[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 กันยายน 2567 20:13:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - คุยกับ Thai climate justice for all ถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม หลังจบการประชุม COP28  (อ่าน 139 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มกราคม 2567 23:59:33 »

คุยกับ Thai climate justice for all ถึงประเด็นสิ่งแวดล้อม หลังจบการประชุม COP28
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-01-15 23:13</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สมานฉันท์ พุทธจักร รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หลังสิ้นสุดการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่ดูไบ ที่มีผู้แทน 198 ประเทศมาร่วมกันหาวิธีไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นเกินไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตาม “กฤษฎา บุญชัย” ผู้ติดตามการประชุม COP28 จากเครือข่าย Thai climate justice for all วิจารณ์ว่าแผนยุติการใช้พลังงานฟอสซิลยังไม่เข้าเป้า ต้องลดโทนเพราะประเทศผู้ส่งออกน้ำมันไม่เห็นด้วย แถมยังถูกมองว่ากลายเป็นเวที “ฟอกเขียว” สร้างภาพให้ชาติและบรรษัทผลิตน้ำมันที่เพิ่งประกาศขยายกำลังการผลิต</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53463929022_c55fd918cd_k.jpg" /></p>
<p>การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ “COP28” จัดขึ้นที่นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 โดยเป็นเวทีการประชุมนานาชาติ ที่ให้ผู้นำและตัวแทนรัฐบาล รวมถึงภาคส่วนต่าง ๆได้มาหารือกัน เพื่อเตรียมความพร้อมและหาทางแนวลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก</p>
<p>ในการประชุมมีตัวแทนจาก 198 ประเทศภาคี เข้าร่วมเวที ตลอดช่วง 2 สัปดาห์ เป้าหมายเพื่อหาวิธีไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นเกินไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดตัดสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์บอกกับเราว่า หากเกินเลยออกจากตัวเลขนี้ วิกฤติสิ่งแวดล้อมโลกของเราจะไม่อาจหวนกลับมาแก้ไขได้</p>
<p>ชวนพูดคุยกับ <strong>กฤษฎา บุญชัย</strong> ผู้ประสานงานเครือข่าย Thai climate justice for all ผู้ติดตามปัญหาการเปลี่ยนสภาพอากาศ รวมถึงการประชุม  COP อย่างใกล้ชิด ถึงประเด็นหลักที่น่าสนใจจากเวทีนานาชาติครั้งนี้ รวมถึงบทบาทของประเทศไทย ภายใต้รัฐบาลชุดใหม่</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">แผนการปลดระวางพลังงานฟอสซิลยังคลุมเครือ</span></h3>
<p>ประเด็นสำคัญที่สุดในการประชุม COP ครั้งนี้ คงนี้ไม่พ้นความพยายามสร้างข้อตกลงร่วมกัน ให้ทั้งโลกปลดระวางการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมีสมาชิกกว่า137 ประเทศ ได้เสนอในวงเจรจาให้มีการบรรจุคำว่า Phase out หรือยกเลิกการใช้พลังงานฟอสซิล  ลงไปใน “ในคำประกาศสุดท้าย” ที่เป็นเหมือนฉันทามติร่วมกันของการประชุมครั้งนี้ เพื่อให้เป็นมุดหมายสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างแผนการหยุดการใช้พลังงานฟอสซิลให้ได้จริงในอนาคตต่อไป แต่กลับมีเหล่าชาติผู้ผลิตน้ำมันออกมาคัดค้าน โดยพยายามเสนอให้ใช้คำว่า Phase down หรือค่อยๆลดการใช้ฟอสซิล บรรจุเข้าไปแทน สร้างความไม่พอให้กับหลายฝ่าย นำมาสู่การเจรจาที่ยืดเยื้อ โดยในที่สุดผลการเจรจาก็ออกว่าให้มีการใส่คำว่า “transition Away” หรือเปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิล ลงไปในคำประกาศสุดท้าย</p>
