[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 23:49:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า  (อ่าน 7698 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 11 กันยายน 2554 15:04:22 »





เรื่อง เวรัญชพราหมณ์
พระวินัยปิฎก เล่ม 1
มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์

(1) โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โคนไม้สะเดา เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าว ทราบกิติศัพท์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ บรรลุวิชชาและจรณ เสด็จไปดี ทราบโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพุทธะ เป็นพระผู้มีพระภาค ทรงนำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา อันยิ่งของพระองค์เอง แล้วสอนหมู่สัตว์ พร้อมสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงานในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่งการเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นความดี

เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
(2) เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ทูลปราศัยกับพระผู้มีพระภาค ฯลฯ แล้วจึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า ข้าพเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ พวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาตามลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ในโลกทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ

ว. ท่านพระโคดม มีปกติไม่ใยดี
พ. จริงเช่นนั้น เพราะความใยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดานี้แหละนี้แหละที่เขากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. พระโคดมไม่มีสมบัติ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
ว. พระโคดมกล่าวการไม่ทำ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมกล่าวการขาดสูญ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมช่างรังเกียจ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อจำกัดสภาพที่เป็นบาปกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมช่างเผาผลาญ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ซึ่งผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
ว. พระโคดมไม่ผุดเกิด
พ. จริงเช่นนั้น เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 15:07:18 »



                   

ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
(3) ดูกร พราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไข่หลายฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว ลูกไก่ตัวใด ทำลายฟองไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง
ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา

ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม
พ. เราก็เหมือนอย่างนั้น เมื่อประชาชนตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายฟองคือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ปฐมฌาน เรานั้นแลสงัดแล้วจากกาม จากอกุศลกรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ* ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปิติและสุข ซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่

ตติฌาน เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป ได้บรรลุตติยญาณ ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติมีสุขอยู่

จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้วได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เเป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง...แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขอย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นแล้ว ได้เกิดมาในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ วิชชาที่หนึ่งนี้เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดส่งจิตไปแล้ว ฉะนี้ ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

จุตูปปาตญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ดังนั้น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตใจเพื่อญาณเครื่องรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ หมู่สัตว์ที่เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการฉะนี้ วิชชาสองนี้ เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สองเรานี้ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

อาสวักขยญาณ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้

ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เหล่านี้ นี้อาสวะนี้เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี วิชชาสามนี้ เราได้บรรลุในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้ ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 15:10:36 »



เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
(4) เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูลว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ไพเราะนัก ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นพราหมณ์ทราบแล้ว ได้ลุกจากที่นั่งกราบบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไป

เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
(5) สมัยนั้น เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะ ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุ รูปละแล่งไว้ที่คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตรในเมือง เมื่อไม่ได้บิณฑบาตร จึงเที่ยวไปบิณฑบาตรที่คอกม้า รับข้าวแดงรูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวแดงแล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยพระกระยาหารนั้น และได้สดับเสียงครกอยู่

พระพุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถามก็มี พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระองค์ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่างคือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอีกอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น พระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่านั่นเสียงครกหรือหนอ พระอานนท์จึงทราบทูลให้ทรงทราบ ฯลฯ

พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
(6) ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบบังคม แล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผุ้มีพระภาคว่า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ฯลฯ พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินใหญ่นี้ สมบูรณ์ ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดินภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร โมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่าเธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น ฯลฯ

ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่ง ให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
พ. อย่าเลย การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจักพึงได้รับผลตรงกันข้าม
ม. ขอภิกษุทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตรในอุตรกุรุทวีป
พ. ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจะทำอย่างไรกับภิกษุเหล่านั้น
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้
พ. อย่าเลย การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตรถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย

เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
(7) ครั้งนั้น พระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ครั้นเวลาเย็นท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลความปริวิตกนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ส่วนพระผู้มีพระภาค พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน

ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคทั้งสามดังกล่าวไม่ดำรงอยู่นาน
พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิตวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฯลฯ

ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระศาสนาของพระผู้มีประภาคทั้งสาม ดำรงอยู่นาน
พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิศดารแก่สาวกทั้งหลายอนึ่งสุตตะ ฯลฯ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามนั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก จึงดำรงพระศาสนาไว้ได้ตลอดระยะกาลนาน

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 15:15:46 »



ปรารภให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
( 8 ) ลำดับนั้น พระสารีบุตรลุกจากอาสนะ นำผ้าอุตรสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้วที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมข์แก่สาวกอันจำเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน ยับยั้งก่อน ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และอาวาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฎในหมู่สงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุห้าร้อยรูป ผู้ทรงคุณธรรมอย่างต่ำก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ผู้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า

เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
(9) ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเรียกพระอานนท์มารับสั่งว่า พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบททั้งนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จไปสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย เวรัญชพราหมณ์กราบบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูกร พราหมณ์เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท
เวรัญชพราหมณ์ ทูลขอให้พระองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์รับภัตตาหารเพื่อเจริญบุญกุศล และปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ตัวเขาเอง พระองค์ทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณียภาพแล้วทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ เวรัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวฉันอันประณีตในนิเวศน์ตน ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่ พระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว

ขณะนั้น เป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ถึงแล้วประทับนั่งเหนือที่ประทับพร้อมภิกษุสงฆ์ เวรัญชพราหมณ์อังคาสพระภิกษุสงฆ์ อันมีพระผู้มีพระภาคเป็นประมุขด้วยขาทนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่ พระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และถวายผ้าคู่ ให้ภิกษุครองรูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมือง เวรัญชาตามพระพุทธารมย์แล้ว เสด็จไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จถึงพาราณสี ครั้นประทับอยู่ที่พาราณสีแล้ว เสด็จจาริกไปนครเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเวสาลี

จบเวรัญชกัณฑ์



ที่มา : http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/v.htm
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 กันยายน 2554 09:00:03 »



                   

การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
            การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้ามีที่มาและมีขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
พระกิตติศัพท์
            จากเวรัญชกัณฑ์  มีเรื่องราวที่แสดงให้ทราบดังนี้
            เมื่อพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปประทับ ณ ที่ใด  จะมีการกล่าวขานถึงพระผู้มีพระภาค ของมหาชนโดยทั่วไป ว่า
            พระสมณโคดม ศากยบุตร  ทรงผนวชจากศากยตระกูล
            ก็แล  พระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น  ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า  พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น  ทรงเป็นพระอรหันต์  ทรงตรัสรู้เองโดยชอบ  ทรงบรรลุวิชชา และจรณะ  เสด็จไปตี  ทรงทราบโลก  ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก  ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า  ทรงเป็นศาสดาของเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย  ทรงเป็นพุทธ  ทรงเป็นพระผู้มีพระภาค  พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก  พรหมโลกให้แจ้งชัด  ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง  แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์  เทพ และมนุษย์ให้รู้  ทรงแสดงธรรมในเบื้องต้น  งามในท่ามกลาง  งามในที่สุด  ทรงประกาศพรหมจรรย์  พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ  ครบบริบูรณ์บริสุทธิ์  อนึ่งการเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย  เป็นความดี

การเข้าเฝ้า พระศาสดา และทูลถามปัญหา
            เมื่อผู้นั้นได้ไปในพุทธสำนัก  ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค  ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บรรเทิง  เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว  จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  แล้วจึงทูลถามพระศาสดาถึงปัญหาที่ตนสงสัยไปตามลำดับ  พระผู้มีพระภาคก็จะทรงตอบปัญหา ที่ผู้นั้นสงสัยไปตามลำดับ
            ตัวอย่างการเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาของเวรัญชพราหมณ์  บางตอนมีดังนี้
           เวรัญชพราหมณ์      ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี
            พระผู้มีพระภาค      จริงเช่นนั้น  เหตุที่เขากล่าวหาเราว่ามีปกติดีไม่ไยดี  ชื่อว่ากล่าวถูก  เพราะความไยดีในรูป  เสียง  กลิ่น รส  โผฏฐัพพะ  เหล่านั้น  ตถาคตละได้แล้ว  ตัดรากขาดแล้ว  ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน  ทำไม่ให้มีในภายหลัง  มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา  นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่ามีปกติไม่ไยดี  ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก  แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
               ว.  ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะสมบัติ คือ  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  เหล่านั้นตถาคตละได้แล้ว.....
               ว.  ท่านพระโคดม กล่าวการไม่ทำ
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต  วจีทุจริต  มโนทุจริต  เรากล่าวการไม่ทำบาปอกุศลหลายอย่าง.....
               ว.  ท่านพระโคดมกล่าวการขาดสูญ
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งโทสะ  โมหะ  เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาป อกุศลหลายอย่าง.....
               ว.  ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะเรารังเกียจกายทุจริต  วจีทุจริต  มโนทุจริต  เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง.....
               ว.  ท่านพระโคดม ช่างจำกัด
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะเราแสดงธรรมเพื่อจำกัด ราคะ  โทสะ  โมหะ และแสดงธรรมเพื่อกำจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศล หลายอย่าง.....
               ว.  ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ  กายทุจริต  วจีทุจริต  มโนทุจริต  ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ  ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญ  อันผู้ใดละได้แล้ว  ตัดรากขาดแล้ว  ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน  ทำให้ไม่มีในภายหลัง  มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา  เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญ.....
               ว.  ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด
               ภ.  จริงเช่นนั้น เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป  การเกิดในภพใหม่  อันผู้ใดละได้แล้ว..... เรากล่าวผู้นั้นว่าไม่ผุดเกิด.....

ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
            ดูกรพราหมณ์  เปรียบเหมือนฟองไข่หลายฟอง  อันแม่ไก่กกดีแล้ว  อบดีแล้ว  ฟักดีแล้ว  ลูกไก่ตัวใดทำลายฟองไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนเขา  ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่าพี่หรือน้อง
               ว.   ควรเรียกว่าพี่  เพราะมันแก่กว่าเขา
               ภ.  เราก็เหมือนอย่างนั้น  เมื่อประชาชนตกอยู่ในอวิชชา  เกิดในฟอง  เราผู้เดียวเท่านั้นในโลกได้ทำลายฟอง คือ อวิชชา  แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม  เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุดประเสริฐที่สุดของโลก  เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้ว  ไม่ย่อหย่อน  สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน  กายสงบไม่กระสับกระส่าย  จิตตั้งมั่น  อารมณ์เป็นหนึ่ง

