[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 พฤศจิกายน 2567 10:01:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มีขันติคือให้พรแก่ตัวเอง  (อ่าน 8105 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:01:25 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae2"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva2"><embed type="application/x-mplayer2" src="http://dc143.4shared.com/img/106977180/61add437/dlink__2Fdownload_2F106977180_2F61add437_3Ftsid_3D20100609-070009-ee74932e/preview.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://dc143.4shared.com/img/106977180/61add437/dlink__2Fdownload_2F106977180_2F61add437_3Ftsid_3D20100609-070009-ee74932e/preview.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://dc143.4shared.com/img/106977180/61add437/dlink__2Fdownload_2F106977180_2F61add437_3Ftsid_3D20100609-070009-ee74932e/preview.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc2"></td></tr></table>



ถ่ายภาพประกอบเนื้อหาโดยข้าพเจ้า(บางครั้ง)ขอรับ



...............เสียงธรรม ชุด แสงเทียน โดยอาจารย์ วศิน อินทสระ................



..............................มีขันติ คือ ให้พรแก่ตัวเองโดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก..........................




วัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี



..........................คำสอนข้อแรกที่หลวงพ่อชาสอน คือ เราต้องอดทน...........................



นับจากวันแรก ที่อาจารย์ไปถึงวัดหนองป่าพงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรได้ 3 เดือนก็พยายามแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมทีแรกเพื่อนก็พาไปดูวัดที่ภาคใต้ 3 - 4 วัดเป็นวัดที่มีชาวต่างชาติไปปฏิบัติกันแต่อาจารย์ดูแล้วก็ยังไม่รู้สึกตกลงใจหลังจากนั้นก็มีคนแนะนำให้ไปจังหวัด อุบลราชธานีให้ไปหาหลวงพ่อชา ตอนนั้นก็มีพระชาวอินเดียที่พูดภาษา ไทยได้พาอาจารย์ไป นั่งรถทัวร์จากกรุงเทพ ฯ ไปถึงจังหวัดอุบลราชธานี แล้วก็ยืนงง ๆ อยู่ว่าจะไปวัดหนองป่าพงยังไง
พอดีมีคนขับรถแท็กซี่เข้ามาถามว่าจะไปไหนพอเขา ทราบว่าจะไปวัดหนองป่าพง เขาก็บอกให้รอสักครู่เมื่อเขาทำธุระเสร็จ แล้วจะกลับมารับ
ในที่สุดก็นั่งรถแท็กซี่คันนั้นไปวัดหนองป่าพงระหว่าง ทางก่อนถึงวัดเป็นเวลาเช้าตรู่มองเห็นพระป่า 30 - 40 รูป บิณฑบาตเดินเรียงเป็นแถวยาว
รู้สึกประทับใจมากพอถึงวัด แท็กซี่เขาไม่เก็บสตางค์ค่ารถอาจารย์ก็นึกดีใจและขอบใจเขาที่ช่วยมาส่งเมื่อเดินเข้าไปในวัดเป็นป่าร่มรื่น
เกิดความรู้สึกสงบวิเวกเป็นพิเศษเหมือน เข้าไปอยู่อีกโลกหนึ่งเดินเข้าไปเรื่อย ๆ แม่ชี 5 - 6 คน ที่กำลังทำความสะอาดวัดอยู่เห็นอาจารย์เดินมาก็หลบเข้าข้างทางแล้วนั่งลงทำความเคารพอย่างนอบน้อม ตอนนั้นอาจารย์รู้สึกเขินอายเพราะเป็นครั้งแรกที่เดินอยู่ตามถนนแล้ว มีโยมนั่งลงไหว้แบบนี้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:49:57 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:09:49 »




