[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 22:52:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือชุดคู่มือฆราวาส  (อ่าน 10252 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:44:44 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


สิ่งที่ฆราวาสต้องรู้ ชีวิตต้องเทียมด้วยควายสองตัว

ฆราวาสก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ถ้าจะมีความทุกข์แล้ว ก็มีเพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยกันทั้งนั้น ถ้าว่ากันโดยวงกว้าง ๆ แล้ว เราต้องไม่ลืมหลักที่ว่ากิเลสหรือความทุกข์นั้นมันไม่มีจำกัดว่าจะเป็นฆราวาสหรือบรรพชิต เช่น ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หรือความโลภ ความโกรธ ความหลง ตัณหาอุปาทาน ไม่ต้องเลือกว่าต้องเป็นฆราวาสหรือบรรพชิต มันเป็นของคนในความหมายทั่ว ๆ ไป เมื่อหลักใหญ่ ๆตามธรรมชาติมันเป็นอยู่อย่างนี้ก็ย่อมจะมีหลักต่อไปที่ว่า วิธีที่จะขจัดกิเลสดับทุกข์นี้ก็เหมือนกันทั้งฆราวาสและบรรพชิตเป็นส่วนใหญ่
เปรียบเทียบชีวิตคนเราต้องเทียมด้วยควายสองตัวคือตัวหนึ่งรู้และตัวหนึ่งแรง ตัวหนึ่งคือความรู้ ตัวหนึ่งคือกำลัง ถ้าชีวิตไหนเทียมด้วยควายเพียงตัวเดียวคือมีตัวแรง มีกำลัง และขาดตัวที่รู้แล้วชีวิตนั้นอันตรายมาก แต่ถ้าเผอิญว่ามีแต่ตัวรู้ไม่มีตัวแรงนี้ยังไม่เป็นอันตราย (น.๒-๔)
ศาสตร์ทั้งหลายที่มนุษย์กำลังเรียนกันอยู่ในโลกนี้ เรียนเพื่อจะไปเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ของเทคโนโลยี ไม่เคยนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ของความสว่างไสวทางวิญญาณซึ่งเป็นมรดกของตะวันออก ปู่ย่าตายายของเราไม่เคยประสบความทุกข์หรือปัญหายุ่งยากทางศีลธรรม เพราะเขายึดหลักในความสว่างไสวทางวิญญาณคือพระธรรมหรือศาสนา
มีเพียงตัวแรงก็จะหลงทางไปตกเป็นทาสของวัตถุ เหมือนทางตะวันตกที่กำลังแพร่ขยายอิทธิพลมาทางตะวันออกมากขึ้นจนนำโลกไปสู่วิกฤติการณ์ ในทางปฏิบัติเราจะทำให้ชีวิตนี้เทียมด้วยควายสองตัวได้อย่างไร โลกปัจจุบันมันหมุนไปแต่ในทางที่มีควายตัวเดียวคือเทคโนโลยี ทางปฏิบัติที่ดีคือหันมาหาศาสนาที่จะรู้จักควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หกอย่างนี้ไว้ให้อยู่ในอำนาจของเรา เมื่อมันได้รับอารมณ์คือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มันจะไม่ปรุงแต่งให้เกิดตัณหาอุปาทาน
ขอให้ตั้งต้นด้วยการรู้จักตัวความทุกข์กันเสียก่อน เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไร ความไม่มีทุกข์คืออย่างไร แล้วจะทำโดยวิธีใดจึงจะได้มานี่คือ.......................
อริยสัจจ์ ที่แท้จริงนั้นต้องเรียนชีวิต เรียนธรรมชาติ เรียนตัวเองจึงจะรู้ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับแห่งโลกก็ดี เราตถาคตบัญญัติอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่งนี้ที่ยังเป็น ๆ มีสัญญาและใจ ความรู้แจ้งไม่ได้อาศัยเหตุผล ความเข้าใจจากการศึกษาเล่าเรียน การรู้จักสิ่งที่รู้จากจิตใจโดยตรงต้องเอาประสบการณ์ในชีวิตเป็นบทเรียน การใช้ชีวิตให้เทียมด้วยควายสองตัวจะต้องรู้จักคำพูดทั้งสองภาษา คือคำพูดภาษาคนธรรมดา และคำพูดภาษาพระอริยเจ้าพูด (ภาษาคน-ภาษาธรรม) นี่คืออารัมภกถาบอกให้ทราบถึงต้นเหตุ มูลเหตุของปัญหายุ่งยากสมัยนี้
ปัญหาข้อเดียวของมนุษยชาติ
ปัญหาทั้งหมดขึ้นอยู่กับปัญหา ๆ เดียวว่าเกิดมาทำไม พวกที่เป็นวัตถุนิยมจะไม่ยอมรับเอาปัญหานี้เพราะมันยุ่ง เขาเกิดมาต้องการวัตถุก็ผลิตวัตถุ เทคโนโลยีเป็นพระเจ้าสำหรับช่วยให้การผลิตวัตถุที่เขาต้องการ สำเร็จตามความปรารถนาวัตถุ ชาวตะวันออกซึ่งรุ่งเรืองด้วยความสว่างไสวทางวิญญาณเคยคิดมาแล้ว เขาได้พูดกันตามที่เหมาะสมแก่บุคคลในยุคนั้นถิ่นนั้น บางพวกก็พูดว่าพระเจ้าทำให้เราเกิดมา
พุทธบริษัทบอกว่าพระธรรมทำให้เกิดมา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:44:57 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


