้นไม้นี่ก็เรียกว่าสังขารแล้ว เพราะอะไรเพราะมันไม่ได้ทำจากธาตุดินเพียงอย่างเดียว ต้นไม้มันมีทั้งดินมีทั้งน้ำมีทั้งลมมีทั้งไฟมันถึงจะโตขึ้นมาได้ จึงเรียกว่าเป็นสังขาร ถ้าธาตุดินตัวเดียวเรียกว่าธรรม ธาตุดินล้วนๆ ธาตุน้ำล้วนๆ ธาตุไฟล้วนๆ ธาตุลมล้วนๆ เรียกว่าธรรม

คนถึงถามว่าทำไม สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา แล้วทำไมมาที่ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ทำไมไม่สัพเพ สังขารา อนัตตา ตอบสังขาราก็อนัตตาแต่สังขารามันก็มาจากธาตุทั้ง ๔ นี่ ที่เป็นอนัตตาอยู่แล้ว ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอนัตตาอยู่แล้ว พอมารวมกันกับร่างกายก็เป็นสังขาร สังขารร่างกายไป สังขารร่างกายมันก็มาจากธาตุ ๔ จะว่าสังขารอนัตตาก็ได้ จะว่าธาตุ ๔ อนัตตาก็ได้ มันแยกออกไปมันก็ยังเป็นอนัตตาอยู่นั่นแหละ มันก็ไม่ได้เป็นตัวใคร ตัวเรา ตัวเขา ถ้าอยากจะรู้ต้องปฏิบัติเอา ต้องทำใจให้สงบ ให้ตาในเปิดขึ้นมาแล้วก็จะเข้าใจหมดทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ถ้าไม่เปิดตาในอ่านหนังสือธรรมะไปก็เป็นเหมือนพวกโปฐิละใบลานเปล่า ท่องได้จบพระไตรปิฏก รู้หมดทุกพระสูตรแต่ไม่รู้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร ต้องปฏิบัติ ขั้นต้นก็ต้องสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง ถึงจะมาบวชได้ถึงจะมาปฏิบัติได้

ถ้ายังรักยังหวงสมบัติอยู่ ยังโลภยังอยากได้สมบัติอยู่ ยังพึ่งสมบัติเป็นที่พึ่งอยู่ก็ไม่มีวันที่จะมาปฏิบัติได้ ถ้าอยากจะปฏิบัติก็ต้องสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองไป ถ้ายังเป็นนักบุญก็ยังบวชไม่ได้ ถ้าเป็นนักบวชก็ไม่ใช่นักบุญ ถ้าบวชแล้วก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องทำทานแล้ว ทำไปหมดแล้ว เวลาคนมาบวชนี่ ที่จริงเขาสละหมดแล้ว พระที่มาบวชนี่เขาสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง พระพุทธเจ้าสละราชสมบัติ สละพระมเหสี สละราชโอรสหมดแล้ว ท่านไม่เอาอะไรติดตัวไปแล้ว ไม่ยุ่งด้วยแล้ว ไม่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว

ทีนี้ก็มาทุ่มเทกับการรักษาศีล คอยห้ามปรามจิตใจที่อยากจะไปทำมิดีมิร้ายต่างๆ แล้วก็ดันมัน ดึงมันให้มันมาทำในสิ่งที่ดี ให้มันมาพุทโธๆ เจริญสติ นั่งสมาธิ ทำใจให้สงบ พอใจสงบ ตาในก็โผล่ขึ้นมา ตัวรู้ก็โผล่ขึ้นมา เห็นตัวรู้ เห็นว่าตัวรู้กับร่างกายนี้เป็นคนละตัวกัน ทีนี้เข้าใจแล้วว่า เวลาไปใช้กรรมใครเป็นคนไปใช้กรรม ไปใช้กรรมไปรับผลกรรมก็คือตัวรู้นี่เอง

เวลาไม่มีร่างกายตัวรู้นี่มันก็ยังมีอยู่ แล้วเวลาจิตสงบจิตมันปล่อยวางร่างกาย ร่างกายตอนนั้นมันก็เป็นเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน มันก็เหมือนคนตายร่างกายตอนที่ใจสงบใจรวมลงไป มันก็เลยเห็นชัดว่าร่างกายเป็นอย่างนี่เอง ในที่สุดมันก็ต้องตายไป แต่ตัวรู้นี้มันไม่ตาย ตัวคิดนี้ไม่ตาย ตัวกลัวนี้ไม่ตาย ไปกลัวทำไม ตัวเองไม่ตายเสียหน่อย ตัวที่ตายมันกลับไม่กลัว ร่างกายมันกลัวตายที่ไหน เอาไปเผามันยังไม่กลัวเลย ร่างกายมันไม่มีความกลัว ความกลัวมันอยู่ที่ตัวรู้อยู่ที่ใจ ตัวรู้นี่มันโง่มันไม่ฉลาด มันไม่รู้ว่าตัวมันไม่ได้เป็นอะไรไปกับร่างกาย เวลาร่างกายคนอื่นตัวรู้ก็ไม่ได้ไปเป็นอะไรไปกับเขา ยังไปร้องหม่ร้องไห้กับเขาเลย พอแฟนตายพอสามีตายลูกตายไปร้องหม่ร้องไห้ ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้ตายสักหน่อย ไปร้องไห้ให้เขาทำไม เขาตายไปแล้วได้อะไร ร้องไห้แล้วเขาฟื้นกลับคืนมาได้หรือเปล่า เขาก็ไม่ฟื้นอยู่ดี พอไปหลงรักเขาแล้วก็มีความอยากไม่ให้เขาตาย อยากให้เขาอยู่ไปนานๆ อยากให้เขาอยู่กับเรา

เมื่อวานนี้มีแม่คนหนึ่งลูกตายไปปีหนึ่งแล้วยังมาบ่นคิดถึงอยู่ เราถามว่าเวลาสามีตายไม่คิดถึงหรือ สามีตายไปตั้งแต่ลูกยังเด็กๆ ๗-๘ ขวบ มีลูก ๔ คน เขาบอกตอนนั้นไม่มีเวลาจะคิดเพราะกังวลเรื่องเลี้ยงลูก ๔ คน เลยไม่มีเวลาไปคิดถึงสามีที่ตายไปแล้ว คิดแต่ว่าจะทำอะไรถึงจะเลี้ยงลูกให้อยู่รอดไปได้ ๔ คน แต่ตอนนี้มีเวลาว่างเลยอดคิดถึงลูกไม่ได้ เราก็บอกว่าอย่าอยู่เฉยๆ อย่าอยู่ว่างๆ หาอะไรทำ ไปทำบุญทำทาน ทำอะไรไปก็ได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ถ้าจะคิดถึงเขาก็คิดถึงเวลาที่มีความสุขกัน คิดถึงความดีของเขา อย่าไปคิด อยากให้รู้ว่ามันเป็นเหมือนความฝันอดีตมันผ่านไปแล้วคิดอย่างไรมันก็ไม่กลับมาแล้ว คิดได้แต่อย่าไปอยากให้มันกลับมา ความอยากให้มันกลับมาทำให้มันทรมานใจ อยากให้เป็นเหมือนเดิม อยากให้เขาอยู่เขาไม่อยู่แล้ว เขาไปแล้วเขากลายเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ไปแล้ว ตัวเขาก็ไปรับผลบุญผลบาปแล้ว ภาวนาไปเถอะ เรื่องเหล่านี้มันไม่มีอะไรมาปกปิดหรอก ไม่ใช่เป็นเรื่องลึกลับอะไร มันลึกลับตรงที่เราไม่ยอมลืมตาดู ไม่ยอมเปิดหูเปิดตาใน ชอบปิดตาในปิดหูในแล้วก็ไปเปิดตานอกกัน แล้วก็ไปหลงไหลคลั่งไคล้กับสิ่งภายนอก ต่อให้มันวิเศษขนาดไหน มันดีขนาดไหน สวยขนาดไหนงามขนาดไหน เดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไปหมด คนนี่เป็นอย่างไรเวลาหนุ่มเวลาสาวหน้าตาหล่อเหลา เวลาแก่แล้วเป็นอย่างไร ไปดูดาราสมัยเป็นหนุ่มนี้ หล่อเหลาเดี๋ยวนี้กลายเป็นอะไรไปแล้ว

นี่แหละคือของภายนอกมันเป็นอย่างนี้ ของทุกอย่างภายนอกมันต้องเสื่อมลงไปตามลำดับตามเวลาของมัน แล้วก็ต้องหมดสภาพไปในที่สุด เราต้องรู้ทัน รู้ทันแล้วเราจะได้ปล่อยวาง ที่ปล่อยวางไม่ได้เพราะไม่มีกำลัง ใจมันยึดติดอยู่ตลอดเวลา กิเลสมันทำงานตลอดเวลา ถ้าใจไม่สงบกิเลสมันไม่หยุดทำงานถ้าใจสงบมันก็จะหยุด เวลาใจสงบแล้วทีนี้มันก็เฉยได้ ใครจะเป็นอะไรมันก็เฉยได้ ยิ่งถ้ามีปัญญาสอนว่ามันไปเปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้ ไปห้ามเขาไม่ได้ อะไรเกิดก็ต้องเกิด อะไรจะดับก็ต้องดับ อะไรจะไปก็ต้องไป เรามีหน้าที่เฉยอย่างเดียว เพราะถ้าไม่เฉยก็ทุกข์ อยากทุกข์หรือไม่อยากจะทุกข์ ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็เฉยรับความจริง อย่างเมื่อเช้านี้ บอกยอมทุกอย่างยอมแล้วก็หยุดแล้วก็เย็น ยอมแล้วก็เฉยพอเฉยแล้วก็เย็นหยุดก็แปลว่าเฉย ยอม หยุด เย็น ยอมรับทุกอย่างยอมรับว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ใครจะตายก็ต้องยอมรับ เราจะตายก็ต้องยอมรับ ใครจะด่าเราก็จะต้องยอมรับ ถ้ายอมซะอย่างแล้วมันสบายนะ

นี่คือการชนะที่แท้จริง ผู้แพ้นี่แหละคือผู้ชนะ แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ถ้าอยากจะชนะก็ต้องไปสู้รบกัน ไปฆ่าฟันกัน แล้วคนที่เขาแพ้เขาจะรู้สึกอย่างไรกับผู้ชนะ ก็โกรธเกลียดอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมกันไป แต่ถ้าเราแพ้เขาชนะเขาก็จะไม่มาจองเวรจองกรรมเรา เขาดีใจเขาไปแล้วเขาสบายใจเขาชนะเราแล้ว เราแพ้เขาแล้ว



สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 79.0.3945.130 Chrome 79.0.3945.130


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2563 10:21:50 »



การพลัดพราก

พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพุทธะศาสนิกชน ให้หมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่าเราเกิดมาแล้ว ย่อมมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ล่วงพ้นการ พลัดพรากจากกันไปไม่ได้ นี่คือความจริงของชีวิต ของทุกๆ ชีวิต ไม่ว่าจะสูงจะต่ำ จะรวยจะจน จะฉลาดหรือโง่ จะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ถ้าไม่พิจารณาอยู่เนืองๆ ใจจะหลงจะลืมจะคิดว่าจะอยู่ร่วมกันไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด พอถึงเวลาที่จะต้องพลัดพรากจากกันก็จะเกิดความทุกข์ใจเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา แต่ถ้าหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ จะไม่หลงจะไม่ลืมจะเตรียมตัวเตรียมใจจะไม่ยึดไม่ติดกับสิ่งต่างๆ กับบุคคลต่างๆ เพราะรู้ว่าไม่ช้าก็เร็วจะต้องจากกันอย่างแน่นอน

นี่คือ “ธรรม” ที่สำคัญ เพราะจะปกป้องจิตใจไม่ให้ทุกข์กับการพลัดพรากจากกัน จากการสูญเสียสิ่งต่างๆ ไป การพิจารณาก็ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ที่เรารัก หรือเราชัง เพราะสิ่งที่เรารักบุคคลที่เรารักหรือสิ่งที่เราชัง สิ่งที่เรารักนี้มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเรานั่นเอง สำหรับสิ่งที่เราไม่รักไม่ชัง บุคคลที่เราไม่รักไม่ชังนี้ไม่ค่อยเป็นปัญหา เขาจะมาเขาจะไปไม่มีปัญหาอะไร แต่คนที่เรารักสิ่งที่เรารักถ้าเขาจากเราไปเราจะเดือดร้อนเราจะวุ่นวายใจ หรือสิ่งที่เราชังบุคคลที่เราชัง เวลาจะต้องอยู่กับเขาเราก็วุ่นวายใจไม่สบายใจ เราต้องพิจารณาว่าไม่ช้าก็เร็วเขาก็ต้องจากเราไปอยู่ดี ในขณะที่เขาอยู่เราไม่สามารถที่จะให้เขาไปได้ เราก็ต้องทำใจ สำหรับคนที่เรารักหรือสิ่งที่เรารัก ถ้าเขาอยู่กับเราเราก็จะดีใจและมีความสุข แต่เราก็จะไม่สามารถสั่งให้เขาอยู่กับเราไปได้ตลอด ไม่ช้าก็เร็วไม่เขาก็เราจะต้องไป ต้องจากกันไปอยู่ดี

นี่คือสิ่งที่เราต้องหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ ถามตัวเราเองว่าเรารักใครเราชอบใคร เราอยากให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ ใช่ไหม แต่เขาจะอยู่กับเราไปนานๆ ได้หรือเปล่า หรือเราจะอยู่กับเขาไปนานๆ ได้หรือเปล่า เรากับเขาจะไม่มีวันจะต้องจากกันหรืออย่างไร ถ้ามันมาถึงวันนั้นวันที่จะต้องมีการจากกันเราจะทำใจอย่างไร ถ้าเราคอยหมั่นสอนใจเตือนใจถึงความเป็นจริงอันนี้ว่า จะต้องมีการพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นสามีเป็นภรรยา เป็นบุตรเป็นธิดา เป็นญาติสนิทมิตรสหาย หรือเป็นสิ่งของต่างๆ เช่นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทางตา หู จมูก ลิ้นกาย เป็นสิ่งที่จะต้องมีการพลัดพรากจากกันอย่างแน่นอน ช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง ถ้าเราหมั่นพิจารณาอยู่เรื่อยๆ เราจะเตรียมตัวเตรียมใจและตัดใจของเรา หัดอยู่แบบไม่ต้องมีเขาให้ได้ ไม่ต้องมีลาภ ยศสรรเสริญ สุข ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องมีสามีภรรยา ไม่ต้องมีบุตรธิดา ไม่ต้องมีญาติพี่น้อง อยู่ตัวคนเดียวนี่แหละดีที่สุด แม้แต่ร่างกายนี้ก็ต้องจากเราไป การอยู่คนเดียวนี้ก็หมายถึงว่า แม้แต่ไม่มีร่างกายก็ยังอยู่ได้ไม่เดือดร้อน แม้แต่ร่างกายนี้ก็ต้องจากเราไปเช่นเดียวกัน แล้วการที่เราจะอยู่คนเดียวได้โดยที่ไม่ต้องมีบุคคลต่างๆ ไม่ต้องมีสิ่งต่างๆ เราต้องมี "ธรรม" เท่านั้นถึงจะทำให้เราอยู่คนเดียวได้ อยู่ตามลำพังได้

