22 ธันวาคม 2567 20:59:27
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ห้องสมุด
.:::
รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง (อ่าน 851 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 453
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.114
รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง
«
เมื่อ:
29 สิงหาคม 2564 16:14:31 »
Tweet
รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง
รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง
ผู้หญิงชาวแสก (พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร) เมืองนครพนม กำลังเล่นรำกระทบไม้ ในพิธีถวายต้อนรับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ คราวเสด็จตรวจราชการมณฑลอีสาน พ.ศ. 2449 (ภาพเก่าจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
“ลาว-กระทบไม้”
เ
ป็นสิ่งซึ่งผู้คนโดยมากรับรู้ว่าเป็นการละเล่นพื้นบ้าน ที่พัฒนามาจากการละเล่นดั้งเดิมที่เรียกว่า “เต้นสาก” เป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” นิยมเล่นกันช่วงว่างเว้นหลังฤดูเก็บเกี่ยวตามวิถีชาวนาไทยลาวสองฝั่งแม่น้ำโขง ว่ากันว่าไทยนำ “เต้นสาก” ของลาวมาดัดแปลงคิดท่ารำใส่ดนตรีแล้วเรียก “ลาวกระทบไม้” แต่ยังอีกหลายชาติที่มีการละเล่นกระทบไม้อยู่ในวัฒนธรรมของตน จึงมี “เรือมอันเร” หรือ “เขมรกระทบไม้” ของชาวเขมร, “แสกเต้นสาก” ของชาวแสก (ชนชาติหนึ่งในกลุ่มภาษาตระกูลไท-ลาว), “ม้าจกคอก” ของชาวไทใหญ่ “ตินิคลิ่ง” (Tinikling) หรือ “แบมบูแดนซ์” (Bamboo Dance) ของชาวฟิลิปปินส์ ฯลฯ รวมทั้ง “ติฮัว” หรือ “กะเหรี่ยงกระทบไม้” ของชาวกะเหรี่ยง
แต่การค้นคว้าของ องค์ บรรจุน เขาเสนอว่า “กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อนลาว” ก่อนอื่นคงต้องรู้จักการละเล่นนี้เสียก่อน กรมศิลปากรระบุว่า “รำกระทบไม้” เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวสุรินทร์ (ก็น่าจะเป็นชาวเขมร) เดิมเรียกว่า “เต้นสาก” อันเป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับอาชีพกสิกรรมการทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักและสินค้าออกที่สำคัญของไทย ด้วยนิสัยรักสนุก หลังว่างเว้นจากการทำนา จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นจังหวะ พร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากัน ภายหลังกรมศิลปากรได้ศึกษาการละเล่นชนิดนี้และนำมาปรับปรุงจัดระเบียบแบบแผนอย่างค่อนข้างตายตัว
“ได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2500 เนื่องในงานแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับราชอาณาจักรลาว ในการปรับปรุงครั้งนั้น เนื่องจากบทร้องของเก่าไม่เหมาะสมที่จะรำได้สวยงาม กรมศิลปากรจึงได้ขอให้อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งบทร้อง และท่านผู้หญิงหม่อมแผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่…
