สมาธิกับญาน? สิ่งที่อยากจะพูดจะกล่าวในวันนี้คือคำว่า สมาธิกับฌาน ที่เราท่านต่างได้ยินได้ฟังกันมาชินหู โดยเฉพาะเวลาสนทนาธรรมและร่วมปฏิบัติธรรม เช่น การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลต้องทำสมาธิภาวนา หรือคุณได้สมาธิขั้นไหนแล้ว จิตตั้งมั่นในสมาธิแค่ไหน ฯลฯ
ส่วนฝ่ายหนึ่งอาจถนัดอยู่กับ การกล่าวที่เกี่ยวข้องกับ ‘ฌาน’ เช่นพระสงฆ์องค์นี้องค์นั้นได้ฌานแล้ว คุณได้ฌานขั้นไหน ฯลฯ
ดังกล่าวข้างต้นก็ยังมีอีก “พระองค์นี้ท่านสำเร็จสมาธิขั้นสูง” เพราะประการดังกล่าว จึงทำให้หลายคนสงสัย ‘ฌาน’ กับ ‘สมาธิ’ ต่างกันอย่างไรกันแน่ เพราะบางครั้ง ในการปฏิบัติจิตได้กล่าวถึงสมาธิ บางครั้งบางกล่าวถึงฌาน จนยากแยกแยะกลายเป็นความสับสนไป
ครั้งแรกไม่อยากเขียนถึงเรื่องนี้ เพราะหลายปีที่ผ่านมา ธรรมะ ๕ นาทีได้เดินทางมายาวไกลจนรู้สึกว่าปัญหาแห่งคำถามนี้เป็นปัญหาที่ตื้นเขิน แต่เมื่อทบทวนไปมาหลายคราก็ได้ความรู้ว่า ‘ปลาใหญ่มักตายน้ำตื้น’ เหมือนหลาย ๆ ครั้งของ
การปฏิบัติภาวนาที่ไม่ประสบความสำเร็จ มักเกี่ยวข้องกับความวิตกลังเลสงสัยในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เสมอ เหมือนเครื่องยนต์กลไกใหญ่ที่ไม่อาจทำงานได้ เพียงแค่เม็ดทราย เล็ก ๆ เข้าไปอยู่ในเครื่อง
สมาธิและฌาน ในพระพุทธศาสนามีมากมายหลายประเภทและพิสดาร แต่ที่พระบรมศาสดาทรงตรัสไว้เป็นมาตรฐานในการเจริญเพื่อทิพยอำนาจนั้น ได้แก่
ฌาน ๔ ประการ ที่เรียกตามลำดับว่า
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน‘ฌาน ๔ ประการนี้ตรัสเรียกว่า สัมมาสมาธิ’สมาธิกับฌาน มีความหมายกว้างแคบกว่ากัน คือ
สมาธิมีความหมายกว้างกว่าฌาน
จากความสงบของใจตั้งแต่ขั้นต่ำ ๆ เพียงชั่วขณะหนึ่งจนถึงขั้นสงบสูงสุดไม่มีอารมณ์กำหนดสามารถเรียกว่าสมาธิได้ทั้งนั้น เช่น ความสงบเล็กน้อยชั่วขณะ เรียกว่า ขณิกสมาธิ สมาธิระดับนี้เกิดขึ้นได้น้อย เช่นเวลาทำงานอ่านหนังสือ ขับรถอย่างมีสติจดจ่อ
เป็นสมาธิที่มีได้แต่สามัญชนทั่วไปอุปจารสมาธิ ความสงบใกล้ต่อความเป็นฌาน หรือที่เรียกว่าสมาธิขั้นเฉียดฌาน
อัปปนาสมาธิ ความสงบแน่วแน่เป็นฌาน
สุญญตสมาธิ สงบว่างโปร่ง
อนิมิตตสมาธิ สงบไม่มีอารมณ์ปรุงแต่ง
อัปปณิหิตสมาธิ สงบไม่มีที่ตั้งลงคือหาฐานรองรับความสงบเยี่ยงนั้นไม่มี
สมาธิเหล่านี้เป็นสมาธิชั้นสูงมีได้แก่คนบางคนเท่านั้นส่วน ‘
ฌาน’ มีความหมาย
จำกัดวงแคบ ๆ คือมีองค์หรืออารมณ์เป็นเครื่องกำหนดโดยเฉพาะเป็นอย่าง ๆ ไปเช่น
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สี่อย่างนี้เป็น
รูปฌาน สูงขึ้นไปเป็น
อรูปฌาน เช่น
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญยตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อ
กำหนดแห่งฌานมีอารมณ์ขึ้นต้นไม่กำหนด แต่มี
องค์เป็นเครื่องหมาย
คือจิตเพ่งพินิจจดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวจนสงบลง มีองค์แห่งฌานปรากฏขึ้นครบห้าก็เป็นปฐมฌาน ดังคำแปลจาก
พระบาลีดังนี้
สงัดเงียบจาก
