สช.หนุนเครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ ส่ง จม.เปิดผนึก 'ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม' คนกลุ่มนี้ถึง รมว.สาธารณสุข
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 01:52</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สช. ร่วมดัน เครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ ยื่นจดหมายเปิดผนึก “ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม” ของคนกลุ่มนี้ ต่อ รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข</p>
<p>1 เม.ย.2567 กลุ่มงานสื่อสารสังคม สช. รายงานต่อสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา เวลา 13.00 -14.30 น. ณ ห้องการบูรณ์ ชั้น 3 อาคาร 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคีเพื่อส่งเสริมสุขภาวะคนข้ามเพศ นำโดย ณชเล บุญญาภิสมภาร ประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (ThaiTGA) ยื่นจดหมายเปิดผนึก สะท้อนสถานการณ์ปัญหาและข้อเรียกร้องเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาสุขภาวะคนข้ามเพศ ต่อ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมอบหมายให้ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับจดหมายเปิดผนึก เนื่องในกิจกรรมรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาวะคนข้ามเพศ ระหว่างวันที่ 27 - 30 มี.ค. 2567</p>
<p>ภาคีเพื่อส่งเสริมสุขภาวะคนข้ามเพศ ได้รายงานสถานการณ์ และข้อจำกัดด้านบริการสุขภาพในหน่วยบริการของรัฐ ดังนี้</p>
<p> 1. ปัญหาความชัดเจนในมาตรฐานและคุณภาพการให้บริการ และทัศนคติของผู้จัดบริการที่ต้องมีความเข้าใจความหลากหลายทางเพศ</p>
<p> 2. ขาดบริการด้านสุขภาพที่ครอบคลุมถึงพื้นที่ในต่างจังหวัด</p>
<p> 3. ขาดการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ การจัดบริการในมิติสุขภาพที่เน้นเพียงบริการด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เท่านั้น</p>
<p> 4. ขาดมิติทางสุขภาพที่เป็นองค์รวมเพื่อการมีสุขภาวะของคนข้ามเพศ</p>
<p>ยื่น 6 ข้อเสนอ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ
ของคนข้ามเพศ สู่การมีสุขภาวะที่ดี ดังนี้</p>
<p> 1. จัดบริการด้านเอชไอวีในกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศให้เป็นบริการที่เน้นการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของบุคคล</p>
<p> 2. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนข้ามเพศ ในการติดตามและการนําเสนอความก้าวหน้าในงานวิจัยและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบรอบด้าน</p>
<p> 3. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพทุกระดับ ให้มีทักษะ มีความรู้ และมีความละเอียดอ่อน
ในการจัดบริการด้านสุขภาพให้กับคนข้ามเพศ</p>
<p> 4. สนับสนุนและพัฒนาข้อมูลวิชาการ การวิจัยในระบบบริการสุขภาพแบบรอบด้าน ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนข้ามเพศ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม</p>
<p> 5. สนับสนุนการพัฒนามาตรฐานและระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับคนข้ามเพศสูงวัย</p>
<p> 6. พัฒนาบริการด้านสุขภาพจิต ให้เป็นไปตามมาตรฐานการดูแลสุขภาพสำหรับบุคคลข้ามเพศ
และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ฉบับที่ 8 ในการออกหนังสือรับรองแก่ผู้หญิงข้ามเพศในการเกณฑ์ทหาร</p>
<p>ทั้งนี้ เตชิต ชาวบางพรหม หัวหน้าศูนย์ขับเคลื่อนสุขภาวะเขตเมือง (ศสม.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับทีมเครือข่ายคนข้ามเพศ เสนอให้มีการจัด Pride health assembly หรือ สมัชชาสุขภาพที่เป็นธรรมของคนข้ามเพศ ภายในปี 2567 เพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพัฒนาข้อเสนอนโยบายนำไปสู่การดำเนินงานเพื่อลดช่องว่างต่อไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/04/108653