บางพวกต้องการอิสระไม่ใช้ว่า “พระเจ้า” หรือ “พระธรรม” บอกว่าธรรมชาติทำให้เราเกิดมา (ในพุทธศาสนาธรรมชาติรวมอยู่ในพระธรรม)
เข้าใจคำว่า “พระเจ้า” และ “ธรรมชาติ”
คำว่า “พระเจ้า” ที่แท้ในภาษาไทยก็คือพระธรรม ทำหน้าที่สร้างโลก ควบคุมโลก ให้โลกเป็น
ไปตามกฎเกณฑ์ แต่ถูกเข้าใจผิดจนพระเจ้ากลายเป็นบุคคล หรือผีที่มีความรู้สึกอย่างคน รู้จักโกรธ รู้จักเกลียด รู้จักรัก รู้จักพอใจ เหมือนคน
คำว่า “ธรรมชาติ” ในภาษาธรรมะ ในภาษาศาสนา มีความหมายกว้างอย่างเดียวกับพระเจ้า มีแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่สิ่งที่มีสิ่งอื่นปรุงแต่ง และสิ่งที่อยู่เหนือการปรุงแต่ง เรื่องโลก ๆ ก็เป็นธรรมชาติ เรื่องธรรมะก็เป็นธรรมชาติ
ถ้ารู้จักพระธรรมอย่างถูกต้องก็จะรู้ว่าเกิดมาทำไม เมื่อมีธรรมะจึงแตกต่างจากสัตว์ อาหารนิทฺ-ทาภยเมถุนฺจ – การหาอาหาร การแสวงหาความสุขในการนอน การรู้จักขี้ขลาดหนีภัย และการประกอบเมถุนธรรม สามาฺ เมตปฺปสุภิ นรานํ – สี่อย่างนี้เสมอกันระหว่างคนกับสัตว์ ธมฺโม หิ เตสํ อธิโก วิเสโส – ธรรรมะเท่านั้นที่จะทำความผิดแปลกแตกต่างระหว่างคนกับสัตว์ ธมฺเมน หีนา ปสุภิ สมานา – เมื่อเอาธรรมะออกไปเสียแล้วคนก็เท่ากันกับสัตว์ มีใจความว่า ธรรมะทำให้คนต่างจากสัตว์ ธรรมะสร้างคนขึ้นมาผิดจากสัตว์ ก็เพราะว่าต้องการให้คนมีธรรมะอย่างมนุษย์ (น.๒๗–๓๓)
ผลของการรู้จักธรรมะแล้วก็รู้ว่าเกิดมาทำไม
เกิดมาเพื่อมีบรมธรรม (นิพพาน หรือ อมตธรรม) ฆราวาสก็ต้องเดินทางไปหาบรมธรรม บรรพชิตก็ต้องเดินทางไปหาบรมธรรม ใครจะไปเร็วกว่ากันอยู่ที่ใครทำผิดหรือทำถูก
เกิดมาเพื่อไม่เป็นทุกข์ ไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่ต้องวิตกกังวล ไม่ต้องทำอะไรให้มันเป็นทุกข์ ถ้าทุกข์มันเกิดก็รีบปัดออกไป ความทุกข์ไม่ใช่ของเรา เราไม่ยอมรับเอาสิ่งใด ฝึกอย่างนี้จะเป็นการปฏิบัติตามพระธรรมอย่างสูงสุด ถ้าเรารู้ผิดชอบชั่วดีว่าอะไรเป็นความทุกข์ เราก็รู้จักหลีกเลี่ยงเสีย หรือว่าอะไรเป็นเครื่องทรมานใจเราก็ไม่เอาสักอย่างเดียว นั่นแหละให้ถือในแง่ที่ว่าเราเกิดมาสำหรับไม่เป็นทุกข์ในทุก ๆ กรณี มีสติปัญญา มีสติสัมปชัญญะ ปฏิบัติไป แก้ไขไป เพื่อไม่ให้สิ่งที่จะเป็นทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาอีก แต่เมื่อมันมาถึงเข้า เราไม่ยอมรับเอา เราพยายามหาหนทางที่มันจะไม่มาถึงเรา (น.๓๕–๔๐)
ปัญหา เพศรส ของฆราวาส
ความรู้สึกทางเพศมันลึกลับซับซ้อนจนมีคนกล่าวว่า motives ต่าง ๆ ของมนุษย์นี้มาจากความรู้
สึกทางเพศ เช่น ซิกมัน ฟรอยด์ เป็นต้น แต่ยังกำกวมอยู่ ถ้าใช้คำว่า “เพราะเพศ” เสียทุก ๆ อย่างก็ถูกได้เหมือนกัน ความรู้สึกทางเพศผลักดันให้มนุษย์กระทำการต่าง ๆ
ผลทางฝ่าย positive ทำให้ เราต้องแต่งเนื้อแต่งตัว, ต้องทำการงาน, อยากมีชีวิตอยู่ไม่อยากตาย, การประกอบอาชญากรรม, กิน กาม เกียรติ
ผลทางฝ่าย negative นั้นต้องคิดให้ลึกไปกว่านั้น เช่นการออกบวชทิ้งเรื่องทางเพศไป เกลียดชังขึ้นมาเพราะความน่าขยะแขยงของเรื่องระหว่างเพศ (น.๑๘๘–๑๘๙) พระพุทธภาษิตเกี่ยวกับเรื่องเพศ
เกี่ยวกับเรื่องเพศมีพระพุทธภาษิตที่ตรัสไว้โดยตรงในบาลี พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เรามองไม่เห็น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:45:08 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


รูปประเภทใดประเภทหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตใจของบุรุษแล้วตั้งมั่นอยู่ เหมือนรูปของสตรี ฯลฯ  ไม่เห็นเสียงประเภทใดประเภทหนึ่งที่ครอบงำจิตใจของบุรุษ และตั้งมั่นอยู่เหมือนเสียงของสตรี  ไม่เห็นกลิ่นชนิดใดชนิดหนึ่งที่ครอบงำจิตใจของบุรุษ แล้วตั้งมั่นอยู่เหมือนกลิ่นของสตรี  แล้วก็ไม่เห็นรสชนิดใดชนิดหนึ่งเกิดขึ้นครอบงำจิตใจบุรุษ แล้วตั้งมั่นอยู่เหมือนรสที่เกิดมาจากหรือเนื่องมาจากสตรี  ไม่เห็นโผฏฐัพพะหรือสัมผัสผิวหนังชนิดใดชนิดหนึ่งเกิดขึ้นครอบงำจิตบุรุษ แล้วตั้งมั่นอยู่เหมือนโผฏฐัพพะที่เนื่องมาจากสตรี ไม่เห็นธรรมารมณ์อันใดอันหนึ่งคือความคิด ความนึก ความฝันอะไรก็ตาม ที่ครอบงำจิตใจบุรุษ แล้วตั้งมั่นอยู่เหมือนธรรมารมณ์ที่เนื่องด้วยสตรี พูดตรงกันข้ามก็ครอบงำจิตใจของสตรี..............
เหมือน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่มาจากบุรุษ ก็เป็นอันว่าพูดทั้งสองฝ่าย ไม่เห็นอะไรที่จะครอบงำจิตของบุรุษ แล้วตั้งมั่นแน่นแฟ้นอยู่เหมือนเรื่องที่เกี่ยวกับสตรี ; แล้วไม่เห็นอะไรที่ครอบงำจิตใจสตรี แล้วตั้งมั่นอยู่เหมือนเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องบุรุษ....... (น.๑๙๒–๑๙๓)
เดี๋ยวนี้เพศรสกำลังครอบงำจิตใจของคนทั้งโลก หลอกลวงคนทั้งโลก โดยที่มันทำให้คนทั้งโลกไม่รู้สึกว่าถูกหลอกลวง หลอกลวงมีอยู่สองทาง หลอกลวงเหมือนกับหลอกลวงคู่ปรปักษ์ นี้อย่างหนึ่ง แล้วหลอกลวงของธรรมชาติโดยที่มนุษย์ไม่อาจจะรู้ แต่ที่แท้ก็คือหลอกลวงของธรรมชาติทั้งนั้น (น.๑๙๔)
รสอร่อยที่เกิดรู้สึกอยู่ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้นเป็นความหลอกลวง
ภาษาทางจิตวิทยาเรียกว่า imagination คือมโนภาพ หรือ มโนคติ ที่สร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติ และที่สำคัญอยู่ที่เรื่องสัมผัสทางผิวหนัง จิตมันสร้างมโนภาพซ้อนขึ้นมาอีกทีหนึ่ง เนื่องจากถูกอดีตสัญญาปรุงแต่ง ซึ่งเราไม่มีทางรู้สึกได้ตามธรรมชาติ เพราะรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อะไรก็ตามของเพศตรงกันข้ามมันเป็นวัตถุไม่เข้าไปในจิตใจของเราได้ แต่ว่าจิตใจสร้าง imagination ขึ้นมา ดังนั้นมันจึงเข้าไปถึงจิตใจของคนได้ (น.๑๙๕) การรู้เท่าทันเรื่องเพศ
ตามหลักทางพุทธศาสนามีหลักที่วางไว้ใช้ได้ทุกกรณีว่า การที่จะรู้อะไรเพื่อชนะสิ่งนั้น เราจะต้องรู้อย่างน้อย ๓ อย่างเสมอ คือรู้ อัสสาทะ – รสอร่อยที่ใช้สำหรับลวงคน อาทีนวะ – คือโทษ ความเลว ที่ทำอันตรายคน นิสสรณะ – คืออุบายที่จะมีอำนาจเหนือสิ่งนั้น ภาษาธรรมดาเรียกว่า “ลูกไม้” ที่เราจะเป็นผู้ชนะต่อสิ่งนั้น (น.๒๐๑) การควบคุมความรู้สึกทางเพศ
การที่จะควบคุมสิ่งเหล่านี้จนเราถอนตัวออกมาเสียได้ นี้ไม่ใช่เรื่องของคนโง่หรือคนบ้า ที่เรามีระเบียบปฏิบัติหรือมีความพยายามที่จะทำลายความบีบคั้นเป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้เพื่อให้เข้าสู่ระดับที่พอดี มิได้หมายความว่าจะตัดหรือทำลายให้สูญสิ้นไป ปัญหาเกี่ยวกับควบคุมความรู้สึกหรือความกำหนัดในทางเพศระหว่างบรรพชิตและฆราวาสย่อมไม่เท่ากัน สำหรับบรรพชิตคือผู้ที่ต้องการไปเร็วหรือไปดีกว่า ก็ต้องมุ่งหมายที่จะควบคุมหรือแก้ไขมากกว่าพวกฆราวาส ซึ่งยังไม่ต้องการจะไปเร็วหรือว่าไปก่อน (น.๒๐๔–๒๐๕)
สำหรับบรรพชิตมีการแนะนำ ให้ระวังป้องกันตั้งแต่ภายนอก อย่าให้เกิดเผลอสติเมื่อเห็นรูป เมื่อได้ยินเสียง เมื่อได้กลิ่น เมื่อได้รับรส เมื่อได้สัมผัส ส่วนฆราวาสอาจจะไม่ต้องควบคุมถึงขั้นนั้น แต่ก็ควรควบคุมให้อยู่ในระดับที่พอดี ไม่มากเกินไป เมื่อควบคุมความรู้สึกกำหนัด ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจอะไรก็ตามด้วยสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ไม่สะสมสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นความเป็นพระอรหันต์หรือความเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นสิ่งที่มีได้โดยไม่เหลือวิสัย และพระอรหันต์ก็ไม่ต้องเป็นคนบ้าบอ เพราะเป็นเพียงเรื่องการสกัดกั้นความกำหนัดไม่ให้เกิด ไม่ให้สะสมอีกต่อไป (น.๒๑๑–๒๑๒)
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:45:22 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


