[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 พฤศจิกายน 2567 06:50:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ไอน์สไตน์ยิ่งใหญ่เพราะภาวะจิตวิญญาณด้วย  (อ่าน 8845 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2554 08:15:53 »



ผู้เขียนรู้สึกว่านักวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไปส่วนใหญ่มากๆ ส่วนหนึ่ง โดย เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ของประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยเราต่างคิดว่าการเป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นแม็ตทีเรียลลิสต์หรือไม่นั้นจะต้องเกี่ยวข้องเฉพาะแต่เรื่องข้างนอก-ภายนอกหรือรูปธรรมเท่านั้น ฉะนั้นจึงต่างรู้จักชื่อเสียงของไอน์สไตน์ดี เพราะเข้าใจว่าไอน์สไตน์รู้จักและใช้เป็นเพียงแต่ตรรกะทั้งหมดที่ตนเองรู้ - ซึ่งเป็นเพียงภาวะวิสัย (objective) ทางด้านชีววิทยา “ที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น” เท่านั้น เรื่องภายในหรือเรื่องของจิตวิญญาณ (spirituality) แทบจะไม่มีหรือไม่สนใจเลย ทำให้เข้าใจว่าไอน์สไตน์คงจะเหมือนกับตนหรือนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ซึ่งคิดถึงแต่รูปธรรม คิดถึงแต่เรื่องสสารวัตถุ (matter) คือไอน์สไตน์คงรู้แต่เรื่อง “ที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น” รู้แต่ความจริงของโลกของจักรวาลต่างๆ ได้มากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ มีครั้งหนึ่งวารสารทางวิทยาศาสตร์ชื่อดิสคัฟเวอรี่ - ที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกรับมานานจนถึงครั้งหนึ่งวารสารวิทยาศาสตร์ฉบับนี้ได้เปลี่ยนบรรณาธิการเป็นนักชีววิทยา ทำให้บทความส่วนมากเป็นบทความทางชีววิทยาไปด้วย ซึ่งทำให้ผู้เขียนรับได้ยากมาก เพราะผู้เขียนมองว่าวารสารทางวิทยาศาสตร์จริงๆ ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้ววารสารจะต้องประกอบความพยายามที่จะหาคำตอบเรื่องของธรรมชาติทั้งหมดหรือฟิสิกส์ เรื่องของชีวิตแม้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ก็จริง แต่ก็เป็นเรื่องที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับทั้งหมด ผู้เขียนจึงบอกเลิกเป็นสมาชิก เลิกรับวารสารเล่มนั้นไปเลยตั้งแต่วันนั้น - ส่วนเล่มที่เขียนเรื่องของไอน์สไตน์เป็นพิเศษทั้งเล่มเลย (2009) นั้นลูกชายซื้อมาฝากจากอเมริกา

 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในวารสารวิทยาศาสตร์ดิสคัฟเวอรี่ที่ว่าเล่มนั้นไม่มีแม้แต่เรื่องเดียวที่มีคำว่าจิต (consciousness) หรือว่าสภาวะจิตวิญญาณ  (spirituality) เลยเท่าที่ผู้เขียนอ่านผ่านตามา ซึ่งเชื่อได้อย่างจำกัดมาก เพราะว่าตาของผู้เขียนทั้ง 2 ข้างเกือบมองไม่เห็นแล้ว แถมยังเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ  ซึ่งส่งผลให้นิ้วของมือขวาใช้การไม่ได้และพูดลำบากมาก ผู้เขียนอีก 2 เดือนก็จะย่างก้าวเข้าอายุ 84 ปีแล้ว คงเขียนได้ไม่นาน ถึงครึ่งปีก็นับว่าเก่งแล้ว อย่างว่า-ผู้เขียนไม่เคยอ่านผ่านตาในวารสารเล่มนั้นทั้ง 14 เรื่องของไอน์สไตน์ ทั้งๆ ที่มีแม้แต่มิชิโอะ กากุ นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กซิตีเขียนถึง 2  เรื่อง มิชิโอะ กากุ ผู้เขียนเรื่องมิติ (dimensions) ที่บอกว่านิพพานคือมิติที่ 11  เมื่อ 5 ปีก่อน

