ต่ออีกนิดจ้า.... เขาอธิบาย "ไป่เยวี่ย” ต้องเข้าใจก่อนว่าคือชื่อ "กลุ่มวัฒนธรรม” ไม่ใช่ชื่อชนชาติ พวกไป่เยวี่ยกระจายตัวกว้างขวางมาก มีตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนปลายลงมาจนถึงเวียดนาม(ตังเกี๋ย) จีนเรียกเหมารวมไปหมดว่า "ไป่เยวี่ย” นอกจากนี้ชนชาติส่วนน้อยทางภาคตะวันออก
เฉียงใต้ของจีนปัจจุบัน เช่น ชนชาติม้ง ชนชาติเย้า ชนชาติเซอ ชนชาติถู่ ชนชาติจิง(เวียด) สืบสายวัฒนธรรมมาจากไป่เยวี่ยทั้งนั้น
พวกไปเยวี่ยสาย "ซีโอว่” และ "ลั่วเยวี่ย” (ลั่ว-คำนี้น่าจะหมายถึง "นก” เรื่องนี้เกี่ยวกับ Totem และการทำนาลุ่ม) คือบรรพชนของชาวจ้วง จึงมีความนิยมเรียกชื่อชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เลิกใช้คำว่า "เยวี่ย” เปลี่ยนมาใช้ "หมาน” เปลี่ยนมาใช้ "เหล่า”(ลาว) เปลี่ยนมาใช้ "ไป๋อี”(เสื้อขาว) จินฉื่อ(ฟันทอง) กระ ทั่งสับสนเรียกเป็น "เย้า” เป็น "ม้ง” อะไรต่างๆ มากมาย เรื่องนี้สร้างความสับสนได้มาก แต่สรุปได้ว่า ชื่อ "เยวี่ย” "หมาน” "เหล่า” เก่าแก่คำว่า ไท-ไต
นักวิชาการศึกษาชนชาติจ้วง ตั้งคำถาม อะไรคือวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มชนไป่เยวี่ย? ทองแถม ชี้ให้เห็นทางสังคมวัฒนธรรม
1. อยู่อาศัยบนเรือนเสาสูง
2.เชี่ยวชาญทางน้ำและเรือ
3. ตัดผมสั้น(ไม่ไว้ผมรัดเกล้า แล้วใส่หมวกแบบฮั่น) สักร่างกาย
4. วัฒนธรรมทำนาข้าว
5. ในยุคสำริดบูชากลองมโหระทึก
6. นิยมการฝังศพครั้งที่ 2 (ฝังดินแล้วเก็บกระดูกฝังครั้งที่ 2)
ทั้งขยายภาพของกลุ่มชนไปเยวี่ยที่อยู่ใน Mainland Southest Asia พัฒนาวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มแรก พวกที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากชมพูทวีปมาก ค่อนมาทางภาคตะ วันตก รับวัฒนธรรมทางศาสนาจากฮินดูและพุทธ ทั้งมหายานและเถรวาท วัฒนธรรมใหม่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก เป็นต้นว่า ไทยกลุ่มที่รับศาสนาพุทธ
กลุ่มที่สอง พวกที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากฮั่น หรือจีนแท้ ยังนับถือผีสาง เทวดา กลองมโหระทึก พิธี กรรมรับเอาศาสนาเต๋าเข้ามาผสม สองกลุ่มนี้ดูผิวเผินจะแตกต่างกันมาก อย่างที่คนไทยไปพบพี่น้องในกวางสี ในกุ้ยโจว จะงุนงงว่าไม่เห็นเหมือนไทยเลย ซึ่งรากเหง้าวัฒนธรรมดึกดำบรรพ์ก็ยังหลงเหลืออยู่ เพราะก่อนที่พุทธ ฮินดู หรือฮั่น จะแผ่อิทธิพลอย่างมากนั้นชนพื้นเมืองที่นี่มีระบบความเชื่ออยู่แล้ว เพราะมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมมั่นคงและแข็งแกร่ง "เป็นต้นว่า การบูชากลองมโหระทึก ยังรักษาไว้ได้ถึงวันนี้ โดยเฉพาะในไทยและกะเหรี่ยง ความเชี่ยว ชาญทางด้านโลหะ ประเพณีฝังศพครั้งที่ 2 (คนไทยยังนิยมสร้างกู่ เจดีย์ บรรจุอัฐิ)” อย่างไรก็ดีทองแถมได้ทิ้งคำ ถาม "การจะค้นหารากเหง้าวัฒนธรรมไทยเดิม ก่อนรับพุทธและฮินดู เราต้องไปศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มทางตะวันออก เช่น ชาวจ้วงในกวางสี ชาวหลี(ภาษาจีนไหหลำเรียก "โหล่ย” คือ "ดอย” ชาวเขานั่นเอง ในไหหลำ ชาวผู้ใหญ่ในกุ้ยโจวแต่ก่อน จีนเรียกส่วนหนึ่งของชนชาติผู้ใหญ่ว่า "ซา” จะเกี่ยวกับคำว่า "ซำ” "สยาม” หรือไม่น่าศึกษาดู?”
อย่างไรก็ดีความเห็นคุณทองแถม "ชนชาติภาษาจ้วงในกวางสีด้วยกัน มีอยู่ถึง 28 กลุ่ม แต่ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ข้ามตำบลเดียวเท่านั้นก็จับใจความประโยคได้ยากอยู่ แต่ถ้าเป็นคำโดด ๆ ก็เข้าใจความหมายที่สื่อสารกันได้”
ปิดท้ายคำพูดทองแถม "สิ่งที่เรากำลังมองอยู่ ในอดีตเรามีวัฒนธรรมเดิมของเผ่าไท-ลาว-จ้วงมีมาก่อนอินเดียพุทธจะเข้ามา เราไม่ใช่คนป่าเถื่อนไร้อารยธรรมอย่างที่ตะวันตกมอง แต่เรามีระบบความเชื่อมาก่อน ในรูปกลองมโหระทึก ผลิตโลหะ วัฒนธรรมทำนาข้าว”
ที่มา : กระทรวงวัฒนธรม
https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=271&filename=index