[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:13:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระวันรัตน (สมบุญ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  (อ่าน 872 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 105.0.0.0 Chrome 105.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 กันยายน 2565 17:48:32 »



สมเด็จพระวันรัตน (สมบุญ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


สมเด็จพระวันรัตน (สมบุญ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๓๖ เดิมสังกัดอยู่กับหลวงทรงพลราบ (คล้าย) ได้บวชเป็นสามเณรอยู่วัดราชบูรณะ เล่าเรียนพระคัมภีร์พระปริยัติธรรม ได้แปลหนังสือเป็นสามเณรเปรียญ ๔ ประโยค แต่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานผ้าไตรปี นิตยภัตเดือนละ ๖ บาท โปรดให้บวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๕๗

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็น พระครูสิทธิเทพา พระราชทานตาลิปัตรพุดตานพื้นแดง เพิ่มนิตยภัตขึ้นอีกตำลึงหนึ่ง รวมเป็นเดือนละสองตำลึงกึ่ง โปรดให้มีฐานา ๒ รูป พระสมุห์ พระใบฎีกา ๑ แห่ไปครองวัดทองธรรมชาติ
 
ครั้นฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พุ่มดอกไม้เพลิงของพระครูสิทธิเทพา (สมบุญ) ประดับด้วยข้าวเหนียวสารพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะที่ พระสุวรรณวิมล พระราชทานตาลิปัตรพุ่มข้าวบิณฑ์หักทองขวาง นิตยภัตขึ้นอีกตำลึงกึ่ง รวมเป็นเดือนละสี่ตำลึงโปรดให้มีพระปลัดเป็นฐานาอีกรูป ๑ รวมเป็น ๓ รูป

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสัญญาบัตรให้เลื่อนขึ้นเป็นพระเทพกระวี พระราชทานนิตยภัตขึ้นอีกกึ่งตำลึง รวมเป็นเดือนละสี่ตำลึงกึ่ง โปรดให้มีฐานาที่สังฆบริบาลขึ้นอีกรูป ๑ รวมเป็น ๔ รูป แล้วพระราชทานแผ่นหิรัญบัตร เป็นพระธรรมวโรดม พระราชทานตาลิปัตรพื้นตาดพุ่มข้าวบิณฑ์ปักเลื่อม นิตยภัตขึ้นอีกกึ่งตำลึง รวมเป็นเดือนละห้าตำลึง โปรดให้มีพระครูปลัด มีนิตยภัตเดือนละสองตำลึง โปรดให้มีพระวินัยธร พระวินัยธรรม พระครูสังฆวิมล พระครูมงคลวิลาศ รวมฐานา ๘ รูป แห่กลับมาครองวัดราชบูรณะ พระราชทานนิตยภัตขึ้นอีกกึ่งตำลึง รวมเป็นเดือนละห้าตำลึงกึ่ง พระราชทานวอ เลกวัดโยมสงฆ์สำหรับหามเดือนละ ๔ คน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแผ่นสุพรรณบัตร เป็นสมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิพัฒนพงษ์ มหาวิสุทธิสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลญาณสุนทรมหาทักษิณ คณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี สถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชบรมมหาวิหาร พระอารามหลวง จงเจริญทฤฆชนมายุพรรณสุขพลปฏิภาณในพระศาสนาเทอญ ได้พระราชทานตาลปัตรพื้นตาดปักเลื่อมพุ่มข้าวบิณฑ์ พานหมาก เต้าน้ำ ถาดล้างหน้า ปิ่นโต ถมปัดทั้งสิ้น ไตรแพร ย่ามหักทองขวาง ย่ามเข้มขาบ เพิ่มนิตยภัตขึ้นอีกตำลึงกึ่ง รวมเป็นเดือนละเจ็ดตำลึง พระครูปลัดเพิ่มขึ้นอีกตำลึงหนึ่ง รวมเดือนละสามตำลึง โปรดให้มีฐานาขึ้นอีก พระครูธรรมคุต พระครูพุทธบาล รวมเป็น ๑๐ รูป แห่มาอยู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สมเด็จพระวันรัตนองค์นี้ ได้เป็นอุปัธยายหม่อมเจ้า ข้าราชการ ราษฎรเป็นอันมาก ได้รู้คัมภีร์พระปริยัติธรรม ฝ่ายข้างวินัยละเอียดยิ่งนัก
  
