[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 11:50:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสุข : คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด  (อ่าน 4313 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 มิถุนายน 2553 20:03:04 »

มาติเยอ ริการ์ ผู้เขียน
ความสุข : คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด
เป็นใครนั้นไม่ใคร่สำคัญเท่าคำถามที่ว่า
เด็กหนุ่มที่น่าอิจฉาในสังคมชั้นสูงกรุงปารีส เลือกใช้ชีวิตในหุบเขาห่างไกล
เลือกถ้ำภาวนา แทนห้องทดลองนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลได้อย่างไร

เพื่อคลายข้อข้องใจ ขอเชิญสู่บทกล่าวเกริ่นเปิดหนังสือเล่มดังกล่าว ณ บัดนี้

ตอนอายุยี่สิบปี ผมคิดแต่สิ่งที่ชีวิตผมไม่ได้ต้องการ
คิดถึงแต่ชีวิตที่ไร้ความหมาย – แต่ก็นึกไม่ออกว่าจริงๆ แล้วผมต้องการอะไร
ชีวิตวัยรุ่นของผมห่างไกลจากความน่าเบื่อหน่าย ผมจำได้ว่าตอนอายุสิบหกปี
ผมตื่นเต้นแค่ไหนเมื่อมีโอกาสร่วมกับเพื่อนซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวไปรับประทานอาหารกลางวันกับอีกอร์ สตราวินสกี้ ผมดื่มด่ำกับทุกถ้อยคำที่เขาพูด เขาเขียนลายเซ็นบนแผ่นโน้ตดนตรี อากอน (Agon) บทเพลงที่ตอนนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
แต่ผมชอบมากเป็นพิเศษ เขามอบให้ผมพร้อมกับข้อความว่า
“มาตีเยอ ผมขอมอบ อากอน บทเพลงที่ผมชอบมากๆ ให้คุณ”

[/FONT][/COLOR]
 
 
 
 
ผมไม่ขาดแคลนสิ่งน่าหลงใหลในแวดวงปัญญาชน
ที่พ่อแม่ของผมมีบทบาทอยู่ด้วย แม่ของผมคือ

ยาห์เน เลอ ทูเมแลง จิตรกรชื่อดังผู้มีชีวิตชีวา
ชีวิตเต็มไปด้วยบทกวีและมีน้ำใจไมตรีแก่เพื่อนมนุษย์ แม่เป็นเพื่อนกับศิลปินร่วมสมัยและจิตรกรเซอเรียลลิสม์หลายคน เช่น อังเดร เบรตัง, ลีโอนอรา คาร์ริงตัน,
และ มอริส เบจาร์ต ซึ่งแม่ได้เขียนฉากละครขนาดใหญ่ให้แก่เขาด้วย
และต่อมาแม่ได้บรรพชาเป็นแม่ชีในพุทธศาสนา

ส่วนพ่อของผมซึ่งใช้นามปากกาว่า ฌอง-ฟรังซัว เรอเวล
ได้กลายมาเป็นเสาหลักต้นหนึ่งของชีวิตปัญญาชนฝรั่งเศส พ่อได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งเป็นที่จดจำอย่างไม่รู้ลืม ให้แก่นักคิดผู้เก่งกล้าและมีจิตใจสร้างสรรค์ในยุคสมัยของท่าน เช่น หลุยส์ บูญูเอล, เอมมานูเอล ซิโอรัง นักปรัชญาผู้ทดท้อ, มาริโอ ซอเรส ผู้ปลดปล่อยปอร์ตุเกสจากแอกของลัทธิฟาสซิสม์, อองรี คาติเอร์ เบรซซอง ผู้ได้ชื่อว่าเป็นดวงตาแห่งศตวรรษ และคนอื่นๆ อีกมากมาย

ปี ๑๙๗๐ พ่อเขียนหนังสือเรื่อง
ไม่เอาทั้งมาร์กซ์และเยซู (Without Marx or Jesus)
ปฏิเสธอำนาจเผด็จการทั้งด้านการเมืองและศาสนา
หนังสือเล่มนี้ติดอันดับหนังสือขายดีในอเมริกาตลอดปีนั้น

 
 
ปี ๑๙๖๗ สถาบันปาสเตอร์จ้างผมซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มให้เป็นนักวิจัย
พันธุกรรมของเซลล์ ประจำอยู่ที่ห้องทดลองของฟรังซัว จาคอบ ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์เมื่อไม่นานมานี้ ที่ห้องทดลองนั้นผมทำงานกับผู้มีชื่อเสียง
ด้านชีววิทยาโมเลกุลหลายท่าน รวมถึง ฌาคซ์ โมนอด์ และ อังเดร ลวอฟฟ์
สองท่านนี้จะรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันทุกวัน พร้อมกับนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ที่โต๊ะส่วนกลางตรงมุมห้องสมุด ฟรังซัว จาคอบดูแลนักศึกษาปริญญาเอกอยู่แค่สองคน และหนึ่งในนั้นเขาจำกัดไว้เฉพาะเพื่อนที่ช่วยเหลือกันได้
เขารับผมไว้ไม่แค่เพราะผมมีผลงานในมหาวิทยาลัยเท่านั้น
แต่เพราะเขาได้ยินมาว่าผมมีแผนการจะสร้างฮาร์พซิคอร์ด
ความฝันซึ่งผมไม่เคยทำให้เป็นจริงได้
แต่ก็ทำให้ผมได้ทำงานอยู่ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ที่ใครๆ ก็อยากไปอยู่


 
 
นอกจากนี้ผมยังชอบดาราศาสตร์ ชอบการเล่นสกี การแล่นเรือใบ
และปักษาวิทยา ตอนอายุยี่สิบปี ผมตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการอพยพของสัตว์
ผมเรียนการถ่ายภาพจากเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นมืออาชีพด้านการถ่ายภาพสัตว์ป่า
ผมใช้เวลาตอนวันหยุดสุดสัปดาห์เที่ยวด้อมๆ มองๆ สังเกตนกเกร็บกับห่านป่า
ในบึงโซโลญ และบนหาดทรายชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก
ตอนฤดูหนาวผมไถลสกีเล่นอยู่ตามลาดเขาแอลป์ในแผ่นดินบ้านเกิด
พอถึงฤดูร้อนก็ท่องเที่ยวไปในมหาสมุทรกับเพื่อนๆ ของลุงฌาคส์-อีฟ เลอ ทูเมแลง
ซึ่งเป็นนักเดินเรือ และ ไม่นานหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติ
ท่านได้เดินทางรอบโลกคนเดียวไปกับเรือใบขนาดความยาวสามสิบฟุตที่ท่านต่อเอง ท่านแนะนำให้ผมได้รู้จักกับผู้คนพิเศษนานาประเภท มีทั้งนักผจญภัย นักสำรวจ
นักรหัสยนัย นักดาราศาสตร์ และนักอภิปรัชญา
วันหนึ่งเราไปเยี่ยมเพื่อนของลุง แต่พอไปถึงห้องทำงานของเขา
กลับพบแต่ข้อความสั้นๆ ที่เขาเขียนแปะไว้บนประตูว่า
“ขอโทษครับที่ไม่ได้เจอกัน ผมเดินเท้าไปที่ทิมบุคตู”

 
 
 
ชีวิตห่างไกลจากความน่าเบื่อ แต่ก็ขาดบางสิ่งที่เป็นสาระ
ตอนผมอายุยี่สิบหกปีและเอือมระอากับชีวิตที่ปารีส ผมตัดสินใจไปอยู่ที่ดาร์จีลิง
ใต้เงื้อมเงาเทือกเขาหิมาลัยที่ประเทศอินเดีย เพื่อศึกษากับอาจารย์ชาวธิเบตที่เก่งๆ

 
 
