[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤศจิกายน 2567 00:36:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เสวนา "การศึกษาทางเลือกสู่ทางรอด" ยกโมเดลศูนย์การเรียน จัดการศึกษายืดหยุ่น  (อ่าน 121 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มีนาคม 2567 23:51:59 »

เสวนา "การศึกษาทางเลือกสู่ทางรอด" ยกโมเดลศูนย์การเรียน จัดการศึกษายืดหยุ่น กันเด็กหลุดออกจากระบบ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2024-03-21 20:39</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: สำนักข่าวชายขอบ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เด็กไร้สัญชาติศูนย์การเรียน 'ไร่ส้มวิทยา' เชียงใหม่ จบการศึกษา พร้อมจัดเสวนา "การศึกษาทางเลือกสู่ทางรอด" เผยตัวเลขใหม่เด็กหลุดจากระบบ 1.02 ล้านคน หลายฝ่ายชี้รูปแบบศูนย์การเรียนช่วยรองรับ-มีความยืดหยุ่นมากกว่า 'เตือนใจ' เผยห่วงเด็กเคลื่อนย้าย จี้รัฐไทยรองรับ</p>
<p> </p>
<p>21 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวชายขอบ รายงานวันนี้ (21 มี.ค.) ที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ป.6 เป็นรุ่นแรกจำนวน 24 คน โดยนักเรียนส่วนใหญ่เป็นบุตรหลานแรงงานข้ามชาติที่อพยพจากประเทศพม่าเข้ามาทำงานอยู่ในสวนส้มใน อ.ฝาง นอกจากนี้ ยังมีเด็กนักเรียนเชื้อสายกะเหรี่ยงจากศูนย์การเรียนศรีสุวรรณสะเนพ่อง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี มาร่วมงาน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53601974715_bfa882787b_b.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้ บรรยากาศพิธีจบการศึกษามีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้สนใจในแวดวงการศึกษามาร่วมแสดงความยินดีกับเด็กๆ กันอย่างคับคั่ง พร้อมทั้งมอบใบประกาศวุฒิการศึกษา เช่น เตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย ปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ศิริกาย วรปรีชา รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็ก กระทรวงยุติธรรม เรืองยศ ปันศิริ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 3 พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคด้านการศึกษา (กสศ.) วิทิต เติมผลบุญ เลขาธิการสมาคมศูนย์การเรียนโดยองค์กรชุมชน และเอกชน</p>
<p>ขณะที่พ่อแม่ของเด็กๆ ซึ่งสวนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ดาราอ้าง ต่างนำดอกไม้และพวงมาลัยมาแสดงความยินดีกับบุตรหลาน โดยปาน และอยู่คำ แสนดี พ่อแม่ของ ด.ญ.มีนา นักเรียนที่จบชั้น ป.6 กล่าวว่ารู้สึกดีใจที่ลูกได้เรียนที่ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยาจนจบ เพราะตอนแรกที่อพยพเข้ามาทำงานในสวนส้มไม่ได้คิดว่า ลูกสาวจะได้รับการศึกษาใดๆ ที่สำคัญคือครอบครัวต้องหาเช้ากินค่ำ จึงไม่มีเงินพอที่จะส่งลูกเรียน</p>