วิธีควบคุมความรู้สึกทางเพศนี้ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณหลายพันปีในอินเดีย หรือว่าประเทศอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โดยสามารถแยกเป็นสองประเภทคือ การควบคุมทางกายและการกระทำทางจิตใจ ทางฝ่ายวิญญาณ
การควบคุมทางกาย เช่น –การใช้ยา หรือผ่าตัด
การบีบคั้นร่างกายให้ทุพพลภาพไป หรือทำลายอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไป
การกระทำทางจิตใจ ทางวิญญาณ
ใช้กำลังความคิดความรู้ บ่มความคิดความรู้ ให้เกิดขึ้นถึงขนาดที่เรียกว่าเกิดญาณทัสสนะ เช่นทางพุทธศาสนาแนะนำไว้ว่า
พิจารณาปฏิกูลสัญญา มองสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของปฏิกูล อย่าให้เกิดความกำหนัดยินดี เช่น ดูที่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ศึกษาในความเป็นปฏิกูลของมัน
พิจารณาอสุภสัญญา เช่นเดียวกับเรื่องปฏิกูล ให้มองเห็นว่าสิ่งที่เราเห็นกันว่างามนั้นมันไม่งาม กระทั่งทั้งหมด ทั้งเนื้อทั้งตัว – เช่นไปดูซากศพในป่าช้าจะมองเห็นสภาพความเป็นจริงของร่างกายที่เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้สลดสังเวช จะข่มความรู้สึกที่เป็นความกำหนัด เหมือนที่ ปู ย่า ตา ยาย พูดไว้ว่า “ความงามอยู่ที่ซากผี” ให้ขยันไปดูแล้วก็เจริญปฏิกูลสัญญา อสุภสัญญา
ขั้นสูง พิจารณาโดยความเป็นธาตุ เป็นไปตามธรรมชาติ คือเห็นว่า ความกำหนัด ความรู้สึกกำหนัด หลงใหลอย่างยิ่งนี้ มันเป็นเรื่องหลอกลวงของธรรมชาติ เป็นความหลอกลวงทางอายตนะ คือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ, รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส เราโง่ รู้ไม่ทัน ไปหลงรู้สึกพอใจสูงสุด มองเป็นความถูกลวง น่าขายหน้า มันก็ซาความกำหนัด แต่ต้องทำให้มาก ทำจนรู้สึกโดยแท้จริง เข้าใจจริง เห็นจริงว่ามันเป็นความถูกลวงของอะไรอย่างหนึ่ง ให้เราเป็นทาสของมัน (น.๒๑๔–๒๑๖)
ประยุกต์เข้าหลักมัชฌิมาปฏิปทา
การที่จะประยุกต์กันเข้ากับหลักพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ ก็ต้องมองไปที่มัชฌิมาปฏิปทา – การ
ปฏิบัติที่อยู่ในระดับกลาง วางไว้เป็นกลาง เป็นฆราวาสหรือบรรพชิตก็ต้องมีมัชฌิมาปฏิปทา สำหรับเพศนั้น ๆ โดยเฉพาะเป็นอย่าง ๆ ไป ฆราวาสจะเกี่ยวข้องกับความกำหนัด หรือจะมีความต้องการในเรื่องของความกำหนัดนี้มากน้อยเท่าไร ก็ให้อยู่ในระดับมัชฌิมาปฏิปทา จำกัดความลงไปว่า “ไม่ถึงกับหลง เมื่อมีความรู้เข้าใจในเรื่องนี้แล้ว นานเข้าพอสมควรมันก็เลื่อนสูงขึ้นไป มีความเบื่อ ความเอือมระอา จนไม่เป็นทาสของสิ่งเหล่านี้อีกต่อไป (น.๒๑๙–๒๒๐)
วัฒนธรรมของชาวพุทธ  เป็นหลักแห่งความรอดพื้นฐานของฆราวาส ข้อที่ ๑  มีความขยันขันแข็ง กล้าหาญ ยอมตายด้วยพระธรรม
การมีชีวิตอยู่ในโลกจะรอดอยู่ได้ ก็ต้องด้วยความขยันขันแข็ง ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่เหลือรอดอยู่ได้ การต่อสู้ซึ่งเป็นความรู้สึกทางสัญชาตญาณ ความขยันขันแข็งก็เป็นสิ่งหนึ่งในการต่อสู้ เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้มากมันก็กลายเป็นความกล้าหาญ เพราะธรรมชาติมันบังคับไม่ขยันขันแข็งมันก็ตายไม่เหลือรอดอยู่จนบัดนี้ เป็นหลักธรรมะที่ช่วยให้รอด
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:45:35 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


ความสุภาพอ่อนโยน เชื่อฟังคนเฒ่าคนแก่

ความสุภาพอ่อนโยนเป็นหลักธรรมะด้วยเหมือนกัน มิใช่เป็นเพียงขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้าน ความสุภาพนั้นหมายถึงไม่มีอะไรที่น่าเกลียด ความอ่อนโยนหมายถึงมีอะไรที่น่ารัก เป็นเครื่องมือหรือเป็นอำนาจพิเศษอะไรอันหนึ่งที่ชนะน้ำใจของผู้ที่ได้มาพบเห็น มาสังคมด้วย
ความสุภาพอ่อนโยนนี้ทำให้เกิดหลักพื้นฐานอื่นต่อไป ที่สำคัญที่สุดคือสุภาพอ่อนโยนต่อคนเฒ่าคนแก่ ก็คือเชื่อฟังคนเฒ่าคนแก่ เด็ก ๆ ได้เรียนมามากก็มีความเคารพคนแก่น้อยลงไป จิตใจกระด้างเพิ่มขึ้นตามส่วน ขอให้สังวรระวังให้มาก เรื่องที่ไม่จำเป็นแก่ชีวิตนั้นแหละ คนเฒ่าคนแก่อาจจะโง่กว่าลูกหลาน แต่ถ้าเรื่องที่จำเป็นแก่ชีวิตแล้ว คนเฒ่าคนแก่ฉลาดกว่าเสมอ
ข้อที่ ๓  ความกตัญญู
ความกตัญญูเป็นเครื่องวัดบุคคลว่าเป็นคนดีหรือไม่ดี ที่ถือมาเป็นหลักแต่โบราณกาล ถ้ามีนิสัยไม่กตัญญูก็หมายความว่าอันตราย คบไม่ได้ คือมีความทารุณโหดร้ายทางวิญญาณมากเกินไป จนไม่รู้สึกขอบคุณ รักใคร่ผู้ที่มีบุญคุณ เรื่องนี้เขามักจะอ้างถึงสุนัข ว่าความกตัญญูของสุนัขมีมากคือมันมีความรู้สึกไวในทางนี้
ความกตัญญูที่เราต้องการนั้นหมายถึงความรู้สึกที่มากกว่าระดับสัญชาตญาณ เป็นเรื่องของความคิดความนึก แล้วเป็นสิ่งที่จะต้องอบรม ชาติที่เป็นชาติโบราณอายุหลายพันปีจะมีหลักธรรมข้อนี้มาก เช่น จีน อียิปต์ อินเดีย
ความกตัญญูเป็นเครื่องช่วยให้รอด ถ้าคนเลิกกตัญญูต่อบิดามารดาโลกนี้ก็ล่มจม ดังนั้นเราต้องกตัญญูต่อทุกอย่างที่มีประโยชน์และมีคุณ ถ้ากตัญญูต่อวัตถุ เครื่องใช้ไม้สอยในบ้านเรือน มันก็มีอยู่ไม่ค่อยแตก ไม่ค่อยหาย ถนนหนทาง ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ถ้าเราไม่รักษาก็ไม่มีทางที่จะใช้สอยให้เป็นประโยชน์
ขึ้นมาถึงระดับสัตว์เดรัจฉานก็ ต้องกตัญญู มันเป็นเพื่อนร่วมโลก ทำให้โลกนี้น่าอยู่ น่าดูหรือมีประโยชน์ แม้ที่สุดเพื่อสวยงาม ยิ่งมาถึงมนุษย์ด้วยกันเป็นเพื่อนร่วมโลกกัน ช่วยเหลือกันโดยไม่รู้สึกตัวก็ต้องกตัญญู แม้ศัตรูเราก็ต้องกตัญญูอย่างน้อยก็นึกขอบคุณว่าศัตรูช่วยให้เราฉลาด แต่จะกตเวทีเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามีแต่คนกตัญญูโลกนี้ไม่มีทางรบราฆ่าฟันได้เลย
ข้อที่ ๔ ความมีศีลมีสัตย์
วัฒนธรรมของคนไทยเป็นคนมีศีลมีสัตย์มาแต่เดิมแล้วก็มากขึ้นเมื่อได้รับพุทธศาสนา เราไม่มีการกระทำที่เป็นอันตรายต่อเพื่อนมนุษย์ก็เรียกว่า “มีศีล” เรามีความซื่อตรงต่อเพื่อนมนุษย์ก็เรียกว่า “มีสัตย์” ถ้ามีทั้งศีลมีทั้งสัตย์ก็มีการเบียดเบียนไม่ได้เป็นผู้ที่ไว้ใจได้
ข้อที่ ๕  ความประหยัด
ประหยัดกับสันโดษนั้นสัมพันธ์กัน เพราะว่าสันโดษเป็นรากฐานของการประหยัด สันโดษทำให้เกิดกำลังใจ เมื่อเรามีความอิ่มใจในส่วนที่ได้มาหรือได้อยู่ ก็เกิดกำลังใจที่หล่อเลี้ยง ทดแทนความท้อแท้อ่อนแอ ความเหนื่อย แล้วก็ทำให้ประหยัด ไม่ต้องมีสิ่งเกินความจำเป็น ถือเป็นหลักสากลว่า เมื่อเรายังไม่ได้สิ่งที่เราอยากได้ เราก็ต้องยินดีในสิ่งที่เรากำลังมีนั้น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:45:47 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


เมตตา ใจกว้าง ใจบุญ
เมตตา แปลว่าความเป็นมิตร คือรู้สึกรักหรือหวังดี มีคำพูดมาแต่โบราณว่า “นกกินเป็นบุญ คนกินเป็นทาน หมายความว่า เขาปลูกหรือทำอะไรโดยไม่หวังจะรับผลเอง หรือแม้หวังจะรับผลเองแต่ถ้าไม่ได้กินเพราะนกกิน สัตว์กินก็เป็นบุญ คนอื่นมาขโมยเอาไปกินเสียก็เป็นทาน ตัวเองก็ไม่เดือดร้อน มีความใจกว้างใจบุญ แขกมาต้องได้กิน แล้วใช้อันนี้เป็นเกราะป้องกันตัวจากคนพาล คือใช้ความรักนี้เป็นเครื่องมือชนะความเกลียดหรือความโกรธ
ข้อที่ ๗ ความอดกลั้น
ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ขันตี” คนที่มีความอดกลั้นนี้คือคนที่มีธรรมะอย่างแรง เพราะการ อดกลั้นนี้มันยาก เราบันดาลโทสะอยู่โดยไม่รู้สึกตัว ถ้าไม่อบรมบ่มนิสัยมาในวัฒนธรรมมันยากที่จะอดกลั้น อดกลั้นนี้ต้องยิ้มแย้มแจ่มใสไปด้วย ไม่ใช่ว่าเป็นทุกข์ทรมานเหมือนไฟไหม้ในอกอย่างนั้นไปไม่รอด ต้องมีการระบายออกเพื่อให้มีความแจ่มใส มีโสรัจจะควบคู่กันไป
ข้อที่ ๘ การยอมได้
การให้อภัยไม่ถือโทษนี้คือการยอมได้ ผู้ที่ให้อภัยหรือผู้ที่ยอมนั่นแหละเป็นผู้ชนะ คนไม่ยอมคือคนแพ้หรือคนโง่ อย่าเข้าใจว่าถ้ายอมแล้วจะเป็นฝ่ายแพ้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสสรรเสริญผู้ที่ยอมได้ ให้เรื่องร้ายที่มันกำลังเกิดขึ้นแล้วจะลุกลามกลายเป็นความพินาศของทั้งหมด แล้วก็มีคนฝ่ายหนึ่งยอมเสียทั้งที่ตัวไม่ผิด ยอมว่าผิดหรือยอมทุกอย่างที่จะให้เรื่องมันระงับไปได้
ข้อที่ ๙ ความไม่ตามใจกิเลส
คือความไม่ตามใจความรู้สึกฝ่ายต่ำ ให้ยึดมั่นในความรู้สึกฝ่ายสูงก็เลยไม่ทำตามอำนาจของกิเลส ให้ยึดธรรมะเป็นหลักคือตามใจพระธรรม
ข้อที่ ๑๐ มีแบบฉบับเฉพาะของชาวพุทธในทุก ๆ กรณี ในการกินอยู่หลับนอน เกิด แก่ เจ็บ ตาย(น.๒๘๕–๒๙๙)
ความเชื่อตามหลักพุทธศาสตร์
ฆราวาสทั่ว ๆ ไปที่เป็นพุทธบริษัทหรือไม่เป็นพุทธบริษัท ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าไสยศาสตร์ อย่างที่ไม่อาจจะแยกกันได้ แต่ถ้าจะเป็นพุทธบริษัทให้ถูกต้องจะต้องเลื่อนชั้นจากไสยศาสตร์มาสู่พุทธศาสตร์ เมื่อเราจะเป็นพุทธบริษัทเราก็ใช้หลักของพระพุทธเจ้าในการที่จะชำระสะสางความเป็นไสยศาสตร์ให้ค่อย ๆ หมดไป มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
มหาปเทสทางสูตร
๑.) หากมีภิกษุกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) เรียกว่า พุทธาปเทส
๒.) หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่ พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) เรียกว่า สังฆาปเทส
๓.) หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต ถึงอาคม (คือชำนาญในพุทธพจน์ทั้ง ๕ นิกาย) ทรงธรรม ทรงวินัย  ทรงมาติกา (หัวข้อหรือแม่บท)  ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) เรียกว่าสัมพหุลัตเถราปเทส หรือสัมพหุลเถราปเทส
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:46:01 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


