22 ธันวาคม 2567 18:42:57
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
.:::
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ’แพ้ชนะถึงที่สุดแล้วก็เป็นสุญญตา’
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ’แพ้ชนะถึงที่สุดแล้วก็เป็นสุญญตา’ (อ่าน 2255 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์
เพศ:
United Kingdom
กระทู้: 7866
• Big Bear •
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ’แพ้ชนะถึงที่สุดแล้วก็เป็นสุญญตา’
«
เมื่อ:
20 มิถุนายน 2553 23:30:41 »
Tweet
[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]
ในงาน เปิดประตู…สวนโมกข์กรุงเทพฯ นั้น ผมมีโอกาสได้ดูบางตอนจากปาฐกถาของอาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล มีที่สะดุดใจอยู่หลายตอนครับ พยายามหาเรื่องเกี่ยวกับปาฐกถานี้มาสัปดาห์หนึ่งแล้ว เพิ่งเจอที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจครับ
ความรักบ้านรักเมืองไม่จำเป็นต้องแสดงออกด้วยชัยชนะเหนือคู่แข่งอย่างเดียว บางครั้งการยอมแพ้กลับเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่กว่า แสดงความรักบ้านรักเมืองได้มากกว่า
”
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ :
พรชัย จันทโสก : รายงาน
คงไม่บ่อยครั้งนักที่ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสถานการณ์การเมืองขณะนี้ และที่ผ่านมาดูเหมือนจะเก็บเนื้อเก็บตัวไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ ความยัดแย้งที่ถาโถมอยู่ทุกวันนี้สักเท่าไร
แต่ล่าสุดในงาน เปิดประตู…สวนโมกข์กรุงเทพฯ ที่จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2551 ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ อันถือเป็นวันรวมปราชญ์เมธีระดับประเทศและลูกศิษย์ลูกหาท่านพุทธทาส อินทปัญโญ โดยภายในงานมีปาฐกถาเกียรติยศชุด พุทธธรรมนำไทยพ้นวิกฤติ นำโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี), ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล พร้อมด้วย ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย และอานันท์ ปันยารชุน เป็นผู้ปรารภเปิดปาฐกถา
แม้ว่า ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จะออกตัวก่อนว่าการปาฐกถาหัวข้อเรื่อง
อำนาจแห่งความว่าง-ความว่างแห่งอำนาจ
นี้ประเด็นหลักมุ่งเรื่องธรรมะ ไม่ยุ่งการเมือง แต่เอาเข้าจริงๆ หลายประเด็นกลับเป็นเรื่องที่นักการเมืองเองต้องนำไปขบคิด เพราะอย่างน้อยก็เกี่ยวโยงกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“
การพูดถึงหลักธรรมไม่ได้หมายความว่าต้องตัดเรื่องทางโลกทิ้งไป เพราะธรรมะโอบอุ้มโลกทั้งโลกไว้แล้วในฐานะกฎเกณฑ์ที่ดำรงอยู่โดยธรรมชาติ เราจะเข้าใจธรรมะได้ก็โดยผ่านการพิจารณาประสบการณ์ทางโลกเป็นสำคัญ
