ปัญหา คนป่วยหนักที่มีความห่วงหน้าห่วงหลังในเวลาใกล้ตายเราควรจะสอนเขาอย่างไร ?พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบอุบาสก ผู้มีปัญญาที่กำลังป่วย เป็นทุกข์หลัก เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการว่า ท่านจงเบาใจเถิดว่า ท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า....ในพระธรรม....ในพระสงฆ์ มีศีลอันเป็นที่รักของพระอริยเจ้า
“ครั้นปลอบ....ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล้ว....พึงกล่าวกรรมอย่างนี้ว่า ถ้าแม้ท่านห่วงใยในมารดาบิดาก็จักตาย แม้ไม่ห่วงใยในมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในบุตรภริยาเสีย...
“พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านก็เช่นเดียวกับเรา มีความตายเป็นธรรมดา ถึงแม้ท่านจะห่วงใยในบุตรและภริยา ท่านก็จักตาย ถ้าแม้ไม่ห่วงใย....ก็จักตายเหมือนกัน ขอท่านจงละความห่วงใยในบุตรภริยาเสียเถิด....
“ถ้าเขากล่าวว่า เรายังมีความห่วงใยในกามคุณ ๕ อยู่....พึงกล่าวกับเขาอย่างนี้ว่า กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่า ประณีตกว่ากามของมนุษย์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชเถิด....พวกเทพชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่าเทพชั้นจาตุมหาราช พวกเทพชั้นยามายังดีกว่าเทพชั้นดาวดึงส์ พวกเทพชั้นดุสิตยังดีกว่า เทพชั้นยามา พวกเทพชั้นนิมมานรดียังดีกว่าเทพชั้นดุสิต พวกเทพชั้นนิมมิตวสวัตตียังดีกว่าเทพชั้นนิมมานรดี พรหมโลกยังดีกว่า เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืนยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิตจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด
“ ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาภาพไม่กล่าวว่า มีความแตกต่างอะไรกันเลยระหว่างอุบาสกผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วตั้งร้อยปี คือพ้นด้วยวิมุติเหมือนกัน....”
คิลายนสูตร มหา. สํ. (๑๖๒๘-๑๖๓๓ )
ตบ. ๑๙ : ๕๑๔-๕๑๖ ตท. ๑๙ : ๔๖๒-๔๖๕
ตอ. K.S. ๕ : ๓๔๙-๓๕๑