[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 17:42:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะจากพระผู้รู้ (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช)  (อ่าน 13736 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:10:31 »

[ โดย Bizan ข้อมูลคัดลอกมาจากบอร์ดเก่า ]


นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๖๑ พฤหัสบดีที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

ธรรมะจากพระผู้รู้

สันตินันท์
(พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
ถาม : คุณสันตินันท์ช่วยอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทด้วยค่ะ (๑)

สมัยที่ผมเรียนจบปริญญาตรีใหม่ๆ
ผมมีโอกาสไปบวชที่วัดชลประทานรังสฤษฎ์
มีหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นพระอุปัชฌายะ
ในวันที่บวชนั้น ท่านเรียกผมไปพบ
แล้วมอบหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุให้มาศึกษาเล่มหนึ่ง
ชื่อ พระพุทธประวัติจากพระโอษฐ์

ผมพบคำว่า ปฏิจจสมุปบาทครั้งแรก จากหนังสือเล่มนั้น
รู้สึกตื่นเต้นตรงที่ท่านอาจารย์พุทธทาสเขียนว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าดำรัสว่า
"ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นเรา
ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท"
ผมก็มาคิดว่า ธรรมสำคัญปานนี้ ทำไมเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลย
ก็แล้วปฏิจจสมุปบาท คืออะไร

หลวงพ่อท่านมีกิจนิมนต์มาก ไม่เคยอยู่วัดให้ถามท่านได้เลย
ผมจึงเที่ยวถามถึงความหมายของปฏิจจสมุปบาทกับพระที่บวชก่อนๆ
ท่านก็ร้อง อ๋อ.. ปฏิจจสมุปบาทน่ะหรือ ก็เป็นเรื่องของเหตุผลไงล่ะ
ที่ว่าเพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
แล้วก็เดินหนีไปหมด
ผมจึงตัดสินใจว่า เราจะต้องศึกษาให้รู้ให้ได้ว่า ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร

เมื่อลาสิกขาแล้ว จึงไปตามร้านหนังสือ
พบหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท เล่มเล็กๆ ของท่านอาจารย์พุทธทาส
จึงรู้จักปฏิจจสมุปบาทในภาคปริยัติ ๑๒ ขั้นตอน
เช่นรู้ว่า อวิชชาคือความไม่รู้อริยสัจจ์ ๔
สังขารมี ๓ วิญญาณมี ๗ ขันธ์มี ๕ เวทนามี ๖ ตัณหามี ๓
อุปาทานมี ๔ ภพมี ๓ เป็นต้น
แต่ไม่ว่าจะอ่านทวนกลับไปกลับมาอย่างใด
ก็ไม่สามารถเรียงร้อยธรรมทั้งหมดให้ต่อเนื่องเป็นสายเดียวกันได้
ในสมองมีแต่ความจำที่สลับซับซ้อนขึ้นมาชุดหนึ่ง
เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท เท่านั้นเอง
จึงมาคิดว่า การอ่านและการคิดตาม
ไม่สามารถทำให้รู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทได้เลย


ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด

ต่อมาเมื่อได้ปฏิบัติธรรม เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานอย่างเข้มงวด
จึงค่อยๆ เข้าใจปฏิจจสมุปบาททีละเล็ก ทีละน้อย
เริ่มจากปฏิจจสมุปบาทในช่วงตั้งแต่รูปนามไปจนถึงทุกข์
เพราะเป็นช่วงที่เห็นได้ง่ายกว่าช่วงอวิชชาจนถึงรูปนาม

คือเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น
จะรู้เห็นถึงการปรากฏอยู่ของรูปนาม
และเห็นได้โดยง่ายว่า เพราะมีรูปนาม จึงมีอายตนะ
ลำพังมีรูปอย่างเดียวยังไม่มีอายตนะ
ต้องมีนามคือความรู้สึกด้วย อายตนะจึงเป็นอายตนะ
เช่นในขณะที่คนนอนหลับลึก จิตตกภวังค์
แม้มีตาก็มองไม่เห็น แม้มีหูก็ไม่ได้ยินเสียง แม้มีกายก็ไม่รู้สึกว่ามี

เห็นอีกว่า เพราะมีอายตนะอันได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จึงมีผัสสะขึ้นมาได้
เพราะอายตนะนั้นเอง เป็นจุดเชื่อมต่อ
ให้จิตรู้โลกภายนอก ที่รู้ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น และกาย
และรู้โลกภายในคือความคิดนึกปรุงแต่ง ที่รู้ได้ด้วย ใจ

เห็นอีกว่า เพราะมีผัสสะจึงมีเวทนา
เช่นเมื่อตากระทบรูป ก็เกิดความรับรู้ทางตา
แล้วจิตที่รับรู้อารมณ์ทางตา ก็เกิดความรู้สึกเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง
เช่นเห็นภาพที่สวยงาม ก็รู้สึกเป็นสุข เห็นภาพที่ไม่สวยงาม ก็รู้สึกเป็นทุกข์
แต่ก็เห็นอีกว่า ลำพังตาอย่างเดียวนั้น มันสักแต่รับรู้รูป
และเอาเข้าจริง รูปที่ตารับรู้ ก็เป็นเพียงการรับรู้สีที่ตัดกันเท่านั้น
ตามันไม่ตัดสินว่ารูปนี้ดีหรือไม่ดี สวยหรือไม่สวย
แต่จิตต่างหากที่ไปตัดสินสีที่ตาไปเห็นเข้า โดยประเมินค่า
แล้วเกิดความรู้สึกสุขหรือรู้สึกทุกข์ขึ้น โดยมีรูปเป็นตัวกระตุ้นเท่านั้น

เห็นอีกว่า ในสุขเวทนา จะมีราคะแทรกเข้ามาเสมอๆ
และในทุกขเวทนา จะมีโทสะแทรกเข้ามาเสมอเช่นกัน
และในขณะนั้น ถ้าจิตประกอบด้วยกิเลสพื้นฐานคือโมหะ
ซึ่งเป็นตัวปิดกั้น ทำให้จิตมืดมัวไม่สามารถรับรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
ว่าสิ่งที่จิตรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจนั้น
เป็นเพียงสภาพธรรมที่ปรากฏแล้วก็ดับไป หาสาระแก่นสารไม่ได้
จิตจะเกิดแรงดันชนิดหนึ่งขึ้นมาจากกลางอก
เพื่อผลักดันให้จิตทะยานออกไปหาอารมณ์ที่กำลังปรากฏนั้น
จึงรู้ชัดว่า เพราะมีเวทนาเป็นเหยื่อล่อ แล้วจิตไม่รู้เท่าทัน
จึงเป็นปัจจัยให้เกิดความทะยานอยากของจิต หรือตัณหา

ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่ผู้คิดจะปฏิบัติ
ถ้าใครอยากเห็นตัณหา มีวิธีง่ายๆ ไม่ใช่อะไรที่ซับซ้อนเลย
แค่ทำใจให้สบายๆ แล้วคอยสังเกตเวลาที่เราอยากพูด หรืออยากทำอะไรก็ตาม
จะมีแรงผลักดันเกิดขึ้นในจิตใจของเรา ประมาณว่าเกิดขึ้นในอกเรานี้แหละ
แม้กิเลส หรือสุขทุกข์ ก็ประมาณได้ว่ารับรู้อยู่ที่กลางอกนี้เอง

บางคนกล่าวว่า จุดที่ปรากฏและรู้อารมณ์ที่เป็นนามธรรมเรียกว่า หทยวัตถุ
และกล่าวว่าหทยวัตถุอยู่ที่หัวใจ
ผมไม่ทราบว่าจุดนั้นเรียกว่าหทยวัตถุหรือเปล่า
แต่ที่จริงจุดที่รู้สึกนั้น มันไม่ได้อยู่ในวัตถุ เช่น หัวใจ ตับ ปอดอะไรหรอก
มันเพียงแต่อยู่ในมิติของความรับรู้ แต่ประมาณได้ว่าอยู่ที่อกเรานี้เอง
อ่านถึงตรงนี้ ใครสงสัยในสิ่งที่ผมกล่าว
ขอให้หยุดคิดไว้ก่อน แล้วย้อนไประลึกรู้ตรงความรู้สึกสงสัยที่เกิดขึ้น
ความรู้สึกสงสัยตั้งอยู่ที่ไหน ก็ที่นั้นแหละครับ
เมื่อความสงสัยดับไปตรงไหน ก็รู้ความรู้สึกที่ว่างๆ อยู่ตรงนั้นแหละ
ไม่ต้องไปหาฐานที่ตั้งที่ไหนอีก ให้ตั้งรับรู้อยู่ที่หทยวัตถุหรือตรงจุดนั้นแหละ
เพราะกิเลสก็เกิดตรงนั้น ทุกข์ก็เกิดตรงนั้น ตัณหาก็พุ่งมาจากตรงนั้น
แต่ตัณหาเมื่อเกิดจากตรงนั้นแล้ว
มันจะพาจิตให้เตลิดออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

การปฏิบัติถ้าคิดจะตั้งจุดรู้ จึงควรตั้งในจุดที่ทุกข์เกิดและทุกข์ดับ
อย่าไปหลงตั้งที่ฐานเหนือสะดือใต้สะดืออะไรเลยครับ
ลองสังเกตดูเองเถิดว่า กิเลสและความรู้สึกสุขทุกข์เกิดที่ไหน ก็รู้ตรงนั้น
กิเลสไม่ได้อยู่ที่สะดือใครๆ หรอก


เมื่อจิตเกิดแรงดันคือตัณหาขึ้นแล้ว
จิตจะกระโจนพรวดออกไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
เข้าไปเพื่อยึด เพื่อเสพอารมณ์ทางอายตนะนั้น
และบ่อยครั้งที่จิตกระโจนเข้าไปทางใจ เข้าไปอยู่ในโลกความความคิด และความเหม่อ
ตัณหาจึงเป็นตัวพาให้จิตเข้าไปยึดอารมณ์
ท่านจึงกล่าวว่า ตัณหาเป็นปัจจัยของอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น

เมื่อจิตยึดอารมณ์แล้ว หากยึดเข้ากับอารมณ์หยาบ ก็เกิดสภาวะหยาบๆ ขึ้น
ถ้ายึดอารมณ์ละเอียด ก็เกิดสภาวะละเอียดขึ้น
ท่านจึงว่าอุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ หรือสภาวะอันใดอันหนึ่ง
เช่นเข้าไปยึดความโกรธ ก็เป็นภพหรือสภาวะของยักษ์
ถ้าเห็นใครทำดีแล้วอิจฉาเขา กลัวเขาจะดีเกินหน้า คิดจะขัดขวางเขา ก็เป็นภพมาร
ถ้าเพลินหลงเหม่อไป ก็เป็นภพสัตว์เดรัจฉาน
ถ้าเกาะแน่นอยู่กับความทุกข์ ก็เป็นภพของสัตว์นรก เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงภพที่เกิดจากอุปาทานในแต่ละขณะแล้ว
ก็ขอนอกเรื่องสักเล็กน้อยว่า
ภพที่เป็นการเกิดข้ามภพข้ามชาติก็มีอยู่ ไม่ใช่ตายแล้วสูญภพจบชาติแต่อย่างใด
ปฏิจจสมุปบาทจึงมีทั้งแบบที่เป็นปัจจุบัน อันมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติ
และแบบข้ามภพข้ามชาติ ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

เมื่อจิตเข้าไปตั้งอยู่ในภพแล้ว
ความรู้สึกเป็นตัวเป็นตนของจิต (ชาติ) ก็เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
เดี๋ยวก็เราอย่างนั้น เดี๋ยวก็เราอย่างนี้
จิตที่มีความรู้สึกยึดถือว่าเป็นเรานั้น
โดยตัวมันเองก็อึดอัดขัดข้องแล้ว
มันเป็นทุกข์ตั้งแต่ที่มันเป็นเราแล้ว
และเมื่อมันเข้าไปเสพอารมณ์ด้วยความเป็นเรา ด้วยความติดใจ
มันก็ยิ่งมี ของของเรา ขึ้นมาให้แบกให้หามหนักขึ้นอีก
และเมื่อสภาวะที่มันเสพอยู่นั้นไม่เป็นไปอย่างที่มันปรารถนา
มันก็ยิ่งเป็นทุกข์หนักขึ้นไปอีก
ท่านจึงว่าชาติ เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์
และเป็นทุกข์ซับซ้อนหลายชั้นหลายเชิงนัก


ที่มา http://202.44.204.76/narupan/PantipSakajcha04.htm

Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:10:42 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๒ พฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม: ฟังที่หลวงพ่อสอนแล้วเข้าใจยาก
ไม่เข้าใจว่าไม่ต้องทำอะไร แค่รู้เฉยๆ จะได้มรรค ผล นิพพาน ได้อย่างไร

ที่ฟังแล้วเข้าใจยากก็เพราะว่าเราไม่ค่อยได้ฟัง
เราเคยศึกษาธรรมะเราก็ได้ยินแต่คำสอนว่าให้ทำอย่างนี้สิดี ให้ทำอย่างนี้สิ
ให้ทำโน่นให้ทำนี่ ห้ามอันโน้นห้ามอันนี้ แล้วเราจะชิน
ถ้าหลวงพ่อบอกว่า
เอ้า ต่อไปนี้ห้ามทำอย่างนี้ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
จงทำต่อไปนี้ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า พวกเราจะรู้สึกเรียนง่าย
แต่กรรมฐานชนิดที่ไม่ทำอะไร ฟังแล้วยาก
ใจของเราเองมันปรุงแต่งทั้งวันทั้งคืน
มันปรุงสุขปรุงทุกข์ ปรุงกุศลปรุงอกุศลตลอดเวลาเลย
ไม่เคยหยุดการปรุงแต่งเลย
เพราะฉะนั้นจะให้มันทำงานอะไรสักอย่างให้มันปรุงแต่งนี่มันยอมรับง่าย
แต่จะให้มันรู้ทันความปรุงแต่งจนมันหมดความปรุงแต่งยากที่สุดเลย มันฝืนความรู้สึก
หลายคนจะรู้สึกว่าก็ที่ผ่านมาปฏิบัติแทบเป็นแทบตายยังไม่ได้เลย รู้เฉยๆ มันจะได้หรือ
เพราะฉะนั้นน้อยคนที่จะใจถึง มาคอยรู้กายมาคอยรู้ใจตัวเองตามความเป็นจริง
ไม่ใช่ตามที่อยากให้เป็น

ส่วนมากเราจะรู้ด้วยความอยากให้เป็น
เช่น อยากให้สุข อยากให้สงบ อยากให้ดี
รู้ด้วยความอยาก สังเกตไหม มีความอยากขึ้นมาใจก็ดิ้นรน ดิ้นรน ใจก็ทุกข์
วนเวียนอยู่อย่างนี้เอง ยิ่งอยากก็ยิ่งดิ้น ยิ่งดิ้นก็ยิ่งทุกข์นะ
ยิ่งทุกข์ยิ่งอยากอีก อยากให้หายทุกข์นะ ก็ยิ่งดิ้นอีก
เพราะฉะนั้นเราจะวนเวียนจากการปรุงแต่งดิ้นรนไม่รู้จักเลิกหรอก
การจะตัดวงจรของความปรุงแต่งหรือปฏิจจสมุปบาท
ถ้าละอวิชชาได้ ตัณหาจะไม่เกิดอีก ความอยากจะไม่เกิด
ตราบใดที่ยังละอวิชชาไม่ได้
ยังไม่รู้ความจริงของกายของใจเรียกว่าละอวิชชาไม่ได้ ตัณหาจะเกิดอีก

เราเห็นว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา เราไม่เห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่เราหรอก
เป็นก้อนทุกข์เป็นตัวทุกข์เป็นธาตุ
ทางกายเป็นธาตุดินน้ำไฟลม ใจก็เป็นธาตุ เรียกวิญญาณธาตุ มโนธาตุ แล้วแต่จะเรียกกัน
เราเห็นว่าเป็นเรา พอเป็นเรา เราก็อยากให้มันดี อยากให้มันสุข อยากให้มันสงบ
นี่พอความอยากเกิดขึ้น ใจก็ดิ้นรน
คนไม่ฉลาดก็ดิ้นรนหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ
ถ้าได้อยู่กับคนนี้แล้วจะดีมีความสุข ถ้าได้กินอันนี้จะมีความสุข
ถ้าได้อยู่บ้านตรงนี้จะมีความสุข ดิ้นหาความสุขไปเรื่อย หาแล้วมันก็ไม่อิ่มมันก็ไม่เต็ม
อย่างพอเราอยากได้อะไร เราดิ้นรนนะ เหนื่อยแทบตายเลย พอได้มารู้สึกงั้นๆ แหละ
เดี๋ยวก็อยากอย่างอื่นต่อไปอีก ดิ้นรนไปตามความอยากนะ มันไม่อิ่มมันไม่เต็ม
พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี
ตัณหาเป็นห้วงน้ำที่ใหญ่ที่สุด ทำยังไงก็ไม่เต็ม
มันจะเพิ่มความอยากไปเรื่อยๆ นี่พวกที่ตอบสนองความอยาก
ตอบสนองอัตตาตัวตนด้วยการแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ
ไม่สามารถตอบสนองได้จริง ไม่เต็มไม่อิ่ม

อีกพวกนึงมาฝึกจิตฝึกใจ มาฝึกกรรมฐาน มากำหนดกายมากำหนดใจ
กำหนดไปเรื่อยๆ ถามว่าลึกๆ กำหนดเพื่ออะไร
หวังว่าวันหนึ่งจะดีนั่นแหละ
วันนึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน เราจะได้ดี เราจะได้มีความสุข
ลึกลงไปก็คือตอบสนองความเป็นตัวเราอีกนั่นแหละ
เพราะฉะนั้นหลงโลกไป หลงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เรียกว่าโลก
หลงโลกออกไป ก็หวังว่าจะมีความสุข
อุตส่าห์มาปฏิบัติธรรม มาบังคับกายบังคับใจ
กำหนดกายกำหนดใจก็หวังว่าจะมีความสุข
ตอบสนองความเป็นตัวตนนั่นเอง
เพราะฉะนั้นสุดโต่งอย่างนี้ ดิ้นรนอย่างนี้ ไม่พ้นจริงหรอก
บางคนภาวนา พยายามกำหนดนะ ตามองเห็นกำหนด หูได้ยินเสียงกำหนดลงไป
หวังว่ากำหนดมากๆ แล้วเวทนาจะไม่เกิด
ถ้าไม่มีเวทนา ตัณหาจะได้ไม่มี ตัณหาไม่มี อุปาทาน ภพ ชาติ ทุกข์จะได้ไม่มี
บางคนสอนกันอย่างนี้นะ สอนให้ดับเวทนา
ลืมไปอย่างหนึ่งว่าเวทนาเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกๆ ดวง
ไม่มีใครดับเวทนาได้ ถ้าดับได้ก็ดับทุกขเวทนาได้ชั่วคราว ดับสุขเวทนาได้ชั่วคราว
เสร็จแล้วใจก็เฉยๆ เป็นอุเบกขาเวทนา
พอมีอุเบกขาเวทนา โมหะก็แทรก
พอโมหะแทรกเข้ามาใจก็ฟุ้งซ่าน หรือไม่ใจก็หดหู่ ใจก็ปรุงแต่งอีก
เพราะฉะนั้นการจะตัดวงจรของภพของชาติ ไม่ได้ไปตัดที่เวทนา แต่ตัดที่อวิชชา
อวิชชาคือความไม่รู้อริยสัจจ์
อริยสัจจ์ข้อแรกคือทุกข์ ขันธ์ ๕ คือทุกข์ กายกับใจคือทุกข์ หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้

ในสติปัฏฐาน ๔ มันถึงเต็มไปด้วยคำว่ารู้
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม เอาเข้าจริงก็คือการรู้ทุกข์นั่นเอง
เพราะพระพุทธเจ้าสอนชัดๆ เลยว่าอุปาทานขันธ์ทั้งห้า ขันธ์ ๕ นี่เองคือตัวทุกข์
หน้าที่ต่อทุกข์คือการรู้ และบอกนี่คือทางสายเดียวด้วยนะ สติปัฏฐานเป็นทางสายเดียว
นอกจากการรู้ทุกข์แล้วไม่มีทางที่สองเพื่อความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง
พวกเราจะดิ้นรน บางคนประกาศสัจจะเลยนะว่าจะหาด้วยตนเอง
หาได้เหมือนกันแต่ไม่ใช่วันนี้หรอก อีกกี่ภพกี่ชาติยังไม่แน่
ขนาดฟังธรรมะที่พระพุทธเจ้าบอกนะเดินตามยังยากเลย รู้สึกไหม
เพราะมันฝืนความรู้สึก
ถ้าบอกให้เราเข้าไปจัดการกับจิตใจตนเอง บังคับให้นิ่งเลยนะ แป๊บเดียวก็ทำเป็น ไม่ยาก
แต่บอกให้รู้กายตามความเป็นจริง ให้รู้ใจตามความเป็นจริง ยากที่สุดเลย
เพราะมันไม่อยากเห็นความจริง มันอยากได้แต่ของไม่จริง
เราไม่ได้อยากเห็นความจริงของกายของใจเลย
ใครอยากเห็นไหมว่ากายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวสุขนะ
ใครอยากเห็นบ้าง กายกับใจไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี
ตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจก็ไม่มี ไม่มีใครอยากเห็นอย่างนี้
ทุกคนปรารถนาแต่ว่าทำยังไงตัวตนของเราจะสุขถาวร จะดีถาวร จะสงบถาวร
เคยอ่านเรื่องกามนิต วาสิฏฐีไหม
เรื่องกามนิตสมัยก่อนเรียกว่าเรื่องกามนิตนะ
ตอนหลังๆ รู้สึกฟังแล้วไม่เพราะ กามนิต เลยเปลี่ยนเป็นเรื่องวาสิฏฐี
กามนิตเที่ยวแสวงหาธรรมะ เที่ยวแสวงหาธรรมะเพื่อว่าตัวเองจะได้มีความสุขถาวร
กามนิตเที่ยวไปเรื่อยๆ จนเจอพระพุทธเจ้า
ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์ เรื่องไม่มีอัตตาตัวตนที่ถาวร กามนิตรับไม่ได้นะ รับไม่ได้เลย
จนกระทั่งผ่านไปนาน ตายแล้วไปเกิดในสวรรค์
สุดท้ายไปอยู่ในพรหมโลกเพราะสวรรค์ล่มลงไป
สวรรค์ก็แตกดับไปเกิดในพรหมโลกเจอกับวาสิฏฐีอีก
วาสิฏฐีเลยแสดงภาพของพระพุทธเจ้าให้ดู
วาสิฏฐีเคยบวชเป็นภิกษุณี
ที่บวชเป็นภิกษุณีเพื่อจะหนีออกจากบ้านไปตามหากามนิต จะหนีสามีนั่นแหละ
พอกามนิตเห็นรูปพระพุทธเจ้าที่วาสิฏฐีเนรมิตให้ดูก็จำได้
ว่าคือพระแก่ๆ ที่เคยคุยกันในบ้านช่างปั้นหม้อนั่นเอง
แต่เดิมคิดว่านี่คือสาวกปลายแถวซึ่งไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าคงสอนอะไรที่ชี้ทางให้สุขถาวรได้
นี่พระชรารูปนั้นกลับไปสอนว่าถาวรไม่มี มีแต่ทุกข์ไม่มีสุขนะ
ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ สอนอย่างนี้อีก

พอกามนิตเห็นรูปนิมิตนี่แล้ว วาสิฏฐีทุ่มเทพลัง จนกระทั่งหมดพลังนะ ตายไป
กามนิตรู้สึกว่า โอ้ ทุกอย่างไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ถาวรเลย
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทบทวนตัวตนไม่มี ไม่มีตัวตนที่ถาวรแล้ว
วาสิฏฐีก็นิพพานไปก่อนแล้ว ในที่สุดเลยปลงตกนะ
ยอมรับความจริงว่าตัวตนที่แท้จริงไม่มี
เพราะฉะนั้นตัวตนไม่มีจะไปหาความสุขที่แท้จริงที่ไหน
พอปล่อยวางตัวตน เข้าถึงความสุขที่แท้จริง
คนแต่งเก่งนะ คนแต่งนี้เก่ง เอาธรรมะมาเขียนเก่ง
พวกเราก็เหมือนกามนิตนะ เราอยากมีความสุขถาวร
ภาวนาแล้วอยากได้อะไรที่มันดีๆ เราจะได้เป็นเจ้าข้าวเจ้าของครอบครองตลอดนิรันดร
สิ่งที่อยู่ตลอดนิรันดรมีแต่ทุกข์นะ มีแต่ทุกข์
เพราะฉะนั้นหัดภาวนา ตั้งอกตั้งใจนะ ฟังไป รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
ปกติฟังหลวงพ่อนะ สองสามครั้งถึงจะรู้เรื่อง โดยเฉลี่ยสองสามครั้งจะรู้เรื่อง
มีข้อยกเว้นเหมือนกัน บางคนจิตใจศึกษาอบรมมามากแล้ว ฟังทีเดียวปิ๊งเลยก็มี
บางคนฟังประโยคเดียวเข้าใจเลยก็มี บางคนฟังหลายปีไม่เข้าใจก็มีเหมือนกันแต่น้อย
ที่ไม่เข้าใจเพราะคิดไม่เลิก ศึกษาแล้วก็เปรียบเทียบไปเรื่อย
อาจารย์โน้นว่าอย่างนี้ อาจารย์นี้ว่าอย่างโน้น
หลวงพ่อนั้นว่าอย่างนี้ หลวงแม่ว่าอย่างโน้นนะ ญาติโกโหติกาเยอะ ฟังมามาก
ฟังแล้วก็เทียบไปเรื่อย เทียบเคียงไปเรื่อย คิดไปเรื่อย
แทนที่จะรู้ลงในกายรู้ลงในใจ ก็เอาแต่คิดเอา ทำยังไงจะดีทำยังไงจะสุข
คิดอย่างเดียวทำยังไงจะปฏิบัติถูก
ก็พระพุทธเจ้าบอกตรงๆ แล้วให้รู้ ให้รู้ ให้รู้นะ
ถ้าเกินจากรู้มันก็ไม่ถูกหรอก

๑๐ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม



Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:10:57 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๒ พฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถาม: การรู้กาย รู้ลมหายใจ รู้อิริยาบถ รู้ธาตุ ต้องรู้แบบไหนจึงจะเป็นวิปัสสนา

หายใจออกก็รู้ รู้อะไร รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ แล้วก็รู้ว่าตัวที่หายใจอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา
มันเป็นวัตถุ มันเป็นก้อนธาตุ กระเพื่อมเข้ากระเพื่อมออก
หายใจเข้าหายใจออกไม่ใช่ตัวเรานะ อย่างนี้เรียกว่ารู้
หายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ รู้ว่าตัวที่หายใจเข้านี้ไม่ใช่ตัวเรา
รู้ว่ากำลังหายใจเข้า ตัวที่กำลังหายใจอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูอย่างนี้
ยืนก็รู้ เดินก็รู้ นอนก็รู้ ก็แบบเดียวกัน
มีสติรู้ร่างกายมันยืน ร่างกายมันเดิน ร่างกายมันนั่ง ร่างกายมันนอน รู้ลงไป อย่าใจลอย
และท่านให้รู้ ท่านไม่ใช่ให้เพ่ง อย่าไปเพ่งใส่ ถ้าเพ่ง ร่างกายก็แข็งๆ ให้รู้ลงไป
ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอนก็รู้ มีสติรู้ ใจตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู
ก็จะเห็น เกิดปัญญาเห็นเลย ตัวที่ยืน ตัวที่เดิน ตัวที่นั่ง ตัวที่นอนนี้ ไม่ใช่ตัวเราหรอก
มันเป็นเหมือนหุ่นยนต์ตัวนึงที่กำลังยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว ขยับเขยื้อนไป
เวลาหายใจเข้าหายใจออกก็เหมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งที่มันกระเพื่อมเข้ากระเพื่อมออก
มีธาตุไหลเข้ามีธาตุไหลออก
ดูลงไปอย่างนี้นะ จะค่อยๆ ถอดถอนความรู้สึกเป็นตัวเรา

หรือใครอยากฝึกให้มันยากกว่านี้  ฝึกธาตุกรรมฐาน เห็นไหม หลวงพ่อตามใจตลาดนะ
อยากเรียนยากๆ ก็ได้นะ เรียนกรรมฐาน เรียนธาตุกรรมฐาน
เรียนธาตุกรรมฐานนี่ ต้องรู้ก่อน
ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประกอบเป็นกายของเรานี้
ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม รู้ด้วยกาย
ธาตุน้ำ รู้ด้วยใจ
พวกเราหลายประเภท บางคนอยากเรียนยากก็เอา
ดิน น้ำ ไฟ ลมนี่ ต้องรู้ว่าธาตุอะไรรู้ด้วยอะไร
ธาตุดินรู้ด้วยกาย ธาตุไฟรู้ด้วยกาย
เราลองมาดูธาตุดิน เอามือมา ลองจับลงไป ลองลูบลงไป
รู้สึกไหม มันแข็งๆ ความรู้สึกที่ว่าแข็งๆ นี่เรียกว่าธาตุดิน
รู้สึกไหม ไอ้ตัวที่แข็งนี่มันไม่เคยบอกเราเลยว่ามันคือตัวเรา รู้สึกไหม มันไม่ได้บอก
หรือคนไหนมันพูดได้ ไอ้ตัวนี้มันพูดได้ไหม มันบอกไหมว่ามันคือตัวเรา
นี้นะเรียกว่าธาตุกรรมฐานนะ
สังเกตไหม จับลงไปเราจับสัมผัสได้ความแข็งของมัน
นอกจากความแข็งเราสัมผัสธาตุไฟได้ด้วยมือ มันอุ่นเห็นไหม
บางทีมือก็เย็นๆ ธาตุไฟน้อย ปลายนิ้วธาตุไฟน้อย ธาตุยังไม่เที่ยงเลย
ธาตุไฟยังไม่คงที่ แต่ละที่ไม่เท่ากัน
สังเกตไหม ความร้อนนี่ไม่เคยบอกว่ามันคือตัวเรา
ความแข็งก็ไม่เคยบอกว่าเป็นตัวเรานะ
ลองลูบไปทั้งตัวนะ ลูบไป ดูซิตรงไหนมันบอกว่ามันเป็นเรา
เมื่อยตรงไหนก็นวดตรงนั้นแหละนะ ให้มันเกิดประโยชน์ไปด้วย
ไม่มีตรงไหนเลยที่มันบอกว่าเป็นตัวเรา รู้ลงไปอย่างนี้
จะเห็นเลยร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะซาบซึ้งถึงอกถึงใจนะ
การเรียนธาตุกรรมฐานต้องรู้ว่าธาตุอะไรรู้ด้วยอะไร
ธาตุลมดูยาก อย่างเราขยับมืออย่างนี้
ถ้าจิตเราทรงฌานจริงๆ นะ ขยับ เราจะรู้เลยมันจะมีแรงผลักดัน
แรงที่ดันให้ไหวนี่เรียกว่าธาตุลมนะ
ไม่ใช่หายใจเข้าหายใจออกเป็นธาตุลมนะ เห็นไหม ยากไหม ยาก
ธาตุน้ำคืออะไร ธาตุน้ำรู้ด้วยใจ
ธาตุน้ำคือแรงดึงดูดระหว่างอะตอมระหว่างโมเลกุล นี่เรียกว่าธาตุน้ำนะ
ที่ทำให้สิ่งทั้งหลายรวมตัวเข้ามาอยู่ด้วยกันได้
น้ำเป็นตัวเชื่อมเป็นตัวประสานให้ธาตุทั้งหลายรวมตัวเข้าด้วยกัน
เพราะฉะนั้นจะเรียนธาตุกรรมฐานนั้นเรียนยากนะ
คนที่จะเรียนธาตุกรรมฐานได้ดีต้องทำสมาธิมาเยอะๆ หน่อย
ให้รู้ลงไปนะ ไม่มีเรา ไม่มีเรา