ผมมาถึงทางแพร่งนี้ได้อย่างไรกัน
ปัจเจกบุคคลที่โดดเด่นแต่ละคนที่ผมพบบนเส้นทางต่างมีอัจฉริยภาพเป็นของตนเอง ผมเคยนึกอยากจะบรรเลงเปียโนให้เก่งเหมือนเกล็น กูลด์
หรือเล่นหมากรุกให้ได้อย่างบอบบี้ ฟิชเชอร์
หรือมีพรสวรรค์ด้านกานต์กวีเหมือนโบเดอแลร์
แต่ผมไม่เกิดแรงบันดาลใจที่จะกลายเป็นเหมือนพวกเขาในระดับปุถุชน
แม้ว่าเขาเหล่านี้จะมีคุณสมบัติด้านศิลปะ ด้านวิทยาศาสตร์ และมีสติปัญญาอย่างสูงยิ่ง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการมีจิตใจเพื่อผู้อื่น เปิดใจให้แก่โลก ละตัวตน
และการมีชีวิตที่เบิกบานแล้วล่ะก็ ความสามารถของเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้วิเศษหรือด้อยไปกว่าความสามารถที่พวกเราทุกคนต่างมีกันอยู่แล้ว

 
 
ทุกสิ่งเปลี่ยนไปเมื่อผมได้พบกับมนุษย์ผู้โดดเด่นจำนวนหนึ่ง
ซึ่งเป็นตัวอย่างให้เห็นได้ว่าชีวิตที่เต็มเปี่ยมนั้นเป็นอย่างไร
ก่อนที่จะได้พบกับท่านเหล่านี้ ผมได้แรงบันดาลใจจากการอ่านผลงานของผู้ยิ่งใหญ่อย่างเช่น มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ และ โมหันทาส คานธี ที่คุณธรรมความเป็นมนุษย์ของท่านแท้ๆ ได้เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของตน

พอผมย่างเข้าสู่วัยยี่สิบปี
ผมได้ชมภาพยนตร์สารคดีที่เพื่อนของผมคือ อาร์โนด์ เดส์จาร์แดงส์ ได้ถ่ายทำเกี่ยวกับเรื่องราวของอาจารย์ทางจิตวิญญาณผู้ประเสริฐที่ต้องหลบหนีออกจากธิเบต หลังจากถูกจีนคอมมิวนิสต์รุกรานอย่างป่าเถื่อนโหดร้าย ปัจจุบันท่านเหล่านี้ได้ลี้ภัยอยู่ที่ประเทศอินเดียและภูฐาน ผมตะลึงไปกับภาพที่เห็น ท่านเหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันอย่างมากมาย แต่สิ่งที่ฉายออกมาจากทุกท่านละม้ายเหมือนกัน นั่นคือความงามจากภายใน พลังเมตตา และปัญญา ผมไม่สามารถไปพบโสกราตีส ไม่อาจไปฟังการสนทนาของเพลโต หรือนั่งอยู่แทบเท้านักบุญฟรานซิส แต่แล้วจู่ๆ ผู้มีคุณธรรมอย่างท่านเหล่านั้นราวๆ ยี่สิบกว่าคน ได้มาปรากฏอยู่ตรงหน้า
ผมใช้เวลาไม่นานตัดสินใจไปอินเดีย
เพื่อจะได้พบกับท่านเหล่านั้น

..........................................
suan-spirit.com

 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2553 20:04:25 »


 
 
 
สิ่งที่ผมค้นพบไม่ใช่ศรัทธาที่มืดบอด
แต่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตที่มั่งคั่งและปฏิบัติได้จริง
 
 
ผมจะบรรยายอย่างไรดีถึงตอนที่ผมได้พบกับกังยูร์ ริมโปโช เมื่อเดือนมิถุนายน ๑๙๖๗ ในกระท่อมไม้หลังเล็กๆ ห่างจากดาร์จีลิงออกไปไม่กี่ไมล์ ความดีภายในฉายประกายจากตัวท่าน ซึ่งนั่งหันหลังให้หน้าต่างที่มองไปเห็นทะเลเมฆ และเทือกเขาหิมาลัยสูงสง่าเหนือระดับน้ำทะเลกว่าสองหมื่นสี่พันฟุต ถ้อยคำไม่เพียงพอที่จะพรรณนาถึงความลึกซึ้ง ความสงบ และความเมตตาที่เปล่งจากกายท่าน ผมนั่งอยู่ตรงหน้าท่านตลอดวัน สามสัปดาห์เต็มๆ ประทับใจว่าผมได้กระทำสิ่งที่ผู้คนเขาเรียกกันว่า ทำสมาธิ หรือพูดอีกอย่าง คือมีสติอยู่ตรงหน้าท่าน พยายามดูสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความคิดของผมเอง
 
เมื่อกลับมาจากอินเดีย ในช่วงปีแรกที่กลับเข้าทำงานที่สถาบันปาสเตอร์นี้เองที่ผมประจักษ์ชัดว่า การพบกับกังยูร์ ริมโปเชนี้มีความสำคัญกับผมแค่ไหน ผมรู้ว่าผมได้พบความจริงที่เป็นแรงดลใจให้แก่ผมไปตลอดชีวิต ทำให้ชีวิตมีทิศทางและมีความหมาย การเดินทางไปอินเดียทุกฤดูร้อนระหว่างปี ๑๙๖๗-๑๙๗๒ นี้เองที่ทำให้ผมตระหนักว่า ทุกครั้งที่ไปถึงดาร์จีลิงผมลืมชีวิตในยุโรปไปอย่างหมดสิ้น และในทางกลับกัน เวลาที่เหลือตลอดปีที่สถาบันปาสเตอร์นั้น ความคิดของผมโบยบินไปที่หิมาลัยอยู่เนืองๆ กังยูร์ ริมโปเชอาจารย์ของผมแนะนำให้ผมเรียนจนจบปริญญาเอก ผมจึงไม่รีบร้อน ทั้งๆ ที่รอมาแล้วหลายปี แต่ผมก็ตัดสินใจได้ไม่ยาก คือกลับไปอยู่ในที่ที่ผมต้องการซึ่งผมไม่เคยเสียใจ
 
พ่อผิดหวังมากที่จู่ๆ ผมวางมือจากอาชีพที่ตอนแรกผมรู้สึกว่ามีอนาคต ยิ่งกว่านั้น การที่พ่อไม่เชื่อเรื่องศาสนา ท่านจึงไม่เห็นว่าพระพุทธศาสนาจะมีอะไรจริงจัง แต่แม้กระนั้นท่านก็เขียนไปถึงผมว่า “พ่อไม่ได้คัดค้าน แต่การศึกษาอย่างตรงไปตรงมาและไม่มีอคติ ทำให้พุทธศาสนามีฐานะโดดเด่นอยู่ท่ามกลางหลักศาสนาทั้งหลาย เป็นที่นับถือของนักปรัชญาตะวันตกที่พิถีพิถันบางคน” แม้ว่าหลายปีมาแล้วที่เราพ่อลูกไม่ได้พบกันบ่อยนัก แต่ท่านก็ได้มาเยี่ยมผมที่ดาร์จีลิง และต่อมาที่ภูฐาน และเรายังมีความใกล้ชิดกันเหมือนเดิม เมื่อผู้สื่อข่าวถาม ท่านจะตอบว่า “เมฆหมอกอย่างเดียวที่ขวางกั้นความสัมพันธ์ระหว่างเราก็คือเจ้าฤดูมรสุมของเอเชียนั่นเอง”
 
