[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 07:35:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กสม. แถลง ตำรวจ-ครู-อาจารย์ 'ขัดขวาง' เยาวชนชุมนุมโดยสงบ เท่ากับ 'ละเมิดสิทธิ&  (อ่าน 192 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2566 08:39:58 »

กสม. แถลง ตำรวจ-ครู-อาจารย์ 'ขัดขวาง' เยาวชนชุมนุมโดยสงบ เท่ากับ 'ละเมิดสิทธิ'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-10-19 17:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. ชี้ กรณีตำรวจและบุคลากรทางการศึ<wbr></wbr>กษา ครู อาจารย์ ขัดขวาง-คุกคามการชุมนุ<wbr></wbr>มโดยสงบของเยาวชน เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิ พบตำรวจใช้กำลังจับกุมเยาวชนด้วยความรุนแรง ไม่แจ้งสิทธิระหว่างจับกุม หรือใช้สายรัดพลาสติรัดข้อมือระหว่างควบคุมตัว</p>
<p> </p>
<p>19 ต.ค. 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยวสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ครั้งที่ 38/2566 วสันต์เปิดเผยว่า กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อเดื<wbr></wbr>อนสิงหาคม 2564 จากผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า นับตั้งแต่เกิดการชุมนุมที่ส่<wbr></wbr>วนใหญ่มีเด็กเข้าร่วมการชุมนุ<wbr></wbr>มเป็นจำนวนมาก เมื่อปี 2563 – 2564 ได้มีเด็กบางส่วนแสดงออกถึงปั<wbr></wbr>ญหาที่เกี่ยวข้องกับตนเองทั้<wbr></wbr>งในโรงเรียนและพื้นที่สาธารณะ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่<wbr></wbr>ตำรวจและบุคลากรทางการศึกษาข่<wbr></wbr>มขู่ คุกคาม ใช้ความรุนแรง รวมทั้งใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อปราบปรามการแสดงออกของเด็ก ผู้ร้องเห็นว่าการกระทำดังกล่<wbr></wbr>าวส่งผลให้เกิดความกั<wbr></wbr>งวลและความหวาดกลัวต่อเด็กที่<wbr></wbr>จะใช้สิทธิและเสรีภาพของตน จึงขอให้ตรวจสอบ</p>
<p>กสม. ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์<wbr></wbr>และลงพื้นที่สังเกตการณ์การชุ<wbr></wbr>มนุม พิจารณาหลักกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนข้อเท็จจริงจากหน่<wbr></wbr>วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่<wbr></wbr>ายแล้ว มีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า นับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ตำรวจและบุ<wbr></wbr>คลากรทางการศึกษาได้กระทำหรื<wbr></wbr>อละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิ<wbr></wbr>ดสิทธิมนุษยชนต่อเด็กที่<wbr></wbr>ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงความคิ<wbr></wbr>ดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุม หรือไม่ โดยเห็นว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ<wbr></wbr>เด็ก (CRC) กำหนดว่า เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี การกระทำทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็<wbr></wbr>กนั้น ผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่<wbr></wbr>งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก เด็กมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้<wbr></wbr>อย่างเสรีในทุก ๆ เรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง ทั้งยังมีเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการชุมนุมโดยสงบ และจะไม่ถูกแทรกแซงโดยไม่ชอบด้<wbr></wbr>วยกฎหมายในความเป็นอยู่ส่วนตัว ครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้<wbr></wbr>มครองจากความรุนแรงทั้งทางร่<wbr></wbr>างกายและจิตใจ ทั้งนี้ในการจับกุม กักขัง หรือจำคุกเด็กต้องเป็<wbr></wbr>นไปตามกฎหมาย โดยจะใช้เป็นมาตรการสุดท้<wbr></wbr>ายและให้มีระยะเวลาที่สั้นที่สุ<wbr></wbr>ด โดยต้องถูกแยกและได้รับการปฏิบั<wbr></wbr>ติที่แตกต่างจากผู้ใหญ่</p>