มีครั้งหนึ่งหลวงพ่อขึ้นไปกราบหลวงปู่สิม
ตอนนั้นเรียนอยู่สถาบันจิตวิทยา เขาคัดเลือกพวกว่าที่อธิบดีทั้งหลายให้ไปเรียน
หลวงพ่อนะ เด็กเป็นที่สองของรุ่นนะ มีเด็กกว่าหลวงพ่ออยู่คนเดียว
เพราะเราเรียนเราทำงานเราโตเร็ว ต้องไปเรียนกับพวกใกล้เกษียณแล้ว ก็พากันไป
ตอนนั้นไปดูงานที่เชียงใหม่ พาขึ้นไปกราบหลวงปู่สิม ที่ถ้ำผาปล่อง
ไปถึงหลวงปู่ก็พานั่งขัดสมาธิเพชร
รู้จักไหม ขัดสมาธิเพชร ใครนั่งได้ต้องใจเพชรจริงๆ นะ
เพราะนั่งๆ แล้วก็แกะขาออกไม่ค่อยได้แล้ว มันจะสามัคคีกันอยู่อย่างนั้นแหละ
นั่งเข้าไปนะ ปวดสุดๆ เลย เมื่อย
ท่านพาขัดเพชร ท่านบอกต้องใจเด็ดนะ ภาวนา เสร็จแล้วท่านก็เทศน์ๆ ไป ชั่วโมง
พวกโยมที่ไปด้วยกัน ค่อยๆ ถอดหนีไปทีละคนสองคนนะ
สุดท้ายเหลือหลวงพ่อกับพี่อีกคนนึงผู้ชายอายุมากแล้ว
พอท่านเทศน์ได้ชั่วโมงกว่าๆ เอ้า วันนี้พอแล้ว วันนี้พอแล้ว
ท่านก็ถามเป็นไง นั่งขัดเพชรเมื่อยไหม
พี่ผู้ชายนี้รีบตอบเลย “เมื่อยครับ เมื่อย เมื่อยมากเลยครับเนี่ย 
ถ้าไม่เคารพหลวงปู่นะไม่นั่งหรอก”
หลวงปู่ก็ถาม “ขามันบอกไหมว่ามันเมื่อย”
แทนที่จะดูว่า โอ้ ธาตุไม่เคยบ่นว่าเมื่อยนะ เพราะธาตุเป็นธาตุ
เหมือนที่หลวงพ่อบอกนี้ มันไม่บอกว่ามันเป็นเรานะ มันก็ไม่เคยบ่นว่ามันเมื่อย
หลวงปู่ถามว่าไหน ขามันบอกว่าเมื่อยหรือ
“เมื่อยจริงๆ หลวงปู่ ผมไม่โกหกหรอก” โน่น ตอบไปโน่นเลย
หลวงปู่เลยยิ้มหวานเลยนะ รู้สึก เออ ได้แค่นี้
นี่ ธาตุกรรมฐานนะ ดูยาก ดูความเป็นธาตุของมัน
เราจะรู้สึกตลอดเวลาว่ามันคือตัวเรา ไม่ได้เห็นว่ามันเป็นก้อนธาตุ
จะรู้สึกหวงแหน รักมาก เป็นตัวเรามาก
อะไรมาเกี่ยวมันนิดนึงนะ กลุ้มอกกลุ้มใจแล้ว เดือดร้อน ตีนกาขึ้นก็กลุ้มใจ
ขึ้นครั้งแรกรอยแรกรู้สึกยังไง
รอยแรกนะ รู้สึกทรมานใจมากใช่ไหม
รอยที่สองก็ยังทรมานใจมาก พอรอยที่ยี่สิบนี่เฉยๆ นะ รู้สึกว่ารั้งไม่อยู่แล้ว
แต่ถ้าเราดูลงมาเห็นกายมันเป็นแค่ก้อนธาตุ
เห็นกายมันเป็นที่ตั้งของความทุกข์นะ
อย่างรู้อิริยาบถ ๔ นี่จะเห็นว่ากายมีแต่ความทุกข์บีบคั้น
นั่งอยู่ก็ทุกข์ ต้องพลิกไปพลิกมา ยืนอยู่ก็ทุกข์ ต้องพลิกไปพลิกมานะ
เดินอยู่ก็ทุกข์นะ เดินนานๆ ก็เมื่อย นอนอยู่ยังเมื่อยเลย
นอนอยู่ก็ทุกข์ ต้องนอนพลิกไปพลิกมา
มันลำบากตลอดเวลา ถ้ารู้ลงมาในกายเห็นอิริยาบถ ๔ เห็นมันเป็นทุกข์ล้วนๆ เลย
เห็นไหม เราจะต้องค่อยๆ ถอดถอนออกไปนะ
ความเห็นผิดว่ากายนี้เที่ยงเป็นของเที่ยง มันไม่เที่ยงหรอก มันทนอยู่ไม่ได้
มันมีตัวทุกข์บีบคั้น มันไม่ใช่ตัวสุข มันไม่ใช่ตัวเรา มันเป็นวัตถุมันเป็นก้อนธาตุ
นี่ใครจะทำธาตุกรรมฐานหรือจะดูกายก็ต้องดูลงเป็นอย่างนี้
ไม่ใช่ไปดูกายแล้วก็เพ่งอยู่ที่กายนะ
เดินจงกรมไปก็เพ่งให้จิตนิ่งอยู่ที่เท้า ก็นิ่งเดินไปเรื่อยๆ มันได้แต่สมถะ
เกือบทั้งหมดที่ปฏิบัติคือสมถะนะ เกือบทุกคนที่ทำอยู่
เพราะฉะนั้นไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร ทำตั้งนานไม่ละกิเลสนะ
ละไม่ได้ เพราะไม่ใช่วิปัสสนาแท้ๆ เป็นวิปัสสนาแต่ชื่อ
ไปที่ไหนก็บอกทำวิปัสสนาๆความจริงไม่ใช่หรอก
อย่างเดินจงกรมไปเรื่อยรู้สึกตัวเบาหวิวขึ้นมานะ รู้สึกลอยเหมือนเท้าจะไม่ติดพื้น
บางคนลอยจริงๆ นะ ลอยจริงๆ เป็นเรื่องของสมถะทั้งหมดเลย ไม่ใช่วิปัสสนา
วิปัสสนาคือการเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์
ไม่ใช่ว่าภาวนาแล้วรู้สึกขนลุกซู่ซ่า ได้วิปัสสนาญาณ ไม่ใช่นะ คนละเรื่องเลย
เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกเราทำมันไม่ค่อยขึ้นวิปัสสนา
มันไม่เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์

๑๐ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม

ถาม: ไม่ถนัดดูกาย หรือเจริญกายานุปัสสนา
จะต้องทำอย่างไร จึงจะเจริญวิปัสสนาได้

คนไหนไม่ชอบดูกายก็ดูจิตเอา ใช้ได้เหมือนกันดูจิต
เบื้องต้นก็หัดสังเกตไป จิตใจของเราแต่ละวันไม่เหมือนกัน
บางวันตื่นขึ้นมาก็สดชื่น บางวันตื่นขึ้นมาแห้งแล้ง เราดูไป
แต่ละวันใจเราไม่เคยเหมือนกันเลย
พอเราสังเกตได้ เออ แต่ละวันไม่เหมือนกันจริงๆ ต่อไปใจเย็นๆ นะ
ค่อยๆ เพิ่ม ค่อยๆ พัฒนาการสังเกตขึ้นไป
สังเกตในวันเดียวกันนี้ เช้าสายบ่ายเย็นความรู้สึกของเราจะไม่เหมือนกัน
บางทีตื่นเช้าขึ้นสดใสใช่ไหม ได้เวลาออกจากบ้านรถติดหงุดหงิดแล้ว
พอถึงที่ทำงานลูกค้ามารอ โอ สลอนเลย จะมาสั่งซื้อของเรานะ ปลื้มนะ ปลื้ม
เจรจาธุรกิจมันไม่ตกลงสักรายเลย โมโหแล้วนะ
ใจเราจะพลิกไปพลิกมาๆ 
ให้เราคอยตามรู้ จิตใจที่พลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้
ดูไปเพื่ออะไร เพื่อที่จะได้เห็นความจริงว่า จิตใจเรานี้ไม่เที่ยงนะ
จิตใจเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเลย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
จิตใจเราทนอยู่ในภาวะอันใดอันหนึ่งไม่ได้ สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว
กุศลหรืออกุศลก็เกิดขึ้นชั่วคราว
อย่างโกรธใช่ไหม ใครโกรธนานที่สุดถึงหนึ่งวันเคยมีไหม
มีใครโกรธถึงวันหนึ่งไหม เคยไหม
เข้าใจผิดแล้ว จริงๆ ก็โกรธทีละขณะ โกรธทีละขณะ
พอคิดใหม่โกรธใหม่ ไม่มีหรอกโกรธเป็นวันๆ เพราะจิตเกิดดับรวดเร็วมากเลย
แล้วจิตใจนี่ ถ้าเราตามรู้ตามดูไปจะเห็นเลยมันไม่ใช่ตัวเรา มันทำงานได้เอง
เดี๋ยวมันสุขมันก็สุขของมันเองนะ มันทุกข์มันก็ทุกข์ได้เอง
มันจะเป็นกุศลหรืออกุศลมันก็เป็นของมันได้เอง
อย่างเราไม่ได้คิดจะโกรธเลย อยู่ๆ มันโกรธขึ้นมา ไม่ได้ตั้งใจโกรธเลยนะ
ตั้งใจไว้แล้วว่าจะไม่โกรธ เห็นคนนี้มันมาแต่ไกล รู้แล้วว่าเดี๋ยวมันต้องมากวนโทสะเรา
เราตั้งใจวันนี้จะไม่โกรธ พอฟังเขาพูดแป๊บเดียว โกรธไปแล้ว
ใจมันจะโกรธห้ามมันไม่ได้ แต่ถ้าฝึกสมถะห้ามได้
พอเห็นหน้ามันแต่ไกลเดี๋ยวจะโกรธแล้ว รีบเจริญเมตตาไว้ก่อน
สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขเป็นสุขเถิด เป็นสุขเป็นสุขเถิด
แหม ใจเราเย็น รู้สึกมีความเป็นมิตรเกิดขึ้น
มีความเป็นมิตรเกิดขึ้น เขาไปยั่วโทสะนิดๆ หน่อยๆ ไม่โกรธ
ถ้าฝึกดูจิตดูใจจะเห็นเลยว่าเราบังคับมันไม่ได้จริง

หรือจิตจะวิ่งไปที่ตา จิตจะวิ่งไปที่หู จิตจะวิ่งไปที่ใจ เลือกไม่ได้
สังเกตไหม ขณะที่ฟังหลวงพ่อพูด บางครั้งก็มองหน้าหลวงพ่อ บางครั้งก็ตั้งใจฟัง
ฟังนิดนึงก็สลับไปคิด ฟังไปคิดไปดูออกไหม
จิตเดี๋ยวก็ฟัง จิตเดี๋ยวก็คิด จิตเดี๋ยวก็ดู คนละเวลากัน
เราจะเห็นเลย ถ้าเราตามรู้ตามดูมากๆ ว่าเราบังคับมันไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเรา
นี่ดูลงไปอย่างนี้นะ
ในที่สุดก็จะเห็นทั้งกายทั้งใจมันไม่ใช่เรา
รู้กายก็ได้ เมื่อไหร่สติรู้กายก็เห็นกายไม่ใช่เรา
เมื่อไหร่สติรู้จิตรู้ใจนะ รู้เวทนา คือความสุขความทุกข์
รู้กุศลอกุศลที่เป็นตัวสังขาร หรือรู้ตัวจิตที่เกิดดับทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จะเห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเรา นี่ค่อยๆ ละไป ค่อยๆ รู้ ค่อยละความเห็นผิดไปทีละน้อย
เมื่อไหร่มีสติรู้กายรู้ใจ ก็ค่อยๆ ละความเห็นผิดว่ากายกับใจเป็นตัวเรา
เมื่อไหร่ขาดสติก็รู้สึกว่ากายกับใจเป็นตัวเราขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
เพราะว่าการละนี่ยังละด้วยการมีสติไม่ใช่ตัวอริยมรรค
ต้องตามรู้ตามดูมากนะ จนอริยมรรคเกิด
พออริยมรรคเกิดแล้วต่อไปเป็นพระโสดาบัน
ถึงขาดสตินะดูลงมาทีไรไม่เคยเห็นตัวเราเลยนะ
แต่ความรักในกายในใจยังมีอย่างบริบูรณ์นะ
ความยึดถือในกายในใจยังมีอยู่ เพียงแต่ละความเห็นผิดว่ามันเป็นตัวเราได้
รู้แล้วไม่ใช่เรา แต่ว่ายังหวงแหนยังยึดถืออยู่

อย่างพระโสดาบันนี่จะรู้สึกเลยทั้งกายทั้งใจนี้เป็นของยืมโลกมาใช้
อย่างร่างกายก็ยืมวัตถุธาตุของโลกมาใช้
จิตใจก็เป็นแค่นามธรรมอันนึง เกิดดับ เกิดดับไป เป็นธาตุชนิดนึง
ยังรู้สึกว่าไปยืมของเขามาใช้ แต่เป็นคนที่ยืมแล้วขี้งกนะ หวง ไม่คืนหรอก
ไม่คืนเจ้าของ รู้สึกว่ากายกับใจนี้เป็นของดีของวิเศษ
กายกับใจนี้เป็นเครื่องมือทำให้เราได้รับอารมณ์ที่ดี
ได้รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ได้ธรรมารมณ์ที่ดี
เพราะฉะนั้นเราจะรักกายรักใจมากเลย
แต่วันใดที่สติปัญญาแก่รอบขึ้นมา กายนี้ทุกข์นะ ถูกความทุกข์บีบคั้นตลอดเวลา
จิตใจก็มีแต่ความทุกข์นะ หรือมีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่การบังคับไม่ได้
เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก มันเอือมระอา มันหมดความรักในกายในใจได้
ก็ปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ ความพ้นทุกข์ที่แท้จริงอยู่ตรงนี้
ลองดูนะ ลองดู ไม่ต้องเชื่อนะ ไม่ต้องเชื่อแต่ให้ลองดู
ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาที่อ้อนวอนให้เชื่อ แต่เป็นศาสนาที่ท้าให้ลองดู
มีบทสวดมนต์อยู่อันนึง บอกว่า เอหิปัสสิโก คือกล่าวกับผู้อื่นว่ามาลองดู มาลองดู

๑๐ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:11:09 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๓ พฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

สันตินันท์
(พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
ถาม : คุณสันตินันท์ช่วยอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทด้วยค่ะ (๒)

ปฏิจจสมุปบาทสายดับ

จิตที่ได้รับการอบรมดีแล้ว เมื่อเกิดทุกข์ขึ้น
มันจะรู้ว่ากำลังเป็นทุกข์ แล้วหาทางออกจากทุกข์
จะไม่ยอมท้อแท้ทอดอาลัยพินาศล่มจมอยู่กับทุกข์นั้นตลอดไป

ผู้ปฏิบัติที่ขาดความชำนาญ พอเกิดความทุกข์ขึ้นมา
มักจะกระทำ ๒ ลักษณะ คือหนีทุกข์ หรือมิฉะนั้นก็พยายามดับทุกข์
ซึ่ง ๒ วิธีนี้ ผิดทั้งคู่ครับ

คนในโลกเวลาเขาเป็นทุกข์
เขามีวิธีหนีทุกข์ด้วยการเลี่ยงปัญหาหรือเปลี่ยนอารมณ์
เช่น ไปดื่มเหล้า ฟังเพลง ไปเที่ยว หรือวิกลจริตหนีโลกแห่งความจริงไปเลย
แต่ผู้ปฏิบัติมักจะหนีด้วยการเลี่ยงเข้าหาความสงบ
เช่น กำหนดลมหายใจให้จิตสงบลง เป็นการหนีทุกข์ไปคราวหนึ่ง

คนในโลกเวลาเขาเป็นทุกข์ เขาก็พยายามดับทุกข์
เช่น เป็นทุกข์เพราะโกรธใคร ก็หามือปืนไปยิงศัตรูทิ้งเสีย
ถ้ารักใคร หรืออยากได้สิ่งของใด
ก็ล่อลวงฉกชิงเอาด้วยอุบายหรือกำลังบ้าง
การดับทุกข์เช่นนั้น มันก็ดับได้เหมือนกัน เพราะได้สนองกิเลสตัณหาไปคราวหนึ่ง
แต่ผลของการดับทุกข์โดยไม่มีปัญญาเช่นนั้น
ย่อมนำทุกข์อย่างอื่นตามมาอีกอย่างต่อเนื่อง

นักปฏิบัติจำนวนมากก็พยายามดับทุกข์เหมือนกัน
เช่น ถ้าจิตเกิดความทุกข์ความอึดอัด
ก็ใช้กำลังจิตเข้ากดข่ม เพ่งทำลายความรู้สึกเป็นทุกข์นั้น เป็นต้น

ผู้ปฏิบัติมักลืมไปว่า การยอมตามกิเลส และการกดข่มกิเลส
เป็นความสุดโต่ง ๒ ด้าน
แท้ที่จริงพระพุทธเจ้าทรงสอนทางสายกลาง
คือท่านสอนให้เรารู้ทุกข์ และละสมุทัยคือตัณหา
แต่พวกเราส่วนมาก มักจะมีตัณหา คือความอยากที่จะละทุกข์
อันเป็นเรื่องสวนทางกับธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้

เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นในจิตของตน
เห็นจิตหม่นหมอง อึดอัดขัดข้อง วุ่นวาย สารพัดอาการที่จะเป็นไป
ผู้ปฏิบัติสมควรดำเนินตามปฏิจจสมุปบาทสายดับ
คือหาทางดับเหตุแห่งทุกข์ไปตามลำดับ ดังนี้

ขั้นแรกควรทำใจให้สบายเสียก่อน
แล้วมีสติระลึกรู้เข้าไปที่ความรู้สึกเป็นทุกข์นั้น
ก็จะสังเกตเห็นความเป็นตัวเรา แทรกอยู่ในความรู้สึกเป็นทุกข์นั้น

เมื่อจับได้ว่า ความทุกข์กับความรู้สึกเป็นเรา เป็นคนละส่วนกันแล้ว
จิตก็เริ่มถอนตัวออกจากภพที่เป็นทุกข์นั้น
ก็ให้ผู้ปฏิบัติสังเกตต่อไปอีกว่า
จิตยังยึดถือความรู้สึกเป็นทุกข์นั้นหรือไม่
ยังอยากให้ความทุกข์นั้นหายไปหรือไม่
(ในทางกลับกัน ก็รู้ว่า จิตยังยึดถือความรู้สึกเป็นสุขนั้นหรือไม่
ยังอยากให้ความสุขนั้นตั้งอยู่นานๆ หรือไม่)
หากเห็นว่าจิตยังยึด ยังอยาก และความยึด ความอยาก ทำให้จิตเป็นทุกข์
จิตมันจะดับตัณหาคือความอยากโดยอัตโนมัติ
ในทันทีที่มันเห็นจริงว่า ความอยากทำให้มันเป็นทุกข์
ครูบาอาจารย์ทางกรรมฐานบางท่านจึงกล่าวว่า
เมื่อรู้ทุกข์ ก็เป็นอันละสมุทัยได้โดยอัตโนมัติ

เมื่อจิตหมดความยึดและความอยากต่ออารมณ์นั้นแล้ว
จิตจะรู้เพียงเวทนา คือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือความเป็นกลางของอารมณ์นั้น
โดยไม่เข้าไปยินดียินร้ายด้วย
เวทนาก็ไม่อาจก่อให้เกิดตัณหาได้ เพราะผู้ปฏิบัติเริ่มฉลาดรู้ในอริยสัจจ์แล้ว
คือรู้ว่าถ้าจิตอยาก จิตยึด จิตเองจะเป็นทุกข์แน่นอน

เมื่อจิตรู้เวทนา สักแต่ว่าเวทนา ก็จะเห็นชัดว่า เวทนาเกิดมาจากผัสสะ
ผัสสะเกิดได้โดยอาศัยอายตนะ
และอายตนะจะทำหน้าที่ของอายตนะได้ ก็โดยอาศัยรูปนาม


ปฏิจจสมุปบาทส่วนต้น

ผู้ปฏิบัติสามารถรู้เห็นขันธ์ อายตนะ ผัสสะ และเวทนา ไม่ยากนัก
ส่วนการรู้เห็นตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ นั้น ยากขึ้นไปอีกหน่อยหนึ่ง
แต่พอถึงขั้นว่า วิญญาณเป็นปัจจัยของรูปนาม
สังขารเป็นปัจจัยของวิญญาณ
และอวิชชาเป็นปัจจัยของสังขาร
ตรงนี้ส่วนมากจะสัมผัสได้เพียงความคิด รู้ได้ตามตำราบัญญัติ
ที่จะให้รู้เห็นได้ถึงสภาวะจริงๆ นั้น ยากแสนเข็ญทีเดียว
หากจิตไม่ประกอบด้วยกำลังสนับสนุนของสมาธิในขั้นละเอียด
จะเห็นสภาวะส่วนนี้ไม่ได้เลย
แต่พอจะรู้ได้ถึงบทบาทของอวิชชา ที่เชื่อมโยงเข้าถึงตัณหาและอุปาทาน
ส่วนสภาวะของอวิชชาจริงๆ รวมทั้งการอุบัติขึ้นของสังขารและวิญญาณนั้น
รู้ยาก เข้าใจยาก จริงๆ
เพราะจะเข้าใจได้ ต่อเมื่อสามารถดำเนินจิตเข้าถึงสภาวะ รู้ ที่ไม่มีความคิดสักนิดเดียว
แล้วเห็นอุบัติการณ์ตามลำดับจนขันธ์ ๕ ปรากฏขึ้นมา

เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเป็นนามธรรมอยู่นั้น
ยิ่งอารมณ์ละเอียด จิตก็ยิ่งละเอียด
ยิ่งจิตละเอียด อารมณ์ก็ยิ่งละเอียด
เมื่อถึงจุดหนึ่ง จิตกับอารมณ์มันเหมือนจะเป็นอันเดียวกัน
ไม่มีการแบ่งแยกว่าอันนี้คือจิตผู้รู้ อันนี้คืออารมณ์ที่ถูกรู้
กลายเป็นธรรมชาติรู้ล้วนๆ ที่หมดจด ผ่องใสสุดขีด

แต่จิตหรือธรรมชาติรู้ตัวนี้ ยังนอนแช่อยู่กับความไม่รู้อริยสัจจ์อย่างลึกซึ้ง
หากกำลังของจิตไม่เพียงพอ ไม่มีทางจะเห็นจิตอวิชชาดวงนี้ได้เลย
มันเป็นสภาวะที่จิตเข้าคู่กับความว่างเปล่าอย่างไม่รู้ตัว
(ผู้ที่ติดแค่จิตว่างๆ นั้น จะนอนกอดอวิชชาตายได้ง่ายๆ ครับ)
เป็นจิตที่ไม่มีกำลังขุดคุ้ยเข้ามาเห็นความไม่รู้ภายในตัวเอง
เพราะเอาแต่มองออกไปที่ความว่าง

เมื่อจิตเข้าคู่กับความว่างนั้น ถึงจุดหนึ่งจะเกิดความไหวขึ้นภายในจิต
ความปรุงแต่ง (สังขาร) ที่ไม่ทราบว่าคืออะไร เพราะไม่มีสัญญา
จะผุดพลิ้วขึ้นมาจากความว่างเปล่า
จิตซึ่งเคยหยุดอยู่กับความว่างจะเกิดความไหวตัว เข้าไปรับรู้ความปรุงแต่งนั้น
แล้วมโนวิญญาณ ซึ่งเป็นแสงสว่าง ก็จะแผ่ขึ้นมาปิดบังความว่าง
เมื่อมันแผ่กระทบรูป รูปก็ปรากฏ แต่สักว่ารูป ไม่รู้ว่ารูป
เมื่อกระทบนาม คราวนี้จึงเหมือนการเปิดสวิตช์ไฟให้สว่างพรึบขึ้น
แล้วขันธ์ ๕ ก็ปรากฏขึ้น
ผู้ปฏิบัติบางท่านจึงกล่าวว่า ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นกิริยาของจิตบ้าง
ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นแสงของจิตบ้าง


http://202.44.204.76/narupan/PantipSakajcha04.htm

Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:11:22 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๔ พฤหัสบดีที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถาม: อ่านหนังสือธรรมะมาเยอะพอสมควร แต่ก็รู้สึกว่าเข้าใจเพียงผิวเผิน
พยายามจะลองปฏิบัติธรรม แต่ก็รู้สึกว่ายาก ไม่ทราบว่าควรศึกษาอย่างไรจึงจะเข้าถึงธรรม

มันยากเพราะว่าความคิดของเราเองปิดกั้นเอาไว้
คือเราชอบไปคิดว่ามันยาก คิดว่า 
“ธรรมะคืออะไรอย่างหนึ่ง”
“something”
“ลึกลับ”
“อยู่ไกลๆ”
“ต้องค้นคว้ากันอีกนานกว่าจะเจอ”
ล้วนแต่ความคิดที่ล้างผลาญตัวเองทั้งสิ้นเลย
ธรรมะเป็นของง่ายๆ อยู่ต่อหน้าต่อตา คืออยู่ที่กายที่ใจของเราเองนี่เอง
ไม่ใช่ไปหาที่อื่น
รู้ลงมาในกายรู้ลงมาในใจ
ธรรมะอยู่ตรงนี้เอง
กายนี้เป็นธรรมะ เรียกว่ารูปธรรม
จิตใจเป็นธรรมะเรียกว่านามธรรม
เรียนลงมาในกายเรียนลงมาในใจ
เพื่ออะไร เพื่อให้เห็นความจริงของกายของใจ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย
ล้วนแต่ของไม่เที่ยง ล้วนแต่เป็นทุกข์ ล้วนแต่บังคับไม่ได้
เรียนเพื่อให้เห็นตรงนี้ต่างหาก
ถึงจุดนึงเห็นเลย ไม่มีเรา ไม่มีตัวเรา
ถ้ามันไม่มีเราแล้วความทุกข์มันจะไปอยู่ที่ไหนล่ะ
มันจะไปอยู่ที่ไหนก็เป็นเรื่องของมันใช่ไหม ไม่ใช่เรื่องของเรา เพราะมันไม่มีเรา

หลวงพ่อนะ ภาวนาตั้งแต่เจ็ดขวบ ทำสมถะลูกเดียวเลย เพราะขึ้นวิปัสสนาไม่เป็น
ฝึกอานาปานสติ หายใจออก หายใจเข้า
ตอนเด็กๆ หายใจเข้า หายใจออกนะ
หายใจเข้า ใจแข็งปึ๊กเลย
แต่ตอนแรกเล็กๆ จริงๆ นะ ตอนหัดทีแรกนะ หายใจเข้าหายใจออกไม่ได้จงใจ
จิตสงบรวดเร็วมากเลยนะ
พอมันจำว่าทำอย่างนี้แล้วดีนะ
ถัดจากนั้นพอลงมือปฏิบัติ เมื่อไหร่จะดี อึดอัด
ต่อมาจับหลักได้ หายใจออกสิ จิตใจมีปีติมีอะไรขึ้นฉับพลันเลยนะ
พอหายใจเข้าหายใจออก หายใจออกหายใจเข้านะ ใจสงบ
ต่อมาไปได้ฟังธรรมของหลวงปู่ดูลย์ ท่านสอนให้ดูจิตตัวเอง
สนใจ สนใจเรียนรู้ ดูจิตดูใจทั้งวันเลย
จิตใจนี้ทำยังไงหนอ เราจะบังคับมันได้ ทำยังไงมันจะดี ทำยังไงมันจะสุข
นี่ ที่เอามาสอนพวกเราว่าผิดๆ หลวงพ่อผิดมาแล้ว
เสียเวลาตั้งสามเดือนแน่ะ
ตรงนี้ไปไล่ฟัดกับมันเพื่อจะให้มันดี ให้มันสุข ให้มันสงบ
ตามรู้ตามดูแล้วแทรกแซง
ฝึกอยู่สามเดือนกลับไปรายงานหลวงปู่
นี่ ผม ถ้าพูดภาษาปัจจุบัน ผมแทรกแซงเก่งแล้ว
หลวงปู่บอก ไป กลับไป ไปดูเอาใหม่ ที่ทำอยู่ไม่ถูกต้อง
ครูบาอาจารย์แต่ก่อนไม่สอนเยอะนะ สอนนิดเดียว
โอ้โฮ เราต้องคลำคำพูดท่านแต่ละคำ เอามาคลำแล้วคลำอีก ลองแล้วลองอีก ใช่ไม่ใช่นะ
ลองจนมั่นใจ แล้วก็ไปหาท่านอีกที ไปสอบเข้าห้องสอบ

เพราะฉะนั้นต้องคอยรู้เอา มันไม่ได้ยากอย่างที่เราคิดหรอก
ธรรมะอยู่ที่กายที่ใจของเรานี้เอง
เราอยู่กับธรรมะมาตั้งแต่เกิด แต่ใจเราไม่ยอมรับธรรมะ
ใจเราไม่ยอมรับความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวเรา
เราอยากได้สิ่งซึ่งไม่ใช่ความจริง อยากให้เที่ยง อยากให้สุข อยากบังคับให้ได้
เพราะฉะนั้นภาวนาแทบเป็นแทบตาย ธรรมะก็ไม่เข้ามาสู่ใจของเรา
เพราะใจของเราปฏิเสธธรรมะ
ไม่มีใครปฏิเสธธรรมะ เราปฏิเสธเองนะ

จิตใจของเรานี่ ถ้าไม่ไปยุ่งกับมันนะ
มันมีแนวโน้มที่จะเข้าถึงธรรมโดยตัวของมันได้นะ
ถ้าเราไม่ไปแทรกแซงมัน มีแนวโน้มที่จะดี