ที่วัดหนองป่าพง อาจารย์ได้พบกับพระฝรั่งชื่อ เขม ธัมโม เป็นรูปแรก ท่านก็เข้ามาช่วยแนะนำเมื่อฉันจังหันเสร็จแล้วท่าน สุเมโธ และพระฝรั่งอีก 4 - 5 รูป ก็พาอาจารย์ไปหาหลวงพ่อชาที่กุฏิเมื่อ บอกความประสงค์ของอาจารย์ที่จะมาขอปฏิบัติที่วัดหนองป่าพง ท่านซักถามว่ามาจากไหน
มายังไง แล้วก็ถามชื่อ อาจารย์ตอบท่านว่า ชื่อ ชิบาฮาชิ ชื่อมิตซูโอะแต่ตามธรรมเนียมญี่ปุ่นจะใช้นามสกุลเป็นชื่อที่แนะนำตัวเองหลวงพ่อ ชา ท่านก็จำเทียบเคียงเป็นภาษาไทยว่า สี่บาทห้าสิบนับ จากวันนั้นท่านก็เรียกอาจารย์สั้น ๆ ว่า สี่บาทห้า มาตลอดหลวงพ่อ บอกว่าอยู่ที่นี่ลำบาก ต้องอดทนนะอาจารย์ก็ตอบท่านว่าอยู่ได้ครับ ทนได้ครับรู้สึกมั่นใจว่าอดทนได้จริง ๆ เพราะการฝึกที่ ท้าทายทั้งทางกายทางใจก็สมัครใจทำมาแล้วตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนเคยเป็นนักปีนเขาแบกเต๊นท์และเสบียงอาหารหนัก 15 กิโล 20 กิโล เดินข้ามเขาลูกหนึ่งไปอีกลูกหนึ่งผ่านยอดเขานี้ไปอีกยอดเขาหนึ่งเรียก ว่าเดินขึ้นเดินลงภูเขาตลอดวันมีทั้งการเดินระยะสั้น ๆ 2 - 3 วัน ไปจนถึง 7 วันก็มีตั้งแต่อายุ 20 อาจารย์ก็ออกเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวแบบ นี้อยู่เสมอ ทัศนศึกษาไปเรื่อย ๆ ในหลายๆ ประเทศ ทั้งอินเดีย เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน เยอรมัน ฯลฯ เดินทางไปประเทศไหนก็ถือหลัก ว่าจะทดลองดูเป็นประสบการณ์ว่าคนจนที่สุดของเขากินอยู่อย่างไร เราก็เอาอย่างเขานี่แหละกินง่าย นอนง่าย เรียกว่ากินอยู่แบบประหยัดสุด ๆเมื่อไปกรุงเดลลี ประเทศอินเดียซึ่งเป็นเมืองที่ ค่าพักโรงแรมแพงอาจารย์ก็อาศัยนอนค้างคืนตามสถานีรถไฟหรือเมื่อครั้งเดินทางไปประเทศเนปาลไปพักกับพวกชาวเขา เขากินมันฝรั่งต้มจิ้มน้ำพริกหรือบางทีก็กินข้าวโพดคั่วแห้ง ๆ เราก็กินตามเขาเจ้าของบ้านเขาก็พอใจที่ต้อนรับชาวต่างชาติซึ่งมากิน อยู่เหมือนเขาการกินอยู่อย่างง่าย ๆ เป็นการสร้างความสบายใจให้แก่เจ้าของบ้านและสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันดังนั้นเมื่อจะมาอยู่ ที่วัดหนองป่าพงอาจารย์จึงมั่นใจว่าอยู่ได้แน่นอน
เมื่อมาอยู่ที่วัดหนองป่าพงใหม่ ๆอาจารย์พยายามจับหลักธรรมที่หลวงพ่อชาสอนท่านว่า โลก แปลว่า มืดการที่พวกเราพากันพัฒนาโลกให้เจริญ
จึงเป็นการทำให้มืดขึ้น ๆ คือหมายถึงในด้านจิตใจคนเรากลับแย่ลงๆ สับสนวุ่นวายเป้าหมายการปฏิบัติธรรมคือ อโลก หมายถึง ความสว่าง
คือเพื่อกำจัดความมืดทำให้จิตใจสว่างแนวทางการ ปฏิบัติธรรมก็ต้องอาศัยความอดทนเป็นหลักให้พากันกินน้อย นอนน้อย พูดน้อยปฏิบัติให้มาก นั่งสมาธิให้มากซึ่งทุกข้อก็ต้องมี ขันติ คือ อดทนทั้งนั้นจึงจะทำได้การปฏิบัติจึงอยู่ที่ อดได้ ทนได้ ใคร ทนได้ก็ปฏิบัติได้ทนไม่ได้ก็ปฏิบัติไม่ได้นั่นแหละเป็นทุกข์กันมากขึ้นทุกวัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:06:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:17:28 »







