[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 14:48:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น  (อ่าน 13044 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2554 11:23:44 »


บารมีกับบุญไม่เหมือนกัน
"บารมี" เป็นอุปนิสัยที่ช่วยให้เราสามารถดำเนินอยู่ท่ามกลางความทุกข์ได้
"บุญ" เป็นความอิ่มเอมใจ ความพองฟูของใจ
เมื่อเรามีบุญ...บางทีก็มีบารมีด้วย แต่บางทีก็ไม่มี
เมื่อเรามีบารมี...บางครั้งก็มีบุญด้วย บางครั้งก็ไม่มี

คนพาล มักเพ่งโทษผู้อื่น
ดังนั้นจึงมี "บารมี" บางส่วนมาก แต่ "บุญ" มักจะไม่มากเท่าบารมี
เพราะขุ่นข้องหมองใจเรื่องผู้อื่นอยู่เสมอ

บัณฑิต มักเพ่งโทษตนเอง
ดังนั้นจึงพร้อมบำเพ็ญ "บารมี" อยู่ทุกเมื่อ ความขุ่นข้องหมองใจที่มีอยู่เสมอนั้นพุ่งเข้าหาตนเอง เขาจึงมักฝึกตนเองอยู่เป็นนิจ และมีโอกาสได้ทั้งบารมีและบุญอยู่เนืองๆเมื่อผ่านแต่ละขั้นของการฝึกตน

ผู้เขียนสังเกตตนเองว่าเป็นคน "พาล" โดยสันดาน
ตนเองมีหลักการชัดเจนและชอบวิพากษณ์วิจารณ์ผู้อื่นโดยใช้หลักการนั้นเสมอ
รู้สึกว่าตนเองดีและสมเหตุสมผล แต่ไม่ค่อยรู้ตัวว่าทำให้คนรอบข้างเร่าร้อน
สมัยก่อน "พาล" อย่างเชื่องช้า ต่อเนื่องยืดเยื้อ เต็มไปด้วยเจตนา
ปัจจุบันนี้ "พาล" อย่างรวดเร็ว เป็นระยะๆ ไม่รู้ว่าเจตนากับไม่เจตนามันต่างกันตรงไหน

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วเหตุการณ์เล็กๆน้อยๆที่ไม่สมหวังเริ่มเข้ามากระทบหลักการของผู้เขียนผ่านมารดาและเพื่อนฝูง ทีละเล็กทีละน้อย มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ผู้เขียนได้ตระหนักแล้วว่าหลักการที่ถูกต้องของตนเองไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลใกล้ตัวอย่างถาวร พวกเขาไม่มีหลักการใดๆชัดเจนในการปฏิเสธความเป็นตัวตนของผู้เขียน เขาหลับตาอุดหูแล้วพุ่งมากระทบเราอย่างจริงใจด้วยอารมณ์และความร้อนโดยปราศจากความสมเหตุสมผลใดๆทั้งสิ้น ผู้เขียนได้ตระหนักแล้วว่าตนทำอะไรไม่ได้เลย หลักการอันทรงพลังของตนไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงสำหรับพวกเขา...และต่อมามันก็ไร้ค่าสำหรับตัวเราเองด้วย

เมื่อได้ดำรงอยู่ท่ามกลางความเร่าร้อนอันเล็กน้อยและไร้เหตุผลจำนวนมากเรื่อยมา ผู้เขียนจึงได้ตระหนักว่าแท้ที่จริงแล้วตนเองไม่ได้ต่างอะไรจากบุคคลเหล่านั้นเลย ความอึดอัดเร่าร้อนที่ผู้เขียนรู้สึกนั้นมีต้นตอมาจากความผิดหวังที่ตนไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ซึ่งอันที่จริงแล้วตัวผู้เขียนเองก็ไม่เคยยอมรับตัวตนอันไร้เหตุผลของพวกเขาเหล่านั้นเลยเช่นกัน สิ่งนี้เป็นเหตุให้พวกเขาเกิดความเร่าร้อนและพุ่งเข้ากระทบผู้เขียนอยู่เนืองๆ พวกเขาก็คงรู้สึกต่อผู้เขียนเช่นเดียวกับที่ผู้เขียนรู้สึกต่อพวกเขา และพวกเขาก็คงเสียใจเช่นกันที่ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้เขียน ความเร่าร้อนทั้งมวลนั้นผู้เขียนก่อเหตุไว้เอง เหตุนี้ดึงดูดให้ผู้อื่นเกิดสิ่งเดียวกันนี้ขึ้น เมื่อถึงเวลาอันสมควร เหตุที่ตนก่อก็พุ่งเข้ากระทบตนเอง

เหตุเกิดแต่ตัวเราเองทั้งสิ้น

เราดึงดูดความทุกข์เข้ามาเอง เริ่มจากทางใจก่อน
เมื่อมากเข้าก็แสดงออกทางวาจา
เมื่อมากขึ้นกว่านี้ก็ปรากฎแก่ตัวเราเองทางกาย-วาจา-ใจ
โดยใช้ผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเป็นปัจจัยเสริมในการแสดงผล

เมื่อผู้เขียนพิจารณาหลักการอันสมเหตุสมผลของตนเองอย่างถี่ถ้วน

หลักการเรื่องความเป็นมารดาและบุตร
หลักการเรื่องการปฏิบัติธรรม
หลักการเรื่องการเป็นเพื่อน
หลักการเรื่องการเป็นคนรัก
หลักการเรื่องศิษย์-อาจารย์
หลักการเรื่องนักการเมืองและประชาชน

พบว่าสอดคล้องและมีเหตุผลอยู่เช่นเดิม ผู้เขียนก็ยังไม่รู้สึกว่ามันผิดตรงไหน
.....เพียงแต่พูดถึงมันบ่อยๆก็รู้สึกเบื่อขึ้นมาอย่างไร้เหตุผล
.....เพียงแต่หลักการของผู้อื่นที่แตกต่างจากเรานั้นก็ถูกต้องเช่นกันตามมุมมองของเขา
เขาก็ประพฤติตนตามอุปนิสัยของเขาอย่างนั้น ไม่อาจเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามหลักการของเรา จะพิจารณาเรื่องของเขาจึงจำเป็นต้องใช้หลักการของเขา

ความถูกต้องไม่จำเป็นต้องมีเพียงหนึ่งเดียว
และไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนฐานแห่งความผิดของหลักการอื่นที่แตกต่าง
หลักการของเราเป็นเพียง "กรง" ชนิดหนึ่งที่เราสร้างขึ้นและยินดีที่จะถูกครอบงำโดย "กรง" นั้น ความขัดแย้งที่เกิดระหว่างเรากับผู้อื่นหรือสิ่งอื่นเป็นผลมาจากการที่เราพยายามเอา "กรง" ของเราไปครอบเขา และเขาก็พยายามจะทำอย่างเดียวกันนี้กับตัวเรา

เราเกลียดการอยู่ใน "กรง" ที่ผู้อื่นสร้าง
ผู้อื่นก็เกลียดการอยู่ใน "กรง" ที่เราสร้างเช่นกัน
"กรง" ของเราดูสมเหตุสมผลสำหรับตัวเรา
"กรง" ของผู้อื่นก็ดูสมเหตุสมผลสำหรับตัวเขาเช่นกัน

ตราบใดที่เรายังอยู่ใน "กรง" ของตนเอง เราก็ไม่มีวันได้รับการยอมรับจากผู้อื่น
แต่การเข้าไปอยู่ใน "กรง" ผู้อื่น ก็เป็นความลำบากใจอย่างไม่ได้เสแสร้งของเรา
ความสัตย์จริงก็คือเราไม่ต้องการอยู่ใน "กรง" ของผู้ใด
ดังนั้นเราจึงมีความทุกข์จากการกระทบกับ "กรง" ผู้อื่นอยู่เนืองๆ

ความทุกข์นี้เป็นความสัตย์ที่มีอยู่เป็นปกติ เรียกว่า "ทุกขังอริยสัจจัง"

"บุญ" มักเกิดเวลาเราสบายใจอยู่ใน "กรง" ของตนเอง

เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งระหว่าง "กรง" ของเรากับผู้อื่นขึ้น "บุญ" ที่อยู่ใน "กรง" มักถูกพลังงานแห่งความไม่พอใจกระแทกเสียจนย่อยยับ

ขณะที่เรายังอยู่ใน "กรง" มีเพียง "บารมี" เท่านั้นที่จะช่วยให้เราดำรงอยู่อย่างเป็นปกติท่ามกลางการกระทบกระทั่งระหว่าง "กรง" เช่นนี้

ถึงแม้เราออกจาก "กรง" แล้ว เราก็โดนกระแทกอยู่ดีจาก "กรง" ของผู้อื่นหากเราอยู่ในตำแหน่งที่เขาพุ่งเข้ากระทบ แต่ครั้งนี้เราไม่จำเป็นต้องกระทำการใดๆเพราะสักพักหนึ่งเราก็จะ "แทรกตัว" เข้าไปอยู่ใน "กรง" ของเขาได้เองโดยอัตโนมัติตามแรงกระแทก "กรง" ที่เขาผลักมากระทบเรา เมื่อเวลาผ่านไปเราก็กลับมาอยู่นอก "กรง" อีกครั้งโดยไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆเพราะเขาดึง "กรง" ของตนกลับไปครอบผู้อื่น ความเร่าร้อนและแรงกระแทกต่างๆที่เกิดขึ้นเราก็ยังคงสัมผัสได้แต่ไม่เป็นปัญหาที่เราต้องใส่ใจ

เหตุเพราะเราไม่มี "กรง" ส่วนตัวนั่นเอง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2554 13:40:42 โดย เจ้าทึ่ม » บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 5.0 Firefox 5.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2554 13:32:21 »




ขอบคุณนะคะ


บันทึกการเข้า
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2554 13:08:11 »



การปฏิบัติธรรมที่เน้นการถือศีลบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีดูองอาจและทรงพลังเสมอ
สิ่งนี้ดึงดูดใจนักรบให้หันมาปฏิบัติธรรมโดยไม่ย้อนกลับ
ผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่จะค้อมศรีษะลงคำนับครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาแบบนี้เสมอ
ตลอดมาและตลอดไป

จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนระลึกได้
ตนเคยมีอาจารย์ที่เข้มงวดเคร่งครัดแบบนี้มาจำนวนไม่น้อย
ตนเคยพยายามจะปฏิบัติให้ได้อย่างอาจารย์

ส่วนใหญ่มักทำไม่ได้....
อาจารย์จึงดูงดงาม ทรงพลัง และองอาจยิ่งๆขึ้นไป
ตนเองจึงดูต่ำต้อย อ่อนแอ และโง่งม

แต่ก็มีหลายครั้งที่สถานการณ์สร้างผู้กล้า
ตนเองจับพลัดจับผลูทำได้ขึ้นมาบ้าง...
อาจารย์จึงดูใกล้ตัวขึ้น
ตนเองจึงดูเข้มแข็งขึ้น
แต่เมื่อดำรงอยู่ในสถาวะนั้นได้สักระยะ
ตนเองกลับดูคดงอและสิ้นหวัง
ทำให้อยากเข้าใจหัวใจของอาจารย์มากขึ้น
ว่าท่านดำรงอยู่อย่างองอาจและสง่างามได้อย่างไร ?

เคล็ดลับนั้นคือ "สัจจะกิริยาและอภัยทาน"

เมื่อเราเริ่มถือศีล
เรามักนำผืนผ้าแห่งความองอาจกล้าหาญมาห่มหัวใจอันขลาดกลัวของเราไว้จนมิด
เราแสดง "ความเด็ดเดี่ยวมั่นคง" ที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง "ความกลัว" โดยไม่รู้ตัว

เราถือศีล "ละเว้นปาณาติบาต" ด้วยความรังเกียจการ "ปาณาติบาต"
เห็นมดเห็นยุงสักตัว เราก็ขลาดกลัวที่จะมีส่วนร่วมในการตายของมัน
ซึ่งบางทีก็หลีกเลี่ยงไม่ได้

เราถือศีล "ละเว้นมุสาวาท" ด้วยความรังเกียจการ "มุสาวาท"
เราคาดการณ์ผิดไปบ้าง พูดผิดไปบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องที่ทำให้หัวใจเต้นแรงหายใจไม่เป็นปกติ
ซึ่งบางทีก็หลีกเลี่ยงไม่ได้

เราถือศีลโดยอาศัย "ความกลัว" ที่จะ "ผิดศีล" นั่นเอง
เราไม่ฆ่าสัตว์..........เพราะเรารู้สึกต่อต้านผู้ฆ่าสัตว์
เราไม่ได้พูดเท็จ.....เรารังเกียจผู้พูดเท็จ
เราไม่ผิดศีล...........เรารังเกียจผู้ผิดศีล
หากเราปฏิบัติแบบนี้เรื่อยไปโดยไม่เปลี่ยนแปลง...เราจะเป็นอย่างไร ?

ในขณะที่เราภูมิใจกับตนเองที่รักษาศีลมาได้เป็นระยะเวลานาน แต่อีกด้านหนึ่งเรากลับกลายเป็นคนเกรี้ยวกราดกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ ใครๆก็เข้าหน้าไม่ติด เรามีปฏิกิริยารุนแรงกับความไม่ลงตัวของบุคคลรอบข้างซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วก็พบว่าเขาบกพร่องจริง
นี่คือสภาพที่เราต้องการเป็นกระนั้นหรือ ?
สิ่งนี้เรียกว่าความองอาจสง่างามกระนั้นหรือ ?

ผู้เขียนมีโอกาสได้พิจารณาเรื่องนี้อยู่หลายครั้ง
พบว่าศีลที่เรารักษามาด้วย "ความกลัวผิดศีล" นี้ยังไม่ถึง "ที่สุดแห่งศีล"
เราทุกคนต้องผ่านขั้นตอนนี้ แต่เราทุกคนไม่ควรจะหยุดอยู่ที่สภาพนี้ตลอดไป
เมื่อใดที่เราสามารถยอมตายเพื่อรักษาศีลได้จากก้นบึ้งของหัวใจ
เมื่อนั้นเราจึงจะสามารถกระชากผ้าคลุมแห่งความองอาจเข้าไปสู่ด้านในอันขลาดกลัวของเรา

"ทำไมกูต้องกลัวผิดศีลด้วยวะ ?"
"เพราะกูกลัวเจ็บ ?"
"เพราะกูกลัวเสียชื่อเสียง ?"
"เพราะกูกลัวตาย ?"
"เพราะกูกลัวลงนรก ?"
"เพราะกูกลัวอาจารย์เสียใจ ?"
"เพราะกูกลัวบริวารเสียใจ ?"

"เฮ้ย..แต่ก็เพราะรักษาศีลข้อกาเม นี่แหละที่กูเจ็บ"
"ก็เพราะรักษาศีลข้อมุสา นี่แหละที่กูเสียชื่อเสียง"
"ก็เพราะรักษาศีลข้อปาณาติบาต นี่แหละที่กูตาย"
"ก็เพราะรักษาวาจาที่ให้ไว้กับพ่อนี่แหละ ทำให้กูฆ่าคนมากมาย และลงนรก"
"สภาพกูตอนนี้ทำให้อาจารย์ดีใจนักหรือ อาจารย์จะดีใจไหมเนี่ยที่เห็นกูเป็นแบบนี้"
"ก็เพราะรักษาศีลนี่แหละ ที่บริวารถูกกูลงโทษบ้าง ส่งไปตายบ้าง กูก็ทำให้มันเสียใจอยู่แล้วนี่หว่า"

"กูกลัวผิดศีลทำไมวะ ?"
"..............................."
"แล้วกูจะทำยังไงกับศีลดีวะเนี่ย ?"
"..............................."

เมื่อนั้นเราก็พร้อมที่จะก้าวผ่านความกลัวเรื่องการ "ผิดศีล"
ไปสู่ "สัจจะกิริยาและอภัยทาน" ต่อไป

เมื่อเรา "ไม่กลัว" การผิดศีล
...ถามว่าเราจำเป็นต้องทำตัว "ผิดศีล" ด้วยหรือไม่ ?
เมื่อเราบังเอิญกระทำการ "ผิดศีล"ไปแล้ว
...ถามว่าเราจำเป็นต้อง "กลัว" ผลของการกระทำนั้นหรือไม่ ?

ผู้เขียนพบว่า "สัจจะกิริยาและอภัยทาน" ช่วยประคองตนผ่านบทเรียนเรื่องศีลนี้ได้เป็นอย่างดี
เราไม่จำเป็นต้องเลือกทางเดินที่ระบุไว้ในข้อบัญญัติใดๆด้วยเหตุผลอันงดงามของผู้อื่น
ขอเพียงเรานำข้อมูล คำสั่งสอน และความรู้สึกทุกอย่างที่เราสั่งสมมากองไว้เบื้องหน้า
และพิจารณาทุกอย่างโดยละเอียดจากก้นบึ้งของหัวใจ
แล้วถามตัวเองว่า

"กูจะเอายังไง ?"
"กูยินดีรับผลทั้งบวกและลบจากการกระทำนั้นหรือไม่ ?"

หากเราพบว่ามีการกระทำหลายอย่างที่เรายินดีทำและรับผลจากการกระทำนั้นไม่ว่าดีหรือเลว
นั่นก็คือ "สัจจะกิริยาของเรา" ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนผู้อื่น

หากเรามี "ศีล" จริงจากก้นบึ้งของหัวใจ
...เราย่อมเลือกทำในสิ่งที่เป็น "ศีล" เอง
โดยปราศจากความกลัวในการ "ผิดศีล" อีกต่อไป

ทั้งนี้ "ศีล" ที่กล่าวถึงในที่นี้มีความหมายในเชิงข้อวัตรปฏิบัติ ซึ่งก็อยู่มีหลายข้อ
ต่างศาสนา ต่างนิกาย ข้อปฏิบัติก็แตกต่างกันออกไป
บางข้อก็ขัดแย้งกันเองในบางครั้ง
เช่น มุสาวาท กับ ปาณาติบาต หรือ อทินนาทานา กับ ปาณาติบาต
บางครั้งในการดำเนินตามข้อปฏิบัติอย่างหนึ่ง เราก็จำเป็นต้องทิ้งข้อปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง
เราจึงควรรู้จักตนเองว่าต้องการกระทำ "ข้อวัตรใด" จากก้นบึ้งของหัวใจ
สิ่งนั้นแล คือ "ศีล" ที่เรามีอยู่เป็นปกติในใจทั้งยามทุกข์และยามสุข
สิ่งนี้แล ที่จะอยู่กับเราต่อไปไม่ว่าจะใช้อุปทานยึดเอาไว้หรือไม่
สิ่งนี้แล คือ "หน้าที่" อันเป็น "วิบาก" ของเรา
สิ่งนี้แล คือ "ศีล" ที่หากเราทำผิดแล้ว จะส่งผลรุนแรงและชัดเจน

หากเราเลือกทำในสิ่งที่ "ผิดศีล" ข้อใด
...แสดงว่า "วิธีถือศีล" ข้อนั้นที่เราปฏิบัติมาไม่เคยถึงก้นบึ้งของหัวใจเราเลย
เราพึงทำความรู้จักกับตนเองเสียใหม่ว่าขณะนี้ตนเป็นคนอย่างไร ? ต้องการอะไร ?
หากไม่ต้องการรักษาศีลข้อนั้น จะโกหกตนเองไปทำไม ?
หากต้องการรักษาศีลข้อนั้น ต่อไปควรบำเพ็ญศีลบารมีเยี่ยงไร ?
ควรบำเพ็ญบารมีส่วนอื่นมากน้อยเพียงใด ?