‘ปรมัตถ์สัจจะ’ กับ ‘สมมุติสัจจะ’ แม้จะเป็นความจริงต่างระดับแต่ก็เกี่ยวโยงกัน ดังนั้น ที่ผมกล่าวว่าจะต้องพูดเรื่องธรรมะเท่านั้น จึงไม่ได้หมายถึงการตัดเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ออกไป หากหมายถึงการพิจารณาเรื่องราวทั้งหลายประดามีโดยผ่านมุมมองของหลักธรรม” ดร.เสกสรรค์ กล่าว
จากนั้นได้ยกหลัก ธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาสที่เคยกล่าวไว้ว่า ‘ธรรมะที่ลึกที่สุดคือเรื่อง สุญญตา หรือ ความว่าง นอกนั้นเป็นเรื่องตื้นเขิน’
“ถามว่า ‘ความว่าง’ หรือ ‘สุญญตาธรรม’ คืออะไร? ผมจะขออนุญาตทบทวนสั้นๆ ดังนี้ว่าความว่างในภาษาธรรมไม่ได้หมายถึงความว่างเปล่าโล่งเตียนไม่มีอะไร เลยตามที่เข้าใจกันในภาษาสามัญ หากหมายถึงสภาพความจริงที่สรรพสิ่งในโลกล้วนอิงอาศัยกัน เกิดอยู่และมีอยู่ ด้วยเหตุนี้แต่ละสิ่งจึงปราศจากแก่นสารในตัวเอง (self-nature) หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือไม่มีอัตลักษณ์แยกต่างกัน (separate identity)
การไม่มีแก่นสารในตัวเองภาษาสันสกฤตเรียกว่าไม่มี ‘สวภาวะ’ แต่ข้อนี้ไม่ได้หมายความว่าสิ่งทั้งหลายในโลกไม่มีอยู่จริง หากมีอยู่โดยสัมพัทธ์และสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ไม่มีสิ่งใดอุบัติขึ้นได้โดยอิสระ”
กล่าวอีกแบบนัยยะหนึ่งสุญญตาหมายถึงสภาพความเป็นจริงที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามเหตุปัจจัย และหมายถึงความจริงแบบองค์รวมมากกว่าความจริงแบบแยกส่วน หลายคงจะนึกออกทันทีว่าหลักธรรมเรื่องความว่างนั้นเกี่ยวโยงกับคำสอนของ พระพุทธองค์เรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท จนแทบเป็นเนื้อเดียวกัน
พร้อมทั้งอธิบายว่า
“การที่คนมองไม่เห็นสุญญตา ทำให้ชอบแบ่งโลกออกเป็นคู่ขัดแย้งต่างๆ ชอบบัญญัติลงไปว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนั้นชั่ว สิ่งนี้สวยสิ่งนั้นอัปลักษณ์ สิ่งนี้บริสุทธิ์สิ่งนี้มีมลทิน ฯลฯ การมองโลกแบบ ‘ทวิภาวะ’ เช่นนี้แท้จริงแล้วมักผูกโยงอยู่กับ ‘อัตตา’ ซึ่งนำไปสู่การปะทะกันขัดแย้งอยู่เนืองๆ เพราะต่างฝ่ายต่างอยากกำหนดความเป็นไปของโลกด้วยปัจจัยเดียวคือตัวเอง และโทษผู้อื่นเป็นต้นเหตุโดดๆ แบบไม่มีที่มาที่ไป
แต่กฎแห่งความว่างเป็นกฎเหล็ก ละเมิดแล้วก็มีแต่หาทุกข์ใส่ตัว ตรงนี้เองคืออำนาจแห่งความว่าง…อำนาจแห่ง ‘พระเจ้าอิทัปปัจจยตา’
ความจริงของโลกคือภาวะแยกเป็นคู่ๆ แบบขาวล้วนดำล้วนนั้น เป็นแค่เรื่องสมมุติ เป็นบัญญัติทางโลกที่อาจทำได้กระทั่งมีประโยชน์ หากอยู่ในระดับพอเหมาะพอสมไม่ยึดติด อีกทั้งรู้เท่าทันมัน แต่ถ้าใครก็ตามพาทัศนะเช่นนี้เตลิดไปอย่างไร้ขอบเขต สุดท้ายย่อมติดกับอยู่กับความขัดแย้งชนิดหาทางออกไม่ได้ ทั้งขัดแย้งในตัวเองและขัดแย้งกับผู้อื่น”
ด้วยเหตุนี้ การหยั่งเห็นความว่างจึงเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดกับหลักธรรมสำคัญอีกเรื่อง หนึ่งซึ่งได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา หรือที่เราเรียกกันว่าทางสายกลางนั่นเอง
