23 พฤศจิกายน 2567 17:41:08
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
นั่งเล่นหลังสวน
สุขใจ ไปเที่ยว
.:::
วิหารวัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ - ควรแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพุทธศาสนา
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: วิหารวัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ - ควรแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพุทธศาสนา (อ่าน 777 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5767
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 107.0.0.0
วิหารวัดบวกครกหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ - ควรแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพุทธศาสนา
«
เมื่อ:
30 ตุลาคม 2565 19:47:44 »
Tweet
ราวบันใดด้านหน้าวิหารหลวงทำเป็นรูปมกรคายนาค
ที่มีปากเหมือนจะงอยปากพญาครุฑ (หรือ ปากนกแก้ว) ดังนั้น ราวบันไดที่วัดบวกครกหลวงจึงได้ชื่อว่าแตกต่างจากวัดแห่งอื่นๆ
ซึ่งงดงามแปลกตามากและมีอยู่แห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นของดั้งเดิมมาแต่โบราณ เป็นการใช้ศิลปะสื่อคุณธรรมสามัคคี
แม้แต่นาคและครุฑที่เป็นปรปักษ์กัน เมื่อถึงคราวปฏิบัติศาสนกิจที่ตนปวารณาตนไว้แล้ว ก็ต้องละทิฏฐิเดิมเพื่อความสำเร็จในการ
ประกอบกิจกับพระศาสนา
วัดบวกครกหลวง
-
Wat Buak Krok Luang
ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
วัดบวกครกหลวง
เป็นวัดเก่าแก่ขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔ บ้านบวกครกหลวง หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๙๗ วัดแห่งนี้ไม่ปรากฏการก่อสร้างในเอกสารตำนานและพงศาวดารใดๆ แต่จากการสืบประวัติภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏพอจะประมาณได้ว่าอายุของวิหารนี้ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ ปี และมีประวัติการปฏิสังขรณ์วิหาร ว่า มีการบูรณะหลายครั้งในช่วงสมัยของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙ โดยเฉพาะในคราวที่เจ้าราชภาคิไนย (เจ้าน้อยสุริยฆาฏ) บิดาของเจ้าจามรีราชเทวี ชายาของเจ้าแก้วนวรัฐ ทำการบูรณะวิหารครั้งใหญ่ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่หน้าบัน ระบุปี พ.ศ.๒๔๖๘ และมีการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๙๘ มีการทำพื้นวิหารและซ่อมแซมโครงสร้างภายใน โดยซ่อมเสาวิหารซึ่งเป็นเสาไม้ขนาดคนโอบไม่รอบ ซึ่งผุและมีปลวกมากัดกิน จึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์แล้วเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ และได้เจาะผนังเพื่อทำเป็นช่องลมและหน้าต่าง ทำให้ภาพจิตรกรรมขาดหายไปบางส่วน
จากตำนานประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ กล่าวถึงลักษณะที่ตั้งของชุมชนบวกครกหลวงว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชียงใหม่ ระหว่างแอ่งที่ลุ่มลำน้ำปิงกับลำน้ำแม่คาว จนกลายเป็นที่มาของชื่อชุมชนและชื่อวัดในเวลาต่อมา แม้จะปรากฏหลักฐานจากคำบอกเล่าว่า เดิมชื่อของวัดแห่งนี้คือ “วัดม่วงคำ” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มักนิยมเรียกชื่อของวัดว่า “วัดบวกครกหลวง”
ส่วนชื่อที่ว่า
บวกครกหลวง
นี้เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า “
บวกครก
” แปลว่า
หลุม
คำว่า “
หลวง
” แปลว่า
ใหญ่
จึงอาจแปลได้ว่า วัดหลุมใหญ่ การตั้งชื่อวัดนั้นอาจจะตั้งตามชื่อหมู่บ้าน และชื่อหมู่บ้านก็อาจมีที่มาจากสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนที่มีลักษณะเป็นแอ่งอยู่ริมน้ำปิงและน้ำแม่คาวนั่นเอง หรืออีกนัยหนึ่ง ก่อน พ.ศ.๒๔๙๗ พระภิกษุที่จำพรรษาอยู่และพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญวัดแห่งนี้ จะใช้พระอุโบสถหลังเก่าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับที่ตั้งของวัดในการทำสังฆกรรมของสงฆ์ หรือแม้แต่การอุปสมบทพระภิกษุก็ตาม กระทั่งการพัฒนาทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป ชาวล้านนาสมัยนั้นเริ่มใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางมากขึ้น เจ้านายผู้ปกครองบ้านเมืองจึงได้สร้างถนนสายเชียงใหม่สันกำแพง จึงทำให้ผืนแผ่นดินที่บรรจบกันระหว่างบริเวณฝั่งที่ตั้งของวัดและบริเวณฝั่งที่ตั้งของอุโบสถแบ่งจากกันอยู่อีกฝั่งของถนนที่ตัดผ่าน เป็นเหตุให้พระภิกษุที่อยู่ฝั่งที่ตั้งของวัดและพุทธศาสนิกชนที่สูงอายุที่อยู่ฝั่งที่ตั้งของอุโบสถมีความลำบากในการเดินทางไปทำสังฆกรรมของสงฆ์และการบำเพ็ญบุญที่วัด จึงทำให้ต้องถอนพัทธสีมาที่อุโบสถแห่งนั้นมาสร้างในอาณาบริเวณของวัด และขอพระราชทานวิสุงคามสีมาอีกครั้ง โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๙๗
ส่วนพุทธศาสนิกชนอีกฝั่งหนึ่งนั้น ก็ร่วมกันคิดสร้างวัดขึ้นมาอีก ๑ วัด เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงขนานนาม ครั้นจะตั้งชื่ออื่นก็ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก จึงอิงชื่อนามของวัดบวกครก วัดเดิมที่เคยร่วมทำนุบำรุงเมื่อกาลก่อน มาเป็นชื่ออารามใหม่ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยให้วัดบวกครกเดิมนั้นเป็น “
วัดบวกครกหลวง
” และอารามใหม่ที่สร้างเป็น “
วัดบวกครกน้อย
” ดังที่เรียกขานกันในกาลปัจจุบัน
ความโดดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่วิหารทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้ และภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในวิหาร
วิหาร
มีลักษณะเป็นอาคารทึบแบบพื้นเมืองล้านนา ตกแต่งหลังคาด้วยช่อฟ้าและนาคสะดุ้งในรูปแบบมกรคายนาคด้วยกระจกสีอย่างสวยงาม ส่วนหน้าบันหน้าแหนบ โก่งคิ้ว และปีกนก แกะสลักรูปเทพพนมนั่งเหนือเมฆ เสาเขียนลายคำ ลูกกรงแต่งเป็นรูปเจดีย์ นาคทัณฑ์ที่ตกแต่งด้านหน้าทั้งสองข้างทำเป็นรูปหนุมานเหยียบเมฆ ส่วนอื่นๆ ตกแต่งเป็นลายเมฆไหล บันไดด้านหน้าประดับราวบันไดด้วยปูนปั้นรูปมกรคายนาค นาคนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ปากงุ้มเหมือนจะงอยปากนกแก้วหรือจะงอยปากครุฑ
ภายในวิหารยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง (หรือ ฮูปแต้ม ในภาษาพื้นเมืองเหนือ) ที่งดงามและยังคงสภาพดี เขียนโดยฝีมือช่างไต ชาวล้านนา เขียนเล่าเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาต จำนวน ๑๔ ห้องภาพ และมีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ จิตรกรรมฝาผนังในวัดบวกครกหลวง ไม่พบการเขียนทศชาติครบทั้งสิบพระชาติ แต่จะมีการเลือกมาเฉพาะตอนที่นิยมจำนวน ๖ พระชาติ คือ เตมิยชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก วิฑูรชาดก และเวสสันดรชาดก ความสวยงามของภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังวัดบวกครกหลวงได้รับการยกย่องจาก น. ณ ปากน้ำว่าเป็นภาพเขียนที่ใช้สีสันสดใสจัดจ้าน ท่าทีการใช้แปรงเหมือนกับภาพเขียนของอัครศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อย่างแวนโก๊ะ จิตรกรแนวอิมเพรสชั่น ชาวดัตซ์
สันนิษฐานว่าวัดและเสนาสนะวัดบวกครกหลวง อันได้แก่ วิหาร เป็นต้น น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาลงไป ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓ และหลังจากนั้นได้บูรณปฏิสังขรณ์มาเรื่อยๆ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากช่างได้วาดภาพเล่าถึงเรื่องราวของความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยนั้น ดังเช่น ภาพผนังที่ ๑๔ ในวิหารจะเห็นลักษณะการแต่งกาย การนุ่งห่มที่ถ่ายทอดมาเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง จะอยู่ในช่วงสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ระหว่างรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕)
ธรรมาสน์ทรงปราสาท
แม่เจ้าจามรีราชเทวี ชายาในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙
เป็นผู้สร้างถวายจากเงินที่แม่เจ้าให้นางคนใช้นำดอกไม้ในสวนหลวงมาร้อยเป็นมาลัย
ภายในวิหารมีธรรมมาสน์เทศน์ที่มีอายุเก่าแก่และสวยงามมาก ลักษณะเป็นรูปทรงปราสาทวิมานทองชาดก ธรรมาสน์หลังนี้แม่เจ้าจามรีราชเทวี ชายาในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ เป็นผู้สร้างถวายจากเงินที่แม่เจ้าให้นางคนใช้นำดอกไม้ในสวนหลวงมาร้อยเป็นมาลัย แล้วนำไปขาย พอได้เงินมาแม่เจ้าก็เก็บสะสมไว้จนพอที่จะให้ช่างไม้สร้างธรรมาสน์ได้ ธรรมมาสน์หลังนี้เป็นเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์ขึ้นเทศนาธรรมแก่ญาติโยม มีลักษณะที่ปกปิดมิดชิดเพื่อไม่ให้โยมเห็นอากัปกิริยาต่างๆ ของพระสงฆ์ขณะเทศน์ เพราะการเทศน์แบบล้านนาใช้พลังเสียงในการเทศน์สูงมาก จึงต้องมีเทคนิคในการเรียกพลังเสียงเฉพาะตนของพระ บางครั้งเป็นอาการที่ไม่สำรวมจึงมีการสร้างธรรมาสน์เทศน์แบบปกปิดมิดชิด หรืออีกนัยหนึ่งเพื่อป้องกันอาการอันไม่สำรวมของพระภิกษุ เพราะธรรมมาสน์อยู่ในระดับสูงมาก หากไม่มีฝาปิดกั้นอาจทำให้เห็นอาการของผู้ฟังเทศน์หรืออุบาสิกาที่ไม่สำรวมบางอย่าง ปัจจุบัน พระสงฆ์สามเณรภายในวัดยังใช้ธรรมาสน์หลังนี้เทศในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี
ความงดงามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ของวิหารวัดบวกครกหลวง ควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้สถิตในบวรพระพุทธศาสนายิ่ง
มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืนบนไหล่เทวดา
องค์ประกอบของวิหาร
ปั้นลมเป็นนาคลำยอง หางหงส์ทำเป็นหัวนาค หน้าบันเป็นไม้แกะสลักเป็นลายก้านขดปิดทองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายฝาปะกน
มุมวิหารทำเป็นปูนปั้นรูปเทพพนมยืน เครื่องบนของเพดานเปิดให้เป็นโครงสร้างไม้และเสารับน้ำหนักของหลังคา ผนังก่ออิฐถือปูน
สูงถึงคอสอง วิหารนี้มีประตูด้านข้างทำเป็นมุขยื่นออกมา ด้านหน้าวิหารทำประตูไม้แกะสลักปิดทอง
บันได นาคปากครุฑ
บันไดนาค
ลักษณะราวบันใดที่ด้านหน้าวิหารหลวง โบราณสำคัญภายในวัด ทำเป็นรูปมกรคายนาค ที่มีปากเหมือนจะงอยปากพญาครุฑ (บ้างเรียกว่า ปากนกแก้ว) ดังนั้น ราวบันไดที่วัดบวกครกหลวงจึงได้ชื่อว่าแตกต่างจากวัดแห่งอื่นๆ ซึ่งงดงามแปลกตามาก
และมีอยู่แห่งเดียวในจังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นของดั้งเดิมแต่โบราณมา
คำอธิบายเพิ่มเติม
มกร
หมายถึง งูใหญ่, สัตว์ในเทพนิยายของชาวจีน
พญานาค
หมายถึง พญางูใหญ่ลักษณะลำตัวเป็นเกล็ดและมีหงอน บางตำรากล่าวว่าเป็นพวกกายทิพย์ สามารถกลับเพศเป็นมนุษย์ได้
พญาครุฑ
หมายถึง พญานกใหญ่ บางตำนานกล่าวว่าเป็นพวกกายทิพย์ สามารถกลับเพศเป็นมนุษย์ได้ มักกินสัตว์เลื้อยคลานเป็นอาหาร
การสร้างนาคที่ราวบันใดวัดบวกครกหลวงนี้ เป็นการใช้ศิลปะสื่อคุณธรรมสามัคคี แม้แต่นาคและครุฑที่เป็นปรปักษ์กัน เมื่อถึงคราวปฏิบัติศาสนกิจที่ตนปวารณาตนไว้แล้ว ก็ต้องละทิฏฐิเดิมเพื่อความสำเร็จในการประกอบกิจกับพระศาสนาดังที่เห็นรูปนาคปากครุฑ (ปากนกแก้ว) ราวบันไดในปัจจุบัน
หอไตร
ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวิหาร ลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารไม้ รูปแบบเป็นทรงสถาปัตยกรรมล้านนา
บูรณะครั้งล่าสุด พ.ศ.๒๕๔๕ ใช้เป็นสถานที่จัดเก็บ รวบรวมคัมภีร์ใบลาน ปกิณะธรรม พระสูตรและชาดกต่างๆ ที่อรรถกถาจารย์ในอดีตได้รจนาไว้
อีกส่วนหนึ่งเป็นคัมภีร์ใบลานจารึกเรื่องราวต่างๆ
อุโบสถ
ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวิหาร รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างขึ้นก่อน พ.ศ.๒๔๙๓ หลังจากถอนพัทธสีมาอุโบสถหลังเก่าที่อยู่อีกฝั่งตรงข้ามถนน
เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีอุปสมบทพระภิกษุให้แก่กุลบุตรผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาและใช้สำหรับทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์ภายในวัด เช่น
สวดปาฏิโมกข์ในช่วงฤดูเข้าพรรษา และกรานกฐิน (สวดให้ผ้ากฐินหลังจากรับกฐินแล้ว)
ผนังเต็มห้อง พุทธประวัติ ตอนเจ้าชายสิทธัตถะพบเทวทูตทั้งสี่ ตอนการสละอันยิ่งใหญ่ และตอนออกมหาภิเนษกรมณ์
เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบข่าวว่า พระนางยโสธราพิมพาประสูติพระราชโอรส คือพระราหุล
พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยออกบวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นในคืนนั้น
ความวิจิตรบรรจงของศิลปินผู้วาดภาพ มีการใช้
สีทอง
แต่งแต้มลวดลาย ทำให้ภาพทรงค่ายื่ง
ภาพแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ไทใหญ่หรือไต จีน ที่อยู่ในล้านนาในขณะนั้น
ภาพแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ไทใหญ่หรือไต จีน ที่อยู่ในล้านนาในขณะนั้น
ภาพแสดงให้เห็นความเกี่ยวเนื่องของชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ไทใหญ่หรือไต จีน ที่อยู่ในล้านนาในขณะนั้น
การซ่อมแซมเสาวิหารซึ่งเป็นเสาไม้ขนาดคนโอบไม่รอบ ต่อมาได้ผุและมีปลวกมากัดกิน
จึงได้ตัดเสาที่ติดกับพื้นซีเมนต์แล้วเทปูนทับเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ
ที่มาข้อมูล :-
-
ประวัติและตำนานวัดบวกครกหลวง
วัดบวกครกหลวงจัดพิมพ์เผยแพร่ เนื่องในโอกาสฉลองสมโภชอุโบสถวัดบวกครกหลวง ๑-๔ มีนาคม ๒๕๕๐
- วัดบวกครกหลวง โดย กรมศิลปากร
- วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2565 20:35:53 โดย Kimleng
»
บันทึกการเข้า
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ
เริ่มโดย
ตอบ
อ่าน
กระทู้ล่าสุด
วัดอุโมงค์และสวนพุทธธรรม ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
wondermay
4
8898
22 เมษายน 2554 22:23:27
โดย
หมีงงในพงหญ้า
งานยี่เป็ง วัดพันเตา และภาพชุดขบวนแห่งานยี่เป็ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng
1
11590
25 พฤศจิกายน 2557 16:13:39
โดย
Kimleng
พระธาตุเจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng
1
3144
24 ตุลาคม 2563 16:49:14
โดย
Kimleng
พระเทพวิสุทธิคุณ (กุศล คันธวโร) วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ
0
1159
21 พฤศจิกายน 2561 15:07:29
โดย
ใบบุญ
วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
สุขใจ ไปเที่ยว
Kimleng
0
1518
16 มิถุนายน 2563 13:48:24
โดย
Kimleng
กำลังโหลด...