[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:48:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - วงถกเสนอนโยบายคุ้มครองผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นได้ รัฐต้อง 'กล้าหาญ' เริ่มจากมองผู  (อ่าน 130 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 มิถุนายน 2567 03:24:07 »

วงถกเสนอนโยบายคุ้มครองผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นได้ รัฐต้อง 'กล้าหาญ' เริ่มจากมองผู้ลี้ภัยในฐานะ 'มนุษย์'
 


<span>วงถกเสนอนโยบายคุ้มครองผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นได้ รัฐต้อง 'กล้าหาญ' เริ่มจากมองผู้ลี้ภัยในฐานะ 'มนุษย์'</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-06-23T13:33:12+07:00" title="Sunday, June 23, 2024 - 13:33">Sun, 2024-06-23 - 13:33</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: บรรยากาศวงเสวนา "นโยบายไทยต่ออนาคตผู้ลี้ภัย" (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>วงเสวนา ‘นโยบายไทยต่ออนาคตผู้ลี้ภัย’ เชิญชวนผู้ลี้ภัย นักการเมือง และ NGO ร่วมพูดคุยถึงอนาคตนโยบายคุ้มครองผู้ลี้ภัยในประเทศไทย 'กัณวีร์' ชี้การแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในไทย ต้องเริ่มจากการมองผู้ลี้ภัยเป็นมนุษย์เหมือนกับเรา เมื่อเปลี่ยนทัศนคติ นโยบายความมั่นคง และอื่นๆ จะปรับเปลี่ยนตามมา</p><p>
23 มิ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (22 มิ.ย.) เวลา 19.15 น. ที่มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ถ.เจริญนคร กรุงเทพฯ เนื่องในวันผู้ลี้ภัยสากล มูลนิธิเสมสิกขาลัย จัดงานฉายภาพยนตร์ "Myanmar Film Tour 2024" หัวข้อ Homesick หรือ "หวนคิดถึงบ้าน" โดยนอกจากการจัดฉายภาพยนตร์แล้ว มีการแสดงท้องถิ่นของชาวชาติพันธุ์ในเมียนมา งานขายอาหารและสินค้า รวมถึงการเสวนาหัวข้อ "นโยบายไทยต่ออนาคตผู้ลี้ภัย"</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>"Myanmar Film Tour 2024" เมื่อภาพยนตร์เป็นเครื่องมือสื่อสารความรู้สึก-ความเข้าใจผู้ลี้ภัย</li></ul></div><p>สำหรับวงเสวนา "นโยบายไทยต่ออนาคตผู้ลี้ภัย" มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย 'กาลิ' ผู้ลี้ภัยจากเมียนมาที่เข้าร่วมผ่านระบบประชุมทางไกล 'zoom' กัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม และ นัยนา ธนวัฑโฒ มูลนิธิ "Asylum Access Thailand"</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53810055845_154b492c8b_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">วงเสวนา "นโยบายไทยต่ออนาคตผู้ลี้ภัย" (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)</p><h2>ผู้ลี้ภัยต้องการมากที่สุด คือสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย</h2><p>กาลิ เข้ามาในประเทศไทย และต้องติดสถานกักกันคนต่างด้าว สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เป็นระยะเวลาประมาณกว่า 1 เดือน ก่อนได้รับการประกันตัวเพื่อไปต่อประเทศที่ 3 เขาเล่าให้ฟังว่า ตอนที่เขาอยู่ข้างใน ผู้ที่ถูกกักตัวส่วนใหญ่ถูกจับกุม เพราะเข้าเมืองผิดกฎหมาย พวกเขาหนีการประหัตประหารจากความขัดแย้งในประเทศเมียนมา เข้ามาในประเทศไทย และต้องการแสวงหาที่ปลอดภัย เบื้องต้น กาลิ มองว่า คนที่อยู่ในห้องกักประสบปัญหาเรื่องระบบที่มีความเอารัดเอาเปรียบ การติดต่อบุคคลภายนอกเป็นไปอย่างลำบาก กระบวนการขอไปประเทศที่ 3 ซึ่งมีขั้นตอนที่ยาวนาน มีราคาสูง และไม่รู้อนาคตเลยว่าเมื่อไรจะได้ออกไปข้างนอก</p><p>กาลิ เสริมด้วยว่า การพูดเรื่องในห้องกักยังเป็นเรื่องที่ยาก เพราะว่าต้องกังวลเรื่องผลกระทบทางลบกับคนที่ยังอยู่ข้างในห้องกัก และเขามองด้วยว่า สำหรับผู้ลี้ภัยควรสามารถอยู่ในไทยได้โดยไม่ถูกเอาเปรียบ และมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และกระบวนการขอลี้ภัยควรเป็นไปโดยง่ายด้วย&nbsp;</p>
