[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 15:29:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อิเหนา : สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต แปลจากต้นฉบับภาษามะลายู  (อ่าน 554 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 125.0.0.0 Chrome 125.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2567 14:18:32 »



อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู


คำนำของผู้แปล

ในกระบวนหนังสือไทยเก่า จะหาเรื่องใดที่จับใจและขึ้นใจชาวเรายิ่งไปกว่าหรือแม้แต่ทัดเทียมเรื่องอิเหนานั้นมีน้อยนัก ก็และเรื่องอิเหนานั้นย่อมมีต่างๆ กันอยู่หลายฉบับ เช่นที่เรียกอิเหนาใหญ่ และอิเหนาเล็ก มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโบราณ เนื้อเรื่องต่างกันมาก ยังมีอิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ และที่เจนใจกันมากที่สุด คืออิเหนาพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ซึ่งมีเนื้อเรื่องแปลกออกไปอีก ด้วยทรงดัดแปลงร้อยกรองโดยเฉพาะให้เป็นท่วงทีงดงามดี เหมาะแก่การเล่นละคอน ในเชิงรำก็ให้ท่าทีจะรำได้แปลกๆ งามๆ ในเชิงจัดคุมหมู่ละคอนก็ให้ท่าทีจะจัดได้เป็นภาพงามโรง ในเชิงร้องก็ให้ทีที่จะจัดลู่ทางทำนองไพเราะเสนาะโสตร ในเชิงกลอนก็สละสลวยเพราะพริ้งไม่มีที่เปรียบ อาจเล่นละคอนให้สมบูรณ์ครบองค์ห้าของละคอนดีได้ คือ ๑. ตัวละคอนงาม ๒. รำงาม ๓. ร้องเพราะ ๔. พิณพาทย์เพราะ ๕. กลอนเพราะ ซึ่งสำเร็จเป็นทั้งทัศนานุตตริยะ และสวนานุตตริยะอย่างไพบูลย์

ก็และด้วยเหตุความขึ้นใจดั่งกล่าวมานั้นประการหนึ่ง กับด้วยความเข้าใจกันแพร่หลายว่าเป็นพงศาวดาร หรือตำนานประวัติการยุคหนึ่งของประเทศชวาอีกประการหนึ่ง ใครมาถึงเกาะชวาจึ่งเว้นไม่ได้ที่จะสืบสาวราวเรื่อง เทียบกับหนังสือนั้น อย่างน้อยเพียงถามหาถิ่นฐานบ้านเมืองที่กล่าวในหนังสือเรื่องอิเหนา และสอบสวนว่าถ้อยคำพากย์ชวามะลายูที่ใช้ในพระราชนิพนธ์นั้น ตรงกับที่มีใช้อยู่ในภาษาปัตยุบันนี้อย่างไร อย่างแรงขึ้นไปอีกก็ถึงสอบสวนว่า ผู้ที่มีชื่อในหนังสือนั้นเกี่ยวดองกับราชวงศ์เจ้าชวา ซึ่งสืบวงศ์ครองเมืองอยู่เวลานี้บ้างอย่างไร การสอบสวนก็ไม่สู้ได้ผล นอกจากในเชิงถ้อยคำค้นไปนานๆ ก็พบโดยมากว่าถูกต้อง จะมีผิดเพี้ยนบ้างก็ไม่มากนัก แต่ในส่วนถิ่นฐาน ย่อมได้ความแต่รัวๆ รางๆ เพราะความเป็นไปของบ้านเมืองย่อมผันแปรไปโดยกาล เช่นที่กล่าวว่าเป็นนครหลวงกลายเป็นบ้านเล็กเมืองน้อย หรือเพียงหมู่บ้านหรือถึงรกร้างสูญชื่อเสียงก็มี และที่สืบถึงความสัมพันธ์กับวงศ์สกุลเจ้าชวาปัตยุบันนี้นั้นเหลวเลยทีเดียว เพราะราชวงศ์ย่อมตั้งและล้มซับซ้อนกันมามาก แต่ข้อสำคัญนั้น เรื่องอิเหนามิใช่พงศาวดารหรือตำนานบ้านเมืองเสียเลยทีเดียว เป็นเพียงนิยายอันหนึ่งที่เล่าสืบกันมาเท่านั้น นิยายเชิงตำนานเช่นนี้ของไทยเราก็มีมากซึ่งมีผู้เข้าใจผิดๆ ไปว่าเป็นพงศาวดาร ปัญหาจึงมีว่าอะไรเป็นนิยาย หรือเรื่องต้นเค้าของหนังสือเรื่องอิเหนา

ในชั้นนี้ค้นได้เรื่องหนึ่ง คือเรื่อง “ปันหยี สะมิหรัง” ที่แปลนี้ ต้นฉบับเก่าเป็นหนังสือภาษาชวา เก็บไว้ที่ห้องสมุดของสมาคมศิลปวิทยาเมืองบะตาเวีย ส่วนฉบับที่ได้มาแปลนี้ เป็นภาษามะลายู แปลจากต้นฉบับชวานั้นอีกชั้นหนึ่ง คำ “สะมิหรัง” แปลว่า แปลงหรือปลอมตัว คือว่าปันหยีแปลง คำนี้มีอีกนัยหนึ่งว่า “มิสาหรัง” ซึ่งเตือนให้นึกถึงหนังสืออิเหนาของเราซึ่งออกชื่อปันหยีว่า “มิสาระปันหยีสุกาหรา” จะอย่างไรก็ตามเมื่ออ่านไปแล้วย่อมตระหนักว่า มีเค้าที่จะลงรอยกับเรื่องอิเหนาของเราแต่ในกระบวนชื่อเมือง ชื่อคนและวงศ์วารบ้างเท่านั้น ว่าโดยเนื้อเรื่องแล้วต่างกันมากอยู่ จะเทียบกับอิเหนาใหญ่หรืออิเหนาเล็กก็ไม่ตรงกันทั้งนั้น ส่วนที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงไร ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวในที่นี้ปล่อยไว้ให้ผู้อ่านพิจารณาเอง

การที่เนื้อเรื่องแตกต่างกันมากดังนี้ ถ้าจะอนุมานว่าเป็นเหตุเพราะคนที่นำเรื่องเข้าไปเล่าในกรุงสยามนั้นฟั่นเฟือนจำเรื่องไม่ได้ จึงไปเล่าผิดเพี้ยนไปจากเค้าเรื่องเดิมก็เห็นจะไม่เป็นการถูกต้อง ด้วยดูผิดแผกกันเกินที่จะหลง จึ่งน่าคิดเป็นอย่างอื่น คืออย่างหนึ่งผู้รับฟังเรื่องในกรุงสยามครั้งโน้น เมื่อเรียบเรียงลงเป็นหนังสือ เห็นว่าเรื่องราวของเดิมไม่สนุกพอ จึงดัดแปลงเสียตามชอบใจ หรือมิฉนั้น อีกอย่างหนึ่งก็คือว่าเรื่องราวอันตั้งเค้าโครงเป็นอย่างเดียวกันนี้มีอยู่เป็นหลายเรื่องด้วยกันมาแต่เดิม เช่นเป็นรูปอิเหนาใหญ่เรื่องหนึ่ง เป็นรูปอิเหนาเล็กเรื่องหนึ่ง เป็นรูปเรื่องปันหยีสะมิหรังนี้อีกเรื่องหนึ่ง และคงจะยังมีรูปอื่นยิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีก น่าเชื่อมากว่าเป็นเช่นที่กล่าวอย่างหลังนี้ จึ่งยังจะต้องสืบค้นต่อไป อาจพบฉบับที่มีเค้าเรื่องตรงกับอิเหนาใหญ่หรืออิเหนาเล็ก

อนึ่ง ข้าพเจ้าอนุมานว่าผู้ที่นำเรื่องอิเหนาเข้าไปเล่าในกรุงสยามครั้งกรุงเก่านั้น คงจะเป็นคนชวาหรือมะลายู แต่คงจะมีล่ามแปล ล่ามนั้นน่าจะเป็นชาวมะลายูทางปักษใต้ซึ่งพูดไทยได้เป็นเสียงชาวนอก หรือเป็นคนไทยชาวนอกที่พูดมะลายูได้ เหตุฉนั้นสำเนียงชื่อเสียง และคำมะลายูทั้งปวงที่ใช้ในเรื่องอิเหนาจึ่งมีเสียงผันเป็นเสียงชาวนอก ด้วยภาษามะลายูก็ดีชวาก็ดี ไม่มีเสียงผัน ถ้าไม่มีเสียงชาวนอกมาแซกแล้ว ชื่อเสียงในหนังสืออิเหนาก็ไม่น่าจะใช้เสียงผันดังนั้น ตัวอย่างเช่น ตาฮา เปนดาหา สิงคัสซารี เป็นสิงหัศส้าหรี บายัน เป็นบาหยัน วายัง เป็นว่าหยัง เป็นต้น แต่นี้เป็นการเดาโดยแท้ ไม่มีหลักฐานอะไรประกอบ อย่างไรก็ดี สำเนียงที่ใช้ในชื่อเสียงถ้อยคำเหล่านี้ ตามระเบียบในหนังสืออิเหนาของไทย เป็นที่ขึ้นใจแก่ไทยเราเสียเต็มประดาแล้ว จะแปลงเสียงไปอย่างอื่นก็รู้สึกเคอะ เพราะฉนั้น เมื่อเรียบเรียงคำแปลเรื่องปันหยีสะมิหรังนี้ ข้าพเจ้าจึงใช้สำเนียงคล้อยตามไปอย่างอิเหนาฉบับภาษาไทยนั้น เพื่อให้เป็นที่ซึมทราบ แต่ที่ผิดแผกกันก็กระแหนะไว้บ้างพอให้เห็นต่างกัน อนึ่งสำเนียงสระอี กับสระเอ สระอุ กับสระโอ สองคู่นี้ในภาษามะลายูใช้สับปลับกันเนืองๆ แล้วแต่ถิ่นที่อยู่ของผู้พูด เช่น บุหรง จะว่าบุหรุง หรือมะดีหวี จะว่ามะเดหวี ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่างไม่ผิด

อนึ่ง จะขอกล่าวสำทับไว้ว่าหนังสือเรื่องปันหยีสะมิหรังนี้ไม่ใช่พงดาวดารตำนานเมืองชวา เป็นเพียงนิทาน ถ้าจะเรียกว่าเป็นเรื่องพงดาวดาร ก็ได้แต่โดยพยัญชนะของคำนั้น กล่าวคือ เรื่องวงศเทวดาอวตาร

ในการแปลหนังสือนี้ ข้าพเจ้ามิได้ใช้วิธีแปลด้น ได้พยายามพี่สุดที่จะแปลให้ตรงคำตรงความตลอดไป เพื่อผู้อ่านจะได้เห็นสำนวนหนังสือของกวีชวา ซึ่งอ่านโดยพจารณาจะเห็นได้ว่าสำนวนที่เขาใช้นั้นก็มีท่วงทีนักเลงในเชิงกวีอยู่ไม่น้อย

                                                                                                 บันดุง ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 125.0.0.0 Chrome 125.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2567 14:24:45 »



อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

ผู้เจ้าของเรื่องนี้กล่าวว่า นิทานนี้เป็นเรื่องในกะยาหงัน โลกสวรรค์ชั้นฟ้า ใคร่จะทำเป็นบทละคอน เพื่อให้กลายเป็นตำนานนิยายด้วย เหตุว่าในกาลนั้นในโลกเรานี้ ยังไม่ครึกครื้นแน่นหนาฝาคั่งและมนุษย์ก็ยังไม่มีมากนัก จึงชาวกะยาหงันปรึกษาพร้อมใจกันจะลงสู่ยังโลกพิภพ เพื่อจะได้เกิดเป็นเรื่องละคอนและตำนานยืดเยื้อสืบไปช้านาน

ครั้นพร้อมใจกันดังนั้นแล้ว ต่างก็จุติลงยังมนุษย์โลก ในจำนวนนี้เข้าสู่รูปมนุษย์เป็นระตู สี่องค์ คือ ระตูกุรีปัน ระตูดาหา และระตูกากะหลัง กับพระนางบุตรี นีกู คันฑะส้าหรี ณเขากูหนุงวิลิส๑๐ ซึ่งประตาปา๑๑ผนวชอยู่ ณ ที่นั้น

ก็และระตูทั้งสี่นี้เป็นพี่น้องกันสิ้น และต่อมาภายหลังก็กลายเป็นเรื่องนิทานที่สนุก อันพวกดาหลัง๑๒ นำมาใช้เป็นเนื้อเรื่องใหม่สำหรับเล่นละคอน

เรื่องเทพาวตารจากโลกสวรรค์ลงสู่โลกพิภพ ที่เล่าแถลงนี้ก็มิได้มีความมุ่งมาทอย่างอื่นใดนอกจากจะให้เป็นอุบายและแบบอย่างที่จะให้เกิดเป็นนิทานเรื่องหนึ่ง ซึ่งไพเราะสนุกสนานเท่านั้น

อันระตูที่มีชนมายุยิ่งกว่าองค์อื่นๆ นั้นประทับครองบัลลังก์ราชย์ ณ นครกุรีปั่น มีเกียรติเลื่องชื่อฦๅชาขจรไปทุกประเทศเขตต์นิคมชนบท และทั่วทุกซอกตรอกทาง ร้านตลาด ด้วยอาณาเขตต์ของพระองค์กว้างใหญ่มาก และเป็นที่นิยมรักใคร่ของบรรดาพ่อค้าวานิช เหตุด้วยมีพระราชอัธยาศรัยบริบูรณ์ด้วยขันตีธรรมสุจริตเลิศโดยพระชาติวุฒิ และวิจักขณญาณ๑๓ และเข้มแข็งในเชิงยุทธ เป็นที่รักใคร่ยิ่งนักของประชาชน และเหล่าตำมะหงง๑๔ มนตรีมุข ด้วยพระจรรยาเที่ยงธรรม ไม่โปรดฟังถ้อยคำอันไม่ถูกต้อง ไม่ว่าเรื่องใด ย่อมทรงใคร่ครวญชั่งน้ำหนักผิดชอบก่อนทั้งสิ้น พระราชจรรยาของพระเจ้ากรุงกุรีปั่นมีปกติเป็นประการฉนี้แล

ระตูองค์ที่สองรองลงมานั้นครองราชบัลลังก์นครดาหา.

ก็และระตูดาหานั้นมีอัครชายาเป็นประไหมสุหรีหนึ่ง มีชายารอง๑๕ สองประไหมสุหรีนั้นมีนามว่าพระนางบุตรีบุษบา หนึ่งหรัด๑๖ ส่วนชายารองนั้น นางหนึ่งมีนามว่ามหาเดหวี๑๗ และอีกนางหนึ่งซึ่งสาวกว่าเพื่อน และโปรดมากนั้น มีนามว่าท่านลิกู๑๘ และพระราชอัธยาศรัยของระตูดาหานั้นมักปล่อยพระองค์น้อมไปตามตัณหากามารมย์ หมกมุ่นลุ่มหลงด้วยสตรีเพศ พระชายาสนมนางห้ามคนใดเป็นที่ทรงถวิลจินดา๑๙ สิเนหาตองพระหทัยแล้ว จะมีใจปรารถนาสิ่งอันใดก็ทรงอนุวัตตามเป็นนิตย์ อนึ่ง พระอุปนิสัยมีขันตีธรรมแรงกล้า พระชายาสนมกำนัลในจะเจรจาว่ากล่าวประการใดก็ไม่ทรงถือโทษเอาผิดเสียเลย พระราชจรรยาของเจ้ากรุงดาหามีปกติเป็นประการฉนี้แล.

ฝ่ายว่าองค์ที่สามรองลงมานั้นก็เป็นชาย และได้เป็นราชาครองเมืองกากะหลัง ก็และนครของพระองค์นั้นสงบราบคาบดีด้วยสันติภาพ มีพ่อค้าพานิชน้อยใหญ่ตั้งห้างร้านซื้อขายเป็นอันมาก ทั้งคนที่สมบูรณ์มั่งคั่งก็มีอยู่มากในนครนั้น พระราชวังก็ใหญ่โตสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม ทั้งบรรดาเครื่องตั้งเครื่องแต่งก็ล้วนแต่งามประณีตรุ่งโรจน์ สระน้ำ และกำแพงบรรดามีอยู่ขวาซ้าย ถนนหนทางใหญ่น้อย ก็ล้วนแต่ทำด้วยศิลา ถนนหลวงสายใหญ่ก็ร่มรื่นตลอดไปด้วยต้นไม้ใหญ่อย่างงามๆ กับต้นไม้ผลอันโอชารส

อนึ่งเล่าพระราชอัธยาศรัยของพระองค์นั้น มักทรงคล้อยตามคำพูดและความประสงค์ของคนทั้งหลาย ไม่โปรดที่จะทรงถือโทษเอาผิดผู้หนึ่งผู้ใดเลย ไม่แต่คำของบัณฑิต ซึ่งสโมสรพร้อมใจกันเพื่อจะทำกิจการอันดีอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น แม้แต่คำของพระชายา มนตรี เสนา นักรบ และดะหมัง๒๐ ตำมะหงุงทั้งปวงก็ทรงเชื่อฟังด้วยสิ้น เหตุฉะนั้นนครกากะหลังนั้นจึงแน่นหนาฝาคั่งไปด้วย บัณฑิตและชีพ่อพราหมณ และอาจารย์นักพรตซึ่งลงมาจากภูเขาแล้วเลยตั้งอาศรัยอยู่ในนครนั้น เพื่อจะสั่งสอนกุลบุตรซึ่งเปนชาวนาครกากะหลัง เรื่องดังมีมาเป็นประการฉนี้แล.

ฝ่ายว่าองค์ที่สี่ในจำนวนระตูนั้นเป็นองค์หญิง มีโฉมพระพักตรงามยิ่งนัก ทรงนามว่า บีกู คันฑะส้าหรี มีที่ประทับอยู่บนเขากุหนุงวิสิส เพราะพระอัธยาศรัยของบีกูคันฑส้าหรี นั้น โปรดบำเพ็ญประตาปา และในเวลากลางวันก็ดี กลางคืนก็ดี โปรดแต่ไปประทับอยู่ในป่าชัฎบนเขานั้นเท่านั้น พระองค์ทรงศักดิ์สิทธิ๒๑ยิ่งนัก และมีฤทธิสามารถเล็งเห็นเหตุการณใกล้ไกลทั้งปวง ไม่แต่ว่าในบรรดาคนทั้งหลายที่อยู่ในเมืองกากะหลัง และดาหาเท่านั้น แม้แต่เรื่องราวและความประพฤติของคนที่อยู่ในเมืองห่างไกลยิ่งกว่านั้นก็สามารถเล็งเห็นทราบตระหนักได้

เพราะฉะนั้น บีกูคันฑะส้าหรี จึงประทับอยู่แต่บนกุหนุง ไม่โปรดที่จะประทับอยู่ในบ้านในเมือง และตามข่าวที่คนเล่าแถลงกันนั้น นัยว่าเป็นด้วยเธอเป็นสตรีซึ่งไม่มีความประสงค์จะมีสวามี พระราชามหากษัตริย์ได้มีมาสู่ขอหลายองค์แล้ว เพื่อที่จะหาไปเป็นประไหมสุหรี เธอก็มิได้ทรงรับ กลับรู้สึกเบื่อหน่ายพระหฤทัย เหตุฉะนั้น จึ่งเสด็จออกประตาปา ประทับอยู่แต่ที่อาศรมสถาน ถเ กุหนุงวิลิสนั้นแล.

เมื่อออกบำเพ็ญประตาปาแล้วมิช้านาน ระตูเธอก็ปรีชาสามารถในวิทยาคมต่าง ๆ รอบรู้ในสรรพสิ่งอันน่าพิศวงอัศจรรย์ และกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์มาก ครั้นแล้วก็ทรงสั่งสอนนักพรต พราหมณาจารย์และบัณฑิตเป็นอันมาก จึงมีนามกรฦๅชาปรากฏไปโดยรอบบรรพตนั้น เป็นที่เคารพนับถือของบรรดานักพรตนักบวชซึ่งอยู่ในปกครองของเธอ ด้วยว่าจะตรัสคำใดก็ดี จะประสงค์จำนงหมายสิ่งใดก็ดี ย่อมได้รับเทวานุมัติขององค์ สัง หยัง ชคตนาถ๒๒ ทั้งสิ้น จะขอร้องอันใดมหาเทวาธิราชเจ้าก็โปรดให้สำเร็จตามประสงค์ ทั้งเป็นที่รักของบรรดาเทวาและบะตาระ๒๓ ทั่วไป ไม่แต่พราหมณาจารย์และบัณฑิตเท่านั้น แม้แต่สัตว์ และภูตปิศาจอันดุร้าย บรรดาอยู่ป่าชัฎนั้น ก็ย่อมยำเยงเกรงกลัวก้มศีรษะนบนอบต่อบีกู คันฑะส้าหรีนั้นสิ้น แม้กระทั่งยมบาล ผีคนอง หลอนหลอก และเสือสมิง๒๔ ก็เคารพยำเกรงบีกู คันฑส้าหรีนั้นหมด ก็และที่เธอเสด็จไปประทับอยู่บนกุหนุงวิลิสนั้นได้นำไปด้วยซึ่งพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลใน อันพลอยเป็นนักพรตประตาปาไปด้วย และวิมุติแล้วสิ้นจากตัณหา และความใคร่ ในอันหาสุขหาทรัพย์แห่งโลกนี้ เพราะเหตุเขาทั้งหลายประพฤติเจริญรอยตามพระนางบุตรีนั้น ในจำนวนนางพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในนั้น มีคนหนึ่งซึ่งมีนามว่า อุบุน อุบุน อินหนัง๒๕ เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระนางบุตรีอย่างยิ่ง ไม่ว่าเวลากลางวันกลางคืนเช้าหรือค่ำ และนอบน้อมบูชาสรรเสริญคุณสังหยัง เทวดา ปะตาระชคัต มหาเทวราชอยู่เป็นนิตย์ เรื่องราวความเป็นไปของบีกู คันฑะส้าหรีมีประการดังกล่าวนี้แล

บัดนี้จะย้อนกล่าวถึงองค์ระตูกุรีปั่น เมื่อได้ครองบัลลังกราชย์นั้นมาแล้วมิช้านาน วันหนึ่งก็ถึงกษณฤกษงามยามดี ก็ได้พระราชโอรสองค์หนึ่ง ซึ่งมีโฉมพระพักตรงามศิริวิลาศ พระฉวีวรรณนวลละอองผ่องใสไพโรจน์ลักษณ๒๖ บะตาระ อินทร๒๗ ในกะยาหงันชั้นฟ้าฉนั้น แล้วจึงได้พระนามว่า ระเด่น อินู กรตะปาตี๒๘ ฝ่ายทวยประชาชาวนาครถวายพระนามเรียกว่า ระเด่น อัสมาหรา หนึ่งหรัด๒๙ พระกุมารนี้มีพระพักตรงามยิ่งนัก และเป็นที่สิเนหาของทวยเทพบะตาระและเทวาทั้งหลาย ทั้งมีพระจริยานุวัตรน้อมไปในทางทำบุญให้ทาน ตรัสแต่ปิยวาจาไพเราะเสนาะโสตรอ่อนหวานลมุนลม่อม ประพฤติพระองค์งดงามน่ารักใคร่ อย่าว่าแต่สตรีเพศเลย แม้แต่ผู้ที่เป็นชายยังมีใจพิศวาสดิ์รักใคร่อย่างไม่สมฤดีในองค์ระเด่น อินู กรตะปาตี นั้น ฝ่ายพระราชา สัง ระตู กุรีปั่น ก็ทรงพระสิเนหาอาลัย๓๐เป็นอันมาก ตรัสสั่งกำชับให้พี่เลี้ยงนางนมข้าไทยคอยเฝ้าบริหาร ระแวดระวังเป็นอย่างดี ครั้นพระราชกุมารมีพระชนมายุสมควรจะศึกษา จึงจัดให้เล่าเรียนวิทยาคมบางประการ อันเป็นคุณประโยชน์แก่บุรุษชาติ และได้มีผู้เป็นสหายผู้ตามเสด็จของระเด่น อินู กรตะปาตี นั้นขึ้นสี่คน แต่ล้วนเป็นบุตรขุนนางตำมะหงุงสิ้น คนที่หนึ่งมีนามว่า ยะรุเดะ คนที่สองมีนามว่า ปูนตา คนที่สามมีนามว่า การะตาหลา และคนที่สี่มีนามว่า ประสันตา๓๑ ทั้งสี่คนนี้ได้เป็นผู้บรรเลงตลกคนองและเป็นผู้ตามเสด็จองค์ระเด่น อินู กรตะปาตี จะเสด็จไปไหนก็ตามไปด้วย มิได้พรากจากกันแต่สักวันเดียว อนึ่งเล่าทั้งสี่คนนี้เข้าใจในการที่จะปลอบโยนพระหทัยเจ้านายของตน และฉลาดในอันพูดจาเอาพระหทัยและรับใช้เจ้านาย ด้วยว่าทั้งสี่นายนี้คล่องแคล่วนักในการเล่นหัวฟ้อนรำและทำตลกคนอง จนกระทั่งใครๆ ก็ได้เห็นกิริยาอาการของผู้ตามเสด็จทั้งสี่คนนี้แล้วจะต้องหัวเราะก๊าก ๆ๓๒และถ้าเห็นเขากำลังเล่นตลกคนองแล้ว อย่าว่าแต่คนที่กำลังมีใจเศร้าโศกเลย แม้แต่คนกำลังร้องไห้อยู่ น้ำตาก็เหือดหายไป แล้วก็หัวเราะก๊ากๆ ฝ่ายระเด่น อินู กรตะปาตี ก็โปรดปรานคนตามเสด็จทั้งสี่นี้ยิ่งนัก และฝ่ายข้างทั้งสี่คนนั้นก็มีความจงรักภักดีในเจ้านายของตนเป็นอันมาก ไม่มีเลยแต่สักวันเดียวที่จะห่างจากพระองค์ไปพฤติการณ์เป็นอยู่ดังนี้แล

บัดนี้ จะกล่าวถึง สัง ระตู กากะหลัง เมื่อได้ประทับเหนือบัลลังก์ครองราชย์ ณ นครกากะหลังมาแล้ว มิช้านาน ก็ได้โอรสองค์หนึ่งได้นามว่า ระเด่นสิงหะมนตรี๓๓ สังระตูนั้นจึงตรัสให้มีพี่เลี้ยงนางนมบำรุงเลี้ยงพระกุมารนั้นสืบไป ท้าวเธอทรงสิเนหาอาลัยยิ่งนักในพระราชบุตรนั้น ด้วยว่าพระองค์มีพระราชโอรสแต่องค์เดียวนี้ หามีสองสามรองไปอีกไม่ ครั้นระเด่นสิงหะมนตรีนั้นทรงเจริญเติบใหญ่ขึ้นมีพระอุปนิสัยเลื่อนลอยไม่ดีเลย โปรดแต่คำเยินยอ บางเวลามีพระอัธยาศรัยประดุจวิกลจริต ฝ่ายพระราชาก็ทรงไร้อุบาย และพระหฤทัยไม่แข็งพอในอันจะห้ามปรามป้องกันความประพฤติและการกระทำผิดของพระราชโอรสได้แต่จะคล้อยตามความประสงค์ของเธอ จะขอประทานสิ่งใดก็มีแต่ทรงอนุญาติสิ้น ด้วยทรงสิเนหาอาลัยในพระราชบุตรนี้มากนัก เพราะมีอยู่แต่องค์เดียวเท่านั้น ถึงเวลาพลบค่ำทุกๆ วัน สิงหะมนตรีนั้นก็แต่งภูษาภรณ์อันมีราคาแพงๆ ไม่ยอมแพเจ้านายลูกหลวงอื่นใด ด้วยว่าพระชนกเป็นกษัตริย์มหาศาลครองเมืองใหญ่ ก็และเครื่องภูษิตาภรณ์ที่ทรงนั้นใช้อยู่มินาน พลันก็ผลัดเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เดี๋ยวก็ทรงทองกรรูปนาคประดับพลอยมรกฏและทรงคาดผ้าไหมพันสามรอบขึ้นไปจนจรดพาหา จะทรงทำการสิ่งใดก็ชอบแต่โอ้อวดออกหน้าอยากให้คนสรรเสริญเยินยอ บรรดาชาวนาครใครไม่ชมโฉมหรือไม่ยอมรับว่าเธอเป็นเจ้านายรูปงามแล้วก็ต้องถูกลงพระอาชญาตบเตะ หากใครเยินยอ ดังอุปมา๓๔ ว่า ระเด่น สิงหะมนตรี งามเฉิดฉายว่องไวนักฉนี้ไซร้ ก็ได้ประทานพระอนุเคราะห์๓๕ ด้วยส้าโบะ๓๖ ผ้าคาด และธำมรงค์ซึ่งกำลังทรงอยู่นั้น เพราะเป็นที่พอพระหฤทัยในอันกล่าวชมพระรูปพระโฉมว่าดีงามนั้น อนึ่งเล่า จะตรัสอันใดก็มีแต่พระวาจาก้าวร้าวและหยาบคาย ไม่มีเสียเลยที่จะใช้ถ้อยคำอันสุภาพและโสภณ๓๗หรือเรียบร้อย พระประพฤติของเธอเป็นดังกล่าวนี้แล

บัดนี้จะกล่าวถึงระตูดาหา ท้าวเธอมีราชธิดาสององค์ ๆ หัวปีมีนามว่า พระบุตรี ก้าหลุ จันตะหนา กิระหนา๓๘ เป็นธิดาขององค์ประไหมสุหรี นางมีศิริรูปฉวีวรรณนวลลอองผ่องใสงามสุดที่จะหาคำพรรณาได้ นาสิกประดุจกลีบกระเทียม นัยเนตรดุจดวงดาราทิศบุรพา ขนเนตรงอนพริ้ง นิ้วหัตถ์เรียวประดุจขนเหม้น เพลาน่องดังท้อง (อุ้ง) เมล็ดข้าวเปลือก ส้นบาทดังฟองไข่นก ปรางดังมะม่วงป่าห้อยอยู่ ขนงโค้งดังงากุญชร ริมโอษฐ์ดังโค้งมะนาวตัด เป็นอันยากที่จะเล่าแถลงให้พิศดารยิ่งกว่านี้ ด้วยจะหาที่ตำหนิตรงไหนแต่สักนิดหนึ่งก็หามีไม่เลย เป็นที่สนิธสิเนหาอย่างยิ่งแห่งประไหมสุหรี และพี่เลี้ยงนางนมทั่วไป อนึ่ง มีสาวสรรกำนัลในอยู่สองนางที่เป็นคนโปรดยิ่งนัก นางหนึ่งชื่อว่า เกน บาหยัน และอีกนางหนึ่งชื่อ เกน ส้าหงิด๓๙ นางกำนัลทั้งสองนี้มีความซื่อสัตย์ภักดี๔๐ ต่อองค์ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้น มีลักษณะประดุจว่าเป็นชีวิตอันเดียวกัน อันพระบุตรีและนางกำนัลทั้งสองต่างมีความสิเนหาอาลัยซึ่งกันและกันดังนี้ ก็ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจเทวประสงค์ของเทพเจ้าทั้งหลายนั้นแล

ฝ่ายราชธิดาท้าวดาหาองค์เยาวนั้นเป็นของชายารองผู้มีนามว่าท่านลิกู ส่วนมหาเดหวีไม่มีบุตร ก็แต่กิระดังสดับมานั้นว่าเธอก็มีธิดาองค์หนึ่งนามกรว่า ประบาตะส้าหรี แต่ในหนังสือเรื่องนี้หากล่าวถึงไม่ กล่าวแต่ท่านลิกูเท่านั้นว่า ได้บุตรีมีนามว่า ก้าหลุ อาหยัง๔๑ เป็นธิดาชายารองของระตูดาหา ก็แลอัธยาศรัยของ ก้าหลุอาหยัง นั้น ไม่ซื่อตรงต่อ ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา แม้มีเรื่องอะไรแต่เล็กน้อยก็คอยแต่เก็บทูลฟ้องท้าวดาหา เพราะจะมีเหตุอะไรแต่สักนิดหนึ่ง เธอก็มักจะกรรแสงกลิ้งไปกลิ้งมาที่พื้นต่อหน้าท่านลิกูนั้น และไม่เคยยอมแพ้ใคร ชอบแต่จะให้คนพะนอ ส่วน ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้น มีความประพฤติอ่อนโยน มีนิสัยอดทนและสุจริต คอยแต่ยอมแพ้เสียเสมอ และไม่เคยเอาความไปทูลร้องฟ้องแก่ประไหมสุหรีหรือสังระตูเลย ถึงยังเยาว์และยังไม่เดียงสา ก็รู้รักษาองค์ได้ดีแล้ว แม้กระนั้นก็ดี สังระตูก็ยังสิเนหาอาลัยยิ่งในก้าหลุ อาหยัง นั้น ด้วยก้าหลุ อาหยัง เป็นบุตรีท่านลิกู คือชายารองของสังระตู เหตุว่าท่านลิกูนั้นเป็นชายาสาว สังระตูทรงสิเนหาอาลัยมาก ไม่ว่าจะมีข้อพิพาทประการใดเป็นเอาชนะได้หมด หากว่ามีเรื่องอะไรแม้แต่เล็กน้อย ท่านลิกูนั้นก็มักจะเจรจาประชดกระทบกระแทก เช่นว่า

“เลิกกันเท่านั้นที, จริงสิ ข้าเจ้าเป็นเพียงหญิงชาวตลาด ไม่มีเชื้อวงศ์เทือกเถาเหล่ากอ ไม่มีใครรู้ว่าสืบพันธุ์มาแต่ไหน”

เหตุฉะนั้น สังระตู จึ่งลอายพระหฤทัย และทรงรู้สึกว่าไป ๆ ก็ถูกใส่ร้ายอย่างไม่เป็นธรรม แต่นั้นมาท่านลิกูจะพูดจาว่ากระไรก็ทรงคล้อยตามและตามใจทุกสิ่งทุกอย่าง ตามการณ์ที่เป็นดังนี้ไม่ช้าก็เป็นเรื่องเลื่องฦๅแพร่หลายไปจนกระทั่งถึงกรุงกุรีปั่นและกากะหลัง ซ้ำเมื่อท่านลิกูรู้สึกตนว่า สังระตู ทรงสิเนหาอาลัยในตนมาก ก็เกิดมีใจโหดร้ายขึ้นต่อองค์ประไหมสุหรี ผู้ชนนีของก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้น ด้วยความเกลียดชังอย่างสาหัส ใคร่จะหาอุบายให้สังระตูทรงสละละทิ้งประไหมสุหรีเสียทีเดียว

มาวันหนึ่งประไหมสุหรีทรงแต่งองค์พระบุตรี ก้าหลุ จันตะหรานั้นด้วยเครื่องแต่งบางอย่าง ซึ่งทวีความงามของเธอขึ้นเป็นอันมาก ฝ่ายก้ากลุ อาหยัง ก็มีจิตรฤษยา จึงกลับไปขอให้พระมารดาของเธอคือท่านลิกูนั้นแต่งให้บ้าง ด้วยเธอจะไปประพาศตาหมัน๔๒บันยาส้าหรี กับจันตะหรา กิระหนา ฝ่ายจันตะหรา กิระหนา ใช้ผ้าคลุมเศียรสีชมภู ก้าหลุ อาหยังใช้ผ้าคลุมเศียรสีน้ำเงิน ครั้นก้าหลุ อาหยัง เห็นเครื่องแต่งองค์ของพระพี่นางไม่เหมือนกับของเธอ ซ้ำเห็นผ้าคลุมเศียรงามดียิ่งกว่าด้วย ก้าหลุ อาหยังก็เลยไม่อยากไป ด้วยเกิดทุกข์๔๓ขึ้นในหทัยของนาง ระแวงว่าสังระตูจะโปรดก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ยิ่งกว่าตน และสงกา๔๔ ว่า ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้นจะงามดียิ่งไปกว่าตน ด้วยที่มีทุกข์ระแวงกลัวว่าพระพี่นางจะยิ่งไปกว่าดังนี้ เธอจึงกรรแสงและตรัสว่า

“จริงสิ ข้าเจ้านี้เป็นลูกทิ้งขว้างและเป็นลูกเมียน้อย ไม่ใช่อาหนะ๔๕ ประไหมสุหรีจึงได้เป็นดังนี้ เสื้อผ้าของข้าเจ้านี้สังระตูประทานให้ผิดกัน ไม่ให้เหมือนกันกับองค์พระพี่นาง ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา”

สังระตูได้ทรงฟังถ้อยคำและทอดพระเนตร์เห็นอาการของ ก้าหลุ อาหยัง ดังนั้น ก็ทรงทุกขะจิตต์๔๖ โทมนัศและเจ็บพระหทัยยิ่งนัก แล้วจึงตรัสปลอบด้วยพระวาจาอันลมุนลม่อมว่า

“อุวะ๔๗ ลูกผู้ดวงใจของพ่อ เลิกที อย่าร้องไห้ไปเลย ใช่ว่าพ่อจะแต่งเธอให้ผิดแผกไปจากพี่สาว หรือจะยกย่องให้ต่างกันเมื่อไรมี เดี๋ยวเถอะ พ่อจะสั่งให้เปลี่ยนผ้าคลุมเศียรให้เธอเป็นอย่างอื่นให้งามยิ่งกว่านี้”

จึงก้าหลุอาหยัง สอื้นทูลว่า

“หม่อมฉันไม่รับประทาน จะขอแต่ให้ผ้าคลุมของหม่อมฉันนี้เหมือนกับของพระพี่นางก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้น เท่านั้น”

กาลนั้น สังระตู ก็ตรัสสั่งให้เปลี่ยนผ้าคลุมเศียรเสียใหม่ให้เหมือนกันกับของ จันตะหรา กิระหนา ก็และอันที่จริงนั้นผ้าคลุมทั้งสองผืนนั้นก็มีราคาเท่ากัน หากแต่ต่างรูปต่างสีเท่านั้น อนึ่งเล่าเมื่อจะประทานผ้าทรงเครื่องแต่งแก่สององค์นี้ครั้งใด ก็โปรดให้ก้าหลุ อาหยังได้เลือกก่อนเสมอ แลวจึงประทานเศษ๔๘เหลือจากเลือกนั้นแก่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เพราะ สังระตู ทรงสิเนหาอาลัยโปรดก้าหลุ อาหยังมากกว่า และทรงเห็นแก่ท่านลิกู พระมารดาของเธอนั้นด้วยซึ่งโปรดยิ่งกว่าประไหมสุหรีชนนีของก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้น อีกประการหนึ่งด้วยเหตุที่สังระตูโปรด ท่านลิกูก็ทูลยุยงส่อเสียดอยู่ทุกวันมิได้ขาด จนกระทั่งประไหมสุหา และธิดานั้นหาชีวิตอันสงบสุขมิได้เลย ท่านลิกูผู้มีใจทุจริตเอาชนะได้อย่างนี้ จึงนับวันยิ่งกำเริบถือตัวยิ่งขึ้นโดยอันดับ

ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง เล่า ก็ร้องฟ้องต่อมารดาอยู่แทบทุกวันเช่นว่า “ในพวกพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในข้าหลวงบริวาร๔๙นั้น แต่พอหม่อมฉันไปเล่นกับพระพี่นางจันตะหรา กิระหนาแล้ว เขาสมาคมชวนเล่นชวนคุยแต่กับพระพี่นางเท่านั้น ส่วนหม่อนฉันจะหาคนคบค้าสักคนเดียวก็ไม่มี อย่าว่าแต่จะชวนเล่นเลย แม้แต่จะพูดจาปราสัยเท่านั้นก็ไม่มี

ครั้นท่านลิกูได้ฟังดังนั้น ก็คาดว่าเป็นความจริง จึงลงอาชญาทุบตีตำหนิติโทษแก่บรรดาพี่เลี้ยงนางนมข้าหลวงสาวใช้ทั่วทั้งหมดด้วยกัน ซ้ำด่าว่าตั้งแต่สูงลงไปหาต่ำ ตั้งแต่ปู่ย่าตายายลงไปหาหลาน และติเตียนปรามาทตลอดเจ็ดชั้นชั่วคน นับแต่ปู่ย่าตาทวดลงไปเทียว

มาวันหนึ่ง ต่างองค์ต่างอยากจะไปประพาศเล่น ที่ในสวนบันยารันส้าหรีและเด็ดเก็บดอกไม้ ต่างองค์ก็ทรงเครื่องถึงขนาด และก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ก็ดี ก้าหลุ อาหยัง ก็ดี สาวสรรกำนัลในก็แต่งองค์ถวายเป็นอย่างดี งามพักตรงามรูปราวกับกินรในอินทรโล ๕๐ลงมาสู่พื้นพิภพ ครั้งแต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วจึงจรลีเข้ายังตาหมันบันยารันส้าหรีนั้น มีเกน บาหยัน และเกนส้าหงิดตามเสด็จกับท่านมหาเดหวี ประไหมสุหรี และท่านลิกู ก็ตามเสด็จ สังระตูไปด้วย กำลังบทจรจะเข้าตาหมัน บันยารันส้าหรีนั้น ครั้นเข้าถึงในสวน จึงมหาเดหวีตรัสประพาศว่า “เออแนะ ลูกแม่ จงไปเล่นเก็บดอกไม้กับพี่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาสิ ฝ่ายแม่นี้จะเล่นกับลิกู มารดาของลูกและกับประไหมสุหรี”


-----------------------------------
ต้นฉะบับว่า “บาหาลิยัน ปรตามะ”
ต้นฉบับว่า “กายังงัน” แปลว่าสวรรค์ ในพระราชนิพนธ์อิเหนาใช้คำกะยาหงัน
คำมะลายู “ลาคอน” หรือ “ละลาคอน” แปลว่าเรื่องที่เล่นละคอน ไม่ใช่ตัวละคอน
ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ระตูเป็นเจ้าครองเมืองชั้นต่ำๆ เท่านั้น แต่ในฉบับนี้ เรียกสี่กษัตริย์วงศ์อสัญแดหวาว่าระตู
พ.ร.น. อิเหนา กูเรปั่น
พ.ร.น. อิเหนา กาหลัง  
ต้นฉบับใช้คำ “ปุตรี”
คำ “บีกู” นี้มาจากคำภิกขุ หรือ ภิกษุ ใน พ.ร.น. อิเหนาใช้นำชื่อพราหมณ์ เช่น “บีกูปะระมาหนา” (คำปะระมาหนา มาจากมะลายู “บราหมานะ” คือ พราหมณ)
พ.ร.น. อเหนา สิงหัศส้าหรี
๑๐ พ.ร.น. อิเหนา เรียกเทวิลิสมาหรา
๑๑ พ.ร.น. อิเหนา ใช้คำปะตาปา, คำมะลายู “บูรตาปา” หรือ “ปรตาปา” ผูกมาจากคำสันสกฤต ตะปะ คือ บำเพ็ญตะบะ
๑๒ คำ “ดาลัง” แปลว่าผู้พากย์ละคอน. โขน. กับทั้งพากย์ทั้งเชิด หุ่น. หนัง พ.ร.น. อิเหนา “ดาหลัง”
๑๓ ต้นฉบับใช้คำ “มิจักซานะ” – พิจักษณ
๑๔ ต้นฉบับ “ตะมังงุง” แปลว่าขุนนางชั้นหนึ่ง พ.ร.น. อิเหนาใช้ว่า ตำมะหง และใช้ฉะเพาะเสนาผู้ใหญ่
๑๕ ต้นฉบับใช้คำ “คุนดิ๊ก” ซึ่งแปลโดยนัยสามัญว่าอนุภรรยา ใน พ.ร.น. อิเหนามีระเบียบมเหษี ๕ คือประไหมสุหรี, มะดีหวี, มะโต, ลิกู และเหมาล่าหงี, คำคุนดิ๊กไม่มีใช้ใน พ.ร.น. อิเหนา.
๑๖ ต้นฉบับว่า “ตอน ปุตรี ปุสปะ นิงรัต”
๑๗ ต้นฉบับว่า “มาหาเดวี” คือมหาทวี ใน พ.ร.น. อิเหนากลายไปเป็นมดีหวี, ในคำแปลนี้เขียนมหาเดหวีเพื่อจะรักษาสำเนียง พ.ร.น. อิเหนาไว้บ้าง
๑๗ ต้นฉบับว่า “ปาดุกะ ลิกู” คำปาดุกะ เป็นคำยกย่องใช้ได้แต่เจ้าแผ่นดินลงไปจนถึงขุนนาง ตรงกับพระบาท, ฝ่าบาท, ใต้ท้าว ฯลฯ ในคำแปลน่าใช้ “ท้าว” แต่เกรงจะกลายเป็นเฒ่าแก่ท้าวนางไป จึงใช้ “ท่าน” ซึ่งเป็นคำกลาง ๆ
๑๘ ต้นฉบับว่า “ปาดุกะ ลิกู” คำปาดุกะ เป็นคำยกย่องใช้ได้แต่เจ้าแผ่นดินลงไปจนถึงขุนนาง ตรงกับพระบาท, ฝ่าบาท, ใต้ท้าว ฯลฯ ในคำแปลน่าใช้ “ท้าว” แต่เกรงจะกลายเป็นเฒ่าแก่ท้าวนางไป จึงใช้ “ท่าน” ซึ่งเป็นคำกลาง ๆ
๑๙ ต้นฉบับใช้คำ “จินตะ”
๒๐ กะหมังเป็นขุนนางหรือเสนาชั้นรองตรงกับใน พ.ร.น. อิเหนา
๒๑ ต้นฉบับใช้คำ “สักติ”
๒๒ “สัง” ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อเทวดา หรือคำยกย่องอย่างสูง “หิยัง” หรืออ่านรวบเป็น “หยัง” เป็นคำเรียกทำนอง “โอม” ของเรา. คำนี้มีใน พ.ร.น. อิเหนา เช่น ชื่อเต็มของอิเหนาขึ้นต้นว่า “หยังๆ” ฯลฯ คำชคตนาถนั้นในภาษามะลายูว่า “ชะคัตนาตะ” คงมาแต่ภาษาสันสกฤตในปทานุกรม มอเนียร วิลเลียมส์ ค้นพบ “ชคตปติ” แปลว่าเจ้าโลก
๒๓ “บะตะระ” หรือบางที “ปะตาระ” แปลว่าเทวดา, พ.ร.น. อิเหนา “ปะตาระกาหรา” สันนิษฐานว่าจะมาแต่คำสันสกฤต ภัตตารกะ ซึ่งแปลว่าผู้ซึ่งพึงเคารพนับถือ ใช้แก่เทวดาก็ได้ มนุษย์ก็ได้ (ดูมอเนียร วิลเลียมส์)
๒๔ ต้นฉบับ ใช้คำมลายูว่า “ปชะชารัน” แปลโดยอรรถาธิบายว่า คนกลายเป็นเสือ แต่เสือสมิงของไทยเราดูเหมือนว่า เสือซึ่งกลายเป็นคนได้และกลับเป็นเสืออีกก็ได้
๒๕ นางยุบล ในพ.ร.น. อิเหนาอาจมาจากชื่อนี้ แต่ในต้นฉบับนี้ไม่ปรากฎว่าเป็นนางค่อม คำ “อินหนัง” นั้นที่ถูกอินดัง แต่ออกเสียง น.ด. กล้ำเสียง ด หายไป ตามความเข้าใจในปัจจุบันนี้แปลว่าหญิงขอทาน หรือหญิงต่ำ คำ “แอหนัง” ที่ใช้ใน พ.ร.น. อิเหนา หมายความว่าชีนั้นคงมาจากคำนี้ ซึ่งตามความเข้าใจในหนังสือนี้ก็เข้าเค้าเป็นชี
๒๖ ต้นฉบับใช้คำ “ลักซานะ”
๒๗ ต้นฉบับใช้คำ “บะตาระ อินดระ” คำอินดระในภาษามลายูแปลว่า พระอินทร์ก็ได้ แปลว่าเทวดาเท่านั้นก็ได้ เหมือนกับคำ “เดวะ” “เดวาตะ”
๒๘ “อินู” ตรงกับ อิเหนา “กรตปาตี” ไพล่ไปตรงกับ กะรัตปาตี แต่ในสร้อยอิเหนา ใน พ.ร.น. ก็มีทั้งคำ กรตะทั้งปาตี – คำกรตะ แปลว่า ความสงบก็ได้ แปลว่าเมืองก็ได้ ส่วนปาตีนั้นก็คือ บดี
๒๙ “ระเด่น อัสมารา นิงรัต”
๓๐ ต้นฉบับใช้คำ “กาซิห์ ดัน ซายัง” กาซิห์แปลว่ารัก ซายัง แปลว่าเสียดาย
๓๑ พี่เลี้ยงสี่ ตรงกับ พ.ร.น. อิเหนา จะเพี้ยนก็แต่ด้วยสำเนียงเล็กน้อยเท่านั้น
๓๒ ต้นฉบับว่า “คะลัก คะลัก” จึงแปลว่า ก๊ากๆ
๓๓ ต้นฉบับว่า “สิงคะมันตรี” ใน พ.ร.น. อิเหนา เรียกอิเหนาว่าระเด่นมนตรี
๓๔ ต้นฉบับใช้คำ “อุปามะ”
๓๕ ต้นฉะบับใช้คำ “อนฺคราหะ”
๓๖ “ซาบุก” แปลว่าผ้าคาดเอว, รัตปคต ฯลฯ ใน พ.ร.น. อิเหนา “ส้าโบะ สะใบ”
๓๗ ต้นฉบับ ใช้คำ “โสปัน”
๓๘ ก้าลุห์” ในหนังสือนี้ดูเป็นคำนำนามพระบุตรี ใน พ.ร.น. อิเหนาไม่มีใช้ แต่ในอิเหนาใหญ่มี “บุษบา ก้าโหละ” จึงได้ใช้ตามไปว่า ก้าหลุ-“จันดระ” คือจันทร ในหนังสือเรื่องอื่นพบบ่อยๆ มีชื่อนาง “จันดระวาดี” คือ จันทรวดี สันนิษฐานว่าตรงกับ “จินตะหราวาตี” ใน พ.ร.น. อิเหนา แต่ในเรื่องนี้ไปได้แก่ตัวนางบุษบา, ส่วนบุษบากลายเป็นชื่อชนนีไป
๓๙ ชื่อพี่เลี้ยงพอลงรอยกับ พ.ร.น. อิเหนา แต่หากมีเพียงสองนาง คำ “เกน” ชรอยเป็นคำนำเรียกชื่อนางชั้นต่ำ ใน พ.ร.น. อิเหนามีที่เทียบ “คือ เกนหลงกับชื่อนางพี่เลี้ยงแปลงมี “เกน ปะจินดา” “เกนปะระหงัน” เป็นต้น ชื่อส้าเหง็ด ในหนังสือนี้เป็น “ซังงิด” จึงแปลงลงไว้เป็นส้าหงิด
๔๐ ต้นฉบับใช้คำ “สัตยะ” ในภาษามะลายูชอบใช้ในที่หมายความว่าจงรักภักดี เช่นไทยเราก็ชอบใช้ แต่คำ “บั๊กติภักดี”เขาก็ใช้เหมือนกัน
๔๑ ที่ถูกแท้ตามต้นฉบับ “อาเช็อง” อักษร ช อ่านเป็นเสียง j อังกฤษจึงแปลงเสียงไปให้เข้าทำนองหนังสืออิเหนาของเราทุกวันนี้ บุตรีของระเด่นถ้ายังไม่สมรสก็ใช้ยศระเด่น อาเช็อง ทุกคน ตลอดจนเจ้านาย
๔๒ “ตาหมัน” แปลว่าสวน ใน พ.ร.น. อิเหนา ใช้คำสะตาหมัน ซึ่งแปลว่า สวนหนึ่ง
๔๓ ต้นฉบับใช้คำ “ดุกะ”
๔๔ ต้นฉบับใช้คำ “สังกา”
๔๕ “อานัก” แปลว่าลูก ใน พ.ร.น. อิเหนาใช้ อาหนะ
๔๖ ต้นฉบับใช้คำ “ดุกะจีตะ”
๔๗ ต้นฉบับว่า “วะห์”
๔๘ ต้นฉบับใช้คำ “ซีซา”
๔๙ ต้นฉบับใช้คำ “บีติ บีดิ ปรวระ” แปลว่าสาวบริวาร
๕๐ ต้นฉบับใช้คำ “กะอินดราอัน” แปลว่าที่อยู่ของเทวดา คือสวรรค์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 มิถุนายน 2567 16:20:23 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 125.0.0.0 Chrome 125.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2567 17:36:54 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

กาลนั้นจึงพากันเที่ยวเล่นในดาหมัน บันยารันส้าหรีนั้น พลางเก็บบุหงา๕๑ ที่มีกลิ่นหอมๆ และรูปงามๆ ผูกร้อยเป็นพุ่มพวงเรียบร้อย ฝ่ายข้าหลวงพี่เลี้ยงนางนมสาวสรรกำนัลในบริวาร และสาวพรหมจารีก็เอะอะสนุกสนาน เด็ดดอกไม้อันออกแนมแกมก้านปลายกิ่ง แล้วก็ห่อบุหงานั้นด้วยผ้าแพรสีเหลืองบ้าง ผ้าเช็ดหน้าสีชมภู๕๒บ้าง ผ้าไหมสีเขียวบ้าง และที่ห่อด้วยผ้าถักตราชุนไหมทองนานาพรรณก็มี นางในทั้งหลายนั้นสุขะจิตต์รื่นเริงบันเทิงใจ เกน บาหยันและเกน ล้าหงิด ตามเสด็จพระบุตรีจันตะหรา กิระหนา ห่อบุหงาต่างๆ นั้นด้วยความเพลิดเพลินสำราญ อันนานาบุบผาชาติที่เก็บได้ในวันนั้นก็มากหลาย.

ครั้นตวันขึ้นสูงมากแล้ว ร้อนจัด บางนางก็หยุดยั้งเพื่อจะพักหายเหนื่อย แต่บางนางยังเพลิดเพลินลืมตนเที่ยวเล่นอยู่ต่อไปในตาหมันนั้น เหงื่อก็ไหลเปียกทั่วสรรพางค์กายดุจอาบน้ำ แล้วก็คลุมศีรษะด้วยผ้าสีบางชะนิด๕๓ ย่อมเพิ่มความสวยงามขึ้นอีก และที่หาดอกไม้อยู่นั้น แม้เป็นคนผิวหนังดำก็กลายเป็นสวยงาม เพราะใช้ผ้าห่มและผ้าคลุมสีงามๆ นั้น ความสวยงามของเขาทั้งหลายย่อมทวีขึ้นทั่วกัน ด้วยล้วนแต่ยังสาวรุ่นดรุณวัยส่วนพวกที่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า๕๔นั้น หยุดพักแล้วก็ก่อไฟเพื่อต้มน้ำ.

ขณะนั้นอาทิตย์เที่ยงวัน แสงแดดก็ร้อนแรงกล้ายิ่งขึ้น จึงต่างคนต่างหนีแดดเข้าอาศัยในร่มเงาต้นนุ่นต้นไทร และไต้พุ่มนาคะส้าหรี๕๕ ฝ่ายก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา และก้าหลุ อาหยัง กับทั้งเกน ส้าหงิด และเกน บาหยัน ข้าหลวงนางในจึงหยุดพักที่ใต้ต้นนุ่นอันหนึ่งซึ่งขึ้นเบียดเกือบจะเป็นต้นเดียวกับต้นลั่นทม พระบุตรีทั้งสองนั้นประทับอยู่ข้างหลัง พวกนางสาวสรรกำนัลในนั่งเป็นแถวๆ บังอยู่ข้างหน้าในเวลาที่ประพับและนั่งบังร่มเงาอยู่นี้มีนกขมิ้น๕๖ตัวหนึ่งบินมาสู่เฉพาะพักตรก้าหลุ อาหยัง และยิ่งร่อนไปก็ยิ่งร่อนต่ำลง โผผินบินวนเวียนกลับไปกลับมาอยู่เฉพาะพักตรพระบุตรีทั้งสองนั้น ครั้นก้าหลุ อาหยังเห็นอาการของนกดังนั้นว่าไม่บินไปไกล และมิพักจะบอกกล่าวแก่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาว่ากระไร นางก็ลุกขึ้นองค์เดียวด้วยประสงค์จะจับนกนั้น แล้วก็ไล่ตามนกไปทางโน้นทางนี้ แต่ก็จับหาได้ไม่ ฝ่ายบุหรงนั้นเล่าก็มิได้บินไปไหนไกล ซ้ำสำแดงอากับปกิริยาดังว่าเป็นนกเชื่อง.

ก้าหลุ อาหยัง จินตนาในใจว่า “ถ้าก้าหลุ จันตะหรา กิระหราทราบก็คงจะแย่งจับเอาเสียได้ อย่าเลยเราจะสั่งสาวใช้ของเราให้ช่วยกันจับนกขมิ้นตัวงามอันนี้ไห้ได้”

ก้าหลุ อาหยังติดตามนกนั้นไปอีกทางโน้นทางนี้ก็หาจับได้ไม่ จึงตะโกนไปยังพวกสาวสรรกำนัลในว่า “เฮ้ย๕๗ พวกเจ้าทั้งหมดมาช่วยเราจับบุหรงนี้หน่อย”

เหล่าข้าหลวงสาวใช้ทั้งปวงก็ลุกขึ้นและวิ่งข้ามทางไปทางโน้นทางนี้ เพื่อจะช่วยจับนกนั้น แต่ก็หาจับได้ไม่ ครั้นก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เห็นดังนั้นจึงตรัสสั่งให้ข้าหลวงของเธอจับนกนั้น ก็พลันจับได้ดังประสงค์ น่ามาถวายแด่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา

ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง ก็ทรงกรรแสงทูลขอนกนั้น ตรัสว่า “พระพี่นางประทานบุหรงนั้นแก่หม่อมฉันเถิด เพราะหม่อมฉันเห็นก่อน”

นางกรรแสงร่ำไห้จนอ่อนระทวยองค์ ครั้นมหาเดหวีเห็นดังนั้นจึ่งตรัสว่า “เอ ลูกแม่ จงให้บุหรงนั้นแก่น้องเถิด”

ก้าหลุ จันตะหรา กระหนา ทูลว่า “หม่อมฉันจะให้ไปเสียอย่างไรได้ นกมีแต่ตัวเดียวเท่านี้ และหม่อมฉันก็ยังอยากจะเล่นกับนกนั้นอยู่ น้องก้าหลุอาหยังเป็นเด็ก หม่อมฉันก็ยังเป็นเด็กเหมือนกัน ทำไมข้าหลวงของเธอจึงไม่สามารถจับได้ ชรอยนกขมิ้นนี้จะไม่ชอบพอใจในน้องก้าหลุ อาหยัง หม่อมฉันคิดว่าบุหรงคงไม่อยากยอมตนให้จับไม่ใช่ว่าเพราะข้าหลวงไม่สามารถจับนกนี้ เอาเป็นแล้วกันเท่านั้นที หม่อมฉันเป็นผู้มีโชค”

เหล่าสาวสรรกำนัลในได้ฟังคำก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาดังนั้นก็หัวเราะขึ้นทั่วหน้ากัน ครั้นวันรอนจะพลบค่ำ ดวงอาทิตย์ใกล้อัสฎงค์จึงพร้อมกันจะกลับไปลงสรงสนานในสระ มหาเดหวีกับท่านลิกูสรงด้วยกับสังระตู ครั้นสรงแล้วมหาเดหวีก็แต่งองค์ทรงเครื่องท่านลิกูก็แต่งดุจกัน มหาเดหวีเห็นดังนั้นก็ตรัสเป็นคำภาษิตกระทบกระเทียบบางประการ ด้วยความฤษยา แต่ท่านลิกูก็เฉยเสียไม่เอาธุระในคำตรัสของมหาเดหวีนั้น ยังคงแต่งกายประดับประดาอยู่อีก.

ในเวลาที่ท่านลิกูกำลังตกแต่งประดับประดาอยู่นั้น ยังได้มีคำกล่าวกระทบกระเทียบจากมหาเดหวี และสาวใช้กำนัลในของมหาเดหวีอีกต่าง ๆ นานา ๆ หลายประการ แต่ท่านลิกูก็หาเอาธุระแก่ถ้อยคำนั้นๆ ไม่ กลับตกแต่งประดับกายเรื่อยไปกล่าวคือปักปิ่นสรวมกำไลสรวมสร้อยคอฝังแก้วประพาฬ๕๘ และพลอยมีมรกฎด้วย ถึง ๗ เม็ดและสวมแหวนเพ็ชร์ ด้วยเธอประสงค์จะให้งามแข่งประไหมสุหรีกับมหาเดหวี ไม่ยอมตนต่อประไหมสุหรีเสียเลย ด้วยเธอมาคาดหมายว่าองค์สังระตูคงจะเพิ่มสิเนหาอาลัยในตัวเธอเป็นแน่ เมื่อทอดพระเนตรเห็นว่าสวยงามกว่าประไหมสุหรีนั้น

พระธิดาของสังระตูองค์ที่มีนามว่าก้าหลุ อาหยัง ก็มีความคาดหมายเช่นว่านี้เหมือนกัน ด้วยได้ประทานภูษาและอาภรณ์สุวรรณอัญญมณีตกแต่ง ทั้งคิดอยู่เสมอดังนี้ว่า “ตัวเราก็เป็นธิดาของสังนาตะ๕๙แท้ๆ อันรูปร่างของเราจะไม่ดีไปกว่าก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้น เป็นไปไม่ได้”

ครั้นแต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้ว ก้าหลุ อาหยัง ก็สยายเกษาออก ฝ่ายก้าหลุจันตะหรา กิระหนานั้นข้าหลวงก็แต่งองค์ถวายนวลละอองผ่องใสงามน่ารักน่าสพึงชมพิศดูไม่รู้เบื่อ ครั้นต่างองค์ต่างทรงเครื่องเสร็จแล้ว พระบุตรีสังนาตะทั้งสององค์นั้น ก็จรจัลไป มีสาวสรรกำนัลในตามเสด็จ เพื่อจะสู่ยังที่ชนนีประสบพักตรแต่ละองค์ กษณนั้นองค์ประไหมสุหรี ทอดพระเนตรเห็นพระบุตรีทั้งสอง ก็ทรงต้อนรับด้วยสุขะจิตต์ปราโมทย์ แล้วก็เสด็จลงจากแท่นชลา บรรดานางพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในก็ตามเสด็จไปสมทบกับองค์สังนาตะ ซึ่งบทจรดำเนิรไปข้างหน้า ถัดนั้นมาก็มีพระนางมหาเดหวี กับท่านลิกูตามเสด็จ

ฝ่ายก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา กับก้าหลุ อาหยัง นั้น ดำเนินไปข้างหลังมีข้าหลวงตามเสด็จ ครั้นก้าหลุ อาหยังเห็นประไหมสุหรีและท่านลิกูจรลีอยู่ข้างหน้าดังนั้น กาหลุอาหยังก็สาวบาทขึ้นไปหน้าก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา อากับปกิริยาของก้าหลุอาหยังเป็นดังนี้ ก็และความมุ่งมาทของนางในอันดำเนิรขึ้นหน้าไปนั้นมิใช่อื่นไกล คืออยากจะได้รับความชมเชย และจะได้เป็นที่เจ็บใจแก่คนทั้งหลายที่เห็นนั้นด้วย โดยเฉพาะด้วยเวลานั้นกำลังเด็ดเก็บบุหงากันอยู่ที่สวนอ่างแก้ว๖๐

แต่พอก้าหลุ อาหยัง เห็นอ่างแก้วนั้น ก็รีบเข้าใกล้ เพื่อจะเก็บเอาดอกไม้นั้นๆ ดูประหนึ่งใคร่ที่จะเก็บเอาบุหงาทั้งหลายนั้นเสียให้หมด ทั้งนี้เพื่อจะรีบชิงเอาไปเสียโดยเร็ว อย่าให้จันตะหรา กิระหนาได้ไปมาก เมื่อก้าหลุจันตะหรา กิระหนาจะย้ายไปเก็บบุหงานาคะส้าหรี ก้าหลุอาหยังก็ชิงเข้าไปใกล้ต้นกะถินนั้นเสียก่อนแล้วแย่งที่ยืนเก็บดอกกะถินนั้น ใครๆ ที่เห็นความประพฤติก้าหลุ อาหยัง ดังนั้นก็พิศวงปลาดใจ ด้วยเห็นอัธยาศรัยเป็นคนโลภอย่างสาหัส ไม่ยอมแพ้ใคร เสมือนดังว่าเป็นหญิงชาวตลาด

บรรดาพี่เลี้ยงนางกำนัล สาวสรรบริวาร และพรหมจารีดรุณีเพศ ซึ่งอยู่ในที่นั้น ต่างคนก็ต่างกล่าวคำสรรเสริญมหาเดหวี กับประไหมสุหรี กับทั้งก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ซุบซิบแก่กันและกันว่า เจ้านายทรงพระคุณธรรมสุจริตพระหทัยเยือกเย็นดี เหมือนพระรามมีแต่สมบูรณ๖๑ยิ่งกว่านั้นเสียอีก สมควรแล้วที่ก้าหลุจันตะหรา กิระหนา จะเป็นราชบุตรีผู้สูงศักดิ์การุญภาพ พระรูปพระโฉมก็ดี พระอัธยาศรัยก็ดีส่อว่าเป็นสุขุมาลชาติสืบเนื่องลงมาแต่อัจฉริยบุรุษ๖๒ ช่างผิดแผกกันเสียจริงๆ กับความประพฤติของก้าหลุ อาหยัง กับท่านลิกูนั้น ราวกับเป็นหญิงชาวตลาด กิริยาอัชฌาศรัยก็หยาบคาย ความประพฤติก็น่าเกลียดชัง จะเอาเป็นบทเรียนหรือแบบอย่างไม่ได้เสียเลย มิใช่เป็นเชื้อวงศ์ชาติวุฒิบุคคลหรืออัจฉริยบุรุษถูกแท้เทียว คำที่ผู้ใหญ่ผู้เฒ่ากล่าวว่า น้ำผึ้งถังหนึ่งแม้จะหยาดลงทีจะหยด แต่ละหยดนั้นก็คงเป็นน้ำผึ้งอยู่นั้นเอง ไม่ผิดแปลกไปได้ หากเป็นน้ำยาพิษไหลหยาด แต่ละหยดนั้นก็เป็นยาพิษนั่นเอง จะใช้เป็นยาบำบัดโรคแม้แต่สักน้อยนิดหนึ่งก็ไม่ได้

มหาเดหวี และจันตหรากิระหนานั้น สาวสรรกำนัลในทั้งหลายย่อมสรรเสรอญอยู่เสมอ แต่ก้าหลุ อาหยัง กับพระมารดาของเธอ ท่านลิกูนั้น มีแต่คนนินทาทางโน้นทางนี้ และเป็นเรื่องพูดของคนในวัง เมื่อข้าหลวงสาวใช้นั่งชุมนุมเป็นกลุ่มที่ไหนก็ไม่มีอื่นนอกจากจะซุบซิบพูดกันถึงเรื่องเจ้านายของตนเท่านั้น ครั้นตวันรอนใกล้จะพลบค่ำต่างองค์ก็ขึ้นยานพาหนะเสด็จกลับ จันตะหรา กิระหนา ก็ขึ้นยานพาหนะของเธอ ก้าหลุ อาหยัง ก็ขอขึ้นด้วย ต่างองค์ต่างขึ้นยานพาหนะแล้วก็ยุรยาตรกลับวัง ไม่ช้าก็ถึงวังแล้วก็ลงจากยานพาหนะเข้าไปเฝ้าสังนาตะ ประไหมสุหรีทอดพระเนตรดอกไม้ซึ่งจันตะหรา กิระหนาได้มา ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง ก็กราบทูลว่าเธอได้มากกว่าจันตะหรา กิระหนา ครั้นประไหมสุหรีทอดพระเนตรเห็นก็ทรงสุขะจิตต์โสมนัศ และทรงพระสรวล สังนาตะทอดพระเนตรไปทางราชธิดาจันตะหรา กิระหนาเธอก็ทูลว่าเธอได้นกขมิ้นตัวหนึ่ง ซึ่งเกนบาหยัน กับ เกนส้าหงิดเป็นผู้จับได้ สังระตูได้ทรงฟังและทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็ทรงแย้มสรวล ทันใดนั้น ก้าหลุ อาหยังก็ขมวดขนงทูลว่า “บุหรง นั้นมิใช่นกของกะกันดา๖๓ ด้วยหม่อมฉันเป็นผู้เห็นก่อนไม่ใช่กะกันดา จันตะหรา กิระหนา”

พระราชาสังระตู ก็ทรงสุขะจิตต์โสมนัศแล้วทรงแยัมสรวลพลางมีสุรศัพท์๖๔สำเนียงตรัสว่า

“เท่านั้นที ก้าหลุอาหยังได้ดอกไม้มาก แต่ไม่ได้นก และจันตะหรากิระหนา ไม่ได้ดอกไม้มาก แต่ได้นกขมิ้นแทน เป็นอันได้เสมอภาคทั้งสองด้วยกัน ไม่มีใครยิ่งใครหย่อนกว่ากัน”

นางสาวสรรกำนัลก็ชอบใจ หัวเราะขึ้นพร้อมกัน มหาเดหวีก็เช่นกัน และใครอื่นก็พากันสรวลเสด้วยหน้าหวาน แต่ท่านลิกู กับก้าหลุ อาหยังนั้นเจ็บจิตต์ยิ่งนัก พักตรเปรี้ยวราวกับส้มมะขามค้างปี ครั้นแล้ว ต่างองค์ต่างก็กลับยังตำหนักที่อาศรัย สังนาตะ เสด็จบทจรตามก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา และก้าหลุอาหยังไป

ฝ่ายระตูกุเรปัน ณ กาลวันหนึ่ง เสด็จออกประทับ ณ ท้องพระโรงใหญ่ ข้าไทยผู้ใหญ่ผู้เฒ่าเฝ้าอยู่หน้าที่นั่งและพระมเหษีชายาก็ประทับอยู่ ณ ที่นั้นด้วย มีพานพระขันหมากตั้งอยู่หน้าที่นั่ง

พระราชาสังระตู กุรีปั่น ประทับอยู่ข้างหน้าเหลือบทอดพระเนตรเห็นพระชายามีอาการประหนึ่งคนมีใจเศร้า จึงสั่งนาตะ ตรัสว่า “เออ อะดินดา๖๕ อะไรเล่าเราจะพูดกันขณะนี้ อันที่จริงเรานี้ก็ได้ครองราชสมบัติมานานแล้วด้วยสวัสดี และราชอาณาเขตต์ของเรานั้นหรือก็กว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่มีขออยู่อันหนึ่งเกี่ยวอยู่ที่ขอบดวงใจของกะกันดา๖๖

พระมเหษีได้ทรงฟังสังนาตะตรัสดังนั้น จึ่งประไหมสุหรีนั้นทูลว่า “อะไรเล่า กะกันดาที่เป็นขอเกี่ยวดังนั้น มาปรึกษากับหม่อมฉันเถิด และจงตรัสออกมาให้สิ้น เพื่อหม่อมฉันจะได้ทราบเรื่องของกะกันดานั้น ถ้ากะกันดาไม่ตรัสความนั้นให้ทราบแด่หม่อมฉันแล้ว แน่แท้เทียวจะกลายเป็นขอเกี่ยวแก่หม่อมฉันด้วยเหมือนกัน”

จึ่ง สังระตู ตรัสว่า “อ้า น้องนาง อันพี่นี้ได้ยินข่าวว่าอะตินตาที่นครดาหานั้น มีธิดาโฉมงามล้ำเลิศ ตามจินตนาการของกะกันดานี้ ใคร่จะไปสู่ขอที่กรุงดาหา แล้วจะได้จัดการอภิเศกสมรสกับอนันดา๖๗ ระเด่นอินู อันที่จริงนั้นลูกเจ้าลูกหลวงอื่นๆ ที่โฉมงามก็มีถมไป แต่หาเหมือนกับลูกพี่ลูกน้องของเราเองไม่ ด้วยถ้าจะยิ่งนิดหย่อนหน่อย๖๘ ก็พออภัยกันได้”

ครั้นประไหมสุหรี ได้ฟังสังระตูตรัสดังนั้นก็ทรงสุขะจิตต์ยินดีเป็นอันมาก ทูลสนองว่า “ที่ตรัสนั้นชอบยิ่งแล้ว จะหาผิดมิได้เลย”

ประไหมสุหรีทูลต่อไปว่า “กะกันดาทรงพระดำริดังนั้นก็ยินดีด้วยเพราะเป็นพี่น้องกัน ดีกว่าคนอื่น อย่างไรเสียก็ชื่อว่าเป็นเลือดเนื้อของเราเอง”

ครั้นตรัสปรึกษากันดังนั้นแล้ว จึงสังนาตะ ทรงสุขะจิตต์โสมนัศยิ่งนักดำรัสสั่งให้เรียกประชุมไพร่พล และมนตรีทั้งหลาย พอเสนาและมนตรีมาพร้อมกันจึงสังระตู ตรัสสั่งให้แต่งพระราชสาสน์และสั่งให้จัดบรรณาการของฝากเพื่อจะส่งไปด้วย เสร็จแล้วก็มอบแก่มนตรี ประดิษฐานเหนือพานทอง กางกลดหลายกลด๖๙ พร้อมทั้งธงทิวอันประดับด้วยมุกด์ ทั้งมวลนี้เพื่อจะเชิญราชสาสน์สู่ขอจันตะหรา กิระหนา สมรสกันกับระเด่นอินู กรตะปาตี มนตรีและไพร่พลทั้งเสนาทหารเอก และตำมะหงุงนั้นๆ ล้วนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอันไพจิตร ตลอดกะทั่งช้างม้าก็ดกแต่งประดับประดาดุจกัน ครั้นน้อมเกล้าถวายบังคมสังระตูแล้ว จึงออกเดินบ่ายหน้าสู่นครดาหานั้น และพลันก็กระทั่งเสียงดุริยดนตรี มีฆ้อง – ตับ๗๐ ฆ้องโข่ง๗๑ ฆ้องหนุ่ย๗๒ และระนาดทอง๗๓ เสียงสนั่นกึกก้องอยู่นอกเมือง ตั้งขบวนบ่ายหน้าสู่กรุงดาหานั้นด้วยสุขะจิตต์ปราโมทย์ พระราชสาสน์และบรรณาการนั้นเทอดไว้เหนือเกล้า เขาทั้งหลายเดินทางไปนั้น บ้างก็ใช้พาหนะ บ้างก็เดินเท้าเรียงตามกันเยี่ยงมดเดินฉะนั้น ด้วยอาการกิริยารีบร้อนในอัญเชิญพระราชสาสน์สู่ขอนั้น

บัดนี้จะกล่าวถึงสังนาตะดาหา มาในกาลครั้งหนึ่งองค์สังนาตะนั้น ตรัสประพาศแก่เหล่ามนตรีเสนา และตำมะหงุงซึ่งเฝ้าอยู่หน้าที่นั่งนั้นว่า “เวลานี้มีข่าวกะกันดากรุงเรปั่นอย่างไรบ้าง ด้วยนานแล้วมิได้มีทูตมาแต่กุเรปั่นหรือกากะหลังเลย”