สิ่งที่ผมค้นพบไม่ใช่ศรัทธาที่มืดบอด แต่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตที่มั่งคั่งและปฏิบัติได้จริง เป็นศิลปะการมีชีวิตเพื่อผู้อื่น เป็นปรัชญาที่มีความหมาย เป็นการปฏิบัติทางจิตที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านในอย่างแท้จริง ตลอดสามสิบห้าปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยพบว่ามีความขัดแย้งกับวิญญาณความเป็นวิทยาศาสตร์ตามที่ผมเข้าใจ นั่นคือการแสวงหาความจริงที่ต้องวัดกันด้วยปริมาณและน้ำหนัก ผมได้พบกับมนุษย์ผู้มีความสุขอย่างยิ่ง จริงๆ แล้วสุขยิ่งกว่าที่เราเรียกกันว่าสุข เขาเหล่านี้เห็นลึกเข้าไปในความจริงและในธรรมชาติของจิต เขามีเมตตาต่อผู้อื่นอย่างเต็มเปี่ยม ผมได้เข้าใจด้วยว่า แม้ว่าบางคนมีความสุขมากกว่าคนอื่น แต่ความสุขนั้นก็ยังมีจุดอ่อน ยังไม่บริบูรณ์ และการจะไปถึงความสุขที่ยั่งยืนได้ต้องอาศัยทักษะ ด้วยการฝึกจิตอย่างต่อเนื่องและพัฒนาคุณธรรมของมนุษย์ เช่น ความสงบภายใน ความมีสติ และเมตตา
 
เครื่องปรุงที่ประกอบกันทำให้ผมได้พบวิถีสู่ชีวิตที่เต็มเปี่ยมมาถึงพร้อมๆ กันนั่นคือ วิธีคิดที่ลึกซึ้งมีเหตุผลและตัวอย่างของบุคคลผู้อุดมด้วยปัญญาทั้งในคำพูดและการกระทำ ไม่ใช่ลักษณะที่ “ทำตามที่ผมพูด แต่อย่าทำตามที่ผมทำ” ซึ่งบั่นทอนกำลังใจของผู้แสวงหาจำนวนมากจากทั่วโลก
 
ผมอยู่ที่ดาร์จีลิงต่อมาอีกเจ็ดปี ผมอยู่ใกล้ท่านกังยูร์ ริโปเชจนท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อปี ๑๙๗๕ จากนั้นผมก็ยังศึกษาและปฏิบัติสมาธิต่อไปในกระท่อมหลังเล็กๆ บนที่สูงเหนือวิหารแห่งนั้น ผมเรียนภาษาธิเบต ซึ่งตอนนี้เป็นภาษาที่ผมพูดในชีวิตประจำวันในโลกตะวันออก ตอนนั้นเองที่ผมได้พบกับครูท่านที่สองคือ ดิลโก เคียนเซ ริมโปเช ผมศึกษาอยู่กับท่านตลอดช่วงสิบสามปีที่ไม่อาจลืมทั้งที่ภูฐานและอินเดีย ท่านเป็นหนึ่งในดวงประทีปที่ส่องไสวในยุคสมัยของท่าน เป็นที่เคารพศรัทธาของทุกๆ คนนับแต่กษัตริย์แห่งภูฐานไปจนถึงชาวนาผู้ต่ำต้อย ท่านกลายเป็นอาจารย์ผู้ใกล้ชิดกับท่านทะไลลามะ และเป็นผู้หนึ่งที่การเดินทางด้านในได้นำท่านไปถึงความรู้สุดลึกล้ำ ที่ทำให้ทุกคนที่พบเห็นท่าน รู้ได้ว่าท่านคือน้ำพุแห่งเมตตาการุณย์และปัญญา
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2553 20:05:23 »

ความสุข: คำง่ายๆ ที่หากันไม่พบ
 
 
 
 
ห้วงเวลาที่ เศรษฐกิจ ซบเซา การค้าขายไม่คล่องตัว คนตกงานมากขึ้น คนในสังคมก็เรียกร้องหาความสุข เพื่อมาปลอบใจตนเอง

