[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 00:03:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: น้ำพริก ภูมิปัญญารสเผ็ดคู่เมืองสยาม  (อ่าน 120 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 126.0.0.0 Chrome 126.0.0.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2567 12:53:00 »



น้ำพริก ภูมิปัญญารสเผ็ดคู่เมืองสยาม

ที่มา- มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 กรกฎาคม 2567
คอลัมน์ - โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2567


พริกกลายเป็นสมุนไพรข่าวดังทั่วโลกจากกรณีที่สำนักงานอาหารแห่งชาติเดนมาร์ก ได้ออกประกาศไม่อนุญาตให้วางจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต้มยำไก่ที่มีความเผ็ดจัด จำนวน 3 รายการจากเกาหลีใต้ ด้วยเหตุผลว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายเฉียบพลันแก่ผู้บริโภค หลังจากพบว่าผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวมีปริมาณสารแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารรสเผ็ดจากพริกในระดับสีแดง (หน่วยความเผ็ด 40,000-250,000 สโกวิลล์) ถึงสีแดงเข้ม (250,000-1,000,000 สโกวิลล์) ที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอ่อนแอ

ทั้งนี้ อย.เดนมาร์กต้องการตัดไฟแต่ต้นลมเพราะเกิดกระแสการแข่งขันกันกินเผ็ดในหมู่เด็กเยาวชนบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ด้วยคำถามว่า “คุณกินบะหมี่เผ็ดจัดได้ไหม?” ซึ่งการท้าทายนี้ ผู้เข้าร่วมต้องกินบะหมี่ที่เผ็ดจัด ซึ่งมีปริมาณสารแคปไซซิน สูงเกินขนาดความปลอดภัย ช่วงเวลาเดียวกันนั้นเพื่อนบ้านอย่างเช่นเยอรมนี มีเด็กหลายคนที่ต้องเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากได้รับพิษแคปไซซินจากการกินมันฝรั่งทอดที่มีพริกเผ็ดจัด

แต่คนไทยหลายคนที่ได้ฟังข่าวพริกอันตราย คงขำๆ เพราะในเมืองไทยยังไม่เคยมีผลิตภัณฑ์อาหารยี่ห้อใดที่ใส่สารแคปไซซินโดนแบนยกเค้าแบบในเมืองฝรั่ง เพราะรสเผ็ดจัดจ้านเป็นรสยอดนิยมของอาหารไทยมาแต่ไหนแต่ไร ดังมีหลักฐานอยู่ใน “จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรฤสยาม” ที่กล่าวถึง “น้ำจิ้มของสยาม” รสเผ็ดเมนูโปรดสมัยอยุธยาว่า “พวกเขาชอบบริโภคน้ำจิ้มเหลวชนิดหนึ่งคล้ายกับมัสตาร์ด ประกอบด้วยกุ้งเคยเน่าเพราะหมักไม่ได้ที่เรียกว่า กะปิ (capi)”

แม้ลาลูแบร์ไม่ได้บอกชื่อน้ำจิ้มดังกล่าว แต่คนไทยยุคนี้ก็เดาได้ทันทีว่า น้ำจิ้มรสมัสตาร์ดนี้ คือ “น้ำพริก” นั่นเอง

มัสตาร์ด คือ เครื่องเทศชนิดหนึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงรสเผ็ดของฝรั่ง ไร้สารแคปไซซิน ได้จากเมล็ดของพืชล้มลุก ในสกุล Brassica วงศ์ Crucif. แต่รสเผ็ดตระกูลพริกที่ชาวไทยและคนเมืองร้อนนิยมบริโภคเป็นพืชในวงศ์ Solanaceae สกุล Capsicum

ในเวลานั้นราชทูตฝรั่งเศสอาจยังไม่รู้จักพริก แต่ในสมัยอยุธยาตอนต้นไทยเรามี “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” มีตำรับยาหลายขนานที่มี “พริก” เป็นส่วนประกอบสำคัญช่วยปรับแก้ “ไฟธาตุอันเย็นอันหย่อนให้เสมอเป็นปกติ ให้มีกำลัง แก้ลมเป็นก้อนและลมอันเสียดแทงชายโครง ตะโพก สันหลัง” และยังช่วยแก้ “ไฟธาตุเผาผลาญอาหารหย่อน” เพื่อมิให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง

มีปุจฉาว่าเหตุใดอาหารไทยทุกภาคจึงมีพริกและรสเผ็ดเป็นอัตลักษณ์

ข้อวิสัชนาตามหลักการแพทย์อายุรเวทคือ “ฉัฐรส : รส 6” เกิดประจำฤดูกาล 6 ในที่นี้ “กฎรส : รสเผ็ด” เกิดประจำฤดูร้อน ซึ่งมีคุณสมบัติของธาตุไฟกับธาตุลมผสมกัน ทั้งไฟและลมเหมือนกันตรงที่เป็นธาตุมวลเบาทั้งคู่ แต่ต่างกันที่ธาตุไฟมีคุณสมบัติร้อน ส่วนธาตุลมมีคุณสมบัติเย็น นี่คือคุณสมบัติพิเศษของ “รสเผ็ด” คือ มีทั้งร้อนเย็นผสมกันและมีมวลเบา ซึ่งตอบโจทย์ได้ว่า สมุนไพรหรือเครื่องเทศรสเผ็ดร้อน เช่น “พริก” ย่อมเกิดในดินแดนที่มีภูมิอากาศร้อน จึงเหมาะกับธาตุของคนเมืองร้อน เช่น คนไทย ด้วยประการฉะนี้