ในเวลาที่กำลังตรัสและข้าเฝ้าทูลสนองอยู่นั้น ราชทูตผู้เชิญพระราชสาสน์จากนครกุรีปันก็ไปถึง คนเฝ้าประตูเมืองก็รับรองและเชิญให้เข้าเมือง ในบรรดาพวกที่ไปนั้น บางคนก็หยุดอยู่นอกเมืองและปลูกพลับพลาอาศัยเป็นที่พัก ขณะนั้นนายประตูก็รีบเร่งเข้าไปยังหน้าที่นั่งสังนาตะ น้อมเกล้าถวายบังคมแล้วทูลว่ามีราชทูตมาจากกรุงกุรีปั่น จึ่งพระราชาสังนาตะทันใดนั้น ดำรัสสั่งให้รับเข้าไปซึ่งบรรดามนตรีเสนา ดะหมัง และตำมะหงุงกุรีปั่นนั้นๆ เขาทั้งหลายนั้นก็เข้าไปก้มศีระเกล้าถวาย อัญชลีเฉพาะธุลีลอองบาท๗๔สังนาตะนั้น พลางทูลถวายซาลามตะอะลิม๗๕ของพระราชากะกันดานั้น สังนาตะดาหาทรงสุขะจิตต์ปลื้มเปรมยิ่งนักและทันใดนั้นจึ่งตรัสสั่งให้อ่านสาสน์นั้น แล้วมนตรีก็อ่านต่อหน้าบรรดาผู้ที่ชุมนุมอยู่ในพระที่นั่ง เขาทั้งหลายนั้นแต่ละคน ได้ฟังความในราชสาสน์จากกุรีปั่นนั้นถี่ถ้วนตั้งแต่ต้นจนอวสาน เป็นที่ตระหนักแจ่มแจ้งว่าองค์ท้าวกุรีปั่นทรงขอก้าหลุ จันตะหรากิระหนาเพื่อแก่ระเด่น อินู กรตะปาตี ฝ่ายองค์ท้าวดาหาก็ทรงรับด้วยสุขะจิตต์ แล้วจึ่งดำรัสสั่งให้ประโคมกระทั่งเสียงดุริยดนตรี ฆ้องตับ ฆ้องโข่งและฆ้องหมุ่ย ระนาดทองและเภรี๗๖ และให้ยิงปืนใหญ่เป็นนิมิตรว่าราชสาสนระตูกุรีปั่นนั้นได้รับ และอนุมัติตามวัตถุที่ประสงค์นั้นแล้ว ด้วยโสมนัศยินดีสุดที่จะประมาณ ส่วนทูตนั้นก็โปรดให้เลี้ยง และพระราชทานอนุเคราะห์๗๗ ด้วยเสื้อผ้าและนานาภัณฑ์๗๘ ครั้นแล้วก็ให้ประพรมด้วยของหอม และแก้วน้ำหอมนั้น มีผู้ถือโปรยไปทางโน้นบ้างทางนี้บ้างเวลานั้นวันก็ค่ำคืนลง ทูตทั้งปวงก็ค้างแรมอยู่ในกรุงดาหานั้น ครั้นอยู่มาในนครดาหานั้นได้สองวัน จึ่งสังระตูศัพทสิงหนาทดำรัสแก่ทูตนั้นว่า

“เฮ้ย๗๙ ทูต จงนำซาลามและถวายบังคมของเรานี้ไปถวายแทบธุลีบาทพระราชกะกันดา ส่วนอาหนะของเรานั้น เราถวายด้วยใจสุจริตบริสุทธิ์ จะทรงอย่างไรก็แล้วแต่พระเชฏฐาจะโปรดทุกอย่างทุกประการ ด้วยตัวเราและท้าวกากะหลัง กับทั้ง ศรี บะคินดะ๘๐ ราชากุรีปั่นนั้นเป็นพี่น้องกัน อย่าว่าแต่ลูกเลย แม้แต่แผ่นดินกรุงกากะหลังและเมืองดาหานี้ ก็ถวายไว้ในพระราชอำนาจกรุงกุรีปันเหมือนกัน”

ทันใดนั้นสังนาตะดาหาก็ทรงรจนาราชสาสน์ตอบ ราชสาสน์ของท้าวกุรีปั่นนั้น เพื่อส่งไปถวายพร้อมด้วยเครื่องบรรณาการของฝาก ความในสาสน์นั้นว่าสิ่งอันเป็นพระประสงค์ทั้งมวญของศรีบะคินดะนั้นเป็นอันประนอมยอมถวายแล้ว ครั้นสำเร็จแล้วจึ่งประทานมอบแก่ทูตนั้น ฝ่ายทูตก็รับด้วยเทอดสิบนิ้วประนมก้มเกล้าถวายบังคมฝ่าธุลีเจ็ดครั้ง แล้วก็ออกเดินทางกลับ เร่งม้าออกจากเมืองดาหา บ่ายหน้าสู่นครกุรีปั่นโดยรีบด่วน มิได้หยุดหย่อนทั้งกลางวันกลางคืน เพื่อแสดงความซื่อสัตย์๘๑กตัญญู ในอันเชิญพระโองการสังระตูนั้น เขาทั้งหลายนั้นเดินทางไปแต่ที่พักอันหนึ่งถึงที่พักอีกแห่งหนึ่ง แต่ทุ่งหนึ่งไปยังอีกทุ่งหนึ่ง แล้วเข้าป่าอันรกชัฎ ครั้นกาลล่วงไปหน่อยหนึ่ง ก็ถึงซึ่งนครกุรีปั่นนั้น

ฝ่ายระตูดาหาก็เสด็จขึ้นพระราชมณเฑียร ครั้นทูตนั้นกลับกุรีปั่นแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่ที่พระมเหษีพลันตรัสว่า

“เออ อะดินดา ซึ่งทูตกรุงกุรีปั่นมานี่นั้น เพื่อจะสู่ขอก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา กะกันดาได้รับราชสาสน์สู่ขอและได้ตอบตกลงตามประสงค์นั้นแล้ว”

ต่อนี้ไปจึงตรัสเล่าแถลงประพฤติเหตุตั้งแต่ต้นจนอวสาน องค์ประไหมสุหรี กับทั้งสังนาตะนั้นก็ทรงสุขะจิตต์สโมสร และยิ่งทวีพระสิเนหาอาลัยในก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้น ด้วย ณ บัดนี้ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาได้เป็นคู่ตุนาหงัน๘๒ แห่งระเด่น อินู กรตะปาตีนั้นแล้ว.

ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง ล่วงมาอีกสองสามวันก็ทราบข่าวเรื่องที่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาได้ตุนาหงันกับระเด่น อินู แล้วนั้น และก้าหลุ อาหยัง นั้นยิ่งนานวันก็ยิ่งเจ็บจิตต์ขัดเคือง ในองค์ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้น ยังมิหนำซ้ำสังระตูก็โปรดปราน จันตะหรา กิระหนายิ่งขึ้นด้วย.

ในกาลนั้นก้าหลุ อาหยังก็กรรแสงโศกาดูลย์จนนัยเนตรช้ำบวม ด้วยมาคิดว่า

“เหตุใดเล่าจึ่งไปขอกะกังจันตะหรา กิระหนา ทีตัวเรานี้ไม่ขอ หรือว่าเราไม่ใช่ธิดาสังระตูเหมือนกันเล่า”

ก้าหลุ อาหยัง จินตนาดังนี้ไม่หยุดหย่อน ทั้งกรรแสงร่ำไห้แสนสาหัสทุกเช้าค่ำ

ท่านลิกูเห็นธิดาก้าหลุ อาหยัง นั้นเนตรช้ำบวมเป็นรอยกรรแสงก็เจ็บจิตต์ยิ่งนัก แล้วก็ขึ้นไปเฝ้าธุลีสังนาตะ ท่านลิกูนั่งชิดมหาเดหวี ถัดที่ประทับ สังระตูมาข้างหน้า เวลานั้นก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ประทับอยู่ห่างด้วยความเคารพชนนี พระราชาสังระตูทอดพระเนตร เห็นกิริยาของราชธิดามีความเคารพสงบเสงี่ยมเช่นนั้น ก็ยิ่งทวีสงสารสิเน่หาในพระหฤทัย ด้วยมาทรงตระหนักว่าพระบุตรีนั้น รู้รักษาองค์และเสงี่ยมเจียมองค์ จะทำอะไรก็อ่อนโยนลมุลลม่อม พระราชาสังนาตะตรัสเรียกให้จันตะหรา กิระหนาเสวยด้วย เธอก็มาด้วยความเคารพนบนอบ ถวายบังคมแล้วจึ่งเสวยด้วยกับสังนาตะ และมหาเดหวี ขณะนั้นท่านลิกูกับก้าหลุ อาหยัง ก็ยิ่งเจ็บจิตต์คิดร้ายในหทัยเป็นนักหนา ด้วยมาเห็นจันตะหรา กิระหนา เสวยร่วมดังนั้น แท้จริงต่างองค์ก็เสวยด้วยกันทั้งนั้น และใจของท่านลิกู และก้าหลุ อาหยัง นั้น ไม่หยุดพ้นจากความมุ่งร้ายได้ ครั้นเสวยเสร็จแล้วต่างองค์ต่างก็กลับพร้อมด้วยสาวบริวารชนตามเสด็จ ครั้นต่างองค์กลับถึงตำหนักแล้ว ท่านลิกูยังไม่หายเจ็บใจ มิรู้ที่จะทำประการใดดี ขณะนั้นเธอจึงคิดทำข้าวหมัก๘๒ ประกอบด้วยยาพิษแล้วก็บรรจุลงในชามทองคำ ครั้นเสร็จแล้วจึ่งสั่งให้สาวใช้นำไปถวายประไหมสุหรี นางสาวบริวารนำของถวาย ซึ่งบรรจุชามอันงามวิจิตรนั้นไป โดยมิได้สงกาว่าระคนด้วยยาพิษ แล้วก็พากันเดิรไปยังตำหนักประไหมสุหรี ครั้นไปถึงจึ่งถวายของนั้นด้วยหน้าหวานพลางทูลว่า

“นี้เป็นของถวายอันเล็กน้อยของท่านลิกู ลังมาให้กราบถวายบังคม และถวายของนี้แก่ธุลีตวนกู” ๘๔

จึ่งประไหมสุหรีทรงรับพลางทอดพระเนตร หน้าอันอ่อนหวานของข้าหลวงนั้นแก้วก็ตรัสสั่งให้ถ่ายชาม และข้าหลวงถ่ายเปลี่ยนชามนั้น ครั้นแล้ว นางสาวใช้นั้นก็กลับและรายงานตามประพฤติเหตุนั้น ท่านลิกูก็มีความยินดีปลาบปลื้ม นึกในใจว่า

“ภายในวันนี้และประไหมสุหรีจะต้องม้วยมรณ์แล้วตัวเรานี้แหละจะได้เลื่อนขึ้นเป็นประไหมสุหรีแทนที่ ถ้าจันตะหรา กิระหนาเสวยด้วยก็จะม้วยสิ้นไปอีกองค์หนึ่งแน่ๆ แล้วเราจะจัดการให้ก้าหลุ อาหยังลูกเราได้เป็นคู่ตุนาหงันของอินูกรตะปาตีให้จงได้” เพื่อเมืองดาหากับกุรีปั่นจะได้เป็นปถพีอันเดียวกัน ด้วยสมควรแล้วที่จะได้เป็นแทนที่”

คิดดังนั้นแล้ว เธอจึงสั่งให้สาวใช้ปิดประตู ครั้นแล้วพวกสาวใช้นั้นก็หลบไปซ่อนตัว คงเหลือแต่ก้าหลุ อาหยัง กับท่านลิกูเท่านั้นในตำหนักนั้น ซึ่งดูเหมือนมิได้มีความคิดอย่างอื่นเลย นอกจากว่า “ถ้าประไหมสุหรีเสวยข้าวหมักนั้นแล้ว อันจะไม่สิ้นชีพในวันนี้เองนั้นไม่ได้”

ขณนั้นจึ่งท่านลิกู เรียกน้องชายซึ่งมีชื่อว่า มนตรี และมนตรีนั้นก็มายังหน้าพี่สาว แล้วท่านลิกูจึ่งพูดว่า๘๕
“แน่ะน้องมนตรี ช่วยเที่ยวหาหมอเวทมนต์ร ซึ่งสามารถทำเสน่หยาแฝด๘๖ และที่รู้จักทำให้คนใจอ่อน เพื่อพี่นี้จะได้ไม่ถูกสังระตูพิโรธโกรธกริ้ว และเพื่อให้สังระตูคล้อยตามทุกสั่งทุกอย่าง สุดแต่พี่นี้จะว่ากระไรและให้สิเนหาอาลัยในตัวพี่นี้ยิ่งกว่าใครๆ อื่น กับเพื่อให้สังระตูทรงเชื่อฟังโปรดปรานถวิลยจินดาในตัวพี่นี้ยิ่งขึ้นไปอีก”

ครั้นแล้วมนตรีก็ได้รับเงินดีนาร์จำนวนหนึ่ง และสิ่งของนานาภัณฑ์ รับแล้วก็รีบออกเดินทางไปทันที เพื่อเที่ยวหาหมอเวทมนตร์นั้น แล้วก็เดินทางเข้าป่าออกป่าเข้าดงออกดง ทั้งผ่านเขาผ่านทุ่งหลายแห่ง ที่ไหนมีอาจารย์ หรือหมอเวทมนตร์ก็ไปจนถึง ไม่ว่ากลางวัน หรือกลางคืนเดิรทางไปคนเดียวไม่หยุดหย่อนจะหาเพื่อนไป ด้วยก็ไม่กล้า ด้วยกลัวว่าจะขยายระหัส๘๗ ความลับ ด้วยความที่อยากจะช่วยและรักพี่สาวนั้น มนตรีลืมความกลัว สู้เดิรทางไปแต่ลำพังตนคนเดียวหลับนอนในป่าดงพงไพรใต้ต้นไม้อย่างใหญ่ ๆ ประกอบด้วยสงสารทุกข์๘๘อย่างสาหัสครั้นเวลารุ่งเช้าตวันขึ้นก็ตื่นนอนแล้วเดิรต่อไปอีก พฤติการณ์ของมนตรีเป็นดังว่ามานี้ ถ้ายังไม่พบอยู่ตราบใดก็ยังไม่อยากหยุดยั้ง

ครั้นเดินทางไปไต้นานแล้วก็เห็นกุหนุงลูกหนึ่ง ด้วยสุขะจิตต์ปราโมทย์อย่างแรงกล้า มนตรีปีนเขานั้นขึ้นไปจนถึงยอด คเณว่าณที่นั้น บางทีจะได้ประสพเทวดาผู้ทรงมหิทธิศักดานุภาพ๘๙ตามความมุ่งหมาย ครั้นแล้วก็เห็นนักพรตประตาปาตนหนึ่ง ซึ่งดูท่าทางจะขลังดี อาจารย์ผู้นี้ได้มาบำเพ็ญตะบะอยู่บนเขานี้นานพอใช้แล้ว โดยไม่กินไม่ดื่มสิ่งใดๆ เลย ทั้งตาก็มัวแลไม่เห็นอะไรอีกแล้ว และเป็นที่เคารพของพวกนักบวชและพราหมณ์ ครั้นมนตรีเห็นนักพรตประตาปานั้น ก็สุขะจิตต์ยินดียิ่งนัก จึงก้มศรีษะลงเคารพนบไหว้ถึงเจ็ดครั้ง แล้วก็แจ้งความประสงค์ให้ทราบ กล่าวว่า “ข้าเจ้านี้ได้รับคำสั่งของพี่สาวให้มาขอความช่วยเหลือของผู้เป็นเจ้าสักอย่างหนึ่ง”

นักพรตนั้นก็ลืมตาขึ้นและพูดว่า “แน่ะมนตรีดีแล้ว เราจะช่วยเจ้า เพื่อให้บรรดามนตรีและเสนากับระตูทั้งหลาย รักพี่สาวของเจ้า และบัดนี้ก็บรรลุผลตามประสงค์แล้ว ด้วยเทวะดาผู้ทรงมหิทธานุภาพโปรดประทานแล้วตามที่เธอขอ”

ครั้นแล้วนักพรตนั้นก็คายชานหมากทิ้งลง และสั่งให้มนตรีเก็บเอาชานหมากนั้นขึ้น พลางกล่าวว่า

“ชานหมากนี้เจ้าจงห่อด้วยผ้าขาว หรือผ้าเช็ดหน้า๙๐ หรือด้วยอะไรก็ตามใจเจ้าเถิด”

มนตรีจึงเก็บชานหมากนั้นขึ้นแล้วห่อด้วยผ้าเช็ดหน้า ครั้นแล้วก็น้อมศรีษะนบไหว้นักพรตนั้น แล้วก็ออกเดินทางกลับสู่ยังตำหนักท่านลิกูโดยรีบด่วนไม่หยุดยั้ง ด้วยมีความยินดีมาก มิช้านานก็ไปถึงแล้วก็ย่องเข้าไปหาท่านลิกูโดยเงียบๆ ครั้นพบแล้วก็ส่งชานหมากให้และแถลงความตามที่นักพรตสั่งมานั้น ฝ่ายท่านลิกูก็สุขะจิตตอิ่มเอิบใจยิ่งนัก รับเอาห่อชานหมากนั้น พลางพูดจาแต่ด้วยเสียงเบาๆ ด้วยเรื่องนี้เป็นระหัสความลับอย่างสำคัญ กลัวว่าจะอึกทึกแพร่งพรายไป ครั้นพูดจากระซิบกระซาบกันดังกล่าวนั้นเสร็จแล้ว ฝ่ายมนตรีก็กลับไปบ้านเรือนแล้ว ในเวลานั้นเองท่านลิกูก็สอดชานหมากเข้าไว้ใต้หมอนหนุนนอน และทำใจอธิษฐาน โดยไม่มีใครรู้เห็นแต่สักคนเดียว

-----------------------------------


๕๑ ดอกไม้ มีใช้ใน พ.ร.น. อิเหนา
๕๒ ต้นฉะบับว่า “เมระห์ชัมบู” โดยพยัญชนะแปลว่าแดงชมภู่ กล่าวคือสีชมภู
๕๓ คำมลายูที่ใช้ว่า “ชะนิส”
๕๔๕๔. ต้นฉะบับใช้คำว่า “ละล้าห์”
๕๕๕๕. กะถิน
๕๖ ต้นฉะบับว่า “บุรุง กะปุดัง – บุรุงแปลว่านกตรงกับคำบุหรง ที่ใช้ใน พ.ร.น. อิเหนา
๕๗ ต้นฉบับว่า “ไฮ้”
๕๘ ต้นฉบับใช้คำว่า “มะระชาน” ตามปทานุกรมว่าเปนมณีสีแดง แท่งยาวๆ จึงสันนิษฐานว่า คอรัล แต่ชื่อคอรัลนี้ไม่มีคำไทย ระลึกได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เคยทรงเหยียดใช้แทนแก้วประพาฬ จึงได้ใช้คำนั้น
๕๙ “นาตะ” คือ นาถะ
๖๐ “ตาหมัน ชัมบังงัน รัตนะ”
๖๑ ต้นฉบับใช้คำ “สัมปูรณะ”
๖๒ ต้นฉบับใช้คำ “โอรัง ปิลิฮัน” แปลตามพยัญชนะว่าบุคคลอันเปนที่เลือกแล้ว
๖๓๖๓. ที่ใน พ.ร.น. อิเหนาใช้กะกัง เปนคำสามัญ ส่วนกะกันดา เปนคำสูง เช่นว่าเจ้าพี่ หรือพระเชฏฐาเปนต้น
๖๔ ต้นฉบับใช้คำ “สับดะ”
๖๕ มาแต่สามัญ อาดิ๊ก แปลว่าน้อง เมื่อแปลงเปน อะดินดา กลายเปนคำสูง คือเจ้าน้อง อนุชา หรือกนิฏฐา ใน พ.ร.น. อิเหนา ใช้ยาหยี ซึ่งเป็นคำแปลว่าน้องอีกคำหนึ่ง
๖๖ สำนวนมะลายูตามต้นฉบับดังนี้ หมายความว่า มีห่วงในใจอยู่อย่างหนึ่ง
๖๗ อะนันดา เปนคำสูงแปลว่าราชบุตร ผู้จากคำอานัล ซึ่งแปลว่า ลูกหรือเด็ก ใน พ.ร.น. อิเหนา ใช้ “อะหนะ”
๖๘ ตรงกับสำนวนไทยว่า “หนักนิดเบาหน่อย”
๖๙ ฉัตรไม่มีใช้ แต่มีธรรมเนียมกางกลดหลายคันดังนี้ ทำนองแห่นาคทางหัวเมืองภาคพายัพ
๗๐ ลักษณคล้ายฆ้องวงของเรา แต่ของเขาผูกเปนตับ ไม่ผูกเปนวง ฆ้องอย่างนี้เรียก “กะมง”
๗๑ ลูกฆ้องรูปร่างคล้ายฆ้องวง แต่ทรงสูงและขนาดใหญ่เท่าบาตรขึ้นไป ใช้ลำพังใบเดียว ๆ หรืออย่างมากผูกเปนตับเพียง ๒ ใบ ฆ้องอย่างนี้เรียก “กัมปุล”
๗๒ ฆ้องใหญ่แขวนตรงกับฆ้องหมุ่ยของเรา ฆ้องอย่างนี้เรียก “คุง” หรือ “คอง”
๗๓ ระนาดทอง เรียก “ซารุน”
๗๔ ต้นฉบับใช้คำ “ดุลี”
๗๕ สั่งคำนับ
๗๖ “กันดัง” รูปเหมือนกลองแขกหรือกลองมะลายู
๗๗ ต้นฉบับใช้คำว่า “อนุคราหะ”
๗๘ ต้นฉบับใช้คำ “นันดะ”
๗๙ ต้นฉบับว่า “ไฮ้”
๘๐ แปลว่าเจ้าแผ่นดิน
๘๑๘๑. ต้นฉบับใช้คำ “สะติยะ”
๘๒ หมั้น ใน พ.ร.น. อิเหนาก็ใช้คำเดียวกัน
๘๓ ต้นฉบับว่า “ตาแป๊ะ” ตรงกับเข้าหมากของเรา ซึ่งที่ถูกเห็นว่าควรจะเรียกข้าวหมัก
๘๔ “ตวนกู” แปลโดยพยัญชนะว่า เจ้ากู
๘๕ คนนี้ชื่อ “มันตรี” คือมนตรีขึ้นมาเฉยๆ ไม่ใช่ระเด่น มนตรี
๘๖ ภาษามะลายูใช้คำ “คุนะตุนะ” ตรงกับคำว่าคุณ แปลว่าทำเสน่ห์เศกเป่าอะไรได้ทั้งนั้น ตลอดจนทำร้าย เช่นนี้เราเรียกว่า “ถูกกระทำถูกคุณ” นั้นก็ได้ แต่ในที่นี้หมายถึงทำเสน่ห์
๘๗ ต้นฉบับใช้คำ “ระหะสิยะ” แปลว่าความลับ
๘๘ ต้นฉบับใช้คำ “สังขาระ”
๘๙ ต้นฉบับว่า “เดวาตะ ยัง มหามูลิยะ”
๙๐ ต้นฉบับว่า “ซาปุ ตังงัน” แปลโดยพยัญชนะว่าผ้าเช็ดมือ แต่ตามที่ใช้นั้นตรงกับที่เราใช้เรียกผ้าเช็ดหน้า
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มิถุนายน 2567 16:03:33 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 126.0.0.0 Chrome 126.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2567 16:27:46 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

ในกาลอันกล่าวนี้ ฝ่ายประไหมสุหรีกำลังประทับเอาลม๙๑อยู่ นางกำนัลเข้ามาสู่ที่เฝ้าก็ทรงระลึกขึ้นได้ ถึงของถวายท่านลิกูคือข้าวหมักของเสวยนั้น แท้จริงข้าวหมักนั้น ก็ได้มีผู้นำไปทิ้งไว้ใกล้ที่ประทับตากอากาศนั้นแล้ว เหตุที่เห็นนางกำนัลนั้นเป็นเครื่องเตือนพระหทัย จึ่งประไหมสุหรีเกิดความคิด อยากจะเสวยเครื่องของถวายนั้น แล้วก็ทรงเคลื่อนเอาชามข้าวหมักนั้นมาเสวยแต่ลำพังพระองค์ ๆ เดียว พอเสวยเข้าไปได้นิดหนึ่ง ข้าวหมักนั้นไม่ทันหมด ก็ทรงรู้สึกเวียนและปวดพระเศียรสุดที่จะทนทาน ซ้ำยังทรงอาเจียรอีก และรู้สึกพระกายเป็นไข้หนาวๆ ร้อนๆ เสโทออกจนไหลจากพระศีรเกล้า นัยเนตรลายพรายพราวเป็นแสงหิ่งห้อย พระบาทอ่อนเปลี้ยไม่สามารถเสด็จลุกขึ้นยืนอีกได้ จึ่งเกิดกาหลอลหม่านขึ้นในพระราชวังนั้น และมหาเดหวีกับทั้งก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ก็เสด็จมาเพื่อจะช่วยองค์ประไหมสุหรีนั้น ก้าหลุเห็นพระชนนีทรงอาเจียรและอาเจียรนัก ก็ทรงทุกขะจิตต์อย่างยิ่งพระหทัยเต้น มิหนำซ้ำเห็นพระรูปโฉมของพระมารดาเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว พระฉวีซีดเผือด พระเนตรก็เบ่งโพลงราวกับว่าโลกนี้มืดมนอนธการไปสิ้นแล้ว เวลานั้น ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาก็กรรแสงสอื้นไห้อย่างใหญ่ พลางร่ำพิไรรำพรรณถึงพระชนนีมิรู้หยุด บรรดานางพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในทั้งหลายต่างก็ตกใจอกสั่นขวัญหาย มิได้รู้ต้นสายปลายเหตุว่าเป็นอย่างไรกัน องค์ประไหมสุหรีจึ่งประชวรดังนั้น ต่างงงงวยมิรู้ที่จะทำประการใด ได้แต่วิ่งไขว่ไปมาไม่เป็นสมฤดี บ้างก็ร้องไห้บริเทวะรำพรรณ บ้างก็กลัวอกใจสั่นหวั่นไหว ด้วยเกรงว่าสังระตูจะทรงพระพิโรธเอาโทษกรณ์แก่บรรดาข้าไท นางสาวสรรกำนัลในนั้นๆ วุ่นวายกันเป็นโกลาหล บางคนก็วิ่งหาโอสถ บางคนก็บดยา แต่ละคนเป็นดังกล่าวนี้ อีกสักครู่หนึ่งสังนาตะก็เสด็จมาทอดพระเนตรเห็นเหตุดังนั้น ทันใดนั้นจึงทรงช้อนองค์ประไหมสุหรีขึ้นใส่ตัก ตรัสสั่งให้ชโลมด้วยน้ำกุหลาบดอกไม้เทศและของหอม พวกข้าหลวงบางคนก็ได้รับรับสั่งให้ไปเรียกหาแพทย์หมอ ขณะนั้นก็มีแพทย์มีหมอมาถวายยาแก้ไขเหมือนกัน แต่ก็หาหายคลายประชวรไม่ แพทย์ผลัดเปลี่ยนกันถวายพระโอสถรักษาองค์ประไหมสุหรีอยู่นั้นก็มากมายหลายคนด้วยกัน ด้วยเทวประสงค์แห่งองค์มหาเทวาธิราชประไหมสุหรีก็เสด็จสู่สวรรค์ เพื่อเหตุในอันเสวยข้าวหมักเจือยาพิษนั้นแล

ครั้นประไหมสุหรีสิ้นชีพ๙๒ลง สังนาตะก็ประชวรพระวาโยถึงสิ้นสมฤดีวิสัญญีภาพ มหาเดหวีก็ดุจกัน ครั้นฟื้นจากวิสัญญีภาพก็ทรงครวญคร่ำร่ำพิไรอยู่ที่พระศพนั้น ฝ่ายก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้น แต่พอเห็นชนนีวายชนม์ก็ล้มลงกับพื้นสิ้นสมฤดี ทันใดนั้นมหาเดหวีก็รับประคองไว้ และประพรมชะโลมด้วยน้ำกุหลาบ มหาเดหวีร่ำพิไรพลางกอดศอก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา จุมพิตและรำพรรณว่า “อุวะ ลูกแม่ ระวังให้ดีนะ แต่วันนี้ไปเธอเป็นกำพร้าแล้ว จงอุส่าห์รักษาตนด้วยความเฉลียวฉลาด รู้ประพฤติสุจริตดีงาม วาจาให้อ่อนหวานลมุนลม่อม อย่ายกตนให้ใหญ่เกินงาม ลูกเอ๋ย ยามเดือดร้อนใครที่ไหนเล่าจะเป็นที่ปรับทุกข์”

ฝ่ายบรรดาพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในก็พิไรบ่นพร่ำรำพรรณไปต่างๆ กัน ก็แต่ในส่วนก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้น สุดที่จะเล่าแถลงต่อไป บัดเดี๋ยวก็สลบไสลสิ้นสมฤดี บัดเดี๋ยวก็ฟื้นขึ้นกรรแสงและจุมพิตพระศพชนนี พลางรำพรรณเช่นว่า

“อุวะ พระมารดาของลูกนี้ ช่างมีพระหทัยทิ้งลูกไปเสียได้ ที่ไหนเล่าจะเป็นที่อยู่ของลูก ใครเล่าจะเฝ้าตักเตือนพร่ำสอนแก่หม่อมฉัน ด้วยหม่อมฉันนี้ยังเล็กนักยังไม่รู้ภาษา๙๓ โอ้พระมารดา ใครเล่าจะดูแลอนันดานี้ ในวันนี้พระมารดามาพรากจากลูกไป ความร่มเย็นย่อมสูญสิ้นไปเสียแล้ว”

อีกสักครู่หนึ่งก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ก็สิ้นสมฤดีวิสัญญีอีกจนตลอดวันมิได้ฟื้นคืนองค์

ฝ่ายสังระตู เมื่อฟื้นขึ้นจากวิสัญญีภาพ จึงทรงปกคลุมพระศพประไหมสุหรี ด้วยผ้าแพรเดวังคะ๙๔ และก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ก็ไม่ยอมปล่อยจากบาทชนนี เฝ้าแต่จูบฝ่าบาทอยู่ร่ำไป ใครเห็นก็รู้สึกใจแทบจะขาด ครั้นล่วงไปอีกครู่หนึ่ง พระราชาจึงดำรัสซักถามนางกำนัลข้าหลวง ฝ่ายนางกำนัลนั้นก็บังคมทูลด้วยความกลัวตัวสั่นขวัญหนีว่า “โอ้ ตวนกู ข้าพระองค์ขอพระราชทานอภัยนับพันๆ อภัย๙๕ ภายใต้ธุลีตวนกู อันข้าพระองค์นี้มิได้ทราบเลยว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นดังนี้ ข้าพระองค์ผู้หินชาติ๙๖นี้มิได้เห็นอะไร นอกจากเห็นองค์ประไหมสุหรีเสวยข้าวหมักเท่านั้น”

ขณะนั้นพระราชาก็ทรงพระพิโรธอย่างสาหัศ ดำรัสสั่งให้เรียกบรรดาพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในมาพร้อมกัน ข้าหลวงกำนัลทั้งหลายก็มาด้วยความกลัว แล้วก็ถวายบังคมก้มเกล้าลงแทบบาทบงกชศรีษะจรดถึงพื้นดิน จึงพระราชาทรงถือไว้ซึ่งเศษข้าวหมักเหลือประไหมสุหรีเสวยนั้น พลางตรัสด้วยพิโรธว่า “เฮ้ย นางกำนัลนี้หรือเป็นต้นเหตุให้เกิดร้ายแก่ประไหมสุหรีดังนั้น ก็ของเสวยนี้เธอได้มาแต่ไหน”

นางกำนัลทั้งหลายนั้นจึงบังคมทูลด้วยสั่นระรัวไปทั่วอินทรีย์ว่า

“โอ ตวนกู ชาห์ อาลัม๙๗ แท้จริงข้าพระองค์ทั้งมวลนี้เห็นแต่เสวยข้าวหมักเท่านั้น เป็นของถวายมาแต่ท่านลิกู ด้วยเมื่อกี้นั้นมีข้าหลวงท่านลิกูสามคนนำชามฝาทองคำบรรจุข้าวหมักมาถวายองค์ประไหมสุหรี ไม่มีอะไรอื่น ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นแต่เพียงเท่านี้”

ครั้นแล้ว สังระตู จึงทรงทิ้งชามข้าวหมักนั้นลงยังพื้นดิน ตรงหน้าสัตว์ต่างๆ มีสุนัข และไก่เป็นต้น สุนัขและไก่ที่กินข้าวหมักนั้นก็ตายลง ณ ที่นั้น แม้แต่แมลงวันและแมลงหวี่ที่กินข้าวหมักก็ไม่มีรอดชีวิตต์เลย ขณะนั้นสังระตูก็พิโรธแรงกล้า ฝ่ายก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ซึ่งกำลังสลบไลลด้วยกรรแสงร่ำไห้ถึงพระชนนีนั้น พลันก็เข้ากอดพลันก็ปล่อยลงบรรธมเกลือกกลิ้งกับพื้นภูมิพสุธา๙๘ ด้วยความกริ้วโกรธสุดที่จะทนทาน ฝ่ายสังระตูก็ทรงสงสารยิ่งนัก แต่พอจันตะหรา กิระหนาปล่อยพระหัตถหลุดพ้นมา ทันใดนั้นก็ทรงชักพระแสงดาพจากฝัก แล้วก็ดำเนิรไปสู่ที่ท่านลิกู บรรดาคนทั้งหลายเห็นสังระตูชักพระแสงด้วยพิโรธแรงกล้าดังนั้นก็พากันตกใจกลัวอย่างที่สุด ด้วยพระพักตร์นั้นแดงดับวับวาบดังเปลวไฟ พระอากัปกริยาเหมือนดังงูขด พลางตรัสว่า “วันนี้แหละ กูจะเอาชีวิตนางลิกูเสียให้ได้ไม่ให้รอดอยู่ต่อไปอีก กูจะตัดหัวตัดตัวสามท่อนให้หนำใจกูเทียว”

สังระตูบทจรสู่ที่ท่านลิกูนั้น ดูพระกิริยาประดุจพยัคฆชาติอันกำลังจะโจนตะครุบพ่นลมหายใจเป็นกรดพิษฉนั้น

บัดนี้จะกล่าวถึงท่านลิกู เมื่อได้ชานสลาอันศักดิสิทธิและขลังชมัดนั้นจากบัณฑิต๙๙นั้นแล้ว จึงเอาสอดไว้ใต้เขนยที่นางนอน ครั้นแล้วท่านลิกูก็รู้สึกสบายใจ จึงนั่งลงที่หน้าประตูตำหนัก ดูไปทางโนันทางนี้ด้วยบรรดาข้าไทสาวใช้ทั้งหลายก็ไล่ไปเสียก่อนหมดแล้ว โดยสั่งให้ไปเสียจากที่นั้น เหตุฉนั้นในตำหนักท่านลิกูนั้นจึงเงียบสงัด ก็และในรวางที่นางเหลียวซ้ายแลขวาอย่ที่หน้าประตูนั้น นางเธอเหลือบเห็นสังระตูเสด็จมาด้วยอาการรุกรันฉุนเฉียวทั้งชักพระแสงมาด้วย ทันใดนั้นท่านลิกูก็เข้าตำหนักขึ้นนั่งบนเตียงนอน ซึ่งเก็บชานหมากไว้ใต้เขนยนั้น แล้วเธอก็กอดเขนยไว้ พลางเผยออกอุระประเทศอันประดับด้วยคู่หนึ่งซึ่งวาปีกษิรากร ตลอดไปถึงมธุวารีชลาลัย๑๐๐ ฝ่ายพระราชาสังระตูก็เสด็จดำเนิรตามท่านลิกูเข้าไป ครั้นไปถึงเตียงภาพแห่งท่านลีกูนั้นก็ประจักษแก่พระราชา แต่พอสังระตูทอดพระเนตรเห็นดังนั้น พระแสงดาบซึ่งชักออกจากฝักแล้วก็หล่นจากพระหัตถ์ลงยังพื้น พระกมลที่พิโรธนั้นก็เสื่อมคลายอ่อนลง กลับเพิ่มพูลพระสิเนหาอาลัยยิ่งขึ้น กำหนัดเสียวกระศัลย์ก็เกิดขึ้นในพระหทัย พระโทษะจริตก็เปลี่ยนไปเป็นสุขุมลมุนลม่อม พระอารมณ์ที่ฉุนเฉียวก็กลายเป็นอ่อนน่วม พระสุรเสียงที่กระด้างก็กลายเป็นอ่อนหวาน ประดุจเสียงแมลงภู่ตอมบุบผชาติฉนั้น ที่ขุ่นเคืองทั้งปวงก็เหือดหายไปสิ้น ด้วยเหตุที่สังระตูไม่สามารถฝ่าฝืนพิสวาสดิ์ในท่านลิกูได้ จึ่งทรงประโลมสรวมกอดนางและจุมพิตณปรางเบื้องซ้ายเบื้องขวา แลลูบไล้ผมนางพลางตรัสด้วยสุรสำเนียงอันอ่อนหวานลมุนลม่อมว่า “เออ อะดินดาดวงยิหวาของพี่๑๐๑ เวลานี้อะนันดาก้าหลุ อาหยังอยู่ที่ไหนเล่า ตลอดวันนี้ยังมิได้เห็นหน้าเลย๑๐๒ กะกันดานี้คิดถึงเธอนัก แม้ไม่ได้พบเพียงวันเดียวก็รู้สึกเหมือนนานนับเดือน”

ท่านลิกูได้พังพระวาจาลมุนลม่อมอ่อนโยนฉนั้นก็สุขะจิตรบันเทิงใจยิ่งนัก ความที่หนักใจก็โล่งโปร่งไป จึงทูลว่า “อ้า พระราชา กะกันดา ก้าหลุ อาหยังนั้น ชรอยจะกำลังเล่นอยู่กับข้าหลวง”

ณ กาลนั้น สังระตูไม่ทรงรำลึกถึงประไหมสุหรีซึ่งวายชนม์นั้นต่อไปอีกแล้ว ด้วยมาทรงคิดว่าอันบุถุชนมลายชีพแล้วก็ย่อมคงเป็นคนตายอยู่เท่านั้นเอง เหตุเป็นกรรมอันมหาเทวราชเจ้าทรงบันดาล แล้วสังนาตะก็เลยประทับเสวยสุขารมย์๑๐๓ เริงรื่นด้วยท่านลิกูเหนือแท่นที่ไสยานั้น กอร์ปด้วยพระวาจาตรัสคำหวานสัพยอกหยอกเย้าเล้าโลม ดูเหมือนว่าจะไม่ทรงระลึกถึงการที่จะกลับคืนสู่พระราชมณเฑียรอีกต่อไป ส่วนพระศพประไหมสุหรีนั้นก็ยังทอดอยู่บนแท่น คนทั้งหลายยังเฝ้าร่ำพิไรรำพรรณอยู่ และก้าหลุจันตะหรา กิระหนาก็ยังกอดจูบพระศพนั้นอยู่เรื่อยไป.

ฝ่ายสังนาตะ ครั้นเล้าโลมเสวยรมย์อยู่ด้วยกับท่านลิกู อิ่มหนำสำราญแล้วจึ่งเพิ่งจะทรงระลึกขึ้นได้ในอันจะเสด็จกลับคืนสู่พระราชมณเฑียร แล้วจึงให้ชุมนุมรี้พลลกลไกร และให้นำเอาอาวุธออกด้วยจะแห่เชิญพระศพประไหมสุหรีนั้นไปฝัง ชั้นต้นให้ปั้นพระรูปจำลองไว้ ครั้นเสร็จแล้วก็แห่เชิญพระศพไปฝัง ณ สุสาน แห่นำตามแวดล้อมไปด้วยข้าไทยรี้พลพหลโยธา ซึ่งทุกขะจิตตเศร้ากำสรดโศกาดูลย์ กาลนั้นแสงตวันก็มัวมนประหนึ่งบุถุชนในยามทุกข์ ครั้นไปถึงยังสุสาน จึงลดพระศพลงบรรจุหลุม ทั้งพระรูปที่ปั้นงามวิจิตรนั้นก็ให้ฝังไว้ด้วยกันกับพระศพประไหมสุหรี ทวยพศกนิกรชาวนาครทั้งมวญก็ทุกข์เศร้าสลดใจด้วยสิ้น นกยูงร้องเป็นเสียงยาวยืดเย็นเยือกยังใจคนทั้งหลายที่ได้ยินให้กำศรดโศกาดูลย์ ประหนึ่งดังบุถุชนเฝ้ากำชับแก่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาว่า “จะรู้รักษาระมัดระวังองค์ให้ดี” ฝนก็ตกปรอยๆ ประหนึ่งบุถุชนสงสารสมเพชกำพร้าซึ่งมารดาละทิ้งไว้ในยามตุนาหงัน พระพายพัดรำเพยเฉื่อยๆ ลักษณดุจบุถุชนพร่ำให้พรแก่กำพร้าเพื่อให้ทรงชีพอยู่โดยสวัสดี สถาพร ฟ้าร้องฟ้าคนองซับซ้อนสนั่นยังใจผู้ที่ได้ยินให้ประหวั่นรันทด ประดุจจะบุถุชนปริเทวะดิ้นพลิกไปพลิกมาบ่นรำพรรณว่า “กระไรเลย ช่างมาทิ้งธิดาไว้องค์เดียว ให้เป็นกำพร้าในยามกำลังตุนาหงัน”

ฝ่ายจันตะหรา กิระหนานั้นเล่า ทุกวันคืน เช้าค่ำเฝ้าแต่พร่ำออกนามชนนีไม่รู้หยุด ใครได้ยินได้ฟังแล้วใจแทบจะขาด ด้วยพระมารดามาสละละทิ้งไปแต่ยังเยาว์และในยามตุนาหงัน มีทุกข์ร้อนเคราะห์กรรมอย่างไร จะได้ใครที่ไหนเล่าเป็นที่ปรึกษาปรับทุกข์ เมื่อเธอคิดถึงเคราะห์ของเธอขึ้นมาทีไรก็มีอาการเหมือนดังบุถุชนที่ไม่อยากจะมีชีวิตรอยู่ต่อไป หรือมิฉนั้นกิเกิดความคิดใคร่จะไปเสียยังบ้านอื่นเมืองอื่น และเดินทางไปที่ใดที่หนึ่งแม้ถึงว่าเป็นที่ซึ่งยังไม่เคยพบเคยเห็นเลย.

ครั้นเสร็จการฝังพระศพประไหมสุหรีนั้นแล้ว บรรดาผู้ที่ทำการบรรจุพระศพและแห่แหนนั้น ต่างก็กลับคืนสู่พระราชฐานหรือกลับคืนยังบ้านเรือนแห่งตนๆ ฝ่ายสังระตูก็ทรงประกอบพระราชกิจจานุกิจต่างๆ ตามชอบควรแก่เวลา

ฝ่ายก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้น ทุก ๆ วันไปประทับกรรแสงอยู่ ณ ที่ฝังพระศพพระชนนีจนกระทั่งพระกายพระรูปซูบซีดเนตรบวมช้ำ และเกษาซึ่งข้าหลวงเคยหวีถวายทุกวันนั้นก็กลายเป็นยุ่งเหยิงหมดสิ้น เหตุเพราะหทัยทุกข์ร้อน และเจ็บแค้นในการอันทำของท่านลิกูนั้น ครั้งมหาเตหวีทอดพระเนตรเห็นอาการของอะนะกันดา จันตะหรา กิระหนาเป็นดังนั้น ก็มีพระหทัยสมเพชเวทนายิ่งนัก พระนางเธอนี้และเป็นผู้ปลอบโยนอยู่ทุกๆ วัน และคอยชวนเล่นชวนคุย เพื่อให้จันตะหรา กิระหนาคลายทุกขระทมหทัย

ขณะนั้น จึ่งมหาเดหวี ทรงรับเอาเป็นประหนึ่งธิดาขององค์เอง ดังว่าได้ประสูติและได้อุ้มครรภ์มาถ้วนนพมาส มิได้ผิดแผกไปจากนั้นเลย และทรงสิเนหาอาลัยเป็นอันมาก ฝ่ายจันตะหรา กิระหนาเล่าก็เช่นกัน เธอรับนับถือเอาเป็นพระมารดาของเธอเองโดยแท้ แทนที่ชนนีซึ่งล่วงลับไปแล้วนั้น พฤติการณ์เป็นดังพรรณามาฉนี้แล.

ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง กับท่านลิกูนั้นเล่า ครั้นสิ้นประไหมสุหริไปแล้ว สองก็สำราญใจ ตำแหน่งฐานะก็ยิ่งสูงขึ้น ไว้ท่าทางก้าวร้าวเห่อเหิมวางตนยิ่งขึ้นไปกว่าประไหมสุหรีเสียอีก ฝ่ายภคินทะ๑๐๔สังระตูก็ทรงสิเนหาอาลัย ในนางนี้ยิ่งกว่ามหาเดหวี ถ้าสังระตูเสด็จไปประทับที่ตำหนักท่านลิกูไซร้ จนคนลืมแล้วนั่นและ จึงจะเสด็จกลับมายังตำหนักมหาเดหวี แต่ถ้าประทับที่ตำหนักมหาเดหวีเพียงสองสามวันเท่านั้น ก็เสด็จคืนไปยังท่านลิกูอีก ดูประหนี่งดังว่าอยู่ที่ตำหนักมหาเดหวีนั้นหาความสุขสำราญมิได้ เหตุฉนั้นท่านลิกูจึงกำเริบยกตนใหญ่ยิ่งขึ้นทุกวัน และก้าหลุ อาหยัง ก็ตระหนักว่าตนเป็นผู้ที่ภคินทะทรงถวิลจินดาสิเนหายิ่งกว่าก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เดี๋ยวๆ นางก็กรรแสงกลิ้งไปกลิ้งมา ครั้นแล้วข้าไทยทั้งหลายก็ถูกท่านลิกูกริ้วกราดบ้าง ก็ถูกตี ถูกด่า เพราะเหตุ ก้าหลุ อาหยังนั้น ความประพฤติของก้าหลุ อาหยังเป็นดังกล่าวนี้ ถ้าเธอกรรแสงแล้ว หากสังระตูยังไม่ประคับประคองกอดจูบปลอบโยนตราบใด เธอก็ไม่นิ่ง ส่วนพระราชาก็ยิ่งเพิ่มพูลสิเนหาอาลัยในท่านลิกูขึ้นอีก จะปรารถนาสิ่งใดก็ทรงตามใจทุกอย่าง มิได้เคยมีเลยที่จะฝ่าฝืนขัดขืนต่อความประสงค์ของนางนั้น ที่ตำหนักลิกูนั้นผู้คนก็แน่นหนาฝาคั่ง เพราะใครไม่แสดงความเคารพยำเกรงก็ต้องถูกกริ้วกราด จนบรรดาพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในมีความหวาดกลัวก้าหลุ อาหยังกับท่านลิกูนั้นเป็นกันมาก ฝ่ายจันตะหรา กิระหนา กับมหาเดหวีนั้น นานนักจะได้เฝ้าสังนาตะสักครั้งหนึ่ง มีแต่เมื่อจันตะหรา กิระหนา อยากจะเล่นก็ไปยังตำหนักก้าหลุอาหยังนั่นและ จะได้เฝ้าประสบพักตร์กับพระราชบิดาสักครั้งหนึ่ง การณ์เป็นดังนี้ ด้วยเดชเทวานุภาพบันดาลนั้นแล๑๐๕

บัดนี้จะกล่าวถึงระตูกุรีปั่น เมื่อได้ทรงฟังทราบข่าวกรุงดาหาว่าประไหมสุหรีวายชนม์ไปแล้ว จึ่งประทับรำพึงกับพระชายา ตรัสว่า

“เออ อะดินดา พี่ได้ข่าวมาว่า ระตูดาหาย้ายไปอยู่กับนางลิกู เมียสาวของเธอแล้ว จะเอาอะไรก็ตามใจทุกอย่างๆ จนกระทั่งประไหมสุหรีต้องเสียชีวิตร เพราะเสพย์ยาพิษ อันที่จริงเมื่อเป็นถึงเพียงนี้ ก็สุดที่จะคิดออกว่าเป็นได้ เพราะเหตุผลกลใด”

ขณะที่ตรัสนั้นท้าวเธอก็ถ่มเขฬะ เยี่ยงบุคคลที่มีความเกลียดชังท้าวดาหา นั้นพลางตรัสว่า

“ถ้าในนครของกะกันดานี้ มีหญิงเช่นอย่างนางลิกูนั้นสักคนหนึ่งแล้ว พี่จะฆ่ามันเสียให้จงได้เทียว สงสารก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาเสียจริงๆ เหลืออยู่แต่ลำพังตนคนเดียวไร้มารดา ฝ่ายบิดาหรือก็ไปยอมตนอยู่ใต้อำนาจนางลิกูเสียแล้ว”

ในกาลนั้นองค์สังระตู กุรีปั่น ก็ได้ทรงยินซึ่งข่าวเลื่องฦๅนานาเรื่องความประพฤติของนางลิกูนั้นแล้ว

เมื่อท้าวเธอระลึกถึงปกติพฤติการณ์๑๐๖นั้นขึ้นมาครั้งใดก็พิโรธขุ่นเคือง พระ ฉวีวรรณ๑๐๗แห่งดวงพระพักตร์พลันแดงพลันดับสลับกัน๑๐๘ ด้วยทรงสมเพชเวทนา ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เป็นอันมาก ซึ่งต้องมาตกเป็นกำพร้า อาจไม่มีใครเอาธุระดูแลพิทักษรักษา ในยามที่ทรงคำนึงดังนั้น จึงเกิดพระดำริขึ้นในพระหทัยองค์ท้าวกุรีปั่นนั้น ว่า

“ถ้าเป็นดังนั้น ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา จะต้องทุกข์ยากลำบากใจยิ่งนัก ไม่มีใครแต่สักคนเดียวที่จะเป็นผู้เฝ้าปลอบโยนรักษาใจเธอ อย่าเลย เราจะส่งของปลอบใจไปให้เธอ จะให้เขาทำของเล่นสักอย่างหนึ่ง คือตุ๊กตาทองคำ๑๐๙ เพื่อเป็นเครื่องปลอบใจเธอ แล้วจึงดำรัสสั่งให้ทำตุ๊กตาทองประดับด้วยเพชรพลอย ให้เป็นของเล่นของก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เพื่อใครพบเห็นตุ๊กตานั้นเข้าจะต้องยิ้มสรวลด้วยความยินดี ครั้นถึงเพลาหนึ่ง ระเด่น อินู กะระตะปาตีมาขึ้นเฝ้าสังนาตะ น้อมเศียรถวายบังคมภคินทะ จึ่งท้าวสังระตูประทานตุ๊กตาของเล่นนั้นแก่อินูพลางตรัสว่า “แน่ะ ลูก อันอายะฮันดา๑๑๐นี้ใคร่จะส่งของฝากนี้ไปยังกรุงดาหา และจะสั่งมอบให้มนตรี และข้าราชการนำไป”

ฝ่ายระเด่นอินู ได้ฟังสังนาตะตรัสดังนั้น ก็ขวยเขินสะเทิ้นอายก้มพักตรนิ่งสงบอยู่ ครั้นพระราชาตรัสประพาศดังนั้นแล้ว พนักงานก็เชิญเครื่องมาตั้งแล้วก็เสวยด้วยกัน เสวยแล้วก็ทรงเครื่องหอม แล้วระเด่นอินูก็ถวายบังคมลาฝ่าธุลีสังนาตะกลับคืนสู่วัง อันตั้งอยู่ ณ ตำบลบ้านการังงัน ด้วยใคร่จะประสพพบตรัสกับยะรุเดะและปูนตา ฝ่ายข้าทั้งสองนั้นก็เข้ามาน้อมเกล้าบังคมแทบบาทเจ้านายแห่งตน จึ่งระเด่นอินูตรัสว่า “แน่ะ ยุระเดะ กับปูนตา จงไปเองในทันใดนี้ เพื่อเรียกน้าปาติ๊ห์๑๑๑ และแจ้งให้ทราบว่ามีรับสั่งสังระตูให้เข้าไปเฝ้าฝ่าละอองธุลีพระบาท” ยะรุเดะก็รีบเร่งไปยังบ้านน้าปาติ๊ห์นั้น แล้วปาติ๊ห์ก็เข้าเฝ้าธุลีลอองบาทสังระตูด้วยความเคารพ ฝ่ายผู้ที่ทำตุ๊กตาทองคำนั้นก็คือ ระเด่น อินู นั้นเอง๑๑๒ ด้วยใค๑๑๑๑๔ ปักไหมทองและผูกรัดด้วยแพรสีชมภู๑๑๕ ส่วนห่อตุ๊กตาทองคำนั้นรัดด้วยแถบผ้าดำ องค์สังนาตะก็ทรงสุขจิตต์โสมนัศเป็นอันมาก ครั้นแล้วในกาลวันนั้นเอง จึ่งสังระตูตรัสสั่งให้เสนาจำนวนหนึ่ง มีปาติ้ห์ บูปาติ๑๑๖ มนตรี, นายทหาร และตำมะหงง พร้อมทั้งไพร่พล เชิญของประทานกับทั้งตุ๊กตานั้นไปถวายเจ้ากรุงดาหา เพื่อประทานแก่พระราชธิดาก้าหลุทั้งสองนั้น แล้วคนนั้นก็เชิญแห่ไปด้วยดุริยดนตรี ฆ้องตับ ฆ้องหมุ่ย ฆ้องโข่ง และระนาดทอง เดิรทางไปสู่ทิศนครดาหา เพื่อนำสารสวัสดี๑๑๗ ของกรุงกุรีปั่นไปให้ถึง เขาทั้งหลายนั้นเดิรไปมิได้หยุดยั้ง และมิช้านานก็ไปถึงนอกนครดาหา ชาวบ้านร้านถิ่นทั้งหลายทั้งปงงก็ออกมาดูฟังดุริยดนตรีนั้น บ้างก็วิ่งหนีระส่ำระสายด้วยสงกา สำคัญว่ามีสัตรูมารบพุ่งชิงชัย ฝ่ายผู้ที่ทราบว่าเป็นทูตมาแต่กรุงกุรีปั่นก็เข้าใกล้และเข้าปฏิสันฐารรับรองอย่างเอิกเริก ที่ดูและสดับดนตรีฆ้องตับ ฆ้องหมุ่ย เพลิดเพลินเจริญใจไปก็มี จนกลายเป็นชุมนุมชนแน่นหนาอึกทึกครึกโครม อีกไม่นาน เขาทั้งหลายนั้นก็เข้าไปถึงในเมือง ยับยั้งอยู่นอกพระราชฐาน ทันใดนั้นนายประตูก็รับรองและพาเข้าไปเฝ้าองค์สังระตูดาหา ฝ่ายองค์ท้าวดาหาเล่า ก็ตรัสสั่งให้ต้อนรับด้วยดุริยดนตรีฆ้องกลองประโคมตอบแทน มิได้หยุดหย่อนไพร่พลและข้าราชการกุรีปั่นทั้งปวง ก็น้อมเกล้าถวายบังคมธุลีละอองบาทสังระตูดาหานั้น ก็และในเวลานั้นสังระตูประทับอยู่ ณ ตำหนักท่านลิกู และท่านลิกูกับก้าหลุ อาหยัง กำลังเฝ้าอยู่หน้าที่นั่ง ท่านลิกูและธิดาก็สุขจิตต์โสมนัศเป็นอันมาก มนตรี ข้าราชการ ดะหมัง ตำมะหงงทั้งหลายนั้นก็ทูลสารสวัสดีของพระเจ้ากรุงกุรีปั่น และถวายตุ๊กตาสองตัวนั้นแด่ธุลีสังระตู ฝ่ายสังระตูก็ทรงรับด้วยสุขจิตต์โสมนัศและทราบตระหนักแล้ว ว่าห่อของนั้นบรรจุตุ๊กตา ขณะนั้นจึงสังระตูตรัสแก่ก้าหลุ อาหยังว่า “แนะ ลูกพ่อเลือกเอาตัวหนึ่งสิในจำนวนตุ๊กตาทั้งสองที่ส่งมาจากกรุงกุรีปั่นนั้น เปนเครื่องหมายที่ระลึกถึงระเด่นอินู กะระตะปาตี”

นางลิกูก็ยินดี ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง ก็เลือกตุ๊กตาและเลือกเอาตัวที่ห่อดีคือห่อด้วยแพรเทวังคะนั้นแล้วก็หยิบเอา ส่วนตัวที่ห่อผ้าเก่าและเป็นเศษ๑๑๘เดนเลือกอยู่นั้น ก้าหลุ อาหยังยกให้แก่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา และให้คนนำไปยังตำหนักก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ฝ่ายจันตะหรา กิระหนา ครั้นเห็นของเศษเดนเลือกที่ส่งมานั้นก็ก้มพักตร ไม่ตรัสประการใด พลางชลนัยคลอเนตร ด้วยมาระลึกถึงเคราะห์กรรมของเธอเอง “ของนี้เป็นเศษเหลือเดนเลือกแล้ว เขาจึงส่งมานี่ ผ้าห่อหรือก็เก่าคร่ำคร่า สายผูกก็สีดำ” มหาเดหวีก็ทรงสมเพชเวทนาในอันเห็นธิดาจันตะหรากิระหนาดังนั้นแล้วตรัสว่า “เธอจงรับเอาของนั้นเถิด แม้บกพร่อง อย่าผลักไสไปเสียเลย”

แล้วมหาเดหวีก็ตรัสปลอบโยนก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาด้วยปิยะวาจาอันอ่อนหวานนุ่มนวล

วาจาของมหาเดหวีนั้นเป็นประดุจกับคำชองชนนีของเธอเอง และด้วยเหตุที่เธอมีความยำเกรงกลัวผู้ใหญ่ยิ่งนัก และได้ฟังคำมหาเดหวีเช่นนั้น เธอก็ปฏิบัติตามโดยดุษณีภาพ ด้วยเข้าแทนที่เสมอด้วยชนนีของเธอเองแล้ว จึงแก้ห่อของนั้นเปิดออก พลันเห็นในห่ออย่างเลวทรามและคร่ำคร่านั้น ซึ่งของสิ่งหนึ่ง อันเป็นของสูงคือตุ๊กตาทองคำตาฝังเพชร์มีรูปร่างงามยิ่งนัก แต่พอมหาเดหวีทอดพระเนตรเห็นตุ๊กตานั้น ก็ทรงยิ้มแล้วทรงสรวล เพราะว่าตุ๊กตานั้นรูปร่างเหมือนมนุษย์ จึงจินตนาตรัสในหทัยว่า “ผู้ที่ทำตุ๊กตานี้มีความฉลาดสามารถจริงๆ”

ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง ก็แก้ห่อของที่ส่งมาแต่กรุงกุรีปั่นนั้น นางเธอปลื้มเปรมยินดีตบหัตถ์โลดเต้นไปมาด้วยความร่าเริง เพราะเห็นของนั้นห่อด้วยผ้าอย่างดีทอด้วยไหมเทวังคะ แล้วก็เปิดห่อ เห็นตุ๊กตาทำด้วยเงินหนึ่งตัว ตาฝังแก้ว หาทราบไม่ว่าก้าหลุ จันตะหรา ซึ่งได้จับเศษเดนเลือกนั้น ได้ตุ๊กตาทำด้วยทองคำอย่างสุกใสแวววาว ถ้าแม้เธอได้ทราบความนี้ แน่เทียว ก็คงไม่โสมนัศร่าเริงบันเทิงใจเห็นปานนั้น

ในกาลดังกล่าวนี้ ฝ่ายท้าวดาหาก็ทรงรับรองทูตกุรีปั่น โปรดให้เลี้ยงอาหารของดื่มสนุกสนาน ครั้นทูตบริโภคอาหารและผลไม้ต่างๆ และใช้เครื่องหอมลูบทาเสร็จแล้ว พลางประโคมดุริยดนตรีอึกทึกกึกก้อง องค์สังระตูก็ทรงสุขจิตต์โสมนัศเป็นอันมาก ต่อนั้นไป ทูตกุรีปั่นอยู่ในกรุงดาหาด้วยความสนุกสนานไม่ขาดสาย ตกมาวันหนึ่งเขาเหล่านั้นก็ทูลลากลับ ขณะนั้นก้าหลุ อาหยัง ก็ประทานของกินแก่ทูตเพื่อบริโภคกลางทาง และพระราชาก็พระราชทานพระราชานุเคราะห์ด้วยเสื้อผ้าอย่างงาม ๆ

ก้าหลุ อาหยังมีของฝากไปถวายแด่กะกันดา อินู กะระตะปาตี ท่านลิกูก็เช่นกัน และนอกจากของฝาก ยังสั่งเสียต่างๆไปกับทูตนั้นด้วย ครั้นสำเร็จสิ้นแล้ว จึงบรรดามนตรี เสนาข้าราชการ ดะหมัง และตำมะหงง นั้นๆ น้อมเกล้าอัญชุลีธุลีลอองบาทองค์สังระตู ออกจากพระราชฐานเดิรออกนอกเมืองมุ่งไปยังนครกุรีปั่น พนักงานดุริยดนตรีก็กระทั่งเสียงประโคมไปตลอดทางมิได้หยุดยั้ง

เดิรทางมาอย่างเร็วเช่นนั้น พลันก็ถึงนครกุรีปั่นโดยไม่เนิ่นช้า เข้าเฝ้าธุลีองค์สังระตูกุรีปั่นด้วยความเคารพ ถวายบังคมทูลแถลงซึ่งสารสวัสดี และบังคมของท้าวดาหา ดังเช่นได้กล่าวมาแล้วนั้น ภคินทะสังระตูก็ทรงสุขจิตต์โสมนัศยิ่งนัก ในอันได้ทรงสดับข่าวดีทั้งสิ้นนั้น ทั้งนี้ด้วยเดชเทวานุภาพบันดาลนั้นแล

-----------------------------------

๙๑ หมายความว่าตากอากาศ
๙๒ ต้นฉบับใช้คำ “ชีวะ” คำนี้เป็น “ยิหวา” ใน พ.ร.น. อิเหนา เช่น ดวงยิหวา เหตุที่กลายไปเพราะ ช นั้นออกเสียงเหมือน J อังกฤษ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย
๙๓ ต้นฉบับใช้คำ “บะฮาซา” ในที่นี้หมายความว่ายังไม่รู้ผิดรู้ชอบ
๙๔ ว่าเป็นแพรทอด้วยไหมเทศชนิดหนึ่ง
๙๕ รงกับสำนวนไทยว่า “ขอประทานโทษร้อยโปรดพันโปรด”
๙๖ ต้นฉะบับใช้คำ “หิมะ” เป็นสำนวนเคารพยิ่ง
๙๗ “ชาห์ อาลัม” ภาษาอาหรับแปลว่าผู้ผ่านพิภพ หรือเจ้าโลก
๙๘ ต้นฉบับใช้คำ “บูมิ”
๙๙ ต้นฉบับใช้คำ “ปันเดตา”
๑๐๐ ๑๐๐. ตอนนี้ผู้แต่งประสงค์กล่าวความหยาบโลนตลกคนอง แต่ปกคลุมเสียด้วยถ้อยคำอันไพเราะเข้าทำนองบทอัศจรรย์ของไทยเรา
๑๐๑ ต้นฉบับว่า “ชีวะ กะกันดา”
๑๐๒ ต้นฉบับว่า “รูปะ”จะแปลว่ารูปก็ขัดสำนวนไทย
๑๐๓ ต้นฉบับใช้คำ “บรสุกา-สุกาอัน”
๑๐๔ คำมะลายูว่า บะคินดะ แปลว่าเจ้าแผ่นดิน มาแต่สันสกฤต ภคว่า MAJESTY ส่วนอินทะว่า CHIEF แต่คำอินดะข้างท้ายอาจเป็นสำนวนยกย่องต่อท้ายคำตามระเบียบภาษามะลายูเท่านั้นก็ได้ เช่น อะดินดา = อาดิ. อินดา แปลว่าพระน้อง กากันดา = กากะ + อันดา = พระพี่ อายันดา = อายะห์ + อันดา = พระบิดา อานะกันดา = อานัก + อันดา = พระโอรส เป็นต้น
๑๐๕ ความตอนนี้ ต้นฉบับใช้สำนวนและคำภาษาอาหรับว่า “วะอัลลาฮูอาลัม บิสซาวับ” แปลโดยอรรถว่าการณเป็นดังนี้ เทพเจ้าเท่านั้น หากทรงทราบได้ ไม่เป็นสำนวนไทย จึงได้แปลแปลงไปเสียบ้าง
๑๐๖ ต้นฉบับใช้คำ “บูติ ปกรตี” คือ ปกติพุฒิ
๑๐๗ ต้นฉบับใช้คำ “วระนะ” คือ วรรณ
๑๐๘ สำนวนมะลายูในที่นี้แปลตามพยัญชนะว่า “แดงดับ” หมายความว่าเปลี่ยนสีวับวาบประดุจแสงเพลิงบัดเดี๋ยวก็โพลงขึ้น บัดเดี๋ญวก็อ่อนลง
๑๐๙ ต้นฉบับใช้คำ “กันจานะ” คือ กาญจน
๑๑๐ อายะห์ ว่าบิดา อายะฮันตา หรือ อายันดา ว่า พระบิดา
๑๑๑ ตำแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ คำนี้มาจาก ปติ. บดี. ใน พ.ร.น. อิเพนาว่าปาเต้ะ ที่ระเด่นอินูเรียกน้านั้นเป็นการยกย่อง
๑๑๒ ต้นฉบับตอนนี้กับตอนก่อนออกจะขัดกัน ชักฉงน ตอนก่อน ตุ๊กตาทำเสร็จแล้วท้าวกุรีปั่นยื่นประทานแก่อินู ตอนนี้ว่าอินูเปนผู้ทำตุ๊กตานั้นเอง อาจหมายความว่า อินูเข้าแย่งช่างทำโดยท้าวกุรีปั่นมิทรงทราบ หรือมิฉะนั้นอินูรับตุ๊กตาจากท้าวกุรีปั่นมาแล้ว ไม่ส่งตัวนั้น กลับมาทำขึ้นใหม่ ความไม่ชัดว่าอย่างไรแน่
๑๑๓ ต้นฉบับใช้คำ “มานุสิยะ”
๑๑๔ แพรเทวังคะ นั้นว่าทอด้วยไหมเทศมาแต่อินเดีย
๑๑๕ ต้นฉบับว่า “เมระห์ ชัมบู” แปลโดยพยัญชนะว่า แดงชมภู่ คำไทย สีชมภู ที่ถูกบางทีจะควรเปนสีชมภู่
๑๑๖ บูปาติ คือ ภูบดี สมัยปัตยุบันนี้เป็นตำแหน่งเจ้าเมือง
๑๑๗ ต้นฉบับใช้คำ “ชาลาม ตาลิม” ภาษาอาหรับ แปลว่า คำนับอวยพร
๑๑๘ ต้นฉบับใช้คำ “ซีสะ” คือ คำเศษนั้นเอง
๑๑๙ ชาวชวาอุ้มเด็กใช้ผ้าสใบห่อใหเด็กนั่ง แล้วสพายเฉียงไหล่ข้างหนึ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2567 19:03:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2567 19:02:48 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

ฝ่ายก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เมื่อได้รับตุ๊กตาทองจากคู่ตุนาหงันนั้นแล้ว ก็ค่อยคลายทุกข์ในทหัยของนางในเหตุที่ตกเป็นกำพร้านั้นทุกๆ วัน เธอเล่นสพาย ตุ๊กตาทองคำนั้นอุ้มชู โดยใช้สใบของพระมารตา บัดเดี๋ยวก็ร่อนกล่อมตุ๊กตานั้นด้วยร้องขับ๑๑๙ เป็นเพลงว่า
      “ลูกแม่คือแสงนัยนา๑๒๐   นานแล้วแม่นี้โศกจาบัลย์    
      เช้าค่ำเมามัวถวิลจินดา   เฉกเมฆปกคลุมดวงบุหลัน    
      นาสิกกลบิดานั้น   พ่อดีลูกนี้รูปงามครัน    
      เยี่ยงแม่ใจบุญสุนทร์ธรรม์   รู้ประพฤติหลักแหลมเลอสรร    
      เยี่ยงชนกผู้เลิศเผ่าพันธุ์   ไข้เจ็บอย่าได้มาโรมรัน    
      แม่กำพร้าได้มิตรติดพัน   ได้บุตรนี้มีคุณอนันต์    
      เหมือนโอสถตวงถ้วยนับพัน   บ่มีอื่นใดสู้สำคัญ    
      แม้ย่อมรูปเยี่ยมเทียมทัน   ยังใจแม่หายประหวั่น”    

บรรดาสาวสรรกำนัลในพี่เลี้ยงนางนมใครได้ยินได้ฟังดังนั้นก็อดสงสารไม่ได้ บางคนก็หัวเราะเพราะเห็นอากัปกิริยาของจันตะหรา กิระหนาเป็นดังบุคคลซึ่งได้ลูกจริงๆ เทียว ขณะนั้นจันตะหรา กิระหนา สั่งให้นางกำนัลผู้มีนาม เกนบาหยัน และเกนส้าหงิดทำเปลขึ้นเปลหนึ่ง เกนส้าหงิดก็ทำด้วยผ้าสใบแพร แล้วจันตะหราก็เล่นไกวเปลและร่อนรับตุ๊กตาทองคำนั้น บัดเดี๋ยวก็อุ้มวางตัก บัดเดี๋ยวก็จูบกอดพลางตรัสพลอด เช่นอย่างว่า

      “ฉวีวรรณเหมือนอย่างมารดา   นัยเนตรเหมือนเนตรบิดา    
      ริมโอษฐแม้นโอษฐมารดา       นิ้วหัตถ์เยี่ยงหัตถบิดา  
      ดวงเนตรวาววามงามประดัง      คู่ฉวีพรรณผิวงามปลั่ง  
      มีอาว์อยู่เมืองกากะหลัง       โชคชัยอย่าพร่องแม่หวัง  

ดังนี้ใครพบเห็นก็จับใจ และถ้าเป็นคนใจดีมีเมตตากรุณาด้วยแล้ว เมื่อเห็นอากัปกิริยาของจันตะหรา กิระหนา ดังกล่าวนั้นก็ต้องสงสารใจแทบจะขาด อีกครู่หนึ่งเธอก็กอดและอุ้มสพายตุ๊กตานั้นด้วยสะใบของพระมารดา

ก้าหลุ อาหยังได้เห็นประพฤติของก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา นั้นทั้งหมดทางช่องประตู แล้วก็มาร่อนไกวตุ๊กตานั้นของนางบ้าง ตามอย่างเช่นที่จันตะหรา กิระหนา กระทำ แล้วก็เอาผ้าสะใบมาคล้องไหล่อุ้มสพายตุ๊กตา ตามอย่างจันตะหรา กิระหนา นั้นบ้าง แต่สะใบนั้นดียิ่งขึ้นไปกว่า ด้วยเป็นผ้าปักไหมทองประดับด้วยแก้วเลื่อม ขณะนั้นก้าหลุ อาหยังก็เห็นตระหนักขึ้นว่าตุ๊กตาของตน เป็นตุ๊กตาเงินดวงตาประดับหินแก้ว ส่วนตุ๊กตาของก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาเป็นทองคำตาประดับเพ็ชร์ส่งแสงวาวเป็นประกายดังฟ้าแลบ ก้าหลุ อาหยัง จึงขอเอาตุ๊กตานั้น ด้วยถ้อยคำว่า

“ตุ๊กตาของเจ้าพี่นั้นประทานเสียแก่หม่อมฉันเถิด ด้วยหม่อมฉันเป็นเด็กอ่อน แล้วเจ้าพี่เอาตุ๊กตาเงินตัวนี้ไปทรง เพราะทรงเจริญแล้ว”

จันตะหรา กิระหนาตอบว่า “อ้าวน้อง แต่ก่อนนี้ทำไมน้องจึ่งไม่เอาตัวนั้นเสียเล่า น้องเลือกก่อนมิใช่หรือ แล้วพี่จึงได้รับเดนเลือกของน้อง เพราะน้องได้เลือกเหลือแล้วจึงได้ส่งมาให้พี่”

ก้าหลุ อาหยังจึงว่า “อันที่จริงนั้น หม่อมฉันมิใช่เป็นผู้เลือก สังระตูต่างหากทรงเลือก แล้วจึงประทานตัวนั้นแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันหรือจะบังอาจไปเลือกก่อนได้ที่ไหน ถ้าสังระตูไม่ประทานแล้วน้องก็ไม่กล้าด้วยน้องกลัวเจ้าพี่”

จันตะหรา กิระหนาว่า “พี่ไม่อยากให้ตัวนี้แก่น้อง เพราะที่ถูกนั้น พี่นี้ได้รับของเศษเหลือ เลือกเสร็จแล้วจึงส่งมาให้พี่”

ก้าหลุ อาหยัง ร่ำขออยู่อีกสองสามครั้ง จันตะหรา กิระหนา ก็หายอมให้ไม่จึงก้าหลุ อาหยัง ดำเนิรกลับแล้วก็กรรแสงต่อหน้าพระมารดาทั้งดิ้น เกลือกกลิ้งอยู่กับพื้น ท่านลิกูก็ตกใจยิ่งนัก และถามว่า “นี่อะไรกันเล่า ลูก จำไม่ได้หรือแม่บอกว่าให้ระวังตัวให้ดี และรู้เสงี่ยมเจียมตัว เธอรู้อยู่แล้วว่าตัวเธอนั้น มิใช่พระบุตรีประไหมสุหรี ไม่มีใครเขาเคารพนับถือ แม่บอกแล้วไม่ให้ไปเล่นไกล ๆ เป็นไปไม่ได้ ที่องค์สังระตูจะโปรดลูกแม่ ยิ่งไปกว่าพระธิดาของท่าน ก้าหลุ จันตะหรากิระหนา ซึ่งระตูกุรีปั่นก็โปรดปรานมาก เอาเป็นแล้วกันทีหยุดร้องไห้เถิด”

จึงก้าหลุอาหยัง ตรัสพลางน้ำเนตรไหลพลางว่า

“ตุ๊กตาตัวนี้เป็นเงินลูกไม่เอา เพราะตุ๊กตาของพี่จันตะหรา กิระหนาเป็นทอง”

ท่านลิกูได้ฟังดังนั้นจึงว่า “ไปขอประทานเธอดี ๆ อย่างอ่อนหวานสิ”

ก้าหลุ อาหยัง ตอบว่า “ขอไม่รู้กี่หนกี่ครั้งแล้ว ก็ไม่ให้ ซ้ำพูดประชดว่าเศษเดนเลือกอีก”

ลิกูว่า “เลิกกันทีเธอ นิ่งเถิด อย่ากรรแสงอีกเลย ด้วยลูกแม่เป็นลูกคนชาวตลาด แม่ก็เป็นลูกชาวป่าชาวดง ไหนเลยองค์สังระตู จะทรงยกย่อง ให้เสมอกับพระบุตรีองค์ประไหมสุหรีคู่พระนครได้ ถึงจะทรงซ่อนเท่าไรไม่ให้คนรู้สึก ก็ย่อมรู้เช่นเห็นแจ้งว่าโปรดมากกว่ากัน ย่อมจะต่างกันดังนี้แหละ”

ฝ่ายก้าหลุ อาหยัง ก็ยิ่งกรรแสงเกลือกกลิ้งที่พื้นหนักขึ้น ไม่มีใครปลอบโยนได้อีก นางสาวสรรกำนัลในเข้าไปปลอบกันกี่มากน้อยก็ไม่ฟัง และคำปลอบโยนอันอ่อนหวานทั้งมวลนั้น ไม่เป็นเครื่องแก้ไขเยียวยาได้เลย กิริยาวาจาของเธอก็เป็นเยี่ยงหญิงชาวตลาด ราวกับว่าเป็นเด็กที่ได้รับอบรมมาอย่างนั้นจริงๆ อีกครู่หนึ่งองค์สังระตูก็เสด็จมา ตรัสว่า “อไรกันนี่เธอ ดวงตาของอายันดา”

แล้วก็ทรงโอบอุ้มสร้วมสอดปลอบโยน ด้วยพระวาจาอันอ่อนหวาน ก้าหลุ อาหยังก็ทูลให้ทรงทราบซึ่งความประสงค์ใคร่จะขอตุ๊กตาทองคำของจันตะหรา กิระหนานั้น จึงสังระตูตรัสสั่งให้นางกำนัลไปขอมา นางกำนัลก็ไปตามรับสั่ง นางกำนัลนั้นๆ ยังมิได้ทันทูลขอตุ๊กตาทองต่อจันตะหรา กิระหนา ๆ ก็ชิงตรัสขึ้นว่า

“ฉันไม่ให้ ถึงภคินทะจะทรงสังหารผลาญชีวิตรเสีย ก็ตามทีเถิด ชอบไปเสียอีก ตายแล้วจะได้ไปอยู่กับพระมารดาในสุสาน ชีวิตรอันมีตัวคนเดียวอยู่เสียเปล่าในโลกนี้ สุดที่จะทนทานได้ต่อไปแล้ว สิ้นพระมารดาแล้ว เดือดร้อนอะไรก็มิรู้ที่จะไปปรับทุกขกับใครอีก ถูกฆ่าตายเสียดีกว่า”

นางกำนัลนั้นๆ ก็นำความกลับมา กราบทูลต่อองค์สังระตู ๆ ได้ทรงฟังคำนางกำนัลนั้นๆ ก็ทรงพระพิโรธแสนสาหัศ และยิ่งซ้ำร้ายขึ้นไปอีก เมื่อได้ทรงฟังสำเนียงอันออกจากปากท่านลิกู ด้วยกำลังพระพิโรธแรงกล้า จึ่งสังระตูทรงฉวยได้กรรไกรแล้วเสด็จดำเนิรไปยังที่จันตะหรากิระหนานั้น ครั้นถึงจึงเปล่งสุรศัพท์๑๒๑ ว่า “แน่ จันตะหรา กิระหนา ทำไมเจ้าจึงไม่ให้ตุ๊กตาทองแก่น้อง ถ้าขืนไม่ให้จะเอากรรไกรตัดผมเสียเดี๋ยวนี้เทียว”

ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา เห็นองค์พระบิดาทรงพิโรธสาหัศและทรงถือกรรไกรมาดังนั้น จึงก้มลงแทบพื้นน้อมเศียรกราบถวายบังคมพระบาท พลางทูลว่า “ดีแล้ว อายะฮันดาจงทรงสังหารหม่อมฉันเสียทีเดียวเถิด ควรแล้วที่หม่อมฉันจะตายไปเสียกับพระมารดา เพราะเหลือที่จะทนความเจ็บใจต่อไปอีกได้ หม่อมฉันไม่ยอมให้ตุ๊กตาทองของหม่อมฉัน แก่น้องก้าหลุ อาหยัง เพราะที่หม่อมฉันได้มานั้นก็เป็นเดนเลือกแล้ว ถ้าหม่อมฉันให้ไปจะต้องทุกข์ร้อนเจ็บใจไปช้านาน เพราะตุ๊กตานี้หม่อมฉันรักเสียแล้ว บัดนี้ขอพระบิดา จงทรงสังหารหม่อมฉันเสียทีเดียว”

สังระตูได้ทรงฟังดังนั้น ก็ยิ่งพิโรธหนักขึ้น จึงตรัสว่า “ดีละถ้าไม่ให้จะตัดผมเจ้าเสียเดี๋ยวนี้”

จันตะหรากิระหนาทูลว่า “พระบิดาไม่เวทนาลูกบ้างเลยหรือ ประไหมสุหรีสิ้นไปแล้วหม่อมฉันก็ตกเป็นกำพร้า จะให้ดีแล้วทรงสังหารชีวิตรเสียทีเดียว จะชอบใจหม่อมฉันยิ่งเสียกว่า มีชีวิตอยู่ก็จะต้องตกอยู่ไนสังสารทุกข์๑๒๒ ไปอีกช้านาน มีคุณ๑๒๓ประโยชน์อะไรเล่า”

แล้วก้าหลุ จันตะหรา กิระหนานั้นก็กรรแสง ก้มเศียรลงกับพื้นพลางกอดพระชานุสังระตู และชลนัยก็ไหลนองประดุจน้ำมุกด์ไหลจากเรือนหอยฉนั้น ด้วยเหตุเธอหทัยแข็ง จึงยังไม่ยอมให้ตุ๊กตาอยู่อย่างนั้น ใครได้ยินเสียงพิไรรำพรรณของกำพร้านี้แล้วใจหายแตกละเอียดด้วยความสงสาร ที่ต้องเจ็บใจจนถึงอยากตายตามมารดาไป ทั้งกอดและจูบพระบาท สังนาตะ แต่สังนาตะนั้นก็เพิกเฉยหาทรงเอาธุระฟังคำร่ำพิไรนั้นไม่ สังระตูทรงถือกรรไกร และทรงจับเกษาของก้าหลุ ซึ่งซบอยู่กับพื้นกอดพระชานุระตูอยู่นั้น แล้วก็ทรงตัดเกษาจันตะหรา กิระหนา แต่พอก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาเห็นเกษาหล่นลงยังพื้น กระจัดกระจายไปทางโน้นทางนี้ เธอก็ถึงซึ่งวิสัญญีภาพสิ้นสมฤดี ใครเล่าผู้เป็นบิดา จะมีแก่ใจตัดผมทำแก่บุตรีผู้ไร้มารดาแล้วได้อย่างนี้ ใครเห็นก็ต้องสงสารสลดใจสิ้น บรรดานางพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในซึ่งอยู่ ณที่นั้น ก็กรรแสงโศการำพรรณกันไปต่างๆ สิ้นด้วยกัน ในเหตุที่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ประสบเคราะห์ต้องระงมทมทุกข์แสนสาหัศอยู่แล้ว ยังซ้ำมาถูกองค์สังระตูเพิ่มความเจ็บช้ำน้ำใจขึ้นอีก ขณะที่ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ซบลงยังพื้นสิ้นสมฤดีด้วยวิสัญญีภาพนั้น พื้นพสุธาก็หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ประดุจว่าพิโรธโกรธเคืองแก่สังระตู ไก่ทั้งหลายก็ขันกะก้อกก้อก๑๒๔เรื่อยไป ลักษณะ๑๒๕ดังจะตักเตือนองค์สังระตูมิให้ทรงประพฤติดังนั้นอีก ฝูงสัตว์ป่าจตุบาททวิบาทวิหกนกเหยี่ยวมีต้นว่ามยุรา กระสา กระจง กับทั้งพยัคฆมฤคี ก็พากันตกตลึงจังงัง๑๒๖ไปสิ้น ประหนึ่งพิศวงว่าเหตุไฉนใยเล่าสังระตูจึงไม่สมเพชเวทนาแม้แต่สักน้อยหนึ่งเลย ซึ่งพระบุตรีผู้ไร้มารดานั้น ฝ่ายว่าเกนบาหยัน และเกนส้าหงิด เมื่อเห็นเจ้านายของตนดังนั้น ก็ร้องไห้เข้าช้อนองค์ขึ้นใส่ตักโศกาพิไรรำพรรณ เกนส้าหงิดเก็บเกษาที่ตกกระจายอยู่นั้นขึ้น และเกนบาหยันประพรมพักตร์ด้วยน้ำกุหลาบ พลางอุ้มประคองไว้บนตัก ฝ่ายองค์มหาเดหวีก็รับเอาเกษาซึ่งถูกตัดหล่นลงนั้นมาเทอดไว้ประดุจมณี๑๒๗ มีค่าหลุดหล่นจากเรือนอาภรณฉนั้น พลางชลนัยก็ไหลหลั่ง แล้วก็พาก้าหลุนั้นเข้าสู่ยังที่บรรธม ภูษาฉลององค์ของก้าหลุนั้นหรือ ก็เปียกชุ่มไปด้วยชลเนตร สะใบของชนนีก็เต็มไปด้วยฝุ่นลออง เกนบาหยันและเกนส้าหงิดเชิญภูษาทรงมาให้ผลัด ยังมีนางอื่นเชิญน้ำสรงพักตรมาซึ่งเจือจรุงด้วยน้ำบุหงายังหอมรื่น ความเป็นไปของก้าหลุจันตะหรากิระหนาเป็นอยู่ดังนี้ จนกระทั่งเนตรบวมฟกช้ำ เหตุด้วยเฝ้าแต่กรรแสงอยู่ทุกวี่วัน และน้ำเนตรไหลฉ่ำมิรู้หยุด บัดเดี๋ยวก็เจ็บแสบหฤทัย เมื่อระลึกถึงความโหดร้ายของท่านลิกู และบุตรี บัดเดี๋ยวก็ระลึกถึงชนนีซึ่งต้องสิ้นชีพไปเพราะการกระทำของท่านลิกู แล้วก็เกิดความคิดต่าง ๆ ขึ้นในหทัยนาง พลางร้ายพลางดีไม่แน่นอน กลับไปกลับมา ด้วยความเจ็บแสบคั่งแค้นแสนสาหัศ ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาหวนคิดไปมาอยู่ดังกล่าวนี้ทุกทิวาวารตั้งแต่รุ่งเช้าตลอดอาทิตย์ลบ ยิ่งเป็นเวลาพลบวัน ใกล้จะเปลี่ยนเป็นคืนด้วยแล้ว เพลานั้นและเป็นเจ็บแสบหทัยพี่สุด จึงบังเกิดความคิดจะออกมะงัมบาหรา๑๒๘ ไปยังเมืองใดเมืองหนึ่ง ด้วยใคร่จะไปเสียให้พ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องระลึกถึงการกระทำของท่านลิกูและสังระตูนั้นอีก และเธอรู้สึกเบื่อหน่ายในอันจะอยู่ในนครดาหาสืบไป คิดในหทัยนางว่าไปเสียพ้นนครนั้นจะเป็นการดีกว่าอย่างอื่น จึงตรัสให้หานางกำนัลข้าหลวง พลางชลนัยไหลหลั่งรับสั่งด้วยสำเนียงช้าๆ ว่า “แนะพี่บาหยัน จงรีบไปเรียกลุงมนตรีมาหาข้า ณ บัดนี้”

นางกำนัลทั้งหลายก็ไปเรียกท่านลุงมนตรีนั้นโดยพลัน อีกครู่หนึ่งนางกำนัลก็มาพร้อมด้วยมนตรี ๔ คนด้วยกัน เวลานั้นมหาเดหวีประทับอยู่ข้างก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ทางเบื้องขวา ฟูมฟายชลเนตรกรรแสงร่ำไห้อยู่ด้วยกัน

จึงมนตรีทูลว่า “มีเหตุข่าวคราวอันใด ที่เธอตรัสให้หาลุงมานี้ ทำไมเนตรของเธอจึงฟกช้ำ ดูเชิงว่าทุกข์ร้อนมาก”

จึงจันตะหรา กิระหนา กับมหาเดหวี ตรัสแก่ลุงมนตรีนั้นว่า “เออลุง ข้านี้สุดที่จะทนความเจ็บใจต่อไปได้ กลางวันกลางคืนไม่มีที่สิ้นสุด บัดนี้ข้าคิดจะหย่อนใจ ด้วยปล่อยตนมะงุมบาหราไปไหน ๆ ตามยถากรรม สุดแล้วแต่องค์พระอัลหล่าห์ผู้ทรงมเหศรศักดานุภาพจะทรงบันดาล และใคร่จะไปแต่ในค่ำคืนวันนี้เทียว แต่อย่าให้ใคร ๆ ผู้อยู่ในนครนี้รู้เห็น ข้าขอต่อลุงมนตรีและพระมารดาโปรคช่วยรักษาระหัส๑๒๙ ความลับนี้ไว้อย่าให้ทราบถึงองค์อายะฮันดา สังระตู และลิกู เพื่อสังระตูและท่านลิกูจะได้เสวยรมย์ชมชื่นอยู่ด้วยกัน พร้อมทั้งก้าหลุ อาหยัง ซึ่งเป็นที่ทรงสิเน่หาอย่างยอดยิ่งนั้น”

ใคร ๆ ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้นได้ฟังก็รู้สึกว่า ซึ่งจันตะหรา กิระหนาตรัสดังนั้นถูกต้องแท้ ไม่มีผิดเลย ด้วยบรรดาชนที่อยู่ในพระนครล้วนแต่เกลียดชังท่านลิกูทั้งนั้น มหาเดหวี เกนบาหยัน และ เกนส้าหงิด ว่า “ถ้าจะออกมะงุมบาหราแล้ว ขอจงพาเอาข้าเจ้านี้ไปด้วย จะไปไหนก็เต็มใจจะตามไป ถึงจะไปล้มไปตายก็ไม่ว่า ขอแต่ให้ได้ตามไปด้วย ถ้าเธอไม่เอาไปด้วยแล้วจะต้องตกทุกข์ได้ยากแสนสาหัศ ตายเสียดีกว่าที่จะมีชีวิตรอยู่ต่อไป ด้วยจะเป็นชีวิตรที่เจ็บปวดลักษณคนไข้หนักปางตาย เหตุฉนั้น จึงหวังว่าเธอจะเอาไปด้วย เพราะไม่อยากจะตกไปเป็นข้ารับรับสั่งรับใช้ของก้าหลุ อาหยัง จะไปยอมตนเป็นบ่าวเจ๊กจีนก็ยังจะดีเสียกว่า”

แล้วก็รวมกันปรึกษาหารือ ครั้นตกล่องปล่องชิ้นก็พอดีวันดับค่ำมืดลง ตกเพลาเที่ยงคืนเดือนขึ้น บุหลันฉายส่องแสงสง่าราวกับกลางวัน พระพายก็พลันพัดรำเพยเรื่อยเฉื่อยฉ่ำ ปวงบุหงาผกามาศก็ส่งกลิ่นหอมหวานขจายจรรวยระรื่น กลบุรุษย์ทอดทัศนาเห็นวงพักตร์อันหวานชื่นแห่งคู่พิศวาสดิ์ ครั้นแล้วต่างก็จัดเตรียมเดิรทาง พวกพี่เลี้ยงและนางกำนัลจัดเครื่องอุปโภคบริโภค ฝ่ายมหาเดหวี เกนบาหยัน และเกนส้าหงิด ก็จัดแต่งเตรียมของเช่นอย่างจะไปเดิรทางเรือ ครั้นพร้อมแล้วก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ก็ดำเนิรออกจากตำหนักไป มนตรีทั้งหลายนั้นก็ตามเสด็จ ในจำนวนชาวเมืองดาหาจะมีใครแต่สักคนหนึ่งก็หาไม่ ที่ทราบเรื่องจินตะหรา กิระหนาหนีหายไปจากนครนั้น ท่านลิกูกับก้าหลุ อาหยังรวมทั้งองค์สังนาตะก็หาได้ทรงทราบไม่ ว่าพระบุตรีออกไปมะงุมบาหราเสียแล้ว ก็และก้าหลุจันตะหรา กิระหนาออกจากนครไป พร้อมด้วยมนตรีและสาวสรรกำนัลในนั้น ไปขึ้นรถ พวกพี่เลี้ยงเดิรตามเสด็จ จรจรัลไปโดยไม่มีที่มุ่งหมายแน่นอน เพราะย่อมเป็นไปตามหทัยอันกำลังเลื่อนลอย และทุกขจิตตโทมนัศอันมีการกระทำของท่านลิกูนั้นเป็นมูลเหตุต้นเดิม


      เดิรทางเข้าป่าพนาวัน   เจ็บจิตรผิดคาดหวาดประหวั่น    
      เหตุลิกูร้ายการอาธรรม์   ก็ค่อยลืมเสื่อมคลายหายพลัน    
      หนีไปมะงุมบาหรา   อยู่กรุงทนทุกข์สังสารา    
      ไม่อยากกลับคืนสักครา   แล้วแต่บันดาลบะตาหรา๑๓๐    

-----------------------------------

๑๒๐ บาทกลอนมะลายูตามต้นฉบับเป็นดังนี้ คือ ไม่มีบังคับครุละหุ ไม่มีบังคับจำนวนพยางค์ มีแต่สัมผัสท้ายวรรคเป็นชุดสี่เว้นแต่บทต้นทิ้งสัมผัสเปนคู่สลับ ในการแปลได้รจนาตามไปดังบทกลอนในต้นฉบับนั้น โดยรักษาความให้ตรงกัน และสัมผัสทิ้งก็ตรงกัน ตัวอย่างเช่นบทแรก ว่า “ยะ อานักกู จะฮายะมาตา ลามาละห์ บุนดา มะนังคุง ราวัน เลียง มาลัม มาบุก บรจินตา สะบาเดะ บุลัน ติซาปุด อาวัน”
๑๒๑ ต้นฉบับใช้คำ “มวสัปดะ” มาจากคำศัพท์ แปลว่าตรัส
๑๒๒ ต้นฉบับใช้คำ “สังสาระ” แปลว่าทุกข์
๑๒๓ ต้นฉบับใช้คำ “คุณะ” แปลว่าคุณ ว่าประโยชน์
๑๒๔ ต้นฉบับใช้คำ “ตรก้อกก้อก—ก้อกก้อก”
๑๒๕ ต้นฉบับใช้คำ “ลักซะ” นะ  
๑๒๖ ต้นฉบับใช้คำ “ตรจังงัง – จังงัง”
๑๒๗ ต้นฉบับใช้คำ “มานิก – มานิก”
๑๒๘ มะงุมบาราก็ใช้ ใน พ.ร.น. อิเหนา มะงุมมะงาหรา
๑๒๙ ต้นฉบับใช้ว่า “ระฮาสิยะ”
๑๓๐ เทวดา ใน พ.ร.น. อิเหนา ปะตาระกาหรา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มิถุนายน 2567 19:08:57 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 กันยายน 2567 16:52:04 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

ที่หนีไปนั้นออกทางหลังเมือง ตามทางเข้าสู่ป่าดงพงชัฎ มิได้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และมิได้สำนึกตนอีกต่อไป เดิรไปโดยไม่หยุดหย่อนเช่นนั้น มิช้านานก็รุ่งสว่าง ดวงพระสุริยฉานส่องแสงต้องยอดบรรพต และบุรุษย์เหลือบเห็นวงพักตรอันใสสว่างแห่งคู่รักยอดสวาทฉนั้น

ไก่ป่าขันเจี้อย กะก้อกก้อก - ก้อกก้อก ดังจะแจ้งให้ทราบว่ารุ่งรางสว่างแล้ว น้ำค้างย้อยหยาดเยือกเย็น ดังจะให้คำเตือนเขาลึกถึงกระดูก ครั้นสว่างแล้ว จันตะหรา กิระหนา จึงตระหนักว่าที่เดิรทางมานั้นตกอยู่รวางครึ่งทางไปกรุงกุรีปั่น จึงสุขจิตต์โสมนัศยิ่งนัก พลางตรัสว่า “แนะ ลุงมนตรี ณ บัดนี้เรามาหยุดที่นั้เถิด ด้วยตรงนี้ใกล้ทางเดิรไปยังนครกุรีปั่น”

ลุงมนตรีนั้นทูลว่า “ที่ตรัสนั้นถูกแล้ว เจ้ากู๑๓๑ ลุงนี้ก็ทราบอยู่เหมือนกันว่าเป็นทางไปสู่สถานขององค์อุอันดา๑๓๒สังระตู”

จึงหยุดลง ณ ที่นั้นพร้อมกัน แล้วก็จัดสร้างเรือนหรือพลับพลาปะสังคราหัน๑๓๓ขึ้นพอสมควรตามรับสั่งของกาหลุ จันตะหรา กิระหนา

ครั้นสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว จึ่งก้าหลุจันตะหรา กิระหนาตรัสว่า

“ลุงมนตรี ถ้าลุงสร้างเมืองขึ้น ณ ที่นี้สักเมืองหนึ่งจะดี ด้วยข้านี้ใคร่จะเป็นราชาครองเมืองอยู่ที่นี่”

มนตรีนั้นก็สุขจิตต์ยินดี แต่เต็มไปด้วยความพิศวงสงสัยในอันฟังตรัสดังนั้น แล้วก็ช่วยกันจัดการสร้างเมืองขึ้นณที่นั่น ในจำนวนคนเหล่านั้นบ้างก็ตัดฟันโค่นต้นไม้ บ้างก็กลับปลูกต้นไม้ขึ้นใหม่ให้ได้ระเบียบงามดี และล่วงไปมิช้านาน เมืองก็ตั้งขึ้นอย่างสง่างดงาม รูปทรงแห่งนครนั้นดีนัก เป็นเมืองใหญ่อันไพจิตรและเต็มไปด้วยเครื่องแต่งเครื่องประดับนานา

ครั้นสำเร็จเสร็จสรรพแล้ว ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา ทอดพระเนตรเห็นของวิจิตรงดงามนั้น ๆ ก็ทรงสุขจิตต์ชื่นชมโสมนัศและเริงหทัยสุดประมาณ พลางยิ้มและสรวลตริในหฤทัยนางว่า “บัดนี้เมืองก็ได้ตั้งขึ้นอย่างสมควรและกว้างขวางพอแก่การแล้ว มา เราจะเป็นราชาครองเมืองนี้เพื่อจะปล้นตีชิงไพร่ฟ้าประชาชนชาวกุรีปั่น ถ้าจะต้องตายณที่นี้ก็ยิ่งชอบใจ๑๓๔

คิดดังนั้นแล้วเสวยโภชนาหารและเครื่องดื่มด้วยความสนุกสนาน มิช้านานตวันก็ดับลับลง นางก็เข้าที่ไสยาศน์ด้วยหทัยเริงรมย์ระคนกับประหวั่นหวาด ครั้นรุ่งเช้าตีดวงรวีไขแสงจรัสหล้า เหล่าชาวนครนั้น ก็พากันตื่นนอนด้วยสุดจะทนฟังเสียงเสือเนื้อกวาง และวิหคในอารัญประเทศ ซึ่งส่งเสียงอึกทึกครึกโครมกำปนาท ด้วยนครนั้นทั้งเบื้องซ้ายเบื้องขวาจรดป่าอันทึบใหญ่ ฝ่ายจันตะหรา กิระหนาก็บรรธมตื่นขึ้นด้วยทุกขจิตต์ แล้วก็ไปสรงน้ำในสวน ซึ่งมีนามว่าตาหมันบุษบะราวัน อันนางได้จัดทำขึ้นเองอย่างสง่างาม มีเกนบาหยันและเกนส้าหงิดตามเสด็จ ครั้นสรงเสร็จแล้วก็เสด็จกลับ นางสาวสรรกำนัลในทั้งหลายก็ช่วยกันก่อไฟต้มน้ำหุงอาหาร ครั้นเสร็จก็เสวย ๆ แล้วนางจินตะหรากิระหนา ก็เสด็จเข้าสู่ตำหนัก แล้วก็แต่งองค์ทรงเครื่องแปลงเป็นชาย รูปทรงวงพักตรงามดุจเทวาลงมาจากโลกสวรรค์ แล้วเหน็บกริสก็ยิ่งเพิ่มความงามรูปโฉมหาที่บกพร่องมิได้ ครั้นทรงเครื่องอย่างชายแล้วก็เสด็จออกบทจรไปยังที่สาวสรรกำนัลในนั้น ๆ ตรัสด้วยกับมหาเดหวี สรวลเสเฮฮา ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนาดำเนินช้า ๆ แล้วก็ไปประทับยืนอยู่ท่ามกลางนางกำนัลนั้น ๆ มหาเดหวีก็ดี นางกำนัลทั้งปวงก็ดี หารู้จักจำได้ไม่ สงกาคาดว่าเป็นองค์ปะตาระชคัตนาถลงมาจากกะยาหงัน บางคนเห็นเข้าแล้วก็ใจเต้นใคร่จะถวายบังคมองค์ปะตาระชคัต ขอประทานพรให้อยู่เย็นเป็นสุข๑๓๕ บางคนก็อยากจะขอเครื่องรางกันภัย บางคนก็ใคร่จะขอให้กลับเป็นสาว หรือขอให้สังหยังปะตาระชคัต โปรดช่วยตนโดยประการต่าง ๆ ต่อเข้ามาใกล้นางสาวสรรกำนัลในนั้น ๆ เห็นทรงเครื่องอย่างชายยืนท้าวบั้นพระองค์ และหัตถ์กุมกริสอยู่จึงดูออกว่านี้คือ จันตะหรา กิระหนา นางกำนัลทั้งหลายนั้นก็ชื่นชมยินดีเปล่งอุทานว่า “ข้าทั้งปวงพากันคิดว่าองค์ปะตาระชคัตเสด็จลงมา มิได้ทราบเลยว่าเจ้านายทูลหัวของข้านี้เอง”

มหาเดหวีได้เห็นความเป็นไปของพระบุตรีดังนั้นก็สุขจิตตปราโมทย์ ตรัสว่า “ลูกแม่ช่างฉลาดแปลงกายจริงเทียว แม่คิดว่าองค์สังหยัง บะตาระ”

ก้าหลุก็แย้มสรวล และพยักพักตรตรัสว่า พระมารดากับพี่เลี้ยงทั้งหลายกับทั้งลุงมนตรี บรรดาที่อยู่ ณ ที่นี้ ข้านี้ได้แปลงตัวแล้ว ด้วยแต่วันนี้ไปจะเปลี่ยนชื่อมิให้ใครรู้ว่าข้านี้เป็นหญิง ขอให้ลุงมนตรีกับทั้งพระมารดาและทั้งหมดด้วยกันรักษาความลับของข้านี้ไว้ให้มั่นคงบริสุทธิ๑๓๖ ด้วยใคร่ใช้ชื่อผู้ชาย แต่นี้ไปให้เรียกนามข้าเจ้านี้ว่าปันหยีสะมิหรัง อัสบารัน ตะกะ”

ครั้นปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะใช้นามดังนั้นแล้ว นางกำนัลพี่เลี้ยงและมหาเดหวีก็ยินดีปรีเปรมทั่วกัน ส่วนชายทั้ง ๔ มนตรีและเสนานั้นตรัสสั่งให้กลับ ทั้งสี่นั้นก็กลับคืนยังนคร และรักษาระหัสความลับของปันหยี สะมิหรังนั้น มิได้แพร่งพรายให้ล่วงรู้ถึงใครแม้แต่สักคนหนึ่งเลย ด้วยมีความสงสารนัก ครั้นไปถึงกรุงดาหาแล้ว แม้แต่องค์สังระตูก็มิได้ทูลให้ทรงทราบ การณ์เป็นดังเช่นกล่าวนี้แล

ฝ่ายว่านางกำนัลของปันหยี สะมิหรัง อัสมารัน ตะกะ สองคน ผู้มีนามว่าเกนบาหยัน และ เกนส้าหงิดนั้น เมื่อเจ้านายได้ทรงเครื่องอย่างชายแล้วด้วยความโปรดปรานยิ่งนัก จึงได้ประทานเครื่องแต่งตัวอย่างชายด้วย ครั้นแต่งตัวเป็นชายแล้วรูปร่างก็สวยงามดีไม่มีที่บกพร่อง แล้วทั้งสองนั้นก็แปลงนาม ผู้ที่ชื่อเกนบาหยัน ได้นามว่า กุดาประวีระ ผู้ที่ชื่อเกนส้าหงิดนั้น ก็ได้นามว่ากุดา๑๓๗ปะรันจา นามทั้งนี้ได้ลักษณะสมกับตัวคนนั้น ๆ ครั้นแล้วปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะจึงกล่าวว่า “แนะ กุดาประวีระ และกุดาปะรันจา อันตัวท่านทั้งสองนั้น ต้องเป็นทหารเอกของเรา ท่านจงอยู่เฝ้าประตูเมืองเรา และใครเดิรผ่านมาก็จงปล้นตีชิงเสียทุกคนไป ถ้าคนชาวกุรีปั่นจะเดิรผ่านไปดาหา ท่านจงตีชิงทรัพย์สินลูกเมียและของมื้อซื้อกินเสียสิ้น เสื้อผ้าก็เช่นเดียวกัน ถ้าเขาพาเอาลูกเมียมาด้วยไม่แต่ที่หน้าตาดีเท่านั้น ก็งหน้าตาจะน่าเกลียดก็ชิงเอามาให้เรา ยิ่งเป็นสาวพรหมจารียิ่งดี แต่ถ้าเป็นคนชาวกากะหลัง ท่านจงอย่าปล้นจงไต่สวนสอบถามแต่ชื่อเสียง และนามเมืองของเขาเท่านั้น”

กุดาประวีระ และกุดาปะรันจา รับ ๆ สั่งเจ้านายของตนดังนั้นแล้ว ก็เดิรไปยังประตูเมือง ถืออาวุธครบมือ รูปร่างองอาจงามดี ครั้นถึงจึงหยุดนั่งลงที่ธรณีประตู ใครเดิรผ่านมาก็เข้าปล้นตีชิงสิ้น ไม่มีอไรเหลือ แม้แต่ของกินก็ชิงเอามา ในจำนวนคนนั้นๆ สั่งเอาตัวมาให้แก่ปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะ แล้วก็สั่งเอาตัวลงเป็นไพร่บ้านพลเมือง ใครยินยอมโดยดีก็อนุเคราะห์ด้วยเสื้อผ้าและให้กินให้ดื่ม ใครขัดขืนไม่ยอมก็ฆ่าเสียหรือจำคุก ยิ่งนานวันเข้าก็ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้น จนมีคนเปนไพร่บ้านพลเมืองมากมาย ซึ่งพอใจอยู่ในบังคับของกะละหนา๑๓๘ ปันหยี สะมิหรังนั้น กุดาประวีระและกุดาปะรันจานั้นเก่งกาจ กล้าหาญมาก ถ้าจะต่อสู้สัตรูแล้วกิริยาเหมือนเสือจ้องจะตะครุบ คนชาวเมืองกุรีปั่นที่ตกเป็นไพร่พลเมืองของกะละหนาปันหยี สะมิหรังนั้นก็มากมายแล้ว จนเมืองนั้นแน่นหนาเอิกเริก เพราะย่อมเพิ่มจำนวนผู้คนพลเมืองมากขึ้นทุกที ด้วยกุดาประวีระ และกุดาปะรันจานั้น จะเป็นใครไม่ว่า เปนพ่อค้าลูกค้ามาถึงที่นั้นก็ตาม เป็นกุลี๑๓๙คนงานจากกุรีปั่นก็ตาม เป็นชาวชนบทที่จะ ไปซื้อไปขายของที่ตลาดนครกุรีปั่นก็ตาม ย่อมปล้นตีชิงเสียสิ้น ทั้งสิ้นค้าและผู้คนเอาเข้าเมืองและเอาลงเป็นไพร่บ้านพลเมืองนั้นสิ้น บรรดานักฟ้อนรำนักขับร้อง เช่นโขน๑๔๐ ลคอนวายัง๑๔๑ จากกรุงกุรีปั่นซึ่งจะไปเที่ยวเร่เล่นในกรุงดาหา เดิรมาถึงที่นั้น ด้วยไม่มีทางอื่นจะเดิรนอกจากทางที่ผ่านตรงนี้เท่านั้น เพราะทางนั้นเป็นทางข้ามทางเดียวจากดาหาไปกุรีปั่น และเป็นทางตรงดังปล้องไม้ซาง เมื่อประสพกับทหารเอกผู้เก่งกาจกล้าหาญทั้งสองนั้นเข้า ก็ถูกยึดแขนและถามว่า “เฮ้ย ช่างขับ ช่างฟ้อน จงหยุดก่อน กูนี้ใคร่จะถามว่าพวกเจ้านี้จะไปไหนและมาแต่ไหนกัน”

ช่างขับ ช่างฟ้อน และนักดนตรีนั้น ๆ ก็ตอบว่า พวกเขาทั้งหลายนั้นมาแต่กุรีปั่นจะไปยังกรุงดาหา

กุดาประวีระจึงว่า “เฮ้ย นักดนตรี ช่างฟ้อนช่างขับของมึงนั้นยอมยกให้แก่เราเสียดีๆ เถิด กูจะเอาตัวไปเป็นทหารของนายกู เครื่องแต่งตัวฆ้องกลองระนาดของมึงก็เอามาให้หมด ต่อเมื่อเอาเข้าไปส่งถึงในวังเสร็จหมดแล้ว มึงจึงจะเดินทางต่อไปยังดาหาได้ ถ้ามึงไม่ให้สิ่งของฆ้องกลอง มึงจะไม่ไปถึงดาหาได้ กูจะฆ่ามึงเสียแน่ ๆ เทียว”

พวกนักดนตรีช่างขับช่างฟ้อนได้ฟังคำกุดาประวีระและกุดาปะรันจาดังนั้น บ้างก็ตกใจกลัวตัวสั่น บ้างก็กล้าคิดจะต่อสู้กับทหารเอกทั้งสองนั้น จึงเกิดการกาหลอลหม่านอึกทึกครึกโครมสุดประมาณ ที่กล้าหาญก็เข้าต่อสู้กับกุดาประวีระ ที่ขลาดกลัวก็ทิ้งฆ้องกลองและเครื่องเล่นวิ่งหนีไป ทั้งนี้เสียงเอะอะโกลาหลกึกก้อง คนครึ่งจำนวนถูกกุดาปะรันจาจับได้แล้วคุมตัวเข้าไปส่งในวัง มิช้านานบรรดานักดนตรีช่างขับช่างฟ้อนเหล่านั้นก็ยอมแพ้หมด เพราะไม่สามารถทนต่อสู้กับกุดาประวีระ กุดาปะรันจานั้นได้ แล้วก็พาเอาตัวบรรดานักดนตรีนักร้องโขนลคอนเหล่านั้นเข้าไปถวายเจ้านายแห่งตน คือปันหยีสะมิหรัง ผ่ายปันหยี สะมิหรัง ก็ชื่นชมสุขจิตตนัก สั่งให้ปล่อยคนทั้งหมดนั้นหลุดพ้นจากผูกมัด พลางตรัสว่า “เฮ้ย เหล่าช่างขับช่างฟ้อน จงมาอยู่ในนครของกูนี้เถิด เป็นไพร่บ้านพลเมืองในบังคับเรา ๆ จะให้ของกินของดื่มและเสื้อผ้าแก่พวกเจ้า ถ้าพวกเจ้าไม่เอาอย่างว่านี้ กูจะให้ทำโทษหรือมิฉนั้นก็ฆ่าเสียสิ้น”

คนเหล่านั้นกลัวด้วยความกลัวอย่างแสนสาหัศ ก็ก้มศีรษะรับแต่เต็มด้วยความพิศวงอัศจรรย์ใจในอันเห็นราชานั้นรูปร่างเหมือนสังหยัง มะตาระ จึงเกิดความรักขึ้นในใจ และอ่อนน้อมยอมตนเป็นข้าในปกครองของปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะนั้น แต่เวลานั้นมาเมืองใหม่นั้นก็เอิกเริกมโหฬารไม่เงียบเหงาอีกต่อไปไม่ว่ากลางวันกลางคืน ทุก ๆ คืนปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะ สั่งให้โขนลคอนและระบำตลก บรรดาที่ได้อ่อนน้อมสวามิภักดิแล้วนั้น เล่นให้เป็นที่รื่นเริงสนุกสนาน คนเหล่านั้นได้รับ ๆ สั่งแล้วก็เล่นอย่างเอิกเริก ทั้งนี้ด้วยเทวานุภาพหากบันดาลนั้นแล

มากาลครั้งหนึ่ง ชาวเมืองมันตาหวันใคร่จะไปค้าขายณเมืองกากะหลัง ชนเหล่านั้นจึงเดิรมาถึงยังที่นั้น พอมาถึงที่ตรงครึ่งทางก็เห็นประตูเมืองอันหนึ่งจึงอัศจรรย์ใจมิใช่เล่น เต็มไปด้วยความพิศวงงงงวย ด้วยแลไปทางโน้นทางนี้ก็ไม่เห็นมีทาง

คน ๆ หนึ่งในพวกนั้น จึงกล่าวว่า “นี่จะว่าอย่างไรกันไม่เห็นมีทางต่อไป มา เราพากันเข้าไปในเมืองเถิด เพื่อขออาศัยทางเดิร”

เพื่อนเขาคนหนึ่งจึงว่า “ที่แกว่านั้นถูกต้องแล้ว”

จึงพากันเดิรไป พอถึงประตูนั้นใกล้ต้นไทรสองต้น ก็มีชายคนหนึ่งถืออาวุธครบมือสั่งให้หยุด พูดว่า “พวกมึงหยุดก่อน เปิดเสื้อผ้าของมึงออก วางของเดินทางลง เอาของกินมาให้กูให้หมด ถ้าไม่ให้กูจะฆ่ามึงเสียให้หมดเดี๋ยวนี้ กูจะปล้นตีชิงมึงแจ้งๆ ดังนี้”

ชาวมันตาหวันจึงว่า “เฮ้ย อ้ายคนร้ายนักปล้น พวกกูนี้มาแต่มันตาหวัน จะไปค้าขายที่เมืองกากะหลัง ถ้าให้ทรัพย์สินค้าแก่มึงเสียหมดแล้ว พวกกูจะไปทำอะไรได้”

กุดาประวีระตอบว่า “ถ้าให้เสื้อผ้าและของกินของมื้อที่กูปรารถนานั้นแก่กูก่อนแล้ว พวกมึงก็ไปได้”

ชาวมันตาหวันก็โต้ว่า “เฮ้ย อ้ายปล้น เรามาสู้กันก่อนสิ ถ้ามึงชนะ มึงก็เอาของ ๆ กูได้”

กุดาประวีระ และกุดาปะรันจาก็โกรธอย่างสาหัศ พลันชักอาวุธออกฟันทางโน้นทางนี้ ขณะนั้นก็เกิดการโกลาหลอึกทึก ด้วยทหารเอกทั้งสองนั้นดุร้ายเข้มแข็งน้ก ฟันซ้ายเหวี่ยงขวา ใครเห็นก็ต้องหวาดเสียวสดุ้งกลัวและเข็ดขาม ในจำนวนคนทั้งหลายนั้นมีบางคนเพียงแต่เห็นรูปร่างทหารเอกเท่านั้นก็กลัวเสียแล้ว พวกชาวมันตาหวันนั้นทนทหารเอกทั้งสองไม่ไหวก็พ่ายหนีระส่ำระสายไป กุดาประวีระ และกุดาปะรันจาก็เอาของสินค้าและของกินได้หมด บางคนในจำนวนพลเมืองมันตาหวันนั้นรีบวิ่งหนีไปทูลข่าวแก่ราชาของตน บางคนก็ถูกจับแล้วเอาตัวเข้าไปในวังกะละหนา ปันหยี สะมิหรัง สั่งเอาลงเป็นพลเมือง จนสิ้นจำนวนชาวมันตาหวันนั้น ๆ เรื่องราวมีมาเป็นประการดังนี้แล

บัดนี้จะกล่าวถึงพวกชาวมันตาหวัน ซึ่งหนีกระจัดกระจายระส่ำระสายไป เพราะถูกทหารเอกผู้กล้าหาญปล้นตีและไม่สามารถจะทนต่อสู้ต้านทานอยู่ได้อีกนั้น หนีมาแล้วก็วิ่งกระหืดกระหอบเข้าไปในเมืองเพื่อจะร้องทุกข์ต่อราชาแห่งตน กิริยาราวกับถูกเสือดุร้ายไล่และทิ้งเพื่อนไว้ให้ถูกจับแล้วตนเองหนีเอาตัวรอด แล้วก็เข้าไปเฝ้าราชาแห่งตนในวังด้วยหายใจหอบซวน ก้มศีรษะถวายบังคมแล้วทูลแถลงข้อความเรื่องที่ถูกคนร้ายสองคนผู้ดุร้ายเข้มแข็งปล้นนั้น ชิงเอาทรัพย์สินไปเสียจนสิ้นเชิง และบางคนก็ถูกจับเอาตัวไว้แล้ว ครั้นท้าวมันตาหวันได้ทรงฟังข่าวดังนั้นก็ทรงพิโรธโกรธกริ้วแรงกล้า จึงตรัสสั่งให้เรียกชุมนุมรี้พลมนตรีเสนาดะหมังตำมะหงงณกาลนั้น เพื่อจะไปรบกับกะละหนา ปันหยี สะมิหรัง ครั้นพรักพร้อม และจ่ายปืนปิสตอล๑๔๒ และอาวุธต่าง ๆ ครบครันแล้ว ก็ยกพหลพลโยธีมันตาหวันอันเป็นจำนวนมากนั้นไปด้วยอาการอันเอิกเริกพรรฤกครึกโครม ด้วยว่าดุริยดนตรีต่าง ๆ คือฆ้องตับ ฆ้องหมุ่ย กลอง และฆ้องโข่งนั้นก็ตีประโคมเรื่อยไม่หยุดหย่อน ทั้งเสียงคนเรียกร้องตะโกนกันเซงแซ่ไม่ขาดสายตลอดทางที่เดิรไปเมืองปล้นนั้น มิช้านานก็ไปถึงที่หนึ่งใกล้ประตูเมืองนั้น แล้วก็ตะโกนไปว่า “เฮ้ย กุดาประวีระ และกุดาปะรันจา อยู่ไหนเล่า เจ้านายของมึงที่ชื่อ กะละหนา ปันหยี สะมิหรัง และเลื่องชื่อฦๅชานั้น ไปเรียกออกมารบกันกับพวกกู กูจะจับมันมัดเสียอย่างง่ายดายเทียว”

ครั้นแล้วกุดาประวีระและกุดาปะรันจาก็เหลือบเห็นไพร่พลมันตาหวันมามากมายไม่มีประมาณ จึงกุดาปะรันจา โกรธยิ่งนักจนสีหน้าแดง

กุดาประวีระก็ตอบด้วยความโกรธว่า

“เฮ้ย รี้พลมันตาหวัน เจ้านายของมึงอยู่ไหน กูนี้และคือคู่ต่อสู้ของมึงทั้งหมดด้วยกัน มาสู้รบกับกูก่อน ต่อเมื่อกูแพ้ เจ้านายของกูจึงจะออกมารบกับพวกมึง”

ทั้งสองฝ่ายต่างก็เกรี้ยวกราดโกรธกริ้ว เดิรเข้าผจญกัน เสียงตวาดตะโกนข่มขู่ซึ่งกันและกันสนั่นหวั่นไหว ระคนกันไปกับเสียงฆ้องตับ ฆ้องหมุ่ย ฆ้องโข่ง และระนาดทอง ซึ่งตีประโคมอึกทึกกึกก้องไม่หยุดหย่อน แล้วก็ต่อสู้กันด้วยแทงพุ่ง แทงทิ่ม และตีกันแต่ในการสู้รบนั้น กุดาประวีระและกุดาปะรันจาสองคนนั้น มีท่วงทีท่าทางเป็นกิริยาสตรี คือว่ามือไม่ปล่อยจากยึดหน้าอกเสื้อเสียเลย ดูประหนึ่งเกรงว่าเสื้อจะเปิดแล้วคนจะเห็นว่าเป็นหญิง ถ้าเห็นดังนั้น แน่เทียว ความลับก็จะเปิดเผยขึ้น แล้วก็จะต้องได้อาย จึงพยายามจนสุดสามารถที่จะปิดไว้ซึ่งระหัส ความลับสองผลณอุระประเทศ เพื่อมิให้ใครเห็นแจ้งในขณะนั้น กุดาประวีระเข้ากระทบกันกับดะหมัง ฝ่ายกุดาปะรันจากระทบกับตำมะหงง แล้วก็พุ่งหอกพุ่งดาบทิ่มแทงซึ่งกันและกัน เมื่อดะหมังมันตาหวันชักกริสจากฝักเพื่อจะแทงอก กุดาประวีระก็รับไว้ด้วยปลายกริส แล้วก็แทงตอบไป แต่ผิด ฝ่ายกุดาปะรันจาก็เช่นกัน เมื่อตำมะหงงเอาไม้ตีที่หน้าอก ก็รับไว้แล้วโดดถอยไปข้างหลัง ถ้าตีข้างขวาก็โดดไปเบื้องซ้าย เมื่อจะจับและตีทางเบื้องซ้ายก็โดดหลบไปข้างขวา ทหารเอกทั้งสองสู้รบอยู่อย่างนี้ด้วยอาการอันฉับไวและน่าสพึงกลัวเสียงสนั่นพรรฤกสุดประมาณ รี้พลมันตาหวันก็พินาศ๑๔๓ไปมากหลาย เพราะถูกกุดาปะรันจาฟันและเพราะแผลถูกปลายกริสปลายมีดดาบเครื่องรบนั้น ที่แขนขาดนิ้วด้วนก็มาก บ้างก็ขาหักเข่าเคลื่อนเดิรไม่ได้ เพราะถูกตีถูกตัดจากพวกของตนเอง และที่พินาศไปด้วยเหตุประการอื่นๆ ก็มาก

กุดาปะรันจา และกุดาประวีระนั้นก็สู้รับแทงกันดะไปกับดะหมังและตำมะหงง ถ้อยทีโดดหนีไล่ตีฟัน ไม่นานดะหมังนั้นก็ทนสู้กุดาประวีระไม่ไหวเช่นเดียวกัน ตำมะหงงก็ทนสู้กุดาประรันจาอยู่ไม่ได้ แท้จริงทหารเอกทั้งสองนั้นก็เป็นเพียงสตรีเพศ แต่หากเก่งกาจกล้าหาญยิ่งไปเสียกว่าชาย ขณะนั้นกุดาประวีระแทงพุ่งถูกอกดะหมังโลหิตตกกระจายราวกับรินเท ฝ่ายตำมะหงงรบกับกุดาปะรันจา เวลานั้นกระโดดพลาดจึ่งถูกคู่ต่อสู้เตะม้วนกลิ้งล้มลงยังพื้นพสุธา กุดาปะรันจาก็รุกเข้าแทงถูกท้อง ตำมะหงงปัดป้องไม่ทันก็ถูกแทงที่ท้องตาย โลหิตไหลกระจัดกระจายไส้ทะลักออกนอกท้อง จึงดะหมังและตำมะหงงมันตาหวันม้วยมรณด้วยถูกทหารเอกทั้งสองนั้นฆ่า ครั้นรี้พลมันตาหวันเห็นดะหมังและตำมะหงงถูกทหารเอกทั้งสองนั้นฆ่าเสียชีพไปแล้วดังนั้น ก็ออกวิ่งหนีตลีตลานระส่ำระสายไปทางโน้นทางนี้ การสู้รบนั้นก็เป็นอันยุติลงเพียงนั้น

กุดาประวีระกับกุดาปะรันจาก็ปรีเปรมเกษมสันต์และทันใดนั้นก็ไล่ต้อนพลมันตาหวันไป ที่จับได้มัดไว้ก็มี บ้างก็วิ่งหนีเข้าป่าไป บ้างก็ยังซื่อสัตย์ภักดีต่อดะหมังและตำมะหงง เต้นโลดไปมาอย่างคลั่งไคล้ไร้ประโยชน์เสียเปล่า แล้วในที่สุดก็ถูกจับหรือใครไม่ยอมให้จับก็ถูกฆ่าสิ้น

แต่ก็ยังมีที่มีความคิดยาวไกล ใคร่ไว้ชีวิตรเอาตัวรอด ก็วางอาวุธยอมแพ้เสียโดยดี ที่ยอมแพ้แล้วแต่ขอให้ฆ่าตนเสียก็มี เพื่อมิให้ต้องอยู่ทนบาดแผลและความเจ็บปวดที่ขาแขน หรือที่ศีรษะหรือที่อื่น ๆ ซึ่งได้รับในเวลาสู้รบกันนั้น ผู้รจนาเรื่องนี้กล่าวว่าในเวลานั้นบรรดารี้พลมันตาหวันตกเป็นเชลยและถูกจับมัดไว้สิ้น กุดาประวีระ กุดาปะรันจาก็ชื่นชมโสมนัศยิ่งนัก จึงพาตัวเชลยพลมันตาหวันทั้งนั้นเข้าไปเฝ้าถวายแด่กะละหนา ปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะนั้น บ้างก็มัดเท้ามัดมือ บ้างก็ปล่อยไว้มิได้มัด รี้พลมันตาหวันที่พาเข้าไปเฝ้ากะละหนา ปันหยี สะมิหรังนั้นเป็นจำนวนมากมายสุดประมาณ ครั้นไปถึงวัง ปันหยี สะมิหรังนั้นกำลังประทับอยู่เหนือสุวรรณสิงหาศน์๑๔๔งามราวกับอินทราธิราช๑๔๕ แต่พอพลมันตาหวันเห็นพระราชาซึ่งยังทรงเยาววัย งามปลั่งกระจ่างดังแสงตวันฉนั้น ก็น้อมศิโรตน์ถวายบังคมพร้อมทั่วหน้ากันถึงเจ็ดคาบ แทบธุลีบาทบงกชกะละหนา ปันหยี สะมิหรัง นั้น ปันหยี สะมิหรัง ก็สุขจิตต์โสมนัศยิ่งนัก พลันเสด็จลงจากสิงหาศน์ หัตถุ์กุมฝักกริสพยักพักตร์ยิ้มลไมในทีอย่างอ่อนหวาน แม้กระทั่งผู้ซึ่งเป็นบุรุษเพศได้ทอดทัศนาก็เว้นไม่ได้ที่จะกำหนัดกระศัลย์พรั่นใจ.

ปันหยี สะมิหรังตรัสแก่กุดาปะรันจาว่า “แนะ กุดาปะรันจา บัดนี้ท่านจงปล่อยรี้พลเหล่านี้ให้หลุดพ้นจากผูกมัดพันธนาการเถิด ด้วยเขาได้ยอมตนสวามิภักดิ์แก่เราแล้ว เราจะให้เป็นพลเมืองในปกครองของเรา แล้วเราให้เครื่องอุปโภคบริโภคให้พอเพียง”

พวกรี้พลมันตาหวันได้ฟังตรัสดังนั้นก็ชื่นชมโสมนัศทั่วหน้ากัน จึงทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งปวงนี้ยินดีได้เจ้านายเป็นพระราชาที่งามเลิศกล้าหาญมีอิทธิฤทธิฦๅชา๑๔๖ เป็นกระษัตริยชาตินักรบทรงพระคุณวุฒิ๑๔๗ เห็นปานนี้ พระเจ้าข้า”

ครั้นกุดาประวีระ กุดาปะรันจา ได้ฟังรับสั่งดังนั้น จึงแก้เชือกที่ผูกมัดรัดรึงปล่อยพลมันตาหวันนั้น ๆ สิ้น ครั้นปล่อยแดัวพลมันตาหวันทั้งนั้นก็น้อมเกล้าบังคมบาทกะละหนาผู้เยาว์นั้น ครั้นถวายบังคมแล้ว กะละหนา ปันหยี สะมิหรังนั้นก็ประทานอาหาร และของมีกลิ่นหอมจรุงจรวย และตรัสให้ประกอบการรื่นเริงบันเทิงใจทั่งทิวาราตรีกาลไม่หยุดยั้ง และให้บรรเลงดุริยดนตรีเจ็ดวันเจ็ดคืน ทั้งโขนลคอนก็เล่นไม่หยุดหย่อน เพื่อให้เป็นที่ร่าเริงบันเทิงใจแก่พวกรี้พลนั้น ๆ ฝ่ายพลมันตาหวันทั้งปวงก็คล้อยตามสนุกสนานเริงใจระคนไปกับพวกพลเมืองของกะละหนาผู้เยาว์นั้น ยินดีปรีดาเป็นข้าของกะละหนา ปันหยี สะมิหรัง ด้วยได้รับความเบิกบานบันเทิงใจ และได้รับแจกเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอย่างงาม ๆ

เพราะเหตุไพร่บ้านพลเมืองของกะละหนา ปันหยี สะมิหรัง นั้นมีจำนวนมากขึ้นแล้ว จึงจัดตั้งปาติ๊ห์๑๔๘ บูปาติ๊๑๔๙ ขึ้น และที่ทรงอนุเคราะห์๑๕๐ขึ้นไว้ในตำแหน่ง ยศชั้นดะหมังก็มี ที่ตั้งไว้ในยศตำมะหงงก็มี ทั้งหมดนี้เป็นพลเมืองมันตาหวัน เมืองดาหาและกุรีปั่นซึ่งสวามิภักดิ์เป็นข้าแล้ว ส่วนเครื่องดุริยางค์ดนตรีก็มีอยู่พร้อมเพรียง ด้วยที่ตีชิงมาได้ก็มาก นักขับนักฟ้อนก็ไม่ขาดตกบกพร่อง เพราะนอกจากที่ได้จับไว้แล้ว ยังมีที่มาขอเป็นไพร่บ้านพลเมืองนี้ด้วยยินดีสมัครเอง ครั้นได้วางระเบียบตามแบบอย่างราชประเพณีพร้อมมูลแล้ว ปันหยี สะมิหรัง จึ่งตรัสแก่กุดาประวีระและกุดาปะรันจาว่า “แนะ ทหารเอกทั้งสองของเรา บัดนี้จะว่ากระไรต่อไป เราใคร่จะให้ราชามันตาหวันอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นเมืองออกแก่เรา มาเถอะ เราจงไปจับราชานั้น ทั้งไปรบและปล้นเมืองนั้นเสียด้วย เพื่อเราจะได้ขึ้นบังลังก์ครองเมืองมันตาหวันนั้น ถ้าไม่ยอมยกเมืองให้แก่เรา ๆ ก็จะฆ่าเสีย ถ้ายอมแก่เราโดยดี และต้อนรับเราด้วยความเคารพ ก็ให้มีชีวิตอยู่ต่อไป”

กุดาประวีระฟังตรัสปันหยี สะมิหรัง ดังนั้น ก็ยินดี จึงทูลว่า “ดีแล้ว เจ้ากู ข้าพระองค์จะได้ประชุมรี้พลสกลไกรในวันเช้าพรุ่งนี้ให้พร้อมเพรียงเพื่อการประยุทธ”

จึงกะละหนา ปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะ พยักพักตรพลางกุมกริสตรัสว่า “ดีแล้ว ในกาลวันนี้เจ้าจงไปบอกแจ้งแก่บรรดารี้พลพหลโยธา ดะหมัง ตำมะหงง ด้วยวันรุ่งพรุ่งนี้เช้าเราจะยกไป”

ครั้นแล้วกุดาปะรันจาและกุดาประวีระ ก็ก้มเกล้าบังคมกะละหนาผู้เยาว์นั้น ออกไปที่ชุมนุมมนตรี ดะหมัง ตำมะหงง แถลงข่าวให้ทราบทั่วกัน บรรดารี้พลมนตรี ดะหมัง ตำมะหงงนั้นๆ ก็ยินดีปรีเปรมทั่วกัน แล้วก็บริโภคอาหารเครื่องดื่มด้วยความรื่นเริงบันเทิงใจ


-----------------------------------

๑๓๑ ต้นฉบับใช้คำ “ตวนกู”
๑๓๒ แปลว่า ราชปิตุลา
๑๓๓ คำ “ปะสังคราหัน” นี้มาแต่คำสงเคราะห์ เติม “ปะ” ข้างหน้า “อัน” ข้างหลัง ตามไวยากรณ์มะลายู กลายเป็น “ที่” คือที่สงเคราะห์ หมายความว่าที่พักคนเดิรทาง ปัจจุบันนี้ในชวายังคงเรียกเช่นนั้น เว้นแต่ที่ตั้งเป็นโฮเต็ลแล้ว
๑๓๔ ตอนนี้ทำฉงนว่าไม่มีข้อเกลียดชังกุรีปั่นอย่างไร เหตุไฉนจึงคิดร้าย ทั้งนี้หมายความว่าจันตะหรา กิระหนา อยากจะตาย จึงอยากจะยั่วให้กุรีปั่นส่งรี้พลมาปราบปรามแล้วตนจะได้ตายในที่รบ บางอาจารย์อธิบายอีกนัยหนึ่งว่าเพื่อจะยั่วให้อินูตามมารบจะได้พบปะกัน
๑๓๕ ต้นฉบับใช้คำ “มูราห เรสะกี” แปลตามพยัญชนะว่า ให้ได้อาหารประจำวันโดยสดวกดาย
๑๓๖ ต้นฉบับใช้คำ “สูติ” คือ สุทธิ
๑๓๗ คำกุดา ภาษามลายู แปลว่าม้า การที่เอามาใช้เป็นคำนำหน้าชื่อคงเป็นคำยกย่อง เช่นในสำนวนของเราว่า “บุรุษชาติอาชานัย” ฉนั้นใน พ.ร.น. อิเหนา ในจำนวนชื่อแปลงก็มีกุดานำอยู่หลายชื่อ เช่นชื่อพวกพี่เลี้ยงเป็นต้น อนึ่งชื่อย่าหรันที่มีใน พ.ร.น. อิเหนาก็มาจากคำภาษาชวา “ชารัน” แปลว่าม้าเหมือนกัน
๑๓๘ “กะละนะ” แปลว่าคนไม่มีสำนักหลักแหล่งหรือคนจรจัด ใน พ.ร.น. อิเหนา กะละหนา เป็นคนต่ำหรือชั่วช้า
๑๓๙ ต้นฉบับใช้คำ “กุลี กุลี”
๑๔๐ ต้นฉบับใช้คำ “โตเป็ง” แปลว่าลคอนใส่หน้ากาก
๑๔๑ ใน พ.ร.น. อิเหนาว่า “ว่าหยัง” คำว่ายังนั้น เรียกได้ทั้งลคอน หุ่น หนัง เติมคำแยกไปแต่ละอย่างเพื่อให้รู้ชัดว่าอะไร เช่นวายังวอง = ลคอนคน วายังโกเล็ก = ลคอนหุ่น วายังกุลิต = ลคอนหนัง ส่วนคำมลายู “ลาคอน” หรือ “ละลาคอน” แปลว่าเรื่องที่เล่น ไม่ใช่แปลว่าการเล่นหรือตัวลคอน
๑๔๒ ต้นฉบับว่า “เปสตอล” คือคำฝรั่ง ปิสตอล
๑๔๓ ต้นฉบับใช้คำ “บินาสะ”
๑๔๔ ต้นฉบับใช้คำ “สิงคะซานะ กะอามาซัน”
๑๔๕ ต้นฉบับว่า “มะตาระ อินดระ”
๑๔๖ ต้นฉบับใช้คำ “ประกาซา”มาแต่คำประกาศ
๑๔๗ ต้นฉบับใช้คำ “บูติมัน” บูดิ คือ พุฑฒิ, วุฒิ
๑๔๘ พ.ร.น. อิเหนา ปาเต๊ะ เสนา
๑๔๙ คือภูบดี ปัจจะบันนี้เป็นตำแหน่งเจ้าเมือง
๑๕๐ ต้นฉบบใช้คำ “อานุคราหะ”
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กันยายน 2567 17:37:40 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

กุดาประวีระ และกุดาปะรันจาก็กลับเข้าเฝ้า เพลานั้นพนักงานก็เชิญเครื่องสังเวยมาตั้ง แล้วก็โปรดเลี้ยงอาหารเครื่องดื่มแก่บรรดาผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นทั่วกัน อีกสักครู่หนึ่งพนักงานก็แจกจ่ายผลไม้ต่าง ๆ น้ำผึ้ง๑๕๑กับน้ำนมและน้ำหวานส่งไปโดยรอบที่ประชุมซึ่งกำลังสนุกสนานปรีเปรมเริงใจนั้น ครั้นเสวยแล้ววันก็พลบค่ำลง แสงบุหลันสว่างกระจ่างหล้า แสงดาราส่องใสแวดล้อมดวงศศิธรประหนึ่งว่าจะแทนที่แสงรวีวร อันโคจรหลบลับไปแล้ว ถึงเวลานั้นคนทั้งหลายที่อยู่ในที่เฝ้าต่างก็ทูลลากลับ ผู้ที่อยู่ในบริเวณวังก็กลับยังสำนักสถาน ฝ่ายดะหมัง ตำมะหงงและมนตรี ก็กลับสู่กะดะหมังงันกะตำมะหงงงันและกะมนตรีงัน๑๕๒ ส่วนรี้พลกลับยังสำนักอาศรัย

ในค่ำคืนวันนั้นปันหยี สะมิหรัง เสด็จออกไปสรงน้ำ มีแต่นางมหาเดหวีเท่านั้นไปด้วย ทอดพระเนตรเห็นดวงจันทรแขไขจรัสดวงแวดล้อมไปด้วยปวงดารากร ก็อาวรณ์คนึงในถึงยามประทับอยู่ ณ กรุงดาหา พร้อมด้วยข้าหลวงสาวสรรกำนัลในนั่งเป็นแถว ผ่องแผ้วเบิกบานเล่นแสงเดือน พลางน้ำเนตรก็เคลื่อนไหลหลั่ง หวนรำฤกถึงความร้ายของท่านลิกู และก้าหลุอาหยังนั้น แล้วก็เจ็บแสบหฤทัยทุกขระทมอารมณ์ก็มืดมัวมนดังเมฆบัง แล้วก็ทอดถอนหทัยตรัสว่า “อุวะ๑๕๓เคราะห์กรรมของตัวเราผู้กำพร้าเป็นดังนี้และ”

ครั้นแล้วปันหยี สะมิหรัง ก็บทจรไปยังที่สรง ซึ่งล้อมรั้วด้วยศิลาสูง แล้วยังบังมิดชิดอีกชั้นหนึ่งด้วยต้นไม้ดอกเพื่อมิให้ใครเลยล่วงรู้ระหัสในข้อที่เธอเป็นสตรีเพศ ครั้นสำเร็จสูจิกรรม๑๕๔แล้ว ก็เสด็จกลับคืนเข้าสู่พระบุรี๑๕๕ เปลี่ยนภูษาภรณ์เป็นเครื่องทรงเพศหญิง สยายเกษาทาน้ำมันหวี และทรงแป้งอยู่ในห้องที่บรรธมนั้น อันประดับด้วยนานาบุบผาชาติ และองค์มหาเดหวีได้ทรงอบรมแล้วด้วยควันไม้หอมรื่นชื่นนาสา กลิ่นตระหลบไปทั่วห้องนั้น

ถึงยามดึกล่วงคืน ในวังนั้นก็เงียบสงัด จะได้ยินเสียงมนุษย์แต่สักน้อยหนึ่งเลยก็หาไม่ ยินแต่เสียงไก่ขันกะก้อกก้อก ก้อกก้อกอยู่ในไพร

กษณนั้นปันหยี สะมิหรัง ก็ทุกข์ระทมตรมตรอมชลเนตรไหลหลั่งลงกระทั่งปราง แลนางก็หยิบเอาตุ๊กตาทองคำของขวัญของคู่ตุนาหงัน ระเด่นอินู กะระตะปาตีนั้นขึ้นอุ้มชู ตุ๊กตานี้แลเป็นเครื่องปลอบหฤทัยนาง พลางก็เอาขึ้นแกว่งไกวร่อนโยน จนคลายหายทุกข์พลางก็กล่าวกล่อมเป็นคำกลอน ดังนี้.-

            มระปาตี๑๕๖เผือกคู่บินร่อน
            นกหนึ่งติดดักที่ครัว
            โชคดีลูกเราเยาว์อ่อน
            ใจสบายค่อยคลายมึนมัว
            นกหนึ่งติดดักใกล้ครัว
            บริหารเลี้ยงไว้จงดี
            ลูกแม่เพื่อนพลอดเพื่อนหวัว
            พ่อเจ้าอยู่ไกลธานี
            มระปาตีนกถูกดักนั้น
            ถูกดักที่ใกล้ต้นนุ่น
            กรตะปาตีพงศ์กุรีปั่น
            ลูกนี้แก้เศร้าซบซุน
            มระปาตีร่อนไปในอุธยาน
            จิกจับทับทิมรสดี
            กรตะปาตีคนพุฑฒิมาน๑๕๗
            ส่งมาแล้วซึ่งลูกหัวปี
            มระปาตีเสพย์ผลดะสีมะ๑๕๘
            หล่นลงยังเศละปถพี
            ส่งมาแล้วซึ่งบุตรปฐมะ๑๕๙
            ลูกอ่อนคนแรกของแม่นี้

ครั้นแล้วก็แกว่งไกว และกอดจูบตุ๊กตานั้นอยู่จนเพลาจวนปัจจุสมัยรุ่งสว่าง

แล้วนางก็เข้าบรรธม และในยามบรรธมนั้นมิได้ปล่อยตุ๊กตานั้นจากหัตถ์เลย ก่อนนั้นเอาวิสูตรมุ้งและม่านลงกั้นเจ็ดชั้น จนไม่มีใครมองเข้าไปเห็นที่บรรธมได้ ความเป็นไปของกะละหนา ปันหยีสะมิหรังในคืนนั้นมีประการดังกล่าวนี้แล

ครั้นรุ่งเช้ารี้พลสกลไกรทั้งปวงก็ตื่น และตระเตรียมเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อการที่จะไปทำศึกสงคราม และกุดาประวีระ กุดาปะรันจาก็แต่งกายอย่างชายเตรียมอยู่พร้อมแล้ว

ไม่ช้า ปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะ ก็บรรธมตื่นผลัดผ้าทรงเครื่องอย่างชายพร้อมสรรพ พิศดูรูปโฉมเหมือนกับบุรุษเพศแท้จริงเทียว ประทับยืนกุมด้ามกริสอยู่ครู่หนึ่ง ยามทรงแย้มสรวลก็ก้มพยักพักตรนิดหนึ่ง แล้วหุบโอษฐพอเห็นไรทนต์วาววับดังสายฟ้าแลบ

เมื่อทรงเครื่องอย่างชายเสร็จแล้ว ก็ไว้ท่าองอาจสง่าผ่าเผยลิลาศออกยังข้างนอก พร้อมด้วยกุดาประวีระกับกุดาปะรันจาตามเสด็จ

บรรดารี้พลสกลไกรดะหมัง ตำมะหงง ซึ่งชุมพลคอยเสด็จอยู่นั้น เมื่อเห็นพระราชาแห่งตนเสด็จมา ก็ก้มเกล้าบังคมคัล พลันกระทั่งเสียงดุริยดนตรีด้วยร่าเริงเบิกบานกมล

แล้วก็ยกพยุหโยธาเดิรออกจากนครมุ่งไปสู่กรุงมันตาหวัน ด้วยความประสงค์จะทำศึกสู้รบและปล้นเมืองนั้น และในรวางเดิรไปนั้นชาวประโคมก็ตีฆ้องตับ ฆ้องหมุ่ย ฆ้องโข่ง และระนาดทองมิได้หยุดหย่อน ใครเห็นรูปโฉมปันหยี สะมิหรัง ก็ตกตลึงจังงัง บรรดาชาวบ้านร้านถิ่นก็กู่ร้องเรียกกันด้วยสำคัญว่าองค์ สังหยัง บะตาหรา เสด็จอวตารลงมาสู่โลกพิภพ

เดิรทางไปไม่ช้าก็ไปถึงยังซึ่งขอบนครมันตาหวัน

บัดนี้จะกล่าวถึงระตูผู้ผ่านมันตาหวัน กษณนั้นกำลังประทับเหนือบัลลังกราชย์ด้วยความเศร้าสลดหทัย มีมนตรี ดะหมัง และตำมะหงง พร้อมทั้งเสนาข้าราชการจำนวนหนึ่งเฝ้าอยู่หน้าที่นั่ง

ในเวลาอันกล่าวนี้ท้าวมันตาหวันตรัสว่า “แนะ มนตรี ดะหมัง และตำมะหงง บัดนี้จะว่าอย่างไรกัน ด้วยบรรดารี้พลมนตรี ดะหมัง และตำมะหงงอันไปทำศึกสู้รบสัตรูนั้นยังหากลับมาไม่ และมิได้ส่งข่าวคราวราวเรื่องเหตุการณ์ณที่นั้นมาเลย เรานี้เกรงเกลือกว่าจะไปพินาศแตกยับย่อยเสียแล้ว ด้วยตามกิติศัพท์นั้นว่า ราชาที่ผจญนั้น เป็นคนกะละหนา ซึ่งยังหนุ่มมาก มีนามว่าปันหยี สะมิหรัง อัสมารันตะกะเป็นคนเก่งกาจฦๅชา เป็นนักรบอันมีฤทธิเดช และฉลาดเข้มแข็งนักในเชิงยุทธ เราคิดว่าแน่เสียแล้ว จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ คือรี้พลมนตรีดะหมัง ตำมะหงงที่เราส่งไปทำสงครามกับสัตรูนั้น คงพ่ายแพ้เสียทีแก่ข้าศึก ถูกจับเป็นเชลยสิ้น เหตุฉนั้น จึงไม่มีใครกลับมาเลย ถ้าเป็นเช่นนั้น เรานี้จะต้องไปสู้รบกับเขาเอง แต่ทว่าไปสู้รบเขาอีกเช่นนั้น แน่เทียวจะต้องเสียรี้พลดะหมังตำมะหงง พินาศยับย่อยไปอีก จะมีคุณประโยชน์อันใดเล่า”

เมื่อทรงดำริตริตรึกดังนั้นแล้ว จึงท้าวมันตาหวันตรัสต่อไปว่า “ถ้าอย่างนั้นแล้ว อย่าเลย หากกะละหนา ปันหยี สะมิหรังนั้นมาทำศึกประชิดเมืองเราเมื่อใด เราจะยอมตัวแก่เขาเสียโดยดี เพื่อไพร่บ้านพลเมืองจะได้คงอยู่ในสันติภาพ๑๖๐ เกษมสุขทั่วกัน”

ตำมะหงงนายหนึ่งทูลว่า “เจ้ากู เป็นความจริงถูกต้องแล้วตามข่าวนั้น ซึ่งว่ากะละหนานั้นมีนาม ปันหยี สะมิหรัง ยังเยาววัยอยู่มาก มีทหารเอกสองคน คนหนึ่งชื่อว่ากุดาประวีระ อีกคนหนึ่งชื่อกุดาปะรันจา ทหารเอกสองคนนี้กล้าหาญและมีฤทธิมากไปมีใครเลยที่จะต้านทานความเก่งกาจกล้าหาญของเขาได้”

กำลังปรีกษากันอยู่ดังว่ามานี้ และการปรึกษายังไม่ทันสำเร็จ บัดดลก็มีทนายของนายประตูวิ่งเข้ามาแถลงว่า มีกะละหนาคนหนึ่งมีนามว่าปันหยี สะมิหรังกำลังเดิรมาด้วยพร้อมรี้พล ใกล้จะถึงชานพระนครแล้ว มุ่งหมายจะเข้าจับองค์ระตูผู้ครองมันตาหวัน ท้าวมันตาหวันได้ทรงฟังทนายของนายประตูว่าปันหยี สะมิหรัง จะเข้าตีเมืองและจับพระองค์ดังนั้น ก็ตกพระหทัยสั่นระรัว ดำริว่า “ในกาลวันนี้และเราจะต้องพ่ายแพ้แก่กะละหนานั้น และถูกจับเป็นเชลย เพราะฉนั้นเราจะยอมยกบ้านเมืองให้แก่เขาเสียดีกว่า เพื่อไพร่ฟ้าประชาชนของเราจะได้อยู่โดยสันติภาพสวัสดีทั่วกัน”

ครั้นแล้วท้าวมันตาหวันจึงให้เขียนราชสาสนฉบับหนึ่ง ให้ดะหมังคนหนึ่งถือไป แถลงความที่ใคร่จะยอมยกเมืองเป็นเมืองออกใต้ปกครองของปันหยี สะมิหรังนั้น จึงดะหมังนั้นก็เชิญราชสาสนไป

มิช้านานก็ไปถึงและถวายราชสาสนนั้นแก่ปันหยี สะมิหรัง ๆ ก็เปิดผนึกออกอ่าน

ในลักษณแห่งสาสนนั้น แจ้งชัดว่าท้าวมันตาหวันปรารถนาแต่จะเอาชีวิตรรอดและยอมเสียสละแล้วทั้งบ้านเมืองและบุตรภรรยา

ปันหยี สะมิหรังก็โสมนัศยินดี พยักพักตรพลางแย้มสรวลยังให้วงพักตรนั้น อ่อนหวาน ใครยลก็ยวนใจ

ก็และอันท้าวมันตาหวันนั้น มิธิดาสององค์งามยิ่งนัก องค์พี่มีนามว่า บุษบา ชูวิต องค์น้องมีนามว่าบุษบา ส้าหรี๑๖๑

พระบุตรีทั้งสองนั้นทรงทุกขจิตตโศกศัลย์ประหวั่นหฤทัยดุจว่าเป็นยามถึงที่ตาย๑๖๒ ยิ่งประไหมสุหรีชายาของท้าวมันตาหวันนั้นด้วยแล้ว ก็ยิ่งหนักขึ้นไปอีก นางทรงกรรแสงพิไรรำพรรณไม่หยุดหย่อน ด้วยบ้านเมืองจะมาถูกโจมตีและปล้นสดมแก่มือกะละหนา ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเป็นเชื้อชาติวงศทางไหน บางทีจะสืบสายโลหิตจากคนโหดร้ายนักปล้นสดมหรือนักฆาฏกรรม ก็แต่ท้าวมันตาหวันนั้นเมื่อได้ยอมยกบ้านเมืองในปกครองแห่งตนให้เป็นเมืองออกแก่ปันหยี สะมิหรังสิ้นเชิงแล้ว บัดนี้ก็ใคร่จะสละประไหมสุหรีและบุตรีทั้งสองให้เป็นข้าของกะละหนาผู้เยาว์นั้นด้วย ข้อนี้แหละซึ่งเป็นเหตุโทมนัศทุกขโศกแก่พระบุตรีทั้งสองและประไหมสุหรีนั้น ด้วยมาสำคัญว่าในกาลวันนั้นและจะต้องจำพรากจากพระบิดา และประไหมสุหรีพรากจากสวามี๑๖๓ ขณะนั้นท้าวมันตาหวันตรัสสั่งให้ปาติ๊ห์พาพระบุตรีทั้งสองไปพร้อมทั้งพระมารดาของเธอนั้น จึงพร้อมกันขึ้นรถคันหนึ่งไป แล้วก็ให้เข้าไปทูลปันหยี สะมิหรัง ในกลางทางนั้นพระบุตรีบุษบาชูวิต และบุษบาส้าหรี กับทั้งพระมารดา ทรงกรรแสงมิได้หยุด จนกระทั่งนัยเนตรของพระบุตรีทั้งสองนั้นฟางและช้ำบวม เดิรไปไม่ช้าปาติ๊ห์นั้นก็ไปถึงหน้าที่นั่งปันหยี สะมิหรัง น้อมประนตบังคมคัลทูลถวายตามสั่งของท้าวมันตาหวัน คือถวายประไหมสุหรีกับธิดา พระบุตรีทั้งสององค์นั้น ตลอดเวลาที่สนทนากับปันหยี สะมิหรังนั้น สายตาของปาติ๊ห์มิได้หลุดไปจากเพ่งพินิจกะละหนาผู้เยาวนั้น ซึ่งสำคัญว่าเป็นมะตาหรา ชะคัต ลงมาสู่โลกพิภพ ประไหมสุหรีและพระบุตรีทั้งสองนั้นก็เช่นกัน ขณะนั้นปันหยี สะมิหรังก็แย้มสรวลพยักพักตร เนตรอันคมนั้นพลันเหลือบซ้ายแลขวา พิศรูปโฉมพระบุตรีทั้งสองพลันตรัสว่า “แนะ ลุงปาติ๊ห์ เราขอขอบพระหทัยพระราชาของท่านเปนอันมาก เราใคร่จะสนองพระคุณให้ถึงใจเรา และเทอดสิบนิ้วขึ้นอัญชุลี แต่ว่าในทันใดวันนี้เทียว ท่านจงเชิญพระนางมารดานี้กลับคืนไป ด้วยตัวเราก็ใคร่จะเข้าเฝ้าพระราชาของท่าน”

ปาติ๊ห์นั้นก็กลับด้วยความยินดี ด้วยใคร่จะเข้าเฝ้าพระราชาแห่งตนพร้อมด้วยปันหยี สะมิหรัง

นางบุตรีบุษบา ชูวิต กับบุษบา ส้าหรีนั้น เมื่อได้เห็นรูปโฉมปันหยี สะมิหรังแล้ว ก็เปนประหนึ่งว่ามิอยากจะพรากไปจากรูปโฉมนั้นอีก แต่ก่อนนั้นได้กรรแสงจริง เพราะสำคัญว่า คนที่เราเรียกกันว่ากะละหนานั้นจะต้องมีกายกำยำหยาบคายฉันใด กะละหนาปันหยี สะมิหรังก็คงเปนเช่นนั้น จะเปนอย่างอื่นไม่ได้ คงต้องเป็นคนหยาบคาย รูปร่างน่ากลัว ดาแดงหนวดดก กิริยาชั่วช้าร้ายแรง หาได้ทราบไม่ว่าปันหยี สะมิหรังนั้น มีกิริยาอาการอ่อนโยน มือนุ่ม นิ้วดังเหลา เสียงไพเราะ รูปงาม ดูก็หวานพิศก็งาม ใครได้ทอดทัศนาก็เพลินไม่รู้อิ่ม แม้ทหารเอกทั้งสองนั้นก็เช่นกัน คือกุดาประวีระ กับกุดาปะรันจา ซึ่งรูปร่างสวยงามน่ารักนัก ถ้าแม้ได้ทราบว่าปันหยี สะมิหรังมีรูปโฉมงามวิลาศดังนี้ แน่เทียว พระบุตรีบุษบา ชูวิต และบุษบา ส้าหรีนั้นคงจะยอมตนโดยดี มิพักต้องบังคับข่มขืนใจเลย พระบุตรีทั้งสองนั้นเสด็จไปด้วยนึกเสียพระหทัยไม่ขาดสาย ทั้งกรรแสงชลเนตรพร่างพรู มาบัดนี้กลับเกิดพิศวาสดิ์สิเนหาในปันหยี สะมิหรังนั้น มิช้านานก็พากันไปถึงนครมันตาหวัน แล้วก็เข้าเฝ้าพระราชา ขณะนั้นท้าวมันตาหวันก็ทรงสุขจิตตโสมนัศเป็นอันมาก พลันเสด็จลงจากสิงหาศน์ เพื่อจะเชื้อเชิญรับรองปันหยี สะมิหรังนั้น แล้วก็เชิญขึ้นประทับเหนือสิงหาศน์และเลี้ยงอาหารของดื่ม

บรรดารี้พลข้าราชการดะหมังตำมะหงง ก็เข้าเฝ้าพร้อมๆ กัน แล้วก็ให้กินเลี้ยงอาหารเครื่องดื่มสนุกสนานด้วยกันกับรี้พลของปันหยี สะมิหรัง ประกอบด้วยดุริยดนตรีบรรเลงไม่หยุดยั้งกลางวันกลางคืนไม่สิ้นสุด และรัชช์มันตาหวันนั้นก็เป็นอันยอมออกแก่ปันหยี สะมิหรังโดยราบคาบ ปันหยี สะมิหรังก็รับเอาด้วยเทอดสิบนิ้วบังคม พลางตรัสว่า “ข้าเจ้านี้ขอบพระคุณยิ่งแล้ว แต่ที่แท้นั้นหวังจะให้องค์พระบิดาคงประทับครองบัลลังก์ราชย์แห่งกรุงมันตาหวันสืบต่อไปอีกช้านาน”

ท้าวมันตาหวันนั้นก็สุขจิตต์โสมนัศยิ่งนัก พลันตกตลึงจังงังมิรู้ที่จะกล่าวว่าประการใด พลางก็พิศดูกะละหนา ผู้หนุ่มนั้น เห็นรูปโฉมราวกับเทวัญแห่งอินทรโลก แล้วก็ตริตรึกนึกในหทัยว่า “กะละหนาหนุ่มผู้นี้ชรอยจะเป็นบะตาระชคัต นาถะ องค์หนึ่ง เสด็จอวตารลงมาสู่พิภพนี้เสียแล้ว”

ท้าวมันตาหวันนั้นก็เกิดความรักสิเนหาอาลัยในกะละหนาผู้เยาวนั้นเป็นอันมาก

ครั้นปันหยี สะมิหรังได้ประทับอยู่นครมันตาหวันนานแล้ว ถึงกาลวันหนึ่งก็เตรียมการที่จะกลับคืนสู่บ้านเมืองแห่งตน กาลนั้นพระบุตรีบุษบาชูวิต กับบุษบาส้าหรีก็กรรแสง ไม่อยากจะอยู่ในธานีมันตาหวันอีกต่อไป และวิงวอนขอตามปันหยี สะมิหรังไปด้วย ไม่ว่าจะไปแห่งหนตำบลไหน จึงปันหยีสะมิหรังตรัสว่า “เออ น้องนางทั้งสอง พี่นี้เป็นคนไม่มีพงศเผ่าเทือกเถาเหล่ากอ เกรงว่าไปภายหน้าน้องจะต้องเสียใจเปล่าๆ”

พระบุตรีทั้งสองนั้นก็ทูลว่า “พระพี่ยาอย่าตรัสดังนั้นเลย หม่อมฉันทั้งสองนี้ใคร่จะตามเสด็จกะกันดา ไม่ว่าจะเสด็จไปไหน แม้ถึงว่าจะต้องเข้าลุยทะเลเพลิง อะดินดานีก็จะตามเสด็จ”

ท้าวมันตาหวันได้ทรงฟังคำพระบุตรี ทั้งสองนั้นก็ทรงโสมนัศตรัสดังนั้นแล้วพระบุตรี สององค์นั้นก้มลงกราบบาทพระชนกชนนี ปันหยี สะมิหรังก็ออกจากนครมันตาหวันเดิรทางสู่ทิศบ้านเมืองแห่งตน พร้อมด้วยพระบุตรีทั้งสองนั้น มีดะหมังตำมะหงงกับรี้พลมันตาหวันแห่นำตามเสด็จ รี้พลนี้ยิ่งเดิรทางไปก็ยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้น แล้วก็บ่ายหน้าสู่นครของปันหยี สะมิหรัง นั้นแล

มิช้านานนัก ปันหยี สะมิหรังก็กลับถึงเมือง เข้าประทับเสวยรมย์ในราชฐาน พร้อมด้วยพระบุตรีทั้งสองเป็นผาสุกทุกทิพาราตรีนิรันดร

พระบุตรีทั้งสองนั้นอยู่ในวังของปันหยี สะมิหรัง เวลาล่วงมาก็ผาสุก มิได้มีข้อขาดตกบกพร่องแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ก็และปันหยี สะมิหรังนั้น ทุกวันคืนมิได้หยุดหย่อนที่จะกอดจูบสัพยอกหยอกเย้าผลักใสหยิกข่วนกับนางทั้งสองนั้น แต่นางก็ปลาดใจ เกิดความพิศวงขึ้นในหฤทัย ในอันเห็นกิริยาความประพฤติของปันหยี สะมิหรังนั้นแปลกประหลาตผิดปกดิ ครั้นเพลิดเพลินเจริญใจเป็นเวลาล่วงมานานแล้ว ก็ยกนางทั้งสองนั้นให้เสียแก่ทหารเอก นางบุษบาส้าหรียกให้แก่กุดาประวีระ นางบุษบาชูวิตยกให้แก่กุดาปะรันจา แม้ ณ ที่นั้นก็เพียงแต่สัพยอกหยอกเย้ากอดจูบเท่านั้นเหมือนกัน พระบุตรีทั้งสองก็ยิ่งเพิ่มความฉงนสนเท่ห์มากขึ้น

ฝ่ายปันหยีสะมิหรังประทับอยู่ในวังนั้น แท้จริงนางมหาเดหวีก็แปลกพระหทัยเหมือนกันในอันทอดพระเนตรเห็นความเป็นไปดังนั้น แต่ก็ยิ่งเพิ่มสิเนหาอาลัยในราชธิดานั้นมากขึ้น ด้วยเห็นว่าเธอฉลาดปล้นตีเมือง จนได้มาซึ่งนางบุตรีสององค์ซึ่งมีรูปโฉมงามพิลาศ ทั้งเธอฉลาดในอันหลอกลวงปลอมแปลงองค์ด้วย

มากาลวันหนึ่ง ปันหยี สะมิหรังนั้นประทับอยู่ในตำหนัก วันล่วงสายัณหสมัยใกล้ยามดึกแห่งรัตติกาลในราชฐานธานีนั้นก็เงียบสงัดไม่ได้ยินเสียงมนุษย์อีกแล้ว เธออยู่แตต่ลำพังองค์เดียว จึงหยิบเอาตุ๊กตาทองคำออกจากห้อง วางลงให้นอนเหนือตักแล้วก็กอดจูบหยอกเย้า กล่าวว่า “เออลูก ดวงยิหวาของแม่๑๖๔ มา จงปลอบใจแม่ นานแล้วแม่มิได้เล่นด้วย จนแม่นี้คิดถึงเสียจริงๆ มาเถอะ คืนนี้มาเล่นกัน” แล้วเธอก็กอดและพลอดต่อไปว่า “นี่และลูกส่งมาจากกุรีปั่น ตาเหมือนเนตรบิดาแก้มเหมือนปรางระเด่นอินู กะระตะปาตี คิ้วอุปมาดังขนงชนก คอระหงดุจศอระเด่นอินู” ครั้นแล้วจันตะหรา กิระหนา หรือปันหยี สะมิหรังนั้น ก็กอดตุ๊กตานั้น พลันหัตถ์ก็แกว่งไกวเปล ขับกล่อมเป็นกลอนว่า

            มรปาตีร่อนเคียงคู่ไป
            สู่สวนบุษบะ บรันตา
            ลูกนี้พ่อเธอส่งมาให้
            ปลอบใจแม่ถวิลย์จินดา
            สู่สวนบุษบะบรันตา
            เฉียวเฉียดบุหงากระถางใหญ่
            ปลอบใจแม่นั่งจินตนา
            ทูนหัวของแม่ชื่นใจ

ปันหยี สะมิหรังประพฤติอยู่เช่นนี้ทุกๆ คืน ฝ่ายนางมหาเดหวีนั้นก็ทำความสอาดและจัดแต่งวิสูตรมุ้งม่านที่บรรธมของจันตะหรากิระหนาเรื่อยไป ครั้นร่อนแกว่งไกวและกล่อมตุ๊กตานั้นเป็นบทกลอนเช่นนั้นแล้ว ถึงเวลาใกล้รุ่งสว่าง ปันหยี สะมิหรังจึงเข้าบรรธม พอเช้าก็ตื่นขึ้นสรงพักตร และกระทำกิจจานุกิจต่าง ๆ อย่างเคย

ฝ่ายข้างระตูกุรีปั่น ณ กาลนั้นมีพระประสงค์จะส่งของไปยังกรุงดาหา และในวันนั้นใคร่จะส่งเงินสินสอดและทองหมั้นไป

จึงตรัสสั่งให้หาเสนาผู้จะแต่งให้เป็นทูตพร้อมทั้งผู้นำตามทูตานุทูต เช่นที่มีนามว่า ยะรุเดะ และปูนตา และการะตาหลาและประสันตา ฝ่ายระเด่นอินูกะระตะปาตีก็ ข้าเฝ้าอยู่หน้าที่นั่งด้วย แด่ละคนเพ่งคอยฟังพระกระแสสั่งระตูในเรื่องจะส่งของเงินทอง ไปยังกรุงดาหานั้น

เขาทั้งหลายนั้นก็น้อมเศียรเกล้าอัญชลีฝ่าธุลีลอองบาทภคินทะนั้นทั่วกัน แล้วก็นั่งลงเป็นแถวหน้าพระที่นั่งด้วยความเคารพ จึงสังนาตะตรัสแก่พระชายาว่า “แนะ อะดินดา ในกาลวันนี้กะกันดาใคร่จะส่งทูตไปยังกรุงดาหา เพื่อให้นำสิ่งของทองหมั้นสินสอดไปถวายองค์อนุชา มหาราชาดาหานั้น”

สังนาตะทรงแต่งราชสาสน ครั้นเสร็จแล้วก็ประทานแก่ปาติ๊ห์และตำมะหงงรับไปเทอดไว้เหนือเกล้าพร้อมทั้งสิ่งของมีค่านานามหัครภัณฑ์ ตรัสสั่งให้เชิญไปยังกรุงดาหา ครั้นแล้วทูตานุทูตทั้งหลายนั้นก็บังคมคัลฝ่าธุลีสังระตูเดิรออกมา มีกระบวนแห่หน้าตามหลัง กระทั่งเสียงดุริยดนตรีประโคมเรื่อยไปไม่รู้หยุด ฝ่ายองค์สังระตูกับประไหมสุหรีทอดพระเนตรกระบวนแห่และทรงสดับเสียงดุริยะดนตรีนั้นก็ทรงชื่นชมโสมนัศ ก็และกระบวนนั้นมียะรุเดะ การะตาหลา ปูนตาและประสันตากับรี้พลเดิรเปนเทือกแถว พร้อมด้วยคหบดีผู้ใหญ่บางนายหมายมุ่งไปสู่นครดาหา

ปืนใหญ่ปืนเล็ก ม้ารถฉัตรธงทิวอันประดับ ล้วนแล้วด้วยเลื่อมแก้วมณีคำ๑๖๕ งามระยับวับวาวพราวพราย ด้วยต้องแสงสุริยฉายส่องสว่างกลางเวหน กระบวนไพร่พลทั้งหลายนั้นก็เดิรไปด้วยเสียงเอิกเริกพรรฤก แต่ยามเช้ากระทั่งเที่ยงวันเพลานั้นไปถึงกึ่งทางรวางกรุงกุรีปั่นกับดาหา เห็นเมืองใหม่เข้าเมืองหนึ่งก็พากันพิศวงปลาดใจ แล้วก็พร้อมกันยับยั้งอยู่ณที่นั้น ในจำนวนรี้พลนั้นบ้างก็กล้าบ้างก็หวาดกลัว บ้างก็มีใจเปนกลาง ๆ คือว่าไม่กล้าไม่กลัว ฝ่ายพวกที่กล้านั้นก็เดิรวางท่าอย่างองอาจว่องไวเข้าไปในเมืองใหม่นั้น ฝ่ายที่กลัวก็สงกาว่าจะเป็นเมืองผีภูตปิศาจ จึงยืนนิ่งไม่เคลื่อนไหว ถืออาวุธกุมคุมเชิงอยู่อย่างเคร่งเครียด ทั้งเตรียมม้าพร้อมที่จะโดดหนีไปให้รอดตัวได้โดยสะดวก ฝ่ายรี้พลที่มีใจเป็นกลางๆ นั้นก็ยืนหรือนั่งตลึงจังงังอยู่เต็มไปด้วยความพิศวงงงงวย คิดหน้าคิดหลังอนุโลมปฏิโลมไนเรื่องเมืองที่เกิดขึ้นใหม่นั้น เมื่อไปถึงที่นั้น จึงยะรุเดะและการะตาหลาเดิรไปก่อน ด้วยสองนายนี้เป็นทหารเอกอย่างกล้าหาญเก่งกาจ ส่วนรี้พลกุรีปั่นนั้นเดิรตามไปข้างหลัง

จะกล่าวถึง กุดาประวีระ กับกุดาปะรันจา ซึ่งรับ ๆ สั่งเจ้านายแห่งตน คือปันหยี สะมิหรังให้เฝ้าอยู่นอกเมืองถืออาวุธครบมือนั้นทุก ๆ คนไม่ว่าใครจะเดิรผ่านมาถึงที่นั้นเป็นต้องถูกปล้นตีชิงสิ้น

เมื่อได้ยินว่าจะมีทูตกรุงกุรีปั่นไปส่งบรรณาการยังกรุงดาหา และทูตนั้นเป็นผู้เลื่องชื่อฦๅชาว่ากล้าหาญ มีรี้พลมนตรีทหารเอกมาด้วยเป็นอันมาก ทั้งมีเครื่องดุริยดนตรีฆ้องตับฆ้องหมุ่ยมาด้วย บัดดลนั้นกุดาประวีระ และกุดาปะรันจาก็เข้าขวางทางเดิรของยะรุเดะและการะตาหลานั้น

พอกระทบกันทั้งสองนั้นก็ถามว่า “นี่เป็นคนมาแต่ไหน และจะไปไหนกัน”

ยะรุเดะและการะตาหลาตอบว่า “พวกเรานี้เป็นชาวเมืองกุรีปั่นจะเข้าไปยังกรุงดาหา นำของบรรณาการไปถวายพร้อมราชสาสนนัดการเศกสมรสระเด่นอินู กะระตะปาตี”

กุดาประวีระว่า “ใคร ชื่อเรียงเสียงไรที่จะสมรสนั้น”

ยะรุเดะตอบว่า “เจ้านายของฉัน ทรงพระนามว่าระเด่นอินู กะระตะปาตีกับพระบุตรีดาหา ซึ่งทรงนามว่า ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา”

กุดาปะรันจาถามว่า “ของที่เอามานั้นอไร เสื้อผ้าหรือของกิน”

ปุนตาตอบว่า “นี้เป็นของมหัครภํณฑ์ซึ่งเราจะนำไปถวายแด่ธุลีพระราชาดาหา”

กุดาปะรันจาว่า “พระราชาดาหานั้นยากจนข้นแค้นขัดสนด้วยของมื้อซื้อกินในบ้านเมืองของเธอกระนั้นหรือ”

ปุนตาตอบว่า “ท้าวดาหานั้นหายากจนข้นแค้นต่ำช้าดังนั้นไม่ดอก เป็นมหาราชาทรงสมบูรณพูลสุขยิ่งกว่าราชาไหน ๆ ด้วยพระองค์สืบพระวงศ์ลงมาแต่เผ่าพงศ์สุขุมาลชาติ๑๖๖ และเรานี้จะนำมหัครภัณฑ์เหล่านี้ไปถวายโดยรับสั่งของพระเจ้ากรุงกุรีปั่น”

กุดาปะรันจาว่า “ถ้าเจ้านายของมึงเปนกษัตริยมหาศาล และราชาที่จะส่งของไปถวายนั้นก็เปนมหากษัตริยด้วยก็ดีแล้ว มาเถอะ เอาของนั้น ๆ มาให้เสียแก่กู”

ปุนตาตอบว่า “ข้าไม่ยอมให้ของนั้นๆ แก่มึง ด้วยมหัครภัณฑ์นี้เป็นเครื่องหมั้นและสินสอดของพระราชาเรา”

จึงกุดาประวีระว่าแก่ยะรุเดะว่า “บัดนี้มึงต้องหยุดยั้งอยู่แต่เพียงนี้ ถ้าไม่ยอมยกของให้แก่เราจะไปต่อไปอิกไม่ได้ ถ้ามึงไม่ยอมให้จริงๆ ก็จะไม่ปล่อยตัวให้ไปจากที่นี้ ถ้าแม้นยอมให้ของแก่เราแล้วก็กลับไปได้โดยความสงบ และไปเข้าเฝ้าพระราชาของมึงได้ ถ้ามึงจะต่อสู้กับกู จงรู้ว่าคอจะต้องขาดจากตัวมึง แล้วจะต้องเสียชีวิตร”

ยะรุเดะและปุนตาได้ฟังคำคนทั้งสองนั้นก็โกรธอย่างสาหัศ แต่พอปุนตาขยับปากจะพูด กุดาประวีระก็ชิงพูด พลางเอามือข้ายจับแขนปุนตา มือขวากุมอาวุธซึ่งชักออกจากฝักแล้ว พูดว่า “ข้าจะไม่ยอมให้มึงไปจากนี้จนกว่าจะได้ยอมยกสิ่งของราชสาสนและฉัตรธงสำหรับแผ่นดินนั้นๆ ให้แก่เรา ถ้าให้แก่เราแล้วพร้อมทั้งเสื้อผ้าและสิ่งของอื่นของมึง นั่นแหละจึงจะปล่อยตัวให้มึงไปจากนี่ ถ้าไม่ยอมชีวิตรมึงและรี้พลของมึงทั้งหมดจะต้องวายปราณ”

ปาติ๊ห์ ตำมะหงง และประธานมนตรีได้ฟังคำกุดาประวีระดังนั้นก็ดาลเดือดโทษะทั่วกันสุดที่จะทนทานอีกได้ ไม่พูดอะไรอีกพลันชักดาพจากฝักออกฟันฟาดซ้ายขวาทางโน้นทางนี้

กุดาประวีระก็ปัดป้องด้วยถ้อยทีฟันโต้ตอบด้วยดาพ กุดาปะรันจาก็กระโดดโลดไปทางโน้นทางนี้ท่วงทีราวกับพยัคฆชาติจะโดดตะครุบ แล้วก็เข้าใกล้ถึงตัวรี้พลของทูตานุทูตกุรีปั่นนั้น พวกของทูตานุทูตก็ถูกฆ่าตายเสียเป็นอันมาก ที่เพียงแต่ถูกแทงปางตายก็มี ที่ถูกกริสของกุดาปะรันจาตรงอุระประเทศก็มี ที่ถูกแทงด้วยคมแหลมปลายกริสของกุดาประวีระก็มี ที่ถูกฟันด้วยดาพมือขาดแขนหักก็มี

กุดาประวีระเข้าตลุมบอนชุลมุนอยู่กับข้าศึกฝ่ายข้างซ้าย กุดาปะรันจาตลุมบอนฝ่ายข้างขวา เสียงอาวุธทั้งสองฝ่ายกระทบกันราวกับเสียงสายฟ้าฟาดยามพายุจัด ฝ่ายทูตานุทูตกุรีปั่นพลันก็ค่อยๆ ถอยหลังลงด้วยไม่สามารถจะต้านทานตลุมบอนของทหารเอกนั้นได้ ฝ่ายทหารเอกทั้งสองเห็นข้าศึกถอยยิ่งไกลออกไปก็ยิ่งไล่กระหน่ำไปอีก

เสียงอึกทึกกึกก้องไปด้วยสำเนียงมนุษย์โห่ร้องตะโกนประดุจเสียงฝูงวิหคในป่ายามร่อนหารัง

-----------------------------------
๑๕๑ ต้นฉบับใช้คำ “มาดู” คือมธุ
๑๕๒ วิธีเติมหน้าเติมหลังเช่นนี้ ทำคำให้กลายเป็นที่อยู่ เช่น กะดะหมังงัน ก็แปลว่าจวนดะหมัง ฯลฯ
๑๕๓ ต้นฉบับว่า “วะห์”
๑๕๔ ต้นฉบับใช้คำ “สูจิ”
๑๕๕ .ต้นฉบับใช้คำ “ปูริ” แปลว่าวัง-ในเกาะบาหลี ปัจจุบันนี้เรียกวังว่า “ปูริ” เรียกเทวสถานว่า “ปูระ”
๑๕๖ มระปาตี – นกเขา
๑๕๗ “บูติมัน” แปลว่าคนใจบุญ ซื่อสัตย์สุจริต
๑๕๘ มาจากคำ ตะลีมะ แปลว่าผลทับทิม
๑๕๙ ต้นฉบับใช้คำ “ประตามะ” คือคำปฐม คำ ตะลีมะ แลประตามะ ใช้รับสัมผัสอย่างนี้ในต้นฉบับ
๑๖๐ ต้นฉบับใช้คำ “สันโตสะ” สันโดษ ในภาษามะลายูแปลว่าสงบสุข
๑๖๑ ตามต้นฉบับ “ปุสปะ ชูวิตะ” กับ “ปุสปะ ซารี” ชื่อหลังนี้มีในหนังสืออิเหนาใหญ่
๑๖๒ ตรงนี้ต้นฉบับใช้คำ “กิอามัต” แปลว่า อันพระเจ้าตัดสินว่าผู้นั้นๆ จะพึงไปสู่โลกสวรรค์ หรืออบายภูมิ สำนวนไทยไม่มีจึงได้แปลงความไปเสีย เอาแต่พอเข้าใจว่าทุกขร้อนถึงเพียงไหน
๑๖๓ ต้นฉบับใช้คำ “สุวามี”
๑๖๔ ต้นฉบับใช้คำ “ชาวากู” ยาวาหรือบีวา แปลว่าชีวิตร ใช้ได้ทั้งสองคำ ยีวา มาแต่ ชีวะ แต่ยาวานั้นเลือนไป ใน พ.ร.น. อิเหนา ใช้ ยิหวา
๑๖๕ ต้นฉบับใช้คำ “รัตนะมูตุ มะนีกัม”
๑๖๖ ต้นฉบับใช้คำ “กุสุมา” คำนี้นัยหนึ่งแปลว่าโกสุมตรงสำเนียง แต่อีกนัยหนึ่งแปลว่าสุขุม คือเลือนมาแต่คำสันสกฤต สุกษุมะ ในนามเจ้านายต่างกรม และนามบรรดาศักดิ์ขุนนางปัตยุบันนี้ มีใช้เกลื่อน เช่น ชาติกุสุมา ไชยะกุสุมา วีระนาตะกุสุมาเปนต้น ซึ่งต้องแปลว่าสุขุม ถ้าแปลเปนโกสมก็ไม่ได้ความอไร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2567 17:39:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 กันยายน 2567 17:41:53 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

การสงครามสู้รบนั้นเป็นโกลาหลสุดประมาณ กุดาประวีระสู้รบกับดะหมังและตำมะหงง ซึ่งช่วยกันรุมทำ เช่นเดียวกันกุดาปะรันจาถูกเสนาตั้งสี่คนรุมกันสู้ คือประธานมนตรี และบูปาตีอีกสามคน ต่างก็ฟันแทงสู้รับปัดป้องกันเป็นอลหม่าน เสนาทั้งสี่รู้สึกว่าจะทนทานอยู่ไม่ได้ต่อไป ด้วยป้องปัดรับสู้ไม่ทันท่วงทีเสียแล้ว เพราะทหารเอกทั้งสองนั้นตลุมบอนอย่างมืดหน้าบ้าเลือด กำลังที่ประธานมนตรีกับปาติ๊ห์ และบูปาตีสู้รบฟันแทงป้องปัดอยู่กับกุดาปะรันจานั้น กุดาประวีระก็โดดเข้าผลักไสไล่ต้อนข้าศึก ถลำเข้าไปในกลุ่มคนที่กำลังต่อสู้กันอยู่นั้น เหตุที่ไล่กระแทกเข้ามาด้วยแรงโกรธ จึงประธานมนตรีกระทบโดนเข้ากับปาติ๊ห์ ฝ่ายปาติ๊ห์โลดไปเหยียบเอาคนๆ หนึ่งจึ่งล้มอยู่ที่พื้นดินเกือบถึงตาย กลิ้งเกลือกอยู่กับพสุธาทั้งสามคนด้วยกัน กุดาประวีระและกุดาปะรันจาก็เลยจับตัวได้สั่งให้มัดไว้ บัดดลมีนักรบอีกหกคนรุกเข้ามาข้างหลังจะจับตัวกุดาประวีระกับกุดาปะรันจานั้น แล้วก็เข้าตลุมบอน ฝ่ายกุดาประวีระและกุดาปะรันจาก็โต้ตอบต่อสู้ด้วยความเก่งกาจกล้าหาญ ครั้นยะรุเดะกับการะตาหลา กับดะหมังและตำมะหงงอื่น ๆ เห็นเหตุการณ์ดังนั้นก็ร้อนใจ ด้วยมาเห็นว่าในจำนวนรี้พลเป็นเทือกแถวนั้น พ่ายแพ้และยอมตกเป็นเชลยเสียแล้วเป็นอันมาก ยังเหลือสู้รบอยู่อีกก็แต่น้อย ขณะนั้นสิ้นหวังรู้สึกว่าสิ้นอุบายที่จะต่อสู้ได้อีกต่อไป กาลนั้นยะรุเดะ และการะตาหลา จึ่งมาคิดว่า เมื่อเป็นดังนี้ ผลที่สุดจะเป็นประการใดเล่า ถ้าเราจะสู้รบเรื่อยไปเราก็คงไม่สามารถเอาชนะได้ เพราะทหารเอกทั้งสองนั้นเก่งกาจกล้าหาญยิ่งนัก ถ้าเราถูกจับเป็นเชลยก็จะไม่มีใครสักคนเดียวที่จะกลับไปทูลข่าวแก่องค์ท้าวสังระตูกุรีปั่น และระเด่นอินู กะระตะปาตีให้ทรงทราบเหตุการณ์ที่ถูกปล้นนี้ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะให้ดีแล้ว ควรเราจะหนีไปเสีย เพื่อจะได้นำข่าวไปทูลแถลงแก่องค์สังระตู”

การะตาหลา ยะรุเดะ กับทั้งตำมะหงงอื่นๆ รู้สึกว่าไม่สามารถจะต่อสู้ต้านทานกุดาประวีระและกุดาปะรันจาได้ ดังนั้นจึงหนีเอาตัวรอดวิ่งกลับคืนไปยังกรุงกุรีปั่น ครั้นไปถึงพวกหนึ่งก็เข้าไปเฝ้าทูลข่าวแก่ท้าวสังนาตะ อีกพวกหนึ่งก็รีบเข้าไปเฝ้าทูลแถลงแจ้งเหตุแก่ระเด่นอินูด้วยอาการกระหืดกระหอบ ประดุจแพะถูกเสือร้ายไล่มา

ครั้นคนทั้งหกซึ่งกำลังประจันบานอยู่กับกุดาประวีระนั้น เห็นยะรุเดะกับการะตาหลาหนีเอาตัวรอดไปแล้ว เหลียวแลไปทางโน้นทางนี้ก็ไม่เห็นเพื่อนแต่สักคนเสียว จึงเกิดความกลัวอย่างสาหัศ ทันใดนั้นก็ทิ้งอาวุธออกวิ่งหนีบ้าง แต่ก็ถูกกุดาประวีระจับตัวมาได้สองคน รี้พลกุรีปั่นก็เป็นอันหมดสิ้นไม่มีเหลือแต่สักคนเดียว ส่วนที่ถูกจับนั้นก็มัดและนำตัวไปพร้อมทั้งทรัพย์สินและเครื่องเดิรทางที่กุดาประวีระและกุดาปะรันจาปล้นชิงได้นั้น ถวายแด่ปันหยี สะมิหรัง บรรดารี้พลที่ถูกจับและนำตัวมานั้นก็สวามิภักดิอยู่ใต้ปกครองของปันหยี สะมิหรังสิ้น ปันหยี สะมิหรังก็สุขจิตต์ชื่นชมโสมนัศเป็นที่ยิ่ง ด้วยประการฉนี้แล

บัดนี้จะกล่าวถึงระเด่นอินูนั้น ครั้นได้ฟังข่าวว่าทูตานุทูตถูกจับไปสิ้นแล้ว รวมทั้งทรัพย์สินก็ถูกคนกะละหนาผู้หนึ่งที่เก่งกาจกล้าหาญชิงเอาเสียสิ้น มีแต่ยะรุเดะกับการะตาหลาเท่านั้นหลุดพ้นมาแถลงข่าวได้ด้วยอาการกระหืดกระหอบ จึงพิโรธโกรธกริ้วอย่างแรงกล้าแทบจะทนความพิโรธอยู่ไม่ได้ ด้วยมาคิดว่ากะละหนานั้นชั่วร้ายอหังการยิ่งนักจึ่งบังอาจปล้นทรัพย์สินของชาวกุรีปั่น

จึงระเด่นอินูนั้นตระเตรียมการพร้อมสรรพแล้วก็น้อมเศียรด้วยความเคารพ บังคมลาพระชนกชนนีเพื่อจะไปรอนราญจับตัวกะละหนาหนุ่มผู้กล้าหาญเก่งกาจนั้น

องค์สังระตูก็ตรัสด้วยแย้มสรวลว่า “ดีแล้ว เธอจงไปด้วยความสดวกสวัสดีเถิด ขอองค์สังหยังเทพยดาเจ้าจงทรงคุ้มครองลูกพ่อให้มีชัยชำนะ พ่อหวังว่าลูกยาจะได้เลยไปตลอดถึงกรุงดาหาด้วย”

ฝ่ายโฉมยงองค์ประไหมสุหรีก็จุมพิตพระศีรประเทศของราชบุตรองค์เดียวนั้นซึ่งเปนดังดวงทิพากรส่องโลก พลางตรัสอวยพรเพื่อสวัสดี

ครั้นได้รับพระราชานุญาตดังนั้นแล้ว ระเด่นอินูก็เสด็จจรลีสู่ทิศที่ตั้งเมืองของกะละหนานั้น พร้อมพรั่งด้วยปาติ๊ห์ผู้น้า และเสนาข้าราชการตามเสด็จเท่าที่เหลือจากถูกปันหยี สะมิหรังจับเอาเป็นเชลย

ฝ่ายปันหยี สะมิหรัง ณ กาลนั้นกำลังทอดทัศนาตรวจรี้พลทูตานุทูตกุรีปั่น ตรัสถามพี่เลี้ยงของระเด่นอินูนั้นว่า “เฮ้ย ทูตกุรีปั่น ซึ่งนำเอาทรัพย์สินฉัตรธงทิวสำหรับแผ่นดินประดับประดาด้วยเลื่อมพลอยมานี้ มึงจะไปไหนกัน”

ทูตทูลว่า “อ้า เจ้ากู ผู้ผ่านพิภพ ทรัพย์สินมหัครภัณฑ์ทั้งมวญนี้ข้าพระองค์จะนำไปยังกรุงดาหา ด้วยว่าระเด่นอินู เจ้านายของข้าพระองค์จะทำการตุนาหงันหมั้นพระบุตรีกรุงดาหา ซึ่งทรงพระนามว่า ก้าหลุ จันตะหรา กิระหนา และนี้คือสินสอดทองหมั้นที่จะถวายแด่ระตูผู้ผ่านดาหา”

แล้วก็เล่าแถลงแจ้งเหตุที่เดิรทางมาแต่ต้นจนอวสาน ปันหยี สะมิหรังก็ยิ้มอยู่ในที หวานดังทะเลน้ำผึ้ง ตรัสว่า “เฮ้ย ทูต มึงจงไปทูลระเด่นอินูเจ้านายของมึงว่า ถ้าอยากจะได้ของนี้คืน จงเสด็จมาเอาเอง ถึงนี่แล้วกูจะคืนให้เป็นแน่แท้”

ทูลทั้งหลายนั้นก็ยินดีปรีเปรมในอันเห็นท่วงทีกิริยาของปันหยี สะมิหรังนั้นงดงามยิ่งไปเสียกว่าเจ้านายของตนเอง วาจาภาษา๑๖๗ที่พูดก็สุจริตอ่อนหวาน ทั้งรูปโฉมก็งามตระการสมควรจะเป็นอนุชาของเจ้านายแห่งตนได้ ปันหยี สะมิหรังก้มเศียรชักผ้าออกซับพักตรแล้วตรัสว่า “เฮ้ย ทูต บัดนี้เจ้าจงรีบกลับไปยังนครกุรีปั่นทูลความแก่ระเด่นอินูว่าเราขอเชิญเสด็จมาที่นี้ ด้วยเราใคร่จะคืนทรัพย์สินมหัคฆภัณฑ์เหล่านี้ ถวาย แล้วจงทูลด้วยว่าเรานี้หวังใคร่จะได้ประสพพบกับเธอ อยากจะได้เห็นรูปโฉมโนมพรรณ ด้วยยังหาทราบไม่ว่าเป็นอย่างไร”

ทูตทั้งหลายนั้นก็ยินดียิ่งนัก จึงก้มเกล้าบังคมบาทปันหยี สะมิหรัง แล้วก็เดิรทางกลับสู่นครกุรีปั่น และรีบจะเข้าสู่วังเจ้านายแห่งตน เห็นเจ้านายของตนนั้นเพิ่งเสด็จเคลื่อนออกยังมิทันไปได้ไกลจากวัง จึงเขาเหล่านั้นบังคมบาทพลางทูลแถลงข่าวสารสิ้นทั้งมวญ และทูลข้อที่กะละหนาเชิญเสด็จไปด้วยพระองค์เองนั้น ระเด่นอินูได้ทรงฟังคำทูตซึ่งเพิ่งกลับมานั้นแล้วก็แย้มสรวล และทันใดนั้นจึงตรัสให้ยะรุเดะจูงม้าที่นั่งมา อันมีนามว่า “รังคะ รังคิต” ๑๖๘พลันยะรุเดะก็นำม้านั้นมาถวาย ระเด่นอินูก็เสด็จขึ้นหลังอาชาอันมีนามว่า “รังคะ รังคิต” นั้น แล้วก็ออกวิ่งรวดเร็วราวกับสายฟ้าแลบ