 ที่ผู้เขียนพูดว่าไอน์สไตน์เป็นคนที่มีความรอบรู้เรื่องจิตและสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) มากกว่าพอสมควรมากนัก จริงๆ แล้วผู้เขียนเชื่อว่าไอน์สไตน์จะต้องคิดเรื่องของจิตและจิตวิญญาณอย่างน้อยก็เท่าๆ กับเรื่องทางกายทางวัตถุ ผู้เขียนคิดเรื่องนี้จากข้อเขียนของเขาที่มีมากยิ่งนัก (ดู-ไอน์สไตน์กับพระพุทธเจ้า) ตามปกติความเชื่อศรัทธานั้นเป็นคำที่อยู่ในศาสนา แม้แต่ศาสนาพุทธเองความศรัทธาก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็น 1 ใน 4 หนทางที่เอื้ออำนวยให้กิจการใดๆ สามารถลุล่วงไปได้ แต่เป็นคำที่วิทยาศาสตร์ไม่ชอบเลย  จริงๆ แล้วไม่มีในปทานุกรมวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำไป ในหนังสือวิวัฒนาการของฟิสิกส์ (หรือวิทยาศาสตร์) ไอน์สไตน์ได้เขียนไว้ชัดถึง “ความศรัทธา” หลายครั้งในการทดลองทางฟิสิกส์ ในสายตาของผู้เขียนและนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่คิดว่าเป็น “แม่” ของความรู้ (knowledge) ที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย  ไอน์สไตน์กล่าวว่าในการทดลองทางฟิสิกส์ (วิทยาศาสตร์) นั้นเราใช้ภาวะวิสัยเป็นประจำในการทั้งคิดสร้างการทดลอง ทั้งการเข้าไปถึงข้อสรุปการทดลองทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้ง แต่ทุกครั้งเช่นกันเราก็ต้องมีความเชื่อศรัทธาอันเป็นอัตวิสัย (subjective) เสมอเป็นของคู่กัน ในการทดลองวิทยาศาสตร์ทุกครั้งเราจำเป็นที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อความ “พร้อม” ของจักรวาล “ภายใน” (inner cosmic harmony) หาไม่แล้วเราก็ไม่มีวิทยาศาสตร์  ไม่มีการค้นพบอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และความเชื่อความศรัทธานั้นเองที่ชักนำให้ความ “พร้อม” ของจักรวาลภายในนั้นให้เคลื่อนไหว