ดังนั้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใด “น้ำพริก” ปลาทูไทย จึงเป็นเมนูอาหารเผ็ดรสเด็ดประจำชาติไทยตลอดกาล

โบราณว่า “พริกเผ็ดใครให้เผ็ด ฉันใด” แต่แท้จริง พริกเผ็ดเองบ่ได้ดอกเพราะเคล็ดลับความเผ็ดบันลือโลกอยู่ที่ “สารแคปไซซิน” เผ็ดกำลังดีมีประโยชน์มากกว่าที่ฝรั่งกลัว

คนทั่วไปมักไม่รู้ว่า พริกแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ พริกเผ็ด มีสารแคปไซซินอยด์ (Capsaicinoid) กับพริกหวาน มีสารแคปซินอยด์ (Capsinoid) หรือเรียกง่ายๆ ว่าพริกร้อนกับพริกเย็น

ตามหลักการแพทย์อายุรเวทที่กล่าวว่า พริกมีฤทธิ์ร้อนของธาตุไฟ และฤทธิ์เย็นของธาตุลมนั่นเอง แต่สรรพคุณเด่นของพริกอยู่ที่สารสำคัญแคปไซซินอยด์มากกว่าแคปซินอยด์ ไม่ว่าจะใช้เป็นยาและอาหารสารแคปไซซินอยด์รสเผ็ดพบมากในส่วนที่เป็นไส้ของผลพริก ทนความร้อนสูง แม้จะถูกผัด ทอด ปิ้งย่างต้มยำทำแกงด้วยความร้อนสูงแค่ไหนก็ไม่หายเผ็ด

สรรพคุณของพริกในสถานการณ์สุขภาพยุคใหม่ คือสารแคปไซซินในพริกสามารถกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน บรรเทาอาการเจ็บปวดและลดการสร้างฮอร์โมนที่ทำให้เครียด ช่วยให้เราอารมณ์ดี สดชื่น ทำให้ความดันโลหิตลดลง รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากขึ้น นี่เป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่กินพริกเผ็ดๆ ช่วยให้อารมณ์ดี แต่กินน้ำตาลหวานๆ กลับทำให้อารมณ์ร้าย ก้าวร้าว

จะเหมาได้ไหมว่า ฉายาสยามเมืองยิ้ม มาจากการที่คนไทยชอบกินพริกนั่นเอง

ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่าสารแคปไซซินและสารต่างๆ ในพริก เช่น วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็ก ฯลฯ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นปกติ

ยกตัวอย่างการทดลองกินพริกชนิดเผ็ดที่อุดมด้วยสารแคปไซซินอยด์ เช่น พริกขี้หนู (ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens L.) เพื่อควบคุมคอเลสเตอรอล

มีงานทดลองทางคลินิกให้ผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงกินพริกขี้หนูป่นแห้งวันละ 5 กรัม ร่วมกับอาหารปกติเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่กินพริก ผลจากการทดลองพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่กินพริกมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) คงที่ แต่มีระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่กินพริกเลย มีระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดสูงขึ้น

การศึกษานี้พบว่าการกินพริกช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีให้คงที่และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีได้ และยังพบว่าพริกช่วยให้การก่อตัวของคราบ (Plaque) ในหลอดเลือดลดลง ป้องกันการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวด้วย

นอกจากนี้ สารแคปไซซินอยด์ในพริกยังลดการสะสมเนื้อเยื่อไขมัน (Fat Tissue)ในไตและบริเวณอัณฑะ ช่วยให้ท่านชายลดความเสี่ยงเป็นโรคต่อมลูกหมากโต และยังมีรายงานว่าพริกช่วยบำรุงสมอง มีการค้นพบโดยเฉพาะในพริกขี้หนูมีธาตุเหล็กและสารนิโคติน ที่ช่วยให้การหมุนเวียนของเลือดในสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปรับปรุงการรับรู้ของระบบประสาทและสมอง รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมด้วย

การกินอาหารพร้อมพริกในปริมาณที่เหมาะสม วันละประมาณ 5 กรัม พริกในน้ำพริกสารพัดสูตรของคนไทย 4 ภาค และปรุงรสไม่เผ็ดรุนแรงจนกระเพาะอาหารแสบร้อน จะช่วยให้คนไทยห่างไกลจากโรคหัวใจและโรคทางสมองแล้ว ยังช่วยให้อารมณ์ดี มีอายุยืน

และรักษาอัตลักษณ์สยามเมืองยิ้มไว้ได้ตราบเท่าที่คนไทยยังกินน้ำพริกกันอยู่ •



... อ่านต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichonweekly.com/column/article_782431

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.437 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 23:07:34