[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:24:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "โรคเซ็งเรื้อรัง" สังเกตดีๆ คนในบ้านคุณเป็นหรือเปล่า?  (อ่าน 1622 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 08:01:17 »

"โรคเซ็งเรื้อรัง" สังเกตดีๆ คนในบ้านคุณเป็นหรือเปล่า?
Life & Family - Manager Online
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2553 15:18 น.
 
 
 
 
วันนี้ดูเหมือนไปที่ไหนๆ ก็จะพบผู้คนที่ยิ้มแห้งๆ และบอกว่า "เซ็งว่ะ" โดยเป็นที่รู้กันว่า คำว่า "เซ็ง" กินขอบเขตไปถึงเรื่องอะไรบ้าง แต่ในความหมายของโรคเซ็งเรื้อรังที่มีการพูดถึงมากในวงการแพทย์ขณะนี้คือ กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง หรือ Chronic fatigue syndrome (CFS) ซึ่งในที่นี้ขอเรียกว่า "โรคเซ็งเรื้อรัง" เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย

ในเรื่องนี้ นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ เปิดเผยว่า ผู้ที่ป่วยด้วยกลุ่มอาการ "เซ็งเรื้อรัง" ที่ว่านี้ จะมีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยอ่อนอยู่เป็นระยะเวลานานอาจเป็นเดือน หลายเดือน หรือเป็นปี ภายหลังจากที่ต้องพบกับภาวะเครียดอย่างรุนแรง หรือภายหลังการเจ็บป่วย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ท้องเดินอย่างแรง เป็นต้น อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงของคนปกติมักจะหายไปภายหลังการได้พักหรือนอนหลับให้เต็มที่สัก 2-3 วัน แต่ผู้ที่เป็นโรคเซ็งเรื้อรัง ไม่ว่าจะพักผ่อนขนาดไหนหรือบำรุงร่างกายมากเพียงใดก็ยังมีอาการอ่อนเพลียอย่างมากอยู่ โดยที่ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติใดๆ ได้

โรคเซ็งเรื้อรัง หรือ CFS นี้ มีผู้รายงานในชื่อของอาการอื่นมานานกว่า 1 ศตวรรษ โดยในปี ค.ศ. 1860 นพ.จอร์จ เบียร์ด เรียกชื่อกลุ่มโรคนี้ว่า Neurasthenia โดยเชื่อว่าเป็นโรคประสาทชนิดหนึ่งที่มีอาการอ่อนเปลี้ย เหนื่อยง่ายโดยไม่พบสาเหตุ แพทย์อีกหลายคนวินิจฉัยผู้มีอาการเหล่านี้ว่าเป็นโรคโลหิตจางบ้าง หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ บางครั้งเลยไปถึงคิดว่าเป็นโรคเชื้อราแคนดิดาทั้งตัวก็มี

ต่อเมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญขึ้น ในกลางทศวรรษที่ 1980 โรคนี้ถูกขนานนามว่าเป็น "Chronic EBV" โดยเชื่อว่าเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอ็บสไตน์ บาร์ (Epstein-Barr) แต่ในปัจจุบันทฤษฎีนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เพราะเราสามารถตรวจพบระดับแอนติบอดีของไวรัสอีบีวีที่เพิ่มขึ้นทั้งในผู้มีอาการและคนปกติ และในทางกลับกัน ผู้ที่มีอาการกลับไม่พบระดับของไวรัสอีบีวี แอนติบอดี หรือไม่เคยติดเชื้อไวรัสอีบีวีเลย

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเซ็งเรื้อรัง มักจะมีอาการอย่างรวดเร็ว เริ่มต้นโดยอาการปวดศีรษะ เจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และขาดสมาธิ เป็นอาการที่คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่คงจะอยู่นานกว่า ส่วนใหญ่จะมีอาการภายหลังการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ

 
   
ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
 
 
ขณะที่บางรายอาจเกิดขึ้นหลังจากมีอาการของโมโนนิวคลีโอลิส (Mononucleosis) หรือโรคจูบ (Kissing disease) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้พละกำลังของวัยรุ่นถดถอยลงไปชั่วระยะหนึ่ง ในบางรายอาการจะค่อยเป็นค่อยไปโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยบางรายบอกว่า เริ่มมีอาการหลังจากพบกับความเครียดมากๆ

น่าแปลกที่ว่า โรคเซ็งเรื้อรังหรือ CFS นี้จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-4 เท่า อย่างไรก็ตาม แพทย์ทั่วไปยังคิดถึงโรคนี้น้อยกว่าที่ควร เนื่องจากการวินิจฉัยค่อนข้างยาก เพราะมีอาการที่อาจเป็นได้หลายโรค แพทย์ต้องวินิจฉัยแยกโรคทางกายที่มีอาการอ่อนเพลียคล้ายๆ กันไปก่อน เช่น Lupus หรือ Multiple Sclerosis ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่า โรคเซ็งเรื้อรังอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของโรคที่เป็นติดต่อกันโดยมีภาวะอ่อนเพลียเป็นอาการสำคัญ

โรคเซ็งเรื้อรังยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะลงไปได้ มีการให้ยาต้านไวรัส ยาต้านอารมณ์เศร้า ยาเพิ่มภูมคุ้มกัน รวมทั้งการให้อิมมูโนโกลบินในขนาดสูงๆ บางรายใช้ยาสงบประสาทพวก Benzodiazepine ร่วมด้วย เพื่อลดอาการวิตกกังวลและช่วยให้หลับ นอกจากนี้ ยังใช้ยาเพื่อรักษาอาการ เช่น ยาระงับปวดหรือยาแก้โรคภูมิแพ้

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำว่า ผู้ที่มีอาการเรื้อรังควรพยายามรักษาสุขภาพของตนเอง กินอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายพอสมควรที่จะไม่ก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลียอีก ผู้ป่วยควรรู้จักที่จะดูแลตนเองให้เหมาะทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพราะความเครียดจะทำให้มีอาการมากขึ้น

ในยุคที่ชีวิตแวดล้อมด้วยเรื่อง "ชวนเซ็ง" อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเช่นนี้ การรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และชวนคนรอบตัวหันไปมองเรื่องดีๆ ที่ให้กำลังใจ ประกอบกับศึกษาหลักความเป็นธรรมดาของโลก น่าจะเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในการป้องกันตนเองและคนรอบตัวให้ปลอดภัยจากโรคที่ไม่มียารักษา แต่มีอานุภาพบั่นทอนสุขภาพได้อย่างรุนแรง

เหนือขึ้นไปกว่านั้น การคิดและทำในสิ่งที่ดีบนหลักของการไม่เบียดเบียน และให้ความเคารพต่อเพื่อนร่วมสังคมอยู่เสมอ จะช่วยสร้างภูมิต้านทานการแพร่ระบาดของ "โรคเซ็งเรื้อรัง" ให้แก่สังคมไทยของเราทุกคน
 
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.254 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤศจิกายน 2567 14:25:27