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ เราต้องมีธรรมเป็นที่พึ่ง ถ้าเรามีธรรมเป็นที่พึ่งแล้ว เราไม่ต้องพึ่งสิ่งต่างๆ ไม่ต้องพึ่งบุคคลต่างๆ ไม่ต้องพึ่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ ไม่ต้องพึ่งความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องพึ่งพ่อพึ่งแม่ พึ่งสามีพึ่งภรรยา พึ่งบุตรธิดา พึ่งญาติสนิทมิตรสหาย พึ่งร่างกายของเราเอง เพราะเขาเป็นสิ่งที่ไม่ เที่ยงแท้แน่นอนไม่ถาวร ไม่ช้าก็เร็วเขาก็จะต้องจากเราไป แล้วเวลาที่เขาจากเราไป เราไม่มีที่พึ่งเราจะทำอย่างไร เราก็ต้องเดือดร้อน จนกว่าเราจะหาที่พึ่งใหม่ได้ เช่น สามีจากไปถ้ายังต้องการมีสามีก็ต้องไปหาสามีใหม่ ลูกจากไปถ้ายังอยากจะมีลูก ก็ต้องหาลูกมาใหม่ ถ้าคลอดเองไม่ได้ก็ไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูก เพราะเรายังพึ่งสิ่งเหล่านี้เพื่อมาให้ความสุขกับเรานั่นเอง เพราะว่าเราไม่มีธรรมะเป็นที่พึ่ง ไม่มี ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นที่พึ่ง ถ้าเรามี ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นที่พึ่งแล้ว เราไม่ต้องพึ่งอะไรไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องพึ่งลาภ ยศ สรรเสริญ ไม่ต้องพึ่งความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องพึ่งทรัพย์สมบัติ ไม่ต้องพึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องพึ่งร่างกายคือชีวิตอันนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้สละให้หมด สละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง สละอวัยวะคือความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และให้สละชีวิต สละร่างกายอันนี้ ถ้ามันต้องไปให้มันไป ไม่ต้องไปพึ่งมัน มันไม่ใช่เป็นที่พึ่ง มันเป็น ภารา หะเว ปัญจักขันธา มันเป็นภาระที่ใจจะต้องแบกตั้งแต่วันเกิดไปจนถึงวันตาย ผู้ฉลาดนี้จึงไม่กลับมาเกิด ไม่กลับมาแบก ภารา หะเว ปัญจักขันธา อันนี้ ไม่มาแบกขันธ์ รูปขันธ์นี้ เพราะว่ามันเป็นทุกข์นั่นเอง



จะเป็นคนดีดูได้ที่ความกตัญญู

คนเราจะเป็นคนดีได้ดูที่ความกตัญญูนี่แหละ ถ้าเราไม่กตัญญูแล้วจะไม่มีใครอยากจะเกี่ยวข้องด้วย เพราะเหมือนกับไปช่วยงูเห่า ไปช่วยงูเห่าเดี๋ยวเผลอจะโดนงูเห่ากัดตายได้ คนที่ไม่มีความกตัญญูก็จะเป็นแบบนั้น ช่วยเขาแล้ววันดีคืนดีเขาโกรธเราขึ้นมาเขาก็ฆ่าเราได้ เขาก็ทำร้ายเราได้

แต่คนที่มีความกตัญญูจะไม่กล้าทำ คนที่มีความสำนึกในบุญคุณของผู้อื่นนี้จะไม่กล้าทำร้ายผู้ที่มีบุญคุณด้วย จะมีแต่จะแสดงความเคารพนับถือยกย่องเทิดทูน เพราะว่าถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้นั้นเขาจะอยู่ได้อย่างไร ที่เขารอดมาได้เขาอยู่มาได้จนบัดนี้ก็เพราะความช่วยเหลือของผู้อื่น

อย่างพวกเรานี้ถ้าไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดูเรา เราจะอยู่มาได้จนถึงวันนี้เหรอ แล้วเราจะกล้าลืมบุญคุณของพ่อของแม่ลงคอหรือ ถ้าไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดูเรา เราจะอยู่ตรงนี้ได้หรือเปล่าจนถึงวันนี้ นี่แหละคือความกตัญญู

บูชาบุคคลที่สมควรต่อการบูชาเป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะจะแสดงคุณสมบัติของคนดีให้สังคมได้รู้จัก ไม่มีสังคมไหนที่จะรังเกียจหรือประณามคนที่มีความกตัญญู มีแต่ยกย่อง

มีเด็กกตัญญูนี่หนังสือพิมพ์เอาไปลงเลยเห็นไหม พอคนได้ยินว่าเป็นเด็กกตัญญู โอ้โฮ เงินทองไหลมาเทมาสนับสนุนคนที่มีความกตัญญู แต่พอมีข่าวคนที่มีความอกตัญญูนี่ โอ๊ย มีแต่ประณามด่ากันทั่วบ้านทั่วช่อง


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.122 Chrome 80.0.3987.122


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 มีนาคม 2563 15:05:18 »



ความสุขของคนที่ไม่เข้าวัด

ความสุขต่างๆ ที่เราได้จากทางโลกทางร่างกายนี้ เวลาใดที่เราไม่ได้เวลานั้นเราจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ ไม่ค่อยมีความสุขใจ เพราะว่าความสุขที่เราเคยได้แล้วมันหมดเราต้องหาใหม่อยู่เรื่อยๆ เช่นการไปเที่ยวเพื่อหาความสุข เวลาเราไปเที่ยวเราก็มีความสุขกัน แต่พอเรากลับบ้านความสุขที่ได้จากการไปเที่ยวก็จะจางหายไป อยู่บ้านได้ไม่นานก็เบื่อหงุดหงิดรำคาญใจ ต้องอยากออกจากบ้านไปเที่ยวอีกถึงจะมีความสุข

นี่แหละคือความสุขแบบยาเสพติด ยาเสพติดเวลาเสพกันก็มีความสุขกัน พอเวลาไม่ได้เสพเวลาไม่มียาให้เสพ เวลานั้นก็จะเป็นเวลาที่ทุกข์ทรมานใจ นี่คือความสุขที่ญาติโยมที่ไม่ได้รู้จักคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมัวเสพกันจะมัวหากัน จะมัวหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายโดยที่ไม่รู้ว่ามันเป็นการเสพยาเสพติด เพราะเวลาที่ไม่ได้เสพเวลานั้นถึงจะรู้สึกตัวว่าไม่สบายใจเลย เศร้าใจเสียใจ เช่น คนที่มีแฟน เวลามีแฟนอยู่กับแฟนนี้มีความสุขเหลือเกิน แต่พอเวลาใดที่ไม่ได้อยู่กับแฟน เวลานั้นความสุขมันก็จะหายไป แล้วความว้าเหว่ความเหงาความทุกข์ก็จะเข้ามาแทนที่

นี่แหละความสุขต่างๆ ที่เสพกันในโลกนี้ คนที่ไม่รู้จักคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะมัวแต่หาความสุขจากการเสพยาเสพติดนั่นเอง ยาเสพติดที่พูดนี้ก็คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น รส ต่างๆ ที่เสพกันอยู่เป็นประจำทุกวัน ที่ไปทำมาหากินก็เพื่อที่จะไปหาลาภยศสรรเสริญ หาความสุขจากรูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ เพราะการจะมีความสุขจากสิ่งต่างๆได้ จำเป็นจะต้องมีเงินทอง จึงต้องไปหาเงินหาทองทำงานกันตัวเป็นเกลียว พอได้เงินมาก็ดีใจได้ไปซื้อข้าวของที่อยากจะซื้อ ได้ไปเที่ยวตามสถานที่ที่อยากจะไป ได้ไปดูมหรสพบันเทิงอะไรต่างๆ ไปช้อปปิ้งตามศูนย์การค้าต่างๆ

นี่แหละคือการหาความสุขของผู้ที่ไม่ได้เข้าวัดกัน จะหาความสุขแบบยาเสพติด แล้วหามาได้เท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ ต้องหาเพิ่มอยู่เรื่อยๆ แล้วเวลาที่ไม่สามารถที่จะหาได้ก็จะมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความหงุดหงิดรำคาญใจ การหาความสุขแบบนี้ต่อไปจะทำให้ทุกข์มากขึ้น หงุดหงิดมากขึ้นเพราะว่าความสามารถของร่างกายที่จะหาความสุขต่างๆนี้จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ร่างกายจะแก่ขึ้นจะมีอายุมากขึ้น จะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนมากขึ้น จะทำให้การที่จะไปหาลาภยศสรรเสริญ หารูปเสียงกลิ่นรสต่างๆ มาเสพมาสัมผัสนี้จะยากขึ้นจะลำบากขึ้น หรือถ้าเกิดมีอุบัติเหตุพิกลพิการไป

อันนี้ก็จะยิ่งทำให้มีความทุกข์ทรมานมากยิ่งขึ้นไป ถ้าเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตไม่สามารถที่จะไปไหนมาไหนได้ด้วยตนเอง จะไปไหนมาไหนก็ต้องคอยรอให้คนเขามาช่วยพาไป แล้วจะไปหาความสุขแบบตอนที่แข็งแรงก็ไม่สามารถทำได้ นี่แหละคือความสุขของคนที่ไม่เข้าวัดกัน ในที่สุดก็จะต้องพบกับความทุกข์ต่างๆ ในบั้นปลายของชีวิต



การปฏิบัติสู่มรรคผลนิพพาน
การปฏิบัติธรรมตามคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดผลขึ้นมานั้น ผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องปฏิบัติให้ครบธรรมทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติ ถ้าต้องการบรรลุถึงขั้นมรรคผลนิพพาน คือขั้นโลกุตตระธรรม เช่น ขั้นของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องปฏิบัติ “ทาน ศีล ภาวนา” ให้ครบทั้ง ๓ อย่าง

การปฏิบัติทั้ง ๓ อย่างนี้ก็ปฏิบัติไปควบคู่กันไปได้ในระยะเริ่มต้น เวลาที่เราเริ่มต้นใหม่ๆ เราก็ต้องเริ่มทำทานก่อนถ้าเรายังมีทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ เพราะถ้าเราไม่ทำทานสละทรัพย์สมบัติ ก็เป็นเหมือนเวลาที่เรือจะออกจากท่าเรือหรือเรือที่จอดอยู่ ถ้าจะให้เรือไปไหนได้ก็ต้องถอนสมอเรือก่อน ถ้าไม่ได้ถอนสมอเรือ เรือก็จะไปไม่ได้ ออกเดินทางไปไม่ได้ ผู้ที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน จึงจำเป็นจะต้องสละทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองไปก่อน ถึงจะสามารถออกเดินทางไปสู่มรรคผลนิพพานได้

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมนี้พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ปฏิบัติ ๓ อย่างร่วมกันไปพร้อมๆ กัน คือทำทาน รักษาศีล แล้วก็ภาวนา ศีลก็มีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ การภาวนาก็มีอยู่ ๒ ระดับ คือ “สมถะภาวนา” และ “วิปัสสนาภาวนา” สมถะภาวนาคือการทำใจให้สงบ วิปัสสนาภาวนาคือการสอนใจให้เห็นสภาวธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงของเขา

นี่คือการปฏิบัติสู่มรรคผลนิพพาน จะได้ผลมากผลน้อยก็อยู่ที่การปฏิบัติมากหรือปฏิบัติน้อย การปฏิบัติน้อยผลก็จะน้อย ปฏิบัติมากผลก็จะมากขึ้นไปตามลำดับ


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.132 Chrome 80.0.3987.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 06 มีนาคม 2563 13:07:49 »




“วิธีแก้ปัญหาของใจนี้ต้องแก้ด้วยสติ”

การทำใจนี้เป็นประโยชน์มาก เวลาที่เราไม่สามารถทำอะไรได้กับเหตุการณ์ต่างๆ กับบุคคลต่างๆ กับสิ่งต่างๆ หรือแม้กับร่างกายของเรา เวลามันจะเจ็บไข้ได้ป่วย เวลามันจะตาย เราไปห้ามมันไม่ได้ แต่เราสามารถอยู่กับมันได้อย่างไม่เดือดร้อน อย่างมีความสุข ถ้าเรารู้จักทำใจให้สงบ การทำใจก็คือทำใจให้สงบนั่นเอง ใจสงบแล้วใจจะเป็นอุเบกขา จะเฉยกับร่างกาย จะเฉยกับสิ่งต่างๆ กับบุคคลต่างๆ จะไม่เศร้าโศกเสียใจ จะไม่วุ่นวายใจ จะไม่วิตกกังวล ห่วงใย ในเมื่อเราไม่สามารถที่จะไปทำอะไรได้ เราก็ต้องทำใจให้เป็นอุเบกขา ทำใจให้สงบ แล้วใจเราจะเย็น จะสบาย ไม่เดือดร้อน การจะทำใจให้สงบนี้ต้องอาศัยการฝึกสติให้มากๆ เพราะสติเป็นผู้ที่จะหยุดความคิด หยุดความอยาก หยุดจิตให้จิตอยู่เฉยๆ ให้จิตอยู่นิ่งๆ ต้องมีสติ ต้องบังคับให้จิตอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่าปล่อยให้จิตไปคิดถึงเรื่องที่กำลังทำให้เราวุ่นวายใจกัน ถ้าเราไม่ฝึกสติเราจะไม่สามารถดึงใจให้ออกจากเรื่องวุ่นวายต่างๆ ได้ แต่ถ้าเรามีสติควบคุมดึงจิตให้ออกจากเรื่องนั้นมาสู่เรื่องนี้ มาสู่เรื่องที่เราเคยฝึกเคยสอน เช่น ให้กลับมาอยู่กับพุทโธ พุทโธ เวลาเกิดความวุ่นวายใจกับเรื่องราวต่างๆ เราก็ดึงใจออกจากเรื่องวุ่นวายเหล่านั้น ด้วยการใช้ พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือถ้านั่งสมาธิได้ อยากจะใช้ลมหายใจเข้าออกก็ได้ อย่างเมื่อกี้นี้เรานั่ง แล้วเราหลับตา เราก็ดูลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว อย่าไปคิดถึงเรื่องฝนฟ้าอากาศ เดี๋ยวมันก็หยุดของมันเอง

