เวทีสะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนและคดีการเมืองไทยที่ยังไม่ถูกสะสาง ก่อนไทยจะไปคณะมนตรีสิทธิฯ ของ UN
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-02 23:38</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและนักกิจกรรมร่วมกันสะท้อนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและปัญหาผู้ต้องขังคดีทางการเมืองในไทยที่สะสมต่อเนื่องมา 3-4 ปีที่ยังไม่ถูกสะสาง ก่อนรัฐบาลไทยจะเดินหน้าเข้ารับเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/cR_q_3asYKY?si=GLH0xAb98NBTD9jz&start=820" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>2 ม.ค. 2567 เวลา 18.00 น. ฝ่ายสื่อสารของเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนรายงานถึงเสวนา “Thailand’s Road to the UN Homan Rights Council หนทางสู่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ประเทศไทย จะทำได้หรือเปล่า?” ที่จัดโดย แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน</p>
<p>เวทีเสวนามีตัวแทนจากองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กร ได้แก่ เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, Arnaud Chatlin ผู้แทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR), วิทิต มันตาภรณ์ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ, คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ใบปอ ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกียวโต และผู้ลี้ภัยทางการเมือง, ธนภัทร ชาตินักรบ นักวิชาการ ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศและศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, อัครชัย ชัยมณีการเกษ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศและนโยบาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และเฝาซี ลาเต๊ะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์เชิงนโยบายของแอมเนสตี้ฯ ร่วมเสวนา</p>
<p>งานเสวนานี้กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ประกาศเจตจำนงค์ในการเสนอตัวเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Human Rights Council) ในช่วงวาระปี 2568 - 2570 ในฐานะตัวแทนเดียวของสมาคมอาเซียน ในงานจึงมีการกล่าวถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยตลอด 3 - 4 ปีที่ผ่านมานี้ว่าประเทศไทยเหมาะสมแล้วหรือไม่ที่จะได้รับที่นั่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>วิทิต มันตาภรณ์ ผู้รายงานพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้เริ่มปาฐกถางานเสวนาในหัวข้อ “Thailand - In search of the rights way” โดยกล่าวเน้นเรื่องความพร้อมของประเทศไทย ขอให้รัฐบาลพิจารณาในสิ่งที่เคยสัญญาไว้อนุสัญญาต่าง ๆ ทั้งเรื่องทางด้านมั่นคง สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี โดยเห็นว่าในอนาคต สิทธิมนุษยชนยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับประเทศไทย และหวังว่าจะเป็นเรื่องที่เรายังพัฒนาไปข้างหน้าไปด้วยกันได้</p>
<p>ต่อมา อัครชัย ชัยมณีการเกษ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศและนโยบาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้กล่าวถึงสถานการณ์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมในประเทศไทย โดยสรุปให้ฟังถึงการติดตามข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า ปัจจุบันประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิและเสรีภาพของประเทศไทยยังคงอยู่ในภาวะวิกฤติของเสรีภาพทางการชุมนุม</p>