<p>"ในสวนส้มเต็มไปด้วยยาและสารเคมี เรารู้สึกเป็นห่วงสุขภาพของลูกมาก เพราะเราต้องอาศัยอยู่ในนั้นทั้งวันทั้งคืน แต่เมื่อลูกๆ ได้มาเรียนที่ศูนย์การศึกษาแห่งนี้ทำให้รู้สึกสบายใจ เพราะพวกเขาได้มีพื้นที่วิ่งเล่นที่ไม่เสี่ยงอันตราย และที่นี่ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ทำให้ไม่ต้องลำบากในการหารายได้เพิ่มขึ้น" แสนคำ กล่าว และระบุว่า ตอนนี้ตนและสามีได้ย้ายมาอยู่ที่โรงงานแห่งหนึ่งใน อ.ไชยปราการ ทำให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53601716558_256ea08bb9_b.jpg" /></p>
<p>ปาน และอยู่คำ กล่าวร่วมกันว่า พวกตนเข้ามาทำงานที่สวนส้มใน อ.ฝาง เพราะหมู่บ้านในเขตเมืองปั๋น รัฐฉาน ประเทศพม่า เพราะเกิดการสู้รบและไม่มีงานทำ ดังนั้น จึงต้องหอบลูก 2 คนเข้ามาหางานทำ อย่างไรก็ตาม ทราบว่าขณะนี้กำลังมีประชาชนจากรัฐฉานอีกจำนวนมากอพยพเข้ามาไทยอีก เพราะในพื้นที่มีการสู้รบที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ ขณะที่การที่ทางการพม่าบังคับให้คนหนุ่มสาวไปเกณฑ์ทหาร ทำให้มีคนหนีเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีใครอยากเป็นทหารพม่า</p>
<p>หลังจากมอบวุฒิการศึกษาแล้วได้มีการเสวนา "การศึกษาทางเลือกสู่ทางรอด" โดย พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กศส. กล่าวว่า เรามีเด็กอยู่ในระบบการศึกษาไทย 12 ล้านคน แต่ไม่สามารถตรวจสอบเด็กนอกระบบการศึกษาได้ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว แต่นายกฯ เข้ามารับตำแหน่งสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาข้อมูลส่วนนี้โดยข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์พบว่า เรามีเด็กอายุ 3-18 ปี เรามีอยู่ 13 ล้านคน มีความต่างกับตัวเลขในระบบการศึกษาอยู่ 1.02 ล้านคน ซึ่งไม่มีตัวเลขอยู่ในระบบการศึกษา</p>
<p>พัฒนะพงษ์ กล่าวว่า ตัวเลข 1.02 คนทำให้ตัวเลขเป็นไปในทางเดียวกัน และหลายหน่วยงานทำงานร่วมกันเพื่อลงไปช่วยเหลือ เราอยากเห็นการจัดการศึกษาที่หลากหลายเหมือนศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา หรือโรงเรียนห้วยซ้อ และดึงภาคส่วนต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยตัวเลขนี้เมื่อ 3 ปีก่อนอยู่ที่ 8 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา</p>
<p>พิเศษ ถาแหลง ผู้อำนวยการ โรงเรียนห้วยซ้อวิทยาคม กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เด็กเสี่ยงหลุดจากการศึกษา คือสภาพครอบครัวที่ยากจนและความไม่สมบูรณ์ของครอบครัว เด็กบางคนต้องช่วยทำงานช่วยเหลือพ่อแม่ วิธีการที่เราพยายามช่วยขับเคลื่อนให้เขาได้เรียนเมื่อเขามีข้อจำกัดเรื่องทำมาหากิน วิธีแก้ปัญหาคือให้โอกาสด้านการศึกษาโดยหลักยืดหยุ่นในการเรียนรู้และการประเมิน โดยต้องมีความเมตตากรุณากับเขา </p>
<p>"การจัดการศึกษาควรเพิ่มความหลากหลายและยืดหยุ่นให้ตรงสภาพความเป็นจริงกับเด็ก โรงเรียนในระบบต้องปรับตัวโดยให้โอกาสกับเด็ก โดยส่วนตัวแม้อยู่ในระบบก็ไม่รู้สึกกลัวว่าจะทำผิดหรือทำให้ราชการเสียประโยชน์" พิเศษ กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53601504281_d8343cfa39_b.jpg" /></p>