เมื่อเรารู้จักตนเองในซอกมุมแห่ง "ศีลบารมี" อย่างตรงไปตรงมาแล้ว
เราจะเห็นด้านมืดของตนเองในส่วนที่ "ผิดศีล"
ไปพร้อมๆกับด้านสว่างของเราในส่วนที่ "มีศีล"
เราจะเริ่มเข้าใจหัวใจของคน "ผิดศีล" ว่าไม่ต่างอะไรกับหัวใจของเราเลย
เมื่อความเข้าใจนี้พัฒนามาถึงระยะอิ่มตัว เราจะไม่รังเกียจคนผิดศีลอีกต่อไป
เราสามารถมีศีลเป็นปกติได้โดยไม่ต้องตั้งใจรักษา ไม่ต้องกลัวผิดศีล ไม่ต้องแสดงความรังเกียจคนผิดศีล
เราจะค่อยๆซึมซับความหมายอันลึกซึ้งของศีลที่ไม่ใช่ข้อวัตรปฏิบัติ
เมื่อระยะเวลาสุกงอมเราจะเข้าถึงที่สุดของศีลได้อย่างเป็นธรรมชาติและไม่ย้อนกลับ

เมื่อนั้น "อภัยทาน" จะเจริญงอกงามขึ้นมาเองตามธรรมชาติ
หัวใจของเราจะเปิดกว้างให้กับความเป็นไปในสังสารวัฏ
เราจะก้าวเข้าสู่โลกอันเป็นอิสระของการให้อภัยทั้งต่อคนเลวและคนดี

"สัจจะกิริยาและอภัยทาน" ก็เสริมกันและกัน
และประคับประคองเราได้ด้วยประการฉะนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2554 13:41:09 โดย เจ้าทึ่ม » บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2554 13:18:33 »



หากสืบสาวท้าวความถึงสาเหตุที่พวกเราเริ่มมาปฏิบัติธรรมกัน
เรามักมีคำตอบอันสมเหตุสมผลหลายอย่าง
อธิบายให้ใครฟังได้ทันทีโดยไม่ขัดเขิน
แต่เมื่อเราถามต่อไปเรื่อยๆถึงสาเหตุที่เรายังคงบำเพ็ญต่อเนื่องจากวันนั้นมาจนถึงทุกวันนี้
พวกเราหลายคนอาจต้องใช้เวลาหาคำตอบกันอยู่นาน
หาไปแล้วตอบไปแล้วก็ยังรู้สึกค้างคาอยู่ในใจ
ไม่แน่ใจตนเองเหมือนกันว่าที่ตอบไปนั้นมันตรงใจตนเอง 100 % หรือเปล่า

บางคนอาจเริ่มต้นด้วยความรู้สึกอยากพ้นทุกข์
บางคนอาจเริ่มต้นด้วยความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น
บางคนอาจทำตามพ่อแม่เพื่อนฝูงครูอาจารย์หรือบุคคลอันเป็นที่รักเคารพคนอื่นๆ
ฯลฯ

แต่อะไรละ ที่ทำให้พวกเรายังคงปฏิบัติกันต่อไปมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ?

สำหรับพวกเราที่อยาก "พ้นทุกข์"
...ต้องถามว่ามาถึงทุกวันนี้เราพ้นทุกข์ได้หรือเปล่า ?
หากเรายังไม่พ้นทุกข์ เหตุใดเราจึงยังไม่เลิกปฏิบัติธรรม ?

สำหรับพวกเราที่อยาก "รู้"
...ต้องถามว่ามาถึงทุกวันนี้เรารู้จริงหรือเปล่า ?
หากเรายังไม่รู้จริง เหตุใดเราจึงยังไม่เลิกปฏิบัติธรรม ?

สำหรับพวกเราที่ทำตามบุคคลอื่นด้วย "ความเคารพรัก"
...ต้องถามว่าเราใช้ความเคารพรักในการปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ?
หากเราไม่ได้ใช้ เหตุใดเราจึงยังสามารถปฏิบัติธรรมอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ?

สำหรับผู้เขียนแล้ว ตนเองเริ่มปฏิบัติธรรมจากการบวชถือศีล 8 ด้วยเหตุผลที่ว่ามีเพื่อนชวนบวชแล้วตนก็ยังไม่เคยบวชเลย คิดว่าน่าจะลองทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต สุดท้ายเพื่อนคนนั้นก็ไม่ได้บวช ผู้เขียนบวชคนเดียวเป็นระยะเวลา 3 วันซึ่งคงดูแล้วน้อยไปจึงไม่ค่อยมีใครมาสอนการนั่งสมาธิให้อย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อได้บวชแล้วก็รู้สึกว่าตนยังไม่เข้าใจวิธีนั่งสมาธิ น่าจะไปฝึกนั่งที่อื่นดูว่าเขาทำกันอย่างไร ผู้เขียนจึงเริ่มแสวงหาวัดที่รับสอนฆราวาสปฏิบัติธรรมก็พบว่าเขาไม่ค่อยยอมรับผู้เขียนเข้าบวชในช่วงเวลาที่ตนต้องการ จนได้มาพบกับเจ้าอาวาสวัดหนึ่งที่เอื้อเฟื้อยอมรับผู้เขียนเข้าบวชถือศีล 8 ในระยะเวลาที่ตนต้องการ

ที่วัดนั้นท่านเจ้าอาวาสก็ไม่ได้มาจ้ำจี้จ้ำไชในรูปแบบการนั่งสมาธิ ท่านเพียงแต่กำหนดบทสวดมนต์ให้สวดจำนวนหลายๆจบในแต่ละวัน แล้วก็มีเวลาที่ทุกคนจะมาทำวัตรเย็นและนั่งทำสมาธิด้วยกัน โดยไม่จำกัดเวลาในการนั่ง ไม่จำกัดรูปแบบ ไม่มีการสอบอารมณ์ ผู้เขียนรู้สึกสบายใจที่จะปฏิบัติธรรมโดยการเข้าไปเป็นลูกศิษย์วัดนั้น ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี อธิษฐานบารมี ต่างๆก็ถูกสั่งสมเรื่อยมาจากการปฏิบัติตนตามปกติในวัด สิ่งที่ผู้เขียนลืมไปแล้วโดยสนิทใจก็คือความอยากรู้เรื่องการนั่งสมาธิทั้งๆที่เป็นสาเหตุแรกที่ทำให้ตนกลายมาเป็นลูกศิษย์วัดแท้ๆ ในช่วงเวลา 3-4 ปีจากนั้นมา ผู้เขียนไปวัดเป็นประจำ นำอาหารไปถวายวัดทุกอาทิตย์ ไปสวดมนต์ที่วัดทุกวันพระ บวชถือศีล 8 บ่อยๆ มีหลายอย่างได้รับการบ่มเพาะและขัดเกลา...แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้เขียนกระจ่างแก่ใจเลยว่า "เขานั่งสมาธิกันยังไง"

นับจากวันนั้นมาจนถึงวันนี้ ผู้เขียนได้ไปเยี่ยมเยือนสำนักปฏิบัติธรรมสำนักอื่นๆ บวชถือศีล 8 บ้าง ถือศีล 10 บ้าง ยังคงระลึกถึงพระคุณของเจ้าอาวาสและอาจารย์สอนปฏิบัติธรรมที่ตนรู้จักอยู่เสมอ สวดมนต์หลายบทและกราบพระอยู่เป็นกิจวัตร แต่แทบไม่ได้นั่งสมาธิเลย และยังคงไม่สามารถสอนผู้ใดนั่งสมาธิได้อยู่ดีแม้แต่ตนเอง แต่มาถึงวันนี้สามารถกล่าวกับตนเองได้อย่างจริงใจว่า "ไม่อยากรู้แล้วว่าเขานั่งสมาธิกันยังไง"

กรณีของผู้เขียน สาเหตุในการเริ่มต้นปฏิบัติธรรมแทบไม่มีผลอันใดเลยในการดำเนินอยู่บนหนทางที่ตนกำลังเดินอยู่ในปัจจุบัน

มาถึงวันนี้ผู้เขียนเองก็ไม่รู้ว่าการกระทำของตนปัจจุบันเรียกว่าปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ?
หากไม่ใช่...ก็ไม่รู้สึกเดือดร้อนเหมือนเมื่อก่อนตอนหาวัดปฏิบัติธรรม
หรือหากใช่...ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตนเองยังปฏิบัติธรรมอยู่
และไม่แน่ใจว่าการดำเนินชีวิตตามปกติมันต่างจากการปฏิบัติธรรมอย่างไร ?

ดังนั้นจึงไม่รู้จะเลิกปฏิบัติธรรมอย่างไร ? เลิกอะไรจึงถือว่าเลิกปฏิบัติธรรม ?
และก็ไม่รู้จะเริ่มทำอะไร ? เริ่มทำอะไรจึงถือว่าเริ่มปฏิบัติธรรม ?

คิดว่าทุกท่านที่อ่านบทความนี้ก็คงไม่ต่างจากผู้เขียนนัก เราอาจมีจุดมุ่งหมายบางอย่างในการริเริ่มทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

การปฏิบัติธรรม
การเรียนต่อ
การทำงาน
การแต่งงาน
การมีลูก
การรักใครสักคน
การเกลียดใครสักคน
การชื่นชมใครสักคน
การประนามใครสักคน

เรามักมีคำตอบเสมอสำหรับคำถามถึงจุดเริ่มต้นในการทำกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ แต่ขณะที่พวกเรากำลังดำเนินกิจกรรมเหล่านี้อยู่นั้นเรามักลืมสังเกตไปว่าตนแทบไม่ได้ใส่ใจกับจุดมุ่งหมายในตอนเริ่มต้นเลย เราต่างก็กระทำสิ่งต่างๆเหล่านี้โดยอุปนิสัยที่สนองตอบต่อแรงกระตุ้นที่ปรากฎขึ้นในแต่ละขณะของการดำเนินกิจกรรม จุดมุ่งหมายมักมีไว้เพียงเพื่อให้เราก้าวเท้าแรกออกลงบนทางเส้นที่เราเลือกเท่านั้น เมื่อเราได้อยู่บนเส้นทางนั้นแล้วก้าวต่อๆไปของเรามักเป็นไปตามอุปนิสัยของตนและปัจจัยจากสิ่งรอบข้าง เวลาที่เราระลึกถึงจุดมุ่งหมายในการทำกิจกรรมมักเป็นเวลาเรากำลังรู้สึก "เคลือบแคลงใจในการทำกิจกรรมนั้น" ทั้งนี้สิ่งที่เราพบ ณ ปลายทางมักไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายตั้งต้นเลยแม้แต่น้อย

1. ความรักและการแต่งงาน

การที่เราเริ่มรักใครสักคนอย่างจริงจัง มันอาจมีเหตุผลมาจากความประทับใจ (ฉันทะ) หรืออะไรก็ตามที่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เราก้าวเท้าแรกลงบนหนทางแห่ง "ฉันรักเธอ"

"ฉันจะดูแลเธอตลอดชีวิต"
"ฉันจะใช้ชีวิตกับเธอตลอดไป"
"ฉันปรารถนาจะสัมผัสเธอทั้งกายและใจตลอดชีวิต"
ฯลฯ

และเราก็จะดำเนินไปตามหนทางนั้นไปเรื่อยๆโดยไม่ตั้งข้อสงสัยใดๆ (วิริยะ+จิตตะ) จนกว่าจะมีสิ่งกระตุ้นบางอย่างทำให้เราเกิดความ "เคลือบแคลงใจในความรักระหว่างฉันกับเธอ" เมื่อถึงเวลานั้นเราจะระลึกถึงจุดมุ่งหมายของการเริ่มต้นแห่งความรักแล้วเราก็จะแก้ไขตอบโต้สถานการณ์นั้น (วิมังสา) ต่อไปเรื่อยๆ อาจมีการเลือกเดินบนทางสายใหม่หรือปรับปรุงเส้นทางสายเก่าจนกว่าเราจะเดินไปจนสุดทาง เมื่อมาถึงสุดทางเราจะรู้สึกได้ว่าไม่มีทางให้เดินต่อแล้ว และสิ่งที่เราพบ ณ ปลายทางกลับไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายตั้งต้นเลยแม้แต่น้อย ใครบ้างที่พบว่า

"ฉันดูแลเธอตลอดชีวิต"
"ฉันใช้ชีวิตกับเธอตลอดไป"
"ฉันสัมผัสเธอทั้งกายและใจตลอดชีวิต"
ฯลฯ
ปรากฎอยู่ ณ ปลายทางของความรักและการแต่งงาน

2. การต่อสู้เพื่ออุดมการณ์

การที่เราเริ่มต่อสู้เพื่ออุดมการณ์อะไรสักอย่างโดยไม่ย้อนกลับนั้น มักมีสาเหตุมาจากอุดมการณ์อันสูงส่งที่มีต่อตนเองและผู้อื่นเสมอ (ฉันทะ)

"ฉันจะทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดี"
"ฉันจะสืบทอดเจตนารมณ์ของบิดาและอาจารย์"
"ฉันจะทำให้ทุกคนมีความสุข"
"ฉันจะฉุดสรรพสัตว์เข้าสู่มรรคผลนิพพาน"
ฯลฯ

และเราก็เริ่มเส้นทางแห่งอุดมการณ์ของเราตามอุปนิสัยปัจจัย เราอาจเลือกที่จะสนับสนุนระบอบการปกครองอะไรสักอย่างที่คิดว่าทำให้บรรลุเป้าหมาย แล้วการต่อสู้เพื่อระบอบนั้นก็กลายเป็นกิจกรรมหลักที่เราทำอย่างไม่สั่นคลอน (วิริยะ+จิตตะ) จนกว่าเราจะได้เผชิญหน้ากับสถานการณ์บางอย่างที่สร้างคำถามให้เกิดขึ้นภายในใจของเรา เมื่อถึงเวลานั้นเราจะระลึกถึงจุดมุ่งหมายของการเริ่มต้นแห่งการต่อสู้แล้วเราก็จะแก้ไขตอบโต้สถานการณ์นั้น (วิมังสา) ต่อไปเรื่อยๆ อาจมีการเลือกเดินบนทางสายใหม่หรือปรับปรุงเส้นทางสายเก่าจนกว่าเราจะพบว่าไม่มีทางให้เดินต่อไปแล้ว...เรามาสุดทางแล้ว เป็นที่น่าฉงนใจว่าสิ่งที่เราพบ ณ ปลายทางแห่งนั้น กลับไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายตั้งต้นเลยแม้แต่น้อย ใครบ้างที่พบว่า

"ฉันทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดี"
"ฉันสืบทอดเจตนารมณ์ของบิดาและอาจารย์"
"ฉันทำให้ทุกคนมีความสุข"
"ฉันฉุดสรรพสัตว์เข้าสู่มรรคผลนิพพาน"
ฯลฯ

ปรากฎอยู่ ณ ปลายทางของการต่อสู้ตามอุดมการณ์

การดำเนินชีวิตตามจุดมุ่งหมายแบบนี้ ความจริงแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับละครอันยาวนานฉากหนึ่งซึ่งเราหวังอยู่เสมอว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะสมเหตุสมผลทั้งๆที่ความจริงแล้วมันไม่เคยสมเหตุสมผลเลยแม้สักครั้งเดียว ต้องมีบางอย่างที่ไม่สอดคล้อง ต้องมีบางอย่างที่เหนือความคาดหมาย และพวกเราก็ไม่เคยตระหนักรู้ในเรื่องนี้เลยจนกระทั่งเดินมาจนเกือบสุดทาง

ที่ต้นทาง.......
เราปรารถนาอะไรบางอย่างที่เราเองก็ยังไม่แน่ใจนักว่าสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่

ระหว่างทาง...
เราบรรลุถึงจุดมุ่งหมายหลายครั้งแต่เราก็ยังคงคิดว่าตนยังไม่ถึง เรายังคงเดินหน้าต่อไปเสมือนว่ามีสิ่งสำคัญมากรอคอยเราอยู่เบื้องหน้า

ที่ปลายทาง...
เราไม่ได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้น แต่เรากลับพอใจและไม่ได้สนใจกับการเดินทางต่อไปอีก

แม้กระนั้น...
พวกเราก็มีหน้าที่โดยธรรมชาติบางอย่างที่ต้องดำเนินตามทางต่อไปเรื่อยๆ จึงมั่นใจได้ว่าไม่วันใดก็วันหนึ่งเราย่อมมาถึงปลายทางและได้พบกับความจริงว่าที่แห่งนั้นไม่มีสิ่งที่เราตั้งใจแสวงหาเมื่อครั้งตั้งต้นเดินทางแต่อย่างใด

ในวันนั้นพวกเราจะได้เจอกันไหมนะ ?
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2554 13:28:00 »



อาจารย์เซนท่านหนึ่งชื่อซุซุกิ ชุนริวได้กล่าวไว้ว่าการปฏิบัติธรรมเปรียบเสมือนการอบขนมปัง ผู้เขียนพบว่าการพูดเช่นนี้สามารถอธิบายความยุ่งยากและแนวทางในการแก้ปัญหาของพวกเราได้ค่อนข้างชัดเจน

หากเปรียบพวกเราทุกคนเป็นแป้งขนมเบเกอรี่ ปลายทางของพวกเราทุกคนก็คือการกลายเป็นขนมเบเกอรี่พร้อมถูกรับประทาน

พวกเราเริ่มจากการถูกจับไปผสมกับน้ำ นม เนย ไข่ตามสูตรการทำขนมเฉพาะตัวของแต่ละคน แล้วจากนั้นก็จะ "ถูกนำไปตี" ให้เข้ากันด้วยเครื่องตี หรือไม่ก็ถูกนวดด้วยมือและไม้คลึง เวลานวดแป้งเป็นเวลาที่เจ็บปวดและสิ้นหวังที่สุดที่เราทุกคนต้องประสบกับมัน หลังจากเราละเอียดได้ที่แล้ว เราก็จะถูกนำไปขึ้นรูปในรูปแบบต่างๆกัน

บางคนมีรูปแบบเป็นวงกลมแบบขนมเค้ก
บางคนเป็นสี่เหลี่ยมแบบขนมปังปอนด์
บางคนเป็นเกลียวแบบขนมครัวซองค์
บางคนมีไส้ครีม
บางคนใส่ปลาทูน่าไว้ด้านใน
ฯลฯ

ถัดจากขั้นตอนนี้ไปก็คือการ "ถูกนำไปอบ" ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่อึดอัดและทรมานอีกขั้นหนึ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องสัมผัสและผ่านมันไปให้ได้

ขณะนี้พวกเราบางคนอาจอยู่ระหว่างขั้นตอนการนวดแป้ง
บางคนอาจกำลังถูกลำเลียงลงในถาดเพื่อนำไปอบ
บางคนอาจกำลังอยู่ในเตาอบ

จะเกิดอะไรขึ้น ?
หากเราปฏิเสธการถูกทุบตีจากไม้นวดขนมปัง
หากเราปฏิเสธการอยู่ในเตาอบอันร้อนระอุ
หากเราเดินออกมาจากเตาอบก่อนสุก

และจะเกิดอะไรขึ้น ?
หากเราถูกนำไปอบทั้งๆที่ยังไม่ถูกนวด
หากเรานำขนมถ้วยฟูไปอบในเตาทำขนมครัวซองค์
หากเราเร่งอุณหภูมิของเตาอบจนตนเองไหม้กรอบ

ในการปฏิบัติธรรม เรามักมีจุดหมายอันสวยหรูและวิธีปฏิบัติธรรมอันทรงพลังยิ่งใหญ่ ดุจดังการมุ่งหวังจะกลายเป็นขนมอบหอมกรุ่นน่ารับประทานของแป้งเบเกอรี่ทั้งหลายโดยผ่านกระบวนการอบอันทรงประสิทธิภาพ ครั้นเมื่อเราปฏิบัติไปได้สักพักเราจะพบว่าตนเองกำลังเผชิญหน้ากับความยุ่งยากบางประการที่เราต้องการแก้ไขให้หมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว มีวิธีอันชาญฉลาดมากมายที่เราได้รับคำแนะนำ มีหลายวิธีที่เราทดลองใช้แล้วเห็นว่ามันดี
แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไร ? ว่า

ความเย็นใจที่เราได้รับไม่ได้เกิดจากการที่เราออกจากเตาอบก่อนเวลาอันสมควร
ความสงบใจที่เราได้รับไม่ได้เกิดจากการที่เราปฏิเสธการถูกทุบตีจากไม้นวดแป้ง
ความอุ่นใจที่เรามีไม่ได้เกิดจากการที่เรานำตนเองใส่เตาอบทั้งๆที่ยังไม่ได้นวด
ความมุ่งมั่นที่เราสัมผัสไม่ได้เกิดจากการเร่งอุณหภูมิเตาจนร้อนเกินไป

มีหลายครั้งที่การ "ตระหนักรู้ถึงเนื้อแท้ของปัญหา" ที่เกิดขึ้นกับตนเองกลับสำคัญและเป็นประโยชน์มากกว่าการ "ศึกษาวิธีแก้ปัญหา" อันปราดเปรื่องซึ่งมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ

วิธีทำขนมถ้วยฟูย่อมแตกต่างจากวิธีทำขนมครัวซองค์
ด้วยการอบในเตาแบบขนมครัวซองค์...แป้งขนมถ้วยฟูจะกลายเป็นขนมถ้วยฟูได้อย่างไร ?
ด้วยวิธีของผู้อื่น...เราจะแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างไร ?

