[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:56:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปลงสังขารในงาน "ล้างป่าช้า"มหากุศล  (อ่าน 2614 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 19:43:05 »


สวมเสื้อผ้า ปะแป้งศพ บริจาคเงิน ก่อนปิดป่าช้า

 
 
 
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นับตั้งแต่วินาทีแรกที่มนุษย์ลืมตาขึ้นมาบนผืนแผ่นดินไทย ก็ถือได้ว่าคนผู้นั้นมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันกับประชากรทั้งหมดทั่วประเทศ ครั้นจวบจนเมื่อสิ้นหายใจหรือตายไป สิทธิต่างๆที่พึงมีเมื่อตอนยังมีลมหายใจก็มลายสิ้นไปด้วย
 
จากที่เคยมีตัวตนบนโลกใบนี้ตอนมีชีวิตอยู่ แต่ว่าเมื่อตายไปก็กลับกลายเป็นไร้สิทธิ์ ไร้เสียงและบางคนถึงกับไร้ค่าหากตอนมีชีวิตอยู่ไม่ได้ทำความดีไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำ เหลือเพียงร่างที่ไร้วิญญาณรอวันย่อยสลายกลายเป็นผงธุลี
 
แต่ก็มีอีกหลายชีวิตที่โชคดีเพราะมีลูกหลานและคนที่อยู่เบื้องหลังคอยทำพิธีศพให้หลังความตาย โดยมุ่งหวังจะให้ดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติในภพในภูมิที่ดี แต่สำหรับบางศพไม่มีแม้แต่ญาติพี่น้องมาเหลียวแล ต้องตายไปอย่างลำพังและอยู่อย่างโดดเดี่ยวในหลุมศพ ไม่มีแม้แต่เสียงพระสวดส่งดวงวิญญาณหรือผลบุญที่ญาติทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
 
จะเกิดอะไรขึ้น หากมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ใช่ญาติพี่น้อง ไม่ใช่คนเคยรู้จักมักคุ้นหรืออาจจะไม่เคยเห็นหน้าค่าตาคนตายมาก่อน แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับร่วมแรงร่วมใจกัน ด้วยจิตศรัทธาอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือดวงวิญญาณเหล่านั้นให้เดินทางไปสู่สุคติในภพหน้า อย่างหมดห่วง....
 
 
ไตฮงกง องค์ริเริ่มเก็บศพ
 
นานมาแล้วที่ดินแดนอันไกลโพ้นหลังกำแพงเมืองจีน มีตำนานเล่ากันมาว่าครั้งหนึ่งเมืองจีนได้เกิดน้ำท่วมและโรคระบาด ทำให้ชาวบ้านจำนวนมากล้มตายเกลื่อนกลาด แต่มีพระภิกษุรูปหนึ่งนามว่าไตฮงกง ท่านไม่รังเกียจศพเหล่านั้น ได้เกณฑ์ญาติโยมที่ยังมีชีวิตอยู่ ออกตระเวนเก็บศพมาทำประกอบพิธีให้ ทำให้คนที่สืบทอดมารุ่นหลังนับถือจริยธรรมของท่านที่ดีงาม คือเรื่องของการเก็บศพ จนทำให้เกิดพิธีล้างป่าช้าเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับศพที่ไม่มีญาติ เพื่อให้ไปสู่สุคติ
 
ต่อมาเมื่อชาวจีนได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามายังสยามประเทศ ก็ได้นำเอาความเชื่อเหล่านั้นติดตัวมาด้วย จึงได้ก่อตั้งเป็นสมาคมและมูลนิธิต่างๆที่ไม่แสวงหากำไร อาทิ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ที่นับถือเทพเจ้าไตฮงกง หรืออย่างเช่น "สหพันธ์การกุศล เต็กก่า แห่งประเทศไทย" ที่นับถือเทพเจ้าจี้กง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ดำเนินงานช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่อง
 