<p>“ถ้าเป็นคำว่า Phase out มันชัดเจนว่าคือจะมีการหยุดใช้ฟอสซิล แต่เพียงต้องเพิ่มเข้าไปว่าหยุดเมื่อไหร่ แต่พอเป็นคำว่า Transition away มันเป็นคำกำกวม แค่บอกว่าจะเป็นการค่อยๆเปลี่ยนผ่านออกจากพลังงานฟอสซิล แต่ไม่ได้บอกว่าจะหยุดหรือไม่ เมื่อไหร่”กฤษฎา บุญไชย มีความเห็นต่อคำว่า Transition ที่ถูกใช้ในคำประกาศสุดท้าย ว่าในเชิงความหมายของคำ แม้จะยังมีความกำกวมอยู่ แต่ก็อาจจะพอตีความได้ว่าจะเป็นการนำมาสู่การเลิกใช้พลังงานฟอสซิลในท้ายที่สุด</p>
<p> แต่หากเข้าไปดูเนื้อหาภายในของคำประกาศสุดท้ายที่เขียนไว้ โดยมีใจความว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านเพื่อหยุดการใช้ และหยุดสนับสนุนการใช้พลังงานฟอสซิล “ที่ไม่มีสิทธิภาพ” ซึ่งเท่ากับว่าจะมีลดการใช้พลังงานฟอสซิลในเฉพาะส่วนที่ถูกผู้ผลิตน้ำมันตีความว่าไม่ประสิทธิภาพเท่านั้น ซึ่งเป็นเหมือนการบ่ายเบี่ยงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ผลิตน้ำเพียงเท่านั้น แสดงให้ถึงความไม่จริงใจในการลดการใช้พลังงานฟอสซิล</p>
<p>การประชุม COP ครั้งที่ผ่านมาถูกหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “การฟอกเขียว” สร้างภาพให้บรรดากลุ่มประเทศและบรรดาบริษัทผู้ผลิตน้ำมัน เนื่องจากประเทศเจ้าภาพซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ได้แต่งตั้งสุลต่าน บิน อาห์เหม็ด อัล จาเบอร์  CEO ของ ADNOC (Abu Dhabi National Oil Company) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอาหรับเอมิเรตส์ มาเป็นประธานจัดงานประชุม COP28  ซึ่งบรรษัทน้ำมันของเขานั้น เพิ่งประกาศแผนขยายการผลิตน้ำมัน และเขายังแสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการให้มีหยุดการใช้พลังงานฟอสซิล มาก่อนหน้านี้โดยตลอด นอกจากนั้นยังถูกวิจารณ์จากการที่มีสัดส่วนตัวแทนจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันในเวทีการเจรจามากเกินไป</p>
<p>“ถ้าเป็นสถานการณ์ในอดีตมันก็พอได้ ที่จะบอกแค่ว่าจะค่อยๆลดการใช้ลงก็พอ แต่ข้อเสนอให้เลิกใช้ฟอสซิลมีมากว่า 30 ปีที่แล้ว มีมาตั้งแต่การประชุม COP ครั้งแรก ๆ แต่ที่ผ่านมานอกจากจะยังไม่เคย Phase อะไรเลยแล้ว เรายังใช้ฟอสซิลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีก มันสวนทางกันกับการที่เรามีเวลาแค่อีก 7 ปี  ในการต้องลดการปล่อยเรือนให้ได้  40 เปอร์เซนต์” กฤษฎา มองว่าการที่เพียงแค่ทยอยเปลี่ยนผ่าน แต่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการปลดระวางการใช้พลังงานฟอสซิล นั้นไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่ทั่วโลกตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 40% ภายในปี 2030 แต่ปัจจุบันภาคพลังงานที่เป็นส่วนหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลับมีสัดส่วนพลังงานที่มาจากฟอสซิลถึง 80% ขณะที่พลังงานทางเลือกกลับยังมีสัดส่วนอยู่เพียงแค่ 12 % เท่านั้น</p>
<p>แม้ที่ผ่านมาในด้านเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกไม่ว่าจะเป็นพลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ จะสามารถตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการช่วยรักษาสภาพภูมิอากาศได้ และการประชุม COP ในครั้งนี้มีการตั้งเป้าให้มีสัดส่วนพลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้น อีก 3 เท่าตัว ซึ่งกฤษฎาให้ความเห็นว่า เป็นเรื่องยากในสถานการณ์ปัจจุบันที่กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันยังคงไม่เปลี่ยนแปลง “อุตสาหกรรมทั้งหมดของโลกต้องเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่หมดเลย รวมทั้งสถาบันการเงินการธนาคารก็ต้องปรับใหม่หมด เราไม่ได้เรียกร้องให้เขา (กลุ่มผู้ค้าน้ำมัน) ล้มละลาย แต่เรียกร้องให้เขาเปลี่ยนไปสู่โอกาสใหม่และเศรษฐกิจใหม่ เพียงแต่ว่าแต่เขายังอยู่กับประโยชน์แบบเดิมมันเลยไม่เปลี่ยน” กฤษฎา มองว่าการเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานของโลก ให้มีพลังงานทางเลือกเป็นหลัก จึงไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่นานาชาติต้องจริงจังในการเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมของโลกขนานใหญ่</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">กองทุน Lost and damage fund ความสำเร็จของCOP28 ?</span></h3>
<p>สิ่งที่ถูกยกขึ้นมาว่าเป็นความสำเร็จสำคัญในการประชุม COP28 ครั้งนี้ คือการสามารถจัดตั้งกองทุน “Loss and Demage Finance Fund” ได้เป็นการสำเร็จ ซึ่งเป็นกองทุน ที่จะให้ประเทศพัฒนาแล้วร่วมกันลงเงิน ช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา ในการใช้รับมือหากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือผลกระทบจากวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศรุนแรง เพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถฟื้นฟูทางด้านเศรษฐกิจและด้านโครงสร้างขึ้นมาได้อีกครั้ง </p>
<p>แม้แนวคิดเรื่องกองทุนนี้ เริ่มก่อรูปมานานหลายปี มีการพูดคุยเรื่องหลักการมาตั้งแต่ COP ครั้งที่ผ่าน ๆ มา แต่มีบทสรุปที่ชัดเจนเป็นรูปร่างมากที่สุด และเริ่มมีการลงเงินกันใน COP ครั้งนี้ ในมุมของ กฤษฎาเห็นด้วยกับการจัดตั้งกองทุนลักษณะนี้ขึ้นมา เพราะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประมาณที่สูง ควรจะต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ</p>
<p>โดยอธิบายว่าในการประชุม COP หลายครั้งที่ผ่านมา มีการจัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นหลายกองทุน แต่ก่อนหน้านี้กองทุนต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักไปยังการพัฒนาด้าน “Mitigation” คือสนับสนุนในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมุ่งเน้นไปยังเรื่องของเทคโนโลยี อย่างการสร้างนวัตกรรมดักจับก๊าซ หรือการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกตลาด อย่างเช่นตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งผลของมันถูกมองว่าล้มเหลวไม่สามารถตอบโจทย์ให้เหล่าอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง</p>
<p>จึงเริ่มมีการเรียกร้องจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ให้มีการใช้เงินช่วยเหลือมุ่งเน้นมายังการพัฒนาอีกด้านหนึ่งคือ “Adaptation” คือการช่วยเหลือในการปรับตัวจากผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเป็นการให้เงินช่วยเหลือกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่มีศักยภาพในการปรับตัวต่ำ หรือกลุ่มประเทศที่กำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพอากาศอย่างรุนแรง เพื่อให้สามารถปรับตัวรับมือกับผลกระทบได้
 
“เพียงแต่ว่าจะทำยังไงที่จะสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเงินเหล่านี้ได้อย่างจริงจัง ที่ผ่านมาเงินเหล่านี้มักจะไปติดอยู่กับองค์กรใหญ่ ๆอย่างหน่วยงานราชการ” หลายปีที่ผ่านมีกองทุนด้านการปรับตัวนี้เกิดขึ้นมากมาย แต่ไม่ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เงินส่วนใหญ่ไม่สามารถลงไปถึงประชาชนในชุมชนที่ประสบปัญหาได้จริง แต่ไปกระจุกอยู่กับองค์กรขนาดใหญ่ของรัฐ</p>
<p>“เม็ดเงินมันไปไม่ถึงประชาชนข้างล่าง จะเห็นได้ว่ามีเม็ดเงินค้างอยู่ข้างบนเต็มไปหมดเลย เราต้องปลดปล่อยเงื่อนไขการเข้าถึงเงินทุนที่เป็นข้อจำกัดเหล่านี้ให้ได้” กฤษฎา ได้ยกตัวอย่างงบประมาณของ กองทุนภูมิอากาศสีเขียว หรือ Green Climate Fund ที่เกิดขึ้นในการประชุม COP ครั้งที่ 16 เพื่อเพื่อส่งเสริมประเทศกำลังพัฒนาให้สนองตอบต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เงินจากกองทุนนี้ลงมาประเทศไทย ในโครงการหลักเพียงโครงการเดียวเท่านั้น โดยเป็นโครงการของกรมชลประทานในการสร้างคลองส่งน้ำ ซึ่งควรอยู่ในแผนหลักของหน่วยงานอยู่แล้ว </p>
<p>ดังนั้นเงินทุนเพื่อการปรับตัวเหล่านี้จึงควรถูกระจายลงมาให้กับชุมชนที่ได้รับกระทบจากสภาพภูมิอากาศโดยตรงมากกว่านี้ ด้วยการให้ชุมชนแต่ละแห่งสามารออกแบบแนวทางการปรับตัวของตัวเอง เช่นการปรับปรุงพันธ์พืชที่สามารถทนต่อภัยแห้ง ปรับปรุงระบบน้ำในพื้นที่ หรือสร้างแผนฟื้นฟูป่าของชุมชน ซึ่งแต่ละชุมชนเผชิญกับรูปแบบปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่แตกต่างกัน </p>
<p>“แต่ถ้าหากไม่ยอมแก้ที่ต้นเหตุ คือการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ ความเสียหายมันจะขยายตัวไปเรื่อย ๆ คนจะเดือดร้อนจากอาหาร จากโรคภัย และภัยพิบัติมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ใช้เงินเท่าไหร่ก็ชดเชยไม่พอ” กฤษฎากล่าว แต่ในท้ายที่สุดแล้ว แม้จะมีกองทุนที่ชาติมหาอำนาจ ให้เม็ดเงินสนับสนุนด้านการปรับตัวจากเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือนานาชาติต้องร่วมกัน แก้ไขสาเหตุหลักของปัญหาคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หากไม่อย่างนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจะเกินกว่าที่ใครจะสามารถเยียวยาและปรับตัวได้ </p>
<p>“มันจะกลายเป็นการที่ประเทศมหาอำนาจ บอกได้ว่าตัวเองพยายามช่วยโลกนี้กันแล้ว ด้วยการลงขันในกองทุน Lost and fund แล้วสุดท้ายก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในจำนวนมากต่อไป” หากไม่อย่างนั้นกองทุนต่าง ๆที่ช่วยเหลือด้านการเยียวและปรับตัว จะกลายเป็นเพียงอีกข้ออ้างในการฟอกเขียวให้กับประเทศมหาอำนาจอ้างความชอบธรรมในปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปได้ </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ไทยไร้บทบาทในเวทีโลก แนวทางสิ่งแวดล้อมไม่เปลี่ยนแปลง</span></h3>
<p>ในส่วนของประเทศไทยภายใต้การนำของรัฐบาลชุดใหม่ ได้ส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมเวที COP28 เช่นเดียวกับทุกครั้งที่ผ่าน โดยในครั้งนี้  พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ขึ้นกล่าวถ้อยแถลง ในช่วงการประชุมระดับสูง โดยมีใจความหลัก ยืนยันว่าประเทศไทยได้ทำตามสิ่งต่างๆ ที่ให้สัญญาไว้กับนานาชาติ คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 40% ภายในปี 2040 เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2040 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0 ภายในปี 2065 </p>