การกระทบไม้ แต่เดิมวางไม้สากตามความยาว 2 อัน ให้ไม้หมอนรองหัวและท้ายไม้ทั้ง 2 ด้าน ปลายสากจะมีคน 2 คน จับปลายเพื่อกระทบกัน ภายหลังกรมศิลปากรปรับปรุงและจัดลำดับท่ารำให้เป็นระเบียบขึ้นแต่ยังคงรักษาเค้าแบบแผนเดิม โดยปรับปรุงเป็นไม้ไผ่ 2 ลำ ขนาดเท่ากันยาวประมาณ 2-4 เมตร และใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นหมอนวางรองทั้งสองปลาย ผู้กระทบนั่งกับพื้นจับปลายทั้งสองคนเพื่อจะได้ตีกระทบกัน”
ส่วนการ “กระทบไม้” ของวัฒนธรรมอื่นนั้น ผู้เขียน (องค์ บรรจุน) อธิบายเป็นตัวอย่างดังนี้
“ เขมร-กระทบไม้ ”
เป็นการละเล่นของชาวเขมรที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” มีที่มาจากการเล่นกระโดดสาก นิยมเล่นในช่วงสงกรานต์ เพื่อเฉลิมฉลองประเพณีสรงน้ำพระ เล่นกันเพียงปีละครั้งเท่านั้น เดิมเป็นการละเล่นในเชิงพิธีกรรม ต่อมาได้มีการประยุกต์คิดค้นท่ารำขึ้นให้เกิดความสวยงาม และเอาดนตรี “กันตรึม” บรรเลงประกอบเพื่อความสนุกสนาน แต่ยังคงแบบแผนเค้าโครงดั้งเดิม
“ ฟิลิปปินส์-กระทบไม้ ”
เป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” การละเล่น/เต้นรำ ที่ชาวนาแสดงเลียนแบบนกติคลิ่ง (Tikling Birds) ขณะก้าวย่างไปตามทุ่งหญ้า เป็นการแสดงพื้นเมืองดั้งเดิมแถบหมู่เกาะมินดาเนา โดยเต้นรำบนไม้ไผ่ที่ผู้จับไม้ไผ่จะเคาะไม้ไผ่ทั้ง 2 อันกระทบพื้นและเคาะลำไม้ไผ่กระทบเข้าหากันเป็นจังหวะ ภายหลังจะรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้าผสมผสาน ชุดเครื่องแต่งกาย รูปแบบการเต้นรำ การสะบัดพัดและชายผ้าเพื่อสร้างความอ่อนช้อยพลิ้วพราย และดนตรีประกอบที่มีสีสัน
คราวนี้ก็มาถึง “กระเหรี่ยง-กระทบไม้” กันบ้าง
“ กะเหรี่ยง-กระทบไม้ ”
ถือเป็นการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะการ “กระทบไม้” ในภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “ติฮัว” ที่ปัจจุบันมีจำนวนผู้เล่นและจำนวนไม้ไผ่เคาะจังหวะมากกว่าหลายชาติ มีการเคาะไม้พร้อมๆ กันหลายคู่ แต่เดิมการละเล่นชนิดนี้นิยมเล่นหลังจากว่างเว้นไร่นา ผู้หลักผู้ใหญ่จะเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เต้นรำเกี้ยวพาราสีกัน ล่าสุดได้มีการผนวกการละเล่นกระทบไม้เข้ากับการแสดงถักเชือก ประกอบวงดนตรีปี่พาทย์ ใช้ผู้แสดงรวมหลายสิบคน และเพิ่มการอธิบายความหมายในเชิงรักสามัคคี
การแสดงกระทบไม้เป็นการฝึกให้เด็กเยาวชนมีสมาธิ ความทรงจำดี และสร้างความพร้อมเพรียงในหมู่คณะ
กะเหรี่ยงเป็นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมบนพื้นที่สูงมาช้านาน นับเป็นชาติพันธุ์ผู้พิทักษ์ขุนเขา กระจายตามแนวตะเข็บชายแดนทั้งในประเทศไทยและพม่า แต่ไม่เคยมีอาณาจักรปกครองตนเอง มีสถานะเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยนับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน แม้เคยมีสถาบันการปกครองอยู่บนผืนแผ่นดินไทยในจังหวัดกาญจนบุรี คือเมืองศรีสวัสดิ์ซึ่งเทียบขนาดและหน่วยปกครองแล้วเป็นเพียงระดับอำเภอ