ตลอดระยะเวลาที่เปิดดำเนินการมาหลายสิบปีสหพันธ์ฯเต็กก่า มีสาขามากกว่า 79 สาขา แม้จะมีชื่อลงท้ายที่แตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายในการดำเนินการเหมือนกัน คือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่หวังผลตอบแทน แม้กระทั่งคนที่ตายไปแล้วก็ยังได้รับการเหลียวแลด้วยพิธีกรรมล้างป่าช้าที่จะจัดขึ้นทุกปี กระจายไปตามภาคต่างๆของประเทศไทย ไม่เว้นแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว
 
"งวน" หนึ่งในกรรมการเต็กก่า จีจินเกาะ บอกเล่าเท้าความถึงที่มาพิธีล้างป่าช้าให้ฟังว่า
 
"การล้างป่าช้าครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นนานมาแล้วที่ จ.ชลบุรี ตอนนั้นมีเหตุการณ์โรคระบาดเกิดขึ้นมีคนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ก็เลยมีการตั้งบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์เคยทำพิธีล้างป่าช้าที่เมืองจีนก็เอาพิธีนี้มาทำในเมืองไทย โดยใช้คนจีนที่อพยพมาจากเมืองจีนและพอมีความรู้เรื่องนี้เป็นคนประกอบพิธี เพราะฉะนั้นลักษณะของพิธีจะมีการผสมผสานกันระหว่างไทยกับจีน สังเกตในงานนี้เราจะมีหลายอย่างมีทั้งสวดแบบทางจีนมหายาน พออีกวันก็จะมีการเก็บกระดูกเข้ามาก็จะมีการสวดอภิธรรมแบบไทยก็ผสมกันไป เพราะส่วนใหญ่คนที่อยู่ในเต็กก่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน "
 
งวน เล่าต่อว่าอย่างครั้งนี้ที่มาทำพิธีล้างป่าช้าที่วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร ก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นนักในเมืองหลวง เนื่องจากส่วนใหญ่จะทำพิธีล้างป่าช้ากันตามต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่ แต่สาเหตุที่มาทำพิธีที่นี่เป็นเพราะทางวัดฯมีโครงการจะบูรณะพระอารามและจัดระเบียบพื้นที่ใช้สอยของวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและทางสำนักโบราณคดี กรมศิลปากรมีความประสงค์จะบูรณะเก๋งจีน ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ให้กลับมาสวยสง่าอีกครั้ง จึงต้องจัดการล้างป่าช้าที่อยู่ติดกับด้านข้างของเก๋งจีน ทำให้ศพที่เคยนอนสงบนิ่งอยู่ในที่ของตนต้องถูกนำมาประกอบพิธีเพื่อส่งดวงวิญญาณให้ไปสู่สุคติ
 
พิธีจีนบวกไทย ร่วมใจล้างป่าช้า
 
เป็นที่แน่นอนว่า แนวความคิดของการล้างป่าช้ามาจากเมืองจีน เพราะฉะนั้นในส่วนของพิธีกรรมย่อมจะหลีกเลี่ยงพิธีแบบจีนไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทวดาฟ้าดิน การประทับทรงของเทพเจ้า การติดฮู้หรือยันต์ หรือการสวดมนต์แบบจีน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่หลงเหลือความเป็นไทยอยู่เลย เพราะอันที่จริงแล้วผู้ที่ประกอบพิธีก็คือลูกหลานไทยเชื้อสายมังกรที่ทั้งชีวิตได้ซึมซับทั้งความเป็นไทยและความเป็นจีนเข้าไว้ด้วยกัน
 
"การล้างป่าช้าครั้งนี้ที่วัดยานนาวาจะมีกำหนดทั้งสิ้น 7 วัน ซึ่งจะมีการเปิดป่าช้าวันเดียวแล้วปิดเลยเพราะศพมีน้อย แต่หากไปตามสุสานที่ต่างจังหวัดจะมีศพเยอะ ส่วนใหญ่ก็หลายวันขึ้น บางทีต้องเปิดป่าช้าถึง 20 วันเลยทีเดียว ส่วนพิธีหลักๆก็จะเริ่มจากการจัดให้มีการประทับทรง ต้อนรับพระอาจารย์(จี้กง)เพื่อประทานการชี้แจงเหตุผลในการเก็บศพ(ใบฎีกาสวรรค์) หลังจากนั้นจะเริ่มสร้างปะรำพิธี โรงอาหาร ห้องครัว ห้องเก็บกระดูก พร้อมๆกับตระเตรียมของที่จะใช้ในงานเก็บศพ หลังจากนั้นก็จะเป็นพิธีต้อนรับเทวรูปและกระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ที่ได้อัญเชิญมาจากสมาคมฯ และก็จะมีพิธีตั้งแท่นบวงสรวงบิดา มารดาแห่งฟ้าดิน(โคมไฟฟ้าดิน เจ้าที่) แล้วจึงจะเป็นพิธีเปิดป่าช้า เริ่มขุดศพ" กิตติพงศ์ ฉัตรสว่างวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ สมาคมเต็กก่า จีฮุย กล่าว
 
พอมาถึงขั้นตอนของการเปิดป่าช้า จะมีร่างที่ประทับทรงของพระอาจารย์(จี้กง)เป็นผู้เปิดหลุมปฐมฤกษ์ เมื่อได้แล้วจึงพากันแบกโลงศพออกมาให้ผู้ที่เข้าร่วมล้างป่าช้าที่รออยู่ข้างนอก ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่อยู่ภายในจะต้องเป็นศพ แต่เนื่องจากที่วัดยานนาวานั้นป่าช้าที่นี่ถือได้ว่าเก่าแก่หลายสิบปี ศพที่อยู่ภายในโลงจึงมีสภาพเน่าเปื่อยเหลือแต่เพียงโครงกระดูก
 
"ศพที่เน่าเปื่อยหรือย่อยสลายแล้ว เราเรียกกันติดปากว่าศพแห้งหรือทองแท่ง เนื่องจากกระดูกมีลักษณะเป็นแท่งๆ จึงเรียกชื่อให้เป็นมงคล พวกนี้เวลานำออกมาจากป่าช้าแล้วจะทำความสะอาดโดยใช้แปรงหรือผ้าขัดถูเบาๆพอให้สะอาด สำหรับส่วนที่เป็นเนื้อก็ย่อยสลายไปหมดแล้ว ส่วนศพที่เพิ่งตายหรือยังไม่เน่าเปื่อยจะเรียกว่า ของสด หรือ มะขาม เวลาทำความสะอาดก็จะต้องใช้มือรูดๆไปตามกระดูกเพื่อให้เนื้อหลุดออกมา แล้วก็ทำความสะอาดกระดูก
 
บางคนจิตอ่อนระหว่างเปิดป่าก็อาจจะมีวิญญาณมาเข้า เราก็ต้องพามาหาคนทรง เอาน้ำมนต์พรมก็ออก แต่ถ้าหากยังดื้อดึงไม่ยอมออกก็ต้องเชิญอาจารย์มาประทับทรงทำพิธี เผายันต์ คนจิตอ่อนส่วนมากผู้หญิง แต่ก็มีบางครั้งที่มีเจ้าหน้าที่บางคนก็ไปพูดล้อเลียน คืนนั้นก็นอนไม่หลับทั้งคืน ส่วนมากจะมีแบบที่เราไปเก็บของสด แล้วเอามาเผา บางคนเขาถ่มน้ำลายซึ่งเป็นข้อห้าม เพราะจะเป็นการแสดงความรังเกียจ ถ้าพูดว่าเหม็น สามวันสามคืนก็จะเหม็นติดตัวไปเลย ไม่รู้ว่ากลิ่นมาจากไหน ให้พูดว่าหอมแทน คือโอเคมันมีกลิ่นอยู่ แต่เราต้องพูดว่าหอม แต่ถ้าทางที่ดีไม่ควรพูดอะไรเลย ออกไปจากพิธีแล้วค่อยพูดก็ได้ ไม่เป็นไร
 