<p>"ถ้าผู้ลี้ภัยสามารถเลือกที่จะอยู่ในประเทศไทยได้โดยที่ไม่ถูกละเมิดสิทธิ หรือถูกเอาเปรียบ บางคนเลือกอยู่ที่นี่ (ไทย) แทนการไปประเทศที่ 3 ผมคิดว่าผู้ลี้ภัยเข้ามาควรได้รับเสรีภาพและมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา กระบวนการขอลี้ภัยควรง่ายสำหรับผู้ลี้ภัย และควรมีพื้นที่ให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้แสดงออกถึงปัญหาโดยปราศจากความกลัว" กาลิ กล่าว</p>
<h2>รัฐบาลต้องกล้าหาญมากพอ ที่จะมองผู้ลี้ภัยเป็น ‘มนุษย์’ เหมือนกัน</h2><p>กัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวว่า รัฐบาลมีการแก้ไขปัญหาพม่า และผู้ลี้ภัยมาตลอด แต่ว่าความจำเป็น ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องมีความกล้าหาญมากกว่าเดิม ประเทศไทยไม่สามารถจะยืนอยู่บนจุดเดิมได้ ตอนนี้เวลาเราพูดเรื่องผู้ลี้ภัย รัฐจะมองว่าผู้ลี้ภัยคือ 'ภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐ' และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีปัญหา เพราะฉะนั้น ประเทศไทยเลยบริหารจัดการผู้ลี้ภัยในเรื่องของความมั่นคงเท่านั้น</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53809860023_66fe6565c1_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">กัณวีร์ สืบแสง (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)</p><p>กัณวีร์ เสนอว่า รัฐบาลต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะมองผู้ลี้ภัยเป็น “มนุษย์” และเมื่อมองผู้ลี้ภัยเป็นมนุษย์แล้วเราจะมองเรื่องพวกเขาเปลี่ยนไป มองว่าพวกเขาควรได้รับสิทธิอะไรบ้างเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างปกติ และจะมองข้ามเรื่องสัญชาติที่แตกต่างกัน</p>
<p>“รัฐไทยต้องมีความกล้าหาญที่จะมองว่าผู้ลี้ภัยคือ ‘มนุษย์’ เหมือนกัน เพราะว่าถ้ามองว่า ‘มนุษย์คือมนุษย์’ การบริหารจัดการเรื่องผู้ลี้ภัยก็จะเปลี่ยนไป เราจะมองว่า เราจะทำยังไงให้มนุษย์คนหนึ่งสามารถใช้ชีวิตได้อย่างพวกเราเหมือนกัน เราจะไม่มองเรื่องสัญชาติ สัญชาติจะไม่มีความสำคัญเรื่องใดๆ ทั้งนั้น สัญชาติจะเป็นแค่สิ่งที่เราอุปโลกน์สร้างขึ้น คนที่อยู่ในประเทศนี้ อยู่ในดินแดนของประเทศนี้มีสิทธิที่จะได้รับสิ่งต่างๆ ที่รัฐสร้างมาให้ คนที่ไม่ใช่คนที่มีสัญชาติเกี่ยวกับเราจะไม่ได้รับ เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมมองความคิดเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ต้องใช้ทัศนคติในเรื่องมนุษยธรรม” กัณวีร์ กล่าว</p>
<h2>กฎหมายเปิดช่องไว้ ขาดแค่มติ ครม.</h2><p>นัยนา ธนวัฑโฒ มูลนิธิ "Asylum Access Thailand” (ATT) กล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์การขอลี้ภัยมีโอกาสน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับผู้ลี้ภัยทั้งโลก แม้ว่าช่วงปี 2564 มีชาวเมียนมาได้ลี้ภัยหลายคน ซึ่งรัฐบาลอนุญาต เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงฉุกเฉินที่มีคนหลั่งไหลเข้ามาเป็นพิเศษ แต่ว่าตอนนี้ 3 ปีผ่านไป รัฐบาลคำนึงถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งอาจจะต้องระวังไม่ให้เห็นภาพว่าประเทศไทย ช่วยเหลือคนออกนอกประเทศ</p><p>นัยนา มองว่า อนาคตสถานการณ์ลี้ภัยไปประเทศที่ 3 ยากขึ้น แล้วเราน่าจะมาดูว่า เราจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่างได้หรือเปล่า เพื่อให้ผู้ลี้ภัยอยู่ได้อย่างปลอดภัยในประเทศไทย ซึ่งจากการศึกษาเป็นรายงาน "ทบทวนกฎหมายและนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้ลี้ภัย" พบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง หรือพระราชกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าว นโยบายการศึกษา นโยบายเรื่องสุขภาพ และอื่นๆ ซึ่งจะเห็นว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำอะไรใหม่ กฎหมายที่มีอยู่เปิดช่องไว้แล้วว่าถ้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติออกมาแล้วว่าจะคุ้มครอง ทำงาน และให้มีพื้นที่อยู่ในเมืองไทย สามารถทำได้เลย ซึ่งต้องฝากนักการเมืองไปดูต่อ</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>NGO เปิดตัวรายงาน 'ทบทวนกฎหมายและนโยบายเพื่อการคุ้มครองผู้ลี้ภัย' (ใหม่) หลัง รปห.