“ธรรมข้อนี้ไม่ได้หมายถึงทางที่อยู่ตรงกลางระหว่างทางสองสาย ไม่ได้หมายถึงทรรศนะไม่เลือกข้างเพื่อเอาตัวรอด และยิ่งไม่ใช่หมายถึงการหาประชามติจากคนกลางๆ ที่ไม่ได้เป็นคู่ความขัดแย้ง กล่าวอย่างรวบรัดที่สุด ‘มัชฌิมาปฏิปทา’ หมายถึง การถอนอุปาทานจากความคิดสุดโต่งทั้งปวง หมายถึงการมองเห็นสมมุติของทวิภาวะ เห็นความไม่จริงของบัญญัติต่างๆ ที่ผู้คนมักยกอ้างมาขัดแย้งกัน
ยกตัวอย่างเช่นในเวลานี้ พี่น้องชาวไทยเราจำนวนหนึ่งกำลังถูกพัดพาให้ไปยึดถือบัญญัติว่าอะไรเป็น ประชาธิปไตย อะไรไม่ใช่ประชาธิปไตย แล้วเถียงกันเอาเป็นเอาตายโดยลืมไปว่าทั้งหมดเป็นแค่ ‘สมมุติสัจจะ’ เป็นความจริงสัมพัทธ์ที่ขึ้นต่อนานาปัจจัยและไม่มีอันใดเที่ยงแท้ถาวร อย่างนี้เรียกว่าติดกับอยู่ในทวิภาวะซึ่งเป็นบ่วงทุกข์อันหนักหน่วง และคงเปลื้องทุกข์ไม่ได้ถ้าไม่ถอนตัวกลับมาสู่มัชฌิมาปฏิปทา”
นักวิชาการด้านพุทธศาสนาท่านหนึ่งได้เขียนไว้ว่า ‘จิตที่ติดอยู่ในข่ายความคิดนั้นเป็นความหลง ภาษาพระเรียก สัญญาวิปลาส ซึ่งไม่ได้หมายถึงอาการบ้า แต่หมายถึงการยึดติดความคิดบางอย่างที่เนื่องกับอัตตา เป็นการสนับสนุนอัตตาในระดับเหตุผล’
“เนื่องจากผมอยู่ในแวดวงปัญญาชนมานาน เคยเห็นคน ‘คลอดลูก’ เป็นความคิดมามาก อีกทั้งหวงความคิดของตนราวลูกในอุทร ใครแตะไม่ได้ ใครค้านไม่ได้ ผมเองก็เคยหลงอยู่ในกับดักเช่นนี้ เคยออกอาการสัญญาวิปลาสอยู่พักใหญ่เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าความคิดสุดโต่งว่าจะมาจากขั้วไหน ล้วนหนีไม่พ้นเรื่องของอัตตา ตราบใดที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลยึดถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ไม่ยอมถอนอุปาทานจากทวิภาวะ ความขัดแย้งก็จะดำเนินไปสู่ความรุนแรง เกิดเป็นความทุกข์ในรูปใดรูปหนึ่งจนได้ จะว่าไปนี่ก็นับเป็นการแสดงอำนาจอีกแบบหนึ่งของสุญญตาที่ลงโทษลงทัณฑ์ผู้ ละเมิดกฎ”
ในวิถีสู่ความหลุดพ้นตามหลัก ธรรมนั้น อันดับแรกของมรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เรื่องนี้หากนำมาศึกษาประกอบกับหลักธรรมเรื่องสุญญตา ปฏิจจสมุปบาท และมัชฌิมาปฏิปทา ก็จะสรุปได้ไม่ยากว่าสัมมาทิฏฐิคือการก้าวพ้นทิฏฐิ (ความเห็นหรือทฤษฎี) นั่นเอง
“อันที่จริงการก้าวพ้นทิฏฐิหรือทัศนะเป็นเรื่องเดียวกับการก้าวพ้นทวิภาวะ ดังท่านจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ การติดค้างอยู่ในทวิภาวะในบ้านเราทำให้มีการผลิตทัศนะความคิดเห็นออกมาอย่าง มากมายเหลือเชื่อ มีผู้แสดงถ้อยแถลงแข่งกันอย่างต่อเนื่องนับเป็นร้อยวัน ซึ่งถ้ายังออกจากความขัดแย้งไม่ได้ การสร้างทฤษฎี(ทิฏฐิ)โจมตีฝ่ายตรงข้ามก็คงจะดำเนินต่อไปอีก ดังนั้นใครก็ตามที่อยากจะแก้ปัญหาความขัดแย้ง คงต้องขอให้คู่กรณีหยุดพูดหรือหยุดผลิตความคิดเห็นสักพักหนึ่งก่อน อันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นก้าวแรกที่จะออกจากสัญญาวิปลาส”