เราค้นหาความสุขกันตลอดเวลา

ลองดูที่ กูเกิ้ล มี เนื้อหาที่เกี่ยวกับ ความสุข ถึง ๒๒ ล้าน ๗ แสนรายการ , มีการค้นหาคำว่า ความสุข อยู่ ประมาณ ๑๔ ล้านการค้นหา มนุษย์ค้นหาทางที่นำไปสู่ความสุข ตั้งแต่ สมัยก่อนพุทธกาลแล้ว แต่สิ่งมนุษย์ได้รับเป็นความสุขจากภายนอก ยิ่งการตลาด วิทยาศาสตร์ พัฒนาขึ้นมากเท่าไร ความสุข ภายในยิ่งหายากขึ้นเท่านั้น

ช่วงนี้ผมกำลังเตรียมการพัฒนาองค์กรของผมไปสู่ การเป็นองค์กรแห่งความสุข ผมจึงตะลุยค้นหา เนื้อหาอันเกี่ยวข้องกับความสุข

ผมมีหลักการส่วนตัวว่า เราจะเป็นผู้สอนที่ดีไม่ได้ ถ้าไม่รู้จริง ผมจึงค้นคว้า หาวิธีที่เราจะค้นพบความสุข ผมกลับไปอ่านงานของ ท่านพุทธทาส ท่านติช นัท ฮันห์ และ ผู้รู้อีกมากในห้องสมุดที่บ้าน นอกจากนี้ก็ยังได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับ ความสุขอีกหลายเล่ม

หนึ่งในหลายเล่มที่อ่านแล้ว ต้องบอกว่า "ใช่เลย"ก็คือ งานชื่อ ความสุข -คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด ผลงานของ มาติเยอ ริการ์ ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ ปริญญาเอก เคยทำงานที่สถาบันปลาสเตอร์ที่ปารีส แปลเป็นไทยโดย สดใส ขันติพงศ์



หนังสือได้บรรยายอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อ่านง่าย และแปลได้ดี อ่านแล้วจะพบตนเอง พบความสุข ความเบิกบานภายในตนเอง ยิ่งถ้าเราได้ฝึกตามคำแนะนำของผู้เขียนยิ่งทำให้เรามีความสุขยิ่งขึ้น
 
รุส โซ่กล่าวไว้ว่า ทุกคนอยากเป็นสุข แต่การเป็นสุขนั้น แรกสุดต้องรู้ว่าความสุขคืออะไร

ในหนังสือ ยังกล่าวถึงวิธีการหาความสุขที่ถูกต้อง โดยยกภาษิต ธิเบตว่า
การแสวงหาความสุขจากภายนอกเปรียบเหมือนการนั่งรอแดดอยู่ในถ้ำที่หันไปทางทิสเหนือ

และยังได้กล่าวถึงวิธีดับทุกข์ ซึ่งก็อิงอริยสัจ๔ ในพุทธศาสนา ประกอบกับคำสอนที่ชี้ให้เห็นวิธีแก้ทุกข์ที่ดีเช่น
ถ้ามีทางเยียวยา แล้วจะทุกข์ไปทำไม ถ้าหมดทางเยียวยา ทุกข์แล้วจะได้อะไร
ผมลุยอ่านได้ครึ่งเล่มแล้ว ดีมาก คืนนี้จะลุยให้จบครับ
ลองไปหาดูนะครับ ที่ศ.หนังสือจุฬามีขาย หรือไปตาม URLด้านล่างก็ได้ครับ
 
http://www.suan-spirit.com/home_book.asp?group=2&prod_type=book&code=P-SM-0094
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 มิถุนายน 2553 20:09:02 »

คงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วสำหรับคำว่า "ความสุขสร้างได้"
 
 
(ยังไม่นับ อัจฉริยะสร้างได้ หรือ อริยะสร้างได้ ตามกระแส สร้างได้ ในบ้านเราตอนนี้)
 
 
และการสร้างความสุขนี้ เราสร้างให้ตัวเราเองได้
 
 
พร้อมสามารถให้เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทได้ด้วย
 
 
เรียกว่าพันธุกรรมของความสุข
 
 
 
 
 

พันธุกรรมของความสุข

 
 

จาก ความสุข : คู่มือพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญที่สุด