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นของชั่วคราว มาแล้วก็ไป เหมือนเมฆหมอก เหมือนฝนฟ้า ตกแล้วเดี๋ยวก็หายไป ตอนที่มันตกเราก็ไปห้ามมันไม่ได้ ไปหยุดมันไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้มันตกไป ใจเราก็อยู่ในความสงบ เราก็ไม่เดือดร้อนไม่วุ่นวายใจ ดังนั้น เราต้องฝึกสติกัน เพราะสติเท่านั้นที่จะหยุดใจให้อยู่ในความสงบได้ ดึงใจให้เข้าสู่ความสงบได้ ถ้าไม่มีสติก็จะติดอยู่กับเรื่องราวที่ทำให้วุ่นวายใจ แล้วยิ่งจะทำให้เครียด ให้วุ่นวายใจเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยความอยากที่จะทำให้เรื่องที่วุ่นวายนั้น ให้เป็นไปตามความปรารถนา ตามความต้องการของเรา แล้วเมื่อทำไม่ได้ก็จะเกิดความเสียใจ เกิดความไม่พอใจ เกิดความโกรธขึ้นมา ดังนั้น วิธีแก้ปัญหาของใจนี้ ต้องแก้ด้วยสติ อย่าไปแก้ด้วยเหตุการณ์ที่ปรากฏ ใจไปเจอเหตุการณ์ที่ไม่ชอบ ก็อยากจะไปแก้เหตุการณ์นั้น พอแก้ไม่ได้ก็วุ่นวายใจเพิ่มมากขึ้นไปอีก ถ้าแก้ได้เดี๋ยวก็ มันก็มีเรื่องใหม่ให้มาแก้อยู่เรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวไม่ช้าก็เร็ว ก็ต้องเจอเรื่องที่เราแก้ไม่ได้ พอแก้ไม่ได้ก็จะไม่รู้จักทำใจอย่างไร ก็จะทุกข์กับปัญหาที่เราพยายามจะแก้กัน แต่ถ้าเรามาแก้ที่ใจนี้ เราจะแก้ได้ทุกปัญหา พอเจอปัญหาที่เราแก้ไม่ได้ เราก็มาแก้ที่ใจ มาทำใจให้สงบ พอใจสงบ ใจก็ไม่เป็นปัญหากับเหตุการณ์ที่เป็นปัญหา เหตุการณ์ที่เป็นปัญหาก็ปล่อยมันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน อย่างมากก็แค่ตาย

นักปฏิบัตินี้ต้องเห็นความตาย ถึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่เห็นความตาย ลืมความตาย จะแก้ปัญหาไม่ได้ แก้ก็แก้ไม่จบ แก้ปัญหานี้แล้ว เดี๋ยวก็มีปัญหาใหม่มาให้แก้ ถ้าไม่ลืมความตาย ก็ไม่ต้องวุ่นวายไปกับการแก้ปัญหา แก้ได้ก็แก้ แก้ไม่ได้อย่างมากก็แค่ตาย ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องตาย แต่ใจจะสงบ ใจจะไม่วุ่นวาย ใจจะไม่เดือดร้อนกับปัญหาต่างๆ ที่แก้ได้บ้าง แก้ไม่ได้บ้าง แก้ไม่ได้ก็อยู่กับมันไป ถ้ามันจะทำให้เราตายก็ยอมรับว่ามันเป็น ถึงเวลาของเราที่เราต้องตาย ไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องเจอเหตุการณ์ที่จะทำให้เราตายกัน ถ้าไม่เป็นอุบัติเหตุ ไม่เป็นอุบัติภัย ไม่เป็นคนที่อาฆาตพยาบาท ก็เป็นที่ร่างกายของมันเอง ร่างกายไม่ต้องมีใครมาทำร้ายมัน เดี๋ยวมันก็ทำร้ายตัวมันเอง ร่างกายมันเอาความแก่ ความเจ็บ ความตายมาทำร้ายมัน เพราะฉะนั้น ถ้าเรามองดูความจริงว่าอย่างมากก็แค่ตาย แล้วไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องตายกันทั้งหมด การเจริญมรณานุสสติก็จะช่วยทำให้เราทำใจได้ แต่ก่อนที่จะใช้มรณานุสสติ เราก็ต้องทำใจให้ว่างให้สงบก่อน ทำใจให้สบายก่อน ด้วยการเจริญพุทธานุสสติ “พุทโธ พุทโธ” หรืออานาปานสติ พอใจว่างเย็นสบาย เราก็มาดูปัญหาของชีวิต ปัญหาของชีวิตมันก็จะมารวมกันที่ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี่แหละ ทำอะไร อย่างไร ได้มากได้น้อย ในที่สุดก็ต้องมาเจอความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะร่ำรวยขนาดไหน จะเป็นใหญ่เป็นโตขนาดไหน จะมีอะไรมากน้อยเพียงไร หรือจะตกทุกข์ได้ยากขนาดไหน มันก็มารวมกันที่ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี่ ถ้าเรายอมรับว่าความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ล่วงเกินไปไม่ได้ เราจะต้องเจอมัน และวิธีที่จะเจอมันอย่างสงบ เจอมันอย่างไม่มีปัญหา ไม่วุ่นวายใจก็คือ ต้องทำใจให้สงบ ทำใจให้ปล่อยวาง ปล่อยให้มันเป็นไป




ความสุขแบบตะครุบเงา

ความสุขที่แท้จริงที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง ก็คือความสุขที่เกิดจากความสงบ การที่จะทำให้เกิดความสุขได้เกิดความสงบได้ จำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ที่เหมาะสม คือมีที่สงบ สงบกายแล้วถึงจะค่อยสงบใจ ภาษาบาลีท่านว่า “กายวิเวก จิตวิเวก” ถ้าสถานที่ที่ร่างกายอยู่ไม่สงบ เช่น อยู่ตามบาร์ตามผับ อยู่ตามศูนย์การค้า อยู่ตามโรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงคอนเสิร์ต อันนั้นจะมีแต่เสียงอึกทึกคึกโครม จะไปหาความสุขจากความสงบในสถานที่เหล่านั้นไม่ได้ ความสุขที่ได้จากสถานที่เหล่านั้นเป็นความสุขปลอม เป็นความสุขแบบควันไฟ หรือความสุขแบบตะครุบเงา เคยวิ่งตะครุบเงาบ้างไหม เคยจับเงาได้ไหม เงามันทอดอยู่ข้างหน้าเรา เราก็วิ่งไปจะไปเหยียบหัวมัน พอไปถึงตรงที่มันอยู่ อ้าว หัวมันหนีไปทางนู้นแล้ว เรียกว่า “ตะครุบเงา” ความสุขที่ได้จากสถานที่อึกทึกคึกโครม เช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงเต้นรำ โรงน้ำชา โรงกาแฟ ล้วนเป็นความสุขแบบตะครุบเงา เวลาได้ไปก็มีความสุข พอกลับบ้านความสุขที่ได้จากสถานที่เหล่านั้นก็หายไป จึงต้องคอยวิ่งตะครุบเงากันอยู่เรื่อยๆ นี่เดี๋ยวอีกไม่กี่วัน อีกสองวันก็มีวันหยุด ๕ วัน ใช่ไหม เดี๋ยวก็ไปตะครุบเงากันตามที่ต่างๆ บางคนก็เตรียมไปต่างประเทศกัน บางคนก็ไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อไปหาความสุขกัน แต่พอกลับมาทำงาน ความสุขที่ได้จากแหล่งท่องเที่ยวก็หายไปหมด เหมือนกับไม่ได้ไป ไปกับไม่ไปไม่ต่างกัน ต่างกันตรงที่เสียเงินเสียทอง หมดเงินหมดทองไป แล้วก็มีความรู้สึกอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวเดียวดายเหมือนตอนที่ยังไม่ได้ไป

อันนี้เป็นความสุขปลอม เป็นความสุขที่หาง่ายที่สุด เป็นความสุขที่เราหากันมาตั้งแต่เกิด เพระเราไม่รู้จักวิธีหาความสุขที่แท้จริงกันว่าหากันอย่างไร ว่ามีหรือไม่ ไม่มีใครรู้ ถ้าไม่ได้มาพบกับพระพุทธศาสนา ไม่ได้พบกับพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ จะไม่มีใครบอกให้รู้ถึงความสุขที่แท้จริง ว่าอยู่ที่ความสงบของใจ กว่าใจจะสงบได้ สถานที่ที่กายอยู่ก็ต้องสงบก่อน กายวิเวกจิตถึงวิเวก ผู้บำเพ็ญหาความสุขทางใจจึงจำเป็นที่จะต้องปลีกวิเวก ไปหาที่สงบ ไปอยู่ตามลำพัง เพราะถ้าอยู่ด้วยกันหลายคนก็จะไม่สงบ ก็จะมีการพูดกันมีการชวนกันทำกิจกรรมอะไรต่างๆ เช่น คุยกันก็ต้องหาน้ำชามาดื่ม หาอะไรมารับประทานกัน หรือสมัยนี้ก็มีสิ่งที่คอยมารบกวนใจคือโทรศัพท์มือถือ พอเปิดก็เหมือนกับเอาตัวเองไปอยู่ในที่อึกทึกคึกโครม เพราะในมือถือก็มีบันเทิงชนิดต่างๆ ให้ดู มีเรื่องมีราวอะไรต่างๆ ให้คิด ถ้าใจคิดแล้วใจก็จะไม่สงบ นอกจากไปอยู่ในที่สงบที่จะไม่มีอะไรมาคอยกระตุ้นความคิดแล้ว ใจก็ยังไม่ยอมหยุดคิดอยู่ดีเพราะยังไม่เคยฝึกให้หยุดคิด ใจนี้เคยคิดมาเป็นเวลาอันยาวนาน ไม่ใช่เฉพาะแต่ชาตินี้เท่านั้น ชาตินี้เป็นเสี้ยวหนึ่งของเวลาของจิตใจที่อยู่กับความคิด

จิตใจนี้มีการมาเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นหลายครั้งหลายหน ไม่ใช่เป็นครั้งนี้ครั้งแรกหรือครั้งเดียว เป็นหนึ่งในแสนล้านครั้ง หรือจะเอาแสนล้านมาคูณแสนล้านครั้งก็ได้ ใจมาเกิด แล้วทุกครั้งที่มาเกิดก็เริ่มคิดตั้งแต่เกิด คิดหาสิ่งนั้นคิดหาสิ่งนี้มาให้ความสุข เพราะเคยหาความสุขแบบนี้มาแต่ดั้งเดิม เคยหาความสุขจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ นับตั้งแต่เป็นทารกนี้ก็ร้องหาความสุขจากสิ่งที่เห็นด้วยตา สิ่งที่ได้ยินด้วยหู พ่อแม่จึงมักจะต้องหาของเล่นมาให้ เพราะถ้าไม่มีอะไรให้ดูให้ฟังแล้วก็จะร้องไห้ จะสร้างความรบกวนใจให้แก่พ่อแม่ พ่อแม่เลยต้องคอยหาสิ่งต่างๆ มาให้มาหลอกมาล่อให้หยุดร้องไห้ ความจริงมาตอบสนองความต้องการของความคิด คิดอยากจะเห็นรูปคิดอยากจะได้ยินเสียง พอมีรูปมีเสียงให้ดูให้ฟังก็มีความเพลิดเพลินมีความบันเทิงใจไปชั่วคราว แล้วเดี๋ยวไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่าย เวลาเห็นอะไรซ้ำๆ ซากๆ เวลาได้ยินอะไรซ้ำๆ ซากๆ ก็เบื่อ เบื่อก็ต้องหาของแปลกของใหม่มาดูมาฟังกันไปเรื่อยๆ เวลาถ้าได้ดูได้ฟังตามความต้องการ ก็จะมีความเพลิดเพลินมีความสุข เวลาที่ไม่สามารถหาสิ่งที่ต้องการได้ เวลานั้นก็จะมีความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ อารมณ์ไม่ดี นี่เป็นผลจากการไปหาสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะหามาได้มากได้น้อยเพียงไร ไม่ช้าไม่นานมันก็จะเบื่อ เบื่อก็ต้องหาของใหม่มาแก้ความเบื่อ ของใหม่ที่ได้มาเดี๋ยวก็ต้องกลายเป็นของเก่าของเบื่อต่อไป ก็ต้องคอยหาของใหม่มาเรื่อยๆ มาแก้ความเบื่อกับของเก่า แล้วในที่สุดก็จะไปหาของใหม่ที่มีพิษมากขึ้น ตอนต้นก็เอาแต่ของที่ดูที่ฟังไม่ค่อยเป็นพิษเป็นภัย ของที่กินที่ดื่มไม่ค่อยเป็นพิษเป็นภัย เช่น ขนม เครื่องดื่มต่างๆ ที่ไม่มีสารเสพติด ต่อไป เบื่อเครื่องดื่ม ขนม อาหารที่ไม่มีสารเสพติด ก็มีคนมาเสนอเครื่องดื่มเครื่องรับประทานเครื่องดมที่มีสารเสพติด ที่ให้ความรู้สึกสุขมากขึ้น ก็ไปลองเสพกัน เสพยาเสพติดต่างๆ พอเสพแล้วทีนี้มันก็ติด แล้วเวลาไม่ได้เสพก็จะมีความทุกข์ทรมานใจ ถ้าเสพมากเกินไปก็ทำให้ตายได้ นี่คือโทษของการไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย จะนำไปสู่ความหายนะต่อไป


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.132 Chrome 80.0.3987.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 มีนาคม 2563 09:28:24 »



“จาคะ การเสียสละ”