ทรงแสดงฌาณสี่ และวิชชาสาม
            เรานั้น สงัดแล้วจากกาม  จากอกุศลธรรม  ได้บรรลุ ปฐมฌาณ..... ทุติยฌาณ..... ตติยฌาณ..... จตุตถฌาณ  ไม่ทุกข์  ไม่มีสุข  เพราะละทุกข์  และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ   มีอุเบกขา  เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
            เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลส  ปราศจากอุปกิเลส  อ่อน  ควรแก่การงาน  ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้ว  ได้น้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสติญาณ  เรานั้นย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก..... วิชชาที่หนึ่งนี้แล  เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี  อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว  วิชชาเกิดแก่เราแล้ว  ความมืดเรากำจัดได้แล้ว  แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว..... ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล  ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น
            เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ..... ได้น้อมจิตไปเพื่อญาณ  เครื่องรู้จุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย..... เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ  กำลังอุบัติ  เลว  ประณีต.....ได้ดี ตกยาก  ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์  ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรม  ด้วยประการดังนี้  วิชชาที่สองนี้แล  เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี  อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว  วิชชาเกิดแก่เราแล้ว..... ความชำแรกออกครั้งที่สองของเรา ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น
            เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ..... ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ   เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์  นี้เหตุแห่งทุกข์  นี้ความดับทุกข์  นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า  เหล่านี้อาสวะ  นี้เหตุให้เกิดอาสวะ  นี้ความดับอาสวะ  นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ  เมื่อเรานั้น รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้  จิตได้หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ  ภวาสวะ  อวิชชาสวะ  เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว  ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมณ์จรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  วิชชาที่สามนี้แล  เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี  อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว  วิชชาเกิดแก่เราแล้ว..... ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรา  ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองแห่งลูกไก่  ฉะนั้น


การแสดงตนเป็นอุบาสก
            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว  ผู้ที่ได้สดับ จะกราบทูลข้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
            ท่านพระโคดม เป็นผู้เจริญที่สุด  เป็นผู้ประเสริฐที่สุด  ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก  ไพเราะนัก
พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายอย่างนี้  เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ  เปิดของที่ปิด  บอกทางแก่คนหลงทาง  หรือส่องประทีปในที่มืด  ด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุ จักเห็นรูป ดังนี้  ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดม  พระธรรม และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ  ขอพระองค์จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก  ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต  จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป

พุทธประเพณี
            ตถาคตทั้งหลาย  ทรงทราบอยู่ย่อมตรัสถามก็มี  ทรงทราบกาลแล้วตรัสถามก็มี  พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์  ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์  พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ  พระองค์ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่าง คือ  จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง  จักทรงบัญญัติ สิกขาบทแก่พระสาวกอีกอย่างหนึ่ง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 กันยายน 2554 09:06:58 »



                   

การปฏิบัติตนต่อการถูกติชม พระรัตนตรัย
            จากพรหมชาลสูตร  สุปิยปริพาชกผู้เป็นอาจารย์  กล่าวติเตียน พระรัตนตรัย  ในขณะเดียวกัน พรหมทัตมาณพผู้เป็นศิษย์กล่าวชมพระรัตนตรัย  ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปสนทนากัน  พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่อง  จึงได้ตรัสว่า
            คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา  ติเตียนพระธรรม  ติเตียนพระสงฆ์ก็ตาม  เธอทั้งหลายไม่สมควรอาฆาต โทมนัสน้อยใจ  แค้นใจคนเหล่านั้น  ถ้าเธอทั้งหลายขุ่นเคืองหรือโทมนัสน้อยใจ  อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย  คนพวกอื่นจะพึงติเตียนเรา  พระธรรม  พระสงฆ์ในคำที่ไม่จริง  เธอทั้งหลายควรแก้ไขให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า  นั้นไม่จริง ไม่แท้  ไม่มีในเราทั้งหลาย  คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา  พระธรรม  พระสงฆ์  เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ดีใจ  กระเหิมใจในคำชมนั้น  เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น  อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย  คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา  ชมพระธรรม  หรือพระสงฆ์  ในคำชมนั้น  คำที่จริง  เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า  นั้นจริง นั้นแท้  มีในเราทั้งหลาย  หาได้ในเราทั้งหลาย

จุลศีล
            เมื่อปุถุชนกล่าวคำชมตถาคต  จะพึงกล่าวด้วยประการใดนั้น  มีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนักเป็นเพียงศีล  เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
                1.    พระสมณโคดม   ละการฆ่าสัตว์  วางทัณฑะ  วางศาสตรา  มีความละอาย  เอ็นดู  กรุณา  หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
                2.    ละการลักทรัพย์  รับแต่ของที่เขาให้  ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย  เป็นผู้สะอาดอยู่
                3.    ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์  ประพฤติพรหมจรรย์  เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน
                4.    ละการพูดเท็จ  พูดแต่คำจริง  ดำรงสัตย์   มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน  ควรเชื่อได้  ไม่พูดลวงโลก
                5.    ละคำส่อเสียดเพื่อให้คนแตกร้าวกัน  กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน


                6.    ละคำหยาบ  กล่าวแต่คำไม่มีโทษ  เพราะหู  ชวนให้รัก  จับใจ
                7.    ละคำเพ้อเจ้อ  พูดถูกกาล  พูดแต่คำที่เป็นจริง  พูดอิงอรรถ  อิงธรรม  อิงวินัย  พูดแต่คำมีหลักฐาน  มีที่อ้าง  มีที่กำหนด  ประกอบด้วยประโยชน์  โดยกาลอันควร
                8.    เว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูติคาม
                9.    ฉันหนเดียว  เว้นการฉันในราตรี  งดการฉันในเวลาวิกาล
                10.    เว้นขาดจากการฟ้อนรำ  ขับร้อง  ประโคมดนตรี และดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล

                11.    เว้นขาดจากการทัดทรง  ประดับ  และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว  อันเป็นฐาน แห่งการแต่งตัว
                12.    เว้นขาดการนั่ง  นอน  บนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
                13.    เว้นขาดจากการรับทองและเงิน
                14.    เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ
                15.    เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ


                16.    เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
                17.    เว้นขาดจากการรับทาสีและทาษ
                18.    เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
                19.     เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
                20.    เว้นขาดจากการรับช้าง โค  ม้า  ลา

                21.    เว้นขาดจากการรับไร่มาและที่ดิน
                22.    เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้
                23.    เว้นขาดจากการซื้อการขาย
                24.    เว้นขาดจากการโกงด้วย  ตาชั่ง  ของปลอม  เครื่องตวงวัด
                25.    เว้นขาดจากการรับสินบน  การล่อลวง และการตลบตะแลง
                26.    เว้นขาดจากการตัด  การฆ่า  การจองจำ  การตีชิง  การปล้น และการกรรโชก


มัชฌิมศีล
            อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
                1.    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพีชคาม และภูติคาม  คือพีชเกิดแต่เง่า เกิดแต่ลำต้น เกิดแต่ผล เกิดแต่ยอด เกิดแต่เมล็ด เป็นที่ครบห้า
                2.    เว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ที่นอน เครื่องประเทืองผิว  ของหอม  อามิษ
                3.    เว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่การกุศล คือ การฟ้อน  การขับร้อง  การประโคมมหรสพ  มีการรำเป็นต้น  การเล่านิยาย  การเล่นปรบมือ  การเล่นปลุกผี   การเล่นตีกลอง  ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม  การเล่นของคนจัณฑาล  การเล่นไม้สูง  การเล่นหน้าศพ  ชนช้าง  ชนม้า  ชนกระบือ  ชนโค  ชนแพะ  ชนแกะ  ชนไก่  รบนกกระทา  รำกระบี่กระบอง  มวยชก  มวยปล้ำ  การรบ  การตรวจพล  การจัดกระบวนทัพ
                4.    เว้นขาดจากการเล่นการพนัน  อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ เล่นหมากรุก  เล่นหมากเก็บ  เล่นดวด  เล่นหมากไหว  เล่นโยนบ่วง  เล่นไม้หึ่ง  เล่นกำทาย  เล่นเป่าใบไม้  เล่นไถน้อยๆ  เล่นหกคะเมน  เล่นกังหัน  เล่นทายใจ  เล่นเลียนคนพิการ
                5.    เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่  คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ  เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์  ผ้าโกเชาว์ขนยาว  เครื่องลาด (ที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย  ที่ทำด้วยขนแกะสีขาว  ที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้  ที่ยัดนุ่น  ขนแกะมีขนตั้ง  ขนแกะมีขนข้างเดียว  ทองและเงินแกมไหม  ไหมขลิบทองและเงิน  ขนแกะจุนางฟ้อน 16 คน  หลังช้าง  หลังม้า  ในรถ  ที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่อ อชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม  ทำด้วยหนังชะมดมีเพดาน  มีหมอนข้าง)

                6.    เว้นขาดจากการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว  คือ อบตัว  ไคลอวัยวะ  อาบน้ำหอม  นวด  ส่องกระจก  แต้มตา  ทัดดอกไม้  ประเทืองผิว  ผัดหน้า  ทาปาก  ประดับข้อมือ  สวมเกี้ยว  ใช้ไม้เท้า  ใช้กลักยา  ใช้ดาบ  ใช้ขรรค์  ใช้ร่ม  สวมรองเท้า  ประดับวิจิตร  ติดกรอบหน้า  ปักปิ่น  ใช้พัดวาลวิชนี  นุ่งห่มผ้าขาว  นุ่งห่มผ้ามีชาย
                7.    เว้นขาดจากดิรัจฉานกถา  คือ พูดเรื่องพระราชา  เรื่องโจร  เรื่องมหาอำมาตย์  เรื่องกองทัพ  เรื่องภัย  เรื่องรบ  เรื่องข่าว  เรื่องน้ำ  เรื่องผ้า  เรื่องที่นอน  เรื่องดอกไม้  เรื่องของหอม  เรื่องญาติ  เรื่องยาน  เรื่องบ้าน  เรื่องนิคม  เรื่องนคร  เรื่องชนบท  เรื่องสตรี  เรื่องบุรุษ  เรื่องคนกล้าหาญ  เรื่องตรอก  เรื่องท่าน้ำ  เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว  เรื่องเบ็ดเตล็ด  เรื่องโลก  เรื่องทะเล  เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
                8.    เว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน  เช่นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมนี้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง  ท่านปฏิบัติผิดข้าพเจ้าปฏิบัติถูก  ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์  คำที่ควรกล่าวก่อนท่านกลับกล่าวภายหลัง  คำที่ควรกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน  ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว  ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว  ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว  ท่านจงถอนวาทะเสียมิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย
                9.    เว้นขาดจาการประกอบทูตกรรมและการรับใช้  คือรับเป็นทูตของพระราชา  ราชอำมาตย์  กษัตริย์  พราหมณ์  คฤหบดี และกุมาร
                10.    เว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและพูดเลียบเคียง  พูดหว่านล้อม  พูดและเล็ม  แสวงหาลาภด้วยลาภ

