วัดมเหยงคณ์วัดมเหยงคณ์ ในปัจจุบันเป็นอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ
ที่เคยรุ่งเรืองสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยอยุธยา
ถึงแม้ปัจจุบันเป็นวัดร้าง สภาพโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่หักพังเสียหายไปมาก
แต่พอมีเค้าพอเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปการก่อสร้างอันประณีต งดงามมโหฬาร
และระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
ประวัติที่มา ของชื่อ “วัดมเหยงคณ์” สันนิษฐานว่ามีที่มาดังนี้
เนื่องจากคำว่า “มเหยงคณ์” มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า “มหิยังค์”
(แผลงสระอิ เป็นสระเอ จะได้คำว่า มเหยงคณ์)
ซึ่งแปลว่า ภูเขา หรือเนินดิน หรืออาจตั้งชื่อตามสถานที่ในลังกา คือ “มหิยังคเจดีย์”
(ซึ่งนำมาเป็นแบบสร้างเจดีย์ช้างล้อมในวัดมเหยงคณ์)
วัดมเหยงคณ์ สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ หลักฐานสำคัญที่สอดคล้องกับสมัยการสร้างคือ ลักษณะทางศิลปกรรม
ของเจดีย์ทรงระฆังที่มีรูปช้างรอบฐาน ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับแบบอย่างในเจดีย์ช้างล้อม
ในศิลปะสุโขทัย
พ.ศ. ๒๒๕๒ ในแผ่นดินของพระเจ้าท้ายสระ มีการปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ที่วัดนี้
พระองค์เสด็จมาทอดพระเนตรการนั้นเนืองๆ รวมทั้งโปรดมาประทับสำราญพระราชหฤทัย
เช่นทรงเบ็ดในหน้าน้ำ เข้าใจกันว่าซากตำหนักสองชั้นซึ่งอยู่ด้านใต้นอกกำแพงวัด
อาจสร้างขึ้นมาสำหรับเป็นที่ประทับ
วัดมเหยงคณ์มีฐานะเป็นพระอารามหลวงฝ่าอรัญญาวาสี ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
เพราะพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงโปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์ และอยู่ห่างไกลจากพระนคร
พระสงฆ์ปฏิบัติทางวิปัสสนาธุระ เจ้าอาวาสมีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมกิจ
(เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันชื่อ พระครูเกษมธรรมทัต หรือ หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
จริง ๆ แล้วประวัติวัดมเหยงคณ์นั้นมีมาก นับแต่อดีต
ถ้าใครต้องการทราบประวัติของวัดโดยละเอียด
สามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร (Microsoft WORD) ไปอ่านเพิ่มเติมได้
>> คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด <<