[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 13:29:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สัปเหร่อ ไทบ้านเดอะซีรี่ย์ และคติธรรมในพิธีศพ  (อ่าน 296 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Linux Linux
เวบเบราเซอร์:
Chrome 120.0.0.0 Chrome 120.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 12 มกราคม 2567 09:09:04 »


สัปเหร่อ ไทบ้านเดอะซีรี่ย์ และคติธรรมในพิธีศพ / โชโฮ ธรรมราชบุตร ธรรมะตำนาน

<a href="https://www.youtube.com/v//ylf1nt9A5nY" target="_blank">https://www.youtube.com/v//ylf1nt9A5nY</a>

https://www.youtube.com/live/ylf1nt9A5nY?si=-RlgM8Di5Oe8Xh1y


เพิ่มเติม จาก https://www.springnews.co.th/lifestyle/movie-series/844424

รู้จักอาชีพสัปเหร่อ งานเก่าแก่ อาชีพบริการ ดูแลศพ ที่สังคมไทยขาดไม่ได้



ทำความรู้จัก อาชีพ สัปเหร่อ หรือในอดีต มีคำเรียกว่า ขุนกะเฬวราก-นายป่าช้า โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้ดูแลจัดการศพ ท่ามกลางกระแสความร้องแรงของหนัง #สัปเหร่อ

เมื่อ ภาพยนตร์สัปเหร่อ กลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ จากการกวาดรายได้มหาศาล 300 ล้านบาท ทำให้ กลายเป็นปรากฏการณ์ที่คนพูดถึงในวงกว้าง , สำหรับ คำว่า สัปเหร่อ เป็นอาชีพ ที่อยู่กับสังคมไทยมาอย่างช้านาน  โดยอาชีพนี้ จริงๆแล้ว เป็นหนึ่งในอาชีพที่ เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมในสังคม โดยเฉพาะ ธรรมเนียมประเพณี งานปลงศพ จัดการความเรียบร้อยของศพ ของชาวพุทธ ที่มีมากกว่าครึ่งประเทศ

โดย คำว่า "สัปเหร่อ" ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่อาจยังไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ ความเป็นสัปเหร่อ ที่เกี่ยวพันกับปลายทางของชีวิตอย่าง “ความตาย”

แต่ถึงกระนั้น อาชีพสัปเหร่อนี้กลับเป็นอาชีพสำคัญที่ขาดไม่ได้ในสังคมไทยที่มีคนพุทธเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งประเทศ เพราะมีประวัติศาสตร์เรื่องราวอันยาวนาน ทั้งยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้คน

โดย ความหมายของสัปเหร่อ นั้น ตามไม้บรรทัดความหมายของ พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายคำว่า สัปเหร่อ (เป็นคำนาม) กล่าวคือ ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการศพตั้งแต่ทำพิธีมัดตราสัง จนกระทั่งนำศพไปฝังหรือเผา


รู้จักอาชีพสัปเหร่อ งานเก่าแก่ อาชีพบริการศพ ที่สังคมไทยขาดไม่ได้

ขณะที่ที่ พจนานุกรมมติชน ก็ได้ให้ความหมายไปในทางเดียวกัน

ในความเป็นจริงแล้ว, “สัปเหร่อ” เป็นอาชีพที่ไม่ใช่งานในฝันของคนทั่วไปหรอก ความจริงข้อนี้ปฏิเสธไม่ได้ หลายๆครั้งที่คนกลุ่มนี้ โดนดูถูกเหยียดหยามเพราะต้องทำงานเกี่ยวกับศพ และความตาย  ไม่มีใครเหลียวแล  สัปเหร่อ ไม่มีสวัสดิการใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีสวัสดิการประกันสังคม เหมือนหลายๆอาชีพ ,รายได้ไม่แน่นอน บางเดือนอาจจะหลักหมื่น และบางเดือน อาจมีรายได้เป็นศูนย์ ในความเป็นอาชีพอิสระ

แต่ในทางกลับกัน , ในวาระสุดท้ายของชีวิตเราทุกคนที่เป็นชาวพุทธ  พวกเขาคือบุคคลสำคัญที่จะช่วยส่งทุกดวงวิญญาณให้ไปสู่สุขติ และในช่วงที่โควิดระบาดหนัก สัปเหร่อบางที่ต้องทำหน้าที่ออกไปเก็บศพเอง

ภาพยนตร์ สัปเหร่อ ทำให้คนสนใจ ที่มา และความหมายที่แท้จริง ของคำว่า "สัปเหร่อ"

หาก ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปในอดีต , ในสมัยรัชกาลที่ 5 เคยปรากฏตำแหน่ง "ขุนกะเฬวราก" หรือบางคนเรียกว่า "นายป่าช้า" ในสมัยนั้น หรือ "สัปเหร่อ" ทำหน้าที่ ปลงศพและจัดการความสยดสยองของบุคคลสิ้นลมหายใจให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น 

การทำงานของขุนกะเฬวราก หรือ ที่ปัจจุบัน เรียกกันว่า สัปเหร่อ ในเข็มนาฬิกาเดินในปัจจุบันนั้น อาจจะยังมีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ แต่จากกระบวนการกำจัดความสยดสยองที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2430 กลายเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้รัฐสยามตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดซากศพ จนนำมาสู่การประกาศใช้ “กฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยป่าช้าแลนายป่าช้า” ใน พ.ศ. 2460 อันเป็นกฎหมายที่รัฐสยามแต่งตั้งให้ “นายป่าช้า” ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการความศิวิไลซ์อย่างเป็นทางการ โดยต้องทำงานอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงนครบาล

โดย ห้วงเวลานั้น พ.ศ. 2460  หรือเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว  สยามได้ประกาศใช้ "กฎหมายเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยป่าช้าแลนายป่าช้า" ซึ่งทำให้ "นายป่าช้า" มีหน้าที่ในการจัดการศพอย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลาแห่งการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศเพื่อเข้าสู่ความเจริญขึ้น เพราะยังมีการทิ้งศพตามพื้นที่สาธารณะอยู่

ในประเด็นจรรยาวิชาชีพ สัปเหร่อ ก็ถือเป็นประเด็นที่สำคัญ กล่าวคือ อาชีพนี้ต้องไม่เลือกปฏิบัติ ต้องเผาศพให้เจ้าภาพทุกรายโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง กล่าวคือไม่มีความลำเอียง ใจต้องเป็น "กลาง" ไม่แคร์ ฐานะความยากดีมีจน ต้องทำหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ คือ รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จเรียบร้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ทำความสะอาดเตาเผา จนถึงเก็บกระดูก

ทั้งนี้ ปัจจุบัน คำราชการกำหนดหน้าที่สัปเหร่อเป็นงานประเภทที่ 5 คือพนักงานบริการ และพนักงานขายในร้านค้าและตลาด ในหมวด 51 คือเป็นพนักงานให้บริการในเรื่องส่วนบุคคลและบริการด้านการป้องกันภัย กำหนดเป็น "สัปเหร่อและเจ้าหน้าที่ฉีดยาศพ" ทำหน้าที่จัดการเผาศพและฝังศพ รักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการฉีดสารเคมีในร่างศพ รวมถึงการทำพิธีต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศพ

จนกลายมาเป็นอาชีพที่เรารู้จักกันจนถึงตอนนี้ แม้อาจไม่ได้สร้างความจดจำให้กับเหล่าผู้คนที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับ แต่อาชีพสัปเหร่อ ก็ช่วยเชื่อมโยง ระหว่างคนเป็น กับคนตาย ได้


จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16252.0.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.267 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 02 กันยายน 2567 11:10:48