ในแง่ของสมถะ ตัวจิตเป็นประภัสสรอยู่แล้ว ผ่องใส
แต่มันถูกกิเลสมอมเมาเอา จิตใจก็เลยไม่สงบ ไม่สบาย นี่ในแง่สมถะนะ
ในแง่วิปัสสนานี่ ถ้าเราตามรู้กายตามรู้ใจไปเรื่อยๆ นะ
จะเห็นความจริงของเขา เราก็เข้าถึงธรรมะ ไม่ได้มีอะไรยากเลย เราชอบทำเกิน

มีครั้งนึงพระพุทธเจ้าอยู่ริมแม่น้ำคงคา กับพระกลุ่มใหญ่
แล้วท่านก็ชี้ให้พระดูท่อนไม้ลอยน้ำมา
ชี้บอก ภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้นี้ลอยอยู่ในแม่น้ำคงคา
ถ้าท่อนไม้นี้ไม่ติดฝั่งซ้ายไม่ติดฝั่งขวา
ไม่ไปเกยตื้น เกยตื้นอยู่ตามเกาะตามแก่งอะไรอย่างนี้
ไม่ติดฝั่งซ้าย ไม่ติดฝั่งขวา ไม่ไปเกยตื้น
ไม่ถูกคนหรืออมนุษย์จับเอาไว้
ไม่ถูกน้ำวนดูดจมลงไปหรือวนอยู่ที่เดิมไปไหนไม่ได้
ไม่ผุพังเน่าเสียก่อน
ท่อนไม้นี้ก็จะลอยไปสู่มหาสมุทร

จิตของเรานี้เหมือนกัน มีแนวโน้มที่จะไปสู่มหาสมุทรคือมรรคผลนิพพาน
ถ้าไม่ติดฝั่งซ้ายไม่ติดฝั่งขวา
ไม่ไปเกยตื้น
ไม่ถูกมนุษย์และอมนุษย์จับไว้
ไม่ถูกน้ำวนดูดไว้
ไม่เน่าในเสียก่อน
ถ้าจิตของเรามีคุณสมบัติอย่างนี้นะ
การจะบรรลุมรรคผลนิพพานมันจะเป็นไปเอง
มันจะเป็นไปเอง มันมีแนวโน้ม โน้มน้อมไปสู่มรรคผลนิพพานโดยตัวของมันเอง
เพราะฉะนั้นคนที่สกัดกั้นมันไว้ส่วนมากก็คือตัวเรานี่เอง

คำว่า ฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ก็คือการที่จิตของเราไปหลงติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคู่ๆ
บางคนยึดในความดี เกลียดความชั่วรุนแรงนี่ติดนะ
บางคนยึดชั่วเกลียดดี ก็ติดอีกนะ
บางคนยึดสุขเกลียดทุกข์ ก็ติดอีก
ติดคู่ที่สำคัญมากเลย ก็คือติดในการเผลอไปกับติดในการเพ่งไว้
ติดในกามสุขัลลิกานุโยค คือจิตใจหลงตามกิเลสไป
เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
แล้วก็เพ่งเอาไว้ นั่งปฏิบัติเกือบทั้งหมดคือเพ่งอยู่นะ
เพราะฉะนั้นติดฝั่งอยู่นะ ไปไหนไม่ได้หรอก
นักเพ่งทั้งหลายก็ติดอยู่บนฝั่งข้างหนึ่งนั่นเอง
ท่านไม่ได้บอกนะ ว่าข้างซ้ายหรือข้างขวา
ท่านแค่ว่ามันมีสองฝั่งแล้วติดฝั่ง คือติดในธรรมที่มันเป็นคู่ๆ

เกยตื้น คือไปติดอยู่ในภพอะไรอย่างหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมา
หลายคนภาวนาจนจิตว่าง โล่ง สว่างไสวนะ แล้วก็เพลิดเพลินพอใจอยู่ในภพอันนั้น
นี่เกยตื้นแล้ว ชาตินี้ไม่ไปไหนแล้ว
บางคนดูจิตดูใจนะ จิตใจว่างสว่างอยู่ข้างหน้าอย่างนี้
ที่หลวงพ่อพูดว่าจิตไม่ถึงฐาน ไม่ถึงฐาน คือจิตไปสร้างภพอันนึงอยู่ข้างนอก
แล้วจิตก็ไปเกาะนิ่งๆ อยู่ในภพอันนั้น นี่เกยตื้นแล้ว เดินปัญญาต่อไปไม่ได้

ถูกมนุษย์จับไว้ ก็คือติดหมู่คณะ ติดพรรคติดพวก
ไปไหนก็กะเตงกันไปเป็นกลุ่มเบ้อเร่อเลย
เมื่อก่อนอยู่วัดป่านะ มีรถทัวร์เข้าไปกันเยอะ
พอรถทัวร์เข้ามา คนในวัดจะคุยกันแล้ว โอ้ พวกอรหันต์ทัวร์มาอีกแล้ว
นี่พวกอรหันต์ทัวร์ เพราะชอบไปหาข่าวลือว่าวัดไหนมีพระอรหันต์นะ จัดทัวร์ไป
อรหันต์หนึ่งวัด สองวัด สามวัด นี่วันนี้ไหว้อรหันต์เจ็ดวัดแล้ว ชาตินี้ไม่ตกนรกแล้ว
นี่ติดหมู่ติดคณะนะ
บางคนก็ห่วงคนอื่น ห่วงคนอื่นไม่ห่วงตนเอง
ห่วงหมู่คณะ ห่วงพรรคพวก
เห็นพรรคพวกติดกรรมฐานพยายามไปแก้ ตัวเองเลยติดด้วย อย่างนี้ก็มีนะ

ถูกอมนุษย์จับไว้ อะไรคืออมนุษย์ ชื่อเสียง เกียรติยศทั้งหลาย
ภาวนาไปแล้วดัง เป็นอาจารย์ใหญ่ดัง ขี่หลังเสือลงไม่ได้แล้ว
ชาตินี้ก็เลยอยู่บนหลังเสือตลอดไป มีนะ ไม่ใช่ไม่มี

ถูกน้ำวนคืออะไร น้ำวนคือกามนะ
น้ำวนคือกาม
ถ้าภาวนาดูจิตดูใจเป็นจะเห็นเลย จิตของเราจะหมุนอยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ตลอดเวลา
หมุนติ้วๆ เลยนะ
คือเดี๋ยวก็วิ่งหาอารมณ์ทางตา เดี๋ยวก็วิ่งหาอารมณ์ทางหู
เดี๋ยววิ่งหาอารมณ์ทางจมูก ไปดมกลิ่น
เดี๋ยวก็วิ่งหารสที่เพลิดเพลิน หาสัมผัสที่ถูกอกถูกใจ
นี่จิตจะหมุนติ้วๆ หาอารมณ์อยู่อย่างนี้ ไปไหนไม่รอดหรอก
ยังติดอยู่ในกาม คือถูกน้ำวนไว้

จิตเน่าใน คือพวกไม่มีศีลธรรม ก่อกรรมทำชั่ว
บางคนดูถูกศีลนะ เจริญปัญญาได้แล้ว ไม่ต้องถือศีล เข้าใจผิด
ไม่ถือศีลไม่ได้ ถ้าเราไม่ถือศีลนะ ปัญญาของเราจะเป็นปัญญาของมหาโจร
เพราะฉะนั้นเราต้องมีศีล ถ้าเราทุศีลเมื่อไหร่นะ ก็เน่าอยู่ข้างใน
เปลือกนอกดูสวยงาม แต่เน่าอยู่ข้างใน นี่บรรลุมรรคผลไม่ได้

เพราะฉะนั้นพวกเรานะ สำรวจตัวเอง
เราติดฝั่งซ้ายฝั่งขวาไหม
เราไปเกยตื้น คือเราไปติดอยู่ในภพใดภพหนึ่งที่เราสร้างขึ้นเองหรือเปล่า
เราพัวพันในหมู่คณะ ปล่อยวางไม่ได้ จะหอบกระเตงกระเตงกันไป
หรือเราติดในชื่อเสียง
บางคนไปพูดธรรมะแล้วสนุกนะ
นี่ ได้แสดงธรรมะแล้วสนุก เพลิดเพลิน มีความสุข ติดอยู่ในความสุข
นี่ถูกอมนุษย์จับไว้
หรือใจของเราวันๆ หมกมุ่นในกามไหม
หมกมุ่นอยู่ในกามไปไม่รอดหรอก
ใจของเรามีศีลมีธรรมไหม
สำรวจนะ ลองไปสำรวจตัวเองเป็นการบ้าน
ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้แล้วนี่ ให้รู้กายแบบสบายๆ รู้จิตใจไปอย่างสบายๆ
ถึงวันนึงท่อนไม้นี้จะลอยไปถึงแม่น้ำ ถึงมหาสมุทรนะ
ออกจากแม่น้ำคงคา ถึงมหาสมุทร
ใจเราก็จะออกจากที่คับแคบไปสู่ที่กว้างไร้ขอบไร้เขต
จิตใจของเราแต่ละคนอยู่ในที่ขังนะ มีกรอบมีขัง มีจุดมีดวง มีกรอบขังอยู่แคบๆ
ถ้าภาวนาไปถึงช่วงนึงจะเห็นใจเราอยู่ในแคปซูล ใจเหมือนมีเปลือกหุ้มอยู่ ใจไม่มีอิสระ
วันใดที่เราออกสู่ทะเลได้ คือเข้าถึงธรรมแท้ๆ นะ ใจจะโล่งว่างเลยนะ
กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต ไม่มีจุดไม่มีดวง ไม่มีที่ตั้ง
เพราะฉะนั้นใจไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมาเหมือนที่เคยเป็น
ใจอยู่ในที่ทุกสถานเลย เต็มไปหมดเลย
เพราะฉะนั้นอย่างเวลาพวกเราภาวนา
เรามีปัญหาติดขัดหรือเกิดอะไรขึ้นนะ
เราระลึกถึงพระพุทธเจ้านะ เราจะสัมผัสท่านได้ทันทีเลย
พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่อินเดีย คุณธรรมของท่านยังครอบโลกเต็มโลกอยู่อย่างนี้
ใจเรานึกถึงขึ้นมาจิตใจเราก็สงบ ตั้งมั่น มีความสุขขึ้นมาฉับพลันเลยนะ
หรือบางครั้งภาวนาติดขัด ไม่รู้จะทำยังไงดี
ครูบาอาจารย์ก็อยู่ไกล เราไหว้พระสวดมนต์ เราตามรู้ตามดูของเราไป
บางทีธรรมะจะถ่ายทอดออกจากใจของเราเอง
หรือบางคนมีภาพประกอบ บางคนมีเสียง
เห็นพระพุทธเจ้าไปบอกบ้าง
เลยคิดว่าพระพุทธเจ้ามาจริงๆ นะ
จริงๆ จิตนั่นเองมันถ่ายทอดธรรมะออกมา
จิตใจโน้มเอียงที่จะอยู่กับธรรมะ
เวลาติดขัดขึ้นมาจิตจะสอนธรรมะได้ เป็นเรื่องแปลกนะ
ค่อยๆ ดู ท้าให้พิสูจน์นะ ไม่ได้ชวนให้เชื่อ
ลองภาวนาดู เอาซีดี เอาหนังสือหลวงพ่อไป ไปฟังไปอ่าน
แจกให้ฟรีนะ ไปฟังไปอ่านแล้วค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราไป

๑๐ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:11:36 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๕ พฤหัสบดีที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

สันตินันท์
(พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)

ถาม: คุณสันตินันท์ช่วยอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทด้วยค่ะ (๓)

การปฏิบัติเพื่อตัดวงจรของปฏิจจสมุปบาท

ผู้ปฏิบัติที่ไม่มีกำลังหนุนของฌานถึงขั้นดับความคิดนึกได้
ก็ไม่ต้องตกใจว่า ตนจะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
และไม่สามารถตัดวงจรของปฏิจจสุมปบาทได้
เพราะวงจรของปฏิจจสมุปบาทนั้น ตัดได้ทั้งที่อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน
เพียงแต่การตัดที่ตัณหาและอุปาทาน
เป็นการตัดวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างหยาบ
เหมือนการตัดหญ้า ที่ตัดสั้นจนชิดหน้าดิน
แต่รากหญ้าคืออวิชชายังอยู่ ก็จะงอกเป็นต้นหญ้าให้คอยตัดต่อไป
เหมือนที่ท่านชินเชา พูดเรื่องการคอยเช็ดกระจกให้สะอาดไม่ให้ฝุ่นจับ
แต่กระจกยังอยู่ ไม่ช้าฝุ่นก็มาจับอีก
การปฏิบัติในขั้นเด็ดขาด จึงต้องถอนรากถอนโคนของอวิชชา
จนไม่มีกระจกให้ฝุ่นจับเหมือนที่ท่านเว่ยหล่างกล่าวไว้

พวกเราที่ฝึกหัดปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้
ให้หมั่นคอยสังเกตจิตใจตนเองให้มาก อย่าให้กิเลสตัณหาครอบงำจิตได้
กิเลสจะมีอยู่ก็ไม่เป็นไร แต่อย่าให้มีอิทธิพลเหนือจิตผู้รู้
ให้มันต่างคนต่างอยู่กับจิตผู้รู้
เมื่อใดที่จิตเกิดตัณหาคือแรงทะยานอยากของจิตขึ้น
ให้รู้แล้วรีบละเสีย อย่าให้จิตหลงทะยานไปตามแรงของตัณหา
การปฏิบัติในขั้นนี้ ก็เหมือนการยันกองทัพศัตรูไม่ให้เข้ามาพิชิตเราได้เท่านั้น
แต่ถึงทำได้เพียงแค่นี้
ชีวิตก็จะพบกับความสุข ความเบิกบาน เต็มเปี่ยม
ผิดกว่าคนทั้งหลายอย่างเทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว

เมื่อฝึกหัดชำนิชำนาญมากขึ้น
ก็จะเริ่มสังเกตเห็นจิตผู้รู้ที่ชัดเจนแจ่มใสขึ้นตามลำดับ
ถึงตรงนี้ ให้ทำจิตใจให้สบาย อย่ารีบร้อนที่จะผ่านจุดนี้ไป

สำหรับอุบายวิธีที่จะไปต่อจากจุดนี้ มี ๒ ทางด้วยกัน

วิธีแรก เป็นวิธีที่ท่านอาจารย์พระมหาบัว แห่งวัดป่าบ้านตาด ท่านสอนผมไว้
คือให้บริกรรมกำกับ ประคองตัวรู้เอาไว้
แล้วค่อยสังเกตเห็นธรรมชาติรู้ ที่แทรกอยู่กับจิตที่มีความไม่รู้นั้น
อันนี้เป็นอุบายวิธีที่ท่านย้ำว่า
"นี่เป็นเรื่องสำคัญ ต้องเชื่อเรานะ
เราเอง (องค์ท่าน) ก็ผ่านขั้นสุดท้ายมาได้ด้วยวิธีนี้"

อีกวิธีหนึ่ง เป็นของพระภิกษุผู้เป็นศิษย์พี่ของผม
ท่านให้ประคองรู้เอาเลย ไม่ต้องบริกรรม
เพราะเห็นว่าอาจจะทำให้จิตไหวขึ้นมาอีก
แล้วจะสามารถแยกธรรมชาติรู้ที่บริสุทธิ์ ออกจากความไม่รู้ได้

จิตที่เป็นธรรมชาติรู้อันบริสุทธิ์ล้วนๆ นั้น
ไม่มีรูปร่าง แสงสี และไม่เสวยเวทนาใดๆ
เพราะมีวิชชาทำลายอวิชชาอย่างบริบูรณ์แล้ว
คือรู้แจ้งชัดในอริยสัจจ์ว่า ถ้าอยากก็ทุกข์ ไม่อยากก็ไม่ทุกข์
จึงไม่มีช่องทางที่จะให้ตัณหาอุปาทานเกิดขึ้นได้เลย

อนึ่ง การรู้ของจิต กับการรู้ของเรา เป็นคนละเรื่องกันทีเดียว
แม้จะอ่านตำราละเอียดเพียงใด แม้จะฟังการบรรยายธรรมโดยผู้รู้เพียงใด
แม้จะคิดไตร่ตรองเพียงใด
ทั้งหมดนั้น ก็ยังเป็นความรู้ที่เจือด้วยสัญญา
ส่วนความรู้ของจิต เกิดขึ้นได้เพราะจิตเขารู้ของเขาเอง
แต่จิตเขาจะรู้ได้ เราก็ต้องเป็นพี่เลี้ยง
ป้อนจิตด้วยศีล สมาธิ และปัญญา
พาให้จิตรู้จักการเป็นผู้สังเกตการณ์สภาวธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า
ให้จิตได้เรียนรู้ ด้วยการเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์
เมื่อจิตสังเกตการณ์จนแน่ใจแล้ว จิตเขาจะตัดสินความรู้ด้วยตัวของเขาเอง
และเมื่อจิตตัดสินความรู้แล้ว บริบูรณ์ด้วยความรู้ในอริยสัจจ์แล้ว
จิตจะไม่กลับกลายวกวนเข้ามายึดถือของสกปรกคือขันธ์อีก

บางคนคิดว่าการศึกษาตำราธรรมในขั้นละเอียดอย่างยิ่ง
จะช่วยอบรมจิตให้เกิดปัญญา
นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงทีเดียว
เพราะเมื่อศึกษาตำราอันอุดมด้วยเหตุผลจนไร้ร่องรอยให้สงสัยมากเข้า
จิตจะล็อกตัวเอง
ปิดกั้นการเรียนรู้ของจิตที่จะสังเกตปรากฏการณ์จริงของสภาวธรรม
ความรู้ชนิดนั้นจะติดอยู่เพียงขั้นความจำได้ หรือสัญญา
หาใช่ปัญญาที่แท้จริงไม่
ผู้ที่ศึกษาในลักษณะนี้ จะยิ่งมีมานะอัตตารุนแรงกว่าคนธรรมดาเสียอีก


http://202.44.204.76/narupan/PantipSakajcha04.htm


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:11:51 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๖ พฤหัสบดีที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

ธรรมเทศนา ณ โรงพยาบาลกลาง
พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
4 กุมภาพันธ์ 2552
ถาม : มีคนแสดงความเห็นว่า วิธีการปฏิบัติของหลวงพ่อ
เหมาะกับคนที่เกษียณแล้ว ก็เลยอยากถามว่า
หากเราเป็นหัวหน้างาน ต้องคุมลูกน้องให้ทำงานตามเป้าขององค์กร
ต้องทำอย่างไร ถึงจะเชื่อมโยงเรื่องงานกับเรื่องสติได้คะ

ตอบ : เข้าใจผิดนะ ว่าการเจริญสติเป็นเรื่องของคนเกษียณ
หลวงพ่อหัดเจริญสติ ตอนนั้น ทำงานอยู่สภาความมั่นคง
ชื่อมันก็น่ากลัวแล้วนะ งานน่ะซีเรียสที่สุดเลย
คือถ้าทำอะไรผิดพลาด บ้านเมืองเสียหายได้เยอะเลยนะ
อาจจะจลาจลหรือเสียดินแดน หรืออะไรอย่างนั้นได้เลยถ้าทำผิด
งานนี่เครียดสุดๆเลย แล้วก็ทำงานอยู่กับคนที่เครียดสุดๆด้วย
หลวงพ่อภาวนาได้ดีที่สุดช่วงนั้นนะ เวลาที่เราทำงาน

การทำงานไม่ได้เบียดบังเวลาเจริญสติเลย
ถ้าเราไม่มีสติ เราจะทำงานแบบเอาหัวเข้าไปมุดๆ
ตะลุย ตะลุมบอนกับมันนะ งานไม่ดีหรอก
เพราะฉะนั้นเวลาทำงาน หลวงพ่อเล่าให้ฟังนะ

ตอนนั้น หลวงพ่อรับราชการอยู่ ตื่นเช้าขึ้นมาเราก็มีสติ
ตอนตื่นนอนนี่ เรายังไม่ต้องคุมลูกน้องทำงานใช่มั้ย
ตื่นนอนขึ้นมานี่เรารู้สึกเลย
จิตใจเรานึกขึ้นได้ว่าวันนี้วันจันทร์ จิตใจแห้งแล้งเลย
พอนึกได้ว่าวันนี้วันศุกร์นะ แหม ชุ่มฉ่ำเลย วันอังคารนี่ก็เซ็งมากใช่มั้ย
วันพุธเซ็งที่สุด วันพฤหัสสดชื่น ใช่มั้ย วันศุกร์นี่กระดี๊กระด๊าแล้ว
นี่แต่ละวันนะ ตื่นขึ้นมา แค่นึกถึงใจเราไม่เหมือนกัน

เวลากินข้าว นักบริหารทั้งหลายกินข้าวมั้ย ก็กินใช่มั้ย
เวลากินข้าว เจออาหารนี้ถูกใจ แหม เลขาจัดมาให้ถูกใจ
มันพอใจขึ้นมา ให้รู้ว่าพอใจ วันนี้จัดอะไรมาให้เรากินไม่รู้ ไม่ชอบเลยนะ
โมโห รู้ว่าโมโห เห็นมั้ย มันไม่ได้เบียดบังนะ ทำงานได้
หรือขับรถมาจากบ้านมาที่ทำงาน รถติดตลอดเลย
หงุดหงิด แล้วรู้ว่าหงุดหงิด กังวลแล้วกลัวจะมาต้อนรับผู้ว่าไม่ทัน
ได้ข่าวว่าผู้ว่าจะมา กลัวจะมาไม่ทัน กระวนกระวาย รู้ว่ากระวนกระวาย นี่ปฏิบัติได้

แต่เวลาทำงาน จดจ่ออยู่กับงาน ไม่ใช่เวลาเจริญสติ
จดจ่ออยู่กับงานเวลาทำงานต้องคิดเรื่องงาน
ฉะนั้น คิดไป คิดไป ทำงานไป ทำงานไป ลูกน้องมากวนเราอีกแล้ว
ถือแฟ้มมาอีกแล้ว เอ๊ะ เราจะเริ่มคิดงานเรื่องนี้อยู่ กำลังยุ่งยากอยู่
เอางานอื่นมาแทรกเรา โมโห เรารู้ว่าโมโห นี่ เราปฏิบัติอย่างนี้
หรือเราตั้งใจจะทำงานให้เสร็จนะ โทรศัพท์มาอีกแล้ว
เดี๋ยวก็โทรศัพท์ๆ โมโหอีกแล้ว รู้ว่าโมโห
เราทำงานเสร็จ เราเอาไป present ในที่ประชุม
เข้าไปเจอรัฐมนตรีเราก็สั่นแล้ว กลัว รู้ว่ากลัว
เราจะหายกลัวรัฐมนตรีเลยตอนเรารู้ทันนะ
ไม่ต้องไปกลัวมันหรอก เราสะอาดกว่านะ
ฉะนั้น เรารู้ทันตัวเองนะ พอเราเสนอ present งาน
เขาชม ใจเราพอง เรารู้ว่าพอง
เขาติโน่นตินี่ เราโมโห หรือเสียอกเสียใจ รู้ว่าเสียใจ
นี่ หัดไปอย่างนี้ซิ หัดไป ไม่ได้เบียดบังเวลาทำงานเลยนะ

ถ้าคิดว่าการเจริญสติเป็นเรื่องของคนเกษียณแล้วน่าสงสารที่สุดเลย
พระเจ้าอยู่หัวของเราเจริญสติเก่งที่สุดเลยนะ ท่านไม่ได้เกษียณใช่มั้ย
ท่านก็อายุเยอะ แต่ท่านยังไม่ได้เกษียณ นั่นท่านเจริญสตินะ ท่านไม่ได้ทิ้ง
หลวงพ่อเคยอ่านงานอันหนึ่ง เป็นประวัติหลวงพ่อเกษม เขมโก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตเขาพิมพ์แจกหลายปีแล้ว
ในหลวงท่านเจอหลวงพ่อเกษม ท่านเล่าให้หลวงพ่อเกษมฟังว่า
ท่านใช้ปฏิบัตินี่ งานท่านเยอะ ท่านแบ่งชีวิตของท่านเป็นช่วงเล็กๆ
เช่น ท่านมีเวลาเหลืออยู่สองนาทีนะ ท่านเอาสองนาทีนี้มาดู
ท่านมีสามนาที ท่านดูสามนาที ท่านมีหนึ่งนาที ท่านดูหนึ่งนาที
ท่านเก็บช่วงเล็กๆๆๆ ท่านภาวนาเก่ง
ของเราเป็นนักบริหารว่างานเยอะ สู้ท่านไม่ได้หรอก งานน้อยกว่าท่านนะ

เพราะฉะนั้น ถ้าบอกว่า
ทำงานจนไม่มีเวลาเจริญสติ อันนั้นไม่เข้าใจการเจริญสตินะ
ถ้าเข้าใจการเจริญสติเราจะรู้ว่า
การเจริญสตินั่นแหละ คือชีวิตของเราล่ะ
มีชีวิตอยู่แล้วก็ยังมีการเจริญสติอยู่


ถาม : การนั่งวิปัสสนากรรมฐาน สามารถแก้กรรมได้มั้ยคะ

ตอบ : กรรมที่ทำแล้วแก้ไขไม่ได้นะ แต่มันแก้กรรมใหม่ได้
เช่น เดินๆไป โดนเขาด่า ถูกเขาด่า นี่เป็นกรรมเก่า
แก้ไม่ได้ จะไปแก้ยังไงในชาติก่อน
เราทำกรรมใหม่ที่ดี ถูกเขาด่า แล้วเราก็รู้ทันใจที่โกรธ
เราก็ไม่โกรธตอบนะ อยากด่าก็เชิญด่าไป เดี๋ยวมันก็เลิกไปเอง

เพราะฉะนั้น เราชาวพุทธไม่ยุ่งกับกรรมเก่านะ ชาวพุทธเราทำกรรมใหม่ที่ดี
กรรมเก่านี้ส่งผลให้เราต้องเจอปรากฏการณ์ในปัจจุบัน
เมื่อเจอปรากฏการณ์ปัจจุบันแล้วมีสติมีปัญญา เราได้ทำกรรมใหม่ที่ดี
กรรมเก่าที่เลวก็จะค่อยๆถูกบั่นทอนหมดกำลังไปเอง
ในที่สุดกรรมใหม่ที่ดีนั้น จะมีพลังแรง แล้วก็ทำลายผลของกรรมเก่า
ไม่ใช่ทำลายตัวกรรมเก่านะ ทำลายการให้ผลของกรรมเก่าไป
เช่น เขาด่าเราหลายวันแล้ว เราก็ใจเย็นยิ้มกับเขาไปเรื่อยๆนะ
วันหนึ่งเขาก็เลิกด่า มันหมดกรรมเก่าแล้ว หมดเพราะเราไม่ทำกรรมใหม่

ชาวพุทธอย่าไปเล่นเรื่องกรรมเก่านะ ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร
เจ้ากรรมนายเวรของชาวพุทธนี่ชื่อว่า ชนกกรรม (ชะ-นก-กำ)
คือ กรรมที่บันดาลให้เรามีกายมีใจอันนี้มา
นี่แหละ คือเจ้ากรรมนายเวรของเราตัวจริง
เมื่อเรามีกายมีใจอันนี้มาแล้ว เราจะใช้กายนี้ใจนี้ ก่อกรรมทำชั่วก็ได้
เราจะใช้กายนี้ใจนี้ มาพัฒนาตัวเองก็ได้ มาทำกรรมใหม่ที่ดีหรือที่เลว

เพราะฉะนั้น เราฝึกนะ มีสติรู้กายรู้ใจ
เราทำกรรมใหม่ที่ดีไปเรื่อยๆ แล้วชีวิตเราจะดีขึ้น

อย่างหลายบ้านนะมีปัญหาในครอบครัว ง้องแง้งๆตลอดเลยนะ
มาหัดภาวนาสักคนหนึ่ง สามีหรือภรรยาอะไรนี่มาหัดสักคนหนึ่ง
แต่เดิมภรรยานะ ขี้บ่นมากเลย สามีก็เลยทนอยู่ในบ้านไม่ได้
หนีออกบ้านไปเรื่อย ไปมีอีหนู อีหนูมันไม่บ่นนะ
ต่อมานี่ ภรรยามาหัดดูของตัวเองเรื่อยๆ
ปากเริ่มหุบลงเรื่อยๆ อ้าช้าขึ้น ใจก็สงบ ใจก็ร่มเย็น
หน้าตาผ่องใสขึ้นๆ สามีกลับบ้านเลยนะ นี่เสน่ห์ร้ายแรงเลย
ฉะนั้น หัดเจริญสตินะ จะสวยกว่าเก่า จะสาวกว่าเก่า
นี่แก้กรรมแบบนี้นะ แก้กรรมของชาวพุทธ คือทำกรรมใหม่ที่ดี
ไม่ใช่พยายามไปล้างกรรมเก่าที่ไม่ดีที่ผ่านมาแล้ว
เพราะของที่ผ่านมาแล้วทำอะไรไม่ได้ ใช้ปัจจุบันให้ดีที่สุด
นี่แหละ คือทางแก้กรรมของชาวพุทธ

ความจริงไม่มีการแก้กรรมหรอก กรรมทั้งหลายให้ผลมาถึงจุดหนึ่ง
มันก็ต้องหมดผล ต้องสลายตัวไป แต่ถ้าเราทำกรรมใหม่ที่มีกำลังเข้มแข็งนะ
กรรมใหม่ที่มีกำลังเข้มแข็งมันให้ผลขึ้นมา มันแทรกขึ้นมา มันแซงขึ้นมา
อิทธิพลของกรรมเก่าที่ไม่ดีก็สลายตัวไป
ไม่ใช่ว่าไปล้างกันนะ ไม่ใช่กรรมใหม่ กรรมดี ไปล้างกรรมชั่ว ไม่ใช่
ยกตัวอย่างนะ อย่างพระองคุลีมาล ฆ่าคนเยอะแยะใช่มั้ย 
พอท่านเป็นพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี เป็นพระอรหันต์นี่
กรรมที่ท่านฆ่าคนมันก็ยังอยู่ แก้ไม่ได้ เพราะฆ่าไปแล้ว
แต่กรรมใหม่ของท่านดี ท่านบรรลุพระอรหันต์ เป็นกรรมดีที่ยิ่งใหญ่
ท่านไม่ต้องไปตกนรกอีกแล้ว นี่แก้กรรมกันแบบนี้นะ
ไม่ใช่แก้อย่างอื่น ไม่ใช่ถอดจิตไปเจรจากับผีตัวที่หนึ่งที่ฆ่าไว้ว่า
ขออโหสินะ เอ้า ตัวที่หนึ่งยอม ตัวที่สองทำยังไงจะยอม
กว่าจะหมดพันตัวท่านคงไม่ได้เป็นพระอรหันต์นะ