เขียนโดย มาติเยอ ริการ์


สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา

 
**คนเราเกิดมาพร้อมกับพันธุกรรมความสุข/ความทุกข์ใช่หรือไม่

**พันธุกรรมมีอิทธิพลกว่าปัจจัยทางจิตวิทยาอื่นๆ
รวมทั้งปัจจัยที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ในวัยทารก สภาพแวดล้อม และการศึกษาอย่างนั้นหรือ

**ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและอารมณ์จะปรับการแสดงออกของพันธุกรรมได้หรือไม่

**สมองของเรา ซึ่งเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ความยืดหยุ่นของสมองนั้น
สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้มากน้อยแค่ไหนและยาวนานเพียงใด

ประเด็นเหล่านี้มีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนในวงการวิทยาศาสตร์
คำตอบที่เป็นไปได้สายหนึ่ง

ได้จากการศึกษาฝาแฝดเหมือนที่ถูกแยกจากกันตั้งแต่แรกเกิด
ทั้งคู่มีหน่วยพันธุกรรมเหมือนกัน แต่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
อย่างสิ้นเชิง ฝาแฝดคู่นี้จะมีความเหมือนกันทางด้านจิตวิทยาได้มากน้อยเพียงใด
เราอาจเปรียบเทียบแง่มุมทางจิตวิทยาของลูกบุญธรรม
กับพ่อแม่แท้ๆ ของเขา และกับพ่อแม่บุญธรรม
ผลการศึกษาพบว่าในเรื่องของความโกรธ ความซึมเศร้า สติปัญญา
ความพึงพอใจในเรื่องทั่วๆ ไป โรคพิษสุราเรื้อรัง อาการทางประสาท
และปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง พบว่า
ฝาแฝดเหมือนที่ถูกแยกจากกันตั้งแต่แรกเกิด
มีลักษณะทางจิตวิทยาร่วมกันมากกว่าฝาแฝดเทียมที่เลี้ยงดูมาด้วยกัน

 
 
 
 
ทำนองเดียวกัน ในแง่จิตวิทยาแล้ว ลูกบุญธรรมจะมีลักษณะใกล้เคียงกับพ่อแม่แท้ๆ
ที่ไม่ได้เลี้ยงดูเขา มากกว่าที่จะเหมือนพ่อแม่บุญธรรมซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดู
โอ๊ค เทเลเก็นกับเพื่อนร่วมงานของเขา ได้ศึกษาเรื่องนี้หลายร้อยกรณี
เขาเสนอว่าความสุขถ่ายทอดกันทางพันธุกรรมร้อยละสี่สิบห้า
และในบรรดาตัวแปรเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของบุคคลนั้น

หน่วยพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดถึงร้อยละห้าสิบ
 
 
 
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยคนอื่นๆ มองว่า
การตีความเช่นนี้เป็นการตีความอย่างสุดโต่งและเชื่อทฤษฎีเกินไป
เพราะหลังจากแฝดเหมือนถูกแยกกันตั้งแต่แรกเกิดแล้ว ส่วนใหญ่เด็กในกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้
มีผู้อุปการะที่ฐานะดี และเป็นครอบครัวที่แสวงหาลูกบุญธรรมมานาน
เด็กเหล่านี้จึงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดียิ่ง ผลการศึกษาอาจจะต่างจากนี้มาก
ถ้าแฝดคนหนึ่งได้รับความรักอย่างทนุถนอมจากครอบครัวที่เลี้ยงดูตน
ส่วนแฝดอีกคนต้องเร่ร่อนอยู่กลางถนนหรือในแหล่งเสื่อมโทรม
นักวิจัยกลุ่มนี้เห็นว่า
หน่วยพันธุกรรมมีส่วนเป็นตัวแปรที่กำหนดบุคลิกภาพไม่เกินร้อยละยี่สิบห้า

และเป็นเพียงศักยภาพซึ่งการแสดงออกนั้นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง
 
 
 
 

 
 
 
 
ไมเคิล มิอันเนย์กับคณะทำงานของเขาที่ศูนย์วิจัยโรงพยาบาลดักลาสในแคนาดา
ได้เสนอผลการทดลองที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่อง
การทดลองกับหนูที่มีพันธุกรรมความวิตกกังวลสูง สิบวันแรกที่หนูเหล่านี้ถูกส่งไปอยู่กับแม่
ที่ดูแลพวกมันอย่างดี ทำความสะอาดและเลียขนพวกมันบ่อยๆ มีการสัมผัสทางกายบ่อย
เท่าที่จะเป็นไปได้ หน่วยพันธุกรรมที่ทำให้เกิดความเครียดถูกสกัดกั้น
(โดยกระบวนการที่เรียกว่าเมไธเลชัน)
ความเครียดจึงไม่แสดงออกตลอดชีวิตของหนูตัวนั้น (ยกเว้นหนูที่ป่วยหนัก)

และในทางกลับกัน ลูกของหนูที่แม่ไม่ดูแลเอาใจใส่ จะแสดงความเครียดสูง
แต่หลักฐานเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า ผลของกรณีหลังนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
ถ้าลูกหนูที่แม่ไม่ชอบเลียตัวมันถูกเลี้ยงดูโดยแม่ “บุญธรรม” ที่ชอบเลียลูก
พัฒนาการของลูกหนูจะเป็นไปอย่างปกติ
การเลี้ยงดูที่แตกต่างของแม่ ปรับเปลี่ยนได้ไม่แต่ความสามารถของลูกหนูที่จะจัดการ
กับความเครียดในชีวิตต่อๆ ไปเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาสมองและพัฒนาการเรียนรู้ของมันอีกด้วย ลูกหนูที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ที่ชอบเลีย ไม่แค่สงบได้มากกว่าเมื่อเกิดความเครียดเท่านั้น
แต่ยังแสดงศักยภาพในการเรียนรู้ได้มากกว่าด้วย ขณะนี้มิอันเนย์กับนักวิจัยอีกหลายๆ คน
กำลังตรวจสอบว่าจะแปรผลการศึกษานี้ในกรณีของมนุษย์ได้อย่างไร
นักวิจัยพยากรณ์ว่า ถ้าการสังเกตในมนุษย์มีรูปแบบทำนองเดียวกันนี้
ลูกๆ ของแม่ที่ไม่เอาใจใส่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด อาจมีแนวโน้มเกิดปัญหา
เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว และสมาธิสั้น ข้อมูลนี้ตรงกันกับทัศนะของชาวพุทธ
ที่เห็นว่าจำเป็นที่เด็กๆ ต้องได้รับความรักอย่างสม่ำเสมอ
ไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า
ความรักและความอ่อนโยนที่เราได้รับตั้งแต่วัยเด็กมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อชีวทัศน์ของเรา
เรารู้ว่าเด็กที่เป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศเสี่ยงเป็นสองเท่าต่อการเป็นโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น

และในวัยผู้ใหญ่ และอาชญากรจำนวนมากเป็นผู้ที่ไม่ได้รับความรักและถูกทำร้ายในวัยเด็ก
 
 
 
 
 
 
ในบริบทการเปลี่ยนแปลงตัวเองนั้น
สำคัญมากที่ต้องชี้ให้เห็นว่าลักษณะและนิสัยที่เกิดจากพันธุกรรมที่เข้มข้นนั้น
บางคนแทบจะปรับเปลี่ยนไม่ได้ (เช่นผู้ที่เป็นโรคอ้วนจนต้องควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น)
แต่บางคนอาจปรับเปลี่ยนได้อย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ในชีวิตและการฝึกปฏิบัติทางจิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความกลัว การมองโลกแง่ร้าย และ...ความสุข
 
 
 
 
............
 
 
www.suan-spirit.com
 
 
 
ขอบคุณภาพจาก www.chinatownconnection.com
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.917 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 19:54:36