[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 ธันวาคม 2567 08:45:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไส้กรอกอีสาน กับวัฒนธรรมการกินแบบ “มี” น้ำจิ้ม กับ “ไม่มี” น้ำจิ้ม  (อ่าน 344 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2492


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 กันยายน 2566 14:22:18 »



ไส้กรอกอีสาน (ภาพโดย คุณบรรจง, Facebook : Banchong Homkhun)

ไส้กรอกอีสาน กับวัฒนธรรมการกินแบบ “มี” น้ำจิ้ม กับ “ไม่มี” น้ำจิ้ม

ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - เว็บไซต์ ศิลปวัฒนธรรม วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ.2566


ไส้กรอกอีสาน” คือ มรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอาหารการกินจากภาคอีสาน ซึ่งคล้ายกับ “ไส้อั่ว” ของภาคเหนือ เป็นการถนอมอาหารและแปรรูปเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย นิยมรับประทานกันแทบทุกพื้นที่และหาได้ง่ายมาก เพราะมีขายทั่วไป แม้แต่คนภูมิภาคอื่นก็หารับประทานได้ไม่ยาก เพราะมีพ่อค้าแม่ค้าขายไส้กรอกอีสานกระจายอยู่แทบทุกพื้นที่ในประเทศไทย เมนูนี้ยังเคยถูกจัดอันดับให้ติด 1 ใน 50 รายชื่ออาหารข้างทางที่ดีที่สุดในเอเชีย (50 of the best street foods in Asia) ของ CNN Travel เมื่อ พ.ศ.2565 โดยอาหารไทยที่ติดโผ ประกอบด้วย ไข่เจียวปู ข้าวซอย และไส้กรอกอีสาน

ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ไส้กรอกอีสาน กลายเป็นประเด็นถกเถียงในโลกออนไลน์ เมื่อมีคนอีสานตั้งคำถามถึงไส้กรอก “ต่างถิ่น” ว่า เหตุใดไม่ใส่น้ำจิ้ม นำไปสู่ประเด็นคำถามว่าแท้จริงแล้วไส้กรอกอีสานต้องกินกับน้ำจิ้ม หรือ “ไม่จิ้ม” อะไรทั้งนั้น?

ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับ “ไส้กรอกอีสาน” พจนานุกรมไทย ฉบับ พ.ศ.2543 โดย มานิต มานิตเจริญ ให้ความหมาย “ไส้กรอก” ว่า “น. อาหารคาวชนิดหนึ่ง เอาเครื่องปรุง เช่น เนื้อสับ ฯลฯ ยัดใส่ในไส้หมูหรือหนังบาง ๆ ที่ทำอย่างไส้ ยัดแน่น สุกแล้วตัดเป็นแว่น ๆ หรือเป็นท่อนได้ ไม่กระจายออก”

ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ไม่ได้บรรจุหรืออธิบายความหมายโดยตรง มีเพียงคำว่า “ไส้กรอก” ที่ให้ความหมายว่า “น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง เอาเนื้อสัตว์หรือข้าวสุกผสมเครื่องปรุงยัดในไส้หมูเป็นต้น”

ขณะที่สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน อธิบายถึง “ไส้กรอกหมู” พร้อมระบุเครื่องปรุง วิธีทำ และข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ไส้กรอกถ้าเก็บไว้ 2-3 วันจึงย่าง หรืออบ ทอด จะมีรสเปรี้ยว เพิ่มความอร่อยยิ่งขึ้น”

และ “ไส้กรอกเป็นอาหารหมัก ออกรสเปรี้ยว รับประทานโดยการทำให้สุก ไส้กรอกมีทั้งไส้กรอกหมู ไส้กรอกเนื้อ และตับ ที่เรียกว่า หม่ำ เมื่อทำเสร็จแล้ว 2-3 วัน ไส้กรอกจะมีรสเปรี้ยวและเค็มชวนรับประทาน”

จะเห็นว่า ข้อมูลลายลักษณ์อักษรเหล่านี้ไม่มีการกล่าวถึง “วิธีกิน” ไส้กรอกอีสานพร้อม “น้ำจิ้ม” แต่อย่างใด กระนั้นก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้หรือบทพิสูจน์ว่า ไส้กรอกอีสานไม่ต้องกินคู่น้ำจิ้ม เพราะเนื้อหาข้างต้นก็ไม่ได้กล่าวถึงการกินพร้อม “ผัก” อย่าง แตงกวา กะหล่ำปลี พริก หรือขิงดองหั่น ที่เรากินคู่ไส้กรอกอีสานด้วยซ้ำ ทั้งที่เครื่องแนมเหล่านี้ล้วนนิยมกินคู่กับไส้กรอกอีสานในทุกภูมิภาค และทุกวัฒนธรรมการกิน (มีน้ำจิ้ม กับ ไม่มีน้ำจิ้ม)

ผู้เขียนเองเป็นคนอีสานที่อยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมการกินไส้กรอกอีสาน แบบ “มีน้ำจิ้ม” และคุ้นเคยกับไส้กรอกร้อน ๆ ที่ราดน้ำจิ้มก่อนกินมาตั้งแต่จำความได้ ก่อนจะพบว่า “คนกรุงฯ” และหลายพื้นที่ทั้งในภาคอีสานและต่างภูมิภาคไม่มีวัฒนธรรมการกินไส้กรอกพร้อมน้ำจิ้มอย่างที่เคยเข้าใจเสมอมา และเมื่อได้สอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ พบว่าในรุ่นคุณตา-คุณยายอายุ 60-70 ปีแถวบ้าน (อ. ชุมแพ จ.ขอนแก่น) ก็คุ้นเคยกับไส้กรอกราดน้ำจิ้มมาตั้งแต่จำความได้แล้ว ส่วนบรรดาแม่ค้าในตลาดให้ข้อมูลว่า วัฒนธรรมน้ำจิ้มไส้กรอกน่าจะมีราว ๆ 30-40 ปีให้หลัง ไม่น่าถึง 70 ปี โดยพบในไส้กรอกลูกเล็ก ๆ กลม ๆ ที่เรียกว่า “ไส้กรอกข้าว” เพราะมีข้าวเป็นส่วนผสมในสัดส่วนที่มากกว่าไส้กรอกอีสานแบบแท่งยาว ๆ นั่นเอง

จึงขออนุญาตเผยแพร่ “สูตรน้ำจิ้ม” จากแม่ค้าแถวบ้านย่านตลาด ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาต้องขอวิสาสะตัดสินว่าน้ำจิ้มไส้กรอกที่เคยกินมีรสชาติที่ค่อนข้างเสถียรหรือใกล้เคียงกัน และอนุมานได้ว่า ทุกเจ้าต่างมีสูตรการทำน้ำจิ้มคล้ายกันมาก ๆ โดยมีส่วนผสม ดังนี้

1. น้ำ 1 ลิตร

2. น้ำมะขามเปียก 1 ถ้วย

3. เกลือ 1-2 ช้อนโต๊ะ

4. แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ

5. น้ำตาลทราย 0.5 กิโลกรัม

6. พริกป่น แล้วแต่ความนิยมของว่าชอบเผ็ดมาก-น้อย

ส่วนวิธีทำก็ไม่ซับซ้อน คือต้มเครื่องปรุงทั้งหลาย ได้แก่ น้ำมะขาม เกลือ น้ำตาล และแป้งมัน ในน้ำร้อน เคี่ยวให้เข้ากัน จากนั้นรอให้น้ำเย็นแล้วจึงใส่พริกป่นลงไป ได้น้ำจิ้มไส้กรอกอีสานรสชาติเผ็ดนิด เปรี้ยวหน่อย แต่หวานเด่น ทานกับไส้กรอกอีสานที่รสชาติเปรี้ยวอมเค็มอย่างลงตัว พร้อมผักแนมนานาชนิดสำหรับคนรักสุขภาพ

สำหรับประเด็นถกเถียงของคนจากหลากหลายพื้นที่เรื่องน้ำจิ้มกับไม่มีน้ำจิ้ม ต้องยอมรับว่าความเห็นเรื่องนี้ “เสียงแตก” อยู่ไม่น้อย แต่พอจะสรุปอย่างไม่เป็นทางการได้ว่า วัฒนธรรมการกินไส้กรอกอีสานพร้อมน้ำจิ้มนั้นพบได้ใน “บางส่วน” ของภาคอีสาน หรือร้านไส้กรอกของคนอีสาน (แล้วไปอยู่ต่างพื้นที่) ขณะเดียวกันมีคนจำนวนไม่น้อยจากหลายพื้นที่ใน 20 จังหวัดภาคอีสานที่กินไส้กรอกอีสานแบบ “ไม่มีน้ำจิ้ม” ซึ่งไม่ใช่เรื่องของความ “ถูก-ผิด” หากแต่เป็นความนิยมและความหลากหลายของวัฒนธรรมการกินเมนูนี้… แล้วท่านผู้อ่านล่ะ เคยกินไส้กรอกอีสานแบบไหน?



ไส้กรอกอีสาน
(ภาพโดย คุณบรรจง แม่ค้าขายไส้กรอกอีสาน อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ, Facebook : Banchong Homkhun)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.349 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 22 พฤศจิกายน 2567 12:25:10