....................................คาถาบทแรกจากโอวาทปาฏิโมกข์..............................





หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรด ปัญจวัคคีย์แล้ว ในเวลาอีก 7 เดือนต่อมาตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันมาฆบูชาพระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากยอดเขาคิชฌกูฏมายังวัด เวฬุวัน ปรากฏว่ามีพระอรหันต์จำนวน1,250 องค์ มาประชุมกันอยู่แล้ว ณ วัดเวฬุวัน
โดยมิได้นัดหมาย พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ ดีในการที่จะทรงแสดงคำสอนที่เป็นหลักหรือเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์เพื่อให้ภิกษุได้ยึดเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนาเมื่อพระพุทธเจ้าประทับต่อ หน้าพระอรหันต์1,250 องค์แล้ว คาถาบทแรกที่พระองค์ทรงแสดงคือ ขนฺ ตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติ คือความอดทน อดกลั้นเป็นธรรมเครื่อง เผากิเลสอย่างยิ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงคุณธรรม คือขันติ ความอดทนอดกลั้นว่าเป็นเครื่องอุดหนุนให้บุคคลบรรลุถึงเป้าหมายและ เป็นเหตุที่ทำให้ละบาปอกุศลได้ความอดทนเป็นสิ่งที่สำคัญในการ ดำเนินชีวิตทุกขั้นตอนกล่าวได้ว่าเพียงเพื่อที่จะมีชีวิตรอดอยู่ในโลกได้ทุกชีวิตต้องอาศัยความอดทนเป็นพื้นฐาน โลกนี้มีประชากร ทั้งสิ้นประมาณ 6,500 ล้านคน 20 % ของจำนวนประชากรโลกเป็นกลุ่มคนยากจน1 ใน 20 ของประชากรในกลุ่มยากจนนี้ซึ่งมีจำนวนถึงประมาณ 65 ล้านคนหรือเกือบเท่ากับประชากรชาวไทยทั้งประเทศเป็นคนยากจนถึงขั้นอดอยากขาดอาหารจนเกือบถึงตายในขณะเดียวกัน 15 % ของประชากรโลก เป็นคนอ้วนในจำนวนประชากรโลก 6,500 ล้านคน 75 % มีบ้านอาศัยอยู่
มีอาหารเก็บสำรองไว้ 25 % ไม่มีบ้านอยู่ 17 % ไม่มีน้ำสะอาดดื่มในจำนวนประชากรโลก 6,500 ล้านคนมีเพียง 8 % เท่านั้นที่มีเงินในธนาคารมีเงินในกระเป๋า มีเศษสตางค์เหลืออยู่ที่บ้านนอกจากนั้น ก็ไม่ใช่เรียกว่ากว่า 90 % คือคนไม่มีเงินออมเงินไม่พอใช้จ่าย มีหนี้สินเมื่อมองดูด้านการศึกษา ปรากฏว่าในจำนวนประชากร โลก 6,500 ล้านคนมีเพียง 1 % เท่านั้นที่จบปริญญาตรีและ 2 % เท่านั้นที่มีคอมพิวเตอร์ใช้แต่มี 14 % ที่ไม่รู้หนังสือ
ในเรื่องสิทธิเสรีภาพความปลอดภัยในชีวิตเขากล่าวว่าถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ถูกรังแกหรือถูกจับ กุมคุมขังคุณอยู่ในกลุ่มของผู้โชคดีจำนวน 50 %ถ้าคุณคือผู้หนึ่งที่ ไม่ต้องกลัวอันตรายในชีวิตไม่ต้องกลัวเหยียบกับระเบิด ถูกยิงโดนก่อการร้ายหรือถูกจับไปข่มขืน
คุณคือผู้โชคดีกว่าคนอีก 20 % บนโลกนี้จากสถิติแสดงให้เห็นว่าแค่เพียงการดำรงชีวิตให้อยู่รอดในโลกนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชีวิต
อยู่อย่างมีคุณภาพ มีการพัฒนาก็ต้องใช้ความอดทนในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เป็นเด็กแรก เกิดไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:06:43 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:24:44 »