ครั้นถึงวันศุกร์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๙ อาพาธให้แน่นเสียด ให้แน่นเสียด ได้หาขุนราชพรหมมาดู ขุนราชพรหมมาว่าเป็นวาโย กระษัยเสียด ประกอบยาให้ฉันอาการทรงอยู่ มาจนถึง ณ วันเสาร์ที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๑๙ อาการให้แน่นเสียดมากขึ้น เวลายามเศษไปถ่ายอุจจาระครั้งหนึ่ง อาการแน่นเสียดก็ไม่ถอย ท่านรู้ตัวว่าอาพาธคราวนี้เห็นจะไม่รอดตลอดไปได้ จึงเรียกพระสังฆกิจ พระใบฎีกา พระท้วม นายรุ่ง เข้ามาปลงบริขารให้พระ ๓ รูป คฤหัสถ์ ๑ อาพาธมาได้ ๙ วัน

ครั้นถึงวันอาทิตย์ที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๑๙ เวลาโมงเช้า ฉันจังหันต้มได้ ๓ ช้อน เวลาเช้า ๔ โมง ฉันจังหันสวยได้ถ้วยชา ๑ อาการให้แน่นเสียดทวีมากขึ้น หายใจน้อยถอยกำลังลงทุกทีจนถึงเวลาเช้า ๕ โมงเศษถึงมรณภาพอายุได้ ๘๓ ปี พรรษาได้ ๖๒ พรรษา เวลา ๒ ทุ่มเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทางประตูเทวาพิทักษ์ ทรงรถพร้อมด้วยข้าทูลละอองธุลีพระบาท เสด็จทางสถลมารคประทับวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำรดศพสมเด็จพระวันรัต พระราชทานโกศไม้สิบสอง ตั้งบนแว่นฟ้า ๒ ชั้น เครื่องสูงตีพิมพ์ ๙ องค์ กลองชนะแดง ๕ คู่ จ่าปี่จ่ากลอง คู่ ๑ แตรงอน คู่ ๑ แตรฝรั่ง คู่ ๑ พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน อย่างพระราชาคณะผู้ใหญ่ เวลายามเศษพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง

ต่อมาในคราวพระราชทานเพลิงศพนั้น โปรดให้ทำเมรุผ้าขาวยอดเกี้ยว ปักฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้น ๘ คัน ล้อมเมรุมีราชวัตร พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ และพระวุฒิการบดีเป็นผู้จัดการงานเมรุ หลังราชวัตรทึบนั้นปลูกปะรำ เพดานดาดผ้าขาวมีตู้กระจก ไตรแลเครื่องสังเค็ดพร้อม ๒๗ ตู้ตั้งทั้งสามด้านเมรุ ฉัตรตะเกียงล้อมในเมรุ ๑๖ ฉัตรกระถางมังกรมีต้นไม้ แลเครื่องแก้วประดับต่าง ๆ ล้อมเมรุ ๒๐ กระถาง ระทาผ้าเหลืองปักที่หว่างกระถางในเมรุนั้นแขวนโคมแก้ว โต๊ะจีนเครื่องทองเหลืองแลเครื่องลายครามตั้งล้อมฐานปูนมุขละ ๒ โต๊ะ รวม ๘ บนฐานปูนนั้น ตั้งกำแพงแก้วปักจงกลเทียนตั้งฐานเฉียงบุกระดาษลาย ตั้งแว่นฟ้า ๓ ชั้น จําหลักปิดทองคำเปลวประดับกระจก แล้วประดับด้วยเครื่องแก้วแลพานแก้ว โคมต่าง ๆ ตั้งทุกชั้น แว่นฟ้ารอบฐานปูนนั้นฐานเครื่องสูงปักเครื่องสูง ๓ ชั้น ๘ องค์ ๕ ชั้น ๔ องค์

