สานพลังภาคีขับเคลื่อน 'อาหาร-สุขภาพ-มนุษย์-ทรัพยากรธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม' สู่ภาคใต้แห่งความสุขยั่งยืน
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-08-09 19:58</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>“สร้างสุขภาคใต้” ครั้งที่ 13 สสส. ผนึกกำลัง สช. สานพลังภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ขับเคลื่อน 4 ประเด็น อาหาร-สุขภาพ-มนุษย์-ทรัพยากรธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม เดินหน้าแก้ปัญหาผลกระทบทางสุขภาพ สู่การเป็นภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืน</p>
<p>9 ส.ค. 2566 รายงานข่าวแจ้งว่าวันนี้ (9 ส.ค.66) ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จ.สงขลา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ และภาคีเครือข่ายภาคใต้ จัดงาน “ภาคใต้แห่งความสุข” ครั้งที่ 13 เพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ และการประชุมประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน: โอกาส และความท้าทาย</p>
<p>สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า 22 ปี ที่ผ่านมา สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง การริเริ่มการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ เกิดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ให้โอกาสในการสานพลังภาคีเครือข่าย สสส. ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำผลงานที่ขับเคลื่อนยกระดับเข้าสู่กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยใช้กลไก ทุน ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ จนเกิดเป็นเป้าหมายความมั่นคงใน 4 ประเด็น 1. อาหาร 2. สุขภาพ 3. มนุษย์ 4. ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเวทีในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก สช.ในร่วมจัดประชุมวิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพฯ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สนับสนุนงานภาคีเครือข่ายต่อไป</p>
<p>“ในยุคปัจจุบันที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต้องสานพลังความร่วมมือการทำงานกับทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นแนวทางการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามนโยบายของ สสส. ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งด้านความรู้ การสื่อสาร และการจัดการ ส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการหนุนเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาสุขภาพ ตลอดจนร่วมสร้างค่านิยม ผลักดันนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน” สุปรีดา กล่าว</p>
<p>สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สช. สนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ HIA ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในประเด็นต่างๆ ที่หลากหลาย ทันสมัย และเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติผลงานที่เข้าร่วม ตลอดจนเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สำหรับครั้งนี้เป็นการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อสุขภาวะแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน โอกาส และความท้าทาย โดย สสส. มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ที่จะร่วมขับเคลื่อนสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนไปด้วยกัน สนับสนุนให้บุคคลทั่วไปในการผลิต เผยแพร่ นำเสนอ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข่าวสาร ประสบการณ์การทำงาน งานวิจัยด้านการประเมินผลกระทบของไทย</p>
<p>พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ม.สงขลานครินทร์ ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งประเทศ ขับเคลื่อนงานร่วมกับ สสส. สช. สปสช. อย่างต่อเนื่องในการปฏิรูประบบสุขภาพของไทย โดยใช้กลไกเครือข่ายทั้งภาคชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน พัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพ และใช้เครื่องมือสำคัญใน พรบ. สุขภาพแห่งชาติ โดยงานสร้างสุขภาคใต้ เป็นงานที่บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนมากว่า 17 ปี จัดงานครั้งนี้เป็นครั้งที่ 13 ใน 5 ครั้งที่ผ่านมาเป็นการจัดประชุมวิชาการผนวกร่วมกับการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ เพื่อให้เห็นว่า ความรู้ ปัญญา เป็นฐานสำคัญ โดยเฉพาะครั้งนี้มีการประชุมวิชาการ HIA ระดับชาติมาร่วมด้วย เป็นการยกระดับ พัฒนาขับเคลื่อนสุขภาวะของคนใต้ อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
<p>เศรษฐ์ อัลยุฟรี ประธานคณะทำงานการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 กล่าวว่า สสส. โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์ และวิเทศสัมพันธ์ ได้สนับสนุนให้สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.สงขลานครินทร์ เป็นหน่วยประสานหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ในพื้นที่ภาคใต้ขับเคลื่อนงาน จัดงานสร้างสุขภาคใต้อย่างต่อเนื่องถึง 12 ครั้ง เพื่อสุขภาวะมาอย่างต่อเนื่อง เกิดกลุ่ม องค์กรชุมชน เครือข่าย และภาคีความร่วมมือต่างๆ หลากหลายประเด็น และมีองค์กรภาคีเครือข่ายสุขภาวะกระจายตัวอยู่ในแต่ละจังหวัดเป็นจำนวนมาก พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ชุดความรู้ นวัตกรรม ข้อตกลงร่วมกัน สู่พื้นที่ต้นแบบอย่างเป็นรูปธรรมระดับพื้นที่ ในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 เป็นการยกระดับข้อเสนอเชิงนโยบายภาคใต้ 4 ประเด็น สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน พัฒนานโยบายสาธารณะ เชื่อมโยงเครือข่าย สาน เสริมพลัง ผลักดัน และยกระดับข้อเสนอเชิงนโยบาย สู่การขยายผลรูปธรรมความสำเร็จจากการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัด และภาคใต้</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105387