เด็กเล็ก ๆ ต้องมีความอดทนชีวิตจึงจะพัฒนาได้เริ่มตั้งแต่การฝึกกิน ฝึกถ่ายฝึกเข้านอนให้เป็นเวลาไปจนถึงการค่อย ๆ ฝึกให้มีระเบียบวินัยในชีวิตรู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสม เวลาเรียน เวลาเล่นดูทีวี เล่นเกมส์ ช่วยงานบ้านฝึกให้รู้จักรอคอย อดออม ฯลฯ การ ฝึกเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ คือฝึกให้รู้จักอดได้ ทนได้ รอได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ชีวิตจะพัฒนาได้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขก็ยิ่งต้องใช้ความอดทนในทุก ๆ ด้าน นับแต่การกินอยู่การเรียน การทำงานความสัมพันธ์กับผู้อื่น การใช้ชีวิตในครอบครัวในสังคมไปจนถึงการพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจซึ่งในปัจจุบันนักจิตวิทยาจะให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องวุฒิภาวะทางอารมณ์เพราะเชื่อว่าคนเราจะประสบ ความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตได้จะต้องมีความฉลาดทางอารมณ์
หมายถึงความสามารถรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นมีสติรู้จัก ควบคุมอารมณ์ของตนเองรู้จักรอคอย มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสามารถ จัดการกับความไม่สบายใจต่าง ๆ ได้และมีชีวิตอยู่ด้วยความหวังการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักของพุทธศาสนาก็คือการอบรมจิต อบรมสติปัญญาให้มีความรอบรู้เท่าทันอารมณ์และสามารถใช้สติปัญญาจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างไรก็ตามการพัฒนาจิต และสติปัญญา
ตามแนวทางของพุทธศาสนามีเป้าหมายสูงสุดที่การบรรลุ มรรคผลนิพพานตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน โอวาทปาฏิโมกข์ต่อจาก ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา ว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธาพระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นบรมธรรมนิพพาน คือ บรมธรรม หมายความว่า เป็นธรรมอันเป็นเป้าหมาย
สุงสุด ซึ่งหมายถึงความสุขสูงสุดที่มนุษย์และเทวดาสามารถบรรลุได้ดังนั้นจึงสรุปใจความสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์ตอนแรกได้ว่า พระนิพพาน
เป็นจุดมุ่ง หมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาและขันติเป็นคุณธรรมอันเป็นเหตุที่จะนำเราไปสู่จุดหมายนั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:07:13 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:33:13 »




เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสถึงเป้าหมายของพระพุทธศาสนาและ คุณธรรมอันเป็นเหตุที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายไว้แล้วพระองค์จึงตรัสถึง วิธีปฏิบัติตามหลัก 3 ประการหรือที่เรียกว่า ไตรสิกขา คือ...................................................