คนที่มีจาคะนั้นจะไม่เสียใจกับการสูญเสียอะไรต่างๆ ไม่เสียใจเวลาเสียเงินเสียทอง ไม่เสียใจเวลาเสียสิ่งที่รักไปเสียคนที่รักไป ก็คิดว่าเป็นการทำบุญไป เพราะเขาก็จะได้ไปอยู่กับคนที่เขาชอบ คนรักคนที่เป็นคู่รักเราเขาอาจจะเบื่อเราก็ได้ เขาอยู่กับเราแล้วเขาไม่มีความสุข เขาไปอยู่กับคนอื่นแล้วเขามีความสุข ทำไมเราไม่ให้เขาไป การให้ความสุขกับผู้อื่นนี่เป็นการทำบุญไม่ใช่หรือ นี่ญาติโยมเอาข้าวของเงินทองมาถวายพระเพื่ออะไร เพื่อให้พระมีความสุข ทำไมโยมทำได้แบบนี้ โยมมีความสุขได้ แต่พอคนที่เรารักเขาอยากจะไปมีคนอื่น ทำไมไม่ปล่อยให้เขาไป ปล่อยให้เขาไปแล้วสบายไหม ดีใจไหม “เออ สาธุ ถ้าเขามีความสุข อยู่กับเราเขาไม่มีความสุข เราก็ไม่สุข อยู่กันแบบไม่สุขอยู่กันไปทำไม” ใช่ไผม แต่อาจจะไม่คิดอย่างนี้ จะคิดว่า “โอ๊ย ถูกหลอก เอารัดเอาเปรียบ” อะไรต่างๆ คิดไปต่างๆ นานา คิดแบบนี้เป็นการคิดสร้างความทุกข์ให้กับตนเองโดยไม่รู้สึกตัว แต่ถ้าคิดว่าเป็นการบริจาค เป็นการจาคะ เป็นการสร้างธรรมเพื่อมาป้องกันความทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นภายในใจ เราจะต้องยินดีเสีย การที่จะยินดีเสียเราต้องยินดีที่จะเสียเปรียบ อย่าไปเอารัดเอาเปรียบใคร การเอารัดเอาเปรียบถึงแม้ว่าจะได้สิ่งต่างๆ มาแต่มันไม่ได้ทำให้ใจเราสบายหรอก เวลาเราไปเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นนี้ เราเห็นความทุกข์ยากของผู้อื่นที่เกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของเรา เราจะมีสุขได้ลงคอหรือ ใจเราจะมีความสุขได้ลงคอหรือ แต่ถ้าเราเห็นว่าผู้อื่นเขาไม่เอารัดเอาเปรียบเรา แล้วเขาได้ความสุข รับรองได้ว่าเรากลับมีความสุขไปกับเขา เพราะการเสียสละของเราทำให้เขามีความสุขขึ้นมา เหมือนกับญาติโยมเสียสละข้าวของเงินทองไปทำบุญ แล้วญาติโยมก็มีความสุขขึ้นมา

ดังนั้น พยายามมองการสูญเสียว่าเป็นการทำบุญ เป็น “จาคะ” เป็นการบริจาคแบ่งปัน แล้วรับรองได้ว่าความทุกข์ที่เกิดจากการสูญเสียสิ่งต่างๆ บุคคลต่างๆ นี้จะกลายเป็นความสุขขึ้นมา ไม่ว่าจะสูญเสียอะไรก็ตาม สูญเสียทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ เสียทรัพย์ไปแต่ยังมีอวัยวะอยู่ สูญเสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต มันก็ยังมีชีวิตอยู่ สูญเสียชีวิตเพื่อรักษาธรรม คือความปลอดภัยจากความทุกข์นี่เอง ก็คือธรรม นี่คือธรรมะข้อที่ ๑ ที่ศรัทธาญาติโยมทำกันได้ทุกคน ถ้าเรารู้จักคิด คิดเป็นหรือยัง คิดว่าเป็นการทำบุญทำทาน ทุกครั้งเวลาที่เราเสียอะไรไปก็ตาม คิดว่ามันเป็นการทำบุญทำทานไปแล้ว แทนที่จะเสียใจกลับดีใจ กลับไม่มีความทุกข์ใจ ไม่ต้องมาวัดให้เสียเวลามีคนไปรับของที่บ้านเลย กลับไปบ้านนี่ของหายอย่าร้องไห้อย่าโวยวาย ต้องรีบอนุโมทนาสาธุ “โอ๊ย เราได้ทำบุญโดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยยาก มีคนมาขนข้าวของไปเลย” หรือว่าคิดอีกมุมหนึ่งว่าจะได้ใช้ของใหม่ “ทีวีมันเก่าแล้ว มันขโมยไปก็ให้มันขโมยไปเถิด” เมื่อเราไม่มีทีวีดูเราก็ต้องซื้อเครื่องใหม่ใช่ไหม เครื่องใหม่มันก็ต้องดีกว่าเครื่องเก่า ถ้ายังมีเครื่องเก่าอยู่ก็เสียดายเงิน ก็เลยไม่ได้ดูของดีซะที ดูแต่ของเก่า แต่พอถูกเขาเอาของไปนี่ก็ มันต้องซื้อใหม่แล้วซิ นี่ได้ของใหม่โดยไม่ได้ตั้งใจ เห็นไกม แล้วดีใจไกมได้ของใหม่ดีกว่า แล้วดีใจไหมได้ของใหม่ที่ดีกว่าของเก่า

นี่มันเป็นเรื่องกระบวนการของความคิดเท่านั้นแหละ จิตใจของเราสรุปแล้วมันสุขหรือมันทุกข์นี่อยู่ที่คิดไปทางสุขหรือคิดไปในทางทุกข์ ถ้าคิดไปในทางสุขมันเสียอะไรไปมันสุขไปหมดแหละ อย่างพระพุทธเจ้าทรงบอกเสียทรัพย์ก็สุข เสียทรัพย์ก็รักษาอวัยวะ ยังมีอวัยวะอยู่ เสียอวัยวะก็ยังมีชีวิตอยู่ เสียชีวิตก็ยังมีความสงบอยู่ ตายอย่างสงบตายอย่างสุข ตายไม่ทุกข์ แต่ถ้ารู้จักการเสียสละนะ นี่คือสิ่งที่เราควรจะมาหัดคิดกัน คิดว่าเวลาเราสูญเสียอะไรไปถือว่าเป็น การเสียสละ เป็นการสร้างธรรมะที่สำคัญที่จะมาปกป้องความทุกข์ใจเวลาที่เกิดการสูญเสียสิ่งต่างๆ หรือบุคคลต่างๆ ไป คิดว่าเป็นการให้เป็นการแบ่งปันเป็นการทำบุญ แฟนอยากจะเลิกกับเราอยากจะไปมีแฟนใหม่ “เอ้า สาธุเลยถ้ามีความสุขกับเขา ไปเลย เรายินดี อยู่กับเราไม่มีความสุข อยู่กับเราไปทำไม ถ้าอยากจะไปก็ไปเลย ยินดีให้ไป” ไม่หวงไม่หึงไม่หวง ความหึงหวงมันดีที่ไหนล่ะ หึงหวงแล้วทำให้กินไม่ได้นอนไม่หลับนะ ถ้ามานั่งคิดว่า “วันนี้แฟนเราหลบไปอยู่ที่ไหนวะ บอกว่าไปทำงาน ไปทำงานจริงหรือเปล่า หรือมันแอบไปมีอีหนูที่ไหนก็ไม่รู้” นี่คนหึงหวงจะเริ่มคิดแบบนี้นะ คิด “โอ๊ย มันไปอยู่ที่ไหนแล้ว มันแอบไปมีใครที่ไหนแล้วนี่” อย่าไปคิดแบบนั้น คิดว่าความสุขของเขา เรายินดีให้เขามีความสุข เรารักเขาไม่ใช่เหรอ เรารักเขาเราก็ต้องให้เขามีความสุขซิ เวลาเรารักใครเราก็อยากให้เขามีความสุขไม่ใช่เหรอ ก็ให้เขามีความสุขไปซิ เวลาเขามีความสุขเราก็มีความสุขไปกับเขา เมื่อเราเห็นคนรักมีความสุขเราก็จะมีความสุข เราจะไม่ทุกข์ไปกับเขา นี่คือข้อที่ ๑ ให้มี “จาคะ” การเสียสละแบ่งปัน



“สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน”

สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน ไม่ว่าจะทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ถ้าต้องตายไปก่อนเวลาที่ควร ก็เป็นเพราะวิบากกรรม ทำบุญมาเพียงเท่านี้ก็อยู่ได้เพียงเท่านี้ จะให้อยู่เกินบุญที่ทำไว้ไม่ได้ เหมือนกับเติมน้ำมันรถครึ่งถังก็จะไปได้ไม่ไกลเท่ากับเติมเต็มถัง คนเราก็เช่นเดียวกัน มีความแตกต่างกัน มีอายุสั้นยาวต่างกัน มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนต่างกัน มีอาการ ๓๒ ไม่เท่ากัน เพราะทำบุญกรรมมาต่างกัน ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตได้มากน้อยเพียงไร ถ้าละได้มากอายุก็ยืนยาวนาน โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนมาก มีอาการ ๓๒ ครบถ้วนบริบูรณ์

นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราพิจารณาอยู่เสมอ เวลามีอะไรเกิดขึ้นกับตัวเราก็ดี กับคนที่เรารักก็ดี จะได้ทำใจได้ ไม่เศร้าโศกเสียใจ เพราะไม่ได้ทำอะไรให้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้คนที่ตายไปแล้วฟื้นขึ้นมา ไม่ได้ทำให้เราสบายใจ แต่จะทำให้จิตของเราว้าวุ่นขุ่นมัว กินไม่ได้นอนไม่หลับไปเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงต้องดูแลรักษาใจเป็นหลัก คนอื่นเราก็ดูแลไปด้วย แต่ต้องไม่ลืมมองใจของเรา บางทีเราห่วงคนอื่นมากจนลืมใจของเราไป ห่วงจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ อย่างนี้ไม่ถูก เป็นการสร้างความทุกข์ให้กับตนเอง เป็นอกุศล เป็นความไม่ฉลาด คนที่ฉลาดจะต้องรู้จักรักษาใจของตนด้วยในขณะที่ดูแลรักษาผู้อื่น ช่วยอะไรได้ก็ช่วยไป ช่วยไม่ได้ก็ต้องปล่อยไปตามบุญตามกรรม จะมาเศร้าโศกเสียใจก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.132 Chrome 80.0.3987.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 16 มีนาคม 2563 11:10:20 »



เปลี่ยนจิตใจจากปุถุชนไปเป็นพระอริยบุคคล

“อริยบุคคล” มี ๔ ระดับ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ดวงวิญญาณเหล่านี้จะลดการเวียนว่ายตายเกิดน้อยลงไปตามลำดับ พระโสดาบันจะกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในกามภพอีกไม่เกิน ๗ ชาติ คือภพของมนุษย์หรือภพของเทวดา พระสกิทาคามีนี้จะกลับมาเกิดในกามภพอีกเพียง ๑ ชาติ ส่วนพระอนาคามีนี้จะไม่กลับมาเกิดในกามภพ ก็หมายความว่าจะไม่มีร่างกายอีกต่อไป จะเป็นดวงวิญญาณที่อยู่ในระดับของพรหมโลก และพระอรหันต์นี่ก็เป็นดวงวิญญาณที่หลุดออกจากไตรภพอย่างสิ้นเชิง ติดกับการเวียนว่ายตายเกิดในไตรภพอีกต่อไป อันนี้ก็เกิดจากการทำบุญชนิดต่างๆ ครั้งแรกเราก็ทำบุญไม่ทำบาป เราก็จะเลื่อนดวงวิญญาณจากมนุษย์ให้ไปเป็นเทวดา หลังจากนั้นถ้าเราอยากจะขึ้นสูงกว่าระดับเทวดา เราก็ต้องเพิ่มการรักษาศีล จากศีล ๕ มาเป็นศีล ๘ แล้วเราก็ต้องไปปฏิบัตินั่งสมาธิเข้าฌานกัน ถ้าเราเข้าฌานได้ ๔ ขั้นแรกเรียกว่า “รูปฌาน” ก็ได้เข้าไปสู่สวรรค์ชั้นพรหมที่มีรูปเรียกว่า “รูปพรหม” แล้วถ้าเราเข้าอรูปฌานได้อีก ๔ ชั้นด้วยกัน เราก็จะไปสู่สวรรค์ชั้นพรหมที่ไม่มีรูปหรือเรียกว่า “อรูปพรหม” นี่คือดวงวิญญาณแต่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ดวงวิญญาณเหล่านี้ยังเป็นปุถุชนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพรหม รูปพรหม หรืออรูปพรหม เป็นเทพชั้นไหนก็ตาม ชั้นดาวดึงส์ชั้นดุสิต ชั้นอะไรก็ยังเป็นปุถุชนอยู่ คือยังต้องเสื่อมลงมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ จะไม่อยู่เป็นพรหมไปได้ตลอด จะไม่อยู่เป็นเทวดาไปได้ตลอด พอบุญที่ส่งให้เป็นพรหมหรือเป็นเทวดาหมดลง ดวงวิญญาณก็จะลดลงมาเป็นดวงวิญญาณของมนุษย์ แล้วก็จะมาได้ร่างกายของมนุษย์ แล้วก็จะกลับมาทำบุญทำบาปอีกรอบหนึ่ง แล้วพอตายไปก็จะไปเป็นดวงวิญญาณชนิดต่างๆ ตามอำนาจของบุญของบาปที่ได้ทำไว้ในขณะที่เป็นมนุษย์ ก็จะทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เรียกว่า “เวียนว่ายตายเกิด” ดวงวิญญาณที่ยังอยู่ในไตรภพเราถึงเรียกว่าเป็นปุถุชน ไม่ใช่เป็นพระอริยบุคคล แต่ผู้ที่หลังจากได้ระดับเข้าฌานได้ ปฏิบัติธรรมถือศีล ๘ เข้าฌานได้ แล้วได้มาเจอคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนให้ ทำลายกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจให้หมดไปด้วยการพิจารณา “ไตรลักษณ์” อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสิ่งต่างๆ ที่กิเลสตัณหาต้องการ พอใจเห็นว่าทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะว่ามันไม่เที่ยง ทุกข์เพราะว่ามันไม่ได้เป็นของเรา มันจะต้องมีการจากเราไปวันใดวันหนึ่ง พอรู้ก็ตัดกิเลสตัณหาความโลภความอยากต่างๆ ไป ถ้าตัดได้แล้วระดับแรกก็เรียกว่า “โสดาบัน” โสดาบันไปตัดความอยากที่เกี่ยวกับร่างกายของตนเองได้ ความอยากไม่แก่อยากไม่เจ็บอยากไม่ตายนี้ทำลายได้หมด ไม่กลัวความแก่ไม่กลัวความเจ็บไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะแก่พร้อมที่จะเจ็บพร้อมที่จะตาย เรียกว่าเป็นโสดาบันขึ้นมา ก็จะไม่ติดกับการมีร่างกาย แต่ยังติดกับการมีร่างกายของคนอื่น พระโสดาบันนี้ยังชอบมีแฟนอยู่ ยังอยากมีแฟนอยู่ เพราะยังไม่เห็นความไม่สวยงามของร่างกายของแฟน ยังไปเห็นความสวยงามของร่างกายของแฟนอยู่ ไม่ได้เห็นทะลุเข้าไปใต้ผิวหนังนั่นเอง ไม่มีตาของปัญญาหรือตาของซุปเปอร์แมน ซุปเปอร์แมนนี่สามารถมองทะลุฝาพนังได้ ตาปัญญาก็สามารถมองทะลุผิวหนังเข้าไปได้ จะทำยังไงให้เกิดตาปัญญา ก็ต้องนึกถึงอาการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ผิวหนังอยู่เรื่อยๆ นั่นเอง

พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พิจารณาอาการ ๓๒ “ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง” นี้อยู่ข้างนอก แต่ เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า เยื่อในสมองศีรษะ ของพวกนี้มองไม่เห็น ต้องใช้ตาปัญญาถึงจะมองเห็น วิธีสร้างตาปัญญาก็คือให้นึกถึงภาพเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ ถ้ายังไม่เห็นอยากจะไปดูภาพถ่ายก็ได้หรือภาพวาดก็ได้ นักศึกษาแพทย์นี่เขามีหนังสืออนาโตมี เขาจะวาดหรือถ่ายอวัยวะต่างๆ ให้นักศึกษาไว้ศึกษา ต่อไปจะต้องไปดูแลรักษาอวัยวะเหล่านี้นั่นเอง ก็เลยต้องรู้จักว่ามันอยู่ตรงไหน รูปร่างลักษณะอย่างไร มีหน้าที่อย่างไร หัวใจมีหน้าที่ทำอะไร ปอดมีหน้าที่ทำอะไร ตับมีหน้าที่ทำอะไร ไตมีหน้าที่ทำอะไร ลักษณะของปอดเป็นอย่างไร ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจับผิดจับถูก จะไปผ่าหัวใจไปผ่าปอดแทน ใช่ไหม ก็ต้องมีการศึกษาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย พวกเราผู้ปฏิบัติธรรมเราไม่ได้ศึกษาเพื่อไปรักษา เราศึกษาเพื่อให้เห็นความจริงของร่างกายว่ามันไม่สวยไม่งามอย่างที่เราคิดกันหรอก เราถูกหลอกรู้ไหมทุกวันนี้ นี่เราเห็นใครสวยใครหล่อนี่เรากำลังถูกหลอกแล้ว ใครหลอกเรา ก็ความโง่ของเราหลอกเรา โมหะอวิชชา อวิชชาก็คือขาดปัญญาไม่มีปัญญาไม่มีความรู้จริง แต่พอมาเรียนอาการ ๓๒ แล้วจะหายโง่ จะเห็นความจริงของร่างกาย เห็นว่าร่างกายทั้งร่างนี้สวยแต่ข้างนอก สวยแค่ผิวหนัง อย่างฝรั่งบอกว่า “ความสวยของคนนี้เพียงแค่ระดับผิวหนังเท่านั้นเอง พอใต้ผิวหนังเข้าไปแล้วนี่ไม่มีอะไรน่าดูเลย” ไม่เชื่อลองไปดูเวลาที่หมอเขาชันสูตรศพกันดู เขาผ่าศพออกมา แหวกอก ผ่าหนังผ่าเนื้อออกมา แหวกเนื้อแหวกหนังก็เจอโครงกระดูก ใช่ไหม จากโครงกระดูกเข้าไปนี้จะเห็นแล้วซิ อยากจะดูว่าปอดเป็นยังไงก็เห็นชัด อยากจะดูว่าหัวใจเป็นยังไง ตับเป็นยังไง ไตเป็นยังไง ลำไส้เป็นอย่างไร เห็นหมดละทีนี้ ถ้าอยากจะเห็นอยู่เรื่อยๆ ก็ต้องนึกอยู่เรื่อยๆ มีคนถามว่าเป็นหมอทำไมยังอยากมีแฟนอยู่ ก็เพราะหมอมองแต่ตอนที่ทำงานเท่านั้นเอง ตอนที่ผ่าตัดเท่านั้นเอง เวลาไม่ผ่าตัดก็ไม่มองแล้ว ไม่คิดถึงมันแล้ว ก็จะไปมองแต่ข้างนอก มองแต่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เท่านั้นเอง หนังสวยไหม หนังเนียนไหม หนังขาวไหม ก็เลยไปหลงใหลคลั่งไคล้กับร่างกาย ยังไปรักไปชอบร่างกายอยู่ นี่พระโสดาบันยังไม่ถึงขั้นที่ศึกษาอนาโตมีของร่างกาย ก็ยังอยากมีแฟนอยู่ เห็นใครหน้าตาถูกอกถูกใจก็ยังอยากจะได้เขามาเป็นแฟนอยู่ แต่ถ้าได้รู้แล้วว่าการมีแฟนนี้มันก็มีทั้งสุขมีทั้งทุกข์นะ เวลาอยู่ด้วยกันก็สุขนะ เวลาชอบกันก็สุขนะ เวลาโกรธกันมันก็จะทุกข์นะ หรือเวลาอยู่ห่างกันมันก็จะทุกข์นะ ถ้าเริ่มเห็นว่าการมีแฟนนี่มันไม่ใช่แต่ได้ความสุขอย่างเดียว นอกจากได้ความสุขแล้วมันยังมีความทุกข์แถมมาอีก ถ้าไม่อยากจะได้ของแถมก็ต้องไม่เอาความสุขจากแฟน ก็ต้องไม่มีแฟน แล้วจะทำยังไงทำให้เลิกมีแฟน ก็ต้องอย่าไปมองส่วนที่น่าดูของแฟนซิ หันไปดูส่วนที่ไม่น่าดูของแฟน ไปดูภายใต้ผิวหนัง ไปศึกษาดูอาการต่างๆ ภายใต้ผิวหนัง ภายนอกก็มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี่เราเห็นกันทุกวัน หลงกันรักกันก็อยู่ที่ตรงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี่เอง ฟันเป็นยังไง ฟันเย้รึเปล่า ถ้าฟันเย้ก็ต้องไปจัดฟัน ถ้าฟันไม่สวยก็ต้องไปจัดฟัน หนังถ้ามันมีฝ้ามีอะไรก็ต้องไปกำจัดฝ้า ทำให้มันสวย ผมถ้ามันไม่สวยก็ย้อมได้ ผมมันขาวก็ย้อมให้มันดำได้ ตกแต่งได้ร่างกายภายนอกแต่ภายในนี้ตกแต่งไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะมีแฟนก็ต้องดูส่วนภายในของร่างกาย ดูตั้งแต่เนื้อเข้าไป ใต้ผิวหนังก็คือเนื้อ ใต้เนื้อก็จะมีเอ็นรัดกระดูก ภายในกระดูกก็มีเยื่อในกระดูก แล้วโครงกระดูกที่ครอบก็มีอวัยวะต่างๆ อยู่ภายใต้โครงกระดูก มีปอด ชิ้นใหญ่ที่สุดก็คือปอด หัวใจ ตับ ไต แล้วก็ลำไส้ ยาวที่สุดก็คือลำไส้ มีลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ แล้วมีสิ่งที่บรรจุอยู่ในลำไส้ก็คืออาหารใหม่ อาหารเก่านี้เอง ต้องศึกษาต้องนึกบ่อยๆ คิดบ่อยๆ เวลามองใครเห็นร่างกายของใครไม่ว่าของเราหรือของใคร ต้องมองให้มันเข้าไปข้างในให้ได้ ถ้ามองเห็นข้างในแล้วต่อไปจะไม่หลงรักแม้แต่ร่างกายของเราก็จะไม่รัก แต่เราไม่เห็น โอ้โฮ เราคิดว่าร่างกายเราน่าดูน่าชม โอ๊ย พยายามรักพยายามหวงมันเหลือเกิน แต่พอมาดูเข้าจริงๆ ไม่มีอะไรน่าหวงเลยร่างกายของเราหรือของใครก็ตาม มีแต่สิ่งที่น่าเกลียด ไม่น่าดูเต็มไปหมด นอกจากนั้นยังมีส่งกลิ่นเหม็น แล้วยังมีน้ำชนิดต่างๆ น้ำที่ส่งกลิ่นเหม็นชนิดต่างๆ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำดี น้ำเสลด น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมันเหลว น้ำมันข้น น้ำตา น้ำเหงื่อ น้ำมูตร นี่คือส่วนประกอบของร่างกายที่เรามองไม่เห็นกันหรือไม่มองกัน พอเรามองไม่เห็นก็เลยไม่คิดว่ามันไม่น่าดู กลับไปหลงใหลคลั่งไคล้กับมัน คิดว่ามันเป็นร่างกายที่น่าดูน่าชม น่าเอามาเป็นสมบัติ อันนี้ก็เลยทำให้ติดอยู่กับการมาเกิดเป็นมนุษย์อยู่ เพราะยังต้องมีแฟนนั่นเอง

แต่พอได้พิจารณาอสุภะความไม่สวยงามของร่างกายไปเรื่อยๆ ต่อไปความอยากมีแฟนก็จะหายไปหมด ต่อไปพอหมดแล้วทีนี้ก็ไม่รู้จะกลับมามีร่างกายทำไม เพราะไม่มีความอยากมีแฟนแล้ว ร่างกายของเราก็ไม่น่าดู ร่างกายของเราก็ไม่น่ามีเพราะมีแล้วมันก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตาย พระอนาคามีคือระดับที่ ๓ ก็จะตัดการเกิดเป็นมนุษย์ได้อย่างเด็ดขาด พระสกิทาคามียังกลับมาอีกครั้งหนึ่งเพราะยังเห็นไม่ตลอดเวลา เริ่มเห็นแล้วบางเวลา บางเวลาไม่เห็น เผลอไปคิดถึงส่วนที่สวยงามก็ยังเกิดความรักความใคร่ขึ้นมา พอเวลาที่เห็นส่วนที่ไม่สวยงามความรักความใคร่ก็หายไป นี่คือกระบวนการของการเปลี่ยนจิตใจจากปุถุชนไปเป็นพระอริยบุคคล


พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้มีพระคุณเลิศโลก

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๓ เป็นวันที่ท่านทั้งหลายมีเวลาว่างจากภารกิจการงานต่างๆจึงได้ตั้งใจมาวัด เพื่อมาฟังเทศน์ฟังธรรมมาศึกษาพระธรรมคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าพระคุณของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์นี้วิเศษเลิศโลกอย่างไร เพราะไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะสามารถทำในสิ่งที่พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ทำให้กับสัตว์โลกทั้งปวงได้ ก็คือพาสัตว์โลกทั้งปวงให้หลุดออกจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด ให้ออกจากการเวียนว่ายในสังสารวัฏในไตรภพที่มีการเกิดแก่เจ็บตายกันอย่างไม่มีสิ้นสุด ถ้าไม่มีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์มาปรากฏขึ้นอยู่ในโลกนี้แล้ว จะไม่มีใครสามารถจะหลุดออกจากวัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้เลย จะต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอยู่เรื่อยๆ จะต้องหลั่งน้ำมามากยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทร นั่นคือจำนวนของภพชาติที่สัตว์โลกต้องเวียนว่ายตายเกิดกัน ต่อให้มาเกิดเป็นมหาจักรพรรดิเป็นมหาเศรษฐีเป็นผู้มีความสามารถต่างๆ ได้รับรางวัลเหรียญทองชนิดต่างๆ ก็ไม่สามารถที่จะนำตนให้หลุดออกจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้ ต้องมีพระพุทธพระธรรมหรือพระสงฆ์เท่านั้นเป็นผู้ที่จะนำให้ออกจากโลกของการเวียนว่ายตายเกิดได้ และนานๆจะมีพระพุทธพระธรรมหรือพระสงฆ์มาปรากฏขึ้นมาในโลกนี้สักครั้งหนึ่ง

การปรากฏขึ้นของพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์นี้ไม่ได้เป็นของง่ายดาย เพราะนานๆจะมีการเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง คำว่านานนี้ก็หลายกัปหลายกัลป์ ถ้าพูดภาษาปัจจุบันก็หลายแสนล้านปีที่จะมีพระพุทธพระธรรมหรือพระสงฆ์มาปรากฏมานำพาสัตว์โลกให้หลุดออกจากวัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด คือการเวียนว่ายตายเกิดในไตรภพ ได้แก่ รูปภพ อรูปภพ กามภพ นี่คือที่อยู่ของพวกเรา พวกเราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ ๓ ภพนี้มาเป็นเวลาอันยาวนาน และจะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปเรื่อยๆจนกว่าที่เราจะได้มาพบกับพระพุทธพระธรรมหรือพระสงฆ์ และเมื่อพบแล้วก็ต้องเกิดศรัทธาความเชื่อในพระพุทธพระธรรมหรือพระสงฆ์ เชื่อที่จะนำเอาคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติ เพราะถ้าเพียงแต่ได้พบได้มีศรัทธาแต่ไม่นำเอาไปปฏิบัติ ผลก็ยังจะไม่เกิดขึ้นมา จำเป็นที่จะต้องมีโอกาสได้พบกับพระพุทธพระธรรมหรือพระสงฆ์แล้วเกิดความศรัทธาความเชื่อมั่นในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ว่าเป็นผู้ที่สามารถสอนให้ได้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ และเมื่อเชื่อแล้วก็ต้องน้อมนำเอาไปปฏิบัติ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเรียกว่าสุปฏิปันโน ถ้ามีการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วการหลุดพ้นก็จะเป็นผลที่จะตามมาอย่างแน่นอน นี่คือสิ่งที่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังธรรมแล้วจะเกิดศรัทธาขึ้นมา

เมื่อเกิดศรัทธาแล้วก็จะเกิดฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เกิดอิทธิบาท ๔ คือพลังที่จะผลักดันให้ผู้ศึกษาคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้านำไปปฏิบัติแบบปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ เมื่อมาการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็จะมีการบรรลุมีการหลุดพ้นตามลำดับขั้นตอนได้ มีระดับ ๔ ขั้นตอนด้วยกัน คือขั้นของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ตามลำดับ เกิดจากการที่ได้ศึกษาได้ฟังเทศน์ฟังธรรมคำสั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ การฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นเหมือนกับเป็นการเติมพลังให้กับจิตใจให้เกิดศรัทธาเพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดศรัทธาก็จะทำให้เกิดมีวิริยะ ความอุตสาหะ ความพากเพียรที่จะปฏิบัติธรรมที่จำเป็นต่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ก็คือจะเพียรเจริญสติ จะเพียรเจริญสมาธิ และจะเพียรเจริญปัญญา เพราะนี่คือธรรมที่จะดึงจิตใจของสัตว์โลกที่ติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ให้หลุดออกจากกระแสดึงดูดของการเวียนว่ายตายเกิดได้ เหมือนกับปัจจุบันนี้เวลาที่จะส่งยานอวกาศออกไปสู่ดาวอื่น จำเป็นที่จะต้องมีจรวดที่มีพลังมากกว่าแรงดึงดูดของโลก จึงสามารถที่จะส่งยานอวกาศให้ทะยานขึ้นสู่อวกาศได้โดยไม่ตกกลับมาบนผิวโลก เพราะมีจรวดที่มีพลังขับดันที่สามารถขับเคลื่อนยานอวกาศให้หลุดออกจากกระแสดึงดูดของโลกได้นั่นเอง

อันนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์เราค้นพบกัน เมื่อก่อนก็ไม่รู้ว่าอะไรทำให้สิ่งต่างๆตกลงมาจากที่สูง เช่น ผลไม้ทำไมเวลาหลุดออกจากขั้วถึงตกลงมา ไม่ลอยขึ้นไป ก็มีคนฉลาดมานั่งคิด ก็พบว่าต้องมีอะไรดึงดูดให้สิ่งต่างๆนั้นตกลงมาไม่ให้ลอยขึ้นไป ก็เลยค้นพบว่าโลกนี้มีแรงดึงดูด เมื่อมีแรงดึงดูด ถ้าอยากจะให้สิ่งต่างๆลอยขึ้นไป ก็ต้องหาอะไรสร้างแรงผลักดันให้สิ่งที่ต้องการให้ลอยขึ้นไปนั้นมีกำลังมากกว่าแรงดึงดูดของโลก ก็เลยมีการคิดค้นวิธีการต่างๆ สร้างเครื่องบินต่างๆขึ้นมาที่มีพลังที่จะลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าได้ เพราะมีกำลังมากกว่าแรงดึงดูดของโลกนั่นเอง แล้วในที่สุดก็คิดค้นพบจรวดที่มีแรงผลักดันที่แรงกว่ากระแสดึงดูดของโลก ก็เลยทำให้สามารถส่งยานอวกาศไปท่องอวกาศได้

ฉันใด การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสรู้แรงที่จะส่งให้จิตใจหรือดวงวิญญาณของสัตว์โลกที่ถูกกระแสดึงดูดของไตรภพนี้ ให้หลุดออกจากแรงดึงดูดของไตรภพได้ และพลังที่จะผลักดันให้เกิดให้สามารถดึงจิตใจของสัตว์โลกให้หลุดออกจากแรงดึงดูดของไตรภพได้ ก็คือ สติ สมาธิ และปัญญานี่ ถ้ามีสติมีสมาธิมีปัญญาก็จะสามารถที่จะดึงจิตหรือวิญญาณให้หลุดออกจากแรงดึงดูดของไตรภพได้ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงค้นพบสติสมาธิปัญญาแล้วก็นำเอามาเผยแผ่มาสั่งสอนให้แก่ผู้ที่ปรารถนาการหลุดพ้นจากกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด พอผู้ที่ได้ยินได้ฟังได้ศึกษาน้อมนำเอาไปปฏิบัติ ไปสร้างสติสร้างสมาธิสร้างปัญญาขึ้นมา ก็สามารถที่จะส่งดวงจิตให้หลุดออกจากแรงดึงดูดของไตรภพได้ ไม่ต้องกลับมาเกิดแก่เจ็บตายในไตรภพ คือในกามภพ หรือรูปภพ หรืออรูปภพได้ เพราะแรงของสติสมาธิปัญญามีกำลังแรงกว่าแรงของสิ่งที่ดูดให้จิตใจติดอยู่กับไตรภพนั้นเอง แรงดึงดูดที่ดึงให้จิตติดอยู่กับไตรภพคืออะไร ก็คือกามตัณหา ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ จะดึงดูดให้จิตใจของสัตว์โลกติดอยู่ในกามภพ เช่นภพที่พวกเราอยู่กันนี้เป็นกามภพ ภพของผู้ที่ยังเสพกามอยู่ เสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ พวกเราทุกคนนี้เสพรูปเสียงกลิ่นรสเป็นอารมณ์เพื่อให้ความสุขกับเรา ความอยากเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะนี่แหละที่เป็นเหตุทำให้พวกเราต้องกลับมาเกิดกันอยู่เรื่อยๆ เกิดเป็นมนุษย์กันอยู่เรื่อยๆ เพราะเราต้องมีตาหูจมูกลิ้นกายเป็นเครื่องมือในการเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะชนิดต่างๆนั่นเอง

แต่ถ้าเราสามารถเจริญสติสมาธิปัญญาให้มีมากกว่าแรงดึงดูดของกามตัณหาได้ เราก็จะไม่ต้องมาติดอยู่ในกามภพ นอกจากกามภพแล้วก็มีแรงดึงดูดของรูปภพ แรงดึงดูดของรูปภพก็คือภวตัณหา ความอยากเสพความสุขจากรูปฌาน เรียกว่าภวตัณหา พวกที่ออกจากกามภพมักจะไปติดที่รูปภพหรืออรูปภพ ก็จะต้องอาศัยแรงของรูปภพหรืออรูปภพดึงให้ออกจากกามภพก่อน ด้วยการฝึกสติสมาธินี้เอง การฝึกสติสมาธิก็จะทำให้จิตได้ละการเสพกามได้ ละการเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ แล้วเปลี่ยนมาเสพรูปฌานหรืออรูปฌานแทน แต่พอมาเสพรูปฌานหรืออรูปฌานก็เกิดความติดพันเกิดความอยากจะเสพ ก็ยังจะติดอยู่ในรูปภพหรืออรูปภพไปจนกว่าจะเห็นด้วยปัญญาว่ารูปภพหรืออรูปภพก็เป็นของไม่เที่ยง มีการเจริญแล้วก็มีการเสื่อม เมื่อเสื่อมแล้วก็จะต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ ต้องมาสร้างสติสมาธิใหม่ เพื่อที่จะได้กลับไปสู่รูปภพหรืออรูปภพใหม่ ถ้าเห็นด้วยปัญญาว่าการเสพความยินดีในรูปภพหรืออรูปภพ มีความยินดีในรูปฌานหรืออรูปฌานจะทำให้ยังต้องกลับมาเกิดใหม่ ยังต้องสละละความยินดีในรูปฌานอรูปฌานไป ด้วยกำลังของสติปัญญา เมื่อมีปัญญาเห็นโทษของการติดอยู่ในรูปภพในอรูปภพเพราะเกิดจากความยินดีในรูปฌานและอรูปฌาน ก็จะสละจะหยุดความยินดีเพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดใหม่นั่นเอง พอละภวตัณหาได้ความยินดีในรูปฌาน ละวิภวตัณหาได้ความยินดีในอรูปฌาน จิตก็หลุดออกจากไตรภพได้อย่างสมบูรณ์


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญานสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.132 Chrome 80.0.3987.132


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 23 มีนาคม 2563 11:14:32 »


ใช้ปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์

การใช้ปัญญาต้องพิจารณาไตรลักษณ์ในสิ่งที่ทำให้เราเครียดแล้วเราจะหายเครียด เพราะเราจะปล่อยวาง เพราะเรารู้ว่าเราทำอะไรไม่ได้ แต่เรารู้ว่าการปล่อยวางนี่แหละเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับเรา เพราะเมื่อเราปล่อยวางแล้วใจเราก็จะหายเครียด ใจเราก็จะมีความสุขท่ามกลางความทุกข์ของร่างกาย ร่างกายมันทุกข์ก็เป็นเรื่องของร่างกาย แต่มันจะไม่มาทำให้ใจเราทุกข์เพราะใจเราปล่อยวางร่างกายได้นั่นเอง
นี่คือวิธีที่เราจะใช้กันในช่วงนี้ ในช่วงที่เรามีความทุกข์ มีความเครียด มีความวุ่นวายใจเกี่ยวกับเรื่องความเป็นความตายของร่างกาย ถ้าเรามาสร้างความสงบภายในใจด้วยการปฏิบัติสติ ปฏิบัติสมาธิ ปฏิบัติปัญญา เราก็จะมีเครื่องมือที่จะมารักษาใจของเราให้นิ่งให้สงบ ไม่ให้ทุกข์ไม่ให้เครียดกับความเป็นความตายของร่างกายอีกต่อไป เราก็จะอยู่อย่างมีความสุข ตายอย่างมีความสุข เจ็บไข้ได้ป่วยอย่างมีความสุข ไม่เครียดไม่กังวลไม่เดือดร้อน นี่คือเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องของความทุกข์ความกังวลใจ เกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะนี้ที่เอามาฝากท่านในวันนี้

ธรรมะนี้เป็นธรรมแบบสดๆร้อนๆ ทุกครั้งที่เราได้ดูได้ฟังก็เหมือนได้ดูสด เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านี้เป็นอกาลิโก คือมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ไม่ได้เสื่อมคุณภาพไปตามกาลตามเวลา ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงไว้เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว เมื่อเอามาแสดงในวันนี้ก็ยังมีประสิทธิภาพเหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ทุกประการ สามารถเอาไปใช้ดับความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจของผู้ปฏิบัติธรรมให้หมดสิ้นไปได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าเป็นธรรมเก่า ธรรมที่หมดอายุแล้ว ธรรมะนี้ไม่มีวันหมดอายุ ไม่เหมือนกับของที่เราบริโภคกัน ที่จะต้องมีวันหมดอายุ แต่ธรรมะนี้เป็นของประเสริฐ เป็นของที่อยู่เหนือกาลเวลา ไม่เสื่อมไปกับเวลา เป็นสวากขาโต ภวตา ธัมโม ทุกยุคทุกสมัย คือเป็นธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ที่พร้อมที่จะไปดับความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลกให้หมดสิ้นไปได้ อยู่ที่สัตว์โลกที่ยังติดอยู่ในกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดว่า จะพร้อมที่จะน้อมนำเอาธรรมอันประเสริฐนี้เข้าไปกำจัดความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในใจให้หมดสิ้นไปได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะนี้พร้อมทำหน้าที่ทุกเวลา อยู่ที่ผู้ที่ปฏิบัติว่าพร้อมที่จะน้อมเอาธรรมนั้นเข้าไปในใจของตนได้หรือไม่เท่านั้นเอง

ธรรมะนี้เป็นธรรมแบบสดๆร้อนๆ ทุกครั้งที่เราได้ดูได้ฟังก็เหมือนได้ดูสด เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านี้เป็นอกาลิโก คือมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ไม่ได้เสื่อมคุณภาพไปตามกาลตามเวลา ธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงแสดงไว้เมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว เมื่อเอามาแสดงในวันนี้ก็ยังมีประสิทธิภาพเหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ทุกประการ สามารถเอาไปใช้ดับความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจของผู้ปฏิบัติธรรมให้หมดสิ้นไปได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าเป็นธรรมเก่า ธรรมที่หมดอายุแล้ว ธรรมะนี้ไม่มีวันหมดอายุ ไม่เหมือนกับของที่เราบริโภคกัน ที่จะต้องมีวันหมดอายุ แต่ธรรมะนี้เป็นของประเสริฐ เป็นของที่อยู่เหนือกาลเวลา ไม่เสื่อมไปกับเวลา เป็นสวากขาโต ภวตา ธัมโม ทุกยุคทุกสมัย คือเป็นธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ที่พร้อมที่จะไปดับความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลกให้หมดสิ้นไปได้ อยู่ที่สัตว์โลกที่ยังติดอยู่ในกองทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดว่า จะพร้อมที่จะน้อมนำเอาธรรมอันประเสริฐนี้เข้าไปกำจัดความทุกข์ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในใจให้หมดสิ้นไปได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง ธรรมะนี้พร้อมทำหน้าที่ทุกเวลา อยู่ที่ผู้ที่ปฏิบัติว่าพร้อมที่จะน้อมเอาธรรมนั้นเข้าไปในใจของตนได้หรือไม่เท่านั้นเอง


สนทนาธรรมบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญานสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 80.0.3987.163 Chrome 80.0.3987.163


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 03 เมษายน 2563 16:15:49 »



ฝืนความอยาก

คำว่าพอนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหยุดความอยากต่างๆ พอหยุดความอยากต่างๆ แล้วความพอมันก็ปรากฏขึ้นมาเอง ความอิ่มมันก็ปรากฏขึ้นมาเอง เพราะความพอกับความอยากมันเป็นเหรียญ ๒ ด้าน ถ้าเราหงายเหรียญขึ้นมาด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งก็อยู่ข้างล่าง มันจะโผล่ขึ้นมา ๒ ด้านพร้อมกันไม่ได้ เหมือนกับความมืดกับความสว่าง มันก็โผล่ขึ้นมาพร้อมกันไม่ได้ ความสุขกับความทุกข์ก็เกิดจากความอยากและความไม่อยากนั่นเอง หรือเกิดจากความอิ่มนั่นเอง เวลามีความอยากก็เกิดมีความทุกข์ขึ้นมา ความอิ่มก็หายไป พอเวลาไม่มีความอยากความอิ่มก็โผล่ขึ้นมา นี่วิธีที่จะทำให้ใจของเราอิ่มนี้ไม่ใช่ไปทำตามความอยาก ถึงแม้ว่าจะอิ่มแต่อิ่มเดี๋ยวเดียว อิ่มแล้วเดี๋ยวก็หิวใหม่ ทำตามความอยากความอยากก็จะสงบตัวลงชั่วคราว แล้วเดี๋ยวความอยากก็โผล่ขึ้นมาใหม่ วิธีที่จะทำให้ความอยากมันสงบแบบไม่โผล่กลับขึ้นมาก็คืออย่าไปทำตามความอยาก ฝืนมัน มันอยากสูบบุหรี่ก็อย่าไปสูบมัน เดี๋ยวสักพักหนึ่งความอยากมันหมดแรงแล้วมันก็จะไม่มีความอยากจะสูบบุหรี่ ช่วงที่จะฝืนมันถ้าเราทรมานเราก็ใช้ยาหม่องของพระพุทธเจ้ามาแก้ความทรมานได้ ยาหม่องก็คือการใช้สติทำใจให้สงบนั่นเอง

ดังนั้น ก่อนที่เราจะมาต่อสู้กับความอยากได้ด้วยปัญญาเราจึงต้องมีสมาธิก่อน สมาธินี่เป็นเหมือนกับยาที่จะมาช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานใจเวลาที่เราฝืนความอยากเวลาที่เราไม่ทำตามความอยาก พอมันอยากเราก็เข้าสมาธิไป หรือมองมุมกลับมองให้เห็นว่าการที่เราไปหาความสุขจากสิ่งที่เราอยากได้นั้นมันอาจจะกลายเป็นความทุกข์ก็ได้ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน บางทีอยากได้แต่พอไปหามากลับไม่ได้ก็ผิดหวังเสียใจอีก แต่ถ้าไม่อยากได้ก็จะไม่มีวันผิดหวังไม่มีวันเสียใจ หรือถ้าได้สิ่งที่ได้มาแล้วเดี๋ยวมันอาจจะจากเราไปก่อนก็ได้ ไม่มีใครรับประกันได้ว่าสิ่งที่เราได้มานั้นจะอยู่กับเราไปตลอดเวลา จะต้องมีวันพลัดพรากจากกันไม่ช้าก็เร็ว ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ ไม่จากกันตอนเป็นก็ต้องจากกันตอนตาย พอเกิดการพลัดพรากจากกัน ก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

นี่คือเครื่องมือที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบในการต่อสู้กับความอยากต่างๆ ต้องสู้ด้วยการใช้เหตุผลใช้ปัญญาใช้ความจริงว่าถ้าทำตามความอยากแล้วจะไม่มีวันสิ้นสุด จะต้องทำอยู่เรื่อยๆ ถ้าไม่อยากจะทำตามความอยากก็ต้องมองเห็นผลที่จะเกิดว่าสิ่งที่เราได้มานั้นมันอาจจะกลายเป็นความทุกข์ขึ้นมาแทนการเป็นความสุขก็ได้ พอเห็นว่าเป็นความทุกข์แล้วก็เปลี่ยนใจไม่เอาดีกว่า อย่างบางคนแต่งงานกันแล้วถึงมาเสียใจในภายหลัง รู้อย่างนี้ไม่แต่งดีกว่า เพราะก่อนที่จะอยู่ร่วมกันก็ดีแสนดี พอมาอยู่ร่วมกันไม่กี่วันกลายเป็นพยามารขึ้นมาเสียแล้ว เกิดสงครามขึ้นมาในบ้านเสียแล้วโดยไม่คาดฝัน อันนี้เพราะเราไม่ได้คิดล่วงหน้าไว้ก่อน ไม่ได้มองเห็นด้วยปัญญาว่าไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีการรับประกันว่าสิ่งที่เราคิดว่าดีจะดีกับเราเสมอไป วันดีคืนดีก็อาจจะพลิกกลายเป็นของไม่ดีไป จากการเป็นมิตรก็จะกลายเป็นศัตรูขึ้นมาก็ได้ ต้องคิดแบบนี้เรียกว่าคิดด้วยปัญญา แล้วมันจะทำให้ความอยากนี้มันหดตัวลง มันจะไม่กล้าทำตามความอยาก จะไม่อยากทำตามความอยาก นี่คือวิธีการของพระพุทธเจ้าในการแสวงหาความสุขของพระนิพพาน คำว่า “นิพพาน” ก็คือใจที่ได้ชำระความอยากต่างๆ ให้หมดสิ้นไปนั่นเอง


ธรรมะบนเขา วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี   ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน



ปฏิบัติเพื่อดับความทุกข์ใจ

ที่เราปฏิบัตินี้เพื่อดับความทุกข์ใจเท่านั้นเอง เราดับสังขารไม่ได้ เราดับนามขันธ์ไม่ได้ ร่างกายเราดับมันไม่ได้ ต้องปล่อยมันดับเอง ถ้าดับด้วย “ฆ่า” มันก็ผิดอีก มันไม่จำเป็นต้องไปฆ่ามัน มันไม่มีโทษเข้าใจไหม ตัวที่เป็นโทษไม่ใช่ขันธ์ ตัวที่เป็นโทษก็คือตัณหาความอยากของเรา ที่เป็นตัวสร้างความทุกข์ให้กับเรา ร่างกายมันไม่ได้สร้างความทุกข์ให้กับเรา เวทนา สัญญา สังขาร มันไม่ได้สร้างความทุกข์ให้กับเรา ตัวที่สร้างความทุกข์ให้กับเราก็คือความอยาก กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่เกิดจากความหลง ความหลงที่ไปคิดว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวเราเป็นของเรา เราก็เลยมาแก้ความหลงด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาสอนว่า มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา แล้วปล่อยมัน ร่างกายมันจะแก่ก็ปล่อยมันแก่ มันจะเจ็บก็ปล่อยมันเจ็บ มันจะตายก็ปล่อยมันตาย เวทนามันจะสุขก็ปล่อยมันสุข มันจะทุกข์ก็ปล่อยมันทุกข์ มันจะไม่สุขไม่ทุกข์ก็ปล่อยมันไม่สุขไม่ทุกข์ อย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้เฉยๆ สักแต่ว่ารู้

เวทนาก็เกิดจากภาพที่ได้เห็น เสียงที่เราได้ยิน กลิ่นที่เราได้ดม รสที่เราได้สัมผัสด้วยลิ้น แล้วก็อาการเเข็งเจ็บก็ผ่านทางร่างกายเท่านั้นเอง มันเป็นธรรมชาติที่ใจมารับรู้ แต่ใจไม่รับรู้เฉยๆ ไปเกิดความอยาก เกิดความรัก ความชัง ในสิ่งที่รับรู้ เวทนาแบบนี้รัก เวทนาแบบนี้ไม่รัก พอสุขเวทนาก็รักก็อยากจะให้อยู่ไปนานๆ พอหายไปก็ทุกข์แล้ว ทุกขเวทนายังไม่ทันเกิดเลย เพียงแต่สุขเวทนาหายไปก็ทุกข์แล้ว เวลาบ๊ายบายจากกันอย่างนี้ เวลาเห็นคนที่เรารักเราก็ดีใจ อยู่ด้วยกันก็มีความสุข พอเขาต้องไปทำงานไปต่างจังหวัดไปต่างประเทศไม่ได้อยู่ด้วยกัน แล้วก็สุขเวทนาหายไปแล้ว ใจก็ทุกข์ขึ้นมาแล้ว เพราะอยากให้สุขเวทนาอยู่ต่อไป แต่ถ้าเราไม่มีความอยากให้สุขเวทนาอยู่ หายก็หายไป เขาไปก็ไป เราก็เฉย มันก็ไม่เดือดร้อน


สนทนาธรรมบนเขา  วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๙
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี   ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 เมษายน 2563 16:19:38 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 81.0.4044.138 Chrome 81.0.4044.138


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 22 พฤษภาคม 2563 15:45:04 »



ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง

ความสุขที่เกิดจากความสงบของใจนี้ ต้องเกิดจากการปฏิบัติ การจะปฏิบัติได้ก็ต้องมีเวลาปฏิบัตินั่นเอง ถ้ายังไปเกี่ยวข้องกับการหาเงินใช้เงินอยู่ เวลาจะไปปฏิบัติก็ปฏิบัติไม่ได้ ก็จะติดอยู่ ไม่สามารถเข้าสู่การปฏิบัติเพื่อความสุขที่แท้จริงได้ คนที่จะไปปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ความสุขที่แท้จริงได้นี้ต้องสละข้าวของเงินทองออกบวชกัน ดูพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง ถ้าพระพุทธเจ้ายังเสียดายเงินเสียดายทองอยู่ ยังอยากอยู่กับความสุขแบบในวังอยู่ ก็จะไม่สามารถที่จะออกบวชได้ เมื่อไม่ได้บวชก็จะไม่มีเวลาที่จะมาสร้างความสงบที่จะเป็นความสุขที่แท้จริงให้แก่ใจได้ พระพุทธเจ้าก็เลย ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง จะเอาทั้ง ๒ ทางไม่ได้ จะเอาความสุขจากการมีทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง แล้วจะปฏิบัติควบคู่ไปด้วย มันทำไม่ได้ ทำก็ไม่ได้ผล เพราะมันขวางกัน ขัดกัน ไปกันคนละทิศคนละทาง เหมือนไปทิศเหนือกับไปทิศใต้นี่ มันก็จะดึงกันไปดึงกันมา เดี๋ยวอยากได้ความสุขทางทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทอง มันก็ดึงไปทางหนึ่ง เดี๋ยวก็อยากได้ความสุขที่เกิดจากความสงบ มันก็ดึงกลับไปอีกทางหนึ่ง มันก็ดึงกันไปดึงกันมา จะไม่สามารถไปสู่ความสุขที่แท้จริงได้

การที่จะไปสู่ความสุขที่แท้จริงนี้ ต้องตัดความสุขทางทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองไป แต่ในเบื้องต้นอาจจะยังทำไม่ได้ ก็ให้ทำแบบซ้อมไปก่อน เช่น หาวันใดวันหนึ่ง สมัยก่อนเราเรียกว่า “วันพระ” วันที่ไม่ต้องทำงานทำการ เอาวันนั้นมาฝึกเป็นนักบวช ชาวพุทธเราจะถือศีล ๘ กัน ถือศีลของนักบวช แล้วมาฝึกอยู่แบบนักบวช คือ ไม่อาศัยทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองมาเป็นเครื่องมือให้ความสุข จะมาหาธรรมะเป็นเครื่องมือให้ความสุข อาศัยการภาวนา การควบคุมจิตใจด้วยสติ ด้วยปัญญา เพื่อให้ใจเข้าสู่ความสงบ อันนี้ก็เป็นการทดลองทำก่อน เพราะถ้าเราไม่ลองทำ เราจะไม่รู้ว่าเราทำได้หรือไม่ได้ เหมือนการหัดว่ายน้ำ เวลาจะหัดว่ายน้ำ เราไม่ลงไปที่น้ำลึกก่อน เราเผื่อว่ายไม่ได้ เราก็ยังยืนได้อยู่ ถ้าไปว่ายในที่มันลึก พอเกิดว่ายไม่ได้ขึ้นมา มันก็ไม่มีที่ยืน มันก็จมน้ำตายได้ ฉะนั้นการที่เป็นฆราวาสแล้วจะไปบวชนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการซ้อมก่อน ด้วยการเรียนรู้วิธีอยู่แบบนักบวชก่อน
   


การกระทำของเราเป็นผู้กำหนดภพชาติของเรา

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ เป็นวันหยุดทำงาน เป็นวันที่ญาติโยมชาวพุทธศาสนิกชนผู้ที่มีศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ตั้งใจมาวัดกัน เพื่อมาเติมพลัง มาเติมกำลังให้แก่จิตใจ จิตใจที่เป็นเหมือนรถยนต์ที่ต้องแวะเข้าสถานีบริการอยู่เรื่อยๆ ต้องแวะเติมน้ำมัน เติมน้ำ เติมลม เติมอะไรต่างๆ ให้แก่รถยนต์ เพื่อรถยนต์จะได้เดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องจอดแวะข้างถนน เวลาน้ำมันหมด จิตใจของพวกเราเป็นเหมือนรถยนต์ ที่กำลังเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง ที่พวกเราอยากจะไปกัน นั่นก็คือ “ไปบ้านของพวกเรา” นั่นเอง บ้านของจิตใจของพวกเราคือ “พระนิพพาน” เป็นบ้านที่เราจะมีความสุขสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ต่างๆ การที่เราจะไปบ้านได้ เราต้องมีอุปกรณ์คือรถยนต์ คือใจของพวกเรา จำเป็นที่จะต้องมีความพร้อม มีความสมบูรณ์ ถึงจะไปถึงบ้านของพวกเราได้ ไปถึงพระนิพพานได้ เราจึงต้องเข้าวัดกัน เพื่อที่จะได้เติมพลังให้แก่จิตใจ สิ่งที่จะให้พลังกับจิตใจก็คือ การทำบุญทำทาน การรักษาศีล การภาวนา การฟังเทศน์ฟังธรรม นี่เป็นการกระทำที่จะเพิ่มพลังให้แก่จิตใจ ที่จะสามารถผลักดันให้ไปถึงบ้านที่ปลอดภัย บ้านที่มีแต่ความสุขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังเทศน์ฟังธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะว่าธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นเหมือนแผนที่บอกทางที่จะพาให้เรากลับไปสู่บ้านของพวกเราได้ ถ้าเราไม่มีธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า เราจะไม่มีแผนที่ เราจะไม่มีผู้บอกทาง จะไม่รู้จักทาง ที่จะพาให้พวกเราได้กลับไปถึงบ้านของพวกเราได้ เราจึงต้องดูแผนที่อยู่เรื่อยๆ การจะดูแผนที่ได้ ก็ต้องไปวัด เพราะที่วัดจะมีพระธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พวกเราจะได้ยินได้ฟัง แล้วเราจะได้รู้จักทางที่จะพาให้เรากลับไปสู่บ้านของเรา เราจำเป็นจะต้องแวะดูแผนที่อยู่เรื่อยๆ เพราะว่าเราดูแป๊บหนึ่งแล้ว เดี๋ยวเราก็จะลืมได้ พอเราลืมเราก็จะหลงทาง เราก็เลยต้องดูแผนที่เรื่อยๆ เพื่อที่เราจะได้ไม่หลงทาง การฟังเทศน์ฟังธรรมตามกาลตามเวลาเป็นมงคลอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเป็นประโยชน์นั่นเอง เป็นประโยชน์เป็นสุขต่อผู้ได้ยินได้ฟังธรรม เพราะจะได้รู้จักทางที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นความทุกข์ทั้งปวง หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ตอนนี้พวกเราหลงทางกัน หลงอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ตายแล้วเราก็ไปเกิดใหม่เกิดแล้วเราก็ต้องแก่ต้องเจ็บต้องตายไป เราไปไม่ถึงบ้านซะที ติดอยู่กับบ้านชั่วคราว คือภพชาติต่างๆ บางทีก็เป็นภพชาติที่ดี บางทีก็เป็นภพชาติที่ไม่ดี เพราะว่าการกระทำของเราเป็นผู้กำหนดภพชาติของเรานั่นเอง ถ้าเราทำบุญเราก็จะได้ภพชาติที่ดี ถ้าเราทำบาปเราก็จะได้ภพชาติที่ไม่ดี แล้วเราก็จะทำกลับไปกลับมาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีวันที่จะไปถึงบ้านที่ปลอดภัยจากการเกิดแก่เจ็บตายได้ ถ้าไม่มีพระธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า มาทรงสอนวิธีให้พวกเราหยุดการเวียนว่ายตายเกิดกัน การเวียนว่ายตายเกิดนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ทรงค้นพบว่าเกิดจากตัณหาความอยาก ที่มีอยู่ในใจของพวกเราทุกคน ตัณหาความอยากมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑. กามตัณหา ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ “กาม” แปลว่ารูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ เป็นกามคุณ ๕ ประการด้วยกันที่พวกเราติดกัน เสพกันเหมือนยาเสพติด ต้องมีอะไรให้เราดูให้เราฟังให้เราได้ลิ้มรสได้ดมกลิ่น ได้สัมผัสอยู่เรื่อยๆ เราถึงจะมีความสุข เวลาใดที่เราไม่สามารถที่จะเสพรูปเสียงกลิ่นรสได้ เวลานั้นก็เป็นเวลาที่เราทุกข์ทรมานใจ เช่น เวลาที่เราแก่เวลาที่เราเจ็บ หรือเวลาที่เราตาย เป็นเวลาที่เราทุกข์ทรมานกัน เราจึงต้องดิ้นหนี ดิ้นไปหาร่างกายอันใหม่กัน พอร่างกายอันเก่ามันตายไป เราก็ดิ้นไปหาร่างกายอันใหม่ ทำแบบนี้จะเป็นตัวที่ทำให้ใจเราดิ้น ทำให้ใจเราต้องไปหาร่างกายอันใหม่ เพื่อที่จะได้มีตาหูจมูกลิ้นกาย ไว้เสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะชนิดต่างๆ ต่อไปนั่นเอง

