‘สมเกียรติ’ เบรคควบรวม AIS-3BB ติง กสทช. บังคับ True-DTAC ให้ไม่ขึ้นราคาตามเงื่อนไขตัวเองไม่ได้
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-13 21:46</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก สภาองค์กรผู้บริโภค</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประธาน TDRI เสนอให้ กสทช.เบรคควบรวม AIS+3BB เพราะจะทำให้เกิดการผูกขาดในตลาดอินเตอร์เนตบ้านและมือถือมากขึ้น และที่ผ่านมา กสทช.เองก็บังคับให้ True ทำตามเงื่อนไขหลังควบรวมกับ DTAC ที่ กสทช.ตั้งขึ้นมาเองไม่ได้จนราคาแพ็คเกจสูงขึ้น</p>
<p>13 ธ.ค.2566
สภาผู้บริโภคไลฟ์สดเวที “Talk 2 Action” โดยมีการวิทยากรมาร่วมเวทีพูดในหัวข้อ “การตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน ทำได้?” โดยมีหนึ่งในวิทยากรคือสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) ได้นำเสนอข้อมูลผลกระทบด้านราคาและคุณภาพบริการหลังการควบรวมของบริษัทด้านโทรคมนาคมของไทยทั้งกรณี True ควบรวม DTAC ในธุรกิจสัญญาณโทรศัพท์มือถือ และกรณี AIS ควบรวม 3BB ในธุรกิจอินเตอร์เนตบ้าน</p>
<p>สมเกียรติเริ่มจากกล่าวว่าควรมีการตั้งคำถามถึงกรณีการควบรวมธุรกิจอินเตอร์เนตบ้านที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้เพราะการควบรวมธุรกิจขนาดใหญ่ในไทยมาแล้วหลายครั้งโดยแต่ละครั้งก็อาจเกิดผลเสียต่อผู้บริโภค เพราะการควบรวมกิจการมีทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และด้านที่เป็นความเสี่ยงด้วย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้ดุลกัน ดังนั้นรัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลควรจะยอมให้เกิดการควบรวมได้ก็ต่อเมื่อเกิดประโยชน์กับสังคมและผู้บริโภคมากกว่าเกิดความเสี่ยง</p>
<p>ประธาน TDRI กล่าวว่าประโยชน์ที่ควรจะเกิดขึ้นเช่น การที่ผู้ประกอบการควบรวมกันแล้วเกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทำให้กำไรของผู้ถือหุ้นดีขึ้น แต่การควบรวมในกิจการที่มีการกระจุกตัวในโครงสร้างกึ่งผูกขาดจะมีแนวโน้มที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคที่จะเผชิญกับราคาค่าบริการที่สูงขึ้นคุณภาพแย่ลง หน่วยงานกำกับดูแลของรัฐจะต้องห้ามการควบรวมที่มีความเสี่ยงสูง หรือถ้าปล่อยให้ควบรวมได้ก็ต้องมีเงื่อนไขที่เข้มงวดเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภคได้</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53395216011_510a2d5a46_b.jpg" style="width: 1024px; height: 576px;" /></p>
<p>สมเกียรติได้อธิบายถึงสถานการณ์การกระจุกตัวของผู้ประกอบการในตลาดโทรคมนาคมที่เสี่ยงต่อการทำให้เกิดการผูกขาดตลาดอินเตอร์เนตบ้านโดยผู้ประกอบการจำนวนน้อยรายที่ขณะนี้มีอยู่เพียง 4 ราย คือ AIS ที่มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ 14% และ 3BB มี 29.4% และ True มี 37% และ NT ซึ่งการควบรวมกิจการระหว่าง AIS และ 3BB จะทำให้กลายเป็นผู้เล่นที่ใหญ่ที่สุดของตลาดอินเตอร์เนตบ้าน และเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ใช้ดูความเสี่ยงการผูกขาดตลาดแล้ว การควบรวมครั้งนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงค่อนข้างมาก และเป็นสัญญาณอันตรายเพราะก่อนการควบรวมค่าการกระจุกตัวของผู้เล่นในตลาดก็สูงอยู่แล้วและเมื่อเกิดการควบรวมก็ยิ่งเกิดการกระจุกตัวมากขึ้น</p>
<p>ประธาน TDRI อธิบายว่าแม้การควบรวมนี้(AIS และ 3BB) ความเสี่ยงจะต่ำกว่าที่เกิดจากการควบรวมของ True กับ DTAC เพราะกรณีนั้นทำให้ผู้บริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยเหลือเพียง 2 รายคือ True DTAC กับ AIS เท่านั้น แต่กรณีนี้ยังเหลือผู้ประกอบการมากกว่านั้นคือยังเหลือ NT</p>