<p>สมบูรณ์ ใจปิง ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยพ่าน อ.เชียงกลาง จ.น่าน กล่าวว่า เด็กที่เรียนจบมาจำนวนมากไม่มีงานทำ ดังนั้น จึงต้องทำอย่างไรในการปรับหลักสูตร ขณะที่เด็กยากจนยิ่งลำบาก การศึกษาในระบบต้องปรับเปลี่ยน และใช้ระบบการศึกษาทางเลือก เพราะเด็กยากจนพ่อแม่ไปทำงานฝากลูกไว้กับปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่หย่าร้างกัน เด็กกลายเป็นปัญหาสังคม ซึ่งการศึกษาทางเลือกเป็นทางออก จึงต้องปรับหลักสูตรการเรียนการสอน</p>
<p>เรืองยศ ปานศิริ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กล่าวว่า ตอนนี้บรรยากาศของการศึกษาทางเลือกเชื่อว่า เด็กๆ ทุกคนต้องได้เรียน เรามีเด็กนักเรียนในระบบกว่า 4.3 หมื่นคน มีเด็กชาวเขา 9 พันกว่าคนจาก  15 ชาติพันธุ์ เป็นเด็กไทใหญ่มากที่สุด เราในฐานะที่เป็นราชการพยายามให้โอกาสเท่ากัน </p>
<p>ชมนตร์พัสตร์ ปานวิลัย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า เราแก้ปัญหาเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาโดยเริ่มจากการลงพื้นที่จุดเล็กๆ และได้แนวคิดว่าต้องไปลงชุมชนซึ่งให้ข้อมูลเราดีมาก เพราะผู้ใหญ่บ้านรู้หมด เมื่อได้ตัวรายบุคคลก็จะได้เหตุผลทำไมเขาถึงไม่เรียน ซึ่งต้องมีกระบวนการนำเขาเข้าสู่รบบการศึกษา ซึ่งต้องมีความยืดหยุ่น ซึ่งเกิดระบบ 1 โรงเรียน 3 รูปแบบ ขณะเดียวกัน ยังมีการศึกษาในรูปแบบศูนย์การเรียนรองรับ</p>
<p>"ปัจจุบันมีเด็กที่เรียนในระบบโฮมสคูลเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 1 พันครอบครัว มีผู้เรียนกว่า 2 หมื่นคน เรายังมีศูนย์การเรียนโดยชุมชนและศูนย์การเรียนที่ช่วยเก็บเด็กที่หลุดการศึกษา แต่เรื่องการจ่ายค่าหัวให้เด็กกลุ่มนี้เราได้เสนอไปยังสภาการศึกษาแล้ว เราอยากผลักดันเพื่อลดการเหลื่อมล้ำ" ลิลนิ กล่าว</p>
<p>วีระ อยู่รัมย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา กล่าวว่า ตลอดการทำงานมา 6 ปีสิ่งที่ท้าทายมากคือเด็กเคลื่อนย้าย บางเทอมหายไป 40 คน ถ้าบอกต่อเราก็ประสานให้ซึ่งเด็กจะไม่หลุดจากระบบ เพราะหากให้ผู้ปกครองสื่อสารกับโรงเรียนเองเด็กหลุดแน่นอน เพราะอาจเลยกำหนดส่งรายชื่อและมีผลเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ แต่ที่ศูนย์การเรียนแห่งนี้เด็กสามารถเข้ามาได้เลย</p>
<p>"สิ่งที่เราทำของที่นี่มากกว่าเรื่องการศึกษาคือเรื่องคุณภาพชีวิต เรื่องความปลอดภัย เรื่องความมั่นคง เราลงพื้นที่พบว่าเด็กๆไม่อยากให้ปิดเทอมเพราะอยากมาโรงเรียนเขาไม่มีที่วิ่งเล่น จะเก็บส้มก็ถูกด่า วันนี้เราแสดงความยินดีกับเด็ก 24 คนที่เรียนจบซึ่งก็น่ายินดี แต่วันพรุ่งนี้ละ เด็กกลุ่มนี้จะไปไหน เขาจะไปเรียนที่ไหน คุณครูถามเด็กว่าจะไปที่ไหนต่อ เขาบอกไม่ไป อยากอยู่ที่นี่ ดังนั้นการศึกษาต้องออกแบบ" ผอ.ศูนย์การเรียนไร่ส้มวิทยา กล่าว</p>
<p>เตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า รู้สึกห่วงใยเด็กเคลื่อนย้าย ซึ่งมีตัวอย่างกรณีเด็กอ่างทองที่ถูกส่งกลับประเทศเพื่อนบ้านเพราะไม่มีพ่อแม่มาอยู่ด้วย ปัจจุบันเด็กกลุ่มนี้ถูกมองเหมือนเป็นเชื้อโรค เพราะไม่มีใครรับ เราไม่ควรมองแต่เด็กไทย เราควรให้โอกาสกับเด็กเหล่านี้ ประเทศไทยควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยหลังจากที่เขาต้องเคลื่อนย้าย แต่เขาไม่ได้ต้องการแค่ที่เรียนแต่ต้องการความปลอดภัยด้วย ขณะที่เด็กในโรงเรียนขนาดเล็ก 40 คนก็กลัวถูกยุบ เป็นแนวคิดที่ไม่ยืดหยุ่นและไม่หลากหลาย</p>
<p>"เราพูดถึงทางเลือกทางรอด แต่ระบบการศึกษาและหลักสูตรแข็งตัวมากเกินไป แตกต่างจากศูนย์การเรียนรู้ เราจะดูแลเด็กที่บ้านแตกสาแหรกขาดมั้ย เรามีช่องว่างทางการศึกษามาก ตรงนี้เป็นความท้าทายของระบบการศึกษาไทย" เตือนใจ กล่าว</p>
<p>นิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือ 'ครูตี๋' ผู้ก่อตั้งโฮงเฮียนแม่น้ำโขง กล่าวว่า การศึกษาของมนุษย์มีหลากหลายรูปแบบ ตนทำโฮงเฮียนแม่น้ำโขง ซึ่งก็เป็นโรงเรียนทางเลือกทางรอดของมนุษย์ โดยเกิดจากการขับเคลื่อนเพื่อปกป้องและดูแลทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น แม่น้ำโขงได้รับผลกระทบจากการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต เราจึงต้องติดตามเรื่องเหล่านี้โดยใช้องค์ความรู้เป็นฐานขับเคลื่อนโดยใช้งานวิจัยท้องถิ่นเป็นเครื่องมือ </p>
<p>"เราพยายามสร้างให้คนท้องถิ่นตระหนักเรื่องของตัวเองทั้งด้านนิเวศและวัฒนธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของมนุษย์ องค์ความรู้เหล่านี้สำคัญมากกับเยาวชน สิ่งที่สำคัญสุดคือถึงเวลาที่คนรุ่นใหม่ต้องตระหนักและเข้าใจธรรมชาติให้มากที่สุด เราจึงเน้นการขับเคลื่อนกับคนรุ่นใหม่ เราบูรณาการกับโรงเรียนในระบบและร่วมกันสร้างหลักสูตร" นิวัฒน์ กล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108522
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เสวนา หนังสือ "ญาณสังวรธรรม ๑๐๑ สารธรรม"
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1412 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 03:02:20
โดย มดเอ๊ก
เสวนา "จากซัมเมอร์ฮิล ถึง หมู่บ้านเด็ก และ โฮมสคูล"(สภาท่าพระอาทิตย์ ASTV NEW 1)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 1615 กระทู้ล่าสุด 13 ธันวาคม 2559 18:18:42
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - เสวนา 'แลนด์บริดจ์ตอบโจทย์ใคร' ชี้เรือขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ใช้ต้นทุนสูง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 199 กระทู้ล่าสุด 09 ธันวาคม 2566 14:19:06
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา "จับกระแสพม่า: สงครามและการสร้างรัฐหลังรัฐประหาร" [คลิป]
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 135 กระทู้ล่าสุด 05 กุมภาพันธ์ 2567 19:46:19
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เสวนา "จับกระแสพม่า: สงครามและการสร้างรัฐหลังรัฐประหาร" [คลิป]
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 155 กระทู้ล่าสุด 05 กุมภาพันธ์ 2567 21:16:29
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.195 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 5 ชั่วโมงที่แล้ว