สุญญตา~
พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช~
พวกเราคงเคยได้ยินคำว่า..'
สุญญตา' หรือ..'
มหาสุญญตา'
กันบ่อยๆและอาจเคยพบเพื่อนชาวพุทธบางท่าน
โดยเฉพาะปัญญาชนที่สนใจศึกษาเรื่องสุญญตา
ด้วยการอ่าน การฟัง
การคิด และการถกแถลงธรรม ท่านเหล่านี้ได้รับความอิ่มอก
อิ่มใจ ว่ามีความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา
ลึกซึ้งเพียงพอ
แล้วจนไม่สนใจการเจริญสติ ซึ่งเราคงเข้าไปเกี่ยวข้องอะไรด้วยไม่ได้
แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือเพื่อนผู้สนใจการปฏิบัติบางท่านกลับ
พยายามเจริญสติด้วยการใช้สุญญตาเป็นอารมณ์กรรมฐาน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดพลาดมาก เพราะพระพุทธเจ้า
ทรงสอนให้ใช้สุญญตาหรือความว่างเป็นอารมณ์แต่อย่างใด
บางท่านถึงกลับนำ
พระไตรปิฎกมาอ้างว่า พระพุทธเจ้าก็ทรง
สอนให้ใช้สุญญตาเป็นอารมณ์กรรมฐานเหมือนกัน
เนื้อหาของ
พระไตรปิฎกนี้มีอยู่ว่า...
โมฆราชมาณพ พร้อมด้วย
เพื่อนร่วมสำนักผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรีรวม 16 ท่าน ได้ไปเฝ้าทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้า ท่านเหล่านี้ภายหลังได้อุปสมบท
และบรรลุเป็นพระอรหันต์ชั้นแนวหน้าทั้งสิ้น เฉพาะท่่านโมฆราชนั้น
ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าถึง 3 ครั้งว่า...
"
บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น...?"
พระอรรถกถาจารย์ท่านอธิบายว่า เหตุที่ท่านโมฆราชต้องถาม
ถึง3 ครั้ง ก็เพราะพระพุทธเจ้าทรงรอให้โมฆราชมาณพมีอินทรีย์
แก่กล้าเสียก่อน จึงยังมิได้ทรงตอบเมื่อทูลถามปัญหาสองครั้งแรก
ต่อจากท่านอชิตะและท่านติสสเมตเตยยะ
เมื่อท่านโมฆราชทูลถามเป็นครั้งที่ 3 โดยได้ถามเป็นบุคคล
ลำดับที่ 15 แทนที่จะได้ถามเป็นท่านที่ 2 หรือ 3 จึงทรงตอบว่า..
"
ดูกร โมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลก
โดยความเป็นของว่างเปล่าเถิด จงถอนตามความเห็นว่าเป็นตัวตน
เสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชได้ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น"
เมื่ออ่านคำตอบตรงนี้แล้ว ท่านที่ชอบเรื่องสุญญตาก็
มักจะสรุปเอา
เลยว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติด้วยการคิดพิจารณาให้เห็นว่า
โลกเป็นของว่างเปล่าหรือเป็นสุญญตาความจริงพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนั้น แต่ท่านระบุชัดเจนว่า...
จงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ...แสดงว่าท่าน
สอนให้เจริญสติ ถ้าถามต่อไปว่า
ท่านให้เจริญสติโดยใช้สิ่งใดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ก็ตอบได้ว่าพระพุทธเจ้า
ทรงสอนให้ใช้..'โลก' เป็นอารมณ์กรรมฐาน และคำว่าโลกก็หมายถึง
'รูปนาม'...นั่นเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้ใช้สุญญตาหรือความ
ว่างเป็นอารมณ์กรรมฐาน เพียงแต่ทรงแนะนำ
'ให้ตามรู้รูปนามในแง่มุมของความว่างเปล่าจากตัวตนหรืออนัตตา'เท่านั้นเอง เพราะท่านโมฆราชผู้มีปัญญามาก จึงเหมาะที่จะบรรลุธรรม
ด้วยสุญญตาวิโมกข์ คือ...การเห็นรูปนามเป็นอนัตตา ทั้งนี้ฝ่าย
บรรดาคณะศิษย์ของพรามหม์พาวรีทั้ง 16 ท่านนั้น พระไตรปิฎกกล่าวถึง
ฉายาต่อท้ายชื่อไว้2 ท่าน คือ
ท่านโมฆราชผู้มีปัญญา กับ
ท่านปิงคิยะผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ แสดงว่าท่านโมฆราชน่าจะมีจุดเด่น
ในด้านมีปัญญามากจริงๆ
เพียงแต่ไม่ถึงระดับท่านพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกผู้เลิศด้วยปัญญานั้น
มีคำอธิบายเพิ่มเติมใน
พระไตรปิฎก (
โมฆราชมาณวกปัญหา
นิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ 30 ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส). ว่า...
"บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของสูญด้วยเหตุ 2 ประการคือ
(1) ด้วยสามารถความกำหนดว่า..ไม่เป็นไปในอำนาจ...
หมายความว่า ใครๆย่อมไม่ได้อำนาจในรูป ในเวทนา ในสัญญา
ในสังขาร ในวิญญาณ และ
(2) ด้วยสามารถการพิจารณา...เห็นสังขารโดยเป็นของว่างเปล่า...
หมายความว่า ใครๆย่อมไม่ได้แก่นสารในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร
ในวิญญาณ ที่ไม่มีแก่นสาร ไร้แก่นสารปราศจากแก่นสาร
เพราะไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตามีคำที่อาจก่อความสับสนได้อีกคำหนึ่งคำว่า..."พิจารณา" บางท่าน
ตีความหมายว่าการพิจารณาคือการคิด
แท้จริงคำว่า
พิจารณาหมายถึง การเจริญสติตามรู้รูปนามนั่นเอง
ไม่ใช่
การคิดเรื่องรูปนาม เพราะการคิดเรื่องรูปนามว่าเป็นความว่างนั้น
ไม่สามารถจะทำให้เห็นรูปนามเป็นความว่างได้
แต่ถ้าเจริญสติ
โดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ จึงจะเห็นอนัตตลักษณะของรูปนามได้
สรุปแล้ว...พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้ใช้ความว่างเป็นอารมณ์
ของวิปัสสนากรรมฐาน และไม่ได้ให้คิดเรื่องความว่าง
แต่ทรงสอน
ให้มีสติตามรู้รูปนาม จนเห็นรูปนามว่างเปล่าจากความ
เป็นตัวตน หรือไร้แก่นสารทั้งปวง...
ดังนั้น พวกเราจึงควรลงมือเจริญสติตามรู้รูปนามไปเลย ดีกว่าจะ
เที่ยวคิดหรือเที่ยวแสวงหาสุญญตาจนลืมการเจริญสติ
แล้ววันหนึ่ง พวกเราจะได้เห็นโลกคือรูปนามอันประกอบขึ้นเป็น
สรรพสิ่งทั้งหลายนั้น แม้มีอยู่ แต่ก็ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน
และหาแก่นสารใดๆ ไม่ได้เลย...ฯ~พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช~
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
ขอบพระคุณที่มาจาก :http://www.teenee.com/
:http://agaligohome.com/index.php?topic=4839.new#newPics by :
Googleสุขใจดอทคอม *
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ตอกาลิโกโฮมอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