เราจึงไม่มีวันสิ้นสุดในการเกิดแก่เจ็บตาย เพราะเมื่อตายแล้ว ใจของเราที่ไม่ได้ตายไปกับร่างกาย ยังมีความหิวกับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็ต้องไปหาร่างกายอันใหม่ และก่อนที่จะได้ร่างกายอันใหม่ ก็ต้องแวะไปรับผลบุญผลบาป ถ้าเป็นวาระของบุญก็จะไปเป็นดวงวิญญาณที่เต็มไปด้วยความสุข แต่เป็นความสุขชั่วคราว ความสุขที่ยังไม่เต็มร้อย ความสุขแบบของเทวดาของพรหม ที่จะมีวันเสื่อมมีวันหมดไป พอความสุขหรือบุญที่ส่งให้เราไปเป็นดวงวิญญาณของเทวดาของอินทร์ของพรหมหมดกำลังลง ดวงวิญญาณของเราก็มารอรับร่างกาย มาได้ร่างกายอันใหม่ มาเป็นมนุษย์ใหม่ ถ้าเป็นวาระของบาป ดวงวิญญาณของเราก็จะไปได้ร่างกายของสัตว์เดรัจฉาน หรือไม่เช่นนั้นก็เป็นดวงวิญญาณของเปรต ของอสุรกาย ของนรก เป็นดวงวิญญาณที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้เลย เป็นดวงวิญญาณที่หิวโหยก็เรียกว่า “เปรต” เป็นดวงวิญญาณที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวสิ่งต่างๆ ก็เรียกว่า “อสุรกาย” ดวงวิญญาณที่เต็มไปด้วยความเคียดแค้นอาฆาตพยาบาทก็เรียกว่า “นรก” นี่คือทิศทางของจิตใจของพวกราที่พวกเรากำลังไปกันอยู่ ถ้าไม่มีธรรมะ แผนที่ๆ จะบอกให้เราไปสู่อีกทิศทางหนึ่ง คือ ไปที่พระนิพพาน “พระนิพพาน” ก็คือดวงวิญญาณที่ปราศจากความอยากต่างๆ นั่นเอง ความอยากที่พาให้ไปเวียนว่ายตายเกิด ถ้าได้พบกับธรรมะคำสั่งคำสอนก็จะถูกกำจัดไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อไม่มีความอยากหลงเหลืออยู่ภายในใจแล้ว เวลาร่างกายตายไป ก็จะเป็นดวงวิญญาณที่เต็มไปด้วยความสุข ดวงวิญญาณที่ปราศจากตัณหาความอยากที่จะดึงให้จิตใจกลับไปเกิดแก่เจ็บตายอีกต่อไป ดวงวิญญาณนี้เราเรียกว่า “นิพพาน” นั่นเอง


ธรรมะบนเขา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.97 Chrome 83.0.4103.97


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2563 09:47:33 »



กายวิเวก จิตวิเวก

การทำสมาธินี้จิตจะสงบได้ง่ายถ้าอยู่คนเดียว กายวิเวกแล้วจิตก็จะวิเวก คำว่าวิเวกก็สงบสงัด ถ้ากายสงบสงัด อยู่ในสถานที่สงบสงัด จิตก็จะสงบสงัด ถ้าอดีตชาติเคยมีความสงบในจิตแล้ว พอกายสงบ จิตก็จะสงบทันทีเลย เช่นพระพุทธเจ้านี่ตอนที่เป็นเด็กนะ มีวันหนึ่งท่านอยู่คนเดียว อยู่ใต้ต้นไม้ พวกพี่เลี้ยงต่างๆ เขาไปยุ่งกับงานอื่น ไม่มีเวลามาคอยรับใช้มาคอยปรนนิบัติมาคอยอยู่เป็นเพื่อน ก็เลยปล่อยให้ท่านอยู่คนเดียว พอท่านอยู่คนเดียวใจของท่านเคยมีความสงบอยู่แล้ว ก็เข้าสู่ความสงบโดยอัตโนมัติ เพราะไม่มีอะไรคอยดึงไว้ ที่ใจเราไม่เข้าไปข้างใน เพราะมีเรื่องต่างๆ คอยดึงเราไว้ เรื่องแฟน เรื่องสามี เรื่องครอบครัว เรื่องลูก เรื่องเงินทอง เรื่องอะไรร้อยแปด ใจเราก็เลยเข้าสู่ความสงบไม่ได้ ถ้าเราไม่เคยมีความสงบมาก่อน เราก็ต้องใช้สติดึงใจเข้าไป ใช้สติดึง ดึงใจให้ออกจากเรื่องราวต่างๆ ออกจากเรื่องสามี เรื่องภรรยา เรื่องลูก เรื่องสมบัติ เรื่องอะไรต่างๆ ใช้พุทโธพุทโธดึงใจออกมาจากเรื่องราวต่างๆ เพราะเวลาเราพุทโธ เราจะคิดถึงคนนั้นคนนี้ไม่ได้นั่นเอง พอเราไม่คิดถึงเขาเราก็ลืมเขาไปชั่วคราว แล้วเราก็จะเข้าสู่ความสงบได้

ฉะนั้นเราต้องอยู่ห่างไกลจากคน จากเรื่องราวต่างๆ เพราะอยู่ที่บ้านเดี๋ยวก็เห็นคนนั้นเห็นคนนี้ พอเห็นปั๊บมันก็อดที่จะคิดถึงเขาไม่ได้ นอกจากคนแล้วยังมีอย่างอื่นอีก ขนมนมเนย ทีวี อะไรต่างๆ เยอะแยะไปหมด เดี๋ยวเห็นปั๊บก็อยากจะไปยุ่งกับเขาแล้ว เห็นทีวีก็อยากจะเปิดดู เห็นมือถือก็อยากจะเปิดดู เดี๋ยวก็กดหาคนนั้นหาคนนี้ นี่มันเลยเข้าข้างในไม่ได้ จึงต้องไปอยู่ที่ไหนที่ไม่มีของเหล่านี้ อยู่คนเดียว ปลีกวิเวก กายวิเวก จิตก็วิเวก บางคนมาอยู่ที่นี่ก็ยังเอามือถือมาด้วย เดี๋ยวเปิดดูอยู่เรื่อย ไม่รู้มาทำไม อย่ามาดีกว่า มันก็เหมือนกัน มือถือมันก็ไปเชื่อมให้เรากลับไปอยู่ที่บ้านอีกอยู่ดี เดี๋ยวก็โทรไปหาคนนั้นเดี๋ยวก็โทรไปหาคนนี้ เป็นห่วงเขา เขาสบายดีหรือเปล่า แม่อยู่ที่นี่ลูกทำอะไรอยู่ อย่างนี้มันยังไม่กายวิเวก กายวิเวกแต่ใจไม่วิเวก ใจยังคิดถึงเขาอยู่

อย่างสมัยก่อนนี่ ไปอยู่วัดหลวงตานี้ท่านห้ามไม่ให้มีเรื่องราวต่างๆ วิทยุ โทรศัพท์ ทีวี โทรทัศน์ ท่านเรียกว่าเทวทัต พวกเทวทัต พวกทำลายศาสนา พวกทำลายความสงบ ท่านเรียกเทวทัต ไฟฟ้งไฟฟ้าท่านไม่ให้เอาเข้าเลย เพราะเข้าเดี๋ยวมันแอบเอาวิทยุเข้ามาเสียบฟังได้ เอาเทปเข้ามาเปิดได้ เอาอะไรเข้ามาเล่นได้ ท่านเลยก็ต้องห้าม ถ้าเราอยากจะภาวนาให้ได้ผล เราต้องหาที่ห่างไกลจากแสงสีเสียง ห่างไกลจากรูปเสียงกลิ่นรส ห่างไกลจากคนนั้นคนนี้ แล้วเวลามาอยู่ที่เดียวกัน ที่ปฏิบัติ ก็อย่ามารวมกันอย่ามาคุยกัน อย่ามาจับกลุ่มคุยกัน ต่างคนต่างอยู่ต่างคนต่างปฏิบัติ ใจถึงจะสงบได้ ถ้าสงบแล้วใจจะมีความสุขมาก แล้วใจจะเลิกพึ่งคนนั้นคนนี้ พึ่งสิ่งนั้นพึ่งสิ่งนี้ได้ ตอนนี้เราต้องพึ่งคนนั้นคนนี้เพื่อให้ความสุขกับเรา พึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้มาให้ความสุขกับเรา แต่ถ้าเราทำใจให้สงบ ทำใจให้มีความสุขได้ เราไม่ต้องพึ่งใครแล้ว


สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 83.0.4103.116 Chrome 83.0.4103.116


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2563 14:49:37 »

.



ทำดีละบาป
คนที่เคยทำความชั่วมาจะทำความชั่วง่าย พูดโกหกนี้จะเร็ว สะดวก หยิบข้าวของๆคนอื่นโดยไม่ขออนุญาตก่อน จะทำได้ง่าย ทำได้รวดเร็ว ถ้ามารู้ในภายหลังว่าไม่ดีไม่เจริญ อยากจะเป็นคนดี อยากจะเจริญ ก็ต้องฝึกนิสัยใหม่ เวลาพูดอะไรก็ต้องระมัดระวัง มีสติมีปัญญาคอยกลั่นกรองว่าสิ่งที่จะพูดนั้นถูกผิดอย่างไร จริงหรือเท็จ ถ้าพูดความจริงไม่ได้ ก็พูดเรื่องอื่นแทนหรือไม่พูดเลยจะได้ไม่ต้องพูดปด ข้าวของๆ คนอื่นก็เช่นเดียวกัน ไม่ถือวิสาสะ ถ้าอยากได้ก็ต้องคิดก่อนว่าของนี้มีเจ้าของ ถ้าอยากได้ก็ต้องขออนุญาตก่อน




ทำให้ถูกต้อง ฝึกทำได้ ต่อไปก็จะเป็นนิสัย ก็จะทำง่าย
ดังมีคำพูดว่า คนดีทำดีง่าย คนชั่วทำดียาก คนดีทำชั่วยาก คนชั่วทำชั่วง่าย เพราะความเคยชิน ถ้าเคยชินกับการทำชั่ว ย่อมทำชั่วง่าย ถ้าเคยชินกับการทำความดี ย่อมทำดีง่าย ชีวิตของเราก็อยู่ตรงนี้เอง อยู่ที่ทำดีละบาป กำจัดโลภโกรธหลงที่เป็นต้นเหตุของความวุ่นวาย ของความทุกข์ ของความชั่วทั้งหลาย ถ้ารู้ว่ายังทำดีไม่ครบก็พยายามทำให้ครบ ถ้ารู้ว่ายังทำบาปอยู่ก็ต้องพยายามตัด ถ้ารู้ว่ายังมีโลภโกรธหลงอยู่ก็ต้องพยายามกำจัด

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2564 19:41:15 »





ให้ระลึกถึงเทวทูต

“เทวทูต” คือความแก่ ความเจ็บ ความตาย ของร่างกาย แล้วเราก็จะได้ปลงได้ว่า เอ้อ ไปวุ่นวายกับมันมากน้อยเพียงไรมันก็หนีไม่พ้นความแก่ความเจ็บความตายอยู่ดี สู้อย่าไปวุ่นวายกับมันมากมายดีกว่า คือหาวิธีที่จะทำให้เราไม่ต้องไปแบกภาระกับร่างกายของคนอื่น คนอื่นเขาก็แบกตอนที่เขาดูแลตนเองไม่ได้ เช่น ลูกหลานอะไรพวกนี้ เขายังเด็กก็ต้องเลี้ยงเขาไป พอเขาโตแล้วก็ให้เขาไปทำมาหากินของเขา เราก็อย่าไปหาร่างกายของคนอื่นมาแบก เช่น อย่าไปมีแฟน มีแฟนแล้วก็ต้องมาแบกร่างกายของแฟนอีก เขาก็ต้องมาแบกร่างกายของเรา เราก็ต้องแบกร่างกายของเขา ก็ไม่มีเวลาจะเอาใจเข้าไปแช่ในตู้เย็น ก็ต้องออกมาดูแลร่างกายเขา ดูแลร่างกายเรา แล้วถ้ายิ่งต้องการดูแลแบบหรูหราแบบฟุ่มเฟือยก็ต้องใช้เวลามากอีก ถ้าต้องมีบ้านคฤหาสน์ใหญ่โต ต้องมีทรัพย์สมบัติอะไรต่างๆ มาคอยดูแลให้อยู่อย่างสุขอย่างสบาย มันก็ต้องใช้เวลามากกับการหาสิ่งต่างๆ มาคอยเลี้ยงดูร่างกาย มาคอยตอบสนองความต้องการของใจ ต้องการหาความสุขจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ ถ้าทำแบบนี้มันก็จะไม่มีเวลาที่จะดึงใจเข้าไปในสมาธิได้ แต่ถ้ามองว่าสิ่งต่างๆ ที่เราหามากันนี้มันก็ชั่วแค่แก่เจ็บตายเท่านั้นเอง พอถึงเวลามันแก่เจ็บตาย ทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองหามาได้มากน้อยเพียงไรมันก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับใจกับร่างกาย เพราะไม่สามารถใช้ร่างกายไปหาความสุขจากสิ่งต่างๆ ที่เราหามาได้นี่เอง

สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ จังหวัดชลบุรี
ณ จุลศาลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาชีโอน
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.114 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 02:49:32