<p>ขณะที่พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็<wbr></wbr>ก พ.ศ.2546 ประกอบกับพระราชบัญญัติ<wbr></wbr>ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิ<wbr></wbr>จารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ได้กำหนดหลักการที่สอดคล้องกั<wbr></wbr>นกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยกำหนดห้ามไม่ให้จับกุมเด็ก (ผู้ที่อายุต่ำกว่า 15 ปี) ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด เว้นแต่เด็กนั้นได้กระทำความผิ<wbr></wbr>ดซึ่งหน้า หรือมีหมายจับหรือคำสั่งของศาล ส่วนการจับกุมเยาวชน (ผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปจนถึง 18 ปี) ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดให้<wbr></wbr>เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิ<wbr></wbr>จารณาความอาญา ซึ่งในการจับกุมเด็กต้<wbr></wbr>องกระทำอย่างละมุนละม่อมและคำนึ<wbr></wbr>งถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์<wbr></wbr>ของเด็ก โดยเด็กต้องได้รับแจ้งการจับ ได้รับแจ้งข้อกล่าวหา รวมทั้งสิทธิตามกฎหมายด้วย</p>
<p>จากการตรวจสอบ กสม. มีความเห็นในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ<wbr></wbr>มนุษยชนต่อเด็กที่ออกมาใช้เสรี<wbr></wbr>ภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรี<wbr></wbr>ภาพในการชุมนุม สรุปได้ดังนี้</p>
<p>(1) ประเด็นการจับกุมเด็ก ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในช่วงที่เด็กออกมาใช้เสรี<wbr></wbr>ภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรี<wbr></wbr>ภาพในการชุมนุมอย่างแพร่<wbr></wbr>หลายในพื้นที่สาธารณะ ระหว่างปี 2563 – 2564 พบกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้<wbr></wbr>กำลังเข้าจับกุมเด็กด้วยความรุ<wbr></wbr>นแรงเกินกว่าเหตุเป็นจำนวนมาก บางรายไม่ได้รับการแจ้งสิทธิ<wbr></wbr>ระหว่างจับกุม พบการรัดข้อมือเด็กด้วยสายรั<wbr></wbr>ดพลาสติกระหว่างควบคุมตัว และโดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าหน้าที่<wbr></wbr>ตำรวจไม่ได้ใช้ความระมัดระวั<wbr></wbr>งอย่างเพียงพอในการตรวจสอบว่าผู้<wbr></wbr>ถูกจับกุมเป็นบุคคลที่อายุต่ำ<wbr></wbr>กว่า 18 ปีหรือไม่ ทำให้เด็กถูกควบคุมตัวรวมกับผู้<wbr></wbr>ถูกจับกุมที่เป็นผู้ใหญ่ อันเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้<wbr></wbr>องตามพระราชบัญญัติ<wbr></wbr>ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิ<wbr></wbr>จารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และ “หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายและกติ<wbr></wbr>การะหว่างประเทศ</p>
<p>(2) ประเด็นการดำเนินคดีอาญาต่อเด็ก นับตั้งแต่ ปี 2563 ถึงต้นปี 2566 มีเด็กประมาณ 300 คน ถูกดำเนินคดี<wbr></wbr>จากการแสดงออกและการชุมนุม โดยเด็กบางรายถูกกล่าวหาว่<wbr></wbr>ากระทำความผิดหลายคดี ฐานความผิดส่วนใหญ่มีโทษจำคุก ในจำนวนนี้มีหลายฐานความผิดที่<wbr></wbr>กำหนดโทษไว้สูง และประมาณสามในสี่ของคดีทั้<wbr></wbr>งหมดเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนข้<wbr></wbr>อกำหนดที่<wbr></wbr>ออกตามพระราชกำหนดการบริ<wbr></wbr>หารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548) ในห้วงสถานการณ์การแพร่<wbr></wbr>ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกเลิ<wbr></wbr>กการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้<wbr></wbr>วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ดังนั้น คดีที่ยังคงค้างอยู่<wbr></wbr>ในกระบวนการพิจารณาคดีชั้นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชั้นสอบสวนของเจ้<wbr></wbr>าหน้าที่ตํารวจ และพนักงานอัยการ หรือการพิจารณาคดีของศาล จึงอาจไม่มีความจําเป็นที่จะต้<wbr></wbr>องดําเนินการต่อไปอีก</p>
<p>รวมทั้งหากพิจารณาชั่งน้ำหนั<wbr></wbr>กอย่างถี่ถ้วนเพื่อประเมิ<wbr></wbr>นผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รั<wbr></wbr>บจากการดําเนินคดีต่อเด็กกั<wbr></wbr>บผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็<wbr></wbr>กหากปล่อยให้เด็กที่ถูกดําเนิ<wbr></wbr>นคดีดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุ<wbr></wbr>ติธรรมทางอาญาไปจนจบสิ้<wbr></wbr>นกระบวนการทุกรายแล้ว ก็อาจเล็งเห็นได้ว่าจะไม่เกิ<wbr></wbr>ดผลดีกับเด็กมากนัก และอาจเป็นการปฏิบัติที่ไม่<wbr></wbr>สอดคล้องกับ “หลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก” ตามที่กําหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้<wbr></wbr>วยสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546</p>
<p>(3) ประเด็นการข่มขู่คุกคามเด็ก จากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ปรากฏพฤติการณ์ของบุ<wbr></wbr>คลากรทางการศึกษามากกว่า 100 กรณี แสดงออกในลักษณะของการสั่งห้าม ขัดขวาง ตำหนิด้วยถ้อยคำรุนแรง ยึดอุปกรณ์และสิ่งของ หรืออนุญาตให้เจ้าหน้าที่<wbr></wbr>ตำรวจเข้ามาสอดส่องและกดดันนั<wbr></wbr>กเรียนภายในโรงเรียน เพื่อไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมื<wbr></wbr>องหรือเรียกร้องต่าง ๆ ส่วนกรณีของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการเข้าไปถ่ายภาพนักเรียนที่<wbr></wbr>จัดกิจกรรมในสถานศึกษา มีการกดดันผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงครอบครัวของนักเรียนไม่<wbr></wbr>ให้จัดหรือเข้าร่วมกิ<wbr></wbr>จกรรมและการชุมนุม รวมทั้งมีการเฝ้าติดตามเด็กที่<wbr></wbr>เคยร่วมกิจกรรมทางการเมืองอย่<wbr></wbr>างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดกับหน้<wbr></wbr>าที่พื้นฐานของรัฐที่จะต้<wbr></wbr>องละเว้นไม่เข้าไปแทรกแซงการใช้<wbr></wbr>สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิ<wbr></wbr>ดเห็น การแสดงออก และการชุมนุมโดยสงบโดยไม่มีเหตุ<wbr></wbr>จำเป็น ทั้งยังกระทบต่อสิทธิในความเป็<wbr></wbr>นอยู่ส่วนตัวของเด็ก จึงรับฟังได้ว่าเป็นการกระทำอั<wbr></wbr>นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ด้วยเหตุผลข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้<wbr></wbr>มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 จึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะในการป้<wbr></wbr>องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิ<wbr></wbr>มนุษยชนต่อสำนักงานตำรวจแห่<wbr></wbr>งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ สภาผู้แทนราษฎร กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการพัฒนาสั<wbr></wbr>งคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปดังนี้</p>
<p>(1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ดำเนินการกำชับให้เจ้าหน้าที่<wbr></wbr>ตำรวจใช้ความระมัดระวังในการใช้<wbr></wbr>กำลังจับกุมผู้ชุมนุม โดยต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้ที่<wbr></wbr>กำลังจะจับกุมเป็นบุคคลที่อายุ<wbr></wbr>ต่ำกว่าสิบแปดปีหรือไม่ หากเป็นการจับกุมเด็<wbr></wbr>กและเยาวชนจะต้องกระทำโดยละมุ<wbr></wbr>นละม่อม คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุ<wbr></wbr>ษย์ และพอสมควรแก่เหตุกับพฤติการณ์<wbr></wbr>ของผู้ถูกจับ โดยต้องแจ้งให้ผู้ปกครองหรือผู้<wbr></wbr>ที่เด็กและเยาวชนไว้วางใจทราบถึ<wbr></wbr>งการจับกุมและสถานที่ที่ถู<wbr></wbr>กควบคุมตัวทันที งดเว้นการใช้เครื่องพันธนาการกั<wbr></wbr>บเด็กและเยาวชนทั้งในขณะที่จั<wbr></wbr>บกุมและระหว่างควบคุมตัว แยกพื้นที่ควบคุมตัวผู้ต้<wbr></wbr>องหาเด็กไม่ให้ปะปนกับผู้ใหญ่ งดเว้นการเข้าไปติดตาม สอดส่อง หรือรบกวนพื้นที่ชีวิตส่วนตั<wbr></wbr>วเกินกว่าเหตุโดยไม่มีกฎหมายให้<wbr></wbr>อำนาจ รวมทั้งเร่งรัดการสืบสวนหาข้<wbr></wbr>อเท็จจริงกรณีเจ้าหน้าที่<wbr></wbr>ตำรวจปฏิบัติงานอันเป็นการละเมิ<wbr></wbr>ดสิทธิมนุษยชนต่อเด็<wbr></wbr>กและเยาวชนในการชุมนุมระหว่างปี 2563-2564 หากพบว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจผู้<wbr></wbr>ใดกระทําการดังกล่าว ก็ให้ดําเนินการลงโทษตามสัดส่<wbr></wbr>วนของความรับผิดเพื่อป้<wbr></wbr>องปรามเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ใช้<wbr></wbr>ความระมัดระวังในการปฏิบัติต่<wbr></wbr>อเด็กและเยาวชนให้สอดคล้องกั<wbr></wbr>บกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนอย่<wbr></wbr>างเคร่งครัด</p>