ครั้นถึง ณ วันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีรับสั่งให้ขุนอักษรสมบูรณ์เสมียนตรากรมวัง จัดกระบวนแห่คู่แห่ ๗๕ คู่ กลองชนะ ๑๕ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ แตรฝรั่ง ๒ คู่ แตรงอน ๓ คู่ เครื่องสูง ๓ ชั้น ๕ คู่ ๕ ชั้น ๒ คู่ บังแทรก ๓ คู่ เสลี่ยงพระมงคลเทพอ่านพระอภิธรรมนำหน้าศพกับทั้งเสลี่ยงโปรยโยง แลเสลี่ยงศพ แล้วเชิญโกศศพสมเด็จพระวันรัต (สมบุญ) ขึ้นตั้งบนเสลี่ยง กั้นกลดกำมะลอองค์ ๑ อีก ๓ เสลี่ยงนั้น กั้นสัปทนเดินกระบวนออกจากวัดพระเชตุพน เสลี่ยงโยงเสลี่ยงโปรยมาในเรือศรีโกศศพ พระมงคลเทพมาในเรือศรีผูกม่านทองหลังคาดาดศรี เรือดั้ง ๒ คู่ กลองชนะแตรสังข์เครื่องสูงประจำลำพันจันทนุมาศ เกณฑ์เรือแห่ข้าราชการธงมังกรประจําลำ ๔๐ ลำแห่ขึ้นลำน้ำมาเข้าคลองบางลำพู ถึงท่าเมรุผ้าขาวยอดเกี้ยววัดสระเกศ ยกโกศศพขึ้นตั้งบนยานุมาศ กลองมลายู ๔ คู่ ฆ้อง ๔ ปี่ ๒ โคมมีเพลิงอยู่ในนั้นโคม ๑ คู่แห่ ๗๕ คู่ แตรงอน ๖ คู่ แตรฝรั่ง ๔ คู่ กลองชนะ ๑๕ คู่ จ่าปี่ ๑ จ่ากลอง ๑ เครื่องสูง ๓ ชั้น ๕ คู่ เครื่องสูง ๕ ชั้น ๒ คู่ บังแทรก ๓ คู่ บังสูรย์ ๒ องค์ พัดโบก ๒ องค์ กลดกำมะลอองค์ ๑ สัปทน ๓ เสลี่ยง ๓ แห่ขึ้นประทักษิณรอบเมรุผ้าขาวยอดเกี้ยวครบตติยวาร ยกศพขึ้นตั้งบนแว่นฟ้าในเมรุผ้าขาวยอดเกี้ยว

ครั้นถึงวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๒๑ เพลาบ่าย ๕ โมงเศษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทางประตูพรหมโสภาทรงรถพระที่นั่ง พร้อมไปด้วยตำรวจทหารมหาดเล็กขี่ม้านำตามเสด็จออกทางประตูวิเศษไชยศรี เลี้ยวป้อมเผด็จดัสกร เสด็จทางสถลมารค มาทางถนนบำรุงเมือง ข้ามตะพานเหล็กประทับพลับพลาวัดสระเกศ เสด็จพระราชดำเนินประทับในเมรุผ้าขาวยอดเกี้ยว ทรงทอดผ้าไตร ๒๐ ไตร พระวุฒิการบดีนิมนต์พระพิมลธรรม มาเป็นอธิบดีสงฆ์ พระราชาคณะพระครูฐานาเปรียญ รวม ๒๐ รูป พิจารณาอสุภานุพิจารณ ครั้นพิจารณาเสร็จแล้ว ทรงพระเต้าษิโณทก พระพิมลธรรมถวายยถา อทาสิเม  พระสาสนโสภณถวายอดิเรก พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียรถวายเทียนชนวน เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป พระราชทานเพลิงโกศศพสมเด็จพระวันรัตน (สมบุญ) เจ้าพนักงานกลองชนะแตรงอนแตรฝรั่งก็ประโคมขึ้นพร้อมกัน เสด็จพระราชดำเนินขึ้นประทับพลับพลา ทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้าพนักงานโปรยผลกัลปพฤกษ์ ประทับอยู่จนเวลาบ่าย ๕ โมง เสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง ของหลวงพระราชทาน ผ้าไตร ๒๐ ไตร ไตร ๓ หาบ ผ้าสบง ๑๐๐ ผืน พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม ๒ ช่าง โรงครัวเลี้ยงพระแลเลี้ยงเจ้าพนักงานข้าราชการ ของหลวงพระราชทานทั้งสิ้น โขนโรง ๑ หุ่นโรง ๑ หนัง ๒ โรง ดอกไม้เพลิง ต้นกัลปพฤกษ์ ๒ ต้น ต้นละ ๕ ตำลึง รวม ๓ วัน เป็นเงินชั่ง ๑๐ ตำลึง การสมโภชแลดอกไม้เพลิงมีเหมือนกันทั้ง ๓ วัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ ผ้า ๒๔ ศอก ๓ พับ เงินตราชั่งหนึ่ง มอบให้พระวุฒิการบดีให้ใช้ในการศพสมเด็จพระวันรัตน พระครูปลัดสัมพัฒนสุตาจารย์ พระวุฒิการบดี ๒ ท่านนี้เป็นเจ้าภาพมีเทศนา ๕ กัณฑ์ ไตรแลตู้เครื่องสังเค็ด ๒๗ ไตรและเครื่องสังเค็ด ๑๓ ไตร ๔๐ ผ้าสบงทำเป็นดอกไม้ ๑๒๐ กระถางต้นไม้ ๒๐ สามหาบ ๓ พิจารณาอสุภานุพิจารณาไทยทานต่าง ๆ สามร้อย ได้แจกเจ้าพนักงานคนชราพิการ ๔๐๐ เฟื้อง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ผ้าไตร ๔ ไตร ๑ หม่อมเจ้าพระอรุณนิภาคุณากร ผ้าไตร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอกหนึ่งพับ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท ไตร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๑ พับ หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา ผ้าไตร ๒ หม่อมเจ้าพระประภากร ผ้าไตร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอกพับ ๑ พระพิมลธรรม ผ้าไตร ๒ ไตร พระสาสนโสภณผู้ว่าที่พระธรรมวโรดม ผ้าไตร ๔ ไตร  พระธรรมราชา ผ้าไตร ๑ ไตร พระเทพกระวี ผ้าไตร ๒ ไตร พระโพธิวงษ์ ไตรเครื่องสังเค็ด ๑ พระธรรมภาพิลาศ ไตรเครื่องสังเค็ด ๓ ผ้าไตร ๓ พระอมรโมลี ไตรสังเค็ด ๒ ผ้าไตร ๒ พระเนกขัมมุนี ผ้าไตร ๓ พระคุณาจาริยวัตร ผ้าไตร ๒ พระปิฎกโกศล ผ้าไตรสังเค็ด ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๑ พับ พระมงคลเทพมีเทศนากัณฑ์ ๑ ไตรเครื่องสังเค็ด ๑ ไตร ๕ พระธรรมกิจ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๒ พับ พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ ไตรสังเค็ด ๖ พระครูพรหมศร ไตร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอกพับ ๑ พระครูวิมลกิจ มีเทศนาไตรบริขาร ๑ พระครูอมรสับ ผ้าไตร ๓ ผ้าสบง พัช ผ้าเช็ดหน้าสิ่งละ ๓๐ พระครูสาธุธรรมธาดาทำต้นไม้อ่างมังกร ๔ พระครูสังวรยุธอินทรี ผ้าไตรเครื่องสังเค็ด ๕ ทำต้นไม้อ่างมังกร ๕ พระครูธรรมกิจจานุรักษ์ ไตรเครื่องบริขาร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๖ พับ พระครูญาณกิจมีเทศนาไตรบริขาร ๑ พระครูวิริยานุกิจจารีทำดอกไม้เพลิงไฟเพนียงวันละ ๖ พระใบฎีกาวันมีเทศนากัณฑ์ ๑ ไตรบริการ พระวินัยธรอาด ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๒ พับ  พระปลัดเอี่ยม ผ้าไตรสังเค็ด ๑ พระสังฆวินิจผ้าไตรสังเค็ด ๑ พระวินัยธรรม เขียว มีเทศนาไตรสังเค็ด ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๑ พับ พระครูพุ่มนอกราชการ ผ้าไตรบริขาร ๑ พระสมุห์แสง ผ้าไตรบริขาร ๑ พระสมุห์เนตร ไตรบริขาร ๒ พระปลัดเดช ผ้าไตร ๑ ไทยทาน ๑๐ พระเชยทำต้นไม้อ่างมังกร พระครูเนตรนอกราชการ ทําต้นไม้อ่างมังกร ๕ เจ้าอธิการคล้าย วัดพลับพลาไชย ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๒ พับ เจ้าอธิการฉ่ำ วัดสามจีน ไตร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๒ พับ เจ้าอธิการวัดบางขุนพรหมใน ผ้าไตร ๑ เจ้าอธิการวัดบกบางคูเวียง ผ้าไตร ๒ ผ้าขาว ๒๔ ศอกพับ ๑ พระปลัดริดนอกราชการ ทำดอกไม้ตะไลคืนละ ๖๐ ดอก หม่อมเจ้านิลวรรณ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๔ พับ พระยาพิไชยสงครามผ้าขาว ๕๐ ศอก ๒ พับ หลวงเสนานนท์ มีเทศนากัณฑ์ ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๔ พับ ดอกไม้สดห้อยโกศแขวนตะรางด้วย ขุนราชพรหมมา ไทยทาน ๘ รูป หลวงนราภักดี ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๓ พับ ขุนราม ไทยทาน ๒๓ รูป ขุนมาลา ไทยทาน ๓๐ รูป หมื่นนรา ไทยทาน ๑๖ รูป หลวงเดชกิจจานุรักษ์ ไทยทาน ๒๔ รูป ขุนวิเศษสาลี ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๖ พับ ขุนนครเขตรเกษมศรี ผ้าขาว ๕๐ ศอก ๔ พับ ขุนธรณีบาล ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๔ พับ ไทยทาน ๒๐ คุณพัน มีเทศนากัณฑ์ ไตรบริขาร ๑ ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๑๐ พับ ไทยทาน ๑๐ รูป นายท้วม ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๒ พับ ไทยทาน ๒๐ นายแย้ม ไทยทาน ๕๐ นายเอี่ยม ไทยทาน ๒๓ รูป นายยิ้ม มีเทศนาไตรบริขาร ๑ นายกลิ่น ไทยทาน ๕ รูป นายรอด ไทยทาน ๑๐ รูป หายโซด ไทยทาน ๑๐ รูป นายนุด ไทยทาน ๒๕ รูป นายสุ่น ผ้าขาว ๕๐ ศอก ๑ พับ นายแสงผ้าขาว ๒๔ ศอก ๓ พับ นายดำ ไทยทาน ๓๐ นายนาก ไทยทาน ๑๖ รูป นายรอง ไทยทาน ๕ รูป นายแพ ไทยทาน ๒๕ รูป นายจุ้ย ไทยทาน ๒๕ รูป นายแสง ผ้าขาว ๒๔ ศอก ๓ พับ ท้าววรจัน ผ้าขาว ๕๐ ศอก ๓ พับ นิ่ม มีเทศน์กัณฑ์ ๑ ไตรบริขาร ภู่ ไทยทาน ๒๐ รูป ม่วง ไทยทาน ๑๒ รูป ได้พากันทุกท่านทุกนาย นิมนต์พระสงฆ์พิจารณอสุภาพิจารณ พระมงคลเทพ พระปิฎกโกศล พระครูปลัดสัมพิพัฒนสุตาจารย์ พระวินัยธรรมเขียว พระธรรมคุต พระพุทธบาล พระครูพรหมศร พระครูธรรมกิจจานุรักษ์ พระครูพจนโกศล พระวุฒิการบดีได้จัดในการศพ สมเด็จพระวันรัตนพร้อมกัน ไปรักษาประจำอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนจนเสร็จงาน เพราะมีความกตัญญูในพระคุณที่ท่านได้สั่งสอนเป็นอาจารย์แลเป็นอุปัธยาจารย์มา สิ้นการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระวันรัตน (สมบุญ) แต่เพียงนี้


ขอขอบคุณ เพจเล่าเรื่อง...วัดบวรฯ (ที่มาข้อมูล/ภาพ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.596 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 17 พฤศจิกายน 2567 02:02:28