สำหรับบางคนที่ชอบทำของสด เพราะเขาบอกกลับไปแล้วถูกหวยได้เงินสดก็มี หรือบางทีอุปสรรคที่เขาเจอมันก็หายไป การงานก็ก้าวหน้า มันเป็นพิธีกรรมที่เมื่อคนหมู่มากมารวมกัน มาช่วยกัน ตั้งใจจริง ผลมันก็เกิดขึ้น อันนี้วิเคราะห์ส่วนตัวนะ" ธำรง หนึ่งในสมาชิกสมาพันธ์ เต็กก่า ให้ข้อสังเกต
 
หลังจากทำความสะอาดกระดูกเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาจัดเรียงให้เป็นรูปร่าง แต่ถ้าหากศพไหนที่ไม่เน่าเปื่อยคือมีลักษณะแห้งไปเลย ก็จะไม่ต้องขัดกระดูกเพียงแค่ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดร่างเท่านั้น แล้วจึงหาเสื้อผ้าและแป้งมาประพรมร่างกาย ร่างพวกนี้หากเป็นชายจะเรียกว่าเทพบุตร ส่วนหญิงจะเป็นนางฟ้า หากเป็นเด็กชาย,หญิงจะเรียกว่ากุมารทอง และกุมารีตามลำดับ ถ้าป่าช้าไหนมีศพครบทั้ง 4 ประเภทนี้ถือว่าสมบูรณ์ที่สุด
 
พอหลังจากเสร็จพิธีกรรมทั้งหมดแล้ว ช่วงบ่ายจะทำการก็ปิดป่า และเสี่ยงทายถามดวงวิญญาณว่าครบหรือไม่ หลังจากนั้นก็จะเผาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้แก่ดวงวิญญาณ และอัญเชิญดวงวิญญาณใส่ถุงผ้า โดยใช้มือกอบ 3 รอบ กอบแรกหยิบส่วนมือและแขนก่อน ตามด้วยลำตัวแล้วถึงจะเป็นส่วนหัว เมื่อเสร็จแล้วก็ใช้ด้ายผูกเป็นเครื่องหมายว่าเป็นหญิงหรือชาย โดยการมีร่มอันหนึ่งกางให้แล้วแห่รอบๆพิธี เสร็จแล้วก็เอาไปไว้ที่สถิตดวงวิญญาณ
 
หลังจากที่ประกอบพิธีกรรมและขั้นตอนต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึงพิธีทอดผ้าบังสุกุลและประกอบพิธีฌาปนกิจ ณ เมรุ แล้วจึงนำอัฐิที่ได้ไปบรรจุไว้ในที่ๆเตรียมไว้ ก็เป็นอันเสร็จพิธีหลักๆของการล้างป่าช้า แต่อาจจะมีกิจกรรมบางอย่างที่ในแต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนศพและเจ้าภาพที่จัด
 
ล้างป่าช้ามหากุศล-สุดยอดการสะเดาะเคราะห์
 
"คนจีนจะมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่า ถ้าทำผ้าป่ากองหนึ่ง ก็ไม่เท่าทำกฐินกองหนึ่ง ทำกฐินนี่ก็ยังไม่เท่ากับมาร่วมงานล้างป่าช้า เปรียบว่าเป็นงานมหากุศล เพราะว่าหนึ่งพวกนี้ไม่ใช่ญาติเรา เราก็ไม่รังเกียจ นี่เป็นศพที่แห้งแล้ว บางที่ตายใหม่ๆเค้าก็ขุดขึ้นมาเละๆ เราก็มารูด มีกลิ่นเหม็นเราก็ไม่รังเกียจ มาพรมน้ำหอม แล้วก็ทำหลายๆศพพร้อมกัน ถือได้ว่าเป็นการทำบุญมหากุศล
 
เมื่อมีพิธีล้างป่าช้า ก็จะมีการกินเจควบคู่กันไป เป็นเรื่องของพิธีกรรม เพราะฉะนั้นคนที่ทำพิธีจะต้องสะอาด ถือศีล กินเจ ต้องมีความบริสุทธิ์ และเมื่อคนที่มาร่วมพิธีกันเยอะๆแล้วมาร่วมกันถือศีล กินเจ ละเว้นเนื้อสัตว์เพื่ออุทิศให้สัมภเวสี รวมไปถึงวิญญาณที่เราเชิญมาให้ได้ไปอยู่ในภพในภูมิที่ดีขึ้น" งวน คนเดิมกล่าว
 
นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า "สมมติว่าคนที่โดนศพเขาจะถือว่าเป็นการทำมหากุศล นั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่ง อย่างปกติคนเราจะทำอะไรนี่สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนก็คือผลตอบแทน ย่อมหวังผลตอบแทนก่อน แต่ที่ทำให้ศพมันไม่มีอะไรที่จะมาตอบแทน เราต้องทำให้เค้าด้วยใจบริสุทธิ์ คนมียศเค้าก็ให้ละยศ คนหยิ่งก็ให้ละความหยิ่ง คนถือตัวก็ให้ละความถือตัวเข้ามาร่วมสมานสามัคคีกัน เพราะทำคนเดียวไม่ได้ สองคนก็ไม่ได้ ต้องทำหลายๆคน
 
พอมีหลายๆคนตรงจุดนี้จึงเป็นการรวมพลังให้เกิดศรัทธาที่เป็นบริสุทธิ์ขึ้นมา เรียกว่าการไม่หวังอานิสงส์ตอบแทน เมื่อเกิดศรัทธาไม่หวังผลตอบแทนแล้ว ผลบุญหรือว่าสิ่งที่ทำจึงเป็นความบริสุทธิ์เพราะเป็นการทำเพื่อผู้อื่น ทำให้สาธารณชน ทำให้แก่วัด ทำให้แก่ผู้ตาย ปกติคนจีนเค้าบอกว่าช่วยชีวิตคนดีกว่าสร้างวัด แต่ถ้าช่วยคนตายถือว่าดีกว่าช่วยชีวิตคนหรือสร้างวัด เพราะเป็นมหากุศลที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นที่สุดของการสะเดาะเคราะห์อีกด้วย"
 
ด้านหลวงพี่รูปหนึ่งของวัดยานนาวายังให้ความเห็นว่า ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างบุญสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่แล้ว การได้มาร่วมงานล้างป่าช้ายังทำให้ได้เห็นแก่นแท้ของชีวิตอีกด้วย
 
"การปลงความตายไม่เที่ยงนี่ก็ส่วนหนึ่ง แต่การที่ไปสัมผัสว่าความตายมันไม่เที่ยงนี่ตรงตัวเลย เพราะในงานล้างป่าช้าเราจะเห็นคนเป็นต้องมานั่งคุ้ยกระดูก ล้างกระดูก มาทำความสะอาดส่วนต่างๆของร่างๆหนึ่งที่ไม่มีลมหายใจแล้ว ตรงนี้สามารถเจริญสติภาวนาได้ดีที่สุด ว่าเราเกิดมามีแค่ร่างกาย พอเติบใหญ่ต่างคนต่างก็พยายามหาวัตถุสิ่งของมาปรนเปรอความสุข ให้ความสำคัญกับเงินทองซึ่งเป็นของนอกกาย แต่พอตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ มาเท่าไหร่ ก็ไปเท่านั้น ตอนเผาใหม่ๆยังเหลือบ้าง แต่พอผ่านไป 10 ๆปีไม่เหลืออะไรเลย อย่างที่บอกว่า เหมือนคำพูดที่ว่า เกิดมาแต่ดินกลับไปสู่ดิน หมดจริงๆ"หลวงพี่กล่าว
 
เมื่อยามมีชีวิตอยู่ มนุษย์บางคนอาจมั่งมีด้วยทรัพย์สินเงินทอง รายล้อมด้วยเกียรติยศ ชื่อเสียงเพียงใด แต่เมื่อตายไปทุกคนจะกลับมาเท่าเทียมกันอีกครั้ง เสมือนเมื่อตอนถือกำเนิดเกิดขึ้นมาตัวเปล่า แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือความดีที่เหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำ
 
********
 
เรื่อง- ณกมล ปราโมช ณ อยุธยา
 
 
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000118999
 
http://happy.teenee.com/xfile/ghostprotect/111.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.669 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 27 พฤศจิกายน 2567 11:27:46