ความดันโลหิตสูง
(Hypertension)
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น
ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะ เป็นเวลาตื่นนอนใหม่ ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง
บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบ ๆ แบบไมเกรนได้
ในรายที่เป็นมานาน ๆ หรือความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือเท้าชา ตามัว หรือมีเลือด กำเดาไหล
เมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของ ภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขนขาเป็นอัมพาต เป็นต้น
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
จำกัดปริมาณเกลือ โดยงดการกินอาหารเค็ม อาหารที่ใส่ผงฟู หรือสารกันบูด
ถ้าอ้วน ลดน้ำหนักตัว โดยลดอาหารพวกไขมัน
ลดไขมันในเลือด ไปพร้อมกันด้วยเพิ่มสารเส้นใยในอาหาร กินข้าวกล้อง กินผักพื้นบ้านที่มีเส้นใยสูง เช่น มะระ มะเขือพวง สะเดา
กินผักพื้นบ้านช่วยขับปัสสาวะ บำรุงไต เช่น กระชาย ตะไคร้ ใบขลู่ ยอดกระเจี๊ยบแดง การต้ม ตะไคร้ดื่มแทนน้ำชาก็ช่วยได้
งดเหล้างดบุหรี่เพราะจะทำให้รักษาไม่ได้ผลและเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด
ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดินเร็ว ๆ
ทำจิตใจให้สงบมีสมาธิ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น หรือเครียด
น้ำใบบัวบก น้ำกระเจี๊ยบแดง เม็ดชุมเห็ดไทย คั่วแล้วชงน้ำดื่ม ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ดี
ลดเค็ม ลดความดันโลหิต
ป้องกันความดันโลหิตสูงต้องลดเค็ม
คุณรู้หรือไม่ว่า : การบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีปริมาณเกลือและโซเดียมสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหรือภาวะความดันโลหิตสูง ในการบริโภคอาหารแต่ละวันนอก
จากเราจะได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมที่ถูกปรุงแต่งในกระบวนการผลิตและการแปรรูปอาหารแล้ว ในขั้นตอนการประกอบอาหารยังมีการเพิ่มปริมาณเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสต่างๆ
เพิ่มในขณะรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมเกินความต้องการ ซึ่งการบริโภคเกลือและโซเดียมเกินความต้องการเช่นนี้มีผลกระทบต่อภาวะความดันโลหิตสูง
การฝึกนิสัยการรับประทานอาหารทีมีรสชาติพอดีไม่เค็ม จะเป็นการลดปริมาณการบริโภคเกลือและโซเดียม ซึ่งสามารถลดปัจจัยเสี่ยงและควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้ เมื่อสามารถควบคุม
ภาวะความดันโลหิตสูงได้ก่อจะส่งผลไปสู่การลดการเกิดปัญหาสุขภาพจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน
ข้อแนะนำในการลดการบริโภคเกลือและโซเดียม :-๑ เลือกซื้อผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ที่สดใหม่แทนการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง ผักดองและอาหารสำเร็จรูป
๒ หากต้องเลือกซื้ออาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากอาหารทุกครั้ง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่ำหรือน้อย
(สำหรับประชาชนทั่วไปควรบริโภคเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา หรือน้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน)
๓ ล้างผักและเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาด เพื่อชะล้างเกลือออก
๔ ลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงรส หันมาใช้เครื่องเทศและสมุนไพรที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ เช่น หัวหอม กระเทียม ขิง พริกไทย มะนาว ผงกระหรี่ แทน
๕ ไม่วางภาชนะหรือขวดใส่เกลือรวมทั้งเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซอส ซีอิ๊วขาวและน้ำปลาไว้บนโต๊ะอาหารทุกมื้อ
๖. ชิมอาหารก่อนรับประทาน ฝึกการรับประทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็มจัดหรือหวานจัด
๗ ปรุงอาหารรับประทานอาหารเองแทนการรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือการซื้ออาหารสำเร็จรูป
อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ได้แก่๑ อาหารที่ใช้เกลือปรุงรส ได้แก่ ซอสรสเค็ม (เช่น น้ำปลา ซี้อิ๊ว ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว), ซอสหลายรส (เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ซี้อิ๊วหวาน)
๒ อาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารตากแห้ง เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ แหนม, อาหารปรุงต่างๆ เช่น ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ผลไม้ดอง ผักดอง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปชนิดผง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม
อาหารที่มีเกลือโซเดียมปานกลาง ได้แก่ เป็นอาหารที่ใส่สารปรุงแต่งรส ได้แก่ ผงชูรส สารกันบูด ผงฟู
อาหารที่มีโซเดียมอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย ปลาทะเล
การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดการบริโภคเกลือและโซเดียม หรือลดเค็มนั่นเอง ก็จะเพิ่มตัวช่วยให้ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูง
ดังเช่นคำที่ว่า
"ลดเค็ม ลดความดัน ป้องกันอัมพฤกษ์ อัมพาต"
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 340
เดือน/ปี: สิงหาคม 2007