พระอัยการลักษณะผัวเมียเมียพระราชทาน คืออะไร?
ตามพระอัยการลักษณะผัวเมีย ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน สังคมไทยจึงเป็นสังคมแบบ Polygamy (ผัวเดียวหลายเมีย)
แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายก็ไม่อนุญาตให้หญิงมีสามีได้หลาย คนในเวลาเดียวกัน หากหญิงมีสามีอยู่ก่อนแล้วจะสมรสกับชายอื่นอีกไม่ได้
จนกว่าสามีจะตายและเผาศพสามีเรียบร้อยแล้ว หรือหย่าขาดจากสามีแล้ว
เมื่อชายสามารถมีภรรยาได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ในพระอัยการลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายตรากฎหมายตราสามดวงได้ลำดับชั้นของภรรยา
ไว้ 5 ประเภท ดังนี้
1. เมียที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานเป็นบำเหน็จถือเป็นรางวัลให้แก่ชายผู้นั้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเมียที่รักกันมาก่อน ตำแหน่งเมียตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเมียที่ผู้ชายจะเกรงใจมากที่สุด
ในบรรดาเมียทั้งหมด และถือว่ามีหน้ามีตาและมีศักดิ์ใหญ่กว่าเมียทุกคนในบ้าน โดยเมียพระราชทานจะใหญ่กว่าลำดับภรรยาทั้งหมด
2. เมียทูลขอพระราชทานเป็นเมียพระราชทานเหมือนข้อแรก แต่ต่างตรงที่ฝ่ายชายจะต้องทูลขอกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเสียก่อน แล้วจึงโปรดพระราชทานให้ตามคำขอ
และถึงแม้ฝ่ายชายจะแต่งงาน มีเมียกลางเมือง หรือเมียหลวงอยู่ก่อนแล้ว เมียพระราชทานก็ยังมีศักดิ์มากกว่าเมียหลวง
3. เมียกลางเมือง หมายถึง เมียหลวง เมียที่บิดามารดากุมมือให้เป็นเมียชาย หญิงที่พ่อแม่ไปสู่ขอมาให้ทำพิธีแต่งงานกันถูกต้องตามประเพณี มีเกียรติสูงสุดในบ้าน
แต่ถ้าเทียบศักดิ์กันแล้วเมียพระราชทานยังมีศักดิ์มากกว่าเมียหลวง
4. เมียกลางนอก หมายถึง เมียน้อย (อนุภรรยา)เป็นผู้หญิงที่ผู้ชายขอเป็นอนุ เลี้ยงดูเป็นเมียคนหนึ่งในบ้าน มีศักดิ์ลดหลั่นลงมาจากเมียหลวง ซึ่งตำแหน่งนี้คุณผู้ชายในยุคนั้นจะรับมากี่คนก็ได้
จะมีสิทธิน้อยกว่าเมียกลางเมือง
5. เมียกลางทาษี หรือ เมียทาสหญิงใดมีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาสามารถเลี้ยงเป็นเมียได้ เมียตำแหน่งนี้จะมาจากการไปไถ่ตัว หรือซื้อตัวมาให้เป็นคนรับใช้ในบ้าน
ถ้าหน้าตาสวยถูกใจท่านรักใคร่ก็จะเลี้ยงดูให้เป็นเมีย แต่จะไม่ยกเสมอเหมือนเมียคนอื่นๆ และยังต้องทำงานบ้าน ปัด กวาด เช็ดถู
แต่จะสบายกว่าทาสคนอื่นๆ เล็กน้อย
ที่มา : หนังสือกฎหมายตราสามดวง, ประวัติศาสตร์กฎหมาย โดย รศ. ดวงจิตต์ กำประเสริฐ ภาควิชากฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง