[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 22:06:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พญารากดำ หรือ หญ้ารักนา  (อ่าน 303 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 123.0.0.0 Chrome 123.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 เมษายน 2567 14:04:46 »



พญารากดำ หรือ หญ้ารักนา

ที่มา - คอลัมน์โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2567
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2567


เมื่อกล่าวถึงสมุนไพรชื่อ “พญารากดำ” จะพบว่าในเมืองไทยของเรามีพืชที่เรียกว่า พญารากดำ ไม่น้อยกว่า 4 ชนิด

แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกันไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าเป็นคนละชนิด ได้แก่

1) Ludwigia octovalvis (Jacq.) P.H.Raven หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า หญ้ารักนา หรือเทียนน้ำ สมุนไพรชนิดนี้อยู่ในวงศ์ Onagraceae ซึ่งมีชื่อในภาษาไทยว่า วงศ์พญารากดำ

2) Diospyros defectrix H.R.Fletcher พญารากดำหรือมะเกลือกา

3) Diospyros variegata Kurz พญารากดำหรือดำดง ดงดำ ดีหมี อีดำ พลับดำ น้ำจ้อย

และ 4) Huberantha cerasoides (Roxb.) Chaowasku พญารากดำหรือกระเจียน สะบันงาป่า ค่าสามซีก

หากค้นหาฟังสรรพคุณของผู้รู้หรือพลิกตำรายาไทย รวมถึงมีผู้สนใจศึกษาวิจัยกันบ้างนั้น ก็จะกล่าวถึงพญารากดำที่เป็นไม้ยืนต้น แต่ในวันนี้จะขอนำเสนอ พญารากดำ ที่มาจากวงศ์พญารากดำ (Onagraceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ludwigia octovalvis (Jacq.) P.H.Raven หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หญ้ารักนา มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Mexican primrose-willow, Narrow-leaf Water Primrose, Seedbox, Mexican Primrose Willow

ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีการกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย จึงมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นหลากหลายชื่อ เช่น หญ้ารักนา (ภาคเหนือ) พญารากดำ (นราธิวาส) ตับแดง (ภาคใต้) เทียนน้ำ (ตรัง ปัตตานี) เป็นต้น

พญารากดำ หรือ หญ้ารักนา เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 60-120 เซนติเมตร

ใบออกแบบเรียงสลับ ใบแคบรูปไข่ถึงรูปใบหอก ปลายแหลม ยาว 1-15 เซนติเมตร กว้าง 1-4 มิลลิเมตร สีเขียวเข้ม

ดอกมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบดอกรูปหัวใจ 4 กลีบ สีเหลือง บางและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงเป็นหลอดยาว

ผลเป็นทรงกระบอก ยาว 20-45 มิลลิเมตร กว้าง 2-8 มิลลิเมตร

หญ้ารักนามีลักษณะคล้ายกับต้นเทียนนามากแต่เทียนนามีใบกว้างกว่า

ในประเทศมาเลเซียนิยมนำใบหญ้ารักนามาชงเป็นชา แต่ไม่มีหลักฐานว่าใช้เป็นเครื่องดื่มหรือใช้เป็นยา

และใช้เป็นยาพื้นบ้านรักษาอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารไม่ปกติ เช่น ท้องร่วง (diarrhea) และ บิดมีตัว (dysentery)

ในฐานข้อมูลสมุนไพรของพืชในเขตร้อนกล่าวว่า พญารากดำหรือหญ้ารักนาเป็นสมุนไพรมีฤทธิ์ขับลม เป็นยาระบาย และขับพยาธิ ใช้ในการรักษาโรคท้องร่วง โรคบิด โรคทางระบบประสาท ซึ่งถือว่ามีคุณสมบัติในการระงับปวดและใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อใช้รักษาอาการปวดรูมาติก

นอกจากนี้ เมื่อนำใบมาขยี้จะมีลักษณะเป็นเมือก ใช้เป็นยาพอกรักษาอาการปวดต่างๆ รวมถึงอาการปวดหัว อัณฑะอักเสบ (orchitis) และต่อมน้ำเหลืองบวม ใช้เป็นยารักษาแผลในจมูก