หากมีภิกษุกล่าวว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุผู้เป็นพระเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต ถึงอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย  ทรงมาติกา  ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์ (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า) เรียกว่า เอกัตเถราปเทส หรือ เอกเถราปเทส
เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะ(ทั้งข้อความและถ้อยคำ) เหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตรดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคแน่นอน ภิกษุนี้ (สงฆ์นั้น พระเถระเหล่านั้น พระเถระรูปนั้น) ถือไว้ผิด พึงทิ้งเสีย (ในทางตรงกันข้ามพึงรับมาปฏิบัติ)
มหาปเทสทางวินัย
สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ มจร. น.๑๒๙–๑๓๑)
กาลามสูตร
มา อนุสฺสเวน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา
มาปรมฺปราย  อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการสืบ ๆ กันมา
มาอิติกิราย   อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
มา ปิฎกสมฺปทาเนนะ อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
มา ตกฺกเหตุ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
มา นยเหตุ  อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
มา ทิฏฺินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
มา ภพฺพรูปตาย อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
มา สมโณ ครูติ อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น    
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต น.๒๓๒
โคตมีสูตร หลักตัดสินพระธรรมวินัย
วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ความติดพัน เป็นอิสระ มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ หรือเสริมความติดใคร่
วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์
อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย ความมักน้อย มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่ ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่............
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:46:15 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
ปวิเวก คือ ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก
ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา
กรรมในพระพุทธศาสนา
กรรมนี้อาศัยปัญญาเป็นรากฐาน ก็เลยแบ่งเป็น
กรรมดี  มาจากเหตุที่ดี ความรู้จักดีได้ผลเป็นความสุขสบายตามที่ตนพอใจแต่ยังต้องเสวยผลกรรมอยู่ เช่นไปสวรรค์ กรรมดีทำให้เวียนว่ายอยู่ในทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือสวรรค์
กรรมชั่ว มาจากเหตุชั่วคือกิเลส กรรมชั่วทำให้เวียนว่ายอยู่ในอบายคือความทุกข์
๓.) กรรมเหนือดีเหนือชั่ว   เรื่องชั่วเรื่องดีนี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น คนชั่วก็มีความทุกข์แบบคนชั่ว คนดีก็มีความทุกข์แบบคนดี มีคนเยอะแยะฆ่าตัวตายทั้ง ๆ ที่มีชื่อเสียง มีความดี มีความร่ำรวย แต่มีทุกข์อย่างอื่น เพราะฉะนั้นเพียงกรรมดีเฉย ๆ ยังไม่ใช่สูงสุด ต้องเหนือชั่วเหนือดี คือไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดโดยความเป็นตัวเราหรือของเรา กรรมที่เหนือชั่วเหนือดีนี้ทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน(น.๔๓๑–๔๓๒)
เรื่องการเกิดใหม่
การเกิดนี้มีอยู่สองความหมาย
เกิดทางร่างกาย คือเกิดมาจากท้องแม่ แล้วมีชีวิตอยู่ได้ประมาณไม่เกินร้อยปีก็เข้าโลงไป เรียกว่าเกิดทางเนื้อหนัง ทางวัตถุ
เกิดทางจิตใจ ทางวิญญาณ คือการเกิดแห่งตัวกู เป็น egoistic conception หรือ perception ก็ได้ ที่เรียกว่าอหังการ มมังการ ในภาษาบาลี เกิดความสำคัญเป็นตัวกูขึ้นมาครั้งหนึ่งนั่นคือเกิดชาติหนึ่ง วันหนึ่งเกิดหลายหน เดือนหนึ่งเกิดหลายพันหน ปีหนึ่งก็เกิดหลายหมื่นหน กว่าจะตายก็เกิดหลาย ๆ หมื่น หลายแสน หลายล้าน หลายอสงไขยหนก็ได้ มันจะขบกัดบุคคลนั้นให้เป็นทุกข์ เราตายแล้วเกิดใหม่ – ตายแล้วเกิดใหม่ – ตายแล้วเกิดใหม่ได้หลายสิบครั้ง การเกิดใหม่นี้มีผลสืบเนื่องมาจากการเกิดครั้งก่อน การเกิดครั้งแรกมันทำอะไรไว้มันก็ยังมี reaction เหลือมา สำหรับการเกิดแห่งตัวกูครั้งที่สอง ซึ่งจะพลอยได้รับด้วย
ความเกิดหรือความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจนี้เป็นปัญหา ทางพุทธศาสนาก็เพ่งเล็งความเกิดทางจิตใจนี้เป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งแก้ปัญหาทางจิตใจ ทางวิญญาณ (น.๔๓๓–๔๓๗)
ธรรมะที่เป็นเครื่องมือสำหรับฆราวาส
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:46:26 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส


ฆราวาสธรรม ๔
ข้อแรก สัจจะ คือความจริงใจ ตั้งใจมั่นอย่างถึงที่สุดเรียกว่า “อธิษฐาน” รวมกันเป็นสัจจาธิษ-ฐาน คืออธิษฐานในสัจจะ ความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะทำ
ข้อสอง ทมะ แปลว่าบังคับตัวเอง ข่มขี่บังคับใจตัวเอง เราจะต้องเป็นผู้ฉลาดในเรื่องของจิต แล้วก็บังคับให้ถูกวิธี มันจะบังคับได้ มีอุบายแยกไว้ ๒ วิธี เรียกว่า ปัคคหะ คือเอาดีเข้าต่อ ประคับประคองประเล้าประโลมจิต กับนิคคหะ คือวิธีที่ข่มขี่ลงไปโดยตรง บีบบังคับโดยตรง ต้องดูโอกาสว่าจะใช้วิธีไหนอย่างไร ให้ทันท่วงที
ข้อสาม ขันติ แปลว่า ความอดทน ในการบังคับจิตนั้นมันโกลาหลวุ่นวาย มันเจ็บปวดมันต้องทน ฉะนั้นต้องเอาความอดทนเข้ามารองรับ เพราะในบรรดาความสำเร็จทั้งหลายนั้นมันไม่ได้มาทันอกทันใจ มันต้องการเวลา มันอดทนต่อการบีบคั้นของกิเลส
ข้อสี่ จาคะ แปลว่า ให้ หรือบริจาคออกไป ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงให้สิ่งของ แต่หมายถึงบริจาคสิ่งที่เราไม่ต้องการให้มีอยู่ในจิตใจของเรา สละสิ่งซึ่งเป็นข้าศึกแก่ความดีหรือความสำเร็จออกไปจากจิตใจเรา (น.๘๐–๘๕)
อิทธิบาท ๔
ฉันทะ แปลว่า ความพอใจ รักในเรื่องที่เราอยากจะทำหรือที่เราอยากจะได้ผล
วิริยะ คือ ความพากเพียร กล้าหาญที่จะบากบั่น
จิตตะ คือ การฝักใฝ่เอาใจใส่อยู่แต่สิ่งนั้น ไม่เปลี่ยนความมุ่งหมาย
วิมังสา คือ สอดส่องอยู่อย่างละเอียดลออ อย่างเยือกเย็นอยู่เสมอ (น.๙๐–๙๑)
ธรรมะร่วมสำหรับคฤหัสถ์และบรรพชิต
สิ่งที่เรียกว่าธรรมะที่เป็นตัวศาสนาจริง ๆ นั้น ใช้ได้ร่วมกันทั้งฆราวาสและบรรพชิต เพราะว่ากิเลสและความทุกข์โดยตรงนั้นมันเหมือนกันสำหรับทุกคน และแยกเป็นสองอย่างคือไตรสรณาคมน์
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นสรณะ
อริยสัจจ์ ๔  - เรื่องทุกข์   - เหตุให้เกิดทุกข์   - ความดับทุกข์   - การปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ตัวพุทธศาสนาที่เป็นการปฏิบัติโดยตรงคืออริยสัจจ์ ๔ ข้อสุดท้ายคือ
มรรคมีองค์ ๘
   