การหยั่งถึงความว่างจะทำได้ยากยิ่ง หากไม่มีการหยุดพูดหยุดโต้แย้งกัน…“ความเงียบ บ่อยครั้งไม่ได้หมายความว่าเป็นการสยบยอม หรือไม่มีวิจารณญาณ หากเป็นการตั้งมั่นอยู่ในสัมมาสติ เพื่อพิจารณาความเป็นไปของสรรพสิ่งอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่นในสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติการเมืองอยู่ในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังครองตนอยู่ในความนิ่งเงียบ แต่ความเงียบเช่นนี้แท้จริงแล้วอาจดังกึกก้องเหมือนฟ้าคำราม ผู้ใดอ่านสัญญาณไม่ออก กระทำการผลีผลามย่ามใจ ก็เท่ากับหาทุกข์ใส่ตัว”
จากการที่ตั้งหัวข้อปาฐกถา อำนาจแห่งความว่าง ความว่างแห่งอำนาจ นั้น ไม่ใช่เรื่องเล่นสำนวนแม้แต่น้อย หากดึงมาจากเนื้อหาความเป็นไปของโลกที่เกี่ยวโยงกันอย่างแท้จริง แต่ปัญหามีอยู่ว่าถ้าผู้ปกครองหรือผู้ถืออำนาจการเมืองหยั่งไม่ถึงสุญญตา แห่งอำนาจแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?
“เรื่องนี้ถ้าจะให้ผมตอบอย่างกำปั้นทุบดินก็คงต้องบอกว่าผู้กุมอำนาจท่านนั้นคงจะ อยู่ได้ไม่นาน ไม่ช้าก็เร็วก็คงถูกกฎเหล็กแห่งอิทัปปัจจยตาเล่นงานเอาจนเสียผู้เสียคนไป”
ท่านอาจารย์พุทธทาสเคยสอนไว้ว่า การเมืองต้องไม่แยกออกจากธรรมะและนักการเมืองที่แท้จริงจะต้องเป็นนักการ เมืองโพธิสัตว์หรือนักการเมืองของพระเจ้า (อิทัปปัจจยตา) ซึ่งมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น หายใจเป็นประโยชน์ของผู้อื่น
“ในเมื่ออำนาจเป็นปรากฏการณ์แห่งความว่าง ผู้กุมอำนาจก็ควรหยั่งถึงความว่างในดวงจิตของตนด้วย ใครก็ตามที่นำอัตตาตัวตนขึ้นสู่เวทีอำนาจ ใครก็ตามที่นำผลประโยชน์ส่วนตัวขึ้นสู่เวทีอำนาจ และยืนยันผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเอก ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ หรือสรรเสริญ ท้ายที่สุดแล้วก็จะไปไม่รอดทั้งสิ้น เพราะกฎแห่งอำนาจเป็นกฎเดียวกับอิทัปปัจจยตา
ถึงตรงนี้ ผมคงต้องอธิบายเล็กน้อยว่าการต้านอำนาจนั้นถือเป็นการแสดงอำนาจชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ต้องอยู่ภายใต้กฎอิทัปปัจจยตาเช่นกัน มีสภาพเป็นความว่างเช่นเดียวกัน ดังนั้นใครก็ตามที่คิดจะตั้งศูนย์อำนาจใหม่หรือต่อต้านอำนาจเก่า ควรจะต้องรู้ว่าอำนาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และอิงอาศัยนานาปัจจัย อำนาจไม่ได้บรรจุอยู่ในอาคารสถานที่ การยึดอำนาจรัฐไม่ได้เกิดจากการยึดตัวอาคารหากจะต้องยึดครองที่หัวใจคน”
ถ้าเข้าใจอำนาจแห่งความว่างและเข้าถึงความว่างแห่งอำนาจ ก็จะรู้ว่าการขัดแย้งทางการเมืองล้อมรอบสมมุติสัจจะนั้น ควรจะมีขอบเขตอยู่ตรงไหนและอาศัยวิธีการเช่นใด