 ความเชื่อความศรัทธาที่มีอยู่ใน ทุกๆ ศาสนาโดยไม่มีข้อยกเว้น แม้แต่ในศาสนาพุทธที่เป็นจิตวิทยาและเป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด ที่ถือว่าเป็น “หัวหอก” สู่ความสำเร็จจนกระทั่งลุล่วงไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ มีเหตุผลอยู่ 2 ประการที่ผู้เขียนคิด  และขอให้ท่านผู้อ่านช่วยพิจารณาคือ หนึ่ง จิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลของคาร์ล  จุง (universe unconscious continuum) หรือที่อาร์โนลด์ มินเดล เรียกว่า  กระบวนการจิต (processmind) นั้น จริงๆ แล้วจักรวาลรู้ว่าความจริงที่แท้จริงของจักรวาลคืออะไรกับอย่างไรอยู่แล้วและทุกๆ เวลา และที่สำคัญจิตจักรวาลเป็นตัวรู้หรือเป็นปัญญา (ที่เหนือกว่าสติปัญญาธรรมดาๆ) ที่ให้และควบคุมความจริงที่แท้จริง ทั้งหมดทั้งสิ้น (ปรมัตถ์ หรือ ultimate reality) และสอง จิตจักรวาลรู้แล้วว่ามีผู้ค้นหา ความจริงบางความจริง อยู่ และถึงเวลาที่ความจริงนั้นต้องโผล่ปรากฏออกมาหรืออาจจะพูดว่าจิตจักรวาลมีหน้าที่ปกครองควบคุมความจริงแต่ละความจริงที่ปรากฏแก่มนุษย์ในโลกด้วยก็ได้ ไอน์สไตน์มีความคิดเห็นคล้ายๆ กับพระพุทธเจ้าในกรณีที่พูดถึงพระเจ้า จริงๆ แล้วทั้งสองสนใจอย่างที่สุดในเรื่องของจิตและจิตวิญญาณมาตั้งแต่ไหนแต่ไร สำหรับพระพุทธเจ้านั่นไม่ต้องพูดถึง เพราะเป็นคนที่สนใจในเรื่องความรู้และเรื่องของชีวิตมาตั้งแต่ยังเป็นเจ้าชายสุทโธทนะ สนใจในวัฏจักรของชีวิต การเกิด แก่ เจ็บ ตาย มาตั้งแต่เล็ก และทรงประกาศพุทธศาสนาเพื่อช่วยมนุษย์โลกหลังการตรัสรู้มาตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเมื่อสองพันห้าร้อยปีก่อน และเป็นผู้ที่ไม่ชอบพูดถึงพระเจ้า ในความเห็นของผู้เขียนไอน์สไตน์เองก็ไม่ชอบพูดถึงพระเจ้าผู้สร้างโลกและสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งมนุษย์ (Creator) เป็นคนที่พูดได้ว่าเคร่ง “ศาสนา” อย่างที่สุดตามที่เกอร์ฮาร์ด สตากุห์น (อ้างแล้ว) เป็นคนที่ใช้คำว่าเคร่งใน “ศาสนาของจักรวาล” (cosmic religiousness) แต่ถึงจะเคร่งศาสนาอย่างไรไอน์สไตน์ก็ไม่พูดถึงพระเจ้าหรือพูดถึงน้อยครั้งมาก ทั้งนี้ เพราะไอน์สไตน์เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าที่คิดว่าพระเจ้าที่เป็นสมบัติส่วนตัว (personal God) คงไม่มี พระเจ้าที่มีความคิดเหมือนมนุษย์ (mentality) คงไม่มี พระเจ้าที่ลงโทษและให้รางวัลคนแต่ละคนทั้งที่พระเจ้าเองเป็นผู้สร้างขึ้นมาเองก็คงไม่มี - มีแต่พระเจ้าที่เป็นความจริงที่แท้จริง พระพุทธเจ้าจึงมีความคิดเห็นเช่นอุปานิษัทเล่มแรกๆ และคิดว่าพระเจ้าที่แท้จริง ก็คือพรหมัน (Brahman) ซึ่งก็คือความจริงที่แท้จริงนั่นเอง และผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่าคณิตศาสตร์ (mathematics) และทฤษฎีที่พิสูจน์แล้วบางทฤษฎี โดยเฉพาะทฤษฎีความสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เองและทฤษฎีควอนตัมเม็คคานิกส์ล้วนแล้วแต่ได้รับการปกครองและควบคุมด้วยจิตไร้สำนึกร่วมจักรวาลของคาร์ล จุง หรือสนามกระบวนการจิต (processmind) ของอาร์โนลด์ มินเดล ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น                                                             


ในที่นี้เราพูดถึงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งจริงๆ แล้วความยิ่งใหญ่ของไอน์สไตน์นั้นจะพูดได้ว่าเราอาจมองว่าเป็นเรื่องของฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ทั้งหมดเป็นสำคัญก็ได้หากว่าเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มองนั้น แต่ถ้าหากให้นักศาสนศาสตร์หรือนักจิตวิทยาผ่านพ้นตัวตนมองความคิดของไอน์สไตน์ รับรองว่าเขาจะมองอย่างที่ผู้เขียนเห็น คือไอน์สไตน์เป็นผู้ที่อยู่ในสภาวะผ่านพ้นตัวตน  (transcendence) หรือสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) แน่นอน อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์ นั้นไม่ใช่คนธรรมดา คือไม่แคร์กับความเห็นของม็อบของมวลชนและเสียงด่าว่าของปัญญาชนนักวิชาการโดยเป็นตัวของตัวเองเสมอ ไอน์สไตน์เป็นคนที่สุดพิเศษจริงๆ คือเขาเป็นยิ่งกว่าจีเนียส (genius) เสียอีก ไทม์แม็กกาซีนจัดผิดที่ จัดให้เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษ เพราะเขาเป็นยิ่งกว่านั้นมากนัก เอาเป็นว่าอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด รู้รอบที่สุดในประวัติศาสตร์ในรอบ 500 ปี หรือรอบ 1,000 ปีก็แล้วแต่ โดยมีแต่นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า โคเปอร์นิคัส หรือไอแซ็ค นิวตัน ที่อาจจะเทียบเคียงได้ ความรอบรู้พหูสูตของไอน์สไตน์เช่นเรื่องศาสนาหรือเรื่องจิตและเรื่องของจิตวิญญาณ (spirituality) อาจยกเป็นตัวอย่างได้ดังนี้

“ข้าพเจ้าเชื่อในเรื่องของญาณทัสสนะและการดลใจจากจินตนาการ  ญาณทัสสนะ (intuition) คือปัญญาที่มาของมันเองและจินตนาการนั้นสำคัญกว่าความรู้มากนัก เพราะความรู้นั้นมีอยู่อย่างจำกัด ในขณะที่จินตนาการกอดโลกไว้ทั้งหมด จินตนาการคือความก้าวหน้า คือหัวหอกแห่งวิวัฒนาการ จริงๆ แล้ว มันคือพื้นฐานของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์”

ความคิดอีกความคิดหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่าไอน์สไตน์ชอบเรื่องทางจิตและจิตวิญญาณ ซึ่งมองอย่างไรก็มองไม่เห็นคือ ชอบความรู้ที่เร้นลับหรือความลี้ลับ (mysticism-mysterious) ที่มองไม่เห็น ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ที่ชอบที่สุดคือเราสามารถมีประสบการณ์เรื่องที่ลี้ลับอันงดงามอย่างที่สุด นั่นคือจุดกำเนิดของศิลปะและวรรณคดีกับวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ใครก็ตามที่มีความรู้สึก  (emotion) เหมือนพบกับคนแปลกหน้า ไม่สามารถหยุดและหันไปมองเรื่องที่ลี้ลับนั้นด้วยความสนใจจนอ้าปากค้าง (rapt in awe) ใครคนนั้นก็เหมือนกับที่ตายไปแล้ว” น่าสนใจที่ปรัชญาการมองชีวิตของไอน์สไตน์นั้นเหมือนกับว่าไม่ได้ผิดจากการดำเนินชีวิตของเขาที่ดูว่าไอน์สไตน์จะมีความสนใจในเรื่องของชีวิตทุกๆ  เรื่องเลย โดยเฉพาะเรื่องของ “ความเป็นผู้มีศาสนา” กับเรื่องทางจิตและจิตวิญญาณ

“ความรู้เรื่องที่มาหรือการดำรงอยู่ของชีวิตที่สวยงามนั้น เราไม่อาจรู้ได้อย่างลึกซึ้ง นั่นคือคำตอบของคำที่ว่า-ทำไมเราถึงต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นศาสนา เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุและอารมณ์ความรู้สึกนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาอย่างที่สุด...” และเขากล่าวว่า "มันต้องมี" ผู้ปรึกษาที่ทรงอำนาจ  (counsel and dominion) อยู่เบื้องหลังกฎธรรมชาติ เป็นผู้ที่ทรงปัญญาเหนือปัญญา (the One-the old One)...” ซึ่งไอน์สไตน์บอกว่าไม่ใช่พระเจ้า “ส่วนตัว”  ของใคร (personal God) ผู้ให้รางวัลและลงโทษมนุษย์ และเป็นผู้ที่มีความคิดความอ่านเหมือนมนุษย์ เขากล่าวว่า “ทุกๆ วันข้าพเจ้าจะคิดเป็นร้อยๆ ครั้ง  เตือนตัวเองอยู่เสมอว่าชีวิตทั้งภายในกับภายนอกของข้าพเจ้าขึ้นกับแรงงานของคนผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นหรือตายไปแล้ว และข้าพเจ้าจะต้องทำเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงดำรงชีวิตเรียบง่ายโดยรู้ตัวเองตลอดว่าต้องไม่เอาเปรียบผู้อื่น...” “การเป็นมนุษย์นั้นข้าพเจ้าถือว่าความรื่นเริงบันเทิงใจอยู่กับความจริง ความดี และความงาม นั่นคือ การมีชีวิตของมนุษย์ (ที่มีจิตใจเหมือนข้าพเจ้า) คือการสนุกกับศิลปะและวิทยาศาสตร์ การไขว่คว้าหาความสุข (ชั่วคราว) บนความอยากความต้องการ เช่น การแสวงหาทรัพย์สิน ตำแหน่ง เกียรติ ความฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่ายนั้นน่ารังเกียจอย่างที่สุด”.

http://www.thaipost.net/sunday/100711/41474

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.358 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 26 ตุลาคม 2567 10:46:12