สัมมาทิฏฐิความเข้าใจถูกต้อง
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:46:39 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส

ไตรสิกขา
สัมมาสังกัปปะ   ความหวังหรือความปรารถนาที่ถูกต้อง   ปัญญา
สัมมาวาจาการพูดจาที่ถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ   การกระทำทางกายที่ถูกต้อง (ศีล)
สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างถูกต้อง            
สัมมาวายามะ - ความพากเพียรพยายามอยู่เสมออย่างถูกต้อง
สัมมาสติ ความมีสติ มีความสำนึกรู้สึกประจำใจอยู่อย่างถูกต้อง   
สัมมาสมาธิ   มีสมาธิคือ ความตั้งมั่นของจิตอย่างถูกต้อง            
ครบทั้ง ๘ ก็เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา
สมาธิ
ไตรสิกขา การศึกษาที่เป็นการประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลจริง ๆ
ศีล คือ บังคับตัวเองข้างนอก
สมาธิ คือ บังคับตัวเองข้างใน
ปัญญา คือ การรู้เรื่องที่มนุษย์จะต้องรู้ เพื่อแก้ปัญหาทุกชนิดของมนุษย์
ศีล ขึ้นชื่อว่าศีลแล้วมันก็จะต้องเหมือนกัน นอกจากขยายการปฏิบัติให้มันปลีกย่อยออกไป เป็นความประสงค์ของผู้ที่จะไปช้าไปเร็ว ถ้าจับหัวใจของสิ่งนี้ได้ก็จะขยายออกไปได้กี่ร้อยกี่พันอย่าง ยกตัวอย่างศีล ๕
ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติบาต ไม่ประทุษร้ายชีวิตร่างกายของผู้อื่นด้วยเจตนาร้าย เช่นชาวนาไถนา ปูนาถูกไถขาดกระจายอย่างนี้ ไม่ได้ทำด้วยเจตนาร้าย ทำด้วยเจตนาที่จะป้องกันชีวิตตัวเองคือหากิน อย่างนี้ไม่เรียกว่าเจตนาร้าย
ศีลข้อที่ ๒ อทินนาทาน ไม่ประทุษร้ายทรัพย์สมบัติของผู้อื่นโดยวิธีใดก็ตาม หมายถึงทรัพย์สมบัติทั่ว ๆไป เงิน ทอง ข้าวของ วัวควาย ไร่นา กระทั่งบุตรภรรยา ก็ถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติ
ศีลข้อที่ ๓  กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ประทุษร้ายของรักดังดวงใจของผู้อื่นทุกชนิด กาเมสุ – แปลว่า ของรักใคร่ทั้งหลาย จะเป็นอะไรก็ได้ไม่เฉพาะกับเรื่องหญิงกับชาย หรือเรื่องเพศ กาม – แปลว่า ความใคร่ ถ้าเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่หรือความรักใคร่ก็ทุกอย่างเลย
ศีลข้อที่ ๔  มุสาวาท ไม่ประทุษร้ายความเป็นธรรม ความชอบธรรมของผู้อื่น โดยใช้วาจาเป็นเครื่องมือ จะใช้วาจาพลิกแพลงชนิดไหนก็ตาม ถ้ามันไปทำลายความเป็นธรรม ความชอบธรรม หรือสิทธิโดยชอบธรรมของผู้อื่น ล้วนแต่เป็นเรื่องประทุษร้ายทั้งนั้น
ศีลข้อที่ ๕  สุราเมรยมัชชปมาท ไม่ประทุษร้ายสติสมปฤดีและปัญญาของตัวเอง เมื่อเราเสพน้ำเมาหรือของเมา ของเมาจะเป็นน้ำหรือไม่ใช่น้ำก็ตาม ของสูดดมหรือของเพียงแต่กระทำ เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าใกล้ มันก็มีผลอย่างเดียวกัน ถ้าไปประทุษร้ายสมปฤดีและปัญญาของตัวเองแล้วมันทำให้ศีลข้ออื่น ๆ เสียด้วย
สมาธิ จิตที่เป็นสมาธิประกอบด้วย ปริสุทโธ คือจิตสะอาด สมาหิโต คือจิตตั้งมั่น กัมมนีโย คือจิตไวต่อหน้าที่ อย่าไปหลับตานั่งแข็งทื่อเป็นท่อนไม้จึงจะเป็นสมาธิ แท้จริงอยู่ในอิริยาบทไหนก็ได้ เดิน ยืน นั่ง นอน ถ้าจิตมันบริสุทธิ์ แล้วจิตมันมั่นคง และมันไวต่อการงาน
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:46:55 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส

ปัญญา ปัญญาในภาษาบาลีแยกออกเป็น ๒ คือ ปัญญาเพียงเรื่องขั้นต่ำ ๆ เรื่องบ้านเรือน จะเป็นปัญญาพลิกแพลง ปัญญาที่จะไปใช้อย่างโกง ๆ ก็ได้เรียกว่า เฉโก อีกอย่างหนึ่งปัญญาจริง ๆ คือ รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เท่าที่จำเป็นจะต้องรู้ แล้วก็ดับความทุกข์ได้นี้คือปัญญาจริง
ให้ถือว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นตัวพุทธศาสนาหรือเป็นหัวใจพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมะร่วมกันทั้งแก่ฆราวาสและบรรพชิต
สุญญตา คือว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู-ของกูมีพระบาลีชัดเจนอยู่ว่า สุญญตปฺปฏิสํยุตฺตา สุตฺตนฺตา – คือระเบียบปฏิบัติทั้งหลายเหล่าใด ที่ประกอบด้วยเนื่องเฉพาะอยู่ด้วย สุญญตา ; ตถาคตภาสิตา – ที่ตถาคตได้ประกาศไว้ คมฺภีรา – ลึกซึ้ง ; คมฺภีรตฺถา – มีอรรถอันลึกซึ้ง ;    โลกุตฺตรา – เป็นไปเพื่ออยู่เหนือโลก นี้เป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่งแก่ฆราวาส หมายความว่าธรรมะทุกข้อต้องการจะสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น ในปริยายใดปริยายหนึ่ง ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นเรื่องสุญญตา ถ้าไปจับฉวยเข้ามันไม่ว่าง ถ้าไม่จับฉวยอะไรมันว่าง เราต้องมีจิตอย่างนี้ (น.๑๒๘–๑๔๕)
โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้
ข้อที่ ๑ สติ ระลึกได้
ข้อที่ ๒ ธัมมวิจยะ สอดส่องธรรม เลือกเฟ้นคัดเลือกธรรม
ข้อที่ ๓ วิริยะ ความพากเพียรพยายามด้วยความกล้าหาญ
ข้อที่ ๔ ปีติ อิ่มอกอิ่มใจ
ข้อที่ ๕  ปัสสัทธิ ความรำงับ หรือความเข้ารูปเข้ารอย
ข้อที่ ๖  สมาธิ   ความตั้งมั่น
ข้อที่ ๗  อุเบกขา ความวางเฉย คือปล่อยไปรอคอยได้ (น.๑๕๕)
ปัจจเวกขณ์ ๔
อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค พิจารณาสักว่าเป็นธาตุ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นี่มันสูงสุดสำหรับไปนิพพาน ช่วยให้เราไม่มีความทุกข์หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาจะไม่มีอำนาจบีบคั้นเรา (น.๑๖๑–๑๖๒)
ธรรมะร่วมสำหรับฆราวาสและบรรพชิตมีอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุผลข้อเดียวว่า กิเลสก็ดี ความทุกข์ก็ดี มันไม่เป็นฆราวาสหรือบรรพชิต มันเป็นธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ถ้าเอามาใช้ให้ตรงเรื่องแล้วก็เป็นการสำเร็จประโยชน์ จะเป็นพระหรือไม่เป็นพระอยู่ที่การบรรลุธรรมะ หรือมีธรรมะหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้กำหนดว่าอยู่บ้านหรืออยู่วัด
ระดับการปฏิบัติสำหรับฆราวาส
ขั้นต่ำ   เป็นเรื่องทำมาหากิน เรื่องสังคม
ทิฏฐิธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ๔ (ทิฏฐิธัมมิกัตถประโยชน์)
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:47:08 »

อุปฏฐานสัมปท
http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส

ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพสุจริต มีความชำนาญ รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง ตรวจตรา หาอุบายวิธี สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี
อารักขสัมปทา   ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์ และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย
กัลยาณมิตตตา   คบคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักกำหนดบุคคลในถิ่นอาศัย เลือกเสวนาสำเหนียกศึกศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้ทรงคุณมีศรัทธา ศีล จาะ ปัญญา สมชีวิตามีความเป็นอยู่เหมาะสม คือรู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายเลี้ยงชีวิตแต่พอดี มิให้ฝืดเคืองหรือฟูมฟาย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้ (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต น.๑๑๖)
๒.) ทิศหก ความหมายของคำ
พ่อแม่ ความหมายต่ำเตี้ยก็เป็นเพียงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เหมือนกับสัตว์ผู้สัตว์เมีย หรือต้นไม้ที่มีการสืบพันธุ์ทางเพศผู้เพศเมีย ทางสังคมสูงขึ้นมาพ่อแม่คือผู้รับผิดชอบต่อบุตร สูงขึ้นไปถึงอุดมคติพ่อแม่คือพระอรหันต์ประจำบ้านเรือน
บุตร ความหมายต่ำก็คือผลิตผลที่เกิดมาจากการสืบพันธุ์ ความหมายสูงขึ้นมาก็เป็นผู้ที่จะทำความปลื้มใจให้แก่พ่อแม่ด้วยการสืบสกุล ความหมายสูงสุดก็ว่าผู้ที่จะได้รับมรดกการเดินทางไปนิพพานต่อจากพ่อแม่ที่จะไปถึงให้ได้
ภรรยา ความหมายต่ำก็เป็นผู้สืบพันธุ์เหมือนพืชและสัตว์ ทางสังคมเอาไว้เป็นเครื่องช่วยบำบัดปัญหาต่าง ๆ ทางความรู้สึก เป็นเครื่องโอ้อวดกันบ้าง เป็นเครื่องแสวงหาความสุขอย่างโลก ๆ บ้าง ความหมายสูงสุด ภรรยาคู่ผัวตัวเมียนี้จะต้องเป็นผู้แบ่งเบาภาระหนักในการเป็นอยู่ในโลกนี้ เพื่อให้เกิดการศึกษาเข้าใจชีวิตในส่วนลึก เพื่อจะเบื่อหน่าย เพื่อจะพ้นจากโลก เพื่อจะไปเหนือโลกด้วยกัน ไม่ใช่เป็นเพื่อนลุ่มหลงกันอยู่ที่นี่ แต่เป็นเพื่อนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้มันก้าวหน้าไปในทางสูง
ครูบาอาจารย์ ไม่ใช่คนรับจ้างสอนหนังสือเป็นอาชีพ หรือใช้สติปัญญาเป็นสินค้าขายแก่กุลบุตรเอาเงินมาเลี้ยงชีวิต ครูบาอาจารย์ต้องเป็นผู้นำทางฝ่ายวิญญาณเพื่อไปนิพพานในระยะเริ่มต้น
ญาติมิตร ไม่ใช่เพื่อนกินเหล้า เพื่ออบายมุขหาความเพลิดเพลินให้แก่กิเลส มันต้องเป็นเพื่อนช่วยเหลือกันและกันในหน้าที่การงานของมนุษย์ ความหมายสูงสุดก็เดินเคียงข้างกันไปเรื่อยกว่าจะถึงนิพพาน
สมณพราหมณ์ ไม่ใช่คนขอทานกินอาหารของชาวบ้านฟรี เอาเปรียบผู้อื่น เป็นกาฝากสังคมเหมือนที่เขาพูดกัน ความหมายที่เขาใช้กันอยู่เดี๋ยวนี้กลายเป็นเอาไว้ไหว้ เอาไว้ทำพิธีเสียมากกว่า แต่ความหมายสูงสุดต้องเป็นผู้นำหรือผู้ยกสถานะทางวิญญาณ ในระดับสูงสุดของโลกไม่ใช่ของเราคนเดียว
บ่าวไพร่ ไม่ใช่บุคคลที่เราจะทำนาบนหลังเขา ต้องเป็นผู้ที่มีไว้สำหรับให้เกิดประโยชน์ร่วมกันตามที่ว่ากรรมมันจำแนกคน สัตว์ทั้งหลาย เพราะว่ากรรมเป็นผู้จัดให้เกิดชั้นวรรณะขึ้นมาโดยธรรมชาติไม่ใช่คนจัด  เพราะฉะนั้นคนจึงเกิดมามีกรรมมาก มีบาปมาก มีพิกลพิการ ด้อยสติปัญญามันก็เป็นชั้น มันจะมีอยู่เหมือนกันไม่ได้ คนที่ด้อยสมรรถภาพ ไร้สติปัญญามาโดยธรรมชาติ มาโดยกำเนิด ทางสติปัญญาก็ตาม ทางร่างกายก็ตาม ต้องช่วยเขาด้วยความเคารพเหมือนกับไหว้ (น.๕๐๔–๕๐๖)
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:47:21 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส

หลักปฏิบัติต่อทิศหก
ปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า คือ ทิศตะวันออก ได้แก่ บิดามารดา เพราะเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก่อน
ก.บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ดังนี้
ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
ช่วยทำการงานของท่าน
ดำรงวงศ์สกุล
ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน
ข.บิดามารดาย่อมอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้...................
ห้ามปรามจากความชั่ว
ให้ตั้งอยู่ในความดี
ให้ศึกษาศิลปวิทยา
หาคู่ครองที่สมควรให้
มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร
ทักษิณทิศ (ทิศเบื้องขวา คือ ทิศใต้ ได้แก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลควรแก่การบูชาคุณ
ก.ศิษย์พึงบำรุงครูบาอาจารย์ ผู้เป็นทิศเบื้องขวาดังนี้
ลุกต้อนรับ
เข้าไปหา (เพื่อบำรุง คอยรับใช้ ปรึกษา ซักถาม และรับคำแนะนำ เป็นต้น)
ใฝ่ใจเรียน (คือมีใจรัก เรียนด้วยศรัทธา และรู้จักฟังให้เกิดปัญญา)
ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ (คือเอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ)
ครูอาจารย์ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้
ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ
สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนฝึกให้รู้จักเลี้ยงตัวรักษาตนในอันที่จะดำเนิน
ชีวิตต่อไปด้วยดี รับรองความรู้ความประพฤติให้เป็นที่ยอมรับในการไปประกอบ
อาชีพเป็นอยู่ได้ด้วยดี)
ปัจฉิมทิศ (ทิศเบื้องหลัง คือ ทิศตะวันตก ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะมีขึ้นภายหลังและคอยเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง
ก.สามีพึงบำรุงภรรยา ผู้เป็นทิศเบื้องหลัง ดังนี้
ยกย่องให้เกียรติสมกับฐานะที่เป็นภรรยา
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:47:34 »


ไม่ดูหมิ่น
ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส
ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี ดังนี้.......
จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
ไม่นอกใจ
รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง
อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย คือ ทิศเหนือ ได้แก่ มิตรสหาย เพราะเป็นผู้ช่วยให้ข้ามพ้นอุปสรรคภัยอันตราย และเป็นกำลังสนับสนุนให้บรรลุความสำเร็จ
บุคคลพึงบำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย ดังนี้
เผื่อแผ่แบ่งปัน
พูดจามีน้ำใจ
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
มิตรสหายย่อมอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร
หฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน เพราะเป็นผู้ช่วยทำการงานต่าง ๆ เป็นฐานกำลังให้)
นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นทิศเบื้องล่าง ดังนี้
จัดการงานให้ตามความเหมาะสมกับกำลังความสามารถ
ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ได้ของแปลก ๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
ให้มีวันหยุดและพักผ่อนใจตามโอกาสอันควร
คนรับใช้และคนงานย่อมอนุเคราะห์นาย ดังนี้
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:47:47 »


เริ่มทำงานก่อนนาย
เลิกงานทีหลังนาย ถือเอาแต่ของที่นายให้ ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่
อุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์ คือ พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรมและเป็นผู้นำทางจิตใจ
ก.คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นทิศเบื้องบน ดังนี้
จะพูดจะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา ต้อนรับด้วยความเต็มใจ อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔
พระสงฆ์ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
ห้ามปรามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ให้ได้ฟังสิ่งยังไม่เคยฟัง
ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บอกทางสวรรค์ คือทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญให้
ผู้ปฏิบัติดังกล่าวนี้ชื่อว่า ปกปักรักษาทั่วทุกทิศให้เป็นแดนเกษมสุขปลอดภัย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตโต น.๑๙๑–๑๙๖
ขั้นกลาง
ปุญญาภิสันทะ ท่อธารเป็นที่ไหลออกแห่งบุญ - โสตาปัตติยังคะ คือองค์ปฏิบัติที่จะช่วยให้เป็นโสดาบัน
พุทธอเวจจัปปสัทธา - ความเชื่อที่แน่นแฟ้น ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนในพระพุทธเจ้า
ธัมมอเวจจัปปสัทธา - ความเชื่อที่แน่นแฟ้น ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนในพระธรรม
สังฆอเวจจัปปสัทธา - ความเชื่อที่แน่นแฟ้น ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนในพระสงฆ์ อริยกันตศีล - ศีลที่รักษาได้ดีจนเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้าเป็นที่ไหลออกแห่งบุญ เรื่อยไป จนกระทั่งสูงขึ้นไปพร้อมที่จะเป็นพระโสดาบัน (น.๗๒–๗๓)
ขั้นสูง สุญญตัปปฏิสังยุตตา ธรรมะที่เนื่องเฉพาะด้วยสุญญตา  ตามพุทธภาษิตที่ว่า
เย เต สุตฺตนฺตา สุฺตปฺปฏิสํยุตฺตา – สุตตันตะทั้งหลายเหล่าใด ประกอบพร้อมเฉพาะด้วยสุญญตา ; ตถาคตภาสิตา – อันตถาค
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:48:04 »

http://img34.imageshack.us/img34/8122/buddah.jpg
หนังสือชุดคู่มือฆราวาส

ประกาศแล้ว คมฺภีรา – ลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา – มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา – เหนือโลก นี้จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ฆราวาสทั้งหลายตลอดกาลนาน

พูดเป็นสำนวนไทยว่า
แบบฉบับของคำสอนเหล่าใด ที่เนื่องอยู่กับเรื่องสุญญตา แบบฉบับเหล่านั้น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ฆราวาสทั้งหลาย ตลอดกาลนาน (น.๒๒๔–๒๒๕)
คนเราจะอยู่ในโลกซึ่งมีแต่ความบ้าหลังมากขึ้นทุกที ๆ นั้น จะอยู่ใต้ฝ่าเท้ามันดีหรืออยู่บนศีรษะมันดี คิดดูให้ดีในข้อนี้ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงตรัสเช่นที่ยกมาไว้ข้างบนนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “โลกุตตรา” ซึ่งแปลว่า เหนือโลก คนที่หลงใหลในเรื่อง กิน กาม เกียรติ อย่างเป็นบ้าเป็นหลังจนมีความวิปริตในเรื่องนี้นั้น ถึงอย่างไรก็คงจะฟังเรื่องนี้ไม่เข้าใจ แต่คนธรรมดาสามัญคงพอจะฟังออก ที่ว่าเราจะต้องพยายามอยู่เหนือความครอบงำของโลกให้มากที่สุดที่จะมากได้ไว้เสมอไป มิฉะนั้นจะอยู่อย่างตกนรกทั้งเป็นตลอดกาล
พระพุทธองค์ทรงหมายความว่า สุตตันตะที่ตื้น ๆ สนุกสนานเข้ากับความเห็นแก่ตัวของคนเรานั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหาตกนรกทั้งเป็นได้ ต้องสุตตันตะหรือธรรมะที่ลึกพอ ที่จะช่วยให้ไม่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของโลกได้เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้ คำว่า “ฆราวาส” แปลว่าครองเรือน หมายความว่าต้องต่อสู้กับโลก เพื่อเอาชนะโลกให้ได้ในวัยหนุ่มหรือ “หัวค่ำ” แล้วจะต้องเอาชนะโลกหน้าให้ได้ใน “วัยดึก” แล้วชนะโลกทั้งปวงให้ได้ในเวลา “สว่างรุ่งขึ้น” ซึ่งหมายถึงการอยู่เหนือโลกนั่นเอง (น.[๒๑])


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/22.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

ธรรมมะบรรยาย....โดย พระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาส อินทปัญโญ

http://forums.212cafe.com/boxser/
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 21:32:01 »







(:LOVE:)สาธุ.........................สาธุ..........................สาธุ รัก



บันทึกการเข้า
คำค้น: หนังสือ คู่มือ ฆราวาส 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.612 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 06 พฤศจิกายน 2567 23:56:53