ใช้ปัจจุบันให้ดีที่สุดนะ


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:12:08 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๗ พฤหัสบดีที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

สันตินันท์
(พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
ถาม : ผมมีข้อสงสัยขอเรียนถามครับ
ในปฏิจจสมุปบาทส่วนต้น "สัญญา" จะเกิดขึ้นมาตอนไหนครับ

ความจำได้หมายรู้ หรือ "สัญญา" นั้น
ปรากฏชัดขึ้นเมื่อวิญญาณเป็นปัจจัยแห่งความปรากฏของรูปนามครับ
ตรงที่มีอาการที่ผมเรียนว่า เหมือนการเปิดสวิตช์ขันธ์ ๕ ให้ปรากฏขึ้น
ถึงจุดนั้นจึงคิดนึกปรุงแต่งได้เต็มที่
มีความรับรู้พร้อมที่อายตนะจะทำงานรับรู้อารมณ์ต่างๆ ได้

สัญญานั้น พวกเรามักรังเกียจเดียดฉันท์ ว่ามันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ 
ที่จริงมันมีความสำคัญมากทีเดียวสำหรับการปฏิบัติธรรม
ถึงขนาดที่ว่า ถ้าปราศจากสัญญาก็ทำวิปัสสนาไม่ได้
แม้แต่ในสมาบัติ พระสารีบุตรท่านยังกล่าวว่า
ในสัญญาสมาบัติยังทำวิปัสสนาได้
ส่วนสมาบัติที่ก้าวล่วงสัญญาคือหมดสัญญาแล้ว ทำวิปัสสนาไม่ได้
 
สัญญาจึงเหมือนดาบสองคม คือด้านหนึ่งมันเป็นความจำ
ที่เป็นตัวให้เราเอามาสานต่อเป็นความคิด จนปิดบังความจริง
แทนที่จิตจะเป็นผู้สังเกตการณ์สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
กลับคอยคิดนำไปตามสัญญาอารมณ์ จนจิตไม่เห็นความจริง

แต่อีกด้านหนึ่ง มันเป็นตัวช่วยสนับสนุนปัญญาได้เช่นกัน
หากมันทำหน้าที่ให้มุมมองของจิต ให้ถูกต้องตรงจริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ
คือช่วยให้จิตเรียนรู้สภาพธรรมในมุมมองของ
อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา หรืออสุภสัญญา
แทนที่จะมองดาดๆ ไปทุกมุม
จิตของผู้ปฏิบัติ มักจะเลือกมุมมองที่ตนถนัด
เพื่อทำให้จิตเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และปล่อยวาง

เช่น จิตของผมถนัดในการมองสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา
แม้จะรู้ความเกิดดับของ รูป จิต และเจตสิก ไปเรื่อยๆ
แต่ถึงจุดหนึ่ง ก็จะเห็น รูป จิต หรือเจตสิก เป็นอนัตตา
หากมองในมุมของอนิจจัง จิตมันไม่รู้ซึ้ง และไม่ปล่อยวาง
แต่หากเมื่อใด จิตหมายรู้ว่า รูป จิต เจตสิก อันที่กำลังรู้อยู่นั้น เป็นอนัตตา
ปัญญาจะเกิดวาบขึ้นมาตัดความยึดถือขาดวับลงไปทันที
จิตจึงจะปล่อยวางได้ เป็นต้น

สัญญา ที่เป็น ความหมายรู้อารมณ์ จึงเป็นเครื่องมือที่เราใช้ยืนพื้น
ส่วน ปัญญา เมื่อเกิดวับเดียวก็ตัดอารมณ์ขาดไปแล้ว
แต่พวกเรามักเชียร์แต่ปัญญา ดูถูกสัญญากันบ่อยๆ
(ถ้าเป็นสัญญาประเภทความจำ ที่กระตุ้นให้คิด คิด คิด
อันนั้นเป็นตัวปัญหาจริงๆ ครับ)
เหมือนคนดูบอลที่เชียร์แต่กองหน้าที่ทำประตูได้
ลืมกองกลางที่คอยป้อนลูกให้กองหน้าครับ

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ถาม : เมื่อเริ่มศึกษาปฏิจจสมุปบาทในเบื้องต้น ความเข้าใจส่วนตัวของผมคือ
คงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะมองเห็นอาการของจิตที่รวดเร็วมาก
และแยกออกเป็นอาการตามที่ว่าไว้ในพระสูตร
จนกระทั่งเมื่อได้รับคำแนะนำ ก็เริ่มเห็นทางแต่ก็ยังไม่ชัดนัก
อาการที่ทำได้เป็นเพียงแค่แยกความรู้สึกออกจากร่างกาย
คุณอาสันตินันท์อธิบายว่า แยกกายจากจิต และท่านว่า
ให้แยกเวทนาออกจากกาย และแยกสังขารออกจากจิตอีกที
อันแรกนี่พอจะเข้าใจครับ แต่อันหลังนี่ไม่เห็นทางทำได้เลยครับ
แล้วถ้าทำได้แล้วต้องทำยังไงต่อครับ จะได้ไม่ต้องรบกวนถามบ่อยๆ

ส่วนที่คุณกล่าวถึงเรื่องแยกกายแยกจิตนั้น
ที่จริงก็ไม่ได้หนีจากเรื่องนามรูปปริจเฉทญาณครับ
เช่น เวลาไม่สบายแล้วเห็นว่า ร่างกายไม่สบาย
ส่วนจิตเป็นเพียงผู้รู้ ไม่ได้เจ็บป่วยด้วย ซึ่งก็ถูกต้องแล้ว
จากนั้น ก็ให้สังเกตต่อไปว่า ให้ดูให้ดี
จริงๆ แล้ว ร่างกายเราเป็นเพียงก้อนธาตุ
กายไม่เคยเจ็บ แต่มีความรู้สึกเจ็บแทรกอยู่ในกาย
หมายความว่า เมื่อเรารู้รูปขันธ์อยู่นั้น
สังเกตอีกหน่อย จะเห็นเวทนาขันธ์แทรกอยู่ในรูป
ส่วนจิตเป็นผู้รู้ ผู้ดู ทั้งรูปและเวทนา
รูปก็เกิดดับ เช่น หายใจเข้า แล้วก็หายใจออก
เวทนาก็แสดงความไม่คงที่ตลอดเวลา เดี๋ยวเจ็บมาก เดี๋ยวเจ็บน้อย
ส่วนจิตเป็นกลางวางเฉยตลอดเวลา

เวลาเราดูรูป เรามักเห็นทั้งรูป เวทนาทางกาย และจิต
ส่วนเวลาดูจิต (จิตตานุปัสสนา) ก็ให้รู้ให้ละเอียดเช่นกันว่า
อันนี้คือจิตผู้รู้ อันนี้คือความคิดนึกปรุงแต่ง หรือสังขารขันธ์
อันนี้คือเวทนาทางใจ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นกลางบ้าง
อันนี้คือสัญญาที่ผุดขึ้นมาทำหน้าที่จำได้หมายรู้

ที่แนะนำคุณก็คือ ให้รู้จักจำแนกรูปนามให้ละเอียดชัดเจนครับ
ไม่ใช่อะไรที่ลึกลับเลย เป็นเบื้องต้นของการเจริญวิปัสสนานั่นเอง


. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

เรียบเรียงจาก:
http://202.44.204.76/narupan/PantipSakajcha04.htm

Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:12:27 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๘ พฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถาม: ขอเรียนถามนิดนึงค่ะ
มีน้องคนนึงเขาบอกว่ากินเหล้าก็ภาวนาได้ เลยสงสัยว่า
คนที่กินเหล้า ยังสามารถภาวนาได้อยู่หรือเปล่าคะ

ไม่ค่อยอยากตอบเลยเรื่องนี้
บอกให้มีศีล ไม่ใช่บอกให้ไปกินเหล้า
แต่ถามว่ากินเหล้าแล้วภาวนาได้ไหม
ได้ เคยเป็นพระอรหันต์มาแล้วด้วย

สมัยพุทธกาล มีอำมาตย์ของพระเจ้าโกศล
ชื่อสันตติอำมาตย์ เมาเหล้าอยู่เจ็ดวัน
วันที่เจ็ดนั้น อีหนูแสนสวยของแกตาย แกเลยยังอ้อแอ้ๆ นะ
ขึ้นช้างมาหาพระพุทธเจ้า มาฟังธรรม เพราะว่ากลุ้มใจ อีหนูตาย
ฟังธรรมแล้วก็เป็นพระอรหันต์ แล้วก็นิพพานวันนั้นเลย

ในขณะที่เจริญสติ ไม่ได้กินเหล้า เข้าใจไหม
เราต้องแบ่งชีวิตของเราเป็นช่วงเล็กๆ
ในขณะที่ไปทำบาปอกุศลนะ จะต้องรับผลของอกุศล
อย่านึกว่าภาวนาแล้วจะพ้นจากผลของอกุศลได้นะ
คนละเรื่องกันนะ ดีกับชั่วไม่ล้างกัน
เพราะฉะนั้น ช่วงที่ไปกินเหล้านั้น สะสมอกุศลไว้
แต่ว่าช่วงที่ไม่ได้กินเหล้า มาเจริญสติ นี่ สะสมกุศลไว้
คนละเรื่องกัน บรรลุได้นะ แต่ว่าลำบากมากเลย

เพราะฉะนั้น ไปบอกเขานะ
หลวงพ่อบอกว่ากินเหล้าก็ภาวนาได้
แต่ผลของอกุศลก็มีนะ ไม่ใช่ไม่มี

๑๐ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม

(แผ่น ๑๙ ไฟล์ ๘ นาทีที่ ๔๗.๔๐)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ถาม: การทำกิจกรรมบางอย่าง หรือการกินอาหารบางอย่าง
มันมีผลกับการเกิดสติบ่อยหรือไม่บ่อยด้วยหรือคะหลวงพ่อ
หนูสังเกตว่า ถ้ากินอาหารที่มันหนักมากๆ
ก็จะทำให้เกิดโมหะ เกิดกิเลสง่ายกว่า
อย่างนี้ เราไม่สามารถจะทำให้สติเกิดได้ บังคับไม่ได้
แต่เราจัดปัจจัยที่จะกระตุ้นเกื้อหนุนสติได้หรือเปล่าคะ

มันเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยกับการมีสติ
เพราะฉะนั้น อย่างการภาวนาจะดีไม่ดีอย่างนี้
อาหาร สัปปายะไหม สำคัญ เรื่องอาหารมีส่วนเกี่ยวข้อง
พระพุทธเจ้าสอนมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นแล้ว
อาหารที่ไม่สัปปายะ บางคนทานอาหารอย่างนี้แล้วภาวนาไม่ไหว
บางคนไปทานอาหารไม่ถูก ไม่เข้าถึงธรรมเลยก็มีนะ
ในธรรมบทก็พูดถึง มีพระกลุ่มหนึ่งภาวนายังไงก็ไม่ได้
อุบาสิกาผู้รู้วาระจิต พิจารณาดูว่าทำไมพระไม่บรรลุสักที
พบว่า อ๋อ อาหารไม่สัปปายะ
แกก็หาอาหารที่สัปปายะกับพระแต่ละองค์ๆ ไปให้
ท่านก็บรรลุทั้งหมดเลย ประมาณหกสิบองค์

ที่อยู่ ก็ต้องสัปปายะนะ ที่อยู่ของเรา
บางที่ภาวนาไปแรกๆ ดี
พออยู่ไปนานๆ แล้วจิตใจเฉื่อยชา อย่างนี้ไม่ดี
หรือที่ที่กำลังก่อสร้างวุ่นวาย ไม่ดี
ที่เก่ามาก ต้องซ่อมแล้ว อย่างนี้ไม่ดี

บุคคล ก็ต้องสัปปายะ ต้องมีกัลยาณมิตร
ไปอยู่กับเพื่อนนักปฏิบัติที่กวนประสาทนะ วันๆ ก็เครียด
อยู่ใกล้กับพวกเครียดๆ เครียดตามไปด้วย บุคคลไม่สัปปายะ

ธรรมะ ต้องสัปปายะ
ธรรมะที่เราใช้สำหรับเรา ต้องเหมาะกับเรา
ไม่ใช่ไปลอกแบบการปฏิบัติของคนอื่นเขา

เพราะฉะนั้น สัปปายะ ๔ อย่างจำเป็นนะ
เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการปฏิบัติของเรา

เราก็อาศัยการสังเกตเอา
ว่าเราทำอะไรแล้วสติสัมปชัญญะเกิดบ่อย แล้วเอาอันนั้น

เราอยู่ใกล้คนนี้แล้วสติเกิดบ่อย เราก็ไปอยู่ใกล้คนนี้
ถ้าเราไปอยู่ใกล้เขาแล้วเราสติเกิดบ่อย
แต่เขาสติพังพาบไปเลยนะ ก็ต้องสงสารเขาเหมือนกัน
บางคนไปลากเขาเสีย ตัวเองดีขึ้น
หรืออาหาร บางท่านอดอาหารแล้วภาวนาดี
อย่างนั้นก็อดกันทีนึงหลายๆ วัน
บางท่านก็ต้องทานข้าวก่อนแล้วภาวนาดี ต้องดูเอา
บางท่านก็ชอบอยู่ในถ้ำ มีน้องของหลวงพ่อคนหนึ่ง
เหมือนกับพี่น้องกันนะ ความจริงไม่ได้เป็นญาติอะไรกันหรอก 
ที่สัปปายะของเขาคือที่มืดๆ ทึบๆ อับๆ แล้วภาวนาดี
ชอบแบบอยู่ในถ้ำ อยู่อะไรอย่างนี้
บวชอยู่ในกรุงเทพฯ นะ ไม่มีถ้ำให้อยู่ ไปอยู่ในโบสถ์
โบสถ์วัดโสมฯ โบสถ์ก็ไม่โตนะ โบสถ์เล็กๆ
ปิดประตูหน้าต่างเงียบเลยนะ กลางวันนี่ร้อน
โอย อบแบบคล้ายๆ ห้องเซานา (sauna) นั่นแหละ อย่างนั้นภาวนาดี
อย่างหลวงพ่อต้องอยู่ที่โล่งๆ ที่กว้างๆ โล่งๆ แล้วภาวนาดี
นี่ เราต้องดูตัวเราเอง

เวลาก็มีส่วนนะ ต้องสังเกตเอา
บางคนภาวนาดีตอนเช้า บางคนตอนสาย
ตอนบ่าย ตอนเย็น ตอนค่ำ ตอนดึก
อย่างหลวงพ่อหัดภาวนาแรกๆ นี่
สังเกตเลย สักสี่โมงเย็นไปแล้วนี่ ภาวนาดี
อาจจะเพราะว่าเลิกงานก็ได้นะ
ใกล้เวลาเลิกงานแล้ว จิตใจเลยตัดเรื่องงานทิ้งเลย
พอเลิกงานปุ๊บดูลูกเดียวเลย เพราะฉะนั้น จะดูอย่างขยันขันแข็ง
พอค่ำพอดึกนะ มันเหนื่อยจากการทำงานทั้งวัน
เป็นฆราวาสนั้นมันเหนื่อย มันดูไม่ค่อยจะไหวแล้ว
ตอนค่ำตอนดึกอะไรอย่างนี้
เพราะฉะนั้น มีช่วงเวลาที่สดใสอยู่ไม่นาน
ตอนเช้าสดใสจริงนะ
แต่ต้องตะลีตะลานไปทำงาน แย่งชิงกันใช้ถนนใช้รถ
เพราะฉะนั้น ช่วงที่ปลอดโปร่งจริงๆ กลายเป็นช่วงเย็นๆ
เลิกงานแล้ว หมดธุระหมดภาระ มีช่วงเวลานิดเดียวเท่านั้นแหละ
ตอนนั้นเป็นนาทีทองของเรานะ
เพราะฉะนั้น เราต้องสังเกตตนเอง
อะไรที่ทำแล้วเกื้อกูลให้เกิดสติก็เอาอันนั้น อย่าไปลอกแบบกัน
 
หลวงพ่อเลยไม่ชอบจัดคอร์สนะ
จัดคอร์ส มันบังคับทุกคนให้ทำในสิ่งเดียวกัน เหมือนๆ กัน พร้อมๆ กัน
เมื่อมันไม่ถูกจริต ทำไปมันก็เหนื่อยเปล่า หรือเหนื่อยมากได้ผลน้อย
อย่างคนนี้เวลานี้เขาควรจะเดิน กลับพาเขานั่ง เพราะทุกคนจะต้องนั่ง
ตอนนี้เป็นเวลาที่เขาควรจะหลับแล้ว ก็เรียกให้ฟังธรรมะ อะไรอย่างนี้
คือจริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน
บางคนไม่ถนัดเดินเลยก็ได้ ถนัดนั่งลูกเดียวเลย
บางคนไม่ถนัดนั่งเลย นั่งแล้วหลับ ต้องเดิน
เพราะฉะนั้น ต้องศึกษานะ ต้องสังเกตตัวเองเอา

แต่รายที่ถนัดนอนนี่ มีคนเดียว มีองค์เดียวนะ
ท่านภาวนาด้วยการนอน
หลวงพ่อจำชื่อท่านไม่ได้ เป็นรุ่นผู้ใหญ่
เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น อยู่ทางศรีสะเกษ
ท่านภาวนาท่านถนัดนอน
เราต้องดูตัวเอง อย่าไปลอกแบบใคร ทางใครทางมัน
แต่คำว่าทางใครทางมันนี่ ในหลักของการปฏิบัตินะ
ต้องเป็นอันเดียวกัน คือหลักที่พระพุทธเจ้าสอน

อันแรกสุดเลย เราต้องมีวิหารธรรมมีเครื่องอยู่
เครื่องอยู่ เครื่องรู้ ของจิต ที่เป็นกาย เวทนา จิต ธรรม
คือ กาย กับ ใจ เรานี่เอง รูปกับนาม

มีวิหารธรรมมีเครื่องอยู่ คำว่าเครื่องอยู่มันก็บอกแล้วนะ ไม่ใช่คุก
เครื่องอยู่คือบ้าน ไม่ใช่คุก
พวกเรานักปฏิบัติส่วนใหญ่นี่ อยู่ๆ ก็หาเรื่องติดคุก
คือน้อมใจให้มันซึมทื่อนิ่ง ห้ามกระดุกกระดิกนะ
คนอยู่บ้านนี่ เวลามีธุระ ออกจากบ้านได้ตลอดเวลา
คนติดคุก อยากไปไหนก็ไปไม่ได้ ถูกขัง
เพราะฉะนั้น เราต้องมีวิหารธรรม
คือเราเอากาย เวทนา จิต ธรรม เป็นบ้าน
เป็นที่ระลึกของสติ ให้สติคอยมาระลึกอยู่เรื่อยๆ

แต่ถ้าจิตใจมีธุระ จะไปทำงานที่อื่นนะ มันก็ออกจากบ้านไป
วิ่งไปทางตามั่ง วิ่งไปทางหูมั่ง วิ่งไปคิดมั่ง
มันก็ทำงานของมัน ไม่ได้ห้ามมัน
แต่พอหมดธุระแล้วก็กลับมาอยู่บ้าน
มาอยู่กับลมหายใจ มาอยู่กับอิริยาบถ มาอยู่กับพุทโธก็ยังได้
พุทโธก็เนื่องด้วยความคิด เนื่องด้วยจิต
พุทโธเป็นชื่อของจิต เรามาอยู่กับอารมณ์กรรมฐานของเรา
ใครเคยดูท้องพองยุบก็ดูไป
เคยรู้ลมหายใจก็รู้ไป เคยขยับมือก็ขยับไป
แต่ไม่ใช่ทำเพื่อให้จิตนิ่ง ไม่ได้เพ่งให้นิ่ง
การเพ่งให้นิ่งคือการตรึงความรู้สึกเอาไว้ที่เดียว นั้นคือติดคุก

หลายคนภาวนาแล้วจิตอึดอัดนะ
พอลงมือภาวนาก็เพ่งเลย เพ่งกาย เพ่งใจ เพ่งกาย เพ่งใจ เพ่งให้นิ่ง
กายก็นิ่งๆ ผิดความเป็นจริง จิตใจก็แข็งทื่อขึ้นมาผิดความเป็นจริง
อันนั้นติดคุกแล้ว ไม่มีความสุขเลย
จิตใจที่ไม่มีความสุข เป็นจิตอกุศลนะ
จิตที่เป็นกุศลนี่ต้องมีความสุข
ฉะนั้น ถ้าเราภาวนาแล้วหนักๆ แน่นๆ แข็งๆ ซึมๆ ทื่อๆ
นี้อกุศล ติดคุกอยู่ อกุศลให้ผลแล้ว ติดคุก
ติดคุกทางใจนะ ขังตัวเองไว้ด้วยความเชื่อมั่นเอาเอง
คือทิฏฐิว่าทำอย่างนี้แล้วจะดี คิดเอาเอง

ฉะนั้น อันแรกเลยต้องมีวิหารธรรม
คนไหนรู้ท้องพองยุบแล้วสติเกิด ก็เอาอันนั้น
รู้ลมหายใจแล้วสติเกิด ก็เอาอันนั้น
พุทโธแล้วสติเกิด ก็เอาอันนั้นนะ
ขยับมือทำจังหวะแล้วสติเกิดบ่อย ก็เอาอันนั้น

สติเกิดบ่อย ก็คือรู้ทันตัวเองได้บ่อย
เช่น บางคนดูท้องพองยุบ แล้วจิตแอบไปคิด
จิตไหลไปคิดแวบ สติระลึกรู้ทันเลยว่าหลงไปคิดแล้ว ลืมพองยุบไปแล้ว
พอระลึกรู้ทันว่าจิตหนีไปคิดปุ๊บ ก็จะตื่นขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง
เราก็เห็นร่างกายมันพองมันยุบไป ตรงนี้เดินปัญญาได้แล้ว
เห็นว่าตัวที่พองที่ยุบอยู่ไม่ใช่ตัวเรา นี่เดินปัญญาได้

หรือบางคนรู้ลมหายใจนะ รู้ลมหายใจออก รู้ลมหายใจเข้า
รู้ไปสบายๆ จิตหนีไปคิดแวบ
ลืมลมหายใจ มีสติรู้ทันว่าจิตหนีไปแล้ว
ทันทีที่มีสติรู้ทันว่าจิตหลงไปนี่ จิตจะตื่นขึ้นมาชั่วขณะหนึ่ง
ในขณะนั้น ถ้าสติมันเกิดขึ้นมา รู้ทันว่าหลงไป
จิตมันเกิดตั้งมั่นขึ้นมาชั่วขณะ
มันจะเกิดปัญญาเห็นว่า ตัวที่กำลังหายใจอยู่นี่ ไม่ใช่ตัวเราหรอก
รูปมันกำลังกระเพื่อมไหวอยู่ มีธาตุไหลเข้า มีธาตุไหลออก
หรือรู้ทันว่าจิตนั้นเป็นอนัตตา
แต่เดิมจิตรู้อยู่ที่ลมหายใจ แล้วอยู่ๆ จิตก็หนีไปคิด
หนีไปคิดแล้วสติก็เกิดขึ้นเองอีก เกิดเองทั้งสิ้นเลย
สติระลึกปุ๊บ ใจตั้งมั่นขึ้นมาเอง
แต่เดิมหนีไป ตอนนี้ตั้งมั่นอีกแล้ว
มีแต่ของไม่เที่ยง มีแต่ของบังคับไม่ได้
นี่อย่างนี้เรียกว่ามันมีปัญญา
เพราะฉะนั้น มีสติขึ้นมานะ
ใจตั้งมั่นขึ้นมา แล้วถึงจะเกิดปัญญา
 
ความตั้งมั่นเรียกว่าสัมมาสมาธิ
สัมมาสมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญานะ
ไม่ใช่เอาสติไปเพ่งๆ เพ่งลูกเดียว
จิตไม่มีสัมมาสมาธิ มีแต่มิจฉาสมาธิ
พอเพ่งเข้าไปก็หนักแน่น แข็ง ซึม ทื่อ
จิตทื่อๆ อยู่ที่เดียวนะ ไม่เกิดปัญญา
ไม่สามารถเห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ได้

นอกจากมีวิหารธรรม เราก็ฝึกให้มีสติ
มีใจตั้งมั่นขึ้นมารู้สึกตัวขึ้นมา
มีสัมปชัญญะความรู้สึกตัว รู้เท่าทันทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมา
นี่หลักของสติปัฏฐานนะ

อันแรกเลย มีวิหารธรรม
อย่างเอากายในกายเป็นวิหารธรรมนี่
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี
"อาตาปี" คือมีความเพียรที่จะแผดเผากิเลส
ไม่ใช่ภาวนาเพื่อตอบสนองกิเลส
พวกเราชอบภาวนาตอบสนองกิเลส คือสนองอัตตาตัวตนนั่นเอง
ภาวนาแล้วเมื่อไหร่กูจะเก่ง เมื่อไหร่กูจะได้ เมื่อไหร่กูจะบรรลุ
ภาวนาเพื่อสนองอัตตานะ อย่างนี้ใช้ไม่ได้
กิเลสไม่เร่าร้อน เราเร่าร้อนเอง
ใจเราจะเร่าร้อนว่าเมื่อไหร่จะได้ เมื่อไหร่จะได้นะ
มีวิหารธรรม มีอาตาปี คือแผดเผากิเลส ไม่ถูกกิเลสย้อมใจ
ภาวนาโดยไม่ใช่ถูกกิเลสย้อมนะ ไม่ใช่กิเลสผลักให้ภาวนา
แล้วก็ "สัมปชาโน" มีความรู้สึกตัวขึ้นมา
มีสติรู้ลงที่กายรู้ลงที่ใจ
จิตใจร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึก

เสร็จแล้วมันจะนำไปสู่อีกประโยคหนึ่ง
ท่านบอกว่า วิเนยยะ โลเก อภิชฌาโทมนัสสัง
เอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้
คำว่า "โลก" ก็คือรูปนาม กายใจเรานี่เอง
คำว่าโลก อย่าไปแปลว่าโลกว่าอย่างนี้นะ ไม่ใช่ earth นะ
โลกก็คือรูปกับนาม กายกับใจนี้ มันเป็นศัพท์เฉพาะของศาสนาพุทธนะ
คำว่าโลกในที่นี้ ไม่ใช่โลกอย่างที่คนไทยใช้
โลกอย่างที่คนไทยใช้นี้ พวกภพพวกภูมิอะไรอย่างนี้
ศัพท์นี้ใช้ "โลกะ" โลกแปลว่าหมู่สัตว์ก็ได้ แปลว่ารูปนามก็ได้
โดย technical term ของภาษาเขา

พอเรามีสติ มีใจตั้งมั่น เราจะเห็นขึ้นมาเลย
มีปัญญาขึ้นมาว่า ทุกอย่างที่ผ่านมาในชีวิตเรานี้ ชั่วคราว

อย่างพอใจเรามีความทุกข์ขึ้นมา
พอสติรู้ทันปั๊บ ความทุกข์จะดับไปนะ ความทุกข์ทางใจนั้นจะดับทันที
แต่ความทุกข์ทางกายไม่ดับหรอก ตราบใดที่ยังมีเหตุอยู่ก็ยังมีอยู่
หรืออกุศลทั้งหลายนี้ ถ้าสติระลึกปั๊บดับทันที
กุศลนี่เมื่อสติระลึกไม่จำเป็นต้องดับนะ
เวทนานี่สติระลึกไม่จำเป็นต้องดับ คนละเรื่อง ไม่ใช่อกุศล
ถ้าสติตัวจริงเกิด ใจเราตั้งมั่น เราจะเห็นความจริงอันหนึ่งว่า
สภาวะทั้งหลายนี่ จะเป็นรูปธรรมนามธรรมนะ ไม่ใช่ตัวเรา
อย่างเราเห็นว่า ความโกรธที่เกิดขึ้นนี่ ไม่ใช่ตัวเราหรอก
เราเห็นว่าร่างกายที่ยืนที่เดินที่นั่งที่นอนนี่ ไม่ใช่ตัวเราหรอก
เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุที่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอยู่
พอเราเห็นลงมานะ มันไม่มีตัวเรา
พอมันไม่มีตัวเราจริงๆ ความยินดียินร้ายในรูปในนาม
ในกายในใจจะไม่มี หมดไปเอง

เพราะฉะนั้น ภาวนาไปถึงสุดท้ายนะ
มันจะหมดความยินดียินร้ายในกายในใจนี้ ในรูปในนามนี้
เรียกว่าเอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้
อันนี้เป็นขั้นที่สูงขึ้นไปนะ
ถ้าขั้นเบื้องต้นนี่ เวลาเราไปรู้สภาวธรรมแล้ว
มันจะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา ห้ามมันไม่ได้หรอก
แต่พอเกิดความยินดียินร้ายแล้ว
เช่น จิตใจเรามีความสุขนะ เราเกิดพอใจขึ้นมา
ความสุขไม่ใช่กิเลสนะ
แต่ความพอใจรักใคร่พอใจผูกพันในความสุขนี่แหละ คือราคะ
ให้เรารู้ทันว่าใจเราพอใจในความสุขแล้ว
ความพอใจหรือราคะนี้จะดับอัตโนมัติ
เราก็จะรู้ความสุขด้วยจิตที่เป็นกลาง
นี่ เห็นเลยความสุขนั้นเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
ที่แปลกปลอมผ่านเข้ามาชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หายไป
ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา
มันเห็นเองนะ ไม่ต้องคิดนะ
ไม่ต้องไปนั่งบรรยายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา
บรรยายแล้วฟุ้งซ่าน

หรือความทุกข์ผ่านเข้ามานี่
ถ้าจิตมันมีสติขึ้นมา จิตมีความตั้งมั่น มีสัมมาสมาธิ
สักว่ารู้สักว่าดู เห็นกายเห็นใจเป็นความทุกข์ภายใน
มีความทุกข์เข้ามา เห็นตัวความทุกข์นั้น
ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา
เราจะค่อยๆ ละความเห็นผิดไปนะ
ทีแรกเห็นแล้วก็ยังยินดียินร้าย
เห็นความทุกข์แล้วไม่ชอบ เห็นความสุขแล้วชอบ
ถ้าถึงจุดนี้แล้ว ก็มีสติรู้ลงไปที่ความยินดียินร้ายมันดับ
ความยินดียินร้ายดับอัตโนมัติ
เราก็รู้ความสุข รู้ความทุกข์
รู้สภาวธรรมทั้งหลายอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่างที่เขาเป็นนั่นแหละ
 
เราจะเห็นเลย มันไม่ใช่ตัวเราหรอก
ร่างกายก็ไม่ใช่เรา เวทนาไม่ใช่เรา กุศลอกุศลไม่ใช่เรา
จิตที่เกิดดับทางทวาร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้
ทางทวารทั้งหกนะ ไม่ใช่เรา

นี่การภาวนานะ ทำไปอย่างนี้ คอยรู้คอยดูไป
ถ้าทำด้วยความถูกต้องนะ
เจ็ดวัน เจ็ดเดือน เจ็ดปี ทำไปต้องมีผลบ้าง

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม

(แผ่น ๑๙ ไฟล์ ๙ นาทีที่ ๐.๒๓)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

ถาม: ฟังหลวงพ่อมาหลายปีแล้วค่ะ พยายามที่จะภาวนา
แต่พยายามภาวนายังไง หลวงพ่อก็ยังบอกว่าไม่ถูก ไม่ใช่
แล้วทำยังไงถึงจะถูกคะ

หลายคนนะ ฟังหลวงพ่อพูดหลายปี
มีอยู่คนหนึ่งบอกว่า ฟังหลวงพ่ออยู่เจ็ดปีเลย
มาฟังทีไรนะ หลวงพ่อก็บอกไม่ใช่ ไม่ถูก
อย่างนั้นตลอดเวลาเลย มีแต่ไม่ใช่ มีแต่ไม่ถูก
อย่าทำสิ ให้รู้เอา อย่าไปทำอะไร ให้รู้เอา แกก็อดทำไม่ได้นะ
ทำยังไงจะถูก ทำยังไงจะถูก
คิดอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา หาทางทำตลอดเวลา
หลายปีนะ หลวงพ่อก็พยายามบอกแก
อย่าไปประคอง อย่าไปบังคับ อย่าไปควบคุมมัน
รู้มันอย่างที่มันเป็น ใจถึงๆ หน่อย สอนอย่างนี้เรื่อยๆ
สอนแต่ว่า ให้ใจถึงเหมือนที่บอกพี่อีกคนนึงนะ
เรียนหลายปี เรียนยี่สิบปีนะ บอกใจถึงๆ ใจถึงๆ แกก็ใจไม่ถึงสักทีนะ
หลายปีจนกระทั่งใจฝ่อเลย มีอยู่ช่วงนึงฝ่อเลย ไม่อยากปฏิบัติแล้ว
เราโง่เง่า ไม่มีวาสนาบารมี ชาตินี้คงไม่ได้แล้ว

แต่ว่าพอใจฝ่อไปช่วงนึงนะ ก็กลับมารู้ใหม่
สุดท้ายมาสังเกตดู ไอ้ตอนที่ใจฝ่อๆ แล้วมาแล้วไม่ได้ทำอะไร
หลวงพ่อบอก เออ ดี ชักงงๆ แล้วนะ
ก็ที่ทำมาตลอดเวลา ที่ทำมานั้น บอกไม่ได้เรื่องเลย ใช้ไม่ได้
ตอนที่เลิกทำไปแล้วนะ
ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น ก็รู้ไปอย่างที่มันเป็นนั้นแหละ รู้ซื่อๆ
หลวงพ่อบอกว่า เออ ดีแล้วๆ
ในที่สุดจับหลักได้ การปฏิบัติไม่ใช่การทำอะไร
แต่คือการรู้กายรู้ใจตามที่เขาเป็นต่างหาก
ไม่ใช่ไปทำอะไร ถ้าคิดแต่ว่าจะทำๆ นะ ไม่สำเร็จหรอก เสียเวลา เนิ่นช้า

ถ้าเราทำใจสบายๆ ร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึกไป
จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึกไป เป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นกุศลอกุศล รู้สึกไปเรื่อยๆ
เราจะพบว่าง่ายสุดๆ เลย ง่ายเพราะว่าไม่ได้ทำอะไร
สติก็เกิดเอง เห็นไหม
สัมมาสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต
เขาตั้งของเขาเอง ปัญญาก็เกิดของเขาเอง

เราทำอะไรไม่ได้สักอย่างเลย
ที่จริงทำอย่างเดียว นั่นคือ "รู้"

ถ้าลองไปอ่านมหาสติปัฏฐานสูตรนะ
จะพบว่ากิริยาในสติปัฏฐานมีอยู่ตัวเดียว คือคำว่า รู้
หายใจออกยาวก็รู้ หายใจเข้ายาวก็รู้
หายใจออกสั้นก็รู้ หายใจเข้าสั้นก็รู้
เลิกหายใจแล้วก็รู้ มีนะ
ขั้นที่สี่ เลิกหายใจ มันจะมาหายใจทางผิวหนังนะ จมูกนี่หายใจนิดเดียว
เพราะฉะนั้น ถ้าใครภาวนาอานาปานสติได้ถึงจุดนี้
ถ้าถูกเขาจับใส่ตู้ขังไว้นะ จะตายทีหลังเพื่อน เพราะไม่ค่อยหายใจเท่าไหร่

นี่ มันมีแต่คำว่า รู้ หายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้นะ
หรือยืนอยู่ก็รู้ เดินอยู่ก็รู้ นั่งอยู่ก็รู้ นอนอยู่ก็รู้
จะคู้ จะเหยียด จะเหลียวซ้ายแลขวา จะก้าวไป จะถอยหลัง ก็รู้
กิริยามีอยู่คำเดียวนะ คำว่า รู้
มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้ เฉยๆ ก็รู้
จิตมีราคะก็รู้ จิตไม่มีราคะก็รู้ จิตมีโทสะก็รู้ จิตไม่มีโทสะก็รู้
สังเกตไหม กิริยามีอยู่คำว่ารู้ทั้งนั้นเลย ทั้งหมดเลยนะ
พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้นะ แต่พวกเราไม่เชื่อ
พวกเรารู้อย่างเดียวไม่พอ
ดูมันอวดวิเศษกว่าพระพุทธเจ้านะ ถึงล้มลุกคลุกคลานไม่เลิก
เราคิดแต่ว่าจะทำ ทำยังไงจะถูก ทำยังไงจะถูก
สอนกันด้วยนะ ต้องทำให้เยอะๆ นะ
แทนที่จะสอนให้รู้เยอะๆ รู้บ่อยๆ พหุลีกตา รู้มากๆ รู้บ่อยๆ
เพราะฉะนั้นกิริยาจริงๆ มีแต่คำว่ารู้ ในสติปัฏฐาน

และคำว่ารู้ในสติปัฏฐานนี่ มีอยู่สองนัย ต้องรู้ได้ทั้งสองนัย

รู้อันแรกนี่ รู้ด้วยสติ
รู้อันที่สอง รู้ด้วยปัญญา

คำว่ารู้มีสองอันนะ
อย่างยืนอยู่ก็รู้นี่ รูปมันยืนนะ
ทีแรกเราอาจจะนั่งอยู่ แล้วเราขยับตัวลุกขึ้นยืนปุ๊บ
เราเห็นมีสติ เห็นความเปลี่ยนแปลงของรูป นี่รูปกำลังเคลื่อนไหวแล้ว
แล้วก็มีปัญญารู้ว่าตัวที่เคลื่อนไหวนี้ เป็นแค่รูปนะ ไม่ใช่ตัวเราหรอก
ไม่ใช่เราเคลื่อนไหวนะ แต่วัตถุธาตุนี้กำลังเคลื่อนไหว เราเป็นแค่คนดูมัน
นี่รู้มีสองระดับนะ มีสองนัย

อันแรก มีสติรู้กายรู้ใจที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง
อันที่สอง มีปัญญาเข้าใจความเป็นจริง
ของกายของใจที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงนั้น
ความจริงของเขา ก็คือ ความเป็นไตรลักษณ์ นั่นเอง

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

วันนี้พูดเรื่องสติปัฏฐานนะ เริ่มตั้งแต่
ให้มีกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นอารมณ์ เป็นบ้าน ไม่ใช่คุก
เป็นบ้าน ไม่ใช่เอาไว้เพ่ง เอาไว้อยู่ มีธุระออกนอกบ้านได้เสมอ
 
การปฏิบัตินั้นต้องไม่ตอบสนองต่อกิเลสนะ
แต่เป็นไปเพื่อแผดเผากิเลส
ไม่ใช่เพื่อตอบสนองกิเลส นี้เรียก อาตาปี

ให้มีความรู้สึกตัวขึ้นมา
อย่าหลงไป อย่าลืมเนื้อลืมตัว อย่าเอาแต่เพ่งไว้
มีสติรู้กายอย่างที่เขาเป็น มีสติรู้ใจอย่างที่เขาเป็น
ถ้ามันยินดียินร้ายในรูป ในนาม ในกาย ในใจ ที่ไปรู้เข้านี่
ให้รู้ทันความยินดียินร้าย ความยินดียินร้ายจะดับไป

วิเนยยะ โลเก อภิชฌาโทมนัสสัง
เสร็จแล้วก็จะเห็นรูปเห็นนาม เห็นกายเห็นใจ ตรงตามความเป็นจริง
จะรู้รูปรู้นามได้ตรงตามความเป็นจริง
คือพอร่างกายเคลื่อนไหวปุ๊บ สติรู้ปั๊บเลย
ปัญญาเข้าใจเลย ตัวที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก
หรือนั่งอยู่นี่สติระลึกได้เลยว่านั่งอยู่ รูปมันนั่งอยู่
ปัญญาก็รู้ทันเลย ตัวที่นั่งอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้าเท่านั้นเอง

หรือความสุขเกิดขึ้นนะ สติรู้เลย
ความสุขแปลกปลอมเข้ามาในใจแล้ว
ปัญญาก็รู้ทันเอง ความสุขเป็นแค่นามธรรมอันหนึ่ง แปลกปลอมเข้ามา
ไม่ได้บรรยายแบบนี้นะ มันเป็นความรู้สึกเลย ว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก
แต่พอบรรยายเป็นภาษาคนเลยใช้คำยืดยาว
เห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเรา เป็นนามธรรมอันหนึ่ง
เวลาภาวนาจริงๆ มันไม่พูดอย่างนี้นะ ไม่ต้องมาช่วยมันบรรยายนะ
มันก็แค่เห็นว่า ความสุขนี่มันเป็นของแปลกปลอมผ่านเข้ามานะ มาแล้วก็ไป
เห็นอย่างนี้ แต่มันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง เราบังคับมันไม่ได้ เลือกไม่ได้
อันนี้ปัญญามันจะสรุปทีหลัง
ไม่ต้องไปนั่งคิดนะ อย่าไปนั่งคิดเอา ไปนั่งรู้เอา

กิริยามีอยู่คำเดียวนะ คือคำว่า "รู้"

นี่ ดูลงไปอย่างนี้นะ มีสติ รู้สภาวะ
สภาวะก็คือรูปกับนามที่ปรากฏ
มีปัญญารู้ลักษณะ ลักษณะ คือไตรลักษณ์นั่นเอง

สติ เป็นตัวรู้สภาวะ
ปัญญา เป็นตัวรู้ลักษณะ
สัมมาสมาธิ เป็นความตั้งมั่นในขณะที่รู้สภาวะและรู้ลักษณะ

สัมมาสมาธิตัวตั้งมั่น ใจจะเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดูอยู่
เป็นผู้รู้ผู้ดูอย่างสบายๆ ไม่ใช่ตั้งเป็นผู้รู้ผู้ดูที่แข็งๆ นะ
บางคนพยายามตั้งตัวผู้รู้แข็งเกินไป
บางทีตั้งไว้เหนือหัวนี่ เหมือนดาวเทียม
ตั้งไว้อย่างนี้แล้วก็ดูย้อนลงมา ดูลงมาอย่างเข้มแข็ง
อย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ มากไป ตั้งตัวผู้รู้แรงเกินไป
รู้สบายๆ รู้ไป

๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐
สวนสันติธรรม

(แผ่น ๑๙ ไฟล์ ๙ นาทีที่ ๑๖)


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:12:45 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๖๙ พฤหัสบดีที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม วันที่ ๓ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ 
ช่วงที่ ๑ นาทีที่ ๒๔.๔๕ – ๓๑.๐๔

คำถาม รบกวนหลวงพ่อช่วยสอนวิธีการดูจิตด้วยค่ะ

นี่กฎของการดูจิตนะ ข้อที่ ๑ อย่าอยากดูนะ
ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นก่อนแล้วก็ค่อยรู้ เช่นโกรธขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโกรธ  โลภขึ้นก่อนแล้วรู้ว่าโลภ 


กฎข้อที่สองระหว่างดูให้ดูห่าง ๆ อย่ากระโจนลงไปดู 
ไม่เหมือนดูโทรทัศน์นะ ใจไหลเข้าไปอยู่ในโทรทัศน์ นั่นใช้ไม่ได้ ดูห่าง ๆ 


กฎข้อที่สามของการดูจิตก็คือ เมื่อดูแล้วนะไม่เข้าไปแทรกแซง
ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง
เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ
หน้าที่ของเราคือก็แค่ รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ทำตัวเป็นแค่คนดูไม่เข้าไปแทรกแซง
จิตโลภขึ้นมาก็แค่รู้ว่าจิตมันโลภนะ ไม่ต้องไปหาทางทำให้หายโลภ
มันมีความทุกข์ขึ้นมาเราก็รู้ว่าจิตมันมีความทุกข์ ไม่ต้องพยายามทำให้จิตหายทุกข์นะ
มันมีความสุขขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาความสุขเอาไว้
มันมีจิตที่เป็นกุศลขึ้นมาก็ไม่ต้องพยายามรักษาไว้
ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นนะ เราแค่รู้ลูกเดียว ไม่รักษาไว้ แล้วก็ไม่ปฏิเสธ ไม่ต่อต้านมัน
รู้ด้วยความเป็นกลาง รู้ด้วยความเป็นกลาง
เพราะฉะนั้นกฎข้อที่สามก็คือ ให้รู้สภาวะทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตใจที่เป็นกลาง
จิตใจที่เป็นกลางเนี่ยเกิดจากการรู้ทัน ว่าจิตมันไปหลงยินดี จิตมันไปหลงยินร้าย
อย่าให้มันเป็นกลางเพราะไปบังคับไว้ ไม่ใช่บังคับว่าชั้นจะต้องเป็นกลาง ถ้าบังคับเมื่อไหร่ เครียด
หลวงพ่อถึงบอกว่าวิปัสสนาไม่มีคำว่าบังคับ ไม่มีคำว่าห้าม ไม่มีคำว่าต้อง
มีแต่ว่ามันเป็นยังไง รู้ว่าเป็นอย่างนั้น
ใจเราเห็น สมมติเราเห็นสาวสวยขึ้นมา ใจเรามีราคะ ไม่ต้องหาทางทำให้ราคะดับไป
โดยเฉพาะไม่ต้องหาทางทำให้สาวดับไปด้วย ไม่ต้องหาทางให้ราคะดับไป รู้ลูกเดียวว่าใจมีราคะ
ถ้าใจไม่ชอบราคะ เห็นมั้ยไม่เป็นกลาง ใจเกลียดราคะ อยากให้ราคะหายไป
รู้ทันว่าใจเราเกลียดราคะ ใจเราไม่เป็นกลาง
ถ้ามีความสุขเกิดขึ้น ใจเราชอบให้รู้ทันว่าใจเราชอบ
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราไปรู้สภาวะรู้อารมณ์ทั้งหลายแล้วเนี่ย
ใจเรายินดีขึ้นมา คือเราชอบขึ้นมาก็ให้รู้ ใจเรายินร้าย คือเกิดความเกลียดชังสภาวะนั้นขึ้นมาก็ให้รู้ 
ถ้ารู้ทันนะ ต่อไปใจจะค่อย ๆ เป็นกลาง เราจะรู้สภาวะทั้งหลายอย่างเป็นกลาง นี่คือกฎข้อที่สาม 


กฎข้อที่สี่ ทำบ่อย ๆ ถ้าทำบ่อย ๆ แล้ว กฎข้อที่ห้า วันนึงเราจะบรรลุมรรคผลนิพพาน 
เพราะเราทำเหตุที่พอสมควรแล้ว เวลาที่เราบรรลุมรรคผลนิพพานนะ
จิตใจเราจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปนะ ถึงจุดหนึ่งมันเปลี่ยนปั๊ปเลย 
ตอนที่เกิดมรรคผล ความทุกข์ที่มีอยู่เนี่ยตกหายไปเยอะเลย
เป็นลำดับ ๆ ไป แต่ละขั้นแต่ละภูมิ 


เพราะฉะนั้นเวลาเราหัดรู้สภาวะ สรุปแล้วสรุป 
การเรียนธรรมะเนี่ยเราเรียนแล้วเพื่อวันหนึ่งเราจะไม่มีทุกข์ทางใจเกิดขึ้น
วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา
ความทุกข์มันแอบมาอยู่ในใจของเรา เรารู้ทันนะ
ต่อไปความทุกข์มันจะไปเอง เราไม่ต้องไปไล่มันหรอก
ถ้าเราหัดรู้ใจของเรา ใจของเรามีความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น รู้ไปเรื่อย ๆ นะ 


มีกฎสามข้อของการรู้ คือก่อนที่จะรู้เนี่ยอย่าไปเที่ยวแสวงหา
อย่าไปดักดูไว้ก่อน ให้ความรู้สึกเกิดขึ้นแล้วค่อยรู้เอา 


กฎข้อที่สองระหว่างที่รู้เนี่ยนะ อย่ากระโจนลงไปจ้องมัน ดูห่าง ๆ ดูแบบคนวงนอกนะ
ไม่ถลำลงไปจ้องมัน ถ้าไปจ้องเมื่อไหร่กลายเป็นสมถะเมื่อนั้น 


กฎข้อที่สามคือรู้ด้วยความเป็นกลาง 
ถ้าหากเรารู้สภาวะแล้วเกิดความยินดีขึ้นมาเราก็รู้ทัน เกิดความยินร้ายขึ้นมาเราก็รู้ทัน 
รู้ทันความยินดียินร้ายในใจของเราบ่อย ๆ 
ต่อไปใจเราจะเป็นกลาง เป็นกลางของมันเอง 
ถ้าเมื่อไรเรารู้สภาวะทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นกลางไปเรื่อย ๆ 
เราจะเห็นสภาวะทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง 
มันเป็นยังไงเรารู้ว่าเป็นอย่างนั้นโดยที่เราไม่เข้าไปแทรกแซง 


พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า เพราะรู้ตามความเป็นจริงนะ 
เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ
เพราะคลายความยึดถือจึงหลุดพ้น เพราะหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว 
หลุดพ้นจากอะไร หลุดพ้นจากความยึดถือในกายในใจนี้ 
ก็จะหลุดพ้นจากความทุกข์ไปด้วย เพราะความทุกข์นี้อาศัยอยู่ในกายในใจ 


พวกเรารู้สึกมั้ย ความทุกข์ถ้าไม่อยู่ที่กายก็อยู่ที่ใจ 
ถ้าจิตของเราหลุดพ้นจากกายจากใจแล้วนะ 
ความทุกข์จะเข้ามาไม่ถึงจิตใจของเราอีกต่อไปแล้ว 
มีแต่จะร่วงหายไปเลย หลังจากนั้นเราจะมีชีวิตที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ตลอดเวลา 
โดยที่ไม่ต้องประคอง ไม่ต้องรักษา

เคยได้ยินใช่มั้ยว่า

การศึกษานี่ต้องทำตลอดชีวิตใช่มั้ย 
การศึกษาต้องทำตลอดชีวิตเพราะวิทยาการทางโลกเนี่ยไม่มีที่สิ้นสุด 
แต่การศึกษาทางธรรมะนะ 
เมื่อไรที่เราพ้นจากความยึดถือกายยึดถือใจแล้วเนี่ย งานศึกษาของเราสำเร็จแล้ว

ผู้ที่เรียนสำเร็จแล้วเนี่ยคือพระอรหันต์ พระอรหันต์ถึงชื่อว่าพระอเสขะ 
อเสขะแปลว่าผู้ไม่ต้องศึกษาอีกต่อไปแล้ว 
เพราะฉะนั้นงานในทางศาสนาพุทธนะ 
ถ้าเราเรียนรู้จนแจ่มแจ้งว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ 
ใจมันจะปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ แล้วไม่ต้องเรียนอีกแล้ว 
ความทุกข์จะเข้ามาสู่ใจไม่ได้อีกแล้ว 
ไม่เหมือนการศึกษาทางโลกนะต้องศึกษาตลอดชีวิต 
นี่เป็นปรัชญาการศึกษาทางโลก ซึ่งมันก็จำเป็นสำหรับชาวโลกนะ 
เพราะโลกนี้ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ  เราก็ต้องตามเรียนรู้ให้ทันความปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ 
ส่วนธรรมะเนี่ยเราเรียนจนเราพ้นจากความปรุงแต่ง 
เพราะฉะนั้นเนี่ย ไม่ต้องไปเรียนอีกแล้ว เห็นมั้ยมันคนละชั้นกันนะ 
อย่าไปบอกอาจารย์นะเดี๋ยวอาจารย์จะเสียใจ

การศึกษาทางโลกไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาทางธรรมะมีจุดที่สิ้นสุดนะ 
สิ้นสุดตรงที่ใจเราพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:13:04 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๐ พฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

ถาม : เมื่อเกิดทุกข์ ให้มีสติรู้ว่าทุกข์ แล้วในทางโลกจะแก้อย่างไร

คนละเรื่องกันนะ เวลามีความทุกข์ในโลก
แล้วก็ไปตะลุมบอนกับปัญหานี่ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ดีหรอก
เมื่อก่อนหลวงพ่ออยู่สภาความมั่นคง งานคืองานคิดทั้งนั้นเลย
งานวิเคราะห์ งานเซ็ตนโยบาย งานทำแผนอะไรอย่างนี้
เรารู้อย่างหนึ่งคือ คนที่คลุกอยู่กับปัญหานี่มองอะไรไม่ชัดหรอก

เพราะฉะนั้น เวลาที่ปัญหาในชีวิตเกิดขึ้นนะ
ใจเรากลุ้มใจขึ้นมา ให้มีสติรู้ทันก่อน ความกลุ้มใจมันจะหายไป
เราจะมีสติ มีปัญญา แล้วเราใช้สติใช้ปัญญานี่ ไปแก้ปัญหาเอา

อย่างพวกราชการนะ บางทีทำงานนะ
ชอบเขียนโปรเจ็กต์ขึ้นมาแล้วก็มีที่ปรึกษา
บางทีจ้างพวก consult เนี่ย แพงนะ
ทำไมคนที่ปรึกษาพวกนั้นมันรู้ดีกว่าเราหรือเปล่า
มันไม่รู้ดีกว่าเราหรอก เรารู้งานของเราดีกว่ามัน
แต่ทำไมมันมองปัญหาแก้ปัญหาได้ดีกว่าเรา เพราะมันไม่ได้คลุกวงใน

เพราะฉะนั้น เวลาที่ปัญหาในชีวิตเกิดขึ้นมาเนี่ย
ความเครียดเกิดขึ้นนะ ให้รู้ทันตัวเองก่อน
ปัญหากับความทุกข์นั้นเป็นคนละอันกัน
ในทางโลกที่บอกว่าแก้ความทุกข์นะ
ไม่ได้แก้ความทุกข์ แต่จะแก้ปัญหานะ ความทุกข์มันเกิดที่ใจเรานี้เอง
เพราะฉะนั้น เวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นในชีวิตนี่ จิตใจเรากังวลขึ้นมา
เช่น สมมติว่าลูกเราติดยาขึ้นมา
พอได้ยินว่าลูกติดยานี่กลุ้มใจนะ สิ่งแรกที่ทำคือกลุ้มใจ
ถ้าเอาจิตใจที่ยังกลุ้มอยู่ไปคิดแก้ปัญหานี่
มักจะแก้ปัญหาอันหนึ่ง แล้วสร้างปัญหาอีกอันหนึ่งขึ้นมา
แต่ถ้าใจเราฝึกของเราให้ชำนาญนะ
ลูกติดยาปุ๊บ เรากลุ้มใจ เราเห็นปั๊บเลย
ความกลุ้มใจสลายตัวไป จิตเราเป็นกลางแล้ว
เราจะสามารถคิดวิธีแก้ปัญหาได้ประณีตกว่าคนที่กำลังมั่วอยู่กับปัญหา

เพราะฉะนั้น คนละเรื่องกันนะ
ศาสนาพุทธนี่เราฝึกจนกระทั่งใจเราสามารถเป็นกลาง
ใจเรามีความสุข มีความสงบได้ ในท่ามกลางปัญหา
แล้วใช้สติใช้ปัญญาไปแก้ปัญหาเอา
ไม่ใช่ว่าไปภาวนาแล้วปัญหาจะหาย
ลูกติดยาแล้วก็เลยหนีไปหาหลวงพ่อปราโมทย์นะ ไปนั่งสมาธิ
เดี๋ยวออกจากวัดลูกคงเลิกติดยา นี่โง่ที่สุดล่ะ คนละเรื่องกันเลย

เพราะฉะนั้น ขั้นแรกนะ
เวลาที่ปัญหาเกิดขึ้นในชีวิต
ให้รู้ทันตัวเองก่อน รู้ทันใจของเรา

เคยมีเศรษฐีคนหนึ่งเช็คเด้งสิบล้าน คิดได้อย่างเดียวตอนเช็คเด้งสิบล้าน
กูจะฆ่ามึง ข้าวก็ไม่กินนะ ทุกข์กลุ้มใจ นอนก็ไม่หลับนะ เครียดมากขึ้นๆ
ยังไม่ทันจะฆ่ามึงเลย เกือบจะตายเองอยู่แล้วนะ มาหาหลวงพ่อนี่กลุ้มใจ
หลวงพ่อถาม อยากให้เช็คมันไม่เด้งใช่มั้ย ใช่ๆๆ
มันเด้งแล้ว มันเด้งแล้วนะ ต่อไปนี้นะไปกินข้าวก่อน
แล้วไปนอนให้สบายเลยนะ มันเ้ด้งแล้ว
ไม่ต้องรีบกลุ้มใจหรอกตอนนี้ ถึงยังไงกลุ้มแค่ไหนนะ ก็ยังเด้ง
แล้วก็อีตานี่ก็เชื่อนะ ไปกินข้าว ไปนอน ตื่นขึ้นมาหัวไบรท์ขึ้นมาแล้ว
เห็นมั้ย มันถอนตัวเองขึ้นมาจากปัญหาที่เข้าไปคลุกวงในอยู่
พอถอนตัวเองออกมาจากปัญหาได้แล้ว เริ่มมองได้แล้ว
จะลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ยังไง จะไปเจรจากับเขามั้ย
จะประนอมหนี้มั้ย หรือจะฟ้องล้มละลาย
เกิดช้อยส์ในการแก้ปัญหาขึ้นตั้งหลายอันให้เลือก
นี่เพราะอะไร เพราะมีสติขึ้นมา
แต่ถ้ากลุ้มใจ ถูกความกลุ้มใจครอบงำอยู่
จะแก้ปัญหาอะไรไม่ได้จริงหรอก

เพราะฉะนั้น ต้องแยกกันนะ
ปัญหานี่เป็นสิ่งปกติธรรมดาของชีวิต
ทุกชีวิตมีปัญหาตลอดเวลา
แต่ความทุกข์เป็นส่วนเกินของชีวิต
ศาสนาพุทธสอนให้เราขจัดส่วนเกินอันนี้ทิ้งไป
เราจะไม่มีความทุกข์นะ แต่ปัญหามี


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:13:22 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๑ พฤหัสบดีที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

สันตินันท์
(พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
คุณกาลามชนถาม ...คุณสันตินันท์ตอบ

เมื่อเช้านี้ผมได้รับเมล์ที่น่าอ่านอีกฉบับหนึ่ง เห็นว่าเป็นประโยชน์
เพราะเป็นตัวอย่างของผู้ไม่มีความรู้ความเข้าใจทางปริยัติ
แต่ธรรมอันเกิดจากการปฏิบัตินั้น น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก

เพื่อนคนนี้คือ คุณกาลามชน
ซึ่งน้อยครั้งจึงจะเห็นชื่อในห้องสมุดหรือลานธรรม และไม่เคยเข้ากลุ่มกับใคร
ส่วนมากจะก้มหน้าก้มตาปฏิบัติไปอย่างเงียบๆ เท่านั้น
นานๆ ถึงจะเมล์มาถาม หรือมาคุยกับผมบ้าง ไม่บ่อยนัก

ลองฟังธรรม ของคนไม่มีความรู้ทางปริยัติดูบ้างนะครับ

*******************************************

กาลามชน
> เมื่อก่อนเวลาปฏิบัติ พอจิตรู้อะไรสักอย่างชัดๆ
> จะเกิดความรู้สึกสงสัย แล้วก็เกิดความคิดวิเคราะห์ว่า
> ที่เห็นนั้นคืออะไร คล้ายกับว่าพอเกิดความรู้ตัว
> ก็เกิดนิวรณ์ต่างๆตามมา แต่ไม่รู้ทันนิวรณ์เหล่านั้น
> ทำให้การดูจิตไม่ต่อเนื่อง

> เมื่อเดือนที่แล้ว ผมตั้งใจว่าจะต้องมานะปฏิบัติ
> ผ่านไปได้สักสัปดาห์หนึ่ง ก็ไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าไร
> ตอนหนึ่งเห็นการซัดส่ายของจิตที่บังคับไม่ได้
> ตอนนั้นถึงได้เห็นว่าจิตมันรู้อยู่ตลอดเวลา
> ถึงแม้จะไม่รู้ตัว แต่จิตก็รับรู้สิ่งต่างๆ

สันตินันท์
อันนี้ถูกต้องเลยครับ เราจะมีสติสัมปชัญญะหรือไม่
จิตก็ทำหน้าที่ของเขาอย่างคงเส้นคงว่า คือทำหน้าที่รู้
แต่รู้โดยมีสติปัญญา กับรู้ตามกระแสกิเลสต่างหาก ที่ต่างกัน

กาลามชน
> แล้วก็เข้าใจว่าลักษณะนี้กระมังที่นิยามว่าจิตคือธรรมชาติรู้
> ทำให้เกิดความคิดว่าแต่ก่อนพอจิตรู้อะไรสักอย่างชัดๆ
> แล้วทำให้เกิดความอยากที่จะวิเคราะห์ตามมา
> จิตที่เป็นต้นเหตุนั้นต้องมีความรู้ตัวอย่างชัดเจน
> และเก็บไว้เป็นสัญญาที่ชัดเจนพอจะระลึกวิเคราะห์ได้
> ความคิดอยากวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นตามมานั้น
> เป็นวิตกวิจารณ์ และจิตไม่รู้ทันนิวรณ์ที่เกิดขึ้น

สันตินันท์
ครับ

กาลามชน
> ถ้าจิตที่เป็นต้นเหตุมีความรู้ตัว ก็น่าจะย่อมมีปัญญาเป็นองค์ประกอบ
> ปัญญาในความคิดจึงน่าจะเป็นคนละอย่าง กับปัญญาที่เป็นองค์ประกอบของจิต
> ถ้ารักษาระดับความรู้ตัวให้มีเท่าๆกับจิตที่เป็นต้นเหตุ
> ที่ว่านั้นก็น่าจะใช้ได้

สันตินันท์
ครับ

กาลามชน
> ที่ผ่านมาการปฏิบัติไม่ดีเพราะรู้ไม่เท่าทันนิวรณ์
> พอคิดได้เช่นนี้ ก็เกิดความรู้ตัวต่อเนื่องมากขึ้นกว่าเดิม
> พอเกิดจิตที่มีความรู้ตัวชัดๆขึ้นมา ก็เห็นความอยากวิเคราะห์
> เห็นความคิดต่างๆที่เกิดขึ้นตามมา ทำให้การปฏิบัติก็ดีขึ้น

สันตินันท์
ยินดีด้วยครับ

กาลามชน
> เวลาผ่านไปจิตเริ่มเห็นสิ่งที่ละเอียดขึ้นซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน
> แล้วก็เห็นความคิดอยากวิเคราะห์ที่วุ่นวายเพราะไม่รู้จัก
> ก็เลยต้องยอมปล่อยให้เป็นว่ารู้อะไรก็ช่างมัน

สันตินันท์
ดีครับ รู้อะไรก็ได้ ขอให้รู้อย่างมีสติปัญญาเป็นเครื่องมือของจิตก็แล้วกัน

กาลามชน
> ผมคิดว่าการปฏิบัติคล้ายๆกับนั่งดูคนเดินผ่านไปมา
> บางครั้งเห็นคนรู้จักผ่านมา บางทีก็เห็นคนแปลกหน้า
> บางทีก็นั่งใจลอยเห็นคนผ่านไปแต่ไม่ได้สังเกตว่าเป็นใคร
> บางทีก็เหม่อ เผลอลืมดู มีคนผ่านเท่าไรก็ไม่รู้

สันตินันท์
ใช่ครับ แต่เราหมั่นฝึกฝนไว้ ต่อไปอะไรผ่านมา
ก็จะรู้ว่า สิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เท่านั้นเองครับ

ที่พิจารณาดำเนินมาอย่างนี้ ดีแล้วครับ อนุโมทนาด้วย

***************************************

เมล์ฉบับนี้ เป็นเมล์ที่ผมตอบง่าย
เพราะเพียงเขียนคำว่าครับๆๆ เท่านั้นเอง

โดยคุณ สันตินันท์ วัน พุธ ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 10:22:45


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:13:40 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๒ พฤหัสบดีที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม: ผมเจอปัญหา ผมเจอว่าตัวเองไม่ได้ครองศีลดีพอ
ไม่ได้ถือศีลได้หนักแน่นพอครับ

พยายามเข้านะ ศีลจำเป็น ศีลเหมือนแผ่นดิน
จะสร้างบ้านสร้างเรือนก็ต้องปรับที่ให้แข็งแรงก่อน
ศีลไม่แข็งแรงจะไม่ดี
บางคนไม่มีศีล แล้วทำสมาธิขึ้นมา ก็ชั่วร้ายขึ้นมาได้
ศีลมันเป็นเครื่องกั้น ไม่ให้เราทำความชั่วหยาบทางกาย ทางวาจา
แต่ทางใจเราจะไม่เก็บกด

เวลาเราทำวิปัสสนา เราจะไม่เก็บกดทางใจ
จิตมันชั่ว รู้ว่ามันชั่ว จิตมันดี รู้ว่ามันดี ไม่ใช่ต้องทำให้ดีตลอด
เมื่อเราไม่เก็บกดทางใจ แล้วเราไม่มีศีลเป็นเครื่องกั้น
เราก็จะทำตามใจกิเลส

เพราะฉะนั้น เรามีศีล
เพื่อที่เราจะไม่ทำผิดทางกายทางวาจาตามใจกิเลส
เวลากิเลสผุดขึ้นมา เราจะได้คอยตามรู้ตามดูไป

แต่ถ้าเราพลาดพลั้งทำผิดศีลไปแล้ว
ลืมซะ ไอ้คนที่ทำผิดศีลมันตายไปแล้ว
เรามีชีวิตใหม่อยู่กับปัจจุบันเป็นขณะ ๆ นี้
คนในขณะนี้ไม่ได้ทำผิดศีล

สมัยพุทธกาลก็มีเพชฌฆาตฆ่าคนตลอดชีวิตเลยจนเกษียณ
จนเกษียณแล้วก็ทำบุญ นิมนต์พระสารีบุตรไป
พระสารีบุตรเทศน์ให้ฟังนะ จิตใจแกฟุ้งซ่าน แกคิดอย่างเดียวว่า
ตลอดเวลาชีวิตที่ผ่านมาทำผิดศีล คือไปฆ่าคน จิตใจไม่สงบ
พระสารีบุตรท่านฉลาด ท่านก็ออกอุบายถามว่า
ที่โยมไปตัดหัวคนนั้นน่ะ
โยมอยากตัดเขาหรือว่าพระราชาสั่งให้ตัด
นี่แกก็ปิ๊งไอเดียบรรเจิด
โอ้... พระราชาสั่ง เพราะฉะนั้น พระราชาบาป เราไม่บาป
จิตใจแกในขณะนั้นมีความสงบสุขขึ้นมา
แกฟังธรรมนะ แกได้โสดาบัน

ของคุณทำผิดศีลเนี่ย ฆ่าคนได้พันคนหรือยัง
…ยังไม่เท่าองคุลีมาล
ทำไมองคุลีมาลฆ่าคนพันคนเป็นพระอรหันต์ได้
เพราะองคุลีมาลที่ฆ่าคนตายไปแล้ว
ตั้งแต่ตอนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
เกิดองคุลีมาลคนใหม่ขึ้นมา

เพราะฉะนั้น เรามีชีวิตอยู่กับปัจจุบันไป
แต่คำสอนนี้ไม่ใช่อุบายสำหรับให้ทำชั่วนะ
เช่น ไปขโมยเขา แล้วพอกลับมาบ้าน
บอกคนที่ขโมยตายไปแล้ว อันนี้เป็นคนใหม่ อย่างนั้นไม่ได้นะ
อย่างนั้นมันโดนกิเลสลากเอาไปแล้ว
คำสอนนี่ทำไปเพื่อให้เกิดกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อไป

จำหลักไว้ว่า

กุศลใดที่ทำแล้ว ให้นึกถึงบ่อย ๆ
อกุศลใดที่ทำไปแล้ว ลืมมันไปซะ

การที่เรานึกถึงอกุศลซ้ำแล้วซ้ำอีก
ก็คือจิตมันจะขึ้นวิถีของอกุศลใหม่
เท่ากับเราทำอกุศลซ้ำแล้วซ้ำอีก
แต่ถ้าเราทำบุญมา ทำดีมา
เราคิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จิตก็ขึ้นวิถีที่เป็นกุศลใหม่
เหมือนทำดีซ้ำแล้วซ้ำอีก

เพราะฉะนั้น ถ้าทำผิดศีลนะ ลืมมันซะ
แค่ตั้งใจว่าต่อไปจะสำรวมระวัง ไม่ทำอีก

ระบบของพระก็มีนะ เวลาทำผิดพระวินัย พระก็ไปปลงอาบัติ
ถ้าผิดวินัยร้ายแรงก็ถูกจำคุก ถูกกัก ต้องอยู่ปริวาท
ถ้าผิดร้ายแรงที่สุดก็ถูกประหารชีวิต
คือถูกไล่ออกจากพระ ไม่ให้เป็นพระอีก มีความผิดหลายขั้น
ถ้าความผิดพื้น ๆ ท่านปลงอาบัติ
ท่านสารภาพ สารภาพต่อหมู่สงฆ์

เมื่อเราทำความผิด ก็สารภาพซะ
สารภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น สารภาพแล้วสบายใจ

ในบทปลงอาบัติของพระนี่นะ ลงท้ายจะบอกว่า
ผมประกาศความผิดเพื่อความสำรวมระวังในกาลต่อไป จะไม่ทำอีก
เพราะฉะนั้น ถ้าวันนี้ปลงอาบัตินะ สมมติกินข้าวเย็น
พรุ่งนี้อาบัติอีกแล้ว แล้วก็มาบอกว่าผมจะไม่ทำอีก มะรืนเอาอีกแล้ว
อย่างนี้เขาเรียกว่าพวกทุศีล พวกหน้าด้านนะ อย่างนั้นใช้ไม่ได้

นี่ถ้าทำผิดศีล ลืมไปซะ

เริ่มต้นชีวิตใหม่
ชีวิตของคนที่รู้ ตื่น เบิกบานขึ้นมา
รู้สึกตัว


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:14:01 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๓ พฤหัสบดีที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม : ถ้าเราเอาใจใส่พากเพียรร่ำเรียนศึกษาวิชาความรู้ต่างๆให้มากๆแล้ว
จะเพียงพอสำหรับการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขหรือยังครับ

คนมีความรู้ดีอย่างเดียวไม่พอ
ยิ่งมีความรู้ดี แต่ความประพฤติไม่ดีนะ
มันก็เป็นโจรที่เก่ง อันตรายที่สุดเลย

บ้านเมืองเราตอนนี้น่ากลัว บ้านเมืองเราน่ากลัว
คนมีความรู้ความสามารถมีมาก
อัตราคนรู้หนังสือ อัตราอะไรพวกนี้ของเราสูง
แต่ว่ามันเป็นสังคมที่ corrupted สังคมที่ค่อนข้างทุจริต
นักการเมืองก็ไม่ซื่อกับประชาชน แต่ละคนๆ ก็มีปัญหาทั้งนั้นเลย
แล้วทำเป็นยิ้มๆ นะ ในบ้านเรามีปัญหามั้ย มีเหมือนกัน
ลูกศิษย์กับอาจารย์ก็มีปัญหา หรือนายจ้างลูกจ้างก็มีปัญหา
ปัญหามันสารพัดปัญหาเลย
 
จุดใหญ่ใจความคือ คนเรามีความรู้นะ
มีความสามารถ แต่ขาดจริยธรรม ขาดคุณธรรม
เพราะฉะนั้น การที่อาจารย์ซุปพยายามส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้พวกเราด้วย
แทนที่เราจะเป็นคนเก่ง อย่างเก่งคณิตศาสตร์อย่างเดียว ไม่พอนะ
คนเก่งอย่างเดียว ไม่มีคุณธรรม เป็นคนเก่งที่ชั่ว
เป็นคนชั่วที่น่ากลัวที่สุดเลย น่ากลัวกว่าพวกโง่ๆ ที่ชั่วอีก

เพราะฉะนั้น พวกเราต้องฝึกฝนตัวเอง
วิชาความรู้ทางวิชาการ เราต้องพัฒนาให้ทันโลก
แต่ทางจิตใจเราต้องทันใจตัวเอง ไม่ใช่ทันโลกข้างนอกนะ

วิชาการเราต้องทันโลก
แต่ด้านจิตใจเราต้องรู้ทันใจตัวเองให้มาก

คนไหนไม่รู้ทันใจตนเองจะตกเป็นเหยื่อ
จำไว้นะพวกเด็กๆ เราจะกลายเป็นเหยื่อ
อย่างคนเขาผลิตสินค้าอะไรขึ้นมา แล้วเขามายั่วเราให้เราอยากได้นะ
เราอยากได้ก็หาเงินมา ขอพ่อขอแม่นะ พ่อแม่ก็ลำบากจะแย่อยู่แล้วยุคนี้
เราก็อยากได้ เรามีความอยากเยอะ บางคนก็หาเงินด้วยวิธีที่ไม่สุจริต
เพราะฉะนั้น เราต้องพยายามพัฒนาตัวเองให้ได้ จิตใจของเรานี่
การพัฒนาความรู้ความสามารถทางโลกๆ ก็เรียนกับอาจารย์ซุปไปนะ
แต่อาจารย์ซุปก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเหมือนกัน 
ไปเรียนพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และก็มีฝีมือด้วยนะ
หลวงพ่อเห็นไปทำหนังสือมาเล่มนึง ไปหาอ่านเอานะ
ทำขายหรือทำแจก ...ทำแจกนะ
โอ้ ลงทุนไม่ใช่น้อยๆ นะ เล่มหนึ่ง ๆ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจทำ
(หนังสือที่กล่าวถึงในที่นี้ คือ หนังสือ "ข้างในนั้น")
พยายามเอาเนื้อหาธรรมะที่หลวงพ่อสอน เอามาแปลให้ง่ายๆ
ความจริงถึงไม่แปลเด็กรุ่นนี้ก็ค่อนข้างรู้เรื่องนะ
เด็กรุ่นนี้ไม่โง่หรอก มันแกล้งโง่ แกล้งโง่ตามใจกิเลสเท่านั้นเอง

นี่ขั้นแรกเลยนะ
ถ้าเราอยากพัฒนาจิตใจของเราให้มันสูงขึ้นไป

ขั้นแรกเลยเราต้องมีศีล
พยายามถือศีลห้า

ศีลห้าเป็นเรื่องของคนฉลาดนะ
ศีลห้าไม่ใช่ถือไปให้ลำบาก คนที่มีศีลคือคนที่มีความสุข
อย่างคนที่คิดจะไปฆ่าเขา คิดจะไปต่อยเขา ลำบากกว่าคนที่ไม่ฆ่าใช่ไหม
คนที่คิดจะไปขโมยเขา มันลำบากกว่าคนที่คิดจะไม่ขโมย
คนที่จะไปเป็นชู้กับเขาอะไรอย่างนี้นะ
มันลำบากกว่าคนที่ซื่อสัตย์กับคู่ของตัวเอง
คนโกหกก็ลำบากนะ ต้องใช้ความจำมาก
มีใครจะโกหกหลวงพ่อว่าไม่เคยโกหกมีไหมในห้องนี้
มันก็เคยกันทุกคนล่ะนะ แต่ว่าเราไปเห็นว่ามันเป็นความผิดเล็กๆ น้อยๆ
แต่ความผิดใหญ่ๆ นี่ก็มาจากความผิดเล็กๆ ทั้งนั้น
เริ่มต้นเด็กๆ ก็โกหกเล่นๆ ต่อไปก็โกหกจริงจัง
เวลาคนที่จะโกหกนะ ต้องใช้ความจำเยอะใช่ไหม
เราไปพูดกับคนนี้ไว้อย่างนี้ เราต้องจำนะ
เดี๋ยวเราไปพูดทีหลังไม่เหมือนกันเขาจับได้
ส่วนคนพูดความจริงไม่ต้องจำมาก ความจริงมันไม่ต้องจำ
เพราะฉะนั้น อย่างคนมีศีลนะสบาย อย่าไปนึกนะว่าเราถือศีลแล้วลำบาก
คนบางคนเข้าใจผิดว่าถือศีลแล้วจะลำบาก
จริงๆ ศีลทำไว้ให้เรามีความสุขเรามีความสบาย

มีศีลอย่างเดียวเท่านี้ไม่พอนะ
แค่นี้ยังไม่พอที่จะสู้กับสิ่งยั่วยวน ซึ่งสารพัดจริงๆ เลยทุกวันนี้
สิ่งยั่วยวนนี้สารพัดไปหมด มันจะหลอกให้เราเป็นเหยื่อลูกเดียว
คนที่ตกเป็นเหยื่อคนอื่นได้นี่
ขั้นแรกเลย ต้องเป็นเหยื่อกิเลสภายในใจของเราก่อน
ถ้าเราไม่เป็นเหยื่อกิเลสในใจของเรา เราจะไม่เป็นเหยื่อของคนอื่น
เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ทัน

ขั้นแรกเราถือศีลไว้นะ ไม่ทำชั่วไม่ทำอะไร
เสร็จแล้วเรามาคอยรู้ทันใจของเราไว้
ใจของเรามีความอยากเกิดขึ้น เราคอยรู้

ศาสตร์ของศาสนาพุทธเป็นศาสตร์ที่อัศจรรย์มากเลย
วิชาความรู้ทั้งหลายที่เราเคยเรียน กระบวนการศึกษาหาความรู้นะ
เราคุ้นเคยกับการอ่านใช่ไหม การอ่านการฟัง อ่านตำรา
หรือฟังอาจารย์ซุป ฟังพี่ชายอาจารย์ซุป
อันนี้คือความรู้ที่ถ่ายทอดมาจากคนอื่นนะ ดีเหมือนกัน
เราคุ้นเคยกับการหาความรู้ด้วยการอ่าน ด้วยการฟัง หรือด้วยการคิด

มันมีวิธีหาความรู้อีกอย่างหนึ่ง
เป็นวิธีหาความรู้ของคนที่ฉลาดมากเลย
คือ การสังเกตการณ์
ทำตัวเป็นผู้สังเกตการณ์นะ เป็น observer เป็นคนคอยสังเกตการณ์

การที่เราคอยสังเกตการณ์การทำงานในใจเรา
คอยรู้ทันตัวเองเรื่อยๆ การรู้ทันตัวเองเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มากเลย
รู้ทันคนอื่นนะเรื่องธรรมดาๆ นะ แต่รู้ทันใจตัวเองนะยากที่สุดเลย

เพราะฉะนั้น เราต้องคอยดูให้รู้ทัน ใจเราเกิดความรู้สึกใดๆ เกิดขึ้น
มันอยากโน้นอยากนี้ขึ้นมา เรารู้ มันโมโหขึ้นมา เรารู้
มันเหม่อๆ มันใจลอย รู้จักใจลอยมั้ย รู้จักเหม่อมั้ย
ไปสังเกตนะ วันหนึ่งเหม่อบ่อยๆ เหม่อทั้งวันเลย
เดี๋ยวก็เหม่อแวบ เดี๋ยวก็เหม่อแวบ
ให้เราคอยรู้ทันใจตัวเองนะ หัดรู้ทันใจตัวเอง

แต่ละคนก็อยากมีคนรู้ใจ แต่ไม่มีใครยอมรู้ใจตัวเอง
ใจของตัวเองยังไม่รู้เลย จะให้คนอื่นเขามารู้ใจ
เพราะฉะนั้น เราต้องคอยรู้ใจตัวเองนะ
ใจเรามีความอยากอะไรเกิดขึ้นนะ คอยรู้ทันมัน
ใจเรามีความโกรธ ความหงุดหงิด ความกลัว ความกังวล
อย่างนักศึกษานักเรียนนี่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย กังวล
ถ้าเราภาวนาเป็นนะ เรารู้ทันใจที่กังวลเลย
ความกังวลจะกระเด็นหายไปต่อหน้าต่อตาเราเลย

ศาสนาพุทธไม่ใช่เรื่องกิ๊กๆ ก๊อกๆ นะ ไม่ใช่ปรัชญาเลื่อนๆ ลอยๆ
ศาสนาพุทธเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งเลย เป็นศาสตร์ที่จะสอนเราว่า
ทำยังไงเราจะสามารถมีชีวิตแบบไม่มีความทุกข์ได้
หรือทุกข์ก็ทุกข์น้อยๆ

คนที่เรียนกับหลวงพ่อนี่ซักเดือนหนึ่ง
เขาจะพบความเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ไม่นานนะ
ใช้เวลาซักเดือนเท่านั้นเอง ถ้าไม่ดื้อนะ
ถ้าดื้อมากๆ หลายปีก็ไม่รู้เรื่องหรอก
แต่ถ้าไม่ดื้อนะ คอยรู้สึกตัวขึ้นมา
แล้วดูกายมันเคลื่อนไหว ดูใจมันเคลื่อนไหว
คอยรู้สึกตัวเองไว้ คอยศึกษาตัวเอง นี่ ทำตัวเป็นคนสังเกตการณ์
เห็นร่างกายมันทำงาน เห็นจิตใจมันทำงาน ทำตัวเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์
ถ้าเราสังเกตไปเรื่อย เราจะค่อยๆ เห็น
กายนี้ใจนี้มันทำงานไปเรื่อย เสร็จแล้วเราจะเห็นด้วยว่า
กระบวนการที่ให้เกิดความทุกข์ในใจเรานี่ มันมาได้ยังไง
ใจมันจะมีความอยาก ทีแรกมันไปคิดก่อนนะ คิดๆ คิดโน่น คิดนี่
แล้วมันก็จะมีความอยากขึ้นมา อยากอย่างโน้นอยากอย่างนี้
พอใจมีความอยาก ใจจะเริ่มดิ้น เห็นมั้ย มีกระบวนการนะ มีกระบวนการ
พอใจมันดิ้นๆ ขึ้นมา ความทุกข์ในใจมันจะเกิดขึ้น
แต่ถ้าใจมันรู้ ใจมันตื่น ใจมันเบิกบานขึ้นมา
ใจไม่ดิ้นรนนะ ใจไม่มีความหิว ใจก็ไม่มีความทุกข์
ใจมันหิวได้ เหมือนท้องเราหิวได้นะ ใจเราก็หิวได้
แถมใจนี่หิวบ่อยกว่าท้องอีก ท้องเรานะ ถ้าไม่ตะกละใช่ไหม
วันละมื้อสองมื้อมันก็พออิ่มแล้ว แต่ใจเราหิวตลอดเวลาเลย
ถ้าเรารู้ทันนะ ความหิวนั้นจะหายไป
ความอยากจะหายไป แล้วความดิ้นรนจะหายไป
พอจิตใจหมดความอยากหมดความดิ้นรน จิตใจจะมีแต่ความสุขล้วนๆ เลย

เพราะฉะนั้น ต้องฝึกนะ ต้องฝึก มันเป็นศาสตร์ของความพ้นทุกข์
ศาสตร์อันนี้ต้องเรียน นึกเอาเองไม่ได้
พวกเราบางคนอยากปฏิบัติ อยากพ้นทุกข์
ก็ไปนั่งสมาธิให้ใจนิ่งๆ เคลิ้มๆ นะ นั่งแล้วเห็นโน่นเห็นนี่
อันนั้นไม่ใช่ศาสนาพุทธแท้ๆ หรอก เป็นผิวๆ เป็นเปลือกๆ เท่านั้นเอง


๗ มกราคม ๒๕๕๒ (ตอนแรก)
สถาบันกวดวิชา ซุปเค เซ็นเตอร์


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:14:23 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๔ พฤหัสบดีที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม : ถ้าอยากเริ่มเรียนศาสนาพุทธควรเริ่มอย่างไรดีคะ

เนื้อหาของศาสนาพุทธแท้ๆ ก็คือ
เราต้องรู้สึกตัวขึ้นมา
เรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ ของตัวเอง
คอยรู้กาย คอยรู้ใจ ของตัวเองบ่อยๆ

สังเกตมั้ยใจเราจะหนีไปเรื่อยๆ นะ ใจเราหนีแวบๆ ไป
หนีแล้วหนีไปไหน สังเกตมั้ย
หนีไปคิด ส่วนมากหนีไปคิด ใจเราหนีไปคิดแวบไป
พอเราไปคิดนะ บางครั้งก็มีความสุข บางครั้งก็มีความทุกข์
คิดบางเรื่องมีความสุขใช่มั้ย คิดบางเรื่องก็มีความทุกข์
มีความกลัว มีความกังวล อย่างคิดเรื่องจะเข้ามหาวิทยาลัย ชักกังวลแล้ว
ใจเราหนีไปตลอด ให้คอยรู้ไว้ รู้ทันนะ
อย่าไปบังคับ ไม่ได้ฝึกเพื่อจะบังคับตัวเอง
ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาเก็บกด
ศาสนาพุทธ พุทธะ แปลว่า รู้
เรานับถือศาสนาพุทธนะ บางทีเราไม่รู้ว่าศาสนาพุทธแปลว่าอะไร
พุทธะ แปลว่า รู้ นะ แปลว่า ตื่น แปลว่า เบิกบาน
จิตใจของเราจะต้องเป็นจิตใจของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
แต่จิตใจของคนในโลก ไม่ใช่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เป็นจิตใจของผู้หลับผู้ฝันไป
เราฝันตลอดเวลา คนในโลกนี้ฝันตลอดเวลา
ไม่มีใครที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานจริงๆ
ใจเราฝันยังไง สังเกตมั้ย ใจเราคิดไปเรื่อยๆ
ความคิด กับ ความฝัน เหมือนกันนะ
อย่างเราคิดเอาว่าเราเป็นนายกรัฐมนตรี เราก็คิดได้ใช่มั้ย
หรือสาวๆ คิดว่าจะเป็นนางงามจักรวาล ก็คิดได้ใช่มั้ย
คิดได้ แต่จริงๆ เป็นหรือไม่เป็นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ใจเราจะคิดไป
ให้คอยรู้นะ คอยรู้ทันใจที่ไหลไปคิด รู้สึกไปเรื่อยๆ
เดี๋ยววันนึงเราจะได้ของดีของวิเศษ จิตเราจะกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่นขึ้นมา

หลวงพ่ออยากให้เด็กๆ ทั้งหลายเรียนนะ พยายามเรียนเข้า
เอาซีดีหลวงพ่อไปฟัง ได้ข่าวว่าอาจารย์เขาก็แจก
พยายามไปฟังนะ ฟังแล้วจะตื่นขึ้นมา การเรียนก็จะดีขึ้นด้วย
เพราะจิตใจมันจะสงบ จิตใจไม่ฟุ้งซ่านหรอก
จิตใจสงบ จิตใจตั้งมั่น เรียนหนังสือก็จะดีขึ้น เรียนง่ายขึ้น
ภาวนาไปเถอะ ดีทั้งนั้นเลย หรืออย่างเราหนุ่มๆ สาวๆ ใช่มั้ย
อยากมีแฟน อยากมีกิ๊ก อะไรอย่างนี้ เราภาวนาไปนะ เรารู้ทันใจเรา
ต่อไปเราจะรู้ทันใจคนอื่นด้วย มันมาไม้ไหนนะ เรารู้ทันมันหมดเลย
มันจะมาหลอกเราไม่ได้หรอก เว้นแต่เราเต็มใจให้มันหลอก
เพราะฉะนั้น เราคอยรู้สึกนะ หัดดูของเราไปเรื่อยๆ ไม่ยากเท่าที่คิดหรอก

สังเกตมั้ย ตอนที่หลวงพ่อหยุดพูด สังเกตมั้ยใจหนีไปคิดแล้ว ดูออกมั้ย
ไหลแวบๆ ดูออกมั้ย มันจะแอบไปคิด เพราะใจของเราฝันตลอดเวลา
ใจของเราไม่ได้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น เวลาเราหลงไปคิดนะ บางทีก็คิดตามกิเลส
คิดไปตามความอยาก คิดไปตามความโกรธ คิดอะไรสารพัดนะ
ใจเราไม่มีความสุขหรอก ให้คอยรู้สึกตัว
ใจไหลไปรู้สึก ใจไหลไปแล้วรู้สึก ใจมันจะไหลไปคิดตลอดเวลา
ถ้ารู้สึกได้ ต่อไปใจจะเป็นผู้รู้ผู้ตื่นขึ้นมา
แล้วเราจะรู้ว่า ศาสนาพุทธนะ เป็นศาสนาที่มีอะไรอยู่
ไม่ใช่ศาสนาที่ว่างเปล่า สอนๆ เลื่อนๆ ลอยๆ เป็นปรัชญา ไม่ใช่
ไม่ได้สอนให้เราเชื่อด้วย แต่ว่าบอกวิธีให้เราพิสูจน์ด้วย
วิธีพิสูจน์ศาสนาพุทธนะ ก็คือรู้สึกตัวขึ้นมา คอยรู้ทัน
ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้สึก
พยายามรู้สึกบ่อยๆ เดี๋ยวเราจะรู้ว่าศาสนาพุทธสอนอะไร

ถ้าใครทำตามที่หลวงพ่อบอกนะ
ประมาณเดือนเดียวเท่านั้น ก็จะเริ่มเข้าใจ
มีคนไปหาหลวงพ่อเยอะแยะ แต่ละวันหลายร้อยคน เยอะแยะ
ไปเรียนๆ นะ เวลาให้ส่งการบ้าน จะบอกหลวงพ่อกันทุกวัน
มีทุกวันแหละ บอกว่าชีวิตจิตใจเปลี่ยนไปหมดแล้ว
อย่างบางคนมีแต่ความทุกข์มานานนะ จมอยู่ในความทุกข์
มาหัดรู้สึกตัว รู้กายรู้ใจตัวเอง ความทุกข์ตกหายไปแล้ว
เพราะฉะนั้น พวกเราฝึกนะ เดี๋ยววันนึงเราจะได้ลิ้มรสชาติของความสุข
เป็นศาสนาที่ประหลาดมากเลย ไม่ได้สอนให้เชื่อ
แต่สอนให้เราพิสูจน์ด้วยตัวเอง บอกกระทั่งวิธีที่จะพิสูจน์

วิธีพิสูจน์ก็คือ อย่าลืมตัว อย่าใจลอยไป คอยรู้สึก
เห็นร่างกายเคลื่อนไหว เห็นจิตใจเคลื่อนไหว
แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่งนะ อย่าไปบังคับให้นิ่ง
พวกเราหลายคนภาวนาแล้วชอบเอานิ่ง ภาวนานิ่งๆ จะได้อะไรขึ้นมา
ก็ได้ความนิ่ง เราต้องการให้เห็นความเป็นจริงในกายในใจ
ร่างกายเราเคลื่อนไหวตลอดเวลา จิตใจของเราเคลื่อนไหวตลอดเวลา
นี่คือความจริงของมัน เพราะฉะนั้น เราคอยรู้ทัน
ถึงวันนึงเราจะเห็นเลย ทั้งกายทั้งใจนี้ทำงานของมันเอง
มันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง ค่อยฝึกนะ แล้วเราจะมีความสุขที่สุดเลย

หลวงพ่อหัดภาวนาครั้งแรกอายุเจ็ดขวบ
หัดเจ็ดขวบนะ หัดภาวนาตอนนั้น ไปเรียนกับท่านพ่อลีวัดอโศการาม
หัดหายใจ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ ฝึกแล้วได้แต่ความสงบ
ไม่ใช่ท่านไม่ดีนะ ท่านดี แต่ว่าเราเด็กมากตอนที่ไปเรียน
ท่านเลยสอนพื้นฐาน ทำใจให้สงบก่อน ยังไม่ได้สอนถึงขั้นเจริญปัญญา
แล้วท่านก็มรณภาพไปก่อน หลวงพ่อก็เลยไม่มีอาจารย์
ภาวนาเอาเอง หายใจเอาเองทุกวันๆ นะ ฝึกทุกวันเลย
จนมาถึงอายุยี่สิบเก้าแล้ว ถึงได้เจอครูบาอาจารย์คือหลวงปู่ดูลย์
ใครเคยได้ยินชื่อหลวงปู่ดูลย์บ้างมั้ย มีมั้ย
ยุคนี้คนได้ยินชื่อนะ ยุคหลวงพ่อไม่มีคนรู้จักหรอก
สมัยที่หลวงปู่ดูลย์ยังอยู่นะ ท่านเป็นพระที่มีความสุขมากเลย
เพราะเป็นพระที่ไม่มีคนรู้จัก สบาย
พระที่คนรู้จักไม่มีความสุขเลย เหนื่อย วิ่งไปโน่นวิ่งไปนี่
หลวงพ่อไปหาหลวงปู่ดูลย์นะ ไปเรียนกับท่าน
ไปถึงก็เข้าไปกราบ บอกหลวงปู่ครับ ผมอยากปฏิบัติ
แทนที่หลวงปู่จะสอนนะ หลวงปู่กลับนั่งหลับตา
นั่งนิ่งๆ ไปเกือบชั่วโมงแน่ะ
เราก็ โอ้ หลวงปู่ สงสัยเพิ่งฉันข้าวเสร็จ เลยหลับไปแล้ว
พอท่านลืมตาขึ้นมา ท่านสอนง่ายๆ เลยบอกว่า
การปฏิบัตินั้นไม่ยาก จำไว้นะ
การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะคนที่มันไม่ปฏิบัติ
เพราะการปฏิบัติจริงๆคือการรู้ทันตัวเอง
เพราะฉะนั้น การที่คอยรู้ทันตัวเองนั้น ไม่ได้ยากอะไร

การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ
อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อไปนี้ อ่านจิตตนเอง

ให้อ่านจิตตนเอง
จิตเรามีความสุขให้คอยรู้ จิตเรามีความทุกข์ให้คอยรู้นะ
จิตเราเฉยๆ เราก็รู้ จิตใจเรามีความอยากเกิดขึ้นเราก็รู้
จิตใจเราหงุดหงิดขึ้นมา มีความโกรธขึ้นมา
มีความกลัว มีความกังวล มีความเสียใจขึ้นมา เราก็รู้
จิตใจมีความสุขก็รู้ จิตใจเป็นยังไงคอยรู้ไปเรื่อย
แล้วทำตัวเป็นนักสังเกตการณ์ที่ดี
นักสังเกตการณ์ที่ดีเนี่ยนะ ต้องไปดูว่าของจริงๆ เป็นยังไง
วิธีการศึกษาด้วยการสังเกตการณ์ ถึงเป็นวิธีการที่สำคัญของชาวพุทธ
อย่างศาสนาอื่นเขาก็ดีเขาน่ะนะ แต่ว่าวิธีการของเขานี้ ให้เชื่อก่อน
เชื่อพระเจ้า มอบกายถวายชีวิตให้พระเจ้าแล้วชีวิตมีความสุข
ศาสนาพุทธไม่ได้สอนให้มีความภักดีหรือศรัทธาอะไรอย่างนั้น
แต่สอนให้เราพิสูจน์ด้วยตนเอง

คอยรู้กาย คอยรู้ใจไป
แล้ววันหนึ่ง เราจะมีความสุขที่สุดเลย

หลวงพ่อไม่เคยเทศน์ให้เด็กฟัง ไม่รู้ฟังยากเกินไปหรือเปล่า
รู้เรื่องมั้ย รู้เรื่องด้วยเหรอ เนี่ยนะ หัดดูใจของเราเรื่อยๆ
เห็นมั้ย เมื่อกี้ใจเราขำรู้สึกมั้ย ใจเราขำมันผ่อนคลายเราก็รู้
ตอนนี้ใจของเราเริ่มนิ่งๆ แล้ว รู้สึกมั้ย ใจเราเริ่มนิ่งๆ เราก็รู้
รู้เล่นๆ นะ อย่าไปกดไว้ อย่าไปเพ่งมัน อย่าไปข่มมัน
ปล่อยให้มันทำงานแล้วรู้ อย่าไปบังคับมันให้นิ่ง ปล่อยไป
แล้่วคอยรู้สึกนะ รู้สึกของเราเอง ไม่ยากเท่าที่คิดนะ
หลวงปู่ดูลย์บอกหลวงพ่อว่าไม่ยาก แล้วหลวงพ่อก็พบว่าไม่ยากจริงๆ
ง่ายกว่าที่คิดเยอะเลย ไม่ใช่เรื่องต้องบังคับตัวเองมากมาย

๗ มกราคม ๒๕๕๒ (ตอนที่สอง)
สถาบันกวดวิชา ซุปเค เซ็นเตอร์


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:14:44 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๕ พฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช


คำถาม : ถ้าป่วยอยู่ รู้ว่าจะตาย จะท่องพุทโธตลอดดีมั้ยครับ หรือว่ามีสติตามรู้ครับ


ถ้ามีสติได้ก็มีสติไปนะ ถ้ามีสติไม่ได้ก็พุทโธไป
พุทโธไปเรื่อยๆ อย่างน้อยก็กลับมาเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาอะไรได้
ถ้ามีสติเรื่อยๆไป อาจจะเกิดมรรคเกิดผลอะไรขึ้นเลยก็ได้
แต่ว่าคนเราอยู่ๆจะบอก ตอนจะตายแล้วบอกให้มีสตินี่มันเป็นไปไม่ได้
มันต้องซ้อมซะก่อนจะตาย
ต้องซ้อมให้มีสติซะก่อน
เหมือนเราจะตกน้ำแล้ว จะมาถามหาตำราว่ายน้ำเนี่ยไม่ทัน
ต้องว่ายน้ำให้เป็นก่อนแล้วตกน้ำแล้วว่ายได้
การที่เราจะฝึกสติจนตายอย่างมีสติได้นี่
เราต้องฝึกให้มีสติตั้งแต่ยังเป็นๆอยู่
งั้นเราคอยมีสติรู้สึกไป ถ้ามันจวนตัวจริงๆ
พวกเราฝึกรู้สึกตัว ดูจิต ดูใจ ดูกายชำนาญนะ
เวลาเจ็บป่วยจริงๆนะ นอนดูกายมันตาย

มีพระองค์หนึ่งท่านไปเรียนกับหลวงพ่อที่ศรีราชา
เวลาท่านมาเรียนท่านก็ฝีมือพอๆกับพวกเรานี่แหละ
ต่อมาท่านเป็นโรค โรคเดียวกับพุ่มพวง
โรคอะไรไม่รู้ชื่อภาษาฝรั่ง เราก็เชยๆ เราก็จำไม่ได้แล้ว
หลวงพ่อก็ไปเยี่ยมท่านกะว่าพรุ่งนี้ท่านตาย วันนี้เลยไปเยี่ยมท่านซะหน่อย
ไปให้กำลังใจท่าน ไปถึงก็ไปบอก “ท่านอาจารย์ รอบนี้ตายแน่”
นี่ให้กำลังใจนะ ไปให้กำลังใจ “อาจารย์ตายแน่เลย ยังไงก็ตายรอบนี้”
“ไหนๆ อาจารย์จะตายนะ อาจารย์นอนดูร่างกายมันตายนะ ใจเราเป็นคนดู
ดูมันตายไปเลย” นี่ท่านทำได้จริงๆนะ ท่านนอนเห็นร่างกายมันตายนะ
จิตท่านเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ ท่านก็ได้กำไรไป
ถ้าเราภาวนาไม่เป็น เวลาจะตายนะ ใจทุรนทุราย
มีความทุกข์ตั้งแต่ก่อนตายแล้ว ตายไปก็ต้องมีความทุกข์อีก
ฉะนั้นอนาคตนะเป็นสิ่งที่เราสร้างเอง
งั้นเราอย่าประมาท ต้องฝึกไว้ตั้งแต่ก่อนตาย

มีลูกศิษย์หลวงพ่อหลายคนเลยนะเป็นมะเร็งเป็นอะไร
เดี๋ยวนี้คนเป็นมะเร็งเยอะมากเลยเป็นโรคฮิตมากเลย
บางคนเป็นมะเร็งแล้วก็บอกว่า หมอบอกอยู่ได้อีกไม่กี่วันแล้ว
มาหาหลวงพ่อนะ บอกกรรมฐานที่เคยทำมาทุกสิ่งทุกอย่างนะ
แตกสลายไปหมดแล้ว ทำไม่ได้เลยตอนนี้
บอกคุณทำใจให้สบายนะ จะตายก็ช่างมันเถอะ
ให้คอยนึกไว้ว่า ร่างกายนี้ เราขอถวาย เหมือนดอกไม้บูชาพระพุทธเจ้าไปเลย
สละถวายบูชา เป็นพุทธบูชา
เราจะมีสติคอยรู้สึกไปเรื่อยๆ ตายก็ตายไป
เหมือนถวายดอกไม้กับพระพุทธเจ้าไปแล้ว ปักแจกันไปแล้ว
ดอกไม้จะเหี่ยวก็เรื่องของดอกไม้ ไม่ใช่เรื่องของเราแล้ว
จนป่านนี้แกยังไม่ตายเลย เพราะใจของแกเข้มแข็งขึ้นมา
แกรู้สึกร่างกายนี้ แกสละออกไป ใจเข้มแข็ง ใจตื่น ใจเบิกบาน
มีธรรมปีติหล่อเลี้ยงอยู่ ตายยาก มีหลายคนนะ เป็นอย่างนั้น
ฉะนั้นถ้าเจ็บป่วยจริงๆแล้วทุรนทุรายนี่ ก็เท่ากับเตรียมนรกเป็นที่ไป
เจ็บป่วยนะ แล้วก็ห่วงโน้นห่วงนี้ ก็เตรียมไปเป็นเปรต
เจ็บป่วยอยู่ แล้วก็เพ้อคลั่ง หลงไปเรื่อยๆ ก็เตรียมไปเป็นเดรัจฉาน
งั้นเจ็บป่วยนะ เราก็มีสติไว้
อย่างน้อยคิดถึง พุทโธ พุทโธนะ ก็เป็นมนุษย์ได้ เป็นเทวาดาได้
ทำความสงบเข้ามาได้ก็เป็นพรหมได้
มีสติรู้กายรู้ใจไปเลย อาจจะกำลังแก่กล้าพอ อาจจะได้มรรคผลขึ้นมา คุ้มที่สุดเลย

อยู่ที่ว่าเราต้องฝึก ตั้งแต่ก่อนป่วย
ตอนนี้กำลังมีเรี่ยวมีแรง ต้องฝึกก่อนนะ
รอให้ป่วยหนักแล้วจะถามว่า จะทำกรรมฐานอะไร นี่ไม่ทันแล้วหล่ะ
ต้องฝึกซะตั้งแต่ตอนนี้ เหมือนกับก่อนตกน้ำ ต้องว่ายน้ำให้เป็นซะก่อน
ต้องฝึกซะก่อน ถึงจะเรียกว่าไม่ประมาท
ถ้าประมาท ก็คือตายแหงแก๋ ตายหยังเขียด

29 เมษายน 2552
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:15:09 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๖ พฤหัสบดีที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม ทำไมการเรียนรู้ทุกข์ ทำให้เราไม่ทุกข์ได้คะ
 
การปฏิบัติธรรมคือการเรียนรู้ตัวเอง เราจะเรียนรู้จนกระทั่งวันนึงนะ 
เราสามารถมีชีวิตอยู่แบบไม่ทุกข์ มีความทุกข์น้อยๆ หรือไม่ทุกข์เลย 
ไม่ทุกข์เลยนี่ฆราวาสทำยาก ชีวิตของฆราวาสมันปนเปื้อนมาก 
อยู่ที่เราจะเรียนรู้ตัวเองนะ ความทุกข์มันอยู่ที่กาย ความทุกข์มันอยู่ที่ใจเรา 
จะเรียนรู้ลงที่กายที่ใจ จนกระทั่งสามารถไม่ทุกข์ได้ 
กายกับใจมันทุกข์นะ แต่เราไม่ทุกข์กับมันด้วย 
อยู่ที่ความไม่ยึดถือ ไม่ยึดถือแล้วไม่ทุกข์ เป็นศาสตร์ที่แปลกมาเลย 
ศาสตร์ทั้งโลกต้องการความพ้นทุกข์ ต้องการหนีทุกข์ ไม่อยากเจอทุกข์ 
ศาสนาพุทธกลับสอนให้รู้ทุกข์ ให้เรียนรู้ไป 
ปัญหาอยู่ที่ไหนก็เรียนรู้มันเข้าไป ไม่หนีนะ คนในโลกชอบหนีปัญหา 
เวลากลุ้มใจขึ้นมาก็ไปดูหนังฟังเพลง กินเหล้า อะไรอย่างนี้ 
หนีปัญหาไป ถ้าไม่หนีปัญหาก็วิ่งชนเลย ไม่สามารถจะทำตัวเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ 
ถ้าทำตัวเป็นผู้สังเกตการณ์นะ เห็นปรากฏการณ์มันผ่านต่อหน้าต่อตา 
เราเป็นแค่คนดูไม่ได้เดือดร้อนด้วย 
เหมือนเราเห็นคนอื่นไม่สบาย เราไม่ได้กลุ้มใจด้วย 
พอเราเห็นว่าร่างกายเราไม่สบายเราก็กลุ้มใจ 
เราจะสามารถฝึกจนกระทั่งเห็นกายเห็นใจอันนี้เหมือนเห็นกายเห็นใจคนอื่น 
 
ความจริงมันลึกซึ้งกว่านั้นไปอีกขั้นนึง คือเห็นว่ามันไม่มีคนเลย 
นี่ฟังแล้วยากนะ แต่ว่าถ้ารู้วิธีปฏิบัติแล้วไม่ยาก วิธีปฏิบัติก็คือรู้สึกตัวขึ้นมาก่อน 
สเต็ปที่หนึ่งนะรู้้สึกตัว คนในโลกไม่รู้สึกตัว ไม่เคยมีคนรู้สึกตัวหรอก มีแต่คนหลง
คนส่วนใหญ่หลงไปอยู่ในโลกของความคิด คิดไปเรื่อยๆ วันๆรู้เรื่องที่
ใจมันหนีไปคิดนะ มันไม่รู้กายไม่รู้ใจ เรียกว่าเราหนีความจริงไป งั้นต้องรู้สึกตัวนะ 
สเต็ปที่หนึ่งรู้สึกตัว พอรู้สึกตัวแล้วอย่ารู้สึกอยู่เฉยๆ ให้คอยรู้กายให้คอยรู้ใจไว้ 
กายกับใจก็จะแสดงไตรลักษณ์ให้ดู ไม่เที่ยง มันมีแล้วไม่มี ไม่มีแล้วก็มี 
มันเป็นทุกข์คือมันถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา 
 
ร่างกายถูกเวทนาบีบคั้น นั่งอยู่ก็เมื่อยใช่มั้ย ต้องขยับ ยืนก็เมื่อย เดินก็เมื่อย 
นอนก็เมื่อย นี่มันถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา 
หายใจออกก็ทุกข์นะ หายใจเข้าก็ทุกข์ หายใจไปเรื่อยๆ 
ลองหายใจออกอย่างเดียวสิ เดี๋ยวก็รู้ว่าทุกข์มั้ย 
ไหนหายใจเข้าอย่างเดียว ประเดี๋ยวก็รู้ว่าทุกข์มั้ย 
งั้นเราก็ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ 
หายใจก็เปลี่ยน ออกเป็นเข้า เข้าเป็นออกอะไรอย่างนี้ 
เรียกว่ามันปิดบังทุกข์ไว้ อิริยาบถปิดบังตัวทุกข์ไว้ ทุกข์ของกาย 
 
ส่วนจิตใจเราเป็นทุกข์เพราะว่าถูกตัณหา 
ถูกความอยากนี่บีบคั้นตลอดเวลา มันถูกบีบคั้น 
พวกเราภาวนากับหลวงพ่อมาช่วงนึงจะเห็นเลย จิตมันถูกเค้นทั้งวัน ดูออกหรือยัง
ทันทีที่เกิดความอยากนะ มันมีแรงเค้นเกิดขึ้นในใจ 
วันๆนะมีแต่ความทุกข์ เพราะวันๆมีแต่ความอยาก 
เพราะกายนี้ใจนี้เป็นอนัตตา เป็นอนิจจังคือมันมีแล้วมันไม่มี ไม่มีแล้วมันมีขึ้นมา 
เป็นทุกขังคือมันถูกบีบคั้น เป็นอนัตตาคือคือมันบังคับไม่ได้ มันไม่ใช่ตัวเราที่แท้จริง 
อย่างร่างกายนี่มันเป็นอนัตตา เพราะจริงๆมันเป็นวัตถุ เป็นส่วนหนึ่งของโลก 
มนุษย์จริงๆนะ เป็นแค่เศษธุลีขี้ผงเล็กๆในจักรวาลในโลกเท่านั้น เล็กนิดเดียว 
จะว่าไปแล้วมนุษย์เหมือนสัตว์เลี้ยงของโลกนะ 
มนุษย์เป็นของโลกแต่มนุษย์คิดว่าโลกเป็นของฉัน มันทุเรศๆนะ 
คิดว่าโลกเป็นของเรา จริงๆเราเป็นของโลก เป็นเศษขี้ฝุ่นขี้ผงอยู่นะ 
ร่างกายนี้ไม่นาน หน้าตาในห้องนี้ไม่เกินร้อยปีต้องคืนใช่มั้ย คืนร่างกายนี้ให้โลกไป 
งั้นร่างกายนะไม่ใช่ตัวเราเพราะมันเป็นวัตถุ เป็นก้อนธาตุ 
ยืมโลกเขามาใช้ชั่วคราว ถึงวันหนึ่งก็ต้องคืน 
นี่บางคนก็หวงนะ พอยืมเขามาใช้แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นของยืมมา คิดว่าของเรา 
อยากให้มันอยู่นานๆ อยากให้มันมีความสุขตลอดไปซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ร่างกายนี้(X) 
ร่างกายนี้มันถูกความทุกข์บีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ร่างกายวันนึงต้องแตกสลายไปนะ
เราไปอยากในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้นะ เป็นทุกข์มากขึ้นอีก ทุกข์ทางใจล่ะคราวนี้ 
พอเราเห็นความจริงว่าร่างกายนี้มันยืมเขามาใช้นะ 
วันนึงต้องแตกสลายไป รู้ความจริงอย่างนี้แล้วไม่ทุกข์ 
ร่างกายนี้จะแก่จะเจ็บจะตาย จิตไม่ทุกข์ไปด้วย 
 
ส่วนจิตใจมันเป็นอนัตตาเหมือนกัน 
ร่างกายเป็นอนัตตาเพราะมันเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ 
จิตใจมันเป็นอนัตตาในอีกมุมนึง ในมุมของการที่ว่ามันไม่อยู่ในอำนาจบังคับ 
อย่างจิตของเรานะมันทำงานทั้งวันทั้งคืน ดูออกมั้ย 
ใครที่ฝึกมาช่วงนึงนะ ไม่กี่วันก็เห็นแล้วล่ะ 
จิตมันทำงานทั้งวันทั้งคืน ห้ามมันไม่ได้บังคับมันไม่ได้ 
ดูออกมั้ยมันทำงานเอง ทำของมันทั้งวันนะ 
หนีไปคิด ก็หนีของมันเอง ก็ไปของมันเอง 
ใจมันไหลไป ถลำลงไป ใจหนีไปแล้ว ใจลอย 
โบราณเรียกดีนะใจลอย นี่มันลอยขึ้นข้างบนเลย ลอยไป 
ใจมันทำงานได้เอง บังคับมันไม่ได้ 
มันเป็นอนัตตา หมายถึงว่ามันไม่อยู่ในอำนาจบังคับของเรา 
 
ในการที่เรามาคอยเห็นกายเห็นใจนะ
เป็นไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตานะ 
ความยึดถือในกายในใจค่อยๆลดลง ถ้าเห็นแจ่มแจ้งนะมันจะไม่ยึดถือเลย 
ถ้าไม่ยึดถือเลยนะ กายใจเป็นอะไรนะเราจะไม่ทุกข์แล้ว 
ทุกวันนี้กายใจเป็นอะไรนิดนึงเราก็ทุกข์แล้ว 
หนามเกี่ยวหน่อยนึงก็ทุกข์แล้ว เป็นอะไรนิดหน่อยก็ทุกข์แล้ว 
คนภาวนาดีๆนะเป็นยังไงก็ไม่ทุกข์นะ 
 
อย่างหลวงพ่อวันชัยเพิ่งตายไม่นาน หลวงพ่อวันชัยร่างกายมันจะตายนะ 
นอนดูมันเลย ดูมันตาย งั้นไม่กลุ้มใจกับมันนะ ไม่ได้อยากให้มันไม่ตาย 
เนี่ยถ้าเราเจ็บหนักจะตาย เราอยากให้มันไม่ตายนะ 
ทุกข์กลุ้มใจตายเลย นี่ท่านเห็นนะว่าร่างกายมันตาย 
ท่านยอมรับความจริงว่าร่างกายนี้ถึงวันนึงมันแตกสลาย 
พอยอมรับได้นะไม่ทุกข์แล้ว เหลือแต่ความทุกข์ทางร่างกาย จิตใจไม่ทุกข์ 
พอเราค่อยฝึกนะ วันนึงเราจะไม่ทุกข์ 
อะไรเกิดขึ้นในกายในใจ ใจเราไม่ทุกข์ 
ขนาดเกิดขึ้นกับกายใจยังไม่ทุกข์เลย แล้วเกิดกับสิ่งอื่นมันจะทุกข์ได้ยังไง 
 
ทุกวันนี้เราทุกข์ไปหมดนะ เพราะว่าเรายึดกายยึดใจไว้ก่อนว่าเป็นตัวเรา 
แล้วก็ยึดสิ่งที่แวดล้อมอยู่ว่าเป็นของเรา 
กายกับใจเป็นตัวเรา ลูกเมีย สามี ก็เป็นของเรา 
บ้านของเรา รถของเรา ทรัพย์สมบัติของเรา 
ชื่อของเรา ตำแหน่งหน้าที่การงานของเรา ของเราทั้งหมดเลย 
พอของเราเสียไปนะก็เดือดร้อน ถ้าของคนอื่นเสียไปไม่เดือดร้อน
เราคอยฝึกนะ ฝึกไปแล้ววันนึงมีแต่ความสุขล้วนๆเลย 
บอกไม่ถูกว่ามีความสุขขนาดไหน 
สัมผัสความสุขของธรรมะทีแรกนะ เหมือนน้ำตาร่วงเลยนะ อะไรมันจะสุขได้ขนาดนี้ 
สุขจนเหมือนกับธาตุขันธ์ร่างกายจิตใจของมนุษย์ธรรมดานี่จะอยู่ไม่ได้ 
มันแทบจะแตกสลายเลย มันสุขมากนะ 
 
เคยมีคนคนนึงชื่อพระยามิลินท์ พระเจ้ามิลินท์นะ 
ไปถามพระนาคเสน บอกเคยได้ข่าวว่า 
เคยได้ยินเขาพูดกันบอกว่าถ้าบรรลุพระอรหันต์แล้วเป็นฆราวาสเนี่ยต้องตาย 
ตายในวันเดียวเลย ไม่ใช่เจ็ดวันนะ เจ็ดวันนี่คัมภีร์ชั้นหลัง 
หลังลงมาอีก ตายในเจ็ดวันนี่มันแหงๆอยู่แล้วตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ (หัวเราะ)
ใครๆมันก็ตายในเจ็ดวัน ไม่ตายในวันที่แปด 
บอกตายในวันเดียว พระเจ้ามิลินท์ก็เลยจัดการเลย
เนี่ยจุดอ่อนของศาสนาพุทธล่ะ ไปซัดพระนาคเสนเลยบอกว่า 
ถ้าอย่างนั้นนะอรหัตตผล อรหัตตมรรคนี่นะเหมือนยาพิษแท้ๆเลย 
โดนเข้าไปแล้วตายเลย ไม่ดีไม่ใช่ของดีของวิเศษ 
แล้วทำไมพระอยากได้ อยากตายเหรอ ตายวิธีอื่นก็ได้เยอะแยะไปใช่มั้ย 
พระนาคเสนท่านฉลาดนะ ท่านก็ตอบว่า ไม่ใช่ว่าอรหัตตมรรค อรหัตตผลไม่ดี 
แต่มันเป็นเพราะว่าธาตุขันธ์กายใจของมนุษย์ทั้งหลายเนี่ยมันไม่ดีพอ 
มันไม่มีคุณสมบัติไม่มีคุณภาพพอที่จะรองรับสิ่งที่ดีงามปานนั้น 
ไม่ใช่ว่าอรหัตตมรรค อรหัตตผลไม่ดี 
แต่ร่างกายจิตใจของเราเนี่ยมันไม่มีคุณภาพพอที่จะรองรับสิ่งที่ดี 
ถ้าเราอ่านตรงนี้นะ ฟังก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมมันจะตาย 
ถ้าลองไปสัมผัสเองจะรู้ มันเหมือนจะตายจริงๆนะ 
มันมีความสุขมากจนร่างกายจิตใจนั้นทนไม่ไหว 
แต่ว่าไม่ตายหรอกนะ รีบๆไปบวชซะไม่ตาย 
ถ้าไปอยู่กับฆราวาสนานๆ ก็คงตาย เพราะมันไม่เหมาะ 
แต่พวกเราอย่ากลัวนะ หน้าตาส่วนใหญ่ชาตินี้ไม่เป็นพระอรหันต์หรอก 
ไม่ต้องกลัวหรอกนะ พากเพียรให้เต็มที่นะชาติต่อไปอาจจะได้เป็น 
ชาตินี้ได้โสดาก็บุญเหลือหลายแล้ว 
 
ท่านไพศาล (วิศาโล) บอกว่าบุญหลายแล้วได้โสดา 
อย่าว่าแต่โยมเลย เดี๋ยวนี้พระยังยากเลย 
ครูบาอาจารย์ท่านบอก มีพระมาเล่านะ 
หลวงปู่หลอดท่านบอกว่าสมัยก่อนนั้นได้กันเยอะแยะไปหมดเลย 
คนโน้นก็ได้คนนี้ก็ได้ ใครไม่ได้นี่เชยแหลกเลย 
บอกมาถึงยุคนี้แล้วบวชกันจนแก่แล้วบางทีเพิ่งจะได้โสดาก็มี 
ส่วนมากอินทรีย์มันอ่อนลง พวกเราอินทรีย์อ่อนหรือเปล่าไม่รู้นะ 
สังเกตใจของเราเองสติเราเกิดบ่อยมั้ย จิตใจเราตั้งมั่นมั้ย 
เราเห็นความจริงของกายของใจบ่อยมั้ย 
ถ้าสติเราเกิดบ่อย ใจเราตั้งมั่นเป็นแค่คนรู้คนดูบ่อยๆ 
เห็นความจริงในกายในใจว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาบ่อยๆ 
เรียกอินทรีย์เรากล้าแข็ง คนที่อินทรีย์กล้าแข็งก็บรรลุเร็ว 
เรียกขิปปาภิญญา บรรลุเร็ว 
ถ้าอินทรีย์อ่อนก็บรรลุช้า เรียกว่าทัญธาภิญญา บรรลุช้า

วันที่  ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:15:33 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๗ พฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม: รู้สึกว่าตนเองยังเป็นผู้มาใหม่ ความรู้ความเข้าใจธรรมะก็มีไม่มาก คงจัดอยู่ในหมวดผู้ที่ยังมีอินทรีย์อ่อน อย่างนี้ผมจะสามารถเจริญสติภาวนาได้ก้าวหน้าไหมครับ

อินทรีย์นะ เบื้องต้นมันอ่อนทุกคนแหละ
มันอยู่ที่พัฒนาขึ้นมา ฝึกจิตฝึกใจไป หัดสังเกตสภาวะไป
อะไรเกิดขึ้นในกายคอยรู้สึก อะไรเกิดขึ้นในจิตคอยรู้สึก
มันจะมีสติ มีสติร่างกายเคลื่อนไหวรู้สึก จิตใจเคลื่อนไหวรู้สึก เนี่ยเรียกว่ามีสติ
พอรู้สึกแล้วถ้าใจเราตั้งมั่นไม่เข้าไปแทรกแซง
จิตใจเราตั้งมั่นเรียกว่ามีสัมมาสมาธิ มันจะเกิดปัญญา
ถ้าจิตใจไม่มีสัมมาสมาธิ ใจไม่ตั้งมั่น ใจไหลไป ใจไหลไปอยู่ที่อารมณ์นะ
จะไม่มีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ แต่จะไปเกิดนิมิตต่างๆแทน

เช่นหลายคนเดินจงกรมนะ ยกเท้าย่างเท้านะ
จิตมันไปแนบอยู่ที่เท้า เดินไปๆตัวลอยตัวเบาตัวโพลงนะ นั่นอาการของปีติทั้งสิ้น
อาการของสมถะ ไม่เห็นไตรลักษณ์
แต่ถ้าใจเราตั้งมั่นอยู่ เห็นกายมันเดินไป ใจตั้งมั่นอยู่ต่างหาก
มันจะรู้สึกทันทีเหมือนเห็นคนอื่นเดิน จะรู้สึกทันทีเลย เห็นเหมือนคนอื่นเดิน

เวลาเวทนาเกิดขึ้นนะ ถ้าใจเราไหลไปอยู่กับเวทนาจะรู้สึกว่าเราเจ็บเราปวด
หรือเราสุข แต่ถ้าจิตมันตั้งมั่นอยู่ มันจะเห็นเลย
ความเจ็บความปวดเป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่จิตใจของเรา
ความเจ็บความปวดเป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ร่างกายด้วย
มันจะเริ่มเห็นแยกออกไป มันอยู่ที่ใจตั้งมั่นนะจึงจะเห็นไตรลักษณ์ได้
หรือใจเราตั้งมั่นอยู่เราจะเห็นเลย ความโลภ ความโกรธ ความหลงเกิดขึ้น
เหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน ไม่เกี่ยวกับเรา เดินอยู่ห่างๆด้วย เดินอยู่ไกลๆ
เห็นคนผ่านนอกศาลาเดินข้างๆ ใจอยู่ต่างหาก
สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่ว โลภโกรธหลงทั้งหลายมีอยู่ห่างๆ
เริ่มเห็นแล้วมันไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจตั้งมั่นแล้วจะเห็นเลย
สิ่งทั้งหลายมันไม่ใช่ตัวเราแล้ว

ตัวจิตล่ะ จิตมันเป็นผู้รู้ผู้ดู มันจะไม่อยู่ห่างๆหรอกจิตน่ะ
เราจะไปดูว่าจิตอยู่ห่างๆไม่ได้นะ
มันไม่เหมือนกาย ไม่เหมือนเวทนา ไม่เหมือนสังขาร
สิ่งเหล่านั้นมันไม่ใช่จิต เวลาดูแล้วมันจะรู้สึก
สิ่งเหล่านั้นเรียกว่า objective เป็นสิ่งที่ถูกรู้
จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู งั้นจิตเป็นผู้รู้ผู้ดู เราจะดูว่ามันอยู่ห่างๆเนี่ยไม่ได้
งั้นไม่ต้องไปดูว่าจิตอยู่ห่างๆ เราดูจิตมันเกิดดับไป
เดี๋ยวจิตก็เกิดที่ตา เดี๋ยวจิตก็เกิดที่หู เดี๋ยวจิตก็เกิดที่ใจ เกิดที่ตา เกิดที่หู
เกิดที่ใจนี่เกิดบ่อย เกิดที่จมูก เกิดที่ลิ้น เกิดที่กายนี่ก็น้อยลงไป
อย่างนั่งฟังหลวงพ่อพูดรู้สึกมั้ย บางครั้งมองหน้าหลวงพ่อ
บางครั้งตั้งใจฟัง ขณะที่ฟังกับขณะที่มองนี่คนละขณะกัน
ลองตั้งใจฟังซิ จะเห็นว่าหน้าหลวงพ่อเบลอไป
หน้าหลวงพ่อจะเบลอๆไป ขณะที่มอง เสียงหลวงพ่อก็จะเบลอไป
ฟังเสียงไม่ออก ในขณะที่ฟังเสียงใช่มั้ย
ฟังซักพักนึงสองสามคำ ต้องสลับไปคิด แปลความหมายของเสียงที่หลวงพ่อพูด
สังเกตมั้ย เราฟังไปคิดไปๆ สลับไปเรื่อยๆ
นี่แหละมันจะแสดงให้เราเห็นว่าจิตมันเกิดดับได้