ชาวกะเหรี่ยงได้รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมมอญด้านต่างๆ ที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตไว้มาก ทั้งด้านศาสนา ภาษา นาฏศิลป์ดนตรี และประเพณีพิธีกรรม แต่ในเวลาเดียวกัน วัฒนธรรมกะเหรี่ยงบางอย่างก็ได้ปะปนอยู่ในวัฒนธรรมมอญด้วย
บันทึกการเข้า
ฉงน ฉงาย
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 9
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 453
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 89.0.4389.114
Re: รำ “กระทบไม้” กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อน ลาวกระทบทีหลัง
«
ตอบ #1 เมื่อ:
29 สิงหาคม 2564 16:16:57 »
(ต่อ)
ขณะที่มอญไม่มีการละเล่นกระทบไม้โดยตรง แต่ปรากฏสิ่งคล้ายกันซึ่งถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ เป็นประเพณีที่มีมาแต่อดีตกาลอยู่ในวรรณคดีเรื่องราชาธิราช (ครองราชย์ พ.ศ. 1830-49) รวมทั้งจารึกภาษามอญวัดโพธิ์ร้าง จารึกขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1143 ที่ปรากฏคำว่า “โต้ง” หรือผู้อำนวยการพิธีรำผีซึ่งทำหน้าที่ผู้นำทางจิตวิญญาณมาแต่โบราณ [ขอไม่ลงรายละเอียดในส่วนนี้]
ในขั้นตอน “รำกะเหรี่ยง” โต้งจะแต่งตัวให้กับผู้รำผีในชุดกะเหรี่ยงโบราณ ใช้ผู้รำ 4-5 คน สวมเสื้อและผ้าถุงแบบกะเหรี่ยงรวมทั้งโพกศีรษะแบบกะเหรี่ยง มีผ้าคาดอกผืนหนึ่ง แล้วเชิญวิญญาณผีกะเหรี่ยงเข้าร่าง รำพร้อมอุปกรณ์ ต่างๆ ตามขั้นตอน
นำสากตำข้าวขนาดยาว 2 อัน วางคู่กันบนขอนห่างกันพอประมาณ ผู้รำผีสองคนนั่งเคาะสากบนขอนเป็นจังหวะ ผู้รำผีอีก 3 คน ร่ายรำตามจังหวะและทำนองปี่พาทย์คล้ายพิธีกระโดดสากของเขมร หรือการละเล่นที่ต้องอาศัยจังหวะ “กระทบไม้” ของหลายชาติ
ข้างต้นคือคัมภีร์รำผีของมอญน้ำเค็ม ย่านสมุทรสาคร บางกระดี่ แต่หากเป็นคัมภีร์รำผีมอญของทางปทุมธานี ลพบุรี ในขั้นตอนการรำกะเหรี่ยงนี้ จะเป็นการเชิญผีกะเหรี่ยงมารักษาโรคด้วย โดยภายหลังจากเชิญผีมาเซ่นสรวงและรำกะเหรี่ยงแล้ว ผีกะเหรี่ยงก็จะทำพิธีรักษาคนป่วยเจ็บภายในตระกูล ด้วยการให้คนป่วยเจ็บนั่งลงบนสากตำข้าวทั้ง ๒ แล้วผีกะเหรี่ยงก็จะทำการรักษาด้วยน้ำมนต์ สมุนไพร และอาคม ซึ่งสะท้อนสังคมในอดีตที่ผู้คนต่างชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยผ่านพิธีกรรมรำผีดังกล่าวมา
การแลกรับปรับเปลี่ยนในทางวัฒนธรรมนั้นปกติสามัญ แต่มีความจำเป็นที่จะต้องแบ่งปันพื้นที่ให้กับความบังเอิญไม่คาดคิด แม้ความเป็นไปได้อาจมีโอกาสเพียงหนึ่งในล้าน กรณีที่แต่ละชาติคิดการละเล่นกระทบไม้ขึ้นเองและคล้ายกันด้วยความบังเอิญ แต่ในกรณีนี้ เมื่อชนชาติเก่าแก่ของอุษาคเนย์กล่าวอ้างคัมภีร์รำผีมอญอายุหลายร้อยปีซึ่งบันทึกการละเล่นที่เรียกว่า “เล่ะฮ์กะเรียง” หรือ “รำกะเหรี่ยง” นี้ไว้ แล้วเหตุใดเราจะไม่ยกเครดิตชาติผู้สร้างสรรค์การละเล่นกระทบไม้ให้กับกะเหรี่ยง
ข้อมูลจาก
องค์ บรรจุน. “กะเหรี่ยงกระทบไม้มาก่อนเก่า ลาวกระทบทีหลัง”. ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2557.
https://www.silpa-mag.com/culture/article_50137
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...