[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 00:08:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สา ปุสสเทโว)  (อ่าน 1184 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 84.0.4147.125 Chrome 84.0.4147.125


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 สิงหาคม 2563 13:53:10 »



สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สา ปุสสเทโว)
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สา ปุสสเทโว) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2436 ถึงปี พ.ศ.2442 รวม 6 ปี

เป็นสามเณรเปรียญ 9 ประโยค องค์แรกในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าสอบบาลียุคปากเปล่า และแปลบาลี 9 ประโยค รวดเดียวกันได้ถึง 2 ครั้ง เป็นความสามารถอันยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือน

จนได้รับฉายาเป็นเปรียญ 18 ประโยค

พื้นเพเดิมเป็นชาว ต.บางไผ่ จ.นนทบุรี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1175 ตรงกับวันที่ 19 ส.ค.2356 ในรัชกาลที่ 2 บิดาชื่อ จันท์ มารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวม 5 คน

บิดาเป็นชาว ต.เชิงกราน จ.ราชบุรี เคยบวชเรียนจนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย และยังเป็นผู้มีความรู้ทั้งหนังสือและปริยัติธรรม ถึงขั้นเป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ในพระราชวังบวรด้วยท่านหนึ่ง การศึกษาขั้นต้นจึงได้รับการถ่ายทอดจากบิดา ส่งให้มีอุปนิสัยน้อมนำไปในทางธรรมแต่เยาว์วัย

บรรพชาที่วัดใหม่ บางขุนเทียน แล้วย้ายมาอยู่วัดสังเวชวิศยาราม เพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม โดยเข้าไปเรียนในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน (ฆราวาส) และบิดา

พระชนมายุ 14 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก ได้เพียง 2 ประโยค จึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่เรียกกันว่า “เปรียญวังหน้า”

ต่อมา ถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงผนวชประทับอยู่ ณ วัดราชาธิวาส เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อเป็นเวลา 4 ปี

พระชนมายุ 18 ปี เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ทรงแปลได้หมดรวดเดียว 9 ประโยค เป็นเปรียญเอกแต่ยังทรงเป็นสามเณร

ครั้นถึงปี พ.ศ.2376 มีพระชนมายุครบ 20 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดราชาธิวาส มีพระนามฉายาว่า “ปุสโส” ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์คือใคร

ปี พ.ศ.2379 รัชกาลที่ 3 ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ให้เสด็จมาทรงครองวัดบวรนิเวศ ท่านก็ตามเสด็จมาอยู่ด้วย

ครั้น พ.ศ.2382 ขณะมีพระชนมายุเพียง 26 ปี ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระอมรโมลี”

อย่างไรก็ตาม ท่านทรงลาสิกขาออกไปครองชีวิตฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง

กระทั่ง พ.ศ.2394 ปีแรกแห่งรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สมเด็จฯ อุปสมบทใหม่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก โสภิโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การอุปสมบทครั้งนี้ พระชนมายุ 38 ปี และได้พระนามฉายาว่า “ปุสสเทโว” เข้าแปลพระปริยัติธรรมรวดเดียว 9 ประโยคอีกครั้ง

ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้กล่าวขวัญถึงพระองค์ด้วยสมญานามอันแสดงถึงคุณลักษณะพิเศษนี้ ว่า “สังฆราชสา 18 ประโยค” ในกาลต่อมารัชกาลที่ 4 ทรงโปรดแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ “พระสาสนโสภณ” รูปแรก

ครั้น พ.ศ.2408 เมื่อการสร้างวัดราชประดิษฐ์เสร็จสิ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้อาราธนาท่านมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรก

สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดสถาปนาเลื่อนเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ “พระธรรมวโรดม” และสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ ตำแหน่งที่ “สมเด็จพระอริย วงศาคตญาณ”

ครั้นวันที่ 29 พ.ย.2436 ทรงโปรดสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

สมเด็จพระสังฆราช (สา) ทรงเป็นที่เคารพและสนิทคุ้นเคยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอันมาก

พระกรณียกิจในด้านต่างๆ ด้านการศึกษา ทรงเป็นหลักเป็นประธานในการสอบพระปริยัติธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ชำนาญในพระไตรปิฎกและมคธภาษาเป็นอย่างยิ่ง

ทรงวางเป็นแบบแผนธรรมเนียมทางการพระศาสนาขึ้นหลายอย่าง ที่สำคัญคือได้ทรงจัดแบบพิธีสวดนพเคราะห์แบบใหม่เรียกว่า “สวดนวคหายุสธรรม” ซึ่งแบบแพร่หลายสืบมา เป็นพระปริตรอย่างหนึ่งที่ยังนิยมสวดกันอยู่

ทรงรวบรวมและจัดระเบียบการสวดการใช้หนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง พร้อมทั้งนิพนธ์บทขัดตำนาน (เป็นคาถาภาษามคธ) สำหรับปาฐะและพระสูตรนั้นๆ จนตลอดเล่ม

ปัจจุบันก็ยังใช้เป็นแบบสำหรับสาธยายในวัดทั่วไป

ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ พระองค์ประชวรด้วยพระโรคบิดประกอบกับพระโรคชรา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2442

นับพระชนมายุได้ 87 พรรษา ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช 6 ปี
   ข่าวสดออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 กันยายน 2563 15:37:45 โดย 自由人 » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.367 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 พฤศจิกายน 2567 14:53:28