มหาศีล
            อีกอย่างหนึ่ง  เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต  พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
                1.    พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยดิรัจฉานวิชา คือ ทายอวัยวะ  ทายนิมิต  ทายอุปบาด  ทำนายฝัน  ทำนายลักษณะ  ทำนายหนูกัดผ้า  ทำพิธีบูชาไฟ  ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน  ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ  ซัดรำบูชาไฟ  ซัดข้าวสารบูชาไฟ  เติมเนยบูชาไฟ  เติมน้ำมันบูชาไฟ  เสกเป่าบูชาไฟ  ทำพลีกรรมด้วยโลหิต  เป็นหมอดูอวัยวะ  ดูลักษณะที่บ้าน  ดูลักษณะที่นา  เป็นหมอปลุกเสก  เป็นหมอผี  เป็นหมอทายเสียงนก  เสียงกา  เป็นหมอทายอายุ  เป็นหมอเสกกันลูกศร  เป็นหมอทายเสียงสัตว์
                2.    เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยดิรัจฉานวิชา  คือทายลักษณะแก้วมณี  ไม้พลอง  ผ้า  ศาสตรา  ดาบ  ศร  ธนู  อาวุธ  สตรี  บุรุษ  กุมารี  ทาส  ทาสี  ช้าง  ม้า  กระบือ  โคอสุภะ  โค  แพะ  แกะ  ไก่  นกกระทา  เหี้ย  ตุ่น  เต่า  มฤค
                3.    เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพ

                4.    เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยดิรัจฉานวิชา  คือพยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส  สุริยคราส  นักษัตรคราส  ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง  เดินผิดทาง  ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง เดินผิดทาง  จักมีอุกกาบาต  ดาวหาง  แผ่นดินไหว  ฟ้าร้อง  ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก  จักขึ้น  จักมัวหมอง  จักกระจ่าง  จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้  ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้  เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้  ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้  เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้  แผ่นดินไหว  ฟ้าร้อง  จักมีผลเป็นอย่างนี้  ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรตกมัวหมอง  กระจ่าง  จักมีผลเป็นอย่างนี้

                5    เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยดิรัจฉานวิชา  คือ พยากรณ์ว่า  จักมีฝนดี  ฝนแล้ง  มีภักษาหารได้ง่าย  ภักษาหาได้ยาก  ความเกษม  ภัย  เกิดโรค  ความสำราญหาโรคมิได้  หรือนับคะแนนคำนวณ  นับประมวล แต่งกาพย์โลกายตศาสตร์
                6.    เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยดิรัจฉานวิชา คือให้ฤกษ์ อาวาหมงคล  วิวาหมงคล  ดูฤกษ์เรียงหมอน  ดูฤกษ์หย่าร้าง  เก็บทรัพย์  จ่ายทรัพย์  ดูโชคดี  ดูเคราะห์ร้าย  ให้ยาผดุงครรภ์  ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง  ให้คางแข็ง  ให้มือสั่น  ไม่ให้หูได้ยินเสียง  เป็นหมอทรงกระจก  ทรงหญิงสาว  ทรงเจ้า  บวงสรวงพระอาทิตย์  ท้าวมหาพรหม  ร่ายมนต์พ่นไฟ  ทำพิธีเชิญขวัญ
                7.    เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิด ด้วยดิรัจฉานวิชา  คือ ทำพิธีบนบาน  แก้บน  ร่ายมนต์ขับผี  สวดมนต์ป้องกันบ้านเรือน  ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย  ทำชายให้กลายเป็นกะเทย  ทำพิธีปลูกเรือน  บวงสรวงพื้นที่  พ่นน้ำมนต์  รดน้ำมนต์  ทำพิธีบูชาไฟ  ปรุงยา (สำรอก  ถ่ายโทษเบื้องบน  ถ่ายโทษเบื้องล่าง  แก้ปวดศีรษะ) หุงน้ำมันหยอดหู  ปรุง (ยาตา  ยานัตถ์  ยาทากัด  ยาทาสมาน) ป้ายตา  ทำการผ่าตัดรักษาเด็ก  ใส่ยา  ชะแผล

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กันยายน 2554 09:13:37 »



                  

ทิฏฐิ 62
            ดูกร ภิกษุทั้งหลาย  ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกที่ลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบ  ประณีต  จะคาดคะเนเอาไม่ได้  ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง  ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ  ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน
  ปุพพันตกัปปิถาทิฏฐิ 18 ลัทธิที่ปรารภขันธ์ส่วนอดีต 18 อย่าง
                มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  กล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีต  แสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 18 ประการ ดังนี้
        สัสสตทิฏฐิ 4    มีทิฏฐิว่าเที่ยง  บัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ
            ปุพเพนิวาสานุสสติ   สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ  ได้หนึ่งชาติบ้าง..... หลายแสนชาติบ้าง  เขากล่าวว่าอัตตา และโลกเที่ยง คงที่  ส่วนสัตว์นั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป  จุติ เกิด  นี้เป็นฐานะที่ 1
                    ในฐานะที่ 2 และ 3
   สมณพราหมณ์บางคน  บรรลุเจโตสมาธิ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  วัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง..... สี่สิบบ้าง  เขากล่าวว่าอัตตา และโลกเที่ยง คงที่  ส่วนสัตว์นั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไป จุติ เกิด
                    ในฐานะที่ 4   สมณพราหมณ์บางคน  เป็นนักตรึก  นักค้นคิด  กล่าวตามที่ตนตรึกได้  ค้นคิดได้  ว่า อัตตา และโลกเที่ยง คงที่  ส่วนสัตว์นั้นย่อมแล่นไป  ท่องเที่ยวไปจุติ  เกิด
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า  ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้  อันบุคคลถือไว้ยึดไว้แล้ว  ย่อมมีคติอย่างนั้น  มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น  และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด  ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย  เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ทราบความเกิดขึ้น  ความดับไป  คุณและโทษ  เวทนาทั้งหลาย  กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น  ตามความเป็นจริง  จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น  ตถาคตจึงหลุดพ้น
        เอกัจจสัสติกทิฏฐิ 4    มีทิฏฐิว่าบางอย่างเที่ยง  บางอย่างไม่เที่ยง  ด้วยเหตุ 4 ประการ
                บางครั้ง โดยระยะกาลช้านาน  เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่  เหล่าสัตว์ย่อมเกิดในอาภัสสรพรหม  เหล่าสัตว์นั้นได้สำเร็จทางใจ..... สถิตอยู่ในภพนั้น  บางครั้งสิ้นกาลยาวนาน  เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่  วิมานของพรหมปรากฎว่าว่างเปล่า  ครั้งนั้น สัตว์ที่จุติขึ้นจากชั้นอาภัสสรพรหม  เพราะสิ้นอายุ หรือเพราะสิ้นบุญ  ย่อมเข้าถึงวิมานพรหมอันว่างเปล่า  สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ..... สถิตอยู่ในภพนั้น  เกิดความกระสันความดิ้นรน  ว่าแม้สัตว์เหล่าอื่นก็พึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง  บรรดาสัตว์เหล่านั้น  ผู้ใดเกิดก่อน  ผู้นั้นย่อมมีความคิดว่า  เราเป็นพรหม  เราเป็นมหาพรหม  เป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้  เห็นถ่องแท้  เป็นผู้กุมอำนาจ  เป็นอิสระ  เป็นผู้สร้าง  เป็นผู้นิรมิต  เป็นผู้ประเสริฐ  เป็นผู้บงการ  เป็นผู้ทรงอำนาจ  เป็นบิดาของหมู่สัตว์ผู้เป็นแล้ว  และกำลังเป็นสัตว์เหล่านี้เรานิรมิต  แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลัง  ก็มีความคิดว่า  ท่านผู้นี้แลเป็นพรหม..... พวกเรา  อันพระพรหมผู้เจริญนี้นิรมิตแล้ว  บรรดาสัตว์เหล่านั้น  ผู้ใดเกิดก่อนผู้นั้นอายุยืนกว่า  มีศักดิ์มากกว่า
                สัตว์เหล่านี้ได้บวชเป็นบรรพชิต แล้วบรรลุเจโตสมาธิ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้  จึงได้กล่าวว่า  ท่านผู้ใดเป็นพรหม..... พระพรหมผู้ใดนิรมิตพวกเรา  พระพรหมผู้นั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน  มีอันไม่แปรผัน  ส่วนพวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง  ไม่ยั่งยืน  มีอายุน้อย  ยังต้องจุติมาเป็นอย่างนี้  นี้เป็นฐานที่ 1
                    ในฐานะที่ 2
   เทวดาพวกหนึ่ง  หมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์  สติย่อมหลงลืม  เมื่อจุติจากชั้นนั้นแล้ว  มาเป็นอย่างนี้  จึงออกบวชเป็นบรรพชิต  แล้วบรรลุเจโตสมาธิ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้  จึงกล่าวว่า พวกเทวดาที่ไม่หมกมุ่นอยู่ในความรื่นรมย์  สติย่อมไม่หลงลืม  จึงไม่จุติจากชั้นนั้น เป็นผู้เที่ยง  ยั่งยืน  คงทน ไม่แปรผัน  ส่วนพวกตนเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน  มีอายุน้อยยังต้องจุติ  นี้เป็นฐานะที่ 2
                    ในฐานะที่ 3
   เทวดาพวกหนึ่งมักเพ่งโทษกันและกัน มุ่งร้ายกัน พากันจุติจากชั้นที่ตนอยู่ แล้วมาเป็นอย่างนี้  จึงออกบวชเป็นบรรพชิต  แล้วบรรลุเจโตสมาธิ  ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้  หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้  จึงเกิดความเห็นเช่นเดียวกับฐานะที่ 2
                    ในฐานะที่ 4
    สมณพราหมณ์บางคนเป็นนักตรึก นักคิดค้น  กล่าวตามที่ตนตรึกได้ คิดค้นได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า  จักษุ  โสตะ  ฆานะ  ชิวหา  กาย  นี้ได้ชื่อว่าอัตตา  เป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน  ไม่คงทน  มีอันแปรผัน  ส่วนที่เรียกว่าจิต หรือใจ หรือวิญญาณนี้ชื่อว่าอัตตา  เป็นของเที่ยง.....
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า..... เพราะไม่ถือมั่นตถาคตจึงหลุดพ้น
        อันตานันติกทิฏฐิ 4   มีทิฏฐิว่าโลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้  ด้วยเหตุ 4 ประการ
                สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ  ย่อมมีความสำคัญในโลกว่ามีที่สุด  กลมโดยรอบ นี้เป็นฐานะที่ 1
                    ในฐานะที่ 2
  สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ  มีความสำคัญในโลกว่าไม่มีที่สุด  หาที่สุดรอบมิได้ พวกที่ว่าโลกนี้มีที่สุด กลมโดยรอบนั้นเท็จ  นี้เป็นฐานะที่ 2
                    ในฐานะที่ 3    สมณพราหมณ์บางคน บรรลุเจโตสมาธิ  มีความสำคัญในโลกว่า ด้านบน  ด้านล่าง มีที่สุด  ด้านขวางหาที่สุดมิได้  พวกที่ว่าในฐานะที่ 1  และในฐานะที่ 2 นั้นเท็จ  นี้เป็นฐานะที่ 3
                    ในฐานะที่ 4   สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักค้นคิด  กล่าวตามที่ตนตรึกได้ ค้นคิดได้ว่า  โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่  ไม่มีที่สุดก็มิใช่  พวกที่ว่าในฐานะที่ 1,2 และ 3 นั้นเท็จ
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
        อมราวิเขปิกทิฏฐิ 4    มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว  ด้วยเหตุ 4 ประการ
                สมณพราหมณ์บางคน  ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล  ถ้าตนพยากรณ์ไปก็จะเป็นเท็จ  จึงไม่กล้าพยากรณ์  เพราะเกลียดการกล่าวเท็จ  จึงกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า  ความเห็นของเราว่า อย่างนี้ก็มิใช่  อย่างนั้นก็มิใช่  อย่างอื่นก็มิใช่  ไม่ใช่ก็มิใช่  นี้เป็นฐานะที่ 1
                    ในฐานะที่ 2
  สมณพราหมณ์บางคน  ไม่รู้ตามความเป็นจริง..... เกรงว่าพยากรณ์ไปแล้วจะเป็นอุปาทาน จึงกล่าววาจาดิ้นได้.....
                    ในฐานะที่ 3    สมณพราหมณ์บางคน  ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง  เกรงว่าเมื่อถูกซักไซ้แล้วตอบไม่ได้ จึงกล่าววาจาดิ้นได้.....
                    ในฐานะที่ 4    สมณพราหมณ์บางคนเป็นคนเขลา งมงาย  เมื่อถูกถามว่าอย่างไร  ตนมีความเห็นว่าเป็นอย่างไร ก็จะตอบไปตามนั้น  จึงกล่าววาจาดิ้นได้.....
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
        อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ 2    มีทิฏฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ  ด้วยเหตุ 2 ประการ
                พวกเทวดาชื่อว่าอสัญญีสัตว์มีอยู่  เมื่อจุติจากชั้นนั้นเพราะความเกิดขึ้นแห่งสัญญา  มาเป็นอย่างนี้ แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต  บรรลุเจโตสมาธิ  ย่อมระลึกถึงความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้  เบื้องหน้าแต่นั้นไประลึกไม่ได้  เขากล่าวว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ  เพราะตนเมื่อก่อนไม่มี  เดี๋ยวนี้ตนมี  นี้เป็นฐานะที่ 1
                    ในฐานะที่ 2
   สมณพราหมณ์บางคน  เป็นนักตรึก นักคิดค้น  เขากล่าวตามที่ตรึกได้ค้นคิดได้ว่า  อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีต  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 18 ประการนี้
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
  อปรันตกัปปิกทิฏฐิ 44 ลัทธิที่ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตและปัจจุบัน 44 อย่าง
                สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง  กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต.. กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 44 ประการ
        สัญญีทิฏฐิ 16    มีทิฏฐิว่า  อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ด้วยเหตุ 16 ประการ คือ  อัตตามีรูป  ไม่มีรูป  ทั้งที่มีรูปทั้งที่ไม่มีรูป  ทั้งที่มีรูปก็ไม่ใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็ไม่ใช่  ที่มีที่สุด  ที่ไม่มีที่สุด  ทั้งที่มีที่สุดทั้งที่ไม่มีที่สุด  ทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่  ที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน  ที่มีสัญญาต่างกัน  ที่มีสัญญาย่อมเยา  ที่มีสัญญาหาประมาณมิได้  ที่มีสุขอย่างเดียว  ที่มีทุกข์อย่างเดียว  ที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์  ที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่  ยั่งยืนมีสัญญา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2554 09:40:22 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 กันยายน 2554 09:27:54 »



