ครม. เห็นชอบมาตรการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี-แผนบริหารหนี้สาธารณะ ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้าน
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-09-26 19:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ครม. เห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี กลุ่มเป้าหมาย 2.7 ล้านราย ยืม ธ.ก.ส. 1.1 หมื่นล้านบาท/ปี - เห็นชอบแผนบริหารหนี้สาธารณะ ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้านบาท ย้ำหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 70 ของจีดีพี - คลัง เสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต สัปดาห์หน้า </p>
<p>26 ก.ย. 2566 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาลเฟส 1 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” พักชำระหนี้เกษตรกร 3 ปี รัฐบาลรับภาระหนี้ดอกเบี้ยแทนเกษตรกร 1.1 หมื่นล้านบาทต่อปี ด้วยการให้ ธ.ก.ส. สำรองออกไปก่อน ตาม ม. 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ประกอบด้วย</p>
<p>1. มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย 2.7 ล้านราย สำหรับผู้เป็นหนี้ ณ 30 ก.ย. 2566 วงเงินไม่เกิน 300,000 บาท ให้สิทธิกับผู้เป็นหนี้ปกติ หรือเป็นหนี้ค้างชำระ (NPLs) ได้รับสิทธิ์พักชำระหนี้ เฟสแรก เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567 เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ต้องการรับสิทธิ์ ให้ยืนยันตัวตนเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 ถึง 31 ม.ค. 2567 สมัครร่วมโครงการเป็นเวลา 4 เดือน ในส่วนลูกหนี้ NPLs เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ ต้องปรับปรุงโครงสร้างหนี้จนกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนาดีในการชำระหนี้ นับเป็นมาตรการสมัครใจ ไม่ได้พักหนี้ให้กับทุกคน เพื่อให้ผู้ต้องการพักหนี้สมัครใจเข้ามาร่วมโครงการ ไม่ใช่พักหนี้แล้วหายไปในช่วง 3 ปี</p>
<p>2. การพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส. โดยยึดหลัก “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อบรรเทาภาระหนี้สินเกษตรกร ร่วมกับหลายหน่วยงาน ควบคู่ขนานไปกับมาตรการพักชำระหนี้ เพื่อโอกาสให้เกษตรกรนำเงินไปลงทุนปรับเปลี่ยนหรือขยายการประกอบอาชีพ ผ่าน การฝึกอบรมอาชีพเกษตรกร ทั้งการหาตลาดใหม่ หันมาใช้เทคโนโลยี พัฒนาคุณภาพการเพาะปลูก การส่งเสริมวินัยการเงิน</p>
<p>สำหรับมาตรการพักชำระหนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มีแบงก์รัฐหลายแห่งเกี่ยวข้องด้วย จะเร่งสรุปแนวทางในการดูแลเพิ่มเติมเร็วๆ นี้ หลังจาก ครม. รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดมาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยมีนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดมาตรการในการพักชำระหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขสถานการณ์หนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs</p>
<p>นายฉัตรชัย ศิริไล ได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า การพักหนี้ครั้งนี้ แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา จึงกำหนดลูกหนี้ ธ.ก.ส. ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ยืนยันตัวตนทั้งสาขาในพื้นที่ หรือจุดนัดพบในท้องถิ่น เพื่อเลือกแนวทางการพักหนี้ ผ่าน BAAC Mobile เพื่อให้เกษตรกรหันมาใช้แอปผ่านออนไลน์มากขึ้น เมื่อพักหนี้ มีภาระหนี้ลดลง หากใครต้องการขยายอาชีพ ธ.ก.ส. พร้อมปล่อยกู้เพิ่มเติมจากสินเชื่อโครงการเดิมที่มีอยู่ ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อราย หรือสินเชื่ออื่นๆเพิ่มเติม คาดว่าเมื่อช่วยพัฒนาภาระหนี้ จะทำให้หนี้ NPL ของ ธ.ก.ส. จากร้อยละ 7.8 มูลหนี้ 3.6 หมื่นล้านบาท ลดเหลือร้อยละ 5.5 ในสิ้นปีบัญชี หรือสิ้นเดือน มี.ค. 2567</p>
<h2><span style="color:#3498db;">เห็นชอบแผนบริหารหนี้สาธารณะ ก่อหนี้ใหม่ 1.94 แสนล้านบาท ย้ำหนี้สาธารณะไม่เกินร้อยละ 70 ของจีดีพี</span></h2>
<p>นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2567 1. ก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 194,434 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2566 โดยขยายเวลากู้เงินออกไป สำหรับการเบิกจ่ายกันเหลื่อมปี วงเงิน 40,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของรัฐวิสาหกิจ</p>
<p>2. แผนการบริหารหนี้เดิม ส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ 2567 </p>
<p>3. แผนการชำระหนี้ ประกอบด้วย แผนการชำระหนี้ของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหนี้หน่วยงานของรัฐ จากงบประมาณปี 2567 วงเงิน 336,807 ล้านบาท และแผนการชำระหนี้จากแหล่งเงินอื่นๆ วงเงิน 53,731 ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ณ สิ้นปีงบประมาณ 2567 จากการดำเนินการตามแผนฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ยังอยู่ในกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดที่ไม่เกินร้อยละ 70</p>
<p>โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 มีรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการต่ำกว่า 1 เท่า สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยขอให้ รฟท. และ ขสมก. เร่งรัดตามแผนฟื้นฟูกิจการ และขอให้ รฟท. และ ขสมก. รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของหน่วยงานต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อทราบต่อไป</p>
<h2><span style="color:#3498db;">คลัง เสนอ ครม. ตั้งคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ต สัปดาห์หน้า </span></h2>
<p>นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าเตรียมเสนอ ครม. อังคารหน้า พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตแจกเงิน 1 หมื่นบาท โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หลายกระทรวง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ จึงต้องมีหลายฝ่ายร่วมทำงาน ทำการศึกษา รับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายอย่างรอบคอบ รัดกุม เพื่อให้การกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้เห็นผล ภายใต้การยึดหลักวินัยการเงินการคลัง ยืนยืนเริ่มโครงการ 1 ก.พ. 2567 เป็นต้นไป</p>
<p> </p>
<p><span style="color:#3498db;">ที่มาเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย </span>
<span style="color:#3498db;">[1]</span><span style="color:#3498db;"> </span>
<span style="color:#3498db;">[2]</span><span style="color:#3498db;"> </span>
<span style="color:#3498db;">[3]</span></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข