หนังสือชุดคู่มือฆราวาส
ไตรสิกขา
สัมมาสังกัปปะ ความหวังหรือความปรารถนาที่ถูกต้อง ปัญญา
สัมมาวาจาการพูดจาที่ถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ การกระทำทางกายที่ถูกต้อง (ศีล)
สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง
สัมมาวายามะ - ความพากเพียรพยายามอยู่เสมออย่างถูกต้อง
สัมมาสติ ความมีสติ มีความสำนึกรู้สึกประจำใจอยู่อย่างถูกต้อง
สัมมาสมาธิ มีสมาธิคือ ความตั้งมั่นของจิตอย่างถูกต้อง
ครบทั้ง ๘ ก็เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา
สมาธิ
ไตรสิกขา การศึกษาที่เป็นการประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลจริง ๆ
ศีล คือ บังคับตัวเองข้างนอก
สมาธิ คือ บังคับตัวเองข้างใน
ปัญญา คือ การรู้เรื่องที่มนุษย์จะต้องรู้ เพื่อแก้ปัญหาทุกชนิดของมนุษย์
ศีล ขึ้นชื่อว่าศีลแล้วมันก็จะต้องเหมือนกัน นอกจากขยายการปฏิบัติให้มันปลีกย่อยออกไป เป็นความประสงค์ของผู้ที่จะไปช้าไปเร็ว ถ้าจับหัวใจของสิ่งนี้ได้ก็จะขยายออกไปได้กี่ร้อยกี่พันอย่าง ยกตัวอย่างศีล ๕
ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติบาต ไม่ประทุษร้ายชีวิตร่างกายของผู้อื่นด้วยเจตนาร้าย เช่นชาวนาไถนา ปูนาถูกไถขาดกระจายอย่างนี้ ไม่ได้ทำด้วยเจตนาร้าย ทำด้วยเจตนาที่จะป้องกันชีวิตตัวเองคือหากิน อย่างนี้ไม่เรียกว่าเจตนาร้าย
ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทาน ไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่นโดยวิธีใดก็ตาม หมายถึงทรัพย์สมบัติทั่ว ๆไป เงิน ทอง ข้าวของ วัวควาย ไร่นา กระทั่งบุตรภรรยา ก็ถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติ
ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ประทุษร้ายของรักดังดวงใจของผู้อื่นทุกชนิด กาเมสุ – แปลว่า ของรักใคร่ทั้งหลาย จะเป็นอะไรก็ได้ไม่เฉพาะกับเรื่องหญิงกับชาย หรือเรื่องเพศ กาม – แปลว่า ความใคร่ ถ้าเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่หรือความรักใคร่ก็ทุกอย่างเลย
ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาท ไม่ประทุษร้ายความเป็นธรรม ความชอบธรรมของผู้อื่น โดยใช้วาจาเป็นเครื่องมือ จะใช้วาจาพลิกแพลงชนิดไหนก็ตาม ถ้ามันไปทำลายความเป็นธรรม ความชอบธรรม หรือสิทธิโดยชอบธรรมของผู้อื่น ล้วนแต่เป็นเรื่องประทุษร้ายทั้งนั้น
ศีลข้อที่ ๕ สุราเมรยมัชชปมาท ไม่ประทุษร้ายสติสมปฤดีและปัญญาของตัวเอง เมื่อเราเสพน้ำเมาหรือของเมา ของเมาจะเป็นน้ำหรือไม่ใช่น้ำก็ตาม ของสูดดมหรือของเพียงแต่กระทำ เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าใกล้ มันก็มีผลอย่างเดียวกัน ถ้าไปประทุษร้ายสมปฤดีและปัญญาของตัวเองแล้วมันทำให้ศีลข้ออื่น ๆ เสียด้วย
สมาธิ จิตที่เป็นสมาธิประกอบด้วย ปริสุทโธ คือจิตสะอาด สมาหิโต คือจิตตั้งมั่น กัมมนีโย คือจิตไวต่อหน้าที่ อย่าไปหลับตานั่งแข็งทื่อเป็นท่อนไม้จึงจะเป็นสมาธิ แท้จริงอยู่ในอิริยาบทไหนก็ได้ เดิน ยืน นั่ง นอน ถ้าจิตมันบริสุทธิ์ แล้วจิตมันมั่นคง และมันไวต่อการงาน