จำเป็นอย่างยิ่งที่แป้งขนมถ้วยฟูจะต้องรู้ว่าตนเองคือแป้งสำหรับทำขนมถ้วยฟู
จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องทำความรู้จักกับตนเองทุกซอกทุกมุมอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา

ปกติ เมื่อใดที่เราสามารถตอบตนเองได้อย่างจริงใจ ว่า "คนที่เรากำลังไม่พอใจอยู่ในขณะนี้นั้นมีอะไรบ้างที่เหมือนกับตัวเรา" เมื่อนั้นเราจะได้สัมผัสกับด้านมืดที่น่ารังเกียจของตนเองอย่างตรงไปตรงมา และเราก็จะได้เห็นด้านสว่างอันงดงามของตนเองพร้อมกันนั้นด้วยเมื่อเราถามตนเองต่อถึงความแตกต่างระหว่างเรากับเขาผู้นั้น สิ่งนี้สำคัญมากในการทำความรู้จักกับตนเอง และถือเป็นก้าวแรกบนทางที่พุ่งตรงไปสู่การอบตนเองในเตาอย่างเหมาะสม

จำเป็นอย่างยิ่งที่ขนมถ้วยฟูจะต้องตระหนักว่าอุณหภูมิที่ตนกำลังสัมผัสอยู่และรู้สึกเร่าร้อนอยู่นั้น มันกำลังพอดีในการอบ หรือว่าร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป
จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องตระหนักถึงความรู้สึกจากก้นบึ้งของหัวใจเราว่าความยุ่งยากบางประการที่เกิดขึ้นนั้น มันกำลังพอดีในการบำเพ็ญบารมี หรือว่าหนักเกินไป หรือเบาเกินไป

ปกติ หากเรายังมีความพอใจในการปฏิบัติ (ฉันทะ) มีความพากเพียรในการบำเพ็ญ (วิริยะ) มีพลังจดจ่อในกิจกรรมที่เราเลือกทำ (จิตตะ) และมีความเฉียบคมและยืดหยุ่นพอที่จะตั้งคำถามกับการปฏิบัติของตนเองเพื่อพิจารณาหาข้อบกพร่องแล้วดำเนินการแก้ไข (วิมังสา) อยู่ก็น่าจะถือได้ว่าอุณหภูมิที่เรากำลังอบตนเองอยู่นั้นใช้การได้
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2554 13:39:13 »


ผู้เขียนรู้สึกว่ามีการเร่งผลิตขนมเบเกอรี่
มีการเติมส่วนผสมและนวดแป้งอย่างหนักหน่วง
มีทดลองเร่งอุณหภูมิเตาอบขนมปังเพื่อจัดกลุ่มขนมที่พร้อมรับประทาน
มีการคัดขนมปังที่อบโดยแป้งยังไม่ได้ที่และขนมปังที่ไหม้ออกจากเตา
ไม่ว่าเราจะอยู่ในกลุ่มใดก็ตาม
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเคี่ยวกรำ
หวังว่าพวกเราจะได้แสดงความจริงใจของตนเองออกมาอย่างเต็มที่
และได้อยู่ในกลุ่มที่มีจังหวะเหมาะสมแก่สภาพของตน
เพื่อสักวันหนึ่งเราจะกลายเป็นขนมเบเกอรี่รสอร่อยพร้อมรับประทาน
ไม่ช้าก็เร็ว

แสงอาทิตย์ อุปมาดั่งเมตตา
แสงจันทร์ อุปมาดั่งปัญญา
พระอาทิตย์และพระจันทร์ไม่เพียงแต่ส่องแสงสว่าง
แต่ยังสาดส่องสรรพสิ่งทั้งหลายอย่างเท่าเทียม

เมื่อใดพระอาทิตย์มุดลงมาส่องแสงใต้ชายคาใดชายคาหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง
เมื่อนั้นคนนอกชายคาจะมองไม่เห็นสิ่งใดเลยเพราะไร้แสงสว่าง
คนที่อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกับพระอาทิตย์ก็จะรู้สึกร้อนรุ่มทรมาน
และมองไม่เห็นสิ่งใดเลยเช่นกันเนื่องจากแสงที่เข้าตาสว่างจ้าเกินไป

น่าคิดว่า ในกรณีนี้ไม่มีใครได้รับประโยชน์อันใดเลยจากดวงอาทิตย์
น่าคิดว่า ความเมตตาที่มีมากล้นต้องมีตำแหน่งการแสดงที่เหมาะสม
น่าคิดว่า ความเจิดจ้าไม่ได้สำคัญมากไปกว่าตำแหน่งที่ตั้ง

น่าคิดว่า พระอาทิตย์กับพระจันทร์มองเห็นกันและกันตลอดเวลา แต่พวกเรามองเห็นพระอาทิตย์อยู่คู่กับพระจันทร์เฉพาะตอนเช้าและตอนพลบค่ำ

น่าคิดว่า เหตุใดเราจึงมองไม่เห็นพระอาทิตย์กับพระจันทร์อยู่คู่กันในตอนเที่ยงวันและเที่ยงคืน
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.112 Chrome 12.0.742.112


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2554 18:05:49 »

มีประสบการณ์อยู่อย่างหนึ่งที่สร้างความทรมานใจให้แก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง
ตนเองไม่แน่ใจว่าเมื่อเล่าแล้วผู้ที่ได้อ่านจะเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่
ก่อนหน้านี้คิดว่าน่าจะเก็บไว้พิจารณาจนเข้าใจถ่องแท้ก่อนแล้วจึงค่อยแลกเปลี่ยน

นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้...เวลาผ่านไป 3-4 ปีแล้ว
คิดว่าตนเองมีประสบการณ์ในเรื่องนี้พอสมควร
คิดว่าตนน่าจะเล่าให้บางท่านที่ประสบสภาวะอย่างเดียวกันได้พิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป
คิดว่าความจริงใจของผู้เขียนน่าจะสื่อถึงใจท่านผู้อ่านบ้าง ไม่มากก็น้อย

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ผู้เขียนบวชถือศีล 8 ที่วัดแห่งหนึ่งเป็นเวลาประมาณ 10 วัน ช่วงนั้นจำได้ว่าเป็นช่วงวันวิสาขบูชา กิจวัตรประจำวันขณะบวชก็คือช่วยล้างจาน ทำกับข้าว ถูพื้นศาลา สวดมนต์ที่พระอาจารย์ให้สวด และนั่งสมาธิตามปกติ ช่วงนั้นผู้เขียนรู้สึกเหมือนมีกลุ่มคนตามสะกดรอยอยู่ได้สักเดือนหนึ่งแล้วแต่ไม่ทราบว่าคิดไปเองหรือเป็นจริง ขณะบวชก็เหมือนมีกลุ่มคนตามมาดูด้วยโดยได้รับอนุญาตจากพระอาจารย์ รู้สึกไม่ค่อยสบายใจที่จะนั่งอยู่ในที่ที่มีคนมากจึงมักหลบไปหาที่วิเวกนั่งสมาธิคนเดียว สมาธิที่นั่งบอกได้เลยว่าไม่มีแบบแผนอันใด พุทโธก็ไปไม่ตลอด ดูลมหายใจก็ไปไม่ตลอด เป็นลักษณะนั่งอยู่ท่ามกลางความคิดและความรู้สึกทุกอย่างที่ผุดขึ้นมาตลอด ตามคิดบ้าง ไม่ตามบ้าง ภาวนาบ้าง ไม่ภาวนาบ้าง แต่ก็นั่งได้นานหลายชั่วโมงเพราะมีความรู้สึกแน่นๆขึ้นเหมือนลมอัดแน่นอยู่ในท้อง ต่อมาก็ปรากฎความรู้สึกที่กระหม่อม หนักๆบ้าง ทะลุขึ้นไปบ้าง รู้สึกมันเพลินดี ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าจะภาวนาหรือคิดเรื่องอื่น ตอนแรกเกิดเฉพาะตอนนั่งสมาธิ ต่อมาเริ่มเกิดเป็นปกติไม่ว่าจะนั่งหรือไม่ก็ตาม ในวันวิสาขบูชา ตอนเย็นๆผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมในวัดก็มาชุมนุมเพื่อร่วมสวดมนต์และนั่งสมาธิบนศาลา ตอนนั้นผู้เขียนรู้สึกนั่งๆอยู่ก็เกิดความมั่นคงขึ้นที่ท้อง คิดว่าหากนั่งสมาธิต่อไปแบบนี้เราอาจจะสงบขึ้นได้บ้าง ก็เลยหลับตาลงแต่สักพักก็ต้องลุกไปเวียนเทียนก็เลยไม่ได้นั่งต่อ หลังเวียนเทียนเสร็จก็คิดว่าน่าจะหาที่สงบๆนั่งสมาธิคนเดียวเลยหนีการฟังธรรมไปนั่งสมาธิในห้องนอนรวมของผู้อื่นซึ่งตอนนั้นมีท่านอื่นที่กำลังนอนอยู่ไม่กี่คน

ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดใจเหมือนกันที่ต้องหนีการฟังธรรม ขณะหลับตาลงรู้สึกมีอารมณ์หลายอย่างเกิดขึ้นจนต้องร้องไห้ รู้สึกขัดใจที่มีใครก็ไม่รู้ตามดูอยู่ตลอดเวลาและไม่เข้าใจว่าทำไมพระอาจารย์ถึงอนุญาตให้คนเหล่านั้นเข้ามาตามดูถึงในวัด รู้สึกสะเทือนใจกับคำทักเล็กๆน้อยๆของเพื่อนที่สนิทกันในวัด รู้สึกขัดเคืองใจที่ผู้มานั่งบนศาลาไม่สำรวมและส่งเสียงดังขณะที่ผู้เขียนกำลังพยายามจะทำใจให้สงบ (ซึ่งไม่เคยทำได้เลย) แล้วก็คิดว่าแย่แล้วในวันพระใหญ่นี้เรามาร้องไห้ด้วยอารมณ์ขุ่นมัว ช่างไม่เอาไหนเสียเลย น่าจะทำอะไรบูชาพระพุทธเจ้าให้สมกับที่ได้มาปฏิบัติธรรมบ้าง ผู้เขียนไม่มีคุณงามความดีหลงเหลือที่จะถวายท่านได้เลยในขณะนั้น มีแต่ความเสียใจความขุ่นเคืองกับน้ำตา เลยนึกเอาอวัยวะภายในถวาย เอาตับ เอาเลือด เอาศรีษะ ฯลฯ แล้วก็เลยคิดว่าหากถวายไปหลายอย่างอย่างนี้ก็คงตายแล้ว รู้สึกว่าตอนนั้นได้ถวายชีวิตไปด้วยในที่สุดหากจำไม่ผิด แล้วจู่ๆก็เริ่มได้ยินเสียงของพี่ๆที่วัดที่เขากำลังสังเกตผู้เขียนอยู่ ตอนนั้นนึกว่าพวกเขาพูดกันเสียงดังจนเราได้ยิน แต่ตอนเช้าพอเดินลุกออกจากสมาธิไปก็ยังได้ยินเขาคุยกันอยู่โดยไม่เห็นขยับปาก เลยรู้ว่าตัวเองได้ยินเสียงเขาคุยกันทางใจแต่ไม่แน่ใจว่าทำไมบางทีก็ได้ยินบางทีก็ไม่ได้ยิน

เมื่อสึกออกมาและกลับมาที่บ้าน (ขณะนั้นอาศัยอยู่คนเดียว อยู่คนละจังหวัดกับบ้านเกิด) ก็ได้ยินเสียงความคิดของตนเองดังมาก ดังเหมือนจะกึกก้องไปทั่วฟ้า และได้ยินเสียงคนข้างบ้านพูดถึงตนเองด้วย รู้สึกเหมือนตนเองกำลังถูกจับตามองทุกย่างก้าว รู้สึกเหมือนว่าทุกคนจะได้ยินและได้เห็นทุกอย่างที่ตนคิด จะเข้าห้องน้ำอาบน้ำก็ไม่กล้ามองกระจกเพราะเกรงว่าภาพเปลือยกายของตนจะถูกส่งออกไปให้ผู้อื่นเห็น ต้องเอากระดาษมาปิดกระจกไว้ จะนอนก็นอนไม่ค่อยหลับ เหมือนตื่นอยู่ตลอดเวลา และเหนื่อยมากต้องหลับตาล้มตัวลงนอนทุกๆ 2 ชั่วโมง รู้สึกว่าตนเองเป็นสัตว์ประหลาด ไม่น่าจะอยู่ในโลกใบนี้ เวลาไปวัดก็ได้ยินเสียงตนเองพูดจาหยาบคายอยู่ในใจ มีทั้งวาจาที่กล่าวถึงอุจจาระและวาจาที่พูดถึงเรื่องอวัยวะเพศอยู่ตลอดเวลา ผู้เขียนคิดว่าตนเองเป็นสัตว์ประหลาด น่าจะออกไปอยู่นอกโลกเพราะสภาวะสูญญากาศอาจทำให้ทุกคนไม่ได้ยินเสียงอันน่ารังเกียจของตน รู้สึกว่าตนกำลังถูกตามล่าด้วยกลุ่มคนหลายกลุ่ม สิ่งที่ดีหน่อยก็คือเสียงสวดมนต์ก็ดังเช่นกัน ดังก้องไปทั่วฟ้า รู้สึกว่ามีใครๆมาร่วมสวดด้วยจำนวนมากมาย ผู้เขียนเคยหลับตาขณะขับรถลงจากวัดในตอนกลางคืนประมาณ 1 นาทีเพื่อทดลองวัดดวงดูว่าตนเองควรจะอยู่ต่อไปหรือว่าตายดี โชคดีที่ไม่ชนอะไร หรืออาจจะเป็นเพราะความกลัวตายก็ได้ผู้เขียนเลยลืมตาขึ้นมาก่อนจะเกิดอุบัติเหตุ (ความจริงสิ่งดีๆที่เกิดในช่วงนั้นก็มี เช่นความเข้าใจในขันธ์ห้ากระจ่างขึ้น ได้สัมผัสกับภาวะที่เซ็นเรียกว่าจิตเดิมแท้ซึ่งผู้เขียนขอไม่กล่าวถึงเพราะไม่ใช่ใจความสำคัญในบทความนี้และอาจไปขัดกับความเข้าใจของหลายท่าน)


ตอนนั้นผู้เขียนยังไม่มีกำลังใจและสติที่ละเอียดพอจะพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง ได้แต่ใช้ชีวิตไปตามปกติอย่างหวาดกลัว กลัวการออกจากบ้าน กลัวการอยู่ในบ้าน กลัวทุกอย่าง และที่ทำงานก็เกิดปัญหาเล็กน้อยเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและการทำงานตกๆหล่นๆผิดๆพลาดๆของตนเอง น่าแปลกที่ผู้เขียนไม่คิดจะปรึกษากับพระอาจารย์ที่วัด ไม่คิดจะปรึกษากับพ่อแม่ ไม่คิดจะปรึกษาเพื่อน คิดว่าอธิบายไปก็คงไม่มีใครเข้าใจและหาว่าผู้เขียนบ้า จนวันหนึ่งผู้เขียนตัดสินใจว่าจะย้ายที่ทำงานไปอยู่จังหวัดแถวๆชายแดนประเทศไทยเพราะคิดว่าในพื้นที่แบบนั้นตนเองน่าจะอยู่ได้และสบายใจมากกว่า แต่สงสัยว่าเหตุปัจจัยยังไม่พร้อม เพื่อนสนิทของผู้เขียนสมัยมัธยมได้โทรศัพท์มาปรึกษาผู้เขียนเรื่องครอบครัวของเขาทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสเล่าความคิดของตนที่ว่าจะย้ายที่ทำงานให้เพื่อนฟัง เพื่อนคนนี้เขาถามถึงเหตุผลผู้เขียนก้ถ่ายทอดให้ฟังเท่าที่ความสามารถของตนในขณะนั้นจะทำได้ เขาก็บอกผู้เขียนให้โทรหาเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งที่เขารู้จักและเคยพาผู้เขียนไปพบครั้งหนึ่ง ผู้เขียนก็ไม่รู้คิดอย่างไรจึงได้โทรไปหาเจ้าสำนักท่านนั้น ตนไม่ได้เล่าอะไรให้ฟังมากนัก บอกเพียงว่าได้ยินเสียงคนอื่นพูดกันอยู่ตลอดเวลาและมีคนตามอยู่ตลอด เจ้าสำนักท่านนี้คงเกรงว่าผู้เขียนจะเป็นบ้าจึงชวนผู้เขียนให้ย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านแทนที่จะไปทำงานแถวจังหวัดชายแดน ตอนนั้นไม่ทราบว่าท่านเจ้าสำนักใช้วิชาสาริกาลิ้นทองด้วยเจตนาดีหรือเป็นเพราะเป็นวิบากของผู้เขียนที่จะต้องกลับมาอยู่ที่บ้าน ผู้เขียนเปลี่ยนใจกระทันหันทันทีว่าจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดอย่างน้อยก็น่าจะได้อยู่กับพ่อแม่ยามแก่เฒ่า ขณะนั้นมีวิบากหลายอย่างที่ดึงผู้เขียนกลับมาชดใช้ที่บ้านเกิด ส่วนหนึ่งอาจเป็นวิบากที่ผู้เขียนมีต่อเจ้าสำนักท่านนั้นก็เป็นได้

เมื่อกลับมาอยู่ที่บ้าน ท่านเจ้าสำนักท่านนั้นก็บอกให้ผู้เขียนเขียนตารางเวลามาให้ดูว่าในวันหนึ่งจะทำอะไรบ้าง นั่งสมาธิกี่ชั่วโมง นอนหลับกี่ชั่วโมง ท่านบอกให้นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ทุกวันตามตารางเวลาที่ตนเขียน และให้ทำตัวตามปกติ เลิกคิดเรื่องเสียงต่างๆ และการถูกติดตามเพราะผู้เขียนไม่ได้ถูกใครตาม มีอยู่ประโยคหนึ่งของท่านเจ้าสำนักที่ช่วยให้ผู้เขียนกลับมาเป็นปกติได้ นั่นก็คือ "กลัวตายขนาดนั้นเลยหรือ ?" นั่นคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องการที่สุดและมาได้ถูกจังหวะที่สุด...