กามสงัดเงียบจาก
อกุศลธรรมแล้วเข้าปฐมฌาน ซึ่งมีวิตก วิจาร มีปีติและสุข
เกิดจากความวิเวกอยู่
ทุติยฌาน ระงับวิตก วิจาร แล้วเข้าทุติยฌาน ซึ่งมีความผ่องใสภายใน มีความเด่นเป็นดวงเดียวของจิตใจมีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่
ตติยฌาน สำรอกปีติแล้วเข้าตติยฌาน ซึ่งเป็นผู้วางเฉย
มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยกายที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า
ผู้วางเฉยมีสติอยู่เป็นสุขดังนี้จตุตถฌาน ละลุขละทุกข์ได้
ดับโสมนัสโทมนัสแล้วเข้าจตุตถฌาน ซึ่งไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีแต่อุเบกขากับสติและความบริสุทธิ์ของจิตเท่านั้น คำว่า ‘
อารมณ์ของฌาน’ ยังต้องทำความเข้าใจต่ออีกถ้าผู้บำเพ็ญ
กำหนดอารมณ์ขั้นต้น โดยมี อสุภะเป็นอารมณ์เรียกว่าอสุภฌาน เมตตาฌาน กำหนดเมตตาเป็นอารมณ์ เรียกว่าเมตตาฌาน มี
สติปัฏฐานเป็นอารมณ์
อนุสสติเป็นอารมณ์
เช่นพุทธานุสติ เทวตานุสติ อานาปานสติ เป็นต้น
อุตส่าห์ว่ามาถึงตรงนี้แล้วก็ขอพูดถึงการเข้าถึงฌานแบบง่าย ๆ เข้าใจง่าย ๆ กันดีกว่า ว่าการจะทำอะไรให้สำเร็จได้ ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจใน
อุปสรรคนั้นเสียก่อน อุปสรรคแห่งฌานมี
นิวรณ์ ๕ คือ ‘
กามฉันทะ’ ความติดใจในกามคุณ ‘
พยาบาท’ คือความขุ่นแค้น ‘
ถีนมิทธะ’ ความท้อแท้ซึมเซา ‘
วิจิกิจฉา’ ความลังเลสงสัย
กิเลสห้าประการนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเข้ามาครองใจ จะเสียอำนาจ เสียกำลัง เสียปัญญาไปทันทีในนิวรณ์ ๕ ข้อแรกคือกามคุณ และกามคุณมีอยู่ ๕ อย่าง คือ
รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกกามคุณนี้ว่า ‘
สัมพาธ’ คือสิ่งคับแคบ เมื่อใจไปอยู่กับสิ่งคับแคบก็เกิด
ความรู้สึกคับแคบขึ้นในใจ ฉะนั้น ฌานตั้งแต่ปฐมฌานไป ตรัสเรียกว่า ‘
โอกาสาธิคม’ คือความว่างโปร่งหรือช่องว่าง
ใจที่เข้าไปถึงความ
สงบว่างโปร่งเมื่อ
กามคุณทั้ง ๕ ยังมีอำนาจยั่วใจให้เกิดกำหนัด ขุ่นแค้น ท้อใจ อ่อนใจ ทำให้ใจอ่อนเปลี้ย เป็นสองจิตสองใจขึ้น
เหมือนทางแยกที่ไม่รู้จะไปทางไหนถูก กามคุณและกิเลสลักษณะดังกล่าวนี้
ยังมีอำนาจเหนือใจ จิตจะสงบเป็นสมาธิเป็นฌานไม่ได้อย่างแน่นอนและถ้าเมื่อใดกามคุณ ๕ สงบลง นิวรณ์ ๕ ดังกล่าว
ถูกขจัดได้ เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิเป็นฌาน ถึงสภาพโปร่งใจที่เรียกว่า
โอกาสาธิคมทันที
ปฐมฌานที่
กำหนดลักษณะเบื้องต้นว่า
สงัดจากกามและอกุศลธรรมก็หมายถึงสงัดจากกามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ นั่นเองใครทำได้อย่างนี้ในเวลาปฏิบัติสมาธิภาวนานั่นแหละถึงจะเรียกว่า ‘
ได้ฌาน’ ครับผม
ไม่ใช่เห็นอะไรวูบ ๆ วาบ ๆ ก็เหมาส่ง ตัวข้าสำเร็จแล้ว รู้แล้ว ทั้ง ๆ ที่ความจริงข้านั่นแหละเสร็จ
ตัวกิเลสซะแล้ว เพราะมัวแต่ปรุงแต่ง วิตกวิจารณ์ไปตามอารมณ์
ปราศจากสมาธิสัมปชัญญะ
อันแน่วแน่คอยควบคุม
ท้ายสุดกลายเป็น
นั่งปรุงนั่งแต่งหลงผิดเสียเวลาอันมีค่าไปเปล่า ๆ !