<p>(2) กระทรวงศึกษาธิการ ทบทวนและเพิ่มเติมมาตรการกำกั<wbr></wbr>บดูแลสถานศึกษาในสังกัดเพื่อสร้<wbr></wbr>างหลักประกันไม่ให้เกิดกรณี<wbr></wbr>การข่มขู่ คุกคาม หรือลงโทษนักเรียนที่เข้าร่<wbr></wbr>วมการชุมนุมหรือแสดงออกถึ<wbr></wbr>งประเด็นปัญหาต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีการรับฟั<wbr></wbr>งความคิดเห็นของนักเรี<wbr></wbr>ยนตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิ<wbr></wbr>การกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ </p>
<p>(3) สภาผู้แทนราษฎร ควรเร่งดำเนินการศึกษาข้อมู<wbr></wbr>ลและข้อเท็จจริงในรายละเอียดเกี่<wbr></wbr>ยวกับสถานการณ์ของเด็<wbr></wbr>กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี เพื่อให้เกิดการตรากฎหมายยุติ<wbr></wbr>การดำเนินคดีต่อเด็กและเยาวชน รวมทั้งการนิรโทษกรรมให้แก่เด็<wbr></wbr>กและเยาวชนที่ได้ถูกกล่าวหาว่<wbr></wbr>ากระทำความผิดตามกฎหมาย ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อให้การปฏิบัติในส่วนที่เกี่<wbr></wbr>ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมไม่<wbr></wbr>เป็นภาระต่อเด็กเกินสมควร</p>
<p>ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงการพัฒนาสั<wbr></wbr>งคมและความมั่นคงของมนุษย์ เร่งดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ กสม. ได้เสนอไว้จากการประชุมเพื่<wbr></wbr>อแสวงหาทางออกกรณีสิทธิเด็กกั<wbr></wbr>บสถานการณ์การชุมนุม และการลงพื้นที่สังเกตการณ์<wbr></wbr>การชุมนุมแต่ละครั้งเพื่อสอดส่<wbr></wbr>องดูแล และร่วมกันวางแนวปฏิบัติต่อเด็<wbr></wbr>กในพื้นที่การชุมนุมให้เป็<wbr></wbr>นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมายและหลักสากล</p>
<p> </p>
<p style="text-align:justify; margin:0cm"> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/10/106429
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ราชทัณฑ์แถลงส่ง ‘ทักษิณ’ เข้า รพ.ตำรวจ หลังมีอาการแน่นหน้าอก ความดันสูงกลางดึก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 234 กระทู้ล่าสุด 23 สิงหาคม 2566 17:14:34
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - นักกิจกรรมแต่งชุดนักโทษ เดินจากสยาม-รพ.ตำรวจ ร้องสิทธิประกันตัว ขอสังคมอย่าลื
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 168 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2566 11:00:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'ยูเอ็น' แถลง ขอให้กลุ่มติดอาวุธในพม่า 'ปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างมีมนุษยธรรม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 179 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2566 18:51:21
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ครบ 1 ปี 'สำนักพระราชวัง' แถลง 'พระองค์ภา' ทรงพระประชวร 
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 260 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2566 07:25:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ศาลรธน. ฟันเสนอแก้ 112 เท่ากับ 'ล้มล้างการปกครอง' สั่ง 'พิธา-ก้าวไกล' เลิกการก
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 170 กระทู้ล่าสุด 31 มกราคม 2567 17:18:03
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.15 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤศจิกายน 2567 23:41:47