"กลัวตายขนาดนั้นเลยหรือ ?" คำถามนี้ผู้เขียนได้ค้นหาคำตอบโดยการเลิกสวมลูกประคำเสกของพระอาจารย์ เลิกสวดมนต์เพื่อคุ้มครองภัยของตนเอง เลิกห้อยเครื่องรางของขลังทุกชนิด เลิกกินอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เลิกนั่งสมาธิ เลิกปฏิบัติในสิ่งพิเศษที่ต่างจากการใช้ชีวิตของคนปกติ ผลปรากฎว่า "กูอยู่ได้!" ...เสียงลามกหยาบคายที่ผู้เขียนได้ยินค่อยๆหายไป เสียงความคิดผู้อื่นก็ไม่ได้ยินแล้ว ผู้เขียนสามารถนอนพักผ่อนได้มากขึ้น รู้สึกว่าตนเองเป็นคนปกติ แต่ยังรู้สึกว่ามีกลุ่มคนและที่ไม่ใช่คนคอยติดตามดูอยู่ตลอดเวลาเช่นเดิม แต่นั่นไม่ทำให้ผู้เขียนเดือดร้อนอีกแล้วเพราะตอนนั้นรู้สึกกล้าหาญขึ้น รู้สึกว่าอะไรจะเกิดก็ให้มันเกิดไป เราก็ไม่ได้กลัวตายขนาดนั้น

มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนยังมีอยู่เป็นปกติตั้งแต่วันที่เกิดอาการแปลกๆจนถึงวันนี้ นั่นคือการได้ยินเสียง "โอ้โห" บ้าง "อืมๆ" บ้างของผู้หญิงและบางทีก็มีผู้ชายด้วย ความรู้สึกบนกระหม่อมและบริเวณหน้าผากก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม บางครั้งก็เพิ่มมาเป็นบริเวณคอ บริเวณท้อง แถวๆกระดูกสันหลัง รู้สึกเย็นวาบแผ่ไปทั้งแผ่นหลังมาด้านหน้าก็มี หลังๆนี้มีความรู้สึกเหมือนมีแรงแม่เหล็กชัดเจนเกิดขึ้นที่ปลายนิ้วมือ กลางฝ่ามือ ปลายเท้า กลางฝ่าเท้า ความรู้สึกแบบนี้ผู้เขียนมาทราบภายหลังว่าเป็น "จักระ" ซึ่งมีกันทุกคน ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งแบบเต๋า แบบวัชรยาน แบบโยคะ แบบ osho ฯลฯ ก็คงทราบกันดีแล้ว

ส่วนเสียงด่าหยาบคายที่ปรากฎในครั้งแรกนั้นผู้เขียนได้มาพิจารณาอยู่นานจนได้ข้อสรุปว่าเป็นพลังวิบากของผู้เขียนเองที่บันทึกไว้ในกุณฑาลิณี เมื่อนั่งสมาธินานๆบ่อยๆจนพลังกุณฑาลิณีถูกปลุก รหัสวิบากนี้ก็จะถูกปลุกขึ้นมาด้วย มันมีวิบากเรื่อง "กามราคะ" อยู่มากจึงมีการพูดถึง "อวัยวะเพศ" ทันทีที่ถูกปลุกขึ้น ส่วนการพูดถึงเรื่อง "อุจจาระ" อะไรเหล่านี้นั้นผู้เขียนมานึกๆดูแล้วเพิ่งทราบว่าเป็นวิบากจาก "อสุภกรรมฐาน" ที่ตนบำเพ็ญมาควบคุมกามราคะในอดีตอย่างแน่นหนา ดังนั้นเมื่อมันโดนปลุก มันจึงแสดงตัวออกมาพร้อมกัน

เสียงด่านั้นหากพูดตามแบบของสหายธรรมท่านหนึ่งก็กล่าวได้ว่าเป็น "จิตอสูร" ของตัวผู้เขียนเองซึ่งเกิดจากการปฏิบัติธรรมแบบใช้กฎระเบียบเคร่งครัดจำกัดพฤติกรรม ตอนออกมาครั้งแรกมีอาการเหมือนพระแก่ๆที่ไม่ค่อยพอใจอะไรเลย ชอบสอนชอบวิจารณ์ แต่ต่อมาก็เหมือนสัตว์เดียรัจฉานชนิดหนึ่งที่ชอบหาเรื่องผู้อื่น แต่ก็เหมือนมีอีกตัวหนึ่งที่คอยประคับประคองอสูรตัวนี้ไว้ห่างๆเป็นฝ่ายใจดีมีเมตตามีปัญญา พยายามเข้าใจและออมชอมกับความยุ่งยากต่างๆที่เกิดขึ้น หากพูดตามแบบของสหายธรรมท่านหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น "โพธิจิต" ชนิดหนึ่งที่มีในตัวผู้เขียน จิตสองตัวนี้เมื่อปรากฎขึ้นครั้งแรกล้วนเป็นตัวผู้เขียนทั้งสิ้น ด่าเขาก็ตัวเรา ชมเขาก็ตัวเรา และไม่ค่อยปรากฎขึ้นพร้อมกัน แต่ก็มีเหตุการณ์บางอย่างที่ยืนยันได้ในความรู้สึกของตนเองในที่สุดว่าทั้งสองตัวนี้ไม่ใช่ตัวเรา

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบวชถือศีล 8 อีกครั้งหลังจากว่างเว้นไปนานที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้ๆบ้าน คราวนี้เป็นแบบปิดวาจาห้ามพูดห้ามมองห้ามสื่อสารกับผู้ใดเลยในวัด ให้ทำตัวเหมือนอยู่คนเดียว การบวชในครั้งนี้ผู้เขียนพบว่า "จิตอสูร" ของผู้เขียนไปโต้แย้ง(ในใจ)กับวิธีปฏิบัติธรรมของพระผู้นำปฏิบัติในวัด ความรู้สึกเหมือนมันเป็นสิงโตหรือไม่ก็ราชานักรบอะไรสักอย่างที่อยู่ท่ามกลางคนหมู่มากและมีแต่กลิ่นคาวเลือด พระท่านพูดอะไรขึ้นมาสักอย่างก็ต้องเถียงกับท่านในใจเรื่อยไป รู้สึกว่าพระผู้นำปฏิบัติได้ยินเสียงความคิดของผู้เขียนด้วยแต่ผู้เขียนไม่ได้ยินเสียงความคิดท่าน คิดเอาเองว่าท่านคงลำบากใจไม่น้อยที่มีสัตว์ประหลาดอย่างผู้เขียนมาปรากฎตัวขึ้นในวัด ผู้เขียนพบว่าตนเองไม่สามารถบังคับเสียงด่านี้ได้เลย เป็นปรากฎการณ์ที่สร้างความอึดอัดใจให้กับผู้เขียนเป็นอย่างมากอีกครั้งหนึ่งแต่ไม่ถึงกับร้องไห้อย่างเมื่อก่อน คราวนี้กลุ้มใจมากเพราะไปด่าคุณพระคุณเจ้าเข้า (ในใจ) ตนเองพยายามจะหนีการด่าผู้อื่นโดยการสวดมนต์ ฯลฯ แต่ก็ปรากฎเสียงด่านี้แทรกขึ้นมาทุกครั้ง แต่ละครั้งก็มีคำด่าว่าที่น่ารังเกียจปรากฎขึ้นตลอดเวลา ด่าพระด้วยไม่ใช่ด่าตัวเอง บวชได้ 3 วันผู้เขียนก็รู้สึกลำบากใจมากจนอยากจะสึกแต่ก็เกรงใจพี่ที่ไปบวชด้วยกัน ขณะบวชหลวงพี่พยายามจะพูดให้ผู้เขียนรู้จักทำใจให้สงบ แต่ "จิตอสูร" ตัวนี้ไม่ยอม "โพธิจิต" เองก็ไม่ยอม ต่างฝ่ายต่างมีทางออกของตนเอง "จิตอสูร" เอาความเด็ดเดี่ยวเข้าแลก ผู้เขียนนึกถึง "ความตาย" อยู่จนเลิกด่าใครไปได้สัก 1 ชั่วโมงก็ฟื้นคืนความกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาใหม่ คราวนี้ด่าสั้นๆและน้อยลงกว่าเดิมหน่อยนึง ได้ยินหลักการที่ขัดกับที่ตนเองเข้าใจก็อดแสดงออกไม่ได้ ส่วน "โพธิจิต" ชอบแผ่เมตตา พอนึกในใจว่า "เมตตา" ก็รู้สึกเหมือนอากาศในอกจะพองฟูขยายใหญ่ ตัวพองเหมือนลูกโป่งและได้ยินเสียงฮือฮาของหญิงชายอีกตามปกติ เย็นวันหนึ่ง "โพธิจิต" ทำงานประสานกับ "จิตอสูร" ได้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก ผู้เขียนนั่งสมาธิแล้วปวดขามากแต่จะลุกก็เสียศักดิ์ศรีอสูร เลยอธิษฐานขอให้ความเจ็บปวดที่ขานี้ไปบรรเทาความเจ็บปวดของขามารดาและบิดาที่แก่มากแล้ว ขอนั่งอยู่ต่อไปเพื่อรับความเจ็บปวดนี้โดยให้ทุกวินาทีที่ความเจ็บปวดเกิดขึ้นที่ขาเป็นวินาทีแห่งความสุขความสบายของมารดาและบิดา เมื่อนั้นกลับมีกำลังใจนั่งต่อไปได้โดยยังเจ็บขาอยู่แต่มันไม่ร้อนใจเหมือนตอนแรก ดูๆไปมันก็แค่เตโชธาตุประทุจี๊ดๆที่บริเวณขามันทับกันอยู่ มันก็ไม่ได้เจ็บทุกวินาที มันมาเป็นพักๆห่างกันพักละ 1-3 วินาที ผู้เขียนนั่งต่อไปจนพระท่านคงเห็นใจตีระฆังให้เลิกนั่งได้ หลังจากนั้น "จิตอสูร" ยังอวดแสดงพาผู้เขียนนั่งต่อไปอีก 15 นาที ด้วยความรู้สึกว่า "เฮ้ยเดี๋ยวก่อน กูยังไม่แพ้ กูยังทำต่อได้" วันนั้นดูท่าเหมือนพระท่านก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าผู้เขียนไม่ได้มีเจตนามาก่อกวน ผู้เขียนพยายามอยู่ต่อไปจนครบ 7 วันจึงได้สึกกลับบ้าน รู้สึกว่าตนเองไม่ควรไปปฏิบัติธรรมที่สำนักใดอีกแล้วเพราะรังแต่จะไปสร้างความลำบากให้ผู้อื่น

หลังกลับจากวัดผู้เขียนได้ตั้งคำถามกับตนเองและหาคำตอบเองถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาที่สุด และได้เข้าใจในหลายเรื่อง เรื่อง "ความสงบ" "สติ" "อานาปาณสติ" "สมาธิ" "ปัญญา" "วิปัสสนา" ฯลฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้ผู้เขียนพบว่า

"จิตอสูร" และ "โพธิจิต"
ไม่ต่างกัน
แต่ก็ไม่เหมือนกัน
ไม่ใช่ของเรา
แต่บางทีก็เป็นของเรา
และเราก็ไม่แน่ว่าเป็นใคร
แต่บางทีก็เหมือนจะแน่
หาคำพูดมาบรรยายได้แต่ทำให้ได้ใจความสมบูรณ์ไม่ได้

เราบังคับ "จิตอสูร" ไม่ได้เลย มีเสียงด่าแทรกอยู่ทุกครั้งที่เรากำลังมีลมพองๆ ความรู้สึกก่อนจะมีคำด่าผุดขึ้นมันมีลมพองๆ คล้ายๆกับตอนผู้เขียนแผ่เมตตา เพียงแต่มันกอรปไปด้วย "ความกลัว" มันจึงวนเวียนอยู่ในสิ่งที่กลัว ผิดกับ "โพธิจิต" ที่ไม่กลัว เลยไม่ต้องด่าว่าใคร

ในที่สุดผู้เขียนก็พบว่ามีคำด่าผุดขึ้นในทุกเวลาที่เรา "บ้าดี (กลัวความเลว)" เกินไป
ตอนเราสวดมนต์ด้วยความเลื่อมใส
ตอนเราเห็นรูปพระหรือคนที่เราเลื่อมใส 
ตอนเราเห็นของสวยงามและรู้สึกเพลิดเพลิน
จะปรากฎคำด่าหยาบๆขึ้น

สิ่งนี้ผู้เขียนเพิ่งได้ทราบเร็วๆนี้เองว่าสิ่งนี้เป็นควันหลงจาก "อสุภกรรมฐาน" ในอดีตที่ตนน่าจะเคยบำเพ็ญมาอย่างหนักโดยใช้ "ความกลัว" เป็นพละ หากเราฝึกอสุภกรรมฐานโดยใช้ความ "กลัวกามราคะ" เป็นฐาน เราจะหนีความสวยงามเพลิดเพลินเจริญใจโดยใช้รูปหรือเสียงอันน่าขยะแขยง วิธีปฏิบัติแบบนี้ทำให้เราหนี "รูปราคะ" คือความชอบใจในรูปสวยงามได้ แต่กลับสั่งสม "โทสะ" และ "อรูปราคะ" แทน เราจะกลายเป็นคนหวาดกลัวความงาม หวาดกลัวความบันเทิงใจ และมีโทสะกับทุกสิ่งที่ขัดกับหลักการอันเข้มงวดที่เราถือปฏิบัติ เราจะไม่สามารถรู้เห็นตามความเป็นจริงได้หากเรายังถือความกลัวนี้เป็นสรณะอยู่

ความจริงแล้วคำด่ามันเกิดครั้งเดียว แต่พอมันเกิดแล้วเราก็กังวลใจที่ตนเองมีเสียงด่าว่าผู้อื่น กลัวผู้อื่นจะได้ยินแล้วเข้าใจผิด ถึงเขาไม่ได้ยินก็ไม่สบายใจกลัวว่าตนเองจะเป็นคนไม่ดี "ความกลัว" นี้เองทำให้มีเสียงด่าเกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ยิ่งด่าก็ยิ่งกลัว ยิ่งกลัวก็ยิ่งด่า ไม่จบไม่สิ้นสักที คำด่านี้จะหยุดก็ต่อเมื่อผู้เขียนบอกกับตัวเองว่า

 "เออ...เป็นไงก็เป็นกัน
ถ้ามันเลวจริงก็รับวิบากเลวๆไปซะ
ถ้ามันดีจริงก็ไม่ควรต้องกังวลใจในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเรา"

ปัจจุบันนี้เสียงด่าก็ยังคงเกิดขึ้นกับผู้เขียนบ้างแต่ก็ลดความถี่ลงมากแล้ว พร้อมๆกับความเข้าใจในปรากฎการณ์ต่างๆที่ลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม คราวนี้คำด่าผุดขึ้นมาด้วยสาเหตุอื่นๆมากมายผสมปนเปกันไป ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อมี "จิตอสูรดวงอื่น" มากระทบ
นอกจากนั้นยังมี "จิตมาร" ที่ร้องเพลงตลอดเวลา ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ "ปัญญา" มีเสียง "สวดมนต์" ซึ่งเป็น "อัญญินทริยัง" ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นนิสัยเก่าๆที่เราใช้บำเพ็ญบารมีมาทั้งสิ้น

หากท่านผู้อ่านท่านใดมีปรากฎการณ์คล้ายๆกับผู้เขียน เช่น
มีรูปลามกปรากฎขึ้นในใจขณะปฏิบัติธรรม
หรือมีถ้อยคำผรุสวาทพระหรือท่านผู้เจริญท่านอื่นๆปรากฎขึ้นในใจ
แล้วรู้สึกผิดแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งมันได้
อาการนั้นเป็นภาวะของ "จิตอสูร"
ที่นิยมความเด็ดขาด ชอบควบคุม และรักการต่อสู้
และกลัวความพ่ายแพ้เป็นที่สุด

ให้ท่านตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเองอย่างตรงไปตรงมาว่า
"แล้วไง...กูจะฉิบหายลงแบบนี้รึ กูกลัวอะไรนักหนา ?"
จากนั้น "จิตอสูร" ในตัวท่านก็จะดำเนินการต่อไปเองตามบารมีที่เคยบำเพ็ญมา

ขอให้ท่านทั้งหลายมีชัยเหนือพันธนาการทั้งปวง
อนุโมทนามิ
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554 12:14:45 »

ปีนี้เป็นปีที่ผู้เขียนได้รับรู้ข่าวสารเรื่องความรักมากเป็นพิเศษ
เพื่อน 3 คนปรึกษาปัญหาเรื่องความรักในหลายรูปแบบ
ตนเองก็เพิ่งแก้ปัญหาเรื่องความรักเสร็จสิ้นไปเมื่อปลายปีที่แล้วนี้
คิดว่าน่าจะแสดงความจริงใจในเรื่องนี้บ้างในฐานะกัลยาณมิตรของท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผู้เขียนพบว่าวิธีสื่อความหมายในสิ่งที่พูดให้ตรงที่สุดก็คือ
การเล่าเรื่องของตนเองอย่างจริงใจและตรงไปตรงมา