<p>และได้กล่าวถึงที่มีการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ โดยมองว่าการระดมเงินทุนของนานาจะสามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาให้สามารถบรรลุเป้าทางสิ่งแวดล้อมได้</p>
<p>“เราไม่มีบทบาทในการเจรจา เรื่องการพูด (การขึ้นกล่าวพล.ต.อ.พัชรวาท) แค่ 3 นาทีผมว่าไม่มีความหมายอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยในเวลา 3 นาทีควรเรียกร้องอะไรที่เป็นประเด็นของโลกบ้าง” กฤษฎา มองว่าด้วยความที่รัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้มีแนวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของตัวเองที่ชัดเจน เป็นการเดินตามนโยบายของรัฐบาลชุดก่อน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 หรือเป้าหมายอื่นที่ซึ่งล้วนมีมาตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน</p>
<p>การแถลงของไทยจึงกล่าวถึงแต่การที่ไทยจะทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอน หรือบอกถึงความก้าวหน้าของไทย ซึ่งเคยมีการประเมินจากต่างชาติว่านโยบายลดก๊าซเรือนกระจกของไทยนั้นที่ผ่านมาล้มเหลว รวมทั้ง ในความเห็นของ กฤษฏา ไทยไม่ได้มีบทบาทในการร่วมผลักดันประเด็นปัญหาสำคัญภายในโต๊ะเจรจา หรือมีการแสดงจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อมของตัวเองที่ชัดเจน</p>
<p>“รัฐบาลเศรษฐาหรือประยุทธ์สนใจอยู่อย่างเดียวคือภาคธุรกิจ ของไทยจะไปรอดในสถานการณ์โลกร้อนได้อย่างไร แต่ไม่ได้ตั้งคำถามว่าเราจะช่วยโลกอย่างไร ประชาชนในประเทศจะปรับตัวเอาตัวรอดยังไง” กฤษฎา กล่าวถึงจุดยืนของไทย บนเวที COP ว่าอยู่ในภาคการเงินและธุรกิจเป็นหลัก เป้าหมายหลักของรัฐบาลจึงเป็นเช่นว่า จะสามารถนำดึงเม็ดเงินลงุทน และเงินช่วยเหลือจากกองทุนต่าง ๆ มาสู่ประเทศได้อย่างไร</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107644
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ ‘ครูทิว’ ทำไมสังคมจึงใจร้ายและตัดสิน ‘หยก’ เร็วเกินไป
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 198 กระทู้ล่าสุด 31 กรกฎาคม 2566 22:15:23
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ 'น้องสาววารุณี' กับ 13 วันผ่านไปที่พี่สาวอดอาหารน้ำทวงสิทธิประกันตัว 
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 194 กระทู้ล่าสุด 03 กันยายน 2566 04:07:54
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ 2 ศิลปินข้างถนน เมื่อศิลปะถูกปิดกั้นด้วยกฎหมายและอำนาจนิยมแบบไทยไทย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 148 กระทู้ล่าสุด 20 กันยายน 2566 04:27:40
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คุยกับ ต๋ง-ปูน ทะลุฟ้า เมื่อคนรุ่นใหม่ถูกตัดสินว่าเป็นอันธพาลในสายตาผู้พิพากษ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 178 กระทู้ล่าสุด 22 กันยายน 2566 23:24:34
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'กรีนพีซ' ขอนายกทบทวนกรอบท่าทีเจรจา COP28 ซึ่งเอื้ออุตสาหกรรมฟอสซิล-บรรษัทขนาด
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 102 กระทู้ล่าสุด 06 ตุลาคม 2566 14:25:52
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.498 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 14 กันยายน 2567 11:28:44