กกต. แจงเหตุผลอธิบายยังไม่แจกใบ ‘เหลือง-แดง’
<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-11-26 18:49</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เลขา กกต. ยก 6 เหตุผลแจงยังไม่แจกใบ 'เหลือง-แดง' เลือกตั้ง สส. มองสถิติร้องเรียนลดลงแบบมีนัยยะ แนะรอลุ้นผลวินิจฉัยคดีที่เหลือผ่านเว็บไซต์สำนักงาน กกต.</p>
<p>26 พ.ย. 2566
มติชนออนไลน์ และ
ผู้จัดการออนไลน์ รายงานตรงกันว่านายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงมาตรการและรูปแบบการควบคุมการเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรมในการเลือกตั้งปี 2566 ทำไมยังไม่มีใบเหลือง/ใบแดง ว่า </p>
<p>1.กรอบแนวคิดการนำคดีเลือกตั้งไปสู่ศาลไม่อาจควบคุมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามที่กฎหมายได้ ออกแบบไว้อย่างที่ควรจะเป็นต้องหามาตรการเสริม </p>
<p>2.บทเรียนจากข้อกฎหมายเรื่องมาตรฐานของการชั่งน้ำหนักพยานที่สูงขึ้นเทียบเท่าคดีอาญา คดีเลือกตั้ง เน้นรักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพียงมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า (คือสงสัย) เพียงพอที่จะเอาผู้เล่นออกจากสนามแล้ว แต่ในทางคดีอาญาคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ต้องพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยจึงจะลงโทษได้ นั่นหมายความว่าถ้าสงสัยต้องปล่อยไป เมื่อกฎหมายนำเรื่องคดีเลือกตั้งและคดีอาญามาอยู่ในการกระทำเดียวกัน ทุกคดีการเลือกตั้งต้องจบที่ศาล การชั่งน้ำหนักพยานจึงต้องพยายามใช้มาตรฐานคดีอาญาไปโดยปริยาย</p>
<p>3.บทเรียนจากอดีตในเชิงข้อเท็จจริงรูปแบบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งจะมีความสลับซับซ้อน เพราะเกี่ยวพันกับผู้จะมีอำนาจมากที่สุดเมื่อชนะเลือกตั้ง สมประโยชน์ทั้งผู้ให้/ผู้รับ มีความรัก ความศรัทธาต่อพรรคการเมืองและผู้สมัครเป็นพื้นฐาน มีผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เกาะเกี่ยวผูกพันกัน ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น การดำเนินคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งจึงประสบผลสำเร็จได้ยาก เพราะทุกคดีต้องไปที่ศาล โจทก์ จำเลย พยาน ต้องไปเผชิญหน้ากันในศาล หลังเลือกตั้งถ้าพยานไม่เหมือนเดิมแล้ว ผลคดีจะเปลี่ยนไป </p>
<p>4.มาตรการปี 2566 นำบทเรียนมาใช้ด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงตามที่กล่าวมาแล้ว กกต.และสำนักงาน จึงได้ดำเนินการมาตรการเชิงใช้ “การป้อง/ป้องปราม”ก่อนการเลือกตั้ง มาเป็นหลัก ส่วนการดำเนินคดีหลังเลือกตั้งดำเนินการเช่นเดิม วีธีดำเนินการ มีศูนย์ข่าว บัญชีหัวคะแนน ของผู้สมัครและของพรรคการเมืองทุกพรรค จัดโซนพื้นที่ตามระดับการแข่งขัน เพื่อเป็นข้อมูลให้ชุดปฏิบัติการต่างๆ ในแตละเขตเลือกตั้ง อาทิ ผู้ตรวจการเลือกตั้ง ชุดปฏิบัติการข่าว ชุดเคลื่อนที่เร็ว และยังมีการบูรณาการร่วมกันกับฝ่ายปกครอง ตำรวจ ภาคประชาชน และ ศส.ปชต. ด้วย ทั้งนี้ จะใช้วิธีป้องปราม กดดัน ลาดตระเวน สังเกตการณ์ สืบสวนหาข่าว แล้วแต่กรณีในแต่ละเขตเลือกตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิด หรือถ้าคิดหรือเตรียมการจะทำกระทำไม่สำเร็จ</p>
<p>5.เป้าหมาย เพื่อควบคุมให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม โดยการป้องกันมิให้มีการกระทำความผิด (ลดหรือไม่มีใบเหลือง ใบแดง) อันเป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งซ่อม และสิ้นเปลืองทรัพยากรอีกทางหนึ่งด้วย </p>
<p>6.ผลการดำเนินการ การเลือกตั้งปี 2566 มีจำนวนเรื่องร้องเรียนในภาพรวมลดลงมากกว่าครึ่ง เฉพาะการร้องเรียนเกี่ยวกับการซื้อสิทธิขายเสียง 100 กว่าเรื่อง นอกนั้นเป็นเรื่องอื่นๆ เช่น การนับคะแนน การหลอกลวง กว่า 100 เรื่อง และเป็นเรื่องที่ชุดต่างๆ ไปปฏิบัติการได้ข้อมูลและเบาะแสมา เกือบ 100 เรื่อง รวมเป็นคำร้องทั้งหมด 365 เรื่อง จากการเลือกตั้งแต่ละครั้งที่ผ่านมาจะมีคำร้องมากกว่านี้เป็นหลายเท่าก็มี จึงถือว่าสถิติคำร้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม สำนวนใด มีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร กกต. มีมติในสำนวนนั้นว่าอย่างไร ดูได้จากคำวินิจฉัยของแต่ละสำนวน ซึ่งสามารถตรวจสอบคำวินิจฉัยได้จากเว็บไซต์สำนักงาน กกต.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/11/106990