เมียนมาปี'64</li></ul></div><p>&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53810055800_81a088b027_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นัยนา ธนวัฑโฒ (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)</p><h2>จำเป็นต้องมีกฎหมายผู้ลี้ภัย</h2><p>ด้านกัณวีร์ ระบุว่า ก่อนมีมติ ครม. พอหรือไม่นั้น เขาอยากถามว่าคนไทยทราบหรือไม่ ไทยมีตัวเลขผู้ลี้ภัยกี่คน เราจะพบว่าประเทศไทยไม่มีตัวเลขผู้ลี้ภัยในไทยอย่างเป็นทางการ หรือไม่ยอมรับการมีอยู่ของผู้ลี้ภัย พอเป็นแบบนี้แล้วจึงยากที่จะให้มติ ครม.แก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยนั่นเอง&nbsp;</p><p>กัณวีร์ มองว่า ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยติดขัดอยู่ตรงตัวกฎหมาย เพราะประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายใดๆ ทั้งนั้นในการดูแลผู้ลี้ภัย เราแค่ปรับใช้กฎหมายข้างเคียง เราแค่มีตัวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย มองกลับไปในจุดที่ว่าทำไมประเทศไทยต้องมีความกล้าหาญ หรือเปลี่ยนแปลงจุดยืนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย คำตอบก็คือประเทศไทยตราบใดที่ยังไม่มีกฎหมายบริหารจัดการผู้ลี้ภัย ปัญหาเหล่านี้จะยังอยู่ในใต้เสื่อ</p><p>กัณวีร์ กล่าวต่อว่า การสร้างกฎหมายใหม่อาจจะใช้เวลานาน แต่ระหว่างที่มีการบัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นมา จะมีการพยายามปรับใช้กฎหมายอื่นๆ ก่อน โดยหากรัฐไทยมีเจตจำนงทางการเมือง และเจตนาในการแก้ไขทางการเมือง เชื่อว่าเราจะสามารถแก้ไขช่องทางในการเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ ให้กับผู้ลี้ภัยก่อนได้ และเมื่อถึงตอนที่กฎหมายคุ้มครองผู้ลี้ภัยออกมาแล้ว เขาเชื่อว่านโยบายการเข้าถึงสวัสดิการ และนโยบายความมั่นคงจะเปลี่ยนไป</p><p>นัยนา ระบุว่า ระหว่างที่เรารอการแก้ไขปัญหา ยังมีผู้ที่ติดอยู่ในห้องกักอีกเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นชาวพม่า หรือประเทศอื่นๆ เธอเสนอว่าระหว่างนี้ควรมีการพัฒนาปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ภายในห้องกักให้อยู่ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทำให้การติดต่อผู้แทนทางกฎหมาย และติดต่อญาติพี่น้องง่ายขึ้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นห่วงมาก เพราะว่าลำบากมากที่เราจะเข้าไปเยี่ยมคนในห้องกัก&nbsp;</p><p>กัณวีร์ กล่าวว่า ครั้งนี้จะไม่ได้เป็นการส่งท้าย แต่เป็นจุดเริ่มต้นว่าคนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นผู้ลี้ภัยว่า เราต้องมองผู้ลี้ภัยว่าเป็นมนุษย์ ต่อให้เขาพานายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ชายแดนอีกกี่ครั้ง นายกฯ ก็จะปฏิเสธ ไม่ได้เป็นเพราะว่าเขาเป็นฝ่ายค้าน แต่เพราะว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่องผู้ลี้ภัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องจุดยืนทางการทูต รัฐบาลจะให้ความสำคัญเรื่องนี้หลังๆ ดังนั้น อยากให้ทุกคนที่ทำงานเรื่องนี้ยืนให้มั่น เดินด้วยกัน ไม่งั้นจะไม่สามารถขยับเขยื้อนเรื่องนี้ได้เลย &nbsp;</p>