หรือถ้าดูจิตที่เกิดดับทางตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ได้นะ
นี่บางคนดูไม่ไหวดูยาก เราดูจิตซึ่งเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้าง
เช่นจิตเผลอไปคิด จิตเผลอไปคิดนี่มันอันนึงนะ
พอเรารู้สึกว่าจิตเผลอไปคิดนี่ จิตที่เผลอไปคิดดับไปแล้ว
เกิดจิตที่รู้สึก รู้ว่าตะกี้เผลอไปคิด เป็นจิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้น
นี่จิตที่รู้สึกตัวนี่อยู่ชั่วคราว เดี๋ยวก็เผลอไปคิดครั้งใหม่
จิตที่รู้สึกตัวก็ดับ เกิดจิตที่หลงไปคิดใหม่
นี่เห็นอย่างนี้เรื่อยๆนะ เดี๋ยวก็หลงไปเดี๋ยวก็รู้สึก เดี๋ยวก็หลงไปเดี๋ยวก็รู้สึก

ถ้าพวกที่ปฏิบัติหน่อยก็มีสามอัน ถ้าพวกไม่ปฏิบัติก็มีสอง
พวกที่ไม่เคยปฏิบัตินะ หลงไปแล้วก็รู้ หลงไปแล้วรู้
ถ้ามาเริ่มปฏิบัติ ส่วนพวกที่ปฏิบัติชำนาญพอหลงไปแล้วก็รู้
แล้วจะมาเพ่ง อดเพ่งไม่ได้ ชอบไปเพ่ง
เนี่ยคนที่ไม่เคยปฏิบัตินะสบายกว่าตรงนี้แหละ
แต่ว่าพอหัดรู้ หลงแล้วรู้ๆ ซักพักนึงนะก็กลับมาเพ่งเหมือนกันแหละ อดไม่ได้หรอก
จิตใจก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ จิตที่หลงไปก็ดวงนึง จิตที่รู้สึกตัวก็เป็นอีกดวงหนึ่ง
คนละขณะกัน จิตที่ไปเพ่งก็เป็นอีกตัวนึง คนละขณะกันนะ
ดูมันหมุนไปอย่างนี้ มีแต่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ

บางคนดูจิตที่หลงไม่เป็น ก็ดูจิตที่โลภก็ได้ ที่โกรธก็ได้
บางคนขี้โมโห โมโหตลอดเวลานะ อะไรกระทบนิดนึงก็โมโหแล้ว ขัดใจตลอดเวลา
นั่งอยู่ดีๆนะ นึกถึงอะไรนิดนึงก็ขัดใจขึ้นมาแล้ว
นั่งอยู่เฉยๆ ยุงบินผ่านหน้าห่างสามเมตรยังขัดใจเลย มันยังไม่เข้าใกล้ก็โมโหแล้ว
ถ้าเราเป็นคนขี้โมโหนะ เราก็คอยสังเกตจิต จิตเรามีสองแบบ
จิตที่ขี้โมโหกับจิตที่ไม่ได้โมโห มีสองอันเอง
เห็นมั้ยมันเกิดสลับกันไปเรื่อย เดี๋ยวก็โมโหเดี๋ยวก็ไม่โมโห

ถ้าคนไหนขี้โลภ อยากทั้งวัน ความจริงทุกคนน่ะอยากทั้งวัน แต่บางคนมองไม่เห็น
เดี๋ยวก็อยากดูเดี๋ยวก็อยากฟัง อยากได้กลิ่น อยากได้รส อยากได้สัมผัสทางกาย
อยากคิดอยากนึก อยากปรุงอยากแต่ง อยากปฏิบัติ นี่สารพัดอยากเลย
ถ้าเราดูสภาวะอยากได้นะ เราก็จะเห็นจิตสองอย่าง
จิตเดี๋ยวก็อยากเดี๋ยวก็ไม่อยาก เดี๋ยวก็อยากเดี๋ยวก็ไม่อยาก

ทำไมต้องดูคู่เป็นคู่ๆ จิตหลงไปกับจิตที่รู้สึก ไม่หลง
จิตที่โลภกับจิตที่ไม่โลภ จิตที่โกรธกับจิตที่ไม่โกรธ
ทำไมดูเป็นคู่ๆ ดูเป็นคู่ๆ จะเห็นไตรลักษณ์
จะเห็นไตรลักษณ์ว่าแต่ละตัวไม่คงที่หรอก
จิตที่โกรธก็อยู่ชั่วคราวหายไป มีเหตุก็เกิดหมดเหตุก็ดับบังคับไม่ได้
จิตที่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วนะแป๊บเดียวโมโหอีกแล้วห้ามมันไม่ได้

คอยสังเกตนะนี่จิตมันเกิดดับไปเรื่อย ต่อไปสติปัญญามันแก่กล้าขึ้นมา
ใจมันตั้งมั่นขึ้นมา สติสมาธิอะไรนี่พร้อม มันจะเห็นชัดเลย
จิตดวงนึงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีช่องว่างมาคั่นด้วยนะ
มีช่องว่างมาคั่น อย่างจิตที่รู้กับจิตที่เผลอเนี่ยคนละดวงกัน
เห็นชัดๆเลยขาดท่อนออกจากกัน ขาดเป็นช่วงๆ
การที่เห็นจิตมันขาดเป็นดวงๆเป็นช่วงๆ ไม่ใช่มีดวงเดียวทั้งวันทั้งคืนหรือทั้งชาติ
นี่จะทำให้เราละความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตนได้
ตรงที่ตะลุยเอาให้เห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวใช่ตนนี่ยากที่สุด
ถ้าคนไหนภาวนาแล้วเห็นจิตไม่ใช่ตัวเรานะ
ขันธ์อื่นๆไม่ใช่ตัวเราอัตโนมัติเลย มันง่าย เพราะขันธ์อื่นๆนะมันง่ายนิดเดียว
มันเป็นของถูกรู้ถูกดู มันไม่ใช่ตัวเราอยู่แล้ว ดูง่ายอยู่แล้ว
แค่รู้สึกตัวขึ้นมาก็เห็นทันทีแล้วว่า ร่างกายนี้เวทนานี้ กุศลอกุศลไม่ใช่ตัวเรา
จิตนี่ดูยากมากที่จะเห็นว่าไม่ใช่ตัวเรา

นี่ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเอง พระพุทธเจ้าสอนไว้
ท่านบอกว่าคนศาสนาอื่นน่ะ คนซึ่งไม่ได้ฟังธรรมะของท่านเนี่ย
บางคนนะสามารถเห็นได้ว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเรา เห็นได้
แต่ไม่มีใครหรอกที่จะเห็นได้ว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา
เว้นแต่ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธนี้
งั้นแต่ละคนจะรู้สึกจิตคือตัวเรา ทุกๆคนแหละ

พอมีจิตเป็นตัวเราแล้ว มันเกิดมิจฉาทิฏฐิสองพวก
พวกนึงคือจิตเที่ยง ร่างกายตายไปแล้วจิตออกจากร่างหนีไปเกิดใหม่
เนี่ยพวกเราชอบเชื่ออย่างนี้เยอะนะ นี่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าสัสสตทิฏฐิ
เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ตายไปแล้วจิตวิญญาณดวงนี้ออกจากร่างไปเกิดใหม่
ใครรู้จักปูเสฉวนมั่ง รู้จักมั้ย มันออกจากหอยใช่มั้ย
ออกจากเปลือกหอยอันนึงไปอยู่เปลือกหอยอีกอันนึง
เราคิดว่ามันปูตัวเดิม จิตของเรานี่ดวงเดิม เหมือนออกจากร่างนี้ไปเข้าร่างนี้
อันนี้ไม่ใช่ศาสนาพุทธนะ นี่เป็นมิจฉาทิฏฐิชนิดหนึ่งซึ่งพวกเราเป็นเยอะ
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมะแล้วจะคิดว่า นี่แหละ เราเป็นชาวพุทธเชื่อเวียนว่ายตายเกิด
เวียนว่ายตายเกิดของพุทธไม่ได้เวียนว่ายตายเกิดแบบปูเสฉวนนะ
ถอดจากร่างนี้ไปร่างนั้น มันเกิดดับตลอดเวลา
จิตดวงหนึ่งเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ
จิตใจอัตภาพร่างกายนี้เกิดแล้วดับไป เกิดจิตอีกดวงนึงในร่างกายใหม่ คนละดวงกัน
ไม่ใช่ดวงเดิม แต่มันสืบเนื่องกันไป

อีกพวกนึงถ้าเห็นว่าจิตนี้เป็นตัวเรานะ
พวกนี้มีความเชื่อไปอีกว่า ถ้าตาย ร่างกายตายเมื่อไหร่จิตนี้ก็สูญไปด้วย
มันสูญไปหมดเลย พวกนี้เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ
ทำไมพวกนี้เชื่อว่าสูญไป เพราะพวกนี้คิดว่าจิตนี้มันเกิดจากร่างกายเท่านั้นเอง
ถ้าไม่มีร่างกายก็ไม่มีจิต พวกนี้เขามองไม่เห็นสัตว์ชนิดซึ่งไม่มีร่างกาย
ถ้าเราภาวนา เราได้ทิพยจักษุ ได้เจโตปริยญาณ ได้อะไรพวกนี้นะ
ได้จุตูปปาตญาณเราจะรู้เลยว่าร่างกายตายแล้วมันไม่ใช่สูญสิ้นไปเลย
มันมีพลังงานที่เหลืออยู่นั้นไปสร้างภพสร้างชาติขึ้นมาใหม่ได้อีก

คนทั่วๆไปมันเป็นมิจฉาทิฏฐิสองฟาก เห็นว่ามีตัวเราแน่นอน
มีตัวเราอยู่แต่ตัวเรานั้นบางทีเที่ยง อมตะนิรันดร์กาล
อีกอันนึงตัวเรามีอยู่จริงๆนะ แต่พอตายแล้วตัวเรานี่สูญไป
ชาวพุทธไม่ได้เป็นอย่างนั้น ชาวพุทธเห็นว่าสิ่งซึ่งมีอยู่ในขณะนี้ก็ไม่ใช่ตัวเราแล้ว
ไม่เหมือนกันนะ สิ่งที่มีอยู่ขณะนี้เลย ต่อหน้าต่อตานี้เป็นสิ่งที่มีเหตุก็เกิดขึ้น
ถ้าไม่มีเหตุก็หายไป ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวเราตั้งแต่เดี๋ยวนี้
ไม่ใช่ว่าตัวเรามีอยู่แล้วก็ตายแล้วสูญ หรือว่าตายแล้วไปเกิดใหม่
ตัวเราไม่มีตั้งแต่ปัจจุบัน มันลึกซึ้งไปอีกชั้นนึงนะ

วิธีที่จะเห็นว่าตัวเราไม่มีอยู่ในปัจจุบันนะ มีสติรู้สึกตัวไป
รู้กายรู้ใจไปจนเห็นเลยทั้งกายทั้งใจมันไม่ใช่เราหรอก
ร่างกายจิตใจนี้มันทำงานของมันได้เองทั้งวันทั้งคืนนะ
มันไม่ใช่เราหรอก เราสั่งมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้
ค่อยฝึกเอานะ ฝึกไป พอวันที่มันปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจได้สนิทจริงๆนะ
จะพบว่าความสุขที่มหาศาลที่สุดที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็น นึกไม่ถึงเลย

วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ (ตอนที่ ๒)
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:16:06 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๘ พฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม: ยังอายุไม่มากและยังรู้สึกว่าการได้อยู่กับโลกเป็นความสุข อย่างนี้จะภาวนาได้ไหมครับ
 
ก่อนหลวงพ่อจะบวชนะ เป็นฆราวาสนานตั้ง ๔๘ ปี ภาวนาเป็นมาตั้งแต่เด็กๆนะ 
ภาวนาตั้งแต่ ๗ ขวบเริ่มภาวนา จนกระทั่งมาเจอหลวงปู่ดูลย์ ถึงจะเริ่มทำวิปัสสนา 
อายุ ๒๙ แล้ว พอจะรู้จักศาสนาพุทธตั้งแต่อายุ ๒๙ 
ตอนนั้นก็อยากบวชนะแต่เรามีภาระเยอะ เราต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ ไม่ได้บวช 
อายุ ๔๘ ถึงได้บวช แม่ตายไปเหลือแต่พ่อนะ 
เลยชวนพ่อมาอยู่วัดซะเลย หมดเรื่องหมดราวนะ 
ได้บวชละ บวชเมื่อแก่ เพราะมัวแต่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่อยู่
งั้นในทางโลกนี่หลวงพ่อรู้จัก ความสุขในโลกอย่างที่พวกเรารู้จัก 
หลวงพ่อรู้จักทั้งนั้นแหละ สตางค์หลวงพ่อก็มีใช้นะ มีตังค์เหลือ มีตังค์ 
ทำงานไม่กี่ปีเก็บเงินได้เป็นล้านๆ หลายล้าน เพราะโบนัสมันเยอะ 
โบนัสตั้งห้าเดือนแน่ะ ตอนนั้นทีโอทีนะ โบนัสเยอะมากเลยตั้งห้าเดือน 
เดี๋ยวนี้คงไม่ค่อยมีแล้วมั้ง 
ความสุขในโลกนะหลวงพ่อรู้จัก ตำแหน่งหน้าที่หลวงพ่อก็ใหญ่ 
ทำงานไม่นาน รับราชการไม่กี่ปีเป็นชั้นพิเศษ รวดเร็วมาก 
ออกมาเริ่มต้นงานใหม่นะ ไม่นานนะขึ้นไปซีสิบแล้ว 
ตำแหน่งหน้าที่ก็มี เงินก็มี ชื่อเสียงเกียรติยศก็มีนะ 
คนกลัวเลย ครอบครัวก็มี อะไรๆสิ่งที่เขามีเราก็มีทั้งนั้นแหละนะ 
เรารู้เลยความสุขอย่างนี้ ความสุขของโลก ความสุขชั่วคราวทั้งหมดเลย 
ซื้อรถมาใหม่ใช่มั้ย ขับไปสักพักก็เก่าอีกแล้วใช่มั้ย 
ซื้อมาใหม่ๆมีความสุขเยอะ ซักสักพักก็เก่าๆ 
หรือซื้อมาใหม่ๆไปจอดไว้ คนมันขีดไปรอบคันนะ หัวใจแทบแตกสลายเลย 
นี่ความสุขของโลกนะมันแว้บๆ

มาภาวนานะเราจะรู้เลยว่าความสุขในธรรมะนั้นเหนือกว่ากันเยอะเลย 
เทียบกันไม่ได้เลย ความสุขในทางธรรมะมันเสถียรนะ 
ความสุขในทางโลกมันสัมพัทธ์มากเลย 
ความสุขในทางโลกที่สัมพัทธ์เพราะมันอิงอาศัยสิ่งอื่น 
อิงอาศัยสิ่งอื่น เราจะต้องอยู่กับคนนี้ถึงจะมีความสุข 
ต้องได้กินอย่างนี้ถึงจะสุข ต้องได้เสพอย่างนี้ถึงจะสุข มันอิงสิ่งอื่นทั้งนั้นเลย 
แล้วสิ่งอื่นมันอยู่นอกเหนือการบังคับ มันแปรปรวนตลอดเวลา
งั้นความสุขของเรานะได้มาแวบนึงก็หลุดมือไปแล้ว 
ต้องวิ่งหาใหม่ ส่วนความสุขในธรรมะนะ ยิ่งเราภาวนามากขึ้นๆ ยิ่งอิ่มเอิบ

ดูหลวงพ่อซินี่สัญลักษณ์ของความอิ่มเอิบ  รู้สึกมั้ย 
เรียกว่าอวบอั๋นแบบพระเชียงแสน พระเชียงแสนจะตัวอ้วนๆหน่อย 
เป็นสัญลักษณ์คือ symbol ว่าธรรมะนี่ให้ความอิ่มเอิบ 
แต่ถ้าพระสุโขทัยเขาเป็นสัญลักษณ์ของธรรมะ ว่าธรรมะเป็นของโปร่งเบา 
รู้สึกมั้ยเราปฏิบัติธรรมแล้วใจเราโปร่งเบามากขึ้นเรื่อยๆ 
ถ้าพระเชียงแสนนะยิ่งปฏิบัติแล้วยิ่งอิ่มเอิบ ใช่มั้ย รู้สึกมีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ 
พระอู่ทองนี่พระน่าสงสาร หน้าตาดุๆ 
ก็เป็นสัญลักษณ์เหมือนกันว่าธรรมะต้องเอาจริงนะ เอาจริงเอาจัง สู้ตายนะ 
งั้นพวกเราตอนนี้อย่าเพิ่งเป็นพระสุโขทัยเชียงแสนนะ เป็นพระอู่ทองซะก่อนนะ 
ต้องสู้ตายก่อน วิธีสู้ตายไม่ใช่สู้อย่างวัวอย่างควาย ไม่ได้เอาแรงเข้าแลก 
สู้ด้วยสติด้วยปัญญา ค่อยๆรู้สึกนะ รู้สึกตัวขึ้นมา 
แล้วรู้กายอย่างที่มันเป็น รู้ใจอย่างที่มันเป็น รู้สึกไปเรื่อย 
เดี๋ยวมันพัฒนาขึ้นเป็นพระสุโขทัย พระเชียงแสนเอง 
 
ค่อยฝึกไปแล้วจะพบว่าความสุขมีจริงๆ 
ในขณะที่ความสุขอย่างในโลกๆนี่เหมือนภาพลวงตาเท่านั้น มีแล้วเหมือนไม่มีนะ 
ไม่มีก็เหมือนมี จริงๆมันไม่มีแต่มันเหมือนมี 
มันหลอกให้เราวิ่งหา พอได้มาแล้วก็ไม่มีอีกแล้ว 
ความสุขในโลกมันก็เหมือนความสุขของคนที่เปียแชร์ได้ 
ความสุขแค่นั้นแหละแวบเดียว

ค่อยฝึกเอานะ  ไม่ยากหรอก แต่ถ้าไม่ฝึกมันก็ไม่ได้ 
เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ต้องเดินด้วยตัวเอง ต้องสู้ด้วยตัวเอง ต้องทำเอาเอง 
หลวงพ่อภาวนานะ พวกเรามาเรียนกับหลวงพ่อพยายามสวมหัวใจอย่างหลวงพ่อไว้ 
หลวงพ่อภาวนาหลวงพ่อมีความอดทนสูงมากเลย 
พากเพียรอดทนนะไม่เลิก ตั้งแต่เจ็ดขวบหัดทำสมถะ ก็ทำสมถะทุกวันไม่เลิกเลย 
ไม่ต้องมีครูบาอาจารย์มาสั่ง ว่าทำนะๆ ทำไปนะ 
โถหมดกำลังใจแล้วโถๆ ทำเถอะได้โปรดเถอะ งั้นหลวงพ่อไม่มีกำลังใจให้รู้สึกมั้ย 
ถ้าใครมาบอกหลวงพ่อว่าของกำลังใจ ไม่ให้หรอก ด่าเลย อะไรมันจะโง่ปานนั้น 
ความทุกข์ท่วมหัวแล้วยังขี้เกียจ

ต้องอดทนนะ  ต้องพากเพียร หลวงพ่อภาวนามานี่ไม่ต้องให้ครูบาอาจารย์สั่ง 
ท่านบอกวิธีแล้วทำเลย หลวงปู่ดูลย์สอนอยู่ ๒-๓ ประโยคเอง 
ไปหาครั้งแรก ท่านสอนบอกว่า “การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ไม่ปฏิบัติ 
อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อไปนี้อ่านจิตตนเอง” 
สอนเท่านี้เอง ตั้งแต่นั้นมานะ ไม่ใช่ตั้งแต่วันนั้นนะ 
ตั้งแต่ตอนนั้นมาหัดดูจิตมาเรื่อยๆ ดูมาเรื่อยไม่มีวันใดที่ไม่ได้ดูเลย 
เว้นแต่ต้องทำงานที่ต้องคิดกับตอนเผลอกับตอนหลับ เวลาที่เหลือนี่ดูลูกเดียวเลย 
ดูมาเรื่อยๆ จิตใจมันก็พัฒนาขึ้น พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆนะ 
พัฒนารวดเร็ว เร็วเพราะเราขยันดู ดูมากๆ 
เหมือนคนทำการบ้านมากมันก็พัฒนาเร็ว ฝึกไปเรื่อย
หลวงพ่อนะอดทนมากเลยในการที่จะฝึกตัวเอง ไม่มีขี้เกียจนะ ไม่มีท้อแท้ 
ท้อแท้มีบ้าง เบื่อมีบ้าง ไม่ใช่ไม่มีเลย ไม่ใช่มนุษย์วิเศษ 
เบื่อรู้ว่าเบื่อดูมันไปเลย ขี้เกียจก็มีนะ แต่ขี้เกียจก็ไม่เลิก ขี้เกียจรู้ว่าขี้เกียจ 
สงสัยก็มี สงสัยรู้ว่าสงสัย ดูลงไปจนเห็นเลย 
ทุกสิ่งมันชั่วคราว ทุกสิ่งมันเกิดแล้วดับ 
ดูอย่างนี้ ในที่สุดเห็นเลยสิ่งใดเกิดสิ่งนั้นก็ดับ ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ 
หลวงพ่อนะอดทนมากเลย มีความอดทนในการปฏิบัติ ในการฝึกฝนตัวเอง 
ไม่ต้องให้ครูบาอาจารย์เคี่ยวเข็ญ

อีกตัวนึงซึ่งหลวงพ่อมีมากนะคือความช่างสังเกต 
นี่โยนิโสมนสิการ ช่างสังเกต สังเกตการปฏิบัติ 
สังเกตจิตใจของเราไปเรื่อยๆ เป็นระยะๆนะ คล้ายการ “สป็อทเช็ค” นะ 
เช็คเป็นช่วงๆ ไม่ใช่สังเกตตลอดเวลานะ ถ้าสังเกตตลอดเวลาเรียกว่าฟุ้งซ่าน 
คอยดูเป็นระยะๆไปนะ เราภาวนาของเรานี่ ดูสภาวะเกิดดับเฉพาะหน้านี่แหละ 
ทำไปช่วงนึงนะ จิตใจมันมีอะไรแปลกๆขึ้นมา 
งั้นมีอะไรแปลกๆขึ้นมาเราเอาใหม่ กลับมาเริ่มต้นใหม่ มารู้กายรู้ใจเฉพาะหน้าใหม่ 
เดี๋ยวมันกลับไปเป็นสภาวะแปลกๆนั้นอีกแล้ว เข้าออกๆอย่างนี้แหละ 
หลายๆทีเรารู้เลยที่แปลกๆมันเกิดจากอะไร เราไปพลาดเข้าที่ตรงไหน 
ค่อยๆสังเกตเอานะ ไม่มีครูบาอาจารย์มาบอกให้หรอกเพราะอยู่ไกล

แต่บางครั้งนะถึงจะไปถามครูบาอาจารย์เพราะว่ามันไม่เข้าใจจริงๆก็มีเหมือนกัน 
ที่งงมากเลยมีอยู่สองที่เท่านั้นที่เล่าเรื่อยๆ 
ที่ไปถามอาจารย์มหาบัวทีนึงว่าดูจิตอยู่แล้วทำไมมันไม่พัฒนาขึ้น
ท่านบอกว่าที่ว่าดูจิตนั้นดูไม่ถึงจิต 
ดูไม่ถึงจิตก็คือสิ่งที่หลวงพ่อมาพูดกับพวกเราในวันนี้ว่า 
จิตมันไปอยู่ข้างนอก จิตมันไม่ถึงฐานน่ะ 
มันโล่งๆ มันโปร่งๆนะ มันสบายนะ มันไม่ถึงฐาน 
อีกทีนึงที่ช่วยตัวเองไม่ได้เลยนะ นั่งภาวนาแล้วจิตมันรวมตลอดเลย 
รวมแบบหลับไปเลย เดินจงกรมก็หลับนะ 
นั่งขัดสมาธิเพชรซึ่งเจ็บแสนเจ็บยังหลับเลย 
จิตมันหลับวูบลงไปตลอดเวลา แล้วหลับแบบหัวซุกหัวซุนซึ่งเราไม่เคยเป็น 
สติของหลวงพ่อเราฝึกมาตั้งแต่เจ็ดขวบ มีสติรู้ลมหายใจไม่ให้มันเคลิ้มนะ 
สติเรากล้าแข็งแต่ว่าทำไมช่วงนั้นนั่งแล้วหลับตลอด 
ไม่รู้จะทำยังไงหลายเดือนเป็นเดือนๆ ขึ้นไปถามหลวงปู่สิมนะ 
หลวงปู่สิมตอบว่า “อย่าสงสัยเลย ให้ทำไปเถิด” ไม่ได้คำตอบด้วยนะ 
แต่ท่านบอกอย่าสงสัยเลย 
พอท่านบอกอย่าสงสัยเลยหลวงพ่อก็เชื่อครูบาอาจารย์นะ 
ไม่ค้นคว้าหาคำตอบแล้วล่ะ ท่านบอกให้ภาวนาไป หลับก็ภาวนาไปอย่างนี้แหละ 
ดูไปๆนะ อีกวันนึงเท่านั้นใจเริ่มถอนขึ้นมาแล้ว 
เพราะว่าเราเป็นกลางกับมัน เห็นมั้ย รู้อย่างเป็นกลางนะ จิตก็ไม่ติดอยู่ในสภาวะนั้น 
ถ้าเรารู้แล้วไม่เป็นกลางถึงจะติด ถอนๆๆขึ้นมา ปิ๊งขึ้นมาเลย อ๋อ อย่างนี้เอง 
 
บางทีก็ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ แต่ว่าอาศัยน้อยนะ 
อาศัยความช่างสังเกตของเราให้มาก พวกเราต้องช่วยตัวเองให้มาก 
ธรรมะที่หลวงพ่อสอนพวกเราเนี่ย หลวงพ่อสอนธรรมะเพื่อให้พวกเราพึ่งตัวเองได้ 
ไม่ใช่สอนให้พวกเราต้องพึ่งหลวงพ่อตลอดกาลนาน 
วันนึงหลวงพ่อก็ต้องไม่อยู่ ตามธรรมดาของธาตุของขันธ์ 
พวกเรายังอยู่ต่อไป หรือต้องรักษาสืบทอดศาสนาต่อไป 
สิ่งที่หลวงพ่อถ่ายทอดให้ คือวิธีปฏิบัตินะ 
สังเกตมั้ยหลวงพ่อสอนให้รู้กายให้รู้ใจ 
กับเวลาที่คนส่งการบ้านรู้สึกมั้ย มันเป็นเรื่องแปลกๆสารพัดเลยนะ 
ทำไมรู้กายรู้ใจแล้วเกิดสภาวะอะไรตั้งมากมาย 
เดี๋ยวภาคสองลองฟังดู เวลาคนส่งการบ้าน 
สิ่งที่มาส่งการบ้านกับสิ่งที่หลวงพ่อสอนนั้นมันคนละอันกันรู้สึกมั้ย 
มันไปรู้ไปเห็นสภาวะอะไรที่แปลกใหม่เฉพาะตัวขึ้นมา แต่ว่ามันอยู่ในหลักนั่นเอง 
ถ้าจับหลักแม่นๆนะ ไม่ว่าสภาวะอะไรเกิดขึ้นก็ผ่านได้ทั้งหมดเลย 
สิ่งที่หลวงพ่อถ่ายทอดให้นะคือหลักของการปฏิบัติ 
ถ่ายทอดให้หมดสิ้นนะไม่มีสงวนรักษาเลย 
ไม่กลัวว่าจะเอาวิชาความรู้ของหลวงพ่อไปหากินนะ ไม่กลัวเลย 
มีเหมือนกันนะมันเอาไปหากิน ไปหลอกลวงคนก็มีเหมือนกัน (หัวเราะ) แต่มีน้อยนะ 
ส่วนมากก็มุ่งเอาความดับทุกข์จริงๆ

วันที่  ๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ (ตอนที่ ๓)
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:16:35 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๗๙ พฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม: การปฏิบัติธรรมเมื่อเข้าใกล้ต่อมรรคผล จะมีข้อสังเกตให้พิจารณาได้บ้างไหมครับ

หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ
แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่
จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ"

สังขารุเบกขาญาณ
ญาณ แปลว่าปัญญา
มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร
อะไรที่เรียกว่า สังขาร
ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร
ร่างกายก็เป็นสังขารนะ
ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร
อะไรๆ ก็เป็นสังขาร
ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด
ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป
เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว
ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว
ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว
จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว

มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม
สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก
ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี
นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ
เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว
โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว
ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด
ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว

เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ
เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้
เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ
บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้
เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ
เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา

เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น
เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา
เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่
เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา
โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ
ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย ไม่ชอบความโกรธ
หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี
อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง
ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน
มันจะเป็นกลางด้วยสติ

แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา
ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่
จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา
แล้วมันจะเห็นเลยว่า
ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว
กุศลก็ชั่วคราวนะ
โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว
ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว
ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย

ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา
ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว
เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว
ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย
เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว
ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มันไม่หลงระเริงเลยนะ
ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว
เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่
ใจจะหมดความดิ้นรน
นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา

ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา
ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่
เราจะต้อง หัดเจริญสติ
ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป
จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว
สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว
หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว
ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว
ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย
มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว
นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป
ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ
ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง
จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
จิตจะหมดความดิ้นรน
จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก

พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข
เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์
จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ
ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข
หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์
การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย
จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย
สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา
พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา
ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา
เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น

อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว
ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้
แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ
สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย
ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ

ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่
จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ
แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ
แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส
อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ
ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้

อริยมรรค เวลาล้างกิเลส
ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว
ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว
แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ
อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป
อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย
มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ
ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ
หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป
มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง
ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา
เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา
ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู

วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๒
สาวิกาสิขาลัย เสถียรธรรมสถาน


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ธรรมะ พระ ผู้รู้ พระอาจารย์ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สุญญตา ~พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช~
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 3461 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2554 14:06:15
โดย เงาฝัน
เผชิญตายด้วยใจห้าวหาญ - พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ห้อง วีดีโอ
That's way 0 2709 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2556 09:56:27
โดย That's way
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 3.667 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 16:12:11