เมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปยังแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
เสด็จถึงนิคมของพวกกาลามะชื่อว่า เกสปุตตะ
ชาวเกสปุตตะนิคม ได้ยินมาแล้วว่าพระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้าขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
" แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรม
พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะใน
ท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล "
พวกชาวกาลามะ จึงได้พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
เมื่อต่างนั่งลงเรียบร้อยแล้ว จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
" มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศ
แต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น
พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระพุทธเจ้าข้า "
" มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคม สมณพราหมณ์พวกนั้น พูดประกาศ
แต่เฉพาะวาทะของตัวเท่านั้น ส่วนวาทะของผู้อื่นช่วยกันกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น
พูดกด ทำให้ไม่น่าเชื่อ พระพุทธเจ้าข้า "
" พวกข้าพระองค์ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่าน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ "
ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
" ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย
และท่านทั้งหลายเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในฐานะที่ควรแล้ว "
(ตามสำนวนแปลของ สยามรัฐปิฎก)
มาเถิดท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา
อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินอย่างนี้
อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา
อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง
อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน
อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ
อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว
อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
และตรัสต่อไปอีกว่า
" เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ
ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย "พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะแสดง
อกุศลมูลทั้งสาม คือโลภะ โทสะ โมหะ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์
จึงได้ถามเพื่อให้ผู้ถูกถามทำความเข้าใจตามด้วยตนเอง(ผู้เขียน)
จึงตรัสดังนี้ว่า
" ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ความโลภ เมื่อเกิดขึ้นในภายในบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
พวกชนกาลามโคตรต่างกราบทูลว่า เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์พระเจ้าข้า ฯ "
ทรงขยายความให้พิสดารขึ้นไปอีกว่า (ผู้เขียน)
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ก็บุคคลผู้โลภ ถูกความโลภครอบงำ
มีจิตอันความโลภกลุ้มรุมนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้
สิ่งใดเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภ ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ฯ
กา. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
(ทั้งความโกรธ และความหลงก็ทรงถามอย่างนี้แบบเดียวกับความโลภ และชาวกาลามะก็ตอบว่าจริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า)
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ฯ
กา. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า ฯ
พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ฯ
กา. มีโทษ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ ฯ
กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ฯ
พ. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร ฯ
กา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อ
ทุกข์ ในข้อนี้ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเช่นนี้ ฯ
พ. ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ...
อย่าได้ยึดถือโดยนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
เมื่อใด ท่านทั้งหลาย
พึงรู้ด้วยตนเองว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสียต่อไปก็ทรงกล่าวถึงกุศล ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับอกุศล เรื่อยไป
(
ซึ่งผมขออนุญาตไม่ยกข้อความมาทั้งหมดพึงเข้าใจว่ารูปแบบการแสดงก็เป็นแบบเดียวกัน โดยกุศล
คือ ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นสิ่งที่ไม่มีโทษ ท่านผู้รู้ไม่ติเตียน เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ )
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย มาเถอะท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา
.............. อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
" เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เมื่อนั้นท่านทั้งหลาย
ควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ "
ต่อไปพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะประกาศพระอริยสาวกทั้งหลาย
ผู้ปราศจาก ความโลภ ความพยาบาท และความหลงให้ชาวกาลามะทราบ จึงทรงตรัสดังนี้ว่าดูกรกาลามชนทั้งหลาย
อริยสาวกนั้น ปราศจากความโลภ ปราศจากความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้
มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง
มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกข์เหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์
ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
มีใจประกอบด้วยกรุณา ...
มีใจประกอบด้วยมุทิตา ...
มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง
อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
ความอุ่นใจ(ความเบาใจ)สี่ประการดูกรกาลามชนทั้งหลาย
อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้
มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้
มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้
ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบันว่า
๑. ถ้าโลกหน้ามี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี เป็นไปได้ที่เรื่อง
นั้นจะเป็นเหตุให้เราหลังจากตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้คือ
ความเบาใจประการที่ ๑ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๒. ถ้าโลกหน้าไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี เราก็รักษา
ตนไม่ให้มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่ให้มีทุกข์ ให้มีสุขในปัจจุบันใน
โลกนี้ได้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๒ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๓. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าทำบาป เราไม่เจาะจงบาปไว้เพื่อใคร ๆ เลย
เมื่อเราไม่ทำบาปเลย ความทุกข์จะถูกต้องเราได้อย่างไร นี้คือความ
เบาใจประการที่ ๓ ที่อริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว
๔. ถ้าบุคคลเมื่อทำบาปก็ชื่อว่าไม่ทำบาป เราก็พิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์
ทั้ง ๒ ส่วนในโลกนี้ นี้คือความเบาใจประการที่ ๔ ที่อริยสาวกนั้นได้บรรลุแล้ว
ดูกรกาลามชนทั้งหลาย
อริยสาวกนั้นมีจิตไม่มีเวรอย่างนี้
มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้
มีจิตไม่มีเศร้าหมองอย่างนี้
มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ ย่อมได้รับความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แลในปัจจุบัน ฯ
(
ชาวกาลามะ )
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระอริยสาวกนั้น มีจิตไม่มีเวรอย่างนี้ มีจิตไม่มีความเบียดเบียนอย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตผ่องแผ้วอย่างนี้ท่านย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในปัจจุบัน ...
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง
หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’
ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41656&start=75