ความมีอิสรภาพในการใช้ความคิดนึกหรือ อิสรภาพในการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จึงเป็นท่าทีพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องโลกุตระ(เหนือความเป็นไปทางโลก) หรือในเรื่องโลกิยะ (เนื่องด้วยความเป็นไปในโลก) โดยเฉพาะในกรณีนี้ ก็คือ การเมือง
ดังนั้น ต้องทำตนให้เป็นคนกล้า กล้าหาญ แล้วก็มีอิสรภาพในการที่จะพินิจพิจารณา โดยไม่ต้องกลัวขนบธรรมเนียมประเพณี ที่จะมามองดูกันเดี๋ยวนี้ว่าการเมืองนั้นมันคือธรรมะอิสรภาพในการใช้สติปัญญา จึงนับเป็น ความกล้าหาญทางสติปัญญา ด้วยเช่นกัน
ในธรรมะกับการเมืองพุทธทาสภิกขุ หยิบยก กาลามสูตร มาอธิบายเสริมประเด็นเรื่องนี้อย่างน่าสนใจโดยแยกแยะให้คำนิยามองค์ประกอบแต่ละข้อของหลักการตามกาลามสูตรทั้งสิบประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้
หมวดที่หนึ่ง เป็นหมวดว่าด้วยความรู้ ความคิด ความเห็นเก่า ๆ หรือที่นำเสนอตาม ๆ กันมา ได้แก่..................................
ข้อที่ 1 อย่าเชื่อเพราะฟังตาม ๆ กันมา
ข้อที่ 2 อย่าเชื่อเพราะปฏิบัติตาม ๆ กันมา
ข้อที่ 3 อย่าเชื่อเพราะกำลังเล่าลือกระฉ่อน
ข้อที่ 4 อย่าเชื่อเพราะการอ้างตำรา.......หมวดที่สอง เป็นหมวดว่าด้วย ความรู้สึกนึกคิด ปัจจุบันของตนได้แก่.......
ข้อที่ 5 อย่าเชื่อเพราะเหตุแห่งตรรก (วิธีของตรรกวิทยา)
ข้อที่ 6 อย่าเชื่อเพราะเหตุแห่งนัยะ (การอนุมานตามวิธีของปรัชญา)
ข้อที่ 7 อย่าเชื่อเพราะการตรึกตามอาการ (สามัญสำนึก หรือ common sense)
ข้อที่ 8 อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทิฏฐิหรือความเห็นของเรา
ส่วนหมวดที่สาม เป็นหมวดว่าด้วย บุคคลที่มาเกี่ยวข้องด้วย ได้แก่
ข้อที่ 9 อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นคนน่าเชื่อ
ข้อที่ 10 อย่าเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูของเรา