เชียงใหม่จัดนิทรรศการ ‘4 ปีการต่อสู้และเสียงคนอมก๋อย’ เรียกร้องรัฐบาลใหม่ปลดระวางถ่านหิน
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-09-26 17:11</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p><span style="color:#e67e22;">ภาพ วชิรญาณ์ วิรัชบุญญากร</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เชียงใหม่จัด ‘Omkoi Coal or Home นิทรรศการ 4 ปีการต่อสู้และเสียงคนอมก๋อย’ ที่ร่วมคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย ชี้ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตคนอมก๋อยและคนกะเบอะดินาหากมีเหมืองในพื้นที่ เรียกร้องรัฐบาลใหม่ปลดระวางถ่านหิน</p>
<p> </p>
<p>26 ก.ย. 2566 เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา กรีนพีซ ประเทศไทย, กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์, EarthRights International, ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, กลุ่ม สม-ดุล เชียงใหม่, คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดงาน ‘Omkoi Coal or Home นิทรรศการ 4 ปีการต่อสู้และเสียงคนอมก๋อย’ ที่ลานหน้าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อทบทวนการต่อสู้ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาของชาวอมก๋อย สร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อสาธารณชนถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีโครงการ เหมืองถ่านหินขึ้นที่ตำบลกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่และเรียกร้องรัฐบาลใหม่ฟังเสียงชุมชน ยกเลิกโครงการเหมืองถ่านหินในทันที</p>
<p>ในงานมีการเปิดเผยข้อมูลจากรายงานวิจัย ‘อมก๋อย แหล่งอากาศดีที่อาจสิ้นสูญ: แผนที่ความเสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศกรณีดำเนินโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย’ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกรีนพีซ ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นครั้งแรก โดยระบุว่าหากมีโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อยเกิดขึ้น ชุมชนกะเบอะดินและชุมชนโดย รอบที่ดำรงชีวิตด้วยเกษตรกรรมแบบพึ่งพิงธรรมชาติจะเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงด้านมลพิษทางอากาศและน้ำที่อาจเกิดขึ้นต่อพื้นที่ทำเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214603961_48341d0961_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214995154_a1617a769d_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214995064_025e2b99bc_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214995229_f1f05d4b25_b.jpg" /></p>
<p>รายงานดังกล่าวใช้แบบจำลอง AERMOD เพื่อประเมินการสะสมของมลพิษทางอากาศ และคาดการณ์ความเสี่ยงต่อสุขภาพว่าโครงการเหมืองถ่านหินจะทำให้เกิดการ ฟุ้งกระจายของฝุ่น PM2.5 และ PM10 ในบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังรุนแรงต่อผู้ปฏิบัติงานบริเวณโครงการเหมืองแร่ ถ่านหินอมก๋อย และชุมชนที่ใช้พื้นที่เกษตรกรรมรอบโครงการ นอกจากนี้ ที่ดินทำกินและพืชผลทางการเกษตรอาจมีผลกระทบจากไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ใน ระดับที่จะส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และจากการตกสะสมของฝุ่นที่พาโลหะและกึ่งโลหะพิษ เช่น สารหนู (As) และ ตะกั่ว (Pb) มาตกสะสมในดิน รวมถึงความเสี่ยงการปนเปื้อนของปรอทในแหล่งน้ำหลักของชุมชนอมก๋อยอย่างห้วยผาขาวและห้วยอ่างขาง</p>
<p>“โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จากจำนวนวันที่มีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 และ PM10 เกินค่าที่ยอมรับได้ถึง 200 วันใน 1 ปี และส่ง ผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินพื้นที่เกษตรกรรมจากการตกสะสมของกรดจากไนโตรเจนออกไซด์ (NO2) รวมทั้งความเสี่ยงจากการบริโภคปลาปนเปื้อนปรอท อาจจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก โครงการวิจัยนี้ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่ครบถ้วนของการประเมินผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในรายงาน วิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ฉบับที่ได้รับความเห็นชอบไปแล้ว ซึ่งไม่มีการประเมินความเสี่ยงจากสถานการณ์การปลดปล่อยมลพิษที่เป็นไปได้เหล่านี้ และยังไม่มีการประเมินสภาพการตามธรรมชาติของการปนเปื้อนโลหะและกึ่งโลหะพิษในพื้นที่เกษตรกรรม จึงไม่สามารถสร้างแผนที่ความเสี่ยงเพื่อเป็นข้อมูลให้ชุมชน และผู้อนุมัติอนุญาตมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ ทำให้ EIA ดังกล่าวไม่สามารถทำหน้าที่ทางวิชาการตามกฎหมายได้” รศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ มหาวิทยาลัย นเรศวร กล่าว</p>
<p>โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อยเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2530 ที่บริษัทเอกชนขอซื้อที่ดินในหมู่ 12 บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย ในปี 2543 มีการขอจดทะเบียนประทานบัตรทำ เหมืองแร่ตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2543 หลังจากนั้นในปี 2553 ได้มีการศึกษาจัดทำรายงาน และนำเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อสำนัก นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในปี 2561 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ได้ปิดประกาศเพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบว่าได้มีการ ขอประทานบัตรโครงการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนกะเบอะดินตื่นตัวและเริ่มต่อสู้ปกป้องวิถีชีวิต ทรัพยากรและเศรษฐกิจของชุมชนที่พึ่งพาการมีอยู่ของระบบนิเวศที่ หลากหลายของชนเผ่าพื้นเมืองจากการเข้ามาของโครงการเหมืองถ่านหิน รวมทั้งภาคประชาสังคมที่พร้อมใจกันปกป้องอมก๋อยเช่นกัน อาทิผู้คนที่ร่วมเปล่งเสียงเหล่านี้</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214995284_37cf06ec99_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53215119550_eb096d1abf_b.jpg" /></p>
<p>“4 ปีที่ผ่านมา เราต่อสู้ตามสิทธิของตัวเองและสู้เพื่อชุมชนของเรา เราคิดว่าไม่ควรมีชุมชนไหนควรได้รับผลกระทบจากถ่านหินหรือการพัฒนาของรัฐที่ไม่คำนึงถึงผลก ระทบที่จะเกิดขึ้น รัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุนควรเข้าใจบริบทชุมชน วิถีชุมชน และคำนึงถึงตัวชุมชนมากๆ และไม่เอาเปรียบชาวบ้าน สำหรับ 4 ปีที่ผ่านมา เรา แลกมาเยอะเลยค่ะ เราต้องมีบทบาทหน้าที่หรือภารกิจเพื่อจะหยุดยั้งการทำเหมืองแร่ถ่านหิน ทั้งการทำข้อมูล การสร้างความเข้าใจ การเดินทางไม่หยุดหย่อน และ เสียโอกาสที่จะได้ใช้ชีวิตประจำวันของเราไป” พรชิตา ฟ้าประทานไพร เยาวชนจากหมู่บ้านกะเบอะดิน</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214995034_16fd52964d_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214603991_864b62150c_b.jpg" /></p>
<p>“ผมอยากฝากเตือนว่าการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนรอบนี้ มันไม่ใช่แค่การเมืองเลือกตั้ง ชุมชนที่ลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 1-2 ปี ที่ผ่านมา จะเห็นว่าชาวบ้านรู้สิทธิของตัวเองมากขึ้น เขาพร้อมที่จะเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมาแชร์กระบวนการตัดสินใจของรัฐในทุกพื้นที่และเกิดขึ้นถี่ขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลต้องตระหนักถึงจุดนี้ว่าในทุกโครงการควรเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใส ให้ประโยชน์ตกอยู่กับประชาชนจริงๆ ในทุกมิติถึงจะขับเคลื่อนประเทศไปได้ ถ้าปิดกั้นจะยิ่งนำไปสู่ความขัดแย้งมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคม” สุมิตรชัย หัตถสาร ผู้อำนวยการศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214913218_5e29066ebf_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53214995279_d17cdebd79_b.jpg" /></p>
<p>“การเดินหน้าโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย อาจเปลี่ยนเชียงใหม่จากเมืองที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ให้เป็นเมืองปลดปล่อยมลพิษแห่งใหม่ ทั้งสารพิษ และโลหะหนักต่างๆ สู่อากาศ ผืนดิน และแหล่งน้ำ ส่งผลต่อต้นทุนชีวิตของทุกคน แต่รัฐบาลใหม่ยังคงเพิกเฉยในการประกาศปลดระวางถ่านหิน ทั้งที่มีการศึกษาชี้ว่าประเทศไทยสามารถเลิกใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าและเลิกนำเข้าไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินได้อย่างเร็วที่สุด ภายในปี 2570 หรืออย่างช้าที่สุดภายในปี 2580 เราจึงอยาก เห็นการประกาศปลดระวางถ่านหิน ซึ่งการประกาศนี้จะสะท้อนเจตจำนงทางการเมืองที่จะปกป้องสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดประชาธิปไตยทางพลังงานของรัฐบาล” พีรณัฐ วัฒนเสน นักรณรงค์ด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม กรีนพีซ ประเทศไทย</p>
<p>ภายในงาน ‘Omkoi Coal or Home นิทรรศการ 4 ปีการต่อสู้และเสียงคนอมก๋อย’ ยังมีกิจกรรมศิลปะการแสดง กิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมของคนอมก๋อยผ่าน ภาพถ่าย ดนตรีภาพยนตร์ยำมะเขือส้มสูตรเด็ด การทอล์ค ‘ #ฮักเจียงใหม่บ่เอาถ่านหิน สิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีส่วนร่วมที่หายไป’ และการ แสดงจุดยืนไม่ต้องการเหมืองถ่านหินผ่านกิจกรรมสู่ขวัญ #ฟาดฝุ่น ประติมากรรมช้างเปรอะเปื้อนด้วยมลพิษสีดำ สัญลักษณ์ของแคมเปญ #ฮักเจียงใหม่บ่เอาถ่านหิน ซึ่งมุ่งขยายการรับรู้เรื่องราวการต่อสู้ของคนอมก๋อยมาสู่คนรักเชียงใหม่</p>
<p>นอกจากนี้ ชุมชนและภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคมจะร่วมจัดกิจกรรม “ชัยชนะจะสมปองต้องต่อสู้” 4 ปีแห่งการไม่สยบยอมให้อมก๋อยกลายเป็นเหมืองถ่านหิน ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 28 กันยายนนี้ สามารถติดตามการต่อสู้ของชุมชนกะเบอะดินได้ที่ เพจกะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/106083