<p>จากการเก็บข้อมูลของศูนย์ทนายฯ ตั้งแต่ปี 2557 - 2563 องค์กรศูนย์ทนายให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอยู่ราว 30 - 40 คดีต่อปี แต่ในช่วงปี 2563 ที่มีการชุมนุมใหญ่กลับพบว่าองค์กรต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น 234 คดีต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่กระโดดสูงมาก และหากดูในส่วนของคดี ม.112 ก็พบว่าจากผู้ที่ถูกดำเนินคดีเพียง 55 ราย ก็เพิ่มขึ้นเป็น 263 ราย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 378 เปอร์เซ็นต์ ภายหลังการชุมนุมใหญ่ในปี 2563</p>
<p>อัครชัย ได้สรุปภาพรวมว่าแม้จะมีการเลือกตั้งและเปลี่ยนผ่านรัฐบาล แต่จนถึงวันนี้ (2 ก.พ. 2567) ยังคงมีการสั่งฟ้องคดี ม.112 เพิ่มขึ้นอยู่ในทุกเดือน</p>
<p>เฝาซี ลาเต๊ะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์เชิงนโยบายของแอมเนสตี้ฯ ได้อธิบายเพิ่มในส่วนภาพรวมของการออกมาใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมของประเทศไทยว่า จากการเก็บข้อมูลของ Mob Data Thailand มีการชุมนุมเกิดขึ้นอย่างน้อย 3,582 ครั้งตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา โดยเป็นการชุมนุมในประเด็นที่หลากหลาย อาทิเช่น ความเท่าเทียม ที่ดิน และการเมือง เฝาซีเห็นว่าตัวเลขดังกล่าวมีนัยที่น่าสนใจ และน่าภูมิใจในการเคลื่อนไหวของประชาชน แต่ในอีกนัยหนึ่งตัวเลขดังกล่าวก็เป็นการโชว์ความล้มเหลวต่อการตอบสนองในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล</p>
<p>ทั้งนี้ เฝาซีได้เสนอให้เห็นถึงตัวเลขจำนวนครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมมีมากกว่า 70 ครั้งในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และเข้าขัดขวางการชุมนุมกว่า 148 ครั้ง โดยหนึ่งในรูปแบบวิธีการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดคือการใช้กระสุนยางยิงใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งเกิดขึ้นกว่า 125 ครั้ง</p>
<p>และในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา มีการจับกุมเด็กและเยาวชนโดยไม่มีหมายจับจากศาล มีการใช้เครื่องพันธนาการต่อเด็กและควบคุมตัวรวมกับผู้ใหญ่ และยังมีตัวเลขของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าร่วมการชุมนุมอย่างน้อย 200 ราย</p>
<p> </p>
<p>เฝาซี สรุปในภาพรวมว่าจากการตรวจสอบในเรื่องการจับกุม ไม่เคยมีครั้งใดที่ศาลเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติโดยไม่ชอบทางกฎหมาย และไม่เคยมีการเยียวยาหรือสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นอย่างจริงจัง</p>
<p>ต่อมา มีการเสวนาในหัวข้อ ประสบการณ์และผลกระทบจากการเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักกิจกรรที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย</p>
<p>ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ หรือ ใบปอนักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง นักกิจกรรมจากกลุ่มทะลุวัง เริ่มต้นด้วยการเล่าประสบการณ์จากการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการตกเป็นผู้ต้องหาในคดี ม.112 พบว่ามีการคุกคามเกิดขึ้น และขัดขวางไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมืองหลายครั้งตลอดจนปรากฏภาพความรุนแรงผ่านทางภาพสื่อสังคมออนไลน์ และความรุนแรงเหล่านี้มักมีจุดเริ่มต้นจากตัวของเจ้าหน้าที่รัฐที่ก่อความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม</p>
<p>ตัวแทนจากทะลุวังเสนอว่า ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ จะต้องรวม ม.112 ไปด้วย เพราะ ม.112 ก็เป็นคดีทางการเมืองที่มีผู้ถูกดำเนินคดีเยอะพอ ๆ กับคดีประเภทอื่น ๆ ปัจจุบันมีนักโทษทางการเมืองอยู่ 39 ราย มีหลายคนคดีสิ้นสุดแล้ว ถ้าพระราชบัญญัตินี้ออกมาได้ ก็จะส่งผลดีต่อเพื่อน ๆ ในเรือนจำของเรา และส่งผลให้ภาพด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยดีขึ้น</p>
<p>คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ยังได้แสดงความคิดเห็นและกล่าวถึงประเด็นที่น่าเป็นห่วงในเรื่องการแจ้งสิทธิขั้นพื้นฐานกับผู้ต้องหา และไม่แจ้งพื้นที่ควบคุมตัวกับผู้ต้องหา ซึ่งเป็นอุปสรรคของทนายความ ที่ไม่สามารถเข้าถึงผู้ต้องหาได้ ซึ่งกล่าวได้ว่าการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งในเรื่องการจับกุมเยาวชนที่เข้าใช้สิทธิในพื้นที่ชุมนุม ไม่ได้กระทำโดยละมุนละมอม มีการจับเด็กไปรวมกับผู้ใหญ่ในห้องขังเดียวกัน ซึ่งมันเป็นภาพที่ไม่ควรเกิดขึ้น</p>
<p>คุ้มเกล้า กล่าวต่อว่าเรามีปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองจริง ๆ จากการทำรัฐประหาร ปี 2557 มันไม่แปลกที่จะมีกลุ่มคนเห็นต่างออกมาเรียกร้องสิทธิของตัวเอง และมันนำไปสู่การเกิดขึ้นคดีทางการเมือง เราต้องยอมรับให้ได้ว่ามันมีความขัดแย้งตรงนี้ และมาตรา 112 ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือของกลุ่มคนที่เห็นต่าง กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์นำมาแจ้งความดำเนินคดี ตอบโต้กลุ่มประชาชนอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ม.112 จึงสมควรที่จะต้องรวมอยู่ใน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนนี้ด้วย</p>
<p>จากนั้นปวิน ชัชวาลพงษ์พันธุ์ เริ่มต้นกล่าวว่าตัวเองก็โดนมาตรา 112 ในหลายคดี และเห็นว่าบทลงโทษในข้อหาดังกล่าว มันขาดความสมดุลกับการกระทำผิด และไม่เหมาะสมที่จะต้องมีบทลงโทษสูงขนาดนั้น และในประเด็นเกี่ยวกับการคุกคาม เขาเองก็มีความเข้าใจมากเพราะเป็นหนึ่งในบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยไทยที่หนีออกมาจากการคุกคามของรัฐไทย ซึ่งมีหลายกรณีเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา</p>
<p>นอกจากนี้ ปวินยังกล่าวว่าสังคมไทยไปไกลมากแล้ว การพยายามเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมของประชาชนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกับการอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ แต่ท้ายที่สุด แม้เขาจะปิดประตูทางกฎหมายได้ แต่จะไม่มีใครสามารถปิดประตูการพูดในพื้นที่สาธารณะได้</p>
<p>ทั้งนี้ ปวินกล่าวถึงพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชนว่า เขาเห็นด้วยกับทุกคนในพื้นที่นี้ว่า นิรโทษกรรมควรรวมข้อหา ม.112 เพราะมันมีการใช้เป็นเครื่องมือกับคนที่เห็นต่าง แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือการคืนความยุติธรรมให้กับผู้ต้องหาคดีการเมืองทุกคน</p>
<p>ธนภัทร ชาตินักรบ นักวิชาการ ประจำศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศและศูนย์กฎหมายแพ่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากประเทศไทยคาดหวังจะเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ก็ควรจะพิจารณาถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ อาทิเช่น ความมั่นคงของรัฐ ก็ต้องมาตีความกันว่าความมั่นคงดังกล่าวคืออะไร หรือในเรื่องความั่นคงทางสาธารณะสุข ที่ถูกเอามาใช้ดำเนินคดีกับการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะก็ต้องตีความกันว่ามีข้อยกเว้นอะไรได้บ้าง</p>
<p>ประเทศที่ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการหลายประเทศ ก็มีการพิจารณาในหลากหลายประเด็น ซึ่งมองว่าประเทศไทยก็ยังมีสิทธิที่จะได้และไม่ได้ หลายเรื่องที่ยังเกิดข้นในประเทศไทยที่คิดไว้ว่ามันจะเป็นแบบหนึ่ง แต่สุดท้ายมันก็ไม่ได้เป็นแบบที่เราคิด และมีสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอยู่พอสมควรที่จะได้รับเลือกให้มีที่นั่งในเรื่องนี้</p>
<p>สุดท้าย ธนภัทรกล่าวว่ากฎหมายที่บังคับใช้ ทั้งเรื่องสิทธิและพื้นฐานต่าง ๆ ท้ายที่สุดเราก็ต้องมองว่า คนใช้บังคับกฎหมายนั้น ๆ ใช้มันอย่างเท่าเทียมหรือไม่</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/02/107897