<p>สมเกียรติอธิบายต่อว่า ความเสี่ยงที่เกิดจากการควบรวมของ AIS และ 3BB ก็ยังมีอยู่ถ้าหากเกิดการขายข้ามตลาดกันระหว่างอินเตอร์เนตบ้านกับอินเตอร์เนตมือถือที่ AIS อยู่ในทั้งสองตลาด ก็จะทำให้บริษัทอย่าง NT ที่ก็เป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐด้วยที่ไม่ได้มีบริการโทรศัพท์มือถือมากพอก็จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดไปให้กับ AIS และ True จนสุดท้ายก็จะทำให้ NT ต้องออกจากตลาดไปหากรัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนมากพอ</p>
<p>“AIS และ 3BB ก็มุ่งหวังที่จะขายข้ามตลาดก็คือเอาอินเตอร์เนตบ้านไปขายให้ผู้ใช้บริการของ AIS ที่ใช้โทรศัพท์มือถืออยู่ แต่ยังไม่มีอินเตอร์เนตบ้านของ AIS หรือ 3BB และอีกกรณีก็คือเอาผู้ใช้บริการของ 3BB ที่ยังไม่ได้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือของ AIS ให้เป็นผู้ใช้บริการของทั้ง 2 ราย” สมเกียรติเล่าถึงวิธีการที่ทำให้เกิดรายได้ขนาดใหญ่หลังการควบรวมที่อยู่ในเอกสารชี้แจงต่อนักลงทุนของบริษัท</p>
<p>ประธาน TDRI กล่าวต่อว่าหลังจากการเริ่มขายข้ามตลาดก็จะมีการขายบริการที่เป็นแพ็คเกจที่ราคาสูงขึ้น แล้วต่อยอดไปสู่ Beyond Broadband การควบรวมของ AIS และ 3BB จึงเกิดความเสี่ยงขึ้นว่าจะทำให้ตลาดบริการโทรศัพท์มือถือเหลือผู้เล่นเพียงสองรายและทำให้ตลาดอินเตอร์เนตบ้านมีโครงสร้างที่คล้ายกันจนเกิดปัญหากับผู้บริโภคได้</p>
<p>สมเกียรติเปรียบเทียบกับกรณีการควบรวมธุรกิจในต่างประเทศว่าหากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการผูกขาดตลาด หน่วยงานกำกับดูแลมีทางเลือกสองทางคือ การห้ามควบรวมไปเลย หรือให้ควบรวมแต่มีเงื่อนไขที่ให้ผู้ให้บริการทำตามที่องค์กรกำกับดูแลกำหนด</p>
<p>“ปัญหาของประเทศไทยก็คือ กสทช.ปล่อยให้มีการควบรวมเช่นปล่อยให้มีการควบรวม True กับ DTAC แล้วก็กำหนดเงื่อนไขการให้บริการต่างๆ แต่ก็ปรากฏว่าการกำหนดเงื่อนไขนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริงเลย เพราะเมื่อผู้ประกอบการควบรวมกันแล้วก็อาจจะดำเนินการบางอย่างไปโดยที่ กสทช.ไม่สามารถกำกับดูแลได้ หรือละเลยที่จะกำกับดูแล”</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53395405763_b9313fc30b_b.jpg" /></p>
<p>ประธาน TDRI ได้ยกตัวอย่างหลังการควบรวม True กับ DTAC แล้วมีการตัดแพ็คเกจบริการโทรศัพท์มือถือราคาถูกสุดออก และยังมีการปรับเปลี่ยนราคาแพ็คเกจเดิมให้สูงขึ้น รวมถึงการปรับลดการบริการโทรศัพท์ลงในแพ็คเกจอื่นๆ ซึ่งทาง AIS ก็มีการปรับทั้งราคาและบริการไปในทิศทางเดียวกับของ True และ DTAC ที่กลายเป็นบริษัทเดียวกันไปแล้ว</p>
<p>“การที่ กสทช.กำหนดเงื่อนไขว่าค่าบริการของผู้ประกอบการหลังควบรวมจะต้องไม่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างนี้ก็ชี้ว่าเงื่อนไขของ กสทช.อาจจะไม่มีผลทางปฏิบัติจริง เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาถึงความไร้ประสิทธิภาพในการกำกับดูแลของ กสทช. ผมจึงมีความเชื่อว่าเราไม่น่าจะปล่อยให้มีการควบรวม AIS กับ 3BB ได้เพราะเป็นกรณีที่มีความเสี่ยงสูงและคงไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขและบังคับให้เป็นจริงได้อย่างที่เคยเกิดมาแล้วหลายครั้ง ดังนั้นหนทางที่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคคือระงับการควบรวมนี้ไว้ก่อนจนกว่า กสทช.จะมีความสามารถในการกำกับดูแลเงื่อนไขที่ตัวเองกำหนดขึ้นเองให้เป็นจริงให้ได้” สมเกียรติกล่าวสรุป</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/12/107234