ในช่วงมัธยมศึกษา ผู้เขียนสัมผัสกับเรื่องราวความรักแต่เฉพาะในหนังในละคร ผู้เขียนเริ่มรู้จัก "ชอบ" เพศตรงข้ามอย่างเป็นตัวเป็นตนเมื่อตนเองเรียนอยู่มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 ฝ่ายตรงข้ามเป็นรุ่นพี่ในชมรมศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่ง "ชอบ" เขาเพราะเขา "เก่ง" และดูดีมากๆเมื่ออยู่ในท่วงท่าของการต่อสู้ รุ่นพี่คนนี้ก็เอ็นดูผู้เขียนเพราะตั้งใจซ้อมและรักศิลปะการต่อสู้เหมือนกัน รุ่นพี่เอาใจใส่ดูแลผู้เขียนเป็นพิเศษในการซ้อมด้วยเหตุที่ผู้เขียนเป็นชาวต่างชาติคนเดียวในชมรม มีการพาผู้เขียนไปเลี้ยงข้าวเย็นพร้อมๆกับรุ่นพี่คนอื่นๆ มีหลายอย่างในตัวของรุ่นพี่ที่มีเสน่ห์และดึงดูดใจให้ผู้เขียนนิยมชมชอบ ผู้เขียนมักจะแอบเอาดอกไม้เล็กๆไปเสียบไว้ที่รองเท้าของรุ่นพี่ที่ถอดไว้หน้าห้องชมรมโดยไม่ให้เขารู้เพราะอยากเห็นรอยยิ้มและความประหลาดใจของเขา ผู้เขียนได้บอก "ชอบ" รุ่นพี่โดยใช้วิธีให้ช็อคโกแล็ตในวันวาเลนไทน์ และก็ได้รับการตอบรับโดยช็อคโกแล็ตในวันไวท์เดย์จากรุ่นพี่ ความรู้สึกตอนนั้น จะว่าไปแล้วไม่ได้ดีใจจนยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ไปทั้งวัน หรือรู้สึกหัวใจเต้นแรงอย่างที่มักเห็นในหนังเกาหลีปัจจุบัน รู้สึกดีใจและไม่พอใจเมื่อเห็นรุ่นพี่เข้าใกล้เพศตรงข้ามคนอื่นๆ มาวิเคราะห์ดูแล้วผู้เขียนมีอาการของความ "หึงหวง" นำหน้ามาก่อนความ "รัก" เสียอีก ผู้เขียนบอกว่า "ชอบ" เขา แต่ตนเองก็ไม่เคยสนใจจะรู้เลยว่าเขาชอบกินอาหารแบบไหน ฟังเพลงแบบไหน อนาคตอยากจะทำงานที่ไหน ไม่เคยรู้ว่าเขาให้ความสำคัญกับสิ่งใดในชีวิต รู้จักแต่หลักการและท่วงท่าที่รุ่นพี่นิยมใช้ในศิลปะการต่อสู้ ความตั้งใจของรุ่นพี่ในการสื่อความหมายกระบวนท่าต่างๆ ผู้เขียนรู้แต่ว่าตนเองไม่พอใจมากที่มีเพศตรงข้ามเข้ามาคุยกับรุ่นพี่ ความรู้สึกแบบนี้ผู้เขียนคิดว่ามันคือ "ความรัก" ตลอดเวลาที่ใช้ร่วมกันผู้เขียนไม่เคยมีความรู้สึก "อ่อนโยน อบอุ่น" มีแต่ความต้องการรวมความสนใจของรุ่นพี่มาไว้ที่ตนเองเพียงคนเดียว มาคิดๆดูแล้วตอนนั้นรุ่นพี่เหนือกว่าผู้เขียนหลายขุมในเรื่อง "ความรัก" เขามีการแสดงออกที่ "อบอุ่น อ่อนโยน" และพยายามจะเข้าใจผู้เขียน อนิจจา ผู้เขียนยังไม่โตพอที่จะเข้าใจในความอบอุ่นนั้นว่าตนเองควรมีให้แก่ผู้อื่นบ้างโดยไม่หวังผลตอบแทน ผู้เขียนรู้สึก "ไม่พอใจ" ตลอดเวลาในเรื่องเล็กๆน้อยๆที่แสดงว่ารุ่นพี่ไม่ได้สนใจผู้เขียนอย่างที่ควร "หึงหวง" ที่รุ่นพี่ไปใกล้ชิดกับเพศตรงข้ามทั้งๆที่เพศตรงข้ามท่านนั้นก็มีแฟนอยู่แล้วจนถึงขนาดเขียนจดหมายไปต่อว่ารุ่นพี่ด้วยถ้อยคำรุนแรงถึงเรื่อง "ความเด็ดขาด" ในการตัดสินใจหรืออะไรทำนองนี้ (มันนานมากจนลืมไปแล้ว) สิ่งนี้ทำให้รุ่นพี่ตอบโต้ผู้เขียนกลับโดยการไปคบกับเพศตรงข้ามท่านนั้นเสียเลย และก็แสดงอาการสนิทสนมกลมเกลียวกันต่อหน้าผู้เขียนอย่างเปิดเผย ผู้เขียนเห็นเข้าก็ทนไม่ได้เลย "หนี" ออกจากชมรมมาเฉยๆและไม่กลับไปอีกเลย

จากนั้น 1 สัปดาห์ ผู้เขียนก็ไปจีบเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยความคิดอยากจะเอาชนะรุ่นพี่ ทั้งๆที่เขาคงไม่รับรู้แล้วเพราะไม่เคยติดต่อกันเลยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เพื่อนร่วมชั้นคนนั้นผู้เขียน "ชอบ" เขาที่หน้าตาดีและ "เก่ง" เรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งดูเท่ห์มากเพราะผู้เขียนไม่เก่งเรื่องนี้ เขาดูใจเย็นๆและเป็นคนดี ปรากฎว่าเขาตกลงใจเป็นแฟนกับผู้เขียนหลังจากนั้นประมาณ 1-2 เดือน เมื่อได้แฟนเป็นตัวเป็นตนแล้ว บอกตามตรงว่าตนเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าต้องทำยังไง ตามกระแสก็คือไปเที่ยวตามที่ต่างๆด้วยกัน เราก็ไปเที่ยวด้วยกัน คบกันอาทิตย์แรกผู้เขียนคิดว่าน่าจะเลิกกันเสียเนื่องจากหงุดหงิดใจเขาเรื่องความไม่เด็ดขาดในการตัดสินใจเลือกร้านอาหารและสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวกัน แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมพวกเรายังคบกันต่อไปได้อีกตั้ง 5 ปี ตลอดระยะเวลา 5 ปีนี้ผู้เขียนจะเป็นฝ่าย "แสดงความต้องการ" แล้วเพื่อนร่วมชั้นท่านนี้ก็จะเป็นฝ่าย "สนองความต้องการ" นึกๆดูแล้วตนเองผิดมากที่ไม่ได้ "ให้" ความรู้สึกดีๆแก่เขาอย่างที่คนรักกันพึงกระทำ หลายครั้งที่เราทะเลาะกันผู้เขียนมักจะขอเลิกกับเขาแล้วเขาก็จะร้องไห้ แล้วเราก็จะไม่พูดถึงเรื่องนี้กันอีก มีการทะเลาะกันอยู่ครั้งหนึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เพื่อนร่วมชั้นท่านนี้กับผู้เขียนเลิกกัน จำไม่ได้แล้วว่าตอนนั้นตนเองไป "พาล" เขาด้วยเรื่องอะไร เราทะเลาะกันอีก แล้วผู้เขียนก็บอกเขาว่าหากที่ทำงานเขามีคนน่าสนใจเขาจะลองคบกับคนๆนั้นดูก็ได้ และหลังจากนั้นอีก 2 อาทิตย์เขาก็โทรศัพท์มาบอกผู้เขียนว่ามีคนอื่นที่เขาอยากคบด้วย ผู้เขียนก็ขอให้เขาเล่าให้ฟังว่าไปเจอกับคนๆนั้นแบบไหน เป็นคนยังไง ก็พบว่าคนที่เขาอยากคบด้วยนั้นทำงานอยู่ที่เดียวกันและมีอายุแก่กว่าเขา 5 ปี คุยดูแล้วน่าสนใจ แต่เขาก็ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำยังไง ผู้เขียนก็เลยถามเขาว่าระหว่างผู้เขียนกับเพื่อนร่วมงานรุ่นพี่คนนั้นชอบใครมากกว่ากัน เขาก็บอกว่ายังไม่ได้คบกับรุ่นพี่คนนั้นจึงยังไม่ทราบ แต่เขาอยากลองคบกับคนนั้นดู ผู้เขียนบอกตามตรงว่าขณะที่ได้ฟังเรื่องราวนี้มันเหมือนกำลังฟังเรื่องของคนอื่นอยู่ อาจเป็นเพราะตนเองยังไม่ตระหนักรู้ถึงสภาวะที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง หรืออาจเป็นเพราะเราไม่ได้รู้สึกผูกพันกับเขาขนาดนั้นก็เป็นได้ ผู้เขียนเห็นว่าเขาอยากคบกับคนอื่น และเราก็ไม่อยากเป็นที่สองรองจากใคร ดังนั้นควรให้เขาทำอย่างที่เขาต้องการ เราก็เลยบอกเลิกกันทางโทรศัพท์แล้วก็ไม่ได้พบหน้ากันอีกเลยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อารมณ์ขณะวางโทรศัพท์ของผู้เขียนยังคงราบเรียบเหมือนปกติ เมื่อวางหูโทรศัพท์แล้วผู้เขียนก็ปิดทีวีเข้านอน ตื่นขึ้นมาตอนเช้าผู้เขียนเพิ่งระลึกได้ว่าตนเองถูกทิ้ง จึงเริ่มร้องไห้ ร้องไห้ทั้งวันอยู่ประมาณ 3 วัน มานึกดูตอนนี้แล้วก็ไม่รู้ว่าร้องไห้เพราะความหึงหวง หรือความเหงา หรือความถูกดูหมิ่นน้ำใจ หรืออะไรกันแน่ เหมือนมันไม่เฉพาะเจาะจงที่อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างชัดเจน ก่อนร้องไห้มันมีอาการอึดอัดตื้นตันในลำคอแล้วก็มีน้ำตา ขณะร้องไม่ได้นึกถึงใครเลยแม้แต่ตัวเอง หลังร้องไห้เสร็จแล้วรู้สึกโล่งเบาและมีกำลังใจดูทีวีตามปกติ แต่แล้วสักพักก็ร้องไห้ใหม่ ร้องครั้งหนึ่งก็ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่แล้ววันเวลาแห่งน้ำตาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะผู้เขียนต้องไปจัดการกับงานวิจัยของตนต่อให้เสร็จ น่าแปลกว่าเมื่อเวลาผ่านไปอาทิตย์หนึ่ง ผู้เขียนกลับลืมไปเลยว่าตอนที่ตนยังมีแฟนอยู่นั้นใช้เวลาร่วมกันอย่างไร เหมือนกับไม่มีช่องว่างที่เป็นที่สำหรับตัวเขาเลยในการดำเนินชีวิตตามปกติของผู้เขียน ทบทวนดูแล้วผู้เขียนต้องขอขมาเพื่อนท่านนี้ที่ตลอดเวลา 5 ปีที่คบกันมาไม่ได้ "ให้" ในสิ่งที่เขาควรได้เลย

จากนั้นอีกไม่กี่เดือน ในคณะที่ผู้เขียนศึกษาอยู่ก็มีเพื่อนใหม่เข้ามา เขามักจะเข้ามาคลุกคลีกับผู้เขียนเพราะผู้เขียนถือเป็นรุ่นพี่และเป็นคนชาติเดียวกับเขา เพื่อนใหม่ท่านนี้มีลักษณะแปลกกว่าเพศตรงข้ามที่ผู้เขียนรู้จักตรงที่เขาเป็นคนโอภาปราศัย ทักทายและยิ้มให้ทุกคนที่พบ ใส่ใจกับสิ่งเล็กๆน้อยๆในตัวผู้เขียนที่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจ เขาเข้ามาคุยกับผู้เขียนด้วยเรื่องในวัยเด็ก เรื่องพ่อแม่และน้องชายของเขา เรื่องแฟนที่เขาคบกันมา 6-7 ปี (หากจำไม่ผิด) แล้วก็ต้องเลิกกัน ผู้เขียนเริ่มสนใจเพื่อนใหม่ท่านนี้ มันเป็นความรู้สึกแบบเดียวกับที่เกิดกับรุ่นพี่สมัยอยู่ปี 2 นั่นคือ ผู้เขียน "สนใจ" เขาและต้องการให้เขา "สนใจ" ผู้เขียนมากกว่าคนอื่นทุกๆคน หากจะจัดชนิดให้แก่อารมณ์ของผู้เขียนในตอนนั้นต้องยอมรับว่าใช้ "อารมณ์อสูร" เป็นส่วนใหญ่ในการคบหา เป็นอสูรตัวเดียวกันเลยที่ใช้คบกับรุ่นพี่ที่ชมรม แต่คราวนี้ดีขึ้นหน่อยตรงที่ผู้เขียนทราบดีว่าเพื่อนใหม่ท่านนี้ชอบฟังเพลงอะไร ชอบกินอาหารแบบไหน ไม่ชอบกินอาหารแบบไหน เพราะเขาเล่าให้ผู้เขียนฟังตั้งแต่เจอกันใหม่ๆ ผู้เขียนไม่ได้บอกความรู้สึกกับเพื่อนใหม่ท่านนี้ตรงๆแต่ใช้วิธีเอาสติกเกอร์และยางลบรูปเกาลัดที่มีหน้าตลกๆ ไปวางไว้ที่โต๊ะทำงานเขาวันละรูปๆ ทุกวันโดยไม่ให้เขารู้ เพราะอยากเห็นเขาตื่นเต้นและดีใจที่ได้รับของขวัญเรียกรอยยิ้มจากผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ตอนนี้มานึกๆดูแล้วผู้เขียนอาจอยากให้เขาตามหาให้เจอก็ได้ว่าใครเป็นคนเอาของขวัญเหล่านี้ไปให้ เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าๆความ "หึงหวง" ในตัวเพื่อนใหม่ท่านนี้ได้เกิดขึ้นเสียแล้วทั้งๆที่ผู้เขียนเองก็ยังไม่ได้เป็นแฟนกับเขาเลย สิ่งนี้ทำให้ผู้เขียนอารมณ์เสียทุกครั้งที่เห็นเพศตรงข้ามท่านอื่นมาเข้าใกล้เพื่อนใหม่ท่านนี้ ผู้เขียนได้เขียนจดหมายบอกเขาไปอ้อมๆว่าตนเองมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น เขาน่าจะไปคลุกคลีกับคนปกติคนอื่นๆดีกว่า ผู้เขียนเขียนจดหมายไปว่าตนเองรู้สึกว่า "ความรัก" ทำให้ตน "อ่อนแอและไม่มีสมาธิ" ดังนั้นจึง "ไม่สามารถรักได้" ทั้งๆที่ตอนนั้นตนเองก็นั่งสมาธิไม่เป็น บวชก็ยังไม่เคยบวช นึกๆดูแล้วก็ขำตนเองเหมือนกันว่าเอาความมั่นใจอันใดในตอนนั้นมากล่าวถึง "สมาธิ" ผู้เขียนตัดสินทำตัวสาบสูญไปพักหนึ่ง เมื่อเจอกับเขาก็ทำหน้าเฉยๆเหมือนกำลังดูอากาศธาตุ ไม่ยิ้ม ไม่ทักทาย เมื่อผู้เขียนเรียนจบก็แยกย้ายจากเขาไป ปัจจุบันเพื่อนใหม่ท่านนี้ได้แต่งงานไปแล้วกับเพศตรงข้ามท่านหนึ่งซึ่งดูอบอุ่นและมีชีวิตชีวา เคยพบหน้ากันบ้างหลังเรียนจบแล้วตามหน้าที่การงาน เพื่อนท่านนี้ได้เข้ามาทักผู้เขียนแล้วเล่าให้ฟังว่าตอนนี้ตนหัดนั่งสมาธิได้จนต้องทำเป็นประจำ ต้องจัดเวลาปลีกวิเวกไปนั่งสมาธิที่วัดทุกเดือน ซึ่งผู้เขียนก็นึกขำที่เขากลายเป็นคนพูดจาธัมมะธัมโมไปได้ เพราะตอนที่รู้จักกันนั้นเขาเป็นคนสมาธิสั้นและไม่เคยสนใจเรื่องราวในศาสนาเลย ดูเพื่อนท่านนี้เป็นผู้ใหญ่และอ่อนโยนขึ้น ผู้เขียนยินดีด้วยอย่างจริงใจที่เขามีชีวิตที่ดี เลือกผู้ที่เหมาะสมมาเป็นคู่ชีวิต สิ่งนี้เป็นความ "ปรารถนาดี" ครั้งแรกที่ผู้เขียนมอบให้เพื่อนท่านนี้อย่างจริงใจ ที่ผ่านๆมาผู้เขียนมีแต่ความ "หึงหวง" และ "ไม่พอใจ" ในตัวเขา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กรกฎาคม 2554 12:43:00 โดย เจ้าทึ่ม » บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554 12:44:41 »

เมื่อเรียนจบ ผู้เขียนได้มาทำงานในสถานที่แห่งหนึ่ง เจ้านายส่งผู้เขียนไปอบรมต่างประเทศเป็นเวลา 1 เดือน ระหว่างนั้นผู้เขียนได้พบกับเพื่อนชาวเกาหลีท่านหนึ่งที่มาร่วมเข้ารับการอบรมด้วยกัน เรามีโอกาสสนิทกันเพราะเขาศึกษาศิลปะการต่อสู้ชนิดเดียวกับที่ผู้เขียนสนใจศึกษา เรามักจะคุยเรื่องการต่อสู้และบ่นด่าเนื้อหาที่เราได้รับการอบรมว่าไม่รู้มันดีตรงไหน ทุกเช้าเราจะมาซ้อมมวยกันและเราก็ชอบพอกันในที่สุด ความรู้สึกของผู้เขียนในช่วงนั้นต่างจากความรู้สึกอสูรแบบเดิมๆนิดหน่อยตรงที่ "อ่อนโยน" ขึ้น เนื่องจากตนเองไม่ใช่ฝ่่ายแสดงความต้องการแต่กลับเป็นฝ่ายสนองความต้องการของเพื่อนเกาหลีท่านนี้มากกว่า การดำเนินเรื่องราวในการคบหาครั้งนี้ผู้เขียนแทบไม่ต้องใช้ความพยายามอันใดเลย เพื่อนเกาหลีท่านนี้ดำเนินบทบาทเป็นผู้นำและนัดแนะผู้เขียนให้ไปทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน ผู้เขียนรู้สึกดีกว่าที่ผ่านๆมาตรงที่เหนื่อยน้อยลง แต่กลับไม่ค่อยเป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่เพราะอยากจะตามใจเพื่อนท่านนี้มากกว่าตามใจตัวเอง เมื่อจบคอร์สการอบรมพวกเราก็แยกย้ายกันกลับประเทศไป ผู้เขียนได้ติดต่อกับเพื่อนท่านนี้ทางอีเมล์แล้วบอกเขาไปตามตรงว่าตนเอง "รัก" เขาเข้าแล้วเขาก็ตอบมาว่าเขา "มีแฟน" อยู่แล้วและจะรักแฟนคนนี้เพียงคนเดียวตลอดไป ผู้เขียนก็เลยต้องทำใจ และเรื่องราวอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนทำใจได้ลำบากในขณะนั้นก็คือ เพื่อนชาวเวียดนามที่เข้าคอร์สอบรมด้วยกันเขาเขียนเมล์มาบอกผู้เขียนว่าเขาชอบผู้เขียนซึ่งผู้เขียนก็ได้ตอบปฏิเสะไปว่าผุ้เขียนมีคนอื่นที่ชอบอยุ่แล้ว เมื่อเพื่อนชาวเวียดนามทราบความรู้สึกของผู้เขียนที่มีต่อชาวเกาหลีท่านนี้แล้วเขาก็บอกว่าเขาแปลกใจที่ชาวเกาหลีพูดอย่างนั้น เขาบอกว่าตอนไปกินเหล้าด้วยกันก็เห็นชาวเกาหลีท่านนี้บอกว่า "รักผู้เขียน" อยู่นี่ ...นึกๆดูแล้วเพื่อนชาวเวียดนามท่านนี้ช่างมี "สัจจะกิริยา" ที่สร้างความยุ่งยากใจให้แก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ผู้เขียนกับชาวเกาหลีท่านนี้ก็ไม่ได้ไปถึงไหน เหตุเพราะทั้งผู้เขียนและเขาต่างก็ไม่ประสงค์จะออกนอกกรอบศีลธรรม มีอยู่ครั้งหนึ่งหลังจากแยกจากกันได้ 1 ปีกว่าชาวเกาหลีท่านนี้ก็มีโอกาสมีเที่ยวเมื่องไทย ผู้เขียนได้อาสานำเขาเที่ยวซึ่งก็สร้างความประทับใจให้แก่เขามาก คืนวันหนึ่งเพื่อนชาวเกาหลีท่านนี้ได้ขอมาที่บ้านของผู้เขียนซึ่งตอนนั้นอาศัยอยู่คนเดียว เขาได้รุกเร้าจูบปากผู้เขียนและถอดเสื้อผ้าตนเองตลอดจนเสื้อผ้าของผู้เขียนออกจนหมด เขาได้ใช้ปากรุกเร้าในจุดสัมผัสต่างๆ ขณะนั้นผู้เขียนก็รู้สึกเร้าใจในระดับหนึ่งแต่เมื่อเขาถอดกางเกงในผู้เขียนออกผู้เขียนรู้สึกว่าต้องพูดอะไรบางอย่าง เลยบอกเขาว่า "เราไม่ควรทำอย่างนี้" เขาก็หยุดทันทีแล้วใส่กางเกงในให้ผู้เขียนเช่นเดิม เมื่อเราทั้งสองคนใส่เสื้อผ้าจนครบตามปกติแล้ว ผู้เขียนได้ขับรถไปส่งเขาที่โรงแรมแล้วเราก็แยกจากกัน ผู้เขียนกลับมาที่บ้านแล้วนั่งทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดความรู้สึก "โกรธ" เพื่อนเกาหลีท่านนี้ขึ้นมาอย่างแรงที่เกือบทำให้ผู้เขียนต้องเสียความตั้งใจไปมีความสัมพันธ์กับแฟนของชาวบ้าน คืนนั้นผู้เขียนใช้เวลานั่งเขียนจดหมาย "ด่า" เพื่อนท่านนี้จนสาแก่ใจและตอนนี้ก็ลืมไปแล้วด้วยว่าตนเขียนอะไรลงไปบ้าง เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นผู้เขียนก็ทำตัวยิ้มแย้มตามปกติ พาเขาไปเที่ยวจนครบตามความตั้งใจแล้วก็เอาจดหมายนี้มอบให้เขาแล้วกำชับให้เขาไปอ่านบนเครื่องบิน ผู้เขียนรู้สึก "สะใจ" อยู่พักหนึ่ง แล้วก็มา "เสียใจ" ทีหลังเมื่อเพื่อนท่านนี้ได้เขียนเมล์กลับมาบอกผู้เขียนว่าเขารู้สึกเหมือนขึ้นสวรรค์และลงนรกภายในวันเดียวกัน เขาขอโทษและเสียใจมาก ผู้เขียนก็สาบสูญไปจากเขาสักพักก็กลับมาติดต่อกันใหม่เนื่องจากเพื่อนท่านนี้เขาประสบมรสุมชีวิต เขามีเรื่องในที่ทำงานจนกำลังตัดสินใจว่าจะออกจากงาน เขาบอกผู้เขียนว่าเมื่อออกจากงานแล้วตนเองจะเรียนต่อเพื่อไปสอบเป็นทูตและเขาต้องการกำลังใจจากผู้เขียน ผู้เขียนได้เขียนจดหมายและส่งเพลงไปเป็นกำลังใจ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ปีเขาก็โทรศัพท์มาหาผู้เขียนที่ทำงานบอกว่าตอนนี้มาทำอะไรสักอย่าง (ผู้เขียนลืมแล้ว) ที่เวียดนาม เสียดายที่ไม่ได้มาเมืองไทย จำได้ว่าตอนนั้นผู้เขียนถามเขาเรื่องงาน เขาก็ตอบทำนองว่ามีงานทำแล้วเป็นงานประเภทเกี่ยวข้องกับทูตอะไรทำนองนั้น ผู้เขียนได้แสดงความยินดีกับเขาแล้วหลังจากนั้นก็ไม่ได้ติดต่อกันอีก ตอนนี้มานึกดูแล้วผู้เขียนชักไม่ค่อยแน่ใจเสียแล้วว่าตนเอง "รัก" เพื่อนเกาหลีคนนี้จริงดังที่ตนเองเขียนอีเมล์ไปสารภาพกับเขาหรือเปล่า รู้สึกว่าเมื่อคบกับเขาแล้วตนเองดู "อ่อนโยน" ขึ้น ตนเองชอบอารมณ์ที่อ่อนโยนแบบนี้และก็ชอบที่ตนเองได้รับการ "ดูแลเอาใจใส่" แบบที่ไม่เคยมีใครทำให้ แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ไป "ด่า" ว่าเขาแล้วก็ไม่เห็นจะได้ "ทำอะไรเพื่อเขา" เลย

หลังจากนั้นไม่นานนัก ผู้เขียนมีโอกาสรู้จักกับเพื่อนของเพื่อนสนิทคนหนึ่ง เขาบังเอิญได้มาเรียนต่อใกล้ที่ทำงานของผู้เขียน เพื่อนท่านนี้มักนัดผู้เขียนไปกินข้าวเย็นด้วยกันบ่อยๆเนื่องจากมีเพื่อนสนิทคนเดียวกัน เพื่อนท่านนี้มีลักษณะแปลกไปจากเพื่อนท่านอื่นๆที่ผู้เขียนคบด้วยตรงที่เขามีลักษณะของทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกันกับผู้เขียน ดูเขาพอใจในตัวผู้เขียนอยู่ไม่น้อยผู้เขียนเองก็ไม่ได้รังเกียจอะไร คิดว่าตนเองน่าจะชอบในความแปลกใหม่และเป็นตัวของตัวเองของเขา ไม่รู้เหมือนกันว่าตนเองว่าชอบเขาในฐานะอะไร ทุกเย็นผู้เขียนต้องรอให้เขาโทรศัพท์มาจึงจะตัดสินใจได้ว่าควรจะกินข้าวที่ไหนดี เพื่อนท่านนี้มักจะมีโปรแกรมกิจกรรมต่างๆที่เขาจะดีใจมากที่ได้ทำ ผู้เขียนไปร่วมกิจกรรมด้วยในลักษณะกองหนุนเสียมากกว่า เป็นความสัมพันธ์ที่ผู้เขียนไม่ต้องเริ่มก่อน ไม่ต้องวางแผน ไม่ต้องพยายามใดๆเลย ปล่อยให้เขาเป็นผู้นำไปแล้วทุกอย่างก็จะจบลงด้วยตามสนุกบ้างเฉยๆบ้างตามสมควร มีอยู่วันหนึ่งเพื่อนคนนี้มาขอนอนบ้านผู้เขียนเพราะเขาคืนห้องเช่าแล้วหรืออะไรทำนองนั้น ผู้เขียนก็เปิดรับเขาเข้ามานอนบนตั่งในห้องรับแขกแล้วตนเองก็เข้าไปนอนในห้อง พอเช้ามาก็ขับรถไปส่งเขาที่ไหนสักที่...ผู้เขียนลืมไปแล้ว เรื่องนี่เขาเอาไปเล่าให้เพื่อนสนิทของผู้เขียนฟังทำนองว่าผู้เขียนชอบเขา เพื่อนสนิทของเขาคนนี้ก็เป็นเพื่อนสนิทของผู้เขียนเช่นกัน ผู้เขียนได้รู้เรื่องจนได้ ความจริงเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย ไม่เห็นจะมีสาระตรงไหน ตอนนั้นผู้เขียนรู้สึก "โกรธไปตามกระแส" ที่คนรอบข้างที่พากันวิจารณ์ว่าเพื่อนคนนี้ทำการไม่เหมาะสมที่นำเรื่องตนเองมานอนบ้านผู้เขียนไปโพนทะนาให้คนอื่นฟัง...ทั้งๆที่มันไม่ได้เกิดอะไรขึ้นเลย แม้แต่จับมือกันก็ไม่มี ไม่มีใครคิดอะไรเกินเลย ก่อนเข้านอนไม่ได้คุยกันถึงชั่วโมงด้วยซ้ำ นึกแล้วก็ยังไม่เข้าใจตนเองว่า "โกรธ" อะไรนักหนาถึงกับต้องเลิกคบกับเพื่อนท่านนี้ไปจวบจนปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้ติดต่อกัน หากมีโอกาสพบกันอีกผู้เขียนคงต้องขอขมาเขาเสียแล้วที่ทำให้เขาเสียใจ วันที่พ่อเขาเสียผู้เขียนก็ไม่ได้แสดงความเสียใจใดๆเลย นับว่าตนเอง "เฉยชา" และเป็นเพื่อนที่แย่มาก รู้สึกว่าตนไม่ได้มอบความ "อ่อนโยน" ใดๆให้แก่เขาเลย หลังจากนั้น เขาเคยโทรมาชวนผู้เขียนนั่งรถไปเป็นเพื่อนเขาเมื่อต้องขับรถกลับบ้านที่ต่างจังหวัด (ซึ่งเป็นบ้านเดียวกับผู้เขียน) แต่ผู้เขียนก็ปฏิเสธเขาไปแบบ "เย็นชา" มาก ดูเหมือน "อสูรเย็นชา" และ "โหดเหี้ยม" ในตัวผู้เขียนยังไม่ได้พัฒนาตัวตนขึ้นจากเดิมสักเท่าไร

ถัดจากนั้นอีกไม่ถึงเดือน พี่ที่ทำงานท่านหนึ่ง ไม่ทราบคิดยังไงมาชวนผู้เขียนกินข้าวและดูหนังด้วยกันบ่อยๆ ดูท่าทางพี่ท่านนี้ก็ไม่ได้ "รัก" ในตัวผู้เขียนแต่อย่างใด ความ "ชอบ" ก็ไม่ได้มีมากเกินเพื่อน พี่ท่านนี้แสดงบทบาทเหมือนเป็นแฟนของผู้เขียนอยู่ประมาณ 1 ปีกว่าๆแต่ผู้เขียนไม่รู้สึกถึงความรักหรือความอ่อนโยนใดๆเลย เวลาเผลอๆเขามักแสดงอารมณ์โกรธที่รุนแรงด้วยซ้ำไป ผู้เขียนเองก็ไม่รู้เป็นอะไร จะว่า "รัก" นี่ไม่ใช่แน่นอน "ชอบ" ก็ไม่ใช่ แต่มีความ "หึงหวงตามกระแส" กล่าวคือ "ไม่พอใจ" ทุกครั้งที่พี่ท่านนี้ไปทำตัวสนิทกับเพศตรงข้ามซึ่งก็ไม่ได้มีมากมายอะไร และความจริงแล้วก็ไม่เห็นจะสนิทอะไรกันนักหนา มีอยู่วันหนึ่งผู้เขียนแสดงความไม่พอใจพี่ท่านนี้โดยการทำตัวสาบสูญไปเป็นเวลา 1 สัปดาห์เหตุเพราะไปชวนพี่ท่านอื่นไปดูหนังด้วยกันทั้งๆที่น่าจะไปดูกันแค่สองคน ทั้งๆที่ถึงแม้จะไปกัน 2 คน ทุกครั้งก็ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ ไม่มีจับมือ ไม่มีกอด ไม่มีจูบ ไม่มีอารมณ์วูบวาบหวั่นไหวใดๆทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเลยที่เกินความเป็นเพื่อน ...น่าเสียดายที่ตอนนั้นผู้เขียนยังไม่ได้รู้จักการวิปัสสนา ไม่งั้นผู้เขียนคงเข้าใจได้โดยถ่องแท้จากตัวอย่างนี้แล้วว่า ปัญหาของผู้เขียนก็คือ "ความเป็นอสูรอันกอรปไปด้วนความหึงหวง ความโกรธ และความเห็นแก่ตัว" และสิ่งนี้ "ไม่ใช่ความรัก" เห็นได้ชัดในกรณีของพี่ท่านนี้ว่าผู้เขียนไม่ได้รักหรือชอบเขาเลย ทัศนะคติในการดำรงชีวิตต่างๆก็ดูจะเป็นอริกันเสียด้วยซ้ำ แต่ผู้เขียนก็ยังสามารถ "หึงหวง" ได้ด้วย ที่ว่าดูว่ารักให้ดูที่ความหึงหวงนั้นผู้เขียนขอค้านอย่างเต็มที่ ไม่รักก็หึงได้ "ความหึงหวงไม่เกี่ยวอะไรกับความรักเลย"

ในการทำตัวสาบสูญนั้นผู้เขียนต้องหาภูเขาอะไรไกลๆนอกเมืองเป็นที่หลบภัย ผู้เขียนจึงเริ่มขับรถตระเวนตามเขาต่างๆจนชอบเดินทางไปตามที่ที่มีบรรยากาศร่มรื่น มีภูเขามีต้นไม้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาอีกไม่นานผู้เขียนได้รู้จักกับเพื่อนอีกท่านหนึ่งเพศเดียวกัน เขาชวนผู้เขียนไปบวชถือศีล 8 ที่วัดๆหนึ่งสงบๆบรรยากาศร่มรื่นนอกเมือง ผู้เขียนก็ตัดสินใจบวชเพราะไม่เคยบวชเลยอยากลองดูว่าจะเป็นอย่างไร แต่สุดท้ายเพื่อนผู้เขียนท่านนี้เขาก็ไม่ได้บวชมีผู้เขียนบวชเพียงคนเดียวคู่กับฝรั่งอีกคนที่บังเอิญได้มาบวชในช่วงเดียวกัน เพื่อนคนนี้เขาชอบชวนผู้เขียนขับรถตระเวนชมธรรมชาติตามเขาต่างๆ มีอยู่วันหนึ่งเขาพาผู้เขียนนั่งรถขึ้นภูจนไปเห็นป้ายทางเข้าวัดๆหนึ่งมีชื่อน่าสนใจ แต่วันนั้นเราไม่มีเวลาแวะก็เลยไม่ได้เข้าวัดไปด้วยกันในวันนั้น หลังจากนั้นผู้เขียนได้หาโอกาสไปที่วัดนั้นอีกเพื่อไปทำบุญวันเกิด และในเวลาต่อมาก็ได้มีโอกาสไปที่วัดนี้อีก 2 ครั้ง ครั้งที่สามนี้ได้เจอท่านเจ้าอาวาสใจดีชวนผู้เขียนบวชและผู้เขียนก็ได้กลายเป็นลูกศิษย์วัดนี้และได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมที่นั่นเป็นเวลา 3-4 ปีตามที่ได้เล่าไว้ในบทความก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อนที่ชวนผู้เขียนบวชท่านนี้ขณะนี้แต่งงานกับชาวนิวซีแลนด์และได้ใช้ชีวิตอยู่ที่นิวซีแลนด์จวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ หากได้อ่านพบบทความนี้ขอให้ทราบด้วยว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณกับผู้เขียนมาก ขออานิสงค์ในการปฏิบัติธรรมของผู้เขียนจงบังเกิดแก่ตัวท่านดุจดังท่านได้บำเพ็ญด้วยตนเองตามเหตุปัจจัยเถิด
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554 12:48:18 »

เรื่องราวหลังจากนั้นก็เป็นไปดังที่ผู้เขียนได้เล่าไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ แต่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความรักที่ตนเองยังไม่ได้เล่า คิดว่านี่คงเป็นเรื่องสุดท้ายแล้วสำหรับบทเรียน "อสูร" ของผู้เขียนในเรื่องความ "รัก"

ผู้เขียนได้มีโอกาสรู้จักกับเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมท่านหนึ่ง เป็นคนที่ให้ประโยคอันมีค่าในเวลาอันสมควรและเป็นคนมีอิทธิพลมากในการย้ายกลับมาทำงานที่บ้านเกิดของผู้เขียนดังได้กล่าวเอาไว้แล้วในบทความก่อนหน้านี้ เจ้าสำนักท่านนี้เป็นคนจริงใจมีเมตตาและมีลูกศิษย์ลูกหามากมายหลายร้อยคน เขาอายุน้อยกว่าผู้เขียนแต่ผู้เขียนก็นับถือเขาเป็นผู้มีพระคุณ ตอนที่รู้จักกันแรกๆผู้เขียนได้วางท่านนี้ไว้ในตำแหน่งของผุ้มีพระคุณ เป็นคล้ายๆพระที่วัด หากผู้เขียนมีของกินอะไรดีๆ ยาอะไรดีๆ ก็จะนำไปให้ท่านเสมอ ความรู้สึกเหมือนเอาของไปถวายวัด ผู้เขียนได้เทียวเอาของไปให้ท่านอยู่บ่อยๆแบบเอาไปวางไว้ที่โต๊ะบ้าง ที่ศาลาบ้างแล้วก็กลับ ไม่ค่อยได้พบหน้า หากมีบุญอะไรท่านก็โทรมาบอก แล้วหากมีเวลาผู้เขียนก็ไปร่วมด้วย สองสามเดือนคุยกันครั้งหนึ่งตามงานบุญที่ท่านจัด คุยกันครั้งละไม่เกิน 15 นาที อยู่เป็นเวลาประมาณ 2 ปี อยู่มาวันหนึ่งท่านเจ้าสำนักก็โทรศัพท์มาปรึกษาผู้เขียนถึงความเป็นไปของลูกศิษย์สำนักท่านบางคน เรื่องที่ท่านตัดสินใจจะ "แต่งงาน" แต่ยังหาคนแต่งด้วยไม่ได้ ดูท่านหมดกำลังใจและท้อแท้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ผู้เขียนรู้สึกกังวลใจมากจึงหาโอกาสไปเยี่ยม เมื่อไปถึงสำนักท่านและได้นั่งลงคุยกันไม่นานก็รู้สึกเหมือนท่านกับตัวผู้เขียนเคยมีความสัมพันธ์อะไรกันบางอย่าง ความจริงสิ่งนี้มันมีมานานแล้ว น่าจะมีตั้งแต่พบกันครั้งแรกด้วยซ้ำแต่ตอนนั้นผู้เขียนมัวแต่กลุ้มใจกับเรื่องเสียงที่ได้ยินกับการถูกตามล่าของตนเองจึงไม่ได้สังเกตเห็นความรู้สึกนี้ในตัวเอง ตอนนั้นผู้เขียนมีสัมผัสที่จักระต่างๆแล้วค่อนข้างชัดเจนและตลอดเวลา คุยกับท่านเจ้าสำนักไปความรู้สึกก็จับอยู่ตามจักระต่างๆไป วันนั้นขณะที่คุยก็ไม่ได้รู้สึกผิดปกติอะไร ท่านเจ้าสำนักถามผู้เขียนว่าเมื่อแก่ตัวลงแล้วจะทำอย่างไร มาอยู่ด้วยกันไหมมีที่ดินอยู่ที่หนึ่งสวยมากมีน้ำล้อมรอบ ตอนนั้นผู้เขียนตอบไปว่าการออกตระเวณไปตามที่ต่างๆเหมือนจอมยุทธพเนจรไม่อยู่เป็นหลักแหล่งเป็นความฝันของตน ท่านก็ทักว่าแก่แล้วทำอะไรก็ไม่สะดวกนะ ผู้เขียนก็ไม่ได้ตอบว่าอะไร แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านไม่รู้ว่าทำไมถึงนึกถึงหน้าท่านอยู่ตลอดเวลาและรู้สึกเป็นห่วงท่านมาก ดูท่านต่างไปจากตำแหน่งที่ผู้เขียนวางท่านเอาไว้ รู้สึกว่าท่านใกล้ตัวมากขึ้นและเป็นห่วงท่านมาก ผู้เขียนเริ่มหาโอกาสไปเยี่ยมท่านบ่อยขึ้น ความรู้สึกเริ่มชัดเจนขึ้นว่า "รัก" น้องคนนี้โดยไม่มีเหตุผล เป็นความรู้สึกที่อ่อนโยนและอยากจะ "ให้" มากกว่า "รับ" ยิ่งไม่ได้เห็นหน้าก็ยิ่ง "คิดถึง" เมื่อกำลังจะได้พบหน้า "หัวใจก็เต้นแรง" แต่น่าแปลกอยู่อย่างนึงว่าเมื่อได้เข้าไปคุยใกล้ๆน้องคนนี้ผู้เขียนเพียงแต่รู้สึก "โล่งๆ" เหมือนลมพัดผ่านไปมา สบายๆ ไม่เห็น "ใจเต้นแรง" และ "ดึงดูดใจ" เหมือนตอนไม่ได้เจอหน้ากันเลย ความ "รัก" แบบดึงดูดนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผู้เขียนได้ประสบ แต่น่าแปลกที่มันมีอานุภาพเฉพาะเวลาที่ "ไม่ได้เห็นหน้ากันโดยตรง" ก่อนจะเจอกันแต่ละครั้งนั้นผู้เขียนคิดถึงเขาจนร้องไห้อย่างแรงหลายครั้งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วเจอกันก็ไม่ได้ไปเที่ยว ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้ดูหนัง แค่เอาบางอย่างไปให้แล้วก็คุยกันไม่ถึง 1 ชม. ก็กลับทุกครั้ง ไม่มีจับมือ ไม่มีกอด ไม่มีจูบ แต่เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนมี "ความต้องการทางเพศ" ที่แสดงออกมาทางกายอย่างชัดเจน เวลาขับรถไปหาเขานี่ยังไม่ถึงที่ก็มีอาการทางกายเกิดขึ้นแล้ว น่าตกใจเหมือนกันว่ามันเป็นอย่างนี้ไปได้ยังไง สิ่งต่างๆเหล่านี้มีพลานุภาพรุนแรงมากเวลาที่ไม่ได้เจอหน้า คิดว่าอยากจะกอด อยากมีเพศสัมพันธ์กับเขาอย่างแน่นอน แต่เมื่อได้เจอหน้าและคุยกันแล้วมันไม่ได้เป็นความดึงดูดแบบนั้น มันเป็น "โล่งๆ" เหมือนมีลมเอื่อยๆพัดผ่าน จะวิ่งเข้าไปกอดเขาก็ไม่ใช่ จะวิ่งเข้าไปกระทำชำเราเขาก็ไม่ใช่ จะจับมือเขาก็ไม่ใช่ มันดูไม่ลงตัวขนาดนั้น ไม่ได้คุ้นเคยกันขนาดนั้น แต่ยอมรับว่า "คิดถึง" เขาจนร้องไห้อยู่บ่อยมาก มีการคุยกันทาง messager หลายครั้ง เขาชวนให้ผู้เขียนไปอยู่ด้วยอีกครั้งแบบอยู่กันสองคนไม่ต้องสนใจใคร เขาบอกว่าจะรอคำตอบ ผู้เขียนได้อ่านก็ยิ่งรู้สึกอยากจะให้ความหวังเขาเป็นจริง อยากจะสละตัวเองให้เขาได้สมความปรารถนา ใน 24 ชม. ผู้เขียนใช้เวลาในการนึกถึงเขามากกว่า 5 ชม. ตื่นนอนตอนเช้าก็คิดถึง กินข้าวเช้าก็คิดถึง ไปทำงานก็คิดถึง ตอนเย็นก็คิดถึง นั่งอยู่หน้าคอมก็คิดถึง "คิดถึง" มากและไม่รู้จะจัดการยังไงดี รู้สึกเหมือนตนเอง "ป่วย" ตกอยู่ใน "วังวน" อะไรสักอย่าง ทำงานอะไรก็ไม่ได้เรื่องได้ราวสักอย่าง คิดถึงเขาอย่างเดียว อาการนี้ของผู้เขียนท่าจะทราบไปถึงพระอาจารย์ท่านเลยเป็นห่วงและตัดสินใจมาหาผู้เขียนที่บ้านเกิด ท่านมาเพื่อบอกให้ผู้เขียนสวดมนต์บท "ธัมจักร" วันละ 1 จบก่อนนอนทุกวัน ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนไม่ได้นั่งสมาธิและสวดมนต์อะไรเป็นกิจจะลักษณะมาได้ร่วม 2 ปีแล้ว ผู้เขียนก็รับปากว่าจะสวด วันที่ 1 ของการสวดมนต์ ผู้เขียนพบว่าคุยกับน้องอันเป็นที่รักไม่รู้เรื่อง เขาไม่รู้หงุดหงิดอะไรคุยกันดีๆจู่ๆก็ทีเรื่องทะเลาะกัน ดูเหมือนไม่น่าจะเป็นเรื่องมีสาระอะไรมากแต่เขาก็อารมณ์เสียได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ (ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้นผู้เขียนลืมไปแล้ว) แค่ได้ประสบสภาวะเช่นนี้ผู้เขียนก็รู้สึกเสียใจมาจนต้องร้องไห้ออกมาดังๆ 30 นาที วันที่ 2 ของการสวดมนต์ ผู้เขียนก็มีเรื่องทะเลาะกับเขาอีกเรื่องทรงผมของผู้เขียนไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่กาลโบราณ ถามไปถามมาจึงได้ทราบว่าน้องท่านนี้มีความเชื่อในการปฏิบัติธรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ การแต่งกายและกิริยามารยาทอันใดที่ขัดกับธรรมเนียมฏิบัติถือว่า "นอกรีต" ไม่สามารถเป็นคู่ชีวิตเขาได้ เมื่อผู้เขียนถามถึงเหตุผลของทรงผมต่างๆที่ต้องกำหนดตายตัวเขาก็แสดงอาการเกรี้ยวกราดแล้วบอกว่ามันเป็นประเพณีห้ามถาม ถามไม่ได้ต้องทำตามเท่านั้น ความรู้สึกผู้เขียนตอนนั้นสงบลงทันควัน รู้สึกว่าน้องคนนี้ใช้เหตุผลคุยด้วยไม่ได้เลย เป็นเพื่อนคนแรกที่ผู้เขียนพบว่ามีลักษณะเช่นนี้ ตั้งแต่เกิดมาชาตินี้และคบกับคนมายังไม่เคยมีใครที่ไม่ยอมตอบคำถามแล้วสามารถด่าผู้เขียนต่อไปได้โดยไม่ต้องอาศัยเหตุผลใดๆทั้งสิ้น ปกติผู้เขียนจะต้องเถียงคอเป็นเอ็น หากไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้ผู้เขียนจะไม่มีวันยอมแพ้อย่างแน่นอน แต่ครั้งนี้แปลก ความรู้สึกมันสงบราบยิ่งกว่าตอนพยายามนั่งสมาธิเสียอีก นึกแต่เพียงว่าเราจะคุยยังไงกับเขาต่อไปดี ไม่อยากจะทะเลาะด้วย ไม่อยากพูดให้เขาเสียใจ แต่ก็ไม่อยากพูดโกหกว่าเราเห็นด้วยทั้งๆที่เราไม่เห็นด้วย รู้สึกว่าบทสนทนาวันนั้นจะจบลงโดยสรุปว่าผู้เขียนกับเขาไปด้วยกันไม่ได้แน่นอน เขาถามผู้เขียนว่าเขาบ้าไหมที่เคร่งครัดกับระเบียบปฏิบัติแบบนี้ แม่เขาก็บอกว่ามันเกินไป ผู้เขียนตอบว่าไม่เป็นไร หากตัดสินใจเช่นนั้นก็ควรทำให้เต็มที่ ถือเป็นผู้กล้าที่ยอมสละชีวิตตนเองเพื่อกฎระเบียบ หาได้ยาก นับถือๆ เราตกลงว่าจะเป็นเพื่อนกันธรรมดาและคอยให้คำปรึกษากันและกันเวลาเดือดร้อน วันนั้นผู้เขียนมีหลากหลายอารมณ์มาก ทั้งราบเรียบ ทั้งผิดหวัง ทั้งแปลกใจ ทั้งนับถือ ตอนจบวันนั้นน่าแปลกที่ผู้เขียนไม่ได้ร้องไห้ วันที่ 3 ของการสวดมนต์ ผู้เขียนคิดว่าในเมื่อเราจะเป็นสหายธรรมกันแล้วเราควรสนทนาธรรมกันบ้าง ผู้เขียนได้ทราบแล้วว่าเขามีปณิธานอย่างไร คราวนี้ผู้เขียนก็เลยบอกปณิธานของตัวเองไปบ้าง คิดว่าเพื่อนคนนี้อาจเป็นคนที่เปิดใจคุยเรื่องธรรมะได้อย่างหมดเปลือกไม่ต้องกั๊กไว้เพราะเกรงจะเข้าใจผิดเช่นคนอื่น แต่ปรากฎว่าการเปิดใจในวันนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เราไม่สามารถติดต่อหรือพบหน้ากันได้อีกเลยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา น้องท่านนี้ไม่เข้าใจผู้เขียน เขาเคลือบแคลงสงสัยว่าผู้เขียนพยายามจะครอบงำเขา เขาได้ด่าว่าผู้เขียนอย่างรุนแรงว่า เป็น "คนพาล" ทำให้ศาสนาเสื่อมเหมือนท่านเทวทัต (ผู้เขียนไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องท่านเทวทัตที่จะต้องถูกยกเอามาเป็นตัวอย่างแบบนี้) เขาว่าผู้เขียน "โง่" ที่ตั้งปณิธานขัดกับหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า "น่ารังเกียจ" ไม่น่าเอาไว้ใกล้ตัวเพราะมีความคิด "นอกรีต" น่าอายที่จะมีคนแบบนี้อยู่ข้างกาย คำกล่าวหาต่างๆเหล่านี้มานึกๆดูแล้วเขาก็กล่าวได้สมควรแก่เหตุดี ผู้เขียนคิดว่าเขาพูดได้ดีทีเดียวแต่ยังไม่ตรงกับสิ่งที่เขารู้สึกจากก้นบึ้งของหัวใจเท่านั้น อย่างไรก็ตามวันนั้นความรู้สึกผู้เขียนนิ่งมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมไม่ค่อยเดือดร้อนที่จะเถียงเลย ไม่เสียใจ ไม่โกรธ แต่ไม่มีปัญญาจะจัดการกับน้องคนนี้ได้จนต้องค่อยๆเรียบเรียงคำพูด มีความรู้สึกเหมือนมีอาจารย์และบรรพบุรุษคอยนั่งเป็นสักขีพยานให้ตลอดการสนทนา

ผู้เขียนคิดว่าศาสนาทุกศาสนาถึงนิพพาน โจรก็บรรลุธรรมได้ และพระพุทธมารดาไม่จำเป็นต้องสิ้นพระชนม์หลังให้กำเนิดพระโพธิสัตว์ เขาได้ยกเอาคำกล่าวของหลวงปู่ดุลย์ที่ว่า หากจิตยังไม่เห็นจิตก็ไม่เห็นมรรค ผู้เขียนยังไม่เห็นจิตตนเองเอาความมั่นใจจากไหนมาพูดเรื่องการปฏิบัติธรรม ผู้เขียนทราบความนัยเรื่องจิตดีเพราะพิจารณามาแล้วแต่ไร้ความสามารถจะอธิบายให้น้องท่านนี้เข้าใจได้ ผู้เขียนถามเขาว่าแล้วจิตคืออะไรเขาก็ไม่ตอบ ผู้เขียนบอกว่าจิตไม่มี...มีแต่วิญญาณขันธ์กับอุปทาน เขาก็ไม่เชื่อ เขาบอกว่าตนเองก็ยังไม่เห็นจิตชัด แต่วิธีของเขาซึ่งรับประกันด้วยกระดูกที่เป็นพระธาตุแล้วของครูบาอาจารย์จะช่วยเขาได้อย่างแน่นอน เขาบอกว่าหากเวลาเขาจะตายแล้วเห็นหน้าผู้เขียนเขาจะอธิษฐานให้เลือดพุ่งขึ้นฟ้าบูชาพระพุทธเจ้าโดยไม่ยอมตายเพื่อธรรมะของผู้เขียน (อันนี้ผู้เขียนก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าเลือดพุ่งขึ้นฟ้านี้ถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าตรงไหน) ผู้เขียนถามเขาถึงกาลามสูตร เขาก็มีอาการเกรี้ยวกราดอย่างแรงบอกว่าการยกเอากาลามสูตรมากล่าวถึงในกรณีอย่างนี้ถือว่าพาลไร้ทางเยียวยา (ความจริงเขามีคำศัพท์เรื่องพาลเป็นภาษาบาลีแต่ผู้เขียนไม่ได้จำ) สรุปว่าผู้เขียนเลวชั่วช้าน่ารังเกียจโง่พาลและอะไรก็ได้ที่เป็นความเสื่อมทรามอย่างมากว่างั้นเถอะ ผู้เขียนรู้สึกสงสัยว่าหากเขาปฏิบัติธรรมจนถึงขั้นนี้แล้วและทรงผมของผู้เขียนเป็นที่ประจักษ์ว่าไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันที่เจอกันวันแรกซึ่งไม่ถูกต้องตามคุณสมบัติของคู่ชีวิตเขา เหตุใดในวันนั้นเขาต้องออกปากชวนผู้เขียนไปอยู่ด้วยกันกับเขาแบบไม่ต้องแคร์คนอื่น ความเข้าใจในธรรมะของผู้เขียนก็เป็นเหมือนเดิมแต่ทำไมเพิ่งมาด่าว่าพาลโง่น่ารังเกียจ ผู้เขียนจึงถามน้องท่านนี้ไปว่า "ที่รัก เธอรักฉันบ้างไหม" เขาไม่ตอบ เขาบอกว่าเขารู้สึกถึงความรู้สึกของผู้เขียนมาตั้งนานแล้วแต่ไม่ได้พูด ดังนั้นจึงไม่ต้องมาถามว่ารักหรือไม่ เขาสรุปว่าเขาดูผู้เขียนผิดไป ไม่นึกว่าจะเป็นคน "น่าเกลียด" อย่างนี้ เขาบอกว่าผู้เขียนฉลาดแต่ไม่เฉลียวและคุยกับผู้เขียนไปก็ไม่ได้ประโยชน์อันใด สุดท้ายเราก็ขออโหสิกรรมต่อกัน ผู้เขียนขอยกเลิกคำมั่นสัญญาทุกอย่างที่ได้เคยให้กับเขาไว้ในอดีตชาติเพื่อให้เราได้เป็นอิสระจากกันและกันและไม่ขอตามทวงคำสัญญาใดๆที่เขาเคยสัญญากับผู้เขียนไว้ในอดีตกาล ส่วนเขาก็ขอขมาหากได้ล่วงเกินผู้เขียน แล้วพวกเราก็ตกลงกันว่าจะไม่ติดต่อกันอีก แล้วเราก็ไม่ได้พบกันอีกเลยจวบจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554 12:50:01 »

ความรู้สึกของผู้เขียนในวันสุดท้ายที่คุยกันผ่าน messager กับน้องท่านนี้มีแต่ความปรารถนาดี เป็นครั้งแรกที่อสูรตัวนี้รู้จักถนอมน้ำใจผู้อื่นและนึกถึงผู้อื่นแต่เพียงอย่างเดียวโดย "ไม่ได้นึกถึงตนเอง" เป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนสามารถ "เลิกคบ" กับคนอื่นได้โดยไม่ต้อง "เลิกรัก" ไม่ได้โกรธกัน (แต่ดูเหมือนว่าเขาจะโกรธผู้เขียนอยู่)  และได้เข้าใจว่า
 
คนที่รักกันก็คือรักกัน
และคนที่ต่างกันก็ย่อมต่างกัน
และเมื่อต่างกันจนคุยไม่รู้เรื่องมันก็คุยกันไม่รู้เรื่องจริงๆ
ความต้องการทางเพศก็คือความต้องการทางเพศ
เมื่อมีมันก็มี เมื่อไม่มีมันก็ไม่มี
ไม่มีความเชื่อมโยงอย่างตายตัวระหว่างความต้องการทางเพศกับการสัมผัสร่างกายอย่างเป็นรูปธรรม
เราคิดว่าต้องการสัมผัสร่างกายเขาแต่พอได้พบกันจริงๆกลับโล่งๆ รู้สึกไม่สนิทใจที่จะต้องสัมผัสกันขณะนั้น
ไม่มีความเชื่อมโยงตายตัวระหว่างความคิดถึงกับความดีใจขณะได้พบกัน
เราคิดถึงเขาจนต้องร้องไห้ ก่อนพบหน้าหัวใจก็เต้นแรง แต่เมื่อพบกันกลับรู้สึกโล่งๆเฉยๆ

เมื่อได้ตระหนักว่าเราสามารถ "รัก" คนที่แตกต่างจากตนเองอย่างสิ้นเชิงและมุ่งทำร้ายเราให้เจ็บปวดได้โดย "ไม่ต้องแก้แค้น" โพธิจิตในตัวผู้เขียนก็สามารถก็ทำงานผสานกับจิตอสูรได้อย่างกลมกลืนกันมากขึ้น ช่วงนี้ผู้เขียนเริ่มเข้าร่วมปฏิบัติธรรมแบบวัชรยานกับสหายธรรมกลุ่มหนึ่ง สหายธรรมกลุ่มนี้อุทิศตนให้ "โพธิจิต" การที่ผู้เขียนได้สัมผัส "โพธิจิต" ของสหายธรรมกลุ่มนี้บ่อยๆทำให้ตนเองมีความนุ่มนวลในวาจาและอารมณ์มากขึ้น รู้สึกสบายใจที่จะปฏิบัติแบบนี้ท่ามกลางความเป็นธรรมชาติของการใช้ชีวิตตามปกติ

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปถือศีล 8 อีกครั้งที่วัดแห่งหนึ่งแบบปิดวาจา ที่นี่จิตอสูรของผู้เขียนถูกระชากออกมาอีกครั้งอย่างที่ได้เล่าไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ เมื่อสึกออกมาผู้เขียนได้พิจารณาข้อธรรมะเพิ่มเติมจนเข้าใจคนชนิดต่างๆได้ลึกซึ้งขึ้น เริ่มรู้สึกว่าที่หน้าอกมีช่องว่างโหวงๆที่เข้าไปอยู่ได้ตลอดเวลา เวลาโกรธก็สามารถอยู่ในช่องนี้ได้อย่างปลอดภัย ต่อมาความโหวงๆก็เปลี่ยนเป็นความแน่นเหมือนมีอะไรพุ่งมาทะลวงหน้าอกอยู่เป็นพักๆ คนชนิดต่างๆที่ผู้เขียนรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาด้วยรวมทั้งมารดาของผู้เขียนเริ่มเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ต่างๆ ผู้เขียนได้ใช้หัวใจที่เหมือนมีสำลีหรือลมอุ่นๆอยู่ตรงกลางรับกับความขัดเคืองของตนที่มีต่อสิ่งกระทบทั้งหลาย เริ่มรู้จักมุมมองของผู้คนหลายรูปแบบที่ตนคุยด้วยแล้วไม่รู้เรื่อง และล้มเลิกความคิดที่จะคุยกับคนอื่นให้ได้ผลสรุป เลิกชักนำใครไปในทางใดๆหากเขายังลังเล เพราะสิ่งนี้ในภายหลังจะทำให้เกิดปัญหาโต้แย้งกันอย่างรุนแรงจนเขาเองต้องเดือดร้อน ผู้เขียนพบว่าผู้ที่คุยไม่รู้เรื่องนั้นเขา "ไม่ได้ต้องการจะรู้เรื่อง" เขาเพียงต้องการแสดงอารมณ์บางอย่างเพื่อความสะใจบ้าง เพื่อบอกให้เรารู้ว่าเขากำลังเสียใจบ้าง กำลังดีใจบ้าง หรือไม่ก็ไม่ได้สนใจจะสนทนากับผู้เขียนอย่างจริงใจ ด้วยสภาวะเช่นนี้พูดไปก็มีแต่จะเกิดความเข้าใจผิด ปกติหากเราปล่อยให้เขาแสดงตัวตนไปจนถึงระดับหนึ่งแล้วเราจะพูดกับเขาได้ง่ายขึ้น แต่บางครั้งการไม่พูดเลยก็มีผลดีต่อทั้งสองฝ่ายมากกว่าการพูดถึงสิ่งที่ถูกต้องอย่างจริงใจ

