[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 19:14:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “กินหมาก” ไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของไทย ใคร ๆ ในภูมิภาคเขาก็กิน  (อ่าน 1077 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 453


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.182 Chrome 88.0.4324.182


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 มีนาคม 2564 20:42:35 »



“กินหมาก” ไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของไทย ใคร ๆ ในภูมิภาคเขาก็กิน

https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/04/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A5-696x453.jpg
“กินหมาก” ไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของไทย ใคร ๆ ในภูมิภาคเขาก็กิน
เชี่ยนหมากถมทองลาย 12 นักษัตร ตลับรูปฟักทองเป็นเงินกะไหล่ทองลงยาสีเขียว หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต ประทานให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช


          การกินหมากเป็นวัฒนธรรมที่แนบแน่นอยู่อยู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ แม้ปัจจุบัน ชาวบ้านสูงอายุในชนบทก็ยังกินหมาก แต่การ “กินหมาก” ไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของคนไทย ในเอเชียมีหลายประเทศด้วยกันที่กินหมาก เช่น อินเดีย, จีน, พม่า, เขมร, เนปาล ฯลฯ

         หลักฐานการกินหมากของไทยนั้นปรากฏอยู่ทั่วไปในวรรณคดี จิตรกรรม ในประวัติศาสตร์ แม้แต่กฎหมาย กินกันไม่เว้นทั้งชายหญิง ไม่ว่าเจ้าหรือไพร่ โดยเริ่มกินหมากกันตั้งแต่เริ่มวัยหนุ่มสาวไปจนลมหายใจสุดท้าย แต่ไม่รู้แน่ว่ากินมาแต่เมื่อใด ในเอกสารจีนโบราณกล่าวถึงกลุ่มชน “ฟันดำ” เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้วอยู่ทางใต้ ที่อาจหมายถึงพวกไท-ลาวก็ได้ และที่แน่ ๆ ปลูกพลูมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นแล้ว

         ในอินเดียมีหลักฐานว่า กินหมากมากว่า 2,000 ปีแล้ว ซึ่งอาจกินกันมานานแล้วก่อนหน้าที่จะหาหลักฐานพบก็ได้ ส่วนในเขมรเข้าใจกันว่ามีพราหมณ์ผู้หนึ่งนำเข้าไปเผยแพร่ให้กษัตริย์เขมรตั้งแต่ พ.ศ. 600 ประเทศต่าง ๆ ทั้ง มอญ, พม่า, ลาว, ชวา, อัสสัม ล้วนแต่มีเรื่องราวการกินหมากต่าง ๆ นานา บางแห่งก็ฟังดูออกตลอกพิลึกด้วยซ้ำ

         การกินหมากนำมาซึ่งประเพณีต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ เช่น การกินหมากร่วมเชี่ยนกัน ก็เป็นการผูกมิตรไมตรีต่อกันประหนึ่งเป็นคน “กันเอง” แล้ว   ที่เนปาล มีเคล็ดสำหรับผู้หญิงที่จะแต่งงานว่า ต้องทำพิธีแต่งกับต้นหมากที่มีลูกเสียก่อนแล้วค่อยแต่งกับคนทีหลัง ถ้าคนที่เป็นสามีจริงตาย สามีต้นหมากยังอยู่ก็ไม่ถือว่าเป็นม่าย หรือถ้าแต่งแล้วต้องการหย่ากัน สามีก็เพียงเอาหมาก 2 ลูกวางไว้ใต้หมอนของภรรยา ภรรยาตื่นขึ้นมาก็รู้แล้ว ง่ายดี

         ที่ยะไข่ กษัตริย์มินตีสร้างปราสาทหลังหนึ่ง ออกกฎว่า ใครเอานิ้วเปื้อนน้ำหมากป้ายตามเสาเลอะเทอะจะถูกตัดนิ้วขวาทิ้ง แล้ววันหนึ่งก็ได้ตัดนิ้วขวาของพระองค์เองทิ้งจริง ๆ ด้วยความเผอเรอและซื่อตรงต่อกฎ
     
         พงศาวดารรามัญ (มอญ) ก็มีเรื่องฆ่ากันตายมาแล้วเพราะหมาก เมื่อพระมเหสีของเจ้าฝรั่งมังฆ้องจัดหมากให้พระสวามี แล้วถูกรรไกรหนีบมือแต่ไปอุทานให้ฉางกายช่วย ฉางกาย (ชื่อนายทหารคนหนึ่ง) เลยตายฟรีเพราะความหึงหวงของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง

         ที่อัสสัม ใช้ใบพลูจุ่มน้ำนมแตะตามตัวบ่าวสาวในพิธีสมรส

         และที่เมืองไทย
จามเทวีแห่งแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) เคยเสกหมากเสกพลูให้ขุนวิลังคะ (ลัวะ) ยอมจำนนมาแล้ว ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็เคยห่อหมากส่งให้พันบุตรศรีเทพ ก่อนจะเกิดรื่องอื้อฉาวเล่าลือกันมาจนทุกวันนี้ ส่วนขุนแผนกับนางพิมก็เคยเคี้ยวชานหมากของกันและกันมาก่อนแล้ว ยังมีแม่พลอยในสี่แผ่นดินก็แต่งหมากใส่ซองกระจิริดส่งให้พี่เนื่อง

         ในทางไสยศาสตร์ ถึงกับแย่งชานหมากของหลวงพ่อและอาจารย์บางคนกันมาแล้วก็มี เพราะถือว่าเป็นของดีไว้คุ้มกันตัวอย่างหนึ่ง   สำหรับบ่าวสาว เวลาจะแต่งงานฝ่ายชายก็ต้องแต่งขันหมากใส่หมากพลูที่จัดสวยงามครอบชุดควบคู่ไปกับขันหมั้นที่ใส่สินสอดทองหมั้น    คนจีนทางตอนใต้ เช่น คนแต้จิ๋วก็กินหมาก แต่หมากพลูของเขาใช้ปูนขาวแลใส่น้ำตาลกรวด เขาว่าทำให้ฟันไม่ดำ

          แต่ทำไมหมากพลูจึงเป็นสัญลักษณ์ของไมตรี ความรัก และการแต่งงาน ไม่มีใครตอบได้



ข้อมูลจาก  แน่งน้อย ปัญจพรรค์. กินหมากและเชี่ยนหมาก, ศิลปวัฒนธรรม กันยายน 2534
             https://www.silpa-mag.com/culture/article_31694] [url]https://www.silpa-mag.com/culture/article_31694[/url]


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
“กินหมาก” ไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของไทย ใคร ๆ ในภูมิภาคเขาก็กิน
สุขใจ ห้องสมุด
ฉงน ฉงาย 0 415 กระทู้ล่าสุด 03 กันยายน 2565 08:45:06
โดย ฉงน ฉงาย
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.26 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 30 ตุลาคม 2567 12:59:15