1.สพฺพปาปสฺส อกรณํ การรักษาศีล การไม่ทำบาปทั้งปวง ทั้งกาย วาจา ใจ คือ การรักษาศีล ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ตั้งเจตนาถูกต้อง ที่จะละจากบาปอกุศลทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227หัวใจ ของศีลคือ การไม่เบียดเบียน

2.กุสลสฺสูปสมฺปทา สมาธิ การทำ กุศลให้ถึงพร้อมในทางโลกคือ การทำความดี บำเพ็ญกุศลแต่ในระดับ โลกุตระคือทำจิตให้เป็นสัมมาสมาธิปราศจากกามารมณ์ และอกุศลจิตเป็น จิตสะอาด ตั้งมั่น พร้อมแก่การงานจิตที่เป็นสัมมาสมาธิจะทำทุกอย่าง ก็เป็นกุศลพร้อมแก่การพิจารณาธรรมสัมมาสมาธิจึงเป็น บ่อเกิดของปัญญา

3.สจิตฺตปริโยทปนํ ปัญญาการทำจิตให้ บริสุทธิ์เป็นจิตที่อยู่เหนือความชั่วความดีบาป บุญ ทุกข์ สุข ซึ่งยังเป็นโลกีย์การทำจิตให้บริสุทธิ์ในที่นี้คือ การเจริญวิปัสสนา อบรมปัญญาจนเข้าสู่อริยมรรค อริยผลและพระนิพพานเป็นโลกุตรจิตธรรมะแต่ละข้อในไตรสิกขานี้ ต่างก็มีความสัมพันธ์กันศีล เป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิและสมาธิเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาเมื่อเกิด ปัญญาขั้นสมบูรณ์ คือ สมบูรณ์พร้อมด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาหรือเรียกว่า เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 สมบูรณ์ บรรลุมรรคผลนิพพานหลักปฏิบัติซึ่ง เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาจึงอยู่ที่ละความชั่ว ทำความดี ชำระจิตให้สะอาดหรือศีล สมาธิ ปัญญา
อดได้ ทนได้ ทำใจได้ ขันติ เป็นภาษาบาลี หมายถึง การรักษาภาวะปกติของตนไว้ได้ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วย สิ่งที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจก็ตาม
ในภาษาไทย ขันติ หมายถึงความอดทนอด เป็นอาการที่อยากจะได้ แต่ไม่ได้ทน เป็นอาการที่ไม่อยากได้ แต่ต้องได้ใน ภาษาจีนและญี่ปุ่นตัวอักษร
คันจิ ที่มีความหมายว่าอดทนเป็นอักษรที่ เกิดจากการนำคำสองคำมารวมกันคำหนึ่งคือ มีด อีกคำหนึ่งคือ หัวใจซึ่งความหมายของศัพท์คำใหม่ที่ได้ก็คือ ทำใจได้แม้มีใครเอามีดมาจ่อที่ หัวใจก็ทำใจได้คือ มีความอดทน อดกลั้น ไม่หวั่นไหวอดทน ต่อเหตุที่มากระทบ 4 อย่างในชีวิตประจำวันของคนเรา
จำเป็นต้อง ฝึกให้มีความอดทนต่อเหตุที่มากระทบซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 4 อย่างคือ.................................................

1.อดทนต่อความลำบากตรากตรำคืออดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศไม่ เอาเหตุแห่งดินฟ้าอากาศมาเป็นข้ออ้างที่จะทอดทิ้งการงาน

2.อดทนต่อทุกขเวทนาคือการอดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วยความไม่สบายกาย

3.อดทนต่อความเจ็บใจคืออดทนต่อเหตุแห่งความไม่พอใจที่ มากระทบ เช่น คำพูดที่ไม่ชอบใจความบีบคั้นจากผู้บังคับบัญชาอดทนต่อ ความโกรธ หงุดหงิดขุ่นเคืองใจ เป็นต้น

4.อดทนต่ออำนาจกิเลสคือ อดทนต่อสิ่งยั่วยุอันน่าเพลิดเพลินใจอดทนต่อสิ่งที่อยากทำแต่ไม่สมควรทำ เช่นการใช้ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย การเที่ยวกลางคืนเล่นการพนัน สูบบุหรี่ กินเหล้าเมายา เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:08:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:35:34 »




มีบางคนที่นำเอาคำว่า ขันติมาใช้อย่างผิดความหมายคือ เอามาเป็นข้องอ้างที่จะปล่อยปละละเลยไม่ยอมทำในสิ่งที่ถูกที่ควรเช่น บางคนขี้เกียจทำมาหากิน งอมืองอเท้าตกอยู่ในสภาพใดก็ทนอยู่อย่างนั้น ไม่ขวนขวายแล้วบอกว่า ตนมีความอดทนต่อความยากลำบากอย่างนี้เป็นการ เข้าใจผิด
ตีความหมายของขันติผิดไปขันติ ความอดทนอดกลั้นที่ พระพุทธเจ้าทรงสอน คือ..................................................