และหญ้ารักนายังสามารถใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เพื่อให้มีประจำเดือน นอกจากนี้ ยังใช้แก้อาการคันด้วยการนำมาต้ม และใช้น้ำยาอุ่นๆ มาล้างส่วนที่คัน เช่น อาการคันที่เท้า

ฐานข้อมูลสมุนไพรของฟิลิปปินส์ กล่าวถึงการใช้หญ้ารักนาเป็นยาสมานแผล ขับลม ขับปัสสาวะ และยาฆ่าแมลง

มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นคุณสมบัติลดไข้ สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านเบาหวาน ในบรรดาชนเผ่าต่างๆ ในเกาะลูซอนตอนเหนือ

มีการใช้สารสกัดจากใบรักษาโรคอีสุกอีใส นำทั้งต้นมาบดแล้วนำไปแช่ในบัตเตอร์มิลก์ (Buttermilk) ใช้แก้ท้องเสียและบิด นำทั้งต้นไปทำเป็นยาต้มใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาขับลม ยาระบาย แก้อาการท้องอืด กินแก้ไอเป็นเลือดและระดูขาว

นำใบมาบดเป็นยาสมานแผล ใช้พอกบริเวณที่ปวดหรืออักเสบ รากใช้รักษาโรคผิวหนัง

ในอินเดีย ใช้ใบเป็นยาทาภายนอกกับแผลเปื่อย โดยเฉพาะกลากที่เป็นมานาน ในกลุ่มชาวทมิฬ ในอินเดีย ใช้น้ำที่คั้นจากใบบรรเทาอาการไอและเป็นหวัด ในเขตทูบาล (Thoubal) ของรัฐมณีปุระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ชุมชนเมเตอิ (Meitei) และ ลอย (Loi) นำทั้งต้นมาต้ม เพื่อให้ได้สารสกัดมาดื่มเพื่อรักษาโรคเบาหวาน

ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย น้ำใบใช้รักษาอาการไข้ที่ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว และลดต่ำลงมาเป็นปกติ (intermittent fever)

ในเขต Tinsukia รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ชุมชนชาติพันธุ์นำต้นพญารากดำหรือหญ้ารักนามาผลิตเป็นครีมสมุนไพรแก้เชื้อราที่นิ้วเท้า

การใช้ของประเทศต่างๆ อีกจำนวนมาก เช่น ชาว Keffi ในไนจีเรียใช้รากในการรักษาโรคผิวหนัง โดยนำรากมาต้มให้ได้สารสกัด นำน้ำที่ได้มาดื่มวันละ 3 ครั้งเพื่อรักษาอาการที่ผิวหนัง ในเซนต์ลูเซีย (Saint Lucia) ใช้เป็นยาขับระดู (emmenagogue)

นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาขับพยาธิปากขอโดยนำมาต้มและใช้ล้างเท้า ในประเทศไนจีเรีย เนื้อพืชจะถูกต้มและใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ ในชวา (อินโดนีเซีย) ใช้รักษาแผลเน่าเปื่อยที่จมูก ในเวียดนามใช้ต้นสดเป็นอาหารเลี้ยงหมู

ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของพญารากดำหรือหญ้ารักนาเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้เป็นยาลดไข้ พบว่ามีคุณสมบัติเทียบเท่าพาราเซตามอล ยาแก้ท้องร่วง สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน สรรพคุณปกป้องตับ สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านแบคทีเรีย สารต้านเบาหวาน คุณสมบัติเป็นยาแก้ไอ สารชะลอวัยและอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก

พญารากดำหรือหญ้ารักนาที่มีอยู่ทั่วไปในไทยแลนด์นี้ จัดว่าเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เหตุนี้หรือไม่ที่เรามองข้ามและให้ความสนใจน้อยมาก ในขณะที่ภูมิปัญญาจากรอบบ้านเรามีการใช้ประโยชน์อย่างมาก

พญารากดำหรือหญ้ารักนา คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ แต่สรรพคุณมากเหลือ •

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.28 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 07 พฤศจิกายน 2567 02:21:09