“ถ้าเราหยั่งถึงอิทัปปัจจยตา (หรือปฏิจจสมุปบาท) ก็จะมองเห็นว่าความรักบ้านรักเมืองไม่จำเป็นต้องแสดงออกด้วยชัยชนะเหนือคู่ แข่งอย่างเดียว บางครั้งการยอมแพ้กลับเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่กว่า แสดงความรักบ้านรักเมืองได้มากกว่า เหมือนมารดาพร้อมยกบุตรให้ผู้อื่นในยามที่ตัวเองดูแลปกป้องไม่ได้ แพ้ชนะถึงที่สุดแล้วก็เป็นสุญญตา ไม่มีความจริงยอมรับ มีแต่เราเองไปบัญญัติมันขึ้นมา
ถ้าพูดกันตามหลักรัฐศาสตร์ อำนาจนั้นเปลี่ยนมือได้เสมอ ถ้าผู้ปกครองไม่สามารถแก้ปัญหาให้ผู้อยู่ใต้การปกครองได้ หรือมีวิกฤติฉันทานุมัติอย่างต่อเนื่อง แต่เปลี่ยนแล้วจะดีขึ้นหรือไม่ ยังไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวเสมอไป มันขึ้นอยู่กับผู้นำการเปลี่ยนแปลงว่ามีปัญญาญาณมากน้อยเพียงใด คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันในทิศทางของการเปลี่ยนแปลงแค่ไหน หากสังคมยังไม่เห็นพ้องต้องกันในทิศทางการเปลี่ยนแปลง การล้มลงของระบอบเก่าหรืออำนาจเก่าก็รังแต่จะนำไปสู่สภาพกลียุคและ อนาธิปไตย”
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ บางครั้งอำนาจใหม่กลับฆ่าคนเสียยิ่งกว่าอำนาจเก่าที่ล่มสลายเนื่องจากทิฏฐิ ที่ยึดติดในการเปลี่ยนแปลง และไม่ต้องการรอคอยให้ผู้คนเห็นด้วย เรื่องเช่นนี้เคยเกิดมาแล้วในหลายประเทศ ซึ่งควรถือเป็นบทเรียน
“ดังนั้น ในทัศนะของท่านอาจารย์พุทธทาส ระบอบการเมืองแบบไหนยังไม่สำคัญเท่ากับว่ามีธรรมะหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีธรรมะ ถึงอย่างไรก็สร้างสันติสุขให้บังเกิดมิได้ และท่านถือว่าภาวะไร้สันติภาพเป็นปัญหาร้ายแรงที่สุดของมนุษย์ การไม่ได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขนับเป็นเคราะห์กรรมอย่างยิ่งของแผ่นดิน ด้วยเหตุนี้ ความพยายามที่จะรักษาระบอบการเมืองก็ดี ความพยายามที่จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองก็ดี จึงไม่อาจสำเร็จได้ด้วยความชัง ไม่อาจใช้โลภะ โทสะ โมหะ มาขับเคลื่อน เราจะสร้างสังคมที่สันติสุขได้อย่างไร หากวิธีการขัดแย้งกับจุดหมายเสียตั้งแต่ต้น สำหรับชาวพุทธแล้วมรรควิถีมีค่าเท่ากับจุดหมายปลายทาง”
ก่อนที่ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล จะกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า…
“วันนี้ ผมได้เอ่ยถึงปรมัตถ์สัจจะไว้ในแทบทุกวรรคตอน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่ผมพูดเป็นปรมัตถ์สัจจะ แท้จริงแล้วมันเป็นแค่ความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับปรมัตถ์ธรรมมากกว่า และเช่นเดียวกับความคิดเห็นของผู้คนในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดที่ผมพูดมาจึงเป็นแค่สมมุติเท่านั้นเอง”
http://lanpanya.com/wash/archives/238
บันทึกการเข้า
B l a c k B e a r
: T h e D i a r y
คำค้น:
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
สุญญตา
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
กำลังโหลด...