จริงหรือ ‘จ๊อกกิ้ง‘ ช่วยเพิ่มเซลล์สมอง ความจำดีขึ้นดังที่ทราบดีอยู่แล้วว่าการ 'วิ่ง' นั้นดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วย อ้างอิงจากนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมการเต้นแอโรบิคนั้นสามารถกระตุ้นการเติบโตของเนื้อเยื่อประสาทและสมองส่วนที่มีสีเทา มันอาจเชื่อมให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มมากขึ้น หรือ ปริมาณฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นและปล่อยออกมาในขณะที่เต้นแอโรบิค
Timothy Bussey นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาท ซึ่งอยู่ในกลุ่มนักพฤติกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้มีการวิจัยกับหนูทดลอง 2 กลุ่ม ซึ่งหนูกลุ่มแรก สามารถปั่นล้อจักรได้ไม่จำกัด และหนูอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถูกจำกัดไม่ให้เข้าปั่นล้อจักร
ผ่านไปประมาณ 2-3 วันที่ปล่อยกลุ่มหนูให้อยู่ด้วยตัวของมันเอง นักวิจัยได้นำกลุ่มหนูทดลองไปทดสอบเกี่ยวกับแบบทดสอบความจำในหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในหน้าจอนั้นแสดงภาพสี่เหลี่ยมทั้งด้านซ้ายและขวาถ้าเจ้าหนูน้อยคลิกที่สี่เหลี่ยมทางด้านซ้ายจะได้รับน้ำตาลก้อนเป็นรางวัล แต่ถ้าคลิกสี่เหลี่ยมด้านขวาก็จะไม่ได้รับรางวัลใดๆ
หนูกลุ่มที่ได้เข้าปั่นในล้อจักร สามารถคลิกสี่เหลี่ยมที่ถูกได้มากกว่าเกือบ 2 เท่าของอีกกลุ่มที่ถูกควบคุม
ในตอนต้นของการทดสอบนั้นสี่เหลี่ยมห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร และค่อยๆขยับเข้าใกล้กันเรื่อยๆจนเกือบชิดกัน
การทดลองนี้ออกแบบเพื่อทดสอบว่าในระบบความจำของหนูสามารถแยกวัตถุซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันได้มากเพียงใด เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วก็เหมือนกับการที่เราสามารถจำว่ามื้อเย็นเมื่อวานนี้และเมื่อวันก่อนเรารับประทานอะไร หรือ เราจอดรถไว้ที่ไหนตอนไปจับจ่ายในห้างสรรพสินค้า
การพัฒนาการนั้นเห็นได้ชัดเมื่อสี่เหลี่ยมทั้งสองอันนั้นใกล้กันจนเกือบจะชิดแนบสนิทกัน ซึ่งหนูในกลุ่มที่สองซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ปั่นจักร นั้นไม่สามารถแยกสี่เหลี่ยมทั้งสองอันได้ เนื่องจากความทรงจำของมันต่อภาพสี่เหลี่ยมมีความคล้ายคลึงกันเกินกว่าจะแยกแยะออกได้
Bussey กล่าวว่า เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ความทรงจำต่อสี่เหลี่ยมทั้งสองของเจ้าหนูตัวน้อยนั้นมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เมื่อเจ้าหนูต้องแยกแยะระหว่างสี่เหลี่ยมทั้งสองอัน ซึ่งเซลล์สมองใหม่ที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถช่วยให้แยกความต่างได้
นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพยายามสลับสี่เหลี่ยม(ที่หนูจะได้รับรางวัล)เพื่อให้มีความยากต่อการจดจำมากยิ่งขึ้น แต่หนูที่วิ่งปั่นจักรก็สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไวกว่าหนูอีกกลุ่มหนึ่ง
Wolfgang Ketterle ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ กล่าวว่า การวิ่งนั้นสามารถช่วยให้ใช้เวลาคิดไตร่ตรองเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
หนูที่ปั่นจักรนั้นวิ่งระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตรต่อวัน ในขณะที่ทำการทดลองนั้นเนื้อเยื่อสมองของหนูแสดงให้เห็นว่าหนูที่วิ่งปั่นจักรมีการพัฒนาในส่วนเนื้อเยื่อประสาทและสมองส่วนสีเทา
ตัวอย่างของเนื้อเยื่อในส่วนของ dentate gyrus (เป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำ) ของสมองผู้ใหญ่ เผยให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยเซลล์สมองเซลล์ใหม่เป็นจำนวนกว่า 6,000 เซลล์ได้เกิดขึ้น
จากผลการวิจัยได้สำรวจเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีอาการซึมเศร้า พบว่าอาการของพวกเขาสามารถดีขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกาย ทั้งนี้การทำงานของยาแก้เศร้าบางชนิดนั้นคือการกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์ในสมองนั่นเอง
นอกจากนี้การออกกำลังกายนั้นยังสามารถทำให้ความเครียดลดลงได้อีกด้วย โดยการยับยั้งการเกิดเซลล์สมองใหม่ผ่านฮอร์โมน คอร์ติซอล
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ร่วมวิจัยกับเพื่อนร่วมงานที่ สถาบันวิจัยพัฒนาการแห่งชาติของอเมริกา ในรัฐแมรี่แลนด์เพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับผลจากการวิ่ง แค่เพียงวิ่ง 2-3 วันสามารถสร้างเซลล์สมองใหม่ได้เป็นแสนๆเซลล์เลยทีเดียว ซึ่งสามารถช่วยให้มีประสิทธิภาพในการจดจำโดยไม่สับสน ซึ่งนี่เป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ และการรับรู้สิ่งต่างๆ
ผู้คนมากมายรักการวิ่งจ็อกกิ้ง คุณ Wolfgang Ketterle กล่าวว่า เมื่อเขาได้ออกวิ่ง เขาได้คิดเกี่ยวกับหลายๆอย่าง อาทิ ฟิสิกส์, ปัญหาของครอบครัว, แผนสำหรับช่วงวันหยุด เขาไม่ได้ค้นพบคำตอบของคำถามของเขาทันทีในขณะที่เขาวิ่ง แต่เขาได้มีเวลาคิดเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ ทางแก้บางอย่างนั้นช่างชัดเจน แต่เฉพาะต่อเมื่อคุณอยู่ในภาวะผ่อนคลายพอที่จะค้นพบมัน
ใครไม่สามารถหาเหตุอ้างว่าออกกำลังกายดีอย่างไร เรามีอีกหนึ่งข้อที่เอาไว้จูงใจให้คุณได้ลากตัวคุณไปวิ่งได้ ขอให้สนุกกับการมีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง
Credit: Sanook !