อดทน ในสิ่งที่ควรอดทนด้วยความเต็มใจและพอใจ

อดทน ในการละ หลีกเลี่ยงจากความชั่ว

อดทน ทำความดีต่อไปในทุกสถานการณ์

อดทน รักษาใจให้ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

ลักษณะที่สำคัญของ ขันติ คือ ตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้นจะต้องรักษาความเป็นปกติของตนไว้ได้ใจ ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:08:44 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:39:29 »





......................................ทศบารมีสำเร็จได้เพราะขันติบารมี..................................



พระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้พระองค์ทรงเสวย พระชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศบารมีหรือ บารมี 10 ประการก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 ประการนี้จนเต็มบริบูรณ์.............................................

1.ทาน การเสียสละ

2.ศีล การรักษากายวาจาให้เป็นปกติ

3.เนกขัมมะ การออกจากกามคุณ 5

4.ปัญญา การรู้ตามความเป็นจริง

5.วิริยะ ความเพียรไม่ทอดทิ้งหน้าที่

6.ขันติ ความอดทน อดกลั้น

7.สัจจะความจริงใจ พูดจริง ทำจริง

8.อธิษฐานการตัดสินใจเด็ดเดี่ยว

9.เมตตา การเกื้อกูลให้ผู้อื่นเป็นสุข

10.อุเบกขา การวางใจเฉยเที่ยงธรรม

พระจันทกุมารจันทกุมารชาดก เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์เสวยพระ ชาติเป็นพระจันทกุมารทรงบำเพ็ญขันติบารมีเต็มบริบูรณ์ในชาตินี้คือ ทรงอดทน อดกลั้นต่อความโกรธด้วยใจที่ปกติ ไม่หวั่นไหวแม้กำลังจะถูก นำตัวไปฆ่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ทนได้ยากยิ่ง


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:10:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:48:39 »





พระจันทกุมารเป็นโอรสของเจ้าผู้ครองแคว้น ๆ หนึ่งแคว้นนี้มีเสนาบดีซึ่งเป็นคนทุศีลโลภเห็นแก่อามิสสินบน ไม่มีความเที่ยงธรรมเวลาจะพิจารณาคดีความถ้าใครให้สินบนก็จะว่าความให้คนนั้นชนะเมื่อ พระจันทกุมารทรงเจริญวัยพอที่จะเป็นรัชทายาทพระราชบิดาโปรดให้มา ช่วยงานแผ่นดิน
ดูแลทุกข์สุขของราษฎรวันหนึ่งทรงพบชาวบ้านที่มีคดี ความตัวเองเป็นฝ่ายถูก แต่ไม่มีเงินให้เสนาบดีซึ่งถูกฝ่ายคู่คดีติด สินบนเอาไว้เสนาบดีเลยว่าความให้ชายคนนั้นแพ้หมดเนื้อหมดตัวชาย คนนี้เสียใจเดินร้องไห้ออกมาจากศาลมาพบกับพระจันทกุมาร ตรัสถามว่าเรื่องราวเป็นอย่างไรนายคนนี้ก็เล่าให้ฟัง
ท่านทรงรื้อค้นคดีนี้ขึ้นมาสืบสวนสอบสวนตามความเป็นจริงทำให้ชายคนนี้ได้รับความยุติธรรมพระเจ้าแผ่นดินทรงเห็นพระโอรสปฏิบัติภารกิจเที่ยงธรรมเป็นที่สรรเสริญของประชาชนจึงทรงแต่งตั้งให้พระจันทกุมารขึ้นมาดูแล คดีความทั้งหลายแทนเสนาบดีเสนาบดีก็คับแค้นใจเพราะเท่ากับไปทุบถุงเงินถุงทองของเขาทำให้เขาขาดรายได้ก้อนงามเสนาบดีคอยโอกาส วันหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงพระสุบินว่าได้ทิพยสมบัติ พอตื่นบรรทมก็ตรัสเล่าให้เสนาบดีฟังว่าทิพยสมบัติวิเศษทำ ให้พระทัยปีติสุขอย่างไรเสนาบดีเห็นเป็นโอกาสที่จะแก้แค้น ก็ตอบว่าท่าน มีบุญญาภินิหารสามารถได้ลิ้มรสทิพยสมบัติขณะยังมีชีวิตเป็นบุคคลธรรมดา เพื่อรักษาบุญญาภินิหารนี้ไว้ขอให้พระองค์ทำพิธีบูชายัญ สิ่งที่ใช้เพื่อบูชาก็คือเลือดของพระโอรส พระมเหสีช้างแก้ว ม้าแก้ว คือ ของคู่บ้านคู่เมืองทั้งหลายต้องเอามาบูชายัญให้หมดรวมทั้งประชาชนและสัตว์ต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมากพระเจ้าแผ่นดินหูเบาเชื่อเสนาบดีโปรดให้สร้างโรงพิธีขึ้นขึ้นเพื่อบูชายัญ เสนาบดีทูลว่าคนแรกที่ต้องบูชายัญคือพระจันทกุมารพิธีนี้จึงจะศักดิ์สิทธิ์และสัมฤทธิ์ผลถึงวันพิธีก็เตรียมเอาพระจันทกุมารมัดขึ้นกองไฟเผาบูชาแล้วตัวเสนาบดีจะเป็นผู้เอาดาบเข้าไปฟันคอรองเอาเลือดมาถวายพระเจ้าแผ่นดินเพื่อใช้ประกอบพิธีพระมเหสีของพระจันทกุมารเสียใจที่เสนาบดีเป็นคนไม่ดีจะมาแกล้งฆ่าสวามีของตัว ก็ภาวนาอธิษฐานขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้พระจันทกุมารรอดพ้นจากวิบัติครั้งนี้และขอให้เสนาบดีซึ่งเป็นคนผิดคนชั่วได้รับโทษทัณฑ์ใจของพระมเหสีทรงมุ่งมั่นแน่วแน่ ผนวกกับคุณความดีของพระจันทกุมาร ทำให้อาสนะของพระอินทร์เกิดร้อนไปหมด
พระอินทร์เล็งทิพยเนตรดูก็ทราบเหตุการณ์จึงเหาะไปในอากาศถือค้อนที่เป็นไฟลุกแดงเข้าไปฟันปะรำพิธีพระอินทร์ตรัสว่าพระเจ้าแผ่นดินว่าไม่ใคร่ครวญ
คนเราจะได้ทิพยสมบัติ ก็ต้องอยู่ในศีลในธรรมมาทำอย่างนี้ได้อย่างไรพระอินทร์สอนให้พระเจ้าแผ่นดินครองพระองค์ปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมให้เลิกล้มพิธีนี้ให้หมดประชาชนซึ่งทนเสนาบดีไม่ได้อยู่แล้วเมื่อเห็นเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นจึงช่วยกันรุมจับตัวเสนาบดีประชาทัณฑ์จนกระทั่งตายไป
แล้วพากันจะไปจับพระเจ้าแผ่นดินประชาทัณฑ์ด้วยแต่ พระจันทกุมารเสด็จไปกั้นเอาไว้ตรัสว่า เป็นพระราชบิดาไม่ว่าจะอย่างไรท่านก็กตัญญูรู้คุณต่อพระราชบิดา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:17:33 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 16:54:08 »




ไม่ยอมให้ประชาชนเข้ามาทำร้ายถ้าจะทำร้ายก็ต้องทำร้ายท่านเสียก่อนประชาชนก็เลยไม่ทำร้ายพระเจ้าแผ่นดินแต่มีประชามติถอดถอนออกจากพระเจ้าแผ่นดินและยกพระจันทกุมารขึ้นเป็นพระเจ้า แผ่นดินปกครองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยความยุติธรรมพระจันทกุมารตอนที่เสนาบดีทูลพระเจ้าแผ่นดินและเอาท่านไปเผาเพื่อฆ่าบูชายัญท่านก็ไม่มีความหวาดหวั่น ท่านไม่ได้ต่อสู้หรือโต้เถียงเพราะท่านเห็นว่า เมื่อเสนาบดีกับท่านมีความขัดแย้งกัน
แม้ว่าท่านทำสิ่งที่ถูกทำสิ่งที่ควรเพื่อช่วยประชาชนกิเลสของคนชั่วก็ย่อมเห็นไปว่าท่านไปรังแกเขาท่านยอมว่า เมื่อท่านเหมือนไปขัดขวางทางเขา
เขาก็ต้องโต้ตอบท่านเป็นธรรมดาท่านจึงอดทนอดกลั้นไม่โกรธตอบยอมรับภัยที่จะเกิดขึ้นหากบุญกุศลของท่านมีพลังก็คงจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์เองท่านจึงไม่โต้แย้งหรือขัดขืนอะไรเลยท่านยอมให้คนจับเอาท่านไปอยู่ในปะรำพิธีและจุดไฟเผาท่านเพื่อบูชายัญ
ท่านทำสมาธิภาวนาไม่ปล่อยใจให้หวั่นไหว มีขันติธรรมสงบอยู่จนกระทั่งพระอินทร์เหาะลงมาอาจารย์เข้า ใจว่าเรื่องจันทกุมารชาดกนี้น่าจะเป็นที่มาของคำว่าอดทนในภาษาจีน และญี่ปุ่นนั่นเองคือการเอาตัวอักษรคันจิที่แปลว่ามีดมารวมกับอักษร คันจิที่แปลว่าหัวใจในความหมายว่าแม้มีใครเอามีดมาจ่อที่หัวใจ
ก็ทำใจได้ อดทน อดกลั้น ไม่หวั่นไหวเหมือนกับพระจันทกุมารที่แม้มีใคร เอามีดจะมาตัดคอเพื่อเอาเลือดไปบูชายัญท่านก็รักษาใจดี มีเมตตาไว้ได้ด้วยขันติธรรม




........................................THE END..........................................



........................พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์ มิสุโอะ คเวสโก.......................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มิถุนายน 2553 17:16:10 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 10 มิถุนายน 2553 10:10:08 »





อนุโมทนาสาธุธรรม, เสียงธรรมค่ะ ชอบมากๆ
สาธุ สาธุ สาธุ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มิถุนายน 2553 10:17:45 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น: dhamma ขันติ ธรรมมะ เตือนใจ บางครั้ง เพียร ได้ยิน ขณะจิต วิมุติ ปัญญา วิริยะ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ธรรมข้อคิดจากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม"
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
เงาฝัน 9 8549 กระทู้ล่าสุด 28 พฤษภาคม 2553 12:06:22
โดย sometime
เรียงความเรื่องแม่.. บอกรักแม่ก่อนเรียง
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 5 8956 กระทู้ล่าสุด 11 สิงหาคม 2553 12:07:31
โดย หมีงงในพงหญ้า
ชาติก่อน ชาติหน้า มีจริงหรือ?
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 5 4514 กระทู้ล่าสุด 14 ตุลาคม 2553 18:40:08
โดย เงาฝัน
หลักปฏิบัติของลูกที่พึงกระทำต่อพ่อแม่(มาตา)
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
時々๛कभी कभी๛ 1 3117 กระทู้ล่าสุด 26 มีนาคม 2554 11:41:59
โดย เงาฝัน
ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เจ้าทึ่ม 14 13046 กระทู้ล่าสุด 19 กรกฎาคม 2554 16:04:30
โดย เจ้าทึ่ม
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 กันยายน 2567 00:24:51