[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 23:44:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สมุนไพร พรรณพฤกษา - "ชะลูด" ไม้ยาหอมที่คนไทยควรรู้  (อ่าน 23626 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 กรกฎาคม 2555 18:57:41 »

.
.           ...สมุนไพร พรรณพฤกษา
 
เปลือกชะลูด                              ชะลูดช้าง หรือ ซ่อนกลิ่นเถา
ภาพจาก : samunpri.com และ th.wikipedia.org


ชะลูด
ไม้ยาหอมที่คนไทยควรรู้
   

ยาหอมเกือบทุกตำรับมักจะมีชะลูดเป็นตัวยาประกอบอยู่ด้วย  แต่ไม่น่าเชื่อว่าคนไทยทั่วไปกลับรู้จักไม้ชนิดนี้น้อยมาก    ชะลูดพบได้ในภาคใต้มากกว่าภาคอื่นๆ   ดังนั้น  ชื่อท้องถิ่นที่ปรากฏในเอกสารทางการ "หอพรรณไม้"  ของกรมป่าไม้  จึงปรากฏเฉพาะชื่อทางภาคใต้ซึ่งเรียก  ชะลูด  ว่า  ลูด (ปัตตานี)  หรือ นูด (สงขลา ตรัง  สุราษฎร์ธานี)   แต่สมุนไพรชนิดก็ปรากฏมีมากในภาคอีสานด้วย  แต่อาจยังไม่ได้ทำรายงานอย่างเป็นทางการ  คนอีสานเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “ตังตุ่น”    

ชะลูด มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Alyxia  reinwardtii  Bl.  จัดอยู่ในวงศ์  APOCYNACEAE  สำหรับไม้ในสกุลนี้ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4 ชนิดด้วยกันคือ  ชะลูด  (Alyxia  reinwardtii  Bl.)  ชะลูดช่อสั้น  (Alyxia  schlechteri  H.  Lv.)  เครือข้าวมวก  (Alyxia siamensis  Craib)  เครือมวกไทย  (Alyxia  thailandica  D.J. Middleton)   ลักษณะเป็นไม้เลื่อยมีเถาขนาดเล็ก  ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง  เปลือกสีดำ  และมีน้ำยางสีขาว  ใบเป็นแบบใบเดี่ยว  จะออกรอบข้อ  ข้อละ ๓ ใบ  จะเป็นรูปขอบขนาน  หรือรูปรี  ปลายใบแหลมหรือมน  ส่วนโคนใบจะเป็นครีบ  ด้านบนเป็นมันและขอบใบจะม้วน  ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์  ดอกออกเป็นช่อคล้ายซี่ร่มมีสีขาวนวล  ดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง  ช่อละ ๔ – ๑๐  ดอก โคนดอกเชื่อมกันเป็นหลอด  ดอกแยกเป็น ๕ กลีบ  ดอกจะส่งกลิ่นหอมช่วงค่ำ

ลักษณะเด่นคือ  ผลเป็นแบบผลแห้ง  แข็ง  รูปรี  มีความยาวประมาณ ๑ ซ.ม.  การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ด  ปักชำและตอนกิ่ง  ชะลูดควรปลูกในที่ร่มและมีไม้ใหญ่หรือเสาให้ชะลูดคอยเลื้อย  และอยากบอกดังๆ ว่า ชะลูด  เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะสำหรับการปลูกเป็นไม้ประดับด้วย

การใช้ประโยชน์   ในเขตภาคกลางกล่าวไว้ว่า  ชะลูดมีประโยชน์ดังนี้
• เนื้อไม้   เป็นยาบำรุงหัวใจ  รักษาลม  และขับลม  
• เปลือกชั้นใน   มีกลิ่นหอมและชุ่มชื่น  ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง  
• ใบ   ใช้รักษาอาการไข้  
• ดอก   ใช้รักษาอาการไข้เพ้อคลั่ง  
• ผล   ใช้รักษาอาการไข้  
• ราก   ใช้รักษาพิษเสมหะ  พิษไข้และลม  
• ประโยชน์อื่น ๆ    ใช้เป็นเครื่องหอมปรุงแต่งผ้าหรือเสื้อผ้า ให้มีกลิ่นหอม  หรือใช้อบเสื้อผ้าให้หอม  ใช้ปรุงแต่งกลิ่นใบยาสูบ  และใช้เป็นเครื่องหอมอื่นๆ  เช่น  ธูปหอม