ด้วยกำลังม้าเร็วไม่ช้าก็ไปถึงเมืองใหม่นั้นพร้อมด้วยรี้พล มนตรี ระเด่นอินูมีรูปเหี่ยวแห้งดังบุหงาต้องแสงแดด แต่ฉวีวรรณที่วงพักตรยังงาม กุมฝักกริสแล้วตรัสว่า “แนะ น้าปาติ๊ห์และตำมะหงงมา เราอย่าปล่อยตนให้เหน็ดเหนี่อยเมื่อยล้าเลย จงสร้างปะสังคราหันขึ้นสักหลังหนึ่ง แล้วรอคอยให้ปันหยีสะมิหรังยกพลออกมาตีเราก่อนก็แล้วกัน”

จึงพนักงานจัดตั้งปะสังคราหันขึ้นหลังหนึ่งด้วยประโจมผ้า ครั้นสำเร็จแล้วระเด่นอินูก็เข้าประทับอยู่คอยท่าสัตรู ณ ที่นั้น แต่ว่าปันหยี สะมิหรังก็ไม่อยากจะสู้รบทำสงครามด้วย ระเด่นอินูทนความกระหายที่อยากจะประสพกระทบกับข้าศึกสัตรูไม่ได้ จึงขึ้นทรงม้าเข้าไปในเมืองใหม่ หัตถ์กุมกริสไว้ไม่ปล่อย ในขณะนั้นเองปันหยีสะมิหรังก็ใคร่จะออกไปยังสนามรบนอกเมือง ไปได้มิทันไกลก็แลเห็นในระยะห่างไกลซึ่งชายคนหนึ่งรูปสวยหน้างาม จึงจินตนาในหทัยว่า “นี้หรือกะกันดา ระเด่นอินู รูปทรงช่างสวยงามและโฉมพักตร์ช่างฉลาดเฉลียวเส็ยนี้กระไร”

ฝ่ายระเด่นอินู ครั้นเห็นปันหยี สะมิหรังทรงม้ามาดังนั้นหทัยก็อ่อน กริสที่กุมไว้ก็ตกลง เพราะเห็นรูปโฉมปันหยีสะมิหรัง งามเปล่งปลั่งผ่องใส กระทั้งสีพระพักตรของระเด่นอนูเวลานั้นเป็นเสมีอนดอกไม้ยามตากต้องแสงตะวัน

ฝ่ายปันหยีสะมิหรังก็เช่นเดียวกัน ลูกศรที่กุมอยู่รู้สึกประหนึ่งว่าจะตกลงยังภูมิพสุธา เพราะหทัยเสียวซ่านในอันทัศนาเห็นระเด่นอินูนั้น พลันนำผ้าซับพักตรขึ้นปิดพักตรยิ้มลไมอยู่ในที ตรัสว่า “นี้กระมังกะกันดา อินู ท่วงทีกิริยาสมกันกับรูปโฉมที่หวานงาม ควรแล้วจะเป็นทหารเอกของกรุงกุรีปั่น”

ครั้นระเด่นอินูเห็นปันหยีสะมิหรัง ปกคลุมพักตรด้วยทรงสพักตรขาวและแย้มสรวลจนเห็นไรทนต์วาววามดังนั้น ก็ตกตลึงจังงังแล้วก็เกิดความพิศวาสดิ์สิเนหาขึ้นในหทัย พลันทวีถวิลย์จินดาขึ้นอิก คิดอยู่ในหฤทัยว่า “เปนลูกกษัตริย์ไหนหนอ กะละหนานี้ผู้มีโฉมหน้างามนัก ทั้งท่วงทีเฉลียวฉลาดและสุจริต ชรอยจะเป็นเทวาลงมาจากอินทรโลก สมควรยิ่งนักที่จะมาเป็นพี่น้องกับเรา ด้วยมิใช่คนสืบสันดานมาแต่สามัญชน รูปร่างน่าจะสืบพงศ์มาแต่กษัตริย์มหาศาลผู้สูงศักดิ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นข้าศึกศัตรูก็จะทำอย่างไรได้ ควรจะมาเป็นสหายกับเราจึงจะชอบ เพราะไว้ท่วงทีกิริยาดีงามและสุจริตนักหนา และวางท่าประหนึ่งดังเป็นมิตรรู้จักสนิธกันมานานแล้ว”

อีกครู่หนึ่งก็เข้าถึงเผชิญหน้ากัน ขณะนั้นอังศาพยพทั้งปวงก็น่วมไปทั่ววรกาย ใจสบายเยือกเย็น ทั้งความคิดความเห็นก็พิศวงงงงวย แต่ยิ่งพิศกันนานเข้าก็ยิ่งตระหนักในความรู้สึกสิเนหาอาลัยซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย ในเวลาที่ต่างทรงม้าเผชิญหน้ากันอยู่นั้น ไม่มีใครพูดจาว่ากระไรเลย มีแต่ตกตลึงพิศวงงงงวยจังงังไปตามกัน ฝ่ายปันหยีสะมิหรังณกาลนั้นนึกลอายที่จะต้องสู้รบกับคู่ตุนาหงัน จึงกระระตะม้าทรง แต่ม้านั้นก็หาไปไม่ ฝ่ายม้ารังคะรังคิดเล่าก็ไม่ยอมเคลื่อนไหว ยืนตัวสั่น ประดุจบุถุชนใคร่จะซักถามว่านี่เรื่องอะไรกัน

ระเด่นอินูก็เห็นเป็นอัศจรรย์มิใช่น้อย ด้วยม้านั้นมีอากัปกิริยาผิดปกติจึงตรัสแก่ม้าว่า “เฮ้ย รังคะรังคิต ตั้งแต่โน่นมาแล้วข้าอยากจะไปข้างหน้า เหตุใดเล่าพอมาถึงที่ตรงนี้เจ้าจึงมาหยุดอยู่ เรานี้มาจากกุรีปั่นจนถึงนี่ก็เพื่อทดลองความสามารถ”

ปันหยีสะมิหรังได้ฟังคำระเด่นอินูทั้งมวญนั้น จึงก้มและเช็ดพักตรพลางตรัสว่า

            ดูกรท่านผู้ยิ่งด้วยพงศพันธุ์
            ขอท่านอย่าตรัสดังนั้น
            จงทรงสงสารหม่อมฉัน
            ผู้หินชาติหวาดประหวั่น
            ข้าถูกทิ้งพรากจากบุรี
            ทุกขยากลำบากเต็มที
            ทุกวาระตราบถึงวันนี้
            เคราะห์เข้าครอบงำโชคไม่มี
            เช้าค่ำร่ำโศกสงสาร
            เลี้ยงชีพในพงไพรกันดาร
            ทุกขจิตตแสนสุดประมาณ

            อยู่ธานีไร้ประโยชน์ไร้งาน
            ข้าจึงออกมะงุมบาหรา
            เยี่ยงคนจรจัดอนาถา
            ไข้ใจทนทุกข์เวทนา
            ไมมีใครปลอบโยนนำพา

ระเด่นอินูได้ฟังคำปันหยีสะมิหรังดังนั้นแล้ว ข้อลำอัษฐิก็อ่อนล้าไปหมด จึงสรวมดาพเข้าฝัก ผลักกริสไปไว้ข้างขนอง พลางตรัสว่า “ข้านี้คือระเด่นอินู กะระตะปาตี โอรสเจ้ากรุงกุรีปั่น กะกันดานี้มิได้จำนงจะมาสู้รบกับเธอ เป็นแต่มุ่งจะไปยังกรุงดาหาตามพระบัญชาขององค์สังระตู”

ปันหยีสะมิหรังยิ้มแล้วตอบว่า “กะกันดาระเด่นอินูเราทั้งสองนี้จะไม่เผชิญหน้ากันเพื่อสงครามอีกต่อไป มาเถอะ ถ้ากะกันดาเต็มพระหทัยจงพากันเข้าไปในบุรีอันเป็นที่อยู่ของหม่อมฉัน”

ระเด่นอินูตอบเป็นเชิงสัพยอกว่า “ทำไมเล่ากะกันดานี้จะไม่เต็มใจ แต่ม้าของพี่ยังไม่ยอมสู้รบแล้ว พี่นี้ไม่เต็มใจอย่างไรได้ สิ่งใดเป็นที่พอใจแก่อะดินดา ย่อมเปนที่พอใจแก่กะกันดาตั้งพันเท่าเทียว”

แล้วสององค์นั้นจึงสัมผัสหัตถ์กันและพากันเข้าไปยังวัง ในรวางที่ม้าเดิรไปนั้น ต่างก็ทรงจินตนามิหยุดหย่อนถึงพฤติการณที่เป็นมานั้น และตลอดทางผู้คนเป็นอันมากทัศนาก็เห็นเป็นประหนึ่งดวงดาราคู่๑๖๙หนึ่ง ซึ่งส่องแสงสว่างอย่างสุกใส ระเด่นอินูเหลือบไปเห็นยะรุเดะจึงตรัสว่า “แนะ ยะรุเดะ จงสั่งรี้พลทั้งหลายบอกเลิกสงคราม แล้วนำเข้าไปสู่พระบุรี”

รี้พลทั้งสองฝ่ายก็เข้าเมืองโดยความสงบ ด้วยเจ้านายได้ปรองดองเปนไมตรีกันแล้ว ก็ดีตามกันไป เปนหางก็ย่อมตามหลังหัวเป็นธรรมดา ครั้นระเด่นอินูไปถึง ปันหยีสะมิหรังก็ลงจากหลังม้าแล้วประนมบังคมทูลเชิญเสด็จระเด่นอินูประทับเหนือสิงหาศน์ ทั้งสององค์นี้สมควรยิ่งแล้วที่จะเปนมิตรภาพภราดรต่อกัน ด้วยว่าดีงามเสมอเหมือนกัน ฝ่ายอินูก็เกิดความปฏิพัทธรักใคร่ในปันหยีสะมิหรังด้วยรูปโฉมเป็นที่ต้องหฤทัย แต่ก็หาทราบไม่ว่าปันหยีสะมิหรังนั้นเป็นผู้หญิง สำคัญว่าเป็นชายด้วยกัน ประทับอยู่ดังนั้นมิช้าระเด่นอินูก็ตรัสว่า “แนะ อะดินดา มาเถอะ เรามากินเข้าด้วยกัน”

ปันหยีสะมิหรังตอบว่า “โอ กะกันดา เสวยแต่ลำพังองค์เดียวก่อนเถิด แล้วหม่อมฉันจึงจะรับประทาน”

อินูก็ว่า “ทำไมเล่า อะดินดา มิได้พาพี่มานี่ด้วยความพอใจดอกหรือ เธอไม่เต็มใจให้พี่มานี่หรือ”

ปันหยีสะมิหรัง ยิ้มแล้วทูลว่า “ที่น้องจะไม่เต็มใจนั้นหามิได้ แต่กลัวต่ำสูงเปนตุหลา ตุอะห์ ๑๗๐เสนียดจัญไร ด้วยผู้มีเผ่าพันธุ์หินชาติต่ำช้า หาควรไม่ที่จะร่วมกับผู้สูงศักดิ์ ชอบแต่จะรับประทานเหลือเครื่อง”

ระเด่นอินูจึงเสวยองค์เดียว เสร็จแล้วปันหยีสะมิหรังจึงเสวยพร้อมด้วยกุดาประวีระ และกุดาปะรันจา ชื่นชมปรีดาทั่วหน้ากัน ครั้นเสวยแล้วเครื่องที่เหลือนั้นก็ยกไปตั้งให้แก่ยะรุเดะกับการะตาหลา แล้วเลื่อนต่อลงไปจนถึงไพร่พล ครั้นแล้วพนักงานก็แจกจ่ายของหอมและมีคนนั่งดูปันหยีสะมิหรังกับระเด่นอินูนั้นอยู่แน่นหนาล้นหลาม ครั้นวันล่วงไปไกลถึงรัตติกาล ระเด่นอินูก็ชวนบรรธม ตรัสว่า “เออ อะดินดา พี่นี้ง่วง หนังตาเบื้องบนเกือบจะผนึกติดกับหนังตาเบื้องล่างอยู่แล้ว”

ปันหยีสะมิหรังยิ้มพลางตรัสตอบว่า “หม่อมฉันไม่เข้าใจความที่ตรัสนั้น ถ้าพระพี่ยาหาวบรรธม ก็เชิญบรรธมก่อนเถิด ด้วยตาหม่อมฉันยังไม่ง่วง ที่ถูกหม่อมฉันควรจะนอนกับกุดาประวีาะ และกุดาปะรันจา”

อินูก็พิศวงสงสัยยิ่งนัก จึงจินตนาในหฤทัยว่า “อะอินดานี้ชรอยจะเป็นหญิงเสียกระมัง จึงไม่อยากจะนอนด้วยกับเรา”

ปันหยีสะมิหรังตอบว่า “ใช่ว่าอะดินดาจะไม่อยากนอนร่วมกับกะกันดาเมื่อไรมี แต่ไม่วางใจ ด้วยน้องนี้มีไข้อย่างหนึ่ง กลัวว่าจะติดต่อไปถึงกะกันดา”

ระเด่นอินูก็บรรธมแต่ลำพังองค์เดียว ปันหยีสะมิหรังทูลลากลับตำหนักเพื่อไปพบกับมหาเดหวี เห็นองค์มหาเดหวีกำลังเล่นอยู่กับนางบุษบาชูวิต และบุษบาส้าหรี ปันหยีสะมิหรังจึงว่า “อไร ยังเล่นกันอยู่จนดึกดื่น”

มหาเดหวีก็แย้มสรวลพยักพักตร ณกาลนั้นก็เป็นเวลาล่วงคืน ใครๆ ก็เข้านอนแล้วตามที่แห่งตนๆ ปันหยีสะมิหรังก็เข้าสู่ที่บรรธมแล้วก็ร่อนไกวตุ๊กตาทองคำ ขับร้องกล่อมด้วยถ้อยคำบางประการ จนเพลาใกล้จะรุ่งปัจจุสมัยจึงไสยาพร้อมด้วยตุ๊กตานั้น ก็และบรรธมนั้นเพียงสักพริบตาเดียวก็ตื่นขึ้นแต่งองค์ทรงเครื่อง ฝ่ายพี่เลี้ยงผู้มีนามว่าเกนบาหยัน และเกนส้าหงิด ก็ล้างหน้าแต่งกายเยี่ยงเพศชายพร้อมสรรพ

ครั้นแล้วก็จรลีไปยังที่ระเด่นอินูกะระตะปาตี และระเด่นอินูนั้นตื่นบรรธมอยู่ก่อนแล้ว ประทับให้เสนาข้าราชการเฝ้า คือยะรุเดะ และปูนตาเปนต้น ระเด่นอินูเห็นปันหยีสะมิหรังมากับทหารเอกทั้งสองผู้มีรูปร่างลออองค์ดังบุหงาส่องสว่างด้วยแสงตวันนั้น ก็แย้มสรวล พลางจินตนานิ่งนึกถึงการณ์ที่เป็นมาด้วยความพิศวงจังงัง แล้วจึงตรัสแก่ปันหยีสะมิหรังว่า “เออ อะดินดา พี่นี้ขุ่นเคืองน้องด้วยช่างมีแก่ใจทิ้งให้กะกันดานี้นอนอยู่แต่เดียวดาย”

ปันหยีสะมิหรังยิ้ม แต่ไม่ได้ตอบประการใด ระเด่นอินูจึงตรัสต่อไปว่า “กะกันดานอนคนเดียวคืนหนึ่งนี้ รู้สึกดังว่าต้องพรากจากน้องไปตั้งเดือน พี่ฝันไปว่านอนร่วมกับเธอในที่นอนอันเดียวกัน”

ปันหยีสะมิหรังก็ยิ้ม ฝ่ายระเด่นอินูนั้นยิ่งนานวันก็ยิ่งเพิ่มพูลประฏิพัทธพิศวาสดิ์ ปันหยีสะมิหรังก็นั่งเฝ้าระเด่นอินู พนักงานก็เชิญเครื่องเสวยมา ระเด่นอินูจึงตรัสว่า “มาเถอะน้องมาเสวยกับกะกันดา”

ปันหยีสะมิหรังตอบว่า. “เชิญพระพี่ยาเสวยก่อนเถิด หม่อมฉันจะรับประทานทีหลัง เพราะกลัวต่ำสูงตุหลาตุอะห์เสนียดจัญไร”

ระเด่นอินูก็เสวย พลางใคร่ครวญในหฤทัยว่า “ปันหยีสะมิหรังนี่ชรอยเป็นหญิงเสียแน่แล้ว ถ้าเช่นนั้นเราจะเอาเป็นเมียแล้วจะไม่มีเมียอื่นอีกเลย นอกจากปันหยีสะมิหรังนี้”

ครั้นเพลาใกล้รัตติกาล ระเด่นอินูก็ตรัสว่า “มาเถอะ อะดินดาเรามานอนด้วยกัน ถ้าเธอไม่ปลงใจด้วยจะต้องเห็นเปนแน่เทียวว่าเธอไม่พอใจให้พี่ค้างแรมอยู่ที่นี่”

ปันหยีสะมิหรังตอบว่า “ที่หม่อมฉันจะไม่เต็มใจนั้นเปนไปไม่ได้ กะกันดาอย่าตรัสดังนั้นอีก หม่อนฉันหวังว่า ถ้ากะกันดาเสด็จไปดาหาเป็นคู่สมรสอภิเศกแล้ว เมื่อจะเสด็จกลับคืนกรุงกุรีปั่น คงจะพอพระหทัยแวะที่นี่อีก ถึงเวลานั้นและ น้องจึงจะร่วมบรรณฐรณ์ด้วยกับกะกันดา”

ระเด่นอินูแยมสรวลตรัสว่า “แน่เทียวอะดินดา ถ้ากะกันดาอยู่ดาหาไม่สบายเป็นไข้ใจด้วยพิศวาสดิ์สิเนหานี้แล้ว อยู่ที่นั่นไม่ได้ ก็จะรีบกลับมานี่”

แท้จริงเวลานั้นราตรีก็ล่วงเข้ายามดึกแล้ว บุหลันทรงกลดส่องสว่างดังกลางวัน พวกเสนารี้พลกุรีปั่นทั้งหลายก็ยังใคร่จะเล่นหวัวอึกทึกอยู่ในแสงเดือน จึงเข้ากลุ่มชุมนุมคุยกันเล่นกันระคนไปกับไพร่บ้านพลเมืองของปันหยีสะมิหรังนั้น

ณ กาลนั้นการะตาหลา ปูนตา และยะรุเดะ กับทั้งเสนาข้าราชการทั้งปวงก็ขับลำทำเพลงตบมือและรำเต้นอยู่ไม่หยุดหย่อน และพากันสรวลเสเฮฮาเมื่อเหนปูนตากับการะตาหลารำเต้นและร้องว่า

            รู้สึกแล้วหากเพิ่งจินดา
            สุดคิดสุดคาดสุดคณนา
            เสียงจังหรีดสำคัญว่าแมลงดานา๑๗๑
            อยู่ที่ใจมิใช่ที่ปากเพ้อหา

บรรดาพี่เลี้ยงสาวสรรกำนัลในซึ่งเข้าสู่ที่ไสยาแล้ว ครั้นได้ยินเสียงผู้คนสรวลเสเฮฮาอึกทึกก็ตื่นขึ้น และไปดูช่างฟ้อนรำจากกุรีปั่นนั้น ปันหยีสะมิหรังกับกุดาประวีระและกุดาปะรันจา ได้ยินคนชาวกุรีปั่นขับลำเป็นปฤษณาดังนั้น ถึงแม้ว่าจะยิ้มจะสรวล ก็แต่ภายในนั้นใจประหวั่นเต้นรัว ก็และความสนุกสนานของคนทั้งหลายในคืนนั้นเปนที่เอิกเริกครึกครื้นมาก ปันหยีสะมิหรังจึงทูลลาเพื่อจะไปบรรธม

ระเด่นอินูตอบว่า “เธอจงไปบรรธมก่อนเถิด”

การเล่นทั้งหลายนั้นก็ให้ระงบเลิก ด้วยเป็นเวลาใกล้จะรุ่งเช้าอยู่แล้ว และพากันไปนอนสิ้น ครั้นถึงเพลารุ่งสว่างดวงตวันขึ้นสูงแล้ว จึงปันหยีสะมิหรังตื่นบรรธมก่อนใครหมด สรงพักตรทรงเครื่องและใช้ของหอมแล้วก็ลีลาไปยังตำหนักระเด่นอินู ครั้นไปถึงก็เห็นระเด่นอินูยังกำลังบรรธมหลับสนิธ ปันหยีสะมิหรังค่อยประทับลง ณ ขอบแท่นบรรธมมิให้รู้สึกองค์ พิศพักตรระเด่นอินู ซึ่งกำลังหลับสนิธดูเหมือนเหนื่อยล้า ระบายลมอัสสาสะปัสสาสะสั้นยาวอยู่นั้น พลันจินตนาในหทัยว่า

            ยามตื่นใจไม่สบายครัน
            ยามหลับกลับรู้เท่าทัน
            ดวงจิตต์พิศวาสดิ์เจือประหวั่น
            เช่นนี้ระเด่นผู้เลอพงศพันธ์

ครั้นแล้วปันหยีสะมิหรัง ก็กล่าวคำด้วยสำเนียงแต่เบาๆ ว่า

            ตื่นเถิดพระองค์ ตื่นเถิดราชา
            ส่องแสงสูงแล้วดวงรวี
            หลับดังจงใจเจตนา
            จะสิ้นสำนึกสมฤดี
            ตื่นเถิดพระองค์ หนุ่มน้อยเอวบาง
            สูงแล้วเด่นสุรียส่องแสงสว่าง
            สมรสผิดคู่จักไร้สวัสดี
            จะซูบจะซีดรูปโฉมวรรณฉวี


-----------------------------------
 ๑๖๗ ต้นฉบับใช้คำ “บะฮาซา”
๑๖๘ สงสัยโดยสำเนียงว่าจะเลือนมาแต่ “รังครณชิต”
๑๖๙ ต้นฉบับว่า “บินตัง โชฮาร์” แปลว่าดาวพระพุธ
๑๗๐ ต้นฉบับใช้คำ “ตุละห์ ตัน ตุอะห์ ตวน” แปลโดยพยัญชนะว่าเดชแช่งสาบของพระองค์ สำนวนไทยไม่มีจึงแปลว่าเสนียดจัญไร ซึ่งได้ความตรงกันโดยอรรถ ใน พ.ร.น. อิเหนามีใช้คำ “ตุหลาปาปา” ปาปา ก็คือคำสาปนั้นเอง แต่ในหนังสือนหามีใช้ไม่
๑๗๑ ในต้นฉบับ สองวรรคนี้ก็ใช้สัมผัสซ้ำดังน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2567 17:43:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15 กันยายน 2567 17:45:49 »


อิเหนา : ภาพโดย ครูเหม เวชกร

อิเหนา
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต
ทรงแปลจากต้นฉบับภาษามะลายู

ภาคปฐม

บัดดลนั้นระเด่นอินูก็สดุ้งตื่นฟื้นจากนิทรารมณ์ เห็นปันหยีสะมิหรังนั่งอยู่ณขอบที่บรรธม และเห็นริมโอษฐอันแดงนั้นแล้วจึงตรัสว่า “เออนี่แน่ะ เธอ ถึงวันมะรืนนี้ กะกันดานี้จะอภิเศกเป็นคู่สมรส พี่นอนจนตวันสูงยังไม่ตื่นก็เพราะเกรงว่าหน้าของกะกันดาจะเหี่ยวซีด” ครั้นแล้วก็ลุกขึ้นประทับพลางสัมผัสลูบไล้หัตถ์ของปันหยีสะมิหรัง รู้สึกว่าหัตถ์ปันหยีสะมิหรังนั้นอ่อนนุ่มนวลดังมือสตรี ฝ่ายปันหยีสะมิหรังรู้สึกสัมผัสลูบคลำที่หัตถดังนั้น ก็ให้เสียวสั่นหฤทัยระรัวไปถึงข้อลำอัษฐิ พลางตรึกตริว่า “ณกาลวันนี้และ ระหัสความลับของเราจะเปิดเผยเสียแน่แล้ว ในข้อที่เราเป็นหญิง”

หฤทัยไหวหวั่นเต้นระริก แต่ก็ยังหวังอยู่ว่า จะไม่ถึงแก่ต้องเปิดเผยให้ล่วงรู้ความลับ ล่วงไปอีกครู่หนึ่งระเด่นอินูก็ปล่อยจากหัตถ ขณะนั้นรู้สึกโล่งโปร่งหทัยราวกับได้เพชร์พลอยกองเท่าภูเขา ครั้นแล้วระเด่นอินูและปันหยีสะมิหรังก็เคลื่อนลงจากที่ไสยาศน์

ระเด่นอินูจึงสรงพักตร ครั้นแล้วเหลือบเห็นยะรุเดะ ปูนตาและการะตาหลา จึงตรัสว่า “จงไปชุมนุมจัดเตรียมรี้พลมนตรี ด้วยณกาลวันนี้นี่และ เราจะเข้าไปยังนครดาหา”

ครั้นแล้วจึงตรัสแก่ปันหยีสะมิหรังว่า “แนะ อะดินดา มา ไปด้วยกันกับกะกันดาเถิด เพื่อจะได้เข้าเฝ้ามะมันดา๑๗๒องค์ภคินทราชาดาหา”

ปันหยีสะมิหรังตอบว่า “เชิญกะกันดาเสด็จเข้ากรุงดาหาก่อนเถิด ด้วยโรคของหม่อมฉันนั้นยังไม่หาย”

ระเด่นอินูได้ฟังคำปันหยีสะมิหรังดังนั้นก็เสียดายอาลัย รู้สึกหนักไปทั่วสรรพางค์กาย แทบจะไม่สามารถคลาดคลา ปันหยีสะมิหรังจึงว่า “กะกันดาอินูเสด็จไปก่อนก็ดีแล้ว จะได้เข้าเฝ้าท้าวดาหา และทำพิธีอภิเศกสมรสได้โดยเร็ว แล้วภายหลังน้องจะตามเข้าไปดูกะกันดา ซึ่งจะตามเสด็จไปด้วยกันแต่ในวันนี้นั้นหาได้ไม่”

ก็และปันหยีสะมิหรังนั้น แท้จริงเมื่อระเด่นอินูจะจากไป หทัยก็ไม่เสบย แต่ก็หาไปด้วยไม่ กาลนั้นปันหยีสะมิหรังได้เวรคืนบรรดาทรัพย์สินมหัครภัณฑ์อันได้ปล้นชิงไว้นั้นให้แก่ระเด่นอินูแล้ว และเมื่อจะจากไปยังถวายผ้ารัดองค์ที่ใช้แล้วอีกผืนหนึ่งไปเป็นที่ระลึก แล้วก็อวยสวัสดีสัมผัสหัตถ์และระเด่นอินูก็ยาตราไป มีผู้โดยเสด็จคือยะรุเดะกับการะตาหลา กับเสนามนตรีทหารเอกจำนวนหนึ่งพร้อมด้วยพาหนะทรง คือม้าและช้าง ระเด่นอินูนั้นพิศโฉมราวกับดารายามใกล้อรุณ พักตรซีดเผือดเพราะมิได้บรรธมราตรีหนึ่ง เพลียไปทั้งวรกาย ทรงอาชานัยม้าต้นกุมกริส รูปทรงงามระหงเป็นที่เริงใจแก่คนทั้งหลายที่ได้เห็น ท่าทางดังบะตาระเทพจุติลงมายังโลกพิภพ ในรวางเดิรทางไปกรุงดาหานั้น ตลอดทางมิได้หยุดหย่อนในอันคำนึงถึงปันหยีสะมิหรัง พลางตรัสในหทัยว่า “เหตุใดเล่าบรรดาสิ่งของมหัครภัณฑ์ที่ได้ปล้นชิงไว้นั้นจึงมาคืนให้แก่เรา ถ้าเขาไม่ให้ไม่คืนแก่เรา ๆ ก็จะไม่ได้สมรสกับพระบุตรีดาหาเป็นแน่แท้”

นี้เป็นข้อข้องอยู่๑๗๓ในดวงหทัย ตริตรึกคนึงในอยู่เป็นนิตย์ ทำไฉนจะแทนคุณความดีของปันหยีสะมิหรังได้ให้ถึงขนาด

เดิรทางมิช้านานก็ไปถึงซึ่งประตูเมืองดาหานั้น ระเด่นอินูจึงสั่งให้ยะรุเดะกับการะตาหลาเข้าไปเฝ้าฝ่าธุลีองค์ท้าวดาหา เพื่อถวายของที่ระลึกและของฝากของท้าวกุรีปั่นนั้น การะตาหลากับยะรุเดะก็เข้าไปแล้ว เข้าเฝ้าอัญชลีบังคมลอองบาทพระราชาด้วยความเคารพยิ่ง ระตูดาหาก็ทรงรับรองเขาทั้งสองนั้นด้วยยินดีปรีดา ตรัสสั่งให้หาระเด่นอินูไปเข้าเฝ้าด้วย ระเด่นอินูก็มาเข้าเฝ้าถวายบังคมโดยเคารพ ท่านลิกูก็มารับรองด้วยเหมือนกัน ชื่นชมเกษมสันตเพราะเห็นผู้อันจะเป็นเขยนั้นงามดีนักประดุจดวงบุหลันวันบุรณมี๑๗๔ขณนั้นฝ่ายก้าหลุอาหยังก็วิ่งไขว่ไปมาหทัยเต้นแอบมองตามช่องรั้ว แต่พอเห็นรูปโฉมของระเด่นอินูก็เกิดกระศัลยพิศวาสดิ์แทบจะลืมองค์ ครั้นแล้วก็ออกมาเฝ้าระเด่นอินูด้วยเคารพ กาลนั้นจึงท่านลิกูบังคมทูลสังระตูว่า “องค์กะกันดา จะให้ดีแล้วควรแต่งก้าหลุ อาหยัง ลูกเราเสียกับระเด่นอินูเพื่อจะให้แทนที่ก้าหลุ จันตหรา กิระหนา เพราะสูญหายไปนานแล้วไม่มีใครรู้ว่าไปไหน”

สังระตูได้ทรงฟังคำลิกูดังนั้น ก็ทรงสุขจิตต์โสมนัศยิ่งนัก แต่ระเด่นอินูนั้นดูมีความขวยเขินลอาย

ครั้นแล้วจึงสังนาตะมีสุรศัพท๑๗๕ ตรัสว่า “ดีแล้ว ในวันพรุ่งนี้ เราจะประชุมรี้พลสกลไกรเสนามาตย์ เพื่อจะได้พบเห็นและแห่คู่สมรสทั้งสองนั้น”

แล้วก็มีการประชุมดังว่านั้น และให้รับไว้ซึ่งของฝากของบรรณาการมหัครภัณฑ์ของหมั้นสินสอด

ส่วนปันหยีสะมิหรังนั้นก็กลับคืนสู่วัง เดิรทางไปไม่ช้าก็ถึงและเข้าในตำหนัก ครั้นมหาเดหวีเห็นดังนั้นจึงมีกระทู้ถามว่า “นี่เธอไปไหนมา ค่ำคืนดึกดื่นถึงเพียงนี้ยังขี่ม้าอีก”

ปันหยีสะมิหรังทูลว่า “หม่อมฉันไปเมืองดาหามา ดูคนแต่งงาน เอิกเริกสนุกสนานเหลือเกิน ท่านลิกูกับก้าหลุ อาหยัง กำลังหัวเราะต่อกระซิกเบิกบานสบายใจ”

มหาเดหวีได้ฟังคำพระบุตรีดังนั้น ก็ตบทรวงผาง ๆ พลางตรัสว่า “เธอนี้ช่างกล้าจริง เข้าไปในเมืองดาหาแต่ลำพังคนเดียวได้”

ปันหยีสะมิหรังยิ้มลไม ไม่ว่ากระไรอีก ก็และเพลานั้นก็ดึกมากนักแล้วจึงเข้าที่บรรธม แล้วก็เล่นด้วยตุ๊กตาทองคำ นำวางบนกรแกว่งไกวต่างเปล แล้วก็อุ้มร่อนและวางตักไปจนตวันใกล้จะปัจจุสมัยรุ่งสว่าง ครั้นถึงเวลาเช้าก็บรรธมตื่น ด้วยอาการเศร้าหมองทุกขระทมตรมตรอม

จะย้อนกล่าวถึงเหตุเอิกเริกในกรุงดาหานั้น บางคนก็สงกาว่ามีคนบ้าเลือด แต่ก็หาทราบไม่ว่าใคร เห็นแต่จานถ้วยกระทะแตกสลายไปสิ้น บางคนก็สงกาว่าจะเป็นโจรหรือผู้ร้าย แต่เที่ยวค้นหาติดตามก็ไม่พบตัวโจรหรือผู้ร้ายนั้น และดูไปก็ไม่เห็นมีของอไรหายแต่สักสิ่งเดียว เป็นแต่สิ่งของเครื่องใช้แตกสลายพินาศไปเป็นอันมาก คนที่คิดสงกาเป็นอย่างอื่นก็มีเหมือนกัน คือว่าเหตุการณ์อันนั้นอาจเป็นการกระทำของบุคคลผู้ที่มีข้อเจ็บจิตตแค้นใจชรอยว่าก้าหลุอาหยังจะแต่งกับผู้ซึ่งเป็นที่รักของเขา ด้วยต้องเปนการกระทำของคนใกล้ชิด แต่ก็มิรู้ว่าจะเป็นใคร ไม่รู้ว่าคนร้ายนั้นไปทางไหน หาแต่เช้าจนค่ำก็ไม่ได้ตัว

ส่วนพระบุตรก้าหลุอาหยังนั้น พนักงานก็จัดทรงเครื่องประดับประดา คือฉลององค์แพรสรวมสอดเศียร สังวาลย์คล้องคอและวไลทองกร เพิ่มความสวยงามแห่งรูปโฉมขึ้นอีกเป็นอันมาก ฝ่ายอินูนั้น ตำมะหงงก็ใคร่จะแต่งองค์ทรงเครื่องถวาย แต่ตรัสว่า “ช้าก่อนน้า ข้านี้ไม่อยากจะตกแต่งประดับประดาอันใด ถ้าจะเป็นที่ขุ่นเคืองแก่พระราชาและเสนาข้าราชการทั้งหลายก็ขออภัยโทษได้โปรดแก่ตัวข้า”

ครั้นแล้ว ระเด่นอินูก็ขึ้นม้าเผือกแห่ไปรอบพระนคร มีเครื่องดุริยดนตรีมหรศพในกระบวน คือโขน ละคอน พิณพาทย์ต่าง ๆ ส่งเสียงสนั่นอึงมี่มโหฬาร เหตุฉนั้นขบวนแห่นั้นจึงเอิกเริกครึกครื้น เด็กผู้ใหญ่ชายหญิงเฒ่าหนุ่มก็ออกจากบ้านเรือนหมู่บ้านร้านแขวง เพื่อที่จะดูเจ้าบ่าวคู่สมรสนั้น จนแออัดยัดเยียดเบียดเสียดแน่นหนาไปทั่วทุกซอกตรอกทางและถนนหลวง ซึ่งขบวนนั้นผ่านไป ครั้นแห่ไปทางโน้นทางนี้เสร็จแล้วก็เชิญเจ้าบ่าวคู่สมรสนั้นขึ้นประทับเหนืออุสงหงัน๑๗๖ สุวรรณบัลลังก์อันประดับไปด้วยเลื่อมพลอยแก้วมณี

อันระเด่นอินูนั้นแท้จริงก็กำลังอยู่ในพิธีสมรส แต่จิตต์ใจไม่ปล่อยวางจากความคิดถึงคนึงหาปันหยีสะมิหรังเสียเลย เฝ้าแต่ทอดถอนหฤทัยสั้นยาว ถึงแม้ว่าในวงพักตรจะแลเห็นเสมือนว่าชื่นชมปรีดีและวรรณฉวีเปล่งปลั่งผ่องใสก็ตาม แต่ในหฤทัยนั้นยุ่งเหยิงเลื่อนลอย แม้จะประทับนั่งอยู่ดังนั้นก็รู้สึกราวกับว่าลอยคว้างอยู่ในเมฆ


จบ ภาคปฐม

-----------------------------------
๑๗๒ พระเจ้าอาว์
๑๗๓ ต้นฉบับใช้คำ “สังกุตัน” แปลโดยพยัญชนะว่าเปนขอเกี่ยวอยู่
๑๗๔ ต้นฉบับใช้คำ “บุหลัน ปุรนามะ”
๑๗๕ ต้นฉบับใช้คำ “บระสับดะ”
๑๗๖ “อุซงงัน” หรือ “อุซุงงัน” เปนที่นั่งหลังคาและมีคานหาม แต่ในที่นี้เปนบัลลังก์ตั้ง คงมีดาดหลังคาเหมือนกัน ใน พ.ร.น. อิเหนาใช้อุสงหงัน เปนเครื่องหามคือเสลี่ยงหรือวอ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คลิปอิงวรรณคดี "อิเหนา"
สุขใจ ห้องสมุด
เงาฝัน 4 2471 กระทู้ล่าสุด 24 ตุลาคม 2554 06:00:04
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.885 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 พฤศจิกายน 2567 01:59:31