                     

เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า.....
        อสัญญีทิฏฐิ 8    มีทิฏฐิว่า  อัตตาเหนือไปจากการตายไม่มีสัญญา  ด้วยเหตุ 8 ประการ คือ  อัตตาที่มีรูป  ที่ไม่มีรูป  ทั้งที่มีรูปทั้งที่ไม่มีรูป  ทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่  ที่มีที่สุด  ที่ไม่มีที่สุด  ทั้งที่มีที่สุดทั้งที่ไม่มีที่สุด  ทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่  ยั่งยืนไม่มีสัญญา
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
        เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ 8    มีทิฏฐิว่า  อัตตาเหนือไปจากการตาย  มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ 8 ประการ คือ  อัตตาที่มีรูป..... ทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่  ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่  ยั่งยืนมีสัญญา
                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
        อุทเฉททิฏฐิ 7    มีทิฏฐิว่าขาดสูญ  ย่อมบัญญัติความขาดสูญ  ความพินาศ  ความเลิกเกิดของสัตว์  ด้วยเหตุ 7 ประการ คือ
                สมณพราหมณ์บางคนมีวาทะว่า  เพราะอัตตานี้มีรูป  สำเร็จด้วยมหาภูตรูป 4  มีมารดา  บิดา  เป็นแดนเกิด  เพราะกายแตกย่อมขาดสูญ  ย่อมพินาศ  ย่อมเลิกเกิด  อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญ
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์  เป็นกามาพจร  บริโภคกวฬิงดาราหาร  เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่เป็นทิพย์  มีรูปสำเร็จด้วยใจ  มีอวัยวะใหญ่น้อยครบครัน  มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง  เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ  มีอารมณ์ว่าอากาศหาที่สุดมิได้  เพราะล่วงรูปสัญญา  เพราะดับปฏิฆสัญญา  เพราะไม่ใส่ใจในนานัตตสัญญา  เพราะกายแตก  อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ  เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึง อากิญจายตนะ  เพราะกายแตก  อัตตานั้นย่อมขาดสูญ
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ  เพราะกายแตก  อัตตานั้นย่อมขาดสูญ

                   

                เรื่องนี้ตถาคตย่อมรู้ชัด.....
        ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ 5    มีทิฏฐิว่า  นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ
                สมณพราหมณ์บางคนกล่าวว่า  เพราะอัตตานี้อิ่มเอิบ  พรั่งพร้อม  เพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ 5 จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ยังมีเหตุอื่นอีก  เพราะเหตุว่ากามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์  มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา  จึงเกิดความโศก  ความร่ำไร  ความทุกข์  โทมนัส  คับใจ  เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม  จากอกุศลธรรม  บรรลุปฐมฌาณ  มีวิตก  วิจาร  มีปิติ และสุขเกิด แต่วิเวกอยู่  จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ปฐมฌาณยังหยาบ  เพราะอัตตานี้บรรลุทุติยฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ทุติยฌาณยังหยาบ  เพราะอัตตานี้บรรลุตติยฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
                สมณพราหมณ์พวกอื่นกล่าวว่า  ตติยฌาณยังหยาบ  เพราะอัตตานี้บรรลุจตุตถฌาณ..... จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวถึงขันธ์ส่วนอนาคต  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 44 ประการนี้
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวถึงขันธ์ส่วนอดีตก็ดี  ส่วนอนาคตก็ดี  ทั้งส่วนอดีต ทั้งส่วนอนาคตก็ดี  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการนี้เท่านั้น  หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง  นอกจากนี้ไม่มี

                           

                เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัด.....
                ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง  เห็นได้ยาก  รู้ตามได้ยาก  สงบ  ประณีต  จะคาดคะเนเอาไม่ได้  ละเอียด  รู้ได้เฉพาะบัณฑิต  ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง  แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง  ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  แม้ข้อนั้น ก็เป็นความเข้าใจของสมณพราหมณ์เหล่านั้น  ผู้ไม่รู้ไม่เห็น เป็นความแส่หา  เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเหมือนกัน
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์..... กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  ก็เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย
                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก  ถูกต้อง ๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง 6  ย่อมเสวยเวทนา  เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา  เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน  เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ  เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ  เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส  เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณและโทษแห่งผัสสายตนะทั้ง 6 กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น  เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด  ก็สมณพราหมณ์พวกใด  กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด  สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด  ถูกทิฏฐิ 62  อย่างเหล่านี้เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้  อยู่ในข่ายนี้เอง  เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้  ติดอยู่ในข่ายนี้  ถูกข่ายนี้ปกคลุมไว้

                   

                ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย  กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว  ยังดำรงอยู่ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคต ชั่วเวลาที่กายของคถาคตดำรงอยู่  เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว  เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต
                เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว  พระอานนท์ได้กราบทูลว่า  น่าอัศจรรย์  ไม่เคยมีมา  ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า  อรรถชาละก็ได้  ธรรมชาละก็ได้  พรหมชาละก็ได้
                ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว  ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชม  เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่  หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว แล



ขอบพระคุณที่มาจาก :http://www.heritage.thaigov.net/religion/religion.htm
: http://agaligohome.com/index.php?topic=4832.new#new
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2555 16:48:34 »









พระไตรปิฎกฉบับเสียงอ่าน มหาจุฬาลงกรณ์ / พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
เวรัญชกัณฑ์

http://www.bodhiyalai.org/bodhiyalai/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2009-09-14-06-28-16&catid=95:2009-03-26-07-22-02&Itemid=138





บันทึกการเข้า
คำค้น: พระวินัยปิฎกเล่ม1 มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.79 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 พฤศจิกายน 2567 11:44:44