คนอีสานในอดีต ใช้ชะลูดแช่น้ำอาบในกรณีที่กินอาหารผิดสำแดง (แพ้อาหาร)  แล้วมีอาการออกตุ่ม  และใช้ทั้งเถาเป็นส่วนประกอบของเครื่องหอม  แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันนี้หันไปนิยมใช้น้ำหอมจากสารสังเคราะห์  

ผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ  จะพบส่วนของเปลือกชะลูดวางจำหน่ายในตลาดสินค้าพื้นเมือง  โดยเฉพาะอินโดนีเซีย  จะเรียกว่า “อบเชยขาว”   (white  cinnamon)  นำมาเข้ายาสมุนไพรหลายชนิด  เช่น  เป็นยาแก้อาการเกร็ง (antispasmodic)  เป็นยาระงับอาการปวดกระเพาะ  ยาแก้ท้องอืด  (atulence)  ยาแก้ปวดมวนในท้อง  (colic)  แก้ไข้  (fever)  แก้บิด  (dysentery)  และขับลม   นอกจากนี้ ยังใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหอมเช่นเดียวกับคนไทย  ในบางครั้งอาจมีการใช้ส่วนของใบและดอกแทนเปลือกได้ด้วย  ทั้งใบและดอกมีรสคล้ายเครื่องเทศขม  
   
สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า  ส่วนของเปลือกเมื่อนำไปสกัดจะได้สารต้านอนุมูลอิสระและต้านแบคทีเรียได้    ในวงการไม้ประดับพบว่ามีชะลูดอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า  “ชะลูดช้าง”  มีลักษณะคล้ายกับชะลูดแต่ดอกใหญ่กว่า  โดยต้องเข้าใจว่าชะลูดช้าง เป็นไม้ที่อยู่คนละวงศ์กับชะลูด  พูดง่ายๆ  ว่าคนละต้นกัน

ชะลูดช้าง   มีชื่อวิทยาศาสตร์  ว่า  Marsdenia  oribunda (Brongn.) Schltr.  แต่เมื่อค้นหาชื่อชะลูดช้างในอินเตอร์เน็ตจะพบว่าชะลูดช้างมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Stephanotis  oribunda  ซึ่งเป็นชื่อพ้องกัน  ชะลูดช้าง อยู่ในวงศ์ ASCLEPLADACEAE   มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า  Creeping  Tuberose, Madagascar, Jasmine, Wax Flower.  เป็นไม้เถาเลื้อย
• เถา   มีขนาดเล็กสีขาว  กลม  และทุกส่วนของชะลูดช้างจะมียางสีขาว  
• ใบ   เป็นแบบใบเดี่ยว  ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามข้อของลำต้นหรือเถา ใบเป็นรูปรี  หรือรูปไข่  ปลายใบเรียวแหลม  แผ่นใบกว้างและหนาเป็นมันคล้ายแผ่นหนัง  โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย  ขอบใบเรียบยกขึ้นทางด้านบนทำให้มีลักษณะเป็นรางออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ
• ดอก   มีลักษณะเป็นหลอด  ปลายดอกแยกออกเป็น ๕ กลีบ  กลีบดอกมีสีขาวสะอาดเช่นเดียวกับดอกมะระ  และมีกลิ่นหอมจัด  กลีบดอกหนา  เนื้อดอกละเอียด  เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากมาดากาสการ์  ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้เหมือนกัน

ทั้ง  ชะลูดช้าง  และชะลูดที่ใช้เป็นยาหอม  ซึ่งเป็นยาเอกลักษณ์ของยาไทยขนานแท้   จึงควรส่งเสริมการปลูกเพื่อนำประโยชน์ไปใช้ดูแลสุขภาพคนไทยอย่างยิ่ง  แต่คนไทยไม่รู้จักและไม่นิยมปลูกชะลูด  หรือ “ตังตุ่น”  (เรียกแบบอีสาน)  ซึ่งกำลังเป็นไม้หายาก  และเป็นไม้ที่ปลูกเสริมการปลูกป่าได้  เพราะเป็นไม้ที่ชอบขึ้นในที่ร่ม    
หงุดหงิด


ที่มา : คอลัมน์ “สมุนไพรเพื่อสุขภาพ”  โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง  มูลนิธิสุขภาพไทย,   มติชนรายสัปดาห์  ปีที่ ๓๒  ฉบับที่ ๑๖๕๖  หน้า ๙๓

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มกราคม 2556 11:52:03 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: ชะลูด 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.36 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 09:51:57