ศาลรธน. ฟันเสนอแก้ 112 เท่ากับ 'ล้มล้างการปกครอง' สั่ง 'พิธา-ก้าวไกล' เลิกการกระทำ
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-01-31 15:49</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยให้การเสนอแก้ ม.112 ของ “พิธา – พรรคก้าวไกล” เป็นการใช้สิทธิเพื่อล้มล้างการปกครอง และลดสถานะความคุ้มครองพระมหากษัตริย์ สั่งพิธา – พรรคก้าวไกล เลิกการกระทำเพื่อให้มีการแก้หรือยกเลิก ม.112</p>
<p> </p>
<p>31 ม.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” และ “พรรคก้าวไกล” เสนอแก้ ม.112 เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ หลังธีรยุทธ สุวรรณเกสร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าการกระทำของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลขณะนั้น ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และ พรรคก้าวไกลในฐานะผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งและยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่</p>
<p>
สำนักข่าวเดอะสแตนดาร์ดสรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยระบุว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและพยานหลักฐานเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ กำหนดประเด็นต้องวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 2 เป็นการล้มล้างการปกครองตามรธน.มาตรา 49 หรือไม่</p>
<p>รัฐธรรมนูญมาตรา 49 มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ ระบอบประชาธิปไตยและพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการให้ความหมายเพื่อให้เห็นรูปแบบการปกครองของรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คุ้มครองไม่ให้ถูกบั่นทอนทำลายหลักการพื้นฐานของรัฐธรรม</p>
<p>ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สองคล้องกับหลักการระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ องค์พระมหากษัตริย์อยู่ในสถานะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ จึงมีความชอบธรรมที่ต้องมีกฎหมายคุ้มครองพระมหากษัตริย์ ในฐานะประมุข และในสถาบันหลักของชาติ</p>
<p>การที่พรรคก้าวไกลเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยแก้จากหมวดความมั่นคงเป็นความผิดหมดใหม่ โดยจัดเรียงตามลักษณะความผิดใหม่เป็นหลายลักษณะ ประมวลกฎหมายอาญาในแต่ลักษณะบัญญัติความสำคัญตามหมวดไว้แล้ว และม.112 อยู่ในหมวดความมั่นคง สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 สถาบันจึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงของรัฐ การกระทำความผิดต่อพระมหากษัตริย์จึงเป็นการกระทำความผิดในการทำลายความมั่นคงของชาติด้วย การที่ผู้ถูกร้องกล่าวว่าให้แก้กฎหมายโดยเพิ่มเหตุพิสูจน์ความผิดได้นั้น เพื่อดำรงไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ย่อมทำให้ผู้กระทำความผิดใช้เป็นข้อกล้าวอ้างในการต่อสู้คดีได้นั้น ไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 6</p>
<p>การที่ผู้ถูกร้องเสนอให้ ม.112 เป็นความผิดอันยอมความได้ และให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ร้องทุกข์ เป็นการลดสถานะความคุ้มครองพระมหากษัตริย์ ทำให้สถาบันกลายเป็นคู่ขัดแย้งต่อประชาชน ส่งผลให้การกระทำความผิดไม่ใช่การคุ้มครองสถาบันหลักของชาติ</p>
<p>การที่ผู้ถูกร้องใช้การเสนอแก้ ม.112 เป็นการหาเสียงเลือกตั้ง แม้ไม่มีร่างกฎหมายอยู่แล้ว แต่ยังปรากฏบนเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาในการแก้ไขทำนองเดียวกับร่างกฎหมายที่เคยเสนอ ประธานสภา ศาลเห็นว่า พรรคก้าวไกลร่วมกับพิธายื่นร่างแก้กฎหมายดังกล่าว รวมถึงเนื้อหาเป็นพฤติการณ์ที่ต้องการลดทอนการคุ้มครองสถาบัน ใช้กระบวนการนิติบัญญัติเป็นวิธีการเพื่อซ่อนเร้น มีพฤติการณ์รณรงค์หาเสียงต่อเนื่อง ศาลเคยวางหลักสาระสำคัญไว้ว่า พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ทรงดำรงไว้อยู่เหนือการเมือง และเป็นกลางทางการเมือง การใช้เป็นนโยบายพรรคหาเสียงเลือกตั้ง และกระทำต่อเนื่อง เป็นการนำสถาบันลงมาเพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกตั้ง สถาบันกลายเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชน และเป็นการแบ่งฝักฝ่ายทางการเมือง</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53500032450_f3ea8e7362_b.jpg" /></p>
<p> </p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53498727167_9db59c54be_b.jpg" />ผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 2 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรค 1 และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้ง 2 เลิกการกระทำ เลิกการแสดงความคิดเห็น การพูดการเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 อีกทั้งไม่ให้มีแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรรมนูญ ม.49 วรรค 2 และ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 ม.74</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/01/107864