<p>"วันนี้เราไม่ได้มาเฉลิมฉลองวันผู้ลี้ภัยโลก แต่เรามาตระหนักรู้ถึงความเข้มแข็งของผู้ลี้ภัยทั่วโลก เรามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศบวกผู้ลี้ภัยทั้งหมด 120 ล้านคน ณ ปัจจุบันนี้ เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะมาตระหนักรู้ถึงความกล้าหาญในการที่จะเผชิญสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาปิดบังเรื่องเกี่ยวกับมนุษยธรรม วันนี้อยากให้ทุกคนแสดงความกล้าหาญต่อไป และอย่ายอมเรื่องสิทธิมนุษยชน อย่าลืมสิ่งที่จะกดหรือทำให้สิทธิมนุษยชน หรืองานด้านมนุษยธรรมลดถอยลงไป" กัณวีร์ กล่าว</p>
<p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53809948249_7c4ec1415c_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">บรรยากาศการฉายรายงานข่าวเชิงลึกของ "Decode" ว่าด้วยเรื่องผู้ลี้ภัยใหม่หลังมีกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหาร (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)</p><p>หลังจากจบงานเสวนา มีการฉายภาพยนตร์จากเมียนมาอีก 8 เรื่อง โดยมีเรื่องที่น่าสนใจ เช่น "I am Rohinya" การ์ตูนอนิเมชันว่าด้วยเรื่องราวของหญิงชาวโรฮีนจาที่ต้องหนีความโหดร้ายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยกองทัพพม่าเมื่อปี 2560 จนเธอต้องย้ายไปอาศัยที่ค่ายผู้ลี้ภัย ‘ค็อกบาซา’ ในบังคลาเทศ ก่อนที่ต่อมา เธอจะตั้งปณิธานว่าในการใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ตัวเธอได้พบเจอมาทั้งหมด เพื่อช่วยเหลือและเป็นแรงบันดาลใจให้หญิงชาวโรฮีนจาคนอื่นๆ ต่อไป</p><p>"Chasing Home" เป็นการ์ตูนว่าด้วยเรื่องราวหลังเกิดสงครามกลางเมืองจากการทำรัฐประหารของกองทัพพม่า เมื่อปี 2564 ผู้ลี้ภัยหญิงในรัฐกะเหรี่ยง ต้องหนีออกจากหมู่บ้าน เพราะว่าที่อยู่ของเธอถูกกองทัพพม่าใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดจนต้องเข้าไปอยู่อาศัยในป่า เธอพยายามดูแลครอบครัวและเอาชีวิตรอด</p><p>"รอวัน" (Hours of Ours) สารคดีว่าด้วยชาวซูดาน ที่ต้องหนีมาที่ประเทศไทย เนื่องด้วยสงครามกลางเมืองในประเทศซูดาน และรอวันที่พวกเขาจะได้ไปที่ประเทศที่ 3 หรือสารคดีสั้นเรื่อง "My Note to Spring" ว่าด้วยเรื่องราวของคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้าไปเป็นทหารกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) ซึ่งตั้งขึ้นมาหลังการทำรัฐประหารเมียนมา เมื่อปี 2564 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการปกป้องประชาชนจากความโหดร้ายของกองทัพพม่า โดยตัวเอกของเรื่องเป็นชาวพม่าที่อยู่ในภูมิภาคสะไกน์ ตอนกลางของเมียนมา ที่ได้เข้าไปเป็นหน่วยประดิษฐ์และผลิตกับระเบิด เพื่อสกัดกั้นการเดินทัพของกองทัพพม่า และกองทัพพลเรือนฝั่งกองทัพพม่านามว่า ‘ผิ่วซอที’</p><p>ทั้งนี้ งานฉายภาพยนตร์ Myanmar Film Tour 2024 จะมีการฉายภาพยนตร์ที่ จ.ระนอง ในวันที่ 30 มิ.ย. 2567 และจะมีการส่งหนังไปฉายในต่างประเทศด้วยที่ไต้หวัน และอินโดนีเซีย&nbsp;
&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ผู้ลี้ภัhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81" hreflang="th">วันผู้ลี้ภัยโลhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87" hreflang="th">กัณวีร์ สืบแสhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">พรรคเป็นธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%91%E0%B9%82%E0%B8%92" hreflang="th">นัยนา ธนวัฑโhttp://prachatai.com/category/asylum-access-thailand" hreflang="th">Asylum Access Thailand[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">เมียนมhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/06/109680
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.206 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 11 ธันวาคม 2567 23:01:12