มาถึงวันนี้ผู้เขียนได้กลับไปพิจารณา "ความรักระหว่างชายหญิง" ของตนใหม่ พบว่าไม่มีอะไรมากไปกว่า "บทสนทนา" เพื่อการพัฒนา "โพธิจิต" ให้ทำงานประสานกับ "จิตอสูร" ท่านเจ้าสำนักท่านนั้นเป็นครูที่ดีในการบ่มเพาะโพธิจิตให้เติบโตจนมีพลานุภาพพอๆกับจิตอสูร สุดท้ายผู้เขียนก็ไม่เหลือปมตกค้างใดๆเรื่องความรักกับทุกท่านรวมทั้งท่านเจ้าสำนักนั้นด้วย สมัยก่อนความรักความชอบที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการแสดงออกอย่างเห็นแก่ตัวจากจิตอสูรอันคับแคบของผู้เขียนเท่านั้น ปัจจุบันนี้ความรักที่ผู้เขียนมีให้กับทุกท่านไม่มีความพิเศษที่จะต้องไปให้ถึงจุดหมายอะไรใดๆ แล้วแต่เหตุปัจจัยว่าแต่ละท่านจะพร้อม "สนทนา" กับผู้เขียนแค่ไหน

ปัจจุบันนี้ทุกท่านที่ผู้เขียนพบมักไม่พร้อมจะ "สนทนา" กับผู้เขียนสักเท่าไร อันนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง พวกเขามักต้องการอย่างเฉพาะเจาะจงในบางสิ่งซึ่งบางครั้งก็เป็นไปได้บางครั้งก็เป็นไปไม่ได้ และนั่นมักจะทำให้ผู้เขียนเหน็ดเหนื่อยและเดือดร้อนเสมอในการสนทนา ผู้เขียนไม่มีโอกาสและความสามารถที่จะบรรยายความรู้สึกให้พวกเขาเข้าใจในตัวผู้เขียนได้อย่างเต็มที่ พวกเขามาด้วยหัวใจดวงเล็กๆที่เปิดแง้มเพียงเล็กน้อยให้ความต้องการของตนเองทะลุผ่านช่องแง้มนั้นออกมาถึงผู้เขียน พวกเขายังไม่พร้อมจะรับสิ่งใดทั้งสิ้นผ่านช่องแง้มน้อยๆนั้น อีกทั้งยังไม่พร้อมจะเปิดใจให้กว้างขึ้นเพื่อแสดงความต้องการทั้งหมดที่มีอยู่ในใจดวงน้อยๆนั้นออกมาให้สาธารณะได้ทราบอีกด้วย ทุกวันนี้ผู้เขียนได้แต่หวังว่าตนเองจะไม่ต้องเบียดเบียนหัวใจดวงน้อยๆเหล่านี้ให้คับแคบยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม และไม่ต้องใช้บริการอันเหี้ยมโหดของจิตอสูรอีกต่อไป

หวังว่ามุมมองเรื่องความรักในบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่กุลบุตรกุลธิดาบ้าง ไม่มากก็น้อย
ผู้เขียนขออุทิศอานิสงค์ในการพิจารณาความรักนี้ให้แด่ตัวละครทุกตัวในชีวิตผู้เขียนและท่านผู้อ่านทุกท่าน
ขอชัยชนะเหนือพันธนาการทั้งปวงจงบังเกิดแก่ทุกท่านตามเหตุปัจจัย
ขอขมา ขออโหสิ และขออนุโมทนา ในธรรมทานของทุกท่าน
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
armageddon
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 8
*

คะแนนความดี: +2/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 229


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554 09:40:46 »

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

แมงมุมที่ถูกย้อมด้วยราคะ และตัณหา ย่อมชักใยและตกลงสู่ใยตนเองเสมอ
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.122 Chrome 12.0.742.122


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554 03:58:28 »

หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น

แมงมุมที่ถูกย้อมด้วยราคะ และตัณหา ย่อมชักใยและตกลงสู่ใยตนเองเสมอ

ทำไมเห็นข้อความนี้แล้วผมนึกถึงพลศักดิ์ ทันทีเลย !!!

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.122 Chrome 12.0.742.122


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554 16:02:59 »

อนุโมทนามิในธรรมทาน
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
เจ้าทึ่ม
one for all, all for one
นักโพสท์ระดับ 5
*****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 41


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 12.0.742.122 Chrome 12.0.742.122


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554 16:04:30 »

ความรักระหว่างชายหญิงจะแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมก็ต่อเมื่อเรารู้สึก "เขินอาย" ในบางสิ่งบางอย่างที่ผูกเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้าม เป็นต้นว่า ครั้งแรกที่เราตระหนักว่าหญิงหรือชายใดที่มีรูปหรือนามบางอย่างถูกใจเรา เรามักจะบันทึกเขาไว้ว่าเป็นผู้ที่เราพึงพอใจแต่เพียงเท่านั้น ความพอใจระดับนี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เราต้องการเอาธุระกับเขาในเชิงคนรัก แต่เมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์บางอย่างทำให้เรารู้สึก "อาย" เรามักจะ "เพลิดเพลิน (นันทิ)" กับอาการ "อาย" นั้นจน "ยึด" เอามาเป็นสัญลักษณ์ในการปรากฎตัวของเขา สิ่งนี้ทำให้เราต้องการพบเขาบ่อยครั้งขึ้นเพราะต้องการสัมผัสอาการ "อาย" อย่างนั้นอีก เมื่อนั้นเราจะบันทึกลงไปในความทรงจำว่าเรา "ชอบ" เขา

เมื่อเราบันทึกว่าเรา "ชอบ" เขาแล้ว เราจะเริ่มดำเนินการตามความ "ยึดมั่นถือมั่น" เรื่องความ "ชอบ" ระหว่างชายหญิงที่มีบรรจุไว้แล้วในสามัญสำนึกของเรา หากเราบันทึกไว้ว่าคนชอบกันต้อง "ไปไหนมาไหนด้วยกัน" เราก็จะพยายามหากิจกรรมทำร่วมกันกับคนที่เราชอบ หากเราบันทึกไว้ว่าคนชอบกันต้อง "ช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน" เราก็จะดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือคนที่เราชอบ ฯลฯ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆตามนิยามความ "ชอบ" ที่พวกเราแต่ละคนได้บันทึกเอาไว้ จนเมื่อมาถึงวันหนึ่งที่คนทั้งคู่ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกันจนครบถ้วนเพียงพอที่จะเปลี่ยนจากความ "ชอบ" มาเป็น ความ "รัก" ทั้งคู่ก็จะบันทึกไว้ในความทรงจำของกันและกันว่า "เรารักกัน" หากในอดีตเราสั่งสมประสบการณ์หลายอย่างที่แสดงให้ตนเองยึดมั่นถือมั่นว่า "ความรักเกิดขึ้นเนื่องมาจากความชอบ" เราก็มักจะเกิดความรักขึ้นพร้อมๆกับความชอบ ทำให้เราเป็นผู้ที่รักคนอื่นได้ง่าย หากในอดีตเราสั่งสมประสบการณ์ที่ทำให้ยึดมั่นถือมั่นว่า "ความรักเกิดจากการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนที่เราชอบ" เราก็มักจะเกิดความรักหลังจากได้ร่วมทุกข์รุ่มสุขกับผู้ที่เราชอบแล้ว ฯลฯ

เมื่อมีความรัก พวกเราส่วนใหญ่มักเกิดอาการข้างเคียงหลายๆแบบตามประสบการณ์ที่ตนได้เคยสั่งสมมา

ความ "ห่วงหาอาทร" บุคคลอันเป็นที่รักมักเกิดเนื่องจากเราได้สั่งสมประสบการณ์ "พลัดพราก" จากคนที่ตนรักทำให้เกิดความ "เคลือบแคลงสงสัย" จนกลายเป็นความ "กลัว" ว่าคนที่เรารักจะสูญหายไปอีก

ความ "หึงหวง" เมื่อมีความรัก มักเป็นผลมาจากในอดีตเราได้สั่งสมประสบการณ์ถูกแย่งคนรักในลักษณะต่างๆ จนกลายเป็นความ "กลัว" ว่าคนรักตนจะถูกผู้อื่นแย่งไปอีก สาเหตุที่เรามักแสดงอาการ "โกรธ" เมื่อเกิดความ "หึงหวง" นั้นเป็นผลมาจากการสั่งสมของ "โทสะ" ที่เรามีต่อปรากฎการณ์ถูกแย่งคนรักในอดีต หากท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้วิปัสสนาต่อไปถึงสาเหตุแห่ง "โทสะ" นี้ ท่านย่อมได้พบกับตัวตนอันมืดดำแห่งความ "ริษยา" ของตนเองที่แฝงอยู่ภายใน เมื่อเราพบมันแล้วเราก็จำเป็นต้องยอมรับว่าเรา "ริษยา" ที่หญิงหรือชายอันเป็นที่รักไปมีความสุขกับผู้อื่นนอกเหนือจากตนเอง และหากเรามาวิปัสสนากันต่อไปอีกว่าความ "ริษยา" นี้มีสิ่งใดเป็นปัจจัย ในที่สุดเราจะได้พบกับความ "กลัว" อีกชนิดหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจเรา เรา "กลัว" ว่าความสุขที่เกิดระหว่างตนเองและคนรักจะหายไปเนื่องจากเขาไปมีความสุขร่วมกับคนอื่นด้วย อืม...ฟังดูแล้วไม่สมเหตุสมผลเลย เหตุใดเราจึงต้องสุขน้อยลงเมื่อคนอื่นมีความสุขร่วมกับคนรักของเรา ? สิ่งนี้ผู้เขียนขอฝากไว้ให้ท่านทั้งหลายได้นำไปวิปัสสนาต่อตามแต่ท่านจะเห็นสมควร
 
ความ "ต้องการทางเพศ" เมื่อมีความรักเป็นผลมาจากในอดีตเราได้สั่งสมประสบการณ์ในการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ตนรัก หากเรามีความต้องการทางเพศปรากฎขึ้นตั้งแต่เมื่อเริ่มชอบใคร นั่นแสดงว่าเราสั่งสมประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เราชอบมาแบบนั้นจนเป็นนิสัย หากเราจะวิปัสสนาต่อไปถึงสาเหตุที่เราจำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอันเป็นที่รักแล้วพวกเราแต่ละคนย่อมมีคำตอบที่แตกต่างกันออกไป คนที่ตอบว่าเพราะต้องการ "สนองความใคร่" ต้องถามต่อว่าหากมีนาง/นายบำเรอที่สามารถสนองความต้องการทางเพศของเราได้ต่างหากแล้ว เรายังต้องการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายอันเป็นที่รักอีกหรือไม่ ? ทำไมเรายังต้องการร่วมเพศกับคนรักอีก ? อันที่จริงการ "ร่วมเพศด้วยความรัก" นั้นเป็นบท "สนทนา" ระหว่างคู่รักโดยใช้ร่างกายอย่างเป็นรูปธรรม เป็นเรื่องปกติที่จะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ตามเหตุปัจจัย การที่เรายึดมั่นถือมั่นว่าตนจำเป็นต้อง "สนทนา" กับคนรักโดยใช้ร่างกายนั้นแสดงว่าเรา "กลัว" ว่าการใช้ใจอย่างเดียวจะไม่พอ เรา "กลัว" ว่าความรักที่ตนและคนรักมีให้แก่กันและกันจะพร่องหายไปหากปราศจากการสัมผัสส่วนลึกของร่างกายอย่างเป็นรูปธรรม

ความห่วงหาอาทร ความหึงหวง และความต้องการทางเพศ ที่เกิดเมื่อเรามีความรักมักแปรเปลี่ยนไปตามเวลาและคู่กรณีซึ่งตั้งอยู่บนฐานของกฎแห่งกรรม ในบางเวลาเราสามารถรักผู้อื่นได้โดยไม่ต้องหึงหวง แต่บางเวลาเราก็สามารถหึงหวงผู้อื่นได้โดยไม่ต้องรัก ในบางเวลาสำหรับคนบางคนเราสามารถรักเขาได้โดยไม่ต้องมีความสัมพันธ์ทางเพศด้วยกัน แต่สำหรับคนบางคนเราก็สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเขาได้โดยไม่ต้องรัก ดังนั้นสำหรับบางกรณี ความชอบ ความรัก ความหึงหวง ความต้องการทางเพศ อาจเป็นเรื่องๆเดียวกัน แต่บางกรณีก็เป็นคนละเรื่อง และคนที่สร้างเรื่องก็คือ "ตัวเราเอง" ผู้อื่นเป็นเพียงตัวละครที่เรานำมาผูกกับตนไว้ตามกฎแห่งกรรมเท่านั้น

หากเรายังสร้างเรื่องรักที่มีแต่ความ "ห่วงหาอาทร" ต่อไป เราก็จะสั่งสม "ความกลัว" ในอันตรายจากการพลัดพรากนี้ต่อไปเรื่อยๆไม่รู้จบ ความกลัวการ "พลัดพราก" นี้ย่อมมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป ว่าไปแล้วก็คล้ายๆกับการ "เพ่งกสิณ" ชนิดหนึ่ง เราเพ่งหาน้ำเราก็ได้น้ำ เราเพ่งหาดินเราก็ได้ดิน เราเพ่งหาความพลัดพรากเราก็ย่อมได้ความพลัดพรากเป็นธรรมดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร
 
หากเรายังสร้างเรื่องรักที่มีแต่ความ "หึงหวง" ต่อไป เราย่อมได้ชื่อว่าสั่งสม "ความกลัว" ในการถูกแย่งคนรักต่อไปเรื่อยๆ กิจกรรมนี้ทำให้เราเพ่งลงไปในการ "ถูกแย่งคนรัก" โดยไม่รู้ตัว เมื่อพลังเพ่งของเรามากพอ เราย่อมถูกแย่งคนรักไปตามเหตุปัจจัยเป็นเรื่องธรรมดา

หากเรายังสร้างเรื่องรักที่มีแต่ความ "ต้องการทางเพศ" ต่อไป "ความกลัว" ในการพร่องหายของความรักเมื่อไม่ได้สัมผัสร่างกายของกันและกันก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราเพ่งลงไปใน "การพร่องหายของความรักเมื่อไม่ได้สัมผัสร่างกาย" ต่อไปเรื่อยๆจนได้ที่ ความรักของเราที่มีต่อภรรยา/สามีก็ย่อมจืดจางลงเมื่อเราไม่ได้สัมผัสร่างกายเขาในที่สุด

ความรักที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ครั้งล่าสุดนี้ (เล่าไว้ในบทความก่อนหน้านี้) มีครบทั้ง ความห่วงหาอาทร ความหึงหวง และความต้องการทางเพศ ซึ่งเป็นของเดิม (กิเลส) ในอดีตที่ผู้เขียนสั่งสมร่วมกันมากับคู่กรณี ดีว่าตนได้ใช้วิบากแห่งความหึงหวงมามากแล้วก่อนจะมาพบกับคู่กรณี ความรู้สึกนี้จึงเบาบางลงมากเหลือแค่ไม่เกิน 1 นาทีต่อครั้ง ความจริงที่ผู้เขียนสัมผัสได้แล้วก็คือกิเลสเหล่านี้ไม่ได้แสดงตัวตลอดเวลาและไม่ได้มีพลานุภาพน่าเกรงกลัวอย่างที่คิดเอาไว้ แม้เราจะห่วงหาอาทรในตัวเขาจนน้ำตาไหลและต้องการสัมผัสร่างกายเขาก็ตามที แต่ทั้งหมดนี้ก็แสดงตัวเฉพาะเวลาที่เราไม่ได้เจอหน้าเขาเท่านั้น ในวินาทีที่เราสัมผัสเขาด้วยสายตาและวาจา กิเลสเหล่านี้ก็ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของมันเรียบร้อยแล้วจึงกลายเป็นความโล่งโปร่งสบายทุกครั้งเมื่อเราได้เจอกัน หากผู้เขียนมี "นันทิ (ความเพลิดเพลิน)" ในอารมณ์ห่วงหาอาทรและความต้องการทางเพศอยู่ตลอดเวลาทั้งขณะพบหน้าและไม่ได้พบหน้ากัน เวลานี้คงเป็นเวลาที่ผู้เขียนทรมานใจมากจากวิบากอันเป็นผลของกรรมที่ตนได้ก่อซ้ำของเดิมลงไปในปัจจุบัน นับเป็นโชคที่ผู้เขียนไม่ได้ก่อปัจจุบันกรรมขึ้น เมื่อใช้วิบากจากอดีตจนหมดสิ้นโดยไม่มี "นันทิ" ผู้เขียนย่อมเป็นอิสระจากคู่กรณีได้ในที่สุด ต้องขอบคุณน้ำตาและความเจ็บปวดที่ได้เกิดขึ้นแก่ผู้เขียนอย่างเต็มที่และไร้เหตุผลในระยะเวลาอันสั้น การที่พวกเราสามารถใช้วิบากให้หมดไปได้โดยไม่ต้องอยู่กินกันนี้คงเป็นด้วยกรรมที่พวกเรากระทำกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันส่งผลแต่เพียงเท่านี้ และคงเป็นด้วยบุญบารมีที่พวกเราแต่ละคนถือกันมาปฏิบัติภารกิจในชาตินี้แสดงตัวแล้วเช่นนี้ เวลานี้คงเป็นเวลาสำหรับผู้เขียนและคู่กรณีได้ดำเนินชีวิตต่อไปตามวิบากชุดอื่นที่มีผลแรงกว่าและยังไม่ได้ชดใช้ เพื่อยังปณิธานของพวกเราให้สำเร็จลุล่วงทุกประการ

ความรักก็เกิดขึ้น เป็นไป และจบลงได้ด้วยประการฉะนี้
 
ขออานิสงค์จากธรรมทานนี้จงบังเกิดแก่ตัวละครทุกตัวในชีวิตผู้เขียนและท่านผู้อ่านทุกท่าน
บันทึกการเข้า

น้อมคารวะบรรพบุรุษครูบาอาจารย์และทีมงาน
คำค้น: บุญ บารมี 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ธรรมข้อคิดจากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม"
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
เงาฝัน 9 8545 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2553 12:06:22
โดย sometime
มีขันติคือให้พรแก่ตัวเอง
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
sometime 9 8096 กระทู้ล่าสุด 10 มิถุนายน 2553 10:10:08
โดย เงาฝัน
หลวงปู่บุดดาตอบเรื่อง'นิพพาน..และจิต'
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
มดเอ๊ก 2 3747 กระทู้ล่าสุด 03 กรกฎาคม 2553 03:38:16
โดย หมีงงในพงหญ้า
เรื่องของแม่ที่ลูกทุกคนต้องอ่าน ดร.สุพ
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 1 3402 กระทู้ล่าสุด 25 สิงหาคม 2553 17:42:57
โดย หมีงงในพงหญ้า
ปลาจ่อมทรงเครื่อง สูตร/วิธีทำ
สุขใจ ในครัว
Kimleng 2 3192 กระทู้ล่าสุด 17 พฤษภาคม 2563 15:49:18
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.379 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้